11
เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

tourism culture3

Embed Size (px)

DESCRIPTION

culture in chiangrai

Citation preview

Page 1: tourism culture3

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 2: tourism culture3

ภาษาล้านนา หรือเรียกกันทั่วไปว่า “คำเมือง” ถือว่าเป็น

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นคนต่างถิ่นหรือต่างจังหวัดมักจะรู้จักภาษาล้านนาว่าเป็น

ภาษาที่ไพเราะและงดงามเช่น“ลำแต๊ๆกินเข้าซอยโตยกั๋นบ๋อเจ้า”สัมพันธ์

กับความงดงามและอ่อนช้อยในด้านวัฒนธรรมอื่นๆทั้งการแต่งกายศิลปะ

การฟ้อนรำเป็นต้น

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย : ภาษา

แต่ถ้าอาศัยคำศัพท์คำว่า“อร่อย”กับคำว่า“ลำ”เป็นหลักในการแบ่งแล้วจะพบว่าเส้น

แบ่งเขตภาษาระหว่างภาษาไทยกลางกับภาษาไทยเหนือนั้นมีปรากฏอยู่ใน๓จังหวัดคือจังหวัด

ตากจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอุตรดิตถ์ภาษานี้มีอักษรใช้เรียกว่า “ตัวเมือง”หรือ “ตัวธรรม”

และอักษรฝักขามมีผู้พูดไม่ตำกว่า๑๐.๔ล้านคนแต่หากนับเพียง๘จังหวัดภาคเหนือตอนบน

ของประเทศไทยมีผู้พูดประมาณ๖ล้านคน

คำเมือง เป็นภาษาที่ได้ชื่อว่าเป็นภาษาพูดที่น่าฟังเป็นที่สุด เพราะจะพูดช้าจนออกจะดู

เนิบนาบซึ่งตรงข้ามกับภาษาทางใต้อย่างสิ้นเชิง“คำเมือง”จะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่โดยใน

แต่ละพื้นที่จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันคำๆเดียวบางพื้นที่อาจจะออกเสียงสั้นบางพื้นที่อาจจะลาก

เสียงยาวแต่ถ้าเป็นคนเหนือแล้วจะรู้ว่าเป็นคำเดียวกัน

๑.๑ ภาษาพูด

ภาษาไทยถิ่นเหนือมีภาษาย่อย๒ภาษาถิ่นตามสำเนียงที่พูดคือ

ก. สำเนียงล้านนาตะวันออก (จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง จังหวัด

อุตรดิตถ์จังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน)

ข.สำเนียงล้านนาตะวันตก(จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดลำพูนและจังหวัดแม่ฮ่องสอน)

ซึ่งสำเนียงทั้งสองข้างต้นอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียง

ล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่ จะไม่พบสระเอือะสระเอือ แต่จะใช้สระเอียะ

สระเอียแทน(ซึ่งอาจมีเสียงสระเอือะและสระเอือแต่ทว่าคนต่างถิ่นฟัง

อาจไม่ชัดเจน เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับสระ

เอียะสระเอีย)ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยองเพราะ

ชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉานจึงมีสำเนียงเป็น

เอกลักษณ์

ภาษาล้านนามีอยู่หลายถิ่นย่อยหรือหลายสำเนียงด้วยกันที่ใช้พูด

อยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือ แม้สำเนียงจะแตกต่างกันบ้างแต่ระบบเสียงของภาษาล้านนาทั้งหมด

ประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะหน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงวรรณยุกต์ดังนี้

หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาล้านนามี๒๐หน่วยเสียง คือ ก, ข (ค,ฆ), ง, จ,ญ

(นาสิก),ด(ฎ),ต(ฏ),ท(ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ธ),น(ณ),บ,ป,ผ(พ,ภ)ฝ(ฟ),ม,ย,ล,ว,ส

(ศ,ษ,ส,ซ),ห(ฮ),อ

๑. ลักษณะทั่วไปของภาษาล้านนา

ภาษาล้านนาเป็นสาขาหนึ่งของภาษาถิ่นตระกูลไทย(Thai)ที่พูดโดยคนไทยส่วนใหญ่ในพื้นที่๘จังหวัด

ในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงรายจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่

จังหวัดน่านจังหวัดลำปางจังหวัดแม่ฮ่องสอนนอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้พูดภาษาล้านนาในชุมชนอื่นๆอีก เช่นที่

อำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีตำบลบ้านคูบัวอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี และที่

อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมาเป็นต้นทั้งนี้เพราะบรรพบุรุษของคนเหล่านี้อพยพมาจากภาคเหนือนั่นเองแต่เดิม

เผ่าชนคนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนั้นมีชื่อว่า “ยวน”หรือ “ไทยยวน”และเรียกภาษาที่พูดว่า “ภาษาไทยยวน”ซึ่ง

ชื่อนี้ยังคงอยู่กับคนไทยยวนที่อพยพมาอยู่ในต่างถิ่น เช่นที่ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่ยังคงเรียกตัวเองว่า

“ยวน”แต่สำหรับคนไทยในภาคเหนือปัจจุบันนี้ เรียกตัวเองว่า “คนเมือง” และเรียกภาษาของตนว่า “คำเมือง”

หรือออกเสียงว่า “กำเมือง”คำเมืองหรือกำเมืองถ้าเป็นคนยองซึ่งเป็นชนอีกกลุ่มทางภาคเหนือก็จะพูดสั้นๆ ว่า

“กำเมิง”แต่ทุกคำไม่ว่าจะ“คำเมือง”“กำเมือง”หรือ“กำเมิง”ก็หมายถึงภาษาพูดของคนทางภาคเหนือ

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 3: tourism culture3

ในหน่วยเสียงพยัญชนะทั้ง๒๐หน่วยเสียงนี้ มีหน่วยเสียงที่ภาษาล้านนาใช้ตรงกับ

ภาษาไทยกลาง๑๙หน่วยเสียงมีหน่วยเสียงหนึ่งที่ภาษาล้านนามี แต่ในภาษาไทยกลาง

ไม่มีคือหน่วยเสียงญนาสิกเวลาออกเสียงจะปรากฏเสียงขึ้นจมูกชัดเจนมาก

นอกจากนี้ยังมีหน่วยเสียงที่มีในภาษาไทยกลาง แต่ไม่มีในภาษาล้านนา

๒หน่วยคือหน่วยเสียงชฉและหน่วยเสียงรซึ่งหน่วยเสียงชฉในภาษาไทยกลาง

นั้นจะเปลี่ยนเป็นหน่วยเสียงจและซในภาษาล้านนาเช่น

ช้าง เป็น จ๊าง ช้า เป็น จ๊า

ชิม เป็น จิม ชมเชย เป็น ซมเซย

ส่วนเสียงรในภาษาไทยกลางก็จะเปลี่ยนเป็นหน่วยเสียงฮและล

ในภาษาล้านนาเช่น

รัก เป็น ฮัก เรือ เป็น เฮือ

รถ เป็น ลด รากเป็น ฮาก

หน่วยเสียงสระภาษาล้านนามีหน่วยเสียงสระตรงกับภาษาไทยกลาง

ก.สระเสียงเดี่ยวมีทั้งหมด๑๘หน่วยเสียงคืออะอาอิอีอึอือุอูเอะเอแอะแอโอะโอเออะเออเอาะออ

ข.สระเสียงประสม๖หน่วยเสียงคือเอียะเอียเอือะเอืออัวะอัว

ค.สระเกิน๓หน่วยเสียงคืออำอัมไอใอเอา

บางจังหวัดมีคนพูดภาษาล้านนา เสียงสระเอือะ,เอือจะไม่พบในบางท้องถิ่นคือ ในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่

จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และบางอำเภอของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะออกเสียงเป็นสระเอี

ยะ,เอียเช่นคำเมืองเป็นกำเมียง(มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเองเนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็น

เสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะเอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสมสระอัวกลายเป็น โอ

สระเอียกลายเป็นเอและสระเอือกลายเป็นเออเช่นเมืองเป็นเมิง,เกลือเป็นเก๋อ,สวยเป็นโสย,หมี่เกี๊ยวเป็น

หมี่เก๊วเป็นต้น

หน่วยเสียงวรรณยุกต์ภาษาล้านนามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์๖หน่วยเสียงมากกว่าภาษาไทยกลาง๑เสียงแต่

เท่ากับภาษาไทยถิ่นอีสานคือ เสียงตรีเพี้ยนในบางคำคือเป็นเสียงประสมระหว่างเสียงตรีกับเสียงสามัญ(เรียกว่า “วรรณ

ยุกต์เบญจมา”)เช่น

หญ้าเป็น ญ้า ใบ้ เป็น ใบ๊

ข้าว เป็น เค้า เหล้าเป็น เล้า

๑.๒ ภาษาเขียน

ภาคเหนือมีอักษรใช้ถึง๓ชนิดคือมีอักษรธรรมล้านนาอักษรฝักขามและอักษร

ไทยนิเทศหรือขอมเมืองมีรายละเอียดดังนี้

อักษรธรรมล้านนาส่วนมากใช้เขียนตำราและจารึกลงในคัมภีร์ใบลานที่ปรากฏอยู่

ตามวัดต่างๆในภาคเหนือและอักษรชนิดนี้ยังคงมีใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน

อักษรฝักขามคืออักษรไทยสุโขทัยมีลักษณะผอมสูงและโค้งงอเหมือน

ฝักมะขามอันเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรสุโขทัยเป็นอักษรที่ใช้กับศิลาจารึก

เป็นส่วนใหญ่พบว่าศิลาจารึกที่ใช้อักษรฝักขามเก่าแก่ที่สุดคือจารึกวัดพระยืน

จังหวัดลำพูนสร้างเมื่อพ.ศ.๑๙๑๓อักษรฝักขามแพร่หลายที่สุดในช่วงสมัย

ของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕ –๒๐๓๐)พระสมัยของพระเมืองแก้ว

(พ.ศ.๒๐๓๘ –๒๐๖๘) โดยจะพบว่าศิลาจารึกที่ใช้อักษรชนิดนี้แพร่หลายใน

เขต๘จังหวัดภาคเหนือตอนบนรวมทั้งเมืองเชียงตุงและหลวงพระบาง

อักษรไทยนิเทศหรือขอมเมือง อักษรชนิดนี้ได้รวมอักษรหลายแบบไว้

ด้วยกันคืออักษรพ่อขุนรามคำแหงอักษรขอมและอักษรธรรมล้านนาดังนั้น

จึงเรียกว่าขอมเมือง เพื่อให้ชื่อเรียกแตกต่างจากอักษรอื่นอักษรชนิดนี้เท่าที่พบ

โดยมากใช้เขียนวรรณกรรมประเภทร้อยกรองมีอายุก่อน๓๐๐ปี ขึ้นไป เช่น

โคลงนิราศหริภุญชัยโคลงนิราศดอยเกิ้งโคลงพรหมทัตโคลงปทุมสังกาเป็นต้นไม่

ค่อยพบว่าอักษรชนิดนี้ใช้จารึกพระธรรมคำสั่งสอน

อักษรธรรมล้านนา อักษรฝักขาม และอักษรไทยนิเทศหรือขอมเมือง ในบรรดา

อักษรเหล่านี้อักษรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและใช้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ คืออักษรธรรม

ล้านนาหรือตัวเมือง

อักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่เหตุผลของผู้เรียก เช่นอักษรล้าน

นาเพราะว่าเป็นอักษรที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาอักษรไทยยวนเรียกชื่อตามเผ่าชนดั้งเดิมล้าน

นาคือไทยยวนหรือไทยโยนกตัวหนังสือเมืองหรือตัวเมือง เพราะคนล้านนาเรียกตัวเองว่าคน

เมืองจึงเรียกอักษรที่ตนเองใช้ว่า “ตัวเมือง” ด้วย อักษรธรรมหรือตัวธรรมที่เรียกเช่นนี้ก็

เพราะตัวอักษรชนิดนี้นิยมใช้บันทึกพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ชื่อ

ที่นิยมเรียกมากที่สุดคือ“ตัวเมือง”

รูปอักษรฝักขาม

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 4: tourism culture3

จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนาที่พบเก่าที่สุดมีอายุเกินกว่า ๕๐๐ปีพบที่วัดไหล่หินตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัด

ลำปาง ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจทำทะเบียนพระธรรมคัมภีร์ของสยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ระหว่าง พ.ศ.

๒๕๐๔-พ.ศ.๒๕๐๘

ความแพร่หลายของอักษรธรรมล้านนานั้นสันนิษฐานว่าคงได้รับความนิยมและใช้สื่อสารกันแพร่หลายมากที่สุด

ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐) เพราะทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ในการสังคายนาพระไตรปิฎกณวัด

มหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ในปีพ.ศ.๒๐๒๐การทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พุทธ

ศาสนาของประเทศไทยและเป็นครั้งที่๘ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท 1และได้ใช้ตัวอักษรธรรมล้านนานี้จารึกพระ

ธรรมคัมภีร์ที่ตรวจชำระแล้วทั้งนี้คงจะถือว่าคัมภีร์ใดใช้ตัวฝักขามเป็นคัมภีร์ที่ยังไม่ได้รับการตรวจแก้ คัมภีร์ใดที่แก้แล้วก็คง

เขียนเป็นอักษรธรรมล้านนาและนับแต่นั้นมาอักษรธรรมหรือตัวเมืองก็ใช้กันแพร่หลายเพื่อสื่อสารกันในอาณาจักรล้านนา

และดินแดนใกล้เคียง เช่น เผยแพร่ไปยังเชียงตุงและในปีพ.ศ.๒๐๐๖กษัตริย์แห่งล้านช้างทรงส่งราชทูตมายังราชสำนัก

นครเชียงใหม่ เพื่อทูลขอคณะสงฆ์และคัมภีร์พระไตรปิฎก เพื่อนำไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรนั้นซึ่งตรงกับรัช

สมัยของพระเมืองแก้ว (พ.ศ.๒๐๓๐-๒๐๖๘)และพระองค์ทรงอาราธนาพระเทพมงคลเถระ เป็นหัวหน้าไปพร้อมด้วยพระ

ไตรปิฎก๖๐พระคัมภีร์2นอกจากนี้รศ.สมหมายเปรมจิตต์3ได้อธิบายและสรุปความเป็นมาของอักษรล้านนาดังนี้

๑. ในช่วงที่ชาวล้านนาอพยพลงมาตั้งบ้านเมืองติดต่อดินแดนของพวกมอญหริภุญชัยนั้น ได้รับเอาพระพุทธ

ศาสนาแบบมอญของพระนางจามเทวี และนำหนังสือมอญมาใช้ด้วย ในขณะเดียวกันก็อาจรับเอาพระพุทธ

ศาสนาที่พวกมอญกรุงหงสาวดีนำเข้ามาหริภุญชัยในคราวหนีมาตอนเป็นขบถต่อมาราวพ.ศ.๑๘๐๖

ลักษณะอักษรไทยยวนนั้นจะต้องมีลักษณะคล้ายอักษรมอญโบราณที่ปรากฏในศิลาจารึกหริภุญชัย

๒. เมื่อถึงต้นยุคทองแห่งอาณาจักรล้านนาพระมหาสุมนเถระ ได้นำแบบอักษร

สุโขทัยขึ้นมาด้วยส่วนมากใช้สำหรับจารึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านศาสนา อิทธิพลอักษรสุโขทัย

อาจทำให้อักษรไทยยวนเปลี่ยนรูปและเพิ่มอักษรบางตัวเช่นค.คนฝ.ฝาและฟ.ฟันซึ่งไม่มีใน

อักษรพราหม์มอญพม่าตลอดจนบาลีสิงหลแต่มีในอักษรสุโขทัยส่วนจำนวนอักษรและลักษณะ

ทั่วไปคงใกล้เคียงกับอักษรมอญและอักษรพม่ารุ่นหลัง เพราะได้เค้ามาจากมอญโบราณเช่นกัน

แต่จำนวนอักษรคงยังไม่ถึง๔๑ตัวเหมือนภาษาบาลีสิงหล

๓.หลังจากพระมหาญาณคัมภีระไปสืบศาสนาในลังกามาแล้ว การศึกษาของพระ

สงฆ์ได้เฟื่องฟูมากจนพระภิกษุชาวล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นเลิศ ถึงกับสามารถแต่ง

หนังสือเป็นภาษาบาลีเล่มโตๆ จำนวนหลายเรื่อง และอิทธิพลจากภาษาบาลีสิงหล จะทำให้เกิด

วิวัฒนาการใหม่แก่ภาษาไทยยวนจนทำให้จำนวนอักษรเพิ่มขึ้นจาก๓๒ตัวเป็น๔๑ตัวอย่างที่

เป็นอยู่ทุกวันนี้

อักษรธรรมล้านนาหรือตัวเมืองนี้นิยมจารหรือเขียนลงบนใบลานมากที่สุด รองลงไปคือหนังสือกระดาษสา (พับสา)ซึ่งโดย

มากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนานอกจากนั้นก็เขียนเป็นจารึกต่างๆอาทิจารึกตามฐานพระพุทธรูปศิลาจารึกตามฐานพระพุทธ

รูปศิลาจารึกต่างๆเป็นต้นและยังใช้บันทึกวรรณกรรมต่างๆได้แก่สุภาษิตคำสอนตำนานนิทานค่าวฮ่ำจ๊อยซอฮ่ำต่างๆนอกจากนี้

ยังปรากฏในการบันทึกตำรายาโหราศาสตร์ยันต์คาถากฎหมายเป็นต้น

๑)อายุของอักษรธรรมล้านนา

ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าอักษรชนิดนี้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่สมัยไหนมีก่อนอาณาจักรโยนกหรือก่อนสมัยพญามังรายเป็นต้น

มาแต่เท่าที่ปรากฏการใช้อักษรธรรมล้านนาที่เก่าที่สุดที่พบในปัจจุบันคือจารึกลานทองพ.ศ.๑๙๑๙ซึ่งจารึกประวัติสมเด็จพระมหา

เถรจุฑามณี โดยใช้อักษรธรรมล้านนาบันทึกภาษาบาลีและใช้อักษรสุโขทัยบันทึกภาษาไทย จารึกลานทองนี้ขุดพบบริเวณฐานพระ

ประธานในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจารึกที่ฐานพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางอุ้มบาตร

ที่วัดเชียงมั่นอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่พ.ศ.๒๐๐๘นอกจากนี้ก็พบอักษรชนิดนี้ในจารึกต่างๆ ในสมัยต่อมาอีกและคัมภีร์ใบลานที่

อักษรธรรมล้านนา

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 5: tourism culture3

๒)รูปอักษรธรรมล้านนา

รูปอักษรธรรมล้านนามีระบบที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาไทยกลาง

คือประกอบด้วย รูปสระ รูปพยัญชนะรูปวรรณยุกต์ และรูปตัวเลขที่

แตกต่างจากภาษาไทยกลางคือรูปอักษรพิเศษซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะของ

อักษรล้านนาที่ไม่เหมือนกับอักษรไทยกลางลักษณะที่เด่นของรูปอักษร

ธรรมล้านนาคือตัวจะป้อมค่อนข้างกลมเมื่อเทียบกับอักษรชนิดอื่นๆที่มี

ใช้ในล้านนา เป็นสาเหตุทำให้อักษรธรรมล้านนาไม่นิยมใช้เขียนศิลาจารึก

เพราะยากต่อการจารึกบนวัสดุหิน

จารึกที่พบในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้เก็บไว้ที่

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เชียงแสนมีจำนวนทั้งหมด๒๗จารึกปรากฏใน

หนังสือประชุมจารึกล้านนา เล่ม๑ : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน

และในประชุมจารึกล้านนาเล่ม๖จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯเชียงรายภาค

ที่๒ เป็นศิลาจารึกจำนวน๒๕จารึกส่วนอีก๒จารึกเป็นพระพุทธ

รูปและรูปฤาษีโดยมีจารึกที่สำคัญดังนี้

จารึกดอยตุง (พ.ศ. ๒๑๔๗)

จารึกดอยตุง (ประดิษฐานอยู่ที่ส่วนคอดของภูเขาช้างยอด

ดอยตุงคาดว่าเป็นบริเวณวัดน้อยดอยตุง)เป็นรูปฤาษีทองสัมฤทธิ์นั่ง

ประนมมือยกเข่าขึ้นทั้งสองข้างนั่งอยู่บนฐานฐานทำเป็น๒ชั้นคือ

ชั้นบนและชั้นล่างมีห่วงติดไว้

ความย่อว่า “พ.ศ.๒๑๔๗ (สมเด็จ) บรมพิตรพระเป็นเจ้า

เมืองเชียงแสนพร้อมทั้งพระมหาสมเด็จราชครู วัดพระหลวงและสังฆ

โมลีสร้างรูปพระฤาษีต่อจากนั้นเป็นคำไหว้พระธาตุบนดอยตุงตำนาน

พระธาตุดอยตุงโดยย่อและคำอธิบายรูปที่ฐานรูปพระฤาษี”

จารึกเชียงของ (พ.ศ. ๑๙๘๘)

จารึกเชียงของ (วัดร้างในเขตเมืองเก่าเชียงของ) เป็นแผ่นหิน

สีเทาความย่อว่า “พ.ศ.๑๙๘๘ เจ้าหมื่นงัวเชียงของและหมื่นน้อยวัด

ขาวสร้างวิหาร รวมทั้งอุโบสถที่มหาเถรพุทธดำเพียร ได้รับอนุญาต

จากสมเด็จมหาราชและมหาเทวีให้สร้าง”

๒. เอกลักษณ์ด้านภาษาของเชียงราย

ภาษาของจังหวัดเชียงรายถือเป็นภาษาล้านนาหรือคำเมืองเช่นเดียวกับภาษาของจังหวัดอื่นๆใน

ล้านนาซึ่งมีลักษณะโดยภาพรวมคล้ายๆกันในที่นี้จะนำมาแสดงทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนดังนี้

๒.๑ เอกลักษณ์ด้านภาษาพูด

ในด้านภาษาพูดของจังหวัดเชียงรายมีลักษณะทางคำศัพท์ต่างๆคล้ายกันเป็นส่วนใหญ่แต่ที่เป็น

เอกลักษณ์คือสำเนียงซึ่งจัดเป็นกลุ่มภาษาล้านนาตะวันออกที่มีสำเนียงค่อนข้างห้วนสั้นแตกต่างจาก

ภาษาเชียงใหม่หรือกลุ่มภาษาล้านนาตะวันตกชัดเจน

๒.๒ เอกลักษณ์ด้านภาษาเขียน

ภาษาเขียนในจังหวัดเชียงราย ใช้อักษร๓ชนิดเช่นเดียวกับที่พบในจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ

ตอนบนซึ่งหลักฐานที่พบมากและถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย คือจารึก ใบลานและสมุด

ข่อยพับสาดังนี้

๑)จารึก

จารึกที่พบในจังหวัดเชียงรายมีหลายชนิดคือศิลาจารึกจารึกฐานพระจารึกก้อนอิฐและจารึก

ที่พบในวัสดุอื่นๆเรื่องราวที่บันทึกลงบนจารึกส่วนใหญ่เป็นเรืองของการสร้างศาสนสถานหรือวัตถุที่เกี่ยว

กับศาสนา เช่นพระพุทธรูปอุโบสถพระเจดีย์กำแพงวัดตลอดจนกล่าวถึงการปฎิสังขรณ์จำนวนเงิน

ทองและสิ่งของที่ใช้ในการบูรณะปฎิสังขรณ์การถวายข้าคนสิ่งของสัตว์ต่างๆให้กับวัดเป็นต้น

รูปฤาษี

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 6: tourism culture3

จารึกวัดยางหมากม่วงพาน (พ.ศ. ๒๐๒๒)

จารึกวัดยางหมากม่วง(วัดร้างในอำเภอพาน)เป็นแผ่นหินสีเทาส่วน

ล่างหักหายไปความย่อว่า “พ.ศ.๒๐๒๒ เจ้าหมื่นน้อยใสผู้ครองเมืองออย

ถวายนาและต้นหมากแด่วัดบ้านยางหมากม่วง”

จารึกดอยถ้ำพระ (พ.ศ. ๒๐๒๗)

จารึกดอยถ้ำพระตำบลแม่ยาวอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย เป็นแผ่นหินสีเทา

ความย่อว่า “พ.ศ.๒๐๒๗ เจ้าเมืองเชียงรายสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งไว้ในถ้ำแห่งนี้

ถวายข้าทาส๘ครอบครัวนาภาษี (หิน)ปูนและหมู่บ้านชื่อบ้านถ้ำ แด่พระพุทธรูป

เพื่อบูชาและดูแลรักษาพระพุทธรูปตราบ๕,๐๐๐ปี”

จารึกวัดพันต้องแต้ม เชียงแสน (พ.ศ. ๒๐๓๑)

จารึกวัดพันต้องแต้มพบที่วัดพันต้อง ในตัวเมืองเชียงแสนจังหวัดเชียงราย

เป็นแผ่นหินสีน้ำตาลและเทาความย่อว่า “พันต้องแต้ม เคยสร้างวัดแห่งหนึ่งในเมือง

เชียงแสนต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๑๓๐ลูกของท่านคือพันญากิตติและแม่เจ้าสาวคำร้อย

ถวายวัดนี้แด่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชมารดาสองพระองค์ทรงสั่งให้ถวายนามี

ภาษีรวม๖๐๐,๐๐๐เบี้ยและคน๑๕ครอบครัวแด่วัดพร้อมทั้งไม้สักเพื่อสร้างวิหาร

และหอพระไตรปิฎกและสั่งให้หมื่นญาดาบเรือนเป็นผู้รับคำสั่ง”

แผ่นหินจารึกสีเทาวัดยางหมากม่วง

แผ่นหินจารึกสีเทาดอยถ้ำพระ

จารึกวัดดอนยาง เชียงแสน (พ.ศ. ๒๐๒๓) จารึกวัดดอนยาง เป็นวัดร้างในเขตตัวเวียงเชียงแสน โดยพบที่วัดปงสนุกตำบลเวียงอำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายจารึกเป็นฐานรองพระพุทธรูปทำด้วยหินลักษณะครึ่งวงกลมสีเทาความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๒๓พระภิกษุสุมังคลเมธาวีอยู่เมืองฝางสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ถวายแด่วัดดอนยาง” จารึกวัดภูขิง เวียงชัย (พ.ศ. ๒๐๓๑) จารึกวัดภูขิง เป็นวัดร้างในเขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงรายชาวบ้านเรียกวัดร้างนี้ว่า“วัดสันทราย”เป็นแผ่นหินสีน้ำตาลอ่อนความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๓๐หมื่นบงถวายนาและคนแด่วัดภูขิง และวัดป่าตาลซึ่ง๒วัดนี้ เป็นวัดลูกของวัดบ้านรามห้ามรบกวนคนของวัด” จารึกวัดปราสาท เชียงแสน (พ.ศ. ๒๐๒๙) จารึกวัดปราสาทตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเวียงเชียงแสนตำบลเวียงอำเภอเชียงรายจังหวัดเชียงราย เป็นแผ่นหินสีเทาความย่อว่า “พ.ศ.๒๐๓๙ เจ้าหมื่นเชียงแสนคำล้านถวายวัดปราสาท

แผ่นหินจารึกสีเทาวัดดอนยาง

แผ่นหินจารึกวัดปราสาท เชียงแสน

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

10

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

11

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 7: tourism culture3

จารึกเวียงชัย (พ.ศ. ๒๐๖๘) จารึกเวียงชัยพบที่บริเวณเวียงชัยจังหวัดเชียงรายเป็นแผ่นหินสีเทาส่วนล่างหักหายไปที่เหลือคือส่วนบนแตกเป็น๔ชิ้นความย่อว่า“พ.ศ.๒๐๖๘กษัตริย์เชียงใหม่มีพระราชโองการแต่งตั้งให้เจ้าพวกดาบเรือน เป็นเจ้าพันสังฆการีเชียงรายมีอำนาจผูกพัทธสีมาในวัดข้าราชการจากหน่วยราชการต่างๆ(หินหัก)...”

๒)ใบลาน

ในจังหวัดเชียงราย พบว่า มีเอกสารใบลานมากมาย

หลายแหล่ง ส่วนมากจารด้วยอักษรธรรมล้านนา ทั้งที่เป็นภาษา

บาลี และภาษาล้านนา เช่นที่วัดศรีสุทธาวาสอำเภอเวียงป่าเป้า

เป็นต้น โดยใช้บันทึกพระสูตรต่างๆ ในพระพุทธศาสนา ชาดก

คัมภีร์เทศน์และค่าวธรรมเป็นต้น

วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา เป็นผลงานของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตนอก

เหนือจากคุณค่าด้านความบันเทิงแล้วยังสะท้อนถึงภูมิปัญญาความคิดความอ่านคตินิยม

และเป็นภาพสะท้อนถึงชีวิตและวัฒนธรรมที่แนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตชุมชนมาช้านานสำหรับ

ต้นฉบับวรรณกรรมที่ปรากฏในจังหวัดเชียงรายนั้นมี๒ประเภทได้แก่

๑. วรรณกรรมประเภทร้อยแก้ว

วรรณกรรมร้อยแก้วแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น๕ประเภทได้แก ่

๑.๑ ตำนานและนิทานท้องถิ่น

ตำนานและนิทานที่เรียบเรียงเป็นภาษาท้องถิ่นนั้น ไม่อาจจะหาหลักฐานเกี่ยวกับผู้

แต่งและเวลาแต่งได้ ส่วนใหญ่ต้นฉบับเป็นการคัดลอกสืบทอดกันโดยเริ่มจากการบันทึกคำ

บอกเล่าแต่โบราณเป็นพื้นและมีหลายสำนวนด้วยกัน ซึ่งบางทีเนื้อความก็แตกต่างกันออกไป

ตำนานเหล่านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกำเนิดและประวัติความเป็นมาของเมืองต่างๆ ในล้านนาที่มี

เนื้อหาเกี่ยวกับยุคเก่าแก่ที่สุดได้แก่ ตำนานสุวรรณโคมคำตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน

และตำนานสิงหนวัติกุมาร ที่มีเนื้อหากล่าวถึงยุคใกล้ๆ เข้ามาก็ เช่น ตำนานพื้นเมือง

เชียงรายตำนานสิบห้าราชวงศ์ ฯลฯ เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับประวัติศาสนา

พระธาตุ และพระพุทธรูปที่เขียนเป็นภาษาไทยล้านนาอีกเป็นจำนวนมากตำนานเหล่านี้

เป็นตำนานที่มีชื่อเสียงของเชียงรายและเป็นต้นเค้าของประวัติศาสตร์เชียงรายในยุคตำนาน

นอกจากนี้ยังมีนิทานประจำถิ่นซึ่งเป็นเรื่องคล้ายตำนานเพียงแต่มักจะเป็นเรื่องเล่าต่อๆกัน

มาในลักษณะมุขปาฐะเป็นส่วนใหญ่เช่นนิทานสิรสากุมารชุมพูราชแต่งเขียวล้อมล้อมต่อม

คำเป็นต้นโดยจะได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่างดังนี้

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย : วรรณกรรม

๓)พับสาและสมุดข่อย

พับสาและสมุดข่อยที่พบในจังหวัดเชียงราย ส่วนใหญ่ใช้

บันทึกเรื่องราวที่ไม่ใช่พระสูตรชาดกและคัมภีร์เทศน์มักจะใช้บันทึก

เรื่องนอกพระพุทธศาสนาและเป็นเรื่องทางโลก ได้แก่กฎหมายโบราณ

ฤกษ์ยามขึ้นบ้านใหม่คาถาต่างๆคำบูชาคำเรียกขวัญคำเวนทานคำ

สอนตำรายาตำราดูลักษณะหญิงโคลงค่าวซอเป็นต้น

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 8: tourism culture3

๑)ตำนานพระธาตุดอยตุง4

พระธาตุดอยตุงชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นเจดีย์คู่ปีไก๊ คือปีช้าง

(ตรงกับปีกุนหรือปีหมูของภาคกลาง) ฉะนั้นพระธาตุดอยตุงจึงมีความ

สำคัญต่อคนที่เกิดในปีไก๊หรือปีกุนนั้นต้องไปนมัสการและปรนนิบัติพระ

ธาตุ เช่นปัดกวาดบริเวณของพระธาตุอย่างน้อย๑ครั้งในชีวิต เนื้อความ

โดยสังเขปคือ

เมื่อพระพุทธเจ้า (องค์ปัจจุบัน) ยังทรงพระชนมายุ ได้เคยเสด็จมายัง

ที่ราบเชียงแสนและได้ประทับบนดอยแห่งหนึ่งตรัสทำนายว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับ

ขันธปรินิพพานไปแล้วพระมหากัสสปพระอรหันตสาวกจะนำพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูก

ไหปลาร้าข้างซ้าย)มาสถาปนาไว้ณที่นี้

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหากัสสปได้นำส่วนแบ่งเป็นพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายกับ

สรีริกอีกจำนวนหนึ่งมายังเมืองโยนกนครขณะนั้นกษัตริย์ผู้ครองเมืองคือพระเจ้าอชุตราช ได้นำพระธาตุขึ้นมาบนดอย

ตามพุทธทำนาย

ดอยแห่งนี้มีเจ้าของเป็นหัวหน้าอนารยชน (มิลักขุ)สองผัวเมียคือปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าลาวจกพระเจ้าอชุ

ตราชจึงขอซื้อที่ดิน เพื่อสถาปนาพระธาตุเจ้าไว้ตามพุทธทำนายสองผัวเมียได้เงินแล้วแบ่งให้ลูกๆ๓คน เพื่อจะได้ไป

สร้างบ้านเมืองอื่นๆบนที่ราบเชียงแสนส่วนตนเองได้เฝ้าอุปฐากพระธาตุเจ้า กับอนารยชนอื่นๆอีก๕๐๐คน เมื่อได้

สถาปนาพระธาตุแล้วพระมหากัสสปก็ได้ทำเสาตุงหรือเสาธงสูง๘,๐๐๐วาตุงยาว๗,๐๐๐วากว้าง๕๐๐วามีร่มเงา

ปกคลุมไปทั่วที่ราบเชียงแสนคนทั้งหลายจึงเรียกดอยที่สถาปนาพระธาตุเจ้านั้นว่า ดอยตุงมาจนถึงทุกวันนี้ ปู่เจ้าลาวก

กับย่าเจ้าลาวาจกสองผัวเมียอยู่ทำนุบำรุงพระธาตุเจ้าบนดอยตุงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อตายแล้วจึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร

เทพธิดาบนสวรรค์

๒)ตำนานเมืองสุวัณณะโคมคำ

พงศาวดารโยนก5กล่าวว่าในช่วงปลายศาสนาของพระพุทธเจ้าโกนาคมนะนั้นได้เกิดโรคระบาดราชบุตร

แห่งเมืองปาตลีบุตรจึงอพยพผู้คนไปตั้งเมืองอยู่ในเขตโพธิสารหลวง ต่อมาราชบุตรชื่อว่ากุรุวงสากุมารได้สร้างเมืองขึ้น

มาพอพระเจ้าโพธิสารหลวงทราบข่าวก็ไปรบหลายครั้งแต่ก็พ่ายแพ้จนพระองค์ต้องยกราชสมบัติให้แก่ราชกุมารกุรุวง

สาต่อมาได้เรียกชื่อแคว้นนั้นว่ากุรุรัชและเรียกประชาชนว่า“กล๋อม”

ก็มีกษัตริย์สืบมาถึง๔๔,๘๐๐องค์จนถึงสมัยพญาศรีวงสาได้ครองเมืองโพธิสารหลวงพระองค์มีราชบุตรสอง

องค์คืออินทรวงสาและไอยกุมาร โดยอินทรวงสาได้ครองราชย์สืบจากพระราชบิดาและมีไอยกุมารเป็นอุปราชสมัย

ต่อราชบุตรของอินทรวงสาชื่ออินทรปฐมได้อภิเษกกับธิดาของไอยอุปราช

พระนางอุรสาเทวีของพญาอินทรปฐมคลอดราชบุตรออกทางปากมีชื่อว่า“สุวัณณมุขทวาร”ทำให้พาหิรปุโรหิต

ใส่ร้ายและลอยแพในแม่น้ำโขงจนไปถึงท่าโคมคำ ไอยอุปราชจึงได้สร้างเมืองให้ชื่อว่า “สุวัณณโคมคำ”ฝ่ายเมืองโพธิสาร

เกิดโรคระบาดหลังจากใส่ร้ายพระราชเทวีและกุมารผู้คนที่เหลือจึงได้หนีออกจากเมืองไปอยู่ที่เมืองสุวัณณโคมคำ

กษัตริย์ในเมืองสุวัณณโคมคำสืบต่อจากพญาสุวัณณมุกขทวารมีถึง๘๔,๕๕๐องค์ จึงสิ้นสุดลงและเชื้อสาย

พาหิรปุโรหิตได้เป็นใหญ่ในเมืองสุวัณณโคมคำด้ข่มเหงชาวเมืองให้ได้รับความเดือดร้อนจนกระทั่งพญานาคนามว่า “ศรี

สัตตนาค” ได้ขุดฝั่งน้ำของหรือน้ำโขงทำให้เมืองล่มในราตรี ทำให้เจ้าเมืองและชาวเมืองจมน้ำตายเป็นอันมาก เมือง

สุวัณณโคมคำจึงกลายเป็นเมืองร้างและเป็นท่าหลวงชื่อว่า“ท่าโคมคำ”

๓)ตำนานสิงหนวัติกุมาร

หลังจากเมืองสุวัณณะโคมคำล่มกลายเป็นท่าหลวงไปแล้วตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงการอพยพของกลุ่ม

ชาวไทเมืองแห่งนครไทเทศเข้ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ในบริเวณเมืองสุวัณณะโคมคำที่ร้างไปและมีการสืบราชสมบัติต่อๆกัน

มาอีกนับพันปีตั้งแต่สมัยพุทธกาลกล่าวถึงพญานาคมาช่วยสร้างเมืองพันธุสิงหนวัตินครหรือเมืองโยนกนาคพันธุ์ จน

กระทั่งเมืองล่มหลายเป็นหนองน้ำไปชาวเมืองที่อยู่นอกเมืองก็มารวมกันสร้างเมืองใหม่ขึ้นเรียกว่าเมืองปรึกษามีการ

ปกครองแบบขุนแต่งเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ๙๓ปี

๔)ตำนานหิรัญนครเงินยาง

กล่าวถึงพระเจ้าอนุรุทธกษัตริย์แห่งเมืองพุกามจะตัดศักราชใหม่ โดยแต่งจุลศักราชในปีพ.ศ.๑๑๘๒นั้น

เมื่อจะประชุมเชิญท้าวพญาในชมพูทวีปมาร่วมในพิธี ก็ปรากฏว่าในเมืองปรึกษาไม่มีกษัตริย์ปกครองพระองค์จึงได้

ขอร้องพระอินทร์ให้ช่วยเหลือพระอินทร์จึงส่งลวจังกราชเทวบุตรมาเป็นกษัตริย์ กษัตริย์วงศ์ลวจังกราชนี้ได้สืบราช

สมบัติต่อๆกันมาในเมืองหิรัญนครเงินยางจึงถึงกษัตริย์องค์ที่๒๓คือพญามังรายเป็นยุคที่ขยายอาณาเขตและได้

รวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาโดยมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง

พระธาตุดอยตุง

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 9: tourism culture3

๕)นิทานเรื่องแมงสี่หูห้าตา

เรื่องแมงสี่หูห้าตาเป็นนิทานที่เล่าต่อๆกันมาที่วัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายมีตำนาน

เล่าเกี่ยวกับเรื่องแมงสี่หูห้าตาว่า

ในเมืองพันธุมัตติราชธานีมีพญาชื่อพันธุมัตติมีเทวี๗นางในเมืองนี้มีทุคตะ๓พ่อแม่ลูกต่อมาแม่และพ่อได้ตาย

จากไปก่อนตายพ่อก็ให้โอวาทสั่งสอนและสั่งว่า ไม่ต้องจัดพิธีงานศพพ่อ เมื่อศพล่อนให้ลากเอาหัวและกะโหลกไปตามทางถ้า

ติดตรงไหนก็ให้ใส่แร้วตรงนั้น

เมื่อพ่อเสียชีวิตแล้วชายทุคตะได้ปฏิบัติตามที่พ่อสั่งไว้และดักแร้วได้สัตว์ที่มีลักษณะประหลาดคือมี๔หู๕ตา

จึงนำมาไว้ที่ตูบน้อยที่อยู่ของตนเองพบว่าแมงสี่หูห้าตาชอบกินถ่านไฟแดงเป็นอาหารและถ่ายมูลเป็นทองคำทุกวันชายทุคตะ

จึงได้ขนเอาไปฝังไว้ในสวนจำนวนมากโดยไม่มีใครทราบ

พญาพันธุมัตติราชมีราชธิดาชื่อนางสิมมามีรูปโฉมงดงามเมื่อพญาทั้งหลายมาสู่ขอพญาพันธุมัตติราชได้ประกาศว่า

ถ้าผู้ใดสามารถตีลินคำ (รางน้ำทองคำ)พาดจากเมืองของตนมาถึงคุ้มของพญาได้ ตนเองจะยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย ชาย

ทุคตะจึงหาช่างมาตีลินคำพาดจากตูบน้อยของตนเองไปถึงคุ้มพญาพญาจึงยกลูกสาวให้แต่งงานด้วย

วันหนึ่งพญาพันธุมัตติราชจึงเรียกชายทุคตะมาสอบถามถึงที่มาของทองคำจำนวนมากที่นำมาตีเป็นลินคำ เขาจึงเล่า

ความจริงให้พญาฟังทั้งหมดพญาจึงให้คนไปขนเอาทองคำที่ฝังไว้มาเก็บในคลังหลวงและนำแมงสี่หูห้าตามายังคุ้มหลวงคนทั้ง

หลายพากันมามุงดูเป็นจำนวนมากแมงสี่หูห้าตาจึงหนีเข้าไปในช่องถ้ำที่อยู่ใกล้เมืองพญาและ

อำมาตย์ทั้งหลายจึงตามเข้าไปในถ้ำแต่ปากถ้ำได้พังทลายลงมาปิดไว้หาทางออกไม่ได้มีแต่

ช่องเล็กๆพญาจึงให้เทวีทั้ง๗มาหาและให้เปิดผ้านุ่งให้ดูมีนางเทวีคนที่๗คนเดียวที่

ตัดสินใจยอมเปิดผ้านุ่งให้ดู ทำให้ก้อนผาที่ปิดปากถ้ำหัวเราะและแตกออกพญาและ

อำมาตย์จึงออกมาได้พญาทั้งหลายจึงรักเมียปลายมากกว่าเมียเก๊ามาตราบทุกวันนี ้

ต่อมาพญาพันธุมัตติราชได้โปรดให้ราชาภิเษกลูกเขยเป็นพญา ได้

เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “พระยาธรรมมิกะราช” และมีการเฉลิมฉลองนับ๗วัน๗

คืนมีพระสงฆ์มาเผยแพร่พระพุทธศาสนา แล้วนำพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้ว

ก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้ามาถวาย ในฐานะที่เป็นเจ้าเมืองพระยาธรรมมิกะ

ราชจึง โปรดฯ ให้สร้างวัดวาอารามต่างๆ เพิ่มขึ้นและได้สร้างวัดดอยเขาควาย

แก้วโดยนำเอาพระบรมพุทธสารีริกธาตุนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าบรรจุใส่ไว้

ในเจดีย์ของวัดดอยเขาควายแก้วอีกด้วย วัดนั้นสร้างตรงยอดดอยที่มีถ้ำที่แมงสี่หู

ห้าตามาติดบ่วงแร้วได้ที่นั่นและเป็นวัดพระธาตุดอยเขาควายแก้วของจังหวัดเชียงราย

ในปัจจุบัน

๑.๒ กฎหมาย

กฎหมายของล้านนา เข้าใจว่าได้รวบรวมและตราขึ้นใช้ในสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาผู้สร้าง

เมืองเชียงใหม่มีชื่อว่า “มังรายศาสตร์”หรือ “วินิจฉัยมังราย”สันนิษฐานว่าพญามังรายอาจจะตรากฎหมายฉบับนี้โดยได้รับ

อิทธิพลของ “กฎหมายมังรายศาสตร์”ของมอญจากหริภุญชัยมังรายศาสตร์คงเป็นกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาตัดสินคดี

ต่างๆสืบทอดต่อกันมาหลายสมัยนอกจากนี้ยังพบต้นฉบับกฎหมายอีกหลายฉบับ เช่นกฎหมายเช่านาอวหาร๒๕(ว่า

ด้วยการโจรกรรม๒๕)กฎหมายโคสาราษฎร์เป็นต้น

๑.๓ ตำรา

ได้แก่ ตำราโหราศาสตร์ ตำราสมุนไพรตำราประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่นพิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ มูล

ประทีป (ว่าด้วยประเพณีการจุดประทีปตามบ้านเมือง)บูชาเคราะห์หลวง (ว่าด้วยประเพณีการสะเดาะเคราะห์ และลักษณะ

ขึดหรืออุบาทว์ต่างๆ)เป็นต้น

๑.๔ ชาดก

วรรณกรรมประเภทนิทานชาดกของล้านนามีอยู่เป็นจำนวนมากส่วนใหญ่จะเป็นชาดกนอกนิบาต ซึ่งสืบเนื่องมาจาก

การนำนิทานท้องถิ่นมาแต่ง เพื่อใช้เทศนาสั่งสอนโดยกล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์การแต่งจะมีลักษณะยกคาถาบาลี

ตั้งแล้วพรรณนาเป็นภาษาร้อยแก้วบางเรื่องก็มีลักษณะการแต่งปนกับร่าย(ซึ่งเรียกกันว่า“ธรรมค่าว”)

๑.๕ คำสอน

วรรณกรรมคำสอนที่แต่งเป็นร้อยแก้ว มักจะแต่งขึ้นใช้เทศน์เช่นเดียวกับวรรณกรรมประเภทชาดกโดยมีการยกคาถา

บาลีตั้งแล้วอธิบายขยายความเป็นร้อยแก้ว หรือมีการแต่งเป็นร่ายปนด้วย วิธีการสอนนั้นมีทั้งการใช้เทศนาโวหารและสาธก

โวหารโดยการยกอุทาหรณ์เป็นนิทานประกอบตัวอย่างเช่นวรรณกรรมเรื่องปู่สอนหลานย่าสอนหลานโลกนัยคำสอนโลกหานี

คำสอนโลกธนะเป็นต้น

๒. วรรณกรรมประเภทร้อยกรอง

ร้อยกรองของล้านนาแบ่งตามลักษณะรูปแบบได้๖ประเภทคือโคลงร่ายค่าวซอคำร่ำกาพย์และซอที่ปรากฏ

เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์พบต้นฉบับส่วนใหญ่มีเพียง๓ประเภทคือ ร่าย (เรียกว่า “ธรรมค่าว”หรือ “ค่าวธรรม”) โคลง

และค่าวซอทั้งนี้เพราะคำประพันธ์อีก๓ชนิดคือกาพย์คำร่ำและซอนั้นเป็นลักษณะบทเพลงพื้นบ้านกล่าวคือกาพย์นั้น

เป็นเพียงบทแทรกสำหรับพระภิกษุสงฆ์ใช้สลับในการเทศน์(ลักษณะคล้ายกับแหล่ของภาคกลาง)คำร่ำเป็นบทขับขานในพิธีกรรม

ส่วนซอเป็นลักษณะเพลงปฏิพากย์คือมีนักร้องชายหญิงที่เรียกกันว่า“ช่างซอ”ขับร้องโต้ตอบกัน(คล้ายกับ“หมอลำ”ของ

ภาคอีสาน)ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยพบการแต่งคำประพันธ์ทั้งกาพย์คำร่ำและซอนี้เป็นวรรณกรรมลายลักษณ์แต่อย่างใด

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 10: tourism culture3

๒.๑ วรรณกรรมประเภทโคลง เท่าที่พบต้นฉบับแบ่งตามเนื้อหาได้ดังนี้ประเภทนิราศประเภทประวัติศาสตร์ประเภทนิทานประเภทคำสอนและโคลงกลบทต่างๆ ๒.๒ วรรณกรรมประเภทร่าย วรรณกรรมประเภทนี้เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาจึงมักเรียกว่าธรรมค่าวค่าวธรรมหรือกลอนธรรมกล่าวคือพระภิกษุแต่งขึ้นเพื่อใช้เทศนาธรรมเนื้อหาจึงจัดเป็นวรรณกรรมคำสอนโดยตรงส่วนใหญ่จะเป็นนิทานชาดกซึ่งมีที่มาทั้งจากนิทานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาจากอรรถกถาชาดกและปัญญาชาดกลักษณะการแต่งจะคาบเกี่ยวกับร้อยแก้วสำนวนเทศน์พัฒนาเป็นร่ายโบราณ(ที่มีวรรคละ๕คำเป็นหลัก)และเป็นร่ายยาว(ที่มีถึงวรรคละ๑๐คำก็ได้)เช่นเรื่องที่นิยมแต่งกันมากคือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๒.๓ วรรณกรรมประเภทค่าวซอ เป็นคำประพันธ์ของล้านนาชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะวรรณกรรมค่าวซอเป็นวรรณกรรมที่สืบเนื่องมาแต่ “ธรรมค่าว” นักเขียนภาคเหนือนิยมแต่งกันมากในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (เริ่มตั้งแต่ประมาณพ.ศ.๒๓๐๐อันเป็นระยะที่เชียงใหม่พ้นจากการปกครองของพม่าแล้วและในช่วงที่กวีรัตนโกสินทร์นิยมแต่งวรรณกรรมด้วยกลอนแปดหรือ กลอนสุภาพกวีภาคเหนือนิยมแต่งวรรณกรรมด้วยค่าวซอเป็นส่วนใหญ่)จุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อ“เล่าค่าว”หมายถึงการที่ผู้รู้อักษรล้านนา(ซึ่งบวชเรียนมาแล้ว)เป็นผู้อ่านค่าวซอเป็นทำนองเสนาะหรือที่เรียกว่าการ “จ๊อย”มีหลายทำนอง เช่นทำนองเชียงใหม่ทำนองเมืองเถินทำนองลำปางทำนองเชียงแสนทำนองโก่งเฮียวบงทำนองม้าย่ำไฟทำนองวิงวอนเป็นต้นเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องจักรๆวงศ์ๆเช่นค่าวซอหงส์หินค่าวซอเจ้าสุวัตรนางบัวคำค่าวซอก่ำกาดำเป็นต้น ๒.๔ วรรณกรรมประเภทค่าวร่ำ ค่าวร่ำ(อ่านว่าค่าวฮ่ำ)คือค่าวที่พรรณนาถึงเหตุการณ์หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะบางเรื่องคล้ายกับจดหมายเหตุเช่นค่าวร่ำเชียงแสนแตกค่าฮ่ำบอกไฟขึ้นเป็นต้น ๑)ค่าวเชียงแสนแตก

ค่าวเชียงแสนแตกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการรบกับพม่าของกลุ่มคนไทย เพื่อยึดเชียงแสนต้นฉบับที่พบเป็นเอกสารใบลานของวัดม่วงตึ๊ดตำบลม่วงตึ๊ดอำเภอเมืองจังหวัดน่านจำนวน๑ผูกความยาว๔๒หน้าลานคัดลอกด้วยอักษรธรรมล้านนาแต่ไม่ปรากฏชื่อผู้คัดลอกและกวีผู้แต่ง ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว6กล่าวว่า “ต้นฉบับเดิมของเอกสารนี้ขาดหายไปจำนวนหลายหน้า โดยเฉพาะในช่วงตอนท้าย จึงทำให้กวีพนธ์เรื่องค่าวเชียงแสนแตกไม่จบบริบูรณ์ โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น๑๔ตอนประกอบด้วยกวีนิพนธ์จำนวน๕๒๘บทเฉพาะบทสุดท้ายมีเพียง๒วรรคความต่อเนื่องจากนั้นได้ขาดหายไป...” บทที่๑และ๒ขึ้นต้นด้วยการขอพรจากพระรัตนตรัยว่า ๑.อภิวันเทปูเชโครพ พระไตรภพติโลกาจารย์ นวธัมม์รัสสะหาร ทักขินัยยารัตนะแก้ว ๒.ชุลีกรบวนสว่างแล้ว เศียรใส่เกล้าสิรงค์ วันทานบคุลีเบงจงค์ ทังที่ติดที่เท้าทั้งห้า

เนื้อหาในค่าวเชียงแสนแตก เป็นการกล่าวถึงการขับไล่พม่าให้ออกจากเมืองเชียงแสนในปี พ.ศ.๒๓๔๖ โดยมีกองทัพจากเมืองเชียงใหม่ลำปางและน่านร่วมมือกันเข้าตีเมืองเชียงแสน โดยกองทัพของทั้งสามเมืองได้ยกมาปิดล้อมเมืองไว้ จากนั้นจึงวางแผนที่จะเข้าโจมตีพร้อมกัน และนัดหมายให้ทหารในเมืองเชียงแสนเป็นฝ่ายเปิดประตูให้ กองทัพของทั้งสามเมืองจึงยกเข้าสู่ตัวเมืองเชียงแสนได้โดยสะดวก เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนการณ์ที่วางไว้จึงสามารถยึดเมืองเชียงแสนได้ไม่ยากเย็นนัก ในสงครามครั้งนี้แม่ทัพพม่าถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิตบรรดาทหารที่เหลืออยู่ทั้งหมดจึงแตกพ่ายหนีไปปรากฏความว่า ๒๗๒.เตชะบุญกระหม่อมเหนือเกล้า มากนักปราบพลมาร หวานม่านร้ายหากม้วยสังขาร ชีวิตมารถูกปืนถูกเกล้า ๒๗๓.จับใส่หัวโป่ม่านผู้เถ้า ท่าวล้มข่วงอาราม ฝูงหมู่ลูกน้องสรวมหอบหยุบหาม ออกอารามแล่นหนีจากหั้น ม่านทังหลายต่างคนต่างดั้น พร่องลงเรือสู่น้ำ หลังจากยึดเมืองเชียงแสนคืนจากพม่าได้สำเร็จแล้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ลำปางและน่านจึงอพยพกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองเชียงแสนไปยังเมืองของตนทำให้เมืองเชียงแสนกลายเป็นเมืองร้าง

๒)ค่าวร่ำบอกไฟ7

ค่าวร่ำบอกไฟเป็นค่าวที่ใช้สำหรับขับในคราวมีประเพณีจิบอกไฟ(จุดบั้งไฟ)ของชุมชนชาวบ้านส่วนมากจะจิสำหรับบูชาพระธาตุที่ชุมชนนับถือสำนวนภาษามักจะกล่าวถึงเหตุการณ์อย่างสนุกสนานเช่น มาเต๊อะมาเต๊อะปี่น้องทังหลายศรีเกิดเจียงรายปากั๋นวิ่งเต้นหาเฝ่าฝืนฟางดินไฟและขางหามาพร้อมถ้วนแล้วใส่ครกก้วนตำสากมองดัง บางคนใคร่หัน สล่าเปิ้นสร้าง ขอเป็นลูกจ้าง แป๋งบอกไฟยาว สืบเจื้อสืบจ๋าว ต่อไปตางหน้า หมู่จุ๋มตู๋ข้า จักฮ่ำเฮียนเอาจ่วยกั๋นขูดเหลาไม้หวายลากเส้นตู๋ข้าบ่เว้นฮีตเก่าฮอยเดิมจักขอส่งเสริมบ่ละคว่างไว้ตู๋ข้ารับไจ้หามแห่เดินตางสนุกสนานตวยกันเป็นเส้นฟ้อนรำม่วนเล้นดีดเต้นนมมือขอพระบุญเหลือจ้วยก้ำจ้วยป้องจิบอกไฟยาวโห่ร้องเจี๋ยวจ๋าวตี๋กล๋างโต้งกว้างยกขึ้นใส่ก้างจิเสียยามแลงบ่ถ้ากินเหนงหมู่เฮาเปิ้นป๊องขึ้นก็ฟ้อนบ่ขึ้นก็ฟ้อนมันเป๋นตุกข์ย้อนได้ต๋อกได้ต๋ำตี๋นมือบอดำลำคอบอเส้าหมู่เฮานี้เล่าสนุกเมามัวแม่ฮ้างลืมครัวแม่เฮือนลืมผัวสาวจี๋ลืมจู้ก็หมู่นี้เนอ...

ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

1�

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 11: tourism culture3

สถานการณ์ภาษาล้านนาในจังหวัดเชียงรายเป็นเช่นกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือคือมีการพูดภาษาล้านนา

(คำเมือง)ผสมกับภาษาไทยถิ่นกลางเป็นจำนวนมากซึ่งลักษณะการพูดคำเมืองผสมกับภาษาไทยนั้นคำเมืองจะเรียก

ว่าแปล๊ด(ปะ-แล๊ด,ไทยแปล๊ดเมือง)โดยมากแล้วมักจะพบในคนที่พูดคำเมืองมากๆแล้วพยายามจะพูดไทยหรือ

คนพูดภาษาไทยพยายามจะพูดคำเมืองเผลอพูดคำทั้ง๒ภาษามาประสมกันเช่น

แดดร้อนมากเลยเอาจ้องมากางดีกว่า

(ถ้าเป็นภาษาเมืองจริงๆต้องพูดว่าแดดฮ้อนแต๊เอาจ้องมาก๋างเลาะ)

อะไรเนี่ย!ทำไมมันแพงแต๊แพงว่า

(ถ้าเป็นภาษาเมืองจริงๆต้องพูดว่า“อะหยังนิจะ(ยิ)ไดมันแปงแต๊แปงว่า”

การพูดคำเมืองที่เป็นประโยคแบบดังเดิมนั้นหายากแล้วเนื่องจากมีการผสมผสานกับภาษาไทยภาคกลางทั้งใน

สำเนียงและคำศัพท์ยกตัวอย่างประโยคกำเมืองแบบดั้งเดิมเช่น

กิ๋นข้าวแล้วกา = ทานข้าวแล้วรึยัง

ยะอะหยั๋งกิ๋นกา(เจ้า) = ทำอะไรทาน(ค่ะ)ถ้าเป็น

ผู้ชายจะไม่ลงท้าย

คำว่าเจ้า

ไปตังใดมา(เจ้า) = ไปไหนมา(ค่ะ)

iปริญญากายสิทธิ์.ประวัติพระพุทธศาสนาในล้านนาไทยตั้งแต่งพ.ศ.๑๙๑๒–๒๑๐๑.กรุงเทพฯ:ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาประวัติศาสตร์)

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,๒๕๒๘(หน้าที่๑๑)iiพระยาประชากิจกรจักร(แช่มบุนนาค).พงศาวดารโยนก.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๑๕.(หน้าที่๓๑๗)iiiสมหมายเปรมจิตต์อ้างถึงในบุญคิดวัชรศาสตร์.แบบเรียนภาษาเมืองเหนือ.พิมพ์ครั้งที่๖.เชียงใหม่:ธาราทองการพิมพ์,๒๕๒๗.ivตำนานพระธาตุดอยตุงในประชุมตำนานพระธาตุภาคที่๑และภาคที่๒.กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๑๓.vพระยาประชากิจกรจักร์(แช่มบุนนาค).พงศาวดารโยนก.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๑๕.viไพฑูรย์ดอกบัวแก้ว.ค่าวเชียงแสนแตกในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือเล่ม๒.กรุงเทพฯ:มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยธนาคารไทยพาณิชย์,

๒๕๔๒.(หน้า๙๒๓–๙๒๔)viiคณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดเชียงราย.กรุงเทพฯ:

กรมศิลปากร,๒๕๔๔.(หน้า๑๑๗–๑๑๘)

บรรณานุกรม

สถานการณ์ภาษาล้านนาในจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ตอนที่ 3 :สร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม

�0

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย