106
การเขยนรายงานวจัยสถาบัน วันศุกร์ท่ 17 สงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมย่อย 2 สุรสัมมนาคาร โดย... จตตานันท์ ตกุล ฝ่ายประสานงานการวจัย สถาบันวจัยและพัฒนา มทส.

วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

  • Upload
    lydang

  • View
    217

  • Download
    3

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

การเขียนรายงานวิจัยสถาบัน

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 25559.00-12.00 น.

ณ ห้องประชุมย่อย 2 สุรสัมมนาคาร

โดย... จิตตานันท์ ติกุลฝ่ายประสานงานการวิจัย

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทส.

Page 2: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

2

ทบทวนกระบวนการวิจัย

Page 3: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

กระบวนการวิจัยกําหนดหัวข้อ

กําหนดประเด็น

ทบทวนวรรณกรรม

สร้างกรอบแนวคิด

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2546: 15)

3

สมมติฐานออกแบบการวิจัย

กําหนดประชากรเป้าหมาย

สุ่มตัวอย่างสร้างและทดสอบวิธีการเก็บ

รวบรวมข้อมูล

กําหนดแนวทางและวิธีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูล

จัดระเบียบข้อมูล

ร่างรายงาน ปรับปรุงรายงาน

ตีพิมพ์

เผยแพร่

Page 4: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

4

กระบวนการวิจัย

กําหนดวิธีการเพื่อให้ได้คําตอบ

ปัญหา/ชื่อเรื่องวัตถุประสงค์

สมมติฐาน (ถ้ามี)

ประชากร/กลุ่มตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล

ปรากฏการณ์รอบๆ ตัวเราสิ่งที่เรา อยากศึกษาค้นคว้า

เพื่อคําตอบ(คําถามที่ยังไม่มีคําตอบ)

Page 5: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

5

กระบวนการวิจัย

กําหนดวิธีการเพื่อให้ได้คําตอบ

ปัญหา/ชื่อเรื่องวัตถุประสงค์

สมมติฐาน (ถ้ามี)ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาการแปลความหมาย/ตีความข้อมูล

สรุปผล/ข้อเสนอแนะ

ปรากฏการณ์รอบๆ ตัวเราสิ่งที่เรา อยากศึกษาค้นคว้า

เพื่อคําตอบ(คําถามที่ยังไม่มีคําตอบ)

คําตอบ

Page 6: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

6

สิ่งที่ควรรู้...

Page 7: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

รายงานการวิจัย หมายถึง เอกสารเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นเรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลอย่างละเอียด และเขียนเรียบเรียงไว้อย่างมีระบบ ระเบียบแบบแผนตามสากลนิยม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่า ...

7ผลการวิจัยที่ทําได้ มีข้อสรุปอย่างไรบ้าง

ทําอะไร

ทําไมจึงทํา

ทําอย่างไร

ทําแล้วได้ผลอย่างไร

ใช้ระเบียบวิธใีนการศึกษาคําตอบนั้นอย่างไร

เรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร มีความสําคัญอย่างไรทําไมจึงเลือกทําวิจัยเรื่องนี้

ต้องการหาคําตอบอะไร

Page 8: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

8

การจัดรูปแบบ

ความเป็นเอกภาพของเนื้อหา

ความแจ่มแจ้งชัดเจน

ความถูกต้อง

ตรงประเด็น

ความสํารวม

การอ้างอิง

ยึดผู้อ่าน

Page 9: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

9

� ถูกต้อง� ได้สาระสมบูรณ์� ชัดเจน� กะทัดรัด� ลําดับความดี

� แต่ละวรรค แต่ละตอนต้องเป็นเอกภาพ� แต่ละวรรค แต่ละตอน เชื่อมโยงกลมกลืนสัมพันธ์กันดี� คงเส้นคงวา� ตรงประเด็นเน้นจุด� ถ้อยคําที่ใช้ต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือ� สุภาพและลื่น

Page 10: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

10

ส่วนนํา

ส่วนเนื้อเรื่อง

ส่วนท้าย

Page 11: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

11

ส่วนนํา

• ปกนอก

• ปกใน

• กิตติกรรมประกาศ

• บทคัดย่อ

• สารบัญ

• สารบัญตาราง

• สารบัญภาพ

ส่วนเนื้อเรื่อง

• บทนํา

• การทบทวนวรรณกรรม

• วิธีดําเนินการวิจัย

• ผลการวิจัย

• สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ

ส่วนท้าย

• บรรณานุกรม

• ภาคผนวก

• ประวัติผู้วิจัย

Page 12: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

รายงานการวิจัย มีแนวทางการเขียนในแต่ละส่วน ดังนี้

12

Page 13: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

13

Page 14: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

ปกนอก ปกใน

กิตติกรรมประกาศ

บทคัดย่อ

สารบัญ

Page 15: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

15

ปกนอกปกใน

ปก ทําหน้าที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ....

ชื่อเรื่องของงานวิจัยชื่อผู้วิจัยหรือคณะผู้วิจัย

หน่วยงานที่เป็นเจ้าของทุนปีที่ทําวิจัย

Page 16: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

16

Page 17: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

17

กิตติกรรมประกาศเป็นการกล่าวขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทําวิจัยในครั้งนี้ เช่น ...

คณะกรรมการ/ที่ปรึกษางานวิจัยหน่วยงานที่ให้ทุนผู้ที่ช่วยตรวจแก้ต้นฉบับ/พิสูจน์ตัวอักษรผู้ที่มีส่วนช่วยในการทําวิจัยบุคคลใกล้ชิดอื่น ๆ

ส่วนนี้ไม่ควรยาวเกินไป ควรขอบคุณตามข้อเท็จจริง สุภาพและดูเป็นการเป็นงาน

Page 18: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

18

Page 19: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

19

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ เป็นข้อความสรุปเนื้อหาของงานวิจัยที่สั้นกะทัดรัด ชัดเจน ทําให้ผู้อ่านทราบเนื้อหาของงานวิจัยอย่างรวดเร็ว

บทคัดย่อ เป็นตัวแทนของรายงานทั้งเล่มที่ถูกบรรจุในระบบสืบค้นข้อมูลหรือฐานข้อมูลต่าง ๆผู้วิจัยจึงควรเขียนให้ดี บรรยายงานวิจัยอย่างถูกต้อง และมีเนื้อหาครบถ้วน โดยต้องระบุ..ปัญหาของการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ ผลการวิจัยที่ได้ และบอกความหมายของผลนั้นโดยสังเขป

การเรียบเรียงบทคัดย่อ... ให้นึกในใจว่า ... “ถ้ากําลังสืบค้นงานวิจัยแล้วพบบทคัดย่อของงานวิจัยนี้ และเมื่ออ่านบทคัดย่อแล้ว

รู้สึกอยากไปหาตัวเล่มจริงมาศึกษาหรือไม่”

Page 20: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

20

Page 21: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

21

สารบัญ

สารบัญ เป็นการนําเนื้อหามาเรียงลําดับโดยระบุเลขหน้าเพื่อความสะดวกในการค้นหา สารบัญแบ่งได้ 3 ประเภท

สารบัญ เป็นการลําดับชื่อบทและหัวเรื่องย่อยในบทตามลําดับก่อนหลัง

สารบัญตาราง เป็นบัญชีแสดงตารางจากทุกบทโดยเรียงตามหมายเลขของตารางชื่อตาราง และเลขหน้า เป็นลําดับ

สารบัญภาพ เป็นบัญชีแสดงภาพ รูปภาพ ภาพวาด แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง แผนที่ หรือสิ่งที่นําเสนอทางสายตาที่ไม่ใช่ตารางเป็นช่อง ๆ โดยผู้วิจัยจะเรียงลําดบัภาพต่าง ๆ ตามหมายเลขของภาพ

Page 22: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

22

Page 23: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

23

Page 24: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

บทที่ 1 บทนํา

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 25: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

25

บทที่ 1บทนํา

1. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย3. คําถามวิจัยหรือสมมตฐิาน4. ขอบเขตของการวิจัย5. ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)6. ข้อจํากัดการวิจัย (ถ้ามี)7. นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย8. ประโยชน์ที่ได้รับ (ความสําคัญของงานวิจัย)

ส่วนประกอบ

Page 26: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

26

ย่อหน้าที่ 1 สภาพที่เป็นจริงหรือเป็นอยู่ ควรบรรยายด้วยข้อความ ตัวเลข หรือค่าสถิติ ตลอดจนมีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย

ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา

ย่อหน้าที่ 4 ถ้าขัดแย้งกันให้ระบุสาเหตุของความขัดแย้งว่ามีกี่สาเหตุ อะไรบ้าง ควรมีมากกว่า 1 สาเหตุ และระบุด้วยว่า จะเลือกสาเหตุ ใดบ้างมาวิจัย และควรระบุผลที่จะได้จากการวิจัยด้วย กล่าวคือ ต้องแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่ามีความสําคัญจึงต้องทําวิจัย และเขียนให้เหน็คุณค่าของงานวิจัยที่จะทํา

ย่อหน้าที่ 2 สภาพที่ควรจะเป็นตามแนวคิด ทฤษฎี ตํารา ผลวิจัย รายงาน บทความ ควรบรรยายอย่างเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ และควรระบุการอ้างอิงดังกล่าวด้วย

ย่อหน้าที่ 3 ใช้ความสามารถเชิงวิเคราะห์ของผู้วิจัย ชี้ให้เห็นว่า ย่อหน้าที่ 1 กับย่อหน้าที่ 2 มีความขัดแย้งกัน (ถ้าไม่ขัดแย้งกัน แสดงว่า...ไม่เป็นปัญหา ก็ไม่ต้องทําวิจัย)

Page 27: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

ต้องเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย

ควรกําหนดเป็นข้อ ๆ เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการวิเคราะห์

เขียนให้ชัดเจน เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ

เขียนเรียงลําดับให้เป็นไปตามความสําคัญของการวิจัย หรือเรียงตามขั้นตอนของการวิจัย

ไม่ควรเขียนในลักษณะที่เป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

หลักเกณฑ์การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

27

Page 28: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ... ประเด็นที่จะทําการ

วิจัย

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ... สิ่งที่ผู้วิจัยมุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น หากมีการนําข้อค้นพบและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจยัไปใช้ประโยชน์ หลังจากที่ได้ทําการวิจัยสิ้นสุดลง

28

Page 29: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

29

ประเภทของงานวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย

งานวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาสภาพ/เหตุการณ์ทัว่ ๆ ไปของ ...

งานวิจัยเชิงบรรยายเพื่อทํานาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี/ส่งผล/ผลกระทบ/อิทธิพลต่อ...

งานวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความแตกต่าง เพื่อเปรียบเทียบ... กับ ...

งานวิจัยเชิงอธิบาย เพื่อศึกษา/หาสาเหตุของ...

งานวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของ...ที่มีต่อ...(โดยควบคุม)

งานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อบรรยายเหตุการณ์...ที่เกิดขึ้นในอดีต

งานวิจัยเชิงประเมินผล เพื่อตรวจสอบ...ตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น

งานวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนา...

ตัวอย่าง...

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

Page 30: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

30

คําถามวิจัยหรือสมมตฐิาน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คําถามวิจัย

เพื่อศึกษาสภาพ/เหตุการณ์ทัว่ ๆ ไปของ ... สภาพการณ์ทั่ว ๆ ไป มีลักษณะอย่างไร

เพื่อศึกษาปัจจัยที่มี/ส่งผล/ผลกระทบ/อิทธิพลต่อ...

อะไรเป็นปัจจัยที่ผลต่อ...

เพื่อเปรียบเทียบ... กับ ... กลุ่มประชากรแตกต่างกันอย่างไร

เพื่อศึกษา/หาสาเหตุของ... อะไรเป็นสาเหตุของ...

เพื่อศึกษาอิทธิพลของ...ที่มีต่อ...(โดยควบคุม)

ตัวแปรจัดกระทําก่อให้เกิดผลอย่างไร

เพื่อบรรยายเหตุการณ์...ที่เกิดขึ้นในอดีต เกิดอะไรขึ้นในอดีต ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น

เพื่อตรวจสอบ...ตามเกณฑ์ที่สร้างขึ้น โครงการมีประสิทธิภาพหรือไม่ จะปรับปรุงอย่างไร

เพื่อพัฒนา... สิ่งที่พัฒนาขึ้นมามีลักษณะอย่างไร

คําถามวิจัย... เป็นประโยคที่สะท้อนว่า ผู้วิจัยจะศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งใด

Page 31: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

31

คําถามวิจัยหรือสมมตฐิาน

หลักการเขียนสมมตฐิานการวิจัย...

สมมติฐาน เป็นข้อสันนิษฐาน ซึ่งเป็นข้อความที่เดาหรือคาดคะเนผลการวิจัยไว้ล่วงหน้า ว่า... การวิจัยนั้นจะได้ข้อค้นพบอย่างไรบ้าง การเขียนจะต้องมีทฤษฎี ข้อเท็จจริง และผลการวิจัยในอดีตสนับสนุน

Page 32: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

32

ขอบเขตของการวิจัย เป็นการกล่าวให้ทราบว่า การวิจัยเรื่องนี้มีขอบเขตกว้างขวาง ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ครอบคลุมอะไรบ้าง เป็นการทําให้ประเด็นปัญหาการวิจัยที่ต้องการศึกษาชัดเจน

ขอบเขตของการวิจัย

Page 33: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

33

ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นเงื่อนไขหรือสภาพที่ผู้วิจัยยอมรับ ไม่ต้องพิสูจน์ และมีผลต่อการดําเนินการศึกษา รายงานการวิจัยอาจจะระบุข้อตกลงเบื้องต้นหรือไม่ก็ได้

การระบุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อให้ผู้อ่านทราบสภาพการณ์ของการวิจัย ตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ และวิธีวิจัย

ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)

สิ่งที่ไม่ควรเขียนเป็นข้อตกลงเบื้องต้น

� แบบสอบถามมีความเที่ยงตรงสูง

� ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์

� กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

Page 34: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

34

ข้อจํากัดของการวิจัย เป็นบริบทการวิจัยที่ควบคุมไม่ได้ และเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการวิจัย ทําให้งานวิจัยไม่สมบูรณ์ ถือเป็นจุดอ่อนที่กระทบต่องานวิจัย ผู้วิจัยต้องชี้แจงให้ผู้อ่านทราบอย่างตรงไปตรงมาว่าอุปสรรคดังกล่าวมีอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นและสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะมีผลอย่างไร ... เช่น

ข้อจํากัดของการวิจัย (ถ้ามี)

� การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทําให้ผู้วิจัยไม่สามารถสรุปอ้างอิงผลการวิจัยไปใช้กลุ่มประชากรได้

� การเปลี่ยนรัฐบาลทําให้งานวิจัยนี้ใช้เวลานานกว่าที่คาดหมายไว้

� ผู้วิจัยไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างเท่าที่ควร เนื่องจาก ...

� มีข้อจํากัดเรื่องงบประมาณทําให้ ...

Page 35: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

35

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

เป็นการอธิบายความหมายของคํา กลุ่มคํา หรือตัวแปรที่ศึกษา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับผู้วิจัย

ควรเขียนเฉพาะคําที่ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน

ตัวแปรที่เป็นนามธรรม ต้องมีการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ โดยต้องระบุวิธีการวัดด้วย เช่น ความพึงพอใจ ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น

Page 36: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามที่ตนมุ่งหวัง โดยการควบคุมนั้นเกิดจากแรงกระตุ้นจากภายใน และพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นต้องสอดคล้องกับกฎระเบียบอันดีงามของสังคมประกอบด้วย คุณลักษณะด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรับผิดชอบ ความตั้งใจจริง ความเป็นผู้นํา และความอดทน

36

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตัวอย่าง...

Page 37: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม หมายถึง การปฏิบัติตนตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนดทั้งต่อหน้าและลบัหลัง โดยไม่กระทําการใด ๆ ที่ขัดกับระเบียบหรือกฎเกณฑ์ของสังคมที่เป็นการไม่เหมาะสม วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ

ความเชื่อมั่นในตนเอง หมายถึง การแสดงออกของบุคคลในลักษณะของการตัดสินใจในสิ่งที่ตนเห็นว่าถูก กล้าแสดงออกในการคิด การพูด การกระทํา การออกความเห็นในการทํางานใด ๆ ด้วยความมั่นใจ ไม่มีความลังเล หรือหวั่นวิตกในความสามารถของตน วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ

37

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตัวอย่าง...

Page 38: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

ความรับผิดชอบ หมายถึง การแสดงออกในลักษณะของการมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเอาใจใส่ มีความละเอียดรอบคอบ ไม่ละเลย หรือทอดทิ้ง หรือหลีกเลี่ยงงานนัน้ มีความพากเพียร พยายาม และปรารถนาที่จะทําหนา้ที่ทีไ่ด้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ยอมรับผลของการกระทําในการปฏิบัติงานของตนทั้งด้านดแีละไม่ดีตลอดจนติดตามผลงานที่ไดท้ําไวแ้ล้ว เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เป็นผลสาํเร็จ วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ

ความตั้งใจจริง หมายถึง ความสนใจมุ่งมั่นที่จะประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เช่น การทําการบ้านตามที่อาจารย์สั่งอย่างสม่ําเสมอ การวางแผนล่วงหน้าก่อนลงมือทํา และพยายามทําให้เป็นไปตามแผน วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จํานวน 10 ข้อ

38

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตัวอย่าง...

Page 39: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

ความเป็นผู้นํา หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกถึงความเสียสละ ไม่มุ่งทําร้ายผู้อื่น มีเหตุผล ไม่ลําเอียง ปราศจากอคตใิด ๆ ให้อภัยในความผิดพลาดของผูอ้ื่น มีความเห็นอกเห็นใจ ไม่เห็นแก่ตัว และมีน้ําใจเป็นนักกีฬา วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ

ความอดทน หมายถึง ความสามารถของร่างกาย ความคิด และจิตใจที่จะทนต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้สําเร็จได้ โดยไม่คํานึงถึงอุปสรรคใด ๆ หมั่นออกกําลังกายให้ร่างกายแข็งแรง บังคับตนเองเมื่อเกิดความเหนื่อยอ่อนและเกียจคร้าน วัดจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจํานวน 10 ข้อ

39

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

ตัวอย่าง...

Page 40: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

40

ประโยชน์ที่ได้รับ (ความสําคัญของงานวิจัย)

ประโยชน์ที่ได้รับ เป็นส่วนที่ระบุถึงความสําคัญหรือประโยชน์ที่ได้รับ หลังจากที่ได้ดําเนินการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้วว่า... มีอะไรบ้างอย่างชัดเจน

ในการเขียนประโยชน์ที่ได้รับ ควรเขียนเป็นข้อ ๆ โดยเรียงจาก...ประโยชน์ที่สําคัญมาก และมีประโยชน์โดยตรงก่อน แล้วจึงเรียงตามลําดับความสําคัญรองลงมา

ควรเขียนในลักษณะที่ว่า... ผลจากการวิจัยจะนําไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาของงาน หน่วยงาน หรือวงวิชาการ เป็นต้น

Page 41: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

41

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

การเขียนผลการทบทวน

ขั้นตอนการทบทวน

เนื้อหาสาระที่ต้องทบทวน

ประโยชน์ของการทบทวน

Page 42: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

42

ประโยชน์ของการทบทวน

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

1. ทําให้ไม่ทําวิจัยในหัวข้อเรื่องและแนวความคิดซ้ํากับคนอื่น2. ช่วยในการกําหนดปัญหาการวิจัยให้เหมาะสมและมีคุณค่า3. ช่วยในการตั้งสมมตฐิานการวิจัยให้ถูกต้อง สมเหตุสมผล4. ช่วยเป็นแนวทางในการกําหนดรูปแบบและวิธีการทําวิจัย5. ช่วยเป็นแนวทางในการทดลองและ/หรือเก็บรวบรวมข้อมูล6. ช่วยเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลและเลือกใช้สถิติ7. ช่วยเป็นรูปแบบและลีลาในการเขียนรายงานการวิจัย8. ช่วยในการอภิปรายผลการวิจัย9. ทําให้เกิดความรู้เชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ เข้าใจเนื้อหาที่ทํา

วิจัยอย่างท่องแท้ ทั้งลึกและกว้าง

Page 43: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

43

เนื้อหาสาระที่ต้องทบทวน

1. สถานการณ์ที่เป็นปัญหา2. แนวคิดและทฤษฎี3. งานวิจัย ต้องสํารวจทั้งรูปแบบการวิจัย

วิธีการทํา และผลการวิจัยที่ได้4. เครื่องมือวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล5. สถิติและแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล6. รูปแบบและลีลาการเขียนรายงาน

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 44: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

44

เนื้อหาสาระที่นําเสนอ

1. ความหมายของคําหรือข้อความที่เป็นประเด็นสําคัญของเรื่องที่จะทําวิจัย

2. สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทําวิจัย3. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต้องสํารวจ ทบทวนที่เกี่ยวข้อง

ทั้งหมด และทําอย่างละเอียดเฉพาะที่จะนํามาสนับสนุนในการทําวิจัยเรื่องนั้น

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นําเสนอเนื้อหาให้รู้ว่า ใครทําวิจัย เรื่องอะไร กับใคร เมื่อใด ใช้วิธีการอย่างไร โดยเฉพาะการสุ่มตัวอย่าง การทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล และผลการวิจัยสรุปได้อย่างไรบ้าง เสนอเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

5. ปัจจัยหรือตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตามหรือปัญหาการวิจัย มีตัวแปรอะไรบ้าง และมีผลหรือสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตัวแปรตามที่ศึกษาอย่างไร

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 45: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

45

การวิเคราะห์หัวข้อ

เพื่อนําเสนอ

การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

โมเดลเชิงสาเหตุ

วินัยในตนเอง

การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

Page 46: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับวินัยตั้งแต่ปี 2517-2544 จํานวน 87 เรื่อง พบว่ามีผู้สนใจศึกษาความมีวินัยในลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ วินัยทางสังคมร้อยละ 4.6 วินัยในโรงเรียนร้อยละ 12.6 วินัยในชั้นเรียนร้อยละ 4.6 และวินัยในตนเองร้อยละ 78.2 โดยงานวิจัยที่เกี่ยวกับวินัยในตนเองที่มีจํานวนมากที่สุดนั้น รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองร้อยละ 47.1 และการวิจัยเชิงสํารวจร้อยละ 52.9 จําแนกตามระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างได้ 5 กลุ่ม คือ ระดับปฐมวัย มีผู้ศึกษาร้อยละ 10.3 ระดับประถมศึกษา มีผู้ศึกษาร้อยละ 33.8 ระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า มีผู้ศึกษาร้อยละ 41.2 ระดับอุดมศึกษา มีผู้ศึกษาร้อยละ 8.8 และกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ (ครู อาจารย์ และผู้บริหาร) มีผู้ศึกษาร้อยละ 5.9 จําแนกตามจุดมุ่งหมายในการวิจัยได้ 5 กลุ่ม คือ งานวิจัยที่มุ่งทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร ร้อยละ 75.0 งานวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือการทํานาย ร้อยละ 7.4 งานวิจัยที่มุ่งทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร และงานวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือการทํานาย ร้อยละ 10.3 งานวิจัยที่มุ่งจัดระบบหรือโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรซึ่งมีเพียงร้อยละ 2.9 และการสร้างแบบวัดความมีวินัยในตนเอง ร้อยละ 4.4 และเมื่อจําแนกตามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าสถิติที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดคือ t-test ร้อยละ 64.7 รองลงมาคือ F-test ร้อยละ 33.8 โดยเทคนิคที่นิยมมากที่สุดสําหรับสถิติ F-test คือ One-way ANOVA

จากงานวิจัยเกี่ยวกับวินัยในตนเองดังกล่าวจะพบว่า จํานวนงานวิจัยเชิงทดลองและงานวิจัยเชิงสํารวจแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย กลุ่มตัวอย่างในระดับอุดมศึกษามีผู้ศึกษาไว้เพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่พบงานวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ไม่ใช่งานวิจัยเชิงทดลองหรืองานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรหลาย ๆ ด้านกับความมีวินัยในตนเอง

46

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 47: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

47

ขั้นตอนการทบทวน

1. สํารวจแหล่งที่อยู่2. ประเมินคุณค่าของข้อมูล เนื้อหา3. กําหนดจุดมุ่งหมายในการอ่าน4. อ่านและบันทึก

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 48: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

48

การเขียนผลการทบทวน

1. การทําโครงเรื่อง (Outline)2. เขียนฉบับร่าง (The First Draft)3. ปรับปรุงแก้ไขฉบับร่าง (Revising the Draft)

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 49: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

49

สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเขียน

1. ขาดระบบ ระเบียบในการจัดลําดับหัวข้อ2. หัวข้อกับเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน3. ขาดการผสมกลมกลืน และไม่ต่อเนื่องกัน4. เนื้อหาขาดการปรับปรุง ตบแต่งให้ตรงกับเรื่องที่ต้องการ

ศึกษาวิจัย5. การอ้างอิงไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นไปตามระบบ

การอ้างอิง6. การคัดลอกข้อมูล ตัวเลข ศัพท์เทคนิค ชื่อเฉพาะผิดหรือ

คลาดเคลื่อน

บทที่ 2การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

Page 50: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

50

บทที่ 3วิธีดําเนินการวิจัย

รูปแบบและวิธีการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

การรวบรวมข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

ส่วนประกอบ

Page 51: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

51

บทที่ 4ผลการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยผลการวิจัยเป็นผลรวมของ...

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กับการตีความหรือการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นเพียงรายละเอียดที่เป็นตัวเลขและค่าทางสถิติเท่านั้น

Page 52: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

52

บทที่ 4ผลการวิจัย

1. สถานภาพของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

2. การนําเสนอตามวัตถุประสงค์และสมมตฐิานของการวิจัย

สิ่งที่ต้องนําเสนอ

Page 53: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

53

บทที่ 4ผลการวิจัย

1. เนื้อหาของผลการวิจัย

2. การเตรียมผลการวิเคราะห์

3. รูปแบบการนําเสนอผลการวิจัย

4. การทําตารางประกอบรายงาน

5. การใช้กราฟและแผนภูมิประกอบการเขียนรายงาน

หลักและแนวทางทั่วไป

Page 54: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

54

บทที่ 4ผลการวิจัย

ส่วนที่เป็นข้อมูล

เนื้อหาของผลการวิจัย

ประกอบด้วย 3 ส่วน ตัวแปร ข้อมูล ปริมาณข้อมูล

ส่วนที่เป็นการแปลความข้อมูลจากข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้ ผู้เขียนรายงานจะต้องแปลความหรือตีความข้อมูลที่นําเสนอด้วยการขยาย ชี้ประเด็น ให้ผู้อ่านทราบว่า การวิจัยนั้นได้ข้อค้นพบหรอืได้ข้อสรุปอย่างไร

การแปลความข้อมูล ไม่ใช่การอ่านค่าสถิติหรือปริมาณข้อมูล แต่เป็นการขยายหรือแปลความหมายสถิติที่เป็นผลการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ให้อยู่ในรูปของคุณภาพหรือภาษาที่คนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจง่าย

Page 55: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

55

บทที่ 4ผลการวิจัย

การสร้างตารางหุ่น (Dummy Table)

การเตรียมผลการวิเคราะห์

การจัดหัวข้อและเรียงผลการวิจัย ควรเรียงผลการวิจัยตามลําดับของวัตถุประสงค์

การจัดเรียงผลคําตอบ จัดเรียงให้เหมาะสมกับประเภทของตัวแปร

ตารางหุ่นมีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และสถิติทีใ่ช้

Page 56: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

56

บทที่ 4ผลการวิจัย

รูปแบบการนําเสนอผลการวิจัย

1. แบบบทความ

2. แบบกึ่งบทความ

3. แบบตารางประกอบบรรยาย

4. แบบบรรยายประกอบตารางหรือแผนภูมิ

5. แบบบรรยายสรุปตามด้วยตารางและให้ข้อสังเกตใต้ตาราง

6. แบบบรรยายและเสนอตารางหรือแผนภูมิไว้ในภาคผนวก

Page 57: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

57

บทที่ 4ผลการวิจัย

ข้อพิจารณาในการทําตารางประกอบรายงาน

1. มีความจําเป็นต้องใช้ตารางหรือไม่2. แต่ละคอลัมน์มีชื่อคอลัมน์หรือไม่3. มีคําอธิบายคําย่อทุกคําและสัญลักษณ์ทุกตัวหรือไม่4. ตารางที่คล้ายกันมีรูปแบบการนําเสนอเหมือนกันหรือไม่5. ชื่อตารางมีขนาดสั้นและให้คําอธิบายเนื้อหาในตารางได้ครบถ้วน

หรือไม่

Page 58: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

58

บทที่ 4ผลการวิจัย

ข้อพิจารณาในการทําตารางประกอบรายงาน

6. บูรณาการของการเขียนบรรยายเข้ากับตารางได้อย่างแนบเนยีน เสริมความกันไม่ซ้ําซ้อน

7. การสร้างตารางต้องเป็นไปตามระเบียบการเขียนรายงานวิจัยของหนว่ยงานทีใ่ห้ทุน8. ข้อความใต้ตารางเรียงจากข้อความทั่วไป ข้อความเจาะจง และข้อความที่ระบคุวาม

น่าจะเป็น9. ระบุค่า p (sig.) สําหรับค่าสถิติทุกค่าหรอืไม่ มีเครื่องหมายดอกจันกํากับหรอืไม่

ระดับความนา่จะเปน็เดียวกันใช้จํานวนดอกจันเท่ากันในทุกตารางหรอืไม่10. การใช้ตารางมากเกินไปมีข้อเสียตรงทีท่ําให้ผู้อ่านสับสน และทําให้เนือ้ความถูก

ขัดจังหวะ จึงควรใคร่ครวญความถี่ในการใช้ตาราง

Page 59: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

59

บทที่ 4ผลการวิจัย

การทําตารางประกอบรายงาน

ประเภทตาราง• ตารางทางเดียว เสนอตัวแปรเฉพาะแนวนอนเพียงตัวเดียว

แนวตั้งจะเสนอผลการวิเคราะห์

• ตารางสองทาง เสนอสองตัวแปรสัมพันธ์กัน แนวนอนหนึ่งตัวแปรหรือหลายตัวแปรก็ได้ ส่วนแนวตั้งจะมีเพียงตัวแปรเดียว

Page 60: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

60

บทที่ 4ผลการวิจัย

การทําตารางประกอบรายงาน

ส่วนประกอบของตาราง• ชื่อตาราง (Title) ประกอบด้วย หมายเลขตาราง กับชื่อตาราง• ต้นขั้ว (Stub) เป็นส่วนที่มักวางไว้ในแนวนอน ประกอบด้วย หัวขั้ว

เป็นชื่อตัวแปรที่ศึกษา กับต้นขั้ว เป็นระดับหรือคําตอบของตัวแปร• หัวเรื่องหรือหัวตาราง (Caption) เป็นส่วนที่มักวางไว้ในแนวตั้ง

เช่น จํานวนและร้อยละ ฯลฯ• ตัวเรื่อง (Body) เป็นตัวเลข ข้อมูล หรือค่าสถิติทึ่ต้องการเสนอ

Page 61: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

61

ตัวอย่างการนําเสนอตารางทางเดียว

จํานวนบุตร (คน) จํานวน ร้อยละ

1 – 2 1,646 65.7

3 – 4 607 24.2

5 – 6 173 6.9

มากกว่า 6 78 3.2

รวม 2,504 100.00

ตารางที่ 4.1 จํานวนและร้อยละของมารดา จําแนกตามจํานวนบุตร

Page 62: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

62

บทที่ 4ผลการวิจัย

การทําตารางประกอบรายงาน

แนวทางการนําเสนอตารางสองตัวแปร (Bivariate Table) หรือตารางไขว้ (Cross-tabulation Table)

เป็นการแสดงตัวแปรแบบแบ่งประเภท 2 ตัว โดยจัดตัวแปรเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าในแนวตั้ง (คอลัมน์-column) และแนวนอน (แถว-row) โดย ...

ตัวแปรอิสระ ... จะอยู่ในแนวนอน (แถว-row)ตัวแปรตาม... จะอยู่ในแนวตั้ง (คอลัมน์-column)

Page 63: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

63

บทที่ 4ผลการวิจัย

การทําตารางประกอบรายงาน

ตัวแปรอิสระ... เป็นสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นสาเหตุหรือเป็นตัวกําหนดตัวแปรตามตัวแปรตาม ... เป็นสิ่งที่เราคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวแปรอิสระ หรือเป็นผลจาก

ตัวแปรอิสระ เช่น ...“คนที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษามีความเห็นเรื่องการเมืองอย่างไร”

จากตัวอย่าง... ความเห็นเรื่องการเมือง ... ถือเป็นตัวแปร.....การเรียนในระดับอุดมศึกษา...ถือเป็นตัวแปร.....

Page 64: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

64

ตัวอย่างการนําเสนอตารางสองทาง

ความเห็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา

เรียน ไม่เรียน

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

ไม่ระบุ

ตารางที่ 4.2 ความเห็นในเรื่องการเมืองของคนที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา

Page 65: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

65

การนําเสนอตาราง t-test

Page 66: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

66

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: t-test

เพศ จํานวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

t p

ชาย 473 77.81 7.88 5.41 .02*

หญิง 1,662 78.78 7.18

ตารางที่ 4.3 การเปรียบเทียบเจตคติของบุคลากร ที่มีต่อสุขภาพจิตระหว่างชายและหญิง

* p < .05

Page 67: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

67

การนําเสนอตาราง: t-test

การแปลผล ให้ดูค่า p

ตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 4.3

จากตารางที่ 4.3 พบว่า บุคลากรชายกับหญิงมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรหญิงจะมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตมากกว่าบุคลากรชาย

Page 68: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

การรายงานความน่าจะเป็น1. ระบุค่า p ที่ได้จริงจากการทดสอบ วิธีนี้จะเป็นประโยชน์สําหรับผู้อ่าน

รายงานวิจัยที่ต้องการนําค่าไปวิเคราะห์เชิงอภิมาน (Mata-analysis) นอกจากนี้ การระบุค่า p ที่ชัดเจนนี้ ผู้วิจัยต้องกล่าวถึงระดับนัยสําคัญมาก่อนหน้านี้ในรายงานวิจัย เช่น p = .05 ในกรณีที่ค่าสถิติไม่มีนัยสําคัญ ผู้วิจัยควรรายงานค่า p ด้วย เช่น p = .24

2. ระบุว่าค่า p น้อยกว่าค่าแอลฟ่า เช่น p < .05 วิธีนี้ ทําให้สูญเสียรายละเอียด กล่าวคือ ผู้อ่านจะไม่ทราบว่าค่า p ที่แท้จริงมีค่าเป็นเท่าไหร่

3. สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (2001) จะไม่ใช้ 0 นําหน้าจุดทศนิยมที่บอกนัยสําคัญ เช่น p < .05

Page 69: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

69

การนําเสนอตารางOne Way ANOVA

Page 70: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

70

การนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

การนําเสนอผลการวิจัยที่สมบูรณ์ต้องนําเสนอ 2-3 ตาราง

1. ตารางข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ จํานวน ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. ตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวน

3. ตารางเปรียบเทียบรายคู่ กรณีที่พบว่า ข้อ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

Page 71: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

71

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

ประสบการณ์ จํานวน ต่ําสุด สูงสุด ค่าเฉลี่ย S.D.

0 – 4 ปี 46 2 10 7.65 1.70

5 – 9 ปี 30 4 10 7.97 1.19

10 – 14 ปี 21 3 10 7.71 1.45

ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 11 2 10 8.00 1.73

ตารางที่ 4.4 ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ ของบุคลากร จําแนกตามประสบการณ์

Page 72: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

72

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

แหล่งความแปรปรวน df SS MS F p

ระหว่างกลุ่ม 3 2.41 0.80 0.34 .79

ภายในกลุ่ม 104 243.69 2.34

รวม 107 246.10

ตารางที่ 4.5 การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน การติดเชื้อของบุคลากรที่มีประสบการณ์ต่างกัน

Page 73: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

73

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

แหล่งความแปรปรวน df SS MS F p

ระหว่างกลุ่ม 3 140.58 46.86 2.97 .04*

ภายในกลุ่ม 104 1,640.41 15.77

รวม 107 1,780.99

ตารางที่ 4.6 การเปรียบเทียบเจตคติทีม่ีต่อการป้องกัน การติดเชื้อของบุคลากรที่มีประสบการณ์ต่างกัน

* p < .05

Page 74: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

74

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: One Way ANOVAตารางที่ 4.7 การเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการป้องกันการติดเชื้อ

ของบุคลากรระหว่างกลุ่มประสบการณ์

ประสบการณ์ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป(48.73)

0 –4 ปี(49.17)

5 –9 ปี(50.33)

10 – 14 ปี (52.05)

ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป (48.73) -

0 – 4 ปี (49.17) .44 -

5 – 9 ปี (50.33) 1.60 1.16 -

10 – 14 ปี (52.05) 3.31* 2.88* 1.72 -

* p < .05

Page 75: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

75

การนําเสนอตาราง: One Way ANOVAการแปลผล

1. อาจแปลผลทั้งสามตารางหรือแปลผลเฉพาะตารางที่ 2 เพียงตารางเดียวก็ได้ เพราะตารางที่ 1 เป็นที่มาของตารางที่ 2 และ 3

2. เพื่อไม่ให้สับสนควรอธิบายและแปลผลทั้ง 3 ตาราง ตารางที่ 1 จะแปลผลในเชิงบอกปริมาณความมากน้อยของตัวเลขเป็นสําคัญ ตารางที่ 2 จะแปลผลที่ค่า p และตารางที่ 3 จะแปลผลว่าคู่ไหนที่แตกต่างกัน

Page 76: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

76

การนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

ตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 1 (ตารางที่ 4.4)

จากการวิเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของบุคลากรสาธารณสุข คะแนนเต็ม 10 คะแนน ทุกกลุ่มประสบการณ์มีความรู้สูงสุด 10 คะแนนเต็ม บุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอื่น รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ 5-9 ปี และกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อย 0-4 ปี มีความรู้เฉลี่ยน้อยสุด

Page 77: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

77

การนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

ตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 2 (ตารางที่ 4.5)

จากตารางที่ 4.5 พบว่า บุคลากรสาธารณสุขที่มี ประสบการณ์การทํางานแตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ไม่แตกต่างกัน

Page 78: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

78

การนําเสนอตาราง: One Way ANOVA

ตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 2 และ 3 (ตารางที่ 4.6 และ 4.7)

จากตารางที่ 4.6 และ 4.7 พบว่า บุคลากรสาธารณสุขที่มีประสบการณ์การทํางานแตกต่างกันมีเจตคติต่อการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่ประสบการณ์ 10-14 ปี จะมีเจตคติต่อการป้องกันโรคเอดส์มากกว่าบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี และมีประสบการณ์ 0-4 ปี

Page 79: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

79

การนําเสนอตารางCorrelation

Page 80: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

80

การนําเสนอตาราง: Correlation

การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรตัวหนึ่ง (Y) กับตัวแปรหลายตัว

Page 81: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

81

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: Correlationตารางที่ 4.8 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างอายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม

และคะแนนความรู้เชิงเหตุผลกับคะแนนความเชื่อหมอดูของนักศึกษา

X S.D. Y p

X1 = อายุ 36.16 8.05 .21 .00*

X2 = คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.88 .52 -.79 .00*

X3 = คะแนนความรู้เชิงเหตุผล 5.12 1.61 -.23 .00*

Y = คะแนนความเชื่อหมอดูของ นศ. 30.77 5.25

* p < .05

Page 82: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

82

การนําเสนอตาราง: Correlationตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 4.8

จากตารางที่ 4.8 พบว่า อายุกับความเชื่อหมอดูมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก แสดงว่า นักศึกษาที่มีอายุมากจะเชื่อหมอดูมากด้วย ส่วนคะแนนเฉลี่ยสะสมและความรู้เชิงเหตุผลสัมพันธ์กับความเชื่อหมอดูในเชิงลบ แสดงว่า นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมสูงหรือมีความรู้เชิงเหตุผลมากจะเชื่อหมอดูน้อย โดยอายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม และความรู้เชิงเหตุผลมีปริมาณความสัมพันธ์กับความเชื่อหมอดู ร้อยละ 4.2 62.1 และ 5.1 ตามลําดับ

Page 83: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

83

การนําเสนอตาราง: Correlation

การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรหลายตัวว่ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างไร

Page 84: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

84

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: Correlationตารางที่ 4.9 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างอายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม

คะแนนความรู้เชิงเหตุผล และคะแนนความเชื่อหมอดูของนักศึกษา

X S.D. X1 X2 X3 X4

X1 = อายุ 36.16 8.05 - -.20** -.39*** .21**

X2 = คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.88 .52 - .19* -.79***

X3 = คะแนนความรู้เชิงเหตุผล 5.12 1.61 - -.23***

X4 = คะแนนความเชื่อหมอดูของ นศ. 30.77 5.25 -

* p < .05; ** p < .01; p < .001

Page 85: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

85

การนําเสนอตาราง: Correlationตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 4.9

จากตารางที่ 4.9 พบว่า อายุกับ คะแนนเฉลี่ยสะสมความรู้เชิงเหตุผล และความเชื่อหมอดูสัมพันธ์กัน โดยอายุกับความเชื่อหมอดู และคะแนนเฉลี่ยสะสมกับความรู้เชิงเหตุผล สัมพันธ์กันในเชิงบวก ส่วนนอกนั้นสัมพันธ์กันในเชิงลบ แสดงว่า นักศึกษาที่มีอายุมาก จะมีคะแนนเฉลี่ยสะสมน้อยและมีความรู้เชิงเหตุผลน้อยด้วย แต่จะมีความเชื่อเรื่องหมอดูมาก นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมมากจะมีความรู้เชิงเหตุผลมากด้วย แต่นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมมากหรือมีความรู้เชิงเหตุผลมากจะเชื่อหมอดูน้อย โดยอายุ คะแนนเฉลี่ยสะสม ความรู้เชิงเหตุผล และความเชื่อหมอดู มีปริมาณความสัมพันธ์กันร้อยละ 3.8, 15.2, 4.2, 3.6, 62.1 และ 5.1 ตามลําดับ

Page 86: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

86

การนําเสนอตารางMultiple Regression

Page 87: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

87

ตัวอย่างการนําเสนอตาราง: Multiple Regressionตารางที่ 4.10 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณหาปัจจัยที่มีผลต่อ

ความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วย

ปัจจัย R2 b Beta t

เจตคติต่อโรคเบาหวาน .21 .33 .27 4.44

ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน .26 .44 .22 3.53

อายุ .28 -.09 -.21 3.52

อาชีพเกษตรกรรม .31 -1.83 -.21 3.37

การศึกษาระดับประถมศึกษา .33 -1.86 -.20 3.27

ค่าคงที่ 26.56 10.29

Page 88: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

88

การนําเสนอตาราง: Multiple Regressionตัวอย่างการแปลผลตารางที่ 4.10

จากตารางที่ 4.10 พบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยมี 5 ตัวแปร ได้แก่ เจตคติต่อโรคเบาหวาน ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน อายุ (มีผลทางลบ) อาชีพเกษตรกรรม (มีผลทางลบ) และการศึกษาระดับประถมศึกษา (มีผลทางลบ) โดยร่วมกันอธิบายความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยได้ร้อยละ 33 ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ เจตคติต่อโรคเบาหวาน รองลงมาเป็นความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน อายุ อาชีพเกษตรกรรม และการศึกษาระดับประถมศึกษาตามลําดับ

Page 89: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

89

บทที่ 4ผลการวิจัย

การใช้กราฟและแผนภูมิประกอบการเขียนรายงาน

การนําเสนอด้วยกราฟและแผนภูมิประกอบการเขียนรายงาน เหมือนกับการใช้ตารางเพียงแต่เปลี่ยนตารางเป็นกราฟหรือแผนภูมิ

กราฟหรือแผนภูมิต้องการให้เห็นความแตกต่างและข้อเปรียบเทียบได้ง่าย รวดเร็ว และสวยงามเป็นสําคัญ

แต่มีข้อจํากัด ... การนําเสนอด้วยกราฟ แผนภูมิ หรือรูปภาพ มักจะทําได้เพียงหยาบ ๆ เท่านั้น

Page 90: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

90

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทําวิจัย...

ผู้วิจัยจะต้องเขียนและจัดทําอย่างละเอียดรอบคอบ มีระบบ ระเบียบ และเขียนอย่างมีเหตุผล

เพราะส่วนนี้จะเป็นส่วนที่แสดงความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ หรือความแหลมคมของผู้วิจัย

Page 91: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

91

ส่วนประกอบ

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 92: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

92

การเขียนสรุปผลการวิจัย

วิธีการเขียนที่ง่าย คือ...

ดําเนินตามหัวข้อใหญ่ของบทที่เป็นผลการวิจัย เขียนสรุปหัวข้อต่อหัวข้อ ถ้าหัวข้อใหญ่มีหัวข้อย่อยให้รวมหัวข้อย่อย ๆ เข้าด้วยกัน โดยใช้คําเชื่อม

ไม่ควรใช้วิธีการย่อหน้า เพราะจะทําให้เนื้อหาไม่ผสมกลมกลืน สอดคล้องและต่อเนื่องกัน

บางครั้งการเขียนผลการวิจัยจะมีข้อสรุปของผลการวิจัยในส่วนนั้น ๆ ไว้แล้ว จะทําให้สะดวกต่อการสรุป โดยคัดลอกส่วนที่สรุปไว้มาต่อกันโดยใช้คําเชื่อมหรือคําขยาย

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 93: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

93

หลักและข้อเสนอแนะในการเขียนสรุปผลการวิจัย

1. ผลสรุปต้องตอบคําถามหรือประเด็นปัญหาการวิจัยที่กําหนดไว้ทั้งหมด2. ข้อสรุปผลการวิจัยที่ได้จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของการวิจัยนั้น3. ผลการวิจัยที่สรุปได้จะต้องตรงตามข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ได้มา4. ผลการวิจัยที่สรุปได้ ต้องเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงที่ได้มาเท่านั้น

จะมีความคิดเห็นส่วนตัว หรือข้อมูลอื่น นอกเหนือจากที่เก็บมาไม่ได้5. ข้อสรุปที่ได้ จะต้องเป็นประโยชน์ต่อการนําไปใช้ และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม6. ข้อสรุปที่ได้ ต้องเป็นผลจากการคิดทบทวน ไตร่ตรองอย่างละเอียด รอบคอบแล้ว

และจะต้องทดสอบซ้ําได้

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 94: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

94

การเขียนอภิปรายผลการวิจัย

อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) บางครั้งใช้คําว่า การวิจารณ์ผลการวิจัยเป็นวิธีการยืนยัน ประเมิน และขยายความผลการวิจัยของเราให้เป็นที่ยอมรับ เห็นคล้อยตาม

และเชื่อถือได้ รวมทั้งเห็นความสําคัญของการวิจัยเรือ่งนี้ ด้วยการหาหลักฐาน พยานมาสนับสนุน

หลักฐานพยานที่นาํมาสนับสนุน ได้แก่1. สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้2. ทฤษฎีและข้อเท็จจรงิที่พบแล้ว3. ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง4. ขนบธรรมเนียมประเพณ ีและความรู้แบบสามัญสํานึก5. ผลการวิจัยของเรื่องนั้น

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 95: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

95

การเขียนอภิปรายผลการวิจัย

การเขียนอภิปรายผลการวิจัย คล้ายกับการชวนเพื่อนไปรับประทานอาหารที่ร้านใดร้านหนึ่ง ซึ่งเราเคยไปรับประทานมาแล้ว และตัดสินว่า ร้านอาหารนั้นมีอาหารที่เพื่อนชอบ และอร่อยในการชวนเพื่อน... เราจะต้องพยายามอธิบายประกอบให้เพื่อนเห็นคล้อยตามและไปรับประทานอาหารร้านนั้นกับเราด้วย โดยเชื่อว่า อาหารร้านนั้นอร่อยตามที่เราชักชวน เช่น อาจจะต้องบอกเพื่อนให้ทราบว่า อาหารร้านนี้อร่อยมาก เชลล์ชวนชิมด้วย หรืออร่อยแบบห้าดาว มีคนนิยมไปรับประทานมาก ถ้าไปช้าจะต้องคอยนาน เป็นต้น

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 96: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

96

การเขียนข้อเสนอแนะ

การทําวิจัยทุกเรื่องจะต้องมีข้อเสนอแนะประกอบด้วยเสมอโดยทั่วไป ข้อเสนอแนะจะมุ่งเสนอแนะใน 3 ประเด็น ได้แก่

1. ประเด็นเกี่ยวกับการนําผลการวิจัยไปใช้2. ประเด็นเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย3. ประเด็นเกี่ยวกับการทําวิจัยต่อไป

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Page 97: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

97

บทที่ 5สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

หลักในการเขียนข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะ จะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ได้จากเนื้อหาสาระของเรื่องนั้น ไม่ใช่มาจากข้อคิดเห็นหรือการนึก คิด เอาเอง2. ข้อเสนอแนะ จะต้องเป็นเรื่องใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องเก่า จะต้องเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญเป็นพิเศษ3. ข้อเสนอแนะที่ให้ จะต้องสามารถปฏิบัตไิด้ หรือทําได้ภายในขอบเขตกําลังความสามารถ เงิน และเวลาที่มี4. ข้อเสนอแนะที่เขียนแต่ละข้อ จะต้องใคร่ครวญ และตระหนักถึงข้อจํากัด และความจําเป็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด รอบคอบ และเห็นว่าทําได้5. ข้อเสนอแนะทุกข้อจะต้องมีรายละเอียดให้มากพอสมควร และมากพอที่จะสามารถนําไปปฏิบัตไิด้ทันที

Page 98: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

98

Page 99: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

บรรณานุกรม/รายการอ้างอิง

ภาคผนวก

ประวัติผู้วิจัย

Page 100: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

100

บรรณานุกรม/รายการอ้างอิง

วิธีการเขียนใช้ตามที่ผู้ให้ทุนกําหนด *** ���� มทส. ใช้รูปแบบ APA

ศึกษาได้จากคู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ของ มทส.หรือจากเอกสารประกอบการบรรยายที่แจก

American Psychology Association. (2001). Publication manual of the American Psychological Association (5th ed.). Washington, DC: Author.

Page 101: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

101

ภาคผนวก

เป็นข้อความหรือตารางที่ไม่สามารถบรรจุในส่วนของเนื้อหา เป็นส่วนเสริมให้เกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้น

Page 102: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

102

ประวัตินักวิจัย

แนบประวัติตามรูปแบบที่แหล่งทุนกําหนด

หากแหล่งทุนไม่กําหนด ให้พิจารณาตามความเหมาะสม

Page 103: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

103

• ตัวอักษรและการพิมพ์• กระดาษ• การเว้นที่ว่างขอบกระดาษ• ลําดับหน้าและการใส่เลขหน้า

(ส่วนนํา ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนท้าย)• ตาราง กราฟ รูปภาพ แผนภูมิ (เนื้อความ

หมายเหตุ แหล่งที่มาของตาราง การพิมพ์ตาราง ภาพรูป)

Page 104: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

104

Page 105: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

105

Page 106: วันศุกรที่ 17 สิงหาคม 2555 9.00-12.00 น. ณ ...cste.sut.ac.th/cste/web1/web/link/0rQnxEfBIqCY.pdfรายงานการว จ ย หมายถ

106