89

Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6
Page 2: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

บรรณาธิการบริหาร รองศาสตราจารย์สราวุธ สุธรรมาสา

ผู้ช่วยบรรณาธิการ คุณโยธิน ตันธรรศกุล

กองบรรณาธิการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล รองศาสตราจารย์ ดร.ธเรศ ศรีสถิตย์

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.พญ.ศิริกุล อิศรานุรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทิน อยู่สุข

รองศาสตราจารย์ ดร.ชมภูศักดิ์ พูลเกษ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อยู่สุข รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ฟองสถิตย์กุล

รองศาสตราจารย์ ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา คงศีล

รองศาสตราจารย์ นพ.พิทยา จารุพูนผล รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย

มหาวิทยาลัยบูรพา รองศาสตราจารย์ ดร.กุหลาบ รัตนสัจธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร

อาจารย์ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ นันทวานิช

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธชัย บันเทิงจิตร

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พญ.พิชญา พรรคทองสุข รองศาสตราจารย์ ดร.เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ รองศาสตราจารย์ ดร.พาณี สีตกะลิน

รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศริศักดิ์ สุนทรไชย

รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา รองศาสตราจารย์สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์

รองศาสตราจารย์ ดร.สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล รองศาสตราจารย์ปีติ พูนไชยศรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง

กระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี

กระทรวงแรงงาน คุณกาญจนา กานต์วิโรจน์

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.ไชยยศ บุญญากิจ

กระทรวงสาธารณสุข ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์

ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

นพ.วิชาญ เกิดวิชัย นพ.ลือชา วนรัตน์

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ

ผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา จงวิศาล

ดร.ทวีสุข พันธุ์เพ็ง คุณสุดธิดา กรุงไกรวงศ์

เจ้าของ : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางพูดอ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

โทร. 0 2503 3610, โทรสาร 0 2503 3570

Vol. 5 No. 18 March - May 2012

กอง บรรณาธกิาร ยนิด ีที ่จะ เปน็ สือ่ กลาง ใน การ แลก เปลีย่น ขา่วสาร ขอ้มลู ที ่ม ีประโยชน ์หรอื นา่ สนใจ ตอ่ สาธารณชน และ ขอ สงวน สทิธิ ์ใน การ สรุป ย่อ ตัด ทอน หรือ เพิ่ม เติม ตาม ความ เหมาะ สม

ความ เห็น และ ทัศนะ ใน แต่ละ เรื่อง เป็น ของ ผู้ เขียน ซึ่ง ทาง กอง บรรณาธิการ และ สาขา วิชา วิทยาศาสตร์ สุขภาพ ไม่ จำเป็น จะ ต้อง เห็น ด้วย เสมอ ไป

พิมพ์ที่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

โทรศัพท์ 0 2504 7680 - 6 โทรสาร 0 2503 4913 ปก: นายกิตติ บุญโพธิ์ทอง รูปเล่ม: นายไพบูลย์ ทับเทศ นางสาวดวงกมล วูวนิช

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

Page 3: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

2

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล รองศาสตราจารย์ ดร.ธเรศ ศรีสถิตย์

รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.พญ.ศิริกุล อิศรานุรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุทิน อยู่สุข

รองศาสตราจารย์ ดร.ชมภูศักดิ์ พูลเกษ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อยู่สุข รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ฟองสถิตย์กุล

รองศาสตราจารย์ ดร.วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา คงศีล

รองศาสตราจารย์ นพ.พิทยา จารุพูนผล รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ ณ หนองคาย

รองศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ แก้วปาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชราพร เกิดมงคล

อาจารย์ พญ.สุพัตรา ศรีวนิชากร

มหาวิทยาลัยบูรพา รองศาสตราจารย์ ดร.กุหลาบ รัตนสัจธรรม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร

รองศาสตราจารย์ ดร.นพ.สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ อาจารย์ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร รองศาสตราจารย์ ดร.สืบศักดิ์ นันทวานิช

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธชัย บันเทิงจิตร

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พญ.พิชญา พรรคทองสุข รองศาสตราจารย์ ดร.เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย

มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล ตันสกุล

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ รองศาสตราจารย์ ดร.พาณี สีตกะลิน

รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ เกยุรานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศริศักดิ์ สุนทรไชย

รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา รองศาสตราจารย์สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์

รองศาสตราจารย์ ดร.สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล รองศาสตราจารย์ปีติ พูนไชยศรี

รองศาสตราจารย์สราวุธ สุธรรมาสา ผูช้ว่ยศาสตราจารย ์ดร.วรางคณา จนัทรค์ง

รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา สุธีธร

กระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี

กระทรวงแรงงาน คุณกาญจนา กานต์วิโรจน์

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดร.ไชยยศ บุญญากิจ

กระทรวงสาธารณสุข ดร.เมธี จันท์จารุภรณ์ ดร.นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์

ดร.พญ.ฉันทนา ผดุงทศ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

นพ.วิชาญ เกิดวิชัย นพ.ลือชา วนรัตน์

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ รองศาสตราจารย์ พญ.เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม

นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล

ผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา จงวิศาล

ดร.ทวีสุข พันธุ์เพ็ง คุณสุดธิดา กรุงไกรวงศ์

ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงาน

ท่านที่สนใจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงาน กรุณาส่งประวัติของท่าน (ได้แก่วุฒิการศึกษาสูงสุด ผลงานวิชาการ และ Area of Interest)

มายังกองบรรณาธิการ

Page 4: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

3Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

รองศาสตราจารย์สราวุธ สุธรรมาสา

บรรณาธิการบริหาร

บทบรรณาธิการ

บทความ ใน วารสาร ความ ปลอดภัย และ สุขภาพ ฉบับ นี้ ยัง คง เน้น หนัก ไป ที่ งาน วิจัย ทั้ง ที่ เป็น

งาน วิทยานิพนธ์ และ งาน วิจัย ทั่วไป งาน วิจัย เรื่อง น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด ซ้ำ น่า จะ มี เนื้อหา ที่ อาจ เป็น ประโยชน์ ต่อ

การ พยายาม ที่ จะ ผลัก ดัน ให้ มติ สมัชชา สุขภาพ แห่ง ชาติ ว่า ด้วย เรื่อง นี้ เป็น จริง ขึ้น มา ให้ ได้ สำหรับ เรื่อง

วัฒนธรรม ความ ปลอดภัย ก็ เป็น เรื่อง ที่ น่า สนใจ มาก งาน ความ ปลอดภัย ใน การ ทำงาน ต้อง ทำ ทั้ง Hardware

คือ การ ควบคุม ป้องกัน ด้วย วิธี การ ทาง วิศวกรรม และ บริหาร จัดการ ที่ แหล่ง กำเนิด ปัจจัย เสี่ยง และ Software

คอื การ ใช ้วธิ ีการ บรหิาร จดัการ มา จดัการ ที ่ตวัผู ้ปฏบิตั ิงาน ดงั นัน้ ถา้ สามารถ สรา้ง วฒันธรรม ความ ปลอดภยั ขึน้

ใน องคก์ร ได ้ก ็หมายความ วา่ ความ สำเรจ็ ใน การ ปอ้งกนั การ ประสบ อนัตราย และ ความ เปน็ โรงงาน ที ่ม ีมาตรฐาน

การ ทำงาน และ รับ ผิด ชอบ ต่อ สังคม น่า จะ ไม่ ไกล เกิน เอื้อม

ผู้ ที่ ทำงาน ใน โรง พยาบาล ก็ ไม่ ได้ หมายความ ว่า จะ ปลอดภัย ไป ทุก อย่าง ว่า ไป แล้ว มี ปัจจัย เสี่ยง

หรือ อันตราย (Hazards) มากมาย ใน โรง พยาบาล อย่าง เช่น การ ใช้ ก็าซ เอทิลี นอ อก ไซด์ ใน การ ปฏิบัติ งาน

จึง ขอ เชิญ ชวน ท่าน ผู้ อ่าน อ่าน บทความ การ วิจัย ว่า ด้วย การ ใช้ สาร นี้ ใน การ ทำงาน ด้วย คน ทำงาน ใน อู่ ต่อ เรือ

ก็ ต้อง สัมผัส กับ สาร ตะกั่ว จึง น่า สนใจ ที่ จะ ทราบ ข้อมูล การ สัมผัส และ สภาวะ สุขภาพ ของ คน ทำงาน ว่า

เป็น อย่างไร บ้าง

สำหรับ บทความ ประจำ มี เรื่อง น่า สนใจ มาก ที่ จะ ช่วย เสริม การ ทำงาน ของ คนใน วงการ อาชีว อนามัย

และ ความ ปลอดภัย เช่น เรื่อง ชีวิต การ ทำงาน ที่ สมดุล นำ ไป สู่ ความ ปลอดภัย ใน การ ทำงาน เรื่อง การ ประเมิน

ความ เสี่ยง สุขภาพ ของ องค์การ อนามัย โลก รวม ทั้ง บทความ ที่ เสริม ฐาน ความ รู้ ให้ แน่น มาก ขึ้น เกี่ยว กับ

เรื่อง เสียง ดัง

หวัง ว่า ความ รู้ ต่างๆ ที่ นำ เสนอ ใน วารสาร นี้ จะ เป็น ประโยชน์ สำหรับ ท่าน ผู้ อ่าน นะ ครับ

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI

Page 5: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

4

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

● บทความจากงานวิจัย ปัจจัย ที่ มี อิทธิพล ต่อ วัฒนธรรม ความ ปลอดภัย ใน อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี.....................................................

การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว และ ภาวะ สุขภาพ ของ คน งาน อู่ ต่อ เรือ........................................................................

การประเมินความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานสัมผัสกับเอทิลีนออกไซด์

ในโรงพยาบาลของเขตภาคใต้ตอนบน.......................................................................................................

ปัจจัย ที่ มี ความ สัมพันธ์ ต่อ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร และ ปริมาณ สาร โพ ลาร์

ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ ใน ผู้ ขาย อาหาร ทอด อำเภอ หนึ่ง ใน ภาค ตะวัน ออก.............................................................

ความ รู้ และ พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ของ บุคลากร ใน สังกัด

กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น...............................................................................................................

● การยศาสตร์ “ชีวิต การ ทำงาน ที่ สมดุล” นำ ไป สู่ ความ ปลอดภัย ใน การ ทำงาน.....................................................................

● ทันโลกเทคโนโลยี เครื่อง มือ ประเมิน ความ เสี่ยง ด้าน สุขภาพ ของ มนุษย์ ของ องค์การ อนามัย โลก.................................................

● บันทึกสาระด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เสียง ใน อุตสาหกรรม (2) การ ตรวจ วัด เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน ใน โรงงาน อุตสาหกรรม.................

5 - 19

20 - 34

35 - 45

46 - 58

59 - 67

68 - 73

74 - 76

77 - 87

เรื่อง หน้า

สารบัญ

Page 6: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 5

บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่

มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมปโิตรเคมีและ2)เปน็แนวทางในการพฒันาวฒันธรรมความปลอดภัยในองค์การ การศึกษาครั้งนี้นำแนวคิดวัฒนธรรมหนว่ยงานมาสรา้งกรอบแนวคดิโดยมีตวัแปรอสิระจำนวน7ตัวคือเจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัยการสื่อสารดา้นความปลอดภยัขดีความสามารถของบคุลากรดา้นความปลอดภัย ความร่วมมือของบุคลากรด้านความปลอดภัยและความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัย มีตัวแปรตามคือวัฒนธรรมความปลอดภัยซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง (Exploratory and Cross sectional study) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปทดสอบความเชื่อถือได้ของมาตรวัด ผลการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบคั(Cronbach’salphacoefficient)มีคา่อยู่ระหวา่ง0.79-0.967และใช้การวเิคราะห์ปจัจยั(FactorAnalysis)เปน็การตรวจสอบความตรงของแบบสอบถามมีกลุม่ตวัอยา่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ขัน้ปลายในเขตนคิมอตุสาหกรรมมาบตาพดุมีกลุม่ตวัอยา่งทั้งสิ้น560จากจำนวนโรงงานทั้งหมด14โรงงานสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับ คืนมา 422 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.36 ของแบบสอบถามที่แจกทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) เพื่อหาความ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

Factors Effecting of Safety Culture in Petrochemical Industries

ดร.รังสรรค์ ม่วง โส รส รปด. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)บริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)

สัมพันธ์และอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม

ผลการวิจัยพบว่า ขีดความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย การสื่อสารด้านความปลอดภัย และความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย เป็นลำดับที่ 1,2และ 3 โดยมีกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผ่านขีดความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย และประสิทธิผลของระบบการจัดการความปลอดภัยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผ่านขีดความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย การสื่อสารด้านความปลอดภัยความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัยและกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดย เจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัย และความร่วมมือ ของบุคลากรด้านความปลอดภัยไม่มีผลต่อวัฒนธรรม ความปลอดภัย

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยควรมุ่งเน้นที่ขีดความสามารถของบุคลากรดา้นความปลอดภยัโดยบรูณาการเขา้ไปในการบรหิารจดัการทรัพยากรมนุษย์ และใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการปรบัเปลีย่นวฒันธรรมความปลอดภยัในองคก์ารและกำหนดความปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคน

คำสำคัญ: วัฒนธรรมความปลอดภัย/การจัดการความปลอดภัย/อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

Page 7: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

6 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

AbstractThisresearchaimsat1)studyingfactors

effecting of safety culture in Petrochemical

Industries and2)Aguideline for safety culture

in organizations. This study adopted corporate

cultureconcepttoconstructconceptualframework.

Safety culturewas the dependent variable and

had 7 independent variables including the

safety of commitment toward safety, the safety

of communication, the safety of employee

competence,thesafetyofemployeecoordination

and the safety of employee responsibility.

The researchwasconductedquantitativelyand

crosssectionalapproach.Questionnairewasused

tocollectthedataandconductedtheinstrument

of this research. The sampling groups were

operators in Petrochemical industries. The

researchers use multi-stage stratified sampling

technique.Totalofthesamplingsizeswere560

employees. This research was received 422

completed questionnaires return or 75.36%.

Data analysis technique was descriptive

statistics and Path analysis that finding

directandindirectinfluencebetweenvariables.

The resultsof research revealed that the

safetyofemployeecompetence,safetycommuni-

cationandsafetyofemployeeresponsibilityhad

directinfluenceonsafetycultureatfirstsecond

and third rank respectively. Human resource

managementactivitieshad indirectly influenced

on safety culture that pass through safety of

employeecompetence.Similarityofeffectiveness

ofsafetymanagementhadindirectlyinfluencedon

safetyculturethatpassthroughalldirectinfluences

factors. Safety commitment toward safety and

safetyofemployeecoordinationhadnotinfluenced

onsafetyculture.

Theresultsoftheresearchrecommended

thatsafetycultureshouldbebuildingbysafety

competencewhichintegratedinhumanresource

management.Theeffectivecommunicationshould

be used the instrument for developing safety

culture.Andsafetyissuesisresponsibilitiesofall.

Keywords: Safety culture/Safety manage-

ment/Petrochemicalindustry

1.บทนำการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานนำมา

ซึ่งความสูญเสียอันมากมาย ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้

เริ่มตระหนักและเข้าใจถึงปัญหาของการเกิดอุบัติเหตุ

ประกอบกับรัฐบาลได้ออกกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการเพื่อ

ลดอันตรายหรือเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ใช้แรงงาน เช่น

กฎหมายคุ้มครองแรงงานรวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดี

ในสงัคมและมีความปลอดภยัในชวีติและทรพัยส์นิโดยการ

ใช้กฎหมายและการสร้างแรงจูงใจให้แก่นายจ้างการพัฒนา

บุคลากรด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้มีคุณภาพ

และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จากการบริหารจัดการในภาครัฐที่พยายามกำหนด

กฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบเพื่อให้สถานประกอบการดำเนิน

การสว่นในสถานประกอบการหรอืหนว่ยงานที่ทำหนา้ที่ผลติ

ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีผลกระทบโดยตรง ก็ได้พยายามหาวิธี

การหรือกระบวนการที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในสถาน

ประกอบการเองซึง่วธิีการในอดตีในการปรบัปรงุการบรหิาร

จัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มักจะเน้นการ

ปรับปรุงไปที่ การออกแบบงาน เครื่องจักร วิธีการทำงาน

และให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น จาก

การวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจาก

สภาวะหรือสภาพแวดล้อมแต่เกิดจากการผิดพลาดของคน

(HumanError)(Harvey,Bolam,GregoryandErdos,

1999: 619) ความผิดพลาดที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่

มาจากการสบัสนหรอืไม่ชดัเจนของระเบยีบปฏบิตัิหรอืการ

ตดัสนิใจที่ผดิพลาดซึง่เชือ่มโยงตอ่การปฏบิตัิงานของคนงาน

เอง ดังนั้นการที่ผู้ปฏิบัติงานจะสามารถเลือกหรือตัดสินใจ

ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยนั้น

ไม่ได้เพียงแต่มีกฎระเบียบหรือระเบียบปฏิบัติที่ดี แต่ผู้

ปฏบิตัิงานจะเปน็ตวักำหนดวา่จะเลอืกปฏบิตัิตามกฎระเบยีบ

หรือระเบียบปฏิบัติหรือไม่ เพราะเรื่องของความปลอดภัย

Page 8: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 7

เปน็สิง่ที่พนกังานจะตอ้งมีความตระหนกัโดยตวัของพนกังาน

เอง ผู้บริหารจำเป็นต้องมีบทบาทในการบริหารจัดการ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยกำหนดให้ความ

ปลอดภัยเป็นค่านิยมหลัก เพื่อให้แสดงถึงเจตจำนงของ

พนักงานทุกคนที่มีต่อความปลอดภัย และใช้เป็นแบบแผน

ในการปฏบิตัิงานของคนในองคก์ารรวมถงึตัง้ความคาดหวงั

ให้สูงต่อความรับผิดชอบของผู้บริหารและคนงานที่จำเป็น

ต้องมีพฤติกรรมความปลอดภัย อันจะนำมาซึ่งวัฒนธรรม

ความปลอดภัยขององค์การ(WarrackandSinha,1999:

780)

ปิโตรเคมี เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ได้จาก

การแปรสภาพนำ้มนัหรอืกา๊ซธรรมชาติโดยผา่นกระบวนการ

ต่างๆ ของโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และ

โรงงานปิโตรเคมี ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้น ขั้นกลาง และ

ขั้นปลายตามลำดับ

1)ปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream) เป็นกระบวนการ

แปรสภาพก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน ให้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นใน

อตุสาหกรรมปโิตรเคมีซึง่โครงสรา้งทางเคมีแบง่เปน็2กลุม่

หลัก คือ โอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ ก่อนส่งให้ปิโตรเคมี

ขั้นกลาง

2)ปโิตรเคมีขัน้กลาง(Intermediate)เปน็กระบวน

การผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากปิโตรเคมีขั้นต้น ผลิตภัณฑ์

ขั้นกลางนี้ยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรงต้องส่งต่อไป

เป็นวัตถุดิบของปิโตรเคมีขั้นปลายต่อไป

3)ปโิตรเคมีขัน้ปลาย(Downstream)เพือ่ผลติเปน็

เมด็พลาสตกิและวสัดุสงัเคราะห์ชนดิตา่งๆซึง่จะถกูนำไปใช้

เป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม

ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรม

สิ่งทอเป็นต้น

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็น

อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ในส่วนของการใช้เทคโนโลยี

ชั้นสูงสารเคมีอันตรายความร้อนความดันรวมถึงความ

พรอ้มในการเกดิอคัคีภยัดงันัน้ผู้ประกอบการจงึได้พยายาม

ที่จะบริหารจัดการด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ จึง

ได้พยายามที่จะหาระบบการจัดการที่เหมาะสมเข้ามาบริหาร

จัดการโดยเฉพาะระบบการจัดการสากลต่างๆเช่นมาตรฐาน

อุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่อง ระบบการจัดการอาชีวอนามัย

และความปลอดภัย(มอก.18001)หรือOHSAS18001

(Occupational Health and Safety Assessment

Series 18001) หรือแม้กระทั่ง ILO (International

Labor Organization) ที่มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

จากการนำระบบมาตรฐานการจัดการมาใช้นั้น ส่วนหนึ่ง

เกิดจากกระแสของสังคมที่ต้องการให้สถานประกอบการมี

กระบวนการผลติที่ปลอดภยัไม่สง่ผลกระทบตอ่สิง่แวดลอ้ม

และชมุชมขา้งเคยีงอกีทัง้ภาคเศรษฐกจิที่ตอ้งการให้องคก์าร

จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐาน

สากลมารองรับ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความ

ปลอดภัยของประเทศไทยที่มีอยู่จำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็น

ปัจจัยผลักดันให้สถานประกอบการได้พยายามแสดงหรือ

อธิบายตนเองต่อสังคมหรือตลาดโลกให้รับรู้ว่าผลิตภัณฑ์

ของตน ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน มีการลงทุนและ

จัดการความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการแสดง

ถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นการลดความเสี่ยง

สร้างภาพพจน์และชื่อเสียงของตนเอง

การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มี

อิทธิพลต่อองค์การในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถบริหาร

จัดการด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ

สามารถที่จะให้องค์การอื่นสามารถนำรูปแบบที่ศึกษาได้

นำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการความปลอดภัยใน

องค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อส่งผลในการป้องกัน

การเกิดอุบัติเหตุในองค์การ และลดการบาดเจ็บความ

สูญเสียต่อไป

2.วัตถุประสงค์ของการศึกษา1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

2) เป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยในองค์การ

3.ทบทวนวรรณกรรมวัฒนธรรมความปลอดภัยเริ่มต้นมาจากการเกิด

อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ เชอร์เนอบิล ใน

ปี1986หลังจากมหันตภัยในครั้งนั้นTheInternational

Nuclear Safety Advisory Group (INSAG) of the

InternationalAtomicAgencyได้สรุปว่าสาเหตุการเกิด

อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีวัฒนธรรมความปลอดภัย

Page 9: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

8 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ที่บกพร่อง (CoxandFlin,1998:190) โดย Interna-

tionalNuclearSafetyAdvisoryGroup(1988:23)ได้

อธิบายว่า วัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นส่วนประกอบของ

คุณลักษณะ และทัศนคติของปัจเจกบุคคลในองค์การที่ซึ่ง

มีความสำคญัมากในอนัดบัตน้ๆในเรือ่งของความปลอดภยั

ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากนั้น ความหมาย

เหล่านี้ ก็ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วไปสู่อุตสาหกรรม

อื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเคมี สายการบินพาณิชย์ แล้ว

ก็ได้เกิดความหมายของวัฒนธรรมความปลอดภัยอัน

หลากหลายที่เริ่มปรากฏในวรรณกรรมต่างๆ วัฒนธรรม

ความปลอดภัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การ

กลา่วคอืวฒันธรรมความปลอดภยัจะถกูวฒันธรรมองคก์าร

กำกบัให้แสดงคณุลกัษณะตามภายใต้ขอบเขตหรอืขอ้จำกดั

ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัย ในท่ามกลางของ

คำนิยามวัฒนธรรมความปลอดภัยอันหลากหลาย Cox

และCox(1991)ได้กล่าวว่า“ดูเหมือนว่าในหลายๆนิยาม

จะมีสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งร่วมกันของวัฒนธรรมความปลอดภัย

ก็คือทัศนคติความเชื่อการรับรู้และค่านิยมที่ลูกจ้างได้

แสดงออกมาในเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัย” วัฒนธรรม

ความปลอดภยัที่ดีควรมี3คณุลกัษณะดงันี้1)มีการสือ่สาร

ที่ถกูสรา้งขึน้จากความเชือ่มัน่ในเรือ่งความปลอดภยั2)มีการ

แบง่ปนัความรู้ในเรือ่งความปลอดภยัที่สำคญัระหวา่งสมาชกิ

ในองค์การ3)มีความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของมาตรการ

ป้องกันอันตรายขององค์การ(HSE,2002)ซึ่งคุณลักษณะ

ดังกล่าวเป็นการเน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติและ

ความเชื่อของคนในองค์การที่มีต่อความปลอดภัย

จากการทบทวนวรรณกรรมของวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยพบว่า วัฒนธรรมความปลอดภัยมีหลายกรอบ

หลากหลายแนวคิด ขึ้นอยู่กับผู้วิจัยที่ว่าจะมีมุมมอง

ต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยเช่นไร จึงส่งผลให้เกิดการ

ศึกษาวิจัยที่หลากหลาย (Cai, 2005) ซึ่งหมายความว่า

การศึกษาวิจัยด้านวัฒนธรรมองค์การนั้นขึ้นอยู่กับมุมมอง

ของผู้วิจัยด้วยเช่นกัน โดยการศึกษาครั้งนี้จะใช้กรอบ

แนวคิดของSchein(1991)เป็นกรอบการศึกษาโดยที่จะ

ระบุว่าวัฒนธรรมประกอบด้วย3ชั้นคือ1)ชั้นในสุดคือ

ฐานคติที่จะมีอทิธพิลตอ่การรบัรู้ความรู้และพฤตกิรรมของ

มนุษย์2)ชั้นถัดมาซึ่งอยู่ตรงกลาง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็น

ถึงทัศนคติหรือค่านิยมของคนงาน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่บอกว่า

สมาชิกในองค์การสนใจในเรื่องใด อะไรเป็นสิ่งถูกหรือผิด

และ 3) ชั้นสุดท้ายซึ่งอยู่นอกสุด คือสิ่งที่มองเห็นและ

สามารถจับต้องได้ เช่น การแต่งกาย การสวมใส่อุปกรณ์

ป้องกันอันตรายของพนักงาน การมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน

อย่างปลอดภัยเป็นต้น

วัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นแนวคิดที่มาจาก

วัฒนธรรมหน่วยงาน(CorporateCulture)ซึ่งแนวคิดนี้มี

พืน้ฐานมาจากทฤษฎีระบบโดยมององคก์ารวา่เปน็เครือ่งมอื

ทางสังคมที่จะผลิตสินค้าบริการและผลพลอยได้จากการ

ผลติ(Smircich,1983)ทำให้เกดิการศกึษาถงึความสมัพนัธ์

ระหว่างองค์การและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมจะสื่อถึง

พฤติกรรมของผู้บริหารที่แสดงออกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆที่

มีความหมาย และเชื่อว่าองค์การที่ประสบผลสำเร็จจะต้อง

มีลักษณะวัฒนธรรมแกร่ง (StrongCulture)การประสบ

ผลสำเร็จคือองค์การจะต้องบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์

ที่องค์การตั้งไว้ ในทำนองเดียวกัน การมีวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยก็คือการที่องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความ

ปลอดภยัขององคก์ารคอืการที่พนกังานปฏบิตัิงานดว้ยความ

ปลอดภยัไม่เกดิการบาดเจบ็ตายหรอืพกิารอนัเนือ่งมาจาก

การทำงานซึง่คณุลกัษณะที่สำคญัของการมีวฒันธรรมก็คอื

(ทิพวรรณหล่อสุวรรณรัตน์,2547:189)

1) การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม หรือใน

องค์การ

2) เป็นสิ่งที่มีร่วมกันระหว่างสมาชิกของกลุ่มสังคม

3)เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และสร้างขึ้น และ

ถ่ายทอดไปยังคนอื่นๆได้

4)ประกอบด้วยส่วนที่เป็นวัตถุและที่เป็นสัญลักษณ์

จากการทบทวนวรรณกรรมข้างต้นผู้วิจัยได้พัฒนา

กรอบแนวคิดและได้กำหนดตัวแปรจากมุมมอง3ระดับที่

จะต้องประสานงานกันอย่างชัดเจนคือ

1. ระดับองค์การ คือสิ่งที่สำคัญในการสร้าง

วัฒนธรรมความปลอดภัยองค์การเป็นสิ่งที่กำหนดบทบาท

หรือแนวทาง ทิศทางของบุคลากร ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็น

ต้องมีเจตนารมณ์ที่จะให้เกิดความปลอดภัยในองค์การ

อย่างเต็มที่ (Dedobbeleer and Beland, 1991;

Flemmimg, Flin, Mearns and Gordon, 1996;

Flin,MearnsandFleming,1996;Flinet.al.,2000;

Zohar, 2000) ผู้บริหารระดับสูงจะเป็นผู้ที่แสดงบทบาท

ที่สำคัญในการสนับสนุนด้านความปลอดภัยขององค์การ

(Flinetal.,2000:185)

Page 10: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 9

2. ระดับกลุ่ม เป็นส่วนที่มีความสำคัญในการสร้าง

ความเชื่อ ความคิด สร้างแนวทางในการปฏิบัติงานอย่าง

ปลอดภัย ดังนั้นตรงระดับนี้ควรที่จะต้องมีการถ่ายทอด

ข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ(O’Toole,2000:235;Prussia,

Brown andWillis, 2003: 150 (Parker,Axtell and

Turner,2001:222)และได้รบัความรว่มมอืจากบคุลากรใน

ทุกส่วน(Zohar,1980;Reason,1990;Lee,1998;Eiff,

1999;Vrendenburgh,2002)

3. ระดับปัจเจกบุคคล เป็นสิ่งที่จำเป็นในระดับ

ฐานคติที่จะต้องมีความเชื่อในเรื่องของความปลอดภัย

(DedobbeleerandBeland,1991;CoxandCheyne,

2000) หรือสอดคล้องกับวัฒนธรรมความปลอดภัยของ

องค์การในส่วนนี้จึงจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกันกับการ

บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะขีดความสามารถ

(Competency)อันเป็นการปลูกฝังถึงความรับผิดชอบของ

บคุลากรดา้นความปลอดภยั(LiikamaaandVanharanta,

2003;Kantola,KarwowskiandVanharanta;2005)

นอกเหนือจากนี้กระแสของระบบการจัดการด้าน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีข้อกำหนดที่จะต้อง

กำหนดความรู้ความสามารถด้านความปลอดภัยอย่างเพียง

พอผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะ

เป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการด้าน

ความปลอดภัยที่เป็นระบบเป็นหนทางการปฏิบัติที่ชัดเจนที่

จะทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มากยิ่งขึ้น เพราะจะต้องมีการจัดทำและบันทึกเป็นเอกสาร

และที่สำคัญจะมีการตรวจสอบเพื่อให้กระบวนการเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึง

เป็นหนทางที่ทำให้ส่งเสริม สร้าง สนับสนุนให้เกิดแนวทาง

การปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งจะเป็นตัวสนับสนุนให้เกิด

วฒันธรรมความปลอดภยัในองคก์าร(Parker,Lawrieand

Hudson,2006;CooperandPhillips,1997;Mearns

etal.,2003;Zohar,1980)

การมีระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและจัดการ

ความปลอดภัยจะเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม

เช่น เจตจำนง การสื่อสาร ความร่วมมือ และความ

รับผิดชอบ ให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนผ่านการเขียนเป็น

ลายลักษณ์อักษรมีการจัดทำและเก็บบันทึกมีการตรวจสอบ

ถึงประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบการจัดการเมื่อมีการ

ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย จะส่งผลให้เกิดเป็น

วัฒนธรรมความปลอดภัยได้ในที่สุด เนื่องจากระบบการ

จัดการด้านความปลอดภัยเป็นระบบมาตรฐานที่จำเป็นจะ

ต้องมีการกำหนด หรือเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร

เป็นเสมือนกรอบที่กำหนดด้านความปลอดภัย แต่การสร้าง

วัฒนธรรมนั้นจำเป็นต้องมาจากความเชื่อร่วมกันของคนใน

องค์การ ดังนั้นการมีระบบการบริหารจัดการจึงเป็นปัจจัย

โดยอ้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยนั่นเอง

5.ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง

(Cross-sectionalsurvey)

5.1ประชากร

ทำการศึกษากับบุคลากรในฝ่ายผลิตของสถาน

ประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัด

ระยอง เนื่องจากอุตสาหกรรมในเขตนิคมฯ ส่วนใหญ่เป็น

อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ซึ่งมีความพร้อมในการ

บรหิารจดัการดา้นความปลอดภยัโดยบรษิทัที่ถกูคดัเลอืกมา

ศึกษาจะต้องได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัย

และความปลอดภัย เนื่องจากระบบการจัดการอาชีวอนามัย

และความปลอดภัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษา

ทำการเกบ็ขอ้มลูกบัอุตสาหกรรมปโิตรเคมีขัน้ปลายเนือ่งจาก

มีจำนวนมากกว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น และกลาง

โดยมีทั้งหมด14บริษัทพนักงานในฝ่ายผลิตรวมทั้งหมด

1,948คน

5.2กลุ่มตัวอย่าง

ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างในระดับปัจเจก

บุคคลมุ่งเน้นเฉพาะพนักงานในฝ่ายผลิต การสุ่มตัวอย่าง

จะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage

sampling)โดยมีขั้นตอนการสุ่มตัวอย่างดังนี้

-หาขนาดของกลุม่ตวัอยา่งนัน้ได้จากการคำนวณ

จากสูตรของTaroYamane(1973)ที่ระดับความเชื่อมั่น

ร้อยละ 95 และยอมให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5

ได้ทั้งหมด 560 ตัวอย่าง โดยกระจายไปตามสัดส่วนของ

แต่ละบริษัทดังตารางที่1

Page 11: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

10 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ตารางที่1จำนวนตัวอย่างของแต่ละบริษัทในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุด(กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย)

บริษัท จำนวนพนักงานในฝ่ายผลิต จำนวนตัวอย่างระบบการจัดการฯที่ได้การรับรอง

OHSAS18001 มอก.18001

1 200 49 / /

2 176 43 / /

3 160 39 / /

4 280 69 / /

5 246 60 /

6 35 9 / /

7 136 33 / /

8 30 11 /

9 206 74 /

10 40 15 /

11 140 50 / /

12 200 72 / /

13 60 22 / /

14 39 14 / /

รวม 1948 560

- หลงัจากนัน้ผู้วจิยัได้นำแบบสอบถามไปทดสอบ

ความเชือ่ถอืได้ของมาตรวดัผลการหาคา่สมัประสทิธิ์แอลฟา

ครอนบคั(Cronbach’salphacoefficient)มีคา่อยู่ระหวา่ง

0.79-0.967ซึ่งมีค่าเกิน0.7ถือว่าแบบสอบถามยอมรับได้

(Cronbach,1951:297-334;Nunnally,1967)

-ผู้วจิยัได้ใชก้ารวเิคราะห์ปจัจยั(FactorAnalysis)

เป็นการตรวจสอบความตรงของแบบสอบถามเพื่อให้

ผู้วิจัยสามารถที่จะวิเคราะห์ได้เบื้องต้นว่าข้อคำถามของ

ตวัแปรเหลา่นัน้สอดคลอ้งกนัหรอืไม่โดยจะพจิารณาจากคา่

Eigenvaluesทีม่ากกวา่1และจะตดัFactorcomponent

ที่ระดับ0.5(Nunnally,1967)

6.ผลการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการแจกแบบสอบถามทั้งหมด560ชุด

ได้รับแบบสอบถามคืนรวมทั้งหมด422ชุดคิดเป็นร้อยละ

75.36ผลการวิเคราะห์ดังตารางที่2

Page 12: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 11

สถานภาพรวม

จำนวน ร้อยละ

เพศ

ชาย 422 100

ระดับการศึกษา

ปวส. 352 83.41

ปริญญาตรี 65 15.40

ปริญญาโท 5 1.19

ตำแหน่ง

พนักงานปฏิบัติการ 254 60.19

หัวหน้างาน 83 19.67

ผู้ช่วยหัวหน้ากะ 51 12.09

หัวหน้ากะ 29 6.87

ผู้จัดการ 5 1.18

ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ

ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ 303 71.8

เคยเกิดอุบัติเหตุ 11 2.61

เกือบเกิดอุบัติเหตุ 108 25.59

ตารางที่2จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล

ผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งหมดจำนวน 422 คน

ทั้งหมดเป็นเพศชาย เนื่องจากในการผลิตของอุตสาหกรรม

ปิโตรเคมี จำเป็นที่จะต้องควบคุมดูแลอุปกรณ์ที่มีน้ำหนัก

มีการใช้แรงงาน และจะต้องมุดหรือปีนป่ายขึ้นบนที่สูง

จึงมีพนักงานเป็นเพศชายเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน

ดังกล่าวผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาใน

ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงร้อยละ 83.41 รองลงมาเป็น

ระดับปริญญาตรีร้อยละ15.4ตามลำดับ

6.1สถิติเชิงพรรณนาของตัวแปรอิสระและ

ตัวแปรตาม

ตัวแปรตามของการศึกษานี้ คือ วัฒนธรรม

ความปลอดภัย และมีตัวแปรอิสระจำนวน 7 ตัว ได้แก่

การสื่อสารด้านความปลอดภัย ความร่วมมือของบุคลากร

ดา้นความปลอดภยัเจตจำนงของผู้บรหิารตอ่ความปลอดภยั

ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย ขีดความสามารถของ

บุคลากรด้านความปลอดภัย กิจกรรมการบริหารจัดการ

ทรัพยากรมนุษย์เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิผลของ

ระบบการจัดการความปลอดภัย เมื่อนำแบบสอบถามที่เก็บ

รวบรวมได้มาหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสามารถ

แสดงได้ดังตารางที่3

Page 13: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

12 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ผล การ วิเคราะห์ ค่า เฉลี่ย และ ส่วน เบี่ยง เบน

มาตรฐาน พบ ว่า ตัวแปร ทุก ตัว มี ค่า เฉลี่ย อยู่ ใน เกณฑ์ ที่ ดี โดย

มี รูป แบบ หรือ สิ่ง ที่ สร้าง ขึ้น เพื่อ ความ ปลอดภัย มี ค่า เฉลี่ย สูง

ที่สุด (3.34) อาจ เนื่อง มา จาก เป็น สิ่ง ที่ สามารถ เห็น ได้ ชัดเจน

และ มี อยู่ ทั่วไป ใน องค์การ รอง ลง มา เป็น กิจกรรม ฝึก อบรม

และ พัฒนา บุคลากร ด้าน ความ ปลอดภัย (3.30) อาจ เนื่อง มา

ตารางที่3ค่า เฉลี่ย และ ค่า เบี่ยง เบน มาตรฐาน ของ วัฒนธรรม ความ ปลอดภัย และ ตัวแปร อิสระ

ตัวแปร S.D.

ตัวแปรตาม

วัฒนธรรมความปลอดภัย 3.25 0.29

รูปแบบหรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัย 3.34 0.26

ค่านิยมด้านความปลอดภัย 3.13 0.26

ความเชื่อพื้นฐานด้านความปลอดภัย 3.28 0.35

ตัวแปรอิสระ

การสื่อสารด้านความปลอดภัย 3.19 0.32

การสื่อสารผ่านพฤติกรรมของผู้บริหารฯ 3.17 0.35

การสื่อสารความปลอดภัยผ่านลายลักษณ์อักษร 3.22 0.28

การพูดคุย การอภิปรายด้านความปลอดภัย 3.18 0.33

ความร่วมมือของบุคลากรด้านความปลอดภัย 2.94 0.39

เจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัย 3.01 0.32

ความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัย 2.89 0.41

การปฏิบัติตามกฎระเบียบ คู่มือ ข้อบังคับฯ 3.05 0.31

การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพการณ์ และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย 2.72 0.51

ขีดความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย 2.94 0.43

ความสามารถในการเรียนรู้ฯ 3.04 0.50

ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ฯ 2.94 0.34

ความสามารถในการวิเคราะห์ในเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 2.84 0.44

กิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านความปลอดภัย 3.21 0.23

กิจกรรมสรรหาและคัดเลือกบุคลากรฯ 3.20 0.34

กิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรฯ 3.30 0.29

การบริหารผลการปฏิบัติงานฯ 3.14 0.35

ประสิทธิผลของระบบการจัดการความปลอดภัย 3.01 0.39

การวางแผนด้านความปลอดภัย 2.92 0.50

การดำเนินการตามข้อกำหนดของระบบการจัดการความปลอดภัย 3.11 0.32

การตรวจสอบและการปฏิบัติการของระบบการจัดการความปลอดภัย 3.00 0.34

จาก อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี เป็น อุตสาหกรรม ที่ มี ความ เสี่ยง

สงู จงึ ให ้ความ สำคญั ใน การ ฝกึ อบรม โดย ม ีหลกัสตูร ฝกึ อบรม

ดา้น ความ ปลอดภยั ให ้กบั พนกังาน ทกุ ระดบั ทกุ ตำแหนง่ และ

เป็น ไป อย่าง ต่อ เนื่อง ส่วน การ มี ส่วน ร่วม ใน การ ปรับปรุง

สภาพ การณ ์และ การก ระ ทำ ที ่ไม ่ปลอดภยั (2.72) ม ีคา่ เฉลีย่ ตำ่ ทีสุ่ด

อาจ เนื่อง มา จาก การ ปรับปรุง สภาพ การณ์ มี คณะ กรรมการ

Page 14: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 13

ความปลอดภัย และหน่วยงานด้านความปลอดภัยเป็น

ผู้รับผิดชอบดูแลจึงอาจทำให้พนักงานขาดการมีส่วนร่วม

ไปบา้งแต่อยา่งไรกต็ามคา่เฉลีย่อยู่ใกล้เคยีงกนัและยงัอยู่ใน

เกณฑ์ที่ดีทกุรายการสว่นคา่เบีย่งเบนมาตรฐานของทกุตวัแปร

ไม่มีค่าใดที่มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยจึงทำให้ไม่มีค่าปลายสุด

6.2 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ตามและตัวแปรอิสระ

ตารางที่4สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของวัฒนธรรมความปลอดภัยและตัวแปรอิสระ

จากตารางที่ 4 ตัวแปรอิสระทุกตัว ได้แก่

การสื่อสารด้านความปลอดภัย (COMMU) ความร่วมมือ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย (COOR) เจตจำนงของ

ผู้บริหารต่อความปลอดภัย (COMMIT) ความรับผิดชอบ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย (RESP) ขีดความ

สามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย (COMPE)

กิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้านความ

ปลอดภัย (HRM) และประสิทธิผลของระบบการจัดการ

ความปลอดภัย (SMS) มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม

คือวัฒนธรรมความปลอดภัย (CUL) อย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กัน

สูงที่สุดคือ การสื่อสารด้านความปลอดภัยกับประสิทธิผล

ของระบบการจัดการความปลอดภัยมีค่าสัมประสิทธิ์

สหสัมพันธ์ 0.679 รองลงมาเป็นขีดความสามารถของ

บุคลากรด้านความปลอดภัย กับประสิทธิผลของระบบการ

จัดการความปลอดภัยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.677

และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันต่ำที่สุดคือ ความร่วมมือ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย กับวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์0.101โดยที่ตัวแปร

CUL COMMU COOR COMMIT RESP COMPE HRM SMS

CUL 1

COMMU 0.346** 1

COOR 0.101* 0.584** 1

COMMIT 0.223** 0.475** 0.452** 1

RESP 0.285** 0.622** 0.654** 0.389** 1

COMPE 0.314** 0.635** 0.611** 0.675** 0.571** 1

HRM 0.297** 0.605** 0.592** 0.662** 0.482** 0.674** 1

SMS 0.493** 0.662** 0.566** 0.679** 0.652** 0.677** 0.620** 1

หมายเหตุ:*=P<0.05 **=P<0.01

ทุกคู่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์น้อยกว่า 0.75 ทุกคู่ จึง

ไม่เกิดปัญหาความสัมพันธ์กันมากระหว่างตัวแปรอิสระ

(multicollinearity)(สุชาตประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2548ข:103)

ดังนั้น จึงสามารถนำตัวแปรเหล่านี้ไปใช้เทคนิควิเคราะห์

ถดถอยพหุต่อไปได้

6.3ผลการวิเคราะห์เส้นทาง(Pathanalysis)

ในการหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความ

ปลอดภัย ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง เพื่อหา

ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงปัจจัย

เชิงสาเหตุของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ซึ่งการวิเคราะห์

เส้นทางจะใช้เทคนิควิเคราะห์ถดถอยพหุเป็นพื้นฐานใน

การหาสัมประสิทธิ์เส้นทาง และผู้วิจัยใช้เทคนิควิเคราะห์

ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise regression) เพราะ

วธิีการวเิคราะห์ดงักลา่วจะให้คา่สมัประสทิธิ์ถดถอยปรบัฐาน

ของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญ

เท่านั้น(สุชาตประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2548ข:339)นอกจากนี้

ผู้วจิยัได้ใช้แผนภาพแบบจำลองเพือ่ชว่ยแสดงความสมัพนัธ์

ระหว่างตัวแปร และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบ

จำลองซึ่งสามารถแสดงได้ดังภาพที่1

Page 15: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

14 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ภาพที่1 ผลการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมความปลอดภัยกับตัวแปรอิสระค่าสัมประสิทธิ์ที่เสนอ

เป็นค่าสัมประสิทธิ์ปรับฐาน

หมายเหตุ:*=P<0.05

เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ

เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน

COMMITเจตจำนงของผู้บริหาร

ต่อความปลอดภัย

COMMUการสื่อสารด้านความปลอดภัย

SMSประสิทธิผลของระบบการจัดการความปลอดภัย

HRMกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ด้านความปลอดภัย

COMPEขีดความสามารถของบุคลากร

ด้านความปลอดภัย

CULวัฒนธรรม

ความปลอดภัย

COORความร่วมมือของบุคลากรด้านความปลอดภัย

RESPความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัย

0.679*

0.630*

0.047 -0.230

0.247*

0.123*

0.348*0.487*

-0.422

0.720*

0.566*

0.652* 0.053*0.218*

0.316*

Page 16: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 15

จากตารางที่5มีตวัแปรอสิระจำนวน7ตวัไดแ้ก ่

เจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัย (COMMIT)

การสือ่สารดา้นความปลอดภยั(COMMU)ขดีความสามารถ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย (COMPE) ความร่วมมือ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย(COOR)ความรับผิดชอบ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย (RESP) กิจกรรมการ

บริหารทรัพยากรมนุษย์(HRM)และประสิทธิผลของระบบ

การจัดการความปลอดภัย (SMS) โดยผลจากตารางพบว่า

มีตัวแปรอิสระเพียง3ตัวที่มีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรม

ความปลอดภยัคอืขดีความสามารถของบคุลากรดา้นความ

ปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย

มากที่สุด (0.348) รองลงมาเป็นการสื่อสารด้านความ

ปลอดภัย (0.247) และความรับผิดชอบของบุคลากรด้าน

ความปลอดภัย (0.218) ตามลำดับ และมีตัวแปรอิสระ 3

ตัวที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย คือ

ประสิทธิผลของระบบการจัดการความปลอดภัยมีอิทธิพล

ทางอ้อมต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยสูงที่สุด (0.4326)

รองลงมาคือกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์(0.1695)

ตารางที่5อิทธิพลของตัวแปรอิสระต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย

ตัวแปรอิสระอิทธิพล

ผลรวม

ผลเชิงสาเหตุและผล ผลที่ไม่ใช่

เชิงสาเหตุทางตรง ทางอ้อม รวม

COMMIT

เจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัย 0.223 - - - 0.223

COMMU

การสื่อสารด้านความปลอดภัย 0.346 0.247 0.043 0.29 0.056

COMPE

ขีดความสามารถของบุคลากรฯ 0.314 0.348 - 0.348 -0.034

COOR

ความร่วมมือของบุคลากรฯ 0.101 - - - 0.101

RESP

ความรับผิดชอบของบุคลากรฯ 0.285 0.218 - 0.218 0.067

HRM

กิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ฯ 0.297 - 0.1695 0.1695 0.1275

SMS

ประสิทธิผลของระบบการจัดการฯ 0.493 - 0.4326 0.4326 0.0604

และการสื่อสารด้านความปลอดภัย(0.043)ตามลำดับส่วน

เจตจำนงของผู้บริหารต่อความปลอดภัย และความร่วมมือ

ของบคุลากรดา้นความปลอดภยัไมม่ีอทิธพิลทัง้ทางตรงและ

ทางอ้อมต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย

7.การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ7.1การอภิปรายผล

จากผลการวิจัยพบว่า เจตจำนงของผู้บริหาร

ที่มีต่อความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรม

ความปลอดภัย สามารถอธิบายได้ดังนี้ การแสดงเจตจำนง

ของผู้บริหารด้านความปลอดภัย จะเป็นการแสดงให้เห็น

ถึงความต้องการของผู้บริหารที่จะพยายามลดความเสี่ยง

ในองค์การ แสดงให้เห็นถึงการจัดสรรทรัพยากรด้านความ

ปลอดภัยอย่างเพียงพอและเหมาะสมซึ่งสามารถแสดงออก

มาได้ทั้งการกระทำของผู้บริหาร และภาษาของผู้บริหารเอง

(Carrillo; 2010:47)และSchein (1991:223)กล่าวว่า

การที่ผู้บริหารที่จะสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยได้นั้น

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังลงไปยังฐานคติของพนักงาน

Page 17: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

16 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานสามารถแสดงออกได้โดยไม่รู้ตัว

ฐานคติจะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพฤติกรรม

ของคน ผู้นำจำเป็นต้องบอกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก จะส่งผล

ให้สมาชิกในกลุ่มรับรู้ว่าสิ่งที่รับเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่สามารถ

นำมาปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จได้แล้วก็จะนำมาปฏิบัติซ้ำ

และต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย และกลายเป็นวัฒนธรรมได้

ในที่สุด หากผู้บริหารแสดงเจตจำนงต่อความปลอดภัย

ไม่ชัดเจนหรือไม่ปฏิบัติต่อเจตจำนงที่แสดงไว้ หรือแสดง

เจตจำนงไว้แต่การปฏิบัติไม่สอดคล้องกับเจตจำนง

ดังกล่าว จะส่งผลให้พนักงานไม่ทราบว่าทิศทางที่ถูกต้อง

จะเป็นเช่นไร ทำให้เกิดความสับสน และปิดกั้นความคิด

ไม่ยอมรบัจะสง่ผลให้ไม่เกดิวฒันธรรมความปลอดภยัได้ใน

ที่สุดจากผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารได้มีการแสดงเจตจำนง

ไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เนื่องมาจากการมีระบบ

การจัดการความปลอดภัยที่กำหนดให้ผู้บริหารจำเป็น

ต้องเขียนเจตจำนงของผู้บริหารที่มีต่อความปลอดภัย

ในองค์การออกมาเป็นนโยบาย แต่ในการปฏิบัติผู้บริหาร

จะให้ความสำคัญในการผลิต หรือในเรื่องอื่นๆ มากกว่าเรื่อง

ของความปลอดภัย รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรด้านความ

ปลอดภัยน้อยลง เนื่องมาจากช่วงเวลาที่ทำการศึกษาเป็น

ช่วงของธุรกิจปิโตรเคมีขาลงทำให้องค์การใช้กลยุทธ์ในการ

ลดค่าใช้จ่ายเป็นหลักดังนั้นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

โดยตรงจะถกูตดัลดทอนลงสง่ผลใหก้ารบรหิารจดัการดา้น

ความปลอดภัยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่นฝึกอบรมด้าน

ความปลอดภัยน้อยลง กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย

นอ้ยลงเปน็ตน้ทำให้เกดิการจดัสรรทรพัยากรที่ไม่เพยีงพอ

ในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งเหล่านี้อาจทำให้พนักงานเกิดการ

สับสนว่าเจตจำนงของผู้บริหารมีทิศทางเป็นเช่นไร และ

จากการศึกษายังพบอีกว่าผู้บริหารขาดการเปิดโอกาสให้

พนักงานมีส่วนร่วมในการคิดปรับปรุง หรือจัดทำแผนงาน

ด้านความปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติตามเจตจำนง

ของผู้บรหิารไม่ได้รบัความรว่มมอืเทา่ที่ควรสอดคลอ้งกบัผล

การวิจัยของ(Cai,2005:152)ซึ่งทำการศึกษาผลกระทบ

ของวัฒนธรรมความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานของ

คนงานก่อสร้างโดยมีเจตจำนงของผู้บริหารเป็นปัจจัยหนึ่ง

และพบเช่นเดียวกันว่าเจตจำนงของผู้บริหารไม่มีผลต่อ

วัฒนธรรมความปลอดภัย เนื่องจากผู้บริหารไม่ได้แสดง

ให้เห็นถึงเจตจำนงที่มีต่อความปลอดภัย โดยผู้บริหารได้

ให้ความสำคัญต่อการผลิต คุณภาพของงานมากกว่า ใน

บางครั้งที่งานเร่งรีบผู้บริหารก็จะให้เร่งปฏิบัติงานจนละเลย

เรื่องของความปลอดภัยไป

จากผลการวจิยัพบวา่ความรว่มมอืของบคุลากร

ด้านความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยสามารถอธิบายได้ดังนี้สถาบันอาชีวอนามัยและ

ความปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา(NIOSH,2004)

ได้อธิบายไว้ว่าการที่บุคลากรจะให้ความร่วมมือด้านความ

ปลอดภัยได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน

อย่างยิ่งกับเจตจำนงของผู้บริหาร โดยเจตจำนงของ

ผู้บรหิารจะตอ้งแสดงให้เหน็ได้ตรวจสอบได้อยา่งชดัเจนจะ

ส่งผลให้บุคลากรในองค์การจะให้ความร่วมมือโดยCooper

(2002: 26) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าผู้บริหารจำเป็นต้อง

เข้าใจทัศนคติและการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานที่มีต่อความ

ปลอดภัยจะส่งผลให้ผู้บริหารสามารถแสดงเจตจำนงได้

สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรและจะส่งผลให้

เกิดความร่วมมือในเรื่องของความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อผล

การศึกษา พบว่าเจตจำนงของผู้บริหารไม่มีความสัมพันธ์

กับวัฒนธรรมความปลอดภัย จึงส่งผลให้ความร่วมมือ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์ไปด้วย

สอดคล้องกับหลักการของสถาบันอาชีวอนามัยและความ

ปลอดภยัฯตามที่ได้อธบิายขา้งตน้และการศกึษาของ(Cai,

2005: 152) พบว่าความร่วมมือของบุคลากรด้านความ

ปลอดภยัไมม่ีอทิธพิลตอ่วฒันธรรมความปลอดภยัเนือ่งจาก

บุคลากรจะให้ความร่วมมือในการดำเนินการใดๆ จะต้อง

สอดคล้องกับความเชื่อมั่นศรัทธาต่อผู้บริหารเมื่อผู้บริหาร

ไม่ได้แสดงเจตจำนงต่อความปลอดภัยจึงส่งผลทำให้ความ

รว่มมอืของบคุลากรไมม่ีและกจิกรรมความปลอดภยัสว่นใหญ่

มาจากแนวคดิของหนว่ยงานดา้นความปลอดภยัเปน็หลกัอาจ

ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตั้งแต่ต้น

จากผลการวิจัยพบว่า เจตจำนงของผู้บริหาร

ที่มีต่อความปลอดภัยไม่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารด้าน

ความปลอดภัย ทั้งนี้เนื่องมาจากการแสดงเจตจำนงของ

ผู้บริหารที่จะพยายามลดความเสี่ยง การจัดสรรทรัพยากร

อย่างเพียงพอและเหมาะสม ผู้บริหารนั้นมักจะแสดงออก

มาทางเอกสารเป็นหลักเช่นการเขียนเป็นนโยบายระเบียบ

ปฏิบัติแผนงานด้านความปลอดภัยเป็นต้นแต่การสื่อสาร

ที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมาจากหลากหลายช่องทาง

ทั้งการเขียนการพูดการแสดงออกให้เห็นเป็นตัวอย่างเมื่อ

ผู้บริหารไม่ได้แสดงหรือสื่อสารไปยังสมาชิกขององค์การ

Page 18: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 17

โดยตรง อาจส่งผลให้เจตจำนงนั้นเบี่ยงเบนไป และจาก

ผลการศึกษาพบว่าเมื่อการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับเจตจำนง

ของผู้บริหาร ผู้บริหารก็ขาดการชี้แจงว่าเป็นเพราะเหตุใด

นอกจากนี้เจตจำนงของผู้บริหารที่ต้องการจะดำเนินการไม่

ได้สื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นได้อย่างชัดเจน จากผลการศึกษา

ผู้บริหารขาดการเปิดรับฟังความคิดเห็นด้านความปลอดภัย

ของบุคลากรและนำมาใช้ในการกำหนดทิศทางในการบริหาร

จัดการด้านความปลอดภัย

7.2ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ

วัฒนธรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีข้อ

เสนอแนะดังนี้

7.2.1จากผลการศกึษาพบวา่ขดีความสามารถของ

บคุลากรดา้นความปลอดภยัการสือ่สารดา้นความปลอดภยั

และความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัย

มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยในอุตสาหกรรม

ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่มเป็น

หลักส่วนปัจจัยระดับองค์การเช่นระบบการจัดการความ

ปลอดภัยจะเป็นผลทางอ้อม

ผู้วิจัยจึงเสนอว่า การสร้างวัฒนธรรมความ

ปลอดภัยควรเน้นที่ปัจเจกบุคคลเป็นหลัก โดยเฉพาะการ

สร้างขีดความสามารถของบุคลากรโดยกำหนดให้ความ

ปลอดภัยเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขององค์การกำหนด

ให้มีช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ

และหลากหลาย และกำหนดให้ความปลอดภัยเป็นหน้าที่

ความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน

7.2.2จากผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการ

บรหิารจดัการทรพัยากรมนษุย์มีอทิธพิลทางตรงตอ่ขดีความ

สามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มี

อิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยมากที่สุด

ผู้วิจัยจึงเสนอว่า ควรที่จะบูรณาการด้านความ

ปลอดภัยลงในกิจกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

ซึ่งจะส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยได้

7.2.3จากผลการศึกษาพบว่า ระบบการ

จัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีอิทธิพลทาง

ตรงต่อการสื่อสารด้านความปลอดภัย ขีดความสามารถ

ของบุคลากรด้านความปลอดภัย ความรับผิดชอบของ

บคุลากรดา้นความปลอดภยัซึง่เปน็ปจัจยัที่มีอทิธพิลทางตรง

ต่อวัฒนธรรมความปลอดภัย ดังนั้นระบบการจัดการ

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงเป็นปัจจัยทางอ้อม

ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย ผู้วิจัยจึงเสนอว่า

การนำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมา

เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการด้านความ

ปลอดภัย และดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องจะส่งผล

ให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยได้เช่นกัน

เอกสารอ้างอิงทพิวรรณหลอ่สวุรรณรตัน์(2547)ทฤษฎ ีองคก์าร สมยั ใหม.่

พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพฯ:แซทโฟร์พริ้นติ้ง.

สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2548 ก) เทคนิค การ วิเคราะห์

ตัวแปร หลาย ตัว สำหรับ การ วิจัย ทาง สังคมศาสตร์ และ

พฤติกรรม ศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: หจก.

สามลดา.

(2548 ข) การ ใช้ สถิติ ใน งาน วิจัย อย่าง ถูก ต้อง และ

ได้ มาตรฐาน สากล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หจก.

สามลดา.

Bird, E.F. and Loftus, R.G. (1976). Loss Control

Management. Loganville, Georgia: Institute

Press.

Cai,Weijia.(2005).The Impact of Safety Culture

on Safety Performance: A Case Study is

Effective of A Construction Company. Doctoral

Dissertation,IndianaUniversity.

Carrillo, R.A. (2010). Positive Safety Culture.

Professional Safety.(May):47-54.

Cooper,M.D.(2002).Safety Culture: A Model for

Understanding & Quantifying a Difficult

concept. ProfessionalSafety.(June):30-36.

Cooper,M.D.andPhillips,R.A.(1997).KillingTwo

BirdswithOneStone:AchievingQualityvia

TotalSafetyManagement.Facilities.15(1/2):

34-41.

Cox, S. and Cheyne, A.J.T. (2000). Assessing

SafetyCultureinOffshoreEnvironment.Safety

Science.34:111-129.

Cox,S.andCox,T.(1991).TheStructureofEmployee

AttitudestoSafety:aEuropeanExample.Work

and Stress.5(2):93-106.

Page 19: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

18 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

Cox, S. and Flin, R. (1998). Safety Culture:

Philosopher’sStoneorManofStraw?.Work

and Stress. 12(3):189-201.

Cronbach, L. (1951). Coefficient Alpha and the

Internal Structure of Tests. Psychometrical.

16:297-334.

DeDobbeleer, N. and Beland, F. (1991). Safety

ClimateMeasureforConstructionSites.Journal

of Safety Research. 22(2):97-103.

Eiff,G.(1999).OrganizationalSafetyCulture.Paper

presentedatTenthInternationalSymposium

on Avaiation Psychology. Columbus, OH:

DepartmentofAviation.

Fleming,M.T.,Flin,R.,Mearns,K.andGordon,R.

(1996).The Offshore Supervisor’s role in Safety

Management:LawEnforcerorRiskManager.

Paper presented at the third International

ConferenceonHealthSafetyandEnvironment

inOil andGasExploration andProduction.

NewOrleans,LA.

Flin, R., Mearns, K., Gordon, R. and Fleming,

M.T. (1998).Measuring Safety Climate on

UK Offshore Oil and Gas Installations.Paper

presentedattheSPEInternationalConference

onHealth,SafetyandEnvironmentinOiland

Gas Exploration and Production. Caracas,

Venezuela.

Flin,R.,Mearns,K.,O'Connor,P.andBryden,R.

(2000).MeasuringSafetyClimate:Identifying

the Common Features. Safety Science. 34:

177-192.

Harvey,J.,Bolam,H.,Gregory,D.andErdos,G.

(1999).TheEffectivenessofTrainingtoChange

Safety Culture and Attitudes in a Highly

RegulatedEnvironment.Personel Review.30

(5/6):615-636.

Health and Safety Executive. (2002). Successful

Health and Safety Management. HSG65.

London:HSE.

InternationalAtomicEnergyAgency.(1988).Basic

Safety Principles for Nuclear Power Plants.

Vienna:IAEA.

Kantola, J., Vesanen, T., Karwowski, W. and

Vanharanta,H. (2005).Physical Compatence

Simulation. Paper presented at the 10th

InternationalConferenceonHumanAspectsof

AdvancedManufacturing:AgilityandHybrid

Automation,SanDiego,CA.

Lee,T.R.(1998).AssessmentofSafetyCultureata

NuclearReprosessingPlant.Work and Stress.

12:217-237.

Liikamaa, K., Koskisen, K. and Vanharanta, H.

(2003).Project Managers’ Personal and Social

Competencies and Creative Tensions.Paper

presentedat10thInternationalConferenceon

Human-ComputerInteraction,Crete,Greece.

Mearns, K.,Whitaker, S.M. and Flin, R. (2003).

SafetyClimate,SafetyManagementPractice

andSafetyPerformanceinOffshoreEnviron-

ments.SafetyScience.41:641-680.

National Institute for Occupational Safety and

Health(NIOSH).(2004).How to Evaluate Safety

and Health Change in the Workplace, Does

it Really work?. DHHS (NIOSH) Publication

No. 2004-135. Retrieved June 1, 2010 from

http://www.cdc.gov/niosh/docs/2004-135/steps

EvaluatingChange/collectData.html

Nunnally,J.C.(1967).Psychometric Theory.New

York:McGrawHill.

O’Toole, M. (2000). The Relationship Between

Employee’s Perceptions of Safety and

Organizational Culture. Journal of Safety

Research.33:231-243.

Parker,D.,Lawrie,M.andHudson,P.(2006).A

FrameworkforUnderstandingtheDevelopment

ofOrganizationSafetyCulture.Safety Science.

44:551-562.

Page 20: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 19

Parker, S., Axtell, C. and Turner, N. (2001).

DesigningaSaferWorkplace: Importanceof

JobAutonomy,CommunicationQuality,and

SupportiveSupervisors.Journal of Occupational

Health Psychology.6(3):211-228.

Prussia,G.,Brown,K.andWillis,P.(2003).Mental

ModelsofSafety:DoManagersandEmployees

SeeEyetoEye?.Journal of Safety Research.

34:143-156.

Reason, J. (1990). Human Error. Cambridge:

CambridgeUniversityPress.

Schein, E.H. (1991).Organizational Culture and

Leadership. San Francisco: Jossey-Bass

Publishers.

Smircich, L. (1983). Concept of Culture and

OrganizationAnalysis.Administrative Science

Quarterly.28:339-358.

Vredenburgh, A. (2002). Organizational Safety:

Which Management Practices are Most

EffectiveinReducingEmployeeInjuryRates?

Journal of Safety Research.33:259-276.

Warrack,B.J.andSinha,M.N.(1999).Integrating

Safety and Quality: Building to Achieve

Excellence in the Workplace. Total Quality

Management & Business Excellence.10(4/5):

779-785.

Zohar,D.(1980).SafetyClimateinIndustrialOrga-

nizations:TheoreticalandAppliedImplications.

Journal of Applied Psychology.65:96-102.

.(2000).AGroup-levelModelofSafetyClimate:

TestingtheEfffectofGroupClimateonMicro-

AccidentsinManufacturingJobs.Journal of

Applied Psychology. 85:587-589.

Page 21: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

20 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

การปนเปื้อนสารตะกั่วและภาวะสุขภาพของคนงานอู่ต่อเรือ

ใน ช่าง หมัน และ ช่างไม้ - เทคนิค เท่ากับ 45.5 และ 16.9 ไมโครกรัม ต่อ เดซิลิตร ตาม ลำดับ) ปริมาณ สาร ตะกั่ว บริเวณ ขอบ หน้าต่าง มี ค่า มัธยฐาน 389.4 μ μg/m2 บริเวณ พื้น บ้าน แต่ละ ตำแหน่ง ได้แก่ พื้น ด้าน นอก และ ด้าน ใน บริเวณ ประตู ทาง เขา้ หอ้ง โถง หรอื หอ้ง พกั ผอ่น และ หอ้ง นอน ม ีคา่ มธัยฐาน 574.4, 501.6, 441.3 และ 785 μ μg/m2 ตาม ลำดับ หาก เปรียบ เทียบ กับ มาตรฐาน ของ องค์กร พิทักษ์ สิ่ง แวดล้อม และ กระทรวง การ เคหะ และ พัฒนา เขต เมือง ของ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง กำหนด ปริมาณ ตะกั่ว บริเวณ พื้น บ้าน ไม่ ควร เกิน 430.4 μμg/m2 พบ ว่า บริเวณ พื้น บ้าน มี ปริมาณ สาร ตะกั่ว เกิน ค่า มาตรฐาน ดัง กล่าว อย่าง น้อย 1 จุด จำนวน 22 ครัว เรือน (ร้อย ละ 79) ระดับ คุณภาพ ชีวิต ของ กลุ่ม ตัวอย่าง อยู่ ใน ระดับ คะแนน ปาน กลาง และ ดี ใน สัดส่วน เท่า กัน (ร้อย ละ 50) การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ใน คน งาน อู่ ต่อ เรือ นับ เป็น ปัญหา สาธารณสุข ที่ ควร ตระหนัก และ หา วิธี ลด การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ทั้ง ใน ขณะ ทำงาน และ บริเวณ ที่พัก อาศัย

คำสำคัญ: การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว/ภาวะ สุขภาพ/ คน งาน อู่ ต่อ เรือ

Lead Contamination and Health Status of Boatyard Workers

จำนงค์ ธนะ ภพ ปร.ด. (ระบาด วิทยา) สำนัก วิชา สห เวชศาสตร์ และ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัย วลัย ลักษณ์

ศศิธร ธนะ ภพ ปร.ด. (ระบาด วิทยา) สำนัก วิชา แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย วลัย ลักษณ์

นันท วัน หนู แจ่ม วท.บ. (วิทยาศาสตร์ สิ่ง แวดล้อม)ศูนย์ เครื่อง มือ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย วลัย ลักษณ์

บทคัดย่อการ ศกึษา ครัง้ นี ้เปน็การ ศกึษา เชงิ สำรวจ แบบ ภาค ตดั

ขวาง มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษา ระดับ ความ รู้ และ พฤติกรรม ความ ปลอดภัย ต่อ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ขนาด การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ที่ ตัว บุคคล และ บริเวณ ที่พัก อาศัย พรอ้ม ประเมนิ คณุภาพ ชวีติ ของ คน งาน อู ่ตอ่ เรอืจำนวน 78 คน โดย ใช ้แบบ สงัเกต รายการ และ แบบ สมัภาษณ ์ซึง่ ประกอบ ดว้ย ประวัติการ ทำงาน แหล่ง ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว จาก ภายนอก พฤตกิรรม สว่น บคุคล พษิ สาร ตะกัว่ และ คณุภาพ ชวีติ พรอ้ม เก็บ ตัวอย่าง สาร ตะกั่ว ใน เลือด จำนวน 49 คน และ บริเวณ ขอบ หน้าต่าง และ พื้น บ้าน จำนวน 28 ครัว เรือน

ผล การ ศึกษา พบ ว่า ใน ขณะ ทำงาน กลุ่ม ตัวอย่าง ทั้งหมด ไม่ ได้ ใช้ อุปกรณ์ คุ้มครอง ความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล ไดแ้ก ่ถงุมอื ผา้ ปดิ จมกู สว่น ใหญ ่ได ้ลา้ง มอื เปน็ บาง ครัง้ กอ่น ดื่ม น้ำ และ รับ ประทาน อาหาร ระหว่าง การ ทำงาน ส่วน ใหญ่ ไม่ ได้ อาบ น้ำ หรือ เปลี่ยน เสื้อผ้า ก่อน กลับ บ้าน มี ความ รู้ ทั่วไป เกี่ยว กับ สาร ตะกั่ว และ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน เฉลี่ย 23.3 คะแนน (คะแนน เต็ม 32 คะแนน) ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลอืด ม ีคา่ เฉลีย่ เทา่กบั 42.5 ไมโครกรมั ตอ่ เดซลิติร (คา่ เฉลีย่

Page 22: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 21

AbstractThis was the cross-sectional survey aims to

describe knowledge and safety behaviors of lead contaminations and quality of life, including with the magnitude of lead contaminations evaluation of personal and household among 78 boatyard workers. Data were obtained by observation checklist and questionnaire which composed of work history, suspected exogenous lead source, personal behavior, knowledge about lead poisoning and quality of life. Forty-nine blood lead samples were assessed. Surface-wipe lead loading was measured at windowsill and room flflf loors in the homes of 28 workers.

Evidence obtained by the study indicated personal hygiene were poor – workers used no gloves or mask, drank and ate during work and sometimes washed their hands before drinking and eating. Most of workers reported never taking a shower or changing work-clothes before leaving work. The mean of knowledge score about lead was 23.3 (Total score was 32). The mean of blood lead were 42.5 μμg/dl. However, the mean of blood lead of caulkers and carpenters-technician were 45.5 and 16.9 μμg/dl, respectively. Median lead loading of windowsill, exterior & interior entry flflf loor, living room and bedroom in caulkers’ homes were 389.4, 574.4, 501.6, 441.3 and 785 μμg/m2, respectively. Twenty-two workers’ homes (79%) exceeded the US Environmental Protection Agency (EPA) and Department of Housing and Urban Development (HUD) hazard standards which defifif ined dangerous level lead in settled dust of 430.4 μg/m2 for flfifif loors. Overall quality of life scorings workers were classifififif ied into two groups; average (50%) and good (50%). These results indicated a suffififif icient magnitude of lead contamination dealing with boatyard workers in both workings and household environment to be a public health concern.

Keywords:Lead contamination/Health status/ Boatyard workers

1.บทนำใน การ ซ่อม หรือ ต่อ เรือ ใน กิจการ ต่อ เรือ ไม้ ได้ นำ

สารประกอบ ตะกั่ว ออกไซด์ (Pb3O

4) หรือ ที่ ชาว บ้าน ทั่วไป

เรียก ว่า “เสน” มา ใช้ ใน ขั้น ตอน การ ตอก หมัน เรือ และ ใช้ เป็น ส่วน ผสม ใน การ ยา แนว จาก ฐาน ข้อมูล ของ กรม โรงงาน อุตสาหกรรม พ.ศ. 2553 (กรม โรงงาน อุตสาหกรรม, 2553) พบ วา่ กจิการ อู ่ตอ่ เรอื ใน ประเทศไทย ม ีจำนวน ทัง้หมด 239 อู ่ กระจาย อยู่ ตาม จังหวัด ที่ ติด ชายทะเล หรือ แม่น้ำ ใหญ่ จาก การ สำรวจ ข้อมูล อู่ ต่อ เรือ ใน พื้นที่ ภาค ใต้ ของ ประเทศไทย พ.ศ. 2551 พบ ว่า ร้อย ละ 54 ของ อู่ ต่อ เรือ ทำ หน้าที่ ทั้ง ต่อ เรือ ใหม่ และ ซ่อม เรือ ที่ ชำรุด และ ร้อย ละ 46 รับ ซ่อม เรือ อยา่ง เดยีว โดย เปดิ ประกอบ กจิการ มา นาน กวา่ 25 ป ี(สวุ พทิย ์ แก้ว สนิท, 2551) โดย เฉลี่ย ทั้ง ภาค ใต้ จะ ใช้ เสน ซ่อม เรือ ประมาณ 3.3 กิโลกรัม ต่อ ลำ อย่างไร ก็ตาม แม้ว่า จะ มี การนำ กาว วิทยาศาสตร์ มา ใช้ แทน การ ตอก หมัน แต่ ใน การ ซ่อม เรือ ใน พื้นที่ ภาค ใต้ ยัง คง ใช้ เสน และ การ ตอก หมัน เรือ อยู่ เป็น จำนวน มาก โดย มี ปริมาณ การ ใช้ เสน รวม ทั้งหมด ประมาณ 26 ตัน ต่อ ปี จาก จำนวน อู่ ซ่อม เรือ 63 อู่ ซึ่ง ปริมาณ การ ใช้ จริง อาจ มี จำนวน มากกว่า นี้ เนื่องจาก การ จัด เก็บ ข้อมูล ของ อู่ ไม่ ได้ จัด ทำ เป็น ระบบ และ ประชาชน ที่ ประกอบ อาชีพ ประมง บาง ราย ที่ มี เรือ ขนาด เล็ก จะ ซ่อมแซม เรือ เอง ที่ บ้าน พัก อาศัย โดย ไม่ ผ่าน อู่ ซ่อม เรือ (Chongsuvivatwong, Kaeosanit, & Untimanon, 2010)

สาร ตะกัว่ อาจ เขา้ สู ่รา่งกาย โดย การ หายใจ การ สมัผสั ทาง ผวิหนงั หรอื การ กลนื กิน หาก ร่างกาย ได ้รับ เกนิ ปรมิาณ ที่ จำกัด อาจ ส่ง ผลก ระ ทบ ต่อ ระบบ ต่างๆ ของ ร่างกาย ได้ เช่น ระบบ ประสาท สว่น กลาง หรอื สมอง ระบบ ทาง เดนิ อาหาร การ ทำงาน ของ ไต การ สร้าง เม็ด เลือด แดง ระบบ กล้าม เนื้อ การ ทำงาน ของ หัวใจ การ ไหล เวียน ของ โลหิต และ ระบบ สืบพันธุ์ เปน็ตน้ (Bonde, 2002; Nomiyama, 2002; Gerhardsson, 1995; Staudinger, 1998)

แม้ว่า ตะกั่ว ออกไซด์ จะ มี อันตราย ต่อ สุขภาพ ของ คน งาน แต ่ก ็ยงั คง ใช ้อยู ่กนั อยา่ง แพร ่หลาย ผล การ ศกึษา การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ใน คน งาน อู ่ตอ่ เรอื ใน จงัหวดั นครศรธีรรมราช พ.ศ. 2548 พบ วา่ รอ้ย ละ 48 ของ คน งาน ทัง้หมด และ รอ้ย ละ 67 ของ ช่าง หมัน มี ระดับ สาร ตะกั่ว ใน เลือด สูง กว่า 40 μμg/dl เนือ่งจาก คน งาน ไม ่สวม อปุกรณ ์คุม้ครอง ความ ปลอดภยั เชน่ หน้ากาก ถุงมือ สูบ บุหรี่ พฤติกรรม ของ คน งาน ใน อู่ ต่อ เรือ ส่วน ใหญ่ มี ความ เสี่ยง ต่อ การ ปน เปื้อน และ สัมผัส สาร ตะกั่ว ออกไซด์ จาก การ ทำงาน ได้แก่ รับ ประทาน อาหาร ระหว่าง การ ทำงาน โดย ไม่ ได้ ล้าง มือ สภาพ ทั่วไป ภายใน อู่ มี ผง ตะกั่ว

Page 23: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

22 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ออกไซด์ กระจาย อยู่ ทัว่ ทกุ พืน้ที ่นอกจาก นี้ ยงั พบ วา่ ปรมิาณ การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ใน บา้น พกั อาศยั ของ คน งาน ม ีคา่ สงู กวา่ บา้น กลุม่ เปรยีบ เทยีบ อยา่ง ม ีนยั สำคญั ทาง สถติ ิทกุ ตำแหนง่ ที ่ศึกษา (Thanapop, 2007; Thanapop, 2009)

การ ศึกษา ที่ ผ่าน มา ส่วน ใหญ่ ได้ ศึกษา การ ปน เปื้อน และ การ ตรวจ หา ระดบั สาร ตะกัว่ ใน เลอืด ของ คน งาน ภายใน อู ่ตอ่ เรอื ซึง่ พบ วา่ ระดบั ตะกัว่ ใน เลอืด ของ คน งาน สงู กวา่ เกณฑ ์มาตรฐาน อยา่ง ตอ่ เนือ่ง และ จาก พฤตกิรรม ของ คน งาน ยงั ได ้นำ สาร ตะกั่ว จาก ที่ ทำงาน กลับ ไป ปน เปื้อน ภายใน ที่พัก อาศัย อีก ด้วย ซึ่ง อาจ ส่ง ผล ต่อ สุขภาพ ทั้ง ของ ตนเอง และ สมาชิก ใน ครอบครัว หาก คน งาน ยัง ไม่มี ความ รู้ ความ เข้าใจ เกี่ยว กับ อันตราย และ การ ป้องกัน จาก สาร ตะกั่ว นอกจาก นี้ แรงงาน ส่วน ใหญ่ ภายใน อู่ ต่อ เรือ เป็น แรงงาน นอก ระบบ ได้ รับ ค่า ตอบแทน ราย วัน และ ไม่มี สวัสดิการ ใดๆ ทั้ง สิ้น จาก สถาน ประกอบ การ ซึ่ง อาจ ส่ง ผล ต่อ ภาวะ สุขภาพ และ คุณภาพ ชีวิต ของ คน งาน โดย ภาพ รวม ดงั นัน้ ผู ้วจิยั จงึ ได ้ศกึษา คณุภาพ ชวีติ ระดับ ความ รู้ และ พฤติกรรม ต่อ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน สาร ตะกัว่ พรอ้ม ประเมนิ ขนาด การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ที ่ตวั บคุคล และ บริเวณ บ้าน พัก อาศัย ของ คน งาน อู่ ต่อ เรือ ขึ้น

2.วิธีการดำเนินการวิจัย2.1รูปแบบการศึกษา เป็นการ ศึกษา เชิง สำรวจ แบบ ภาค ตัด ขวาง

(Cross-sectional survey study)2.2ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การ ศกึษา ครัง้ นี ้ได ้เลอืก กลุม่ ตวัอยา่ง แบบ เฉพาะ

เจาะจง โดย ทำการ ศึกษา ใน คน งาน ที่ ทำงาน ใน อู่ ต่อ เรือ และ มี บ้าน พัก อาศัย ภายใน อำเภอ เมือง อำเภอ ท่าศาลา และ อำเภอ ปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่ง เป็น พื้นที่ ชายฝั่ง ทะเล มี กิจการ อู่ ต่อ เรือ เป็น จำนวน มาก โดย มี เกณฑ์ การ คัด เลือก กลุ่ม ตัวอย่าง ดังนี้ 1) ทำงาน ใน อู่ ต่อ เรือ เป็น อาชีพ หลัก 2) ทำงาน อย่าง ต่อ เนื่อง ขณะ ทำการ ศึกษา และ 3) มี ความ เต็มใจ ที่ เข้า ร่วม ศึกษา จาก เกณฑ์ ดัง กล่าว ได้ จำนวน ตัวอย่าง ทั้งหมด 78 คน กลุ่ม ตัวอย่าง ทั้งหมด ได้ รับ การ ชี้แจง และ อธิบาย ถึง วัตถุประสงค์ การ ศึกษา จาก ผู้ วิจัย และ ได้ ลง นาม ยนิยอม เขา้ รว่ม โครงการ ซึง่ โครงการ วจิยั นี ้ได ้ผา่น การ อนมุตั ิจาก คณะ กรรมการ จรยิธรรม การ วจิยั ใน มนษุย ์มหาวทิยาลยั วลัย ลักษณ์

2.3เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 2.3.1 แบบ สังเกต รายการ ประกอบ ด้วย (1)

ทำเล และ ลกัษณะ ที ่ตัง้ ของ บา้น เรอืน (2) ลกัษณะ และ รปู แบบ บ้าน พัก อาศัย (3) ชนิด วัสดุ ของ พื้น และ ฝา ผนัง (4) การ ทาสี บ้าน (5) การ ดูแล ทำความ สะอาด บ้าน (6) การ เก็บ เครื่อง มือ วัสดุ ต่างๆ

2.3.2 แบบ สมัภาษณ ์ประกอบ ดว้ย 2 สว่น หลกั ได้แก่

1) แบบ สัมภาษณ์ ความ รู้ ทั่วไป และ การ ปอ้งกนั การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ของ กลุม่ ตวัอยา่ง ประกอบ ดว้ย 3 สว่น ไดแ้ก ่(1) ขอ้มลู ทัว่ไป ทาง ดา้น ประชากร (2) พฤตกิรรม การ ปอ้งกนั การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ และ (3) ความ รู ้ทัว่ไป เกีย่ว กบั สาร ตะกั่ว แบบ เลือก ตอบ ถูก - ผิด จำนวน 32 ข้อ โดย ประยุกต ์จาก การ ศกึษา ความ สมัพนัธ ์ของ งาน และ พฤตกิรรม ตอ่ การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ของ คน งาน ซอ่ม เรอื ใน อู ่ตอ่ เรอื และ ทีพ่กั อาศยั (Thanapop & Geater, 2007) ซึง่ แบบ สมัภาษณ ์ได้ ตรวจ สอบ ความ ถูก ต้อง ของ เนื้อหา โดย ผู้ เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และ ได้ นำ ไป ทดลอง ใช้ ก่อน นำ ไป ใช้ จริง สำหรับ ระดับ ความ รู้ เกี่ยว กับ สาร ตะกั่ว ได้ แบ่ง ออก เป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับ ความ รู้ ต่ำ หมาย ถึง คะแนน ที่ ได้ รับ มี ค่า น้อย กว่า ร้อย ละ 60 ของ คะแนน เต็ม

ระดับ ความ รู้ ปาน กลาง หมาย ถึง คะแนน ที่ ได้ รับ มี ค่า ตั้งแต่ ร้อย ละ 60 ถึง ร้อย ละ 79.99 ของ คะแนน เต็ม

ระดับ ความ รู้ สูง หมาย ถึง คะแนน ที่ ได้ รับ มี ค่า มากกว่า หรือ เท่ากับ ร้อย ละ 80 ของ คะแนน เต็ม

2) แบบ สัมภาษณ์ คุณภาพ ชีวิต จาก เครื่อง วัด คุณภาพ ชีวิต ของ องค์การ อนามัย โลก ชุด ย่อ ฉบับ ภาษา ไทย (WHOQOL-BREF-THAI) แบบ มาตราส่วน ประมาณ ค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 26 ข้อ แบ่ง ออก เปน็ ขอ้ คำถาม ที ่ม ีความ หมาย เชงิ บวก และ ลบ จำนวน 23 และ 3 ขอ้ ตาม ลำดบั ประกอบ ดว้ย องค ์ประกอบ ของ คณุภาพ ชีวิต 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน สุขภาพ กาย จิตใจ สัมพันธภาพ ทาง สังคม และ สิ่ง แวดล้อม (สุ วัฒน์ มหัต นิ รัน ดร์ กุล และ คณะ, 2545) ซึ่ง แบ่ง ระดับ คะแนน คุณภาพ ชีวิต แยก ออก ตาม องค์ ประกอบ ดังนี้

Page 24: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 23

องค์ประกอบ คุณภาพชีวิตไม่ดี คุณภาพชีวิตกลางๆ คุณภาพชีวิตที่ดี

1. ด้านสุขภาพกาย

2. ด้านจิตใจ

3. ด้านสัมพันธภาพทางสังคม

4. ด้านสิ่งแวดล้อม

7 - 16

6 - 14

3 - 7

8 - 18

17 - 26

15 - 22

8 - 11

19 - 29

27 - 35

23 - 30

12 - 15

30 - 40

คุณภาพชีวิตโดยรวม 26 - 60 61 - 95 96 - 130

2.3.3 Zefon wipe paper ของ บรษิทั Zefon International Inc. ซึง่ เปน็ วสัด ุใน การ เกบ็ ตวัอยา่ง สาร ตะกัว่ ที่ ได้ มาตรฐาน ตาม ข้อ กำหนด ของ American Society for Testing and Materials Standards (ASTM E1792) และ American Industrial Hygiene Association (AIHA)

2.4การเก็บและรวบรวมข้อมูล 2.4.1 ข้อมูล ทั่วไป ทาง ด้าน ประชากร คุณภาพ

ชวีติ ความ รู ้และ พฤตกิรรม การ ปอ้งกนั การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ และ ลักษณะ ที่ อยู่ อาศัย ของ กลุ่ม ตัวอย่าง รวบรวม โดย การ สัมภาษณ์ และ สังเกต โดย ผู้ วิจัย และ คณะ

2.4.2 ขอ้มลู ระดบั ตะกัว่ ใน เลอืด รวบรวม โดย การ เก็บ ตัวอย่าง เลือด จาก กลุ่ม ตัวอย่าง จำนวน 3 มิลลิลิตร บรรจุ ใน หลอด กัน เลือด แข็ง ชนิด heparin โดย นัก เทคนิค การ แพทย์ และ พยาบาล วิชาชีพ โดย มี กลุ่ม ตัวอย่าง ยินดี ให้ เก็บ ตัวอย่าง เลือด จำนวน 49 คน

2.4.3 ตัวอย่าง สาร ตะกั่ว บริเวณ ขอบ หน้าต่าง และ พื้น บ้าน ของ กลุ่ม ตัวอย่าง รวบรวม โดย การ เก็บ ตัวอย่าง บ้าน ละ 5 ตัวอย่าง ได้แก่ บริเวณ ขอบ หน้าต่าง บริเวณ พื้น ด้าน นอก และ ด้าน ใน ของ ประตู ทาง เข้า บ้าน บริเวณ ห้อง โถง หรือ ห้อง นั่ง เล่น และ บริเวณ ห้อง นอน ทำการ เก็บ ตัวอย่าง ละ 2 ตำแหนง่ ใน แตล่ะ ตำแหนง่ ได ้กำหนด พืน้ที ่โดย ใช ้sticker template ขนาด 10x20 เซนติเมตร (400 ตาราง เซนติเมตร ต่อ ตัวอย่าง) เทคนิค การ เก็บ ตัวอย่าง ตะกั่ว ดัง กล่าว ใช้ ตาม แนว ปฏบิตั ิของ NIOSH Manual of Analytical Methods 9100 (NIOSH, 1996) เพื่อ ป้องกัน การ ปน เปื้อน ใน แต่ละ ตวัอยา่ง ผู ้วจิยั ได ้เปลีย่น ถงุมอื ยาง แบบ ไมม่ ีแปง้ และ sticker template ทุก ตัวอย่าง และ บรรจุ ตัวอย่าง ใน ซอง ซิปที่ ปิด สนิท พร้อม ติด ฉลาก ระบุ ราย ละเอียด ของ ตัวอย่าง มี กลุ่ม ตัวอย่าง (ช่าง หมัน) ที่ เต็มใจ เข้า ร่วม ศึกษา จำนวน 28 ครวั เรอืน การ ควบคมุ คณุภาพ ได ้เกบ็ ตวัอยา่ง Field blank จำนวน 2 ตัวอย่าง ต่อ การ เก็บ ตัวอย่าง 1 set โดย เปิด ซอง wipe paper แล้ว นำ มา คลี่ ออก บริเวณ ที่ทำการ เก็บ ตัวอย่าง

และ บรรจ ุกลบั ใน ซอง ซปิที ่ปดิ สนทิ จำนวน 2 ตวัอยา่ง ตอ่ การ เก็บ ตัวอย่าง บริเวณ บ้าน พัก อาศัย จำนวน 10 หลัง

2.4.4 ขอ้มลู ทัง้หมด ได ้ทำการ รวบรวม ระหวา่ง เดือน ตุลาคม 2554 ถึง เดือน มกราคม 2555

2.5การวิเคราะห์ตัวอย่าง ตัวอย่าง Lead wipe paper บริเวณ พื้น บ้าน

จำนวน 140 ตัวอย่าง และ Field blank จำนวน 6 ตัวอย่าง ได้ ทำการ วิเคราะห์ โดย นัก วิทยาศาสตร์ ฝ่าย บริการ การ ใช้ ประโยชน์ เครื่อง มือ ศูนย์ เครื่อง มือ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย วลัย ลักษณ์ ด้วย เครื่อง flame atomic absorption spectrophotometer ยี่ห้อ Perkin Elmer รุ่น AAnalyst 300 ซึ่ง มี ค่า limit of detection (LOD) ที่ 0.05 ppm และ ได้ วิเคราะห์ ตาม แนว ปฏิบัติ ของ NIOSH Manual 7082 Lead by flame AAS (NIOSH, 1994) ควบคุม คุณภาพ โดย การ วิเคราะห์ ตัวอย่าง ซ้ำสาม ครั้ง พร้อม สุ่ม ตัวอย่าง ร้อย ละ 10 ของ ตัวอย่าง ทั้งหมด มา วิเคราะห์ ซ้ำ อย่างไร ก็ตาม ผล การ วิเคราะห์ ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน fiField blank ทุก ตัวอย่าง ของ wipe paper มี ค่า ต่ำ กว่า คา่ LOD สำหรบั ตวัอยา่ง เลอืด วเิคราะห ์ปรมิาณ สาร ตะกัว่ ดว้ย Graphite furnace atomic absorption spectrophoto-meter ตาม แนว ปฏิบัติ ของ NIOSH Manual 7105 Lead by GFAAS (NIOSH, 1994) โดย ศูนย์ วินิจฉัย โรค เขต ร้อน คณะ เวชศาสตร์ เขต ร้อน มหาวิทยาลัย มหิดล

2.6การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ บันทึก ข้อมูล โดย ใช้ โปรแกรม Epidata 3.1

(Lauritsen & Bruus, 2005) จำนวน 2 ครัง้ พรอ้ม ตรวจ สอบ ความ ถูก ต้อง ของ ข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูล โดย ใช้ R Statistic for windows สำหรับ ตัวอย่าง Lead wipe paper ที่ มี ปริมาณ ตะกั่ว ต่ำ กว่า ค่า LOD ใน การ วิเคราะห์ ข้อมูล ได้ แทน ค่า ด้วย LOD/√√2 (Hornung & Reed, 1990) ใช้ สถิติ ร้อย ละ ค่า เฉลี่ย และ ค่า เบี่ยง เบน มาตรฐาน ใน การ บรรยาย ลักษณะ ทาง ด้าน ประชากร พฤติกรรม การ ทำงาน และ การ

Page 25: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

24 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ใน พื้นที่ อำเภอ ปากพนัง จำนวน 35 คน เป็น เพศ ชาย 62 คน (ร้อย ละ 79.5) เพศ หญิง 16 คน (ร้อย ละ 20.5) อายุ เฉลี่ย 46 ปี ส่วน ใหญ่ อยู่ ใน กลุ่ม อายุ 41 - 60 ปี (ร้อย ละ 58) จบ การ ศึกษา ระดับ ประถม ศึกษา ปี ที่ สี่ และ หก (ร้อย ละ 76) มี สถานภาพ สมรส แลว้ (รอ้ย ละ 90) และ ทำ หนา้ที ่เปน็ ชา่ง หมนั (ร้อย ละ 74) โดย มีอายุ งาน ส่วน ใหญ่ นาน กว่า 10 ปี (ร้อย ละ 73) ราย ละเอียด ดัง ตาราง ที่ 1

ตารางที่1ข้อมูล ทั่วไป ของ กลุ่ม ตัวอย่าง จำแนก ตาม ลักษณะ ทาง ด้าน ประชากร (n = 78)

หัวข้อ จำนวน ร้อยละ

ตำแหน่งงาน

ช่างหมัน

ช่างไม้

ช่างเทคนิค

58

17

3

74.4

21.8

3.8

เพศ

ชาย

หญิง

62

16

79.5

20.5

อายุ(ปี)

20 - 30

> 30 - 40

> 40 - 50

> 50 - 60

> 60

(mean 45.7, S.D. 10.8, range 26 - 66)

8

17

25

20

8

10.3

21.8

32.1

25.6

10.3

นับถือศาสนา

อิสลาม

พุทธ

43

35

55.1

44.9

ระดับการศึกษา

ประถมศึกษาปีที่ 4

ประถมศึกษาปีที่ 6

มัธยมศึกษาตอนต้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย - ปวช./ปวส.

36

23

4

15

46.2

29.5

5.1

19.2

ป้องกัน การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว และ ระดับ ความ รู้ เกี่ยว กับ สาร ตะกั่ว ของ กลุ่ม ตัวอย่าง สำหรับ ปริมาณ สาร ตะกั่ว บริเวณ พื้น (surface lead loading) ได้ คำนวณ และ แสดง ใน หน่วย ไมโครกรัม ต่อตา ราง เมตร (US.HUD., 1995)

3.ผลการศึกษา3.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง คน งาน กลุ่ม ตัวอย่าง ทำงาน ภายใน อู่ ต่อ เรือ ใน

พื้นที่ อำเภอ ท่าศาลา และ อำเภอ เมือง จำนวน 43 คน และ

Page 26: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 25

หัวข้อ จำนวน ร้อยละ

สถานภาพสมรส

โสด

สมรส

ม่าย/หย่า/แยกกันอยู่

5

70

3

6.4

89.7

3.9

ระยะเวลาที่ทำงาน(ปี)

1 - 5

6 - 10

11 - 15

16 - 20

> 20

11

10

10

19

28

14.1

12.8

12.8

24.4

35.9

ตารางที่1 (ต่อ)

3.2 พฤติกรรมการป้องกันการปนเปื้อนและระดับความรู้เกี่ยวกับสารตะกั่ว

คน งาน ใน อู่ ต่อ เรือ ไม่มี ชุด ทำงาน ที่ เป็น รูป แบบ คน งาน กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ สวม เสื้อ แขน ยาว (ร้อย ละ 56) และ นุ่ง กางเกง ขา ยาว (ร้อย ละ 76) และ สวม รองเท้า แตะ (ร้อย ละ 64) ประมาณ ร้อย ละ 30 สวม รองเท้า หุ้ม ส้น ทุก วัน ขณะ ทำงาน ไม่ ใช้ ผ้า ปิด จมูก (ร้อย ละ 80) และ ถุงมือ ผ้า

(ร้อย ละ 77) แต่ จะ สวม หมวก เพื่อ กันแสง แดด (ร้อย ละ 81) สำหรับ พฤติกรรม ใน การ ทำงาน พบ ว่า ส่วน ใหญ่ ระหว่าง การ ทำงาน ได้ ดื่ม น้ำ มากกว่า 10 ครั้ง (ร้อย ละ 72) และ รับ ประทาน อาหาร ว่าง (ร้อย ละ 62) แต่ ส่วน ใหญ่ ไม่ สูบ บุหรี่ (ร้อย ละ 53) และ กิน ใบ กระท่อม (ร้อย ละ 60) ส่วน ใหญ่ รับ ประทาน อาหาร กลาง วันใต้ คาน เรือ (ร้อย ละ 51) และ ได้ ล้าง มือ ก่อน ทุก ครั้ง (ร้อย ละ 89) ราย ละเอียด ดัง ตาราง ที่ 2

ตารางที่2 พฤติกรรม การ ทำงาน และ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว

หัวข้อ จำนวน(คน) ร้อยละ

ชุดทำงานและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

เสื้อทำงาน แขนสั้น

แขนยาว

ใช้ทั้งสองชนิด

2

44

32

2.6

56.4

41.0

กางเกงทำงาน

ขาสั้น

ขายาว

ใช้ทั้งสองชนิด

2

59

17

2.6

75.6

21.8

รองเท้าทำงาน รองเท้าหุ้มส้น

รองเท้าแตะ

ใช้ทั้งสองชนิด

22

50

6

28.2

64.1

7.7

Page 27: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

26 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

หัวข้อ จำนวน(คน) ร้อยละ

การใช้ผ้าปิดจมูก ไม่ใช้

ใช้บางครั้ง

62

16

79.5

20.5

การใช้ถุงมือผ้า ไม่ใช้

ใช้บางครั้ง

60

18

76.9

23.1

หมวก ไม่ใช้

ใช้บางครั้ง-ประจำ

15

63

19.2

80.8

พฤติกรรมในการทำงาน

การสูบบุหรี่ ไม่สูบ

สูบ

41

37

52.6

47.4

จำนวนครั้งการดื่มน้ำต่อวัน น้อยกว่า 10 ครั้ง

10 ครั้ง ขึ้นไป

22

56

28.2

71.8

การล้างมือก่อนดื่มน้ำระหว่างทำงาน ไม่ล้าง

ล้างบางครั้ง

ล้างทุกครั้ง

41

19

18

52.6

24.4

23.1

รับประทานของว่างระหว่างการทำงาน ไม่รับประทาน

รับประทาน

30

48

38.5

61.5

การล้างมือก่อนกินของว่างระหว่างทำงาน ไม่ล้าง

ล้างบางครั้ง

ล้างทุกครั้ง

24

14

10

50.0

29.2

20.8

การล้างมือก่อนรับประทานอาหารเที่ยง บางครั้ง

ทุกวัน

9

69

11.5

88.5

สถานที่รับประทานอาหารเที่ยง ใต้คานเรือ

ร้านอาหารนอกอู่

บ้านพัก

39

18

21

50.9

23.1

26.9

การกินใบกระท่อมระหว่างการทำงาน ไม่กิน

กิน

47

31

60.3

39.7

ตารางที่2 (ต่อ)

ล้าง มือ และ หน้า (ร้อย ละ 67) เมื่อ กลับ ถึง บ้าน ส่วน ใหญ่ ได้ เปลี่ยน ชุด ทำงาน ทันที (ร้อย ละ 77) และ อาบ น้ำ ชำระ ร่างกาย ภายใน 30 นาที (ร้อย ละ 83) ราย ละเอียด ดัง ตาราง ที่ 3

พฤติกรรม ที่ เกี่ยวข้อง กับ การนำ ตะกั่ว ไป ปน เปื้อน บริเวณ ที่พัก อาศัย พบ ว่า ส่วน ใหญ่ ไม่ นำ เครื่อง มือ กลับ บ้าน (ร้อย ละ 77) ไม่ ได้ เปลี่ยน ชุด ทำงาน (ร้อย ละ 60) หรอื ทำความ สะอาด รองเทา้ กอ่น กลบั บา้น (รอ้ย ละ 51) แต ่ได ้

Page 28: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 27

ตารางที่3พฤติกรรม ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ปน เปื้อน ตะกั่ว ที่ บ้าน พัก อาศัย

หัวข้อ จำนวน(คน) ร้อยละ

การนำเครื่องมือ - อุปกรณ์ทำงานกลับบ้าน

ไม่ได้นำกลับ

นำกลับบางวัน

นำกลับทุกวัน

60

12

6

76.9

15.4

7.7

การทำความสะอาดร่างกายก่อนกลับบ้าน

ไม่ได้ทำความสะอาด

ล้างเฉพาะหน้าและมือ

อาบน้ำทุกวัน

20

52

6

25.6

66.7

7.7

การเปลี่ยนชุดทำงานก่อนกลับบ้าน

ไม่เคยเปลี่ยน

เปลี่ยนบางวัน

เปลี่ยนทุกวัน

47

7

24

60.3

9.0

30.8

การทำความสะอาดรองเท้าก่อนกลับบ้าน

ไม่ได้ทำความสะอาด

ทำความสะอาดบางครั้ง

ทำความสะอาดทุกครั้ง

40

10

28

51.3

12.8

35.9

การเปลี่ยนชุดทำงานเมื่อกลับถึงบ้าน

เปลี่ยนทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

เปลี่ยนหลังจากทำงานบ้านเสร็จ

60

18

76.9

23.1

การอาบน้ำเมื่อกลับถึงบ้าน

ภายใน 30 นาที เมื่อกลับถึงบ้าน

31 - 60 นาที เมื่อกลับถึงบ้าน

> 60 นาที เมื่อกลับถึงบ้าน

65

10

3

83.3

12.8

3.8

ระดับ ความ รู้ ทั่วไป เกี่ยว กับ สาร ตะกั่ว และ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน โดย ภาพ รวม พบ ว่า กลุ่ม ตัวอย่าง มี ระดบั คะแนน เฉลีย่ 23.3 คะแนน จาก คะแนน เตม็ 32 คะแนน (สว่น เบีย่ง เบน มาตรฐาน 5.59 และพสิยั 9, 31) คดิ เปน็ รอ้ย ละ 71.9 หาก จำแนก ระดับ ความ รู้ ออก เป็น 3 ระดับ พบ ว่า กลุ่ม

ตัวอย่าง ร้อย ละ 27 มี ระดับ คะแนน ต่ำ ร้อย ละ 45 มี ระดับ คะแนน ปาน กลาง และ ร้อย ละ 28 มี ระดับ คะแนน สูง หาก จำแนก ตาม ประเด็น ของ เนื้อหา พบ ว่ากลุ่ม ตัวอย่าง ยัง ขาด ความ รู ้ความ เขา้ใจ เกีย่ว กบั ทาง เขา้ สู ่รา่งกาย และ ผลก ระ ทบ ตอ่ สุขภาพ จาก การ สัมผัส สาร ตะกั่ว รายละเอียดดังตาราง ที่ 4

Page 29: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

28 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ตารางที่4ความ รู้ ทั่วไป เกี่ยว กับ สาร ตะกั่ว และ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน

หัวข้อ ระดับคะแนน* จำนวน ร้อยละ

แหล่งสารตะกั่วในอู่ต่อเรือ (8 คะแนน)

(mean 5.3, S.D. 1.3, range 0 - 7)

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

30

44

4

38.5

56.4

5.1

ทางเข้าสู่ร่างกายของสารตะกั่ว (6 คะแนน)

(mean 4.2, S.D. 1.6, range 0 - 6)

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

27

29

22

34.6

37.2

28.2

ผลกระทบต่อสุขภาพจากการปนเปื้อนสารตะกั่ว (6 คะแนน)

(mean 3.7, S.D. 1.9, range 0 - 6)

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

34

25

19

43.6

32.1

24.4

การป้องกันการปนเปื้อนสารตะกั่ว (14 คะแนน)

(mean 10.1, S.D. 2.6, range 0 - 13)

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

15

38

25

19.2

48.7

32.1

ระดับความรู้โดยภาพรวม (32 คะแนน)

(mean 23.3, S.D. 5.6, range 9 - 31)

ต่ำ

ปานกลาง

สูง

21

35

22

26.9

44.9

28.2

* ระดับ คะแนน ต่ำ (< ร้อย ละ 60.0) ปาน กลาง (ร้อย ละ 60.0 - 79.9) สูง (ร้อย ละ 80.0 ขึ้น ไป) ของ คะแนน เต็ม

3.3 ภาวะสุขภาพและขนาดการปนเปื้อนสารตะกั่วของกลุ่มตัวอย่าง

3.3.1 ปริมาณตะกั่วในเลือดของกลุ่มตัวอย่าง ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด ของ กลุ่ม

ตัวอย่าง พบ ว่า โดย ภาพ รวม มี ค่า พิสัย ค่อน ข้าง กว้าง (พิสัย 5.6, 77.4 ไมโครกรมั ตอ่ เดซลิติร) ม ีคา่ เฉลีย่ และ คา่ เบีย่ง เบน มาตรฐาน โดย ภาพ รวม เท่ากับ 42.52 และ 15.81 ไมโครกรัม ต่อ เดซิลิตร หาก จำแนก ตาม ตำแหน่ง พบ ว่า ตำแหน่ง ช่าง หมัน มี ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด สูง กว่า กลุ่ม ช่างไม้ และ

ชา่ง เทคนิค โดย ม ีคา่ เฉลี่ย เทา่กับ 45.5 และ 16.9 ไมโครกรมั ต่อ เดซิลิตร ตาม ลำดับ หาก เปรียบ เทียบ กับ ค่า มาตรฐาน ของ องค์กร บริหาร สุขภาพ และ ความ ปลอดภัย ใน การ ทำงาน แห่ง ชาติ สหรัฐอเมริกา (US.OSHA., 1910) และ แนว ปฏิบัติ การ เฝ้า ระวัง โรค พิษ ตะกั่ว โดย กระทรวง สาธารณสุข ของ ไทย ซึ่ง ได้ กำหนด ระดับ สาร ตะกั่ว ใน เลือด ของ คน งาน ไม่ ควร เกิน 40 ไมโครกรมั ตอ่ เดซลิติร พบ วา่ ระดบั สาร ตะกัว่ ใน เลอืด ของ ชา่ง หมัน จำนวน 29 คน จาก ทั้งหมด 44 คน เกิน ค่า มาตรฐาน ดัง กล่าว รายละเอียดดังตาราง ที่ 5

Page 30: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 29

ตารางที่5 ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด (μµμg/dl) จำแนก ตาม ตำแหน่ง งาน

ตำแหน่ง จำนวน

(คน)Mean°S.D. Range

จำนวน(คน)

≤ 40µμg/dl

≤ 60µµμg/dl

ช่างหมัน 44 45.5 ° 13.4 16.6 - 77.4 29 7

ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6 - 32.2 0 0

รวม 49 42.5 ° 15.8 5.6 - 77.4 29 7

3.3.2 ปริมาณสารตะกั่วบริเวณบ้านพักอาศัยของกลุ่มตัวอย่าง

บ้าน พัก อาศัย ของ กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ สร้าง มา นาน มากกว่า 5 ปี (ร้อย ละ 86) เป็น บ้าน เดี่ยว ไม่มี ใต้ถุน (ร้อย ละ 71) พื้น บ้าน ส่วน ใหญ่ เป็น พื้น ไม้ (ร้อย ละ 75) ความ สะอาด ของ ที่ อยู่ อาศัย โดย ภาพ รวม ส่วน ใหญ่ อยู่ ใน ระดับ ปาน กลาง โดย ส่วน ใหญ่ ได้ ทำความ สะอาด โดย การ ก วาด บ้าน มากกว่า สัปดาห์ ละ ครั้ง จะ ปัด ฝุ่น และ ถู พื้น ภายใน บา้น นานๆ ครัง้ (รอ้ย ละ 75) ทกุ ครวั เรอืน ไมม่ ีสมาชกิ ทำ งา น อื่นๆ ที่ เกี่ยว เนื่อง กับ สาร ตะกั่ว จาก การ สำรวจ บริเวณ รอบๆ บา้น พกั อาศยั ของ กลุม่ ตวัอยา่ง ทกุ หลงั เปน็ พืน้ ดนิ หรอื ทราย บ้าน ของ กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ ไม่ ได้ ทาสี (27 หลัง) มี เพียง 1 หลัง ที่ ได้ ทาสี บ้าน พัก อาศัย

ปริมาณ สาร ตะกั่ว บริเวณ ขอบ หน้าต่าง มี ค่า มัธยฐาน 389.4 μμg/m2 (พิสัย < 118.8, 11,407.5 μμg/m2) บรเิวณ พืน้ บา้น แตล่ะ ตำแหนง่ ไดแ้ก ่พืน้ ดา้น นอก และ ดา้น ใน บรเิวณ ประต ูทาง เขา้ หอ้ง โถง หรอื หอ้ง พกั ผอ่น และ หอ้ง นอน มี ค่า มัธยฐาน 574.4, 501.6, 441.3 และ 785 μμμg/m2 ตาม

ลำดับ (ค่า พิสัย บริเวณ พื้น โดย ภาพ รวม < 118.8, 69,226.6 μμg/m2)

หาก เปรียบ เทียบ ปริมาณ สาร ตะกั่ว บริเวณ พืน้ กบั คา่ มาตรฐาน ของ องคก์ร พทิกัษ ์สิง่ แวดลอ้ม [Environ-mental Protection Agency (EPA)] (US.EPA., 2001) และ กระทรวง การ เคหะ และ พัฒนา เขต เมือง [Department of Housing and Urban Department (HUD)] (US.HUD., 2004) ของ สหรัฐอเมริกา ได้ กำหนด ปริมาณ ตะกั่ว บริเวณ ขอบ หน้าต่าง ด้าน ใน และ พื้น บ้าน ไม่ ควร เกิน 2690 μμμg/m2 (250 μμg/ft2) และ 430.4 μg/m2 (40 μμg/ft2) พบ วา่ บรเิวณ ขอบ หนา้ตา่ง ดา้น ใน ม ีปรมิาณ ตะกัว่ เกนิ คา่ มาตรฐาน ดัง กล่าว จำนวน 3 หลัง บริเวณ พื้น บ้าน ที่ พบ ปริมาณ ตะกั่ว มาก ที่สุด ได้แก่ บริเวณ ห้อง นอน และ ด้าน นอก และ ด้าน ใน บริเวณ ประตู ทาง เข้า จำนวน 21 และ 16 ครัว เรือน ตาม ลำดับ หาก พิจารณา ปริมาณ สาร ตะกั่ว ที่ เกิน ค่า มาตรฐาน อย่าง น้อย 1 ตำแหน่ง พบ ว่า มี ครัว เรือน ตัวอย่าง จำนวน 22 ครวั เรอืน ที ่เกนิ คา่ มาตรฐาน ดงั กลา่ว รายละเอยีดดงัตาราง ที่ 6

Page 31: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

30 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ตารางที่6ปริมาณ ตะกั่ว บริเวณ บ้าน พัก อาศัย (μμµμg/m2) (n = 28)

ตำแหน่ง

Percentile

Min-Max

จำนวน(ร้อยละ)

ของบ้านพักที่

เกินมาตรฐานEPA

และHUD*25th 50th 75th 95th

ขอบหน้าต่างด้านใน 209.6 389.4 953.9 8,183.3 < 118.8 - 11,407.5 3 (10.7)

พื้นด้านนอกบริเวณ

ประตูทางเข้า

263.9 574.4 951.6 3,639.5 < 118.8 - 5,117.5 16 (57.1)

พื้นด้านในบริเวณ

ประตูทางเข้า

213.3 501.6 1,707.5 4,910.8 < 118.8 - 6,220.1 16 (57.1)

พื้นห้องโถง - พักผ่อน 261.9 441.3 1,312.7 41,046.3 < 118.8 - 69,226.6 14 (50.0)

พื้นห้องนอน 349.1 785.0 1,582.3 5,019.1 < 118.8 - 6,827.5 21 (75.0)

* ค่า มาตรฐาน ปริมาณ ตะกั่ว บน พื้น และ ขอบ หน้าต่าง ด้าน ใน ของ EPA และ HUD ของ สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 430.4

และ 2,690 μμµμg/m2 ตาม ลำดับ หาก พิจารณา ปริมาณ ตะกั่ว บน พื้น เกิน ค่า มาตรฐาน อย่าง น้อย 1 ตำแหน่ง พบ ว่า เกิน มาตรฐาน จำนวน 22 หลัง (79%)

3.4ระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง ระดับ คุณภาพ ชีวิต โดย ภาพ รวม ของ กลุ่ม

ตัวอย่าง พบ ว่า อยู่ ใน ระดับ ปาน กลางและ ดี ใน สัดส่วน ที่ เท่า กัน (ร้อย ละ 50) หาก จำแนก ตาม องค์ ประกอบ ของ คุณภาพ ชีวิต ทั้ง 4 ด้าน พบ ว่า ส่วน ใหญ่ อยู่ ใน ระดับ คะแนน คุณภาพ ชีวิต ปาน กลาง และ ดี เช่น เดียวกัน โดย ด้าน สุขภาพ กาย (การ รบั รู ้สภาพ ทาง ดา้น รา่งกาย ของ บคุคล ที ่ม ีผล ตอ่ ชวีติ ประจำ วัน) และ ด้าน สิ่ง แวดล้อม (การ รับ รู้ ด้าน สิ่ง แวดล้อม ที่

มี ผล ต่อ การ ดำเนิน ชีวิต) พบ ว่า ส่วน ใหญ่ อยู่ ใน ระดับ คะแนน คณุภาพ ชวีติ ปาน กลาง สำหรบั ดา้น จติใจ (การ รบั รู ้สภาพ จติใจ ของ ตนเอง) และ ด้าน สัมพันธภาพ ทาง สังคม (การ รับ รู้ เรื่อง ความ สัมพันธ์ ของ ตน กับ บุคคล อื่นๆ) ส่วน ใหญ่ อยู่ ใน ระดับ คะแนน คุณภาพ ชีวิต ที่ ดี หาก พิจารณา ระดับ คะแนน คุณภาพ ชีวิต แต่ละ ด้าน พบ ว่า ด้าน จิตใจ มี ระดับ คะแนน มาก ที่สุด รอง ลง มา ไดแ้ก ่ดา้น สมัพนัธภาพ ทาง สงัคม ดา้น สขุภาพ กาย และ ด้าน สิ่ง แวดล้อม ตาม ลำดับ รายละเอียดดังตาราง ที่ 7

Page 32: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 31

ตารางที่7 คุณภาพ ชีวิต ของ กลุ่ม ตัวอย่าง จำแนก ตาม องค์ ประกอบ และ ภาพ รวม

องค์ประกอบระดับคะแนนคุณภาพชีวิต:จำนวน(ร้อยละ)

ไม่ดี ปานกลาง ดี

ด้านสุขภาพกาย (35 คะแนน)

(mean 26.1, S.D. 2.6, range 20 - 35)

0 46 (59.0) 32 (41.0)

ด้านจิตใจ (30 คะแนน)

(mean 23.9, S.D. 2.5, range 19 - 30)

0 21 (26.9) 57 (73.1)

ด้านสัมพันธภาพทางสังคม (15 คะแนน)

(mean 11.6, S.D. 1.4, range 8 - 15)

0 35 (44.9) 43 (55.1)

ด้านสิ่งแวดล้อม (40 คะแนน)

(mean 28.0, S.D. 3.7, range 19 - 37)

0 53 (67.9) 25 (32.1)

คุณภาพชีวิตโดยรวม (130 คะแนน)

(mean 96.6, S.D. 8.6, range 77 - 118)

0 39 (50.0) 39 (50.0)

4.อภิปรายผลคน งาน ใน อู่ ต่อ เรือ ส่วน ใหญ่ เป็น เพศ ชาย และ เป็น

แรงงาน นอก ระบบ จบ การ ศกึษา ใน ระดบั ประถม ศกึษา มอีาย ุงาน ใน การ ทำงาน นาน กว่า 10 ปี โดย ภาพ รวม มี ความ รู้ ความ เขา้ใจ เกีย่ว กบั การ ปอ้งกนั การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ เขา้ สู ่รา่งกาย และ ผลก ระ ทบ ที่ อาจ จะ เกิด ขึ้น ยัง ไม่ ถูก ต้อง ใน บาง ประเด็น ทำให้ ยัง มี คน งาน บาง คน มี พฤติกรรม ที่ เสี่ยง ต่อ สัมผัส สาร ตะกั่ว เข้า สู่ ร่างกาย ซึ่ง เป็น ปัญหา ทาง ด้าน อาชีว อนามัย ที่ เกิด ขึน้ กบั แรงงาน นอก ระบบ โดย ทัว่ไป หรอื แรงงาน โอ ทอป ตา่งๆ (ฉันท นา ผดุง ทศ, 2547; ศิริ อร ภัทร พฤกษา, 2549) แม้ว่า โดย ภาพ รวม กลุ่ม ตัวอย่าง มี ความ รู้ ความ เข้าใจ เกี่ยว กับ การ ป้องกัน การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว เข้า สู่ ร่างกาย และ ผลก ระ ทบ ที่ อาจ เกิด ขึ้น อยู่ ใน ระดับ ปาน กลาง (คะแนน เฉลี่ย 72%) เนื่องจาก มี หน่วย งาน ภาค รัฐ และ นัก วิชาการ ที่ เกี่ยวข้อง ได้ จัด กิจกรรม ตรวจ ติดตาม หรือ เฝ้า ระวัง โรค พิษ ตะกั่ว ขึ้น ซึ่ง ส่วน ใหญ่ เป็นการ ตรวจ ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด และ ใน อากาศ ของ พื้นที่ การ ทำงาน ซึ่ง เมื่อ แจ้ง ผล การ ตรวจ เลือด ให้ แก่ คน งาน ส่วน ใหญ่ ได้ ให้ คำ แนะนำ ความ รู้ เกี่ยว กับ การ ป้องกัน การ สัมผัส สาร ตะกั่ว อยู่ เป็น ประจำ (Thanapop, 2007; Thanapop, 2009)

อยา่งไร กต็าม หาก พจิารณา ราย ละเอยีด ระดบั ความ รู ้ ของ คน งาน เกี่ยว กับ การ ป้องกัน การ สัมผัส สาร ตะกั่ว พบ ว่า กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ ยัง ขาด ความ รู้ ความ เข้าใจ เกี่ยว กับ

ทาง เข้า สู่ ร่างกาย และ ผลก ระ ทบ จาก การ ปน เปื้อน หรือ สัมผัส สาร ตะกั่ว ที่ ส่ง ผล ต่อ สุขภาพ ทำให้ กลุ่ม ตัวอย่าง บาง คน ยัง มี พฤติกรรม การ ทำงาน ที่ เสี่ยง ต่อ การ สัมผัส สาร ตะกั่ว ขณะ การ ทำงาน ได้แก่ ไม่ ใช้ ผ้า ปิด จมูก หรือ ถุงมือ ขณะ ตอก หมัน หรือ คลุก เสน การ รับ ประทาน อาหาร ว่าง หรือ ดื่ม น้ำ ระหว่าง ทำงาน โดย ไม ่ได ้ลา้ง มอื ทำให ้สาร ตะกัว่ เขา้ สู ่รา่งกาย ซึง่ พบ วา่ ร้อย ละ 66 ของ ช่าง หมัน ยัง มี ระดับ ตะกั่ว ใน เลือด เกิน 40 ไมโครกรัม ต่อ เดซิลิตร

โดย ทั่วไป ตะกั่ว สามารถ เข้า สู่ ร่างกาย ของ คน งาน โดย การ ดูด ซึม ผ่าน ทาง เดิน หายใจ และ ทาง เดิน อาหาร (Staudinger & Roth, 1998; Nordberg, 1998) จาก การ วเิคราะห ์ขนาด อนภุาค ของ ตะกัว่ ออกไซด ์ที ่ใช ้ใน การ ตอก หมนั เรือ พบ ว่า อนุภาค ที่ มี ขนาด เล็ก กว่า 10 ไมครอน มี เพียง ร้อย ละ 30 โดย ปริมาตร (Maharachpong, 2005) ดัง นั้น ตะกั่ว ออกไซด์ อาจ เข้า สู่ ร่างกาย ผ่าน ทาง เดิน หายใจ ส่วน ต้น เกดิ การ กลนื กนิ และ ดดู ซมึ ผา่น ใน กระเพาะ อาหาร สำหรบั ทาง ผวิหนงั พบ วา่ ชา่ง ตอก หมนั บาง คน หลงั จาก คลกุ เสนห รอื ตอก หมัน ได้ ล้าง มือ ด้วย น้ำมัน เบนซิน หรือ น้ำมัน ยาง จึง อาจ ทำให้ ตะกั่ว เข้า สู่ ร่างกาย ทาง ผิวหนัง ได้ เช่น เดียวกัน (Thanapop, 2007; Stuart, 1976) อย่างไร ก็ตาม การ สูบ บุหรี่ ขณะ ทำงาน การ มี สุข อนามัย ส่วน บุคคล ขณะ ทำงาน ไม่ เหมาะ สม ทำให้ เพิ่ม โอกาส การ ดูด ซึม ตะกั่ว ทางการ กิน ได้ มาก ขึ้น ซึ่ง กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ กิน ของ ว่าง และ ดื่ม น้ำ บาง คน สูบ บุหรี่ หรือ

Page 33: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

32 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

เคี้ยว ใบ กระท่อม โดย ไม่ ได้ ล้าง มือ ก่อน นอกจาก นี้ บาง คน ยัง รับ ประทาน อาหาร กลาง วัน บริเวณ ใต้ คาน เรือ และ ไม่ ได้ ล้าง มือ จึง ทำให้ ตะกั่ว มี โอกาส เข้า สู่ ร่างกาย ทางการ กิน มาก ที่สุด (Thanapop, Geater, 2007; มานะ หะ สา เมาะ, 2544; สุว พิทย์ แก้ว สนิท, 2551)

สำหรับ พฤติกรรม ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ที่ บ้าน พัก อาศัย พบ ว่า กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ ไม่ ได้ ทำความ สะอาด รา่งกาย หรอื เปลีย่น เสือ้ผา้ กอ่น กลบั บา้น ทำให ้เกิด การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ใน บริเวณ ที่พัก อาศัย ซึ่ง พบ ว่า มี ครัว เรือน ตัวอย่าง 22 หลัง (ร้อย ละ 79) มี ปริมาณ สาร ตะกัว่ บรเิวณ พืน้ เกนิ คา่ มาตรฐาน อาจ ทำให ้สมาชกิ ใน บา้น โดย เฉพาะ เดก็ เลก็ อาจ ได ้รบั สาร ตะกัว่ เขา้ สู ่รา่งกาย ได ้เนือ่งจาก ยงั ม ีพฤตกิรรม เอา มอื หรอื สิง่ของ เขา้ ปาก หรอื จาก การ กนิ อาหาร ที่ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ซึ่ง อาจ ส่ง ผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ ของ เด็ก ได้ (CDC, 1991) แม้ว่า ใน ประเทศไทย ยัง ไม่มี กฎหมาย หรือ มาตรฐาน ที่ จะ ประเมิน การ สัมผัส สาร ตะกั่ว ของ เด็ก จาก การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ใน ฝุ่น บริเวณ ที่พัก อาศัย ก็ตาม ทำให้ เด็ก เล็ก ของ กลุ่ม ตัวอย่าง มี โอกาส สัมผัส สาร ตะกั่ว ค่อน ข้าง สูง ซึ่ง มี งาน วิจัย หลาย เรื่อง ที่ มี หลัก ฐาน ระบุ ว่า เด็ก ที่ มี พ่อ แม่ หรือ สมาชิก ใน บ้าน ทำงาน หรือ มี การ ประกอบ อาชีพ เสริม ที่ เกี่ยวข้อง กับ สาร ตะกั่ว ที่ บ้าน พัก อาศัย จะ ทำให้ เด็ก มี โอกาส สัมผัส สาร ตะกั่ว และ มี ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด สูง กว่า เด็ก กลุม่ อืน่ๆ (Gerson, 1996; Whelan, 1997; Roscoe, 1999; Maharachpong, 2006) ดัง นั้น เพื่อ ลด ปริมาณ ฝุ่น ที่ อาจ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ภายใน บริเวณ บ้าน กลุ่ม ตัวอย่าง ที่ ทำงาน ใน อู ่ตอ่ เรอื โดย เฉพาะ ชา่ง หมนั ควร เปลีย่น เสือ้ผา้ และ อาบ นำ้ ทันที ก่อน เข้า บ้าน พัก และ ควร ทำความ สะอาด พื้น บ้าน ด้วย การ ถู ให้ บ่อย ขึ้น หรือ ทุก วัน

สำหรบั คณุภาพ ชวีติ ของ กลุม่ ตวัอยา่ง พบ วา่ โดย ภาพ รวม และ ใน องค์ ประกอบ ทาง ด้าน จิตใจ และ สัมพันธภาพ ทาง สังคม อยู่ ใน ระดับ คะแนน ที่ ดี เนื่องจาก ลักษณะ การ ทำงาน ส่วน ใหญ่ เป็นการ ทำงาน ร่วม กัน ของ สมาชิก ใน ครัว เรือน และ ญาติ พี่ น้อง ที่ อาศัย อยู่ ใน ละแวก เดียวกัน นอกจาก นี้ กลุ่ม ตวัอยา่ง สว่น หนึง่ นบัถอื ศาสนา อสิลาม ม ีการ เขา้ รว่ม กจิกรรม ทาง ศาสนา เป็น ประจำ ทุก วัน ศุกร์ ทำให้ สภาพ ทาง จิตใจ และ สัมพันธภาพ ทาง สังคม มี ความ เอื้อ อาทร ซึ่ง กัน และ กัน อยู่ ใน ระดับ ที่ ดี ซึ่ง ต่าง จาก วัย แรงงาน ทั่วไป (สถาบันวิจัย ประชากร และ สังคม มหาวิทยาลัย มหิดล, 2553) อย่างไร ก็ตาม ระดับ คุณภาพ ชีวิต ใน ด้าน สุขภาพ กาย และ สิ่ง แวดล้อม พบ ว่า อยู่

ระดบั ปาน กลาง เนือ่งจาก ลกัษณะ การ ทำงาน อาจ ม ีความ เสีย่ง ซึง่ อาจ สง่ ผล ตอ่ สขุภาพ ได ้นอกจาก นี ้บา้น พกั อาศยั สว่น ใหญ ่เป็น ลักษณะ ครอบครัว ขยาย จาก ครอบครัว ของ บิดา มารดา ทำให้ มี พื้นที่ จำกัด ผนวก กับ การ มี ราย ได้ที่ จำกัด ไม่ สามารถ ปรับปรุง สภาพ ต่างๆ ให้ ดี ขึ้น จาก สภาพ ที่ เป็น อยู่ จึง ทำให้ พอใจ กับ สภาพ บ้าน เรือน ใน ระดับ ปาน กลาง นอกจาก นี้ ยัง ชี้ ให้ เห็น ว่า คน งาน ส่วน ใหญ่ พอใจ กับ ระบบ บริการ สาธารณสุข การ ได ้ขอ้มลู ขา่วสาร ตา่งๆ ที ่จำเปน็ ใน ชวีติ หรอื การ คมนาคม ใน ระดับ ปาน กลาง เท่านั้น

5.สรุปและข้อเสนอแนะโดย ภาพ รวม คน งาน ใน อู่ ต่อ เรือ โดย เฉพาะ ช่าง หมัน มี

โอกาส สมัผสั สาร ตะกัว่ และ ทำให ้เกดิ การ ปน เปือ้น บรเิวณ บา้น พกั อาศยั ดงั นัน้ ควร สวม ถงุมอื และ ผา้ ปดิ จมกู ควร ลา้ง มอื ทกุ ครัง้ กอ่น ดืม่ นำ้ หรอื รบั ประทาน อาหาร นอกจาก นี ้ควร เปลีย่น เสื้อผ้า และ อาบ น้ำ ทันที ทำความ สะอาด และ ถู พื้น บ้าน เป็น ประจำ เพื่อ ลด การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว บริเวณ บ้าน พัก อาศัย อย่างไร ก็ตาม คน งาน ควร ได้ รับคำ แนะนำ เกี่ยว กับ การ ทำงาน และ การ ป้องกัน การ สัมผัส สาร ตะกั่ว เพิ่ม เติม และ ควร ได้ รับ การ ตรวจ ปริมาณ สาร ตะกั่ว ใน เลือด อย่าง น้อย ปี ละ ครั้ง เพื่อ ป้องกัน ผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ ที่ อาจ จะ เกิด ขึ้น นอกจาก นี้ หน่วย งาน ของ รัฐ ที่ เกี่ยวข้อง ควร ตรวจ วัด ปริมาณ สาร ตะกั่ว บรเิวณ ทีพ่กั อาศยั และ เฝา้ ระวงั ตดิตาม การ ปน เปือ้น สาร ตะกัว่ ที่ อาจ เกิด ขึ้น กับ สมาชิก ใน ครัว เรือน ของ ช่าง หมัน เป็น ระ ยะๆ

อย่างไร ก็ตาม การ ศึกษา ครั้ง นี้ มี ขีด จำกัด ของ การ ตรวจ ภาวะ สุขภาพ คน งาน ซึ่ง ได้ ศึกษา เฉพาะ ระดับ ตะกั่ว ใน เลือด ใน อนาคต จึง ควร ศึกษา เชิง ลึก ถึง ภาวะ สุขภาพ ใน ประเด็น ของ การ เปลี่ยนแปลง ของ สาร ชีวเคมี และ ผลก ระ ทบ ทาง โลหิต วิทยา นอกจาก นี้ ควร ศึกษา ผลก ระ ทบ ทาง สุขภาพ ของ สมาชิก ใน ครอบครัว ของ คน งาน อู่ ต่อ เรือ โดย เฉพาะ อย่าง ยิ่ง ใน เด็ก เล็ก ซึ่ง อาจ ส่ง ผล ต่อ ภาวะ การ เจริญ เติบโต ทั้ง ทาง ร่างกาย และ สติ ปัญญา

6.กิตติกรรมประกาศการ ศึกษา ครั้ง นี้ ได้ รับ ทุน อุดหนุน การ วิจัย จาก

มหาวิทยาลัย วลัย ลักษณ์ สัญญา ที่ WU 52116 ภาย ใต้ โครงการ วิจัย “ภาวะ สุขภาพ และ การ ลด การ ปน เปื้อน สาร ตะกั่ว ใน คน งาน อู่ ต่อ เรือ” และ ขอ ขอบคุณ ผู้ เข้า ร่วม โครงการ ทุก ท่าน

Page 34: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 33

เอกสารอ้างอิงกรม โรงงาน อตุสาหกรรม (2553) ขอ้มลู โรงงาน อตุสาหกรรม:

บัญชี ประเภท โรงงาน อุตสาหกรรม 07501. สืบค้น เมื่อ 3 ธนัวาคม 2553, จาก http://www.diw.go.th/diw/data1search.asp

ฉันท นา ผดุง ทศ (2547) อาชีว เวชศาสตร์ ปริทัศน์. วารสาร คลินิก, 20, 965 - 969.

มานะ หะ สา เมาะ และ สุว พิทย์ แก้ว สนิท (2544) ระดับ ตะกั่ว ใน เลือด ของ พนักงาน อู่ ซ่อม เรือ จาก การ ปรับ เปลี่ยน พฤติกรรม เสี่ยง: กรณี ศึกษา จังหวัด ปัตตานี. ศูนย์ อนามัย สิ่ง แวดล้อม เขต 12 สงขลา กรม อนามัย กระทรวง สาธารณสุข.

ศิริ อร ภัทร พฤกษา พิชญา พรรค ทอง สุข และ สาวิตรี ลิม้ ชยั อรณุ เรอื (2549) สภาพ การ ทำงาน สิง่ แวดลอ้ม ใน งาน และ สขุภาพ แรงงาน นอก ระบบ: กรณ ีศกึษา แรงงาน โอ ทอป อำเภอ หาดใหญ ่จงัหวดั สงขลา. วารสาร โรค จาก การ ประกอบ อาชีพ และ สิ่ง แวดล้อม, 1(3), 5 - 21.

สถาบนัวจิยั ประชากร และ สงัคม มหาวทิยาลยั มหดิล (2553) ตัว ชี้ วัด สุขภาพ แรงงาน 2553: วิกฤต ทุนนิยม สังคม มี โอกาส. กรุงเทพมหานคร: อม ริ นทร์ พริ้น ติ้ง แอนด์ พับลิช ชิ่ง.

สุว พิทย์ แก้ว สนิท (2551) ฐาน ข้อมูล อู่ ซ่อม เรือ ภาค ใต้. รายงาน วิจัย ฉบับ สมบูรณ์. สถาบันวิจัย และ พัฒนา สุขภาพ ภาค ใต้.

สุ วัฒน์ มหัต นิ รัน ดร์ กุล และ คณะ (2545) เครื่อง วัด คุณภาพ ชีวิต ของ องค์การ อนามัย โลก ชุด ย่อ ฉบับ ภาษา ไทย (WHOQOL-BREF-THAI). สืบค้น เมื่อ 10 สิงหาคม 2554, จาก http://www.dmh.go.th/test/down load/files/whoqol.pdf

Bonde J.P., Joffe M., Apostoli P., Dale P., Kiss P., Spano M., et al. (2002). Sperm count and chromatin structure in men exposed to inorganic lead: lowest adverse effect levels. Occup Environ Med, 59, pp. 234 - 242.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (1991). Preventing lead poisoning in young children. Atlanta, GA: U.S. Department of Health and Human Service.

Chongsuvivatwong V., Kaeosanit S., & Untimanon O. (2010). Twenty-six tons of lead oxide used per year in wooden boat building and repairing in southern Thailand. Environmental Geochemistry and Health. Retrieved January 9, 2011, from http:// www.springerlink.com/content/ m64341381nh37765/fulltext.html

Gerhardsson L., Hagmar L., Rylander L., & Skerfving S. (1995). Mortality and cancer incidence among secondary lead smelter workers. Occup Environ Med, 52, pp. 667 - 672.

Gerson M., Van Den Eeden S.K., & Gahagan P. (1996). Take-home lead poisoning in a child from his father's occupational exposure. Am J Ind Med, 29, pp. 507 - 508.

Hornung R.W., & Reed L.D. (1990). Estimation of average concentration in the presence of nondetectable values. Appl Occup Environ Hyg, 5, pp. 46 - 51.

Lauritsen J.M., & Bruus M. EpiData (3.1). (2005). A comprehensive tool for validated entry and documentation of data. The EpiData Association, Odense, Denmark, 2003 - 2005.

Maharachpong N. (2005). Environmental and childhood lead contamination: Role of the boat-repair industry in southern Thailand. Degree of Doctor of Philosophy in Epidemiology, Prince of Songkla University, Songkhla.

Maharachpong N., Geater A, & Chongsuvivatwong V. (2006). Environmental and childhood lead contamination in the proximity of boat-repair yards in southern Thailand - I: Pattern and factors related to soil and household dust lead levels. Environ Res, 101, pp. 294 - 303.

National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). (1994). Analytical method number 7082: Lead by flame AAS. In NIOSH Manual of analytical methods (NMAM), 4th ed., Millson M and Hull RD (eds). Cincinnati, Ohio.

Page 35: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

34 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). (1994). Analytical method number 7105: Lead by GFAAS. In NIOSH Manual of analytical methods (NMAM), 4th ed., Perkins JM, Stephens BE and Beesley MP. Cincinnati, Ohio.

National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH). (1996). Analytical method number 9100: Lead in surface wipe method. In NIOSH Manual of analytical methods (NMAM), 4th ed., Eller PM and Ashley K. Cincinnati, Ohio.

Nomiyama K., Nomiyama H., Liu S.L., Tao Y.X., Nomiyama T., & Omae K. (2002). Lead induced increase of blood pressure in female lead workers. Occup Environ Med, 59, pp. 734 - 739.

Nordberg G. (1998). Metal: chemical property and toxicity. In J.M. Stellman (Ed.), Encyclopedia of occupational health and safety (4thed.); Volume III. Geneva: International labour office.

Roscoe R.J., Gittleman J.L., Deddens J.A., Petersen M.R., Halperin W.E. (1999). Blood lead levels among children of lead-exposed workers: A meta-analysis. Am J Med, 36, pp. 475 - 481.

Staudinger K.C., & Roth V.S. (1998). Occupational lead poisoning. Am Fam Physician, 57, pp. 719 - 726, 731 - 732.

Stuart B.O. (1976). Deposition and clearance of inhaled particles. Environ Health Perspect, 16, pp. 41- 53.

Thanapop C. & Geater A. (2007). Indentification of jobs and behaviors of boat-repair workers associated with personal and take-home lead contamination. Final report.

Thanapop C., Geater A.F., Robson M.G., & Paktongsuk P. (2009). Elevated lead contamination in boat-caulkers’ homes in southern Thailand. Int J Occup Environ Health, 15, pp. 282 - 290.

U.S. Department of Housing and Urban Development (HUD). (1995). Guidelines for the Evaluation and Control of Lead-Based Paint Hazards in Housing. Washington, DC: HUD.

U.S. Department of Housing and Urban Development (HUD). (2004). HUD Lead Safe Housing Rule, 24 CFR 35, subparts B through R, reflecting changes made by the technical amendment issued June 21, 2004 (69 Federal Register 34262-34276). Retrieved September 1, 2009, from http://www.hud.gov/offices/lead/lead saferule/LSHRFinal21June04.rtf

U.S. Environmental Protection Agency (EPA). (2001). 40 CFR PART 745 Lead; Identification of dangerous levels of lead; final rule.

U.S. Occupational Safety and Health Administration (OSHA). Regulations (Standards-29 CFR) Lead – 1910.1025. Retrieved May 7, 2012, from http://www.osha.gov.

Whelan E.A., Piacitelli G.M., Gerwel B., Schnorr T.M., Mueller C.A., & Gittleman J. (1997). Elevated blood lead levels in children of construction workers. Am J Public Health, 87, pp. 1352 - 1355.

Page 36: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 35

การประเมินความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานสัมผัสกับเอทิลีนออกไซด์ในโรงพยาบาลของเขตภาคใต้ตอนบนRisk Assessment of Health Workers Exposed to Ethylene Oxide

in the Hospitals of Upper Southern Thailand

วิยะดา แซ่เตีย วท.ม. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11ดร.อรพันธ์ อันติมานนท์ ปร.ด. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ

ประเมนิความเสีย่งของบคุลากรทางการแพทย์ที่ทำงานสมัผสั

กบัเอทลิีนออกไซด์ของโรงพยาบาลใน7จงัหวดัภาคใต้ตอนบน

เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสังเกตโดยการเดินสำรวจ

สถานที่ทำงานใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลวิธีการปฏิบัติงาน

ของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเครื่องนี้ และตรวจวัด

เอทิลีนออกไซด์ในบรรยากาศทำงานและในซองวัสดุที่

ผ่านการอบก๊าซด้วยเครื่องตรวจวัดก๊าซในสิ่งแวดล้อมยี่ห้อ

Miran มีโรงพยาบาลจำนวน 21 แห่งเข้าร่วมในการศึกษา

ครั้งนี้จากการเดินสำรวจพบว่าโรงพยาบาลที่ไม่มีห้องกั้น

แยกสำหรับเครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 7แห่ง (33.3%)

การระบายก๊าซออกไม่หมดเนื่องจากตั้งเวลาน้อยเกินไป

16 แห่ง (76.2%) และมีการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยอื่นๆ

เชน่การใช้ภาชนะใส่วสัดุอบกา๊ซไม่เหมาะสม5แหง่(23.8%)

การไม่เปิดพัดลมขณะแง้มประตูเครื่อง การนำอุปกรณ์

เข้าเก็บในห้องหรือภาชนะปิดทันทีหลังจากนำอุปกรณ์ออก

จากเครื่อง ห้องสะอาดที่เก็บของปราศจากเชื้อมีสภาพ

ไม่เหมาะสม เป็นต้น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า

ประสบการณ์ทำงานของผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครื่องอบฆ่าเชื้อ

ดว้ยเอทลิีนออกไซด์มีคา่เฉลีย่3ปีตำ่สดุ2เดอืนสงูสดุ29

ปีค่าเฉลี่ยการใช้เครื่อง3ครั้งต่อสัปดาห์ต่ำสุด2สัปดาห์

ต่อครั้งสูงสุด14ครั้งต่อสัปดาห์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกับ

เครื่องเคยมีอาการผิวหนังปวดแสบร้อน หรือระคายเคือง

ตาขณะเปิดประตูเพื่อนำชุดเครื่องมือออกจากเครื่องพบใน

โรงพยาบาล 12 แห่ง (57.1%) เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทราบ

ว่าเอทิลีนออกไซด์เป็นอันตราย 20 แห่ง (95.2%) มีการ

ใช้หน้ากากป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 19 แห่ง (90.5%)

ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หน้ากากกระดาษ ไม่มีตลับกรองก๊าซเฉพาะ

โรงพยาบาลที่ตรวจพบเอทิลีนออกไซด์ในบรรยากาศทำงาน

ของหน่วยจ่ายกลาง โดยเฉพาะในห้องเก็บของปราศจาก

เชื้อ16แห่ง(76.2%)ปริมาณก๊าซที่ตรวจพบมีค่ามัธยฐาน

Page 37: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

36 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

4.7 ส่วนในล้านส่วน ต่ำสุด 0.8 ส่วนในล้านส่วน สูงสุด

1,541.0 ส่วนในล้านส่วน (องค์การอาชีวอนามัยและ

ความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกากำหนดค่ามาตรฐานของ

เอทิลีนออกไซด์น้อยกว่า1ส่วนในล้านส่วนตลอดเวลาการ

ทำงาน8ชั่วโมง)พบเอทิลีนออกไซด์คงค้างในห่อชุดเครื่อง

มือแพทย์ของหน่วยจ่ายกลาง16แห่ง(76.2%)โดยเฉพาะ

วัสดุที่มีขนาดเล็กหรือเป็นท่อ/สายปริมาณก๊าซที่ตรวจพบ

มีค่ามัธยฐาน 83.4 ส่วนในล้านส่วน ต่ำสุด 1.0 ส่วนใน

ล้านส่วนสูงสุด386.0ส่วนในล้านส่วนปริมาณก๊าซที่ตรวจ

พบไม่เฉพาะในบรรยากาศแต่ยงัตรวจพบในหอ่ชดุเครือ่งมอื

หรือวัสดุดังนั้นเพื่อที่จะลดการปนเปื้อนควรมีการกำหนด

มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ให้กับผู้ปฏิบัติงานที่

ทำงานสัมผัสกับเอทิลีนออกไซด์อย่างเร่งด่วน รวมทั้งต้อง

มีการเฝ้าระวังระดับของเอทิลีนออกไซด์ โดยควรมีการ

ตรวจวัดปริมาณก๊าซนี้อย่างน้อยปีละครั้งในหน่วยจ่ายกลาง

และห้องผ่าตัดที่มีการใช้ชุดอุปกรณ์อบก๊าซจำนวนมาก

ในขณะเดียวกันหากโรงพยาบาลต้องการจะซื้อเครื่อง

อบก๊าซ ควรเลือกซื้อเครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ชนิด

อตัโนมตัิหรอืเครือ่งอบกา๊ซชนดิlow-temperaturesteam

formaldehyde ที่มีความเป็นอันตรายต่อมนุษย์และ

สิ่งแวดล้อมน้อยกว่า

คำสำคัญ:เอทิลีนออกไซด์/เครื่องอบฆ่าเชื้อ

AbstractThisdescriptivestudyaimedtoassessthe

risksofhealthworkerswhoworkedwithethylene

oxide (EO) in the hospitals among 7 provinces

ofuppersouthernThailand.Datawerecollected

usingobservationchecklistbywalkthroughsurvey.

Facetofaceinterviewswereusedtocollectthe

workpracticesinformationofsuchhealthworkers.

ConcentrationsoftheremainingEOinworking

atmosphere and in material packages were

measured by the ambient air analyzer (Miran).

There were 21 hospitals participated in this

study.Ofthese,theywerenoseparateroomfor

EOmachine(33.3%),remainingEOinheatgas

material packages (76.2%), and other unsafe

practices such as unsuitable heat gas material

packagescontainersuse(23.8%),noopensucking

fan while the door of the machine has being

opened,unsuitableconditionroomtokeepsuch

packages after sterilization, etc. Data from the

interview showed that the average of working

duration with EO sterilizer in participants was

3years(range2months-29years).Theaverage

ofmachineusewas3times/week(range2weeks/

time-14times/week).Of21hospitals,12(57.1%)

hadskinburningoreyeirritationwhiletheywere

opening the machine’s door, 20 (95.2%) knew

thatEO isdangerousgas,and19 (90.5%)used

PPE (mask). However, most of them used only

papermask.EOconcentrationsweredetectedin

centralsupplyroomof16hospitals(76.2%).The

medianconcentrationsinatmospherewas4.7ppm

(range=0.8-1,541ppm)(OSHA;PEL-TWA1ppm).

EOremainedinsterilizedpackagein16hospitals

(76.2%),especiallyinthetubepackageswhichare

smallandlong.ThemedianconcentrationofEO

insuchpackageswas83.4ppm(range=1.0-386

ppm). EO concentrations had been found not

onlyintheatmospherebutalsointhesterilized

packages.Toreducethetoxicgascontamination,

the standard safety procedure should be

implementedinthehospitalsurgently.Inaddition,

EO levels in the central supply room including

in the operating roomwhich use a number of

sterilizedpackagesshouldbemonitoredregularly.

Meanwhile, if the hospitalwould like to buy a

newgassterilizertheautomaticEOsterilizeror

low-temperature steam formaldehyde sterilizer

shouldbechosenduetohumanandenvironmental

concerns.

Keywords:Ethyleneoxide/Sterilizer

Page 38: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 37

1.บทนำปจัจุบนัดว้ยความเจรญิดา้นเทคโนโลยีทางการแพทย์

โรงพยาบาลต่างๆมีการนำเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่ทัน

สมยัมาให้บรกิารผู้ปว่ยมากขึน้ทัง้นี้อปุกรณ์สว่นใหญ่จำเปน็

ต้องนำมาใช้ซ้ำ โดยทำให้ปราศจากเชื้อก่อน วัสดุเครื่องมือ

บางประเภทไม่ทนต่อความร้อน ความชื้น ความดันที่สูงได้

จึงไม่สามารถทำให้ปราศจากเชื้อด้วยการนึ่งอบไอน้ำความ

ดันสูง (Autoclave) ต้องใช้การอบทำลายเชื้อด้วยก๊าซ

แทน เช่น เอทิลีนออกไซด์ (Ethyleneoxide)ซึ่งก๊าซนี้มี

คุณสมบัติเป็นก๊าซ ไม่มีสี ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถได้

กลิ่นเท่ากับ700ppm(กรมอนามัย,2546)จุดเดือด10.7 OC

ความหนาแน่นไอ 1.7 เท่าของอากาศ ก๊าซชนิดนี้สามารถ

สะสมในบรรยากาศได้ถ้าห้องนั้นเป็นระบบปิด การถ่ายเท

อากาศไม่เพียงพอ โดยค่าที่องค์การอาชีวอนามัยและความ

ปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and

Health Administration: OSHA) แนะนำให้มีสูงสุดได้

ในบรรยากาศการทำงานไม่เกนิ5ppmตลอดระยะเวลาการ

ทำงาน15นาที(PEL-STEL)และน้อยกว่า1ppmตลอด

เวลาการทำงาน8ชั่วโมง(PEL-TWA)เอทิลีนออกไซด์เป็น

สารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดผลต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลัน

และเรื้อรัง(IARC,2008)โดยแบบเฉียบพลันก่อให้เกิดการ

ระคายเคืองเยื่อบุต่างๆ ทางเดินหายใจ ผิวหนัง ทำให้ปวด

ศรีษะคลืน่ไส้อาเจยีนทอ้งเสยีหายใจลำบากเขยีวปอดบวม

น้ำงุนงงอ่อนเพลียสูญเสียการประสานงานความจำเสื่อม

และระบบนำกระแสประสาทชา้ลงแบบเรือ้รงัทำให้เปน็มะเรง็

เม็ดเลือดขาว เกิดการกลายพันธุ์ ก๊าซเอทิลีนออกไซด์เข้าสู่

ร่างกายทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่จากการศึกษาหนึ่งพบว่า

ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม

มนุษย์(sisterchromatidexchange)ซึ่งพบเพิ่มขึ้นอย่าง

มีนยัสำคญัในคนงานแผนกจา่ยกลางของโรงพยาบาล(Garry

etal,1979)และจากอกีการศกึษาในหญงิผู้ชว่ยทนัตกรรม

ตัง้ครรภ์ที่ทำงานสมัผสักบักา๊ซเอทลิีนออกไซด์จำนวน32คน

พบความเสี่ยง (RelativeRisk) เกิดการแท้งเอง2.5 เท่า

คลอดก่อนกำหนด2.7เท่าและคลอดหลังกำหนด2.1เท่า

สงูกวา่หญงิผู้ชว่ยทนัตกรรมตัง้ครรภ์ที่ไม่ได้ทำงานสมัผสักบั

ก๊าซเอทิลีนออกไซด์(Rowlandetal,1996)

ในปัจจุบันเครื่องที่ใช้ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในการ

ทำลายเชือ้มีหลายขนาดหลายรปูแบบจากการสำรวจยงัพบ

เครือ่งลา้สมยัมีระบบความปลอดภยันอ้ยกวา่ตอ้งใช้คนชว่ย

ในการทำงานบางขั้นตอน เครื่องไม่สามารถทำงานอัตโนมัติ

เองตลอดกระบวนการระบบการไล่กา๊ซไมใ่ช่แบบสญุญากาศ

รวมทั้งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ขาดการดูแลบำรุงรักษาเครื่อง

เพราะไม่มีงบประมาณ หรือเจ้าหน้าที่ช่างขาดประสบการณ์

ทำให้ก๊าซเอทิลีนออกไซด์รั่วจากเครื่อง ดังนั้นโอกาสที่

เจ้าหน้าที่ผู้ใช้เครื่องจะสัมผัสกับก๊าซเอทิลีนออกไซด์มีมาก

และข้อมูลจากการสำรวจโรงพยาบาลในพื้นที่7จังหวัดภาค

ใต้ตอนบนระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมพ.ศ.2553

จำนวน10แห่งพบว่าโรงพยาบาลบางแห่งมีเครื่องอบก๊าซ

นี้ตั้งอยู่รวมกับเครื่องอบนึ่งไอน้ำความดันสูง หรือตั้งอยู่

ในบริเวณที่มีคนนั่งทำงานอยู่ หรือตั้งอยู่ในห้องผ่าตัด บาง

โรงพยาบาลพบว่าท่อระบายก๊าซติดตั้งที่ความสูงไม่ได้

มาตรฐานผลการตรวจวดักา๊ซเอทลิีนออกไซด์ในบรรยากาศ

ห้องผ่าตัดห้องจ่ายกลาง39จุดพบก๊าซ17จุดมีปริมาณ

อยู่ในช่วง0.1-7.2ppmเมื่อตรวจวัดในห่อวัสดุอบก๊าซ

19ห่อพบก๊าซ13ห่ออยู่ในช่วง1.0-18.8ppm

เจา้หนา้ที่ของโรงพยาบาลที่ทำความสะอาดเครือ่งมอื

อปุกรณ์การแพทย์ให้ปราศจากเชือ้เปน็กลุม่ที่มีโอกาสสมัผสั

กับก๊าซเอทิลีนออกไซด์โดยตรง จากการสังเกตพบว่าส่วน

ใหญ่ยังปฏิบัติงานไม่ถูกต้องตามหลักความปลอดภัยในการ

ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย อาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่

ขาดความรู้หรอืตระหนกัถงึอนัตรายของกา๊ซเอทลิีนออกไซด์

หรอืเจา้หนา้ที่บางคนมีความรู้ถงึอนัตรายของกา๊ซเอทลิีนออก-

ไซด์แต่ยังใช้หน้ากากป้องกันไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ปัจจัย

หนึ่งที่สำคัญคือวัสดุเครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ

ทำให้ระยะเวลาพักเพื่อระบายก๊าซเอทิลีนออกไซด์ออกจาก

ห่อวัสดุสั้นเกินไป เกิดการปนเปื้อนก๊าซในบรรยากาศการ

ทำงาน และโครงสร้างห้องผ่าตัด หรือห้องเก็บของวัสดุ

ปราศจากเชื้อของโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีแต่ระบบทำความ

เย็น ขาดระบบหมุนเวียนอากาศ หรือมีระบบหมุนเวียน

อากาศแต่เจ้าหน้าที่ไม่เปิดระบบให้ทำงาน เพื่อประหยัด

พลังงานหรือเป็นระบบควบคุมความดันอากาศที่ไม่ถูกต้อง

ทำให้การระบายอากาศในหอ้งเหลา่นี้ไม่ดีเกดิการคา้งสะสม

ของก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา

ปริมาณก๊าซเอทิลีนออกไซด์ที่พบในบรรยากาศการทำงาน

และปริมาณที่คงค้างในห่อวัสดุที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว

ประเภทของเครือ่งที่ใช้รวมทัง้วธิีการใช้เครือ่งการได้รบัการ

อบรมของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานสัมผัสก๊าซเอทิลีนออกไซด์

Page 39: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

38 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ผลจากการศึกษาจะเป็นข้อมูลในการจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ

หรือแนวทางปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงจาก

การสัมผัสสารอันตรายจากการทำงานรวมทั้งเป็นข้อมูลของ

โรงพยาบาลในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องอบวัสดุอุปกรณ์

ให้ปราศจากเชื้อที่มีความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน

2.วิธีดำเนินการวิจัยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ

จุดเวลา (cross-sectional descriptive study) โดย

คดัเลอืกโรงพยาบาลที่มีกระบวนการทำให้ปราศจากเชือ้ดว้ย

เครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์และสมัครใจร่วมโครงการใน

พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร พังงา

ภูเก็ต กระบี่ และระนอง เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือน

กุมภาพันธ์ - เมษายน 2554 ด้วยการเดินสำรวจสถานที่

ทำงาน (walkthrough survey) สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่

ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องและตรวจวัดก๊าซเอทิลีนออกไซด์ใน

บรรยากาศทำงานไดแ้ก่บรเิวณที่หนา้ประตูเครือ่งหนา้ประตู

ห้องจุดที่มีคนทำงานห้องเก็บของวัสดุอบก๊าซและบริเวณ

ใต้ท่อระบายก๊าซระดับความสูง 1.5 เมตรเหนือพื้น ใน

ช่วงเวลาเปิดเครื่องอบก๊าซทำงานและปิดเครื่อง รวมทั้ง

วดัปรมิาณกา๊ซเอทลิีนออกไซด์ที่ตกคา้งในหอ่วสัดุที่ผา่นการ

อบฆ่าเชื้อแล้ว โดยการสุ่มเลือกห่อวัสดุที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อ

1 - 3 วัน เป็นกะเปาะพ่นยาหรือสายออกซิเจน cannula

สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

ค่าเฉลี่ยมัธยฐานค่าต่ำสุดและสูงสุด

3.ผลการวิจัยโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน/ค่ายทหาร/ศูนย์

อนามยัและศนูย์มะเรง็ในพืน้ที่เขตภาคใต้ตอนบนมีทัง้หมด

83แห่งจากการโทรศัพท์สำรวจช่วงเดือนพฤศจิกายน2553

พบว่ามีการใช้เครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ 23 แห่ง โดย

โรงพยาบาลที่สมัครใจเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด

21 แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป

6แห่งโรงพยาบาลชุมชน11แห่งโรงพยาบาลค่ายทหาร

2 แห่ง และศูนย์อนามัย 1 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใน

หน่วยงานจ่ายกลางค่าเฉลี่ย9.2คนต่ำสุด2คนสูงสุด

26 คน โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซ

เอทิลีนออกไซด์จำนวน1-2เครื่องส่วนใหญ่มี1เครื่อง

มีทั้งหมด6ยี่ห้อเครื่องมีอายุใช้งานตั้งแต่1-20ปี

3.1ข้อมูลทั่วไปของผู้ปฏิบัติงาน

จำนวนผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วย

เอทิลีนออกไซด์มีค่าเฉลี่ย3.7คนต่ำสุด1คนสูงสุด6

คนอายุเฉลี่ย40ปีต่ำสุด25ปีสูงสุด61ปีระยะเวลา

ที่ทำงานสัมผัสกับเครื่องนี้มีค่าฉลี่ย5.3ปีต่ำสุด2เดือน

สูงสุด29ปีการใช้เครื่องมีค่าเฉลี่ย3ครั้งต่อสัปดาห์ต่ำสุด

2สัปดาห์ต่อครั้งสูงสุด14ครั้งต่อสัปดาห์

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติงานเคยมีอาการ

ผิวหนังปวดแสบร้อน หรือระคายเคืองตาขณะเปิดประตู

เครื่องเพื่อนำห่อวัสดุที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้วออกจากเครื่อง

ดังรายละเอียดในตารางที่1

ตารางที่1จำนวนและร้อยละของโรงพยาบาลที่ผู้ปฏิบัติงานเคยมีอาการผิวหนังปวดแสบร้อน หรือระคายเคืองตาขณะ

เปิดประตูเครื่อง

อาการของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีนออกไซด์จำนวนโรงพยาบาล

(แห่ง) ร้อยละ

-ไม่มีอาการ

-มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

9

12

42.9

57.1

รวม 21 100.0

Page 40: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 39

3.2ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีน

ออกไซด์

เครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซเอทิลีนออกไซด์ของ

โรงพยาบาลส่วนใหญ่มี 1 เครื่อง (สำหรับโรงพยาบาลที่มี

มากกว่า 1 เครื่อง จะเลือกนับเพียง 1 เครื่องล่าสุด) เป็น

ระบบแบบอตัโนมตัิมกัเปดิเครือ่งทำงานในชว่งเยน็นอกเวลา

ราชการ ตั้งรอบการทำงานของเครื่องเป็นแบบ 12 ชั่วโมง

เครื่องมีระบบดูดไล่อากาศ (Blower) หน้าประตูขณะกำลัง

เปิดประตูเครื่อง มีการบำรุงรักษาเครื่องตามรอบระยะเวลา

บริเวณติดตั้งเครื่องกั้นเป็นห้องแยก และมีพัดลมระบาย

อากาศติดที่ผนังห้องนี้ อย่างไรก็ตามพบว่าโรงพยาบาลที่

เคยมีการตรวจวดัปรมิาณกา๊ซเอทลิีนออกไซด์มีจำนวนเพยีง

10แห่งดังรายละเอียดในตารางที่2

ตารางที่2จำนวนและร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีนออกไซด์จำแนกตามตัวแปรต่างๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีนออกไซด์จำนวนโรงพยาบาล

(แห่ง)ร้อยละ

รูปแบบการทำงาน

-แบบอัตโนมัติ

-แบบกึ่งอัตโนมัติ

-แบบคนควบคุมเอง

ช่วงเวลาการทำงานของเครื่อง

-เช้าในเวลาราชการ

-เย็นนอกเวลาราชการ

รอบการทำงานของเครื่อง

-รอบ6ชั่วโมง

-รอบ12ชั่วโมง

-รอบ14ชั่วโมง

-รอบ24ชั่วโมง

ระบบดูดไล่อากาศ(Blower)หน้าประตูเครื่อง

-มี

-ไม่มี

การบำรุงรักษาเครื่องตามรอบระยะเวลา

-มี

-ไม่มี

บริเวณติดตั้งเครื่องกั้นเป็นห้องแยก

-ใช่

-ไม่ใช่

พัดลมระบายอากาศติดที่ผนังห้องแยก

-มี

-ไม่มี

เคยมีการตรวจวัดปริมาณก๊าซเอทิลีนออกไซด์

-เคย

-ไม่เคย

14

5

2

8

13

1

17

1

2

14

7

15

6

14

7

12

9

10

11

66.7

23.8

9.5

38.1

61.9

4.7

81.0

4.7

9.6

66.7

33.3

71.4

28.6

66.7

33.3

57.1

42.9

47.6

52.4

Page 41: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

40 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

3.3ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องพิษของก๊าซ

เอทิลีนออกไซด์ ทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการ

ทำงานวิธีปฏิบัติงานในการใช้เครื่อง

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่วนใหญ่

รับทราบว่า ก๊าซเอทิลีนออกไซด์เป็นอันตราย มีการใช้

หน้ากากป้องกันอันตรายส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่ใช้เป็น

หน้ากากกระดาษไม่มีตลับกรองก๊าซหน่วยงานเป็นผู้จัดหา

หน้ากากให้ นอกจากนี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ เลือกชนิด

วัสดุห่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการอบก๊าซถูกต้องรวมทั้งมีแนวทาง

ปฏบิตัิงานในการลา้งเตรยีมบรรจุและเรยีงหบีหอ่มีการอบรม

ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องอย่างปลอดภัยในหัวข้อ

ต่างๆและการใช้หน้ากากป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมีการ

ดูแลบำรุงรักษาเครื่องประจำวัน แต่ทว่าทุกแห่งไม่มีข้อมูล

สารเคมีอนัตรายMSDS(MaterialSafetyDataSheet)ของ

ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ และโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีการ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแผนฉุกเฉินในกรณีเกิดการรั่ว

ของก๊าซดังรายละเอียดในตารางที่3

ตารางที่3จำนวนและร้อยละเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องพิษของก๊าซเอทิลีนออกไซด์ ทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยใน

การทำงานวิธีปฏิบัติงานในการใช้เครื่องของเจ้าหน้าที่จำแนกตามตัวแปรต่างๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีนออกไซด์จำนวนโรงพยาบาล

(แห่ง)ร้อยละ

การรับทราบว่าก๊าซเอทิลีนออกไซด์เป็นอันตราย

- ทราบ

- ไม่ทราบ

การใช้หน้ากากป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

- ใช้

- ไม่ใช้

ชนิดหน้ากากที่ใช้

- ตลับกรองก๊าซไม่เฉพาะ

- ตลับกรองก๊าซเอทิลีนออกไซด์

- กระดาษ

การจัดหาหน้ากาก

- หน่วยงานจัดหาให้

- จัดหาเอง

ชนิดวัสดุห่ออุปกรณ์ที่จะนำไปฆ่าเชื้อ

- ถูกต้อง

- ไม่ถูกต้อง

มีแนวทางปฏิบัติงานในการล้างอุปกรณ์

- มี

- ไม่มี

มีแนวทางปฏิบัติงานในการเตรียมบรรจุหีบห่อ

- มี

- ไม่มี

20

1

19

2

3

6

10

18

3

19

2

21

0

21

0

95.2

4.8

90.5

9.5

15.8

31.6

52.6

85.7

14.3

90.5

9.5

100.0

0.0

100.0

0.0

Page 42: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 41

มีแนวทางปฏิบัติงานในการเรียงหีบห่อ

- มี

- ไม่มี

มีข้อมูลสารเคมี(MSDS)ของก๊าซเอทิลีนออกไซด์

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่อง

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายของก๊าซเอทิลีนออกไซด์

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องแนวปฏิบัติในการลดสัมผัสก๊าซ

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้และดูแลหน้ากากป้องกันอันตราย

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดเก็บถังหรือหลอดก๊าซ

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องการบำรุงรักษาเครื่อง

- มี

- ไม่มี

มีการอบรมให้ความรู้เรื่องแผนฉุกเฉินในกรณีมีการรั่วของก๊าซ

- มี

- ไม่มี

มีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องประจำวัน

- มี

-ไม่มี

ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยเอทิลีนออกไซด์จำนวนโรงพยาบาล

(แห่ง)ร้อยละ

ตารางที่3(ต่อ)

21

0

0

21

21

0

20

1

18

3

13

8

20

1

17

4

20

1

1

20

21

0

100.0

0.0

0.0

100.0

100.0

0.0

95.2

4.8

85.7

14.3

61.9

38.1

95.2

4.8

81.0

19.0

95.2

4.8

4.8

95.2

100.0

0.0

Page 43: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

42 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

3.4ผลการวัดก๊าซเอทิลีนออกไซด์

โรงพยาบาลที่ตรวจพบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ใน

บรรยากาศการทำงานของหนว่ยจา่ยกลางโดยเฉพาะในหอ้ง

เก็บของปราศจากเชื้อ16แห่ง(ร้อยละ76.2)ปริมาณก๊าซที่

ตรวจพบมีค่ามัธยฐาน4.7ppmต่ำสุด0.8ppmสูงสุด

1,541.0ppm(หน้าเครื่องขณะเปิดประตู)ส่วนโรงพยาบาล

ที่พบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในห่อวัสดุของหน่วยจ่ายกลาง

โดยเฉพาะอุปกรณ์เป็นสายท่อยาวๆ ขนาดรูเล็กๆ 16 แห่ง

(ร้อยละ76.2)ปริมาณก๊าซที่ตรวจพบมีค่ามัธยฐาน83.4

ppmต่ำสุด1.0ppmสูงสุด386.0ppmเมื่อพิจารณา

จากวัสดุชนิดเดียวกันและระยะเวลาหลังเอาออกจากเครื่อง

เท่ากัน ปริมาณก๊าซที่ตรวจพบในห่อวัสดุที่อบด้วยเครื่อง

อัตโนมัติต่ำกว่าที่อบด้วยเครื่องกึ่งอัตโนมัติและแบบคน

ควบคุมเองดังรายละเอียดในตารางที่4ถึง6

ตารางที่4ระดับก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในเครื่องแบบอัตโนมัติ จำแนกตามรอบเวลาการทำงาน ชนิดวัสดุอบก๊าซ และ

บรรยากาศการทำงาน

ร.พ.ที่รอบเวลาการ

ทำงาน

(ชม.)

ในห่อวัสดุที่อบก๊าซ ในบรรยากาศการทำงาน

ชนิดวัสดุ EOสูงสุด(ppm)

บริเวณ EOสูงสุด(ppm)

1 6 Cannula 129.4 หน้าประตู 0.8

2 12 สายO2

1.0 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ Non-detection

3 12 Mask+nebulizer Non-detection ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ Non-detection

4 12 สายO2

34.0 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 3.1*

5 12 สายยางICD 96.9 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 6.5*

6 12 Mask+nebulizer Non-detection จุดคนทำงาน 1.8*

7 12 สายO2

135.8 เปิดประตูเครื่อง 261.0*

8 12 สายO2

14.7 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 2.5*

9 12 Cannula 15.9 หน้าห้องเครื่อง 0.8

10 12 สายO2

4.7 เปิดประตูเครื่อง 8.0*

11 12 อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจในถุงพลาสติก(หลังอบก๊าซ20วัน)

69.9 หอ้งเกบ็ของปราศจากเชือ้ในห้องผ่าตัด

6.2*

12 12 Mask+nebulizer(หลังอบก๊าซ5วัน)

Non-detection ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ Non-detection

13 12 Mask+nebulizer(หลังอบก๊าซ20วัน)

Non-detection ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ Non-detection

14 14 อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ Non-detection ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ Non-detection

หมายเหตุ:การวัดระดับก๊าซในวัสดุวัดภายหลังการอบก๊าซ1วันทั้งหมดยกเว้นร.พ.ที่11-13ที่ระบุเวลาไว้ในวงเล็บ

ppm=partpermillion=1ส่วนในล้านส่วน

*เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่น้อยกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน

ตลอดเวลาการทำงาน8ชั่วโมง

-LimitofDetection(LOD)ของเอทิลีนออกไซด์(Wavelength11.652)=0.35ppm

Page 44: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 43

4.อภิปรายผลการวิจัยจากการศึกษาพบว่าห่อวัสดุที่รูปร่างเป็นสายท่อ

เล็กๆยาวๆมีก๊าซเอทิลีนออกไซด์เหลือค้างสูงกว่าห่อวัสดุ

ไม่มีท่อรูหรือมีท่อรูแต่กว้างกว่าซึ่งสอดคล้องกับความเป็น

จริงที่ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ระบายออกได้ไม่ดีในวัสดุที่เป็น

ท่อรูเล็กๆ ยาวๆ และสอดคล้องกับการศึกษา ในเรื่อง

Significantfactorsinthedisinfectionandsterilization

offlexibleendoscopesที่พบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ตกค้าง

ตารางที่5ระดับก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในเครื่องแบบกึ่งอัตโนมัติจำแนกตามรอบเวลาการทำงานชนิดวัสดุอบก๊าซและ

บริเวณบรรยากาศการทำงาน

ppm=partpermillion=1ส่วนในล้านส่วน

*เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่น้อยกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน

ตลอดเวลาการทำงาน8ชั่วโมง

ร.พ.ที่ รอบเวลาการทำงาน(ชม.)

ในห่อวัสดุที่อบก๊าซ ในบรรยากาศการทำงาน

ชนิดวัสดุEOสูงสุด(ppm) บริเวณ

EOสูงสุด(ppm)

1 12 สายO2(หลังอบก๊าซ1วัน) 386.0 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 3.0*

2 12 สายO2(หลังอบก๊าซ2วัน) 124.9 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 8.4*

2.2*3 12 สายงวงช้าง(หลังอบก๊าซ3วัน) 189.0 จุดคนทำงาน

4 24 สายO2(หลังอบก๊าซ3วัน) 33.0 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 6.4*

5 24 ถุงใหญ่ที่ใส่ห่อวัสดุอบก๊าซ 254.8 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ 3.4*

ตารางที่6ระดับก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในเครื่องแบบคนควบคุมเอง จำแนกตามรอบเวลาการทำงาน ชนิดวัสดุอบก๊าซ และ

บริเวณบรรยากาศการทำงาน

ppm=partpermillion=1ส่วนในล้านส่วน

*เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่น้อยกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน

ตลอดเวลาการทำงาน8ชั่วโมง

ร.พ.ที่รอบเวลาการ

ทำงาน(ชม.)

ในห่อวัสดุที่อบก๊าซ ในบรรยากาศการทำงาน

ชนิดวัสดุEOสูงสุด(ppm) บริเวณ

EOสูงสุด(ppm)

1 12 สายO2(หลังอบก๊าซ1วัน) 316.7 เปิดประตูเครื่อง 1541.0*

2 12 Ambubag(หลังอบก๊าซ1วัน) 35.3 ห้องเก็บของปราศจากเชื้อ

ในห้องผ่าตัด

6.0*

เฉลี่ย 66.2 ppm ในกล้องส่องตรวจภายใน Endoscope

(Vesley,Norlien,Nelson,Ott,&Streifel,1992)

สำหรับปริมาณก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในบรรยากาศ

รอบๆ เครื่องอบก๊าซ ขณะเครื่องทำงาน พบในเครื่องชนิด

คนควบคุมเอง พบก๊าซบริเวณช่องระบายด้านข้างของ

ตู้อบด้านล่าง อาจจะเป็นก๊าซที่เหลือค้างในระบบเครื่อง

แต่ไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่ามีก๊าซรั่วออกจากเครื่อง

เนื่องจากมีเครื่องลักษณะนี้เพียง 1 เครื่องและไม่สามารถ

Page 45: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

44 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่5ฉบับที่18ประจำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม2555

ทำการวดัซำ้ได้สำหรบัเครือ่งแบบอตัโนมตัิและกึง่อตัโนมตัิ

มีระบบความปลอดภัยโดยเครื่องทำงานภายใต้สุญญากาศ

หรือความดันลบเมื่อเทียบกับบรรยากาศภายนอกตัวเครื่อง

มีระบบเชก็ความดนักอ่นเครือ่งทำงานถา้เกดิการรัว่ความดนั

ในช่องอบไม่ถึงค่าที่กำหนดเครื่องจะไม่ทำงาน สำหรับบาง

โรงพยาบาลที่พบว่าขณะเปิดประตูเครื่อง ตรวจพบก๊าซ

เอทิลีนออกไซด์อาจเป็นไปได้2กรณีกรณีแรกจากก๊าซที่

เหลือค้างบริเวณประตูเครื่องเนื่องจากไม่มีการเปิดblower

ขณะแงม้ประตูเครือ่งกรณีที่สองจากการระบายกา๊ซไม่เพยีงพอ

มีก๊าซเหลือค้างในห่อวัสดุที่อบก๊าซสอดคล้องกับการศึกษา

ของในเรื่องControlTechnologyforEthyleneOxide

SterilizationinHospitalsที่พบวา่การควบคมุกา๊ซเอทลิีน

ออกไซด์ในบรรยากาศขึ้นกับหลายๆปัจจัย เช่นสถานที่

จัดวางเครื่อง ระยะเวลาที่เครื่องทำงาน รูปแบบการทำงาน

ของเครื่องฯลฯ(Mortimer,&Kercher,1989)เป็นที่น่า

สังเกตว่า ก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในบรรยากาศพบในห้องเก็บ

ของปราศจากเชือ้เกอืบทัง้หมดอาจจะเปน็เพราะรปูแบบของ

ห้องเก็บของนี้เป็นห้องปิด ติดเครื่องปรับอากาศแบบแยก

สว่น(SplitType)ไมม่ีการระบายหรอืเตมิอากาศทำให้เกดิ

ความดนัลบในหอ้งเกบ็ของนัน้สง่ผลให้กา๊ซเอทลิีนออกไซด์

ที่มีเหลือค้างในห่อวัสดุ ระเหยรวมตัวอยู่ในห้องนั้นๆ หรือ

อาจจะรวมตัวกับฝุ่นสะสมที่คอยล์เย็นในเครื่องปรับอากาศ

ข้อจำกัดในการศึกษาครั้งนี้คือไม่สามารถควบคุม

ตัวแปรต่างๆที่จะมีผลต่อปริมาณก๊าซที่เหลือค้างในห่อวัสดุ

ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว เช่น ระบบการทำงานของเครื่อง

ระยะเวลาในการระบายกา๊ซวสัด/ุรปูรา่งของอปุกรณ์อบกา๊ซ

ให้เหมือนกันได้ในแต่ละโรงพยาบาล จึงทำให้ไม่สามารถนำ

ตัวแปรเหล่านี้มาหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้

เช่นสมมติใช้สายCannulaเป็นวัสดุตัวอย่างก็พบปัญหา

วา่สายCannulaไม่ได้นำมาอบกา๊ซทกุโรงพยาบาลหรอืชว่ง

เวลาที่อบกา๊ซหา่งไม่เทา่กนับางแหง่ทกุวนับางแหง่2สปัดาห์

ต่อครั้ง หรือบางแห่งไม่แน่นอน อย่างไรก็ตามการศึกษา

ครั้งนี้ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ทำให้ทราบว่าบุคลากรในหน่วย

จ่ายกลางมีโอกาสและความถี่สูงในการรับสัมผัสก๊าซ

เอทิลีนออกไซด์เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากพบ

ก๊าซนี้เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทำงานสูงสุดประมาณ

1,500เท่า

5.สรุปและข้อเสนอแนะ5.1สรุป

เครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซเอทิลีนออกไซด์ของ

โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นระบบแบบอัตโนมัติ และมักเปิด

เครื่องทำงานในช่วงเย็นนอกเวลาราชการตั้งรอบการทำงาน

ของเครื่องแบบ 12 ชั่วโมง โดยเครื่องมีระบบดูดไล่อากาศ

(Blower)หน้าประตูขณะเปิดประตูเครื่องมีการบำรุงรักษา

เครื่องตามรอบระยะเวลา บริเวณติดตั้งเครื่องกั้นเป็นห้อง

แยก และผู้ปฏิบัติงานเคยมีอาการผิวหนังปวดแสบร้อน

หรอืระคายเคอืงตาขณะเปดิประตูเครือ่งเพือ่นำหอ่วสัดุที่ผา่น

การอบฆ่าเชื้อแล้วออกจากเครื่อง อย่างไรก็ตามพบว่ามี

เพยีงบางโรงพยาบาลเทา่นัน้ที่เคยมีการตรวจวดัปรมิาณกา๊ซ

เอทลิีนออกไซด์สำหรบัการเลอืกชนดิวสัดุหอ่อปุกรณ์ที่ใช้ใน

การอบก๊าซนั้นโรงพยาบาลส่วนใหญ่เลือกได้ถูกต้องรวมทั้ง

มีแนวทางปฏบิตัิงานในการลา้งเตรยีมบรรจุและเรยีงหบีหอ่

มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องอย่างปลอดภัย

ในหัวข้อต่างๆ มีการดูแลบำรุงรักษาเครื่องประจำวัน แต่

ทว่าทุกแห่งไม่มีข้อมูลสารเคมีอันตรายMSDS (Material

SafetyDataSheet)ของก๊าซเอทิลีนออกไซด์และยังไม่มี

การอบรมให้ความรู้เกีย่วกบัแผนฉกุเฉนิในกรณีมีการรัว่ของ

ก๊าซ จากการตรวจวัดปริมาณก๊าซ โรงพยาบาลส่วนใหญ่

ตรวจพบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ในบรรยากาศทำงานของ

หน่วยจ่ายกลาง โดยเฉพาะในห้องเก็บของปราศจากเชื้อ

เกินค่ามาตรฐานที่องค์การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่น้อยกว่า 1 ส่วนในล้านส่วน

ตลอดเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบก๊าซ

เอทิลีนออกไซด์ในห่อชุดเครื่องมือแพทย์ของหน่วยจ่ายกลาง

โดยเฉพาะวสัดุที่เปน็ทอ่หรอืสายที่อบดว้ยเครือ่งกึง่อตัโนมตัิ

และแบบคนควบคุมเอง

5.2ข้อเสนอแนะ

มาตรการที่สำคัญในการลดความเสี่ยงของผู้ที่

ทำงานสัมผัสกับก๊าซเอทิลีนออกไซด์คือควรมีการกำหนด

มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน(SafetyStandard

Operation Procedure หรือ SSOP) ให้กับผู้ปฏิบัติงาน

ที่ทำงานสัมผัสกับก๊าซเอทิลีนออกไซด์ ให้ปฏิบัติตามอย่าง

เครง่ครดัมีการจดัหาและสอนการใช้อุปกรณ์ปอ้งกนัอนัตราย

ที่ถูกต้อง มีการจัดทำข้อมูลสารเคมีอันตราย (MSDS)

Page 46: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 45

ของก๊าซเอทิลีนออกไซด์ไว้ในหน่วยงาน และมีการวางแผน

พรอ้มทัง้ให้ความรู้เจา้หนา้ที่ที่ปฏบิตัิงานกรณีเกดิเหตุฉกุเฉนิ

มีการรั่วของก๊าซเกิดขึ้น รวมทั้งต้องมีการเฝ้าระวังระดับ

ของก๊าซเอทิลีนออกไซด์โดยควรมีการตรวจวัดปริมาณก๊าซ

นี้อย่างน้อยปีละครั้งในหน่วยจ่ายกลาง หรือหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องเช่นห้องผ่าตัดที่เป็นระบบปิดและมีการใช้วัสดุ

ที่อบฆ่าเชื้อเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะกรณีที่มี

ความจำเป็นต้องใช้วัสดุอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซเอทิลีนออกไซด์

อย่างเร่งด่วน ขาดการระบายก๊าซที่ตกค้างอย่างเพียงพอ

ก๊าซที่ตกค้างในห่อวัสดุยังมีปริมาณสูง เกิดการปนเปื้อนเข้า

สู่บรรยากาศของห้องผ่าตัดและมีผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ที่

ทำงานในสภาพแวดลอ้มนัน้ได้ดงันัน้ในกรณีที่มีความจำเปน็

เช่นนี้หรือไม่แน่ใจว่าก๊าซนี้ระบายออกหมดหรือไม่ควรเปิด

ห่อวัสดุเหล่านี้ในที่โล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือใช้ลมไล่

ในท่อสายก่อนนำไปใช้งาน

ขอ้เสนอแนะสำหรบัโรงพยาบาลที่มีแผนจะซือ้เครือ่ง

อบก๊าซนั้น ควรเลือกซื้อเครื่องอบก๊าซที่เป็นระบบอัตโนมัติ

เนื่องจากมีการรั่วของก๊าซออกสู่บรรยากาศและคงค้างในห่อ

วสัดุนอ้ยกวา่เครือ่งระบบอืน่ๆสว่นเครือ่งอบกา๊ซชนดิอืน่ๆที่

มีการใช้เช่นเครื่องอบก๊าซชนิดlow-temperaturesteam

formaldehyde เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ

เครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์และปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม

มากกวา่จงึอาจเปน็ทางเลอืกหนึง่สำหรบัโรงพยาบาลที่จะจดั

ซื้อเครื่องซึ่งอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆด้วยเช่นราคาวิธี

การใช้เป็นต้นส่วนเครื่องชนิดHydrogenperoxidegas

plasmaปลอดภัยมากกว่าแต่ยังมีข้อเสียคือประสิทธิภาพ

ในการฆา่เชือ้โดยเฉพาะในวสัดุที่เปน็ทอ่หรอืรูยงัตำ่เมือ่เทยีบ

กับเครื่องอบก๊าซเอทิลีนออกไซด์ หรือเครื่องอบก๊าซชนิด

low-temperaturesteamformaldehyde(Kanemitsu

Ketal,2005)

6.กิตติกรรมประกาศการศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งนี้ต้อง

ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่หน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลทั้ง

21แหง่ที่ให้ความรว่มมอืในการเกบ็ขอ้มลูและเจา้หนา้ที่ของ

บริษัทที่จำหน่ายเครื่องอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซเอทิลีนออกไซด์

เอกสารอ้างอิงกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2546) อันตรายจาก สิ่งแวดล้อมการทำงานในโรงพยาบาล การป้องกัน และควบคมุ.เอกสารประชมุเชงิปฏบิตัิการพฒันาทมี ประเมินโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพกับงานอาชีว อนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล. สืบค้น ข้อมูลเมื่อ15ธันวาคม2555จากhttp://advisor. anamai.moph.go.th/hph/NEWS/ergo13.htmlGarry et al. (1979). Ethylene oxide:Evidence of humanchromosomaleffects.Environmental and Molecular Mutagenesis.1(4),375-382.IRAC.(2008).IARCMonographsontheEvaluation ofCarcinogenicRiskstoHuman.Retrieved July31,2012,fromhttp://monographs.iarc. fr/ENG/Monographs/vol97/index.phpKeijiKanemitsuetal.(2005).Acomparativestudy of ethylene oxidegas, hydrogenperoxide gas plasma, and low-temperature steam formaldehydesterilization.Journal of Infection control and hospital epidemiology. 26 (5), 486-489.Occupational Safety and Health Administration: OSHA.(2002).EthyleneOxide.OSHA Fact Sheet. RetrievedJuly31,2012, fromhttp://www. osha.gov/OshDoc/data_General_Facts/ ethylene-oxide-factsheet.pdfRowland et al. (1996). EthyleneOxideExposure May Increase the Risk of Spontaneous Abortion,PretermBirth,andPosttermBirth. Epidemiology.7(4),363-368.VesleyD,NorlienKG,NelsonB,OttB,StreifelAJ. (1992).Significantfactorsinthedisinfection andsterilizationofflexibleendoscopes.Am. J. Infect. Control,20,291-300.Vincent D. Mortimer and Sharon L. Kercher. Control Technology for Ethylene Oxide SterilizationinHospitals.U.S.Departmentof Health and Human Services, Centers for Disease Control, NIOSH Publication No. 89-120.September1989.

Page 47: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

46 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารและ

ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำในผู้ขายอาหารทอดอำเภอหนึ่งในภาคตะวันออก

Factors Associated with Risk of Deteroiration of the Fried Foods Oil and Concentration of Polar Compound in Reused Oil

Among Food Vendors, in a District of the East

น้ำมัน ทอด อาหาร คือ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว และ พบ ความ สมัพนัธ ์ทาง บวก ระหวา่ง ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร กับ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ คือ ใน กลุ่ม ที่ มี ความ เสี่ยง มาก มี โอกาส ตรวจ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ เกิน มาตรฐาน (> 25%) มากกว่า กลุ่ม ที่ มี ความ เสี่ยง นอ้ย 1.18 เทา่ นอกจาก นี ้ยงั พบ วา่ สภาพ ปญัหา ที ่พบ รอ้ย ละ 100 ใน ตัวอย่าง ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ เกิน ค่า มาตรฐาน ใน ระดับ สูง (มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ > 25%) คือ ทอด อาหาร ที่ มี ส่วน ประกอบ เป็น เนื้อ สัตว์ ใช้ ภาชนะ ทรง ปาก กว้าง ก้น แคบ ใน การ ทอด ภาชนะ ที่ ใช้ ทอด ทำ จาก เหล็ก และ ไม่ ได้ ทำการ กรอง น้ำมัน เพื่อ รักษา คุณภาพ ของ น้ำมัน ซึ่ง พบ ค่า อัตราส่วน ออด (Odds ratio) เท่ากับ 1.54, 0.86, 1.15 และ 0.87 ตาม ลำดบั ดงั นัน้ หนว่ย งาน สาธารณสขุ ควร ม ี การ ตรวจ สอบ ให้ ถี่ มากกว่า ปกติ และ ควร มี การ รณรงค์ ให้ ความ รู้ ใน กลุ่ม เสี่ยง ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ เกิน มาตรฐาน และ สรา้ง ความ ตระหนกั ให ้ม ีความ รบั ผดิ ชอบ ดว้ย การ เปลีย่น น้ำมัน เมื่อ ถึง เวลา

บทคัดย่อการ วิจัย มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษา ปัจจัย ที่ มี ความ

สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร และ ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร กับ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย ใช้ เครื่อง มือ 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถาม แบบ บันทึก ข้อมูล แบบ สังเกต และ ชุด ทดสอบ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซำ้ จาก ผู ้ขาย อาหาร ทอด อำเภอ แหง่ หนึง่ ใน ภาค ตะวนั ออก จำนวน 60 คน ซึ่ง สถิติ ที่ ใช้ วิเคราะห์ ข้อมูล คือ สถิติ เชิง พรรณนา การ หา ค่า สัมประสิทธิ์ สห สัมพันธ์ เพียร์ สัน และ หา อตัราสว่น ออด ผล การ ศกึษา พบ วา่ กลุม่ ตวัอยา่ง สว่น ใหญ ่เป็น เพศ หญิง (ร้อย ละ 70) อายุ เฉลี่ย 42.83 (° ±11.026) ปี ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร มากกวา่ รอ้ย ละ 80 คอื ภาชนะ ที ่ใช ้ทอด อาหาร ทำ จาก เหลก็ ใช ้ภาชนะ ทรง ปาก กว้าง ก้น แคบ และ ใช้ ภาชนะ ใน การ ทอด อาหาร ใบ เดียว ปัจจัย ที่ มี ความ สัมพันธ์ ทาง บวก อย่าง มี นัย สำคัญ ทาง สถิติ ที่ p < 0.05 กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ

กมลา พรม มิ รัตนะ นิสิต ระดับ บัณฑิต ศึกษา สาขา วิชาสาธารณสุข ศาสตร์ คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพาอาจารย์ ที่ ปรึกษา หลัก รอง ศาสตราจารย์ ดร.อนามัย เทศ กะ ทึก Ph.D. (Trop. Med)

ภาค วิชา สุข ศาสตร์ อุตสาหกรรม และ ความ ปลอดภัย คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพาอาจารย์ ที่ ปรึกษา ร่วม รอง ศาสตราจารย์ ดร.กุหลาบ รัตน สัจธรรม ส.ด. (บริหาร สาธารณสุข)

ภาค วิชา พื้น ฐาน สาธารณสุข คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา

Page 48: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 47

คำสำคัญ: น้ำมัน ทอด ซ้ำ/ปริมาณ สาร โพ ลาร์/ผู้ ขาย อาหาร ทอด

AbstractThis research aims to study factors relate

to risk of deterioration of fried foods oil and the relation of risk of deterioration of fried foods oil to concentration of polar compound in reused oil. Tools used for data collection include 4 parts were interview questionnaires, observation checklist, data sheet and test-kits for polar compound. From 60 among food vendors as the samples of study. The obtained data were analyzed descriptively and presented through number, percentage, means, and Pearson coefffiicient of correlation and odd ratio. Results of study revealed that most vendor were female (70%), mean age 42.83 (±° ±11.026). More than 80 percentage had risk of deterioration of fried foods oil were, using steel containers for fried food, using wide-top and narrow-bottom shaped containers and using one piece container. The expenses had positive relationship to risk of deterioration of fried foods oil. When burden of family expense increased, it affected the rise of risk of deterioration of fried food oil. Risk of risk of deterioration of fried foods among high risk group had likelihood to f fifififiide polar compound over standard around 1.18 times more than the mild risk group. It also found that problem 100% in over standard high risk group (TPC > 25%) were: meat for fried food, using wide-top and narrow-bottom shaped containers, using steel containers, and using reused oil without filter. Odds ratio respectively were 1.54, 0.86, 1.15 and 0.87. This research suggested that the Department of Public Health should be checked more than normal. And high risk group vendors should be educate campaigned and raise awareness of the responsibility by turning on the reused oil for fried foods.

Keywords:Reused oil/Polar compounds/Food vendors/Fried foods

1.บทนำปัจจุบัน การ ใช้ ชีวิต ของ ประชาชน ทั่วไป มี ความ

เร่ง รีบ กัน มาก ขึ้น ส่ง ผล ให้ มี พฤติกรรม การ บริโภค อาหาร นอก บ้าน และ ซื้อ อาหาร กลับ ไป รับ ประทาน ที่ บ้าน มาก ขึ้น รวม ถึง อาหาร ประเภท ทอดที่ผู้ บริโภค นิยม เลือกซื้อ ไป รบั ประทาน (กอง พฒันา ศกัยภาพ ผู ้บรโิภค, 2547) จาก กระแส ความ นิยม บริโภค อาหาร ที่ ปรุง ด้วย การ ทอด มาก ขึ้น ทำให้ ใน แต่ละ ปี คน ไทย มี การ บริโภค น้ำมัน พืช กว่า 800,000 ตัน (วรรณ า ศรี วิ ริ ยา นุ ภาพ, 2551)

นัก วิชาการ จึง ให้ ความ สนใจ และ ศึกษา วิจัย เกี่ยว กับ อันตราย ของ น้ำมัน ทอด ซ้ำ ซึ่ง น้ำมัน ดัง กล่าว ควร จะ กำจัด ทิ้ง มากกว่า การนำ มา ใช้ อีก (Sánchez-Muniz and Bastida, 2003) เนื่องจาก น้ำมัน ทอด ซ้ำ จะ เสื่อม สภาพ จนถึง จุด ที่ จะ ต้อง เปลี่ยน น้ำ มัน ใหม่ๆ หาก ไม่ เปลี่ยน ใหม่ จะ ทำให้ อาหาร ที่ ทอด ไม่ ได้ มาตรฐาน และ เป็น ภัย ต่อ ผู้ บริโภค ได้ ซึ่ง ตัวแปร ที่ ใช้ ใน การ กำหนด คุณภาพ อาหาร ทอด คือ คุณภาพ น้ำมัน โดย วดั คณุภาพ นำ้มนั ได ้จาก คา่ สาร โพ ลาร ์รวม (Total Polar Materials, TPM) ซึ่ง จาก การ ศึกษา ของ จิตรา เศรษฐ อุดม (2548) พบ วา่ ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ทัง้หมด ใน นำ้มนั ทอด อาหาร ซ้ำ ซึ่ง เกิด ขึ้น ระหว่าง การ ทอด อาหาร เป็น ตัว บ่ง ชี้ ที่ ดี ถึง ภาพ รวม ของ การ เสื่อม สภาพ น้ำมัน ได้

แท้ ที่ จริง แล้ว สามารถ ควบคุม ตัวแปร ต่างๆ ใน การ ทอด อาหาร ได้ เช่น ชนิด น้ำมัน (Zhang et al., 2000) มี การ แทนที ่ดว้ย นำ้มนั ใหม ่ประเภท ของ อาหาร ที ่ทอด ความ เขม้ ขน้ ของ ออกซิเจน และ อุณหภูมิ ที่ ใช้ ทอด (Choe and Min, 2007; Warner, 1999) โดย Houhoula et al. (2003) พบ วา่ การ ทอดที่ อุณหภูมิ 155 - 195 องศา เซลเซียส มี ความ สมัพนัธ ์กบั ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ที ่เพิม่ ขึน้ และ ระยะ เวลา ที ่ทอด เช่น จิร วรรณ กล่ำ ไพ (2553) ระบุ ว่าการ ทอด ไก่ ถ้า ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ เกิน 10 ชั่วโมง จะ เกิด สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน เกิน เกณฑ์ มาตรฐาน ที่ กระทรวง สาธารณสุข กำหนด ไว้ เป็นต้น

จาก การ ศึกษา ที่ ผ่าน มา เกี่ยว กับ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ คณะ กรรมการ อาหาร และ ยา (2547) พบ ว่า น้ำมัน ทอด จาก ร้าน แผงลอย และ จาก รถ เข็น ทอด ปาท่องโก๋ น้ำมัน ทอด เต้าหู้ น้ำมัน ทอด ไก่ น้ำมัน ทอด ลูก ชิ้น และ อื่นๆ มี การ เสื่อม คุณภาพ ร้อย ละ 13 ต่อ มา ได้ สำรวจ อาหาร ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2551 พบ ว่า จาก อาหาร ทั้ง สิ้น 315 รายการ มี อาหาร ไม่ ผ่าน มาตรฐาน รอ้ย ละ 17.5 โดย ชนดิ อาหาร 5 อนัดบั แรก คอื ลกู ชิน้ 26.66% ไก่ ทอด 18.60% ปลา ทอด 17.54% นัต เก็ต 12.50% และ หมู ทอด 6.67% (สำนักงาน กองทุน สนับสนุน การ สร้าง เสริม สุข ภาพ, www.thaihealth.or.th)

Page 49: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

48 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

สาร โพ ลาร ์ที ่ปน เปือ้น ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ ม ีความ เสีย่ง ตอ่ สุขภาพ ของ ผู้ บริโภค ทำให้ เกิด โรค ต่างๆ เช่น ความ ดัน โลหิต สูง โรค หลอด เลือด หัวใจ และ สมอง ตีบ หัวใจ วาย อัมพาต (Soriguer et al., 2003) โรค มะเรง็ ลำไส ้หรอื กระเพาะ อาหาร จาก การ รบั ประทาน สาร โพ ล ีไซ คลกิ อะ โร มาตกิ ไฮโดรคารบ์อน (Polycyclic aromatic hydrocarbon; Boffetta, Jourenkova and Gustavsson, 1997) ส่วน ผลก ระ ทบ ต่อ ผู้ ประกอบ อาชีพ คือ ไอ ของ น้ำมัน ที่ เสื่อม สภาพ จะ มี กลุ่ม สาร ก่อ มะเร็ง (IARC, 2010) จน ทำให้ ผู้ ทอด อาหาร เสี่ยง ต่อ การ เกิด มะเร็ง ปอด จาก การ สูด ดม ไอ อันตราย ของ น้ำมัน ที่ เสื่อม คุณภาพ ได้ (Purcaro et al., 2006)

ถึง แม้ว่า หลัก ฐาน ของ การ เกิด อันตราย ต่อ มนุษย์ จะ ยัง ไม่ ชัดเจน แต่ ก็ จำเป็น ที่ จะ ต้อง ควบคุม สาร โพ ลาร์ ให้ อยู่ ใน ระดบั ที ่ปลอดภยั เพือ่ สขุภาพ ที ่ด ีของ ผู ้บรโิภค เชน่ ใน ประเทศ แถบ ยุโรป กำหนด ให้ มี ค่า ความ เข้ม ข้น สาร โพ ลาร์ ไม่ เกิน 25% ใน ขณะ ที ่บาง แหง่ ม ีจดุ ตดั อยู ่ระหวา่ง 20% และ 27% (Totani N, et al., 2012; Sánchez-Muniz FJ, Bastida S., 2003) เช่น เดียวกัน กับ ประเทศไทย กระทรวง สาธารณสุข พ.ศ. 2547 กำหนด ให้ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด หรือ ประกอบ อาหาร เพื่อ จำหน่าย ได้ ไม่ เกิน ร้อย ละ 25 ของ น้ำ หนัก (กระทรวง สาธารณสุข, 2547)

จาก ปญัหา ที ่กลา่ว มา ม ีนกั วจิยั ที ่ได ้ศกึษา เกีย่วขอ้ง กบั การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร และ ระดับ ความ เข้ม ข้น ของ สารประกอบ โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ ทั้ง ใน ประเทศไทย และ ต่าง ประเทศ (จิร วรรณ กล่ำ ไพ, 2553; Choe and Min, 2007; Warner, 1999; Zhang et al., 2000) อย่างไร ก็ตาม ใน ประเทศไทย ยัง ต้องการ ข้อมูล เพิ่ม เติม เกี่ยว กับ ปัจจัย ที่ มี ความ สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร รวม ทัง้ ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ ดงั นัน้ ผู ้วจิยั จงึ ม ีความ สนใจ ที ่จะ ศกึษา วจิยั โดย ม ีวตัถปุระสงค ์คอื ศึกษา ปัจจัย ที่ มี ความ สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร และ ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร กบั ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ ใน ผู ้ขาย อาหาร ทอด อำเภอ หนึง่ ใน พืน้ที ่ภาค ตะวัน ออก เพื่อ นำ ข้อมูล จาก การ วิจัย นี้ ไป เสนอ แนะ แก่ หนว่ย งาน ที ่เกีย่วขอ้ง และ เปน็ แนวทาง ใน การ ควบคมุ ปรมิาณ สารประกอบ โพ ลาร์ ใน นำ้มัน ทอด ร่วม กบั การ ใช ้มาตรการ ทาง กฎหมาย เพื่อ สุขภาพ ที่ ดี ของ ผู้ ขาย และ ผู้ บริโภค ต่อ ไป

2.วิธีการวิจัยการ ศึกษา ครั้ง นี้ เป็นการ วิจัย เชิง สำรวจ แบบ ตัด ขวาง

(Cross sectional study) โดย เก็บ ข้อมูล ระหว่าง เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ. 2555

2.1ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร คือ ผู้ ขาย อาหาร ทอด ราย ย่อย ที่ มี สถาน ที่ ขาย อยู่ ที่ เดิม เป็น ประจำ เป็น รา้น แผงลอย หรอื รถ เขน็ อำเภอ หนึง่ ใน ภาค ตะวนั ออก จำนวน 81 คน เลอืก กลุม่ ตวัอยา่ง ได ้จาก การ คำนวณ ดว้ย สตูร ยา มา เน ่ (Yamane) จำนวน 68 คน แต ่เนือ่งจาก ชว่ง ระยะ เวลา ที ่ผู ้วจิยั ทำการ เกบ็ ขอ้มลู ม ีผู ้ขาย อาหาร ทอด บาง ราย เลกิ กจิการ ไป และ บาง ราย หยุด กิจการ ชั่วคราว ผู้ วิจัย จึง เก็บ ข้อมูล ได้ 60 คน

2.2จริยธรรมการวิจัย การ ศึกษา วิจัย ใน ครั้ง นี้ ได้ รับ การ รับรอง โดย คณะ กรรมการ พิจารณา จริยธรรม การ วิจัย คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา เมื่อ วัน ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็น ที่ เรียบร้อย แล้ว

2.3เครือ่งมอืและอปุกรณ์ที่ใช้ในการวจิยั เครือ่ง มอื ที ่ใช ้ใน การ เกบ็ รวบรวม ขอ้มลู สำหรบั การ วจิยั ครัง้ นี ้ประกอบ ดว้ย แบบสอบถาม แบบ บันทึก ข้อมูล แบบ สังเกต และ ชุด ทดสอบ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย มี ราย ละเอียด ดังนี้

2.3.1แบบสอบถาม ประกอบ ดว้ย 3 สว่น ดงันี ้ส่วน ที่ 1 เป็น แบบสอบถาม เกี่ยว กับข้อมูล ส่วน ตัว ของ ผู้ ตอบ แบบสอบถาม มี ลักษณะ เป็น แบบ ตรวจ สอบ รายการ (Check list) จำนวน 4 ขอ้ แบบ เลอืก ตอบ สว่น ที ่2 เปน็ แบบสอบถาม เกี่ยว กับ การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รับ รู้ ข้อมูล ข่าวสาร การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ ลูกค้า จำนวน 21 ข้อ โดย ให้ คะแนน แบบ 5 ระดับ (5 - 1) ตั้งแต่ ระดับ มาก ที่สุด - น้อย ที่สุด ส่วน ที่ 3 เปน็ แบบสอบถาม เกีย่ว กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร ผู ้วจิยั ได ้จดั กลุม่ เปน็ 3 กลุม่ ประกอบ ดว้ย ประเภท ของ อาหาร อปุกรณ ์ที ่ใช ้ทอด และ พฤตกิรรม ม ีลกัษณะ เป็น แบบ ตรวจ สอบ รายการ (Check list) จำนวน 12 ข้อ โดย ให้ คะแนน ใน ประเด็น ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร คือ 0 คะแนน = ข้อ ที่ ไม่มี ความ เสี่ยงฯ และ 1 คะแนน = ขอ้ ที ่ม ีความ เสีย่งฯ นอกจาก นัน้ ได ้ม ีการนำ ประเด็น จาก แบบ สังเกต เข้า มา ร่วม วิเคราะห์ ใน ประเด็น นี้ อีก 1 ข้อ รวม เป็น 13 ข้อ

2.3.2แบบบันทึกข้อมูล ประกอบ ด้วย รหัส ร้าน ค้า รหัส สถาน ที่ จำหน่าย ประเภท อาหาร ที่ ทอด ชนิด ของ น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด อาหาร ความถี่ ใน การ ทอด ต่อ วัน (ครั้ง) การ เปลี่ยน น้ำมัน ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ที่ ทดสอบ ได้

Page 50: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 49

2.3.3 แบบสังเกต เป็น แบบ สังเกต พฤติกรรม การ ใช ้และ การ เปลีย่น นำ้มนั ทอด อาหาร ของ ผู ้ขาย อาหาร ทอด ที่ ผู้ วิจัย สร้าง ขึ้น ตาม กรอบ แนวคิด ของ การ วิจัย เป็น แบบ ตรวจ สอบ รายการ (Check list) ใน ประเดน็ ตา่งๆ ที ่เกีย่วขอ้ง กับ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน จำนวน 10 ข้อ โดย ให้ คะแนน แบบ ใช่ = 1 และ ไม่ใช่ = 0

2.3.4 ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเป็น ชุด ทดสอบ อย่าง ง่าย ที่ ใช้ วัด ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ที่ เกิด ขึ้น ระหว่าง การ ทอด อาหาร และ ปรับ เทียบ เป็น ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ทั้งหมด (% TPC) สาร เคมี ที่ ใช้ ทดสอบ จะ ทำ ปฏิกิริยา กับ สารประกอบ ที่ มี ประจุ (สาร โพ ลาร์) ใน ตัวอย่าง ให้ สีชมพู จาง ถึง เข้ม เมื่อ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ มี ค่า ไม่ เกิน 25% และ ไม่มี สีชมพู เมื่อ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ มี ค่า มากกว่า 25% ใช้ เวลา ใน การ ทดสอบ รวดเรว็ คอื อา่น ผล ได ้ภายใน 3 นาท ีตรวจ นำ้มนั ได้ 6 ชนิด คือ น้ำมัน ปาล์ม (จาก เนื้อ ปาล์ม) น้ำมัน ถั่ว เหลือง น้ำมัน รำ ข้าว น้ำมัน หมู น้ำมัน ไก่ และ น้ำมัน มะพร้าว ผสม น้ำมัน ปาล์ม (คู่มือ การ ใช้ ชุด ทดสอบ สาร โพ ลาร์, 2554)

2.4การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ วิจัย ได้ เก็บรวบรวม ข้อมูล ด้วย การ 1) สำรวจ

ร้าน ขาย อาหาร ทอด 2) สอบถาม ผู้ ขาย อาหาร ทอด ตาม แบบสอบถาม ที่ สร้าง ขึ้น 3) สังเกต พฤติกรรม การ ใช้ น้ำมัน ทอด อาหาร ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด แบบ ไม่มี ส่วน ร่วม โดย ใช้ แบบ สังเกต ที่ ผู้ วิจัย ได้ สร้าง ขึ้น และ บันทึก ข้อมูล 4) ทดสอบ

สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย การ เก็บ ตัวอย่าง น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด อาหาร ซำ้ กอ่น ที ่จะ เลกิ ขาย หาก เปลีย่น นำ้มนั ทกุ วนั การ เก็บ น้ำมัน จะ เก็บ ก่อน ที่ จะ ทำการ เปลี่ยน น้ำมัน ใหม่ เป็นต้น

การ ทดสอบ หา ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน ตัวอย่าง น้ำมัน ทอด อาหาร เริ่ม จาก การ ผสม ตัวอย่าง น้ำมัน ทอด ซ้ำ ให้ เป็น เนื้อ เดียวกัน ทำการ ดูด ตัวอย่าง 1 ซี ซี ใส่ ใน ขวด วิ เคราะห์ฯ จาก นั้น ดูด สารละลาย โพ ลาร์ 1 ปริมาณ 2 ซี ซี ผสม ลง ใน ขวด วิ เคราะห์ฯ ปิด ขวด แล้ว เข ย่า แรงๆ ประมาณ 30 วินาที และ ดูด สารละลาย โพ ลาร์ 3 ปริมาณ 0.02 ซี ซี ใส่ ลง ใน ขวด วิ เคราะห์ฯ ปิด ขวด แล้ว เข ย่า แรงๆ อีก 30 วินาที หลงั จาก นัน้ สงัเกต ส ีของ สารละลาย ชัน้ บน แลว้ แปล ผล ถา้ เปน็ สชีมพ ูเขม้ แปล วา่ ม ีปรมิาณ สาร โพ ลาร ์นอ้ย กวา่ 20% ถา้ เปน็ สีชมพู จาง มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ 20 - 25% และ ไม่มี สีชมพู เมื่อ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ มี ค่า มากกว่า 25%

2.5การวิเคราะห์ข้อมูล วเิคราะห ์ขอ้มลู ทัว่ไป ปจัจยั ตา่งๆ ประกอบ ดว้ย

ปัจจัย คัด สรร เกี่ยว กับ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รับ รู้ ข้อมูล ข่าวสาร การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ ลูกค้า ตาม ลำดับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร และ ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ ดว้ย สถติ ิเชงิ พรรณนา ใน รปู ของ จำนวน รอ้ย ละ คา่ เฉลีย่ (สว่น เบีย่ง เบน มาตรฐาน) ค่า มัธยฐาน (ค่า สูงสุด - ค่า ต่ำ สุด) และ วิเคราะห์ ตัวแปร ที่ มี ความ สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร ด้วย การ หา ค่า สัมประสิทธิ์ สห สัมพันธ์ เพยีร ์สนั (Pearson’s correlation) และ วเิคราะห ์ความ สมัพนัธ ์ ระหวา่ง ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ นำ้มัน ทอด อาหาร กบั ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ โดย การ หา คา่ อตัราสว่น ออด (Odds ratio)

3.ผลการวิจัยจาก การ ศกึษา ขอ้มลู ทัว่ไป ของ ผู ้ขาย อาหาร ทอด พบ วา่

กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ เป็น เพศ หญิง ร้อย ละ 70 อายุ เฉลี่ย 42.83 ปี มีอายุ ใน ช่วง 40 - 49 ปี มาก ที่สุด ร้อย ละ 40 ส่วน สถานภาพ ของ ผู้ ตอบ แบบสอบถาม พบ ว่า ส่วน ใหญ่ เป็น ทั้ง เจ้าของ ร้าน ผู้ ทอด อาหาร และ ผู้ ขาย อาหาร ใน คน เดียวกัน ร้อย ละ 63.3 ประเภท ของ อาหาร ที่ ทอด พบ ว่า ส่วน ใหญ่ ขาย อาหาร ประเภท แปง้ จำนวน รอ้ย ละ 66.7 รอง ลง มา คอื ประเภท เนือ้ สตัว ์และ ประเภท ผสม (แปง้ ผสม เนือ้ สตัว)์ รอ้ย ละ 23.3 และ ร้อย ละ 10.0 ตาม ลำดับ ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 1

Page 51: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

50 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ตารางที่1 จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม เพศ อายุ สถานภาพ ของ ผู้ ตอบ แบบสอบถาม และ ประเภท อาหาร ที่ ขาย

ข้อมูลทั่วไป จำนวน(N=60) ร้อยละ

เพศ

ชาย 18 30.0

หญิง 42 70.0

อายุ

< 30 ปี 16 26.7

30 - 39 ปี 6 10.0

40 - 49 ปี 24 40.0

50 - 59 ปี 11 18.3

> 59 ปี 3 5.0

ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) 42.83 (11.026)

ค่ามัธยฐาน (ค่าต่ำสุด - สูงสุด) 43 (20 - 70)

สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม

เจ้าของร้าน ผู้ทอดอาหาร ผู้ขายอาหาร 38 63.3

เจ้าของร้าน ผู้ทอดอาหาร 10 16.7

เจ้าของร้าน 5 8.3

เจ้าของร้าน ผู้ขายอาหาร 4 6.7

ผู้ทอดอาหาร 2 3.3

ผู้ทอดอาหาร ผู้ขายอาหาร 1 1.7

ผู้ขายอาหาร 0 0

ประเภทอาหารที่ขาย

ประเภทแป้ง 40 66.7

ประเภทเนื้อสัตว์ 14 23.3

ประเภทผสม (เนื้อสัตว์ + แป้ง) 6 10.0

Page 52: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 51

จาก ผล การ ศกึษา ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ น้ำมัน จำแนก ตาม ความ เสี่ยง ใน ด้าน อุปกรณ์ ของ การ ทอด ประเภท อาหาร ที่ ทอด และ พฤติกรรม ใน การ ทอด พบ ว่า กลุ่ม ตัวอย่าง มากกว่า ร้อย ละ 80 ใช้ ภาชนะ ที่ ทำ จาก เหล็ก ใน การ

ตารางที่2 จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด ด้าน อุปกรณ์ ของ การ ทอด ประเภท อาหาร ที่ ทอด และ ด้าน พฤติกรรม ใน การ ทอด ราย ข้อ (N = 60)

ความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหารใช่ ไม่ใช่

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

ด้านอุปกรณ์ของการทอด

1. ใช้ภาชนะที่ทำจากเหล็กในการทอดอาหาร 52 86.6 8 13.4

2. ใช้ภาชนะรูปทรงปากกว้างก้นแคบในการทอดอาหาร 50 83.3 10 16.7

3. ใช้กระทะทอดอาหารใบเดียว 50 83.3 10 16.7

ด้านประเภทอาหารที่ทอด

4. อาหารที่ใช้ทอดมีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัตว์ 20 33.3 40 66.7

5. ไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มในการทอดอาหาร 6 10.0 54 90.0

ด้านพฤติกรรมในการทอด

6. ไม่ได้เติมน้ำมันทอดอาหารในระหว่างวัน 38 63.3 22 36.7

7. ใช้วิธีการเติมน้ำมันใหม่ลงไปทดแทนน้ำมันเก่าที่ลดลง 1 ใน 4 ส่วนทุกวัน 34 56.7 26 43.3

8. ใช้กระบวนการในการทอดอาหารตามความต้องการของลูกค้า 17 28.3 43 71.7

9. น้ำมันที่ท่านใช้ทอดอาหาร มีการทำให้ร้อนและเย็นลง

กลับไปกลับมาตลอดเวลา

26 43.3 34 56.7

10. ใช้การเร่งไฟเป็นระยะ เพื่อให้อาหารสุกเร็วขึ้น 17 28.3 43 71.7

11. ภาชนะที่ใช้ทอดอาหาร มีคราบเหนียวเป็นยาง เกาะติด 14 23.3 46 76.7

12. ใช้วิธีการทำความสะอาดภาชนะไม่ถูกต้อง 16 26.7 44 73.3

13. ไม่ได้ทำการกรองน้ำมันเพื่อรักษาคุณภาพ

(มาจากแบบสังเกต)

6 10.0 54 90.0

ทอด อาหาร รอ้ย ละ 86.6 รอง ลง มา คอื ใช ้ภาชนะ ทรง ปาก กวา้ง กน้ แคบ ใน การ ทอด อาหาร และ ใช ้ภาชนะ ทอด อาหาร ใบ เดยีว ร้อย ละ 83.3 เท่า กัน ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 2

จาก ผล การ ศึกษา ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซำ้ ที ่ใช ้ทอด อาหาร ของ กลุม่ ตวัอยา่ง พบ วา่ ตวัอยา่ง นำ้มนั ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ มากกว่า 25% ร้อย ละ 11.7 ส่วน ใหญ่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ น้อย กว่า 20% ร้อย ละ 68.3 รอง ลง มา มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ 20 - 25% ร้อย ละ 20 ดัง ราย ละเอียด

ใน ตาราง ที ่3 โดย ตวัอยา่ง นำ้มนั ที ่ม ีปรมิาณ สาร โพ ลาร ์มากกวา่ 25% ตรวจ พบ ในอาหาร ประเภท เนื้อ สัตว์ ได้แก่ ปลา ทอด 2 ตัวอย่าง ไก่ ทอด 1 ตัวอย่าง ลูก ชิ้น ทอด 1 ตัวอย่าง และ ปลา ทอดมัน 1 ตัวอย่าง และประเภท ผสม ได้แก่ ลูก ชิ้น ชุบ แป้ง ทอด 2 ตัวอย่าง

Page 53: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

52 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ตารางที่3 จำนวน และ ร้อย ละของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ

ปริมาณสารโพลาร์(%) จำนวน(N=60) ร้อยละ

1. น้อยกว่า 20 41 68.3

2. 20 - 25 12 20.0

3. มากกว่า 25 7 11.7

ตารางที่4จำนวน และ ร้อย ละของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม ระดับ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว

ระดับภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว จำนวน(N=60) ร้อยละ

มาก 25 41.7

ปานกลาง 33 55.0

น้อย 2 3.3

สว่น ผล การ ศกึษา เกีย่ว กบั ปจัจยั ตา่งๆ ประกอบ ดว้ย ปัจจัย คัด สรร เกี่ยว กับ ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รับ รู้ ข้อมูล ข่าวสาร การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ

ลูกค้า พบ ว่า กลุ่ม ตัวอย่าง ส่วน ใหญ่ มี ภาระ ค่า ใช้ จ่าย อยู่ ใน ระดบั ปาน กลาง รอ้ย ละ 55.0 รอง ลง มา คอื ระดบั มาก รอ้ย ละ 41.7 ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 4

ใน แง่ ของ การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ พบ ว่า ส่วน ใหญ่ มี การ รับ รู้ ใน ระดับ มาก ที่สุด คือ ไอ ระเหย จาก น้ำมัน ทอด ซ้ำ ทำให้ เกิด มะเร็ง ปอด รับ ประทาน อาหาร ที่ มี กลิน่ เหมน็ หนื ทำให ้เกดิ อนัตราย ตอ่ สุขภาพ รอ้ย ละ 40 เทา่ กนั รอง ลง มาคือ น้ำมัน เสื่อม สภาพ ทำให้ เกิด อันตราย ต่อ สุขภาพ ร้อย ละ 38.3 ใน ระดับ มาก ส่วน ใหญ่ คือ น้ำมัน ทอด อาหาร ที่ มี สี ดำ ทำให้ เกิด อันตราย ต่อ สุขภาพ ร้อย ละ 41.7 รอง ลง มา

คือ น้ำมัน ที่ ทอด อาหาร ซ้ำ หลายๆ ครั้ง คุณภาพ จะ เสื่อม ลง และน้ำมัน เสื่อม สภาพ ทำให้ เกิด อันตราย ต่อ สุขภาพ ร้อย ละ 40 และรอ้ย ละ 38.8 ตาม ลำดบั ใน ระดบั ปาน กลาง สว่น ใหญ ่ พบ ว่า มี การ ใช้ น้ำมัน ทอด อาหาร ที่ มี การนำ มา ใช้ มากกว่า 1 ครัง้ เรยีก วา่ นำ้มนั ทอด ซำ้ รอ้ย ละ 36.7 และ ใน ระดบั นอ้ย ทีส่ดุ สว่น ใหญ ่คอื นำ้มนั ที ่เสือ่ม คณุภาพ กอ่ ให ้เกดิ สาร โพ ลาร ์ ร้อย ละ 46.7 ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 5

ตารางที่5 จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ (N = 60)

การรับรู้อันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. ไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหารซ้ำ ต่อการเกิด

โรคมะเร็งปอด

40

(24)

30

(18)

13.3

(8)

5

(3)

11.7

(7)

2. รับประทานอาหารที่มีกลิ่นเหม็นหืนทำให้เกิดอันตราย

ต่อสุขภาพ

40

(24)

31.7

(19)

18.3

(11)

1.7

(1)

8.3

(5)

Page 54: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 53

การรับรู้อันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

3. น้ำมันเสื่อมสภาพทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 38.3

(23)

38.3

(23)

16.7

(10)

5

(3)

1.7

(1)

4. น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารมีสีดำทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 28.3

(17)

41.7

(25)

23.3

(14)

0

(0)

6.7

(4)

5. น้ำมันที่ทอดอาหารซ้ำหลายๆ ครั้ง คุณภาพจะเสื่อมลง 30

(18)

40

(24)

23.3

(14)

5

(3)

1.7

(1)

6. น้ำมันทอดอาหารที่มีการนำมาใช้มากกว่า 1 ครั้ง

เรียกว่า น้ำมันทอดซ้ำ

16.7

(10)

37.7

(19)

36.7

(22)

11.7

(7)

3.3

(2)

7. น้ำมันทอดอาหารที่เสื่อมคุณภาพ ก่อให้เกิดสารโพลาร์ 6.7

(4)

26.7

(16)

10

(6)

10

(6)

46.7

(28)

8. การใช้น้ำมันทอดซ้ำทำให้โรคความดันโลหิตสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต

21.7

(13)

28.3

(17)

25

(15)

6.7

(4)

18.3

(11)

ตารางที่6จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย (N = 60)

การรับรู้มาตรการทางกฎหมาย

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับน้ำมันทอดอาหารที่ใช้อยู่

ในปัจจุบันหย่อนยาน

20

(12)

13.3

(8)

35

(21)

16.7

(10)

15

(9)

2. การรับรู้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนด

ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดประกอบอาหารเพื่อ

จำหน่าย มีสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก

1.7

(1)

1.7

(1)

20

(12)

20

(12)

56.7

(34)

3. ปัจจุบันมีมาตรการทางกฎหมายเข้ามาควบคุมการใช้

น้ำมันทอดอาหารเพื่อจำหน่าย

3.3

(2)

13.3

(8)

16.7

(10)

21.7

(13)

45

(27)

ใน แง่ ของ การ ศึกษา การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย พบ ว่า มี การ รับ รู้ ใน ระดับ ปาน กลาง ส่วน ใหญ่ คือ มาตรการ ทาง กฎหมาย เกี่ยว กับ น้ำมัน ทอด อาหาร ที่ ใช้ อยู่ ใน ปัจจุบัน หย่อน ยาน ร้อย ละ 35 และ มี ระดับ การ รับ รู้ น้อย ที่สุด ส่วน ใหญ่ คือ การ รับ รู้ ประกาศ กระทรวง สาธารณสุข เรื่อง กำหนด ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด ประกอบ อาหาร

เพื่อ จำหน่าย ว่า มี สาร โพ ลาร์ ได้ ไม่ เกิน ร้อย ละ 25 ของ น้ำ หนัก รอง ลง มา คือ ปัจจุบัน มี มาตรการ ทาง กฎหมาย เข้า มา ควบคุม การ ใช้ น้ำมัน ทอด อาหาร ร้อย ละ 56.7 และร้อย ละ 45 ตาม ลำดบั และ ม ีระดบั การ รบั รู ้นอ้ย ทีส่ดุ สว่น ใหญ ่คอื มาตรการ ทาง กฎหมาย ที ่ม ีการ เอาผดิ กบั ผู ้ใช ้นำ้มนั ทอด ซำ้ ใน การ ทอด อาหาร เพื่อ จำหน่าย ร้อย ละ 43.3 ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 6

ตารางที่5 (ต่อ)

Page 55: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

54 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

การรับรู้มาตรการทางกฎหมาย

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

4. การจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานเป็นความรับผิดชอบของ

ผู้ขายโดยตรง

23.3

(14)

16.7

(10)

25

(15)

11.7

(7)

23.3

(14)

5. มาตรการทางกฎหมายที่มีการเอาผิดกับผู้ใช้น้ำมันทอดซ้ำ

ในการทอดอาหารเพื่อจำหน่าย

1.7

(1)

8.3

(5)

28.3

(17)

18.3

(11)

43.3

(26)

ตารางที่7จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย (N = 60)

การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมควรเป็น

น้ำมันปาล์มโอลีอิน

33.3

(20)

35.0

(21)

18.3

(11)

3.3

(2)

10.0

(6)

2. น้ำมันจากไขมันสัตว์เป็นน้ำมันที่ไม่เหมาะสมกับ

การทอดอาหาร

21.7

(13)

36.7

(22)

23.3

(14)

6.7

(4)

11.7

(7)

3. ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการใช้

น้ำมันทอดซ้ำในปัจจุบัน

10

(6)

11.7

(7)

31.7

(19)

28.3

(17)

18.3

(11)

4. ได้รับรู้อันตรายจากสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำจาก

บุคลากรหรือสื่อจากทางสาธารณสุข

3.3

(2)

16.7

(10)

23.3

(14)

33.3

(20)

23.3

(14)

ตารางที่6 (ต่อ)

ใน แง่ ของ การ ศึกษา การ รับ รู้ ข้อมูล ข่าวสาร พบ ว่า มี การ รับ รู้ ใน ระดับ มาก ที่สุด ส่วน ใหญ่ คือ น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด อาหาร แบบ น้ำมัน ท่วม ควร เป็น น้ำมัน ปาล์ม โอ ลี อิน ร้อย ละ 33.3 ม ีระดบั การ รบั รูม้าก สว่น ใหญ ่คอื นำ้มนั จาก ไข มนั สตัว ์ ไม่ เหมาะ กับ การ ทอด อาหาร รอง ลง มาคือ น้ำมัน ที่ ใช้ ทอด

อาหาร แบบ น้ำมัน ท่วม ควร เป็น น้ำมัน ปาล์ม โอ ลี อิน ร้อย ละ 36.7 และ ร้อย ละ 35.0 ตาม ลำดับ มี ระดับ การ รับ รู้ น้อย ส่วน ใหญ่ คือ เรื่องได้ รับ รู้ อันตราย จาก สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ จาก บุคลากร หรือ สื่อ จาก ทาง สาธารณสุข เพียง ใด ร้อย ละ 33.3 ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 7

ส่วน ใน แง่ ของ การ ศึกษา การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ ลูกค้า พบ ว่า มี การ รับ รู้มาก ที่สุด ส่วน ใหญ่ คือ เรื่อง น้ำมัน ทอด อาหาร ใส และอาหาร ไม่มี กลิ่น เหม็น หืน ลูกค้า จะ เลือก ซื้อ มาก ขึ้น และ อาหาร ทอด มี สี เหลือง ทอง ไม่ อม น้ำมัน ไม่มี คราบ สี ดำ เกาะ ลูกค้า จะ เลือก ซื้อ มาก ขึ้น ร้อย ละ 60 เท่า กัน รอง ลง มาคอื เรือ่ง หาก ลกูคา้ พบ วา่ อาหาร ทอด ม ีกลิน่เหมน็ หนื

อม น้ำมัน ลูกค้า จะ เลือก ซื้อ น้อย ลง ร้อย ละ 50.0 มี ระดับ การ รบั รูม้าก สว่น ใหญ ่คอื นำ้มนั ทอด อาหาร ม ีส ีดำ ลกูคา้ จะ ซือ้ นอ้ย ลง รอง ลง มาคอื อาหาร ทอด ม ีกลิน่ เหมน็ หนื อม นำ้มนั ลกูคา้ จะ ซือ้ นอ้ย ลง รอ้ย ละ 46.7 และ รอ้ย ละ 31.7 ตาม ลำดบั ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 8

Page 56: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 55

ตารางที่8จำนวน และ ร้อย ละ ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด จำแนก ตาม การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ ลูกค้า (N = 60)

การรับรู้การเลือกซื้อของลูกค้า

(N=60)

ระดับการรับรู้

มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

1. น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารใส และอาหารไม่มีกลิ่นเหม็นหืน

ลูกค้าจะเลือกซื้ออาหารมากขึ้น

60.0

(36)

28.3

(17)

5

(3)

1.7

(1)

5

(3)

2. อาหารทอดมีหน้าตาน่ารับประทาน เช่น มีสีเหลืองทอง

ไม่อมน้ำมัน ไม่มีคราบสีดำเกาะ ลูกค้าจะเลือกซื้อมากขึ้น

60.0

(36)

26.7

(16)

6.7

(4)

0

(0)

1.7

(1)

3. อาหารทอดมีกลิ่นเหม็นหืน อมน้ำมัน ลูกค้าจะเลือกซื้อ

น้อยลง

50.0

(30)

31.7

(19)

5.0

(3)

8.3

(5)

5.0

(3)

4. น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารมีสีดำ ลูกค้าจะเลือกซื้อน้อยลง 38.3

(23)

46.7

(28)

6.7

(4)

5

(3)

3.3

(2)

ใน แง่ ของ การ ศึกษา ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ปัจจัย ด้าน ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ นำ้มนั ทอด ซำ้ การ รบั รู ้มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รบั รู ้ขอ้มลู ขา่วสาร และ การ รบั รู ้การ เลอืก ซือ้ ของ ลกูคา้ กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร พบ ว่า ปัจจัย ด้าน ภาระ คา่ ใช ้จา่ย ใน ครอบครวั ม ีความ สมัพนัธ ์ทาง บวก กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร อย่าง มี นัย สำคัญ ทาง สถติ ิที ่ระดบั 0.01 ซึง่ ม ีคา่ สมัประสทิธิ ์สห สมัพนัธ ์เทา่กบั

0.277 (r = 0.277, p < 0.001) คือ เมื่อ มี ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครวั มาก ขึน้ ม ีผล ทำให ้ม ีความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร เพิม่ ขึน้ สว่น ปจัจยั ดา้น การ รบั รู ้อนัตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รบั รู ้ขอ้มลู ขา่วสาร และ การ รบั รู ้การ เลอืก ซือ้ ของ ลกูคา้ ไมม่ ีความ สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 9

ตารางที่9ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ปัจจัย ด้าน ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รบั รู ้ขอ้มลู ขา่วสาร และ การ รบั รู ้การ เลอืก ซือ้ ของ ลกูคา้ กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร

ตัวแปร Y X1

X2

X3

X4

X5

1. ความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพของน้ำมันทอดอาหาร (Y) 1

2. ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว (X1) 0.277* 1

3. การรับรู้อันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ (X2) 0.042 0.199 1

4. การรับรู้มาตรการทางกฎหมาย (X3) - 0.007 0.257* 0.558** 1

5. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (X4) 0.008 0.390** 0.401** 0.609** 1

6. การรับรู้การเลือกซื้อของลูกค้า (X5) - 0.099 0.213 0.330* 0.465** 0.653** 1

Sig 2-tailed Signififif icant: *P < 0.05 **P < 0.001

Page 57: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

56 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

ความสมัพนัธ์ระหวา่งความเสีย่งของการเสือ่มสภาพของนำ้มนัทอดอาหารกบัปรมิาณสารโพลาร์ในนำ้มนัทอดซำ้โดยการหาค่าอัตราส่วนออด(Oddsratio)

ผล จาก การ ศึกษา พบ ว่า ผู้ ขาย อาหาร ทอด ใน กลุ่ม ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ อยู่ ใน ระดับ สูง มี ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร สูง ใน เรื่อง ของ การ ใช้

ตารางที่11 ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร กับ ปริมาณ สาร โพลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย รวม % (N)

ความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพ

ของน้ำมันทอดอาหาร

ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำOR(95%CI)

ต่ำกว่ามาตรฐาน เกินมาตรฐาน

เสี่ยงน้อย 100 (14) 0 (0) 1.18 (1.04 - 1.33)

เสี่ยงมาก 84.8 (39) 15.2 (7)

ภาชนะ ที่ ทำ จาก เหล็ก ใน การ ทอด อาหาร การ ใช้ ภาชนะ ทรง ปาก กว้าง ก้น แคบ ใน การ ทอด อาหาร อาหาร ทอดที่ ใช้ ทอด มี ส่วน ประกอบ เป็น เนื้อ สัตว์ และ ไม่ ได้ ทำการ กรอง น้ำมัน เพื่อ รักษา คุณภาพ ร้อย ละ 100 เท่า กัน ซึ่ง พบ ค่า อัตราส่วน ออด (Odds ratio) เท่ากับ 1.54, 0.86, 1.16 และ 0.87 ดัง ราย ละเอียด ใน ตาราง ที่ 10

ตารางที่10 จำนวน และ ร้อย ละ (% ; N) ของ ผู้ ขาย อาหาร ทอด กับ ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร กับ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย การ หา ค่า อัตราส่วน ออด OR (95% CI)

ความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพ

ของน้ำมันทอดอาหาร

ปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำOR

(95%CI)ผ่านมาตรฐาน เกินมาตรฐาน

(<20%)N=41 (20-25%)N=12 (>25%)N=7

1. ใช้ภาชนะที่ทำจากเหล็กในการทอดอาหาร 82.9% (34) 91.7% (11) 100%(7) 1.16

2. ใช้ภาชนะทรงปากกว้างก้นแคบในการทอด

อาหาร

78% (32) 16.7% (2) 100%(7) 0.86

3. อาหารที่ใช้ทอดมีส่วนประกอบเป็นเนื้อสัตว์ 14.6% (6) 50% (6) 100%(7) 1.54

4. ไม่ได้ทำการกรองน้ำมันเพื่อรักษาคุณภาพ 12.2% (5) 100% (12) 100%(7) 0.87

ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร โดย รวม ม ีความ สมัพนัธ ์กบั ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ทอด ซำ้ ที ่ระดบั นยั สำคญั ทาง สถติ ิที ่0.05 คอื กลุม่ ที ่ม ีความ เสีย่ง ของ

การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร อยู่ ใน ระดับ เสี่ยง มาก มี โอกาส ตรวจ พบ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ เกิน มาตรฐาน มากกว่า กลุ่ม ที่ อยู่ ใน ระดับ เสี่ยง น้อย 1.18 เท่า

4.อภิปรายผลจาก การ ศกึษา เกีย่ว กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ

ของ น้ำมัน ทอด อาหาร พบ ว่า ผู้ ขาย อาหาร ทอด ส่วน ใหญ่มี ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร มากกวา่ ร้อย ละ 50 ใน เรื่องภาชนะ ที่ ใช้ ทอด อาหาร ทำ จาก เหล็ก

ร้อย ละ 86.6 รอง ลง มา คือ ใช้ ภาชนะ ทอด อาหาร ใบ เดียว และ ใช้ ภาชนะ ชนิด ปาก กว้าง ก้น แคบ ใน การ ทอด อาหาร ร้อย ละ 83.3 เท่า กัน ซึ่ง สอดคล้อง กับ ผู้ ผลิต และ จำหน่าย อาหาร ใน โรง อาหาร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ส่วน ใหญ่ ใช้ กระทะ เหล็ก ใน การ ทอด อาหาร (นัก สิทธิ์ ปัญโญ ใหญ่, 2550)

Page 58: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 57

ใช้ วิธี การ เติม น้ำมัน ใหม่ ลง ไป ทดแทน น้ำมัน เก่า ที่ ลด ลง 1 ใน 4 ส่วน ทุก วัน ซึ่ง สอดคล้อง กับ กลุ่ม ผู้ ผลิต และ จำหน่าย อาหาร ใน โรง อาหาร มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พบ ว่า มี การ เติมน้ำมัน ใหม่ ลง ใน น้ำมัน เก่า เป็น ประจำ (นัก สิทธิ์ ปัญโญ ใหญ่, 2550) แต่ ใน การ ศึกษา นี้ พบ ว่า ใน ระหว่าง วัน ไม่ ได้ ทำการ เติม น้ำมัน ทอด อาหาร เป็น ระยะ ร้อย ละ 63.3 อาจ มี ผล ทำให้ คุณภาพ ของ น้ำมัน ลด ลง ได้ จาก การ ศึกษา นี้ พบ ว่า ตัวอย่าง น้ำมัน ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ เกนิ มาตรฐาน คอื มากกวา่ 25% รอ้ย ละ 11.7 โดย สว่น ใหญ ่ ตรวจ พบ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ น้อย กว่า 20% ร้อย ละ 68.3 สอดคล้อง กับ ผล การ ศึกษา ของ สำนักงาน คณะ กรรมการ อาหาร และ ยา ที่ พบ ว่า มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ เกิน มาตรฐาน ร้อย ละ 17.5 (สำนักงาน กองทุน สนับสนุน การ สร้าง เสริม สุข ภาพ, www.thaihealth.or.th)

ใน แง ่ของ การ ศกึษา ความ สมัพนัธ ์ระหวา่ง ปจัจยั ตา่งๆ ประกอบ ด้วย ปัจจัย ด้าน ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รบั รู ้ขอ้มลู ขา่วสาร และ การ รบั รู ้การ เลอืก ซือ้ ของ ลกูคา้ กบั ความ เสีย่ง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร ผล การ ศึกษา พบ ว่า ปัจจัย ด้าน ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว มี ความ สัมพันธ์ ทาง บวก กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร (r = 0.277, p < 0.001) ซึ่ง เมื่อ ผู้ ทอด อาหาร มี ภาระ ค่า ใช้ จ่าย ใน ครอบครัว มาก ขึ้น ทำให้ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ มาก ขึ้น ส่ง ผล ทำให้ มี ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร เพิ่ม ขึ้น ตาม มา ส่วน ปัจจัย ด้าน การ รับ รู้ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ การ รับ รู้ มาตรการ ทาง กฎหมาย การ รับ รู้ ข้อมูล ข่าวสาร และ การ รับ รู้ การ เลือก ซื้อ ของ ลูกค้า ไม่มี ความ สัมพันธ์ กับ ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร

จาก การ ศึกษา ความ สัมพันธ์ ระหว่าง ความ เสี่ยง ของ การ เสือ่ม สภาพ ของ นำ้มนั ทอด อาหาร กบั ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ จาก ผล การ ศึกษา นี้ ยัง พบ ว่า ปัจจัย 4 ตัวแปร คือ การ ใช้ ภาชนะ เหล็ก ใน การ ทอด อาหาร การ ใช้ ภาชนะ ทรง ปาก กว้าง ก้น แคบ ใน การ ทอด อาหาร ชนิด อาหาร ที่ ใช้ ทอด มี ส่วน ประกอบ เป็น เนื้อ สัตว์ และ การ ไม่ ได้ ทำการ กรอง น้ำมัน เพื่อ รักษา คุณภาพ ของ น้ำมัน มี ความ สัมพันธ์ ให้ คุณภาพ ของ น้ำมัน เสื่อม ลง ได้ โดย มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ เกิน 25% จำนวน ร้อย ละ 100 โดย ผล การ ศึกษา พบ ว่า ผู้ ขาย อาหาร ทอด ใน กลุ่ม ที่ มี ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ระดับ สูง จะ มี ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร สูง โดย มี ค่า OR (95%CI) เท่ากับ 1.16, 0.86, 1.54 และ 0.87 ตาม ลำดับ

ดัง นั้น ผู้ ขาย อาหาร ควร จะ หลีก เลี่ยง การ ใช้ ภาชนะ เหล็ก ใน การ ทอด อาหาร เพราะ จะ ไป เร่ง การ เสื่อม สลาย ของ น้ำมัน ทอด อาหาร เร็ว ขึ้น ได้ ควร ใช้ ภาชนะ ที่ ทำ จาก เหล็กกล้า ไม่ เป็น สนิม (Stainless steel) (พักตร์ พริ้ง แสง ดี, 2547) นอกจาก นั้น ไม่ ควร เลือก ใช้ ภาชนะ ทรง ปาก กว้าง ก้น แคบ ใน การ ทอด อาหาร เนือ่งจาก จะ ทำให ้ความ เขม้ ขน้ ของ ออกซเิจน ลด ลง และ มี ผล ต่อ คุณภาพ น้ำมัน ได้ (พักตร์ พริ้ง แสง ดี, 2547; Choe and Min, 2007; Warner, 1999) สว่น ประเดน็ ชนิด อาหาร ที่ ใช้ ทอด มี ส่วน ประกอบ เป็น เนื้อ สัตว์ เป็น ปัจจัย ที่ มี ความ สัมพันธ์ ต่อ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร พบ ว่า สอดคล้อง กับ การ ศึกษา ของ พักตร์ พริ้ง แสง ดี (2547) ระบุ ว่า ชนิด ของ อาหาร ทำให้ น้ำมัน ทอด เสื่อม คุณภาพ เร็ว คือ อาหาร ที่ มี ไข มัน จาก เนื้อ สัตว์ เช่น เนื้อ ไก่ เนื้อ วัว ถูก ชะ ลง ไป อยู ่ใน นำ้มนั เปน็ สาร ปน เปือ้น ที ่ทำให ้นำ้มนั ทอด เสือ่ม คณุภาพ เร็ว กว่า ที่ อาหาร ประเภท ปลา นอกจาก นั้น ผู้ ขาย อาหาร ทอด ควร ทำการ กรอง น้ำมัน ทอด เป็น ประจำ เนื่องจาก การก รอง น้ำมัน ทอด เป็น ประจำ จะ ช่วย รักษา คุณภาพ และ ยืด อายุ การ ใช้ งาน ของ น้ำมัน ได้ ดี ขึ้น (พักตร์ พริ้ง แสง ดี, 2547) แต่ ทาง ที ่ด ีนำ้มนั ที ่ผา่น การ ทอด ซำ้ ควร จะ กำจดั ทิง้ มากกวา่ การนำ มา ใช้ อีก (Sánchez-Muniz FJ, Bastida S., 2003)

กล่าว โดย สรุป จาก การ ศึกษา พบ ว่า ความ เสี่ยง ของ การ เสื่อม สภาพ ของ น้ำมัน ทอด อาหาร ใน ประเด็น ต่างๆ ดัง ที่ กล่าว มี ความ สัมพันธ์ กับ ปริมาณ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย เฉพาะ ความ เสีย่ง ดา้น อปุกรณ ์ที ่ใช ้ใน การ ทอด อาหารและ ประเภท ของ อาหาร ที่ ใช้ ทอด ดัง นั้น เพื่อ ความ ปลอดภัย ของ ผู ้บรโิภค และ ผู ้ขาย อาหาร ทอด เอง หนว่ย งาน สาธารณสขุ หรอื หนว่ย งา นอืน่ๆ ที ่เกีย่วขอ้ง ควร เรง่ รณรงค ์และ ประชาสมัพนัธ ์ให้ ความ รู้ แก่ ประชาชน ใน เรื่อง เกี่ยว กับ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ และ อันตราย จาก การ ใช้ น้ำมัน ทอด ซ้ำ มาตรการ ทาง กฎหมาย ที ่เกีย่ว กบั นำ้มนั ทอด ซำ้ ที ่ใช ้อยู ่ใน ปจัจบุนั และ สรา้ง ความ ตระหนัก ให้ พ่อค้า แม่ค้า มี ความ รับ ผิด ชอบ ด้วย การ เปลี่ยน น้ำมัน เมื่อ ถึง เวลา

เอกสารอ้างอิงกระทรวง สาธารณสุข (2551) ประกาศ กระทรวง สาธารณสุข

(ฉบบั ที ่283) เรือ่ง กำหนด ปรมิาณ สาร โพ ลาร ์ใน นำ้มนั ที ่ใช ้ทอด อาหาร หรอื ประกอบ อาหาร เพือ่ จำหนา่ย” (2547, 5 พฤศจิกายน). ราช กิจ จา นุเบกษา. เล่ม 121 ตอน พิเศษ 125 ง.

กอง พฒันา ศกัยภาพ ผู ้บรโิภค (2547) อย.เตอืน นำ้มนั ทอด ซำ้ อาจ เกิด อันตราย ถึง ขั้น เป็น มะเร็ง. ข่าว เพื่อ สื่อมวลชน.

Page 59: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

58 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

จติรา เศรษฐ อดุม (2548) การ วเิคราะห ์ความ เสีย่ง นำ้มนั ทอด ซ้ำ. วารสาร อาหาร และ ยา, 12 (2), 55 - 63.

นัก สิทธิ์ ปัญโญ ใหญ่ (2550) ได้ ทำการ ศึกษา กลไก การ ใช้ น้ำมัน ทอด อาหาร ตาม โครงการ อาหาร ปลอดภัย แบบ มี ส่วน ร่วม ของ กลุ่ม ผู้ ผลิต และ จำหน่าย อาหาร ใน โรง อาหาร. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

แผน งาน คุ้มครอง ผู้ บริโภค ด้าน สุขภาพ (2551) ปฏิวัติ น้ำมัน ทอด ซ้ำ โดย ชุด ทดสอบ ผู้ บริโภค ปลอดภัย พ่อค้า แม่ค้า ไทย ช่วย ได้. กรุงเทพฯ.

พักตร์ พริ้ง แสง ดี (2547) การ ใช้ น้ำมัน เสื่อม คุณภาพ ทอด อาหาร และ การ ควบคุม: สำนัก วิชาการ วิทยาศาสตร์ การ แพทย์. ม.ป.ท.

ศูนย์ วิทยาศาสตร์ การ แพทย์ ที่ 7 (2554) คู่มือ การ ใช้ ชุด สอบ สาร โพ ลาร์ ใน น้ำมัน ทอด ซ้ำ Lot 9062554- ST. (2554).

สำนักงาน กองทุน สนับสนุน การ สร้าง เสริมสุข ภาพ (2551) น้ำมัน ทอด ซ้ำ อันตราย ทั้ง “คน กิน-คน ปรุง”. สาระ สุขภาพ. เข้า ถึง ได้ จาก www.thaihealth.or.th/healthcontent/featured/5579. May 12, 2012.

สำนักงาน กองทุน สนับสนุน การ สร้าง เสริมสุข ภาพ โครงการ ปฏิวัติ น้ำมัน ทอด ซ้ำ. เข้า ถึง ได้ จาก www.thaihealth.or.th.October 8, 2010.

สำนักงาน คณะ กรรมการ อาหาร และ ยา (2552) สถานการณ์ ความ ปลอดภัย ด้าน อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ณ สถาน ที่ จำหน่าย.

Boffetta P., Jourenkova N., Gustavsson P. (1997). Cancer risk from occupational and environmental exposure to polycyclic aromatic hydrocarbons. Unit of Environmental Cancer Epidemiology, International Agency for Research on Cancer, Lyon, France. Cancer causes control. May, 8 (3), pp. 444 - 472.

Choe E., Min DB. (2007). Chemistry of deep-fat frying oils. J Food Sci. 72 (5), pp. 77 - 86.

Dimitra P., Houhoula, Vassiliki Oreopoulou, Constantina Tzia. The effect of process time and temperature on the accumulation of polar compounds in cottonseed oil during deep-fat frying. Journal of the Science of Food and Agriculture. Volume 83, Issue 4, pp. 314 - 319, March 2003.

Federico Soriguer, Gemma Rojo-Martinez, & Stella Gonzalez-Romero. (2003). Hypertension is related to the degradation of dietary frying oils. American Journal of Clinical Nutrition, December, 78 (6), pp. 1092 - 1097.

IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. (2010). Household use of solid fuels and high-temperature frying. Lyon, France; Geneva: Lyon, France: International Agency for Research on Cancer; Distributed by WHO Press.

Sánchez-Muniz FJ., Bastida S. (2003). Frying oil discarding: polar content vs. oligomer content determinations. Forum Nutr. 56, pp. 345 - 347.

Totani N., Tateishi S., Chiue H., Mori T. (2012). Color and chemical properties of oil used for deep frying on a large scale. J Oleo Sci. 61(3), pp. 121 - 126.

Warner K. (1999). Impact of high-temperature food processing on fats and oils. Adv Exp Med Biol, 45, pp. 67 - 77.

Zhang W., Wu Y., & Che S. (2000). Hygienic status of deep fried oils in 1998 and the contrast with 10 years ago. Wei Sheng Yan Jiu. Nov, 29 (6), pp. 409 - 411.

Page 60: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 59

ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาชุดที่อาจมีการปนอยู่ของสเตียรอยด์ของบุคลากร

ในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อการ วิจัย นี้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อ สำรวจ ความ รู้ และ

พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ของ บุคลากร ใน สังกัด กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น ที่ เข้า รบั การ อบรม ใน หลกัสตูร ผู ้อำนวย การก อง ระดบั 7 (องคก์าร บริหาร ส่วน ตำบล) จำนวน 321 คน ณ สถาบัน พัฒนา บคุลากร ทอ้ง ถิน่ ตำบล คลอง หนึง่ อำเภอ คลองหลวง จงัหวดั ปทมุธาน ีระหวา่ง วนั ที ่26 - 30 มนีาคม พ.ศ. 2555 เครือ่ง มอื ที ่ใช ้คอื แบบสอบถาม ผล การ วจิยั พบ วา่ กลุม่ ตวัอยา่ง ม ีความ รู ้ เรื่อง ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ อย่าง ถูก ต้อง ว่า ยา ชุด ที่ มี ส เตีย รอย ด์ อาจ มี ความ แรง จน เป็น อันต ราย หรือ ส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด อาจ ทำให้ เกิด ผล ข้าง เคียง ต่อ ร่างกาย และ ยัง ทราบ อีก ว่า ยา ชุด ที่ ใช้ นั้น อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตยี รอย ด ์อยู ่ใน สดัสว่น ที ่สงู กวา่ รอ้ย ละ 75 อนึง่ เมือ่ พจิารณา ถงึ พฤตกิรรม การ ใช ้ยา ชดุ นัน้ พบ วา่ ม ีบคุลากร ยงั ม ีพฤตกิรรม ความ ชอบ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว อยู่ ถึง ร้อย ละ 18.38 และ ประเด็น ที่ น่า สนใจ คือ พบ การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน อยู่ ใน สดัสว่น ที ่สูง ถงึ รอ้ย ละ 86.2 ดงั นัน้ เพือ่ ประสทิธภิาพ สงูสดุ ใน การ บรหิาร ยา กระทรวง สาธารณสขุ และ องคก์าร บรหิาร สว่น ตำบล ควร ควบคุม การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน และ เร่ง ทำการ ประชาสัมพันธ์ ตาม สื่อ ต่างๆ ให้ ความ รู้ แก่ ประชาชน ให้ ได้ ทราบ ถึง อันตราย และ ผล ข้าง เคียง ที่ เกิด ขึ้น จาก ยา ชุด และ ยา ส เตยี รอย ด ์หรอื ควร ทำการ รณรงค์ ให้ ประชาชน เลกิ ใช้ ยา ชดุ โดย เน้น ที่ การ เกิด โทษ และ ผลก ระ ทบ ต่อ ร่างกาย เป็น หลัก

Knowledge and Behavior in Possibly Containing Steroids of Polypharmacy Usage on Staffs belong to Department of Local Administration

พิม พร ทอง เมือง ภ.ม. วิทยาลัย สห เวชศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา

คำสำคญั:การ ใช ้ยา/ยา ชดุ/ส เตยี รอย ด/์กรม สง่ เสรมิ การ ปกครอง ท้อง ถิ่น

AbstractThe objective of this study is to survey

general drug awareness and usage pattern of possibly containing steroid polypharmacy among 321 staffs of the Department of Local Administration (DOLA), who attended Director Level 7 (Subdistrict Administrative Organization) training program at the Local Personal Development Institution Khlong Naung subdistrict, Khlong Laung district, Pathumthani province during March 26 - 30, 2555 B.C. By using questionnaires, the survey found that the sample group processed correct general knowledge about polypharmacy containing steroid that it may cause serious harm or steroid containing in the polypharmacy may have side effect to human body. The sample group also knew that the ratio of steroid in polypharmacy may exceed 75%. Moreover, when consider consumption pattern of polypharmacy, the survey found that 18.38% of DOLA staffs prefer polypharmacy over single medicine. The more interesting issue is there was 86.2%

Page 61: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

60 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

of polypharmacy distribution in the community. Thus, to achieve high level drug administration effif iciency, the Department of Public Health and Subdistrict Administrative Organization should regulate polypharmacy dispensing among their community and inform public about the danger and side effect of polypharmacy and steroid or campaigning public to stop using polypharmacy by mainly focus on harm and side effect to human body.

Keywords: Drug usage/Polypharmacy/ Steroids/Department of Local Administration

1.บทนำข้อ บังคับ ทาง กฎหมาย ของ ประเทศไทย เพื่อ ควบคุม

การ จำหน่าย ยา ชุด ใน มาตรา 75 ทวิ ของ พระ ราช บัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 เพิ่ม เติม โดย พระ ราช บัญญัติ ยา พ.ศ. 2530 คือ ห้าม มิ ให้ ผู้ ใด ขาย ยา บรรจุ เสร็จ หลาย ขนาน โดย จัด เป็น ยา ชุด ใน คราว เดียวกัน โดย มี เจตนา ให้ ผู้ ซื้อ ใช้ รวม กัน เพื่อ บำบัด บรรเทา รักษา หรือ ป้องกัน โรค หรือ อาการ ของ โรค ใด โรค หนึ่ง โดย เฉพาะ ความ ใน วรรค หนึ่ง ไม่ใช่ บังคับ แก่ เภสัชกร ชัน้ หนึง่ ผู ้ประกอบ วชิาชพี เวชกรรม หรอื ผู ้ประกอบ โรค ศลิปะ ใน สาขา ทนัต กรรม ซึง่ ขาย ยา เฉพาะ สำหรบั คนไข ้ของ ตน และ ผู้ ประกอบ การ บำบัด โรค สัตว์ ซึ่ง ขาย สำหรับ สัตว์ ซึ่ง ตน บำบัด (พระ ราช บัญญัติ ยา พ.ศ. 2510, 2553) แต่ ยัง คง พบ ปัญหา การ ใช้ ยา ชุด สามารถ พบ ได้ ทั้ง ใน กรุงเทพมหานคร และ ใน ต่าง จังหวัด ซึ่ง จะ ขาย ใน ร้าน ขาย ยา ทุก ประเภท ใน พื้นที่ ที่ ห่าง ไกล จาก ตัว เมือง และ อาจ จะ พบเห็น ได้ ทั้ง ใน ร้าน ขาย ของชำ หรือ แม้ กระทั่ง ใน ร้าน กาแฟ โดย ตัวอย่าง ของ ยา ชุด ที่ พบเห็น อย่าง เสมอ คอื ยา ชุด แก ้ไข ้หวดั ยา ชดุ แก ้ปวด เมือ่ย ยา ชดุ หมอ นวด และ ยา ชุด อ้วน ซึ่ง แต่ละ ชุด จะ ประกอบ ไป ด้วย ยา แก้ ปวด วัตถุ ออก ฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท ยา แก้ อักเสบ วิตามิน ยา ลด กรด และ ใน แทบ ทุก ชุด จะ พบ ยา เม็ด ส เตีย รอย ด์ ผสม อยู่ โดย ผู้ จัด ยา ชุด เชื่อ ว่า ยา ส เตีย รอย ด์ จะ ช่วย รักษา โรค ได้ อย่าง กว้าง ขวาง (วีร พันธ์ เจริญผล, 2539)

ยา ส เตีย รอย ด์ คือ ยา ที่ มี ฤทธิ์ ลด การ อักเสบ อีก ทั้ง ยัง มี ฤทธิ์ ยับยั้ง การ หลั่ง สาร ที่ ทำให้ เกิด หลอดลม ตีบ หรือ อาการ หอบ หรือ สาร ที่ ก่อ ให้ เกิด การ อักเสบ ที่ ทำให้ เกิด การ อักเสบ บริเวณ ทาง เดิน หายใจ จึง เป็น ผล ให้การ อักเสบ ลด ลง สามารถ ใช้ รักษา ผู้ ป่วย ที่ มี อาการ หอบ หืด อย่าง รุนแรง เมื่อ ใช้ ยา ขยาย หลอดลม แล้ว ไม่ ได้ ผล หรือ ผู้ ป่วย ที่ มี อาการ ปวด

และ อักเสบ หรือ ยับยั้ง การ สร้าง เม็ด เลือด ขาว จึง ทำให้ ลด การ ปวด และ อักเสบ ที่ เกิด ขึ้น จาก โรค ข้อ อักเสบ รู มา ตอยด์ ได้ (จัน ทนี อิทธิ พา นิช พงศ์ และ คณะ, 2552: 179 - 220) ยากลุ่ม นี้ สามารถ ออก ฤทธิ์ ได้ เร็ว มี รูป แบบ ของ ยา ที่ มี ความ หลาก หลาย เชน่ รปู แบบ ยา พน่ ยา ฉดี ยา ทา และ ยา รบั ประทาน ซึ่ง ตัว อย่าง ของ ส เตีย รอย ด์ ใน รูป แบบ ยา รับ ประทาน คือ เพ รด นิ โซ โลน (Prednisolone) และ เดก ซ่า เมธา โซน (Dexamethasone) และ ยัง มี สรรพคุณ ใน การ รักษา โรค ผิวหนัง ป้องกัน การ อาเจียน จาก การ ได้ รับ ยา รักษา มะเร็ง โรค ภูมิแพ้ โรค มะเร็ง ของ ต่อม น้ำ เหลือง หรือ โรค ที่ มี ปริมาณ แคลเซียม สูง (ณัฐวุธ สิบ หมู่, 2552: 759)

ผล ไม่ พึง ประสงค์ ที่ เกิด จาก การ ใช้ ยา ส เตีย รอย ด์ คือ สามารถ ก่อ ให้ เกิด การ ติด เชื้อ รา ใน ช่อง ปาก เมื่อ ให้ โดย วิธี การ พ่น หรือ มี ฤทธิ์ ใน การ สลาย กระดูก และ ผิวหนัง ลด การ ดูด ซึม แคลเซียม จาก ลำไส้ใหญ่ จึง สามารถ ก่อ ให้ เกิด โรค กระดูก พรุน (Osteoporosis) อีก ทั้ง ยัง มี ผล ข้าง เคียง ต่อ ระบบ ประสาท เริ่ม จาก ภาวะ อารมณ์ เคลิ้ม สุข (Euphoria) หรือ นำ ไป สู่ ภาวะ โรคจิต (Psychosis) ได้ และ เมื่อ ได้ รับ ยา นี้ ใน ขนาดที่ สูง จะ กระตุ้น ให้ กระเพาะ อาหาร หลั่ง กรด เพิ่ม ขึ้น อาจ ก่อ ให้ เกิด โรค กระเพาะ อาหาร อักเสบ ได้ หรือ ทำให้ เกิด คชู ชิง่ ซนิ โด รม (Cushing’s syndrome) ที ่ม ีอาการ หนา้ กลม (moon face) หลัง มี โหนก ของ ไข มัน (buffalo hump) ขน ดก (hirsutism) กล้าม เนื้อ ลีบ อ่อน แรง ผิวหนัง บาง และ มี รอย แยก (red steroiae) ซึ่ง เป็น ผล จาก การ สลาย คอ ล ลา เจน (collagen) อกี ทัง้ ยงั ทำให ้เกดิ สวิ (steroid acne) ได้ นอกจาก นี้ ยัง มี ผล ต่อ ระบบ ไหล เวียน โลหิต ทำให้ ความ ดัน โลหิต สูง ขึ้น และ มี การ ดู ดก ลับ เกลือ แร่ และ น้ำ ใน ร่างกาย อีก ด้วย (ณัฐวุธ สิบ หมู่, 2552: 452 - 454) และ จัด เป็น ยา ควบคุม พิเศษ ตาม ประกาศ กระทรวง สาธารณสุข เรื่อง ยา ควบคุม พิเศษ ซึ่ง หมายความ ว่า ยา ส เตีย รอย ด์ เป็น ยา แผน ปจัจบุนั หรอื ยา แผน โบราณ ที ่รฐัมนตร ีประกาศ เปน็ ยา ควบคุม พเิศษ ตามพ ระ ราช บญัญตั ิยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ที ่สามารถ ควบคุม การ ส่ง มอบ ยา ได้ ตาม ใบสั่ง ยา ของ ผู้ ประกอบ วิชาชีพ เวชกรรม ผู้ ประกอบ โรค ศิลปะ แผน ปัจจุบัน หรือ ผู้ ประกอบ การ บำบัด โรค สัตว์ หรือ ทำการ จ่าย ยา จาก สถาน ที่ ขาย ยา แผน ปัจจุบัน ที่ มี เภสัชกร ชั้น หนึ่ง ที่ มี ใบ อนุญาต ประจำ การ อยู่ ณ สถาน ที่ ขาย ยา แผน ปัจจุบัน ตลอด เวลา ที่ เปิด ทำการ (พระ ราช บัญญัติ ยา พ.ศ. 2510, 2553)

การ วิจัย ใน ครั้ง นี้ สอดคล้อง กับ แนวคิด ของ โร เซน สตอก (1974) ที ่ได ้อธบิาย เกีย่ว กบั แผน ความ เชือ่ ดา้น สขุภาพ ว่าการ ที่ บุคคล จะ แสดง พฤติกรรม สุขภาพ อย่าง ใด อย่าง หนึ่ง

Page 62: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 61

เพือ่ หลกี เลีย่ง จาก การ เปน็ โรค จะ ตอ้ง ม ีความ เชือ่ วา่ จะ ม ีโอกาส เสีย่ง ตอ่ การ เกดิ โรค และ โรค นัน้ จะ ตอ้ง ม ีความ รนุแรง ตอ่ ชวีติ พอ สมควร การ ปฏิบัติ เพื่อ หลีก เลี่ยง จาก การ เป็น โรค จะ เกิด ผล ด ีตอ่ ตนเอง เพราะ ตอ้งการ ให ้ม ีสขุภาพ ด ีขึน้ (Rosenstock, 1974) ระบบ การ คิด เช่น นี้ สอดคล้อง กับ ทฤษฎี การ เรียน รู้ ทาง สังคม (Social Learning Theory) ขอ งอัลเบิร์ด แบน ดรูา (1977) ที ่ระบ ุวา่ มนษุย ์มกั ใช ้เงือ่นไข ของ สิง่ แวดลอ้ม และ ประสบการณ์ ที่ เกิด ขึ้น จาก พฤติกรรม สนับสนุน ใน กระบวนการ ตัดสิน ใจ ของ ตน (Bandura, 1977) อีก ทั้ง ยัง สอดคลอ้ง กบั ทฤษฎ ีของ การ ดแูล ตนเอง ของ โอเรม (1980) ที ่แบ่ง การ ดูแล ตนเอง ของ มนุษย์ ออก เป็น 3 ขั้น ตอน เริ่ม จาก ขัน้ ตอน การ ดแูล ตนเอง โดย ทัว่ไป (Universal Self-Care) เพือ่ ตอบ สนอง ความ ต้องการ พื้น ฐาน ใน การ ดำเนิน ชีวิต ประจำ วัน จาก นั้น คือ ขั้น ตอน การ ดูแล ตนเอง เกี่ยว กับ พัฒนาการ ต่างๆ (Development Self-Care) เป็น กิจกรรม ที่ มุ่ง เน้น เกี่ยว กับ พัฒนาการ ของ มนุษย์ เพื่อ สร้าง และ รักษา สภาพ การณ์ ของ ชีวิต ให้ มี การ เติบโต ของ วุฒิ ภาวะ ทั้ง ทาง ร่างกาย และ จิตใจ ให้ สมบูรณ์ และ ขั้น ตอน สุดท้าย คือ การ ดูแล ตนเอง เมื่อ เกิด การ เบี่ยง เบน ทาง สุขภาพ (Health deviation Self-Care) ซึ่ง ใน ขั้น ตอน นี้ เป็นการ ดูแล ตัว เอง เมื่อ เกิด ภาวะ เจ็บ ป่วย ที่ ทำให้ รา่งกาย ไม ่ปกต ิบคุคล นัน้ จงึ ม ีการ ปรบั พฤตกิรรม ให ้สามารถ ปรับ เข้า กับ สภาพ การ เปลี่ยนแปลง และ ให้ ดำรง อยู่ ได้ อย่าง ปกติ เพื่อ ป้องกัน ไม่ ให้ เกิด ความ บกพร่อง หรือ ความ พิการ ของ การ ทำงาน ของ ร่างกายใน ด้าน ของ การ วินิจฉัย และ การ รักษา การ จัด ทำ แบบแผน การ ดำเนิน ไป ของ ชีวิต เสีย ใหม่ เพื่อ ส่ง เสริม ให้ มี พัฒนาการ ของ ตนเอง ที่ ดี ขึ้น (Orem, 1980: 42 - 46) ดว้ย เหต ุนี ้จงึ อาจ สรปุ ได ้วา่ “แนวคดิ และ ทฤษฎ ีเกีย่ว กบั แผน ความ เชือ่ ดา้น สขุภาพ และ พฤตกิรรม เลยีน แบบ” จะ เปน็ แนวทาง ที่ นำ ไป สู่ การ สืบค้น พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด นี้ ได้

จาก การ ทบทวน งาน วจิยั ที ่เกีย่วขอ้ง เชน่ ผล การ ศกึษา ของ อุษา วดี และ คณะ ที่ทำการ ศึกษา เกี่ยว กับ ระบาด วิทยา และ พฤติกรรม สุขภาพ ใน เรื่อง การ ใช้ ยา ชุด ของ ประชาชน ใน จังหวัด มหาสารคาม ใน ปี 2544 พบ การ ใช้ ยา ชุด ร้อย ละ 30.8 ส่วน ใหญ่ ถูก ชักชวน โดย เพื่อน บ้าน คิด เป็น ร้อย ละ 51.2 โดย เปน็การ ใช ้ยา ชดุ เพือ่ บำบดั อาการ ปวด เมือ่ย ใน ระบบ กลา้ม เนื้อ และ กระดูก ถึง ร้อย ละ 54.5 ส่วน ใหญ่ ซื้อ ยา ชุด จาก ร้าน ขาย ของชำ ร้อย ละ 65.0 ซื้อ ยา ชุด โดย วิธี การ บอก เล่า อาการ แล้ว ให้ ผู้ ขาย จัด ให้ ร้อย ละ 58.5 และ มี ความ รู้สึก ว่า เมื่อ ใช้ ยา ชุด แล้ว มี อาการ ดี ขึ้น ร้อย ละ 45.5 ทำการ ตัดสิน ใจ ที่ จะ ใช้ ยา ชดุ อกี เมือ่ ม ีอาการ เชน่ เดมิ รอ้ย ละ 48.0 (อษุา วด ีส ุตะ ภกัดิ ์และ คณะ, 2544) และ การ ศกึษา ปจัจยั ที ่ม ีผล ตอ่ การ ใช ้ยา ชดุ

ของ ประชาชน ใน ชนบท: กรณ ีศกึษา หมูบ่า้น ปา่ สกั นอ้ย ตำบล เชงิ ดอย อำเภอ ดอยสะเกด็ จงัหวดั เชยีงใหม ่ใน ป ี2538 ของ อัมพร ค้า ไม้ (2538) ใน ประเด็น ที่ เกี่ยว กับ แบบแผน การ ใช้ ยา ชดุ ความ คดิ ความ เชือ่ และ การ รบั รู ้ของ ประชาชน เกีย่ว กบั ยา ชดุ แหลง่ กระจาย ยา ชดุ ใน หมูบ่า้น และ การ จดั ซือ้จดัหาจาก กลุ่ม ตัวอย่าง ที่ เฉพาะ เจาะจง จำนวน 11 ราย พบ ว่า ปัจจัย ที่ มี ผล ต่อ การ ใช้ ยา ชุด ของ ประชาชน ใน ชนบท ประกอบ ด้วย การ ที่ ยา ชุด มี แบบแผน ที่ ง่าย และ สะดวก ใน การ ใช้ ประชาชน มี ความ เชื่อ มั่น และ พอใจ ใน ประสิทธิภาพ ใน การ รักษา ของ ยา ชดุ ม ีการ รบั รู ้ถงึ ผล ด ีของ ยา ชดุ ใน การ บำบดั อาการ เจบ็ ปว่ย ของ ตัว เอง เป็น รูป ธรรม ที่ ชัดเจน กว่า โทษ หรือ อันตราย ของ ยา ชุด ยา ชุด สามารถ จัด ซื้อ จัดหา ได้ ง่าย มี ราคา ถูก และ บริการ ทาง สาธารณสุข มี ขั้น ตอน ที่ มาก ใน การ เข้า ใช้ บริการ (อัมพร ค้า ไม้, 2538) สอดคล้อง กับ งาน วิจัย ของ อำไพ ทอง ยินดี (2547) ที่ ได้ ทำการ วิเคราะห์ ปริ มาณส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด ที่ มี จำหน่าย ใน อำเภอ เมือง จังหวัด นครปฐม ด้วย เทคนิค TLC และ HPLC พบ สา รส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด จำนวน 19 ชุด จาก การ วิเคราะห์ ตัวอย่าง ทั้งหมด จำนวน 28 ชุด คิด เป็น ร้อย ละ 67.9 ของ ยา ชุด ทั้งหมด โดย พบ ส เตยี รอย ด ์ใน ยา ชดุ ที ่ม ีสรรพคณุ แก ้ปวด เมือ่ย คดิ เปน็ รอ้ย ละ 78.9 ของ ยา ชุด แก้ ปวด เมื่อย จำนวน 13 ชุด ใน ยา ชุด ที่ มี สรรพคุณ แก้ ไข้ หวัด คิด เป็น ร้อย ละ 100 ของ ยา ชุด ทั้งหมด และ ร้อย ละ 50 ใน ยา ชุด แก้ อักเสบ (อำไพ ทอง ยินดี, 2547) สอดคล้องกับสกาว รัตน์ ศุภ สาร และ คณะ (2550) ที่ทำการ ศกึษา เกีย่ว กบั ประสบการณ์ การ ดแูล ตนเอง ของ ผู ้ปว่ย ขอ้ เขา่ เสื่อม จำนวน 10 ราย ที่ เข้า รับ บริการ ที่ ศูนย์ สุขภาพ ชุมชน ดง ย้อย อำเภอ หล่มสัก จังหวัด เพชรบูรณ์ โดย ทำการ สัมภาษณ์ เชิง ลึก และ การ สำรวจ จาก แฟ้ม ครอบครัว พบ ว่า ผู้ ป่วย โรค ข้อ เข่า เสื่อม หลาย ราย มี การ ซื้อ ยา ชุด แก้ ปวด หรือ สมุนไพร ลูก กลอน จาก พ่อค้า แม่ค้า รถ เร่ มา รับ ประทาน อาจ เนื่อง มา จาก การ ขาด ความ รู้ และ ความ เข้าใจ ใน เรื่อง อันตราย ของ ยา ชุด หรือ อาจ ทดลอง ใช้ ยา ตาม สื่อ โฆษณา จึง ทำให้ ผู้ ป่วย หลาย ราย ที่ รับ ประทาน ยา ชุด แก้ ปวด มี ภาวะ เลอืด ออก ใน ระบบ ทาง เดนิ อาหาร และ อาเจยีน เปน็ เลอืด หรอื ถ่าย อุจจาระ เป็น เลือด เป็นต้น (สกาว รัตน์ ศุภ สาร และ คณะ, 2550)

ใน การ สำรวจ การ จา่ย ยา ชดุ แก ้ปวด เมือ่ย จาก รา้น ขาย ยา ใน เขต ราชเทว ีจำนวน รวม 95 รา้น พบ การ จา่ย ส เตยี รอย ด ์ จำนวน 6 ร้าน (พิม พร ทอง เมือง และ ยุทธนา สุด เจริญ, 2554) และ จาก การ สำรวจ การ จ่าย ยา ชุด แก้ หอบ หืด จาก ร้าน ขาย ยา ใน เขต ดุสิต จำนวน 38 ร้าน พบ การ จ่าย ส เตีย รอย ด์

Page 63: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

62 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

จำนวน 12 ร้าน (พิม พร ทอง เมือง และ ยุทธนา สุด เจริญ, 2555) อกี ทัง้ การ สำรวจ การ จา่ย ยา ชดุ แก ้หอบ หดื จาก รา้น ขาย ยา ใน เขต บางพลัด จำนวน 69 ร้าน พบ การ จ่าย ส เตีย รอย ด์ จำนวน 5 ร้าน (พิม พร ทอง เมือง และ ยุทธนา สุด เจริญ, 2555) จาก การ สำรวจ ข้าง ต้น พบ การ จ่าย ยา ส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด เกิด ขึ้น ดัง นั้น เมื่อ บุคลากร ได้ รับ ยา ชุด จาก ร้าน ขาย ยา จงึ อาจ ได ้รบั ส เตยี รอย ด ์ปน อยู ่ใน ยา ชดุ ได ้จาก บท บรรยาย ใน หัวข้อ ทฤษฎี และ วรรณกรรม ที่ เกี่ยวข้อง ข้าง ต้น สามารถ ชี้ ให้ เหน็ ความ สำคญั ของ ปญัหา ใน การ ใช ้ยา ชดุ ที ่เปน็ “พฤตกิรรม” และ ความ เสีย่ง ที ่จะ กอ่ ให ้เกดิ อนัตราย จาก การ ใช ้ยา ชดุ ที ่ม ีการ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ที่ เริ่ม ต้น จาก ความ “ไม่รู้” และ/หรือ “อาจ รู้ แต่ ใช้ ไม่ ถูก ต้อง” ใน หมู่ ผู้ ใช้ ยา ได้ การ มุ่ง เน้น สำรวจ ขอ้มลู เกีย่ว กบั ความ รู ้และ พฤตกิรรม การ ใช้ ยา ชดุ ที ่อาจ ม ีการ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ของ บุคลากร ใน สังกัด กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น ที่ เข้า รับ การ อบรม ใน หลักสูตร ผู้ อำนวย การ ก อง ระดบั 7 (องคก์าร บรหิาร สว่น ตำบล) ระหวา่ง วนั ที ่26 - 30 มนีาคม พ.ศ. 2555 ณ สถาบนั พฒันา บคุลากร ทอ้ง ถิน่ ตำบล คลอง หนึ่ง อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี เป็น บุคคล ที่ เคย มี ประสบการณ์ การ ใช้ ยา ชุด และ อาจ ไม่ ทราบ ถึง ผล ดี หรือ ผล ที่ ไม่ ดี ของ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ตลอด จน อาการ ข้าง เคียง ที่ อาจ เกิด ขึ้น เพราะ ไม่มี ความ รู้ ที่ ชดัเจน และ ที ่สำคญั คอื บคุลากร เหลา่ นัน้เปน็ ผูน้ำ ของ ทอ้ง ถิน่ หาก มี ความ รู้ และ พฤติกรรม การ ใช้ ยา ที่ ไม่ ถูก ต้อง เมื่อ บุคลากร เหล่า นั้น ได้ ให้ คำ แนะนำ ที่ ไม่ ถูก ต้อง แก่ ประชาชน จะ ทำให้ เกิด ผล ข้าง เคียง หรือ ผล เสีย จาก การ ใช้ ยา ที่ อาจ มี ความ รุนแรง ถึง ชีวิต ได้ ดัง นั้น เพื่อ ให้ ทราบ ถึง องค์ ความ รู้ ที่ มี และ พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด ที่ ปฏิบัติ ซึ่ง ข้อมูล เหล่า นี้ จะ เป็น แนวทาง ใน การ เพิ่ม ความ รู้ ให้ กับ ผู้นำ ท้อง ถิ่น อัน จะ ส่ง ผล ให้ เกิด ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ ยา ต่อ ตนเอง และ กับ ชุมชน เพิ่ม ขึ้น จึง มี ความ จำเป็น ที่ จะ ศึกษา ใน กลุ่ม ผู้ บริหาร ซึ่ง เป็น บุคลากร ใน สังกัด กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น เพื่อ ให้ ได้ แนวทาง ที่ จะ นำ ไป สู่ มาตรการ เพื่อ การ ส่ง เสริม ความ สามารถ เพื่อ ปรับ เปลี่ยน พฤติกรรม ใน การ ใช้ ยา ชุด ให้ ได้ ข้อ ค้น พบ ที่ ได้ จะ เป็น แนวทาง ใน การ จัดการ ส่ง เสริม การ ใช้ ยา ที่ เน้น การ ปฏบิตั ิได ้อยา่ง ถกู ตอ้ง อนั จะ เปน็ ประโยชน ์โดย รวม แก ่สงัคม ใน การ ลด ปญัหา การ ใช ้ยา อยา่ง ไม ่ถกู ตอ้ง และ ลด ผล ขา้ง เคยีง ที ่เกดิ จาก การ ใช ้ยา อนั เปน็การ ลด ภาระ ดา้น ยา ให ้กบั กระทรวง สาธารณสุข ต่อ ไป

2.วิธีดำเนินการวิจัยการ วิจัย นี้ ออกแบบ การ วิจัย โดย ใช้ กระบวนการ

สำรวจ ขอ้มลู เกีย่ว กบั ความ รู ้และ พฤตกิรรม การ ใช ้ยา ชดุ ที ่อาจ ม ีการ ปน อยู ่ของ ส เตยี รอย ด ์ชนดิ รบั ประทาน เพือ่ รกัษา อาการ เจบ็ ปว่ย ที ่เกดิ ขึน้ โดย เครือ่ง มอื ที ่ใช ้คอื แบบสอบถาม ที ่ผา่น การ ตรวจ สอบ จาก ผูท้รง คณุวฒุ ิดา้น พฤตกิรรม ศาสตร ์ทัง้ ใน ดา้น ข้อ คำถาม และ ประเด็น สำคัญ ใน การ ใช้ ดำเนิน การ เก็บ ข้อมูล จาก บคุลากร ใน สงักดั กรม สง่ เสรมิ การ ปกครอง ทอ้ง ถิน่ ที ่เขา้ รับ การ อบรม ใน หลักสูตร ผู้ อำนวย การก อง ระดับ 7 (องค์การ บรหิาร สว่น ตำบล) ที ่จดั ขึน้ โดย สถาบนั พฒันา บุคลากร ทอ้ง ถิน่ ตำบล คลอง หนึง่ อำเภอ คลองหลวง จงัหวดั ปทมุธาน ีณ สถาบนั พัฒนา บุคลากร ท้อง ถิ่น ตำบล คลอง หนึ่ง อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี ประชากร ทั้งหมด จำนวน 321 คน ระหว่าง วัน ที่ 26 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 รวบรวม ข้อมูล ที่ เกี่ยว กับ องค์ ประกอบ ของ ข้อ คำถาม ที่ ได้ แบ่ง ออก เป็น 3 ส่วน คือ ใน ส่วน ที่ 1 เป็น ข้อมูล เกี่ยว กับ ลักษณะ ประชากร สังคม เศรษฐกิจ และ ประสบการณ์ ด้าน การ รับ ยา ชุด ใน ส่วน ที่ 2 เน้น สอบถาม พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด ข้อ คำถาม จะ ระบุ ถึง พฤติกรรม การ ได้ รับ ยา ชุด หรือ ความ ชอบ ใน การ เลือก ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว รวม ถึง ความ คิด เห็น เกี่ยว กับ การ ออก ฤทธิ์ ของ ยา ชุด เทียบ กับ ยา เม็ด เดี่ยว การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน และ วิธี ที่ เคย จัดหา ยา ชุด มา รับ ประทาน และ ส่วน สุดท้าย คือ ส่วน ที่ 3 เป็นการ วัด ความ รู้ เกี่ยว กับ ยา ชุด ใน สว่น นี ้ได ้กำหนด หลกั การ ให ้คะแนน การ ตอบ แตล่ะ ขอ้ คำถาม โดย การ ให้ คะแนน ของ แต่ละ ข้อ คำถาม เมื่อ ตอบ ว่า ใช่ จะ ได้ 1 คะแนน ใน ทาง ตรง กัน ข้าม หาก ตอบ ผิด หรือ ตอบ ว่า ไม่ ทราบ จะ ได้ 0 คะแนน

3.ผลการวิจัยและอภิปรายผล3.1บุคลากรกับพฤติกรรมการใช้ยาชุดมากกว่ายา

เม็ดเดี่ยว จาก การ ศึกษา พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด จาก กลุ่ม

ตัวอย่าง จำนวน 321 คน พบ ผู้ ที่ เคย มี ประสบการณ์ ใช้ ยา ชุด จำนวน 189 คน ใน ตาราง ที่ 1 แสดง ให้ เห็น ว่า ผู้ ที่ มี พฤตกิรรม การ ใช ้ยา ชดุ มากกวา่ ยา เมด็ เดีย่ว จำแนก ตาม เพศ ม ีพฤติกรรม ที่ แตก ต่าง กัน กล่าว คือ เพศ ชาย มี พฤติกรรม การ ใช ้ยา ชดุ มากกวา่ ยา เมด็ เดีย่ว อยู ่ใน ระดบั รอ้ย ละ 40 ทีม่า กก วา่ พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว ใน เพศ หญิง ที่

Page 64: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 63

พบ เพียง ร้อย ละ 27.1 เท่านั้น อีก ประเด็น หนึ่ง ที่ น่า สนใจ คือ ช่วง อายุ ที่ แสดง ถึง พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว พบ ว่า ผู้ ที่ มีอายุ ใน ช่วง 31 - 40 ปี 41 - 50 ปี และ 51 - 60 ปี มี พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว อยู่

ใน ระดับ ร้อย ละ 24.2, 37.1 และ 42.9 ตาม ลำดับ แสดง ให้ เห็น ว่า เมื่อ บุคคล มีอายุ ที่ มาก ขึ้น จะ มี พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว ที่ สูง ขึ้น ตาม ไป ด้วย

ตารางที่1 จำนวนและร้อย ละ ของ พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว จำแนก ตาม ลักษณะ ทาง ประชากร เศรษฐกิจ และ สังคม (จำนวน)

ลักษณะทางประชากรเศรษฐกิจและสังคม

พฤติกรรมการใช้ยาชุด

ไม่ชอบใช้ ชอบใช้

ร้อยละ(จำนวน) ร้อยละ(จำนวน)

ลักษณะประชากร

เพศ

1. ชาย

2. หญิง

60.0 (36)

72.9 (94)

40.0 (24)

27.1 (35)

อายุ

1. 31 - 40 ปี

2. 41 - 50 ปี

3. 51 - 60 ปี

4. มากกว่า 61 ปี

74.8 (69)

62.9 (56)

57.1 (4)

50.0 (1)

24.2 (22)

37.1 (33)

42.9 (3)

50.0 (1)

สถานภาพปัจจุบัน

1. โสด

2. สมรส

3. หย่า, แยก

4. หม้าย

81.3 (26)

66.9 (97)

57.1 (4)

61.0 (3)

18.8 (6)

33.1 (48)

42.9 (3)

40.0 (2)

รายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน

1. 5,000 - 10,000 บาท

2. 10,001 - 20,000 บาท

3. 20,001 - 30,000 บาท

4. 30,001 - 40,000 บาท

5. มากกว่า 40,001 บาท

100.0 (1)

67.9 (57)

69.0 (69)

100.0 (2)

50.0 (1)

0.0 (0)

32.1 (2)

31.1 (31)

0.0 (0)

50.0 (1)

ระดับการศึกษา

1. ต่ำกว่าปริญญาตรี

2. ปริญญาตรี

3. ปริญญาโท

100.0 (1)

67.7 (74)

74.1 (55)

0.0 (0)

33.3 (37)

28.6 (22)

Page 65: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

64 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

สำหรับ ระดับ ราย ได้ ส่วน บุคคล ต่อ เดือน พบ ว่า กลุ่ม ตวัอยา่ง ที ่ม ีราย ได ้10,001 - 20,000 บาท มี พฤตกิรรม ความ ชอบ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว มาก ที่สุด ใน ระดับ ร้อย ละ 32.1 รอง ลง มา คอื ผู ้ที ่ม ีราย ได ้20,001 - 30,000 บาท คดิ เปน็ รอ้ย ละ 31.1 อกี ทัง้ พบ วา่ ผู ้ที ่ม ีการ ศกึษา ใน ระดบั ปรญิญา ตร ี ม ีพฤตกิรรม ความ ชอบ ใช ้ยา ชดุ มากกวา่ ยา เมด็ เดีย่ว มาก ทีส่ดุ คิด เป็น ร้อย ละ 33.3 รอง ลง มา คือ ผู้ ที่ มี การ ศึกษา ใน ระดับ ปริญญา โท พบ ร้อย ละ 28.6 ข้อ สังเกต หนึ่ง ที่ สามารถ นำ มา ใช้ อธิบาย คือ ผู้ ที่ ได้ รับ การ ศึกษา ไม่ ว่า จะ เป็น ระดับ ใด ก็ตาม ควร มี ความ ตระหนัก ถึง อันตราย ที่ อาจ เกิด จาก การ ใช้ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ซึ่ง อาจ ปน มา กับ ยา ชุด ที่ ได้

รบั ใน ทกุ ครัง้ ผู ้วจิยั ม ีความ เหน็ วา่ พฤตกิรรม นี ้จะ เปน็ เพยีง คา่ นยิม ที ่ม ีความ เขา้ใจ ผดิ อนั เนือ่ง มา จาก ความ รู ้เทา่ ไม ่ถงึ การณ ์ของ ผู้ ใช้ ยา ที่ อาจ มี ความ ไว้ วางใจ และ มั่นใจ ใน ประสิทธิภาพ ของ ยา ชุด จาก แหล่ง ที่ ได้ รับ ดัง ข้อมูล ใน ตาราง ที่ 2 ต่อ ไป นี้ ใน ประเด็น ความ คิด เห็น เกี่ยว กับ ยา ชุด นั้น พบ ว่า บุคลากร ส่วน ใหญ่ มี ความ เห็น ว่า สามารถ หา ซื้อ ยา ชุด ได้ ง่าย จาก ร้าน ขาย ของ ยา รอง ลง มา คือ เห็น ว่า ยา ชุด มี ฤทธิ์ แรง มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว เห็น ว่า ยา ชุด ออก ฤทธิ์ เร็ว เห็น ผล ชะงัด และ เห็น ว่า สามารถ หา ซื้อ ยา ชุด ได้ ง่าย จาก ร้าน ขาย ของชำ อยู่ ใน สัดส่วน ร้อย ละ 87.8, 73.0, 69.8 และ 61.4 ตาม ลำดับ

ตารางที่2 จำนวนและร้อยละของความ คิด เห็น เกี่ยว กับ ยา ชุด ฤทธิ์ ความ แรง ความเร็ว การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน และ วิธี จัดหา ยา ชุด มา รับ ประทาน

ความคิดเห็นเกี่ยวกับยาชุดและวิธีรับ/แหล่งที่มาของยาชุดไม่ใช่

ร้อยละ(จำนวน)

ใช่%

ร้อยละ(จำนวน)

ความคิดเห็นเกี่ยวกับยาชุด

1. เห็นว่ายาชุดมีฤทธิ์แรงมากกว่ายาเม็ดเดี่ยว

2. เห็นว่ายาชุดออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลชะงัด

3. เห็นว่าสามารถหาซื้อยาชุดได้ง่ายจากร้านขายของชำ

4. เห็นว่าสามารถหาซื้อยาชุดได้ง่ายจากร้านขายของยา

27.0 (51)

30.2 (57)

38.6 (73)

12.2 (23)

73.0 (138)

69.8 (132)

61.4 (116)

87.8 (116)

ในชุมชนที่อาศัยอยู่มีการจำหน่ายยาชุด 13.8 (26) 86.2 (163)

วิธีที่ใช้จัดหายาชุดมารับประทาน

1. หาซื้อตามร้านขายของชำ

2. รับยาที่ร้านขายยา โดยบอกอาการที่เจ็บป่วยแก่เภสัชกร

3. เข้ารับการตรวจจากแพทย์และได้รับยาจากคลินิก

4. นำยาเก่าที่มีอยู่ไปหาซื้อที่ร้านขายยาแผนปัจจุบัน

5. เพื่อนหรือญาติซื้อมาฝาก

64.2 (118)

25.9 (49)

57.1 (108)

87.8 (116)

86.8 (164)

37.6 (71)

74.1 (140)

42.9 (81)

12.2 (23)

12.7 (24)

ประเดน็ ที ่นา่ สนใจ ที ่เปน็ ขอ้ คน้ พบ จาก การ วจิยั ใน ครัง้ นี้ คือ พบ การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน ที่ อาศัย อยู่ ใน สัดส่วน ที่ สูง ถึง ร้อย ละ 86.2 แสดง ให้ เห็น ว่า ความ สามารถ ใน การ เข้า ถึง ยา ชุด ของ ประชาชน นั้น สามารถ ทำได้ ง่าย ใน ปัจจุบัน และ เมื่อ พิจารณา ถึง วิธี ที่ ใช้ จัดหา ยา ชุด มา รับ ประทาน จะ พบ ว่า บุคลากร ส่วน ใหญ่ ใช้ วิธี รับ ยา ที่ ร้าน ขาย ยา โดย บอก อาการ ที่ เจ็บ ป่วย แก่ เภสัชกร รอง ลง มา คือ เข้า รับ การ ตรวจ จาก แพทย์ และ ได้ รับ ยา จาก คลินิก หา ซื้อ ตาม ร้าน ขาย ของชำ เพื่อน หรือ ญาติ ซื้อ มา ฝาก และ นำ ยา เก่า ที่ มี อยู่ ไป หา ซื้อ ที่ ร้าน

ขาย ยา แผน ปัจจุบัน ใน สัดส่วน ร้อย ละ 74.1, 42.9, 37.6, 12.7 และ 12.2 ตาม ลำดับ สำหรับ ประเด็น ของ การ รับ ยา จาก เภสัชกร ใน ร้าน ขาย ยา แต่ ถ้า ร้าน ขาย ยา ที่ทำการ ซื้อ ยา ชุด ใน ขณะ นั้น ไม่มี เภสัชกร ประจำ กล่าว คือ ผู้ ขาย ยา เป็น เพียง เจ้าของ กิจการ หรือ ลูกจ้าง หรือ อาจ เป็น ร้าน ขาย ยา ที่ ไม่ ได้ ยื่น ขอ อนุญาต อย่าง ถูก ต้อง ให้ เป็น สถาน ที่ ขาย ยา ปัจจุบัน กับ กระทรวง สาธารณสุข แล้ว อาจ เกิด อันตราย ต่อ ผู้รับ ยา ชุด ก็ เป็น ได้ และ ที่ น่า เป็น ห่วง ที่สุด ที่ ค้น พบ คือ การ ที่ เพื่อน หรือ ญาติ ซื้อ ยา ชุด มา ฝาก วิธี การ นี้ มี ความ เสี่ยง ที่ จะ เกิด อันตราย

Page 66: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 65

จาก การ ใช้ ยา ชุด ได้ เนื่องจาก แพทย์ หรือ เภสัชกร ไม่ ได้ จัด ยา ชดุ ที ่ปลอดภยั ให ้แก ่ผู ้ปว่ย โดยตรง จาก ขอ้มลู ขา้ง ตน้ ชี ้ให ้เหน็ ว่า ยัง ปรากฏ ว่า มี บุคลากร จำนวน 59 คน ที่ ยัง มี ความ สนใจ

ที่ จะ เลือก ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว เพื่อ รักษา อาการ เจ็บ ป่วย ของ ตน และ ประเด็น ความถี่ ของ การ ใช้ ยา ชุด ต่อ เดือน สามารถ แสดง ผล สรุป ที่ ปรากฏ ใน ตาราง ที่ 3 ต่อ ไป นี้

ตารางที่3 ความถี่ ของ การ ใช้ ยา ชุด ต่อ เดือน

ความถี่ของการใช้ยาชุด

ต่อเดือน

น้อยกว่า

1ครั้ง

1ครั้ง 2ครั้ง 3ครั้ง มากกว่า

3ครั้ง

รวมร้อยละ

(จำนวน)

S.D.

ร้อยละ (จำนวน) 21.7 (41) 67.2 (127) 5.8 (11) 1.6 (3) 3.7 (7) 100 (189) 0.822

จาก การ สำรวจ พบ ว่า ส่วน ใหญ่ มี การ ใช้ ยา ชุด ประมาณ เดอืน ละ 1 ครัง้ รอง ลง มา คอื นอ้ย กวา่ เดอืน ละ 1 ครัง้ เดือน ละ 2 ครั้ง มากกว่า เดือน ละ 3 ครั้ง และ เดือน ละ 3 ครั้ง ใน สัดส่วน ร้อย ละ 67.2, 21.7, 5.8, 3.7 และ 1.6 ตาม ลำดบั และ ใน ประเดน็ ของ ความ รู ้เรือ่ง ยา ชดุ ที ่อาจ ม ีการ ปน อยู ่ ของส เตยี รอย ด ์ที ่ถกู ตอ้ง หรอื ไม ่ถกู ตอ้ง และ ไม ่ทราบ ดงั แสดง ใน ตาราง ที ่4 จะ สามารถ ชี ้ให ้เหน็ วา่ บคุลากร ซึง่ ดำรง ตำแหนง่ บริหาร ของ องค์การ บริหาร ส่วน ตำบล นั้น มี ความ รู้ ใน เรื่อง ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ อย่าง เพียง พอ ที่ จะ ใช้ ดูแล ตนเอง และ ให้ คำ แนะนำ แก่ บุคคล ใน ครอบครัว ผู้ ใต้ บังคับ บัญชา หรือ ประชาชน หรือ ไม่ อย่างไร ดัง ที่ ปรากฏ ใน หัวข้อ ต่อ ไป นี้

3.2ความรู้เรื่องยาชุดที่มีการปนอยู่ของสเตียรอยด์ สำหรับ ประเด็น ของ ความ รู้ เรื่อง ยา ชุด ที่ มี การ

ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ดัง แสดง ใน ตาราง ที่ 4 นี้ ชี้ ให้ เห็น ว่า บุคลากร ส่วน ใหญ่ ทราบ ว่า ยา ส เตีย รอย ด์ ที่ มี ใน ยา ชุด ทำให้ เกิด ผล ข้าง เคียง ต่อ ร่างกาย รอง ลง มา คือ ทราบ ว่า ยา ชุด ที่ มี ยา ส เตีย รอย ด์ มี ความ แรง จน เป็น อันตราย ต่อ ร่างกาย และ ยา ชุด ที่ ใช้ อาจ มี ยา ส เตีย รอย ด์ ปน อยู่ ที่ ระดับ ร้อย ละ 82.0, 77.2 และ 76.2 ตาม ลำดับ ส่วน ประเด็น ของ ความ รู้ 3 ลำดับ ตำ่ สดุ คอื ยา ส เตยี รอย ด ์ที ่ม ีใน ยา ชดุ ทำให ้เกดิ ภาวะ ตดิ เชือ้ โรค ได้ ง่าย ยา ส เตีย รอย ด์ ที่ มี ใน ยา ชุด ทำให้ เด็ก เติบโต ช้า และ ทราบ ว่า ยา ส เตีย รอย ด์ ที่ มี ใน ยา ชุด ทำให้ เกิด โรค ต้อกระจก ที่ ระดับ ร้อย ละ 41.8, 38.6 และ 30.2 ตาม ลำดับ

ตารางที่4ความ รู้ เรื่อง ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์

ความรู้เรื่องยาชุดที่มีการปนอยู่ของสเตียรอยด์[ร้อยละ(จำนวน)] ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ไม่ทราบ

1. ยาชุดที่ใช้อาจมียาสเตียรอยด์ปนอยู่

2. ยาชุดที่มียาสเตียรอยด์มีความแรงจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

3. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย

4. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

5. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

6. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน

7. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดภาวะติดเชื้อโรคได้ง่าย

8. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

9. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เกิดโรคต้อกระจก

10. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้เด็กเติบโตช้า

11. ยาสเตียรอยด์ที่มีในยาชุดทำให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง

76.2 (144)

77.2 (146)

82.0 (155)

57.1 (108)

46.0 (87)

68.3 (129)

41.8 (79)

62.4 (118)

30.2 (57)

38.6 (73)

46.0 (87)

1.1 (2)

2.1 (4)

0.0 (0)

2.6 (5)

3.7 (7)

0.0 (0)

6.3 (12)

1.6 (3)

7.9 (15)

3.7 (7)

1.6 (3)

22.8 (43)

20.6 (39)

18.0 (34)

40.2 (76)

50.3 (95)

31.7 (60)

51.9 (98)

36.0 (68)

61.9 (117)

57.7 (109)

52.4 (99)

รวม 56.9 (189) 2.8 (189) 40.3 (189)

Page 67: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

66 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

จาก ขอ้มลู ขา้ง ตน้ ชี ้ให ้เหน็ วา่ บคุลากร เหลา่ นัน้ ทราบ วา่ ยา ส เตยี รอย ด ์ที ่ม ีใน ยา ชดุ ทำให ้เกดิ ผล ขา้ง เคยีง ตอ่ รา่งกาย มี ความ แรง จน เป็น อันตราย ต่อ ร่างกาย และ ยา ชุด ที่ ใช้ นั้น อาจ มี ยา ส เตีย รอย ด์ ปน อยู่ ใน สัดส่วน ที่ สูง กว่า ร้อย ละ 75.0 ความ รู้ ที่ ถูก ต้อง โดย รวม อยู่ ใน สัดส่วน ร้อย ละ 56.9 และ มี ผู้ ที่ ไม่ ทราบ โดย รวม อยู่ ที่ ร้อย ละ 40.3

4.อภิปรายผลข้อ ค้น พบ ที่ น่า สนใจ จาก การ วิจัย เรื่อง ความ รู้ และ

พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของส เตีย รอย ด์ ของ บุคลากร ใน สังกัด กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น ใน ครั้ง นี้ คือ ประเด็น ของ วิธี การ จัดหา ยา ชุด มา รับ ประทาน หาก บุคลากร เหล่า นั้น ได้ รับ จาก คลินิก ด้วย วิธี การ เข้า รับ การ ตรวจ จาก แพทย์ หรือ การ รับ ยา จาก เภสัชกร ที่ มี ใบ ประกอบ โรค ศิลปะ ที่ ร้าน ขาย ยา แล้ว นั้น บุคลากร ผู้ นั้น จะ มี โอกาส เสี่ยง น้อย มาก ที่ จะ ได้ รับ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ และ มี ความ ปลอดภัย จาก ผล ข้าง เคียง ของ ยา แต่ หาก ได้ รับ ยา ชุด จาก ร้าน ขาย ยา ที่ ไม่ ได้ ขึ้น ทะเบียน หรือ ขาด การ ต่อ ทะเบียน กับ กระทรวง สาธารณสุข และ ผู้ ที่ทำการ จ่าย ยา ชุด นั้น ไม่ใช่ เภสัชกร ที่ มี ใบ ประกอบ โรค ศิลปะ ถือว่า การ จ่าย ยา ชุด เป็นการ กระทำ ที่ ผิด กฎหมาย และ สามารถ ก่อ ให้ เกิด อันตราย จาก การ ใช้ ยา ชุด ได้ และ ที่ สำคัญ ถ้า หาก ยา ชุด ที่ ได้ รับ มา นั้น มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ อาจ ทำให้ เกิด อันตราย และ ผล ข้าง เคียง ต่อ ผู้ ใช้ ยา ได้ อีก ทั้ง ใน ประเด็น ของ ความ รู้ เรื่อง ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ของ บุคลากร นั้น พบ ว่า บุคลากร ส่วน ใหญ่ มี ความ รู้ ที่ ถูก ต้อง ใน ด้าน การ เกิด ผล ข้าง เคียง ต่อ ร่างกาย ของ ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ และ ทราบ ว่า ยา ชุด ที่ ใช้ นั้น อา จมีส เตีย รอย ด์ ปน อยู่ ใน สัดส่วน ที่ สูง กว่า ร้อย ละ 75.0 แต่ ใน ด้าน ความ รู้ เรื่อง ผล ข้าง เคียง ต่างๆ ของ ส เตีย รอย ด์ นั้น ใน บาง อาการ ควร มี การ ให้ ความ รู้ แก่ บุคลากร เพิ่ม เติม สำหรับ ประเด็น พฤติกรรม การ ใช้ ยา ชุด มากกว่า ยา เม็ด เดี่ยว นั้น พบ ว่า ยัง มี บุคลากร 59 คน คิด เป็น ร้อย ละ 18.38 ที่ มี ความ ชอบ นี้ ทั้ง ที่ บุคลากร เหล่า นี้ มี ระดับ การ ศึกษา ระดับ บณัฑติ และ มหา บณัฑติ ซึง่ ดำรง ตำแหนง่ ผู ้บรหิาร ของ องคก์าร บริหาร ส่วน ตำบล เขา เหล่า นั้น อาจ ไม่รู้ เท่า ทัน ถึง อันตราย ที่ ร้าย แรง ที่ อาจ เกิด ขึ้น ได้ เมื่อ ใช้ ยา ชุด ที่ อาจ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์

5.สรุปและข้อเสนอแนะจาก ผล การ ศึกษา ดัง ที่ กล่าว มา ข้าง ต้น สามารถ ชี้ ให้

เห็น ได้ ว่า จาก ประเด็น ของ การ จำหน่าย ยา ชุด ใน ชุมชน ที่ อาศัย ที ่ม ีสดัสว่น ที ่สงู ถงึ รอ้ย ละ 86.2 แสดง ให ้เหน็ วา่ ความ สามารถ ใน การ เข้า ถึง ยา ชุด ของ ประชาชน นั้น สามารถ ทำได้ ง่าย ใน ปัจจุบัน ซึ่ง การ รับ ยา ที่ ร้าน ขาย ยา โดย บอก อาการ ที่ เจ็บ ป่วย แก ่เภสชักร จะ ม ีสดัสว่น ที ่สงู และ จาก การ สำรวจ ใน ดา้น ความ คิด เห็น เกี่ยว กับ ยา ชุด ว่า สามารถ หา ซื้อ ได้ ง่าย จาก ร้าน ขาย ยา ที่ อยู่ ใน สัดส่วน ที่ สูง ที่สุด แสดง ให้ เห็น ว่าการ จัดหา ยา ชุด มา รับ ประทาน ของ บุคลากร ส่วน ใหญ่ จะ มุ่ง ไป ที่ การ ซื้อ จาก ร้าน ขาย ยา และ พบ การ จ่าย ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ จาก ร้าน ขาย ยา ใน เขต ราชเทวี เขต ดุสิต และ เขต บางพลัด ทีท่ำการ ขึน้ ทะเบยีน อยา่ง ถกู ตอ้ง กบั กระทรวง สาธารณสขุ ของ ผู้ วิจัย แม้ จะ อยู่ ใน สัดส่วน ที่ น้อย กล่าว คือ ไม่ ถึง ร้อย ละ 50 แต่ การ สำรวจ ครั้ง นั้น ก็ แสดง ให้ เห็น ว่า มี ความ เสี่ยง ที่ จะ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด ที่ ได้ รับ สำหรับ ประเด็น ของ การ หา ซื้อ ตาม ร้าน ขาย ของชำ ที่ พบ ใน สัดส่วน ร้อย ละ 37.6 ซึ่ง ใน ประเด็น นี้ ไม่ น่า จะ เกิด ขึ้น ใน ทุกๆ พื้นที่ ของ ประเทศไทย เพราะ รา้น ขาย ของชำ เหลา่ นัน้ ไม ่ได ้ม ีสขุลกัษณะ และ การ ควบคุม คุณภาพ ของ ยา ที่ ดี อีก ทั้ง ผู้ ขาย ไม่ ได้ มี องค ์ความ รู ้เกีย่ว กบั ยา อาจ จา่ย ยา ชดุ ที ่หมด อาย ุเสือ่ม สภาพ หรือ ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ยา ส เตีย รอย ด์ โดยที่ ผู้ ซื้อ ไม่ ทราบ ว่า ตนเอง ได้ รับ ยา ส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด ที่ รับ ประทาน ดัง นั้น จะ เป็น หน้าที่ ของ กระทรวง สาธารณสุข ที่ จะ เข้า มา กำกับ ดูแล อย่าง ใกล้ ชิด และ องค์การ บริหาร ส่วน ตำบล ควร ช่วย กำกับ ดูแล เพื่อ ป้อง ปราม การ จ่ายส เตีย รอย ด์ จาก รา้น ขาย ยา โดย ไมม่ ีใบสัง่ ยา หรอื รา้น ขาย ยา ที ่ไม ่ได ้ขึน้ ทะเบยีน เพื่อ เพิ่ม ความ ปลอดภัย ใน การ ใช้ ยา ให้ กับ ประชาชน ใน ชุมชน และ กระทรวง สาธารณสุข ควร ทำการ จัด อบรม อย่าง น้อย ปี ละ 2 ครั้ง ให้ แก่ เจ้าของ กิจการ ร้าน ขาย ยา และ ลกูจา้ง รา้น ขาย ยา ให ้ได ้ตระหนกั ถงึ อนัตราย และ ผล ขา้ง เคยีง จาก การ ใช้ ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ยา ส เตีย รอย ด์ เพื่อ เพิ่ม ความ ระมัดระวัง ใน การ จ่าย ยาค รั้ง ต่อ ไป ส่วน ประเด็น ของ ความ รู้ เรื่อง ยา ชุด ที่ มี การ ปน อยู่ ของ ส เตีย รอย ด์ ของ บุคลากร นั้น พบ ว่า ส่วน ใหญ่ มี ความ รู้ เกี่ยว กับ ภาวะ กระดูก พรุน มาก ทีส่ดุ รอง ลง มา คอื การ เกดิ โรค กระเพาะ อาหาร อกัเสบ การ เกดิ อาการ บวม นำ้ อยู ่ใน สดัสว่น ที ่สงู กวา่ รอ้ย ละ 50 สว่น ประเดน็ ของ ความ รู ้เรือ่ง ผล ขา้ง เคยีง ที ่อาจ เกดิ ภาวะ นำ้ตาล ใน เลอืด สงู อาจ เกิด ภาวะ ติด เชื้อ โรค ได้ ง่าย อาจ เกิด ต้อกระจก อาจ ทำให้ เด็ก เติบโต ช้า และ อาจ ทำให้ กล้าม เนื้อ ลีบ อ่อน แรง นั้น อยู่ ใน สัดส่วน ที่ ต่ำ กว่า ร้อย ละ 50 ทั้ง สิ้น และ ความ รู้ ที่ ถูก ต้อง

Page 68: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Research Article

บ ท ค ว า ม จ า ก ง า น วิ จั ย

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 67

โดย รวม อยู่ ใน สัดส่วน ร้อย ละ 56.9 และ มี ผู้ ที่ ไม่ ทราบ โดย รวม อยู่ ที่ ร้อย ละ 40.3 ดัง นั้นหน่วย งาน ที่ เกี่ยวข้อง ควร เร่ง ประชาสัมพันธ์ ตาม สื่อ ต่างๆ และ แจก แผ่น พับ ให้ ความ รู้ ให้ ประชาชน ได้ ทราบ ถึง อันตราย และ ผล ข้าง เคียง ที่ เกิด ขึ้น จาก ยา ชุด และ ยา ส เตีย รอย ด์ ตาม สถาน พยาบาล และ ใน สถาน ที่ สาธารณะ หรือ ควร ทำการ รณรงค์ ให้ ประชาชน เลิก ใช้ ยา ชุด โดย เน้น ที่ การ เกิด โทษ และ ผลก ระ ทบ ต่อ ร่างกาย เป็น หลัก หรือ องค์การ บริหาร ส่วน ตำบล อาจ จัด ทำ โครงการ บริการ วิชาการ เพื่อ ให้ ความ รู้ แก่ ประชาชน ใน เรื่อง ดัง กล่าว เพื่อ เป็น การ พฒันา ศกัยภาพ ของ ประชาชน เพือ่ การ ดแูล ตนเอง ใน ดา้น การ ใช้ ยา ได้ อย่าง มี ประสิทธิภาพ มาก ขึ้น

6.กิติกรรมประกาศการ วจิยั ใน ครัง้ นี ้สำเรจ็ ได ้เนือ่งจาก ความ รว่ม มอื จาก

หลาย ฝ่าย ผู้ วิจัย ขอ ขอบคุณ คณะ ผู้ บริหาร และ เจ้า หน้าที่ ของ สถาบัน พัฒนา บุคลากร ท้อง ถิ่น ผอ.ธงชัย กิ ติ คุณา นนท์ ผู้ อำนวย การ สถาบัน พัฒนา บุคลากร ท้อง ถิ่น กรม ส่ง เสริม การ ปกครอง ท้อง ถิ่น กระทรวง มหาดไทย ทุก ท่าน ที่ ให้ ความ ร่วม มือ ใน การ ทำการ ศึกษา ครั้ง นี้ รวม ถึง อาจารย์ สาขา วิชา วทิยาศาสตร ์สุขภาพ และ ความ งาม และ สาขา วชิา วทิยาศาสตร ์สุขภาพ ทุก ท่าน ที่ ให้ คำ ปรึกษา เกี่ยว กับ วัตถุประสงค์ ของ การ วิจัย วิธี การ ดำเนิน การ วิจัย และ การ แปร ผล ข้อมูล ท้าย สุด นี้ ขอ ขอบพระคณุ สถาบนัวจิยั และ พฒันา มหาวทิยาลยั ราชภฏั สวนสุนันทา ให้การ สนับสนุน เงิน ทุน เพื่อ ให้การ ทำ วิจัย ครั้ง นี้ สำเร็จ ลุล่วง ได้ ด้วย ดี

เอกสารอ้างอิงจัน ทนี อิทธิ พา นิช พงศ์ นิ พัญจน์ อิศร เสนา ณ อ ยุทธ ยา

พิ สนธ์ จง ตระกูล ภัทร า นันท วัน วัชรี ลิม ปน สิทธิ กุล ส ุพ ีชา วทิย เลศิปญัญา สุมนา ชมพู ทวปี และ โสภ ิต ธรรม อาร ี(2552) เภสชัวทิยา. พมิพ ์ครัง้ ที ่4. กรงุเทพมหานคร: โรง พิมพ์ แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ณัฐวุธ สิบ หมู่ (2552) เภสัชวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฮ ลิ สติ ก พับ ลิซ ซิ่ง จำกัด.

พระ ราช บญัญตั ิยา พ.ศ. 2510, 2553. คน้คนื 15 พฤศจกิายน 2555 จาก http://www.moph.go.th/osp/minister _06/drug1.pdf

พิม พร ทอง เมือง และ ยุทธนา สุด เจริญ (2554) ร้าน ขาย ยา กับ การ จ่าย ยา ชุด แก้ ปวด เมื่อย ที่ มี ส เตีย รอย ด์: กรณี ศกึษา ใน เขต ราชเทว ีกรงุเทพมหานคร. กรงุเทพมหานคร: รายงาน การ วิจัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา.

พิมพร ทองเมือง และยุทธนา สุดเจริญ (2555) ร้าน ขาย ยา กับ การ จ่าย ยา ชุด แก้ ปวด เมื่อย ที่ มี ส เตีย รอย ด์: กรณี ศึกษา ใน เขต ดุสิต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: รายงาน การ วิจัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา.

(2555) ร้าน ขาย ยา กับ การ จ่าย ยา ชุด แก้ ปวด เมื่อย ที่ มี ส เตยี รอย ด:์ กรณ ีศกึษา ใน เขต บางพลดั กรงุเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: รายงาน การ วิจัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏ สวนสุนันทา.

วีร พันธ์ เจริญผล (2539) สาเหตุ ของ การ ตัดสิน ใจ ขาย ยา ชุด ใน ร้าน ชำ เขต ชนบท อำเภอ เมือง จังหวัด เลย. เชียงใหม่: รายงาน การ วจิยั ปรญิญา สาธารณสขุ ศาสตร มหา บณัฑติ, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สกาว รัตน์ ศุภ สาร ชมนาด วรรณ พร ศิริ จรรจา สัน ต ยา กร และ ทวศักัดิ ์ศริ ิพร ไพบลูย ์(2550) ประสบการณ ์การ ดแูล ตนเอง ของ ผู้ ป่วย ข้อ เข่า เสื่อม. วารสาร พยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร. 1 (1), 72 - 86.

อัมพร ค้า ไม้ (2538) ปัจจัย ที่ มี ผล ต่อ การ ใช้ ยา ชุด ของ ประชาชน ใน ชนบท: กรณี ศึกษา หมู่บ้าน ป่า สัก น้อย ตำบล เชิง ดอย อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญา สาธารณสุข ศาสตร มหา บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

อำไพ ทอง ยินดี (2547) การ วิเคราะห์ ปริ มาณส เตีย รอย ด์ ใน ยา ชุด ที่ มี จำหน่าย ใน อำเภอ เมือง จังหวัด นครปฐม ดว้ย เทคนคิ TLC และ HPLC. รายงาน การ วจิยั ปรญิญา นพินธ ์วทิยา ศาสตร บณัฑติ, สาขา วชิา เคม,ี มหาวทิยาลยั ราชภัฏ นครปฐม.

อุษา วดี สุ ตะ ภักดิ์ วุฒิ พงศ์ สัตย วงศ์ ทิพย์ และ สม ศักดิ์ อาภา ศรี ทอง สกุล (2544) ระบาด วิทยา และ พฤติกรรม สุขภาพ ใน เรื่อง การ ใช้ ยา ชุด ของ ประชาชน ใน จังหวัด มหาสารคาม. มหาสารคาม: รายงาน การ วจิยั มหาวทิยาลยั มหาสารคาม.

Bandura, A. (1977). Social Learning Theory. Englewood: Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Orem, D.E. (1980). Nursing Concepts of Practice (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 2, 328 - 335.

Page 69: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

68 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

"งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" คำขวัญ นี้ เคย ใช้ กัน อย่าง ติด หู ติดปาก ใน ยุค จอม พล สฤษดิ์

ธนะ รัช ต์ ซึ่ง รัฐบาล ใน สมัย นั้น ประชาสัมพันธ์ คำขวัญ ที่ ว่า นี้

เพื่อ ให้ ประชาชน ขยัน ขัน แข็ง ทำงาน หาเงิน โดย มุ่ง เน้น พัฒนา

เศรษฐกิจ ของ ประเทศ ให้ เจริญ ก้าวหน้า ทัดเทียม กับ นานา

อารยประเทศ ครั้น มา ใน ยุค นี้ มี ชาว สุข นิยม บาง คน กล่าว

เสริม ด้วย ว่า “สุข ใด ไหน จะ เท่า ล้วง กระเป๋า แล้ว เจอ ตังค์”

อย่างไร ก็ตาม คำ กล่าว เหล่า นี้ อาจ ไม่ เป็น จริง เสมอ ไป เสีย

แล้ว เมื่อ มี ผล งาน วิจัย เร็วๆ นี้ ของ มหาวิทยาลัย จอร์เจีย

ประเทศ สหรัฐอเมริกา ที่ ยืนยัน ว่า หาก คน เรา หักโหม ทำงาน

หาเงิน จน สมดุล ของ ชีวิต และ ครอบครัว เสีย ไป งาน กับ เงิน ก็

อาจ นำ ความ ทุกข์ มา ให้ แทนที่ จะ เป็น ความ สุข ดัง ที่ คาด หวัง

ทีม งาน วิจัย ดัง กล่าว ทำการ สำรวจ ใน ผู้ ปฏิบัติ งาน 1,525

คน พบ ว่า ใน สถานการณ์ ที่ การ ทำงาน เป็น อุปสรรค กับ ชีวิต

ครอบครวั หรอืเมือ่ ความ ตอ้งการ ของ ครอบครวั ม ีผลก ระ ทบ

ต่อ อาชีพ การ งาน ส่ง ผล ทำให้ ความ เสี่ยง ต่อ การ บาด เจ็บ

ของ ผู้ ปฏิบัติ งาน เพิ่ม ขึ้น ถึง ร้อย ละ 37 ใน ขณะ ที่ การ รับ รู้

“ชีวิตการทำงานที่สมดุล”นำไปสู่ความปลอดภัยในการทำงาน

รอง ศาสตราจารย์ สุ ดาว เลิศ วิ สุทธิ ไพบูลย์วท.ม. (สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย)

สาขา วิชา วิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร รมาธิ ราช

ของ ผู ้ปฏบิตั ิงาน ที่ ม ีตอ่ บรรยากาศ ความ ปลอดภยั ในเชงิ บวก

สามารถ ลด การ บาด เจ็บ จาก การ ทำงาน ได้ ถึง ร้อย ละ 32

บทความ จาก งาน วิจัย นี้ เขียน โดย Dave DeJoy และ

Todd Smith ตี พิมพ์ ใน Journal of Safety Research

ฉบับ เดือน มีนาคม ปี 2012 ซึ่ง ผู้ เขียน สรุป ว่า ชีวิต การ ทำงาน

ที่ สมดุล ส่ง ผลอ ย่าง มี นัย สำคัญ ต่อ ความ ปลอดภัย และ

ประสิทธิผล ใน การ ทำงาน

นอกจาก ผล การ วิจัย ดัง กล่าว แล้ว สถาบัน เพื่อ ความ

ปลอดภัย และ สุขภาพ ใน การ ทำงาน แห่ง ชาติ สหรัฐอเมริกา

(NIOSH) ยัง ได้ นำ เสนอ บทความ ใน ทิศทาง เดียวกัน ซึ่ง ระบุ

ว่า นายจ้าง ที่ ส่ง เสริม เกื้อ หนุน ให้ ลูกจ้าง มี ชีวิต การ ทำงาน ที่

สมดุล จะ ช่วย ลด ความ เสี่ยง ต่อ การ บาด เจ็บ จาก การ ทำงาน

ได้ โดย John Howard ผู้ อำนวย การ สถาบัน นี้ กล่าว ว่า

"การ คุ้มครอง และ ปรับปรุง ความ เป็น อยู่ ที่ ดี ของ ลูกจ้าง คือ

เปา้ หมาย ที ่ควร กำหนด รว่ม กนั ระหวา่ง ลกูจา้ง ครอบครวั และ

นายจ้าง ซึ่ง ปัจจุบัน มี ข้อมูล ที่ บ่ง ชี้ ออก มา มาก ขึ้น เรื่อยๆ ว่า

สภาพ แวดล้อม ใน การ ทำงาน และ ความ เป็น อยู่ โดย รวม ของ

คน ทำงาน มี ความ เชื่อม โยง ต่อ กัน อย่าง ยิ่ง” ทุก วัน นี้ นายจ้าง

ยุค ใหม่ จึง ปรับ เปลี่ยน ทัศนคติ แบบ เดิมๆ ที่ มุ่ง เน้น การ ใช้

แรงงาน อย่าง เต็ม ที่ และ เข้ม งวด ใน เรื่อง เวลา มา สู่ วิสัย ทัศน์ ใน

การ กำหนด นโยบาย ที่ ยืดหยุ่น มาก ขึ้น และ เอื้อ สิทธิ ประโยชน์

ที่ เหมาะ สม สำหรับ แรงงาน และ ครอบครัว เพื่อ ให้ มี ชีวิต ที่

สมดุล สอดคล้อง ตาม ธรรมชาติ ความ สมดุล ระหว่าง ชีวิต

การ ทำงาน กับ ชีวิต ด้าน อื่นๆ ของ คน จึง เป็น ประเด็น สำคัญ

ที่ พึง ตระหนัก ทั้ง ใน ระดับ บุคคล และ ระดับ องค์กร สำหรับ

ประเทศไทย ใน ชว่ง หลาย ป ีที ่ผา่น มา นี ้ทัง้ ภาค รฐั และ ภาค ธรุกจิ

ก็ มี การ กล่าว ถึง เรื่อง นี้ กัน อย่าง กว้าง ขวาง

Page 70: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Ergonomic

ก า ร ย ศ า ส ต ร์

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 69

สมดุลของชีวิตการทำงานคืออะไร?ท่าน ผู้ อ่าน คง เคย ได้ยิน คำ ว่า Work-Life Balance

(WLB) หรือ สมดุล ของ ชีวิต การ ทำงาน กัน บ้าง แล้ว ซึ่ง แม้

เรื่อง นี้ จะ เป็น ที่ สนใจ กัน อย่าง มาก ใน ปัจจุบัน แต่ แท้จริง แล้ว

แนวคดิ เรือ่ง ความ สมดลุ ระหวา่ง การ ใช ้ชวีติ กบั การ ทำงาน นัน้

เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ใน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศ แถบ

ตะวัน ตก ที่ ให้ ความ สนใจ ต่อ ชีวิต การ ทำงาน ที่ ดี ของ พนักงาน

โดย คำนึง ถึง ประเด็น แรงงาน หญิง ความ ปลอดภัย สุขภาพ

และ สังคม ตลอด จน ความ พึง พอใจ ใน การ ทำงาน เพื่อ ให้

คน ทำงาน มี คุณภาพ ชีวิต การ ทำงาน ที่ ดี ซึ่ง การ นิยาม ความ

หมาย ของ “สมดุล ของ ชีวิต การ ทำงาน” ก็ มัก แตก ต่าง กัน ไป

เนื่อง เพราะ สถานภาพ บทบาท และ ความ ต้องการ ที่ แตก ต่าง

กัน ใน แต่ละ บุคคล เช่น บาง คน มอง ว่า เป็นการ แบ่ง แยก

เวลา ของ ชีวิต ที่ ทำงาน กับ ชีวิต ที่ บ้าน ไม่ ปะปน กัน บ้าง ก็ เห็น ว่า

เป็น ความ ยืดหยุ่น ใน การ ทำงาน การ ไม่มี ความ ขัด แย้ง ใน

ชวีติ การ ทำงาน (Work-Life Conflict) ไป จนถงึ การ ปรบัปรงุ

สภาวะ แวดล้อม ใน การ ทำงาน เช่น จัด สิ่ง ความ สะดวก สบาย

สร้าง บรรยากาศ การ ทำงาน ที่ ดี เป็นต้น โดย สมดุล ของ ชีวิต

การ ทำงาน ใน มุม มอง ของ ผู้ ปฏิบัติ งาน มัก มี จุด ประสงค์ เพื่อ

สุขภาพ และ คุณภาพ ชีวิต การ ทำงาน ที่ ดี ใน ขณะ ที่ มุม มอง

ของ ผู้ บริหาร สมดุล ของ ชีวิต การ ทำงาน นอกจาก จะ ช่วย เพิ่ม

ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ของ องค์กร แล้ว ยัง เพื่อ ดึงดูด

และ รักษา บุคลากร ที่ มี ความ รู้ ความ สามารถ ให้ อยู่ กับ องค์กร

ไป นานๆ ด้วย

อยา่งไร กต็าม แมว้า่ จะ ม ีการ ตคีวาม “สมดลุ ของ ชวีติ

การ ทำงาน” ใน บรบิท ที ่หลาก หลาย แต ่กไ็ด ้ม ีการ ให ้นยิาม ของ

คำ นี้ โดย นัก วิชาการ และ องค์กร ต่างๆ อาทิ

Hutton A. (2005) ให้ คำ จำกัด ความ ว่า “สมดุล

ของ ชีวิต การ ทำงาน คือ ความ สามารถ ใน การ จัดการ บทบาท

และ ความ ต้องการ ด้าน ต่างๆ ของ ชีวิต ให้ มี ความ พอ เหมาะ

พอดี (Fit) หรือ มี ดุลยภาพ (Equilibrium)”

Work Life Balance Network แห่ง สห ราช-

อาณาจักร ให้ ความ หมาย ว่า คือ “ความ สมดุล ระหว่าง ภาระ

ผูกพัน ทาง ด้าน การ งาน กับ ภาระ ด้าน อื่น และ การ มี ทาง เลือก”

Alliance for Work-Life Progress แห่ง

สหรฐัอเมรกิา ให ้ความ หมาย วา่ คอื “การ ที ่องคก์ร ม ีการ จดัการ

แบบแผน การ ปฏบิตั ินโยบาย โครงการ และ ปรชัญา ที ่มุง่ เนน้

ให้ พนักงาน ทุก คนใน องค์กร ประสบ ความ สำเร็จ ทั้ง ชีวิต การ

งาน และ ชีวิต ที่ บ้าน”

สำหรับ ประเทศไทย สำนักงาน คณะ กรรมการ

ขา้ราชการ พลเรอืน (2548) ได ้นยิาม สมดลุ ของ ชวีติ การ ทำงาน

วา่ หมาย ถงึ “การ กำหนด เวลา ใน การ ดำเนนิ ชวีติ ให ้ม ีสดัสว่น ที ่

เหมาะ สม สำหรับ งาน ครอบครัว สังคม และ ตนเอง”

จาก หลายๆ นิยาม ข้าง ต้น จึง อาจ สรุป ได้ ว่า “สมดุล

ของ ชีวิต การ ทำงาน หมาย ถึง การ จัดการ บทบาท และ การ

บริหาร เวลา ใน การ ดำเนิน ชีวิต ให้ มี สัดส่วน ที่ เหมาะ สม สำหรับ

การ ทำงาน และ ชีวิต ด้าน อื่นๆ ทั้ง ครอบครัว สังคม และ ชีวิต

ส่วน ตัว ซึ่ง ความ สมดุล นี้ อาจ มี ความ แตก ต่าง กัน ใน แต่ละ

บุคคล และ แต่ละ สถานการณ์”

องค์ประกอบของสมดุลชีวิตการทำงานกอ่น ที ่บุคคล จะ จดัสรร การ ใช ้ชวีติ ระหวา่ง การ ทำงาน

กบั ดา้น อืน่ๆ ให ้สมดลุ พอ เหมาะ พอด ีได ้นัน้ จะ ตอ้ง ทราบ กอ่น

ว่า สุข ภาวะ และ คุณภาพ ชีวิต ที่ ดี ที่ จะ ทำให้ คน เรา มี ความ สุข

ใน การ ดำรง ชวีติ นัน้ ประกอบ ดว้ย ปจัจยั อะไร บา้ง ซึง่ โครงการ

พฒันา แหง่ สหประชาชาต ิ(UnitedNationsDevelopment

Program; UNDP) เสนอ แนะ ว่า ความ สุข ใน ภาพ รวม คือ

ความ พึง พอใจ ใน ชีวิต ความ เป็น อยู่ โดย รวม ซึ่ง เป็น ผลลัพธ์

สทุธ ิจาก ปจัจยั หลกัๆ 3 สว่น คอื ความ สขุ ของ คนครอบครวั

และสงัคม โดย UNDP ได ้กำหนด ตวั ชี ้วดั ความ กา้วหนา้ ของ

มนุษย์ เรียก ว่า ความ สุข แปด ประการ หรือ ที่ เรียก กัน สั้นๆ

ว่า “Happy8” ประกอบ ด้วย

1. Happy Body (สุขภาพ ดี) การ มี สุขภาพ แข็ง แรง

ทั้ง ร่างกาย และ จิตใจ

2. Happy Heart (น้ำใจ งาม) มี น้ำใจ เอื้อ อาทร ต่อ

กัน และ กัน มี สันติ รู้จัก ให้ อภัย

3. Happy Relax (รู้จัก ผ่อน คลาย) มี ความ ยืดหยุ่น

ต่อ สิ่ง ต่างๆ ใน การ ดำเนิน ชีวิต รู้จัก ผ่อน คลาย ความ เมื่อย ล้า

และ ความเครียด

4. Happy Brain (ม ีความ สขุ จาก การ เรยีน รู)้ พฒันา

สมอง ตัว เอง จาก การ ใฝ่ หาความ รู้ จาก แหล่ง ต่างๆ อยู่ เสมอ

5. Happy Soul (มี สุข ภาวะ ทาง จิต วิญญาณ) มี ที่

ยึด เหนี่ยว ทาง ใจ เช่น ศรัทธา ใน ศาสนา มี หลัก ปรัชญา ใน การ

ดำเนิน ชีวิต

6. Happy Money (มี ความ สุข ทางการ เงิน) ใช้ จ่าย

อย่าง พอดี รู้จัก เก็บ ออม ไม่ เดือด ร้อน ทางการ เงิน

7. Happy Family (ครอบครัว ดี) มี ครอบครัว ที่

อบอุ่น และ มั่นคง มี เวลา ให้ กัน และ กัน

Page 71: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

70 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

8. Happy Society (สังคม ดี) มี ความ รัก สามัคคี

เอื้อเฟื้อ ต่อ บุคคล รอบ ข้าง เพื่อน ร่วม งาน เพื่อน บ้าน อยู่ ใน

สภาพ แวดล้อม และ สังคม ที่ ดี

จาก หลัก Happy 8 นี้ เมื่อ แปร มา สู่ การ ปฏิบัติ ใน

การ สร้าง สมดุล ระหว่าง การ ทำงาน เพื่อ หา ราย ได้ เลี้ยง ชีพ กับ

การ ใช้ ชีวิต ใน ด้าน อื่นๆ นั้น บุคคล จะ ต้อง มี การ จัดสรร เวลา

ให้ เหมาะ สม เพื่อ สุข ภาวะ ทั้ง 8 ด้าน โดย องค์ ประกอบ ของ

ชีวิต การ ทำงาน ที่ สมดุล ประกอบ ด้วย การ วางแผน อนาคต

และ โครงการ ต่างๆ (Future Plans/Projects) การ งาน

อาชีพ (Job) การ ดูแล ตนเอง การ เล่น กีฬา ออก กำลัง กาย

(Self Care-Sport/Exercise) กิจกรรม ทาง สังคม

(Community Activities) ความ สัมพันธ์ ใน ครอบครัว

(Family Relationships) เพือ่น และ เพือ่น รว่ม งาน (Friends

& colleagues) จิต วิญญาณ ศาสนา ปรัชญา (Religious/

Spiritual Philosophical Concerns) และ งาน อดิเรก และ

สิ่ง ที่ สนใจ ชื่น ชอบ (Hobbies/Interests) ดัง ภาพ

เมื่อ พิจารณา ภาพ ข้าง ต้น จะ เห็น ว่าการ จัด สมดุล ของ

ชีวิต การ ทำงาน เป็นการ มอง ภาพ รวม (Holistic View) โดย

คำนึง ถึง องค์ ประกอบ ทั้ง ใน ด้าน การ ทำงาน หา ราย ได้ เลี้ยง ชีพ

และ การ ใช้ ชีวิต ด้าน อื่นๆ เช่น บทบาท ทาง ครอบครัว และ

สังคม การ ดูแล สุขภาพ ตลอด จน การ มี เวลา เป็น ส่วน ตัว

เพื่อ อยู่ กับ ตัว เอง หรือ ใช้ เวลา ทำ สิ่ง ที่ ตน รัก ฯลฯ แต่ ทั้งนี้

การ จัดสรร เวลา สำหรับ กิจกรรม ใน แต่ละ องค์ ประกอบ ให้

เหมาะ สม สำหรบั คน เรา นัน้ ยงั คง เปน็ ประเดน็ ที ่โต ้แยง้ กนั โดย

ที่มา: http://synchealthblog.wordpress.com

นัก วิชาการ ใน ปลาย ยุค 80 ได้ แนะนำ แนวทาง การ บริหาร

จัดการ เวลา สำหรับ คน ทำงาน ด้วย สูตร ง่ายๆ ที่ เรียก ว่า สูตร

8:8:8 คอื การ แบง่ เวลา 24 ชัว่โมง ใน หนึง่ วนั ออก เปน็ 3 สว่น

เท่าๆ กัน ส่วน ละ 8 ชั่วโมง คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง นอน หลับ

พัก ผ่อน 8 ชั่วโมง และ ส่วน ที่ เหลือ อีก 8 ชั่วโมง สำหรับ ทำ

กจิวตัร ประจำ วนั ดแูล ครอบครวั ทำ กจิกรรม ยาม วา่ง รวม ถงึ

การ เข้า สังคม

ภาพแสดงองค์ประกอบของสมดุลชีวิตการทำงาน

Page 72: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Ergonomic

ก า ร ย ศ า ส ต ร์

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 71

อย่างไร ก็ตาม ใน โลก ความ เป็น จริง นั้น สมดุล ของ

ชีวิต การ ทำงาน อาจ มี ความ แตก ต่าง กัน ขึ้น อยู่ กับ บทบาท

สถานการณ์ และ รูป แบบ การ ดำเนิน ชีวิต ของ แต่ละ บุคคล

โดย เฉพาะ ใน ยุค ปัจจุบัน ที่ คน ส่วน ใหญ่ ต้อง ทำงาน มาก ขึ้น

กว่า แปด ชั่วโมง เนื่องจาก ภาระ และ ค่า ครอง ชีพ ที่ สูง ขึ้น การ

แบ่ง เวลา ตาม สูตร 8:8:8 ใน ทาง ปฏิบัติ จึง ค่อน ข้าง เป็น ไป ได้

ยาก สำหรับ บาง คน ใน ขณะ เดียวกัน งาน บาง ประเภท ที่ ไม่ใช่

งาน กะ หรอื งาน บรกิาร ก ็อาจ ไม ่จำเปน็ ตอ้ง เขา้ ทำงาน ที ่ออฟฟศิ

ตั้งแต่ 8 โมง เช้า ถึง 5 โมง เย็น เหมือน ใน อดีต เพราะ ด้วย

เทคโนโลยี ที่ พัฒนา ก้าวหน้า ขึ้น มาก ช่วย ให้ พนักงาน สามารถ

ทำงาน ที่ไหน ก็ได้ จึง มี โอกาส ที่ จะ ผสม ผสาน การ ทำงาน กับ

การ ใช้ ชีวิต ใน ด้าน อื่นๆ ได้ ซึ่ง เป็น ที่มา ของ แนวคิด ที่ เรียก ว่า

“การ ผสม ผสาน ชีวิต กับ การ ทำงาน” (Work-Life Integra-

tion) โดย ยึด หลัก ไม่ แบ่ง แยก ว่า สิ่ง ที่ ทำ คือ การ ทำงาน แต่

มอง วา่การ ทำงาน เปน็ สว่น หนึง่ ของ การ ใช ้ชวีติ ซึง่ แตล่ะ บุคคล

ม ีทาง เลอืก ใน การ บรหิาร เวลา และ รปู แบบ การ ใช ้ชวีติ ให ้บรรล ุ

เป้า หมาย ของ ตน หรือ อาจ กล่าว ได้ ว่า เป็นการ จัดการ วิถี ชีวิต

ให้ สอดคล้อง สมดุล กัน ทั้ง ใน แง่ ของ ความ รับ ผิด ชอบ ใน การ

ทำงาน ควบคู่ ไป กับ ความ ต้องการ ของ ตนเอง และ ครอบครัว

ทั้งนี้ Greenhaus J. (2003) มี ความ เห็น ว่า สมดุล ของ การ

ทำงาน และ การ ใช้ ชีวิต ด้าน อื่นๆ เป็น ความ สมดุล ใน 3 ด้าน

คือ สมดุล ด้าน เวลา (Time Balance) สมดุล ด้าน การ มี

ส่วน ร่วม (Involvement Balance) และ สมดุล ด้าน ระดับ

ความ พึง พอใจ (Satisfaction Balance) ดัง นั้น หากบุคคล

สามารถบริหารเวลาในบทบาทหน้าที่การงานและความต้อง

การด้านต่างๆ ของชีวิตได้ลงตัวพอเหมาะพอดีกับตนเอง

ก็เรียกได้ว่าบุคคลนั้นมีชีวิตการทำงานที่สมดุล

วันนี้คุณมีชีวิตการทำงานที่สมดุลหรือยัง?เมื่อ อ่าน มา ถึง ตรง นี้ เชื่อ ว่า ท่าน ผู้ อ่าน คง อยาก ทราบ

ว่า ตัว เรา นั้น มี ชีวิต การ ทำงาน ที่ สมดุล หรือ ไม่ และ อยู่ใน ระดับ

ใด ซึ่ง ได้ มี นัก วิชาการ และ หน่วย งาน ที่ เกี่ยวข้อง จัด ทำ แบบ

ประเมิน ใน เรื่อง นี้ กัน หลาย รูป แบบ ใน ที่ นี้ ผู้ เขียน ได้ เลือก

แบบ วัด สมดุล ของ ชีวิต การ ทำงาน ของ Robert Holden

ผู้ เชี่ยวชาญ ด้าน จิตวิทยา และ ความ สุข ใน การ ทำงาน ชาว

สห ราช อาณาจักร มา ถอด ความ เป็น ภาษา ไทย แบบ ทดสอบ

นี้ มี ความ ครอบคลุม และ ชัดเจน โดย จำนวน ข้อ ไม่ มาก เกิน ไป

ผู้ สนใจ สามารถ ประเมิน ด้วย ตนเอง ได้ สะดวก รวดเร็ว ดังนี้

โปรดตอบคำถามโดยกาเครื่องหมาย ลงบนหมายเลขในแต่ละข้อตามความเห็นดังนี้

«ไม่เคย» «บางครั้ง» «บ่อยครั้ง» «เสมอเป็นประจำ»

1. ฉันใช้เวลาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการสร้างสมดุลของ

ชีวิตการทำงานที่ดีสำหรับตัวเอง

2. ฉันสร้างพลังความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองอย่างเป็น

รูปธรรมและต่อเนื่อง

3. ฉันบ่งชี้โอกาสในการทำงานที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับ

ความต้องการของฉันได้

4. ฉันหลีกเลี่ยงที่จะเริ่มงานเร็วกว่าปกติและเลิกงานช้า

กว่าปกติในวันทำงาน

5. ฉันหลีกเลี่ยงการไปทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์

6. ฉันไม่นำงานกลับบ้านไปทำให้เสร็จในตอนกลางคืน

7. ฉันให้ความสำคัญกับเครือญาติอันเป็นที่รัก โดยพวก

เขาเป็นศูนย์กลางในชีวิตของฉัน

8 . ฉันเพลิดเพลินกับช่วง เวลาพิ เศษและมีค่ ากับ

ครอบครัวและเพื่อนๆ ของฉัน

9. ฉันอุทิศเวลาและพลังงานในการสื่อสารกับคนอื่นๆ

อย่างมีประสิทธิภาพ

10. ฉันพยายามที่จะเข้าใจในมุมมองและแรงจูงใจของ

ผู้อื่น

แบบประเมินสมดุลของชีวิตการทำงาน

Page 73: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

72 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

โปรดตอบคำถามโดยกาเครื่องหมาย ลงบนหมายเลขในแต่ละข้อตามความเห็นดังนี้

«ไม่เคย» «บางครั้ง» «บ่อยครั้ง» «เสมอเป็นประจำ»

11. ฉันแสดงทัศนคติของตัวเอง เปิดใจและคิดบวก

เกี่ยวกับความสมดุลของชีวิต

12. ฉันคงไว้ซึ่งแรงจูงใจที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ด้วยตัวเอง

13. ฉันใช้ความฉลาดทางอารมณ์ « Emotional Intelli-

gence » เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความก้าวหน้า

14. ฉันมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้อย่าง

รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลง

15. ฉันวางแผนกิจกรรมยามว่างประจำสัปดาห์ที่ช่วยให้มี

สุขภาพดี

16. ฉันใช้เวลาว่างอย่างมีประสิทธิภาพและเพลิดเพลิน

กับกิจกรรมเหล่านั้น

17. ฉันกินอาหารเพื่อสุขภาพและใส่ใจในการรักษาสมดุล

ของอาหาร

18. ฉันออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งช่วยชาร์จแบตเตอรี่

ของฉันและทำให้มีพลัง

19. ฉันเอาใจใส่ที่จะใช้เวลากับคนที่มีความสำคัญที่สุดใน

ชีวิตของฉัน

20. ฉันวางแผนทุ่มเทเวลามากเพื่อความผ่อนคลายและ

ความบันเทิง

21. ฉันตระหนักและชื่นชมกับคุณค่าของตนเองที่มีต่อ

หน่วยงาน ครอบครัวและเพื่อนๆ

22. ฉันเชื่อในตัวเองและความสามารถที่จะบรรลุ

วัตถุประสงค์ของฉัน

23. ฉันเล็งเห็นถึงทางเลือกและการตัดสินใจที่มีผลกระทบ

ต่อความสมดุลของชีวิตและเรียนรู้จากกระบวนการเหล่านี้

24. ฉันนึกภาพภารกิจหลักที่จะต้องทำให้ชัดเจนก่อน

ลงมือปฏิบัติ

25. ฉันใช้หลัก « SMART1 » ในการวางแผนดำเนินการ

เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของฉัน

26. ฉันพยายามหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่

เกี่ยวข้อง

27. ฉันรับผิดชอบต่อการกระทำและสิ่งที่ฉันเลือก

28. ฉันเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง

29. ฉันใช้ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นเพื่อปรับปรุงสมดุล

ชีวิตของฉัน

30. ฉันพึงพอใจ ฉลองและให้รางวัลกับทุกความสำเร็จ

ส่วนตัวของฉัน

แบบประเมินสมดุลของชีวิตการทำงาน

1SMART คือหลักการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ประกอบด้วย 1) Specific หมายถึง การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เฉพาะเจาะจง

2) Measurable เป้าหมายนั้นจะต้องวัดความก้าวหน้าหรือวัดความสำเร็จได้ 3) Attainable หมายถึง เป้าหมายการทำงานจะต้องสามารถ

บรรลุได้ 4) Realistic กำหนดเป้าหมายในโลกของความเป็นจริง ไม่เพ้อฝันเลื่อนลอย 5) Time-Phased คือ มีการกำหนดกรอบระยะเวลา

ของความสำเร็จกำกับไว้อย่างชัดเจน

Page 74: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Ergonomic

ก า ร ย ศ า ส ต ร์

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 73

การแปลผล:นำ คะแนน ที่ ได้ ใน แต่ละ ข้อ มา รวม กัน

30 - 60 คะแนน: คุณ ทำงาน หนัก เกิน ไป ควร จัด ลำดับ ความ สำคัญ ภารกิจ ของ คุณ เสีย ใหม่

61 - 90 คะแนน: คุณ จัด สมดุล ของ ชีวิต การ ทำงาน ได้ ดี และ อาจ จะ ปรับปรุง ให้ ดี ยิ่ง ขึ้น ได้ อีก

91 - 120 คะแนน: คุณ รู้ จุด มุ่ง หมาย ใน ชีวิต ของ ตนเอง และ มี แรง บันดาล ใจ ที่ จะ มุ่ง ไป สู่ จุด หมาย ใน อนาคต ขอ ให้ คง ไว้ ซึ่ง

การเสริม สร้าง ทักษะ ที่ จะ สร้าง ความ สุข และ ความ สำเร็จ ต่อ ไป

หาก ท่าน ผู้ อ่าน ตรวจ สอบ ตัว เอง ดู แล้ว พบ ว่า มี ชีวิต

การ ทำงาน ที่ สมดุล โดย ได้ คะแนน ตั้งแต่ 61 ขึ้น ไป นับ ว่า ท่าน

เปน็ คน โชค ด ีทีส่ดุ เพราะ ผู ้ที ่ม ีชวีติ การ ทำงาน ที ่สมดลุ นัน้ จะ ม ี

ทั้ง ทักษะ การ ทำงาน ทักษะ การ ใช้ ชีวิต และ ทักษะ ทาง สังคม

รู้จัก บริหาร เวลา และ การ ใช้ ชีวิต อย่าง พอ เหมาะ พอดี ผล ที่ ได้

จึง มี ทั้ง ราย ได้ ผล ตอบแทน ความ ก้าวหน้า ใน อาชีพ การ งาน

สุขภาพ กาย ใจ และ สังคม ดี อีก ทั้ง ได้ รับ ความ สุข ใน ชีวิต ไป

พร้อมๆ กัน ด้วย สำหรับ ท่าน ผู้ อ่าน ที่ ได้ 60 คะแนน ลง ไป นั้น

แม้ว่า วัน นี้ สมดุล ระหว่าง การ ทำงาน กับ การ ใช้ ชีวิต ด้าน อื่นๆ

ของ ท่าน จะ ยัง ไม่ ลงตัว นัก ก็ตาม แต่ อย่า ลืม ว่า สุข หรือ ทุกข์

ใน ชีวิต นั้น อยู่ ที่ เรา เป็น สำคัญ อยาก สุข หรือ อยาก ทุกข์ เรา

เลือก เอง ได้ ทั้ง นั้น ท่าน จึง สามารถ ปรับ เปลี่ยน รูป แบบ การ ใช้

ชวีติ ได ้เสมอ เพือ่ ความ สุข ของ ตวั เอง และ คน รอบ ขา้ง โดย เริม่

จาก มอง ชีวิต แบบ องค์ รวม ทบทวน ตนเอง ว่า สิ่ง ที่ ต้องการ ใน

ชีวิต คือ อะไร กัน แน่ ใคร คือ คน สำคัญ ใน ชีวิต จาก นั้น กำหนด

เป้า หมาย ใน ชีวิต ให้ ชัดเจน แล้ว จัด ลำดับ ความ สำคัญ ของ

ภารกจิ ตา่งๆ เพือ่ ให ้บรรล ุเปา้ หมาย นัน้ ทัง้นี ้กอ่น อืน่ ทา่น ตอ้ง

มี ความ คิด ที่ จะ เปลี่ยน !!! และ ลงมือ ทำ!!!

“Thehappiestpeopledon'thavethebestofeverything,theyjustmakethebestofeverything.”

คนที่มีความสขุทีส่ดุไมใ่ช่คนที่"ม"ีทกุอยา่งที่ดีที่สุดแต่คือคนที่สามารถ"ทำ"ทุกอย่างในชีวิตให้ดีที่สุด

ฉบับ หน้า ผู้ เขียน จะ นำ เสนอ เคล็ด ไม่ ลับ ใน การ จัด

สมดุล ชีวิต การ ทำงาน ระดับ บุคคล เพื่อ จะ ได้ ทำงานให้สนุก

เปน็สขุเมือ่ทำงาน รวม ถงึ เทคนคิ ระดบั องคก์ร ใน การ กำหนด

นโยบาย และ โปรแกรม ดา้น สมดลุ ของ ชวีติ การ ทำงาน อนั เปน็

จุด เริ่ม ต้น ของ ความ ปลอดภัย และ สร้าง ความ สุข ใน ที่ ทำงาน

ให้ เป็น HappyWorkplace น่า สนใจ มาก โปรด ติดตาม

นะ คะ

เอกสารอ้างอิงเกษม สษิฐ ์แกว้ เกยีรตคิณุ (2551) สมดลุ ชวีติ การ ทำงาน. ใน

วารสารทรัพยากรมนุษย์ ปี ที่ 4 ฉบับ ที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2551. ภาณุ ภาคย์ พงศ์ อติชาต (2549) ความ สมดุล ระหว่าง ชีวิต

และ การ ทำงาน Work-life balance (1). ใน บทความ ของสำนกังาน คณะ กรรมการ ขา้ราชการ พลเรอืน. คน้ คนื วัน ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 จาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/

Andrew May. (2012). The NEST: The work/life balance myth. Retrieved November 7, 2012 from http://www.sbs.com.au/shows/thenest/tab-listings/detail/i/1/article/3582/

Chad Brooks. (2012). Work-life balance makes work safer. Retrieved November 5, 2012 from http:/www.businessnewsdaily.com/2114-work- life-balance-injuries.html

Greenhaus J., Collins K., Shaw D. (2003). The relation between work-family balance and quality of life. Journalof Vocational Behavior. 63 (3), 510 - 513.

Laura Walter. (2012). Employers: Encourage work-life balance to reduce injury risks. Retrieved November 5, 2012 from http://ehstoday.com/health/employers-encourage-work-life- balance-reduce-injury-risks

Robert Holden. (2012). Test: Assessing your work-life. Retrieved November 7, 2012 from http://www.executives-int.ch/medialibrary/site1/Life_Balance_Quiz.pdf

The European Agency for Safety and Health at Work (EU-OSHA). (2008). Work-life balance. Retrieved November 5, 2012 from http://osha.europa.eu/en/seminars/emerging-psychosocial-risks-related-to-osh/speech-venues/speeches/work-life-balance

Page 75: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

74 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

เครื่อง มือ ประเมิน ความ เสี่ยง ด้าน สุขภาพ ของ มนุษย์ ของ องค์การ อนามัย โลก (The World Health Organization (WHO) Human Health Risk Assessment Toolkit) ได้ รับ การ พัฒนา ขึ้น เพื่อ ช่วย ใน การ ตัดสินใจ เกี่ยว กับ สาร เคมี โดย ประเมิน ขนาด ของ ความ เสี่ยง ที่ จะ เกิด ขึ้น กับ มนุษย์ จาก การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี เครื่อง มือ นี้ ช่วย ให้ ผู้ ใช้ 1) ค้นหา ข้อมูล ใน การ ประเมิน ความ เป็น อันตราย การ ได้ รับ สัมผัส และ ความ เสี่ยงของ สาร เคมี และ 2) ใช้ ข้อมูล นี้ ใน การ ประมาณ การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี อนัตราย และ ความ เสีย่ง ตอ่ สุขภาพ ที ่เกดิ ขึน้ ตาม มา เครือ่ง มอื นี้ ใช้ ใน การ บอก สถานการณ์ ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ บริหาร จัดการ ด้าน สาธารณสุข เช่น หลัก เกณฑ์ การ ใช้ งาน แหล่ง ข้อมูล เป็นต้น ซึ่ง คำ อธิบาย ใน เครื่อง มือ นี้ สามารถ ที่ จะ ใช้ ใน การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ อุบัติ การณ์ ของ สาร เคมี การ ประเมิน แบบ ย้อน กลับ (Retrospective Evaluation) ที่ จัด ทำ ขึ้น เพื่อ สนับสนุน ข้อมูล ของ อุบัติ การณ์ ของ ความ เจ็บ ป่วย หรือ สิ่ง ที่ เกี่ยวข้อง และ การ วิเคราะห์ ไป ข้าง หน้า (Prospective Analysis) ของ ผลก ระ ทบ ของ นโยบาย ที่ ได้ เสนอ ไว้ การ ใช้ ประโยชน์ ที่ดิน การ ตัดสิน ใจ ใน การ บริหาร จัดการ ตัวอย่าง ของ การ ประเมนิ ความ เสีย่ง ได ้อธบิาย ไว ้ใน กรณ ีศกึษา ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ที่ อยู่ ใน ส่วน ที่ 5, 6 และ 7

ถึง แม้ว่า ชุด ทดสอบ นี้ เพียง ลำพัง จะ ไม่ สามารถ ตอบ คำถาม ต่างๆ ที่ เกี่ยว กับ ความ เสี่ยง จาก การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี ได้ ทั้งหมด แต่ จะ ให้ ข้อมูล ที่ จำเป็น ต่อ ผู้ เชี่ยวชาญ ด้าน สาธารณสุข และ สิ่ง แวดล้อม ผู้ รักษา กฎหมาย ผู้ จัดการ ทาง อุตสาหกรรม และ ผู้ ตัดสิน ใจ อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง กับ ความ

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์ขององค์การอนามัยโลก

รองศาสตราจารย์ ดร.ศริศักดิ์ สุนทรไชย, D.Sc.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปลอดภัย และ การ ป้องกัน ของ สาร เคมี เครื่อง มือ นี้ ได้ รับ การ พัฒนา ขึ้น โดย เฉพาะ สำหรับ ผู้ ที่ อย่าง น้อย ที่สุด ต้อง ผ่าน การ ฝึก อบรม ใน เรื่อง หลัก การ ประเมิน ความ เสี่ยง และ รับ ผิด ชอบ ใน การ ดำเนิน งาน ประเมิน ความ เสี่ยง เช่น นัก สาธารณสุข และ สิ่ง แวดล้อม นัก วิทยาศาสตร์ วิศวกร เป็นต้น และ ผู้ ที่ ต้อง ตัดสิน ใจ ใน การ จัดการ ความ เสี่ยง ต่อ สิ่ง แวดล้อม เช่น เจ้า หน้าที่ อยู่ ใน หน่วย งาน ที่ ควบคุม กำกับ ด้าน กฎหมาย ใน สิ่ง แวดล้อม หรือ ใน ภาค ธุรกิจ เอกชน เป็นต้น

Page 76: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Technology Update

ทั น โ ล ก เ ท ค โ น โ ล ยี

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 75

ชุด ทดสอบ นี้ ได้ รับ การ พัฒนา ขึ้น โดย องค์การ อนามัย โลก และ หน่วย งาน ระหว่าง ประ เท ศอื่นๆ เช่น การ ประชุม อภิปราย เกี่ยว กับ กลยุทธ์ การ จัดการ ความ เสี่ยง (Risk Management Strategies) ที่ อยู่ ใน เอกสาร ที่ สนับสนุน การ ดำเนิน งาน ของ องค์การ อนามัย โลก เรื่อง แนวทาง เพื่อ คุณภาพ ของ น้ำ ดื่ม (WHO Guidelines for drinking-water quality) ที่ สำคัญ คือ ความ ปลอดภัย ของ สาร เคมี ใน น้ำ ดื่ม: การ จัด ลำดับ ความ สำคัญ ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง เพื่อ การ จัดการ ความ เสี่ยง (Chemical safety of drinking water: assessing priorities for risk management) (WHO, 2007) นอกจาก นี้ องค์กร เพื่อ ความ ร่วม มือ และ พัฒนา ทาง เศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) กำลัง พัฒนา แหล่ง ข้อมูล ทาง อินเทอร์เน็ต เพื่อ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ทาง สิ่ง แวดล้อม ควบคู่ ไป กับ เครื่อง มือ นี้ (OECD, 2010d) ทำนอง เดียวกัน กับ ธนาคารโลก (World Bank) ซึ่ง ได้ สร้าง ชุด ฝึก อบรม ทาง อินเทอร์เน็ต (Internet-Based Training Modules) และ เครื่อง มือ ที่ สามารถ มี การ ปฏิสัมพันธ์ กัน ได้ (Interactive Tools) เพื่อ ช่วย ให้การ จัด ลำดับ ความ เสี่ยง และ การ บริหาร จัดการ ความ เสี่ยง บริเวณ ที่ ปน เปื้อน ด้วย สาร มลพิษ อินทรีย์ ที่ สลาย ยาก และ สาร อันต รา ย อื่นๆ (World Bank, 2010) เครื่อง มือ นับ ว่า เป็น จุด เริ่ม ต้น ของ เครือ ข่าย การ แลก เปลี่ยน ข้อมูล สาร เคมี (Chemical Information Exchange Network Initiative) ของ แผน งาน ด้าน สิ่ง แวดล้อม ของ สหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) เพื่อ เอื้อ ต่อ การ มี ปฏิสัมพันธ์ และ การ ถ่ายทอด ความ รู้ ระหว่าง เครือ ข่าย ของ ผู้ ที่ เกี่ยวข้อง ใน การ จัดการ สาร เคมี (UNEP, 2010)

เนื้อหาของเครื่องมือเครื่อง มือ นี้ เป็น คู่มือ ที่ กล่าว ถึง วิธี การ ค้นหา และ

จำแนก ความ เป็น อันตราย ของ สาร เคมี ประเมิน การ ได้ รับ สัมผัส ต่อ สาร เคมี และ พิจารณา ว่า การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี ดัง กล่าว เป็น อันตราย ทาง สาธารณสุข หรือ ไม่ เครื่อง มือ นี้ ยัง ให ้แหลง่ ขอ้มลู ที ่ประกอบ ดว้ย การ เชือ่ม ตอ่ ทาง อเิลก็ทรอนกิส ์(Electronic Links) ของ ข้อมูล การ ประเมิน ความ เสี่ยง และ ข้อมูล ที่ เผย แพร่ โดย องค์กร ระหว่าง ประเทศ หาก มี ช่อง ว่าง ของ ข้อมูล ที่ ได้ จาก องค์กร ระหว่าง ประเทศ จะ มี การ เลือก แนวทาง ทาง วิทยาศาสตร์ ที่ ยอมรับ กัน โดย ทั่วไป หรือ วิธี การ จาก แหลง่ ขอ้มลู ระดบั ชาต ิโดย ยดึ คำ ตดัสนิ ของ ผู ้เชีย่วชาญ ใน เครื่อง มือ นี้ ชุด เครื่องมือ นี้ จึง เน้น การ ประเมิน ความ เสี่ยง ต่อ

สุขภาพ เพื่อ ประชากร มนุษย์ และ ไม่ ครอบคลุม การ ประเมิน ความ เสี่ยง ต่อ สิ่ง แวดล้อม

ดัง ที่ กล่าว มา แล้ว ว่า เครื่อง มือ นี้ ดำเนิน การ พร้อม กับ เครื่อง มือ การ ประเมิน ความ สี่ ยง ต่อ สิ่ง แวดล้อม (Environmental Risk Assessment Toolkit) ที่ พัฒนา โดย OECD (OECD, 2010d) ลักษณะ ของ ความ เสี่ยง ต่อ สุขภาพ เป็น เป้า หมาย ของ วิธี การ ที่ อธิบาย ไว้ ใน เครื่อง มือ นี้ ดัง นั้น ทั้ง การ จัดการ ความ เสี่ยง และ การ สื่อสาร ความ เสี่ยง ซึง่ เปน็ องค ์ประกอบ ของ การ วเิคราะห ์ความ เสีย่ง ที ่สอดคลอ้ง กับ การ ประเมิน ความ เสี่ยง จะ อยู่ นอก ขอบเขต ของ เครื่อง มือ นี้

เพื่อ ที่ จะ ช่วย ใน การ ดำเนิน การ ประเมิน ความ เสี่ยง เครื่อง มือ นี้ ต้อง

1) จดั ให ้ม ีแนวทาง การ ดำเนนิ การ ประเมนิ ความ เสีย่ง ของ สาร เคมี

2) ระบุ ข้อมูล ที่ ต้อง รวบรวม เพื่อ ทำการ ประเมิน ได้ และ

3) จัด ให้ มี แหล่ง อ้างอิง ที่ ประกอบ ด้วย URL ของ แหลง่ ขอ้มลู ระหวา่ง ประเทศ ที ่ผู ้ประเมนิ สามารถ หา ขอ้มลู และ วิธี การ ที่ สำคัญ ต่อ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ได้

การ อธิบาย การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ใน เครื่อง มือ นี้ ครอบคลุม ตั้งแต่ การ เริ่ม ต้น จนถึง การ สิ้น สุด การ ประเมนิ รวม ทัง้ แนวทาง ของ การ เชือ่ม โยง กบั ขอ้มลู ตา่งๆ ดัง นั้น เครื่อง มือ นี้ จึง เป็น เหมือน กับ แนวทาง ที่ อธิบาย วิธี การ ที ่จะ ดำเนนิ การ ประเมนิ ความ เสีย่ง ของ สาร เคม ีแปล ผล ที ่เกดิ ขึ้น โดย ใช้ แหล่ง ข้อมูล สาธารณะ ที่ มี อยู่ จาก องค์กร ระหว่าง ประเทศ ต่างๆ แนวทาง นี้ อธิบาย เป็น กรณี ศึกษา ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ใน น้ำ ดื่ม อนุภาค ที่ สามารถ เข้า สู่ ทาง เดิน หายใจ ได้ และ สาร กำจัด ศัตรู พืช คำ อธิบาย ทั่วไป ใน ส่วน ที่ 3 ของ เครื่อง มือ และ กรณี ศึกษา ใน ส่วน ที่ 5 - 7 ทำให้ ผู้ ใช้ งาน สามารถ เข้าไป สู่ ส่วน ประกอบ ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี เชื่อม โยง แต่ละ ส่วน ประกอบ ไป ยัง แหล่ง ข้อมูล ระหว่าง ประเทศ ใน ขณะ ที่ แหล่ง ข้อมูล ระหว่าง ประเทศ ที่ ถูก อ้างอิง ใน เครื่อง มือ ต้องการ ความ เข้าใจ สถานการณ์ การ ได้ รับ สัมผัส ใน แต่ละ พื้นที่ จึง เป็น สิ่ง สำคัญ ที ่ตอ้ง ม ีความ รู ้ที ่ม ีคณุคา่ จาก หนว่ย งาน ที ่ม ีอำนาจ ทัง้ ใน ระดบั พื้นที่ และ ระดับ ระหว่าง ประเทศ นัก วิชาการ และ สถาบันวิจัย ต่างๆ ลูกจ้าง ผู้ จัดการ โรงงาน หรือ ประชาชน ใน ชุมชน ซึ่ง มี ข้อมูล ที่ เป็น ประโยชน์ และ สำคัญ เกี่ยว กับ ภูมิ หลัง ของ บริเวณ ที่ เกิด ปัญหา กระบวนการ หรือ ปัญหา การ ใช้ สาร เคมี ใน กจิกรรม ตา่งๆ ที ่มนษุย ์ทำ และ การ ใช ้พืน้ ดนิ ใน อดตี ปจัจุบนั และ อนาคต ที่ สามารถ นำ มา ใช้ เพื่อ ระบุ อันตราย ของ สาร เคมี หรือ ประเมิน การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี

Page 77: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

76 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

นอกจาก นี้ เอกสาร นี้ ยัง ได้ แสดง ขั้น ตอน ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ที่ ใช้ วิธี การ ใน การ ประเมิน ความ เสี่ยง ที่ สะท้อน ปัญหา และ ทรัพยากร ที่ มี อยู่ เช่น ขั้น ตอน ของ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ใน ระดับ สาร เคมี น้อย (Relatively Low-Level) ที่ ประกอบ ด้วย การ เปรียบ เทียบ ข้อมูล การ ได้ รับ สัมผัส ที่ มี อยู่ แล้ว ด้วย แนวทาง ที่ สามารถ ประยุกต ์ได ้(Applicable Guidance) หรอื คา่ที ่เปน็ แนวทาง (Guidance Value) สำหรับ สื่อ ต่างๆ ทาง สิ่ง แวดล้อม เช่น อากาศ เปน็ตน้ หรอื ทาง อา หาร ที ่เผย แพร ่โดย องคก์ร ระหวา่ง ประเทศ เครื่อง มือ นี้ เน้น ขั้น ตอน การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ใน ระดับ ที่ ต่ำ กว่า เดิม สถานการณ์ ที่ สามารถ อธิบาย การ ประยุกต์ ที่ ทำได้ จริง ของ ข้อมูล ที่ มี อยู่ เพื่อ ประเมิน ความ เสี่ยง ต่อ สุขภาพ ที่ เป็น ไป ได้ ของ การ ได้ รับ สัมผัส สาร เคมี ดงั นัน้ เครือ่ง มอื นี ้จงึ เนน้ สถานการณ ์จำลอง ของ สาร เคม ีและ การ ได้ รับ สัมผัส อย่าง เป็น เหตุ เป็น ผล ที่ ทราบ กัน เป็น อย่าง ดี ใน ขอ้มูล ทาง วทิยาศาสตร ์และ การ ต ีพมิพ ์เผย แพร ่โดย องคก์ร ระหว่าง ประเทศ เช่น องค์การ อนามัย โลก เป็นต้น

เครื่อง มือ ยัง จัด ให้ มี การ เชื่อม โยง วิธี การ ที่ ใช้ แหล่ง ข้อมูล เชิง ลึก เช่น การ จำแนก สาร เคมี ใหม่ หรือผลก ระ ทบ ต่อ สุขภาพ ใหม่ ที่ เกี่ยวข้อง กับ สาร เคมี ที่ มี อยู่ ใน กรณี เหล่า นั้น การ ประเมิน เชิง ปริมาณ ของ ความ เป็น พิษ ขึ้น กับ รูป แบบ การ ศึกษา กับ สัตว์ ทดลอง หรือ อาจ ต้องการ การ ศึกษา เชิง ระบาด วิทยา ประเภท ของ การ ประเมิน นั้น มัก ต้องการ การ ศึกษา ทาง ห้อง ปฏิบัติ การ ใหม่ หรือ การ ศึกษา เชิง สังเกต เพื่อ จำแนก สมบัติ ทาง กายภาพ และ พิษ วิทยา ของ สาร เคมี ซึ่ง อาจ ต้องการ เวลา เป็น เดือน หรือ เป็น ปี ที่ จะ ทำให้ สมบูรณ์ ข้อมูล ที่ ต้องการ สำหรับ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี หนึ่งๆ ได้ อธิบาย ใน เอกสาร ที่ เผย แพร่ โดย องค์กร ระหว่าง ประเทศ ต่างๆ ที่ ประกอบ ด้วย แนวทาง สำหรับ การ ทดสอบ สาร เคมี ของ OECD (OECD, 2010a)

เครื่อง มือ ได้ นำ เสนอ เป็น ส่วนๆ ดังนี้ส่วน ที่ 1 บทนำ ที่ บอก วัตถุประสงค์ และ ขอบเขต

ของ เอกสารส่วน ที่ 2 การ อธิบาย ราย ละเอียด ของ การ ประเมิน

ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ต่อ สุขภาพ ส่วน ที่ 3 การ อธิบาย ราย ละเอียด ของ เครื่อง มือส่วน ที่ 4 การ อ้างอิง แหล่ง ข้อมูล ระหว่าง ประเทศ

รวม แหลง่ ขอ้มูล ระดบั ภาค พืน้ และ ระดบั ชาต ิที ่ไม ่พบ ใน ระดบั นานาชาติ ซึ่ง เป็น ข้อมูล ที่ เป็น ประโยชน์ สำหรับ การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี

ส่วน ที่ 5 - 7 กรณ ีศกึษา ที ่แสดง ถงึ วธิ ีการ ใช ้เครือ่ง มอื เพื่อ ตอบ คำถาม การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ต่อ สุขภาพ และ รายการ อ้างอิง ที่ ประกอบ ด้วย URL ของ แหล่ง ข้อมูล ทั้งหมด ที่ ใช้ ใน การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ต่อ สุขภาพ

โดย สรุป แล้ว เครื่อง มือ ประเมิน ความ เสี่ยง ด้าน สขุภาพ ของ มนษุย ์ของ องคก์าร อนามยั โลก นี ้จะ เปน็ประโยชน ์ใน การ ประเมิน ความ เสี่ยง ของ สาร เคมี ต่อ สุขภาพ ซึ่ง จะ นำ ไป สู่ การ สื่อสาร ความ เสี่ยง และ การ จัดการ ความ เสี่ยง ต่อ มวล มนุษย์ อย่าง เป็น รูป ธรรม และ ถูก ต้อง มาก ยิ่ง ขึ้น

เอกสารอ้างอิงOECD. (2010a). OECD guidelines for the testing

of chemicals. Paris, Organisation for Eco-nomic Co-operation and Development (http://www.oecd.org/document/40/0,3343,en_2649 _34377_37051368_1_1_1_1,00.html, accessed 23 August 2010).

. (2010d). The OECD environmental risk assessment toolkit: tools for environmental risk assessment and management. Paris, Organisation for Economic Co-operation and Development (http://www.oecd.org/env/riskassesment/ toolkit, accessed 23 August 2010).

UNEP. (2010). Chemical Information Exchange Network (CIEN). Geneva, United Nations Environment Programme (http://www.estis.net/communities/CIEN/, accessed 23 August 2010).

WHO. (2007). Chemical safety of drinking-water: assessing priorities for risk management. Geneva, World Health Organization (http://www.who.int/water_sanitation_health/dwq/dwchem_safety/en/index.html, accessed 23 August 2010).

World Bank. (2010). Persistent organic pollutants toolkit. Washington, DC, The World Bank (http://www.popstoolkit.com/, accessed 23 August 2010).

www.who.int/ipcs/methods/.../areas/ra_toolkit/en/index.html

Page 78: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 77

เสียงในอุตสาหกรรม(2)การตรวจวัดเสียงจากสภาพแวดล้อมการทำงาน

ในโรงงานอุตสาหกรรม

ผู้ ช่วยศาส ตรา จาร ย์ ปราโมช เชี่ยวชาญ วศ.ม. (วิศวกรรม สิ่ง แวดล้อม) สาขา วิชา วิทยาศาสตร์ สุขภาพ มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร รมาธิ ราช

สืบ เนื่องจาก วา รสารฯ ฉบับ ที่ แล้ว ที่ กล่าว ถึง ความ รู้

ทั่วไป เกี่ยว กับ เสียง และ ภาพ รวม การ ตรวจ วัด เสียง ตาม

กฎหมาย ที่ เกี่ยวข้อง กับ โรงงาน อุตสาหกรรม (คือ การ ตรวจ

วดั เสยีง จาก สภาพ แวดลอ้ม การ ทำงาน ใน โรงงาน อตุสาหกรรม

และ การ ตรวจ วดั เสยีง จาก สิง่ แวดลอ้ม โดย ทัว่ไป การ ตรวจ วดั

เสียง รบกวน) ใน ฉบับ นี้ จะ กล่าว ถึง ราย ละเอียด พอ สังเขป ใน

ส่วน ของ กฎหมาย และ ข้อมูล/ความ รู้ ทาง วิชาการ ที่ น่า สนใจ

เกี่ยว กับ เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน ใน โรงงาน ดังนี้

1.กฎหมายประเทศไทยเกี่ยวกับเสียงจาก สภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงาน

การ ตรวจ วัด เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน ใน

โรงงาน อุตสาหกรรม หรือ อาจ กล่าว ได้ ว่า เป็นการ ตรวจ วัด

เสียง ใน งาน อาชีว อนามัย และ ความ ปลอดภัย หรือ ทาง ด้าน

สขุ ศาสตร ์อตุสาหกรรม (Industrial Hygiene) ม ีวตัถุประสงค ์

ที่ สำคัญ คือ เพื่อ ประเมิน การ สัมผัส เสียง สำหรับ เฝ้า ระวัง

และ ป้องกัน การ สูญ เสีย การ ได้ยิน ของ ผู้ ปฏิบัติ งาน ใน โรงงาน

อุตสาหกรรม

หนว่ย งาน ราชการ ที ่เกีย่วขอ้ง และ ม ีการ ออก กฎหมาย

กำหนด มาตรฐาน เสียง ใน สภาพ แวดล้อม การทำงาน ที่ สำคัญ

มี อยู่ 2 หน่วย งาน คือ กระทรวง แรงงาน และ กระทรวง

อุตสาหกรรม

กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครอง

แรงงาน ได้ ออก กฎหมาย เกี่ยว กับ เสียง ใน สภาพ แวดล้อม

การ ทำงาน คือ กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร

และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ

แวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และ

เสียงพ.ศ.2549

และ จาก กฎ กระทรวง ฉบบั นี ้ทำให ้เกดิ กฎหมาย ลำดบั

รอง เพื่อ เพิ่ม ราย ละเอียด และ ความ ชัดเจน ในการ ปฏิบัติ ตาม

กฎหมาย อีก หลาย ฉบับ คือ

- ประ กา ศก รมฯ เรื่อง หลัก เกณฑ์ วิธี การ ดำเนิน การ

ตรวจ วัด และ วิเคราะห์ สภาวะ การ ทำงานเกี่ยว กับ ระดับ

ความ ร้อน แสง สว่าง และ เสียง ภายใน สถาน ประกอบ กิจการ

ระยะ เวลา และ ประเภท กิจการ ที่ ต้อง ดำเนิน การ พ.ศ. 2550

- ประ กา ศก รมฯ เรื่อง แบบ คำขอ ขึ้น ทะเบียน เป็น

ผู้รับ รอง รายงาน การ ตรวจ วัด และ วิเคราะห์สภาวะ การ ทำงาน

พ.ศ. 2550

- ประ กา ศก รมฯ เรื่อง กำหนด สถาน ที่ ยื่น คำขอ

ขึ้น ทะเบียน เป็น ผู้รับ รอง รายงาน การ ตรวจ วัด และวิเคราะห์

สภาวะ การ ทำงาน ใน เขต กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552

- ประ กา ศก รมฯ เรื่อง หลัก เกณฑ์ และ วิธี การ จัด ทำ

โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ใน สถาน ประกอบกิจการ พ.ศ.

2553

รวม ทั้ง ได้ มี การ ออก แนว ปฏิบัติ ตาม กฎ กระทรวง

กำหนด มาตรฐาน ใน การ บริหาร และ การ จัดการ ด้าน ความ

ปลอดภัย อาชีว อนามัย และ สภาพ แวดล้อม ใน การ ทำงาน

เกี่ยว กับ ความ ร้อน แสง สว่าง และ เสียง พ.ศ. 2549 ด้วย

Page 79: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

78 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

สำหรับ กระทรวง อุตสาหกรรม โดย กรม โรงงาน

อตุสาหกรรม ได ้ออก กฎหมาย เกีย่ว กบั เสยีง ใน สภาพ แวดลอ้ม

การ ทำงาน คอื ประกาศกระทรวงอตุสาหกรรมเรือ่งมาตรการ

คุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงาน

เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.2546

สรุป ประเด็น สาระ ที่ สำคัญ ของ กฎหมาย ทั้ง 2

กระทรวง ดัง ตาราง ที่ 1

ตารางที่1สรุป สาระ สำคัญ กฎหมาย เกี่ยว กับ การ ตรวจ วัด เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรม

รายการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม

ประเภทกิจการ

ที่ต้องดำเนินการ

- กำหนด ประเภท กิจการ ที่ ต้อง ดำเนิน การ

ตรวจ วัด ระดับ เสียง ได้แก่ การ ระเบิด ย่อย โม่

หรือ บด หิน การ ผลิต น้ำตาล หรือ ทำให้ บริสุทธิ์

การ ผลิต น้ำแข็ง การ ปั่น ทอ โดย ใช้ เครื่องจักร

การ ผลิต เครื่อง เรือน เครื่อง ใช้ จาก ไม้ การ ผลิต

เยื่อ กระดาษ หรือ กระดาษ กิจการ ที่ มี การ ปั๊ม

หรือ เจียรโลหะ กิจการ ที่ มี แหล่ง กำเนิด เสียง

หรือ สภาพ การ ทำงาน ที่ อาจ ทำให้ ลูกจ้าง ได้ รับ

อันตราย เนื่องจาก เสียง

- กำหนด ประเภท กจิการ ที ่ตอ้ง ดำเนนิ การ ตรวจ วดั

ระดับ เสียง ไว้ ชัดเจน โดย ระบุ ตาม ประเภท/ชนิด

ของ โรงงาน [โร งง งาน ลำดบั ที ่ตา่งๆ ตาม ประเภท หรอื

ชนิด ของ โรงงาน ใน บัญชี ท้าย กฎ กระทรวง (พ.ศ.

2535) ออก ตาม ความ ใน พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535

รวม ทั้ง สิ้น 21 ประเภท ยก ตัวอย่าง เช่น โรงงาน

ลำดับ ที่ 3 (1) โรงงาน ที่ ประกอบ กิจการ เกี่ยว กับ

การ โม่ บด หรือ ย่อย หิน เป็นต้น]

การกำหนดการ

ตรวจวัดและวิเคราะห์/

คุณสมบัติผู้ตรวจวัด

และวิเคราะห์

- นายจา้ง ตอ้ง จดั ให ้ม ีการ ตรวจ วดั และ วเิคราะห ์

สภาวะ การ ทำงาน เกี่ยว กับ เสียง ภายใน สถาน

ประกอบ กิจการ ใน สภาวะ ที่ เป็น จริง ของ สภาพ

การ ทำงาน อย่าง น้อย ปี ละ หนึ่ง ครั้ง

กรณี ที่ มี การ ปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลง

เครื่องจักร อุปกรณ์ กระบวนการ ผลิต วิธี

การ ทำงาน หรือ การ ดำเนิน การ ใดๆ ที่ อาจ มี

ผล ต่อ การ เปลี่ยนแปลง ระดับ เสียง ให้ นายจ้าง

ดำเนิน การ เพิ่ม เติม ภายใน เก้า สิบ วัน นับ จาก

วัน ที่ มี การ ปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลง

- นายจ้าง ต้อง จัด ทำ รายงาน การ ตรวจ วัด

และ วเิคราะห ์สภาวะ การ ทำงาน โดย ให ้เจา้ หนา้ที ่

ความ ปลอดภัย ใน การ ทำงาน ระดับ วิชาชีพ หรือ

ให้ ผู้ สำเร็จ การ ศึกษา ไม่ ต่ำ กว่า ปริญญา ตรี สาขา

วิชา อาชีว อนามัย หรือ เทียบ เท่า ตาม ที่ ได้ ขึ้น

ทะเบยีน ไว ้เปน็ ผูร้บั รอง รายงาน และ ให ้นายจา้ง

เกบ็ รายงาน ดงั กลา่ว ไว ้ณ สถาน ประกอบ กจิการ

เพื่อ ให้ พนักงาน ตรวจ แรงงาน ตรวจ สอบ ได้

ตลอด เวลา ทำการ พร้อม ทั้ง ส่ง รายงาน คู่ ฉบับ

ต่อ อธิบดี หรือ ผู้ ซึ่ง อธิบดี มอบ หมาย ภายใน

สามสิบ วัน นับ แต่ วัน ที่ทำการ ตรวจ วัด

- ผู ้ประกอบ กจิการ โรงงาน ตอ้ง จดั ให ้ม ีการ ตรวจ วดั

วิเคราะห์ และ จัด ทำ รายงาน สภาพ แวดล้อม ใน การ

ทำงาน เกี่ยว กับ เสียง อย่าง น้อย ปี ละ 1 ครั้ง โดย มี

เจา้ หนา้ที ่ความ ปลอดภยั ใน การ ทำงาน ระดบั วชิาชพี

หรือ ผู้ สำเร็จ การ ศึกษา ไม่ ต่ำ กว่า ปริญญา ตรี ทาง

ด้าน วิทยาศาสตร์ เป็น ผู้รับ รอง รายงาน และ ให้ เก็บ

รายงาน ดงั กลา่ว ไว ้ณ ที ่ตัง้ โรงงาน ให ้พรอ้ม สำหรบั

การ ตรวจ สอบ ของ พนักงาน เจ้า หน้าที่

Page 80: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 79

รายการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม

อุปกรณ์และวิธี

การตรวจวัด

- การ ตรวจ วัด ระดับ เสียง ต้อง ใช้ อุปกรณ์ ที่ ได้

มาตรฐาน ของ คณะ กรรมาธกิาร ระหวา่ง ประเทศ

ว่า ด้วย เทคนิค ไฟฟ้า (International Electro-

technical Commission) หรือ เทียบ เท่า ดังนี้

(1) เครื่อง วัด เสียง ต้อง ได้ มาตรฐาน IEC651

Type 2 (2) เครื่อง วัด ปริมาณ เสียง สะสม ต้อง

ได้ มาตรฐาน IEC61252 (3) เครื่อง วัด เสียง

กระทบ หรือ เสียง กระแทก ต้อง ได้ มาตรฐาน

IEC61672 หรือ IEC60804

อุปกรณ์ ที่ ใช้ ตรวจ วัด ระดับ เสียง ตาม

วรรค หนึ่ง ต้อง ทำการ ปรับ เทียบ ความ ถูก ต้อง

(Calibration) ด้วย อุปกรณ์ ตรวจ สอบ ความ

ถูก ต้อง (Noise Calibrator) ที่ ได้ มาตรฐาน

IEC60942 หรือ เทียบ เท่า ตาม วิธี การ ที่ ระบุ

ใน คู่มือ การ ใช้ งาน ของ ผู้ ผลิต ก่อน การ ใช้ งาน

ทุก ครั้ง

- วธิ ีการ ตรวจ วดั ระดบั เสยีง ให ้ตรวจ วดั บรเิวณ

ที ่ม ีลกูจา้ง ปฏบิตั ิงาน อยู ่ใน สภาพ การ ทำงาน ปกต ิ

โดย ตั้ง ค่า เครื่อง วัด เสียง ที่ สเกล เอ (Scale A)

การ ตอบ สนอง แบบ ช้า (slow) และ ตรวจ วัด ที่

ระดับ หู ของ ลูกจ้าง ที่ กำลัง ปฏิบัติ งาน ณ จุด นั้น

รัศมี ไม่ เกิน สามสิบ เซนติเมตร

กรณี ใช้ เครื่อง วัด ปริมาณ เสียง สะสม ต้อง

ตั้ง ค่า ให้ เครื่อง คำนวณ ปริมาณ เสียง สะสม

(Threshold Level) ที่ ระดับ แปด สิบ เดซิ เบล

Criteria Level ที ่ระดบั เกา้ สบิ เดซ ิเบล Energy

Exchange rate ที่ ห้า ส่วน การ ใช้ เครื่อง วัด

เสียง กระทบ หรือ เสียง กระแทก ให้ ตั้ง ค่า ตาม ที่

ระบุ ใน คู่มือ การ ใช้ งาน ของ ผู้ ผลิต

- การ ตรวจ วัด ระดับ เสียง บริเวณ ที่ทำการ ตรวจ วัด

ต้อง เป็น บริเวณ ที่ มี การ ปฏิบัติ งาน ใน สภาพ การ

ทำงาน ปกติ การ ตรวจ วัด ต้อง เป็น บริเวณ ที่ มี ระดับ

เสียง สูง

สำหรับ วิธี การ ตรวจ วัด และ วิเคราะห์ ให้

เป็น ไป ตาม หลัก มาตรฐาน สากล เช่น มาตรฐาน

ของ Occupational Safety & Health

Administration (OSHA) มาตรฐาน ของ

National Institute Occupational Safety

and Health (NIOSH) เป็นต้น หรือ วิธี อื่น ใด

ที่ กรม โรงงาน อุตสาหกรรม เห็น ชอบ

มาตรฐานเสียง - กำหนด เป็น ค่า มาตรฐาน ระดับ เสียง ที่ ลูกจ้าง

ได้ รับ เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน ใน แต่ละ วัน

(Time Weighted Average; TWA) โดย กำหนด

ค่า มาตรฐาน ระดับ เสียง ตาม เวลา การ ทำงาน

ที่ ได้ รับ หรือ สัมผัส เสียง (กำหนด ไว้ ใน ตาราง

ที ่6 ทา้ย กฎ กระ ทร วงฯ) เชน่ ถา้ทำงาน8ชัว่โมง

ทำงานหรือเวลาการได้สัมผัสเสียง 8 ชั่วโมง

ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานต้อง

ไม่เกิน90เดซิเบล(เอ) ถ้า ทำงาน 12 ขั่วโมง

- กำหนด ให้ ผู้ ประกอบ กิจการ โรงงาน ต้อง ควบคุม

มิ ให้ บริเวณ ปฏิบัติ งาน ใน โรงงาน มี ระดับ เสียง เกิน

กว่า มาตรฐาน ที่ กำหนด (การ กำหนด มาตรฐาน

สอดคล้อง กับ ของ กระทรวง แรงงาน โดย มี สมการ

ใน การ คำนวณ หา เวลา ที ่ยอม ให ้ได ้รบั เสยีงเห มอื นกนั

คือ

8T = 2(L - 90)/5

Page 81: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

80 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

รายการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม

ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน ต้อง ไม่

เกิน 87 เดซิ เบล (เอ) เป็นต้น ทั้งนี้ มี สมการ

ใน การ คำนวณ หา เวลา ที่ ยอม ให้ ได้ รับ เสียง คือ

.......(1)

เมื่อ T หมาย ถึง เวลา การ ทำงาน ที่ ยอม

ให้ ได้ รับ เสียง (ชั่วโมง) L หมาย ถึง ระดับ เสียง

(เดซิ เบล เอ)

ใน กรณ ีบรเิวณ ที ่ลกูจา้ง ปฏบิตั ิงาน ม ีระดบั

เสียง ดัง ไม่ สม่ำเสมอ หรือ ลูกจ้าง ต้อง ย้าย การ

ทำงาน ไป ยงั จดุ ตา่งๆ ที ่ม ีระดบั เสยีง ดงั แตก ตา่ง

กนั ให ้ใช ้สูตร ใน การ คำนวณ หา ระดบั เสยีง เฉลีย่

ตลอด เวลา การ ทำงาน ใน แต่ละ วัน ดังนี้

D = {(C1/T

1) + (C

2/T

2) +.....+ (C

n/T

n)} X 100 ..(2)

TWA(8)= [16.61 X log (D/100)] + 90 ….(3)

เมื่อ D = ปริมาณ เสียง สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน

ได ้รบัหนว่ย เปน็ รอ้ย ละ C = ระยะ เวลา ที ่สมัผสั

เสียง T = ระยะ เวลา ที่ อนุญาต ให้ สัมผัส ระดับ

เสียง นั้นๆ TWA(8) = ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด

เวลา การ ทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน ทั้งนี้ ค่า TWA(8)

ที่ คำนวณ ได้ ต้อง ไม่ เกิน เก้า สิบ เดซิ เบล (เอ)

- กำหนด ระดับ เสียง สูงสุด (Peak) ของ

การทำงาน แต่ละ วัน จาก ค่า ระดับ เสียง เฉลี่ย

ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน (TWA) รวม ทั้ง

เสียง กระทบ หรือ เสียง กระแทก (Impact or

Impulse Noise) จะ ต้อง ไม่ เกิน กว่า 140

เดซิ เบล (เอ)

อย่างไร ก็ตาม ใน ตัว กฎ หมายไม่ กล่าว ถึง

ราย ละเอียด ใน กรณี บริเวณ ที่ ลูกจ้าง ปฏิบัติ งาน มี

ระดบั เสยีง ดงั ไม ่สมำ่เสมอ หรอื ลกูจา้ง ตอ้ง ยา้ย การ

ทำงาน ไป ยงั จดุ ตา่งๆ ที ่ม ีระดบั เสยีง ดงั แตก ตา่ง กนั)

- กำหนด หา้ม ม ิให ้บุคคล เขา้ไป ใน บรเิวณ ที ่ม ีเสยีง ดงั

เกิน กว่า 140 เดซิ เบล (เอ)

การดำเนินการกรณี

ระดับเสียงเกิน

มาตรฐาน

- ภายใน สถาน ประกอบ กิจการ ที่ สภาวะ การ

ทำงาน ม ีระดบั เสยีง ที ่ลูกจา้ง ได ้รบั เกนิ มาตรฐาน

ที่ กำหนด ให้ นายจ้าง ดำเนิน การ ปรับปรุง หรือ

แก้ไข สิ่ง ที่ เป็นต้น กำเนิด ของ เสียง หรือ ทาง

ผ่าน ของ เสียง หรือ การ บริหาร จัดการ เพื่อ ให้ มี

ระดับ เสียง ที่ ลูกจ้าง ได้ รับ อยู่ ไม่ เกิน มาตรฐาน

ที่ กำหนด

- บรเิวณ ปฏบิตั ิงาน ที ่ม ีระดบั เสยีง เกนิ กวา่ มาตรฐาน

ผู้ ประกอบ กิจการ โรงงาน ต้อง ปิด ประกาศ เตือน ให้

ทราบ ถึง บริเวณ ที่ มี เสียง ดัง เกิน มาตรฐาน ที่ กำหนด

8T =

2(L - 90)/5

Page 82: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 81

รายการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม

ใน กรณ ียงั ดำเนนิ การ ปรบัปรงุ หรอื แกไ้ข ตาม

วรรค หนึ่ง ไม่ ได้ นายจ้าง ต้อง จัด ให้ ลูกจ้าง สวม

ใส่ อุปกรณ์ คุ้มครอง ความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล

ตาม ที่ กำหนด ตลอด เวลา ที่ ทำงาน เพื่อ ลด

เสียง ให้ อยู่ ใน ระดับ ที่ ไม่ เกิน มาตรฐาน ที่ กำหนด

ไว้ และ ใน บริเวณ ที่ มี ระดับ เสียง เกิน มาตรฐาน

ที่ กำหนด นายจ้าง ต้อง จัด ให้ มี เครื่องหมาย เตือน

ให ้ใช ้อปุกรณ ์คุม้ครอง ความ ปลอดภยั สว่น บคุคล

ติด ไว้ ให้ ลูกจ้าง เห็น ได้ โดย ชัดเจน

ทั้งนี้ อุปกรณ์ คุ้มครอง ความ ปลอดภัย ส่วน

บุคคล จะ ต้อง มี มาตรฐาน ดังนี้

nปลั๊ก ลด เสียง (Ear Plugs) ต้อง ทำ

ด้วย พลาสติก ยาง หรือ วัสดุ อื่น ที่ อ่อน นุ่ม และ

ไม่ ระคาย เคือง ใช้ ใส่ ช่อง หู ทั้ง สอง ข้าง และ

สามารถ ลด เสียง ได้ ไม่ น้อย กว่า สิบ ห้า เดซิ เบล (เอ)

nครอบ หู ลด เสียง (Ear Muffs) ต้อง ทำ

ด้วย พลาสติก ยาง หรือ วัสดุ อื่น ที่ อ่อน นุ่ม และ

ไม ่ระคาย เคอืง ใช ้ครอบ หู ทัง้ สอง ขา้ง และ สามารถ

ลด ระดับ เสียง ลง ได้ ไม่ น้อย กว่า ยี่สิบ ห้า

เดซิ เบล (เอ)

และ นายจ้าง ต้อง จัด ให้ มี การ บริหาร จัดการ

เกี่ยว กับ วิธี การ เลือก และ การ ใช้ อุปกรณ์

คุ้มครอง ความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล โดย ต้อง

จัด ให้ ลูกจ้าง ได้ รับ การ ฝึก อบรม เกี่ยว กับ วิธี การ

ใช้ และ การ บำรุง รักษา อุปกรณ์ คุ้มครอง ความ

ปลอดภัย ส่วน บุคคล รวม ทั้ง ระเบียบ ใน การ ใช้

ต้อง จัด ทำ ขึ้น อย่าง มี ระบบ และ สามารถ ให้

พนักงาน ตรวจ แรงงาน ตรวจ สอบ ได้ ตลอด เวลา

ทำ การ

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

- ใน กรณ ีที ่สภาวะ การ ทำงาน ใน สถาน ประกอบ กิจการ มี ระดับ เสียง ที่ ลูกจ้าง ได้ รับ เฉลี่ย ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน แปด ชั่วโมง ตั้งแต่ แปด สิบ ห้า เดซิ เบล เอ ขึ้น ไป ให้ นายจ้าง จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ใน สถาน ประกอบ กิจการ ตาม หลัก เกณฑ์ และ วิธี การ ที่ อธิบดี ประกาศ กำหนด (ปัจจุบัน มี กฎหมาย เกี่ยว กับ เรื่อง นี้ คือ ประ กา ศ ก รมฯ เรือ่ง หลกั เกณฑ ์และ วธิ ีการ จดั ทำ โครงการ อนรุกัษ ์การ ไดย้นิ ใน สถาน ประกอบ กจิการ พ.ศ. 2553 )

- ไม่มีการระบุ

Page 83: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

82 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

จาก ตาราง ที่ 1 สรุป สาระ สำคัญ กฎหมาย เกี่ยว กับ

การ ตรวจ วัด เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน ใน โรงงาน

อุตสาหกรรม ทั้ง 2 กระทรวง พบ ว่า กฎหมาย ของ ทั้ง 2

กระทรวง ค่อน ข้าง สอดคล้อง กัน รวม ทั้ง ค่อน ข้าง สอดคล้อง

กับ ของ สำนักงาน บริหาร ความ ปลอดภัย และ อาชีว อนามัย

[Occupational Safety and Health Administration;

OSHA] ของ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ด้วย อย่างไร ก็ตาม พบ

ว่า กระทรวง แรงงาน มี การ ออก กฎหมาย เพิ่ม เติม เพื่อ เพิ่ม ราย

ละเอยีด และ ความ ชดัเจน ใน การ ปฏบิตั ิมากกวา่ ของ กระทรวง

อุตสาหกรรม ยก ตัวอย่าง เช่น ใน เรื่อง โครงการ อนุรักษ์ การ

ได้ยิน ดัง นั้น ใน ทาง ปฏิบัติ โรงงาน อุตสาหกรรม ซึ่ง ต้อง

ถูก กำกับ ดูแล จาก กระทรวง ทั้ง สอง อยู่ แล้ว จึง มีหน้า ที่ ต้อง

ปฏิบัติ ให้ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ของ ทั้ง สอง กระทรวง ทั้งนี้

ที่ สำคัญ ก็ เพื่อ ความ ปลอดภัย/สุขภาพ อนามัย ของ ผู้ ปฏิบัติ

งาน ใน โรงงาน

2.ข้อมูล/ความรู้ทางวิชาการที่น่าสนใจ2.1 กฎหมาย หรือ มาตรฐาน เสียง จาก สภาพ

แวดล้อม การ ทำงาน ใน โรงงาน อุตสาหกรรม ที่ กลา่ว ถึง ข้าง ต้น

เหมาะ สำหรับ ใช้ ประเมิน กับ สภาพ การ ทำงาน ที่ เป็น โรงงาน

อุตสาหกรรม เช่น กระบวนการ ผลิต ต่างๆ ที่ เกิด เสียง

คอ่น ขา้ง ดงั ไม่ควรนำไปใช้ประเมนิในสำนกังาน(office)โดย

ทั่วไป หาก จะ ประเมิน กับ ผู้ ปฏิบัติ งาน ใน สำนักงาน แล้ว ควร

ใช้ เกณฑ์ หรือ มาตรฐาน เสียง ใน อาคาร (Criteria for Indoor

Noise Environment) เช่น ค่า Noise Criteria โดย ใช้

NC Curves ค่า Preferred Noise Criteria โดย ใช้ PNC

Curves เป็นต้น ค่า เหล่า นี้ เป็น เกณฑ์/มาตรฐาน เสียง ของ

ต่าง ประเทศ (ประเทศไทย ยัง ไม่มี การ กำหนด กฎหมาย เสียง

เกี่ยว กับ เรื่อง นี้) ทั้ง นี้ เป็น เพราะ โดย ทั่วไป ใน สำนักงาน มัก มี

ระดับ เสียง ไม่ ค่อย ดัง อยู่ แล้ว ปกติ ระดับ เสียง อยู่ ที่ 50 - 70

dB(A) ดัง นั้น การ ประเมิน จึง ควร เน้น ที่ ความ รำคาญ (An-

noyance) การ รบกวน การ ตดิตอ่ สือ่สาร (Communication

Interference)

2.2 จาก กฎหมาย ขา้ง ตน้ ม ีศพัท ์ทาง วชิาการ ที ่สำคญั

ซึ่ง ควร ทำความ เข้าใจ คือ

- คา่ Criterion Level (Lc) หมาย ถงึ คา่ ระดบั

เสียง ที่ ยอม ให้ สัมผัส ได้ ใน 8 ชั่วโมง/วัน ตาม กฎหมาย หรือ

ค่า มาตรฐาน ที่ เสนอ แนะ อื่นๆ (โดย ทั่วไป นิยม กำหนด อยู่ที่

85 dB หรือ 90 dB) สำหรับ ประเทศไทยกฎหมาย กำหนด

ไว้ เท่ากับ 90 dB

- คา่ Exchange Rate หรอื Energy Exchange

Rate (Er) [ตำรา บาง เล่ม เรียก Equal energy] หมาย ถึง

ค่า ทาง ทฤษฎี ซึ่ง แสดง ถึง อัตรา ที่ พลังงาน เสียง เพิ่ม ขึ้น เป็น

2 เท่า เมื่อ ระดับ เสียง เพิ่ม ขึ้น ตาม ที่ กำหนด (โดย ทั่วไป ที่

นิยม กำหนด อยู่ 2 อัตรา คือ ที่ 3 dB หรือ 5 dB) สำหรับ

ประเทศไทย กฎหมาย กำหนด ไว ้เทา่กบั 5 dB {นอกจาก นี ้จาก

ค่า Exchange Rate นี้ ทำให้ การ คำนวณ เวลา การ ทำงาน ที่

ยอม ให้ ได้ รับ เสียง หรือ ระยะ เวลา การ สัมผัส เสียง [โดย ใช้

สมการ ที่ (1) ใน ตาราง ที่ 1] พบ ว่า กรณี ที่ ค่า ระดับ เสียง เพิ่ม

ขึ้น 5 dB(A) ส่ง ผล ให้ ระยะ เวลา การ สัมผัส เสียง ลด ลง ครึ่ง

หนึ่ง เช่น จาก ระดับ เสียง 90 dB(A) เพิ่ม ขึ้น ป็น 95 dB(A)

ระยะ เวลา การ สมัผสั เสยีง ลด ลง จาก 8 ชัว่โมง เหลอื 4 ชัว่โมง

เป็นต้น หรือ ใน ทาง กลับ กัน อาจ กล่าว ได้ ว่า เมื่อ ค่า ระดับ เสียง

ลด ลง 5 dB(A) พบ ว่า ระยะ เวลา การ สัมผัส เสียง เพิ่ม ขึ้น เป็น

2 เท่า เช่น จาก ค่า ระดับ เสียง 95 dB(A) ลด ลง เป็น 90

dB(A) ระยะ เวลา การ สัมผัส เสียง เพิ่ม ขึ้น จาก 4 ชั่วโมง เป็น

8 ชั่วโมง เป็นต้น}

- ค่า Threshold Level หมาย ถึง ค่า ระดับ เสียง

ต่ำ สุด ที่ เครื่อง วัด ปริมาณ เสียง สะสม (Noise Dosimeter)

จะ นำ ไป คำนวณ ปริมาณ เสียง สะสม ให้ สำหรับ ประเทศไทย

กฎหมาย กำหนด ไว้ เท่ากับ 80 dB {หมายความ ว่า ค่า ระดับ

เสียง ที่ ต่ำ กว่า 80 dB จะ ไม่ ถูก นำ มา คำนวณ หา ปริมาณ เสียง

สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน ได้ รับ ตาม สมการ ที่ (2) ใน ตาราง ที่ 1}

2.3 ข้อมูล เพิ่ม เติม เกี่ยว กับ ค่า มาตรฐาน เสียง จาก

สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน ของ ประเทศ ต่างๆ ดัง ตาราง ที่ 2

Page 84: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 83

ตารางที่2ค่า มาตรฐาน เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน บาง ประเทศ

Country

8-houraverageA-weighted

soundpressurelevel(dB)

Exchangerate(dB)

8-houraverageA-wtdlimitforengineeringoradministrativecontrols(dB)

8-houraverageA-wtdlimitforMonitoringhearing(dB)

Upperlimitforpeaksound

pressurelevel(dB)

Australia

(varies by state)

85 3 85 85 140 unwgted

peak

Finland 85 3 90

France 85 3 90 85 135 C peak

Germany 85 3 90 85 140 C peak

Spain 85 3 90 80 140 C peak

Argentina 90 3 110 A Slow

Chile 85 5 140 unwgted

peak or 115 A

Slow

China 70 - 90 3 115 A Slow

India 90 140 A peak

Japan 90 85Hearing

protection mandatory

at 90

85

New Zealand 85 3 85 85 140 unwgted peak

USA:OSHA

NIOSH*ACGIH**

90

8585

5

33

90 85

85

140 C peak or 115 A Slow140 A peak140 C peak

หมายเหตุ * NIOSH = National Institute for Occupation Safety and Health

** ACGIH = American Conference of Governmental Industrial Hygienists

จาก ตาราง ที่ 2 มี ข้อ น่า สังเกต ว่า ค่า Lc ส่วน มาก

นิยม ใช้ ที่ 85 dB(A) และ ค่า Er ส่วน มาก นิยม ใช้ ที่ 3 dB

สำหรบั ประเทศ สหรฐัอเมรกิา หนว่ย งาน ทาง วชิาการ (NIOSH

และ ACGIH) เอง ก็ แนะนำ ให้ ใช้ ค่า Lc เท่ากับ 85 dB(A)

และ ค่า Er เท่ากับ 3 dB อย่างไร ก็ตาม การ บังคับ ใช้ ตาม

กฎหมาย (OSHA) กำหนด ให้ ใช้ ค่า Lc เท่ากับ 90 dB(A)

และ ค่า Er เท่ากับ 5 dB ซึ่ง กฎหมาย ของ ประเทศไทย เอง มี

กำหนด ค่า มาตรฐาน ค่อน ข้าง สอดคล้อง กับ ของ OSHA

ที่มา: คัดลอกและปรับปรุงบางส่วนจาก WHO, Occupation Exposure to Noise: Evaluation, Prevention and Control, 2001.

Page 85: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

84 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

2.4 จาก ตาราง ที ่1 (กฎหมาย ของ ประเทศไทย) พบ วา่

สมการ หรอื สตูร ที ่ใช ้ใน การ คำนวณ เกีย่ว กบั การ ตรวจ วดั เสยีง

จาก สภาพ แวดล้อม การ ทำงาน มี ทั้งหมด 3 สมการ คือ

สมการ คำนวณ หา ระยะ เวลา การ ทำงาน ที่ ยอม ให้ ได้

รับ เสียง หรือ สัมผัส เสียง

……(1)

เมือ่ T หมาย ถงึ เวลา การ ทำงาน ที ่ยอม ให ้ได ้รบั เสยีง

(ชั่วโมง) L หมาย ถึง ระดับ เสียง (เดซิ เบล เอ)

สมการ คำนวณ หา ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด เวลา การ

ทำงาน ใน แตล่ะ วนั ใน กรณ ีบรเิวณ ที ่ลกูจา้ง ปฏบิตั ิงาน ม ีระดบั

เสียง ดัง ไม่ สม่ำเสมอ หรือ ลูกจ้าง ต้อง ย้าย การ ทำงาน ไป ยัง

จุด ต่างๆ ที่ มี ระดับ เสียง ดัง แตก ต่าง กัน

D = {(C1/T

1) + (C

2/T

2) +.....+ (C

n/T

n)} X 100 ……(2)

TWA(8)= [16.61 X log (D/100)] + 90 ……(3)

เมื่อ D = ปริมาณ เสียง สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน ได้ รับ

(หน่วย เป็น ร้อย ละ) C = ระยะ เวลา ที่ สัมผัส เสียง T = ระยะ

เวลา ที่ อนุญาต หรือ ยอม ให้ ได้ รับ เสียง หรือ ให้ สัมผัส ระดับ

เสียง นั้นๆ และ

TWA(8) = ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน

8 ชั่วโมง/วัน

สมการ (1), (2), (3) ที่ กล่าว ข้าง ต้น เป็น สมการ ที่ ใช้

ใน กรณี ที่ ค่า Lc เท่ากับ 90 dB และ ค่า Er เท่ากับ 5 dB

อยา่งไร กต็าม เนือ่งจาก คา่ Lc มกั นยิม เลอืก ใช ้อยู ่สอง คา่ คอื

85 dB หรือ 90 dB และ ค่า Er ก็ เช่น เดียวกัน คือ 5 dB

หรือ 3 dB ดัง นั้น จึง ขอ เพิ่ม ความ เข้าใจ ทาง วิชาการ กรณี ที่

ต้องการ คำนวณ ที่ ค่า Lc และ ค่า Er ที่ เปลี่ยน ไป เป็น ค่า อื่นๆ

สามารถ คำนวณ ได้ ดังนี้

กรณี ต้องการ คำนวณ หา ระยะ เวลา การ ทำงาน ที่ ยอม

ให้ ได้ รับ เสียง หรือ สัมผัส เสียง คำนวณ ได้ จาก

……(4)

กรณี ต้องการ คำนวณ หา ค่า TWA(8) หรือ ค่า ระดับ

เสยีง เฉลีย่ ตลอด เวลา การ ทำงาน 8 ชัว่โมง/วนั จาก คา่ DOSE

หรือ ค่า ปริมาณเสียง สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน ได้ รับ สามารถ

คำนวณ ได้ จาก

TWA(8) = {10 log ( )[Er/(10log2)]}+Lc ……(5)

หาก แทน ค่า Er เท่ากับ 5 dB และ ค่า Lc เท่ากับ 90

dB ใน สมการ ที่ (5) จะ ได้ สมการ ที่ (3) ถ้า แทน ค่า Er เท่ากับ

3 dB และ ค่า Lc เท่ากับ 85 dB จะ ได้ สมการ ดังนี้

TWA(8)= [10 X log (D/100)] + 85 ……(6)

2.5 ประเด็น ฝาก ไว้ พิจารณา เกี่ยว กับ การ ตรวจ วัด

เสยีง จาก สภาพ แวดลอ้ม การ ทำงาน ตาม กฎหมาย ประเทศไทย

(กล่าว ถึง เฉพาะ ใน กรณี ที่ มี การ กำหนด ค่า Lc เท่ากับ 90 dB

และ ค่า Er เท่ากับ 5 dB)

1) จาก กฎหมาย มี การ กำหนด อุปกรณ์ และ

มาตรฐาน ของ อุปกรณ์ ที่ ใช้ ใน การ ตรวจ วัด ไว้ (ราย ละเอียด

ดัง ที่ ระบุ ไว้ ใน ตาราง ที่ 1) ดัง นั้น ใน การ ตรวจ วัด เพื่อ ความ ถูก

ต้อง อุปกรณ์ ต่างๆ ต้อง ได้ มาตรฐาน ตาม ที่ กำหนด นอกจาก

นี ้ใน ปจัจบุนั คณะ กรรมาธกิาร ระหวา่ง ประเทศ วา่ ดว้ย เทคนคิ

ไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission;

IEC) ได้ ออก มาตรฐาน ใน การ ผลิต เครื่อง วัด ระดับ เสียง ขึ้น

ใหม่ คือ IEC61672: 2002 Electroacoustics Sound

Level Meters และ ยกเลิก มาตรฐาน เดิม คือ IEC60651

และ IEC60804 อย่างไร ก็ตาม เนื่องจาก เครื่อง วัด ระดับ เสียง

ที่ ใช้ งาน ใน ปัจจุบัน อาจ มี บาง ส่วน ได้ มาตรฐาน IEC60651

และ IEC60804 อยู่ รวม ทั้ง เพื่อ ให้ สอดคล้อง กับ กฎหมาย

ดัง กล่าว ข้าง ต้น ดัง นั้น ใน การ ตรวจ วัด จึง สามารถ เลือก ใช้ได้

ทั้ง สาม มาตรฐาน ตาม ความ เหมาะ สม

ใน การ ตรวจ วัด ระดับ เสียง กรณี ใช้ เครื่อง วัด ระดับ

เสี ยง (Sound Level Meter) ก่อน การ ใช้ งาน ต้อง ตั้ง ค่า

ของ เครื่อง ที่ สเกล เอ (Scale A) การ ตอบ สนอง แบบ ช้า

(Slow) [เน้นว่าการตรวจวัดเสียงในงานอาชีวอนามัยต้อง

ตั้งวงจรถ่วงน้ำหนักเวลา (Time weighting network)

ของเครื่องฯเป็นการตอบสนองแบบช้า]

- หาก ลักษณะ ของ เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ

ทำงาน เป็น เสียง ดัง ต่อ เนื่อง แบบ คงที่ (Steady - State

Noise) ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน การ ตรวจ วัด สามารถ ใช้

เครือ่ง วดั ระดบั เสยีง (Sound Level Meter) ทัง้ แบบ Sound

Level Meter ธรรมดา และ แบบ Integrating - Averaging

Sound Level Meter ได้ โดย การ ประเมิน เมื่อ ได้ ข้อมูล ค่า

8T =

2(L - Lc)/Er

8T =

2(L - 90)/5

100D

Page 86: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 85

ระดับ เสียง (L) แล้ว รวม ทั้ง มี ข้อมูล ระยะ เวลา การ สัมผัส

เสียง ของ ผู้ ปฏิบัติ งาน ก็ สามารถ ประเมิน การ สัมผัส เสียง ของ

พนกังาน ได ้วา่ เกนิ หรอื ไม ่เกนิ คา่ มาตรฐาน [คา่ มาตรฐาน ระดบั

เสียง ที่ ลูกจ้าง ได้ รับ เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน ใน แต่ละ วัน

(Time Weighted Average; TWA) เป็นการ กำหนด ค่า

มาตรฐาน ระดับ เสียง ตาม เวลา การ ทำงาน ที่ ได้ รับ หรือ สัมผัส

เสียง (กำหนด ไว้ ใน ตาราง ที่ 6 ท้าย กฎ กระ ทร วงฯ) เช่น

ถ้าทำงาน 8 ชั่วโมงทำงานหรือเวลาการได้สัมผัสเสียง

8ชั่วโมงระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานต้องไม่เกิน

90เดซิเบล(เอ) ถา้ ทำงาน 12 ชัว่โมง ระดบั เสยีง เฉลีย่ ตลอด

เวลา การ ทำงาน ต้อง ไม่ เกิน 87 เดซิ เบล (เอ) เป็นต้น]

- หาก ลักษณะ ของ เสียง จาก สภาพ แวดล้อม การ

ทำงาน เป็น เสียง ดัง ต่อ เนื่อง แบบ ไม่ คงที่ (Non Steady

- State Noise) หรือ มี ระดับ เสียง ดัง ไม่ สม่ำเสมอ

(Fluctuation Noise) และ/หรือ ลูกจ้าง ต้อง ย้าย การ ทำงาน

ไป ยัง จุด ต่างๆ ที่ มี ระดับ เสียง ดัง แตก ต่าง กัน

ในการตรวจวดัหากตอ้งการผลการตรวจวดั/ประเมนิ

ที่ถกูตอ้งแมน่ยำตอ้งใช้เครือ่งวดัปรมิาณเสยีงสะสม(Noise

Dosimeter)ในการตรวจวัด เพราะ เครื่อง ดัง กล่าว สามารถ

บันทึก ข้อมูล ระดับ เสียง ต่างๆ ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน สัมผัส และ

ข้อมูล ระยะ เวลา ที่ สัมผัส ระดับ เสียง นั้นๆ ตลอด ระยะ เวลา

การ ทำงาน รวม ทั้ง สามารถ คำนวณ ค่า D (ปริมาณ เสียง

สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน ได้ รับ) ตาม สมการ ที่ (2) ข้าง ต้น พร้อม

รายงาน ผล [แต่ อย่า ลืม ต้อง ตั้ง ค่า Threshold Level ที่

80 dB ค่า Criteria Level ที่ 90 dB และ ค่า Exchange

rate ที่ 5 dB]

หาก ใช้ เครื่อง วัด ระดับ เสียง (Sound Level Meter)

แบบ Sound Level Meter ธรรมดา (สามารถ ตรวจ วัด ได้

เฉพาะ ค่า Sound Pressure Level) ใน การ ตรวจ วัด ใน

ทาง ปฏิบัติ กระทำ ได้ ยาก มาก เพราะ การ ที่ จะ ได้ มา ซึ่ง ข้อมูล

ค่า ระดับ เสียง แต่ละ ค่าที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน สัมผัส และ ข้อมูล ระยะ

เวลา ที ่สมัผสั ระดบั เสยีง นัน้ๆ ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน เพือ่

ที่ จะ นำ มา คำนวณ ค่า D (ปริมาณ เสียง สะสม ที่ ผู้ ปฏิบัติ งาน

ได้ รับ) ตาม สมการ ที่ (2) ข้าง ต้น นั้น ทาง ผู้ ตรวจ วัด ต้อง

ดำเนิน การ เก็บ ข้อมูล เอง ทำให้ ไม่ สะดวก และ ลำบาก ใน ทาง

ปฏิบัติ เป็น อย่าง มาก

สำหรบั กรณ ีที ่ใช ้เครือ่ง วดั ระดบั เสยีง (Sound Level

Meter) แบบ Integrating - Averaging Sound Level

Meter อาจ ใช ้ความ สามารถ ของ เครือ่ง ที ่สามารถ หา คา่ ระดบั

เสียง เฉลี่ย หรือ ที่ มัก เรียก กัน สั้นๆ ว่า ค่า แอล อี คิว (Leq) ได้

{ใน กรณี ที่ ตั้ง ค่า วงจร ถ่วง น้ำ หนัก ความถี่ เป็น แบบ เอ จะ เรียก

ค่า แอล อี คิว นี้ ว่า ค่า แอล เอ อี คิว (LAeq

)} ใน การ ตรวจ วัด เพื่อ

ความ สะดวก ใน ทาง ปฏิบัติ [ค่า แอล อี คิว หรือ ค่า ระดับ เสียง

เฉลี่ย (Equivalent Continuous Sound Level) เป็น

ค่า เฉลี่ย ระดับ เสียง ตลอด ช่วง เวลา หนึ่งๆ ที่ทำการ ตรวจ วัด

เทียบ เท่ากับ ค่า เฉลี่ย ของ เสียง ต่อ เนื่อง คงที่ ใน ช่วง เวลา ที่ เท่า

กัน หรือ กล่าว ได้ ว่า ค่า แอล อี คิว เป็น ค่า ระดับ เสียง คงที่ ที่ มี

พลังงาน เทียบ เท่ากับ ระดับ เสียง ที่ เกิด ขึ้น จริง ซึ่ง มี ระดับ เสียง

เปลีย่นแปลง ตลอด ชว่ง เวลา ทำการ ตรวจ วดั ดงั นัน้ จงึ มกั เรยีก

คา่ Leq นี ้ตาม ชว่ง ระยะ เวลา ทีท่ำการ ตรวจ วดั เชน่ ตรวจ วดั 5

นาท ีจะ เรยีก วา่ Leq 5 นาท ีถา้ ตรวจ วดั 1 ชัว่โมง จะ เรยีก วา่ คา่

Leq 1 ชั่วโมง ถ้า ตรวจ วัด 24 ชั่วโมง จะ เรียก ว่า ค่า L

eq 24

ชั่วโมง เป็นต้น ค่า Leq มัก นิยม ใช้ ประเมิน ปัญหา เสียง ดัง ใน

งาน สิง่ แวดลอ้ม เชน่ ประเมนิ ปญัหา เสยีง จาก สิง่ แวดลอ้ม โดย

ทัว่ไป ใน ใน ชมุชน] อยา่งไรกต็ามมีประเดน็ที่ควรพจิารณาคอื

ผลหรือค่าที่ตรวจวัดได้อาจไม่ถูกต้องมากนักหรือไม่ตรงกับ

การตรวจวัดด้วยเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม(NoiseDo-

simeter) [สังเกตได้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการตรวจวัดเสียง

จากสภาพแวดลอ้มการทำงานของประเทศไทยไม่ได้กลา่วถงึ

ค่าLeqไว้เลยแต่จะกล่าวว่าเป็นค่าTWA]สำหรับเหตุผล

ทางวิชาการที่เป็นสาเหตุให้ผลการตรวจวัดคลาดเคลื่อน

มาจาก(1)ค่าLeqที่ใช้ในงานสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปกำหนด

ค่าErไว้เท่ากับ3dB{กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจวัดเสียง

จากสภาพแวดล้อมการทำงานของประเทศไทย กำหนดค่า

Er เท่ากับ 5 dB} (2) การตรวจวัดด้วยครื่องวัดปริมาณ

เสียงสะสม(NoiseDosimeter)มีการตั้งค่าThreshold

Levelที่80dBแต่การตรวจวัดโดยใช้ค่าLeqไม่ได้มีการ

กำหนดค่าThresholdLevelไว้

2) ใน การ ตรวจ วัด โดย ใช้ เครื่องวัดปริมาณเสียง

สะสม หากผลการตรวจวัดพบว่าค่าปริมาณเสียงสะสม

(%DOSE)มากกว่า100%ไม่ว่าระยะเวลาการสัมผัสเสียง

ตลอดระยะเวลาการทำงานจะเป็นเช่นใด (เช่น โรงงาน มี การ

ทำงาน 4 กะ ต่อ วัน ทำให้ ชั่วโมง การ ทำงาน เท่ากับ 6 ชั่วโมง

หรอื กรณ ีม ีการ ทำงาน ลว่ง เวลา ทำให ้ชัว่โมง การ ทำงาน เพิม่ เปน็

10 หรือ 12 ชั่วโมง ต่อ วัน เป็นต้น) นั่นแสดงว่าผู้ปฏิบัติงาน

สัมผัสเสียงเกินค่ามาตรฐานหรือเกินค่าLcเสมอ โดย การ

คำนวณ ค่า TWA(8)

สามารถ คำนวณ จาก สมการ ที่ (3) ทั้งนี้

ต้อง เข้าใจ ว่า ค่าที่ คำนวณ ได้ นี้ เป็น ค่าที่ ปรับ เป็น ค่า ระดับ เสียง

เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน แล้ว

Page 87: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

ว า ร ส า ร ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ

86 Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012

ปีที่ 5 ฉบับที่ 18 ประจำเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2555

นอกจาก นี้ ยัง พบ ว่า หาก ผล การ ตรวจ วัด พบ ว่า

ค่าปริมาณเสียงสะสม (%DOSE)มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า

50% แล้ว แสดงว่าโรงงานนั้นต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์

การได้ยิน ตาม กฎหมาย ของ กระทรวง แรงงาน ด้วย

3) กฎหมาย ประเทศไทย มี การ กำหนด ค่า Action

Level เพื่อ การ จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ไว้ ด้วย โดย

กำหนด ว่า ค่า ระดับ เสียง ที่ ได้ รับ เฉลี่ย ตลอด ระยะ เวลา การ

ทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้น ไป ต้อง จัด ทำ โครงการ

อนุรักษ์ การ ได้ยิน ใน กรณี ที่ ระยะ เวลา การ ทำงาน หรือ ระยะ

เวลา สัมผัส เสียง ใน แต่ละ วัน ไม่ เท่ากับ 8 ชั่วโมง เช่น อาจ เป็น

6 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง ต่อ วัน ค่า ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด

ระยะ เวลา การ ทำงาน เทา่กบั เทา่ใด จงึ จะ จดั ทำ โครงการ อนรุกัษ ์

การ ไดย้นิ แนน่อนไมใ่ช่ที่85dB(A) เพราะ กฎหมาย กำหนด

ไว้ ชัด ว่า ค่า 85 dB(A) สำหรับ ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน

8 ชั่วโมง รวม ทั้ง หาก พิจารณา ให้ ดี จะ พบ ว่าการ กำหนด ค่า

มาตรฐาน เสียง นั้น ขึ้น อยู่ กับ ระยะ เวลา การ สัมผัส เสียง ด้วย

เช่น ถ้า ทำงาน 8 ชั่วโมง ทำงาน หรือ เวลา การ สัมผัส เสียง

8 ชั่วโมง ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน ต้อง ไม่ เกิน

90 dB(A) ถ้า ทำงาน 12 ชั่วโมง ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด

เวลา การ ทำงาน ต้อง ไม่ เกิน 87 dB(A) ถ้า ทำงาน 6 ชั่วโมง

ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด เวลา การ ทำงาน ต้อง ไม่ เกิน 92 dB(A)

เปน็ตน้ ดงั นัน้ หาก พจิารณา งา่ยๆ เพือ่ไว้ใช้งาน สงัเกต ได ้วา่ที ่

8 ชั่วโมง การ ทำงาน กฎหมาย กำหนด ไว้ 90 dB(A) และ จัด

ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้น ไป พบ ว่า

มี ค่า แตก ต่าง กัน อยู่ 5 dB(A) ดัง นั้น การ หา ค่า ระดับ เสียง

สำหรับ การ จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ที่ ระยะ เวลา การ

สัมผัส เสีย งอื่นๆ ให้ นำ ค่า ระดับ เสียง ตาม กฎหมาย ลบ ด้วย

5 จะ ได้ ค่า ระดับ เสียง สำหรับ การ จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ

ไดย้นิ ยก ตวัอยา่ง เชน่ ที ่12 ชัว่โมง การ ทำงาน พบ วา่ คา่ ระดบั

เสียง ตาม กฎหมาย ต้อง ไม่ เกิน 87 dB(A) ลบ ด้วย 5 dB(A)

ได้ เท่ากับ 82 dB(A) เพราะ ฉะนั้น ค่า ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด

ระยะ เวลา การ ทำงาน 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ 82 dB(A) ขึ้น ไป

ต้อง จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ทำนอง เดียวกัน ถ้า 6

ชั่วโมง การ ทำงาน พบ ว่า ค่า ระดับ เสียง เฉลี่ย ตลอด ระยะ เวลา

การ ทำงาน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่ 87 dB(A) ขึ้น ไป ต้อง จัด ทำ

โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน

วธิีการคำนวณที่กลา่วมาขา้งตน้นัน้เนน้วา่เพือ่ความ

รวดเร็วในการใช้งานเท่านั้น ถ้า ต้องการ คำนวณ ให้ ถูก ต้อง

ตาม หลัก วิชาการ (ลอง คำนวณ ดู) ให้ เริ่ม ที่ สมการ ที่ (2) เรา รู้

ค่า C ยก ตัวอย่าง เช่น ทำงาน 12 ชั่วโมง ต่อ วัน ค่า C เท่ากับ

12 ชั่วโมง เรา รู้ ว่าการ จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์ การ ได้ยิน ค่า

D เท่ากับ 50% แทน ค่า ใน สมการ ที่ (2) เพื่อ หา ค่า T (ระยะ

เวลา ที่ ยอม ให้ สัมผัส เสียง ได้) จะ คำนวณ ได้ ค่า T เท่ากับ 24

ชั่วโมง จาก นั้น นำ ค่า T เท่ากับ 24 ชั่วโมง นี้ ไป แทน ค่า ใน

สมการ ที่ (1) เพื่อ หา ค่า L (ค่า ระดับ เสียง) ภาย หลัง จาก แก้

สมการ จะ ได้ ค่า L เท่ากับ 82 dB(A)

4) ดัง ที่ กล่าว มา แล้ว ว่า กฎหมาย ของ ประเทศไทย

ค่อน ข้าง สอดคล้อง กับ ของ OSHA ประเทศ สหรัฐอเมริกา

รวม ทั้ง หาก พิ จาณา จะ พบ ว่า ทั้ง ประเทศไทย และ OSHA ได้

มี การ กำหนด ค่า มาตรฐาน ระดับ เสียง ไว้ 2 ระดับ ด้วย กัน คือ

กำหนด ค่า Criterion Level หรือ ค่า ระดับ เสียง ที่ ยอม ให้

สัมผัส ได้ ใน 8 ชั่วโมง/วัน เท่ากับ 90 dB(A) และ ค่า Ac-

tion Level หรือ ค่า ระดับ เสียง ที่ ต้อง จัด ทำ โครงการ อนุรักษ์

การ ได้ยิน คือ ตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้น ไป ที่ เป็น เช่น นี้ เนื่องจาก

ผล การ วิจัย ของ หลาย หน่วย งาน เช่น องค์การ ระหว่าง

ประเทศ ว่า ด้วย มาตรฐาน (International Organization

for Standardization; ISO) องค์การ พิทักษ์ สิ่ง แวดล้อม

สหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency;

US-EPA) สถาบัน ความ ปลอดภัย และ อาชีว อนามัย แห่ง ชาติ

(National Institute for Occupation Safety and

Health; NIOSH) เป็นต้น พบ ว่า ค่า ความ เสี่ยง (Risk) ต่อ

การ สญู เสยี การ ไดย้นิ จาก การ สมัผสั เสยีง เฉลีย่ ตลอด เวลา การ

ทำงาน ที่ 80, 85 และ 90 dB(A) ของ ผู้ ปฏิบัติ งาน ตลอด ชีวิต

การ ทำงาน ดัง แสดง ใน ตาราง ที่ 3 เห็น ได้ ว่า ความ เสี่ยง ต่อ การ

สูญ เสีย การ ได้ยิน หาก สัมผัส เสียง ที่ ระดับ เสียง 90 dB(A)

ยัง มี ความ เสี่ยง ค่อน ข้าง สูง จึง จำเป็น ต้อง มี การ กำหนด ค่า

Action Level ไว้ ที่ 85 dB(A) ด้วย

นอกจาก นี้ หาก พิจารณา ลึก ลง ไป ใน ราย ละเอียด

ของ กฎหมาย จะ พบ ว่า มี ประเด็น ที่ ควร เข้าใจ คือ ใน กรณี ที่ ค่า

ระดบั เสยีง ที ่ได ้รบั เฉลีย่ ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน 8 ชัว่โมง

เกิน 90 dB(A) ขึ้น ไป แนวทางการแก้ไขปัญหาควรมุ่ง

เน้นแก้ไขที่แหล่งกำเนิด และทางผ่าน (Sources/Paths)

โดยใช้มาตรการควบคุมทางวิศวกรรม (Engineering

Controls)และ/หรอืมาตรการควบคมุทางการบรหิารจดัการ

(AdministrativeControls)เปน็หลกักอ่นหาก ไม ่สามารถ

ดำเนิน การ ได้ จึง จะ แก้ไข ปัญหา ที่ ตัว บุคคล โดย ใช้ อุปกรณ์

คุ้มครอง ความ ปลอดภัย ส่วน บุคคล เช่น Ear plugs, Ear

Muffs เป็นต้น และ ใน กรณี ที่ ค่า ระดับ เสียง ที่ ได้ รับ เฉลี่ย

Page 88: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

Lecture Note on Safety and Environment

บั น ทึ ก ส า ร ะ ด้ า น ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม

Journal of Safety and Health : Vol. 5 No. 18 March - May 2012 87

ตลอด ระยะ เวลา การ ทำงาน 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 dB(A) ขึ้น ไป

ให้ จัด ทำ โครงการอนุรักษ์การได้ยิน โดยโครงการนี้จะ

มุ่งเน้นที่ตัวบุคคล (Receivers) เป็นหลัก ทั้งในด้านการ

ป้องกันอันตรายด้วยอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วน

ตารางที่3ผล การ คาด การณ์ ร้อย ละ ของ ผู้ สัมผัส เสียง ที่ มี ความ เสี่ยง ต่อ การ สูญ เสีย การ ได้ยิน ใน การ สัมผัสระดับ เสียง ที่

80, 85 และ 90 dB(A) ตลอด ชีวิต การ ทำงาน

บุคคล และการเฝ้าระวังการได้ยินเพื่อป้องกันการสูญเสีย

การไดย้นิโดยทดสอบสมรรถภาพการไดย้นิ(Audiometric

Testing)ที่ตัวบุคคล

ReportingorganizationAveragedailynoise

Exposure,dB(A)Excessrisk(%)

ISO

US-EPA

NIOSH

90

85

80

90

85

80

90

85

80

21

10

0

22

12

5

29

15

3

ที่มา: NIOSH, Occupational Noise Exposure, 1998.

เอกสารอ้างอิงปราโมช เชีย่วชาญ (2551) เอกสาร การ สอน ชดุ วชิา สขุ ศาสตร ์

อุตสาหกรรม: การ ประเมิน. นนทบุรี. สำนัก พิมพ์

มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธร รมาธิ ราช.

ส ราวุ ธ สุ ธร รมา สา (2547) การ จัดการ มลพิษ ทาง เสียง จาก

อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ซี แอนด์ เอส

พริ้น ติ้ง จำกัด.

CCOHS. (2005). Noise Control In Industry A Basic

Guides 2nd ed. CCOHS Publication.

Cyril M. Harris eds. (1991). Handbook of Acoustical

Measurements and Noise Control 3rd ed. New

York: McGraw Hill Inc.

David A. Bies and Colin H. Hansen eds. (1996).

Engineering Noise Control 2nd ed. London: T J

Press. Ltd.

John E.K. Foreman. (1990). Sound Analysis and Noise Control. New York: Van Nostrand Reinhold.

Louis J. Diberardinis eds. (1999). Handbook of Occupational Safety and Health 2nd ed. New York: John Wiley & Sons Inc.

NIOSH. (1998). Occupational Noise Exposure, Cincinnati: DHHS (NIOSH) Publication.

WHO. (2001). Occupational Exposure to Noise: Evaluation, Prevention and Control.

http//www.diw.go.th ค้น คืน เมื่อ พฤศจิกายน 2555http//www.mne.psu.edu/lamancusa/me458/ ค้น คืน

เมื่อ พฤศจิกายน 2555http//www.osha.gov/dts/osta/otm/noise/ ค้น คืน เมื่อ

พฤศจิกายน 2555http//www.oshthai.org ค้น คืน เมื่อ พฤศจิกายน 2555

Page 89: Vol. 5 No. 18 March - May 2012www.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.com... · ช่างไม้-เทคนิค 5 16.9 ° 9.8 5.6

วารสารความปลอดภยัและสขุภาพเปน็วารสารวชิาการ

ที่บทความจะต้องผ่านPeerReviewปีหนึ่งจะพิมพ์เผยแพร่

4ฉบับ (3 เดือนต่อฉบับ)กองบรรณาธิการและReviewer

ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงระดับประเทศจาก

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหาสารคามมหาวิทยาลัยบูรพามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน สำนักงานประกัน

คุณภาพแห่งชาติและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ นอกจากจะมี

จุดเด่นที่มีกองบรรณาธิการและReviewerที่มีชื่อเสียงระดับ

ประเทศแล้วจุดเด่นอีกประการ คือการจัดทำคอลัมน์โดย

ผู้มีประสบการณ์และมัน่ใจวา่จะตอ้งเปน็ที่พอใจของผู้อา่นอยา่ง

แน่นอน

ผู้ใดสนใจเขียนบทความ โปรดศึกษารูปแบบการเขียน

ได้ที่:www.stou.ac.th/schools/shs/home

ใบสมัครวารสารข้าพเจ้า/หน่วยงาน(กรณีสมัครในนามองค์กร)

....................................................................

...มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกวารสาร

ความปลอดภัยและสุขภาพและขอให้ส่งวารสาร

ตามที่อยู่ต่อไปนี้

(โปรดระบุชื่อผู้รับและรายละเอียดให้ครบถ้วน

และชัดเจนสำหรับการส่งไปรษณีย์)

.......................................................................

.......................................................................

.......................................................................

.......................................................................

.......................................................................

วิธีสมัครสมาชิก

1.กรอกข้อมูลในใบสมัคร

2. ชำระ เงิน 300 บาท (ค่า สมาชิก ต่อ ปี) ทาง

ธนาคารกรุงไทย

สาขาเมืองทองธานีชื่อบัญชี

ว.ความปลอดภัยและสุขภาพ

เลขที่บัญชี147-0-06808-7(ออมทรัพย์)

หรือธนาณัติสั่งจ่ายในนาม

รองศาสตราจารย์สราวุธสุธรรมาสา

ปณ.หลักสี่

3.ส่งหลักฐานการชำระเงินและใบสมัคร

(เขียนชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน)มาที่

กองบรรณาธิการวารสารความปลอดภัย

และสุขภาพ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ต.บางพูดอ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี11120

เพื่อจะได้จัดส่งวารสารให้ต่อไป

ใบสมัครวารสารความปลอดภัยและสุขภาพ

บริษัทที่สนใจประชาสัมพันธ์สินค้ากรุณาโทรศัพท์แจ้งความสนใจที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพโทร.025033610,025048031-3โทรสาร.025033570