173
พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด นคร สะสม สารนิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการสิ่งแวดลอม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร .. 2551

01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน

กรณีศึกษา บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด

นคร สะสม

สารนิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการสิ่งแวดลอม)

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร

พ.ศ. 2551

Page 2: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom
Page 3: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom
Page 4: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom
Page 5: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทคัดยอ ชื่อสารนิพนธ : พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา

บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ชื่อผูเขียน : นายนคร สะสม ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑติ(การจัดการส่ิงแวดลอม) ปการศึกษา : 2551

การวิจยัคร้ังนีมี้วัตถุประสงคเพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานศึกษาปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมการทํางานท่ีไมปลอดภัยศึกษาทัศนคติ

เร่ืองการปองกนัอันตรายจากการทํางาน และศึกษาความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน

ของพนักงานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด กลุมตัวอยาง คือ พนักงานฝายผลิต

โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากดั จํานวน 322 ราย เคร่ืองมือท่ีใชในการเก็บขอมูลคือ

แบบสอบถาม วิเคราะหขอมูลโดยใชคอมพิวเตอรโปรแกรม SPSS สถิติท่ีใชในการวิเคราะหขอมูล

ไดแก คาความถี่ คารอยละ คาเฉล่ีย คาสวนเบ่ียงเบนมาตรฐาน การทดสอบคาที การทดสอบคาเอฟ

และคาสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ

ผลการวิจัยพบวากลุมตัวอยางสวนใหญมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานในระดับสูงมีทัศนคติและความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานอยูในระดับสูง กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิต แตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 สวนเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา แผนกท่ีสังกัด และตําแหนงงาน ไมกอใหเกิดพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน แตกตางกันอยางมีนยัสําคัญทางสถิติ กลุมตัวอยางท่ีมีเพศ ระดับการศึกษา แผนกท่ีสังกดั และตําแหนงงาน แตกตางกนัมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 สวนอายุ สถานภาพ และ ประสบการณการทํางานในฝายผลิต

Page 6: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ไมกอใหเกิดความรูเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษา และแผนกท่ีสังกัด แตกตางกันมีผลตอทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 สวนเพศ อายุสถานภาพ ประสบการณการทํางานในฝายผลิตและตําแหนงงาน ไมกอใหเกิดทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ความรูเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางานกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ0.05ทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 และพบวาความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานกับทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

(4)

Page 7: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ABSTRACT

Title : Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author : Mr.Nakorn Sasom Degree : Master of Science (Environmental Management) Year : 2008

The objectives of this research were to study the protection and safety behaviors towards work-related, to study the factors influencing the behavior based safety, to study attitudes towards behavior based safety, and to study knowledge of protection and safety behaviors. There were 322 samples of employees in Mattel Bangkok Company Limited. The instruments for data collection was questionnaire. The data were anlayzed by using computer program SPSS for Windows. Statistical analysis was performed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and Pearson’s Correlation. The results revealed the following : The majority of samples had a high level of protection and safety behaviors towards work-related, attitudes towards safety behaviors, and knowledge of protection and safety behaviors. Samples with different work experience had different protection and safety behaviors towards work-related with statistical significance level of 0.05. Samples with different sex, education, division, and position had different knowledge of protection and safety behaviors with statistical significance level of 0.05. Samples with different education and division had different attitudes towards safety behaviors with statistical significance level of 0.05. It also revealed that knowledge of protection and safety behaviors and protection and safety behaviors towards work-related had a relationship to each other with statistical significance level of 0.05. Attitudes towards safety behaviors and protection and safety behaviors towards work-related had a

Page 8: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

relationship to each other with statistical significance level of 0.05. I also found that knowledge of protection and safety behaviors and attitudes towards safety behaviors had a relationship to each other with statistical significance level of 0.05.

(6)

Page 9: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

กิตติกรรมประกาศ

สารนิพนธฉบับนี้ สําเร็จลุลวงไดดวย ความอนุเคราะหอยางดียิ่งจาก รองศาสตราจารย ดร.

บุญจง ขาวสิทธิวงษ อาจารยท่ีปรึกษา ท่ีไดกรุณาเสียสละเวลาอันมีคาของทานเพ่ือใหคําแนะนํา ให

ความคิดเห็น ตรวจสอบ แกไขขอบกพรอง และใหขอแนะนําอันเปนประโยชน รวมท้ังอาจารยทุก

ทานท่ีไดประสิทธ์ิประสาทวิชาความรูต้ังแตเร่ิมเขารับการศึกษา ทําใหผูเขียนรูสึกม่ันใจ และพรอม

ท่ีจะนําความรูท่ีไดจากการศึกษานี้ไปใชใหเกิดประโยชนสูงสุดแกสังคมและประเทศชาติ ผูเขียน

ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

นอกจากนี้ผูเขียนขอกราบขอบพระคุณ ผูบริหารของ บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ท่ีได

เห็นคุณคาและประโยชนจากการศึกษาสารนิพนธนี้ และ ขอขอบคุณบุคคลท่ีไดใหความชวยเหลือ

สงเสริม และสนับสนุน เปนกําลังใจในการศึกษาคร้ังนี้

คุณประโยชนจากการศึกษาวิจัยฉบับนี้ ผูเขียน ขอมอบแด บิดา มารดา ซ่ึงเปนผูมีพระคุณสูงสุด คณาจารย และผูมีพระคุณทุกทาน ท่ีเกี่ยวของกับการศึกษาคร้ังนี้

นคร สะสม ตุลาคม 2551

Page 10: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

สารบัญ

หนา บทคัดยอ (3) ABSTRACT (5) กิตติกรรมประกาศ (7) สารบัญ (8) สารบัญตาราง (10) บทท่ี 1 บทนํา 1

1.1 ท่ีมาและแนวคิดในการศึกษา 1 1.2 วัตถุประสงคการศึกษา 8 1.3 สมมติฐานการศึกษา 8 1.4 กรอบแนวคิดในการศึกษา 9 1.5 ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ 11 1.6 นิยามศัพท 11

บทท่ี 2 การทบทวนวรรณกรรม 15 2.1 พฤติกรรมมนุษย 15 2.2 แบบวัดพฤติกรรม ทัศนคติ การรับรูตางๆ 16 2.3 ทฤษฎีท่ีเกี่ยวของในการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย 18 2.4 บริษัทแมทเทล กับระบบการจัดการดานส่ิงแวดลอม

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ 31 2.5 งานวิจยัท่ีเกี่ยวของ 39

บทท่ี 3 วิธีการศึกษา 46 3.1 ประชากรและกลุมตัวอยาง 46 3.2 เคร่ืองมือท่ีใชในการวจิัย 49 3.3 วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล 51 3.4 วิธีการทางสถิตท่ีใชในการวิเคราะหขอมูล 52

Page 11: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา บทท่ี 4 ผลการวิจัย 53 4.1 ขอมูลท่ัวไปของกลุมตัวอยางจําแนกตามลักษณะสวนบุคคล 53 4.2 ระดับของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการ

ปองกันตนเองจากการทํางาน 57 4.3 ระดับของทัศนคติเร่ืองการปองกันตนเองจากการทํางาน 62 4.4 ระดับของความรูเร่ืองการปองกันตนเองจากการทํางาน 66 4.5 การทดสอบสมมติฐานทางการวจิัย 70 บทท่ี 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและขอเสนอแนะ 96 5.1 สรุปผลการวิจยัและอภิปรายผล 97 5.2 ขอเสนอแนะ 108 บรรณานุกรม ภาคผนวก

111 113

ภาคผนวก ก เคร่ืองมือท่ีใชในการวจิัย 114 ภาคผนวก ข กฎกระทรวงแรงงาน 124

ประวัติผูวิจัย 159

(9)

Page 12: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

สารบัญตาราง ตารางท่ี หนา

1.1 แสดงสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บปวยเนื่องจากการทํางานจําแนกตามความรุนแรงป 2545-2550 3

4.1 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามขอมูลท่ัวไป 54 4.2 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยางจําแนกตามพฤติกรรมการ

ปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน 57 4.3 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยางจําแนกตามทัศนคติเร่ืองการ

ปองกันตนเองจากการทํางาน 62 4.4 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยางท่ีตอบคําถาม จําแนกตามการ

ตอบถูกและตอบผิดตามรายขอคําถาม 66 4.5 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามคะแนนความรูเร่ือง

การปองกันอันตรายจากการทํางาน 69 4.6 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามระดับความรูเร่ือง

การปองกันอันตรายจากการทํางาน 69 4.7 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ 70 4.8 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามอาย ุ 71 4.9 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามสถานภาพ 72 4.10 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามระดับการศึกษา 73

4.11 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต 74

Page 13: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ตารางท่ี หนา 4.12 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการ

ปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามแผนกท่ีสังกัด 75

4.13 แสดงการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามตําแหนงงาน 76

4.14 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน 77

4.15 แสดงความสัมพันธระหวางทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน กบัพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน 78

4.16 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ 79

4.17 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามอายุ 80

4.18 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามสถานภาพ 81

4.19 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามระดับการศึกษา 82

4.20 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจาํแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต 83

4.21 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามแผนกท่ีสังกัด 84

4.22 แสดงการเปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามตําแหนงงาน 85

4.23 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ 86

(11)

Page 14: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ตารางท่ี หนา 4.24 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการ

ทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามอาย ุ 87 4.25 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการ

ทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามสถานภาพ 88 4.26 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการ

ทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามระดับการศึกษา 89 4.27 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการ

ทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต 90

4.28 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามแผนกที่สังกัด 91

4.29 แสดงการเปรียบเทียบทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามตําแหนงงาน 92

4.30 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน กับทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน 93

4.31 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานทางการวจิยั 94

(12)

Page 15: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทที่ 1 บทนํา

1.1 ท่ีมาและแนวคิดในการศึกษา ความปลอดภัยเกิดข้ึนไดถาไมประมาท ประโยคสําคัญนี้สะทอนถึงความเกี่ยวของกันระหวางพฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัย บางคร้ังโรงงานอุตสาหกรรมอาจยังมีความหละหลวมในการใหความสําคัญตรวจสอบความปลอดภัยในโรงงานทําใหเกิดอุบัติเหตุข้ึนจึงเปนสาเหตุสําคัญท่ีทําใหเกิดอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมเมืองไทยอยูบอยคร้ัง ความเปนอันตรายกอใหเกิดผลกระทบที่ไมเหมือนกัน ความเปนอันตรายตอบุคคล เชนการล่ืน การหกลม การตกจากท่ีสูง การถูกของมีคมบาดและการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนตซ่ึงโดยท่ัวไปจะเกิดอันตรายเฉพาะบุคคล ในขณะท่ีการเกิดอันตรายสําหรับกระบวนการผลิตอาจจะทําใหเกิดอันตรายและผลกระทบอยางใหญหลวง เชนการร่ัวไหลของวัตถุอันตราย ไฟไหม การระเบิด การเกิดอุบัติเหตุในกระบวนการผลิตเปนอันตรายอยางใหญหลวงท่ีมีผลกระทบตอการบาดเจ็บและการเสียชีวิตรวมท้ังความเสียหายตอเศรษฐกิจ และส่ิงแวดลอม การเกิดอุบัติเหตุในกระบวนการผลติทําใหเกิดอันตรายตอคนในโรงงานและชุมชนท่ีอยูใกลโรงงาน นั่นคือส่ิงท่ีทําใหการบริหารความปลอดภัยในกระบวนการผลิตเปนส่ิงสําคัญในการออกแบบโรงงาน การประเมินความเส่ียง การสอบสวนอุบัติเหตุ การจัดการการเปล่ียนแปลง การตรวจสอบ การทดสอบ การซอมบํารุงอุปกรณ ประสิทธิภาพในการควบคุมและสัญญาณเตือน วิธีการปฏิบัติงานและซอมบํารุง การฝกอบรมรวมท้ังปจจัยสวนบุคคลเปนมาตรการท่ีสําคัญในการบริหารจัดการการควบคุมความเปนอันตราย การที่มีความปลอดภัยสวนบุคคลท่ีดีไมใชเปนการยืนยันวาความปลอดภัยของกระบวนการผลติจะดีเชนกัน การที่มีวัฒนธรรมและทัศนคติความปลอดภัยท่ีดี การมีความปลอดภัยในกระบวนการผลิตท่ีดีนั้นจะตองเขาใจความเปนอันตรายท่ีเกี่ยวของกับสารเคมีท่ีใชในกระบวนการผลิต ตองเขาใจความเปนอันตรายเฉพาะของการผลิต การเก็บรักษา การขนสงการบรรจุ หรือกระบวนการอ่ืนๆท่ีใชอยูในโรงงานเรา ตองเขาใจบทบาทหนาท่ีของเราในกระบวนการผลิตใหปลอดภัยรวมท้ังวิเคราะหความเปนอันตรายของกระบวนการผลิต การจัดการการเปล่ียนแปลง รายงานอุบัติเหตุและการสอบสวนอุบัติเหตุ การซอมบํารุงและการทดสอบ รวมท้ังการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย

Page 16: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

2

การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมท่ีเปนไปอยางตอเนื่อง อุตสาหกรรมมีการพัฒนากระบวนการผลิตอยางรวดเร็ว ทําใหเกิดผลดีทางเศรษฐกิจคือมูลคาผลิตภัณฑมวลรวมของชาติเพิ่มข้ึน และใหมีการจางงานในภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งข้ึน ทําใหผูคนเขาไปประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมเพ่ิมข้ึน ซ่ึงเปนสวนผลักดันใหความเจริญกาวหนาแกประเทศชาติ ยังเปนผลโดยตรงตอการเพ่ิมโอกาสการไดรับอันตรายและส่ิงคุกคามสุขภาพ การบาดเจ็บ การพิการหรือการสูญเสียชีวิตของผูใชแรงงานและความเสียหายของทรัพยสินอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอยางหลีกเล่ียงไมได การประสบอันตรายอันเนื่องจากการทํางานท่ีไดเพิ่มสูงข้ึน นอกจากสาเหตุการขยายตัวของอุตสาหกรรมแลวยังมีอีกประการหนึ่งเกิดจากการขาดความรู ความเขาใจในการใชเคร่ืองมือ เคร่ืองจักร และอุปกรณ ในการทํางานของพนักงานและที่สําคัญคือเกิดจากการผิดพลาดของระบบการจัดการและพฤติกรรมของมนุษยในการปฏิบัติงานท่ีไมปลอดภัย

จังหวัดสมุทรปราการเปนจังหวัดท่ีมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในลําดับตนๆ จําเปนอยางยิ่งท่ีทางหนวยงานราชการจะมีการรณรงคใหผูประกอบกิจการหนวยงานเอกชนมีมาตรฐานการจัดการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001:1999) เพื่อเปนแนวทางการบริหารจัดการในการดําเนินงานใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิตเพื่อใหเกิดการคลองตัวในการดําเนินธุรกิจของสถานประกอบกิจการ บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด เปนบริษัทท่ีมีผูบริหารระดับสูงสนใจและมีความมุงม่ันในการจดัการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อใหพนักงานทุกคนของบริษัทมีสุขภาพพลานามัยท่ีแข็งแรงสมบูรณปราศจากโรคภัยไขเจ็บ การไมมีโรคจากการทํางานและการไมไดรับบาดเจ็บจากการทํางาน จึงไดดําเนินการนําระบบการจัดการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเขามารวมในกระบวนการผลิต เพื่อสรางจิตสํานึกเร่ืองความปลอดภัย เปนขวัญและกําลังใจแกพนักงาน ใหเกิดความม่ันใจในการทํางานและไดรับการรับรองมาตรฐานการจัดการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001:1999) ป 2001 เปนตนมา สรางขวัญกําลังใจท่ีดีแกพนักงานท่ีไดรวมแรงรวมใจกันทํา ทุกคนมีสวนรวมในการทําระบบการจัดการ แตยังพบวามีสถิติในการเกดิอุบัติเหตุยังเกดิข้ึนเสมอมา ซ่ึงอาจเกิดจากปจจัยหลายดานท่ีคนหาไมพบและปญหาการปลอยประละเลยของพนกังาน หวัหนางาน หรือรวมท้ังผูบริการเอง ท่ีเปนอันตรายมาจากการปฏิบัติงานของบุคคลและจากการทํางานในกระบวนการผลิตเปนไปอยางตอเนื่อง

Page 17: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

3

งานวิจยันีจ้ึงจดัทําข้ึนเพื่อเปนกรณีศึกษาใหทราบถึงพฤติกรรมมนุษยท่ีสัมพันธโดยตรงกับความปลอดภัยในการทํางาน จากจุดเล็กๆขององคกรหนึ่งใหเปนบรรทัดฐานข้ันตนเพื่อนําไปสูการจัดการระดับองคการใหญๆตอไปและเปนแนวทางในการเพ่ิมประสิทธิภาพการจดัการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภยั ของแตละองคกรเพ่ือเปนสวนหนึ่งของการลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ระดับจังหวดัและประเทศตอไป ตารางท่ี 1.1 แสดงสถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บปวยเนื่องจากการทํางานจําแนกตามความรุนแรงป 2545-2550 พบวาป 2548 มีการประสบอันตรายถึงข้ันเสียชีวิตสูงกวาป 2550 ถึง 1 เทา หมายความวาการประสบอันตรายของป 2550 ไดพัฒนาไปในทางท่ีดีข้ึน มีผูเสียชีวิตนอยลง

ตารางท่ี 1.1 : สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บปวยเนื่องจากการทํางาน จําแนกตามความรุนแรงป 2545-2550

ความรุนแรง ป

ตาย

ทุพพลภาพ สูญเสีย อวัยวะ บางสวน

หยุดงาน เกิน 3 วัน

หยุดงาน ไมเกิน 3 วัน

รวม

2545 2546 2547 2548 2549 2550

650 787 861

1,444 807 741

14 17 23 19 21 16

3,424 3,821 3,775 3,425 3,342 3,259

48,077 52,364 52,893 53,641 51,962 50,525

137,879 153,684 157,982 155,706 148,125 144,111

190,979 210,673 215,534 214,234 204,257 198,652

Page 18: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

4

175000180000185000190000195000200000205000210000215000220000

จํานวนการประสบอันตราย

( ราย

)

2545 2546 2547 2548 2549 2550ป

ท่ีมา: สํานักงานกองทุนเงินทดแทน ป 2550 WWW.SSO.GO.TH

ตารางท่ี 1.2 : สถิติขอมูลกองทุนเงินทดแทน ป 2545 - 2550

นายจางข้ึน ทะเบียนจาย

เงินสมทบ (ราย)

เงิน สมทบ

(ลานบาท)

จํานวนลูกจาง ในขายคุมครอง กองทุนฯ (ราย)

จํานวนการประสบ อันตรายในขาย กองทุนฯ (ราย)

เงิน ทดแทน

(ลานบาท) 2545 2546 2547 2548 2549 2550

253,363 273,626 293,361 306,294 317,532 322,911

1,991.64 2,183.34 2,315.96 2,513.87 2,769.60 2,870.54

6,541,105 7,033,907 7,386,825 7,720,747 7,992,025 8,178,180

190,979 210,673 215,534 214,235 204,257 198,652

1,220.14 1,480.36 1,490.19 1,638.37 1,684.23 1,734.90

หมายเหตุ: - วันท่ี 1 เมษายน 2545 คุมครองสถานประกอบการท่ีมีลูกจางต้ังแต 1 คนข้ึนไป - จํานวนนายจาง ลูกจางจากกองเงินสมทบ ณ 31 ธ.ค. ของแตละป

- จํานวนเงินสมทบ เงินทดแทน จากกองการเงินและบัญชีกองทุน

Page 19: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

5

0200400600800

10001200140016001800

เงินทดแทน

( ลานบาท

)

2545 2546 2547 2548 2549 2550ป

ท่ีมา: สํานักงานกองทุนเงินทดแทน ป 2550 WWW.SSO.GO.TH

ตารางท่ี 1.3 : จํานวนการประสบอันตรายป 2550 จังหวัดสมุทรปราการ

เดือน จํานวน(ราย) มกราคม 2,641 กุมภาพนัธ 2,652 มีนาคม 3,362 เมษายน 2,415 พฤษภาคม 2,806 มิถุนายน 3,237 กรกฎาคม 2,864 สิงหาคม 3,577 กันยายน 2,945 ตุลาคม 3,065

พฤศจิกายน 3,199 ธันวาคม 2,399

Page 20: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

6

0

500

1000

1500

2000

2500

3000

3500

4000จํานวนการประสบอันตราย

( ราย

)

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

ท่ีมา: นิรมล กีรติสิทธิกุล. 2551. สํานักงานประกันสังคมจังหวดัสมุทรปราการ กลุมงานใหบริการ2 รายงานขอมูลเร่ืองการประสบอันตรายและเงินทดแทน ป 2546 - 2551

ตารางท่ี 1.4 : สถิติขอมูลกองทุนเงินทดแทนบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ป 2546- มิ.ย. 2551

ป จํานวนผูประสบอันตราย (ราย) เงินทดแทน (บาท)

2546 11 29,805.20 2547 20 86,387.20 2548 18 40,895.45 2549 25 92,986.43 2550 35 183,665.30 2551 7 9,139.15

Page 21: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

7

0

5

10

15

20

25

30

35จํานวนการ

ประสบอันตราย

2546 2547 2548 2549 2550 2551

020000400006000080000

100000120000140000160000180000200000

เงนิทดแทน

( บาท

)

2546 2547 2548 2549 2550 2551ป

ท่ีมา: นิรมล กีรติสิทธิกุล. 2551. สํานักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ กลุมงานใหบริการ2 รายงานขอมูลเร่ืองการประสบอันตรายและเงินทดแทน ป 2546 – 2551

ในปจจุบัน ยังมีการเกิดอุบัติเหตุจากการทํางานข้ึนอยางตอเนื่อง อันอาจจะเกิดข้ึนไดจากหลายปจจัยเชน ปจจัยสวนบุคคล เกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได อายุงาน ปจจัยดานสภาพแวดลอมเกี่ยวกับ นโยบาย เคร่ืองจักรอุปกรณ ความเครียด สภาพจิตใจ พันธุกรรม สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะภาวะวิกฤติเศรษฐกิจน้ํามันข้ึนราคาในป 2551 ทําใหเกิดความเครียดของพนักงานบริษัทเพิ่มสูงข้ึน ผูวิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเร่ืองพฤติกรรมของ

Page 22: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

8

มนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด เพื่อนําผลการศึกษาที่ไดเปนแนวทางสนับสนุนประกอบการตัดสินใจของการบริหารจัดการเพื่อใชเปนประโยชนในการพัฒนาองคกรตอไป

1.2 วัตถุประสงคการศึกษา 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของพนักงานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด 2. เพื่อศึกษาปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมการทํางานท่ีไมปลอดภัยของพนักงานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ในดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานและความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน 3. เพื่อศึกษาและเปนแนวทางการประกอบการตัดสินใจในการดําเนินการลดการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานท่ีเกิดจากพฤติกรรมการทํางานของพนักงานท่ีไมปลอดภัย

1.3 สมมติฐานการศึกษา 1. ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกัน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานท่ีแตกตางกนั 2. ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน 3. ทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน 4. ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกัน มีผลตอความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน 5. ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกัน มีผลตอทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานท่ีแตกตางกัน 6. ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน

Page 23: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

9

1.4 กรอบแนวคดิในการศึกษา ตัวแปรท่ีใชในการวจิัยประกอบดวย ตัวแปรอิสระ ไดแก ปจจยัสวนบุคคล ปจจัยสวนบุคคลท่ัวไปไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณในการทํางานฝายผลิต ตําแหนงงาน

ปจจัยดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไดแก ความตระหนกัในการทํางาน ความเครียด อุปนิสัย ทัศนคติเกีย่วกับการทํางาน

ปจจัยดานความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไดแกความรู ความเขาใจใน การฝกอบรม การรับรูขอมูลขาวสาร การเรียนรูในงาน การรูกฎระเบียบการทํางาน ตัวแปรตาม ไดแก พฤตกิรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไดแก ความเช่ือ คานยิม อารมณ จิตใจ สติปญญา พันธุกรรม ส่ิงแวดลอม

Page 24: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

10

แผนภูมิกรอบแนวคิด

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

ปจจัยสวนบุคคล - เพศ - อายุ - สถานภาพการสมรส - ระดับการศึกษา - ประสบการณการทํางานใน

ฝายผลิต - แผนกท่ีสังกัด - ตําแหนงงาน ปจจัยดานความรู - ความเขาใจในการฝกอบรม - การรับรูขอมูลขาวสาร - การเรียนรูในงาน - กฎระเบียบการทํางาน ปจจัยดานทัศนคติ - ความตระหนกัในการทํางาน - ความเครียด - อุปนิสัย - ทัศนคติเกีย่วกบัการทํางาน

พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย - ความเช่ือ - คานิยม - อารมณ จิตใจ สติปญญา - พันธุกรรม - ส่ิงแวดลอม

Page 25: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

11

1.5 ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ 1. ไดทราบถึงพฤติกรรมการทํางานของพนกังานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากดั 2. ไดทราบถึงปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมการทํางานท่ีไมปลอดภัยของพนักงานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ในดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานและความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน 3. เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแกไขปญหาการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานท่ีเกดิจากพฤติกรรมการทํางาน

1.6 นิยามศัพท พฤติกรรมมนุษย หมายถึง ความรูสึกนึกคิดภายในจิตใจ ความพอใจ ความไมพอใจ ความขยัน ความเกียจคราน ซ่ึงไมสามารถสังเกตเห็นได แตมีผลตอการแสดงออก เปนการเดิน การวิ่ง การกิน การนอน การทํางาน พฤติกรรม ( Behavior ) หมายถึง การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกลามเนื้อ ความคิดของบุคคลท่ีตอบสนองตอส่ิงเราภายในจิตใจและภายนอก อาจทําไปโดยรูตัว ไมรูตัว อาจเปนพฤติกรรมท่ีพึงประสงค และไมพึงประสงค ผูอ่ืนอาจสังเกตการกระทํานัน้ไดและสามารถใชเคร่ืองมือทดสอบได ( ราชบัณฑิตยสถาน 2525: 573; วิธี แจมกระทึก 2541: 14 ) พฤติกรรม หมายถึง ปฏิกิริยาและกิจกรรมทุกชนิดท่ีมนษุยแสดงออกทางรูปธรรม นามธรรม ตลอดเวลา สังเกตไดดวยประสาทสัมผัส วาจา และการกระทํา สามารถแบงพฤติกรรมออกไดเปน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมภายนอก ( Overt Behavior ) ซ่ึงเปนการกระทําท่ีสังเกตไดดวยประสาทสัมผัสหรืออาจใชเคร่ืองมือชวย และพฤตกิรรมภายใน ( Covert Behavior ) ซ่ึงเปนกระบวนการท่ีเกดิข้ึนภายในจิตใจ บุคคลอ่ืนไมสามารถสังเกตได ( สิทธิโชค วรานุสันติกุล 2529: 9 – 11; เฉลิมพล ตันสกุล 2541: 2 )

Page 26: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

12

พฤติกรรม หมายถึง การกระทําท่ีสังเกตได เชน การพูด การเดนิ การเตนของหัวใจ การรับรู การคิด การจํา และการรูสึก การกระทําท่ีสังเกตไมได เชน ผูกระทํารูตัว ไมรูตัว หรือเปนพฤติกรรมท่ีพึงประสงคและไมพึงประสงค เปนการกระทําเพื่อตอบสนองความตองการของแตละบุคคล ซ่ึงสัมพันธกับส่ิงกระตุนภายในและภายนอก (โยธิน ศันสนยุทธ 2533: 3; สุชาดา มะโนทัย: 2539; อัครฤทธ์ิ หอมประเสริฐ 2543: 10 ) ความปลอดภัย หมายถึง การปราศจากภัยหรืออันตราย การไมมีอุบัติเหตุ การไมมีโรคอันเกิดจากการทํางาน อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณท่ีเกิดข้ึนโดยไมไดคาดการณหรือวางแผนไวลวงหนา ซ่ึงเกิดข้ึนแลวมีผลกระทบตอการทํางาน ตอผลผลิต ทําใหทรัพยสินเสียหาย หรือผลกระทบกับคนทําใหเกิดการไดรับบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงข้ันเสียชีวิต ความสูญเสีย หมายถึง สูญเสียภาพพจนช่ือเสียงของหนวยงาน เสียเวลาและทรัพยากร การบริหาร หมายถึง พฤติกรรมองคการท่ีบุคคลหรือคณะบุคคลระดับผูนําหรือผูบังคับบัญชาระดับสูงขององคการ กระทําหรือรวมมือกันดําเนินการและรับผิดชอบในกิจกรรมหนึ่งๆ หรือหลายอยาง ใหบรรลุวัตถุประสงคและแผนงานท่ีกําหนดไว โดยระบบการจัดการเปนส่ือ การเรียนรู หมายถึง กระบวนการรับรูท่ีทําใหเกิดการแสดงออกของบุคคลหรือพฤติกรรมซ่ึงอาจเปล่ียนแปลงได โดยอาจจะเหมาะสมหรือไมเหมาะสมกไ็ดข้ึนอยู กับสถานการณนั้นๆ

พจนานกุรมฉบับราชบัณฑติยสถาน พ.ศ. 2542 ใหนยิามของคําวา “ความรู” คือ ส่ิงท่ีส่ังสมมาจากการศึกษาเลาเรียน การคนควา หรือประสบการณ รวมท้ังความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเขาใจหรือสารสนเทศท่ีไดรับมาจากประสบการณ องควิชาในแตละสาขา

Hideo Yamazaki นักวิชาการชาวญ่ีปุน ไดใหนยิามของคําวา “ความรู” คือ สารสนเทศท่ีผานกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เช่ือมโยงกับความรูอ่ืน จนเกดิเปนความเขาใจและนาํไปใชประโยชนในการสรุป และตัดสินใจในสถานการณตาง ๆ โดยไมจํากดัชวงเวลา

Page 27: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

13

ทัศนคติ หมายถึง ความรูสึกนึกคิดของบุคคลท่ีมีตอวัตถุอยางใดอยางหน่ึง วามีลักษณะอยางไร มีความรูสึกทางบวกหรือทางลบ (Positive or Negative) ช่ืนชอบหรือไมช่ืนชอบ (Favorable or unfavorable) หรือเห็นดวยหรือคัดคาน (Pro or Con) (Loudon and Della Bitta. 1993 : 423)ซ่ึงตามนิยามน้ี เปนการมองทัศนคติในแงความรูสึก หรือปฏิกิริยาทาทีท่ีมีตอวัตถุ (Object)

ทัศนคติ หมายถึง ความมีใจโนมเอียงอันเกิดจากการเรียนรูท่ีจะตอบสนองตอวัตถุหรือระดับช้ันของวัตถุ ในลักษณะเห็นดีเห็นชอบหรือไมชอบอยางใดอยางหน่ึงอยางสม่ําเสมอ (Assael 1993:282) เชน ทัศนคติของผูบริโภคที่มีตอตราสินคา ก็หมายถึงความโนมเอียงของผูบริโภคอันเกิดจากการเรียนรูจากประสบการณท่ีจะประเมินตราสินคาวาชอบตราน้ัน หรือไมชอบตรานั้นอยางสมํ่าเสมอคงเสนคงวา

ทัศนคติ อาจแยกลักษณะเพื่อใหเห็นเปนขอ ๆ แลวใหนิยามใหมวา หมายถึง (1) เปนความรูสึกนึกคิดท่ีกอข้ึนจากการเรียนรู (Learned construct ) (2) ความโนมเอียงท่ีจะตองสนองตอ ( Tendency to response to) (3) วัตถุอยางใดอยางหน่ึง (An object ) (4) ในลักษณะท่ีม่ันคงสมํ่าเสมอ (Consistently) (5) ในแนวทางเห็นชอบดวยหรือไมชอบ ( Favorable of unfavorable way ) (Onkvisit and Shaw.1994:202)

ทัศนคติ หมายถึง ความคิดความเขาใจท่ีบุคคลมีตอบุคคล กลุมบุคคล วัตถุส่ิงของ หรือเหตุการณหนึ่ง ๆ ท่ีไดรับรูจนกอใหเกิดความรูสึก และมีแนวโนมวาบุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามความคิด ความเขาใจ และความรูสึกท่ีมีอยู เชน การที่ประชาชนเดินขบวนประทวงการกอสรางเข่ือน ยอมเกิดจากทัศนคติท่ีไมดีตอการสรางเข่ือน เปนตน

เดโช สวนานนท (2512) กลาววา ทัศนคติ คือ สภาวะความพรอมของจิตใจหรือประสาทในการท่ีจะตอบโตตอส่ิงใดส่ิงหน่ึงหรือเรื่องใดเรื่องหน่ึงและสถานะความพรอมดังกลาวจะตองเปนไปอยางถาวรพอสมควร

ประสาร ทิพยธารา (2520) ไดสรุปความหมายของทัศนคติวา “ทัศนคติ หมายถึง ความรูสึกและความคิดเห็นท่ีบุคคลมีตอส่ิงใดหรือบุคคลใด ท้ังท่ีเปนรูปธรรมหรือนามธรรมในทางที่ยอมรับ

Page 28: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

14

หรือไมยอมรับท้ังน้ีเปนผลจากการท่ีบุคคลไดมีความสัมพันธเกี่ยวของดวย

สุณีย ธีดากร (2524) สรุปไววา ทัศนคติเปนสภาพทางจิตใจที่เกิดจากประสบการณอันทําใหบุคคลท่ีมีทาทีตอส่ิงใดส่ิงหน่ึงในลักษณะใดลักษณะหน่ึง อาจแสดงทาทีออกมาในลักษณะท่ีพอใจเห็นดวยหรือไมพอใจ ไมเห็นดวยก็ได

ราชบัณฑิตยสถาน (2525) ไดกําหนดศัพทบัญญัติไวเชนกันวา ทัศนคติ หมายถึง แนวความคิดเห็น สวน “เจตคติ” (Attitude) น้ันหมายถึง ทาทีหรือความรูสึกของบุคคลตอส่ิงใดส่ิงหน่ึง

ปราณี รามสูต (2528) ใหคํานิยามทัศนคติไววา ทัศนคติ หมายถึง ความคิด ความเขาใจ ความเห็น ความรูสึก และความเช่ือของบุคคลท่ีมีตอส่ิงของ บุคคล หรือสถานการณเปนอยาง ๆ ไป อันมีอิทธิพลตอการแสดงออกของบุคคลท่ีมีตอส่ิงน้ัน ๆ หรือเหตุการณน้ัน ๆ

กมลรัตน หลาสุวงษ (2528) ไดสรุปวา ทัศนคติ หมายถึง ความพรอมของรางกายและจิตใจท่ีมีแนวโนม จะตอบสนองตอส่ิงเราหรือสถานการณใด ๆ ดวยการเขาหาหรือถอยหนีออกไป

Page 29: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทที่ 2

การทบทวนวรรณกรรม 2.1 พฤติกรรมมนุษย

พฤติกรรมมนุษย หมายถึง ความรูสึกนึกคิดภายในจิตใจ ความพอใจ ไมพอใจ ความขยัน ความเกียจคราน ซ่ึงไมสามารถสังเกตเหน็ได แตจะมีผลตอการแสดงออกเปนการเดิน การวิง่ การกิน การนอน การทํางาน ฯลฯ และเปนการแสดงออกใหบุคคลอ่ืนสามารถสังเกตเหน็และรับรูได โดยปฏิกริิยานี้เปนการแสดงออกเพ่ือตอบสนองส่ิงเรา เชนถาหิวก็ตองกิน ถางวงก็ตองนอนตองการติดตอส่ือสารกต็องพูดคุย พอใจก็ยิ้ม ไมพอใจก็หนาบ้ึงตึง กาวราว เปนตน ส่ิงท่ีกําหนดพฤติกรรมมนุษยหรือส่ิงท่ีทําใหมนษุยแสดงพฤติกรรมตางๆ มีดังนี ้

2.1.1 อุปนิสัยของบุคคล คือส่ิงท่ีไดรับการอบรมขัดเกลามาจากตัวแทนทางสังคม ไดแก

2.1.1.1 ความเช่ือ (Belief) บุคคลเช่ือส่ิงใดจะปฏิบัติตามส่ิงท่ีเช่ือ เชน เช่ือวาปฏิบัติตามข้ันตอนการปฏิบัติงานท่ีปลอดภัย จะไมกอใหเกิดอุบัติเหตุ

2.11.2 คานิยม (Value) คือการท่ีบุคคลเห็นคุณคาในส่ิงใดส่ิงหนึง่แลวยดึถือปฏิบัติตาม เชนคานิยมของการขยันทํางาน การแตงกายประณีต งดงาม

2.1.1.3 อารมณ จติใจ และสติปญญา (Intelligence) อารมณจิตใจดี เบิกบาน แจมใส มักมองโลกในแงด ี จึงแสดงออกเปนพฤติกรรมท่ียิ้มแยม หวัเราะในขณะท่ีอารมณไมดีทําใหหนาตาบ้ึงตึง ไมอยากพดูคุยกับใคร สติปญญาของบุคคลก็เปนตัวกําหนดใหแสดงพฤติกรรมตางๆ

2.2.2 กระบวนการทางสังคม ท่ีสําคัญ ไดแก 2.2.2.1 ส่ิงเราหรือตัวกระตุนพฤติกรรม เปนตัวการสําคัญท่ีกําหนดพฤติกรรม

ของบุคคล เชนความตองการตางๆ ความหิวกระหาย ความตองการเกียรติยศ ช่ือเสียง คํายกยอง ชมเชยตางๆ

Page 30: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

16

2.2.2.2 สถานการณท่ีเกดิข้ึน คือสภาพแวดลอมรอบตัวบุคคล เหตุการณท่ีเกิดข้ึนปจจุบัน เชน อุบัติเหตุตางๆ ท่ีเกดิข้ึนในโรงงาน สารเคมีหกร่ัวไหล ไฟไหม ทําใหบุคคลแสดงพฤติกรรมแตกตางกนัไป ประเภทพฤติกรรมแบงได 2 ประเภทคือ

พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) ท่ีมองเห็นดวยตาเปลา เชน การเดนิ ยืน นอน นั่ง รองไห และมองไมเห็นดวยตาเปลาตองใชเคร่ืองมือชวย เชน การเตนของหัวใจ การเตนชีพจร ความดันโลหิต เปนตน

พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ไมสามารถมองเห็นไดชัดเจนดวยตาเปลา เชน ความรูสึกตอบสนองส่ิงเรา ดวยอวยัวะสัมผัสตางๆ ความจํา ความคิด การรับรู สามารถตรวจวดัดวยเคร่ืองมือทางสังคมศาสตรเชน แบบวดัความรู ความจํา

2.2 แบบวัดพฤติกรรม ทัศนคติ การรับรูตางๆ พื้นฐานการเกิดพฤติกรรมมนุษย พฤตกิรรมมนุษยเกดิไดจากสาเหตุท่ีสําคัญ 2 สาเหตุ

คือ 2.2.1 พันธุกรรม (Heredity) เปนส่ิงท่ีบุคลไดรับจากบิดามารดาบรรพบุรุษท่ีเรียกวา

เปนการสืบทอดทางสายเลือด คือถายทอดโดยสายพันธุกรรมท่ีเรียกวาโครโมโซม ยีนหรือดีเอ็นเอ บิดามารดามีพฤติกรรมแสดงออกท่ีเหมาะสม สวนมากลูกก็มีพฤติกรรมแสดงออกท่ีเหมาะสม โดยถาไดอยูในสภาพแวดลอมท่ีดี ตรงขามกับสัตวท่ีถายทอดไดโดยตรงเชนนกกระจาบทํารังไมไดสอนกันแตสามารถทําได

2.2.2 ส่ิงแวดลอม (Environment) คือทุกส่ิงทุกอยางท่ีอยูรอบตัวมนษุยท้ังส่ิงแวดลอมทางดานกายภาพท่ีเปนรูปธรรม คือมองเห็นสัมผัสได เชนคน บาน ตนไม และส่ิงแวดลอมท่ีเปนนามธรรมคือจับตองไมไดเชน กฎ ระเบียบทางสังคมขอบังคับ ประเพณี การอบรมส่ังสอนจากบิดามารดา ญาติพี่นอง จะทําหนาท่ีขัดเกลาทางสังคม บุคคลท่ีพึ่งเขาทํางานถาไดรับการอบรมเร่ืองความ

ปลอดภัยกจ็ะทํางานไดปลอดภัยยิ่งข้ึนวงกลม พื้นฐานการเกิดพฤติกรรมมนุษย S – M – V – A –

B Sช้ันในสุดคือ Self ตัวตนหรือบุคคล M ช้ันถัดออกมา คือ Motivation แรงจูงใจตางๆ ส่ิงเรา V = Value คานิยม ส่ิงท่ีบุคคลเห็นคุณคาควรแกการปฏิบัติ เชนคานิยมการใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัย การรักษาความเปนระเบียบเรียบรอยของท่ีทํางาน A = Attitude ทัศนคติ เชนทัศนคติการขยันทํางานเปนส่ิงท่ีดี B = Behavior คือพฤติกรรมการแสดงออก คือข้ันตอนสุดทายระดับพฤติกรรมและการวดัพฤติกรรม แบงออกเปน 3 ระดับคือ ระดับบุคล ระดับกลุม และระดับสังคม

Page 31: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

17

2.2.2.1 ระดบับุคคล (Individual Behavior) หมายถึงพฤติกรรมท่ีแสดงออกของบุคคลตามตัวตน เปนพฤตกิรรมเฉพาะของตนเองเชน การเรียนรู รับรู ทักษะ แสดงออกเปนบุคลิกภาพ เชน การนั่ง นอน พูดคุย ติดตอส่ือสาร ปจจัยท่ีเปนตัวกําหนดคือ

1) พันธุกรรม สติปญญา สภาพรางกาย 2) ประสบการณการเรียนรูของบุคคล 3) การรับรูและทัศนคต ิ4) ความตองการแรงจูงใจ ส่ิงเรา 5) อิทธิพลของกลุม

2.2.2.2 พฤติกรรมระดับกลุม (Group Behavior) หมายถึงพฤติกรรมท่ีบุคลต้ังแต 2 คนข้ึนไปมารวมตัวกันเพื่อทํากิจกรรมอยางใดอยางหนึ่งตามเหตุผลความตองการของบุคคลหรือกลุม การรวมกลุมของบุคคลจะมี 2 ลักษณะคือ

กลุมปฐมภูมิ มีขนาดเล็ก 5-15 คน มีความใกลชิดสนิทสนมคุนเคยกันดี เชนกลุมครอบครัว เพื่อนรวมสถาบัน กลุมทองเท่ียวเชิงอนุรักษ กลุม 5 ส เพื่อความปลอดภัย

กลุมทุติยภูมิ จะมีขนาดของกลุมใหญข้ึน สมาชิกมีบทบาทหนาท่ีไวอยูแลวในกฎระเบียบของกลุม เชนกลุมผจญเพลิง กลุมพนักงานโรงงาน กลุมนายจางโรงงานน้ําตาล เปนตน ปจจัยท่ีทําใหเกิดพฤติกรรมระดับกลุม

1) โครงสรางกลุมและบทบาทหนาท่ีของสมาชิก จําเปนตองมีผูนํา (Leader) มีการกําหนดบทบาทหนาท่ีอยางชัดเจน

2) บรรทัดฐานทางสังคมของกลุม เปนวัฒนธรรมในการปฏิบัติของสมาชิกในกลุม มีระเบียบวินยั เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงค

3) ขนาดของกลุม ถากลุมมีขนาดเล็ก ติดตอกันไดเปนอยางดี สนิทสนมกลมเกลียวกันดี ถากลุมมีขนาดใหญปฏิสัมพันธของกลุมอาจจะไมท่ัวถึง การทํางานเปนแบบตัวใครตัวมัน ไมคอยมีความสัมพันธกันมากนัก

4) ความสามัคคีกันในกลุม มีความเปนสมาชิกยาวนาน กิจกรรมดึงดูดใจของสมาชิก

2.2.2.3 พฤติกรรมระดับสังคม หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลในการรวมตัวกันเปนกลุมท่ีมีขนาดใหญมาก จึงมีกฎระเบียบขอบังคับรวมกัน และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันเดียวกัน เชนสังคมเมือง สังคมเกษตร สังคมภูมิภาคตางๆ สังคมประเทศตางๆ ปจจัยท่ีเปนตัวกําหนดพฤติกรรมมนุษยในระดับสังคม คือ

Page 32: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

18

1) ปจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต ไดแกลักษณะตางๆ ทางภูมิศาสตร ความรอน ความเย็น สูง - ตํ่า ทางพื้นท่ี เชนบุคคลอยูพื้นท่ีราบจะมีนิสัยรักความสะดวกสบาย บุคคลท่ีอยูพื้นท่ีสูงจะมีพฤติกรรมเขมแข็ง อดทน สามารถทํางานหนักๆไดดี

2) กระบวนการขัดเกลาทางสังคม เนื่องจากไดรับการอบรมเล้ียงดูจากตัวแทนตางๆทางสังคม ทางสถาบันครอบครัวท่ีคลายกัน ทําใหเกิดการรวมตัวกันเปนพฤติกรรมระดับสังคม

2.3 ทฤษฎีท่ีเกี่ยวของในการพัฒนาพฤติกรรมมนุษย การเรียนรูและแรงจูงใจ การเรียนรู หมายถึง กระบวนการรับรูท่ีทําใหเกิดการแสดงออกของบุคคลหรือ

พฤติกรรมซ่ึงอาจเปล่ียนแปลงได โดยอาจจะเหมาะสมหรือไมเหมาะสมก็ไดข้ึนอยู กับสถานการณนั้นๆ ทฤษฏีการเรียนรู มีหลายทฤษฏีท่ีเกี่ยวของ เชน

2.3.1 ทฤษฏีการเรียนรูแบบวางเง่ือนไขส่ิงเรา หรือแบบคลาสสิก นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย อีวาน พี พาฟลอฟ ทําใหไดรับรางวัลโนเบลใน ค. ศ. 1906 แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรูของส่ิงมีชีวิตนั้นเกิดจากการตอบสนองของส่ิงเราไดหลายชนิดการตอบสนองอยางเดียวกันอาจมีสาเหตุมาจากส่ิงเราตางกันหรือส่ิงเราหลายอยาง ถาหากไดมีการวางเง่ือนไขอยางถูกตองเหมาะสม คือการทดลองใหอาหารกับสุนัข ผงเน้ือ เสียงกระดิ่งนําหลักทฤษฏีนี้มาประยุกตใชกับพนักงาน เชน การใหรางวัลชมเชย เงินตอบแทนมากข้ึนเม่ือพนักงานขยันทํางาน หรือปฏิบัติงานดวยความปลอดภัย

2.3.2 ทฤษฏีการเรียนรู การวางเงื่อนไขแบบผลกรรม หรือ การวางเง่ือนไขแบบการกระทํา นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เบอรัสเอฟ สกินเนอร มีแนวคิดท่ีวาพฤติกรรมของบุคคลจะเปนผลพวงอันสืบเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธของบุคคลกับส่ิงแวดลอมซ่ึงพฤติกรรมท่ีเกิดข้ึนและแสดงออก ก็จะเปล่ียนแปลงไปเนื่องจากผลของการกระทําหรือผลกรรม ท่ีเกิดกับสภาพแวดลอม นั้นๆ ซ่ึงมีผลทําใหพฤติกรรมของบุคคลนั้นมีอัตราการกระทําเพิ่มมากข้ึนท่ีเรียกวาเปนตัวเสริมแรง หรือมีผลทําใหพฤติกรรมของบุคคลนั้นลดลงหรือหยุดพฤติกรรมท่ีเรียกวาผลกรรมที่เปนการลงโทษ โดยตัวลงโทษ ดังนี้

2.3.2.1 การเสริมแรง (Reinforcement) การเสริมแรงคือการทําใหพฤติกรรมนั้นเพิ่มความถ่ีข้ึน เชน คาตอบแทน รางวัล คําชมเชย ยกยอง การเสริมแรงดําเนินการได 2 ลักษณะ คือ

Page 33: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

19

1) การเสริมแรงทางบวก เชนผูท่ีทํางานครบ 200,000 ช่ัวโมงโดยไมมีอุบัติเหตุถึงข้ันหยุดงาน จะไดรับรางวัล

2) การเสริมแรงทางลบ เชนพนักงานท่ีทํางานดวยความเกียจครานจะไดรับการวากลาวตักเตือนหรือลดเงินเดือน

2.3.2.2 การลงโทษ (Punishment) เปนการกระตุนส่ิงเราท่ีไมพึงพอใจ หรือการถอดถอนส่ิงเราท่ีพึงพอใจออกหลังจากบุคคลท่ีไดแสดงพฤติกรรมออกมาแลว ซ่ึงมีผลทําใหพฤติกรรมดังกลาวนั้นหยุดลง ดังนี้

1) การลงโทษทางบวก ใหส่ิงเราท่ีไมพึงพอใจ เชนเรียกมาตักเตือน อบรม ส่ังสอน ใหหยุดพฤติกรรมนั้น

2) การลงโทษทางลบ การถอดถอนส่ิงเราท่ีพึงพอใจออก เชน พนักงานมาทํางานสายทําใหถูกตัดเบ้ียขยันประจําเดือน (ส่ิงเราท่ีพึงพอใจ) ผลก็คือพนักงานเลิกมาทํางานสาย เพราะตองการไดรับเบ้ียขยันเหมือนเดิม เปนตน

แรงจูงใจ (Motives, Motivation) หมายถึง ส่ิงเราหรือแรงผลักดันภายในของบุคคล และในขณะเดียวกันก็เปนตัวกํากับใหบุคคลแสดงออกปรากฏใหเห็นชัดเจนเปนพฤติกรรมท้ังนี้เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงค/เปาหมายท่ีตัวเองตองการ ประกอบดวยองคประกอบดังนี้ การกระตุนหรือการปลุกเรา ไดแก พลังท่ีขับหรือแรงผลักดันภายในของบุคคลที่เปนตัวกระตนใหบุคคลแสดงกรรมออกมา เชน บางคร้ังก็ทํางานดวยความกระตือรือรน บางคร้ังก็ทํางานดวยความเฉื่อยชา การกําหนดทิศทางหรือเปาหมายของพฤติกรรม เปนทางเลือกหรือข้ันตอนการปฏิบัติใหบรรลุวัตถุประสงค/เปาหมายท่ีตองการ เชน ถาตองการทํางานใหปราศจากอุบัติเหตุ ก็ตองปฏิบัติตามข้ันตอนการทํางานท่ีปลอดภัย (Work Procedure) การกําหนดระดับของความมุงม่ัน เชน การดําเนินการดานความปลอดภัยของฝายผลิต ปนี้ยังมีอุบัติเหตุเกิดข้ึน แตดวยความมุงม่ันของหัวหนาฝายผลิต เนื่องจากตองการรางวัล คําชมเชย หรือความมีช่ือเสียง ดังนั้นจึงพยายามรณรงคลดอุบัติเหตุไมใหมีอุบัติเหตุเกิดข้ึนในฝายผลิตของปตอๆไปแรงจูงใจอาจมาจากแรงจูงใจภายใน ของตัวเอง เชนการพิสูจน ศักยภาพของตนเอง หรือแรงจูงใจภายนอก โดยมีส่ิงลอหรือส่ิงจูงใจภายนอก เชน รางวัลช่ือเสียง ทฤษฎีท่ีเกี่ยวของกับแรงจูงใจมีหลายทฤษฎี เชน ทฤษฎีลําดับความตองการของมนุษย อับบราฮัม มาสโลว จัดลําดับออกเปน 5 ระดับ จากตํ่าสุดถึงสูงสุด

ระดับท่ี 1 ความตองการทางกายภาพ อาหาร น้ํา อากาศ ขับถาย ความตองการทางเพศเพ่ือสืบทอดเผาพันธุ

ระดับท่ี 2 ความตองการทางดานความปลอดภัยและม่ันคง ระดับท่ี 3 ความตองการความรัก การเปนพวกเดียวกนั

Page 34: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

20

ระดับท่ี 4 ความตองการมีคุณคา ใหตนเองเปนท่ียอมรับ ยกยองในสังคม ระดับท่ี 5 ความตองการความสําเร็จในชีวติ

ทฤษฎีลําดับขั้นความตองการ( Maslow’s Hierarchical Theory of Motivation )

Maslow เช่ือวาพฤติกรรมของมนุษยเปนจํานวนมากสามารถอธิบายโดยใชแนวโนมของบุคคลในการคนหาเปาหมายท่ีจะทําใหชีวิตของเขาไดรับความตองการ ความปรารถนา และไดรับส่ิงท่ีมีความหมายตอตนเอง เปนความจริงท่ีจะกลาววากระบวนการของแรงจูงใจเปนหัวใจของทฤษฎีบุคลิกภาพของ Maslow โดยเขาเช่ือวามนุษยเปน “สัตวท่ีมีความตองการ” (Wanting animal) และเปนการยากท่ีมนุษยจะไปถึงข้ันของความพึงพอใจอยางสมบูรณ ในทฤษฎีลําดับข้ันความตองการของ Maslow เม่ือบุคคลปรารถนาท่ีจะไดรับความพึงพอใจและเม่ือบุคคลไดรับความพึงพอใจในส่ิงหนึ่งแลวก็จะยังคงเรียกรองความพึงพอใจส่ิงอ่ืนๆ ตอไป ซ่ึงถือเปนคุณลักษณะของมนุษย ซ่ึงเปนผูท่ีมีความตองการจะไดรับส่ิงตางๆ อยูเสมอ Maslow กลาววาความปรารถนาของมนุษยนั้นติดตัวมาแตกําเนิดและความปรารถนาเหลานี้จะเรียงลําดับข้ันของความปรารถนา ต้ังแตข้ันแรกไปสูความปรารถนาข้ันสูงข้ึนไปเปนลําดับ

ลําดับข้ันความตองการของมนุษย ( The Need –Hierarchy Conception of Human Motivation )

Maslow เรียงลําดับความตองการของมนุษยจากข้ันตนไปสูความตองการข้ันตอไปไวเปนลําดับดังนี ้

1. ความตองการทางดานรางกาย ( Physiological needs ) 2. ความตองการความปลอดภัย ( Safety needs ) 3. ความตองการความรักและความเปนเจาของ ( Belongingness and love needs ) 4. ความตองการไดรับความนับถือยกยอง ( Esteem needs ) 5. ความตองการท่ีจะเขาใจตนเองอยางแทจริง ( Self-actualization needs )

ลําดับข้ันความตองการของมาสโลว มีการเรียงลําดับข้ันความตองการท่ีอยูในข้ันตํ่าสุด จะตองไดรับความพึงพอใจเสียกอนบุคคลจึงจะสามารถผานพนไปสูความตองการที่อยูในข้ันสูงข้ึนตามลําดับดังจะอธิบายโดยละเอียดดังนี้

Page 35: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

21

1. ความตองการทางรางกาย ( Physiological needs ) เปนความตองการข้ันพื้นฐาน ท่ีมีอํานาจมากท่ีสุดและสังเกตเห็นไดชัดท่ีสุด จากความตองการทั้งหมดเปนความตองการที่ชวยการดํารงชีวิต ไดแก ความตองการอาหาร น้ําดื่ม ออกซิเจน การพักผอนนอนหลับ ความตองการทางเพศ ความตองการความอบอุน ตลอดจนความตองการที่จะถูกกระตุนอวัยวะรับสัมผัส แรงขับของรางกายเหลานี้จะเกี่ยวของโดยตรงกับความอยูรอดของรางกายและของอินทรีย ความพึงพอใจท่ีไดรับ ในข้ันนี้จะกระตุนใหเกิดความตองการในข้ันท่ีสูงกวาและถาบุคคลใดประสบความลมเหลวท่ีจะสนองความตองการพ้ืนฐานนี้ก็จะไมไดรับการกระตุน ใหเกิดความตองการในระดับท่ีสูงข้ึนอยางไรก็ตาม ถาความตองการอยางหนึ่งยังไมไดรับความพึงพอใจ บุคคลก็จะอยูภายใตความตองการน้ันตลอดไป ซ่ึงทําใหความตองการอื่นๆ ไมปรากฏหรือกลายเปนความตองการระดับรองลงไป เชน คนท่ีอดอยากหิวโหยเปนเวลานานจะไมสามารถสรางสรรคส่ิงท่ีมีประโยชนตอโลกได บุคคลเชนนี้จะหมกมุนอยูกับการจัดหาบางส่ิงบางอยางเพ่ือใหมีอาหารไวรับประทาน Maslowอธิบายตอไปวาบุคคลเหลานี้จะมีความรูสึกเปนสุขอยางเต็มท่ีเม่ือมีอาหารเพียงพอสําหรับเขาและจะไมตองการส่ิงอ่ืนใดอีก ชีวิติของเขากลาวไดวาเปนเร่ืองของการรับประทาน ส่ิงอ่ืนๆ นอกจากนี้จะไมมีความสําคัญไมวาจะเปนเสรีภาพ ความรัก ความรูสึกตอชุมชน การไดรับการยอมรับ และปรัชญาชีวิต บุคคลเชนนี้มีชีวิตอยูเพื่อท่ีจะรับประทานเพียงอยางเดียวเทานั้น ตัวอยาง การขาดแคลนอาหารมีผลตอพฤติกรรม ไดมีการทดลองและการศึกษาชีวประวัติเพื่อแสดงวา ความตองการทางดานรางกายเปนเร่ืองสําคัญท่ีจะเขาใจพฤติกรรมมนุษย และไดพบผลวาเกิดความเสียหายอยางรุนแรงของพฤติกรรมซ่ึงมีสาเหตุจากการขาดอาหารหรือน้ําติดตอกันเปนเวลานาน ตัวอยางคือ เม่ือสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ในคาย Nazi ซ่ึงเปนท่ีกักขังเชลย เชลยเหลานั้นจะละท้ิงมาตรฐานทางศีลธรรมและคานิยมตางๆ ท่ีเขาเคยยึดถือภายใตสภาพการณปกติ เชน ขโมยอาหารของคนอ่ืน หรือใชวิธีการตางๆ ท่ีจะไดรับอาหารเพ่ิมข้ึน อีกตัวอยางหน่ึงในป ค.ศ. 1970 เคร่ืองบินของสายการบิน Peruvian ตกลงท่ีฝงอาวอเมริกาใตผูท่ีรอดตายรวมท้ังพระนิกาย Catholic อาศัยการมีชีวิตอยูรอดโดยการกินซากศพของผูท่ีตายจากเคร่ืองบินตก จากปรากฏการณนี้ช้ีใหเห็นวาเม่ือมนุษยเกิดความหิวข้ึน จะมีอิทธิพลเหนือระดับศีลธรรมจรรยา จึงไมตองสงสัยเลยวามนุษยมีความตองการทางดานรางกายเหนือความตองการอื่นๆ และแรงผลักดันของความตองการนี้ไดเกิดข้ึนกับบุคคลกอนความตองการอ่ืนๆ

2. ความตองการความปลอดภัย(Safety needs) เม่ือความตองการทางดานรางกาย ไดรับความพึงพอใจแลวบุคคลก็จะพัฒนาการไปสูข้ันใหมตอไป ซ่ึงข้ันนี้เรียกวาความตองการความปลอดภัยหรือความรูสึกม่ันคง (Safety or security) Maslow กลาววาความตองการความ

Page 36: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

22

ปลอดภัยนี้จะสังเกตไดงายในทารกและในเด็กเล็กๆ เนื่องจากทารกและเด็กเล็กๆ ตองการความชวยเหลือและตองพึ่งพออาศัยผูอ่ืน ตัวอยาง ทารกจะรูสึกกลัวเม่ือถูกท้ิงใหอยูตามลําพังหรือเม่ือเขาไดยินเสียงดังๆ หรือเห็นแสงสวางมาก ๆ แตประสบการณและการเรียนรูจะทําใหความรูสึกกลัวหมดไป ดังคําพูดท่ีวา “ฉันไมกลัวเสียงฟารองและฟาแลบอีกตอไปแลว เพราะฉันรูธรรมชาติในการเกิดของมัน” พลังความตองการความปลอดภัยจะเห็นไดชัดเจนเชนกันเม่ือเด็กเกิดความเจ็บปวย ตัวอยางเด็กท่ีประสบอุบัติเหตุขาหักก็จะรูสึกกลัวและอาจแสดงออกดวยอาการฝนรายและความตองการที่จะไดรับความปกปองคุมครองและการใหกําลังใจ Maslow กลาวเพิ่มเติมวาพอแมท่ีเล้ียงดูลูกอยางไมกวดขันและตามใจมากจนเกินไปจะไมทําใหเด็กเกิดความรูสึกวาไดรับความพึงพอใจจากความตองการความปลอดภัยการใหนอนหรือใหกินไมเปนเวลาไมเพียง แตทําใหเด็กสับสนเทานั้นแตยังทําใหเด็กรูสึกไมม่ันคงในส่ิงแวดลอมรอบๆ ตัวเขา สัมพันธภาพของพอแมท่ีไมดีตอกัน เชน ทะเลาะกันทํารายรางกายซ่ึงกันและกัน พอแมแยกกันอยู หยา ตายจากไป สภาพการณเหลานี้จะมีอิทธิพลตอความรูท่ีดีของเด็ก ทําใหเด็กรูวาส่ิงแวดลอมตางๆ ไมม่ันคง ไมสามารถคาดการณไดและนําไปสูความรูสึกไมปลอดภัย

ความตองการความปลอดภัยจะยังมีอิทธิพลตอบุคคลแมวาจะผานพนวัยเด็กไปแลว แมในบุคคลท่ีทํางานในฐานะเปนผูคุมครอง เชน ผูรักษาเงิน นักบัญชี หรือทํางานเกี่ยวกับการประกันตางๆ และผูท่ีทําหนาท่ีใหการรักษาพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผูอ่ืน เชน แพทย พยาบาล แมกระทั่งคนชรา บุคคลท้ังหมดท่ีกลาวมานี้จะใฝหาความปลอดภัยของผูอ่ืน เชน แพทย พยาบาล แมกระท่ังคนชรา บุคคลท้ังหมดท่ีกลาวมานี้จะใฝหาความปลอดภัยดวยกันท้ังส้ิน ศาสนาและปรัชญาท่ีมนุษยยึดถือทําใหเกิดความรูสึกม่ันคง เพราะทําใหบุคคลไดจัดระบบของตัวเองใหมีเหตุผลและวิถีทางที่ทําใหบุคคลรูสึก “ปลอดภัย” ความตองการความปลอดภัยในเร่ืองอ่ืนๆ จะเกี่ยวของกับการเผชิญกับส่ิงตางๆ เหลานี้ สงคราม อาชญากรรม น้ําทวม แผนดินไหว การจลาจล ความสับสนไมเปนระเบียบของสังคม และเหตุการณอ่ืนๆ ท่ีคลายคลึงกับสภาพเหลานี้ Maslow ไดใหความคิดตอไปวาอาการโรคประสาทในผูใหญ โดยเฉพาะโรคประสาทชนิดย้ําคิด-ย้ําทํา (Obsessive-compulsive neurotic) เปนลักษณะเดนชัดของการคนหาความรูสึกปลอดภัย ผูปวยโรคประสาทจะแสดงพฤติกรรมวาเขากําลังประสบเหตุการณท่ีรายกาจและกําลังมีอันตรายตางๆ เขาจึงตองการมีใครสักคนท่ีปกปองคุมครองเขาและเปนบุคคลท่ีมีความเขมแข็งซ่ึงเขาสามารถจะพ่ึงพาอาศัยได

3. ความตองการความรักและความเปนเจาของ (Belongingness and Love needs) ความตองการความรักและความเปนเจาของเปนความตองการข้ันท่ี 3 ความตองการนี้จะเกิดข้ึนเม่ือความ

Page 37: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

23

ตองการทางดานรางกาย และความตองการความปลอดภัยไดรับการตอบสนองแลว บุคคลตองการไดรับความรักและความเปนเจาของโดยการสรางความสัมพันธกับผูอ่ืน เชน ความสัมพันธภายในครอบครัวหรือกับผูอ่ืน สมาชิกภายในกลุมจะเปนเปาหมายสําคัญสําหรับบุคคล กลาวคือ บุคคลจะรูสึกเจ็บปวดมากเม่ือถูกทอดท้ิงไมมีใครยอมรับ หรือถูกตัดออกจากสังคม ไมมีเพื่อน โดยเฉพาะอยางยิ่งเม่ือจํานวนเพ่ือนๆ ญาติพี่นอง สามีหรือภรรยาหรือลูกๆ ไดลดนอยลงไป นักเรียนท่ีเขาโรงเรียนท่ีหางไกลบานจะเกิดความตองการเปนเจาของอยางยิ่ง และจะแสวงหาอยางมากท่ีจะไดรับการยอมรับจากกลุมเพื่อน Maslow คัดคานกลุม Freud ท่ีวาความรักเปนผลมาจากการทดเทิดสัญชาตญาณทางเพศ (Sublimation) สําหรับ Maslow ความรักไมใชสัญลักษณของเร่ืองเพศ (Sex) เขาอธิบายวา ความรักท่ีแทจริงจะเกี่ยวของกับความรูสึกท่ีดี ความสัมพันธของความรักระหวางคน 2 คน จะรวมถึงความรูสึกนับถือซ่ึงกันและกัน การยกยองและความไววางใจแกกัน นอกจากนี้ Maslow ยังย้ําวาความตองการความรักของคนจะเปนความรักท่ีเปนไปในลักษณะท้ังการรูจักใหความรักตอผูอ่ืนและรูจักท่ีจะรับความรักจากผูอ่ืน การไดรับความรักและไดรับการยอมรับจากผูอ่ืนเปนส่ิงท่ีทําใหบุคคลเกิดความรูสึกวาตนเองมีคุณคา บุคคลท่ีขาดความรักก็จะรูสึกวาชีวิตไรคามีความรูสึกอางวางและเคียดแคน กลาวโดยสรุป Maslow มีความเห็นวาบุคคลตองการความรักและความรูสึกเปนเจาของ และการขาดส่ิงนี้มักจะเปนสาเหตุใหเกิดความของคับใจและทําใหเกิดปญหาการปรับตัวไมได และความยินดีในพฤติกรรมหรือความเจ็บปวยทางดานจิตใจในลักษณะตางๆส่ิงท่ีควรสังเกตประการหน่ึง ก็คือมีบุคคลจํานวนมากที่มีความลําบากใจท่ีจะเปดเผยตัวเองเม่ือมีความสัมพันธใกลชิดสนิทสนมกับเพศตรงขามเนื่องจากกลัววาจะถูกปฏิเสธความรูสึกเชนนี้ Maslow กลาววาสืบเนื่องมาจากประสบการณในวัยเด็ก การไดรับความรักหรือการขาดความรักในวัยเด็ก ยอมมีผลกับการเติบโตเปนผูใหญท่ีมีวุฒิภาวะและการมีทัศนคติในเร่ืองของความรัก Maslow เปรียบเทียบวาความตองการความรักก็เปนเชนเดียวกับรถยนตท่ีสรางข้ึนมาโดยตองการกาซหรือน้ํามันนั่นเอง (Maslow 1970 p. 170)

4. ความตองการไดรับความนับถือยกยอง (Self-Esteem needs) เม่ือความตองการไดรับความรักและการใหความรักแกผูอ่ืนเปนไปอยางมีเหตุผลและทําใหบุคคล เกิดความพึงพอใจแลว พลังผลักดันในข้ันท่ี 3 ก็จะลดลงและมีความตองการในข้ันตอไปมาแทนท่ี กลาวคือมนุษยตองการท่ีจะไดรับความนับถือยกยองออกเปน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเปนความตองการนับถือตนเอง (Self-respect) สวนลักษณะท่ี 2 เปนความตองการไดรับการยกยองนับถือจากผูอ่ืน (Esteem from others)

Page 38: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

24

4.1 ความตองการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความตองการมีอํานาจ มีความเช่ือ ม่ันในตนเอง มีความแข็งแรง มีความสามารถในตนเอง มีผลสัมฤทธ์ิไมตองพึ่งพาอาศัยผูอ่ืน และมีความเปนอิสระ ทุกคนตองการท่ีจะรูสึกวาเขามีคุณคาและมีความสามารถท่ีจะประสบความสําเร็จในงานภารกิจตางๆ และมีชีวิตท่ีเดนดัง

4.2 ความตองการไดรับการยกยองนับถือจากผูอ่ืน (Esteem from others) คือ ความตองการมีเกียรติยศ การไดรับยกยอง ไดรับการยอมรับ ไดรับความสนใจ มีสถานภาพ มีช่ือเสียงเปนท่ีกลาวขาน และเปนท่ีช่ืนชมยินดี มีความตองการที่จะไดรับความยกยองชมเชยในส่ิงท่ีเขากระทําซ่ึงทําใหรูสึกวาตนเองมีคุณคาวาความสามารถของเขาไดรับการยอมรับจากผูอ่ืน ความตองการไดรับความนับถือยกยอง ก็เปนเชนเดียวกับธรรมชาติของลําดับช้ันในเร่ืองความตองการดานแรงจูงใจตามทัศนะของ Maslow ในเร่ืองอ่ืนๆ ท่ีเกิดข้ึนภายในจิตนั่นคือ บุคคลจะแสวงหาความตองการไดรับการยกยองก็เม่ือภายหลังจาก ความตองการความรักและความเปนเจาของไดรับการตอบสนองความพึงพอใจของเขาแลว และ Maslow กลาววามันเปนส่ิงท่ีเปนไปไดท่ีบุคคลจะยอนกลับจากระดับข้ันความตองการในข้ันท่ี 4 กลับไปสูระดับข้ันท่ี 3 อีกถาความตองการระดับข้ันท่ี 3 ซึ่งบุคคลไดรับไวแลวนั้นถูกกระทบกระเทือนหรือสูญสลายไปทันทีทันใด ดังตัวอยางท่ี Maslow นํามาอางคือหญิงสาวคนหนึ่งซ่ึงเธอคิดวาการตอบสนองความตองการความรักของเธอไดดําเนินไปดวยดี แลวเธอจึงทุมเทและเอาใจใสในธุรกิจของเธอ และไดประสบความสําเร็จเปนนักธุรกิจท่ีมีช่ือเสียงและอยางไมคาดฝนสามีไดผละจากเธอไป ในเหตุการณเชนนี้ปรากฏวาเธอวางมือจากธุรกิจตางๆ ในการที่จะสงเสริมใหเธอไดรับความยกยองนับถือ และหันมาใชความพยายามท่ีจะเรียกรองสามีใหกลับคืนมา ซ่ึงการกระทําเชนนี้ของเธอเปนตัวอยางของความตองการความรักซ่ึงคร้ังหนึ่งเธอไดรับแลว และถาเธอไดรับความพึงพอในความรักโดยสามีหวนกลับคืนมาเธอก็จะกลับไปเกี่ยวของในโลกธุรกิจอีกคร้ังหนึ่ง ความพึงพอใจของความตองการไดรับการยกยองโดยท่ัวๆ ไป เปนความรูสึกและทัศนคติของความเชื่อม่ันในตนเอง ความรูสึกวาตนเองมีคุณคา การมีพละกําลัง การมีความสามารถ และความรูสึกวามีชีวิตอยูอยางมีประโยชนและเปนบุคคลท่ีมีความจําเปนตอโลก ในทางตรงกันขามการขาดความรูสึกตางๆ ดังกลาวนี้ยอมนําไปสูความรูสึกและทัศนคติของปมดอยและความรูสึกไมพอเพียง เกิดความรูสึกออนแอและชวยเหลือตนเองไมได ส่ิงตางๆ เหลานี้เปนการรับรูตนเองในทางนิเสธ (Negative) ซ่ึงอาจกอใหเกิดความรูสึกขลาดกลัวและรูสึกวาตนเองไมมีประโยชนและส้ินหวังในส่ิงตางๆ ท่ีเกี่ยวของกับความตองการของชีวิต และประเมินตนเองตํ่ากวาชีวิตความเปนอยูกับการไดรับการยกยอง และยอมรับจากผูอ่ืนอยางจริงใจมากกวาการมีช่ือเสียงจากสถานภาพหรือการไดรับการประจบประแจง การไดรับความนับถือยกยองเปนผลมาจากความเพียรพยายามของบุคคล

Page 39: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

25

และความตองการนี้อาจเกิดอันตรายข้ึนไดถาบุคคลนั้นตองการคําชมเชยจากผูอ่ืนมากกวาการยอมรับความจริงและเปนท่ียอมรับกันวาการไดรับความนับถือยกยอง มีพื้นฐานจากการกระทําของบุคคลมากกวาการควบคุมจากภายนอก

5. ความตองการท่ีจะเขาใจตนเองอยางแทจริง (Self-Actualization needs) ถึงลําดับข้ันสุดทาย ถาความตองการลําดับข้ันกอนๆ ไดทําใหเกิดความพึงพอใจอยางมีประสิทธิภาพ ความตองการเขาใจตนเองอยางแทจริงก็จะเกิดข้ึน Maslow อธิบายความตองการเขาใจตนองอยางแทจริง วาเปนความปรารถนาในทุกส่ิงทุกอยางซ่ึงบุคคลสามารถจะไดรับอยางเหมาะสมบุคคลที่ประสบผลสําเร็จในข้ันสูงสุดนี้จะใชพลังอยางเต็มท่ีในส่ิงท่ีทาทายความสามารถและศักยภาพของเขาและมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงตนเอง พลังแรงขับของเขาจะกระทําพฤติกรรมตรงกับความสามารถของตน กลาวโดยสรุปการเขาใจตนเองอยางแทจริงเปนความตองการอยางหน่ึงของบุคคลที่จะบรรลุถึงจุดสูงสุดของศักยภาพ เชน “นักดนตรีก็ตองใชความสามารถทางดานดนตรี ศิลปนก็จะตองวาดรูป กวีจะตองเขียนโคลงกลอน ถาบุคคลเหลานี้ไดบรรลุถึงเปาหมายที่ตนต้ังไวก็เช่ือไดวาเขาเหลานั้นเปนคนท่ีรูจักตนเองอยางแทจริง” Maslow ( 1970 : 46)

ความตองการที่จะเขาใจตนเองอยางแทจริงจะดําเนินไปอยางงายหรือเปนไปโดยอัตโนมัติ โดยความเปนจริงแลว Maslow เช่ือวาคนเรามักจะกลัวตัวเองในส่ิงเหลานี้ “ดานท่ีดีท่ีสุดของเรา ความสามารถพิเศษของเรา ส่ิงท่ีดีงามท่ีสุดของเรา พลังความสามารถ ความคิดสรางสรรค” Maslow (1962 : 58) ความตองการเขาใจตนเองอยางแทจริงมิไดมีแตเฉพาะในศิลปนเทานั้น คนท่ัวๆ ไป เชน นักกีฬา นักเรียน หรือแมแตกรรมกรก็สามารถจะมีความเขาใจตนเองอยางแทจริงไดถาทุกคนสามารถทําในส่ิงท่ีตนตองการใหดีท่ีสุด รูปแบบเฉพาะของการเขาใจตนเองอยางแทจริงจะมีความแตกตางอยางกวางขวางจากคนหนึ่งไปสูอีกคนหนึ่ง กลาวไดวามันคือระดับความตองการท่ีแสดงความแตกตางระหวางบุคคลอยางยิ่งใหญท่ีสุด Maslow ไดยกตัวอยางของความตองการเขาใจตนเองอยางแทจริง ในกรณีของนักศึกษาช่ือ Mark ซ่ึงเขาไดศึกษาวิชาบุคลิกภาพเปนระยะเวลายาวนานเพื่อเตรียมตัวเปนนักจิตวิทยาคลินิก นักทฤษฎีคนอ่ืนๆ อาจจะอธิบายวาทําไมเขาจึงเลือกอาชีพนี้ ตัวอยาง เชน Freud อาจกลาววามันสัมพันธอยางลึกซ้ึงกับส่ิงท่ีเขาเก็บกด ความอยากรูอยากเห็นในเร่ืองเพศไวต้ังแตวัยเด็ก ขณะท่ี Adler อาจมองวามันเปนความพยายามเพ่ือชดเชยความรูสึกดอยบางอยางในวัยเด็ก Skinner อาจมองวาเปนผลจากการถูกวางเงื่อนไขของชีวิตในอดีต ขณะท่ี Bandura สัมพันธเร่ืองนี้กับตัวแปรตางๆ ทางการเรียนรูทางสังคม และ Kelly อาจพิจารณาวา Mark กําลังจะพุงตรงไปเพ่ือท่ีจะเปนบุคคลท่ีเขาตองการจะเปนตัวอยางท่ีแสดงถึง การมุงตรงไปสูเปาประสงคในอาชีพโดยความตองการที่จะเขาใจตนเองอยางแทจริงและถาจะพิจารณากรณีของ

Page 40: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

26

Mark ใหลึกซ่ึงยิ่งข้ึน ถา Mark ไดผานกาเรียนวิชาจิตวิทยาจนครบหลักสูตรและไดเขียนวิทยานิพนธระดับปริญญาเอกและในท่ีสุดก็ไดรับปริญญาเอกทางจิตวิทยาคลินิก ส่ิงท่ีจะตองวิเคราะห Mark ตอไปก็คือ เม่ือเขาสําเร็จการศึกษาดังกลาวแลวถามีบุคคลหน่ึงไดเสนองานใหเขาในตําแหนงตํารวจสืบสวน ซ่ึงงานในหนาท่ีนี่จะไดรับคาตอบแทนอยางสูงและไดรับผลประโยชนพิเศษหลายๆ อยางตลอดจนรับประกันการวาจางและความม่ันคงสําหรับชีวิต เม่ือประสบเหตุการณเชนนี้ Mark จะทําอยางไร ถาคําตอบของเขาคือ “ตกลง” เขาก็จะยอนกลับมาสูความตองการระดับท่ี 2 คือความตองการความปลอดภัย สําหรับการวิเคราะหความเขาใจตนเองอยางแทจริง Maslow กลาววา “อะไรท่ีมนุษยสามารถจะเปนไดเขาจะตองเปนในส่ิงนั้น” เร่ืองของ Mark เปนตัวอยางงายๆ วา ถาเขาตกลงเปนตํารวจสืบสวน เขาก็จะไมมีโอกาสที่จะเขาใจตนเองอยางแทจริง

นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถประยุกตใชทฤษฎีการเรียนรูและแรงจูงใจกับบุคคลในสถานประกอบการหรือโรงงานไดโดยพิจารณาในเร่ืองส่ิงเราและการเสริมแรง โดยใหตัวกระตุนหรือส่ิงเรากับบุคคลตางๆ เชน ระดับผูบริหาร มักตองการเร่ืองของชื่อเสียงบริษัท การไดรับการยอมรับจากสังคม และผลกําไรเพิ่มมากข้ึน ในขณะท่ีระดับพนักงานตองการ รางวัล เบ้ียขยัน หรือคํายกยองชมเชย พิจารณาใหเหมาะสมกับบุคลากรในทุกระดับของสถานประกอบการ

คานิยมและมนุษยสัมพันธ คานิยม เปนความนิยม ช่ืนชม ความเช่ือของบุคคลวาส่ิงเหลานั้นมีคุณคา มีความสําคัญ เปนส่ิงท่ีควรประพฤติปฏิบัติ เปนเหตุ ใหเกิดพฤติกรรมการแสดงออกตางๆ คานิยมเกิดจากพันธุกรรมท่ีบุคคลไดรับจากบิดามารดา บรรพบุรุษต้ังแตเปนตัวออนอยูในครรภมารดาและเม่ือเกิดเปนทารกจนกระท่ังเติบโตเปนผูใหญก็จะไดรับการอบรมเล้ียงดูจากผูปกครอง รวมทั้งไดรับการขัดเกลาจากสังคม ส่ิงแวดลอมท่ีอยูรอบตัวบุคคลนั้น มนุษยสัมพันธ (Human Relationship) ความหมาย มนุษยสัมพันธ เปนคํารวมของคําวามนุษยกับคําวาความสัมพันธ เม่ือมารวมกันจึงหมายถึงความสัมพันธ หรือปฏิสัมพันธระหวางบุคคล กลุมและในองคกร เปนรูปแบบการสัมพันธท่ีเปนทางการและไมเปนทางการ เปนท้ังศาสตรและศิลปในการประยุกตความรูความเขาใจท่ีเกี่ยวของกับความแตกตางของมนุษยในสังคมทําใหสามารถอยูรวมกัน ทํางานรวมกันในองคกร หรือหนวยงายังผลใหผลการดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค/เปาหมายท่ีตองการ มีความสําคัญในการดําเนินงานดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นักอาชีวอนามัยจะตองยอมรับสภาพเปนจริง เอาใจเขามาใสใจเรา เคารพและยอมรับ

Page 41: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

27

สภาพความแตกตาง แตบางคร้ังตองปรับพฤติกรรมบางอยางเพื่องานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อการทํางานรวมกัน Team Work ติดตอส่ือสารกันอยางดีและบุคลากรทุกคน

ความสัมพันธระหวางจิตและพฤติกรรม

การศึกษาความสัมพันธระหวางจิตกับพฤติกรรมโดยอางอิงพฤติกรรมท่ีแสดงออกแลวอธิบายถึงสภาพจิตใจน้ันก็ดวยความเชื่อของนักจิตวิทยากลุมปญญานิยมวา จิตเปนตัวกําหนดพฤติกรรม ดังนั้นถาตองการเปลี่ยนพฤติกรรมก็ตองเปล่ียนท่ีจิต (ความคิด) กอน และในทางกลับกันผลของการแสดงออกของพฤติกรรมก็สามารถทําใหเกิดสภาพทางจิตใจได เชน นักเรียนมีความตองการอยากสอบเรียนแพทยมากก็ขยันอานหนังสือทําใหทําขอสอบได และพอผลสอบออกมาไดก็แสดงความดีใจภาคภูมิใจท่ีทําได จะเห็นไดวาจิตและพฤติกรรมมีความสัมพันธกัน ความสัมพันธระหวางจิตและพฤติกรรม ก็คือความสัมพันธระหวางกระบวนการทํางานของสมองและการแสดงออกทางรางกายนั่นเอง ซ่ึงพอที่จะกลาวไดวา 3 แนวทาง สําคัญ (สุภา มาลากุล ณ อยุธยา , 2538 : 63-65) ดังนี้ 1) สมอง คือ อวัยวะที่เปนรูปธรรมของรางกาย แตส่ิงท่ีเกิดข้ึนในกระบวนการทํางานของสมองเปนนามธรรม เปนเร่ืองของจิตใจ ความสมบูรณหรือความบกพรองของสมอง ยอมสงผลใหมีพฤติกรรมการแสดงออกท่ีเหมาะสมหรือเบ่ียงเบนไปจากสภาพปกติได เชน ชายคนหนึ่งเม่ือวัยหนุมสุขภาพดีมีความสมบูรณของสมองมาก เปนบุคคลท่ีฉลาดหลักแหลม คลองแคลววองไวและกลาหาญ แตเม่ืออายุมากข้ึนรางกายออนแอ สมองเส่ือมลง กลับกลายเปนคบเช่ืองซึม เช่ืองชา และข้ีขลาด เสมือนมิใชบุคคลเดิม 2) อวัยวะรับความรูสึก คือ ประสาทสัมผัสแตละดานของรางกายถาประสาทสัมผัสทุกๆดาน มีความปกติดีการรับความรูสึกจากส่ิงเราท่ีมากระทบยอมจะเท่ียงตรงสงผลตอกระบวนการทํางานของจิตใจ ท่ีสอดคลองกับสภาพแวดลอมท่ีเปนจริง แตถาประสาทสัมผัสบกพรองความรูสึกยอมคลาดเคล่ือนสมองก็จะไดขอมูลท่ีคลาดเคล่ือนไปสูกระบวนการทํางาน เชน โฆษณาช้ินหนึ่ง ท่ีคนแกรับโทรศัพทจากหลานชายวา “ไดทํางานเปนพนักงานบัญชี” ก็รับรูวา “จะแตงงานกับชี”สงผลใหเกิดกระบวนการทํางานของจิตใจวา “เปนพฤติกรรมท่ีไมคอยเหมาะสม” 3) เสนประสาท เปนเสนทางนําคําส่ังจากสมองไปสูอวัยวะเคล่ือนไหว หรือระบบกลามเน้ือ และนําความรูสึกจากประสาทสัมผัสไปสูสมอง ซ่ึงถาเสนประสาทมีความสมบูรณตามปรกติการนําคําส่ังไปแสดงพฤติกรรมและการรับสัมผัสยอมราบรื่น แตถามีขอบกพรอง เชน กระดูกกดทับเสนประสาท อาจมีผลใหการเคล่ือนไหวบกพรองได

Page 42: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

28

จากขอความดังกลาวจะเห็นวา การแสดงพฤติกรรมเปนผลมาจากการทํางานสัมพันธกัน ระหวางอวัยวะรับความรูสึก เสนประสาทและสมอง ซ่ึงเปนพื้นฐานในการศึกษาพฤติกรรมมนุษยตอไป

วิธีการศึกษาพฤติกรรม

วิธีการศึกษาพฤติกรรม ก็คือวิธีการที่ถูกนํามาใชเพื่อแสวงหา “ขอความรู” (Knowledge) ตางๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมซ่ึงวิชาใดๆ ท่ีมีความเปนศาสตร (Science) นั้น ลวนแลวแตนํามาใชคือ นํา “วิธีการทางวิทยาศาสตร” (Scientific method) มาใชในการแสวงหาความรูท้ังส้ิน วิธีการนี้ประกอบดวย 5 ข้ันตอน คือ กําหนดปญหา ต้ังสมมติฐาน รวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และสรุปผล ตามลําดับข้ันตอนดังกลาวนี้ เปนแนวทางสําหรับวิธีการศึกษาพฤติกรรมทุกๆ วิธีจะตองดําเนินการตาม แมวาแตละวิธีจะมีรายละเอียดปลีกยอยแตกตางกันตาม วิธีการศึกษาพฤติกรรมท่ีสําคัญกระทําได 4 วิธี ตามลักษณะของพฤติกรรมท่ีศึกษา (เจรจา สุวรรณทัต , 2538 : 20-26) ดังนี้ 1) การทดลอง (Experimental method) เปนการศึกษาพฤติกรรมในทางจิตวิทยาท่ีมีความเปนวิทยาศาสตรสูงมาก มุงศึกษาความสัมพันธเชิงเหตุและผลระหวางเหตุการณ (Event) สองเหตุการณ เหตุการณท่ีเปนเหตุเรียกวา ตัวแปรอิสระ (Independent variable) สองเหตุการณท่ีเปนผล เรียกวา ตัวแปรตาม (Dependent variable) การปฏิบัติของผูทดลองตอตัวแปรอิสระ เรียกวา การกระทํา (Treatment) การทดลองคร้ังหนึ่งๆ จะตองมีตัวแปรต้ังแตสองตัวข้ึนไป แตการทดลองก็มีขอจํากัดอยูมาก เพราะการควบคุมตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งนั้น อาจจะมีปจจัยอ่ืนๆ ท่ีเขามาแทรกแซงจนเกิดความลมเหลวได ในการทดลองสวนใหญมักมีการเปรียบเทียบระหวางกลุมทอลอง คือ กลุมท่ีผูทดลองจัดกระทํากับตัวแปร กลุมควบคุม คือ กลุมท่ีผูทดลองไมไดจัดกระทํากับตัวแปร 2) การสํารวจ (Survey method) เปนการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตรเชนกัน แมวาจะไมเขมขนนักก็ตาม วิธีการนี้ศึกษาตัวแปรเหมือนการทดลอง แตความสัมพันธระหวางตัวแปรจะเปนเหตุเปนผลกันไมได และผูศึกษาไมมีการจัดกระทําตอตัวแปร กระทําเพียงแคศึกษาตัวแปรอยางเปนระบบในสถานการณท่ีพบ การสํารวจจําเปนตองอาศัยเคร่ืองมือ (Instrument) ท่ีมีท้ังความเช่ือถือได(Reliability) และความตรง (Validity) รวมท้ังกลุมตัวอยางท่ีไดมาจากการสุมตัวอยาง (Sampling) ดวยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อใหเปนตัวแทนท่ีดีของประชากร (Population) 3) วิธีการทางคลินิก (Clinical method) เปนการศึกษาพฤติกรรมแบบลึก (In-depth study) รายใดรายหน่ึงใชเคร่ืองมือ (Instrument) หลายๆอยาง เพื่อใหไดขอมูลหลายๆดาน และใชระยะเวลานาน ทําใหทราบสาเหตุของพฤติกรรมบุคคลนั้นๆ ตลอดจนไดขอมูลใหมๆ ท่ีจะนําไปใช

Page 43: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

29

กับกรณีอ่ืนๆ ได ทํานองเดียวกับแพทยรักษาคนไขรายใดรายหนึ่งนั่นเอง การศึกษาบุคคลเปนรายกรณี (Case study) ก็คือวิธีการทางคลินิกวิธีหนึ่ง 4) การสังเกตอยางมีระบบ (Systematic observation) พฤติกรรมจํานวนมากจําเปนตองศึกษาในสถานการณปกติท่ีพฤติกรรมเหลานั้นเกิดข้ึนโดยการเฝาสังเกต และบันทึกพฤติกรรมของกลุมตัวอยาง ซ่ึงเรียกวา การสังเกตอยางมีระบบ วิธีการนี้ตองนิยามพฤติกรรมท่ีจะสังเกตใหชัดเจน และวัดไดเรียกวา นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) รวมท้ังจะตองทําการสังเกตโดยมิใหกลุมตัวอยางรูตัวดวย จากวิธีการศึกษาพฤติกรรมดังกลาว จะเห็นไดวา การจะเลือกใชวิธีใดใหเหมาะสมและไดผลนั้นข้ึนอยูกับลักษณะของพฤติกรรมท่ีศึกษา ตลอดจนความชํานาญการของผูใชดวยนอกจากนั้นการศึกษาแนวคิดของจิตวิทยากลุมตางๆ ในการศึกษาพฤติกรรมก็มีความสําคัญท่ีชวยใหการศึกษาพฤติกรรมไดผลท่ีถูกตองมากยิ่งข้ึน

พฤติกรรมมนุษยเพ่ือความปลอดภัยในการทํางาน 1. ทฤษฎี คานิยม – ทัศนคติ – พฤติกรรม (Value-Attitude-Behavior Theory) ไดอธิบายวา

พฤติกรรมตางๆท่ีบุคคลแสดงออกนั้นเปนผลพวงมาจากคานิยมของบุคคลทําใหเกิดทัศนคติหรือเจตคติวาสมควรแกการประพฤติปฏิบัติเปนพฤติกรรมตอไป ทฤษฎีนี้เปนทฤษฎีท่ีไดรับการพิสูจนแลววาเปนไปไดจริง

2. ทฤษฎีพฤติกรรมท่ี องคกรกําหนด (Theory of Planned Behavior) ทฤษฎีนี้ใหความสําคัญกับคานิยมเชนกันวาเปนส่ิงท่ีทําใหเกิดพฤติกรรมของมนุษย แตนอกจากคานิยมแลวยังมีปจจัยทางส่ิงแวดลอมอ่ืนๆ ท่ีมีผลตอการแสดงออกของพฤติกรรมท่ีสําคัญ ไดแก บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) คือกฎระเบียบขอบังคับตางๆ ในสังคมหรือชุมชนท่ีอยูรวมกันจะเปนตัวชวยสงผลใหเกิดพฤติกรรมตางๆ ท้ังทางดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นักวิชาการดานความปลอดภัย ยอมรับวาพฤติกรรมของบุคคลเปนสาเหตุสําคัญของ สามเหล่ียมความปลอดภัย หรือภูเขาน้ําแข็ง (Safety Triangle)

Page 44: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

30

เปรียบเหมือนภูเขาน้ําแข็งคือสวนท่ีอยูใตน้ํา ปญหาท่ีแอบแฝงอยูมีมากกวาปญหาของสามเหล่ียมความปลอดภัยและวงจรอุบัติเหตุนั้นลวนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของผูปฏิบัติงานในโรงงานดังนั้นจึงควรมีมาตรการจัดการดานความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุ เม่ือดําเนนิการไปอยางตอเนื่องก็จะกลายเปนวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทํางาน

ขั้นตอนการดําเนินการพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทํางาน 1. วางแผนดําเนินการ - ฝกอบรมการดําเนินการ - จัดทําแบบสังเกตพฤติกรรมความ

ปลอดภัย - ฝกอบรมการใชแบบสังเกตพฤติกรรมใหกับผูสังเกตการณ 2. ทําการสังเกตและคนหาสาเหตุของพฤติกรรมเส่ียงหรือปญหาความปลอดภัยตางๆ โดย

ใชแบบสังเกต บันทึก 3. วิเคราะหหาสาเหตุของพฤติกรรมเส่ียงท่ีเปนปญหา อาจใชวิธีวิเคราะห ABC Analysis

คือ A = เหตุการณหรือส่ิงท่ีเกิดข้ึนกอน (Antecedents) B = พฤติกรรมเส่ียงท่ีสังเกตเห็นได (Behavior) C = ผลพวงพฤติกรรมในหวัขอ A และ B (Consequence)

Page 45: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

31

และไดแบงวเิคราะหออกเปน 3 ข้ันตอน คือ ข้ันตอนท่ี 1 การวิเคราะหพฤติกรรมเส่ียงอันตราย ข้ันตอนท่ี 2 การวิเคราะหพฤติกรรมท่ีปลอดภัย ข้ันตอนท่ี 3 กําหนดแผนปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย

4. จัดทําแผนเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมความปลอดภัย 5. ดําเนินงานตามแผนงานท่ีไดกําหนดไว 6. ติดตามประเมินผลการดําเนินงานอยางตอเนื่องทุกข้ันตอน หลังจากดําเนนิการท้ัง 6 ข้ันตอนแลว ควรมีการประเมินวาปญหาพฤตกิรรมท่ีไมปลอดภัย

ลดลง อุบัติเหตุลดลงหรือไมอยางไร ซ่ึงจําเปนตองมีการพัฒนาปรับปรุงอยางตอเนื่องในทุกข้ันตอน

2.4 บริษัท แมทเทล กับระบบการจัดการดานส่ิงแวดลอม, อาชวีอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ

ประวัติความเปนมาของบริษัท บริษัทแมทเทลเปนบริษัทช้ันนําของโลกในดานการออกแบบ ผลิตและทําการตลาดสินคา

ประเภทของเลนและผลิตภัณฑเกี่ยวกับครอบครัว บริษัทแมทเทลมีสํานักงานใหญอยูในเอล ซิกันโด เมืองท่ีอยูติดกับลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอรเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีสํานักงานและโรงงานใน 36 ประเทศ และจําหนายสินคาในกวา 150 ประเทศท่ัวโลก ซ่ึงมีพนักงานประมาณ 25,000 คน ท่ัวโลก และมีรายไดประจําปประมาณ 5 พันลานเหรียญ แมทเทลมีความหวงใยตอความปลอดภัยของผูบริโภค แมทเทลจึงมุงม่ันท่ีะปกปองสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานของแมทเทลเองดวย และพยายามใหมีผลกระทบตอส่ิงแวดลอมใหนอยท่ีสุด นอกจากจะมีขอกําหนดในดานส่ิงแวดลอม สุขภาพและความปลอดภัยครอบคลุมมากท่ีสุดในอุตสาหกรรมแลว ในป 1997 แมทเทลไดกําหนด Global Manufacturing Principle (GMP) ซ่ึงเปนหลักการประพฤติปฏิบัติดานแรงงานและการผลิตท่ีเปนหลักสําคัญของความมุงม่ันอยางไมหยุดยั้งของบริษัทท่ีจะรับผิดชอบตอการดําเนินการผลิตทั่วโลก เพื่อเปนการสนับสนุนหลักการGMP จึงไดมีการสรางระบบควบคุมท่ีเปนอิสระข้ึนมาเพื่อตรวจสอบและสรางสมดุลในวัตถุประสงคเพื่อใหแนใจวามีการปฏิบัติตามมาตรฐานอยางสมํ่าเสมอ จากการท่ีมีการสราง Mattel Independent Monitoring Council (MIMCO) หรือคณะกรรมการกํากับดูแลอิสระของแมทเทล ทําใหแมทเทลเปนบริษัทผูผลิตสินคาอุปโภครายแรกท่ีมีการใชระบบเหลานี้กับอุปกรณเคร่ืองมือตางๆ และผูรับเหมาหลักท่ัวโลก

Page 46: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

32

ในป 2003 ไดมีการจัดต้ัง The International Center for Corporate Accountability (ICCA) ข้ึนโดย ICCA ไดรับการกอต้ังข้ึนมาหลังจากท่ี MIMCO ประสบความสําเร็จ ซ่ึง ICCA ก็เปนองคกรอิสระท่ีมีแสงสวางผลกําไรเชนเดียวกับ MIMCO ในฐานะท่ีเปนองคกรในเครือเดียวกัน ICCA จึงรับหนาท่ีวิจัยอิสระในเร่ืองของธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบขององคกรท่ีโดยปกติแลวจะอยูนอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร และเกี่ยวของกับผูมีสวนไดสวนเสียขององคกร แมทเทลยังคงยึดถือการรายงานภายนอกและเปนอิสระผานทาง ICCA ตอไป แมทเทล ไดรับการยกยองอยางสูงถึงความมีนํ้าใจตอเพื่อนมนุษยดวยกัน ในเดือน พฤศจิกายน 1998 เม่ือแมทเทลประกาศบริจาคของขวัญมูลคาถึง 25 ลานเหรียญสหรัฐ ใหกับโรงพยาบาลเด็กของ UCLA ซ่ึงนับวาเปนการบริจาคโดยองคกรใหกับโรงพยาบาลเด็กท่ีมียอดสูงท่ีสุด ของขวัญท่ีใหชวยสนับสนุนโรงพยาบาลท่ีมีอยูเดิมและอาคารใหมท่ีออกแบบอยางสวยงามโดยสถาปนิกท่ีมีช่ือเสียงท่ัวโลกอยาง I.M.Pei ซ่ึงแลวเสร็จในป 2004 เพื่อเปนเกียรติแกการบริจาคของแมทเทล โรงพยาบาลจึงไดรับการต้ังช่ือใหมเปนMattel Children’s Hospital at UCLA เพื่อเปนการสนับสนุน Mattel Children’s Hospital at UCLA แมทเทลไดถือเปนธรรมเนียมปฏิบัติในการสนับสนุนองคกรท่ัวโลกท่ีมุงใหความชวยเหลือหรือพัฒนาใหเด็กๆ มีชีวิตท่ีดีข้ึน โดยการบริจาคส่ิงของ เงิน และเวลาใหกับองคกรการกุศลตางๆ เหลานั้น สําหรับสวนบุคคล พนักงานของแมทเทลท่ัวโลกใชเวลาในการอาสาสมัครทําประโยชนใหสวนรวมหลายพันช่ัวโมงในแตละป และมากกวา 35 องคกรใหการสนับสนุนโครงการอาสาสมัครตางๆ

บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด (Mattel Bangkok Limited) ซ่ึงเปนบริษัทในเครือของ

บริษัท แมทเทลอิงค แหงสหรัฐอเมริกา (Mattel Inc.) ซ่ึงดําเนินธุรกิจของเด็กเลนช้ันนําของโลก ในตราสินคาช้ันนํา ไดแก Barbie, Hot Wheels, Matchbox, Fisher Price บริษัท แมทเทลอิงค มี โรงงานท้ังหมด 36 แหงท่ัวโลก

ในประเทศไทย ต้ังอยูเลขท่ี 683 ซอย 9 หมูท่ี 4 เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปูเขตสงออก ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ บริษัท ไดเร่ิมดําเนินธุรกิจในประเทศไทยมาต้ังแต ป พ.ศ.2541 มีพนักงานประมาณ 1,500 คน ลักษณะของงานท่ีทําคือ ผลิตรถเด็กเลนยอสวนขนาด 1:64, 1:55, 1:24 ในตราผลิตภัณฑของ Hot Wheels และ Matchbox

Page 47: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

33

ท่ีมา: การนิคมอุตสาหกรรมบางปู WWW.IEAT.GO.TH

ธุรกิจการผลิตของเด็กเลนท่ีเปนคูแขงสําคัญของประเทศไทย คือ ประเทศจีน ซ่ึงมีจุดแข็งท่ี

เปนท่ีรูจักกันอยางดีคือ คาแรงท่ีตํ่ากวา ดังนั้น บริษัท จึงจําเปนตองพัฒนาบุคลากรใหมีศักยภาพ ท้ังทางดานฝมือแรงงาน ทักษะในภาษาอังกฤษ ความสามารถในการทํางานเปนทีม และทักษะในการคิดคนนวัตกรรมใหม ซ่ึงเปนส่ิงท่ีสามารถสรางความแตกตาง จนเปนท่ีขนานนามในกลุมของ บริษัท แมทเทล เอง วา “Thailand Can Do More Team” จากการดําเนินงานท่ีผานมา บริษัท สามารถดําเนินธุรกิจ ใหเจริญเติบโตกาวหนา และบรรลุวัตถุประสงค ตามเปาหมายอยางมีประสิทธิภาพ อยางตอเนื่องนั้น ซ่ึงบริษัท เปนหนึ่งในธุรกิจ ท่ีสามารถ ดึงฐานการผลิตบางสวน

Page 48: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

34

จาก ประเทศจีนมาสูประเทศไทยได นั่นเปนเพราะ ความไดเปรียบในดาน คุณภาพ บริการ และ นวัตกรรม ซ่ึงเกิดจากฝมือแรงงานของคนไทยท่ีไดทํางานท่ีมีความประณีต สวยงามกวา และความรวมมือของบุคลากรในการสรางนวัตกรรม และการทํางานแบบรุก เม่ือสถานการณการแขงขันเกิดข้ึน ส่ิงสําคัญที่บริษัทตองคํานึงถึงตลอดเวลาคือ ทรัพยากรมนุษย มนุษยเปนจักรกลสําคัญในการดําเนินกิจการตาง ๆ ของบริษัท ท้ังนี้เพราะประสิทธิภาพในการผลิต ข้ึนอยูกับประสิทธิภาพ ของพนักงานท่ีปฏิบัติงานเปนหลัก แตเม่ือบริษัท ไดใหการ ฝกอบรม พัฒนาพนักงานจนมีความสามารถแลว บริษัทจะทําอยางไรเพ่ือรักษาทรัพยากรบุคคล เหลานั้นไว และจะหลีกเล่ียงเสียไมไดในเร่ืองของความปลอดภัยในสถานประกอบการซ่ึงเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมของพนักงงานท่ียังมีการเกิดอุบัติเหตุข้ึนบอยคร้ังท้ังท่ีบริษัทไดนําระบบตางๆเขาใชในกระบวนการผลิตเชนระบบการจัดการดานคุณภาพ(ISO9001:2000) ระบบการจัดการดานส่ิงแวดลอม(ISO 14001:2004)และระบบการจัดการดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย(OHSAS 18001:1999)

2.4.1 บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด มีนโยบายในการบริหารการจัดการดังนี้

2.4.1.1 นโยบายการจัดการดานคุณภาพ

นโยบายคุณภาพ บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด

แมทเทล กรุงเทพ จะเปนผูผลิตของเลนระดับโลกท่ีมีวินยั มุงม่ันพัฒนาอยางตอเนื่องในการตอบสนองความตองการของลูกคา

ดวยผลิตภัณฑท่ีมีคุณภาพและบริการ

Mattel Bangkok shall be a disciplined World class toy producer that will continually improve customer

Responsiveness, Product quality and Services.

Page 49: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

35

ส่ิงท่ีเราดําเนินการตามนโยบายคุณภาพ แมทเทล กรุงเทพจะเปน Mattel Bangkok will be: 1. ผูผลิตของเลนระดับโลก world class แมทเทลถูกจัดอันดับเปนบริษัทระดับโลกในฟอรจูน 500 Mattel quoted as a world class company in Fortune 500 2. ท่ีมีวินัย disciplined กําหนดกฎระเบียบปฏิบัติและวิธีการทํางาน จัดทําระบบเอกสาร บันทึกวัดผล จัดเก็บบันทึกคุณภาพ (MIS, ISS Procedure, WI, Document control system, Quality records) 3. มุงม่ันพัฒนาอยางตอเนื่อง continually improve กําหนดวัตถุประสงคและเปาหมาย(Quality Objectives) โครงการไคเซน ลีน ซิกซิกมา (Kaizen, Lean, Six-sigma) 4. ตอบสนองความตองการของลูกคา customer responsiveness สํารวจความพึงพอของลูกคา (Customer Satisfaction Survey) วัดประสิทธิผลของการผลิต (Schedule Adherence Measurement) 5. ผลิตภัณฑท่ีมีคุณภาพ product quality ตรวจประเมินคุณภาพภายใน (Internal quality audit) ตรวจกระบวนการผลิต (Process audit) วัดประสิทธิภาพการผลิต (Efficiency Measurement) ตรวจสินคาชํารุดมุมมองของของผูบริโภค (Containment audit) วัดจํานวนของเสียจากการผลิต/วัตถุดิบสูญหาย (Scrap & Shrinkage Measurement) ติดตามผลการสงของเสีย (Defective Return) เรียกคืนหรือกักกันสินคา (Product Recall/Quarantine) 6. บริการ and service ความแมนยําในการประมาณการผลิตตามความตองการของตลาด (Production Forecast VS Market demands) การพัฒนาของเลนรุนใหมไดตรงเวลา (New Toy Development)

Page 50: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

36

2.4.1.2 นโยบายดานการจัดการส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

นโยบายดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด

บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด มีความมุงม่ันในการท่ีจะลดผลกระทบส่ิงแวดลอม ตลอดจนปกปองคุมครองสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและชุมชนในบริเวณพื้นท่ีมีการดําเนินงาน โดยมีความต้ังใจท่ีจะดําเนินการตาง ๆ ภายใตความมุงม่ันดังตอไปนี้

1. รวมมาตรฐานดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เขาไปในการทํางานของบริษัทเพื่อลดความเส่ียง ลดผลกระทบใหเหลือนอยท่ีสุด และสรางสถานท่ีปลอดภัยแกลูกจาง

2. ปรับปรุงและพัฒนาการทํางานดวยส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัย และ ความปลอดภัยอยางตอเนื่อง

3. ใหคําสัญญากับลูกจาง ลูกคา และสาธารณชน ในการที่จะเผยแพรนโยบายท่ีแสดงความหวงใยท่ีบริษัท มีตอ ส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัย และ ความปลอดภัย ซ่ึงเกี่ยวโยงกับกระบวนการทํางาน และผลิตภัณฑของบริษัท

4. ประเมินผลการทํางานดาน ส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัย และ ความปลอดภัยโดยการกําหนดและการดําเนินการตรวจประเมิน กระบวนการทํางานสม่ําเสมอ

ในฐานะท่ีเปนผูนําในการผลิต และการตลาดของเล็นสําหรับเด็ก บริษัทถือวาเปนความรับผิดชอบและความมุงม่ันของพนักงานแมทเทลทุก ๆ คนในการปฏิบัติงานใหสอดคลองกับนโยบายมาตรฐานทางดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัย และ ความปลอดภัย และขอกําหนดทางกฎหมายท่ีเกี่ยวของ

Page 51: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

37

กฎทอง 10 ประการสําหรับส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภยั 1. ตองอานและทําความเขาใจนโยบายของบริษัทท่ีเกี่ยวกับส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2. แยกกําจัดขยะอันตรายออกจากขยะท่ัวไป หามท้ิงสารเคมี หรือน้ํามันลงในทอระบายน้ําท้ิงโดยเด็ดขาด 3. หามเก็บอาหารและเคร่ืองดื่มในบริเวณท่ีทํางานหรือใกลสารเคมี 4. คุณตองทราบรายละเอียดขอมูลเคมีภัณฑหรือเอกสารความปลอดภัยสําหรับการใชสารเคมี (MSDS) ท่ีคุณใชงานอยูเปนอยางดี 5. ปดฝาภาชนะ กระปอง ถังบรรจุสารเคมีทุกคร้ังท่ีไมมีการใชงานและตองแนใจวาถังบรรจุสารเคมีทุกอัน มีปายระบุช่ือสารเคมีและคําเตือนติดไวเสมอ 6. ถาพบเห็นส่ิงท่ีผิดปกติและไมปลอดภัยท่ีเกี่ยวของกับเร่ืองของส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เชน น้ําร่ัว สายไฟฟาท่ีมีลักษณะไมปลอดภัย พื้นล่ืน กล่ินเหม็น หรือเสียงดังผิดปกติ ใหรีบแจงไปยังหัวหนางาน เจาหนาท่ีความปลอดภัย (จป.) หรือ ทีมระงับเหตุฉุกเฉิน (ERT) 7. ในกรณีท่ีเกิดเหตุฉุกเฉินเพลิงไหม คุณตองทราบจุดติดต้ังถังดับเพลิง ทางออกฉุกเฉิน เสนทางอพยพหนีไฟของโรงงานและตองทราบวาสถานท่ีท่ีอพยพไปรวมกันอยูท่ีจุดรวมพลนอกร้ัวโรงงานประตูดานหนา 8. ใชงาน ทําความสะอาด เก็บ และท้ิงอุปกรณปองกันสวนบุคคลอยางถูกวิธี เหมาะสมตามระเบียบปฏิบัติของการจัดการดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 9. ปฏิบัติตามข้ันตอนระเบียบปฏิบัติและคําแนะนําในการทํางานตามขอกําหนดของการจัดการดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยางเครงครัด 10. คุณสามารถเสนอความคิดเห็นหรือขอเสนอแนะตางๆที่เกี่ยวของกับการจัดการดานส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือถาไมเขาใจขอความขางบนนี้ กรุณาสอบถามหัวหนางานหรือเจาหนาท่ีความปลอดภัย (จป.) หรือทีมระงับเหตุฉุกเฉิน (ERT) หรือเจาหนาท่ีส่ิงแวดลอม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยใหรับทราบไดโดยตรง

Page 52: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

38

ท่ีมา: การนิคมอุตสาหกรรมบางปู WWW.IEAT.GO.TH

Page 53: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

39

2.5 งานวิจัยท่ีเกี่ยวของ

ธารทิพย มหาวนา(2543: 87-90) ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยของผูประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมเคร่ืองกระปอง จังหวัดเชียงใหม จํานวน 187 ราย โดยการศึกษาแบบ Cross-Sectional Study พบวาสถานประกอบการมีการตรวจรางกายกอนเขาทํางาน รอยละ 20.3 ตรวจสุขภาพประจํา ป รอยละ70.2 อบรมเร่ืองความปลอดภัยจากการทํางานกอนเขาทํางาน รอยละ 62.0 ระหวางการทํางานรอยละ 72.2 อบรมเร่ืองการดูแลสุขภาพกอนเขาทํางาน รอยละ 41.2 ระหวางการทํางาน รอยละ55.1 สวนดานความปลอดภัยในการทํางาน พบวาสถานประกอบการจัดอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลใหลูกจางตามลักษณะของงาน ตลอดเวลาการทํางาน ตามกฎหมายกําหนดเพียงรอยละ 38.0 ซ่ึงสวนใหญ ลูกจางจะเปนผูจัดซ้ือหามาใชเอง และพบวาพฤติกรรมการใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัยเปนประจํา รอยละ 63.6 ซ่ึงเปนเพราะกฎระเบียบขอบังคับของโรงงาน สวนเหตุผลท่ีไมใช คือ รําคาญและทํางานไมสะดวก รอยละ 33.8 เห็นวาโอกาสเกิดอันตรายนอย รอยละ 22.1 พบความเจ็บปวยจากการทํางาน รอยละ 24.1 ปจจัยท่ีมีผลตอการใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัย คือ เพศ (P = 0.024) การศึกษา (P = 0.005) รายได (P = 0.009)ปจจัยท่ีมีผลตอการเกิดอุบัติเหตุท่ีเกิดจากการทํางาน คือ ระยะเวลาทํางานในหนึ่งวัน (P = 0.041)การดื่มแอลกอฮอล (P = 0.046) การตรวจสุขภาพกอนเขาทํางาน (P = 0.013) และการตรวจสุขภาพประจํา ป (P = 0.003)

สมชาย ยิ่งสม (2548: 83-84) การศึกษาพฤติกรรมเส่ียงและปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมเส่ียง

ในการปฏิบัติงานของพนักงานฝายปฏิบัติการ โรงงานบริษัท ยูนิลีเวอร ไทย โฮลดิ้งส จํากัด สาขาลาดกระบัง มีวัตถุประสงคเพื่อ

(1) เพื่อศึกษาลักษณะของพฤติกรรมเส่ียงหรือการกระทําท่ีไมปลอดภัยของพนักงานฝายปฏิบัติการ

(2) เพื่อศึกษาปจจัยท่ีมีอิทธิพลตอการแสดงพฤติกรรมเส่ียงหรือการกระทําท่ีไมปลอดภัยของพนักงานฝายปฏิบัติการ

ผลการศึกษาพบวาปจจุบันพนักงานยังคงปฏิบัติงานดวยการมีพฤติกรรมเส่ียงในระดับสูง ซ่ึงมีโอกาสท่ีจะกอใหเกิดอุบัติเหตุข้ันรุนแรงถึงข้ันเสียชีวิตได มีอันตรายเกิดจากการกระทําท่ีไมปลอดภัย(Unsafe acts) ถึง84439 คร้ังในป พ.ศ. 2548 ซ่ึงอาจทําใหเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บรุนแรงถึงข้ันหยุดงานถึง 11 ราย และเสียชีวิต 1 ราย ดังนั้นบริษัทจึงควรจัดใหมีมาตรการในการควบคุมพฤติกรรมเส่ียงอยางมีประสิทธิภาพตอไป

Page 54: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

40

ลักษณะของพฤติกรรมเส่ียงของพนักงานปฏิบัติการในหนวยงานตางๆท่ีพบไดแก การใชอุปกรณปองกันสวนบุคคลอยางไมเหมาะสม การไมสวมใสอุปกรณปองกันความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน การจัดเก็บและบํารุงรักษาอุปกรณความปลอดภัยสวนบุคคลไมดีพอ การมีปฏิกิริยาตอบสนองของพนักงานปฏิบัติการจากการสังเกตความปลอดภัยของหัวหนางาน พบวาพนักงานจะปฏิบัติอยางถูกตองก็ตอเม่ือมีหัวหนาคุมอยูเทานั้น การปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติงานไดแกการไมปฏิบัติตามข้ันตอนในการทํางาน การไมทราบวิธีทํางานท่ีถูกตองเปนตน

พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ (2550: 99-104) ความรูและทัศนคติตอพฤติกรรมความปลอดภัย

กรณีศึกษาการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางาน บริษัท เนสทเล (โรงงาน นวนคร) ผลการวิจัยพบวา กลุมตัวอยางมีความรูและทัศนคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานในระดับสูง และมีพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานอยูในระดับปานกลาง กลุมตัวอยางท่ีมี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน ตําแหนงงาน ระดับพนักงานและรายไดแตกตางกันมีความรูเร่ืองการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 สวนประสบการณฝกอบรมไมกอใหเกิดความรูแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ กลุมตัวอยางท่ีมีอายุ อายุงาน ประเภทพนักงาน รายไดและประสบการณอบรม แตกตางกันมีทัศนคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ .05 สวนเพศ ระดับการศึกษาและตําแหนงงาน ไมกอใหเกิดทัศนคติแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ และไมพบวาความรูกับทัศนคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางาน มีความสัมพันธ กันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ไมพบวาความรูกับพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางาน มีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 และพบวาทัศนคติกับพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

อนุเทพ คําปญญา (2550: 59-62) ความรูของพนักงานระดับปฏิบัติการในการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม:ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท สมบูรณโซมิค แมนูแฟคเจอร่ิง จํากัด จังหวัดระยอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อ1)ศึกษาระดับความรูของพนักงานระดับปฏิบัติการตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานของบริษัท สมบรูณ โซมิค แมนูแฟคเจอร่ิง จํากัด จังหวัดระยอง 2) ศึกษาปจจัยสวนบุคคลที่มีผลตอความรูของของพนักงานระดับปฏิบัติการตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชใน

Page 55: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

41

โรงงานของบริษัท สมบูรณ โซมิค แมนูแฟคเจอร่ิง จํากัด จังหวัดระยอง โดยทําการศึกษาใน 3 รูปแบบคือ การศึกษาจากแหลงทุติยภูมิ การสํารวจภาคสนาม และการศึกษาจากแบบสอบถามสําหรับพนักงานระดับปฏิบัติการซ่ึงแหลงขอมูลท่ีสําคัญประกอบดวย พนักงานบริษัท สมบูรณ โซมิค แมนูแฟคเจอร่ิง จํากัด จังหวัดระยอง จํานวนท้ังส้ิน 209 ราย ผลการศึกษาพบวา ความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานท้ัง 3 ดาน คือ ความรูเกี่ยวกับสภาพแวดลอมในการทํางาน ความรูเกี่ยวกับการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล และความรูเกี่ยวกับกฎและนโยบายความปลอดภัย สวนใหญมีความรูอยูในระดับสูง ในสวนของปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกันไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม ขอเสนอแนะในการศึกษาคร้ังนี้ ภาครัฐควรใหความสําคัญและสงเสริมการกําหนดนโยบายเพื่อใหผูประกอบการเล็งเห็นถึงความปลอดภัยในการทํางาน เนนการสรางจิตสํานึกแกพนักงานในการปองกันอันตรายสุขภาพอนามัย โดยใหความรูความเขาใจถึงความสูญเสียท่ีเกิดข้ึนจากอุบัติเหตุหรือความประมาทเพ่ือการพัฒนาท่ีดียิ่งข้ึนไป พันทิณี คงหิรัญ, อมรวรรณ คหกิจโกศล, สุธาสินี อุตตโมท (2548: 4, 80, 111) การจัดการดานความปลอดภัยในการทํางาน: กรณีศึกษาบริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน)ในการวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาในการสรางความปลอดภัยในบริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน) เพื่อศึกษาบทบาทขององคกรความปลอดภัยและกิจกรรมเพื่อสรางความปลอดภัยของบริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน) เพื่อศึกษาความเขาใจในเร่ืองความปลอดภัย และการใหความสําคัญตอความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานบริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน) กลุมประชากรที่ใชศึกษาในคร้ังนี้คือคณะกรรมการความปลอดภัย เจาหนาท่ีความปลอดภัย และพนักงานในระดับปฏิบัติการของบริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน) ใชเก็บขอมูลโดยการสัมภาษณเชิงลึก และใชแบบสอบถามเพื่อวัดความเขาใจในการใหความสําคัญดานความปลอดภัย ทําการวิเคราะหขอมูลเชิงปริมาณโดยใชวิธีการหาคารอยละ จากการศึกษาพบวา บริษัท ไทยโทเรเท็กซไทมิลลส จํากัด (มหาชน) มีองคการความปลอดภัยในการทํางาน 4 หนวย ไดแก คณะกรรมการความปลอดภัย ศูนยความปลอดภัย คณะความปลอดภัยแผนก และเจาหนาท่ีความปลอดภัยในการทํางาน ซ่ึงหนวยงานเหลานี้จะทําหนาท่ีในการสรางนโยบาย สรางแผนงานดานความปลอดภัย และมาตรการและกฎระเบียบดานความปลอดภัย ตลอดจนกิจกรรมและการฝกอบรมเพื่อใหความรูรวมถึงสรางความเขาใจดานความปลอดภัย และสงเสริมใหพนักงานเห็นความสําคัญของความปลอดภัยในการทํางาน ทําใหบรรลุวัตถุประสงคในการสรางความปลอดภัยขององคการ คือ อุบัติเหตุเปนศูนย และพบวาโครงสรางองคการดานความปลอดภัย มีลักษณะ

Page 56: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

42

โครงสรางท่ีคลายกับโครงสรางปกติขององคการ มีสายการบังคับบัญชายาว และใหความสําคัญกับการส่ังการตามสายงานหลัก บทบาทขององคการดานความปลอดภัย จะเนนท่ีคณะกรรมการความปลอดภัยซ่ึงเปนตําแหนงท่ีกฎหมายกําหนด มีบทบาทหนาท่ีจัดเจน และมีอํานาจในการอนุมัติแผนงานตางๆ แตในการสรางแผนงานดานความปลอดภัย และขับเคล่ือนเร่ืองความปลอดภัยในการทํางานท่ีแทจริงจะเปนเจาหนาท่ีความปลอดภัยในการทํางาน โดยเฉพาะเจาหนาท่ีความปลอดภัยระดับวิชาชีพท่ีจะสรุปผลงานและกําหนดแผนงานดานความปลอดภัยเพื่อนําเสนอแกท่ีประชุมคณะกรรมการจนไดรับการอนุมัติเปนแผนการดําเนินงานและกิจกรรมดานความปลอดภัย การศึกษาในเร่ืองของความเขาใจ และการใหความสําคัญดานความปลอดภัยในการทํางานของพนักงาน พบวาพนักงานสวนใหญมีความเขาใจเร่ืองความปลอดภัยในการทํางาน และใหความสําคัญกับความปลอดภัยในการทํางานโดยเนนท่ีตัวพนักงานมีสุขภาพแข็งแรงเปนเปาหมายสําคัญท่ีสุดของความปลอดภัยในการทํางาน จากการศึกษาคร้ังนี้ มีขอเสนอแนะในการจัดการดานความปลอดภัยคือ บริษัทฯควรท่ีจะจัดหนวยงานรับผิดชอบดานความปลอดภัยท่ีมีผูปฏิบัติงานดานความปลอดภัยเต็มเวลา เพื่อใหสามารถตอบสนองเร่ืองความปลอดภัยไดรวดเร็วยิ่งข้ึน ประทีป เองฉวน (2549: 151-152) การจัดการส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู การศึกษาเร่ือง การจัดการส่ิวแวดลอมและความปลอดภัยของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปูมีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาการจัดการดานส่ิงแวดลอมและความปลอดภัย 2) ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการดําเนินการดังกลาวรวมท้ัง 3) การจัดระดับโรงงานและจัดทําขอเสนอแนะเกี่ยวกับการดําเนินการจัดการดานส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรม ท่ีประกอบกิจการเคมีเกษตรในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซ่ึงเปนการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนามีกลุมประชากรเปนโรงงานท่ีประกอบกิจการเกี่ยวกับปุย หรือสารปองกัน หรือสารกําจัดศัตรูพืชหรือสัตว จํานวนท้ังส้ิน 21 โรงงาน เคร่ืองมือท่ีใชในการศึกษาคือ แบบสอบถามแบบสังเกต ผลการศึกษาพบวา การจัดการส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมท่ีประกอบกิจการเคมีเกษตร ไดดําเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับท่ี 3 (พ.ศ.2542 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โรงงานตางมีมาตรการในการคุมครองความปลอดภัยในการดําเนินงาน มีการจัดการปญหาส่ิงแวดลอมท้ังเร่ืองมลพิษทางอากาศ การจัดการน้ําเสียหรือน้ําท้ิง และการจัดการกากของเสียหรือขอเสียอันตราย ตามหลักเกณฑและวิธีการท่ีกําหนดโดยนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากนั้นทุกโรงงานยังไดมีการจัดทํารายงานการวิเคราะหความเส่ียงจากอันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนจากการประกอบกิจการ พรอมนําเสนอแผนลดความเส่ียง การประเมินความเส่ียง

Page 57: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

43

อยางครบถวน ทุกสถานประกอบการจะมีบริหารจัดการส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยคลายๆ กันเร่ิมจากการับวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การบรรจุผลิตภัณฑ การจัดเก็บสินคาสําเร็จรูป การกําจัดของเสีย การซอมบํารุงเคร่ืองจักร การควบคุมคุณภาพ การขนสง ขนยาย ระบบปองกันความปลอดภัยและการจัดการอาคารและสถานท่ีทํางาน ทุกโรงงานจะมีระบบการจัดการดานน้ําเสีย มีทอระบายน้ําท้ิงแยกระบบระบายน้ําเสียออกจากระบบระบายนํ้าฝน มีระบบการจัดการดานมลพิษทางโรงงานจะมี Hood ทอดูดรวมฝุนและระเหยของสารเคมีเขาไปบําบัดตามชนิดของระบบบําบัดมลพิษทางอากาศท่ีแตกตางกันไป ตามเคร่ืองบําบัดท่ีแตละโรงงานมี สวนกากของเสียท่ีไมอันตรายจะมีการคัดแยกและมีภาชนะรองรับท่ีชัดเจน มีการคัดแยกขยะท่ีมีประโยชนนําไปจําหนายตอไปสวนกากของเสียอันตรายจะวาจางใหบริษัทฯ ท่ีรับกําจัดกากของเสียนําไปบําบัดและกําจัดตอไป โดยการนํากากของเสียออกจากโรงงานจะมีการแจงสํานักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู และมีการรายงานการดําเนินการใหสํานักงานการนิคมทราบโดยตลอดเปนบางโรงงาน การจัดการดานความปลอดภัยทุกโรงงานจะมีมาตรการมีแผนปองกันอัคคีภัยท่ีชัดเจนมีการฝกซอมแผนประจําปมีระบบสัญญาณเตือนภัยครบถวนมีการซักซอม มีการอบรมพนักงานใหมีความรูความเขาใจตอมาตรการและแผนฉุกเฉิน มีอุปกรณท่ีเกี่ยวของกับการจัดการเหตุฉุกเฉินอุปกรณและเวชภัณฑเบ้ืองตนสําหรับการปฐมพยาบาล มีถังดับเพลิง และพนักงานทุกคนจะมีการตรวจรางกายประจําป สวนอุบัติเหตุและปญหาขอรองเรียนจะมีนอยมาก หากมีก็ไดรับการแกไขโดยเร็ว เพื่อนําขอมูลท่ีไดจากการใชแบบสอบถามและแบบสังเกต มาจัดระดับโรงงานในกลุมอุตสาหกรรมเคมีการเกษตรในนิคมอุตสาหกรรมบางปูโดยการประเมินการจัดการดานส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยพบวา โรงงานท่ีอยูในระดับกลุม A หรือดี มี 3 โรงงาน โรงงานที่อยูในระดับกลุม B หรือปานกลางมีดวยกัน 9 โรงงาน และโรงงานท่ีอยูในกลุมระกับ C หรือตองปรับปรุงมีจํานวน 9 โรงงาน ขอเสนอแนะสําหรับการจัดการดานส่ิงแวดลอมและความปลอดภัย คือ ควรมีการจัดฝกอบรมใหกับบุคลากรในโรงงานตางๆ การรณรงคปลูกตนไมเพิ่มพื้นท่ีสีเขียวใหมาก การสนับสนุนขอมูลขาว สารดานส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยใหมาก จัดทําส่ือเผยแพร มีการใหขอมูลการกําจดและบําบัดกากของเสียแกโรงงาน มีการบริการตรวจวัดอากาศ น้ําเสีย มีเจาหนาท่ีใหคําแนะนําในเร่ืองตางๆ และการรวมมือกันฝกซอมเหตุฉุกเฉินอยางตอเนื่อง สําราญ สอนผ่ึง (2548: 5, 103-109) การบูรณะการระบบการจัดการส่ิงแวดลอมและระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑกระดาษในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการนําระบบการจัดการและระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในองคกรของ

Page 58: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

44

อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑกระดาษในประเทศไทย ท้ังนี้ใชแบบเดี่ยวๆ ละแบบบูรณะการ 2) ศึกษาถึงปจจัยท่ีทําใหบริษัทประสบความสําเร็จในการนําระบบการจัดการมาใชรวมถึงปญหาอุปสรรคท่ีเกิดข้ึนจากการนํามาใชในองคกรและ 3)ศึกษาถึงรูปแบบการบูรณะการระบบการจัดการส่ิงแวดลอม และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยท่ีเหมาะสมสําหรับอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑกระดาษในประเทศไทย โดยการศึกษาขอมูลและความคิดเห็นของพนักงานผูปฏิบัติและผูแทนฝายบริหารขององคกรของอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑกระดาษท่ีไดรับการับรองระบบการจัดการท้ังสองแลวจํานวน 16 บริษัท โดยใชแบบสอบถามและการสัมภาษณ แลวนํามาวิเคราะหในเชิงพรรณนาและวิเคราะห SWOT ผลการศึกษาพบวาบริษัทสวนใหญมีการนําระบบการจัดการแบบบูรณการมาใชแลว โดยวิธีการนํามาใชเปนการใชทีมดําเนินการท่ีเปนทีมเดียวกันเปนสวนใหญ การจัดทําเอกสารท่ีเกี่ยวของมีการจัดทําครอบคลุมประเด็นส่ิงแวดลอมละความเส่ียงท่ีเกี่ยวของกับกิจกรรมบริษัทฯ การตรวจติดตามภายในและการประชุมทบทวนของฝายบริหารดําเนินการในคราวเดียวกัน ความพึงพอใจของพนักงานผูปฏิบัติ และผูแทนฝายบริหารตอระบบการจัดการแบบบูรณการของท้ังสองระบบอยูในระบบคอนขางสูงในทุกประเด็น โดยเฉพาะอยางยิ่งในประเด็นนโยบายส่ิงแวดลอมและอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีระดับความพึงพอใจสูงสุด ปจจัยท่ีทําใหบริษัทประสบความสําเร็จในการนําระบบการจัดการแบบบูรณะการมาใชมีหลายประเด็น ประเด็นท่ีสําคัญ บุคลากรมีความรูในระบบเปนอยางดี ปญหาอุปสรรคสวนใหญในการนําระบบมาใชไดแก การมีจิตสํานึกและการมีสวนรวมของพนักงานยังไมเพียงพอ และการนําระบบไปใชปฏิบัติมักมีการละเลยของผูรับเหมา ผลการวิเคราะห SWOT พบวาจุดแข็งท่ีสําคัญของบริษัท ไดแก การมรนโยบายความมุงม่ันของฝายบริหารและการมีบุคลากรที่มีความสามารถสูง จุดออนท่ีสําคัญขององคกรไดแก การมีผูรับผิดชอบระบบการจัดการตางๆ แยกกัน โอกาสสําคัญท่ีเอ้ือตอองคกรในการนําระบบการจัดการแบบบูรณการมาใชไดแก การมีบริษัทแมเปนหนวยสนับสนุน การเปล่ียนแปลงทางสังคมเร่ิมตระหนักและรับรูเร่ืองส่ิงแวดลอมและอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมากข้ึน ภาครัฐมีนโยบายสงเสริมใหมีโครงการตางๆ ท่ีสนับสนุนการนําระบบการจัดการส่ิงแวดลอมและระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชมากข้ึน อุปสรรคตอการนําระบบการจัดการแบบบูรณการมาใช เกิดจากการควบคุมลูกจางพนักงานของผูสงมอบและผูรับเหมาใหปฏิบัติตามกฎเกณฑท่ีบริษัทกําหนดทําไดไมท่ัวถึง ขอเสนอแนะสําหรับบริษัทอ่ืนๆ ซ่ึงตองนําระบบบริหารการจัดการแบบบูรณการไปใชอยางเหมาะสม คือ พยายามรักษาและเพ่ิมจุดแข็ง ลดหรือกําจัดจุดออนใชโอกาสท่ีมีและหลีกเล่ียงอุปสรรคตางๆท่ีพบจากการวิเคราะห SWOT ขององคกร

Page 59: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

45

พรทิพา บันลือรัตน (2549: 4, 45-47) การบริหารความปลอดภัยในสถานประกอบการ กรณีศึกษา: บริษัท ชับบ อะวิเอช่ัน ซีเคียวริต้ี จํากัด ภาคนิพนธนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา แนวคิด และทฤษฏีเกี่ยวกับการบริหารดานความปลอดภัยในการทํางานโดยสามารถประยุกตใชในการบริหารงานในสถานประกอบการเพ่ือใหเกิดประโยชนในการปฏิบัติ เปนขอมูลท่ีเปนประโยชนในการตัดสินใจบริหารการจัดการดานความปลอดภัยของบริษัท นําเสนอแนวทางการจัดการดานความปลอดภัยของบริษัท โดยเลือกศึกษา บริษัท ชับบ อะวิเอช่ัน ซีเคียวริต้ี จํากัด ซ่ึงเปนบริษัทฯ ใหบริการดานความปลอดภัยในการทาอากาศยานไทย เปนการศึกษาแบบวิจัยกรณีศึกษา (Case Study Research) โดยเก็บรวบรวมขอมูลจากการสัมภาษณผูท่ีมีหนาท่ีรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารความปลอดภัย 6 คน และศึกษาจากหนังสือวารสาร เอกสารท่ีเกี่ยวของกับงานดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และส่ิงแวดลอม

ผลการศึกษาพบวา 1.) บริษัทฯมีปรัชญาแนวคิด และหลักการ ในการดําเนินงานดานความปลอดภัยท่ีมีความสอดคลองกับแนวคิดและปรัชญาของระบบการบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหม มีรูปแบบการบริหารงานท่ีเนนความเปนระบบ สามารถประเมินผล และติดตามผล 2.)บริษัทฯ มีวิธีการดําเนินการบริหารความปลอดภัยในการทํางานท่ีเปนรูปธรรมมีมาตรฐานการดําเนินงานและระบบการวัดผล 3.) บริษัทฯ มีปญหา และอุปสรรคในการดําเนินการบริหารความปลอดภัยจากการที่ผูบริหารและผูปฏิบัติงานไมใสใจในการปฏิบัติท่ีเกี่ยวกับความปลอดภัย มีระบบบริหารความปลอดภัยยังไมมีมาตรฐาน อุปกรณความปลอดภัยไมมีคุณภาพ มีวัฒนธรรมท่ีเช่ือวาอุบัติเหตุเกี่ยวกับโชคลางมากกวาเหตุผล พนักงานทํางานตอเวรซ่ึงสงผลตอประสิทธิภาพการทํางาน ระยะการส่ือสารไมชัดเจน ลาชา 4.)บริษัทฯ มีแนวทางการแกไขปญหา และอุปสรรคในการดําเนินการบริหารโดยการพิจารณาลงโทษทางวินัย และมีการเสริมสรางบรรยากาศการทํางานอยางปลอดภัยในองคกร

Page 60: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทที่ 3

วิธีการศึกษา

รูปแบบการวิจัย ประชากรและกลุมตัวอยาง การศึกษาวิจยัเร่ือง พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา บริษัท

แมทเทล กรุงเทพ จํากัด เปนการวิจยัเชิงสํารวจ (Survey Research) ซ่ึงมีพนักงานโรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด เปนประชากรเปาหมาย เพื่อใหสอดคลองตามวัตถุประสงคของการวิจัย ผูวิจัยไดกําหนดระเบียบวิธีวจิัยไวดังนี ้รูปแบบการวิจัย เปนการวจิัยเชิงสหสัมพันธ (Correlation Research)

3.1 ประชากรและกลุมตัวอยาง 3.1.1 ประชากร ประชากรการวิจัยคร้ังนี้คือ พนักงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ซ่ึงมีพนักงานรวม ท้ังส้ิน 1,638 คน โดย แบงเปนพนักงานระดับฝาย จํานวน 39 คน พนักงานระดับหัวหนางาน จํานวน 95 คน และ ระดับพนักงาน จํานวน 1,504 คน 3.1.2 การสุมตวัอยาง กลุมตัวอยางท่ีใชในการวิจยัไดจากการคํานวณหาขนาดของกลุมตัวอยางของประชากรจากสูตรการคํานวณหาขนาดกลุมตัวอยางในการวิจัยคร้ังนี้ โดยใชการคํานวณตามสูตรยามาเน (Yamane ,1967 ) สูตร n = โดย n = ขนาดของกลุมตัวอยาง N = ขนาดของประชากรเทากับ1,638 คน e = ความคลาดเคล่ือนของประชากรสุมตัวอยางกําหนดใหเทากับรอยละ 5 (0.05)

N 1+Ne2

Page 61: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

47

n = 321.49 n = 322 จากการคํานวณจากสูตร จะไดกลุมตัวอยางจํานวณ 322 คน 3.1.3 วิธีการศึกษา การศึกษาวิจยัในคร้ังนี้ ผูศึกษาไดทําการศึกษารวบรวมขอมูลจากแหลงขอมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับเร่ือง พฤติกรรม ทัศนคติ ความรู อันตรายและการปองกันอันตรายจากการทํางาน จากหนังสือ เอกสาร และอินเตอรเน็ต จากนั้นจึงนําขอมูลตางๆ ท่ีไดมาทําการวิเคราะห สังเคราะห และไดจัดทําแบบสอบถาม ข้ึนเพื่อนําไปเก็บรวบรวมขอมูล โดยการเก็บรวบรวมขอมูลนั้นผูศึกษาวิจัยไดขออนุญาตผูบริหารโรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด เพื่อเก็บรวบรวมขอมูล แลวจึงไดนาํแบบสอบถาม ไปสอบถามพนักงานโรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จาํกัด และขอรับแบบสอบถามกลับภายหลัง ผูวิจัยไดใชวิธีการสุมตัวอยางแบบงาย (Simple Random Sampling) โดยประชากรจะประกอบดวยสมาชิกของทุกกลุมตัวอยาง ในการศึกษาคร้ังนี้จะทําการแบงประชากรออกเปนแผนก และแบงเปนระดับการปฏิบัติงานดังตารางดังตอไปนี้

ตารางท่ี 1 แสดงจํานวนประชากรและตัวอยางการวิจยั

หนวยงาน ระดับการปฏิบัติงาน จํานวน (คน)

ตัวอยางการวิจยั (คน)

รอยละ

แผนกฉีดพลาสติก ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

2 16 173

1 2 35

50.00 25.00 20.23

แผนกฉีดซ้ิงค ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

4 9

229

1 2 45

25.00 22.22 19.65

1,638 1+(1,638)(.05)2

Page 62: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

48

แผนกวัตถุดิบ/คลังสินคา

ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

5 7 13

1 1 3

20.00 14.28 23.07

แผนกควบคุมคุณภาพ ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

8 3 47

1 1 8

12.25 33.33 17.02

แผนกซอมบํารุง ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

8 12 50

1 3 10

12.25 25.00 20.00

แผนกประกอบ สินคา แผนกพนสี แผนกพิมพลายสี แผนกแว็คค่ัม แผนกติดสติกเกอร

ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

7 16 481 1 8

121 1 15 137 2 2 79 1 7

174

1 3 95 1 1 24 1 3 28 1 1 13 1 1 33

14.28 18.75 19.75 100.00 12.25 19.83 100.00 22.00 20.43 50.00 50.00 16.45 100.00 14.28 18.96

รวม ระดับฝาย ระดับหวัหนางาน ระดับพนกังาน

39 95

1,504

10 18 294

25.64 18.94 17.94

รวมท้ังส้ิน 1,638 322 20.87

Page 63: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

49

3.2 เครื่องมอืท่ีใชในการวิจัย ในการวิจัยคร้ังนี้ ใชเคร่ืองมือคือแบบสอบสอบถาม ซ่ึงแบงออกเปน 5 สวน คือ

1. แบบสอบถามขอมูลท่ัวไป

2. แบบสอบถามดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกัน ตนเองจากการทํางาน

3. แบบสอบถามดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน

4. แบบสอบถามดานความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน

5. ความคิดเหน็และขอเสนอแนะ โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี ้ สวนท่ี 1 แบบสอบถามขอมูลท่ัวไป ผูวิจัยสรางข้ึนเอง ประกอบดวย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณในการทํางานฝายผลิต ลักษณะงาน ตําแหนงงาน สวนท่ี 2 แบบสอบถามดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน นําแบบมาจากแบบวัดของ พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ (2550) ซ่ึงดัดแปลงจากแบบงานท่ีปฏิบัติ ดานความสัมพันธระหวางพนักงานท่ีมีสวนรวม ดานอาชีวอนามัยมความปลอดภัยและแวดลอมในการทํางาน ลักษณะการแบบวัด เปนมาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) ใหผูตอบแบบสอบถามเลือกตอบ 5 ระดับดังนี้

5 หมายถึง ทุกคร้ัง คือ ทานเห็นวาขอความท่ีใหมานั้นเกดิข้ึนจริงปฏิบัติตามท้ังหมด

4 หมายถึง บอยคร้ัง คือ ทานปฏิบัติตามขอความท่ีใหมานั้นเกิดข้ึนจริงเปนสวนใหญ

3 หมายถึง บางคร้ัง คือ ทานไมสามารถตัดสินใจไดวาขอความท่ีใหมานั้นเกดิข้ึนจริง

2 หมายถึง นานๆคร้ัง คือ ทานปฏิบัติตามขอความท่ีใหมานั้นนอยท่ีสุดหรือไมปฏิบัติเลย

Page 64: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

50

1 หมายถึง ไมทําเลย คือ ทานไมเคยปฏิบัติตามขอความท่ีใหมานัน้เลย

การคิดคะแนนของแบบวดัพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัย คิดคาเฉล่ียของคะแนน โดยใชเกณฑดังนี ้

ระดับคะแนนเฉล่ีย ความหมาย 4.50 - 5.00 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยอยูใน

ระดับสูงมาก 3.50 - 4.49 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยอยูใน

ระดับสูง 2.50 – 3.49 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยอยูใน

ระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยอยูใน

ระดับตํ่า 1.00 – 1.49 พฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยอยูใน

ระดับตํ่ามาก สวนท่ี 3 แบบสอบถามดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางานใชวัดความ ความเช่ือม่ันท่ีจะยอมรับเปาหมาย การปองกันอันตรายจากการทํางาน ซ่ึงประกอบไปดวยขอคําถามท้ังหมด 15 ขอ ลักษณะแบบวัด เปนมาตราสวน ประมาณคา (Rating Scale) ใหผูตอบแบบสอบถาม เลือกตอบ 5 ระดับดังนี้

5 หมายถึง เห็นดวยอยางยิ่ง 4 หมายถึง เห็นดวย 3 หมายถึง ไมแนใจ 2 หมายถึง ไมเห็นดวย 1 หมายถึง ไมเห็นดวยอยางยิ่ง

Page 65: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

51

การคิดคะแนนของแบบวัดดานทัศนคติ คิดคาเฉล่ียของคะแนน โดยใชเกณฑดังนี้

ระดับคะแนนเฉล่ีย ความหมาย 4.50 - 5.00 ทัศนคติการปองกันตนเองอยูในระดับสูงมาก 3.50 - 4.49 ทัศนคติการปองกันตนเองอยูในระดับสูง 2.50 – 3.49 ทัศนคติการปองกันตนเองอยูในระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 ทัศนคติการปองกันตนเองอยูในระดับตํ่า 1.00 – 1.49 ทัศนคติการปองกันตนเองอยูในระดับตํ่ามาก

สวนท่ี 4 แบบสอบถามดานความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน ใชวัดความรูดานความปลอดภัยในการทํางานท่ีเปนความรูพื้นฐาน มาตรฐานแรงงาน การคิดคะแนนของแบบวัดความรู คิดคาเฉล่ียของคะแนน โดยเกณฑดังนี้

ระดับคะแนนเฉล่ีย ความหมาย 9 – 12 ความรูดานความปลอดภัยอยูในระดบัสูง 5 – 8 ความรูดานความปลอดภัยอยูในระดบัปานกลาง 0 – 4 ความรูดานความปลอดภัยอยูในระดบัตํ่า

สวนท่ี 5 ความคิดเห็น และ ขอเสนอแนะ เปน สวนท่ีเปดโอกาสใหผูตอบแบบสอบถามไดแสดงความเห็น

3.3 วิธีการเกบ็รวบรวมขอมูล 1. ข้ันเตรียมการสรางเคร่ืองมือท่ีใชในการวิจัย

• แบบวัดดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน นําแบบมาจากแบบวัดของ พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ (2550)

• แบบวัดดานทัศนคติ นําแบบมาจากแบบวัดของ พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ (2550)

• นําแบบวัดท้ัง 5 สวน มาดัดแปลงขอคําถาม และไดนําไปทดลองใหพนักงานจํานวน 30 คน แลวจึงนําผลท่ีไดไปคํานวณหาความเชื่อม่ัน (Reliability) ของแบบวัด โดย ใชสูตร สัมประสิทธ์ิ แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)

Page 66: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

52

2. ข้ันดําเนินการเก็บรวบรวมขอมูล

• ผูวิจัยทําหนังสือขอความอนุเคราะหในการเก็บขอมูลถึง บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด

• นําแบบสอบถามท่ีผานการทดสอบกับกลุมตัวอยางแลว แจกจํานวน 322 ฉบับ และรวบรวมขอมูลแบบสอบถามกลับคืนมา

• รวบรวมแบบสอบถามที่ไดตอบกลับคืน จํานวน 322 ฉบับ จากนั้นทําการตรวจความสมบูรณของการตอบและจัดทําขอมูล เพื่อนําไปวิเคราะหทางสถิติ

3.4 วิธีการทางสถิติท่ีใชในการวิเคราะหขอมูล สถิติท่ีใชในการวิเคราะห็ขอมูลเพื่อการวิจัยคร้ังนี้ คือ

1. สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) เพื่อใชบรรยายปจจัยสวนบุคคลของกลุมตัวอยางท่ีศึกษา เชน รอยละ คาเฉล่ีย และคาเบ่ียงเบนมาตราฐาน

2. การวิเคราะห สหสัมพันธ (Correlation Analysis) โดย การคํานวณคาสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธแบบ Pearson’s product moment correlation coefficient ในการพิสูจนสมมติฐานการวิจัย

3. การทดสอบคาที (t-test) ใชทดสอบความแตกตางระหวางคาเฉล่ียสองกลุม

4. คาเอฟ (F-test ) ใชทดสอบความแตกตางระหวางคาเฉล่ียสามกลุมข้ึนไปในการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (One way-ANOVA)ในการพิสูจนสมมุติฐานการวิจัย

Page 67: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทท่ี 4

ผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน กรณีศึกษา บริษทั แมทเทล กรุงเทพ จํากัด” เปนการศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของพนักงานฝายผลติ โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากดั ผูวิจัยไดดําเนินการวิเคราะหขอมูลตามข้ันตอนตางๆ และเสนอผลการวิเคราะหดังน้ี 4.1 ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยางจําแนกตามลักษณะสวนบุคคล 4.2 ระดับของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน 4.3 ระดับของทัศนคติเรื่องการปองกนัตนเองจากการทํางาน 4.4 ระดับของความรูเรื่องการปองกนัตนเองจากการทํางาน 4.5 การทดสอบสมมติฐานทางการวิจยั

4.1 ขอมูลทัว่ไปของกลุมตัวอยางจําแนกตามลักษณะสวนบุคคล ตารางท่ี 4.1 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณการทํางานในฝายผลิต แผนกในฝายผลิตที่สังกดั และตําแหนงงานในปจจุบนั

Page 68: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

54

ตารางที่ 4.1 จาํนวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามขอมูลทั่วไป

ขอมลูท่ัวไป จํานวน (N=322) รอยละ

เพศ ชาย 44 13.7 หญิง 278 86.3

อายุ 18 – 25 ป 79 24.5 26 – 35 ป 150 46.6 36 – 45 ป 90 28.0 46 ปข้ึนไป 3 0.9

สถานภาพ โสด 157 48.8 สมรส 155 48.1 หมาย/ หยาราง 10 3.1

ระดับการศกึษา ตํ่ากวาปรญิญาตร ี 298 92.5 ปรญิญาตร ี 19 5.9 ปรญิญาโทขึ้นไป 5 1.6

Page 69: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

55

ตารางที่ 4.1 (ตอ)

ขอมลูท่ัวไป จํานวน (N=322) รอยละ

ประสบการณการทํางานในฝายผลิต ตํ่ากวา 1 ป 44 13.7 1 – 5 ป 115 35.7 6 – 10 ป 88 27.3 มากกวา 10 ป 75 23.3

แผนกในฝายผลิตท่ีสังกัด เครื่องฉีดพลาสติก 38 11.8 เครื่องฉีดซ้ิงค 48 14.9 ประกอบสินคา 99 30.7 ควบคุมคุณภาพ 10 3.1 พนสี 26 8.1 พิมพลายสี 32 9.9 แว็คค่ัม 15 4.7 วัตถดุิบ/คลังสินคา 5 1.6 ติดสติกเกอร 35 10.9 ซอมบํารุง 14 4.3

ตําแหนงงานในปจจุบนั ระดับพนกังาน 294 91.3 ระดับหัวหนางาน 18 5.6 ระดับหัวหนาฝาย 10 3.1

Page 70: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

56

จากตารางที่ 4.1 พบวา ขอมูลทั่วไปของกลุมตัวอยาง มีลกัษณะตางๆ ดงัน้ี เพศ กลุมตัวอยางสวนใหญเปนเพศหญิง คิดเปนรอยละ 86.3 และเปนเพศชาย รอยละ 13.7 อายุ กลุมตัวอยางสวนใหญมีอายุระหวาง 26-35 ป คิดเปนรอยละ 46.6 รองลงมามีอายุระหวาง 36-45 ป รอยละ 28.0 อายุระหวาง 18-25 ป รอยละ 24.5 และ อายุต้ังแต 46 ปข้ึนไป รอยละ 0.9 ตามลําดับ สถานภาพ กลุมตัวอยางสวนใหญมีสถานภาพโสด คิดเปนรอยละ 48.8 รองลงมามีสถานภาพสมรส รอยละ 48.1 และ สถานภาพหมาย/หยาราง รอยละ 3.1 ตามลําดับ ระดับการศึกษา กลุมตัวอยางสวนใหญจบการศึกษาระดับตํ่ากวาปริญญาตรี คิดเปนรอยละ 92.5 รองลงมาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี รอยละ 5.9 และ จบการศึกษาระดับปริญญาโทข้ึนไป รอยละ 1.6 ตามลําดับ ประสบการณการทํางานในฝายผลิต กลุมตัวอยางสวนใหญมีประสบการณระหวาง 1-5 ป คิดเปนรอยละ 35.7 รองลงมามีประสบการณระหวาง 6-10 ป รอยละ 27.3 มีประสบการณมากกวา 10 ป รอยละ 23.3 และ มีประสบการณตํ่ากวา 1 ป รอยละ 13.7 ตามลําดับ แผนกในฝายผลิตที่สังกัด กลุมตัวอยางสวนใหญอยูแผนกประกอบสินคา คิดเปนรอยละ 30.7 รองลงมาอยูแผนกเครื่องฉีดซ้ิงค รอยละ 14.9 แผนกเครื่องฉีดพลาสติก รอยละ 11.8 แผนกติดสติกเกอร รอยละ 10.9 แผนกพิมพลายสี รอยละ 9.9 แผนกพนสี รอยละ 8.1 แผนกแว็คค่ัม รอยละ 4.7 แผนกซอมบํารุง รอยละ 4.3 แผนกควบคุมคุณภาพ รอยละ 3.1 และ แผนกวัตถุดิบ/คลังสินคา รอยละ 1.6 ตามลําดับ ตําแหนงงานในปจจุบัน กลุมตัวอยางสวนใหญมีตําแหนงระดับพนักงาน คิดเปนรอยละ 91.3 รองลงมามีตําแหนงระดับหัวหนางาน รอยละ 5.6 และ มีตําแหนงระดับหัวหนาฝาย รอยละ 3.1 ตามลําดับ

Page 71: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

57

4.2 ระดับของพฤติกรรมการปฏบิัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ตารางที่ 4.2 จาํนวนและรอยละของกลุมตัวอยางจําแนกตามพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกันตนเองจากการทํางาน

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ พฤตกิรรม

1. ขาพเจาปฏบิัติตามกฎระเบียบขอบังคับในการทํางานอยางเครงครัด

4.49 0.703 สูง

2.ขาพเจาจัดวางอุปกรณไวอยางเปนระเบียบหลังจากปฏิบัติงานเสรจ็แลว

4.50 0.716 สูงมาก

3. ขาพเจาแตงกายดวยเส้ือผาท่ีเหมาะสมตอการปฏิบัติงาน

4.88 0.380 สูงมาก

4. ขาพเจาดแูลใหบริเวณท่ีทํางานของขาพเจาสะอาดและเปนระเบียบ

4.50 0.676 สูงมาก

5. ขาพเจาหยุดเครื่องจักรทุกครั้งท่ีมีการซอมแซมหรือทําความสะอาด

4.66 0.732 สูงมาก

6. ขาพเจาสวมถุงมือกอนหยบิวัตถุที่มีอันตรายเสมอ 4.41 0.896 สูง 7. ขาพเจาสนบัสนุนใหเพ่ือนๆ ใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

4.49 0.766 สูง

Page 72: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

58

ตารางที่ 4.2 (ตอ)

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ พฤตกิรรม

8. ขาพเจาจะลงมือปฏิบัติงานโดยไมมีการตรวจความเรยีบรอยของเครื่องจักรกอน

4.20 1.111 สูง

(ขอคําถามเชิงลบ) 9. หลังจากซอมแซมหรือทําความสะอาดเครื่องจักรขาพเจาจะตรวจสอบความเรยีบรอยอีกครั้งกอนที่ปฏบัติงานตอไป

4.52 0.855 สูงมาก

10. ขาพเจาสนับสนุนใหเพือ่นๆ ปฏิบัติตามกฏระเบียบวาดวยความปลอดภัยอยางเครงครดั

4.36 0.869 สูง

11. ขาพเจาไมเคยพูดชมเชย เม่ือเพื่อนรวมงานปฏิบัติงานไดอยางถูกตอง

3.94 1.024 สูง

(ขอคําถามเชิงลบ) 12. ขาพเจากระตือรือรนท่ีจะนําขอมูลขาวสารท่ีเกีย่วกับการทํางานอยางปลอดภัยมาเผยแพรแกเพือ่นๆ

3.76 1.035 สูง

13. ขาพเจาไมสนับสนุนใหเพ่ือนๆ ใชอุปกรณปองกนัอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

4.48 1.060 สูง

(ขอคําถามเชิงลบ) 14. เม่ือขาพเจาเห็นส่ิงของวางเกะกะทางเดิน ขาพเจามักจะไมสนใจที่จะเก็บ

4.26 1.050 สูง

(ขอคําถามเชิงลบ)

Page 73: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

59

ตารางที่ 4.2 (ตอ)

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ พฤตกิรรม

15. เม่ือมีอุปกรณ เครื่องมือชํารุด ขาพเจาจะรีบแจงใหหัวหนาหรือผูที่เกี่ยวของทราบทันที

4.63 0.700 สูงมาก

16. ขาพเจายินดีที่จะใหคําปรกึษากับเพื่อนรวมงานตลอดเวลา

4.48 0.762 สูง

17. ขาพเจามักเขาไปใหกําลังใจเพื่อนรวมงาน เม่ือพบวาเพื่อนรวมงานพบอุปสรรคในการทํางาน

4.04 0.930 สูง

18. ถาขาพเจาเห็นเพ่ือนรวมงานปฏิบัติงานไมถกูวธิี ขาพเจามักจะเมินเฉยไมสนใจ

4.42 0.918 สูง

(ขอคําถามเชิงลบ) 19. ถาพบคนที่ทําผิดกฏระเบียบความปลอดภัยขาพเจาจะแจงหัวหนาหรือเจาหนาทีท่ี่เกี่ยวของทันที

3.79 1.173 สูง

20. ขาพเจาพรอมที่ใหความรวมมือในการมีสวนรวมทํากิจกรรมเพ่ือความปลอดภยัทุกกิจกรรม

4.72 0.663 สูงมาก

พฤตกิรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยโดยรวม

4.38 0.387 สูง

Page 74: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

60

จากตารางท่ี 4.2 พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานโดยรวม อยูในระดับสูง โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.38 เม่ือพิจารณาเปนรายขอ พบวา กลุมตัวอยางมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน อยูในระดับสูงถึงสูงมาก ดังนี้ กลุมตัวอยางมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน อยูในระดับสูงมาก 7 ขอ เรียงตามลําดับคาเฉลี่ย (กรณีคาเฉลี่ยเทากันจะเรียงตามสวนเบ่ียงเบนมาตรฐานจากนอยไปมาก) ดังนี้ 1. กลุมตัวอยางแตงกายดวยเส้ือผาที่เหมาะสมตอการปฏบิัติงาน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.88) 2. กลุมตัวอยางพรอมท่ีใหความรวมมือในการมีสวนรวมทํากิจกรรมเพื่อความปลอดภัยทุกกิจกรรม (คาเฉลี่ยเทากับ 4.72) 3. กลุมตัวอยางหยุดเครื่องจักรทุกครั้งที่มีการซอมแซมหรือทําความสะอาด (คาเฉลี่ยเทากับ 4.66) 4. เม่ือมีอุปกรณ เครื่องมือชํารุด กลุมตัวอยางจะรีบแจงใหหัวหนาหรือผูที่เกี่ยวของทราบทันที (คาเฉลี่ยเทากับ 4.63) 5. หลังจากซอมแซมหรือทําความสะอาดเครื่องจักรกลุมตัวอยางจะตรวจสอบความเรียบรอยอีกครั้งกอนท่ีปฏบัติงานตอไป (คาเฉลี่ยเทากับ 4.52) 6. กลุมตัวอยางดูแลใหบริเวณที่ทํางานของตนเองสะอาดและเปนระเบียบ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.50) 7.กลุมตัวอยางจัดวางอุปกรณไวอยางเปนระเบียบหลังจากปฏิบัติงานเสร็จแลว (คาเฉลี่ยเทากับ 4.50) กลุมตัวอยางมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน อยูในระดับสูง 13 ขอ เรียงตามลําดับคาเฉลี่ย (กรณีคาเฉลี่ยเทากันจะเรียงตามสวนเบ่ียงเบนมาตรฐานจากนอยไปมาก) ดังน้ี 1. กลุมตัวอยางปฏิบัติตามกฎระเบียบขอบังคับในการทํางานอยางเครงครัด (คาเฉลี่ยเทากับ 4.49) 2. กลุมตัวอยางสนับสนุนใหเพื่อนๆ ใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.49)

Page 75: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

61

3. กลุมตัวอยางยินดีที่จะใหคําปรึกษากับเพื่อนรวมงานตลอดเวลา (คาเฉลี่ยเทากับ 4.48) 4. กลุมตัวอยางไมสนับสนุนใหเพื่อนๆ ใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.48) 5. ถากลุมตัวอยางเห็นเพ่ือนรวมงานปฏิบัติงานไมถูกวิธี กลุมตัวอยางมักจะเมินเฉยไมสนใจ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.42) 6. กลุมตัวอยางสวมถุงมือกอนหยิบวัตถุที่มีอันตรายเสมอ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.41) 7. กลุมตัวอยางสนับสนุนใหเพื่อนๆ ปฏิบัติตามกฏระเบียบวาดวยความปลอดภัยอยางเครงครัด (คาเฉลี่ยเทากับ 4.36) 8. เม่ือกลุมตัวอยางเห็นส่ิงของวางเกะกะทางเดิน กลุมตัวอยางมักจะไมสนใจท่ีจะเก็บ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.26) 9. กลุมตัวอยางจะลงมือปฏิบัติงานโดยไมมีการตรวจความเรียบรอยของเครื่องจักรกอน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.20) 10. กลุมตัวอยางมักเขาไปใหกําลังใจเพื่อนรวมงาน เม่ือพบวาเพ่ือนรวมงานพบอุปสรรคในการทํางาน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.04) 11. กลุมตัวอยางไมเคยพูดชมเชย เม่ือเพ่ือนรวมงานปฏิบัติงานไดอยางถูกตอง (คาเฉลี่ยเทากับ 3.94) 12. ถาพบคนที่ทําผิดกฎระเบียบความปลอดภัยกลุมตัวอยางจะแจงหัวหนาหรือเจาหนาที่ที่เกี่ยวของทันที (คาเฉลี่ยเทากับ 3.79) 13. กลุมตัวอยางกระตือรือรนที่จะนําขอมูลขาวสารท่ีเกี่ยวกับการทํางานอยางปลอดภัยมาเผยแพรแกเพื่อนๆ (คาเฉลี่ยเทากับ 3.76)

Page 76: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

62

4.3 ระดับของทัศนคติเรื่องการปองกันตนเองจากการทํางาน ตารางที่ 4.3 จํานวนและรอยละของกลุมตัวอยางจําแนกตามทัศนคติเรื่องการปองกันตนเองจากการทํางาน

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ ทัศนคต ิ

1. การติดโปสเตอรและสัญลักษณความปลอดภัย เปนการเตือนพนกังานใหตระหนักถึงความปลอดภัยในการทํางาน

4.73 0.470 สูงมาก

2. การติดโปสเตอรท่ีแสดงผลเสียหายของการไมใชอุปกรณปองกนัอันตราย จะชวยจูงใจพนักงานใหใชอุปกรณปองกนัมากข้ึนเพ่ือความปลอดภยั

4.63 0.527 สูงมาก

3. การออกระเบียบขอบังคับในการทํางานและมีมาตรการควบคุมคนงานใหปฏิบัติตาม ถาไมปฏิบัติตามจะตองถูกลงโทษ ชวยลดการเกดิอุบัติเหตุได

4.34 0.671 สูง

4. การทํางานโดยจิตใจไมพรอมหรือผิดปกติ เครยีด ขาดสมาธิ มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

4.49 0.689 สูง

5. การทํางานที่ไมถูกวธิี ไมถูกข้ันตอน ขาดความรู ทักษะในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

4.50 0.680 สูงมาก

Page 77: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

63

ตารางที่ 4.3 (ตอ)

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ ทัศนคต ิ

6. การใสอุปกรณปองกันสวนบุคคลชวยลดอุบัติเหตุในการทํางานได

4.60 0.556 สูงมาก

7. สภาพแวดลอมในที่ทํางานท่ีไมถูกสุขอนามัย เชน แสงสวางไมเพียงพอ เสียงดงัเกินควร ความรอนสูง มีผลตอการเกิดอุบติัเหตุ

4.43 0.721 สูง

8. อุปกรณเครือ่งจักร เครื่องมือที่ชํารุดบกพรอง ขาดการซอมแซมหรือบํารุงรักษา มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

4.59 0.621 สูงมาก

9. ลักษณะนิสัยสวนบุคคล มีผลตอการเกดิอุบัติเหตุได 3.93 0.931 สูง 10. การไดรับการอบรมดานความปลอดภยักอนการปฏิบัติงาน ชวยลดการเกดิอุบัติเหตุในการทํางานได

4.55 0.610 สูงมาก

11. การฝกอบรมความปลอดภัยในการทํางาน ทําใหเกิดการเปลีย่นแปลงพฤติกรรมและมีจิตสํานกึในเรื่องความปลอดภัย เพ่ือปองกันไมใหเกิดอุบัติเหตุมากข้ึนได

4.52 0.586 สูงมาก

12. การไดรับขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายจากการทํางานอยางเพยีงพอ ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุได

4.43 0.634 สูง

Page 78: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

64

ตารางที่ 4.3 (ตอ)

ขอความ คาเฉลีย่ คาเบ่ียงเบน มาตรฐาน

ระดับ ทัศนคต ิ

13. การมีความรูและความเขาใจเรื่องความปลอดภัยในการทํางาน ชวยลดการเกดิอุบัติเหตุได

4.52 0.586 สูงมาก

14. การไมปฏบัิติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

4.48 0.607 สูง

15. การตรวจสอบและติดตามผลการปฏบัิติความปลอดภัยอยางสมํ่าเสมอ ชวยลดอุบัติเหตุได

4.45 0.595 สูง

ทัศนคติเรือ่งการปองกันอนัตรายจากการทํางานโดยรวม

4.48 0.381 สูง

จากตารางที่ 4.3 พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานโดยรวม อยูในระดับสูง โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.48 เม่ือพิจารณาเปนรายขอ พบวา กลุมตัวอยางมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับสูงถึงสูงมาก ดังนี้ กลุมตัวอยางมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับสูงมาก 8 ขอ เรียงตามลําดับคาเฉลี่ย (กรณีคาเฉลี่ยเทากันจะเรียงตามสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากนอยไปมาก) ดังน้ี 1. การติดโปสเตอรและสัญลักษณความปลอดภัย เปนการเตือนพนักงานใหตระหนักถึงความปลอดภัยในการทํางาน (คาเฉลี่ยเทากับ 4.73) 2. การติดโปสเตอรที่แสดงผลเสียหายของการไมใชอุปกรณปองกันอันตราย จะชวยจูงใจพนักงานใหใชอุปกรณปองกันมากข้ึนเพื่อความปลอดภัย (คาเฉลี่ยเทากับ 4.63) 3. การใสอุปกรณปองกันสวนบุคคลชวยลดอุบัติเหตุในการทํางานได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.60)

Page 79: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

65

4. อุปกรณเครื่องจักร เครื่องมือท่ีชํารุดบกพรอง ขาดการซอมแซมหรือบํารุงรักษา มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.59) 5. การไดรับการอบรมดานความปลอดภัยกอนการปฏิบัติงาน ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.55) 6. การฝกอบรมความปลอดภัยในการทํางาน ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีจิตสํานึกในเรื่องความปลอดภัย เพื่อปองกันไมใหเกิดอุบัติเหตุมากข้ึนได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.52) 7. การมีความรูและความเขาใจเรื่องความปลอดภัยในการทํางาน ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.52) 8. การทํางานที่ไมถูกวิธี ไมถูกข้ันตอน ขาดความรู ทักษะในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.50) กลุมตัวอยางมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับสูง 7 ขอ เรียงตามลําดับคาเฉลี่ย (กรณีคาเฉลี่ยเทากันจะเรียงตามสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากนอยไปมาก) ดังน้ี 1. การทํางานโดยจิตใจไมพรอมหรือผิดปกติ เครียด ขาดสมาธิ มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.49) 2. การไมปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.48) 3. การตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติความปลอดภัยอยางสม่ําเสมอ ชวยลดอุบัติเหตุได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.45) 4. การไดรับขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายจากการทํางานอยางเพียงพอ ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.43) 5. สภาพแวดลอมในที่ทํางานที่ไมถูกสุขอนามัย เชน แสงสวางไมเพียงพอ เสียงดังเกินควร ความรอนสูง มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ (คาเฉลี่ยเทากับ 4.43) 6. การออกระเบียบขอบังคับในการทํางานและมีมาตรการควบคุมคนงานใหปฏิบัติตาม ถาไมปฏิบัติตามจะตองถูกลงโทษ ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุได (คาเฉลี่ยเทากับ 4.34) 7. ลักษณะนิสัยสวนบุคคล มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุได (คาเฉลี่ยเทากับ 3.93)

Page 80: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

66

4.4 ระดับของความรูเรื่องการปองกันตนเองจากการทํางาน ตารางที่ 4.4 จาํนวนและรอยละของกลุมตัวอยางที่ตอบคําถาม จําแนกตามการตอบถูกและตอบผดิตามรายขอคําถาม

ตอบถูก ตอบผดิ

ขอคาํถาม จํานวน (N=322)

รอยละ จํานวน (N=322)

รอยละ

1. การใสอุปกรณปองกันหู ขณะทํางานในพื้นท่ีที่มีเสียงดังมีประโยชน คือ ชวยลดเสียงลง ไมใหเกิดอันตรายตอหู

304 94.4 18 5.6

2. กฎหมายไทยกําหนดเรื่องเสียงไววาถาทํางานไมเกินวันละ 8 ช่ัวโมง ระดับเสียงในโรงงานตองไมเกิน 90 เดชิเบล (เอ)

23 7.1 299 92.9

3. เสียงดังในบริเวณท่ีทํางาน จะมีอันตรายตอหูของคนงาน เพราะทําใหหูตึงหรือหูหนวกได

299 92.9 23 7.1

4. ความรอนมีหนวยเปน องศาเซลเซียส (°C) 313 97.2 9 2.8 5. การวัดแสงมีหนวยเปน ลกัษ (LUX) 132 41.0 190 59.0 6. คลื่นความถีข่องเสียงมีหนวยเปน เฮริตซ (Hertz) 251 78.0 71 22.0

Page 81: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

67

ตารางที่ 4.4 (ตอ)

ตอบถูก ตอบผดิ

ขอคาํถาม จํานวน (N=322)

รอยละ จํานวน (N=322)

รอยละ

7. การควบคุมและปองกันอันตรายของการทํางานทําไดโดย ฉากปองกันรังสี , ลดเวลาการสัมผัส และระบายอากาศเฉพาะท่ี

305 94.7 17 5.3

8. การสัมผัสความรอนนานๆจะพบอาการ มีไข , ลมแดด และตะคริว

231 71.7 91 28.3

9. องคประกอบการอนุรกัษการไดยินไดแก การเฝาระวังเสียงดัง , การเฝาระวังการไดยิน และการตรวจประเมิน

288 89.4 34 10.6

10. อาการท่ีเกดิจากแสงสวางที่มากเกินไป คือ ปวดตา , เม่ือยลา และมึนศรษีะ

201 62.4 121 37.6

11. การกระทําที่ไมปลอดภยัของบุคคล อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Act) คือ ไมใชอุปกรณปองกันภยัสวนบุคคล

246 76.4 76 23.6

12. สภาพการณที่ไมปลอดภยั อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Condition) คือ เครื่องจักร เครื่องมือชํารดุ

179 55.6 143 44.4

Page 82: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

68

จากตารางที่ 4.4 ผลการตอบขอคําถามเกี่ยวกับความรูเรื่องการปองกันตนเองจากการทํางานพบวา 1. ขอคําถาม “การใสอุปกรณปองกันหู ขณะทํางานในพื้นท่ีที่มีเสียงดังมีประโยชน คือ ชวยลดเสียงลง ไมใหเกิดอันตรายตอหู” กลุมตัวอยางตอบถกู รอยละ 94.4 และตอบผดิ รอยละ 5.6 2. ขอคําถาม “กฎหมายไทยกําหนดเรื่องเสียงไววาถาทํางานไมเกินวนัละ 8 ช่ัวโมง ระดับเสียงในโรงงานตองไมเกิน 90 เดชิเบล (เอ)” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 7.1 และตอบผิด รอยละ 92.9 3. ขอคําถาม “เสียงดังในบรเิวณท่ีทํางาน จะมีอันตรายตอหูของคนงาน เพราะทําใหหูตึงหรือหูหนวกได” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 92.9 และตอบผิด รอยละ 7.1 4. ขอคําถาม “ความรอนมีหนวยเปน องศาเซลเซียส (°C)” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 97.2 และตอบผดิ รอยละ 2.8 5. ขอคําถาม “การวัดแสงมีหนวยเปน ลักษ (LUX)” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 41.0 และตอบผิด รอยละ 59.0 6. ขอคําถาม “คลื่นความถี่ของเสียงมีหนวยเปน เฮริตซ (Hertz)” กลุมตัวอยางตอบถกู รอยละ 78.0 และตอบผิด รอยละ 22.0 7. ขอคําถาม “การควบคุมและปองกันอันตรายของการทํางานทําไดโดย ฉากปองกันรังสี , ลดเวลาการสัมผสั และระบายอากาศเฉพาะท่ี” กลุมตัวอยางตอบถกู รอยละ 94.7 และตอบผิด รอยละ 5.3 8. ขอคําถาม “การสัมผัสความรอนนานๆจะพบอาการ มีไข , ลมแดด และตะคริว” กลุมตัวอยางตอบถกู รอยละ 71.7 และตอบผิด รอยละ 28.3 9. ขอคําถาม “องคประกอบการอนรุกัษการไดยินไดแก การเฝาระวังเสียงดัง , การเฝาระวังการไดยนิ และการตรวจประเมิน” กลุมตัวอยางตอบถกู รอยละ 89.4 และตอบผิด รอยละ 10.6 10. ขอคําถาม “อาการท่ีเกิดจากแสงสวางที่มากเกินไป คือ ปวดตา , เม่ือยลา และมึนศรษีะ” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 62.4 และตอบผิด รอยละ 37.6 11. ขอคําถาม “การกระทําที่ไมปลอดภัยของบุคคล อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Act) คือ ไมใชอุปกรณปองกันภัยสวนบุคคล” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 76.4 และตอบผิด รอยละ 23.6 12. ขอคําถาม “สภาพการณที่ไมปลอดภัย อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Condition) คือ เครื่องจักร เครือ่งมือชํารุด” กลุมตัวอยางตอบถูก รอยละ 55.6 และตอบผิด รอยละ 44.4

Page 83: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

69

ตารางที่ 4.5 จาํนวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามคะแนนความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน

ผลรวมคะแนน จํานวน (N=322) รอยละ

5 คะแนน 13 4.0 6 คะแนน 26 8.1 7 คะแนน 31 9.6 8 คะแนน 61 19.0 9 คะแนน 88 27.3 10 คะแนน 82 25.5 11 คะแนน 18 5.6 12 คะแนน 3 0.9

จากตารางที่ 4.5 พบวา กลุมตัวอยางมีความรูเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางาน โดยผูตอบถกูมากท่ีสุดได 12 คะแนน คิดเปนรอยละ 0.9 ในขณะที่สวนใหญตอบถูกได 9 คะแนน รอยละ 27.3 รองลงมาคือ ได 10 คะแนน รอยละ 25.5 ได 8 คะแนน รอยละ 19.0 และมีกลุมตัวอยางรอยละ 4.0 ตอบถูกนอยที่สุดคือได 5 คะแนน ตารางที่ 4.6 จาํนวนและรอยละของกลุมตัวอยาง จําแนกตามระดับความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน

ระดับความรูเรือ่ง การปองกันอนัตรายจากการทํางาน

จํานวน (N=322)

รอยละ

ระดับตํ่า - - ระดับปานกลาง 131 40.7

ระดับสูง 191 59.3

Page 84: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

70

จากตารางที่ 4.6 พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญรอยละ 59.3 มีความรูเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับสูง และรอยละ 40.7 มีความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับปานกลาง

4.5 การทดสอบสมมติฐานทางการวิจยั สมมติฐานที่ 1 ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกัน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกนัตนเองจากการทํางานท่ีแตกตางกัน ตารางที่ 4.7 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏิบติังานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ

เพศ จํานวน

(N=322) X S.D. t Sig.

ชาย 44 4.28 0.452 -1.815 0.070 หญิง 278 4.39 0.375

จากตารางที่ 4.7 พบวาคาเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางเพศหญิงสูงกวาเพศชาย คือมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.39 และ 4.28 ตามลําดับ เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ t-test ไดคา t = -1.815 และ Sig. = 0.070 ซ่ึงแสดงวาคาเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ของกลุมตัวอยางเพศชายและเพศหญงิแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางท่ีมีเพศแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 85: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

71

ตารางที่ 4.8 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏิบติังานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามอาย ุ

อายุ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

18 – 25 ป 79 4.30 0.371 1.785 0.150 26 – 35 ป 150 4.38 0.423 36 – 45 ป 90 4.44 0.313 46 ปข้ึนไป 3 4.35 0.781

จากตารางที่ 4.8 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 36-45 ป มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.44 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 26-35 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.38 กลุมตัวอยางที่มีอายุ 46 ปข้ึนไป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.35 และกลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 18-25 ป มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยที่สุดเทากับ 4.30 เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.785 และ Sig. = 0.150 ซ่ึงแสดงวากลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 86: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

72

ตารางที่ 4.9 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏิบติังานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามสถานภาพ

สถานภาพ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

โสด 157 4.36 0.377 1.359 0.258 สมรส 155 4.39 0.405 หมาย/ หยาราง 10 4.56 0.211

จากตารางที่ 4.9 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพหมาย/หยาราง มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.56 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพสมรส มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.39 และกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพโสด มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยที่สุดเทากับ 4.36 เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.359 และ Sig. = 0.258 ซ่ึงแสดงวากลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 น่ันคือ กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 87: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

73

ตารางที่ 4.10 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏบิัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ตํ่ากวาปรญิญาตร ี 298 4.38 0.384 0.270 0.763 ปรญิญาตร ี 19 4.36 0.471 ปรญิญาโทขึ้นไป 5 4.50 0.257

จากตารางท่ี 4.10 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาปริญญาโทข้ึนไป มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.50 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาตํ่ากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.38 และกลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีคาเฉล่ียของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.36 เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 0.270 และ Sig. = 0.763 ซ่ึงแสดงวากลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 88: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

74

ตารางที่ 4.11 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏบิัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต

ประสบการณ การทํางานในฝายผลิต

จํานวน (N=322) X S.D. F Sig.

ตํ่ากวา 1 ป 44 4.26 0.368 4.618* 0.004 1 – 5 ป 115 4.32 0.410 6 – 10 ป 88 4.43 0.367 มากกวา 10 ป 75 4.48 0.357

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางท่ี 4.11 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตมากกวา 10 ป มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.48 รองลงมา กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 6 -10 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.43 กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 1-5 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.32 และกลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตตํ่ากวา 1 ป มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.26 เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 4.618 และ Sig. = 0.004 ซ่ึงแสดงวากลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน แตกตางกัน

Page 89: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

75

ตารางที่ 4.12 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏบิัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามแผนกท่ีสังกัด

แผนกท่ีสังกดั จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

เครื่องฉีดพลาสติก 38 4.34 0.430 1.723 0.083 เครื่องฉีดซ้ิงค 48 4.48 0.352 ประกอบสินคา 99 4.29 0.410 ควบคุมคุณภาพ 10 4.43 0.316 พนสี 26 4.33 0.391 พิมพลายสี 32 4.43 0.321 แว็คค่ัม 15 4.47 0.399 วัตถดุิบ/คลังสินคา 5 4.14 0.207 ติดสติกเกอร 35 4.49 0.333 ซอมบํารุง 14 4.36 0.452

จากตารางท่ี 4.12 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกติดสติกเกอร มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.49 รองลงมา กลุมตัวอยางที่อยูแผนกเครื่องฉีดซ้ิงค มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.48 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกแว็คค่ัม มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.47 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกควบคุมคุณภาพ มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.43 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกพิมพลายสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.43 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกซอมบํารุง มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.36 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกเครื่องฉีดพลาสติก มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.34 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกเคร่ืองพนสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.33 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกประกอบสินคา มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.29 และกลุมตัวอยางที่อยูแผนกวัตถุดิบ/คลังสินคา มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.14

Page 90: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

76

เม่ือทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.723 และ Sig. = 0.083 ซ่ึงแสดงวากลุมตัวอยางท่ีมีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน ตารางที่ 4.13 แสดงการเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏบิัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางจําแนกตามตําแหนงงาน

ตําแหนงงาน จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ระดับพนกังาน 294 4.36 0.383 2.470 0.086 ระดับหัวหนางาน 18 4.46 0.488 ระดับหัวหนาฝาย 10 4.61 0.216

จากตารางท่ี 4.13 เปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานระดับหัวหนาฝาย มีคาเฉลี่ยของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.61 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานระดับหัวหนางาน มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.46 และกลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานระดับพนักงาน มีคาเฉล่ียของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานนอยที่สุดเทากับ 4.36 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 2.470 และ Sig. = 0.086 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 91: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

77

สมมติฐานที่ 2 ความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน ตารางที่ 4.14 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางาน กับพฤตกิรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน

ตวัแปร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ Sig.

ความรูกับพฤติกรรม 0.167* 0.003

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.14 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทาํงาน กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยาง เมื่อทําการทดสอบทางสถิติไดคาสมัประสิทธิ์สหสัมพันธ = 0.167 และ Sig. = 0.003 ซึ่งแสดงวาความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน กบัพฤติกรรมการปฏบัิติงานอยางปลอดภยัในการปองกันตนเองจากการทํางานมีความสัมพนัธกนัอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอพฤตกิรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน

Page 92: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

78

สมมติฐานที ่ 3 ทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ตารางที่ 4.15แสดงความสมัพันธระหวางทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน

ตวัแปร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ Sig.

ทัศนคติกับพฤติกรรม 0.350* 0.000

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.15 แสดงความสัมพันธระหวางทัศนคติเรือ่งการปองกันอันตรายจากการทํางาน กับพฤตกิรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยาง เมื่อทําการทดสอบทางสถิติไดคาสมัประสิทธิ์สหสัมพันธ = 0.350 และ Sig. = 0.000 ซึ่งแสดงวาทัศนคตเิรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน กบัพฤติกรรมการปฏบัิติงานอยางปลอดภยัในการปองกันตนเองจากการทํางานมีความสัมพนัธกนัอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ ทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน

Page 93: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

79

สมมติฐานที ่ 4 ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกัน มผีลตอความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางาน ตารางที่ 4.16 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามเพศ

เพศ จํานวน

(N=322) X S.D. t Sig.

ชาย 44 9.23 1.641 2.906* 0.004 หญิง 278 8.51 1.500

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางท่ี 4.16 พบวาคาเฉลี่ยความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางเพศชายสูงกวาเพศหญิง คือมีคาเฉลี่ยเทากับ 9.23 และ 8.51 ตามลําดับ เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ t-test ไดคา t = 2.906 และ Sig. = 0.004 ซึ่งแสดงวาคาเฉลี่ยความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางเพศชายและเพศหญิงแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีเพศแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน

Page 94: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

80

ตารางที่ 4.17 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามอาย ุ

อายุ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

18 – 25 ป 79 8.58 1.566 1.000 0.393 26 – 35 ป 150 8.70 1.492 36 – 45 ป 90 8.44 1.601 46 ปข้ึนไป 3 9.67 0.577

จากตารางที่ 4.17 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุ 46 ปข้ึนไป มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 9.67 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 26-35 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.70 กลุมตัวอยางท่ีมีอายุระหวาง 18-25 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.58 และกลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 36-45 ปมีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 8.44 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.000 และ Sig. = 0.393 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 น่ันคือ กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 95: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

81

ตารางที่ 4.18 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามสถานภาพ

สถานภาพ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

โสด 157 8.57 1.537 0.230 0.795 สมรส 155 8.63 1.563 หมาย/ หยาราง 10 8.90 1.197

จากตารางที่ 4.18 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพหมาย/หยาราง มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 8.90 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพสมรส มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.63 และกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพโสด มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 8.57 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 0.230 และ Sig. = 0.795 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 น่ันคือ กลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 96: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

82

ตารางที่ 4.19 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ต่ํากวาปรญิญาตร ี 298 8.55 1.537 4.214* 0.016 ปรญิญาตร ี 19 9.16 1.344 ปรญิญาโทขึ้นไป 5 10.20 1.095

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.19 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาปริญญาโทขึ้นไป มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 10.20 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยเทากับ 9.16 และกลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยที่สุดเทากับ 8.55 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 4.214 และ Sig. = 0.016 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 น่ันคือ กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน

Page 97: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

83

ตารางที่ 4.20 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต

ประสบการณ การทํางานในฝายผลิต

จํานวน (N=322) X S.D. F Sig.

ต่ํากวา 1 ป 44 8.36 1.780 1.056 0.368 1 – 5 ป 115 8.76 1.548 6 – 10 ป 88 8.47 1.406 มากกวา 10 ป 75 8.69 1.515

จากตารางท่ี 4.20 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 1-5 ป มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 8.76 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตมากกวา 10 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.69 กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 6-10 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.47 และกลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตต่ํากวา 1 ป มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยที่สุดเทากับ 8.36 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.056 และ Sig. = 0.368 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกนั อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 98: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

84

ตารางที่ 4.21 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามแผนกท่ีสังกัด

แผนกท่ีสังกดั จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

เครื่องฉีดพลาสติก 38 8.68 1.596 1.977* 0.041 เครื่องฉีดซิ้งค 48 8.38 1.511 ประกอบสินคา 99 8.22 1.536 ควบคุมคุณภาพ 10 9.50 0.972 พนสี 26 8.77 1.751 พิมพลายสี 32 8.91 1.353 แว็คค่ัม 15 8.87 1.125 วัตถดุิบ/คลังสินคา 5 9.20 1.924 ติดสติกเกอร 35 8.80 1.677 ซอมบํารุง 14 9.36 1.082

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.21 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกควบคุมคุณภาพ มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 9.50 รองลงมา กลุมตัวอยางที่อยูแผนกซอมบํารุง มีคาเฉลี่ยเทากับ 9.36 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกวัตถุดิบ/คลังสินคา มีคาเฉลี่ยเทากับ 9.20 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกพิมพลายสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.91 กลุมตัวอยางท่ีอยูแผนกแว็คค่ัม มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.87 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกติดสติกเกอร มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.80 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกพนสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.77 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกเครื่องฉีดพลาสติก มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.68 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกเครื่องฉีดซ้ิงค มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.38 และกลุมตัวอยางที่อยูแผนกประกอบสินคา มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยที่สุดเทากับ 8.22

Page 99: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

85

เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.977 และ Sig. = 0.041 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางท่ีมีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน ตารางที่ 4.22 แสดงการเปรยีบเทียบความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามตําแหนงงาน

ตําแหนงงาน จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ระดับพนกังาน 294 8.56 1.528 3.236* 0.041 ระดับหัวหนางาน 18 8.72 1.447 ระดับหัวหนาฝาย 10 9.80 1.619

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.22 เปรียบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานระดับหัวหนาฝาย มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 9.80 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานระดับหัวหนางาน มีคาเฉลี่ยเทากับ 8.72 และกลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานระดับพนักงาน มีคาเฉลี่ยของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานนอยที่สุดเทากับ 8.56 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 3.236 และ Sig. = 0.041 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมคีวามรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีผลตอความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน แตกตางกัน

Page 100: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

86

สมมติฐานที่ 5 ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกนั มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานที่แตกตางกัน ตารางที่ 4.23 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามเพศ

เพศ จํานวน

(N=322) X S.D. t Sig.

ชาย 44 4.55 0.369 1.292 0.197 หญิง 278 4.47 0.382

จากตารางท่ี 4.23 พบวาคาเฉลี่ยทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางเพศชายสูงกวาเพศหญิง คือมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.55 และ 4.47 ตามลําดับ เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ t-test ไดคา t = 1.292 และ Sig. = 0.197 ซึ่งแสดงวาคาเฉลี่ยทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ของกลุมตัวอยางเพศชายและเพศหญิงแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางท่ีมีเพศท่ีแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานไมแตกตางกัน

Page 101: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

87

ตารางที่ 4.24 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามอาย ุ

อายุ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

18 – 25 ป 79 4.51 0.362 1.813 0.145 26 – 35 ป 150 4.50 0.392 36 – 45 ป 90 4.42 0.377 46 ปข้ึนไป 3 4.82 0.154

จากตารางท่ี 4.24 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุ 46 ปข้ึนไป มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.82 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 18-25 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.51 กลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 26-35 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.50 และกลุมตัวอยางที่มีอายุระหวาง 36-45 ป มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.42 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.813 และ Sig. = 0.145 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 102: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

88

ตารางที่ 4.25 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามสถานภาพ

สถานภาพ จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

โสด 157 4.50 0.378 0.573 0.565 สมรส 155 4.46 0.391 หมาย/ หยาราง 10 4.45 0.251

จากตารางที่ 4.25 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพโสด มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.50 รองลงมา กลุมตัวอยางท่ีมีสถานภาพสมรส มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.46 และกลุมตัวอยางที่มีสถานภาพหมาย/หยาราง มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.45 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 0.573 และ Sig. = 0.565 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมผีลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 103: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

89

ตารางที่ 4.26 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ต่ํากวาปรญิญาตร ี 298 4.47 0.380 3.579* 0.029 ปรญิญาตร ี 19 4.66 0.329 ปรญิญาโทขึ้นไป 5 4.73 0.435

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.26 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาปริญญาโทข้ึนไป มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.73 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.66 และกลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานนอยที่สุดเทากับ 4.47 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 3.579 และ Sig. = 0.029 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน แตกตางกัน

Page 104: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

90

ตารางที่ 4.27 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามประสบการณการทํางานในฝายผลิต

ประสบการณ การทํางานในฝายผลิต

จํานวน (N=322) X S.D. F Sig.

ต่ํากวา 1 ป 44 4.44 0.416 2.485 0.061 1 – 5 ป 115 4.55 0.341 6 – 10 ป 88 4.47 0.397 มากกวา 10 ป 75 4.41 0.387

จากตารางท่ี 4.27 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 1- 5 ป มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.55 รองลงมา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตระหวาง 6-10 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.47 กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตต่ํากวา 1 ป มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.44 และกลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตมากกวา 10 ป มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานนอยที่สุดเทากับ 4.41 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 2.485 และ Sig. = 0.061 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 105: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

91

ตารางที่ 4.28 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามแผนกท่ีสังกัด

แผนกท่ีสังกดั จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

เครื่องฉีดพลาสติก 38 4.52 0.312 1.928* 0.048 เครื่องฉีดซิ้งค 48 4.48 0.449 ประกอบสินคา 99 4.37 0.415 ควบคุมคุณภาพ 10 4.69 0.308 พนสี 26 4.51 0.387 พิมพลายสี 32 4.47 0.292 แว็คค่ัม 15 4.59 0.315 วัตถดุิบ/คลังสินคา 5 4.51 0.300 ติดสติกเกอร 35 4.60 0.325 ซอมบํารุง 14 4.53 0.354

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางท่ี 4.28 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางที่อยูแผนกควบคุมคุณภาพ มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.69 รองลงมา กลุมตัวอยางที่อยูแผนกติดสติกเกอร มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.60 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกแว็คค่ัม มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.59 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกซอมบํารุง มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.53 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกเครื่องฉีดพลาสติก มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.52 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกวัตถุดิบ/คลังสินคา มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.51 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกพนสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.51 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกเครื่องฉีดซิ้งค มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.48 กลุมตัวอยางที่อยูแผนกพิมพลายสี มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.47 และกลุมตัวอยางที่อยูแผนกประกอบสินคา มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานนอยท่ีสุดเทากับ 4.37

Page 106: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

92

เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 1.928 และ Sig. = 0.048 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน แตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นั่นคือ กลุมตัวอยางที่มีแผนกที่สังกัดแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน แตกตางกัน ตารางที่ 4.29 แสดงการเปรยีบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตวัอยางจําแนกตามตําแหนงงาน

ตําแหนงงาน จํานวน

(N=322) X S.D. F Sig.

ระดับพนกังาน 294 4.47 0.383 2.662 0.071 ระดับหัวหนางาน 18 4.47 0.363 ระดับหัวหนาฝาย 10 4.75 0.263

จากตารางท่ี 4.29 เปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานแตกตางกัน พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานระดับหัวหนาฝาย มีคาเฉลี่ยของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานสูงสุด โดยมีคาเฉลี่ยเทากับ 4.75 รองลงมา กลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานระดับหัวหนางาน มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.47 เทากันกับกลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานระดับพนักงาน มีคาเฉลี่ยเทากับ 4.47 เมื่อทําการทดสอบทางสถิติดวยสถิติ F-test ไดคา F = 2.662 และ Sig. = 0.071 ซึ่งแสดงวากลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 น่ันคือ กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ไมแตกตางกัน

Page 107: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

93

สมมติฐานที่ 6 ความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทาํงาน มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางาน ตารางที่ 4.30 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน กับทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน

ตวัแปร สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ Sig.

ความรูกับทัศนคติ 0.185* 0.001

*มีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05

จากตารางที่ 4.30 แสดงความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทาํงาน กับทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยาง เมื่อทําการทดสอบทางสถิติไดคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ = 0.185 และ Sig. = 0.001 ซึ่งแสดงวาความรูเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางาน กับทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 นั่นคือ ความรูเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางาน มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน

Page 108: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

94

ตารางที่ 4.31 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานทางการวจิยั

สมมติฐานทางการวิจยั Reject H0 Accept H0

สมมติฐานท่ี 1 ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกนั มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานที่แตกตางกัน

- เพศ - อาย ุ - สถานภาพ - ระดับการศกึษา - ประสบการณการทํางานในฝายผลิต - แผนกที่สังกดั - ตําแหนงงาน

สมมติฐานท่ี 2 ความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน

สมมติฐานท่ี 3 ทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางาน มีผล

ตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกันตนเองจากการทํางาน

Page 109: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

95

ตารางที่ 4.31 (ตอ) สมมติฐานท่ี 4 ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกนั มีผลตอความรูเกีย่วกับ

ความปลอดภยัในการทํางาน

- เพศ - อาย ุ - สถานภาพ - ระดับการศกึษา - ประสบการณการทํางานในฝายผลิต - แผนกที่สังกดั - ตําแหนงงาน

สมมติฐานท่ี 5 ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกนั มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานทีแ่ตกตางกัน

- เพศ - อาย ุ - สถานภาพ - ระดับการศกึษา - ประสบการณการทํางานในฝายผลิต - แผนกที่สังกดั - ตําแหนงงาน

สมมติฐานท่ี 6 ความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางาน

Page 110: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บทท่ี 5

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและขอเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ศึกษาปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมการทํางานท่ีไมปลอดภัยจําแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณการทํางานในฝายผลิต แผนกในฝายผลิตท่ีสังกัด และตําแหนงงานในปจจุบัน ศึกษาทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานและศึกษาความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ของพนักงานฝายผลิต โรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด กลุมตัวอยางที่ใชคือ พนักงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด จํานวน 322 คน แบงเปนพนักงานระดับฝาย จํานวน 10 คน พนักงานระดับหัวหนางาน จํานวน 18 คน และ ระดับพนักงาน จํานวน 294 คน ใชวิธีการสุมตัวอยางแบบงาย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครัง้นี้ คือ แบบสอบถาม ซ่ึงประกอบดวย สวนที่ 1 แบบสอบถามขอมูลทั่วไป ประกอบดวยขอคําถามดาน เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ประสบการณในการทํางานฝายผลิต ลักษณะงาน และตําแหนงงาน สวนท่ี 2 แบบสอบถามดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน นําแบบมาจากแบบวัดของ พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ (2550) ซ่ึงดัดแปลงจากแบบงานที่ปฏิบัติ ดานความสัมพันธระหวางพนักงานท่ีมีสวนรวม ดานอาชีวอนามัยมความปลอดภัยและแวดลอมในการทํางาน ซ่ึงประกอบไปดวยขอคําถามทั้งหมด 20 ขอ เปนแบบ Likert Scale 5 ระดับ สวนที่ 3 แบบสอบถามดานทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานใชวัดความตระหนัก ความเช่ือม่ันที่จะยอมรับเปาหมาย การปองกันอันตรายจากการทํางาน ซ่ึงประกอบไปดวยขอคําถามท้ังหมด 15 ขอ เปนแบบ Likert Scale 5 ระดับ สวนท่ี 4 แบบสอบถามดานความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน ใชวัดความรูดานความปลอดภัยในการทํางานที่เปนความรูพื้นฐาน มาตรฐานแรงงาน ประกอบดวยขอคําถามจํานวน 12 ขอ เปนแบบเลือกตอบ (Multiple Choices) สวนที่ 5 ความคิดเห็น และ ขอเสนอแนะ เปนแบบสอบถามปลายเปด ที่ใหโอกาสผูตอบแบบสอบถามไดแสดงความคิดเห็น

Page 111: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

97

สําหรับแบบสอบถามท่ีสรางข้ึนน้ัน อาจารยที่ปรกึษาสารนิพนธ ไดตรวจสอบความถกูตองความครอบคลมุของเนื้อหา และภาษาที่ใช ซ่ึงหลังจากปรับปรุงแกไขแลว ไดนําไปทดลองใชกบัลูกจางของบรษิัทกลุมตัวอยางสวนหนึ่ง แลวนํามาวิเคราะหหาคาความเช่ือม่ัน (Reliability) ของแบบสอบถามดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน ซ่ึงไดคาความเช่ือม่ันเทากับ 0.8004 และแบบสอบถามดานทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจาการทํางาน ซ่ึงไดคาความเช่ือม่ันเทากับ 0.8748 หลังจากน้ันผูวจิัยไดจัดสงแบบสอบถามใหกับกลุมตัวอยาง คือ พนักงานในฝายผลิตโรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด และรวบรวมแบบสอบถาม พรอมทั้งตรวจสอบความเรยีบรอยจนครบ 322 ฉบับ และนํามาวิเคราะหทางสถิติดวยคอมพิวเตอรโปรแกรม SPSS for Windows

5.1 สรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล 1. ขอมูลทั่วไปของพนักงานในฝายผลิตโรงงานบริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด ท่ีเปนกลุมตัวอยาง พบวา เปนเพศหญิง รอยละ 86.3 เพศชาย รอยละ 13.7 กลุมตัวอยางสวนใหญมีอายุระหวาง 26-35 ป คิดเปนรอยละ 46.6 สวนใหญมีสถานภาพโสด คิดเปนรอยละ 48.8 สวนใหญจบการศึกษาระดับตํ่ากวาปริญญาตรี คิดเปนรอยละ 92.5 สวนใหญมีประสบการณการทํางานในฝายผลิต ระหวาง 1-5 ป คิดเปนรอยละ 35.7 สวนใหญอยูแผนกประกอบสินคา คิดเปนรอยละ 30.7 และสวนใหญมีตําแหนงระดับพนักงาน คิดเปนรอยละ 91.3 2. ผลการวิจัยระดับของพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกนัตนเองจากการทํางานโดยรวม อยูในระดับสูง ซ่ึงไมสอดคลองกับงานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 80) ท่ีพบวา กลุมตัวอยางมีพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานอยูในระดับปานกลาง จากผลการศึกษาครั้งนี้ อาจเปนเพราะวาพนักงานสวนใหญพรอมจะใหความรวมมือในการมีสวนรวมทํากิจกรรมเพื่อความปลอดภัยทุกๆกิจกรรม รวมถึงมีการแตงกายดวยเส้ือผาที่เหมาะสมตอการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังพบวาพนักงานมีการจัดวางอุปกรณไวอยางเปนระเบียบหลังจากปฏิบัติงานเสร็จแลว พนักงานหยุดเครื่องจักรทุกครั้งที่มีการซอมแซมหรือทําความสะอาด พนักงานสวมถุงมือกอนหยิบวัตถุท่ีมีอันตรายเสมอ พนักงานใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล

Page 112: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

98

ในขณะปฏิบัติงาน พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบขอบังคับในการทํางานอยางเครงครัด และพนักงานดูแลใหบริเวณที่ทํางานของตนเองใหสะอาดและเปนระเบียบอยูตลอดเวลา ซ่ึงแสดงใหเห็นวา พนักงานฝายผลิตของบริษัทแมทเทลมีจิตสํานึกและพฤติกรรมในการทํางานอยางปลอดภัยอยูตลอดเวลา 3. ผลการวิจัยระดับของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานโดยรวมอยูในระดบัสูง สอดคลองกับ งานวิจยัของ (พูนลาภ สุนทรววิัฒนาการ, 2550: 78) ท่ีพบวา กลุมตัวอยางมีทัศนคตติอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานในระดับสูง จากผลการศึกษาครั้งนี ้ อธิบายไดวาพนักงานมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการปองกนัอันตรายในการทํางาน เพราะเห็นวาการมีสภาพการทํางานท่ีมีความปลอดภัย เปนส่ิงที่มีความสําคัญอยางมาก เพราะนอกจากจะเปนการปองกนัอุบัติเหตุแลว ยังเปนการสรางขวญัและกําลังใจใหกับพนักงานผูปฏบิัติงานอีกดวย 4. ผลการวิจัยระดับความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน พบวา กลุมตัวอยางสวนใหญมีความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน อยูในระดับสูง สอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 75) ที่พบวา กลุมตัวอยางมีความรูตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานในระดับสูง รวมทั้งงานวิจัยของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 44) ที่พบวา ความรูเกี่ยวกับสภาพแวดลอมในการทํางาน ความรูเกี่ยวกับการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล และความรูเกี่ยวกับกฎและนโยบายความปลอดภัย สวนใหญมีความรูอยูในระดับสูง จากผลการศึกษาครั้งนี้ อธิบายไดวาพนักงานไดรับการฝกอบรมและเสริมสรางความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน กอนเขาทํางาน จึงทําใหพนักงานมีความรูอยูในระดับสูง 5. ผลการศึกษาเปรยีบเทียบพฤติกรรมการปฏิบติังานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของกลุมตัวอยาง ที่มีลักษณะสวนบุคคลแตกตางกัน พบวา 5.1 กลุมตัวอยางที่มีเพศแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางเพศชายกับกลุมตัวอยางเพศหญิง มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนยัสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แสดงใหเห็นวา

Page 113: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

99

พนักงานใหความสําคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทํางานและปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอยูเสมอ ทําใหพนักงานท่ีมีเพศตางกันมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 5.2 กลุมตัวอยางท่ีมีอายุแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แสดงใหเห็นวาพนักงานใหความสําคัญในเร่ืองความปลอดภัยในการทํางานและปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอยูเสมอไมวาจะมีอายุอยูในระดับใด ทําใหพนักงานที่มีอายุตางกันมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 5.3 กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แสดงใหเห็นวาพนักงานใหความสําคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทํางานและปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอยูเสมอ ทําใหพนักงานที่มีสถานภาพตางกันมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 5.4 กลุมตัวอยางท่ีมีระดับการศึกษาแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แสดงใหเห็นวาพนักงานใหความสําคัญในเรื่องความปลอดภัยในการทํางานและปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานอยูเสมอ ทําใหพนักงานที่มีระดับการศึกษาตางกันมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 5.5 กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกัน จากการวิจัย พบวา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงอธิบายไดวา ประสบการณมีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงาน เพราะผูมีประสบการณจะทราบถึงวิธีปองกันอันตรายจากการทํางานไดมากกวา เพราะเคยทํางานมากอนพนักงานใหม อีกทั้งอาจจะรูถึงอันตรายจากการทํางานที่เส่ียงมากกวา จึงพยายามทําพฤติกรรมการ

Page 114: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

100

ทํางานที่มีความปลอดภัยมากกวา จึงกลาวไดวาประสบการณที่แตกตางกัน ทําใหพนักงานมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน 5.6 กลุมตัวอยางท่ีมีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีแผนกท่ีสังกัดแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แสดงใหเห็นวาพนักงานในแตละแผนกไดรับการอบรมส่ังสอนและใหปฏิบัติงานอยางปลอดภัยตามที่กฎระเบียบของบริษัทกําหนดไว ดังนั้นพนักงานแตละแผนกจึงมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 5.7 กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ท้ังนี้อาจเกิดจากกลุมตัวอยางสวนใหญเปนระดับพนักงานจึงมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานท่ีไมแตกตางกัน หรือกลาวไดวาพนักงานในแตละระดับไดเรียนรูและมีแรงจูงใจท่ีเหมือนๆ กันคือ ระดับหัวหนางานหรือระดับหัวหนาฝายมักตองการการยอมรับจากสังคม ตองการเช่ือเสียงมากข้ึน ในขณะที่ระดับพนักงานตองการรางวัล เบ้ียขยัน หรือคํายกยองชมเชย ในการปฏิบัติงานไดอยางปลอดภัย จึงมีพฤติกรรมไมแตกตางกัน 6. ผลการศึกษาเปรยีบเทียบความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานของกลุมตวัอยาง ที่มีลักษณะสวนบุคคลแตกตางกนั พบวา 6.1 กลุมตัวอยางท่ีมีเพศแตกตางกัน จากการวิจยั พบวา กลุมตัวอยางเพศชายกับกลุมตัวอยางเพศหญิงมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจยั และสอดคลองกับงานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 100) ที่พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีเพศ แตกตางกันมีความรูเรื่องการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถติิที่ระดับ 0.05 แตไมสอดคลองกับงานวจัิยของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 46) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกันไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานที่มีตอการนาํระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งน้ีอาจเปนเพราะวากลุมตัวอยางเพศชายมีพ้ืนฐานความสนใจและมีทักษะเกีย่วกับการทํางานมากกวาเพศหญิง จึงทําใหพบวามีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกนั 6.2 กลุมตัวอยางท่ีมีอายุแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวากลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติทีร่ะดับ 0.05 ซ่ึง

Page 115: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

101

ไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงสอดคลองกับงานวจิัยของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 47) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลที่แตกตางกนัไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานที่มีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภยัมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม แตไมสอดคลองกับงานวจิัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 89) ที่พบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุ แตกตางกันมีความรูเรื่องการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังแตกตางกัน อยางมีนยัสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ทั้งน้ีอาจเนื่องจากพนักงานในแตละชวงอายไุดรับการสอนงานและการฝกอบรมเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางานเทาเทียมกนั ทําใหมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานไมแตกตางกัน 6.3 กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงสอดคลองกับงานวจัิยของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 45) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกันไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม 6.4 กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกัน จากการวจิัย พบวา กลุมตัวอยางทีมี่ระดับการศึกษาแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนยัสําคัญทางสถิติท่ีระดบั 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงสอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 82) ที่พบวา กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษา แตกตางกันมีความรูเรื่องการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถติิที่ระดับ 0.05 แตไมสอดคลองกับงานวิจยัของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 63) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกันไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภยัมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม ท้ังนี้อาจเปนเพราะพนักงานท่ีจบการศึกษาในระดบัที่แตกตางกัน ไดรบัการเรยีนการสอนท่ีแตกตางกันไปดวย ทําใหมีประสบการณในการศึกษาที่แตกตางกัน อันมีผลทําใหพนักงานที่จบการศึกษาในระดับท่ีแตกตางกันมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกนั ซ่ึงจากผลการศึกษาพบวาพนักงานที่มีการศึกษาสูงกวาจะมีความรูมากกวาพนักงานที่มีการศึกษาต่ํากวา 6.5 กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลติแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกนัมีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติทีร่ะดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวจัิย ซ่ึงสอดคลองกับงานวจิัยของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 45) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกนัไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใชในโรงงาน

Page 116: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

102

อุตสาหกรรม ทั้งน้ีอาจเปนเพราะพนักงานสวนใหญมีประสบการณในการทํางานใกลเคียงกัน ทําใหไดรับการฝกอบรมและทดสอบความรูความเขาใจเกี่ยวกบัการทํางานอยางปลอดภยัไมแตกตางกัน จึงทําใหมีความรูไมแตกตางกัน 6.6 กลุมตัวอยางท่ีมีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน จากการวิจัย พบวา กลุมตัวอยางที่มีแผนกท่ีสังกัดแตกตางกันมีความรูเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวจัิย ซ่ึงอาจเกิดจากแตละแผนกมคีวามอันตรายในการทํางานที่ไมเหมือนกัน เชนกลุมที่อยูแผนกที่มีเครื่องจักรใชในการผลิตกจ็ะมีความเส่ียงในการทํางานมากกวา สวนกลุมที่อยูแผนกอืน่ๆ เชนแผนกตดิสติกเกอรอาจจะมีความเส่ียงในการทํางานนอยกวา ดังนั้นกลุมท่ีมีความเส่ียงมากกวาอาจไดรับการอบรมความรูในการปองกันอันตรายในการทํางานมากกวา จึงทําใหมีความรูมากกวา 6.7 กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกัน จากการวจัิย พบวา กลุมตัวอยางที่มีตําแหนงงานแตกตางกันมีความรูเกีย่วกับความปลอดภยัในการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวจิัย ซ่ึงสอดคลองกับงานวจัิยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 84) ที่พบวา กลุมตวัอยางที่มีตําแหนงงาน แตกตางกันมีความรูเรือ่งการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดบั 0.05 แตไมสอดคลองกับงานวิจยัของ (อนุเทพ คําปญญา, 2550: 61) ที่พบวา ปจจัยสวนบุคคลท่ีแตกตางกันไมมีผลตอระดับความรูของพนักงานท่ีมีตอการนําระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภยัมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม ท้ังนี้อาจเปนเพราะพนักงานท่ีมีตําแหนงเปนหัวหนาฝายและหัวหนางาน มีหนาที่ความรับผิดชอบสูงกวากลุมที่เปนพนักงาน อีกท้ังตองเปนผูที่ถายทอดความรูดานความปลอดภัยใหกับพนักงาน และมีหนาท่ีในการดําเนินการจัดการควบคุมการปฏิบติังานของพนักงานใหเกิดความปลอดภัยตลอดเวลา จึงสงผลใหพนักงานที่มีตําแหนงเปนหัวหนามีความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางานแตกตางกนักับกลุมท่ีเปนพนกังาน โดยพนกังานที่มีตําแหนงหัวหนาจะมีความรูสูงกวากลุมที่มีตําแหนงเปนพนักงาน 7. ผลการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานของกลุมตัวอยาง ที่มีลักษณะสวนบุคคลแตกตางกัน พบวา 7.1 กลุมตัวอยางที่มีเพศแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางเพศชายกบักลุมตัวอยางเพศหญิงมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงสอดคลองกับ งานวิจยัของ (พูนลาภ สุนทร

Page 117: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

103

วิวัฒนาการ, 2550: 87) ที่พบวา เพศ ไมกอใหเกิดทัศนคติแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งน้ีอาจเปนเพราะวากลุมตัวอยางที่ศึกษาสวนใหญเปนเพศหญิงถงึรอยละ 86.3 จึงมีความคิดเห็นที่ไมแตกตางกัน รวมถึงพนักงานไดรบัขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายและไดรับการฝกอบรมเกีย่วกับการปฏิบัติตนใหปลอดภยัจากการทํางานเหมือนๆ กันทัง้ชายและหญิง ทําใหมีทัศนคติที่ไมแตกตางกัน 7.2 กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีอายุแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย แตไมสอดคลองกับงานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 88) ที่พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีอายแุตกตางกันมีทัศนคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 จากผลการศึกษาครั้งนี ้อธิบายไดวาพนักงานไดรับขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายและไดรับการฝกอบรมเกีย่วกับการปฏิบัติตนใหปลอดภยัจากการทํางานเหมือนๆ กัน ทําใหมีทัศนคติที่ไมแตกตางกนั 7.3 กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางที่มีสถานภาพแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดบั 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจยั จากผลการศึกษาครั้งนี้ อธบิายไดวาพนักงานไดรับขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายและไดรับการฝกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนใหปลอดภัยจากการทํางานเหมือนๆ กนั ทําใหมีทัศนคติที่ไมแตกตางกัน 7.4 กลุมตัวอยางที่มีระดับการศึกษาแตกตางกัน จากการวจิัย พบวา กลุมตัวอยางทีมี่ระดับการศึกษาแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวจัิย ซ่ึงไมสอดคลองกับงานวจัิยของ (พูนลาภ สุนทรววิัฒนาการ, 2550: 88) ที่พบวา ระดับการศึกษาไมกอใหเกิดทัศนคติแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ จากผลการศกึษาครั้งน้ี พบวากลุมท่ีมีการศึกษาระดับปรญิญาตรีและปรญิญาโทข้ึนไป มีทัศนคติในระดับสูงกวากลุมท่ีมีการศึกษาตํ่ากวาปรญิญาตร ี ทั้งนี้อาจเพราะวาพนักงานที่มีการศึกษาระดบัสูงกวา ไดรบัการศึกษาในหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยมากกวา โดยมีการศึกษาถึงความปลอดภยัในการทํางานที่ลึกซ้ึงมากกวา จึงทําใหพนักงานที่มีการศึกษาในระดับสูงๆ ตระหนักถึงความสําคัญของปญหาความปลอดภัยในการทํางานมากกวา จึงกลาวไดวาการมีความรูเรือ่งความปลอดภัยในการทํางาน จะชวยใหเกิดทัศนคติในการทํางานอยางปลอดภัยมากกวา และชวยใหลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทํางานไดในระดับหน่ึง

Page 118: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

104

7.5 กลุมตัวอยางที่มีประสบการณการทํางานในฝายผลติแตกตางกัน จากการวิจัย ไมพบวา กลุมตัวอยางท่ีมีประสบการณการทํางานในฝายผลิตแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวิจยั ซ่ึงไมสอดคลองกบั งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 89) ที่พบวา กลุมตัวอยางท่ีมีอายุงาน แตกตางกันมีทศันคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถติิ 0.05 อาจกลาวไดวาพนกังานแตละคนมีความเขาใจถงึความสําคัญของการปองกันอันตรายจากการทํางานเหมือนกัน จึงมีทัศนคติไมแตกตางกัน 7.6 กลุมตัวอยางท่ีมีแผนกที่สังกัดแตกตางกัน จากการวิจัย พบวา กลุมตัวอยางที่มีแผนกท่ีสังกัดแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนยัสําคัญทางสถิติท่ีระดบั 0.05 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ทั้งน้ีอาจกลาวไดวาแตละแผนกอาจมีคานิยมในการทํางานที่แตกตางกันหรือไดรับการอบรมส่ังสอนจากหัวหนาแผนกหรือมีการส่ือสารกันในแตละแผนกระหวางเพ่ือนรวมงานผานกนัมาในแตละกลุมท่ีแตกตางกัน จึงทําใหมีทัศนคติในเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานที่แตกตางกนัไปดวย 7.7 กลุมตัวอยางท่ีมีตําแหนงงานแตกตางกัน จากการวจัิย ไมพบวา กลุมตัวอยางทีมี่ตําแหนงงานแตกตางกันมีทัศนคติเรื่องการปองกนัอันตรายจากการทํางานแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดบั 0.05 ซ่ึงไมเปนไปตามสมมติฐานการวจิัย ซ่ึงสอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 84) ท่ีพบวา ตําแหนงงาน ไมกอใหเกิดทัศนคติแตกตางกนัอยางมีนยัสําคัญทางสถิติ อาจกลาวไดวาพนักงานแตละระดับตําแหนงมีความเขาใจถึงความสําคัญของการปองกันอันตรายจากการทํางานเหมือนกัน จึงมีทัศนคติไมแตกตางกัน 8. ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทาํงาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกนัตนเองจากการทํางาน จากการวิจัย พบวา ความรูเกีย่วกับความปลอดภัยในการทํางาน กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางานมีความสัมพันธกนัอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 และพบวาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภยัในการปองกนัตนเองจากการทํางาน เทากับ 0.167 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวจิัย ซ่ึงไมสอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรววิัฒนาการ, 2550: 94) ท่ีพบวา ไมพบวาความรูกับพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางาน มีความสัมพันธกนัอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดบั 0.05 จากผลการศึกษาที่ไดอธิบายไดวาเม่ือ

Page 119: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

105

พนักงานมีความรูความเขาใจเกี่ยวกับการทาํงานอยางปลอดภัย รวมถึงอันตรายจากการทํางานที่เส่ียงแลว ยอมมีผลใหพนักงานปฏิบัติงานเพื่อใหตนเองปลอดภัยในการทํางานมากข้ึน เพราะไดรบัรูถึงอันตรายจากการกระทําท่ีไมปลอดภัย จึงกลาวไดวาความรูมีผลตอพฤติกรรมกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกนัตนเองจากการทํางาน 9. ทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน จากการวิจัย พบวา ทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบวาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธของทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน เทากับ 0.350 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงสอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 95) ที่พบวา ทัศนคติกับพฤติกรรมการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางานมีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05ผลการศึกษาครั้งนี้อธิบายไดวาพฤติกรรมตางๆ ที่พนักงานแสดงออกนั้นเปนผลพวงมาจากคานิยมของพนักงานที่ทําใหเกิดทัศนคติหรือเจตคติวาสมควรแกการประพฤติปฏิบัติเปนพฤติกรรมตอไป (ทฤษฎี คานิยม – ทัศนคติ – พฤติกรรม ,Value-Attitude-Behavior Theory) ดังน้ันจึงอาจกลาวไดวา ทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีผลตอพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานของพนักงาน 10. ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน จากการวิจัย พบวา ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน กับทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน มีความสัมพันธกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 และพบวาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธของความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน กับทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางาน เทากับ 0.185 ซ่ึงเปนไปตามสมมติฐานการวิจัย ซ่ึงไมสอดคลองกับ งานวิจัยของ (พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ, 2550: 93) ที่พบวา ไมพบวาความรูกับทัศนคติตอการปองกันโรคประสาทหูเส่ือมจากเสียงดังจากการทํางาน มีความสัมพันธ กันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ 0.05 ซ่ึงจากการวิจัยอาจกลาวไดวา การเรียนรูมีผลตอทัศนคติ เพราะถาพนักงานไดรับการเรียนรูและฝกอบรมจนทําใหเกิดความเขาใจถึงความสําคัญของการปองกันอันตรายจากการทํางานแลว พนักงานก็

Page 120: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

106

จะมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานและใหความรวมมือในการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของบริษัทท่ีวางไว 11. สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับขอเสนอแนะที่พนักงานตองการใหบริษัทปรับปรุงหรือเสริมสรางกิจกรรมดานพฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน จากแบบสอบถามปลายเปดของผูตอบแบบสอบถาม จาํนวน 322 ราย มีผูแสดงความคิดเห็นจํานวน 125 ราย คิดเปน รอยละ 38.8 ของผูตอบแบบสอบถามท้ังหมด โดยสามารถสรุปประเดน็ความคิดเห็น ไดดังน้ี 1.) ควรจัดอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทํางาน โดยพนกังาน รอยละ 24.0 เห็นวาบรษิัทควรจัดการฝกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทํางานอยางตอเน่ือง เพราะจะชวยใหพนักงานมีความรูความเขาใจกอนปฏิบัติงาน รวมถึงควรจัดอบรมใหพนักงานที่มีความเส่ียงที่จะเกิดอุบัติเหตุมากกวาเปนประจําอยางตอเน่ือง เพื่อใหเกิดจิตสํานึกในการทํางานอยางปลอดภยัมากข้ึน 2.) ควรจัดสถานที่ทํางานใหปลอดภัย และมีบรรยากาศนาทํางาน โดยพนักงาน รอยละ 20.8 เห็นวา บริษัทควรจัดสถานท่ีทํางานใหมีอากาศถายเท แสงสวางเพียงพอ รวมถึงควรปรับปรุงเรื่องการระบายอากาศ และความรอนในท่ีทํางาน ควรเพิ่มจํานวนพัดลม เพื่อชวยระบายอากาศรอน เพราะมีผลตอการทํางาน 3.) ควรจดัใหมีอุปกรณท่ีใชในการทํางานอยางเพียงพอและปลอดภยั โดยพนักงาน รอยละ 11.2 เห็นวา บริษัทควรจัดใหมีเครื่องมือหรืออุปกรณในการทํางานใหครบทุกคน เพื่อทํางานไดเร็วข้ึน รวมถึงควรมกีารสํารวจความตองการใชเครื่องมืออุปกรณอยูเปนประจํา 4.) ควรมีการกําหนดกฎระเบียบและขอบังคับในการทํางานอยางปลอดภัย โดยพนักงาน รอยละ 11.2 เห็นวา บริษัทควรออกกฎระเบียบและขอบงัคับใหพนักงานปฏิบัติงานดวยความปลอดภัย รวมถึงควบคุมใหพนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบอยางเครงครดั 5.) ควรจดักิจกรรมดานความปลอดภัย รวมถึงจัดนิทรรศการความปลอดภัย โดยพนักงาน รอยละ 8.8 เห็นวา บรษัิทควรจัดนิทรรศการเรื่องความปลอดภัยเพือ่ใหพนักงานไดรับความรู และปฏิบัติงานดวยความปลอดภัยมากข้ึน รวมถึงเชิญผูประกอบการดานความปลอดภัยมาใหความรูกับพนักงาน 6.) ผูบริหารควรเห็นความสําคัญของความปลอดภัยในการทํางาน รวมถึงหัวหนางานควรเปนตัวอยางทีด่ีใหกับลูกนอง โดยพนกังาน รอยละ 8.8 ตองการเห็นผูบริหารเห็นความสําคัญเรื่องความ

Page 121: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

107

ปลอดภัยเปนอันดับแรก โดยผานหัวหนางานนํามาส่ือสารตอกับลูกนองเพือ่สรางจิตสํานกึในการทํางาน รวมถงึอยากใหผูบรหิารและหัวหนางานปฏิบติัตัวใหเปนแบบอยางท่ีดีในการทํางานดวย 7.) ควรจดัใหมีมาตรการดานความปลอดภัย โดยพนักงาน รอยละ 4.0 เห็นวาบริษัทควรมีมาตรการปองกันเกดิอุบัติเหตุ และควรมกีารตรวจสุขภาพพนักงานทีมี่ความเส่ียงในการทํางานเพิ่มเติม รวมถึงรณรงคใหพนักงานชวยสอดสองดแูลบริเวณท่ีทํางาน หากพบเห็นส่ิงใดท่ีอาจกอใหเกดิอุบัติเหตุใหแจงเจาหนาที่ ที่รับผิดชอบทันที 8.) ควรปลกุจิตสํานึกใหกับพนักงานคํานึงถึงความปลอดภัยในการทํางาน รอยละ 3.2 เห็นวาบริษัทควรกระตุนใหพนักงานเห็นถึงความสําคัญของการปองกนัอุบัติเหตุการทํางาน และกระตุนพนักงานใหเห็นถึงความสําคัญและปฏิบัติตาม เพื่อปองกนัอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดข้ึนไดตลอดเวลา 9.) รอยละ 3.2 เห็นวาบรษิทัควรมกีารตรวจสอบเครื่องจักรใหมีความพรอมในการทํางานอยางมีประสิทธิภาพ 10.) ควรจดัใหมีเจาหนาที่หรือหนวยงานที่ดูแลเรื่องความปลอดภยัในการทํางานโดยเฉพาะ โดยพนกังาน รอยละ 2.4 เห็นวาบริษัทควรกําหนดใหมีเจาหนาท่ีมาตรวจสอบการทํางานที่หนางาน เพ่ือทราบถึงปญหาที่แทจริง รวมถึงควรมีการติดตามวาพนักงานมีการทาํกิจกรรมเก่ียวกับความปลอดภัยอยางตอเน่ือง เพ่ือใหเกิดประสิทธิภาพในการทํางานอยางสูงสุด 11.) ควรจัดใหมีปายแสดงสถิติของอุบัติเหตุที่เกิดข้ึน โดยพนกังาน รอยละ 2.4 เห็นวาบริษัทควรจัดใหมีปายแสดงสถติิของอุบัติเหตุ เพ่ือเปนเครื่องเตือนใจพนักงานใหระมัดระวังการทํางานมากข้ึน รวมถึงควรติดประกาศใหพนักงานทราบเม่ือมีอุบัติเหตุเกิดข้ึน พรอมทั้งแจงถึงสาเหตุตลอดจนวธิีปองกันไมใหเกิดอุบัติเหตุน้ันอีก เพ่ือเตือนสติพนักงานทุกคน 12) พนักงาน รอยละ 2.4 เห็นวาบริษทัควรมีการกําหนดบทลงโทษสําหรับพนักงานที่ไมปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท เพือ่ใหพนักงานต้ังใจทํางานโดยยึดหลักความปลอดภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

Page 122: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

108

5.2 ขอเสนอแนะ 5.2.1 ขอเสนอแนะที่ไดจากผลการวจิัย จากผลการวิจัยสรุปไดวา พนักงานสวนใหญมีพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางานในระดับสูง มีทัศนคติเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานอยูในระดับสูง และมีความรูเรื่องการปองกันอันตรายจากการทํางานอยูในระดับสูง ดังน้ันเพ่ือพนักงานไดตระหนกัถึงความปลอดภยัในการทํางานมากย่ิงข้ึน ควรพิจารณาดําเนินการดังนี้ 1.) บรษิัทควรจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพรประชาสัมพนัธสรางสรรคความรูความเขาใจเกี่ยวกบัความปลอดภยัในการทํางานเพ่ิมเติม โดยจัดในรูปแบบของการจดันิทรรศการท่ีประกอบดวยเรื่องราวและแผนภาพตางๆ รูปแบบลักษณะควรใชขอความท่ีกะทัดรัด และประกอบดวยสีสันที่ดึงดูดใจ เพื่อจูงใจใหพนักงานเขาไปรวมกจิกรรมมากข้ึน 2.) ควรมีการเชิญวิทยากรผูทรงคุณวุฒิดานความปลอดภัยในการทํางานมาบรรยายในสถานประกอบการ เพื่อใหพนักงานเห็นถึงประโยชนตอการทํางาน หรือใหวทิยากรชวยแนะนําตักเตือนพนักงานใหระมัดระวัง ทํางานดวยความมสีติ ไมประมาท และปฏิบติัตามกฎของความปลอดภัย ซ่ึงบางครั้งหัวหนางานอาจจะไดแนะนําตักเตือนอยูแลวแตพนักงานชินชาและไมคอยใหความสนใจ การเชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยายจึงเปนวธิีการหน่ึงท่ีชวยแกไขปญหาเรื่องดังกลาว 3.) ควรจัดใหมีการประกวดคําขวัญเกี่ยวกบัความปลอดภัยในการทํางาน ซ่ึงเปนกิจกรรมหน่ึงท่ีจะชวยรณรงคสงเสริมความปลอดภัยในโรงงาน เพราะเปนกิจกรรมท่ีเปดโอกาสใหพนักงานไดมีสวนรวมในการรณรงคเรื่องความปลอดภยั รวมถึงเปนการเตือนใจเพ่ือนรวมงาน ใหมีความระมัดระวัง และมีสติในขณะปฏิบัติงาน ขณะเดียวกนัก็เปนการพฒันาจิตสํานึกและทัศนคติของตัวพนกังานเองใหไดคิด ใครครวญ และทบทวนถึงวธิีการปฏิบัติงานของตนเองวาถูกหรือผดิอยางไร แลวกลั่นกรองออกมาเปนขอความ หรือคําขวัญทีเ่ปนการเตือนการใหระมัดระวัง ตลอดจนวิธีปฏิบัติตนอยางปลอดภัย 4.) ควรมีการจัดทําปายแสดงสถิติอุบัติเหตุภายในสถานประกอบการ โดยมีขนาดใหญและติดต้ังในจุดทีพ่นักงานทกุคนเห็นไดชัดเจน เชน บริเวณดานหนาของโรงงาน เปนตน ซ่ึงจะมีผลทางดานจิตวิทยา และความรวมมือของพนักงานที่ทุกคนจะมีสวนชวยกันไมใหตัวเลขสถิตินี้เพิ่มข้ึน และรูวาเปาหมายของสถานประกอบการตองการใหช่ัวโมงการทํางานที่ปราศจากอุบัติเหตุน้ันจํานวนเทาใด

Page 123: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

109

5.) ควรจัดใหมีปายประกาศกิจกรรม เรื่องราวหรือบทความเกี่ยวกับความปลอดภัย อาจติดต้ังหนาโรงงานทุกหลัง หรือเฉพาะบริเวณท่ีติดประกาศรวมของสถานประกอบการ หรือบริเวณท่ีพนักงานชุมนุมกันมาก เชน บรเิวณโรงอาหาร เปนตน เพื่อเปนกรณีศึกษา และเตือนสติพนักงานทุกคนใหตระหนกั ถึงอันตรายอาจท่ีเกิดข้ึนจากการทํางาน 6.) ควรมีการนําระบบบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหมมาใชกับองคกร เพื่อใหสามารถวิเคราะหหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียไดอยางมีประสิทธิภาพ ซ่ึงสวนใหญเกิดจากความบกพรองในดานการจัดการระบบ การควบคุมการดําเนินงาน และการละเลยเอาใจใสกับเหตุเล็กๆ นอยๆ ซ่ึงเปนตนเหตุสําคัญที่ทําใหเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียได 7.) ควรเพิ่มบทลงโทษสําหรับผูทําผิดกฎระเบียบความปลอดภัยของบริษัท เพ่ือใหพนักงานเกิดความกลัวและไมกระทําผิดซํ้าอีก เพราะในทางปฏิบัติ พนักงานบางคนยังมีพฤติกรรมเส่ียง เชน ใชอุปกรณปองกันสวนบุคคลอยางไมเหมาะสม การไมสวมใสอุปกรณปองกันความปลอดภัยในขณะปฏิบัติงาน การจัดเก็บและบํารุงรักษาอุปกรณความปลอดภัยสวนบุคคลไมดีพอ ซ่ึงโดยปกติพบวาพนักงานจะปฏิบัติอยางถูกตองก็ตอเม่ือมีหัวหนาคุมอยูเทานั้น

8.) ควรปรับปรุงในเรื่องการฝกอบรมใหเหมาะสมกับพนักงานทุกระดับ เชน ความปลอดภัยตามกฎความปลอดภัยของหนวยงาน การสอบสวนอุบัติเหตุ / อุบัติการณ การประชุมกลุม การควบคุมสุขภาพ การอบรมผูบริหาร การใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล การใชแผนฉุกเฉินและ ภาวะผูนําที่มีผลตอการจัดการดานความปลอดภัย เปนตน เพราะการฝกอบรมจะชวยพฒันาพนักงานและชวยใหเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและมีจิตสํานึกในเรื่องความปลอดภัยมากข้ึน เพ่ือปองกันไมใหเกิดอุบัติเหตุข้ึน 9.) บริษัทฯควรจัดหนวยงานรับผิดชอบดานความปลอดภัยที่มีผูปฏิบัติงานดานความปลอดภัยเต็มเวลา เพื่อใหสามารถตอบสนองเรื่องความปลอดภัยไดรวดเร็วย่ิงข้ึน

Page 124: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

110

5.2.2 ขอเสนอแนะในการวิจยัครั้งตอไป 1.) ควรทําการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุท่ีทําใหเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน และแนวทางในการปองกันแกไขท่ีเปนไปไดและสามารถทําได 2.) ควรทําการศึกษาเกี่ยวกับระบบการรักษาความปลอดภัยในโรงงานที่ไดมาตรฐาน หรือศึกษาเปรียบเทียบกับบริษัทท่ีมีระบบความปลอดภัยในการทํางานระดับสูง 3.) ควรทําการศึกษาความตองการและความพึงพอใจของพนักงานที่มีตอระบบการรักษาความปลอดภัยในการทํางาน เชน การฝกอบรมประจําป การนําเทคโนโลยีใหมๆ เขามาใชในการทํางาน และการควบคุมการทํางานที่ไดมาตรฐาน

Page 125: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

บรรณานุกรม

กฎกระทรวง กระทรวงแรงงานและสวัสดกิารสังคม กฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน.2549. กรุงเทพมหานคร. กฎหมายแรงงาน. 2550. ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เรือ่งหลักเกณฑการ

ดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการท่ีตองดําเนินการ พ.ศ. 2550. คนวันท่ี 18 กันยายน 2551 จาก www.siamsafety.com

โกศล อินทวงศ. 2540. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต. ภาคนิพนธ พฒันาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ธีรพร ศรประสิทธิ์. 2544. ปจจัยท่ีมีความสัมพันธตอความเครียดของพนักงานระดับปฏิบัติการใน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตถงุมือยางทางการแพทย. วิทยานิพนธวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (การพัฒนาทรพัยากรมนษุย) สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร. ธวัชชัย ศรีพรงาม. 2547. ปจจัยทางจิตสังคมท่ีเกี่ยวของกับพฤติกรรมการทํางานอยางปลอดภัยของ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมส่ิงทอและปนดาย. ภาคนพินธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร. ธารทิพย มหาวนา. 2543. พฤติกรรมความปลอดภัยของผูประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกระปอง. เวชสารภาควิชาเวชศาสตรชุมชน คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลยัเชียงใหม. ธนวรรธ ต้ังสินทรัพยศิริ. 2550. พฤติกรรมองคการ กรุงเทพฯ ธนธัชการพิมพ. ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน. 2550. กรุงเทพมหานคร. ประทีป เองฉวน. 2549. การจัดการส่ิงแวดลอมและความปลอดภัยของโรงงาน. สารนิพนธวิทยา ศาสาตรมหาบัณฑิต(การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ปติ พูนไชยศร.ี 2550. การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภยั. สํานักพิมพ มหาวิทยาลยัสุโขทัยธรรมาธริาช ปรับปรุงครั้งท่ี 1 พ.ศ.2550 นนทบุรี หนา 7-2. พูนลาภ สุนทรวิวัฒนาการ. 2550. ความรูและทัศนคติตอพฤติกรรมความปลอดภยั. สารนิพนธ วิทยาศาสาตรมหาบัณฑิต(การจดัการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. พรทิพา บันลอืรัตน. 2549. การบริหารความปลอดภัยในสถานประกอบการ. สารนิพนธวิทยา ศาสาตรมหาบัณฑิต(การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. มนตชัย ดานโุพธิ์พิบูรณ. 2548. ปจจัยทางจิตสังคมท่ีมีความสัมพันธกบัพฤติกรรมการพัฒนา

Page 126: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

112

ลูกนองของหัวหนาแผนกในการไฟฟาสวนภูมิภาค(กฟภ.)สํานักงานใหญ. ภาคนิพนธ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พฒันาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ราตรี พัฒนรังสรรค. 2544. พฤติกรรมมนษุยกับการพัฒนาตน กรุงเทพฯ คณะครุศาสตร สถาบัน ราช ภัฎจันทรเกษม. ลิขิต เทอดสถรีศักดิ์. 2516. พฤติกรรมของมนุษยในองคการ งานวิจยัเสนอคณะกรรมการสงเสริม งานวิจยัสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. วันวิสาข ประสาทธัมมาภรณ. 2550. การบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและการจัดการ ส่ิงแวดลอม. สารนิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. สมชาย ยิ่งสม. 2548. การศึกษาพฤติกรรมเส่ียงและปจจัยท่ีมีผลตอพฤติกรรมเส่ียงในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝายปฏิบัติการ. สารนิพนธวทิยาศาสตรมหาบัณฑิต(การจัดการ ส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร. สําราญ สอนผึง่. 2548. การบูรณะการระบบการจัดการส่ิงแวดลอมและระบบการจดัการอาชีวอนา มัยและความปลอดภัย. สารนิพนธวิทยาศาสาตรมหาบัณฑิต(การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร. สรอยตระกูล (ติวยานนท) อรรถมานะ. 2545. พฤติกรรมองคการ ทฤษฎีและการประยุกต ฉบับพิมพครั้งท่ี 3 สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. 2543. พฤติกรรมสุขภาพของคนทํางาน กรุงเทพฯ ธรุกิจกาวหนา 13, 145 (ก.ย.43):64-65. สํานักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ. กลุมงานใหบริการ 2 รายงานขอมูลเรือ่งการประสบ อันตรายของพนักงาน วันท่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2546 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551. สํานักงานประกันสังคม. 2551. เรื่อง ความรูงานประกันสังคม ขอมูลสถิติสํานักงานประกัน. สถิติ

ขอมูลกองทุนเงินทดแทนป 2545 – 2550. คนวันท่ี 15 กนัยายน 2551 จาก www.sso.go.th. หนา 1.

สมาคมสงเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทํางาน (ประเทศไทย) 2551. เรื่อง เขต ประกอบการเสรี. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย (ฉบับท่ี4) พ.ศ.2550. คนวันท่ี 18 กนัยายน 2551. จาก www.shawpat.or.th. หนา 3.

อนุเทพ ปญญาคํา. 2550. ความรูของพนักงานระดับปฏบัิติการในการนําระบบอาชีวอนามัยและ ความปลอดภยัมาใชในโรงงานอุตสาหกรรม. สารนิพนธวิทยาศสาตรมหาบัณฑิต (การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร.

Page 127: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ภาคผนวก

Page 128: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ภาคผนวก ก เครือ่งมือท่ีใชในการวจิัย

Page 129: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

แบบสอบถาม เร่ือง พฤติกรรมมนุษยและความปลอดภยัในการทํางาน

กรณีศึกษา บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด คําชี้แจง: แบบสอบถามนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาคนควาเพื่อนําไปใชสนับสนุนการศึกษา หลักสูตรการจดัการส่ิงแวดลอม คณะพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม (การจัดการส่ิงแวดลอม) สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร ดังนั้นจึงใครขอความรวมมือจากทานในการตอบคําถาม ความคิดเหน็ ความรูสึกท่ีเปนอิสระ และเปนความจริงมากท่ีสุด ขอมูลท้ังหมดท่ีทานตอบจะถือเปนความลับ สวนท่ี 1 แบบสอบถามขอมูลท่ัวไป คําช้ีแจง : กรุณาทําเคร่ืองหมาย ลงในวงเล็บ ( ) หนาขอท่ีตรงกับขอมูลเกี่ยวกับตัวของทานเพียงคําตอบเดยีว

1. เพศ ( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง 2. ปจจุบันทานมีอายุ ( ) 1. 18 - 25 ป ( ) 2. 26 - 35 ป ( ) 3. 36 - 45 ป ( ) 4. 46 ปข้ึนไป 3. สถานภาพ ( ) 1. โสด ( ) 2. สมรส (มี และ ไมมีใบสมรส) ( ) 3. หมาย/หยาราง 4. ระดับการศึกษา ( ) 1. ต่ํากวาปริญญาตรี ( ) 2. ปริญญาตรี ( ) 3. ปริญญาโทข้ึนไป

Page 130: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

116

5. ประสบการณการทํางานในฝายผลิต ( ) 1. ตํ่ากวา 1 ป ( ) 2. 1 - 5 ป ( ) 3. 6 – 10 ป ( ) 4. มากกวา 10 ป 6. แผนกในฝายผลิตท่ีทานสังกัด ( ) 1. เคร่ืองฉีดพลาสติก ( ) 5. พนสี ( ) 9. ติดสติกเกอร ( ) 2. เคร่ืองฉีดซ้ิงค ( ) 6. พิมพลายสี ( ) 10.ซอมบํารุง ( ) 3. ประกอบสินคา ( ) 7. แว็คค่ัม ( ) 4. ควบคุมคุณภาพ ( ) 8. วัตถุดิบ/คลังสินคา 7. ตําแหนงงานของทานในปจจุบัน

( ) 1. ระดับพนักงาน ( ) 2. ระดับหัวหนางาน ( ) 3. ระดับหัวหนาฝาย

สวนท่ี 2 แบบสอบถามดานพฤติกรรมการปฏิบัติงานอยางปลอดภัยในการปองกันตนเองจากการทํางาน คําช้ีแจง : กรุณาทําเคร่ืองหมาย ลงในหวัขอท่ีตรงกับความคิดเห็นของทานเพียงคําตอบเดียว และกรุณาตอบใหครบทุกขอ

ระดับการปฏิบัติ ขอความ ทุกคร้ัง

( 5 ) บอยคร้ัง

( 4 ) บางคร้ัง

( 3 ) นานๆคร้ัง

( 2 ) ไมทําเลย

( 1 )

1.ขาพเจาปฏิบัติตามกฎระเบียบขอบังคับในการทํางานอยางเครงครัด

2.ขาพเจาจัดวางอุปกรณไวอยางเปนระเบียบหลังจากปฏิบัติงานเสร็จแลว

3. ขาพเจาแตงกายดวยเส้ือผาท่ีเหมาะสมตอการปฏิบัติงาน

Page 131: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

117

ระดับการปฏิบัติ ขอความ ทุกคร้ัง

( 5 ) บอยคร้ัง

( 4 ) บางคร้ัง

( 3 ) นานๆคร้ัง

( 2 ) ไมทําเลย

( 1 )

4. ขาพเจาดแูลใหบริเวณท่ีทํางานของขาพเจาสะอาดและเปนระเบียบ

5. ขาพเจาหยุดเคร่ืองจักรทุกคร้ังท่ีมีการซอมแซมหรือทําความสะอาด

6. ขาพเจาสวมถุงมือกอนหยบิวัตถุท่ีมีอันตรายเสมอ

7. ขาพเจาสนบัสนุนใหเพื่อนๆ ใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

8. ขาพเจาจะลงมือปฏิบัติงานโดยไมมีการตรวจความเรียบรอยของเคร่ืองจักรกอน

9. หลังจากซอมแซมหรือทําความสะอาดเคร่ืองจักรขาพเจาจะตรวจสอบความเรียบรอยอีกคร้ังกอนท่ีปฏบัติงานตอไป

10. ขาพเจาสนับสนุนใหเพือ่นๆ ปฏิบัติตามกฏระเบียบวาดวยความปลอดภัยอยางเครงครัด

11. ขาพเจาไมเคยพูดชมเชย เม่ือเพื่อนรวมงานปฏิบัติงานไดอยางถูกตอง

12. ขาพเจากระตือรือรนท่ีจะนําขอมูลขาวสารที่เกี่ยวกับการทํางานอยางปลอดภยัมาเผยแพรแกเพื่อนๆ

13. ขาพเจาไมสนับสนุนใหเพื่อนๆ ใชอุปกรณปองกนัอันตรายสวนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน

Page 132: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

118

ระดับการปฏิบัติ ขอความ ทุกคร้ัง

( 5 ) บอยคร้ัง

( 4 ) บางคร้ัง

( 3 ) นานๆคร้ัง

( 2 ) ไมทําเลย

( 1 )

14. เม่ือขาพเจาเห็นส่ิงของวางเกะกะทางเดิน ขาพเจามักจะไมสนใจท่ีจะเกบ็

15. เม่ือมีอุปกรณ เคร่ืองมือชํารุด ขาพเจาจะรีบแจงใหหวัหนาหรือผูท่ีเกีย่วของทราบทันที

16. ขาพเจายนิดีท่ีจะใหคําปรึกษากับเพื่อนรวมงานตลอดเวลา

17. ขาพเจามักเขาไปใหกําลังใจเพื่อนรวมงาน เม่ือพบวาเพื่อนรวมงานพบอุปสรรคในการทํางาน

18. ถาขาพเจาเห็นเพื่อนรวมงานปฏิบัติงานไมถูกวิธี ขาพเจามักจะเมินเฉย ไมสนใจ

19. ถาพบคนท่ีทําผิดกฏระเบียบความปลอดภัยขาพเจาจะแจงหัวหนาหรือเจาหนาท่ีท่ีเกีย่วของทันที

20. ขาพเจาพรอมท่ีใหความรวมมือในการมีสวนรวมทํากจิกรรมเพ่ือความปลอดภัยทุกกิจกรรม

Page 133: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

119

สวนท่ี 3 แบบสอบถามดานทัศนคติเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน คําช้ีแจง : กรุณาทําเคร่ืองหมาย ลงในหัวขอท่ีตรงกบัความคิดเหน็ของทานเพียงคําตอบเดียว และกรุณาตอบใหครบทุกขอ

ระดับความคิดเห็น

ขอความ เห็นดวยอยางยิ่ง

( 5 )

เห็นดวย

( 4 )

ไมแนใจ

( 3 )

ไม เห็นดวย

( 2 )

ไมเห็นดวยอยาง

ยิ่ง ( 1 )

1. การติดโปสเตอรและสัญลักษณความปลอดภยั เปนการเตือนพนักงานใหตระหนกัถึงความปลอดภยัในการทํางาน

2. การติดโปสเตอรท่ีแสดงผลเสียหายของการไมใชอุปกรณปองกนัอันตราย จะชวยจูงใจพนักงานใหใชอุปกรณปองกันมากข้ึนเพื่อความปลอดภัย

3. การออกระเบียบขอบังคับในการทํางานและมีมาตรการควบคุมคนงานใหปฏิบัติตาม ถาไมปฏิบัติตามจะตองถูกลงโทษ ชวยลดการเกดิอุบัติเหตุได

4. การทํางานโดยจิตใจไมพรอมหรือผิดปกติ เครียด ขาดสมาธิ มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

5. การทํางานท่ีไมถูกวิธี ไมถูกข้ันตอน ขาดความรู ทักษะในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

6. การใสอุปกรณปองกันสวนบุคคลชวยลดอุบัติเหตุในการทํางานได

Page 134: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

120

7. สภาพแวดลอมในท่ีทํางานท่ีไมถูกสุขอนามัย เชน แสงสวางไมเพียงพอ เสียงดังเกนิควร ความรอนสูง มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

8. อุปกรณเคร่ืองจักร เคร่ืองมือท่ีชํารุดบกพรอง ขาดการซอมแซมหรือบํารุงรักษา มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

9. ลักษณะนิสัยสวนบุคคล มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุได

10. การไดรับการอบรมดานความปลอดภัยกอนการปฏิบัติงาน ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานได

11. การฝกอบรมความปลอดภัยในการทํางาน ทําใหเกิดการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมและมีจิตสํานึกในเร่ืองความปลอดภยั เพื่อปองกนัไมใหเกิดอุบัติเหตุมากข้ึนได

12. การไดรับขอมูลขาวสารเกี่ยวกับการปองกันอันตรายจากการทํางานอยางเพียงพอ ชวยลดการเกดิอุบัติเหตุได

13. การมีความรูและความเขาใจเร่ืองความปลอดภยัในการทํางาน ชวยลดการเกิดอุบัติเหตุได

14. การไมปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน มีผลตอการเกิดอุบัติเหตุ

15. การตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติความปลอดภัยอยางสมํ่าเสมอ ชวยลดอุบัติเหตุได

Page 135: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

121

สวนท่ี 4 แบบสอบถามดานความรูเร่ืองการปองกันอันตรายจากการทํางาน คําช้ีแจง : กรุณาทําเคร่ืองหมาย ลงในวงเล็บ ( ) หนาขอท่ีถูกท่ีสุดเพียงคําตอบเดียว และกรุณาตอบใหครบทุกขอ 1. การใสอุปกรณปองกันหู ขณะทํางานในพ้ืนท่ีท่ีมีเสียงดังมีประโยชนหรือไมอยางไร?

1. ( ) ไมมีประโยชน เพราะทําใหทานทํางานไดชาลง 2. ( ) ไมมีประโยชน เพราะจะทําใหรูสึกรําคาญ 3. ( ) มีประโยชน ชวยใหทํางานดีข้ึน เพราะไมมีเสียงรบกวน 4. ( ) มีประโยชน ชวยลดเสียงลง ไมใหเกิดอันตรายตอหู

2. กฎหมายไทยกําหนดเร่ืองเสียงไววาถาทํางานไมเกนิวันละ 8 ช่ัวโมง ระดับเสียงในโรงงานตองไมเกินเทาใด? 1. ( ) 80 เดชิเบล (เอ) 2. ( ) 85 เดชิเบล (เอ) 3. ( ) 90 เดชิเบล (เอ) 4. ( ) 95 เดชิเบล (เอ) 3. เสียงดังในบริเวณท่ีทํางาน จะมีอันตรายตอหูของคนงานหรือไม? 1. ( ) ไมมีอันตราย เพราะไมมีอาการผิดปกติอะไรแสดงใหเห็น 2. ( ) ไมมีอันตราย เพราะทานเคยชินกับเสียงท่ีดังแลว 3. ( ) มีอันตราย เพราะทําใหแกวหูทะลุได 4. ( ) มีอันตราย เพราะทําใหหูตึงหรือหูหนวกได 4. ความรอนมีหนวยเปนอะไร? 1. ( ) องศาเซลเซียส (°C) 2. ( ) ลักษ (LUX) 3. ( ) เฮริตซ (Hertz) 4. ( ) วัตต (Watt) 5. การวัดแสงมีหนวยเปนอะไร? 1. ( ) องศาฟาเรนไฮน (°F) 2. ( ) ลักษ (LUX) 3. ( ) เฮริตซ (Hertz) 4. ( ) วัตต (Watt)

Page 136: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

122

6. คล่ืนความถ่ีของเสียงมีหนวยเปนอะไร? 1. ( ) องศาฟาเรนไฮน (°F) 2. ( ) องศาเซลเซียส (°C) 3. ( ) เฮริตซ (Hertz) 4. ( ) วัตต (Watt) 7. การควบคุมและปองกันอันตรายของการทํางานทําไดโดย? 1. ( ) ฉากปองกันรังสี 2. ( ) ลดเวลาการสัมผัส 3. ( ) ระบายอากาศเฉพาะท่ี 4. ( ) ถูกทุกขอ 8. การสัมผัสความรอนนานๆจะพบอาการอยางไร? 1. ( ) มีไข 2. ( ) ลมแดด 3. ( ) ตะคริว 4. ( ) ถูกทุกขอ 9. องคประกอบการอนุรักษการไดยนิไดแกขอใด? 1. ( ) การเฝาระวังเสียงดัง 2. ( ) การเฝาระวังการไดยนิ 3. ( ) การตรวจประเมิน 4. ( ) ถูกทุกขอ 10. ขอใดเกดิจากแสงสวางท่ีมากเกินไป? 1. ( ) ปวดตา 2. ( ) เม่ือยลา 3. ( ) มึนศีรษะ 4. ( ) ถูกทุกขอ 11. ขอใดเปนการกระทําท่ีไมปลอดภัยของบุคคล อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Act)? 1. ( ) วิธีการทํางาน (ท่ีกําหนดไว) ไมถูกตอง 2. ( ) สภาพแวดลอมไมปลอดภัย 3. ( ) ไมใชอุปกรณปองกนัภัยสวนบุคคล 4. ( ) ขาดเคร่ืองกําบังหรือไมเหมาะสม

Page 137: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

123

12. ขอใดเปนสภาพการณท่ีไมปลอดภัย อันเปนเหตุใหเกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Condition)? 1. ( ) ดัดแปลงแกไขอุปกรณความปลอดภัย 2. ( ) ปฏิบัติงานผิดข้ันตอน 3. ( ) เก็บบรรจุวัสดุอยางไมปลอดภัย 4. ( ) เคร่ืองจกัร เคร่ืองมือชํารุด สวนท่ี 5 ความคิดเห็นและขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะท่ีจะใหบริษัทปรับปรุงหรือเสริมสรางกิจกรรมดานพฤติกรรมมนุษยและความปลอดภัยในการทํางาน ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................

ผูวิจัยขอขอบพระคุณทุกทานท่ีใหความรวมมือในการตอบแบบสอบถามน้ี

Page 138: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ภาคผนวก ข กฎกระทรวงแรงงาน

Page 139: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๓ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามยั

และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับความรอน แสงสวาง และเสียง พ.ศ. ๒๕๔๙

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๓ แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ อันเปนกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย บัญญั ติใหกระทําไดโดยอาศัยอํ านาจตามบทบัญญั ติแหงกฎหมาย รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว ดังตอไปนี้

ขอ ๑ กฎกระทรวงนี้ใหใชบังคับเมื่อพนกําหนดหนึ่งรอยแปดสิบวันนับแตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป

ขอ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “อุณหภูมิเวตบัลบโกลบ” (Wet Bulb Globe Temperature-WBGT) หมายความวา (๑) อุณหภูมิท่ีวัดเปนองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่ไมมีแสงแดดหรือในอาคาร มีระดับ

ความรอนเทากับ ๐.๗ เทาของอุณหภูมิท่ีอานคาจากเทอรโมมิเตอรกระเปาะเปยกตามธรรมชาติบวก ๐.๓ เทาของอุณหภูมิท่ีอานคาจากโกลบเทอรโมมิเตอร หรือ

(๒) อุณหภูมิท่ีวัดเปนองศาเซลเซียสซึ่งวัดนอกอาคารที่มีแสงแดดมีระดับความรอน เทากับ ๐.๗ เทาของอุณหภูมิท่ีอานคาจากเทอรโมมิเตอรกระเปาะเปยกตามธรรมชาติ บวก ๐.๒ เทาของอุณหภูมิท่ีอานคาจากโกลบเทอรโมมิเตอร และบวก ๐.๑ เทาของอุณหภูมิท่ีอานคาจากเทอรโมมิเตอรกระเปาะแหง

Page 140: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๔ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

“ระดับความรอน” หมายความวา อุณหภูมิเวตบัลบโกลบในบริเวณที่ลูกจางทํางาน ตรวจวัดโดยคาเฉลี่ยในชวงเวลาสองชั่วโมงที่มีอุณหภูมิเวตบัลบโกลบสูงสุดของการทํางานปกติ

“สภาวะการทํางาน” หมายความวา สภาวะแวดลอมซึ่งปรากฏอยูในบริเวณที่ทํางานของลูกจางซึ่งรวมถึงสภาพตาง ๆ ในบริเวณที่ทํางาน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ การระบายอากาศ ความรอน แสงสวาง เสียง ตลอดจนสภาพและลักษณะการทํางานของลูกจางดวย

“งานเบา” หมายความวา ลักษณะงานที่ใชแรงนอยหรือใชกําลังงานที่ทําใหเกิดการเผาผลาญอาหารในรางกายไมเกิน ๒๐๐ กิโลแคลอรีตอชั่วโมง เชน งานเขียนหนังสือ งานพิมพดีด งานบันทึกขอมูล งานเย็บจักร งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก งานบังคับเครื่องจักรดวยเทา การยืนคุมงาน หรืองานอื่นที่เทียบเคียงไดกับงานดังกลาว

“งานปานกลาง” หมายความวา ลักษณะงานที่ใชแรงปานกลางหรือใชกําลังงานที่ทําใหเกิด การเผาผลาญอาหารในรางกายเกิน ๒๐๐ กิโลแคลอรีตอชั่วโมง ถึง ๓๕๐ กิโลแคลอรีตอชั่วโมง เชน งานยก ลาก ดัน หรือเคลื่อนยายสิ่งของดวยแรงปานกลาง งานตอกตะปู งานตะไบ งานขับรถบรรทุก งานขับรถแทรกเตอร หรืองานอื่นที่เทียบเคียงไดกับงานดังกลาว

“งานหนัก” หมายความวา ลักษณะงานที่ใชแรงมาก หรือใชกําลังงานที่ทําใหเกิดการเผาผลาญอาหารในรางกายเกิน ๓๕๐ กิโลแคลอรีตอชั่วโมง เชน งานที่ใชพลั่วหรือเสียมขุดตัก งานเลื่อยไม งานเจาะไมเนื้อแข็ง งานทุบโดยใชฆอนขนาดใหญ งานยกหรือเคลื่อนยายของหนักขึ้นที่สูงหรือท่ีลาดชัน หรืองานอื่นที่เทียบเคียงไดกับงานดังกลาว

หมวด ๑ ความรอน

ขอ ๓ ใหนายจางควบคุมและรักษาระดับความรอนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจางทํางานอยูมิใหเกินมาตรฐาน ดังตอไปนี้

(๑) งานที่ลูกจางทําในลักษณะงานเบาตองมีมาตรฐานระดับความรอนไมเกินคาเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบโกลบ ๓๔ องศาเซลเซียส

(๒) งานที่ลูกจางทําในลักษณะงานปานกลางตองมีมาตรฐานระดับความรอนไมเกินคาเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบโกลบ ๓๒ องศาเซลเซียส

Page 141: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๕ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

(๓) งานที่ลูกจางทําในลักษณะงานหนักตองมีมาตรฐานระดับความรอนไมเกินคาเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบโกลบ ๓๐ องศาเซลเซียส

ขอ ๔ ในกรณีท่ีภายในสถานประกอบกิจการมีระดับความรอนเกินมาตรฐานที่กําหนด ในขอ ๓ ใหนายจางดําเนินการปรับปรุงหรือแกไขสภาวะการทํางานทางดานวิศวกรรมใหระดับ ความรอนไมเกินมาตรฐาน หากไดดําเนินการปรับปรุงหรือแกไขสภาวะการทํางานแลว ยังควบคุม ใหเปนไปตามมาตรฐานดังกลาวไมได ใหนายจางปดประกาศเตือนใหลูกจางทราบวาบริเวณนั้น อาจเปนอันตรายตอสุขภาพอนามัยของลูกจาง และนายจางตองจัดใหลูกจางสวมใสอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลตามที่กําหนดไวในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน

หมวด ๒ แสงสวาง

ขอ ๕ นายจางตองจัดใหสถานประกอบกิจการมีความเขมของแสงสวาง ดังตอไปนี้ (๑) ไมตํ่ากวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๑ ทายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่ท่ัวไป

ภายในสถานประกอบกิจการ เชน ทางเดิน หองน้ํา หองพัก (๒) ไมตํ่ากวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๒ ทายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณพื้นที่

ใชประโยชนในกระบวนการผลิตที่ลูกจางทํางาน (๓) ไมตํ่ากวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๓ ทายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณ

ท่ีลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจุดหรือตองใชสายตาอยูกับที่ในการทํางาน (๔) ไมตํ่ากวามาตรฐานเทียบเคียงที่กําหนดไวในตารางที่ ๔ ทายกฎกระทรวงนี้สําหรับ

บริเวณที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจุดหรือตองใชสายตาอยูกับที่ในการทํางาน ในกรณีท่ีความเขมของแสงสวาง ณ ท่ีท่ีใหลูกจางทํางานมิไดกําหนดมาตรฐานไวในตารางที่ ๓

(๕) ไมตํ่ากวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๕ ทายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณรอบ ๆ สถานที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจุด

ขอ ๖ นายจางตองใชหรือจัดใหมีฉาก แผนฟลมกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอ เพ่ือปองกันมิใหแสงตรงหรือแสงสะทอนจากแหลงกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตยท่ีมี

Page 142: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๖ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

แสงจาสองเขานัยนตาลูกจางโดยตรงในขณะทํางาน ในกรณีท่ีไมอาจปองกันได ตองจัดใหลูกจาง สวมใสอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลตามที่กําหนดไวในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน

ขอ ๗ ในกรณีท่ีลูกจางตองทํางานในสถานที่มืด ทึบ คับแคบ เชน ในถ้ํา อุโมงค หรือ ในที่ท่ีมีลักษณะเชนวานั้น นายจางตองจัดใหลูกจางสวมหมวกนิรภัยท่ีมีอุปกรณสองแสงสวาง หรือ มีอุปกรณสองแสงสวางอื่นที่เหมาะแกสภาพและลักษณะของงานตามมาตรฐานที่กําหนดไวในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน

หมวด ๓ เสียง

ขอ ๘ นายจางตองควบคุมระดับเสียงที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแตละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิใหเกินมาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๖ ทายกฎกระทรวงนี้

หลักเกณฑและวิธีการตรวจวัดระดับเสียง และการคํานวณการไดรับเสียง ใหเปนไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ขอ ๙ ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกินหนึ่งรอยสี่สิบเดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ ๖ ทายกฎกระทรวงนี้ นายจางตองใหลูกจางหยุดทํางาน จนกวาจะไดปรับปรุงหรือแกไขระดับเสียง

หลักเกณฑและวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ใหเปนไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ขอ ๑๐ ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทํางานมีระดับเสียงที่ลูกจางไดรับ เกินมาตรฐานที่กําหนดในขอ ๘ หรือขอ ๙ ใหนายจางดําเนินการปรับปรุงหรือแกไขสิ่งที่เปนตนกําเนิดของเสียงหรือทางผานของเสียงหรือการบริหารจัดการเพื่อใหมีระดับเสียงที่ลูกจางไดรับอยูไมเกินมาตรฐานที่กําหนด

ในกรณียังดําเนินการปรับปรุงหรือแกไขตามวรรคหนึ่งไมได นายจางตองจัดใหลูกจางสวมใสอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลตามที่กําหนดไวในหมวด ๔ ตลอดเวลาที่ทํางาน เพ่ือลดเสียงใหอยูในระดับที่ไมเกินมาตรฐานที่กําหนดไวในขอ ๘ หรือขอ ๙

Page 143: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๗ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

ขอ ๑๑ ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดในขอ ๘ หรือขอ ๙ นายจางตอง จัดใหมีเครื่องหมายเตือนใหใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลติดไวใหลูกจางเห็นไดโดยชัดเจน

ขอ ๑๒ ในกรณีท่ีสภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจางไดรับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแตแปดสิบหาเดซิเบลเอขึ้นไป ใหนายจางจัดทําโครงการอนุรักษการไดยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑและวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด

หมวด ๔ อุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล

ขอ ๑๓ อุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคลตองมีมาตรฐาน ดังตอไปนี้ (๑) ชุดแตงกาย รองเทา และถุงมือ สําหรับปองกันความรอน ตองทําดวยวัสดุท่ีมีน้ําหนักเบา

สามารถกันความรอนจากแหลงกําเนิดความรอนเพื่อมิใหอุณหภูมิในรางกายเกิน ๓๘ องศาเซลเซียส (๒) หมวกนิรภัย (Safety Hat) ตองเปนไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม หมวกนิรภัย

ท่ีมีอุปกรณสองแสงสวางจะตองมีอุปกรณท่ีทําใหมีแสงสวางสองไปขางหนาที่มีความเขมในระยะสามเมตรไมนอยกวายี่สิบลักซติดอยูท่ีหมวกดวย

(๓) แวนตาลดแสง (Safety Glasses) ตองทําดวยวัสดุซึ่งสามารถลดความจาของแสงลงใหอยูในระดับที่ไมเปนอันตรายตอสายตา กรอบแวนตาตองมีน้ําหนักเบาและมีกระบังแสงซึ่งมีลักษณะออน

(๔) กระบังหนาลดแสง (Face Shield) ตองทําดวยวัสดุสีท่ีสามารถลดความจาของแสงลง ใหอยูในระดับที่ไมเปนอันตรายตอสายตา กรอบกระบังหนาตองมีน้ําหนักเบาและไมติดไฟงาย

(๕) ปลั๊กลดเสียง (Ear Plugs) ตองทําดวยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอื่นที่ออนนุมและไมระคายเคือง ใชใสชองหูท้ังสองขาง และสามารถลดเสียงไดไมนอยกวาสิบหาเดซิเบลเอ

(๖) ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) ตองทําดวยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอื่นที่ออนนุมและ ไมระคายเคือง ใชครอบหูท้ังสองขาง และสามารถลดระดับเสียงลงไดไมนอยกวายี่สิบหาเดซิเบลเอ

ขอ ๑๔ นายจางตองจัดใหมีการบริหารจัดการเกี่ยวกับวิธีการเลือกและการใชอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล โดยตองจัดใหลูกจางไดรับการฝกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช และการบํารุงรักษาอุปกรณคุมครองความปลอดภัยสวนบุคคล รวมทั้งระเบียบในการใชตองจัดทําขึ้นอยางมีระบบและสามารถใหพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบไดตลอดเวลาทําการ

Page 144: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๘ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

หมวด ๕ การตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางาน

ขอ ๑๕ นายจางตองจัดใหมีการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับ ความรอน แสงสวาง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ

หลักเกณฑและวิธีดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ตองดําเนินการ ใหเปนไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด

ขอ ๑๖ นายจางตองจัดทํารายงานการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางานตามขอ ๑๕ โดยใหเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือใหผูสําเร็จการศึกษาไมตํ่ากวาปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเทาตามที่ไดขึ้นทะเบียนไวเปนผูรับรองรายงาน และใหนายจางเก็บ รายงานดังกลาวไว ณ สถานประกอบกิจการเพื่อใหพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบไดตลอดเวลาทําการ พรอมทั้งสงรายงานคูฉบับตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสามสิบวันนับแตวันที่ทําการตรวจวัด

ขอ ๑๗ ผูใดประสงคจะขอขึ้นทะเบียนเปนผูรับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางาน ใหย่ืนคําขอพรอมแนบสําเนาเอกสารหลักฐานตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมาย

การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเปนผูรับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ใหย่ืน ณ กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกําหนดสําหรับจังหวัดอื่นใหย่ืน ณ สํานักงานสวัสดิการและคุมครองแรงงานจังหวัด

คําขอขึ้นทะเบียนเปนผูรับรองรายงานตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด

ขอ ๑๘ เมื่อพนักงานเจาหนาที่ไดรับคําขอที่ไดย่ืนตามขอ ๑๗ แลว ใหตรวจสอบความถูกตองและเสนอตออธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อขึ้นทะเบียนเปนผูรับรองรายงานการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทํางาน

ในกรณีท่ีผูซึ่งไดรับการขึ้นทะเบียนเปนผูรับรองรายงานตามขอ ๑๖ แลว กระทําการฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ใหอธิบดีหรือผูซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเพิกถอนบุคคลนั้น ออกจากทะเบียน

ขอ ๑๙ การยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตามขอ ๑๗ ใหกําหนดอัตราคาธรรมเนียม ดังนี้

Page 145: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๑๙ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

(๑) คาคําขอ ฉบับละ ๒๐ บาท (๒) คาขึ้นทะเบียน ปละ ๓,๐๐๐ บาท (๓) คาหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน ฉบับละ ๑๐ บาท

หมวด ๖ การตรวจสุขภาพและการรายงานผลการตรวจสุขภาพ

ขอ ๒๐ ใหนายจางจัดใหมีการตรวจสุขภาพของลูกจางที่ทํางานในสภาวะการทํางาน ท่ีอาจไดรับอันตรายจากความรอน แสงสวาง หรือเสียงตามหลักเกณฑและวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด

ขอ ๒๑ ใหนายจางเก็บรายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจางตามขอ ๒๐ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดไวอยางนอยหาปในสถานประกอบกิจการ พรอมที่จะใหพนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได

ขอ ๒๒ ในกรณีท่ีทราบความผิดปกติของรางกายหรือความเจ็บปวยของลูกจาง เนื่องจากการทํางานในสภาวะการทํางานที่อาจไดรับอันตรายจากความรอน แสงสวาง หรือเสียง นายจางตอง จัดใหลูกจางไดรับการรักษาพยาบาลในทันที และทําการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติ หรือเจ็บปวย พรอมทั้งสงผลการตรวจสุขภาพของลูกจางที่ผิดปกติหรือเจ็บปวย การใหการรักษาพยาบาลและการปองกันแกไขตอพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายในสามสิบวัน นับแตวันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บปวย

ถาลูกจางผูใดมีหลักฐานทางการแพทยจากสถานพยาบาลของทางราชการหรือท่ีราชการยอมรับแสดงวาไมอาจทํางานในหนาที่เดิมได ใหนายจางเปลี่ยนงานใหแกลูกจางผูนั้นตามที่เห็นสมควร ท้ังนี้ ตองคํานึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจางเปนสําคัญ

ใหไว ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ พ.ศ. ๒๕๔๙

สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงาน

Page 146: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

บริเวณพ้ืนที่ทั่วไปของอาคารทางเขา - ทางเขาหองโถง หรือหองพักรอ ๒๐๐ - บริเวณโตะประชาสัมพันธ หรือโตะติดตอลูกคา ๔๐๐ - ประตูทางเขาใหญของสถานประกอบกิจการ ๕๐ - ปอมยาม ๑๐๐ - จุดขนถายสินคา ๑๐๐พ้ืนที่สัญจร - ทางเดินในพื้นที่สัญจรเบาบาง ๒๐ - ทางเดินในพื้นที่สัญจรหนาแนน ๕๐ - บันได ๕๐หองฝกอบรมและหองบรรยาย - พื้นที่ทั่วไป ๓๐๐อาคารสถานีขนสง(ทาอากาศยาน ทารถ และสถานีรถไฟ) - หองจองต๋ัวหรือหองขายต๋ัว ๔๐๐หองคอมพิวเตอร - บริเวณทั่วไป ๔๐๐หองประชุม ๓๐๐งานธุรการ - หองถายเอกสาร ๓๐๐ - หองนิรภัย ๑๐๐โรงอาหาร - พื้นที่ทั่วไป ๒๐๐ - บริเวณโตะเก็บเงิน ๓๐๐โรงซักรีด - บริเวณหองอบหรือหองทําใหแหง ๑๐๐หองครัว - พื้นที่ทั่วไป ๒๐๐ - บริเวณที่ปรุงอาหารและที่ทําความสะอาด ๓๐๐

ตารางที่ ๑

ประเภทอุตสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

มาตรฐานคาเฉลี่ยความเขมของแสงสวาง ณ บริเวณพ้ืนท่ีท่ัวไป

Page 147: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

หองพักพนักงาน - หองเปลี่ยนเสื้อผาและบริเวณตูเก็บของ ๑๐๐ - หองพักผอน ๕๐หองปฐมพยาบาล - หองพักฟน ๕๐ - หองตรวจรักษา ๔๐๐หองสุขา ๑๐๐หองเก็บของ - หองเก็บวัตถุดิบขนาดใหญ : เก็บรวบรวมไวโดยไมเคลื่อนยาย ๕๐ : เก็บรวบรวมไวเพื่อการเคลื่อนยาย ๑๐๐ - หองเก็บวัตถุดิบขนาดปานกลางหรือละเอียดออน : เก็บรวบรวมไวโดยไมเคลื่อนยาย ๑๐๐ : เก็บรวบรวมไวเพื่อการเคลื่อนยาย ๒๐๐

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโรงงานน้ําตาล - พื้นที่ทั่วไป ๒๐๐โรงน้ําแข็ง - พื้นที่ทั่วไป ๒๐๐

อุตสาหกรรมอื่น ๆ โรงงานผลิตกระแสไฟฟา - พื้นที่ทั่วไป ๕๐อาคารหมอน้ํา - พื้นที่ทั่วไป ๕๐หองควบคุมและหองสวิตช - พื้นที่ทั่วไป ๒๐๐หองปฏิบัติการทดลองและหองทดสอบ - พื้นที่ทั่วไป ๔๐๐โรงภาพยนตร - หองจองต๋ัวหรือหองขายต๋ัว ๔๐๐ - หองฉายภาพยนตร ๒๐๐

ประเภทอุตสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

Page 148: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโรงงานทําขนมปง - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไป ๒๐๐ - บริเวณหองผสมและหองอบขนมปง ๓๐๐

อุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพโรงงานผลิตกระดาษและกระดาษแข็ง - หองเครื่องจักร ๔๐๐ - หองรีดกระดาษ ๔๐๐ - โรงเตรียมวัตถุดิบและบริเวณกระบวนการตัดตกแตง ๔๐๐ การทําใหเรียบโรงพิมพหองแทนพิมพ - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไป ๔๐๐ - บริเวณการตรวจสอบ ๖๐๐

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑไมงานไมวัสดุแผนตกแตงผิว - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไป ๒๐๐

อุตสาหกรรมเคมีโรงงานผลิตยาและสารเคมีบริสุทธิ์ - บริเวณที่เก็บวัตถุดิบ ๓๐๐ - บริเวณหองทดสอบและหองทดลอง ๔๐๐ - บริเวณกระบวนการผลิตสารเคมีบริสุทธิ์ ๓๐๐โรงงานผลิตสบู - บริเวณกระบวนการตมหรือการตัดสบูเปนชิ้น ๒๐๐

ตารางที่ ๒มาตรฐานคาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง ณ บริเวณการผลิต

ประเภทอุตสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

Page 149: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

อุตสาหกรรมพลาสติกและยางโรงงานผลิตเครื่องหนัง - บริเวณกระบวนการตม ๒๐๐โรงงานผลิตยาง - บริเวณที่เก็บสินคาและที่เตรียมโครงสราง ๓๐๐

อุตสาหกรรมผลิตโลหะโรงประกอบเครื่องบินและซอมเครื่องบิน - บริเวณคลังเก็บชิ้นสวนเตรียมผลิต ๖๐๐ - บริเวณกระบวนการซอมและบํารุงรักษา ๔๐๐โรงงานผลิตหรือประกอบนาฬิกาและเครื่องประดับ - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไป ๖๐๐ - บริเวณกระบวนการผลิตละเอียด ๘๐๐ - บริเวณกระบวนการผลิตละเอียดมาก ๒,๔๐๐

อุตสาหกรรมเหล็ก โรงงานผลิตเหล็ก(เหล็กเสน เหล็กแผน และลวด)

- บริเวณบอชุบและเตาอบ ๑๐๐ - บริเวณกระบวนการนําเหล็กเขาอบ ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการรีดหนัก รีดหยาบ หรือการเฉือนหยาบ ๒๐๐ - บริเวณการรีดเย็น รีดรอน และดึงลวดดวยเครื่องจักร ๓๐๐ อัตโนมัติ หรือการเฉือนละเอียด - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไปในแผนกหลอมและรีด ๑๐๐ - บริเวณกระบวนการทําแผนเหล็ก การเคลือบสังกะสี ๒๐๐ และดีบุก - บริเวณหองมอเตอร ๖๐๐โรงงานผลิตเหล็กกอสราง - บริเวณกระบวนการผลิตทั่วไป ๒๐๐

อุตสาหกรรมเหมืองกระบวนการบนพื้นดิน - บริเวณกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ ๒๐๐ - บริเวณการทํางานของเครื่องจักร เครื่องเปา หรือพัดลม ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการลางแร ๑๐๐

ประเภทอุตสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

Page 150: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

- หองหนวยปฏิบัติการฉุกเฉิน (Rescue room) ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการซอม ๒๐๐กระบวนการทํางานใตพ้ืนดิน - ทางเขา - ออก ๒๐ - หองเครื่องจักรใตดิน ๒๐ - บริเวณสายพานลําเลียง ๒๐ - บริเวณทางแยก ๒๐ - สํานักงานใตดิน ๑๐๐

อุตสาหกรรมอโลหะโรงโมหิน - บริเวณอุโมงคและสายพานลําเลียง ปลองทางข้ึนลง ๒๐๐ รางเทหิน - บริเวณหองบดหิน ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการคัดแยก ๒๐๐โรงงานผลิตเครื่องปนดินเผาเซรามิก - บริเวณกระบวนการบด การคัดแยก และหองเผา ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการปมข้ึนรูป การอัด การทําความ ๓๐๐ สะอาดและการแตงโรงหลอโดยใชแมพิมพทราย - บริเวณกระบวนการเตรียมทราย และการทําความสะอาด ๒๐๐โรงงานแกว - บริเวณหองผสมและเตาเผา ๒๐๐

อุตสาหกรรมอื่น ๆ โรงงานผลิตกระแสไฟฟา - บริเวณที่ต้ังหมอนํ้า กังหัน และเครื่องสูบน้ํา ๒๐๐ - บริเวณพื้นที่รอบ ๆ หัวเผาและเครื่องเปาเขมา ๒๐๐ - บริเวณกระบวนการอื่น ๆ ๒๐๐ - บริเวณอาคารหมอนํ้าใชมาตรฐานอาคารหมอนํ้า - บริเวณหองควบคุมใชมาตรฐานหองควบคุมและ หองสวิตช

ประเภทอตุสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

Page 151: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาเฉล่ียความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

อาคารหมอน้ํา - บริเวณการขนถายถานหิน ๕๐ - บริเวณพื้นที่หนาหมอนํ้า ๒๐๐สถานีบริการน้ํามัน - บริเวณหัวจายน้ํามัน ๒๐๐ - บริเวณบริการทั่วไป (บอตรวจชวงลาง ลางรถ จารบี) ๒๐๐สถานีดับเพลิง - หองอุปกรณ หองเครื่องมือ เครื่องใช ๒๐๐หองควบคุมและหองสวิตช - บริเวณแผงควบคุมและแผงสวิตช ๔๐๐ - บริเวณดานหลังแผงควบคุมและแผงสวิตช ๒๐๐หองบรรจุหีบหอ - บริเวณการบรรจุหีบหอ ทําเครื่องหมายและจัดสง ๒๐๐ - บริเวณโตะตรวจนับ ๒๐๐

ประเภทอุตสาหกรรม อาคาร/พ้ืนที่

Page 152: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง(ลักซ)

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มโรงโมแปง - การทําความสะอาด การโม หรือการบด ๒๐๐ - การอบ ๓๐๐ - การคัดเกรดแปง ๔๐๐โรงงานน้ําตาล - การคัดเกรดน้ําตาล ๖๐๐โรงงานขนมปง - งานผสมและตกแตง ๓๐๐ - การตกแตงและการเคลือบน้ําตาล ๔๐๐โรงงานอาหารกระปอง - งานตรวจสอบอาหาร ๖๐๐ - กระบวนการเตรียมอาหาร(การทําความสะอาด การตม ฯลฯ) ๔๐๐

- กระบวนการตมกลั่น ๒๐๐ - กระบวนการติดฉลากดวยความเร็วสูง ๔๐๐โรงงานทําเนื้อสัตว - การลอกหนัง ๒๐๐ - การถอดกระดูก การทําความสะอาด การบด หรือการตัด ๔๐๐ - การบรรจุหีบหอและกระปอง ๔๐๐ - การตรวจสอบ ๖๐๐โรงงานน้ําแข็ง - งานเลื่อยน้ําแข็ง ๓๐๐โรงงานผลิตเครื่องดื่ม - กระบวนการตมและบรรจุ ๓๐๐โรงงานรีดนม - การบรรจุขวด ๖๐๐โรงงานผลิตช็อกโกแลตหรือลูกกวาด - การผสม การกวน หรือการตม ๒๐๐

มาตรฐานความเขมของแสงสวาง ณ ท่ีท่ีใหลูกจางคนใดคนหนึ่งทํางานตารางที่ ๓

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

Page 153: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

- การปอกเปลือก การกรองรอน หรือการสกัดแยกไขมัน ๓๐๐ การบด การกลั่น การทําความสะอาดถั่ว การโมบด หรือการทําครีม - การตกแตงดวยมือ ๔๐๐

อุตสาหกรรมสิ่งทอสิ่งถักโรงงานทอผาไหมและผาใยสังเคราะห - การกรอดาย การยอม หรือการตอเสนดาย ๔๐๐ - การทอและการตกแตงสําเร็จ ๘๐๐ - การสืบดายเสนยืน(เสนดายตามยาวในเครื่องทอผา) ๔๐๐ - การรอยตะกรอ ๘๐๐โรงงานทอผาปอกระเจา - การทอ การปนเครื่องแจ็กการด หรือการกรอ ๒๐๐ - การรีดเสนดาย ๒๐๐โรงงานทอผาฝายและผาลินิน - การทอผาสีเขม ทอละเอียด ๘๐๐ - การทอผาสีออน ทอละเอียด ๔๐๐ - การทอผาดิบ ๓๐๐ - การสืบดาย การแตง หรือการบรรจุ ๓๐๐ - การลงดายคู ๓๐๐ - การกรอดาย การยอม การทําเกลียวเสนใย การรีดปุย ๒๐๐ หรือการปน - การอัดเบล การผสมเสนใย หรือการสางเสนใย ๒๐๐ - การรอยตะกรอ ๘๐๐ - การตรวจสอบดวยมือ ๘๐๐ - การตรวจสอบดวยความเร็ว ๑,๒๐๐โรงงานยอมผา - การรับผา หรือการตรวจตําหนิผาดิบ ๘๐๐ - กระบวนการชนิดเปยก ๒๐๐ - กระบวนการชนิดแหง ๓๐๐ - การจับคูสี (การเทียบสี) ๑,๒๐๐ - การตรวจสอบขั้นสุดทาย ๑,๖๐๐

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

Page 154: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

โรงงานตัดเย็บเสื้อผา - งานรีด หรืองานบํารุงรักษาผา ๔๐๐ - งานคัดแยก ตัด หรือเย็บ ผลิตภัณฑสีออน ๔๐๐ - งานคัดแยก ตัด หรือเย็บ ผลิตภัณฑสีปานกลาง ๖๐๐ - งานคัดแยก ตัด หรือเย็บ ผลิตภัณฑสีเขม ๘๐๐ - การตรวจสอบ หรือการตัดเย็บดวยมือ ๑,๒๐๐โรงงานผลิตถุงเทา ชุดชั้นในและเสื้อผาไหมพรม - เครื่องถักกลม ๔๐๐ - เครื่องเย็บตะเข็บหรือเย็บริม ๖๐๐ - การประกอบ ๖๐๐ - การซอมแซมผลิตภัณฑสีออน ๑,๖๐๐ - การซอมแซมผลิตภัณฑสีเขม ๒,๔๐๐ - การตรวจสอบและตกแตงผลิตภัณฑสีออนดวยมือ ๑,๒๐๐ - การตรวจสอบและตกแตงผลิตภัณฑสีเขมดวยมือ ๑,๖๐๐โรงงานผลิตหมวก - การถัก การทําความสะอาด การข้ึนรูป การวัดขนาด ๒๐๐ การทําปกหมวก หรือการตกแตงสําเร็จ - การยอมสี ๓๐๐ - การเย็บผลิตภัณฑสีออน - ปานกลาง ๖๐๐ - การเย็บผลิตภัณฑสีเขม ๘๐๐ - การตรวจสอบ ๑,๒๐๐โรงงานผลิตพรม - การกรอดาย หรือการเตรียมดายเสนยืน ๓๐๐ - การออกแบบ การตัดแบบกระดาษ การยึดแบบ การตัด ๔๐๐ หรือการเย็บริม - การถัก การปะซอม และการตรวจสอบ ๖๐๐โรงซักรีดและซักแหง - การซัก อบ ๒๐๐ - งานรับ - สง และทําความสะอาด ๓๐๐ - งานรีดและพับ ๔๐๐ - งานคัดแยก และตรวจสอบ ๔๐๐ - งานปะซอม ๖๐๐

Page 155: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

อุตสาหกรรมกระดาษและสิ่งพิมพโรงงานผลิตกระดาษและกระดาษแข็ง - การตี หรือการบด ๒๐๐ - การตรวจสอบและการคัดเลือก ๖๐๐โรงงานทํากลองและถุงกระดาษ - งานทําแผนลูกฟูก กลองกระดาษ หรือภาชนะบรรจุ ๒๐๐ และถุงกระดาษ กระบวนการเคลือบและทําเปนแผน - งานพิมพ ๔๐๐โรงพิมพหนังสือ - งานเคลือบ เจาะ หรือเย็บเลม ๓๐๐ - การเย็บปกเขาเลม หรืองานเครื่องจักรอื่นๆ ๔๐๐ - การตกแตง การพิมพภาพและประดับ ๖๐๐อุตสาหกรรมสิ่งพิมพชนิดโรงหลอ - การทําแมพิมพกระดาษสําหรับหลอตัวพมิพ ๓๐๐ การแตงตัวพิมพ หรือการหลอดวยเครื่องจักรหรือมือ - คุมเครื่องพิมพ หรือการคัดเลือก ๖๐๐โรงพิมพหองเรียงพิมพ - เครื่องเรียงพิมพอัตโนมัติ ๓๐๐ - เรียงพิมพดวยมือ ๖๐๐ - การแตงและอัดตัวพิมพบนแทนพิมพ ๖๐๐ - การพิสูจนอักษร ๖๐๐การทําแมพิมพชุบโลหะดวยไฟฟา - การจําลองตัวพิมพทั้งหนาที่มาจากตัวเรียง การชุบดวย ๓๐๐ ไฟฟา หรือการลาง - การตกแตงสําเร็จ หรือการคนหา ๖๐๐การกัดแมพิมพดวยการถายรูปและการทําแมพิมพดวยโลหะ - การกัด การแกะสลัก การทําแมพิมพดวยโลหะ ๔๐๐ หรือการทําแมพิมพโดยใชกรดกัด - การตกแตงสําเร็จ หรือการคนหา ๖๐๐ - การตรวจสอบ ๘๐๐

Page 156: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑไมงานแกะสลักและแกะแมพิมพ - การแกะสลักหิน และเครื่องจักร ๖๐๐ - การแกะสลักดวยมือ หรือการแกะแมพิมพละเอียด ๑,๒๐๐งานไมทั่วไป - งานเลื่อย ๒๐๐ - การวัดขนาด ออกแบบ หรือขัดกระดาษทรายหยาบ ๓๐๐ การติดกาว การใชเครื่องจักรและโตะทํางานปานกลาง - การตกแตง การขัดกระดาษทรายละเอียด การใชเครื่องจักร ๔๐๐ และโตะทํางานละเอียด การดาดพื้นหนาโตะ เกาอี้และอื่นๆงานไมวัสดุแผนตกแตงผิว - การตรวจสอบผลิตภัณฑ ๔๐๐โรงงานทําเฟอรนิเจอรไมงานเครื่องจักรและการประกอบไม - งานเลื่อยและตัดไมแบบหยาบ ๒๐๐ - งานที่ใชเครื่องจักร งานขัดกระดาษทราย และการประกอบ ๔๐๐ งานฝมือละเอียด - งานคัดแยกและเตรียมไมลายบางๆ หรือพลาสติกสําหรับ ๘๐๐ ดาดพื้นหนาโตะ เกาอี้ ฯลฯ - การดาดพื้นหนาโตะ เกาอี้ ฯลฯ ๔๐๐ - การเขารูป และตรวจสอบขั้นสุดทาย ๔๐๐การทําเบาะบุนวม - ข้ันตอนการตรวจสอบวัตถุดิบ ๑,๒๐๐ - การใสวัตถุดิบและคลุม ๔๐๐ - การทําปลอกสวมโตะ หรือเกาอี้ ๖๐๐ - การตัดและเย็บ ๖๐๐การทําฟูกและที่นอน - การประกอบ ๔๐๐ - การติดขอบ ๖๐๐

Page 157: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

งานที่เกี่ยวกับงานสี ใชมาตรฐานงานทาสีและพนสีในอุตสาหกรรมเคมีงานที่เกี่ยวกับงานไม ใชมาตรฐานงานไมทั่วไป

อุตสาหกรรมเคมีโรงงานผลิตยาและสารเคมีบริสุทธิ์การผลิตยา - การบด กวนผสม ทําใหแหง การอัดเม็ด ฆาเชื้อ ๔๐๐ การเตรียมและเติมสารละลาย - การติดฉลาก บรรจุและทําหีบหอ การตรวจสอบ ๔๐๐ และการผลิตสารเคมีบริสุทธิ์ - การแตงเคมีบริสุทธิ์ข้ันสุดทาย ๔๐๐โรงงานผลิตสารเคมี - กระบวนการตม ทําใหแหง การกรอง การทําใหตกผลึก ๒๐๐ การฟอกสี และการสกัด - เครื่องมือวัด เกจ วาลว ฯลฯ ๑๐๐งานทาสีและพนสี - การจุม การอบ และการพนสีรองพื้น ๒๐๐ - การขัดถู การพนสี ทาสี และการตกแตงงานปกติ ๔๐๐ - การพนสี ทาสี และการตกแตงงานละเอียด ๖๐๐ - การพนสี ทาสี หรือการตกแตงงานละเอียดมากเปนพิเศษ เชน ๘๐๐ ตัวถังรถยนต หีบเปยโน ฯลฯโรงงานผลิตสี - เครื่องจักรอัตโนมัติทั่วไป ๒๐๐ - การผสมสีกลุมพิเศษ ๖๐๐ - การเปรียบเทียบสี ๘๐๐โรงงานผลิตสบู - การหอ การบรรจุ และการประทับตรา ๓๐๐โรงงานยาสูบ - การทําใหแหง และงานทั่วไป ๒๐๐ - การทําเปนชิ้น ๔๐๐ - การคัดเลือกและการแบงเกรด ๖๐๐

Page 158: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

อุตสาหกรรมพลาสติกและยางโรงงานพลาสติก - กระบวนการรีด ๔๐๐ - กระบวนการอัด ฉีด และการเปาแมพิมพ ๓๐๐การขึ้นโครงแผน - การข้ึนรูป ๓๐๐ - การตกแตงทําใหเรียบและการขัดเงา ๔๐๐ - การติดประสาน ๓๐๐ - การเปรียบเทียบสี และการประกอบ ๘๐๐ - การตรวจสอบ ๖๐๐งานที่เกี่ยวกับงานผลิตวัตถุดิบพลาสติก ใชมาตรฐานโรงงานผลิตสารเคมีในอุตสาหกรรมเคมีโรงงานผลิตเครื่องหนัง - การทําความสะอาด หรือการฟอก ๒๐๐ - การตัด หรือการขูด ๒๐๐ - การตกแตง ๓๐๐ - การอัดบดและมวนหนังสีออน ๓๐๐ - การอัดบดและมวนหนังสีเขม ๖๐๐ - การติดการเย็บหนังสีออน ๔๐๐ - การติดการเย็บหนังสีเขม ๘๐๐ - การคัดเกรดและการเปรียบเทียบสีหนังสีออน ๖๐๐ - การคัดเกรดและการเปรียบเทียบสีหนังสีเขม ๑,๒๐๐โรงงานผลิตยาง - การทํายางรถยนตและยางใน ๓๐๐ - การตรวจสอบ และแกไข ๖๐๐โรงงานผลิตรองเทา - การคัดเลือกและการแบงเกรด ๑,๒๐๐ - การเตรียมสวนประกอบ ๘๐๐ - การคัด การตัด หรือการเย็บชิ้นสวนประกอบ ๑,๒๐๐ - การเตรียมพื้น การใสแบบไมและทําพื้น หรือการตกแตงสําเร็จ ๘๐๐

Page 159: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

อุตสาหกรรมผลิตโลหะโรงประกอบเครื่องจักรงานหยาบ - การประกอบเครื่องจักรกลหนัก โครงและชิ้นสวนขนาดใหญ ๒๐๐งานปานกลาง - งานประกอบชิ้นสวนเครื่องจักรยนตและงานตัวถังรถยนต ๔๐๐งานละเอียด - งานประกอบชิ้นสวนเล็กๆ วิทยุ อุปกรณโทรศัพท ๘๐๐ หรือสวนประกอบเครื่องยนตงานละเอียดพิเศษ - งานประกอบชิ้นสวนขนาดเล็กมากๆ หรือการทําเครื่องมือวัด ๑,๖๐๐ เครื่องจักรกลที่เที่ยงตรงโรงประกอบเครื่องบินและโรงซอม - การเจาะ การเย็บหมุด ขันนอต การจัดวางแผนอลูมิเนียม ๔๐๐ และการทําผนัง การทําปก การทํากระบังรับลม การเชื่อม การประกอบยอย การประกอบข้ันสุดทาย หรือการตรวจสอบ - งานทดสอบเครื่องยนต ๖๐๐โรงกลึง เจาะ ไสโลหะ และโรงปรับเครื่อง - งานที่ใชโตะทํางานและเครื่องจักรแบบหยาบ ๒๐๐ การนับ หรือการตรวจสอบชิ้นสวนอะไหลในคลังเก็บ (โดยทั่วไปขนาดใหญกวา ๗๕๐ ไมโครเมตร) - งานที่ใชโตะทํางานและเครื่องจักรแบบปานกลาง ๔๐๐ งานเครื่องจักรกลอัตโนมัติตามปกติ การเจียรแบบหยาบ หรือการขัดและขัดเงาปานกลาง (โดยทั่วไปขนาดใหญกวา ๑๒๕ ไมโครเมตร) - งานที่ใชโตะทํางานและเครื่องจักรแบบละเอียด ๘๐๐ งานเจียรปานกลาง หรือการขัดและขัดเงาละเอียด (โดยทั่วไปขนาดใหญกวา ๒๕ ไมโครเมตร) - งานที่ใชโตะทํางานและเครื่องจักรแบบละเอียดพิเศษ ๑,๖๐๐ งานเจียรละเอียด หรืองานทําเครื่องมือและแกะแมพิมพ (โดยทั่วไปขนาดเล็กกวา ๒๕ ไมโครเมตร)

Page 160: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

งานเชื่อมและบัดกรี - การเชื่อมดวยกาซ ไฟฟา หรือทองเหลือง ๒๐๐ - การเชื่อมไฟฟาเฉพาะแหง และบัดกรีธรรมดาทั่วไป ๔๐๐ - การเชื่อมไฟฟาเฉพาะแหง และบัดกรีขนาดเล็ก ๘๐๐ - การเชื่อมไฟฟาเฉพาะแหง และบัดกรีขนาดเล็กมาก ๑,๒๐๐ เชน หลอดวิทยุ ฯลฯโรงงานผลิตยานยนต - กระบวนการประกอบทั่วไป หรือการประกอบโครงรถ ๔๐๐ - การตรวจสอบขั้นสุดทาย ๖๐๐ - งานตกแตง งานทําตัวถัง หรืองานประกอบตัวถัง ๔๐๐งานที่เกี่ยวกับงานสี ใชมาตรฐานงานทาสีและพนสีในอุตสาหกรรมเคมีงานที่เกี่ยวกับงานเบาะบุนวม ใชมาตรฐานการทําเบาะบุนวมของโรงงานทําเฟอรนิเจอรไม ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑไมโรงงานผลิตเครื่องใชไฟฟา - กระบวนการแช และการทําไมกา ๓๐๐ - การทําขดลวดคอยล หรือกระบวนการหุมฉนวนโดยทั่วไป ๔๐๐ - การทําขดลวดคอยล หรือกระบวนการหุมฉนวนโดยอุปกรณ ๘๐๐ ละเอียดงานที่เกี่ยวกับงานกลึง เจาะ หรือไสโลหะ ใชมาตรฐานโรงกลึง เจาะ ไสโลหะ และโรงปรับเครื่องงานที่เกี่ยวกับงานผลิตโลหะแผน ใชมาตรฐานโรงงานผลิตโลหะแผน ในอุตสาหกรรมเหล็กโรงงานผลิตหรือประกอบเครื่องประดับ - การเจียระไนเพชรพลอย ขัดเงา หรือฝงเพชรพลอย ๑,๖๐๐

Page 161: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

อุตสาหรรมเหล็กโรงงานผลิตเหล็ก (เหล็กเสน เหล็กแผน และลวด) - งานตรวจสอบแผนเหล็ก ๔๐๐โรงงานผลิตโลหะแผน - งานที่ทําดวยเครื่องจักรหรือบนโตะทํางาน ปมตรา การเฉือน ๔๐๐ การรีด การเชื่อมไฟฟา และมวนโรงงานตีเหล็ก - งานตี และเชื่อม ๒๐๐โรงงานผลิตเหล็กกอสราง - งานทําเครื่องหมาย ๔๐๐

อุตสาหกรรมอโลหะโรงงานผลิตเครื่องปนดินเผาและเซรามิก - งานเคลือบเงา หรือลงยา ๔๐๐ - งานลงสี และทําใหข้ึนเงา ๖๐๐โรงหลอโดยใชแมพิมพทราย - การเทโลหะหลอมละลายใสแมพิมพ และการถอดแมพิมพ ๒๐๐ - การแตง และการยิงทราย ๓๐๐ - การทําแมพิมพหยาบ ๒๐๐ - การทําแมพิมพละเอียดและการตรวจสอบ ๔๐๐งานทําแกว - การปมข้ึนรูป เปาแกว และขัดเงา ๒๐๐ - การโม การตัด หรือการตัดแกวตามขนาด ๓๐๐ - การโมละเอียด แกะสลัก ตกแตง ทํามุม และการตรวจสอบ ๔๐๐ - การตรวจสอบอยางละเอียด และตัดแตง ๘๐๐

อุตสาหกรรมอื่นๆโรงผลิตกระแสไฟฟา - การปฏิบัติงานทั่วไปของโรงกังหัน ๓๐๐ - การบํารุงรักษากังหัน ๖๐๐ - เครื่องมือวัด เกจ วาลว ฯลฯ (ไมรวมอาคารหมอนํ้า) ๑๐๐

Page 162: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

คาความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

ประเภทอุตสาหกรรม ชนิดของงาน

งานที่เกี่ยวกับหมอน้ําใชมาตรฐานอาคารหมอน้ําอาคารหมอน้ํา - เครื่องมือวัด เกจ ฯลฯ ๒๐๐สถานีบริการน้ํามัน - งานบริการซอม ๔๐๐หองปฏิบัติการทดลองและหองทดสอบ - การปรับเทียบมาตรฐานสากล เครื่องจักรกลที่เที่ยงตรง ๘๐๐เครื่องทดสอบ และเครื่องมือวัด

งานสํานักงานหองคอมพิวเตอร - งานบันทึกขอมูล ๖๐๐ - บริเวณที่แสดงขอมูล (จอภาพและเครื่องพิมพ) ๖๐๐หองธุรการ - งานพิมพดีด การเขียน การอาน และการจัดเก็บเอกสารอื่นๆ ๔๐๐ ที่เกี่ยวของ - การทํางานที่สีของชิ้นงานกับสีของพื้นผิวกลมกลืนกัน ๖๐๐

Page 163: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

งานละเอียดสูงมากเปนพิเศษ ๒,๔๐๐ หรือมากกวา - การตรวจสอบชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก (เชน เครื่องมือที่มีขนาดเล็กมาก) - การทําเครื่องประดับและทํานาฬิกาในกระบวนการ ที่มีขนาดเล็ก - การถักถุงเทา เสื้อผาที่มีสีเขม รวมทั้งการซอมแซมสินคา ที่มีสีเขม

งานละเอียดสูงมาก ๑,๖๐๐ - งานละเอียดที่ตองทําบนโตะหรือเครื่องจักร เชน ทําเครื่องมือและแมพิมพ (ขนาดเล็กกวา ๒๕ ไมโครเมตร) ตรวจวัด และตรวจสอบชิ้นสวนที่มีขนาดเล็กและช้ินงาน ที่มีสวนประกอบขนาดเล็ก - การซอมแซมสินคาสิ่งทอ สิ่งถักที่มีสีออน - การตรวจสอบและตกแตงช้ินสวนของสินคา สิ่งทอ สิ่งถัก ที่มีสีเขม - การวัดระยะความยาวขั้นสุดทาย

งานละเอียดสูง ๑,๒๐๐ - การตรวจสอบการตัดเย็บเสื้อผาดวยมือ - การตรวจสอบและการตกแตงช้ินสวนสินคาสิ่งทอ สิ่งถัก หรือเสื้อผาที่มีสีออนข้ันสุดทายดวยมือ - การแบงเกรดและเทียบสีของหนังที่มีสีเขม - การเทียบสีในงานยอมผา

๘๐๐ - การระบายสี พนสี และตกแตงช้ินงานที่ละเอียดมากเปน พิเศษ - การเทียบสีที่ระบายชิ้นงาน - งานยอมสี - งานละเอียดที่ทําบนโตะและที่เครื่องจักร (ขนาดเล็กถึง ๒๕ ไมโครเมตร) การตรวจสอบงานละเอียด (เชน ตรวจ ปรับ ความถูกตองของสเกล กลไก และเครื่องมือที่ตองการความ ถูกตองเที่ยงตรง)

ตารางที่ ๔มาตรฐานเทียบเคียงความเขมของแสงสวาง ณ ที่ที่ใหลูกจางคนใดคนหนึ่งทํางาน

ตัวอยางการใชสายตาตามลักษณะงาน ความเขมของแสงสวาง (ลักซ)

Page 164: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

งานละเอียดปานกลาง ๖๐๐ - การทํางานสํานักงานที่มีสีติดกันนอย - งานวาดภาพหรือเขียนแบบระบายสี พนสี และตกแตง สีงานที่ละเอียด - งานพิสูจนอักษร - การตรวจสอบขั้นสุดทายในโรงงานผลิตรถยนต - งานบันทึกขอมูลทางจอภาพ

งานละเอียดนอย ๔๐๐ - งานขนาดปานกลางที่ทําที่โตะหรือเครื่องจักร (มีขนาดเล็ก ถึง ๑๒๕ ไมโครเมตร) - งานประจําในสํานักงาน เชน การพิมพ การจัดเก็บแฟม หรือการเขียน - การตรวจสอบงานที่มีขนาดปานกลาง (เชน เกจทํางานหรือไม เครื่องโทรศัพท) - การประกอบรถยนตและตัวถัง - การทํางานไมอยางละเอียดบนโตะหรือที่เครื่องจักร - การประดิษฐหรือแบงขนาดโครงสรางเหล็ก - งานสอบถาม หรืองานประชาสัมพันธ

๓๐๐ - การเขียนหรืออานกระดานดําหรือแผนชารทในหองเรียน - งานรับและจายเสื้อผา - งานรานขายยา - การทํางานไมช้ินงานขนาดปานกลางซึ่งทําที่โตะหรือ เครื่องจักร - งานบรรจุน้ําลงขวดหรือกระปอง - งานทากาว เจาะรูและเย็บเลมหนังสือ - งานเตรียมอาหาร ปรุงอาหาร และลางจาน

งานละเอยีดนอยมาก ๒๐๐ - งานหยาบที่ทําที่โตะหรือเครื่องจักร (ขนาดใหญตนฉบับ กวา ๗๕๐ ไมโครเมตร) การตรวจงานหยาบดวยสายตา การนับ หรือการตรวจเช็คสิ่งของที่มีขนาดใหญในหองเก็บของ

การใชสายตาตามลักษณะงาน ความเขมของแสงสวาง (ลักซ) ตัวอยาง

Page 165: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

พ้ืนที่ ๑ พ้ืนที่ ๒ พ้ืนที่ ๓ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ๓๐๐ ๒๐๐ มากกวา ๒,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ๖๐๐ ๓๐๐ มากกวา ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๔๐๐ มากกวา ๑๐,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๖๐๐

หมายเหต ุ : พื้นท่ี ๑ หมายถึง จุดท่ีใหลูกจางทํางานโดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน พื้นท่ี ๒ หมายถึง บริเวณถัดจากท่ีท่ีใหลูกจางคนใดคนหนึ่งทํางานในรัศมีท่ีลูกจางเอื้อมมือถึง พื้นท่ี ๓ หมายถึง บริเวณโดยรอบที่ติดพื้นท่ี ๒ ท่ีมีการปฏิบัติงานของลูกจางคนใดคนหนึ่ง

มาตรฐานความเขมของแสงสวาง (ลักซ) บริเวณโดยรอบที่ใหลูกจางคนใดคนหนึ่งทํางานโดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน

ตารางที่ ๕

Page 166: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางาน (TWA) เวลาการทํางานที่ไดรับเสียง (ชั่วโมง) ไมเกิน

(เดซิเบลเอ)๑๒ ๘๗๘ ๙๐๗ ๙๑๖ ๙๒๕ ๙๓๔ ๙๕๓ ๙๗๒ ๑๐๐

๑ ๑/๒ ๑๐๒๑ ๑๐๕

๑/๒ ๑๑๐๑/๔ หรือนอยกวา ๑๑๕

หมายเหตุ * ๑. เวลาการทํางานท่ีไดรับเสียงและระดับเสียงเฉล่ียตลอดเวลาการทํางาน (TWA) ใหใช คามาตรฐานที่กําหนดในตารางขางตนเปนลําดับแรก หากไมมีคามาตรฐานที่กําหนด ตรงตามตารางใหคํานวณจากสูตร ดังนี้ T = ๘ ๒ (L-๙๐)/๕

เม่ือ T หมายถึง เวลาการทํางานท่ียอมใหไดรับเสียง (ชั่วโมง) L หมายถึง ระดับเสียง (เดซิเบลเอ) ในกรณีคาระดับเสียงเฉล่ียตลอดเวลาการทํางาน (TWA) ท่ีไดจากการคํานวณมีเศษ ทศนิยมใหตัดเศษทศนิยมออก ๒. ในการทํางานในแตละวันระดับเสียงท่ีนํามาเฉล่ียตลอดระยะเวลาการทํางาน (TWA) จะมีระดับเสียงสูงสุด (Peak) เกิน ๑๔๐ เดซิเบลเอ มิได

มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมใหลูกจางไดรับตลอดเวลาการทํางานในแตละวัน*ตารางที่ ๖

Page 167: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หนา ๒๐ เลม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ มีนาคม ๒๕๔๙

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใชกฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๐๓ แหงพระราชบัญญัติคุมครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงานมีอํานาจออกกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานใหนายจางดําเนินการในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางาน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของลูกจางที่ทํางานเกี่ยวกับความรอน แสงสวาง และเสียง จึงจําเปนตองออกกฎกระทรวงนี้

Page 168: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เร่ือง หลักเกณฑ วิธีดําเนนิการตรวจวดัและวิเคราะหสภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียงภายในสถานประกอบกจิการ ระยะเวลา และประเภทกจิการที่ตองดําเนินการ

พ.ศ. ๒๕๕๐ อาศัยอํานาจตามความในขอ ๘ วรรคสอง ขอ ๙ วรรคสอง และขอ ๑๕ วรรคสอง แหงกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับความรอน แสงสวาง และเสียง พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงานจึงออกประกาศไว ดังตอไปนี ้

ขอ ๑ ประกาศนี้เรียกวา “ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เร่ือง หลักเกณฑ วิธีดําเนนิการตรวจวัดและวิเคราะหสภาวะการทาํงานเกีย่วกบัระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ตองดําเนนิการ พ.ศ. ๒๕๕๐”

ขอ ๒ ประกาศนี้ใหใชบังคบัตั้งแตวนัประกาศเปนตนไป

หมวด ๑ บททั่วไป

ขอ ๓ นายจางตองจัดใหมีการตรวจวดัและวิเคราะหสภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการในสภาวะที่เปนจริงของสภาพการทํางาน อยางนอยปละ หนึ่งครั้ง

กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครือ่งจักร อุปกรณ กระบวนการผลิต วิธีการทํางาน หรือการดําเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลตอการเปลี่ยนแปลงระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียง ใหนายจางดําเนินการตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมภายในเกาสิบวนันบัจากวนัที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง

หมวด ๒ การตรวจวัดระดับความรอนและประเภทกิจการที่ตองดาํเนินการ

ขอ ๔ ใหตรวจวัดระดับความรอนบริเวณที่มีลูกจางปฏิบัติงานอยูในสภาพการทํางานปกติและ ตองตรวจวดัในเดือนที่มีอากาศรอนที่สุดของการทํางานในปนั้น

Page 169: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ขอ ๕ ประเภทกิจการที่ตองดาํเนนิการตรวจวัด ไดแก การผลิตน้ําตาลและทําใหบริสุทธิ์ การปนทอ

ที่มีการฟอกหรอืยอมสี การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ การผลิตยางรถยนตหรือหลอดอกยาง การผลิตกระจก เครื่องแกวหรือหลอดไฟ การผลิตซีเมนตหรือปูนขาว การถลุง หลอหลอมหรือรีดโลหะ กิจการที่มีแหลงกําเนิดความรอนหรือมีการทํางานที่อาจทําใหลูกจางไดรับอันตรายเนื่องจากความรอน ขอ ๖ อุปกรณที่ใชในการตรวจวัดระดับความรอน ประกอบดวย (๑) เทอรโมมิเตอรกระเปาะแหง เปนชนิดปรอทหรือแอลกอฮอลที่มีความละเอยีดของสเกล ๐.๕ องศาเซลเซยีส และมีความแมนยาํบวกหรือลบ ๐.๕ องศาเซลเซียส มกีารกาํบังปองกันเทอรโมมิเตอรจากแสงอาทิตยและการแผรังสีความรอน (๒) เทอรโมมิเตอรกระเปาะเปยกตามธรรมชาติ มีผาฝายชั้นเดียวที่สะอาดหอหุมกระเปาะหยดน้ํากล่ันลงบนผาฝายที่หุมกระเปาะใหเปยกชุม และปลอยใหปลายอีกดานหนึ่งของผาจุมอยูในน้ํากลั่นตลอดเวลา (๓) โกลบเทอรโมมิเตอร มีชวงการวัดตั้งแตลบ ๕ องศาเซลเซียส ถึง ๑๐๐ องศาเซลเซียส ที่เสียบเขาไปในกระเปาะทรงกลมกลวงทําดวยทองแดง ขนาดเสนผานศูนยกลางสิบหาเซนติเมตร ภายนอกทาดวยสีดาํชนิดพิเศษที่สามารถดูดกลืนรังสีความรอนไดดโีดยใหปลายกระเปาะของเทอรโมมิเตอรอยูกึ่งกลางของกระเปาะ ทรงกลม อุปกรณที่ใชในการตรวจวัดระดับความรอนตามวรรคหนึ่งตองทําการปรับเทียบความถูกตอง (Calibration) อยางนอยปละคร้ัง

ในกรณีที่ไมใชอุปกรณตามวรรคหนึ่ง ใหใชเครือ่งวัดระดับความรอนที่สามารถอานและคํานวณ คาอุณหภูมิเวตบัลบโกลบ (WBGT) ไดโดยตรงตามมาตรฐาน ISO ๗๒๔๓ ขององคการมาตรฐานระหวางประเทศ (International Organization for Standardization) หรือเทียบเทา และใหทําการปรับเทียบความถูกตอง (Calibration) กอนใชงานทกุครั้ง

ขอ ๗ วิธีการตรวจวัดระดับความรอน ใหติดตั้งอุปกรณหรือเครื่องวัดตามขอ ๖ ในตําแหนงสูงจากพื้นระดับหนาอกของลูกจาง

อุปกรณตามขอ ๖ วรรคหนึ่ง กอนเริ่มอานคาตองตั้งทิ้งไวอยางนอยสามสบินาที ทั้งนี้ อุณหภูมิที ่อานคาเปนองศาเซลเซียสใหคํานวณหาคาอณุหภูมเิวตบัลบโกลบ (WBGT) ตามวิธีการที่กําหนดไวในกฎกระทรวง

ใหหาคาระดับความรอน จากคาเฉลี่ยของอุณหภูมิเวตบลับโกลบ (WBGT) ที่คํานวณไดในชวงเวลาทํางานสองชั่วโมงที่รอนที่สุดไดจากสูตร ดังตอไปนี ้ WBGT(เฉล่ีย) = WBGT๑ x t๑ + WBGT๒ x t๒ + ……………………+ WBGTn x tn

t ๑+ t๒ + …………+ tn

WBGT๑ หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา t๑ (นาที)

WBGT๒ หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา t๒ (นาที) WBGTn หมายถึง WBGT( O C) ในเวลา tn (นาที) t ๑+ t๒ + …………+ tn = ๑๒๐ นาที ที่มีอุณหภูมิเวตบัลบโกลบ (WBGT) สูงสุด

Page 170: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ในกรณีที่ไมสามารถระบุไดวาลักษณะงานที่ลูกจางทําในชวงเวลาทํางานสองชั่วโมงที่รอนที่สุด

ตามวรรคสาม เปนงานเบา งานปานกลางหรืองานหนักตามที่กําหนดไวในกฎกระทรวง ใหคํานวณภาระงาน (Work-Load Assessment) เพือ่กําหนดลกัษณะงานตามแนวทางของ OSHA Technical Manual (U.S. Department of Labor, Occupational Safety and Health Administration) หรือเทยีบเทา ใหนําคาระดับความรอนที่คํานวณไดตามวรรคสาม และลักษณะงานทีค่ํานวณไดตามวรรคสี่ เปรียบเทียบกบัมาตรฐานระดับความรอนตามที่กําหนดไวในกฎกระทรวง

หมวด ๓ การตรวจวัดความเขมของแสงสวางและประเภทกิจการที่ตองดําเนินการ

ขอ ๘ ใหตรวจวัดความเขมของแสงสวางในสถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการ โดยใหตรวจวดับริเวณพื้นที่ทัว่ไป บริเวณพืน้ที่ใชประโยชนในกระบวนการผลิตที่ลูกจางทํางาน และบริเวณที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจดุหรอืตองใชสายตาอยูกับที่ในการทํางาน ในสภาพการทํางานปกติและ ในชวงเวลาทีม่ีแสงสวางตามธรรมชาตินอยที่สุด ขอ ๙ การตรวจวัดความเขมของแสงสวาง ตองใชเครื่องวดัแสงที่ไดมาตรฐาน CIE ๑๙๓๑ ของคณะกรรมาธกิารระหวางประเทศวาดวยความสองสวาง (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE ๑๐๕๒๗ หรือเทยีบเทา และกอนเริ่มการตรวจวัดตองปรับใหเครื่องวัดแสงอานคาที่ศูนย (Photometer Zeroing) ขอ ๑๐ การตรวจวดัความเขมของแสงสวางบริเวณพืน้ที่ทัว่ไปและบริเวณพืน้ทีใ่ชประโยชนในกระบวนการผลิตที่ลูกจางทํางาน ใหตรวจวดัในแนวระนาบสูงจากพื้นเจด็สิบหาเซนติเมตร ใหหาคาเฉลีย่ความเขมของแสงสวาง โดยวดัคาความเขมของแสงสวางทุก ๆ ๒x๒ ตารางเมตร แตหากมกีารตดิหลอดไฟที่มลัีกษณะที่แนนอนซ้ํา ๆ กัน สามารถวัดแสงในจุดทีเ่ปนตวัแทนของพื้นที่ที่มีแสงตกกระทบในลักษณะเดยีวกนัได ตามวิธีการวัดแสงและการคํานวณคาเฉลี่ยในหนังสือ IES Lighting Handbook (๑๙๘๑ Reference Volume หรือเทียบเทา) ของสมาคมวิศวกรรมดานความสองสวางแหงอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America) หรือเทียบเทา นําคาเฉลี่ยที่คํานวณไดตามวรรคสอง เปรียบเทียบกับความเขมของแสงสวางตามที่กําหนดไวในกฎกระทรวง ขอ ๑๑ การตรวจวัดความเขมของแสงสวางบริเวณที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจดุหรือตองใชสายตาอยูกับที่ในการทํางาน ใหตรวจวดัในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทํางานของลูกจาง (Workstation) นําคาความเขมของแสงสวางที่ตรวจวดัไดตามวรรคหนึ่ง เปรียบเทียบกบัความเขมของแสงสวางตามที่กําหนดไวในกฎกระทรวง

Page 171: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หมวด ๔ การตรวจวัดระดับเสียงและประเภทกิจการที่ตองดําเนินการ

ขอ ๑๒ ประเภทกิจการที่ตองดําเนินการตรวจวัดระดับเสียง ไดแก การระเบิด ยอย โมหรือบดหิน การผลิตน้ําตาลหรือทําใหบริสุทธิ์ การผลิตน้ําแข็ง การปน ทอโดยใชเครือ่งจักร การผลิตเครื่องเรือน เครื่องใชจากไม การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ กิจการที่มีการปมหรือเจียรโลหะ กจิการที่มีแหลงกําเนิดเสยีงหรือสภาพ การทาํงานที่อาจทําใหลูกจางไดรับอันตรายเนื่องจากเสยีง

ขอ ๑๓ การตรวจวดัระดบัเสยีง ตองใชอุปกรณที่ไดมาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหวางประเทศ วาดวยเทคนิคไฟฟา (International Electrotechnical Commission) หรือเทียบเทา ดงันี้

(๑) เครื่องวัดเสียง ตองไดมาตรฐาน IEC ๖๕๑ Type ๒ (๒) เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ตองไดมาตรฐาน IEC ๖๑๒๕๒ (๓) เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ตองไดมาตรฐาน IEC ๖๑๖๗๒ หรือ IEC ๖๐๘๐๔ อุปกรณที่ใชตรวจวดัระดับเสียงตามวรรคหนึ่ง ตองทําการปรับเทียบความถูกตอง (Calibration )

ดวยอุปกรณตรวจสอบความถูกตอง (Noise Calibrator) ที่ไดมาตรฐาน IEC ๖๐๙๔๒ หรือเทียบเทา ตามวิธีการ ที่ระบุในคูมือการใชงานของผูผลิตกอนการใชงานทุกครัง้

ขอ ๑๔ วิธีการตรวจวัดระดับเสียง ใหตรวจวดับริเวณที่มีลูกจางปฏิบัติงานอยูในสภาพการทํางานปกติ โดยต้ังคาเครื่องวัดเสยีงที่สเกลเอ (Scale A) การตอบสนองแบบชา (slow) และตรวจวัดที่ระดับหูของลูกจางที่กําลังปฏิบัติงาน ณ จดุนั้นรัศมีไมเกินสามสิบเซนติเมตร

กรณีใชเครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม ตองตั้งคาใหเครื่องคํานวณปริมาณเสียงสะสมที่ระดับแปดสิบเดซิเบล Criteria Level ที่ระดับเกาสิบเดซิเบล Energy Exchange rate ที่หา สวนการใชเครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกใหตั้งคาตามทีร่ะบุในคูมือการใชงานของผูผลิต

ขอ ๑๕ กรณีบริเวณที่ลูกจางปฏิบัติงานมีระดับเสียงดังไมสม่ําเสมอ หรือลูกจางตองยายการทํางานไปยังจุดตาง ๆ ที่มีระดับเสียงดังแตกตางกัน ใหใชสูตรในการคํานวณหาระดับเสียงเฉลีย่ตลอดเวลาการทํางานในแตละวัน ดงันี้

D = {(C๑/T๑) + (C๒/T๒) + ............+ (Cn/Tn) } x ๑๐๐ ___ ๑ และ TWA(๘) = [๑๖.๖๑ x log (D/๑๐๐)] + ๙๐ ___ ๒

เมื่อ D = ปริมาณเสียงสะสมที่ผูปฏิบัติงานไดรับ หนวยเปนรอยละ C = ระยะเวลาที่สัมผัสเสียง T = ระยะเวลาที่อนุญาตใหสัมผัสระดบัเสียงนั้น ๆ (ตามตารางที่ ๖ ในกฎกระทรวง) TWA(๘) = ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางาน ๘ ช่ัวโมง/วนั คา TWA(๘) ที่คํานวณไดตองไมเกินเกาสบิเดซิเบลเอ

Page 172: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

หมวด ๕ การวิเคราะหสภาวะการทํางานเกี่ยวกบัระดบัความรอน แสงสวาง และเสียง

ขอ ๑๖ใหนายจางทําการวเิคราะหสภาวะการทํางานเกีย่วกับระดับความรอน แสงสวาง หรือเสียง ที่ลูกจางไดรับ กรณีผลการตรวจวัดมีคาเกนิหรือต่ํากวามาตรฐานที่กําหนดไวในกฎกระทรวง แลวแตกรณี ตองระบุสาเหตุและปจจยัตาง ๆ ที่เกี่ยวของ รวมทั้งอาคารสถานที่ การระบายอากาศ เครื่องจักร การบํารุงรักษา จํานวนลูกจางที่สัมผัสหรือเกี่ยวของกับอนัตราย สภาพและลักษณะการทํางานของลูกจาง รวมถึงวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแกไขและระยะเวลาที่คาดวาจะแลวเสร็จ

ประกาศ ณ วนัที่ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (นายผดุงศักดิ์ เทพหสัดิน ณ อยุธยา) อธิบดีกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน

Page 173: 01ปกนอก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2551/19423.pdf · 2009-02-12 · ABSTRACT Title: Behavior Based Safety : A study of Mattel Bangkok Author: Mr.Nakorn Sasom

ประวัติผูเขียน

ชื่อ – สกุล นายนคร สะสม วัน เดือน ป เกิด 27 มกราคม 2505 ท่ีอยูปจจุบัน 63/2587 หมู 7 หมูบานเคหะธานี 4 ซอยราษฎร

พัฒนา ถนนรามคําแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240

ประวัติการศึกษา ป 2528 สําเร็จการศึกษา ระดบัประกาศนยีบัตรวิชาชีพช้ันสูง(ปวส.) สาขาชางยนต วิทยาลัยเทคนคิเชียงราย

ป 2541 สําเร็จการศึกษา ระดบัปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศบ.) สถาบันราชภัฎฉะเชิงเทรา

ตําแหนงงานปจจุบัน หัวหนาแผนกส่ิงแวดลอมและความปลอดภัย สถานท่ีทํางาน บริษัท แมทเทล กรุงเทพ จํากัด

เขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู เขตประกอบการเสรี 683 ซอย 9 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280