9
เวชศาสตร์ทันยุค ๒๕๕๖ เวชศาสตร์ทันยุค ๒๕๕๖ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Cpg chronic cough in children 2556

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Cpg chronic cough in children 2556

เวชศาสตร์ทันยุค ๒๕๕๖

เวชศาสตร์ทันยุค ๒

๕๕๖

คณะแพ

ทยศาสตร์ศิริราชพ

ยาบาล มหาวิท

ยาลัยมหิดล

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 2: Cpg chronic cough in children 2556

อาการไอเรื้อรังในเด็ก

(Chronic Cough in Children)

แพทย์หญิงจิตติมาเวศกิจกุล

ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

อาการไอเป็นกลไกที่ส�าคัญของร่างกายในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นอันตราย

เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และก�าจัดส่ิงตกค้างออกจากระบบทางเดินหายใจ อาการไอเป็นอาการ

ที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยพบอุบัติการณ์ของอาการไอในเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 351 และเด็กอายุ

7-11ปีร้อยละ92อาการไอในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจส่วนบน

และมักหายได้เองภายใน1-3สัปดาห์อย่างไรก็ตามร้อยละ5-103ของเด็กอายุ6-12ปีพบมีอาการ

ไอเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการด�าเนินชีวิตประจ�าวัน รบกวนการนอนหลับของเด็ก และสร้าง

ความกังวลใจให้แก่ผู้ปกครองได้ รวมทั้งอาจเป็นอาการน�าที่ส�าคัญของโรคต่างๆทั้งโรคในระบบ

ทางเดินหายใจและระบบอื่น ดังนั้นเด็กที่มีอาการไอเรื้อรังจึงควรได้รับการประเมินเพ่ือหาสาเหตุ

ของอาการไอเรื้อรังซึ่งจะน�ามาสู่การรักษาที่เหมาะสม

ค�าจ�ากัดความ

อาการไอในเด็กแบ่งตามระยะเวลาของอาการไอเป็น3กลุ่ม4,5ดังนี้

1. อาการไอเฉียบพลัน(acutecough)คืออาการไอที่มีระยะเวลาน้อยกว่า2สัปดาห์

2.อาการไอกึ่งเฉียบพลัน (subacute cough) คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 2-4

สัปดาห์

3. อาการไอเรื้อรัง(chroniccough)คืออาการไอที่มีระยะเวลานานกว่า4สัปดาห์ซึ่งแบ่ง

เป็นกลุ่มย่อยตามสาเหตุเป็น2กลุ่ม5,6ดังนี้

3.1อาการไอที่มีลักษณะเฉพาะ (specific cough) คือ อาการไอท่ีพบร่วมกับอาการ

และอาการแสดงที่มีความเฉพาะกับโรคที่เป็น(ตารางที่1)4,5ซึ่งโรคที่พบอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรง

เช่น bronchiectasis, interstitial lungdisease,ความผดิปกตขิองหวัใจ เป็นต้นดงันัน้ผูป่้วยในกลุม่นี้

ควรได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและให้การรักษาที่เหมาะสม

ตามสาเหตุ

3.2อาการไอที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ(nonspecificcough)คืออาการไอที่ไม่พบอาการ

และอาการแสดงที่มีความเฉพาะกับโรคที่เป็นสาเหตุ อาการไอของผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักเกิดจากสาเหต ุ

ที่ไม่รุนแรงและหายได้เองเช่นการไอตามหลังการติดเชื้อ(postinfectiouscough)เป็นต้น

Page 3: Cpg chronic cough in children 2556

86 อาการไอเรือ้รงัในเดก็

ตารางที่ 1. อาการและอาการแสดงที่มีความเฉพาะกับโรคที่เป็นสาเหตุของอาการไอ

อาการและอาการแสดง สาเหตุของอาการไอAuscultatoryfindings

- Wheeze Asthma,tracheomalacia

- Crepitations Parenchymaldiseaseเช่นinterstitiallungdisease

Cardiacabnormalities(includingmurmur) Associatedairwayabnormalities,cardiacfailure

Chestpain Arrhythmia,asthma,pleuritis

Chestwalldeformity Pulmonaryairwayหรือparenchymaldisease

Dailymoistหรือproductivecough Suppurativelungdisease

Digitalclubbing Suppurativelungdisease,congenitalheartdisease

Dyspneaหรือtachypnea Pulmonaryairwayหรือparenchymaldisease

Exertionaldyspnea Airwayหรือparenchymaldisease

Failuretothrive Serious systemic including pulmonary illness เช่น

cysticfibrosis,immunodeficiency

Feedingdifficulties Serioussystemicincludingpulmonaryillness,aspiration

Hemoptysis Suppurativelungdisease,vascularabnormalities

Hypoxiaหรือcyanosis Airwayหรือparenchymaldisease,cardiacdisease

Immunodeficiency Suppurativelungdisease,atypicalinfection

Neurodevelopmentalabnormality Aspirationlungdisease

Recurrentpneumonia Immunodeficiency,congenitallungabnormalities,

tracheoesophagealfistula

ทีม่า:ดดัแปลงจากChangAB,LandauLI,vanAsperenPP,GlasgowNJ,RobertsonCF,March-

antJM,etal.Coughinchildren:definitionsandclinicalevaluation−positionstatement

ofthethoracicsocietyofAustraliaandNewZealand.MedJAust2006;184:398-403.4

และChangAB,GlombWB.Guidelinesforevaluatingchroniccoughinpediatrics:ACCP

evidence-basedclinicalpracticeguidelines.Chest2006;129:S260-83.5

พยาธิสรีรวิทยา

อาการไอเกิดจากการกระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอซึ่งแทรกอยู่ระหว่างเซลล์เย่ือบุทางเดิน

หายใจตั้งแต่คอหอยจนถึงหลอดลมโดยการกระตุ้นอาจเป็นmechanicalstimuliเช่นหลอดลมตีบ

ปอดแฟบ ความยืดหยุ่นของปอดลดลง เป็นต้น หรืออาจเป็น chemical stimuli เช่น กรด

ความร้อนbradykininเป็นต้น7เมื่อมีการกระตุ้นจะมีการส่งสัญญาณผ่านทางafferentfiberของ

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 ไปยังศูนย์ควบคุมการไอที่อยู่บริเวณก้านสมองหลังจากนั้นจะมีการ

ส่งสญัญาณผ่านกลับมาทางefferentfiberของเส้นประสาทสมองคูท่ี่10และไขสนัหลงัมากระตุน้บรเิวณ

กล่องเสียงกระบังลมและกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจท�าให้เกิดอาการไอขึ้นซึ่งแบ่งเป็น3ระยะ8

ดังนี้

Page 4: Cpg chronic cough in children 2556

87อาการไอเรือ้รงัในเดก็

Inspiratoryphaseเริ่มจากการสูดหายใจเข้าลึกประมาณ1.5-2เท่าของtidalvolume

ท�าให้มีการขยายตัวของหลอดลมต่างๆเพื่อเพิ่มปริมาตรอากาศในทางเดินหายใจ

Compressivephase เริ่มจากการปิดของกล่องเสียง และต่อมามีการหดตัวของกล้ามเนื้อ

หน้าอกท้องและกระบังลมอย่างรวดเร็ว

Expiratoryphaseเร่ิมจากการเปิดของชดุสายเสยีงทนัทีท�าให้อากาศภายในทางเดนิหายใจ

ออกสู่ภายนอกอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของอาการไอเรื้อรังในเด็ก

สาเหตุของอาการไอเร้ือรังในเด็กทีพ่บบ่อยได้แก่โรคหดืprotractedbacterialbronchitis

และupperairwaycoughsyndrome9ส�าหรับสาเหตุอื่นของอาการไอเรื้อรังในเด็กที่พบรองลงมา

ได้แก่โรคกรดไหลย้อนโรคไอกรนวัณโรคปอดการไอตามหลังการติดเชื้อการส�าลักสิ่งแปลกปลอม

bronchiectasis,psychogeniccoughความผิดปกติของหลอดลมที่มีมาแต่ก�าเนิดcysticfibrosis

เป็นต้น5,10

โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดลมท�าให้เกิดการอุดกั้นของหลอดลมและหลอดลม

มีความไวมากกว่าปกติผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังหอบหายใจมีเสียงwheezeโดยอาการเป็นมาก

เวลากลางคืนอากาศเย็นหรือออกก�าลังกายตรวจสมรรถภาพการท�างานของปอดจะพบมีการอุดกั้น

ของหลอดลมและอาการดีขึ้นภายหลังจากได้รับยาขยายหลอดลม (reversible airway obstruc-

tion)รักษาโดยการใช้ยากลุ่มcontrollerเช่นinhaledcorticosteroids,leukotrienereceptor

antagonistเป็นต้น

Protracted bacterial bronchitisเกิดจากการติดเชื้อStreptococcus pneumoniae,

Haemophilus influenzaeและ Moraxella catarrhalis ผู้ป่วยจะมีอาการไอมีเสมหะเรื้อรังและ

พบ neutrophil ในเสมหะ ตรวจภาพรังสีทรวงอกปกติหรืออาจพบbronchialwall thickening

ได้ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนาน4-6สัปดาห์

Upper airway cough syndrome(postnasaldripsyndrome)คือกลุ่มโรคที่มีอาการ

ไอเรื้อรังซึ่งเกิดจากการกระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบน โดยสารคัดหลั่ง

หรือการอักเสบในโพรงจมูกเช่นโรคไซนัสอักเสบโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นต้นอาการไอ

จะดีขึ้นหลังจากให้การรักษาโรคไซนัสอักเสบและโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

โรคกรดไหลย้อน อาการไอเกิดจากน�้าย่อยซึ่งเป็นกรดมีการไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร

เกิดการกระตุ้นesophagotracheobronchialreflexผ่านทางเส้นประสาทสมองคู่ที่10ท�าให้เกิด

อาการไอเรื้อรังขึ้นการรักษาคือการให้ยาprotonpumpinhibitors,prokineticagentsและH2

antagonists

Page 5: Cpg chronic cough in children 2556

88 อาการไอเรือ้รงัในเด็ก

โรคไอกรนเกิดจากการติดเชื้อBordetella pertussisผู้ป่วยจะมีอาการไอถี่ติดกันเป็นชุดๆ

(paroxysmalwith/withoutwhoop) และไอรุนแรงจนเกิดเลือดออกในที่ต่างๆ เช่น เลือดออก

ในเยื่อบุตาเป็นต้นรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มmacrolides

วัณโรคปอด ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไอเรื้อรัง ร่วมกับอาการแสดงอื่น เช่น ไข้ น�้าหนักลด

เบื่ออาหารเหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นต้นโดยผู้ป่วยเด็กมักได้รับเชื้อมาจากคนใกล้ชิดในครอบครัว

ดงันัน้ควรซกัประวตักิารสมัผสัหรอือยูใ่กล้ชดิกบัผูป่้วยวณัโรคหรอืไอเรือ้รงัการวนิจิฉยัอาศยัจากอาการ

และอาการแสดงที่เข้าได้ร่วมกับตรวจภาพรังสีทรวงอกพบความผิดปกติและการทดสอบทุเบอร์คุลิน

ให้ผลบวกการรักษาคือการให้ยาต้านวัณโรค

การไอตามหลังการติดเชื้อ เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดิน

หายใจส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการไอแห้งๆและอาการหายได้เอง

การส�าลกัสิง่แปลกปลอมพบบ่อยในเดก็อายุ1-3ปีโดยการส�าลักอาหารหรอืส่ิงแปลกปลอม

ลงไปในหลอดลมมกัท�าให้เกดิอาการไอแบบเฉยีบพลนัแต่ถ้าสิง่แปลกปลอมตกค้างอยูน่านจะท�าให้เกดิ

อาการไอเรื้อรังได้การรักษาคือrigidbronchoscopyเพื่อน�าสิ่งแปลกปลอมออกมา

Bronchiectasis คือโรคที่มีการโป่งพองของหลอดลมพบสัมพันธ์กับ cystic fibrosis,

immotileciliasyndrome,ปอดอักเสบเป็นซ�้าและภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องวินิจฉัยโดยการตรวจ

high-resolutionCTscan

Psychogenic cough(habitcough)ผูป่้วยมอีาการไอแบบhongingcoughหรอืbarking

coughอาการไอมักเป็นช่วงตื่นและหายไปในช่วงเวลาที่หลับตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติ

การไม่พบความผดิปกตใิดๆการวนิจิฉยัควรแยกโรคอืน่ทีเ่ป็นสาเหตขุองอาการไอเรือ้รงัก่อนการรกัษา

คือแนะน�าวิธีควบคุมอาการไอและปรึกษาจิตแพทย์

ความผิดปกติของหลอดลมที่มีมาแต่ก�าเนิดเช่นtracheomalacia,tracheoesophageal

fistula,laryngealcleftเป็นต้นท�าให้เกดิอาการไอเรือ้รงัได้แต่พบไม่บ่อยโดยผูป่้วยtracheomalacia

มักมีอาการไอแบบbarkingcoughในขณะที่ผู้ป่วยtracheoesophagealfistulaและlaryngeal

cleftมกัมอีาการไอทีส่มัพนัธ์กบัการกนิอาหารการตรวจbronchoscopyสามารถช่วยในการวนิจิฉยั

ได้

Cystic fibrosisเป็นโรคทีถ่่ายทอดทางพนัธกุรรมเกดิจากมคีวามผดิปกตขิองโปรตนีcystic

fibrosistransmembraneconductanceregulator(CFTR)ท�าให้ร่างกายไม่สามารถควบคมุปรมิาณ

chlorideที่ผ่านเข้าออกเซลล์ได้เยื่อเมือกจึงหนาตัวเหนียวและเกาะติดแน่นผู้ป่วยจะมีอาการของ

ระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการในระบบทางเดินอาหาร วินิจฉัยโดยการตรวจ sweat chloride

test

Page 6: Cpg chronic cough in children 2556

89อาการไอเรือ้รงัในเดก็

การวินิจฉัยสาเหตุของอาการไอ

ในเด็กที่มีอาการไอเรื้อรังควรได้รับการประเมินเพื่อหาสาเหตุ โดยการซักประวัติและตรวจ

ร่างกายอย่างละเอียดรวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย

1. การซักประวัติ

การซกัประวตัเิกีย่วกบัรายละเอยีดของอาการไอมคีวามส�าคญัช่วยในการวนิจิฉยัหาสาเหตุ

ได้11-13

1.1 ระยะเวลาที่มีอาการไออาการที่เป็นนานกว่า4สัปดาห์จัดเป็นอาการไอเรื้อรัง

1.2อายุที่เริ่มมีอาการไอ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดควรสงสัยความผิดปกติของ

หลอดลมที่มีมาแต่ก�าเนิดเช่นtracheomalacia,tracheoesophagealfistula,laryngealcleft

เป็นต้น

1.3ลักษณะของอาการไออาการไอที่มีลักษณะเฉพาะสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคได้

เช่นไอเสียงก้องไอเป็นชุดๆไอแห้งไอมีเสมหะเป็นต้น(ตารางที่2)5

ตารางที่ 2. สาเหตุตามลักษณะของอาการไอ

ลักษณะของอาการไอ สาเหตุ

Barkingหรือbrassycough Croup,tracheomalacia

Coughproductiveofcasts Plasticbronchitis

Chronicwetcoughinmorningsonly Suppurativelungdisease

Honking Psychogeniccough

Paroxysmal(with/withoutwhoop) Pertussisและparapertussis

Staccato Chlamydiaininfants

ที่มา:ดัดแปลงจากChangAB,GlombWB.Guidelines forevaluating chronic cough in

pediatrics:ACCPevidence-basedclinicalpracticeguidelines.Chest2006;129:S260-83.5

1.4ช่วงเวลาที่มีอาการไอ เช่น อาการไอเวลาอากาศเย็นหรือตอนกลางคืน ควรสงสัย

reactive airway disease อาการไอหายไปในช่วงเวลาที่หลับ ควรสงสัย psychogenic cough

เป็นต้น

1.5สิง่ทีท่�าให้อาการไอเป็นมากขึน้หรอืลดลงเช่นอาการไอทีส่มัพนัธ์กบัการออกก�าลงักาย

และดีขึ้นเมื่อได้รับยาขยายหลอดลมควรสงสัยโรคหืดเป็นต้น

1.6อาการอื่นที่พบร่วมด้วยเช่นไข้น�้ามูกหอบน�้าหนักลดเป็นต้น

1.7ประวัติครอบครัวเช่นการเจ็บป่วยของคนในครอบครัววัณโรคโรคภูมิแพ้cystic

fibrosisเป็นต้น

Page 7: Cpg chronic cough in children 2556

90 อาการไอเรือ้รงัในเด็ก

1.8ประวัติสิ่งแวดล้อมเช่นการสูบบุหรี่สัตว์เลี้ยงฝุ่นเป็นต้น

1.9ประวัติการใช้ยา เช่นยาในกลุ่ม angiotensin-convertingenzyme inhibitors

เป็นต้น

2. ตรวจร่างกาย

ควรตรวจร่างกายระบบต่างๆ อย่างละเอียด โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ เนื่องจาก

อาการและอาการแสดงที่พบอาจมีความเฉพาะกับโรคที่เป็นสาเหตุของอาการไอ4,5,12

2.1 สัญญาณชีพควรตรวจว่ามีภาวะrespiratorydistressร่วมด้วยหรือไม่

2.2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ในเด็กที่มีอาการไอเรื้อรังร่วมกับน�้าหนักต�่ากว่า

เกณฑ์ อาจมีสาเหตุจากโรคท่ีรุนแรง เช่น cystic fibrosis, immunodeficiency เป็นต้น เด็กที่มี

พัฒนาการผิดปกติหรือความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อระบบประสาทควรสงสัยaspiration lung

disease

2.3หูคอจมูก เช่นตรวจพบเยื่อบุจมูกที่บวมซีดและallergicshinersอาจบ่งชี้ถึง

โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ตรวจพบน�้ามูกเป็นหนองไหลจากบริเวณรูเปิดไซนัส อาจบ่งชี้ถึง

โรคไซนัสอักเสบเป็นต้น

2.4ลักษณะรูปร่างทรวงอกเช่นทรวงอกที่มีลักษณะเป็นbarrel-shapedอาจบ่งชี้ถึง

โรคที่มีการอุดกั้นของหลอดลมขนาดเล็กเป็นต้น

2.5เสียงปอด เช่น เสียงwheezeอาจบ่งชี้ถึงโรคหืด เสียงcrepitationอาจบ่งชี้ถึง

interstitiallungdiseaseเป็นต้น

2.6ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น dextrocardia อาจบ่งชี้ถึง primary ciliary

dyskinesia,digitalclubbingอาจบ่งชี้ถึงchronicsuppurativelungdiseaseเป็นต้น

2.7ระบบผิวหนังเช่นผื่นeczemaอาจบ่งชี้ถึงโรคภูมิแพ้เป็นต้น

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

เด็กที่มีอาการไอเรื้อรังทุกคนควรได้รับการตรวจภาพรังสีทรวงอกและตรวจสมรรถภาพ

การท�างานของปอด(ในเด็กอายุมากกว่า6ปี)5,13ถ้าตรวจพบความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกหรือ

ความผิดปกติของสมรรถภาพการท�างานของปอดหรือผู้ป่วยมีอาการไอที่มีลักษณะเฉพาะ ควรได้รับ

การประเมินและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยอาศัยข้อมูลจากการซักประวัติและตรวจ

ร่างกายเพื่อน�าไปสู่การวางแผนในการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม เช่น ทดสอบภูมิแพ้

(skin testingหรือ specific IgE) ในกรณีที่สงสัยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืดตรวจ

methacholinechallengetestในกรณีที่สงสัยโรคหืดตรวจhigh-resolutionCTscanในกรณี

ที่สงสัยbronchiectasisเป็นต้น5,10,14

ส�าหรับอาการไอทีไ่ม่มีลกัษณะเฉพาะหรอืตรวจไม่พบความผดิปกตขิองภาพรงัสทีรวงอก

และสมรรถภาพการท�างานของปอด มักเกิดจากการไอตามหลังการติดเชื้อ ซึ่งหายได้เองและ

ไม่จ�าเป็นต้องส่งตรวจทางห้องปฏบิตักิารเพิม่เตมิแต่ควรให้ค�าแนะน�าแก่ผูป้กครองและตดิตามดอูาการ

เป็นระยะ5,14

Page 8: Cpg chronic cough in children 2556

91อาการไอเรือ้รงัในเดก็

การรักษา

การรักษาอาการไอเรื้อรังในเด็กที่เหมาะสมที่สุด คือ ให้การรักษาตามสาเหตุของอาการไอ

ส�าหรับอาการไอที่ไม่มีลักษณะเฉพาะและตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆอาจไม่ทราบสาเหตุท่ีแน่ชัด

ซึ่งการให้ empiric therapy มีประสิทธิผลเพียงเล็กน้อยส�าหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ดังนั้นควรพิจารณา

อย่างรอบคอบและติดตามประเมินอาการผู้ป่วยซ�้าเป็นระยะ4,5,14

ยาบรรเทาอาการไอ มีผลเพียงเล็กน้อยในการบรรเทาอาการไอในเด็ก15 โดย American

academyofPediatricsแนะน�าว่าไม่ควรใช้ยากดอาการไอcodeineและdextromethorphan

ในเด็กเนื่องจากไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยและประสิทธิผลที่แน่ชัด16

ยาต้านฮสีตามนีช่วยลดอาการของโรคเยือ่บจุมกูอกัเสบได้แต่ไม่มปีระสทิธผิลในการบรรเทา

อาการไอในเด็ก17

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหืดบรรเทาอาการไอที่เกิดจากโรคหืด แต่ไม่มีข้อมูลสนับสนุน

การใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อบรรเทาอาการไอที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ4-6

ยาปฏิชีวนะ มีผลในการลดระยะเวลาของอาการไอในผู้ป่วยท่ีเป็นโรคไซนัสอักเสบและ

protractedbacterialbronchitisแต่ไม่มผีลในการบรรเทาอาการไอทีไ่ม่มลัีกษณะเฉพาะหรอือาการ

ไอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส18

ยาท่ีใช้ในการรักษาโรคกรดไหลย้อนบรรเทาอาการไอที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน แต่ไม่มี

บรรเทาอาการไอที่ไม่มีลักษณะเฉพาะ19

นอกจากนี้ การให้ความรู้และค�าแนะน�าแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งส�าคัญที่สุดในการรักษาอาการ

ไอเรื้อรังท�าให้คลายความวิตกกังวลใจของผู้ปกครองและส่งผลให้การรักษามีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

สรุป

อาการไอเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสของระบบ

ทางเดนิหายใจส่วนบนและมกัหายได้เองภายใน1-3สัปดาห์ดงันัน้เดก็ทีม่อีาการไอนานกว่า4สัปดาห์

ควรได้รับการซักประวติัและตรวจร่างกายอย่างละเอยีดร่วมกบัตรวจภาพรงัสทีรวงอกและสมรรถภาพ

การท�างานของปอดเพื่อหาสาเหตุของอาการไอแล้วให้การรักษาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง1. KoganMD,PappasG,YuSM,KotelchuckM.Over-the-countermedicationuseamongpreschool-age

children.JAMA1994;272:1025-30.

2. LeonardiGS,HouthuijsD,NikiforovB,VolfJ,RudnaiP,ZejdaJ,etal.Respiratorysymptoms,bronchitis

andasthmainchildrenofcentralandeasternEurope.EurRespirJ2002;20:890-8.

3. FaniranAO,PeatJK,WoolcockAJ.Measuringpersistentcoughinchildreninepidemiologicalstudies:

developmentofaquestionnaireandassessmentofprevalenceintwocountries.Chest1999;115:434-9.

Page 9: Cpg chronic cough in children 2556

92 อาการไอเรือ้รงัในเด็ก

4. ChangAB,LandauLI,vanAsperenPP,GlasgowNJ,RobertsonCF,MarchantJM,etal.Coughinchildren:

definitionsandclinicalevaluation−positionstatementofthethoracicsocietyofAustraliaandNew

Zealand.MedJAust2006;184:398-403.

5. ChangAB,GlombWB.Guidelinesforevaluatingchroniccoughinpediatrics:ACCPevidence-based

clinicalpracticeguidelines.Chest2006;129:S260S-83.

6. ChangAB.Cough.PediatrClinNorthAm2009;56:19-31.

7. ChungKF,PavordID.Prevalence,pathogenesis,andcausesofchroniccough.Lancet2008;371:1364-74.

8. McCoolFD.Globalphysiologyandpathophysiologyofcough:ACCPevidence-basedclinicalpractice

guidelines.Chest2006;129:S48-53.

9. AsilsoyS,BayramE,AginH,ApaH,CanD,GulleS,etal.Evaluationofchroniccoughinchildren.Chest

2008;134:1122-8.

10. RamanujaS,KelkarPS.Theapproachtopediatriccough.AnnAllergyAsthmaImmunol2010;105:3-8.

11. BrodlieM,GrahamC,McKeanMC.Childhoodcough.BrMedJ2012;344:e1177.

12. MassieJ.Coughinchildren:whendoesitmatter?PaediatrRespirRev2006;7:9-14.

13. ShieldsMD,BushA,EverardML,McKenzieS,PrimhakR.Recommendationsfortheassessmentand

managementofcoughinchildren.BritishThoracicSocietyCoughGuidelineGroup.Thorax2008;63:

1-15.

14. GoldsobelAB,ChippsBE.Coughinthepediatricpopulation.JPediatr2010;156:352-8.

15. SchroederK,FaheyT.Over-the-countermedicationsforacutecoughinchildrenandadultsinambulatory

settings.CochraneDatabaseSystRev2008;1:CD001831.

16. BerlinCM,McCarver-MayDG,NottermanDA,WardRM,WeismannDN,WilsonGS,etal.Useofcodeine-

anddextromethorphan-containingcoughremediesinchildren.Pediatrics1997;99:918-20.

17. ChangAB,PeakeJ,McElreaMS.Anti-histaminesforprolongednon-specificcoughinchildren.Cochrane

DatabaseSystRev2008;2:CD005604.

18. MarchantJM,MorrisP,GaffneyJ,ChangAB.Antibioticsforprolongedmoistcoughinchildren.Cochrane

DatabaseSystRev2005;4:CD004822.

19. ChangAB, LassersonTJ,Gaffney J, Connor FL,Garske LA.Gastro-esophageal reflux treatment for

prolongednon-specificcoughinchildrenandadults.CochraneDatabaseSystRev2011;1:CD004823.