4
AUDIOPHILE VIDEOPHILE 169 AUDIOPHILE VIDEOPHILE สมชัย สิทธิชัยศรีชาติ 168 AUDIOPHILE VIDEOPHILE การฟัง เพลงจากไฟล์ แบบ คุณภาพ สำหรับผู้ที่นิยมพังเพลงจากไฟล์ แบบคุณภาพสูง เรื่องที่น่าสนใจมาก ในตอนนี้คือเทคโนโลยี DSD ซึ่งรวมไปถึงไฟล์เพลงแบบ DSD ด้วยเพราะจู่ๆ ก็มีการเคลื่อนไหว ในเรื่องนี้มาจากผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน พร้อมๆ กัน บทความในตอนนีจึงขอพูดถึงเรื่อง DSD รวมไปถึง ความเคลื่อนไหวของผู้เกี่ยวข้องใน หลายๆ ด้านว่ามีการเคลื่อนไหว เกี่ยวกับ DSD ในประเด็นอะไรบ้าง และ DSD จะเข้ามามีส่วนใน อุตสาหกรรมเพลงอย่างไร ในอนาคต AD DSD คืออะไร? เริ่มต้นที่ชื่อเต็มของ DSD ก่อนว่าคือ Direct Stream Digital ซึ่งเป็น ชื่อทางการค้าที่ Philips และ Sony ได้ร่วมกัน กำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เมื่อครั้งที่ทั้งสองบริษัท ได้คิดค้นระบบ SACD ขึ้นมาแทน CD ในครั้งนั้น เพลงที่เก็บในแผ่น SACD ซึ่งเป็นไฟล์เพลงแบบ ดิจิทัลถูกเก็บไว้ในรูปแบบ ที่เรียกว่า DSD โดยวิธีการของ DSD นี้ มีชื่อเรียกทางเทคนิค คือ Delta-Sigma Modulation โดยวิธีนี้แตกต่างไปจากแบบทีเก็บไว้ในแผ่น CD ที่เป็นแบบ PCM (Pulse Code Modulation) แต่เนื่องจาก SACD ไม่ประสบความสำเร็จทางการค้า DSD ก็เลย ดูเหมือนเงียบหายตามไปด้วย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ที่ DSD เริ่มกลับเข้าสู่ความสนใจใหม่อีกครั้งด้วยการเป็นอีกทางเลือก หนึ่งของไฟล์เพลงแบบ High-Resolution และด้วยเหตุผลอื่นๆ ตามที่จะกล่าวถึงในบทความฉบับนีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น เหตุผลที่ Philips/Sony ได้ให้ไว้เมื่อแนะนำ DSD ออกสูตลาดคือคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น โดย DSD เป็นระบบการแปลง สัญญาณจากอะนาล็อกเป็นดิจิทัลที่ความถี่สูงมาก โดยสุ่ม สัญญาณที่ 2.8224 MHz ซึ่งความถี่นี้ ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว สูงกว่าความถี่ที่ CD ใช้ถึง 64 เท่า ในทางอิเล็คโทรนิค เมื่อแปลง สัญญาณด้วยการสุ่มที่ความความถี่สูงมากๆ เช่นกรณีนี้ สูงกว่า ความถี่เสียงถึง 128 เท่า (เพราะ CD ก็มีการสุ่มที่ความถี่สูงกว่า ความถี่สูงสุดของเสียง 2 เท่าอยู่แล้ว) การเปลี่ยนแปลงของระดับ สัญญาณเสียงในแต่ละการสุ่มจึงน้อยมาก ระบบ DSD จึงเลือก เก็บข้อมูลเพียงบิตเดียว ซึ่งหมายถึงเก็บได้เพียง 2 สถานะคือ “ดังขึ้น” หรือ “เบาลง” ซึ่งทาง Philips/Sony อธิบายว่า ระบบ DSD1bit/2.8224MHz นี้ ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แบบ PCM 16bit/44.1kHz เพราะมีการสุ่มที่ความถี่สูงกว่า CD ถึง 64 เท่านั่นเอง ในแง่คุณภาพเสียงที่เชื่อว่าดีขึ้นของ DSD ก็มีผู้สนับสนุนมาก เริ่มตั้งแต่ Philips/Sony ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นผู้เลือกใช้ DSD แทน PCM ใน SACD ก็ย่อมต้องยืนยันว่า DSD ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติกว่า PCM นอกจากนั้น ทาง Sony เอง เมื่อครั้งที่ไปซื้อบริษัทฯ CBS/Columbia Records และเจอว่า master tape ที่เก็บเพลงต้นฉบับเริ่มเสื่อมสภาพลง จนอาจทำให้เพลงที่บันทึกไว้เสียหาย จึงรีบแปลงเพลงเหล่านั้นเป็นดิจิทัล เพื่อให้เก็บได้ตลอดไป ซึ่งในงานนั้น Sony เลือกแปลงเพลงในรูปแบบ DSD แทน PCM รวมทั้งมีซาวด์เอ็นจิเนียร์หลายคนก็พูดถึง DSD ว่าใน แง่การแปลงเสียงจากอะนาล็อกเป็นดิจิทัลนั้น DSD สามารถให้เสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากกว่า PCM ที่มีรายละเอียด 16bit/44.1kHz อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ DSD จะถูกแนะนำออกสู่ตลาดอุตสาหกรรม เพลงก็มีการพัฒนารูปแบบการแปลงเสียงแบบ PCM ให้ดีขึ้นโดยมี การเพิ่มความถี่ให้สูงขึ้นจาก 44.1kHz เป็น 96kHz และสุดท้ายมา อยู่ที่ 192kHz มีการเพิ่มจำนวนบิตที่ใช้เก็บระดับสัญญาณจาก 16 bit ที่เก็บสัญญาณได้ 65,636 ระดับ มาเป็น 24 bit ที่เก็บสัญญาณ ได้ถึง 16,777,216 ระดับ จนทำให้ระบบ PCM รายละเอียดสูงนี้กลายเป็น มาตรฐานในห้องบันทึกเสียงไป นอกจากการใช้ PCM ที่มีรายละเอียดสูงในห้องบันทึกเสียงแล้ว มีการนำไฟล์เพลง PCM นี้มาบันทึกบนแผ่น DVD เพื่อใช้ในตลาดผู้บริโภค ด้วยโดยเรียกแผ่นแบบนี้ว่า DVD-Audio หรือ DVD-A ซึ่งแผ่นแบบ DVD-A นี้ อยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกาก่อนที่ Philips/Sony จะแนะนำ SACD เข้าสู่ตลาดซึ่งเรื่องนี้ทำให้ตลาดเพลงคุณภาพสูงในสหรัฐอเมริกา เกิดความสับสนพอสมควร เพราะมี 2 มาตรฐานที่แข่งขันกันแต่สุดท้าย SACD ก็ประสบผลสำเร็จมากกว่าและแผ่นแบบ DVD-A ก็หายไปจากตลาด PCM/DSD ทำงานอย่างไร ในปัจจุบัน เมื่อต้องการแปล สัญญาณเสียงอะนาล็อกเป็นดิจิทัล วิธีการแปลงที่ได้รับความนิยมสูงสุด มี 2 วิธีตามที่กล่าวมาแล้วคือ PCM ที่ใช้มานานแล้วและแบบ DSD ทีPhilips/Sony แนะนำเข้าสู่ตลาด เมื่อปี 2542 ซึ่งทั้งสองวิธีมีพื้นฐาน การทำงานที่แตกต่างกันมากวิธีการ แปลงแบบ PCM ผมเคยอธิบายไว้ แล้วในบทความตอนต้นๆ ท่านทีสนใจสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ โดย สรุปสั้นๆ ว่าแปลงโดยสุ่มสัญญาณ ที่ความถีไม่สูงมากนัก แล้วเก็บระดับ สัญญาณที่สุ่มได้ด้วยข้อมูลขนาด 16 หรือ 24 บิตส่วนแบบ DSD ซึ่ง มีชื่อทางเทคนิคว่า Delta-Sigma Modulation นั้น ทำงานโดยการ แบ่งสัญญาณเสียงเป็นท่อนๆ เช่นกัน แล้วเทียบระดับสัญญาณเสียงปัจจุบัน กับระดับสัญญาณสะสมที่ผ่านมาว่า สูงกว่าหรือต่ำกว่า ถ้าสูงกว่าก็แทน ด้วยค่า 1 ถ้าต่ำกว่าก็แทนด้วยค่า 0 (ไม่ว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าแค่ไหน) ซึ่ง หมายถึงการเก็บค่าความแตกต่าง เพียงบิตเดียวโดยอยู่บนพื้นฐานทีว่าเมื่อมีการสุ่มสัญญาณที่สูงพอ ระดับสัญญาณจะเปลี่ยนไปไม่มาก สามารถเก็บค่าการเปลี่ยนแปลงด้วย บิตเดียวได้ การที่ระบบนี้มีการเปรียบเทียบ สัญญาณจึงเป็นที่มาของคำว่า Delta ซึ่งเป็นตัวอักษรกรีกที่นักคณิตศาสตร์ ใช้แทน “การเปลี่ยนแปลง” และ เนื่องจากในการเปรียบเทียบ เป็น การเปรียบเทียบกับระดับสัญญาณทีสะสมมา จึงเป็นที่มาของคำว่า Sigma ซึ่งเป็นอักษรกรีกที่นักคณิตศาสตร์ ใช้แทน “ผลรวม” ทำให้ชื่อทาง เทคนิคของวิธีนี้คือ Delta-Sigma Modulation Philips/Sony เคยชี้แจงราย- ละเอียดของการแปลงเสียงแบบ DSD ไว้ในบทความ “Super Audio CD A Technical Overview” ท่านที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่าน รายละเอียดได้ที่... http://www.muszeroldal.hu/ assistance/sacd.pdf ซึ่งผมขอ นำภาพผลการแปลงสัญญาณแบบ DSD จากเอกสารดังกล่าวมาแสดง ไว้โดยด้านบนของภาพเป็นสัญญาณ

AUDIOPHILE...ท ใช มานานแล วและแบบ DSD ท Philips/Sony แนะนำเข าส ตลาด เม อป 2542 ซ งท งสองว ธ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: AUDIOPHILE...ท ใช มานานแล วและแบบ DSD ท Philips/Sony แนะนำเข าส ตลาด เม อป 2542 ซ งท งสองว ธ

168AUDIOPHILE VIDEOPHILE 169AUDIOPHILE VIDEOPHILE

สมชัย สิทธิชัยศรีชาติ

168AUDIOPHILE VIDEOPHILE

การฟงั เพลงจากไฟล์ แบบคณุภาพ

สำหรับผู้ที่นิยมพังเพลงจากไฟล์แบบคุณภาพสูงเรื่องที่น่าสนใจมากในตอนนี้คือเทคโนโลยีDSDซึ่งรวมไปถึงไฟล์เพลงแบบDSDด้วยเพราะจู่ๆก็มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาจากผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนพร้อมๆกันบทความในตอนนี้จึงขอพูดถึงเรื่องDSDรวมไปถึงความเคลื่อนไหวของผู้เกี่ยวข้องในหลายๆด้านว่ามีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับDSDในประเด็นอะไรบ้างและDSDจะเข้ามามีส่วนในอุตสาหกรรมเพลงอย่างไรในอนาคต

AD

DSD คืออะไร? เริ่มต้นที่ชื่ อ เต็มของ

DSD ก่อนว่าคือ Direct Stream Digital ซึ่งเป็น ชื่อทางการค้าที่ Philips และ Sony ได้ร่วมกันกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เมื่อครั้ งที่ทั้ งสองบริษัท ได้คิดค้นระบบ SACD ขึ้นมาแทน CD ในครั้งนั้น เพลงที่เก็บในแผ่น SACD ซึ่ ง เป็ น ไฟล์ เพลงแบบ ดิจิทัลถูกเก็บไว้ในรูปแบบ

ที่เรียกว่า DSD โดยวิธีการของ DSD นี้ มีชื่อเรียกทางเทคนิค คือ Delta-Sigma Modulation โดยวิธีนี้แตกต่างไปจากแบบที่เก็บไว้ในแผ่น CD ที่เป็นแบบ PCM (Pulse Code Modulation) แต่เนื่องจาก SACD ไม่ประสบความสำเร็จทางการค้า DSD ก็เลย ดูเหมือนเงียบหายตามไปด้วย จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ที่ DSD เริ่มกลับเข้าสู่ความสนใจใหม่อีกครั้งด้วยการเป็นอีกทางเลือก หนึ่งของไฟล์เพลงแบบ High-Resolution และด้วยเหตุผลอื่นๆ ตามที่จะกล่าวถึงในบทความฉบับนี้

คุณภาพเสียงที่ดีขึ้น เหตุผลที่ Philips/Sony ได้ให้ไว้เมื่อแนะนำ DSD ออกสู่

ตลาดคือคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น โดย DSD เป็นระบบการแปลงสัญญาณจากอะนาล็อกเป็นดิจิทัลที่ความถี่สูงมาก โดยสุ่มสัญญาณที่ 2.8224 MHz ซึ่งความถี่นี้ ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว สูงกว่าความถี่ที่ CD ใช้ถึง 64 เท่า ในทางอิเล็คโทรนิค เมื่อแปลงสัญญาณด้วยการสุ่มที่ความความถี่สูงมากๆ เช่นกรณีนี้ สูงกว่าความถี่เสียงถึง 128 เท่า (เพราะ CD ก็มีการสุ่มที่ความถี่สูงกว่าความถี่สูงสุดของเสียง 2 เท่าอยู่แล้ว) การเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณเสียงในแต่ละการสุ่มจึงน้อยมาก ระบบ DSD จึงเลือกเก็บข้อมูลเพียงบิตเดียว ซึ่งหมายถึงเก็บได้เพียง 2 สถานะคือ “ดังขึ้น” หรือ “เบาลง” ซึ่งทาง Philips/Sony อธิบายว่า ระบบ DSD1bit/2.8224MHz นี้ ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า แบบ PCM 16bit/44.1kHz เพราะมีการสุ่มที่ความถี่สูงกว่า CD ถึง 64 เท่านั่นเอง

ในแง่คุณภาพเสียงที่ เชื่อว่าดีขึ้นของ DSD ก็มีผู้สนับสนุนมาก เริ่มตั้งแต่ Philips/Sony ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นผู้เลือกใช้ DSD แทน PCM ใน SACD ก็ย่อมต้องยืนยันว่า DSD ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติกว่า PCM นอกจากนั้น ทาง Sony เอง เมื่อครั้งที่ไปซื้อบริษัทฯ CBS/Columbia Records และเจอว่า master tape ที่เก็บเพลงต้นฉบับเริ่มเสื่อมสภาพลงจนอาจทำให้เพลงที่บันทึกไว้เสียหาย จึงรีบแปลงเพลงเหล่านั้นเป็นดิจิทัลเพื่อให้เก็บได้ตลอดไป ซึ่งในงานนั้น Sony เลือกแปลงเพลงในรูปแบบ DSD แทน PCM รวมทั้งมีซาวด์เอ็นจิเนียร์หลายคนก็พูดถึง DSD ว่าใน แง่การแปลงเสียงจากอะนาล็อกเป็นดิจิทัลนั้น DSD สามารถให้เสียง ที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากกว่า PCM ที่มีรายละเอียด 16bit/44.1kHz

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ DSD จะถูกแนะนำออกสู่ตลาดอุตสาหกรรมเพลงก็มีการพัฒนารูปแบบการแปลงเสียงแบบ PCM ให้ดีขึ้นโดยมี การเพิ่มความถี่ให้สูงขึ้นจาก 44.1kHz เป็น 96kHz และสุดท้ายมา อยู่ที่ 192kHz มีการเพิ่มจำนวนบิตที่ใช้เก็บระดับสัญญาณจาก 16 bit ที่ เก็บสัญญาณได้ 65,636 ระดับ มาเป็น 24 bit ที่ เก็บสัญญาณ ได้ถึง 16,777,216 ระดับ จนทำให้ระบบ PCM รายละเอียดสูงนี้กลายเป็นมาตรฐานในห้องบันทึกเสียงไป

นอกจากการใช้ PCM ที่มีรายละเอียดสูงในห้องบันทึกเสียงแล้ว มีการนำไฟล์เพลง PCM นี้มาบันทึกบนแผ่น DVD เพื่อใช้ในตลาดผู้บริโภคด้วยโดยเรียกแผ่นแบบนี้ว่า DVD-Audio หรือ DVD-A ซึ่งแผ่นแบบ DVD-A นี้ อยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกาก่อนที่ Philips/Sony จะแนะนำ SACD เข้าสู่ตลาดซึ่งเรื่องนี้ทำให้ตลาดเพลงคุณภาพสูงในสหรัฐอเมริกา เกิดความสับสนพอสมควร เพราะมี 2 มาตรฐานที่แข่งขันกันแต่สุดท้าย SACD ก็ประสบผลสำเร็จมากกว่าและแผ่นแบบ DVD-A ก็หายไปจากตลาด

PCM/DSD ทำงานอย่างไร

ในปัจจุบัน เมื่อต้องการแปลสัญญาณเสียงอะนาล็อกเป็นดิจิทัล วิธีการแปลงที่ได้รับความนิยมสูงสุด มี 2 วิธีตามที่กล่าวมาแล้วคือ PCM ที่ ใช้มานานแล้วและแบบ DSD ที่ Philips/Sony แนะนำเข้าสู่ตลาด เมื่อปี 2542 ซึ่งทั้งสองวิธีมีพื้นฐาน การทำงานที่แตกต่างกันมากวิธีการแปลงแบบ PCM ผมเคยอธิบายไว้ แล้วในบทความตอนต้นๆ ท่านที่ สนใจสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ โดย สรุปสั้นๆ ว่าแปลงโดยสุ่มสัญญาณ ที่ความถี่ไม่สูงมากนัก แล้วเก็บระดับสัญญาณที่ สุ่ ม ไ ด้ ด้ ว ยข้ อมู ล ขนาด 16 หรือ 24 บิตส่วนแบบ DSD ซึ่ง มีชื่อทางเทคนิคว่า Delta-Sigma Modulation นั้น ทำงานโดยการ แบ่งสัญญาณเสียงเป็นท่อนๆ เช่นกัน แล้วเทียบระดับสัญญาณเสียงปัจจุบันกับระดับสัญญาณสะสมที่ผ่านมาว่า สูงกว่าหรือต่ำกว่า ถ้าสูงกว่าก็แทนด้วยค่า 1 ถ้าต่ำกว่าก็แทนด้วยค่า 0 (ไม่ว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าแค่ไหน) ซึ่งหมายถึงการเก็บค่าความแตกต่างเพียงบิตเดียวโดยอยู่บนพื้นฐานที่ ว่ า เมื่ อมี ก ารสุ่ มสัญญาณที่ สู งพอ ระดับสัญญาณจะเปลี่ยนไปไม่มาก สามารถเก็บค่าการเปลี่ยนแปลงด้วยบิตเดียวได้

การที่ระบบนี้มีการเปรียบเทียบสัญญาณจึงเป็นที่มาของคำว่า Delta ซึ่งเป็นตัวอักษรกรีกที่นักคณิตศาสตร์ใช้แทน “การเปลี่ยนแปลง” และเนื่องจากในการเปรียบเทียบ เป็น การเปรียบเทียบกับระดับสัญญาณที่สะสมมา จึงเป็นที่มาของคำว่า Sigma ซึ่งเป็นอักษรกรีกที่นักคณิตศาสตร์ ใช้แทน “ผลรวม” ทำให้ชื่อทางเทคนิคของวิธีนี้คือ Delta-Sigma Modulation

Philips/Sony เคยชี้แจงราย-ละเอียดของการแปลงเสียงแบบ DSD ไว้ในบทความ “Super Audio CD A Technical Overview” ท่านที่ สนใจ สามารถเข้ า ไปอ่าน รายละเอียดได้ที่... http://www.muszeroldal.hu/assistance/sacd.pdf ซึ่งผมขอ นำภาพผลการแปลงสัญญาณแบบ DSD จากเอกสารดังกล่าวมาแสดง ไว้โดยด้านบนของภาพเป็นสัญญาณ

Page 2: AUDIOPHILE...ท ใช มานานแล วและแบบ DSD ท Philips/Sony แนะนำเข าส ตลาด เม อป 2542 ซ งท งสองว ธ

170AUDIOPHILE VIDEOPHILE 171AUDIOPHILE VIDEOPHILE 170AUDIOPHILE VIDEOPHILE

อะนาล็อกและผลจากการแปลงเป็นดิจิทัล ซึ่งคือ 1 บ้าง 0 บ้าง อยู่ด้านล่างสุด โดยแถบตรงกลางเป็นกราฟที่แทน 1 ด้วยแถบดำและแทน 0 ด้วยแถบขาว เพื่อให้เห็นข้อมูลดิจิทัลได้ชัดขึ้น

2 รูปแบบของ DSD ในปี 2542 ที่มีการ

แนะนำ DSD ออกสู่ตลาดความถี่ในการแปลงข้อมูลของ DSD อยู่ที่ 2.8224 MHz ต่อมา ได้มีการพัฒนาระบบ DSD ที่ทำงานที่ความถี่สูงขึ้น 2 เท่า คือ 5.6448MHz หรือ 128 เท่าของ 44.1kHz เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สูงขึ้นไปอีก จึงเรียก ระบบ DSD ทั้งสองให้แตกต่างกันว่า DSD64 (SACD) และ DSD 128 (Double DSD) ทั้งนี้ สำหรับแผ่น SACD ยังคงใช้แบบ DSD 64 เท่านั้น

สำหรับ file เพลงของ DSD ก็มี 3 แบบหลักๆ คือ 1) .dff เป็นมาตรฐานที่ Philips กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเนื่องจากเป็นมาตรฐานแรกที่ถูกกำหนดขึ้น จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะในอุปกรณ์เก่าๆ 2) .wsd กำหนดโดย 1-bit-Audio-Consortium ในปี 2002 ซึ่ง Consortium นี้ มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นบริษัทในญี่ปุ่น เพื่อให้ใช้มาตรฐานเดียวกันในการเก็บข้อมูล เช่น Korg หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์บันทึกเสียง แบบ DSD ก็ใช้ฟอร์แมตนี้ในการบันทึกเสียง 3) .dsf แนะนำโดย Sony ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก .dff แต่เพิ่ม meta data เช่นพวกรูปภาพเข้าไป เนื่องจาก .dsf เป็นมาตรฐานที่เก็บข้อมูลอื่นได้ด้วย จึงได้รับความนิยมสูงในช่วงหลัง อย่างไรก็ตาม โปรแกรมที่ใช้เล่นไฟล์เพลง DSD ส่วนใหญ่ ก็มักใช้ได้กับทั้ง 3 ฟอร์แมตนี้

การเล่นไฟล์เพลง DSD มีสองวิธีในการเล่นไฟล์เพลง DSD วิธีแรก... เป็นวิธีที่ง่ายสุดแต่ผู้นิยม

ชมชอบ DSD ไม่ชอบเลย คือการแปลง DSD เป็น PCM ก่อนแล้วนำ PCM มาเล่น โดยการแปลงนี้เป็นการแปลงทันทีที่เรียกว่า on-the-fly คืออ่าน

การแปลงข้อมูลเสียงมาเป็น DSD นั้น มีการเปรียบเทียบกับข้อมูลกับ ส่วนที่ผ่านมา ดังนั้น ในการปรับเปลี่ยนเสียงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ต้น ทุกครั้ง ไม่ เหมือนข้อมูล PCM ที่ข้อมูลแต่ละส่วนมีความสมบูรณ์ ในตัว เป็นอิสระต่อกัน สามารถดึงท่อนไหนมาปรับแต่งก็ได้ ในสตูดิโอบันทึกเสียงจึงใช้กันแต่ PCM โปรแกรมหรือเครื่องมือในการผสมเสียง ต่างๆ เช่น Pro Tools หรือ audio plug in ที่ใช้ปรับแต่งเสียง ล้วนแล้วแต่ทำงานกับข้อมูลที่เป็น PCM ทั้งสิ้น ถึงแม้เริ่มมีโปรแกรมผสมเสียง ที่ใช้กับไฟล์เพลงแบบ DSD ออกมาแล้วบ้าง เช่น Pyramix แต่ความสามารถในการทำงานก็ยังจำกัดเมื่อเทียบกับแบบ PCM โดยเฉพาะ ในแง่ plug-ins ต่างๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วทำงานได้กับ PCM เท่านั้น เพลงที่ผลิตจากสตูดิโอทั้งหลายจึงเป็น PCM กันแทบทั้งหมด

มีไฟล์เพลงที่เป็น DSD แท้ หรือไม่?

เ นื่ อ ง จ ากการบันทึกเสียงในสตูดิโอทำกันในรูปแบบ PCM ตั้ งแต่ต้นจนจบ แ ล้ ว ม า แ ป ล ง เป็น DSD ภาย-หลัง เพื่อบันทึกลง SACD แฟน DSD เริ่มสงสัยว่า แล้วมีไฟล์เ พ ล ง ที่ เ ป็ น DSD แท้ๆ หรือไม่ คำตอบคือมีครับ ไฟล์เพลงที่เป็น DSD แท้ๆ มาจากสองแหล่งคือ 1) มาจากการบันทึกการแสดงสดนอกสตูดิโอ คือบันทึกกันตรงๆ แล้วนำมาให้ฟัง โดยไม่ต้องตัดต่ออะไรมาก คล้ายๆ กับใช้เทปในการบันทึกเสียง อันนี้รวมไปถึงบางสตูดิโอที่ยอมรับข้อจำกัดของ DSD ว่าปรับแต่งเสียง ไม่ได้ แล้วบันทึกเสียงในแบบ DSD ไปตั้งแต่ต้นแล้วนำมาให้ฟังกันสดๆ ไปเลย เช่น Blue Coast Studio ที่จะแนะนำกันในตอนท้ายของ บทความนี้ด้วย 2) เป็นการแปลงเพลงจาก master tape ไปเป็นดิจิทัล ซึ่งกระบวนการนี้ ตามที่กล่าวถึงไปแล้วว่าทาง Sony ได้ดำเนินการ ตั้งแต่เข้าไปซื้อกิจการ CBS/Columbia Records โดยแปลงเพลงจาก เทปมาเป็น DSD ทั้งหมดซึ่งเข้าใจว่าส่วนหนึ่งของเพลงเหล่านี้ ได้นำมาขายในรูปแบบ SACD ไปแล้วและถือว่าเป็น DSD แท้เช่นกัน

หาไฟล์เพลงแบบ DSD ได้ที่ไหน ปัจจุบันมีสองวิธีที่จะได้ไฟล์เพลง

แบบ DSD มา วิธีแรกคือการซื้อและ ดาวน์โหลดจากผู้ขาย วิธีที่สองคือการ rip จากแผ่น SACD เนื่องจาก SACD มีระบบป้องกันการก็อปปี้ที่แน่นหนามาก เท่าที่ผ่านมา การแปลงเพลงจาก SACD มา เป็นไฟล์เพลงต้องทำด้วยการใช้เครื่อง Playstation 3 ของ Sony รุ่นเก่าที่ใช้ firmware 3.55 หรือต่ำกว่าแล้วนำมาดัดแปลงอีกครั้ง เพราะ Playstation รุ่นนี้ สามารถอ่านแผ่น SACD ได้ และเมื่อใช้

AD

การฟังเพลงจากไฟล์แบบคุณภาพสูง

ข้อมูลจากไฟล์ที่เป็น DSD แล้วแปลงเป็น PCM เพื่อใช้งานต่อทันที ไม่ได้ต้องแปลงไฟล์เพลงไปเก็บไว้เป็นอีกไฟล์หนึ่งซึ่งโปรแกรมเล่นเพลงระดับ audiophile มักมีความสามารถในการแปลงไฟล์ในลักษณะนี้อยู่ด้วยเสมอ ในกรณี JRiver ตั้งแต่เวอร์ชั่น 17 ขึ้นไป สามารถแปลงข้อมูล DSD ให้เป็น PCM แบบ 64 bit/352.8 kHz และเป็นการแปลงแบบ lossless/ bit-perfect อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่มี PCM DAC ที่เล่นไฟล์ รายละเอียดสูงขนาดนี้ได้ จึงต้องปรับรายละเอียดลงให้เท่ากับที่ DAC สามารถเล่นได้ ซึ่ง JRiver ก็มี DSP ที่ใช้ปรับรายละเอียดลง ทำให้สามารถเล่นไฟล์เพลงแบบ DSD ได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม ส่วนวิธีที่สอง เป็นวิธีที่ถูกใจผู้นิยม DSD หรือกลุ่มที่อยากฟังว่า DSD แท้ๆ เสียงเป็นอย่างไร แต่ต้องใช้ DSD DAC เพราะข้อมูลที่ส่งออกมาเป็นแบบ bit stream คือ ส่งมาทีละบิตตามมาตรฐานของ DSD แต่นอกเหนือจากที่ต้องมี DAC ที่ใช้กับไฟล์เพลงแบบ DSD ได้แล้วนั้น อีกปัญหาที่เกิดขึ้นของ bit stream คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ MAC OSX ยังไม่สนับสนุนการส่งข้อมูลแบบ bit stream จึงเป็นอีกปัญหาที่ต้องแก้ไข กรณี Windows การส่ง bit stream ออกมาจากคอมพิวเตอร์ทำได้ 2 วิธีคือ... 1) ใช้ ASIO ซึ่งตามที่เคยกล่าวไว้ ASIO เป็นโปรแกรม ที่ทำงานโดยข้าม Windows ไปเลยโปรแกรมเล่นเพลงจะส่งข้อมูล แบบ bit stream ให้ ASIO แล้ว ASIO ก็ส่งต่อไปที่ DAC โดยตรง ไม่ผ่าน Windows โดย ASIO ที่มีความสามารถแบบนี้เป็น ASIO 2.2 ขึ้นไป ซึ่งผู้ผลิต DSD DAC บางราย ก็ให้โปรแกรม ASIO 2.2 มาด้วย 2) เป็นวิธี ที่จับข้อมูล DSD มาเรียงใหม่ให้ดูเหมือน PCM แล้วส่งออกมาเป็น PCM เนื่องจากข้อมูลมันเหมือน PCM ทุกประการ ทำให้ส่งผ่าน Windows ออกมาได้ วิธีนี้เรียกกันว่า DSD over PCM (DoP) แล้วพอข้อมูลถึง DAC ก็ค่อยแปลงจาก PCM มาเป็น DSDbit stream ที่เหมือนเดิมทุกประการ การแปลงแบบนี้ ตัวข้อมูลยังเป็น DSD อยู่เหมือนเดิม คุณภาพเสียง ก็รักษาความเป็น DSD ไว้ครบถ้วน ซึ่ง JRiver ก็สามารถใช้งานในแบบนี้ได้ โดยปัจจุบันมีการร่วมกันกำหนดมาตรฐาน DoP ขึ้นมาเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่ง JRiver ก็แจ้งว่าตัวเองเป็นหนึ่งในทีมงาน ที่กำหนดมาตรฐานนี้

ข้อจำกัดอื่นของ DSD

นอกเหนือจากปัญหาที่ทั้ง Windows/

Mac ยังไม่สนับสนุนการส่งข้อมูล DSD แล้ว อีกข้อจำกัดที่สำคัญของ DSD คือข้อมูลที่ เป็น DSD นั้น นำมาปรับแต่งได้ยากเพราะ

ร่วมกับโปรแกรมที่เหมาะสม PS3 นี้สามารถอ่านแผ่น SACD แบบข้ามส่วนป้องกันการก็อปปี้แล้วเก็บเป็นไฟล์เพลงแบบ DSD ได้ แต่ปัจจุบันPlaystation รุ่นดังกล่าวหายากมากแล้ว เครื่องที่หาได้ ก็ทยอยเสีย ทางเลือกนี้จึงค่อยๆ ลดความเป็นไปได้ลง อย่างไรก็ตาม ทางเลือกแรกซึ่งก็คือการซื้อเพลงแบบ DSD จากผู้ขายโดยตรง ดูเหมือนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ Sony เจ้าของค่ายเพลงใหญ่เริ่มสนใจตลาดเพลงแบบ Hi-Res โดยมีการดำเนินการหลายเรื่อง รวมไปถึงการจะนำไฟล์เพลงแบบ DSD มาปล่อยขายใน รูปแบบดาวน์โหลดด้วยซึ่งปัจจุบัน มี เว็บไซต์หลายแห่งที่ เริ่มขายไฟล์ เพลงแบบ DSD แล้วโดยขอแนะนำในที่นี้ 2 รายคือ...

Acoustic Sounds Super HiRez: http://www.superhirez.com

รายนี้น่าจะเป็นแหล่งขายไฟล์

เพลง DSD ที่ ใหญ่สุดเพราะได้ไป ทำข้อตกลงกับ Universal Music Group และ Sony Music Enter-tainment Inc. ในการขายเพลงใน รูปแบบ DSD ที่มีอยู่แล้วทั้งหมดของทั้งสองค่าย รวมทั้งเพลงที่จะผลิตใหม่หรือนำมา remaster ใหม่ในรูปแบบ DSD นอกจากเพลงแบบ DSD แล้ว Site นี้ยังขายเพลงแบบ PCM ด้วย

Blue Coast Records: http://BlueCoast Records.com

เว็บไซต์

นี้ เ ป็ น ค่ า ย เ พล ง เ ล็ ก ๆ ที่ เ น้ น ก า รบันทึกเสียงแบบธรรม- ชาติ ให้ นั ก -

ดนตรีเล่นด้วยกันกันสดๆ แล้วบันทึกเสียงโดยไม่มีการแต่งเสียงเช่นถ้าต้องการเสียงก้องก็เลือกวางตำแหน่ง

Page 3: AUDIOPHILE...ท ใช มานานแล วและแบบ DSD ท Philips/Sony แนะนำเข าส ตลาด เม อป 2542 ซ งท งสองว ธ

172AUDIOPHILE VIDEOPHILE 173AUDIOPHILE VIDEOPHILE

การฟังเพลงจากไฟล์แบบคุณภาพสูง

172AUDIOPHILE VIDEOPHILE

ไมโครโฟนให้ได้เสียงก้องตามธรรมชาติ ฯลฯ เมื่อบันทึกเสร็จแล้วก็นำมาให้ฟังกันโดยแทบไม่มีการปรับแต่งเสียงเลยและเนื่องจากไม่ค่อยต้อง ปรับแต่งเสียงนี้เอง Blue Coast จึงนิยมใช้การแปลงเสียงแบบ DSD ที่ผู้ก่อตั้งระบุว่าให้เสียงที่เหมือนอะนาล็อกที่สุด แล้วผลิตผลงานออกมาขายในรูปแบบ DSD เป็นหลัก แต่ก็มีการขายเพลงเดียวกันในแบบ PCM ด้วย โดยไฟล์แบบ PCM นั้น ใช้วิธีแปลงจาก DSD ไปเป็น PCM โดยใช้โปรแกรม AudioGate ของ Korg ค่ายนี้มีไฟล์เพลงแบบ DSD ให้ทดลองดาวน์โหลดมาฟังกันจำนวนมากด้วย

ระบบไหนเสียงดีกว่า DSD หรือ PCM เรื่องระบบไหนเสียงดีกว่ากัน ระหว่าง DSD และ PCM

ที่เป็น High Resolution นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมานานแล้ว ตั้งแต่ระหว่าง SACD กับ DVD-A ซึ่งตอนนั้นสู้กันทั้งในรูปแบบ media และวิธีการ เก็บข้อมูลว่าแบบไหน เสียงดีกว่ากัน ในแง่คุณภาพเสียงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าแบบไหนเสียงดีกว่า แต่ในเชิงมีเดีย SACD ชนะขาด เพราะ DVD-A ตายไปเลยปล่อยให้เหลือแต่ SACD ซึ่งก็เลี้ยงไม่โตเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในเชิงวิธีการเก็บข้อมูล PCM ชนะขาด เพราะในสตูดิโอเลือกใช้ PCM กันแทบทั้งหมด ก็เลยเกิดความ อิหลักอิเหลื่อขึ้นพอสมควร เพราะในห้องบันทึกเสียง ใช้ระบบ PCM แบบราย-ละเอียดสูงในการบันทึกและตัดต่อ ผสมเสียง จนเมื่อได้ผลสุดท้ายจึงค่อยแปลงเป็น DSD เพื่อนำไปผลิตแผ่น SACD ออกมาขาย ดังนั้น คนที่บอกว่า SACD ที่มีที่มาแบบนี้ เสียงดีกว่า PCM ที่เป็นต้นฉบับนั้น มันน่าสงสัย มากเพราะโดยปกติแล้ว การแปลงไปเป็นอีกแบบ แล้วบอกว่าเสียงดีขึ้น มันอธิบายไม่ได้

หนึ่งในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยี DSD คือกลุ่มที่ทำงานวิจัยด้านเสียง Audio Research Group จาก University of Waterloo ของประเทศแคนาดา โดยนาย Stanley P. Lipshitz และนาย John Vanderkooy ซึ่งทั้งคู่ได้เขียนรายงานเรื่อง “Why 1-Bit Sigma-Delta Conversion is Unsuitable for High-Quality Applications” และเสนอรายงานต่อที่ประชุมครั้งที่ 110th ของ Audio Engineering Society ที่จัดขึ้นเมื่อ 12-15 พฤษภาคม 2001 ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ ซึ่งเป็นถิ่นของ Philips ก็ว่าได้ โดยสรุปว่าวิธีการ DSD นี้ ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับระบบเสียงที่ต้องการคุณภาพสูง เป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้เพียงบิตเดียวทำให้เกิดความเพี้ยนที่ไม่สามารถกำจัดออกโดยไม่กระทบต่อคุณภาพเสียง บทความค่อนข้างอ่านยากเพราะต้องมีพื้นฐานทางวิศวกรรมมาก่อน

โดยมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ขึ้น แล้วเปิดให้มีการทดลองฟังแล้วสรุปผล เป็นรายงานออกมาเมื่อเดือนกันยายน 2007 จึงขอสรุปสิ่งที่ทั้งคู่ได้ทดลองดังนี้...

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ในการศึกษานี้ ได้มีการเตรียมอุปกรณ์เพื่อเปรียบเทียบเสียงจาก

SACD ที่มีรายละเอียดสูง ว่าต่างจากเสียงที่ถูกลดรายละเอียดลงให้ เท่า CD ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ตามรูป

ระบบที่จัดขึ้นนี้ ใช้เครื่องเล่น SACD/DVD-A เป็นต้นกำเนิดเสียง เพื่ อ เ ล่ น เพลงที่ บั นทึ กแบบราย - ละเอียดสูง ทั้งแผ่น SACD และ แผ่น DVD-A จากนั้นใช้อุปกรณ์ ADC แปลงเสียงที่ เป็นอะนาล็อกให้เป็น PCM ที่รายละเอียดต่ำลงเหลือ 16 bit/44.1 kHz แล้วใช้ DAC แปลงกลับมาเป็น อะนาล็อกอีกครั้ง ทำให้ได้เสียงที่เกิดจากการลดรายละเอียดลงให้เท่า CDแล้วให้ผู้ฟังฟังเทียบกับเสียงจากเครื่องเล่น SACD/DVD-A โดยตรงแบบ A/B คือสลับฟังได้ทันทีซึ่งอุปกรณ์ ADC และ DAC นี้ เลือกใช้อุปกรณ์อย่างดี ระดับที่ใช้ในห้องบันทึกเสียง มีการปรับระดับความดังของทั้งสองแหล่ง ให้ใกล้เคียงกันที่สุด อุปกรณ์อื่นที่ใช้ ในระบบก็ใช้อุปกรณ์อย่างดีเช่นลำโพงที่ใช้เป็นลำโพงที่ให้เสียงครบถ้วนทุกความถี่เพื่อตัดปัจจัยอื่นๆ ออกให้หมด จะได้เทียบเสียงกันได้ชัดเจน

วิธีการทดสอบ การทดสอบนี้ใช้ระยะเวลายาว

นานถึง 1 ปี โดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบเลือกเพลงที่จะใช้ทดสอบได้ โดยมีเพลงให้เลือกทั้งคลาสสิก แจ๊ส ป๊อป และ ร็อกคนที่มาทดสอบก็มีทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่อายุต่างๆ มีระดับความสนใจเรื่องดนตรีที่แตกต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง มีประสบการณ์ในการฟังเพลงที่แตกต่างกัน หลายคนมอีาชีพที่เกี่ยวข้องกับเสียงโดยตรง หลายคนเป็นนักศึกษาที่เรียนด้านการบันทึกเสียง ในการฟังเปรียบเทียบ ฟังใน ห้องที่ค่อนข้างเงียบ รวมไปถึงมีการย้ายไปทดสอบในสถานที่อื่นด้วย เช่น ไปทดลองฟังในสตูดิโอบันทึกเสียงที่ มีลำโพงอย่างดีให้ใช้ทดสอบมีการทดลองฟังในห้องทดสอบเสียงของมหาวิทยาลัยที่ เป็นห้องที่ออกแบบสำหรับการทดสอบเสียงโดยเฉพาะและมีลำโพงอย่างดีให้ใช้ทดสอบ ในกรณีมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่มาช่วยฟังก็ เป็นนักศึกษาที่ เรียนเรื่อง การบันทึกเสียง รวมถึงการทดสอบ ในห้องฟังเพลงส่วนตัวของนักเล่นเครื่องเสียงที่ใช้ลำโพงแบบ electrosta- tic รุ่นที่ได้รับการวิจารณ์ว่ามีเสียงดี

ผงัแสดงอปุกรณแ์ละวธิกีารที่ ใช้ ในการทดสอบ

ภาพอปุกรณท์ี่ ใช้ ในการทดสอบ

ภาพอปุกรณท์ี่ ใช้ ในการทดสอบการฟงัและสภาพหอ้งฟงั

AD

ใครสนใจหาอ่านฉบับเต็มได้ที่ http://sjeng.org/ftp/SACD.pdf และแน่นอนว่าเมื่อถูกลบหลู่ขนาดนี้ Philips ก็ได้ทำรายงานชื่อ “Why Direct Stream Digital is the best choice as a digital audio format” แล้วนำเสนอในการประชุมเดียวกัน โดยได้อธิบาย วิธีการกำจัดเสียงรบกวนว่าสามารถทำได้ พร้อมเสริมว่าจากการศึกษาระบบการฟังของมนุษย์ การแปลงจากอะนาล็อกไปเป็นดิจิทัลในแบบ ที่สมบูรณ์จนฟังไม่ออกนั้น ต้องทำที่ความถี่สูงกว่า 350kHz ซึ่ง DSD มีการสุ่มที่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ และเช่นเดียวกัน ท่านที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่านฉบับเต็มได้ที่ http://tech.juaneda.com/en/articles/dsd.pdf

ผมเองคงไม่มีความสามารถพอ สำหรับไปตัดสินว่าระบบไหนเสียงดีกว่ากัน และสารภาพว่าขนาดเสียงจาก MP3 ซึ่งเป็น lossy มีการตัดทอนเสียงออกและคุณภาพเสียงด้อยกว่า WAV ที่ไม่มีการตัดต่ออย่างชัดเจน ผมยังฟังแทบไม่ออกเลยถ้า MP3 นั้นมีการแปลงที่ความถี่สูงหน่อย เช่นที่ 256kHz ที่แย่กว่านั้นคือ แม้เป็น MP3 ที่ความถี่ 128kHz ผมก็ใช้เวลา

อยู่นาน กว่าจะบอกได้ว่าอันไหนเป็น MP3 อันไหนเป็น WAV โดยต้องใช้เวลานานพอควร ใช้อุปกรณ์ดีหน่อย ค่อยๆ ฟังสลับไป สลับมา และใจเย็นๆ จึงจะจับได้ว่าอันไหนเป็น MP3 อันไหนเป็น WAV อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ ขอนำเสนอการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ พร้อมขอสรุปความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในตอนท้ายดังนี้...

CD Challenge ในศึกน้ำดำที่แข่งกันระหว่างผู้ผลิต 2 ค่าย เคยมีโครงการ “ชาเล้นจ์”

ออกมา ซึ่งเป็นการท้าพิสูจน์ว่าน้ำดำยี่ห้อไหนรสชาติดีกว่ากันโดยการ ทำ blind test บทความตอนนี้จึงขอเรียกว่า CD Challenge เพราะในช่วงที่ทั้ง SACD และ DVD-A เริ่มเข้าสู่ตลาดเมื่อหลายปีมาแล้ว มีข้อสงสัยมากว่าทั้ง SACD และ DVD-A ซึ่งบันทึกข้อมูลแบบ High-Resolution นั้น เสียงดีกว่า CD ที่บันทึกเสียงแบบรายละเอียดต่ำกว่าจริงหรือไม่

ในข้อสงสัยนี้มีรายงานชื่อ “Audibility of a CD-Standard A/D/A Loop Inserted into High-Resolution Audio Playback” ของนาย E. BRAD MEYER และนาย DAVID R. MORAN ซึ่งเป็นรายงานผลการทดลองที่ตอบคำถามในเรื่องนี้ได้ค่อนข้างดี โดยทั้งสองท่านนี้ เป็นสมาชิกของ Audio Engineering Society (AES) และได้ศึกษา เรื่องคุณภาพเสียงว่าระหว่าง SACD (DSD64)/DVD-A (PCM 24bit/192kHz) ซึ่งบันทึกที่รายละเอียดสูง ว่าเสียงดีกว่า CD จริงหรือไม่

Page 4: AUDIOPHILE...ท ใช มานานแล วและแบบ DSD ท Philips/Sony แนะนำเข าส ตลาด เม อป 2542 ซ งท งสองว ธ

174AUDIOPHILE VIDEOPHILE

นาย Meyer และนาย Moran ผูด้ำเนนิโครงการทดสอบ

174AUDIOPHILE VIDEOPHILE

ตวัอยา่งการบนัทกึเสยีงจากเปยีโน ซึง่มปีจัจยัเยอะมาก ทัง้จำนวนตำแหนง่ ทีว่างไมโครโฟน ชนดิไมโครโฟน ฯลฯ

การฟังเพลงจากไฟล์แบบคุณภาพสูง

ใช้เครื่องขยายเสียงและสายต่อเชื่อมอย่างดีที่มีราคาแพงมาทดสอบ การทดสอบก็ทำที่ความดังหลายระดับเพื่อดูว่าระดับเสียงที่ฟังจะมีผล ต่อการเลือกหรือไม่

การทดสอบดำเนินการแบบ Double Blind คือทั้งผู้ฟังและผู้ดำเนินการทดสอบไม่รู้ว่า A คืออะไร B คืออะไร เพื่อให้เป็นการทดสอบที่แม่นยำที่สุด จากนั้น ให้ผู้ฟังใช้เวลาตามสบาย ฟังเสียงจากแหล่ง A และ B สลับไปมาจนพอใจแล้วบอกว่าเสียงที่ได้จาก A หรือ B อะไรดีกว่ากัน แล้วจึงเปิดเผยแล้วสรุปผล ซึ่งถ้าตอบว่าเสียงจาก SACD/DVD-A ดีกว่าก็แสดงว่าตอบถูก

ผลที่ได้ ผู้ที่ตอบถูก คือสามารถระบุได้ว่า SACD/DVD-A เสียงดีกว่า

มีทั้งหมด 276 รายจากการทดสอบทั้งหมด 554 รายหรือเท่ากับ 49.82% ซึ่งเป็นผลที่น่าผิดหวังเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ เพราะสมมติให้ทั้ง A และ B เป็นเสียงที่มาจากแหล่งเดียวกัน เหมือนกันทุกประการแล้วนำไปทดสอบ คำตอบก็แบ่งเป็นครึ่งๆ ดังนั้น ผลการทดสอบที่ได้ 49.82% ก็สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างไม่สามารถบอกได้ว่าเสียงจาก SACD/DVD-A ซึ่งบันทึกด้วยรายละเอียดที่สูงกว่า ให้เสียงที่ดีกว่า CD ที่มีการลดรายละเอียดลงมา

จากผลที่ได้ มีการทดสอบเพิ่มเพื่อตัดตัวแปรอื่นๆ ออก ผลที่ได้ ก็คล้ายเดิมเช่น...

• เลือกผู้ทดสอบใหม่ คราวนี้เลือกเฉพาะผู้ที่มีความสามารถในการฟังสูง เช่นนักเล่นเครื่องเสียงและซาวด์เอ็นจิเนียร์ ผลที่ได้คือตอบถูก 246 คนจาก 467 การทดลอง เท่ากับตอบถูก 52.7% เพิ่มขึ้นน้อยมาก

• เลือกเฉพาะคนที่สามารถฟังเสียงสูงกว่า 15kHz ได้ดี เพราะเพลง ที่บันทึกด้วยรายละเอียดสูงนั้น น่าจะให้ความแตกต่างที่เสียงสูง ผู้ที่ฟังเสียงสูงได้ดี น่าจะแยกความแตกต่างได้ดีกว่าคราวนี้ มีผู้ตอบถูก 116 คนจาก 256 การทดสอบเท่ากับตอบถูก 45.3% แย่ลงไปอีก

• เลือกกลุ่มที่อายุ 14-25 ปี ซึ่งปรากฏว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ฟังเสียงสูงกว่า 15kHz ได้ดี โดยความเชื่อที่ว่าคนอายุน้อย ประสาทหูดีกว่าคนอายุมาก ผลก็คือตอบถูก 45.3%

• กลุ่มที่ทำได้ดีที่สุดเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว คือตอบถูก 8 คนจาก 10 คนเท่ากับ 80% ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าถ้าเสียงต่างกันชัดเจน น่าจะต้องตอบถูก 95% (เสียดายที่ในรายงานไม่ได้บอกว่า 10 คนนี้เป็นพวกไหน เพราะดูเหมือนพวกนี้จะฟังออก)

• มีการตอบถูก 7 คนจาก 10 คนในการทดสอบอีกสองกลุ่มแต่ ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่มาทดสอบผลที่ได้ต่ำกว่า 70% มาก

• ถึงแม้เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ราคาแพงมาก และเลือกผู้ทดสอบ ที่เป็นนักฟัง ซาวด์เอ็นจิเนียร์ นักศึกษาที่เรียนเรื่องการบันทึกเสียง ค่าที่ได้ ก็ไม่ต่างกันคือตอบถูกประมาณ 50%

• เมื่อแยกตามเพศ พบว่าผู้หญิงตอบถูก 18 คนจาก 48 คนหรือ 37.5% ซึ่งอันนี้เห็นด้วยมาก เพราะภรรยาและลูกสาวผมก็ไม่สามารถ แยกความแตกต่างระหว่างเสียงจากลำโพงตัวเล็กๆ ที่ให้เสียงจำกัดมาก กับลำโพงอย่างดีที่ให้เสียงครบทุกความถี่ได้ (ขออภัยสำหรับผู้หญิงอื่น ที่มีทักษะในการฟัง)

ผมไม่แน่ใจว่า คุณผู้อ่านมีความรู้สึกอย่างไร เมื่อเห็นรายงานฉบับนี้ เพราะอย่าว่าแต่การเทียบระหว่าง DSD กับ PCM ที่ เป็น High-Resolution เลยครับ แม้แต่เทียบ DSD กับ CD ธรรมดา นักฟังก็ยังฟังกันไม่ออกเลย

ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายงานฉบับเต็มที่ได้ที่ http://www.drewdaniels.com/audible.pdf บทสรุประหว่าง DSD / PCM มาถึงความเห็นส่วนตัวระหว่าง DSD และ PCM ว่าอะไรดีกว่ากัน

ผมขอสรุปเป็นประเด็นดังนี้...

อย่าใส่ใจกับเรื่องนี้มากเกินไป

คุณภาพของเพลงดีหรือไม่ มีหลายปัจจัย ตั้งแต่ฝีมือนักดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ การบันทึกเสียงว่าทำในสภาพแวดล้อมอย่างไร ใช้อุปกรณ์ที่ดีหรือไม่ เช่นใช้ไมโครโฟนแบบไหนกับเครื่องดนตรีอะไรวางไมโครโฟน ตรงไหน ใช้อุปกรณ์ในการบันทึกเสียงที่ดีหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งเรื่องว่าใช้เทค โนโลยีอะไรในการแปลงเสียง จะเป็น DSD หรือ PCM เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของระบบทั้งหมด และอาจจะมีผลน้อยกว่าปัจจัยอื่นมาก ดังนั้นอย่าตัดสินคุณภาพเสียงทั้งหมดจากแค่เทคโนโลยีที่ใช้ในการแปลงเสียงแต่ให้สนุกและเพลิดเพลินกับเสียงเพลง ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการฟังเพลง

แปลงให้น้อยสุด

สำหรับสตูดิโอที่บันทึกด้วย PCM ผมคิดว่าฟังแบบPCM ที่เป็น Studio Master ดีที่สุด การแปลงจาก PCM ไปเป็น DSD แล้วมาฟัง ที่ DSD ไม่น่าเป็นทางเลือกที่ดี ในทางกลับกัน สำหรับเพลงที่แปลงจากเทปมาเป็น DSD เหมือนที่ Sony ทำไว้แล้ว การฟังแบบ DSD น่าจะดีที่สุดเพราะไม่ต้องแปลงหรือในทางกลับกัน ถ้าแปลงจากเทปมาเป็นดิจิทัล แบบ PCM ก็ควรฟังที่ PCMเช่นกรณี Kind of Blue ของ Miles Davis ฉบับล่าสุดที่แปลงจากเทปมาเป็น PCM เพื่อ mix ใหม่ แบบนี้ ก็ต้องฟัง ที่ PCM แบบ High-Res จึงจะดีสุด

สำหรับท่านที่อยากจะแปลงไฟล์เพลงระหว่าง PCM กับ DSD ตอนนี้ก็เริ่มมีโปรแกรมที่ใช้แปลงไฟล์เพลงคุณภาพดีๆ ออกมามากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นโปรแกรมที่ดีสามารถแปลงไฟล์เพลงข้ามไปมาได้อย่างไม่มีอะไรตกหล่น ผมเองยังไม่ได้มีโอกาสทดสอบโปรแกรมแปลงไฟล์เพลงว่า จะทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ แต่เท่าที่ติดตาม สองโปรแกรมที่นิยมใช้ กันมากในห้องบันทึกเสียงต่างๆ คือโปรแกรม SARACON จาก WEISS และ AudioGate ของ Korg. ADP