17
109 เครื่องกําเนิดไฟฟา (Generator) 1.จุดประสงคการใชงาน เปนเครื่องผลิตกระแสไฟฟาสํารองในกรณีที่กระแสไฟฟาของการไฟฟาดับ เพื่อใหหนวยงานมีกระแสไฟฟาใชอยางตอเนื่อง รูปที1 แสดงเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาดเล็ก รูปที2 แสดงเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาดกลางที่มีใชกันตามโรงพยาบาลโดยทั่วไป 2. หลักการทํางานของเครื่องกําเนิดไฟฟา เครื่องกําเนิดไฟฟาเปนเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลใหเปนพลังงานไฟฟาโดยอาศัยการ หมุนของขดลวดตัดสนามแมเหล็ก หรือการหมุนสนามแมเหล็กตัดขดลวด ลักษณะทั่วไปของเครื่องกําเนิดไฟฟาจําแนกออกเปนประเภทใหญ ได 2 ชนิด คือ - เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับ (Alternator) - เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสตรง (Dynamo) ในที่นี้จะกลาวเฉพาะเครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับ เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับประกอบดวยสวนใหญ 2 สวน คือ

1.จุดประสงค การใช งานmedi.moph.go.th/standard/unit_07.pdf109 เคร องก าเน ดไฟฟ า (Generator) 1.จ ดประสงค

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

109

เคร่ืองกําเนดิไฟฟา (Generator) 1.จุดประสงคการใชงาน เปนเครื่องผลิตกระแสไฟฟาสํารองในกรณีที่กระแสไฟฟาของการไฟฟาดับ เพือ่ใหหนวยงานมีกระแสไฟฟาใชอยางตอเนื่อง

รูปที่ 1 แสดงเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาดเล็ก

รูปที่ 2 แสดงเครื่องกําเนิดไฟฟาขนาดกลางที่มีใชกันตามโรงพยาบาลโดยทั่วไป 2. หลักการทาํงานของเครื่องกําเนิดไฟฟา เครื่องกําเนิดไฟฟาเปนเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลใหเปนพลังงานไฟฟาโดยอาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแมเหล็ก หรือการหมุนสนามแมเหล็กตดัขดลวด ลักษณะทั่วไปของเครื่องกําเนิดไฟฟาจําแนกออกเปนประเภทใหญ ๆ ได 2 ชนิด คือ

- เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับ (Alternator) - เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสตรง (Dynamo)

ในที่นี้จะกลาวเฉพาะเครื่องกาํเนิดไฟฟากระแสสลับ เครื่องกําเนิดไฟฟากระแสสลับประกอบดวยสวนใหญ ๆ 2 สวน คือ

1102.1. เคร่ืองตนกําลัง เปนสวนที่ผลิตพลังงานกลขึ้นมา เพื่อหมุนเพลาของเครื่องกําเนิดไฟฟา เชน

- กังหันน้ํา ไดแก เขื่อนตาง ๆ - กังหันไอน้ํา ไดแก การนําเอาน้ํามาทําใหเกดิความรอนแลวนําเอาไอน้ําไปใชงาน - กังหันแกส มีแบบใชน้ํามันดเีซล น้ํามันเบนซิน สวนใหญใชน้ํามันดีเซลเพราะราคาถูก

รูปที่ 3 หลักการพื้นฐานของเครื่องกําเนิดไฟฟา ชนิด AC 2.2. Generator เปนตัวผลิตพลังงานไฟฟา โดยหลักการเหนี่ยวนําของแมเหล็กมหีลายแบบดังนี ้

2.2.1 แบบทุนหมุน Revolving Armature Type (Ra Type) แบบนี้ใชวิธีหมุนขดลวดทองแดงที่พันอยูบนแกนเพลาหมุนตดัผานเสนแรงแมเหล็กที่อยูบนเปลือก ทําใหเกดิไฟฟาเหนีย่วนําขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดง นําเอาแรงดันไฟฟานี้ไปใชงานโดยผาน Slip Ring (วงแหวนทองเหลือง) และแปรงถาน ขั้วแมเหล็กที่จะทําใหเกิดไฟฟาเหนี่ยวนํานี ้ ไมไดเปนแมเหล็กถาวรหรือแมเหล็กธรรมชาติที่มีความเขมของสนามแมเหล็กคงที ่ แตใชไฟฟากระแสตรงปอนผานขดลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กออน เพื่อทําใหเกดิแมเหล็กไฟฟาเหนี่ยวนําขึ้น ปริมาณของไฟฟากระแสตรงนี้จึงสามารถควบคุมปริมาณแรงดนัไฟฟากระแสสลับได โดยการเพิม่หรือลดปริมาณของไฟฟากระแสตรง

2.2.2 แบบขั้นแมเหล็กหมุน Revolving Field Type (Rf Type) แบบนี้ใชวิธีหมุนขัว้แมเหล็กที่อยูบนเพลา ทําใหเสนแรงแมเหล็กตัดผานขดลวดทองแดงที่พันติดอยูบนเปลือก ทําใหเกดิแรงดนัไฟฟาบนปลายขดลวดทองแดง แบบนี้ไมตองมี Slip Ring และแปรงถาน เพื่อนําแรง ดันไฟฟาไปใชงาน แตมีแปรงถานและ Slip Ring ตอกับขดลวดทองแดง ที่พันอยูบนแกนแมเหล็ก เพื่อใชสําหรับปอนไฟฟากระแสตรงไปเลี้ยงขดลวดทองแดง เพื่อสรางความเขมของสนามแมเหล็ก

111 รูปที่ 4 แสดงใหเห็นโครงสรางและองคประกอบหลักของเครื่องกําเนดิไฟฟา ที่ใชในโรงพยาบาล

2.2.3 แบบไมมีแปรงถาน Brushless Type (Bl Type) แบบนี้แบงตามขั้นตอนการทํางานออกเปนสวน ๆ ได 4 สวน คือ

ก. Exciter ประกอบดวย - Exciter Field Coil เปนขดลวดที่ทําใหเกดิแมเหล็กไฟฟาเหนีย่วนําจะตดิอยูกบั สวนที่อยูกับที ่ - Exciter Armature เปนชุดที่ประกอบดวยขดลวดที่จะถูกทําใหเกิดกระแส ไฟฟาเหนี่ยวนํา โดยเปนสวนที่ติดอยูกับเพลาและหมุนไปพรอมกับเพลา กระแสที่เกิดขึ้นใน Exciter Armature จะเปนไฟฟากระแสสลับ 3 เฟส

ข. Rotating Rectifier จะติดอยูบนเพลาจึงหมุนตามเพลาไปดวย มีหนาที่แปลง กระแสไฟฟาสลับที่เกิดจาก Exciter Armature ใหเปนไฟฟากระแสตรง ค. Main Generator

เปนสวนทีผ่ลิตกระแสไฟฟาเพื่อออกไปใชงานจริง ประกอบดวย

112 - Rotating Field Coil เปนขดลวดที่พนัรอบแกนเหล็กที่ติดกับเพลาเพื่อทําให เหล็กกลายเปนสนามแมเหล็กไฟฟา โดยไดรับไฟฟากระแสตรงทีป่อนมาจาก Rotating Rectifier - Stator Coil (Alternator Armature) เปนขดลวดที่จะถูกทําใหเกิดไฟฟาเหนี่ยวนําขึ้นและจายกระแสไฟฟาสลับออก ไปใชงาน ช. Automatic Voltage Regulator (A.V.R.)

เปนชุดควบคมุแรงดันไฟฟาที่นําไปใชงานใหคงที ่ ซ่ึงเปนการทํางานควบคุมอยางอัตโนมัติ หลักการทํางานของ A.V.R. เปนการนํากระแสสลับที่เกิดจาก Stator Coil มาแปลงเปนกระแสตรง จายเขา Exciter Field Coil โดยปรมิาณกระแสตรงจะมีการควบคุมใหมากหรือนอยตามสภาพการณของแรงดันไฟฟาจาก Stator Coil โดยเปนไปอยางอัตโนมัต ิ

Automatic Voltage Regulator

รูปที่ 5 แสดง Block Diagram of Brushless A.C. Generators

Exciter Stator

Rotating Diodes

Exciter Rotor

Output

Main Stator

แกนเพลาหมุนไปดวยกัน Main Rotor

113

รูปที่ 6 แสดงวงจรการทํางานของชุดกําเนิดไฟฟาขนาดเล็ก ซึ่งเครื่องขนาดใหญ ก็ใชหลักการเดียวกัน

รูปที่ 7 แสดง stator coil และ rotor winding ของชุดกําเนิดไฟฟาขนาดเล็ก

ระบบสายสงแบงเปน 2 ชนิด คือ - ระบบ 1 เฟส (Single Phase) - ระบบ 3 เฟส (Three Phase) หรือ 3 เฟส 4 สาย

114ระบบควบคุมการจายกําลังไฟฟา มี 2 ชนิด คือ

- ควบคุมดวยมอื (Manual) - ควบคุมโดยอตัโนมัติ (Automatic)

3. ขั้นตอนการใชงานที่ถูกตอง 3.1 กอนใชงานเครื่องกําเนิดไฟฟา ควรดําเนินการดังตอไปนี ้

(1) ทําความคุนเคยการทํางาน โดยศึกษาจากคูมือ อุปกรณการควบคุม เนื่องจากเครือ่งกําเนิดไฟฟา สามารถควบคุมไดทั้งระบบ Manual และ Automatic ศึกษาตําแหนงของวาลวที่ทํางานและอุปกรณการดบัเครื่องจนเปนที่เขาใจ

(2) มีความเขาใจเกีย่วกับน้ํามันเชื้อเพลิง น้ํามันหลอล่ืนของเครื่องกําเนิดไฟฟา (3) ตรวจสอบน้ําในหมอน้ํารังผ้ึง ตองมีน้ําเตม็และฝาปดหมอน้ําไมชํารุด สายยางทอน้ําอยูในสภาพด ี(4) ตรวจวัดระดับน้ํามนัหลอล่ืนของเครื่องยนต ตองอยูในระดับทีก่ําหนด (5) ตรวจสอบน้ํามันเชื้อเพลิงวามีปริมาณเพียงพอหรือไม สําหรับการเดินเครื่องใชงาน โดยเฉพาะเมื่อ ระบบควบคุมตั้งอยูในตําแหนง Automatic (6) ตรวจสอบระบบการประจุของแบตเตอรี่ของเครื่องประจ ุ(7) ตรวจสอบระดับน้ํากลั่นของแบตเตอรี่ตองไมแหง ขั้วสายไฟของแบตเตอรี่ตองสะอาดและแข็งแรง (8) ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ํา น้ํามันหลอล่ืน น้ํามันดีเซลจากตัวเครือ่งยนต หากพบวามีการรัว่ซึมใหรีบ แกไขหรือเรียกบริการจากชางผูชํานาญ (9) ตรวจสอบความตึงของสายพาน ตองไมหยอนหรือตงึเกินไปโดยกดที่ระยะกึ่งกลางระหวางพูเลของใบ พัดกับพเูลของไดชารต น้ําหนกักดประมาณ 10 kg ตั้งความตึงสายพานใหไดประมาณ 11 ถึง 13 mm. สายพานหยอนเกนิมักกอใหเกิดปญหาของเครื่องยนตดีเซลมอุีณหภูมิสูง และการประจุไฟของ ไดชารตเขาแบตเตอรี่ต่าํเกินไป สายพานที่ตึงเกนิไปจะทําใหตัวสายพานและพูเลตาง ๆ เสื่อมสภาพ เร็วกวาปกติ (10) ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ ตองอยูในสภาพดไีมแตกชํารุด (11) ตรวจสอบ Circuit Breaker ตองอยูในสภาพดแีละขั้วตอสายไฟตาง ๆ แนนหนาแข็งแรง (12) ทดสอบเดินเครื่องกําเนดิไฟฟาโดยไมตองจายกระแสไฟฟา และตรวจสอบแรงดันของไฟฟาตองอยู

115 ในเกณฑปกติ 220 V. โดยวดัจาก Line กับ Neutral หรือ 380 V. วัดระหวาง Line กับ Line (13) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟา ตองอยูในเกณฑปกต ิ 50 ถึง 52 Hz (14) ตรวจสอบแรงดันของน้ํามันเครื่องวาปกติหรือไม (ดูจากมาตรวดัความดนั)หลีกเลี่ยงการเดินเครื่อง ยนตโดยระดับแรงดันน้าํมันหลอล่ืนต่าํกวาเกณฑกําหนด เครื่องยนตใชงานในสภาวะปกต ิ แรงดัน

น้ํามันหลอล่ืนจะตองไมต่ํากวาระดับกําหนดนีจ้ึงจะไมทําใหเครื่องยนตชํารุด เมื่อเดินเบารอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa) เมื่อเดินเครื่องใชงานรอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa) (15) ตรวจสอบอุณหภูมิที่มาตรวัดอุณหภูมขิองเครื่องยนต ตองอยูในระดับปกต ิ อุณหภูมิน้ําหลอเยน็ตอง

ไมเกนิ 95 °C 3.2 ระหวางใชงานเครื่องกําเนิดไฟฟา ควรดําเนินการดงัตอไปนี ้

(1) ตรวจสอบแรงดันไฟฟา ตองอยูในเกณฑกําหนด (2) ตรวจสอบความถี่ทางไฟฟา ตองอยูในเกณฑกําหนด (3) ตรวจสอบกระแสการใชงานของ Load ตองไมเกินกําลังของเครื่องกําเนิดไฟฟา (4) ตรวจสอบแรงดันน้ํามนัเครื่องยนตวาปกติหรือไมจากมาตรวัด (5) ตรวจสอบอุณหภูมิของเครื่องยนตวาปกติหรือไมจากมาตรวัด (6) สังเกตและฟงเสียงที่เกดิจากอาการผิดปกติของเครื่องยนตและเครื่องกําเนิดไฟฟา (7) ตรวจเช็คการทํางานของตูควบคุม (8) ไมควรเปดหรือปดเบรกเกอรสําหรับจาย Load บอย ๆ โดยไมจําเปน (9) หากเกดิประกายไฟจากจุดตาง ๆ หรือมีกล่ินไหม ควันขึ้นใหดับเครื่องยนตแลวแจงชาง (10) ควรมีเจาหนาที่ควบคุมดูแลเครื่องยนตขณะใชงานตลอดเวลา

116รูปที่ 8 แสดงเครื่องกําเนิดไฟฟาที่ถูกออกแบบไวในตูเกบ็เสียง เหมาะสําหรับโรงพยาบาลที่มีพื้นที่นอย

รูปที่ 9 แสดงถึงหองควบคุมที่มีความสะอาดเรียบรอย เปนสิ่งที่จําเปนสําหรับหองเครื่องกําเนิดไฟฟา 3.3 หลังการใชงานเครื่องกําเนิดไฟฟา ควรดําเนินการดงัตอไปนี ้

(1) ตรวจสอบรอยรั่วซึมของระบบน้ําหลอเย็น รอยร่ัวซึมของน้ํามันหลอล่ืน (2) ทําความสะอาดหมอน้ํารังผ้ึง โดยปดฝุนผง เศษวัสดทุี่ติดตามแนวหมอน้ํา (3) ตรวจสอบขอตอสงกําลังตาง ๆ (4) ตรวจสอบจุดตอสายไฟตาง ๆ (5) ทําความสะอาดไสกรองอากาศ (6) ตรวจสอบหารอยปริราวของสายพานฉดุใบพัด และสายพานตาง ๆ (7) ทําความสะอาดสถานทีแ่ละเครื่องยนต ตูควบคุม (8) ตรวจดูระดับน้ํากลั่นในหมอแบตเตอรีใ่หอยูในระดับ (9) ไลความชื้นออกจากทีก่รองน้ํามันเชื้อเพลิงทุก ๆ สัปดาห (ถายน้ําทิ้งจากชุดกรองน้ํามันเชื้อเพลิง) (10) ตรวจสอบจดบันทึกการใชน้ํามันเชื้อเพลิง และชั่วโมงการทํางานของเครื่องยนต

4. ขั้นตอนการบํารุงรักษา (Check List) 4.1 การบํารุงรกัษาโดยผูใชงาน

117ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ

1. ทุกวันหรือ 20 ช่ัวโมงการใชงาน

- ทําความสะอาดโรงไฟฟา ตูควบคุม - ตรวจระดับน้ํามันหลอล่ืนเครื่องยนต - ตรวจสอบระดับน้ําในหมอน้ํา - ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ําและน้ํามันตาง ๆ - ตรวจระดับน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจความตึงสายพาน - ตรวจสอบขอตอสายไฟ

2. ทําความสะอาดหมอน้ํารังผึ้งดานนอก

- ตรวจสอบเดินเครื่องยนตและตรวจสอบคาตาง ๆ เชน แรงดันไฟฟา ความถี่ อุณหภูมิเครื่องยนต แรงดันน้ํามันเครื่อง - ตรวจสอบระดับน้ํากลั่นแบตเตอรี่ ขั้วและสายแบตเตอรี่ - ตรวจสอบเครื่องประจุไฟฟาของแบตเตอรี่ - ไลความชื้นและน้ําออกจากที่กรองน้ํามันเชื้อเพลิง - ทําความสะอาดหมอน้ํารังผึ้งดานนอก

4.2 การบํารุงรกัษาโดยชาง ระยะเวลา วิธีปฏิบัติ ผลการตรวจสอบ

1. ทุกรอบ 3 เดือน หรือ 250 ช่ัวโมงการใชงาน

- ถายน้ํามันหลอล่ืน - เปลี่ยนไสกรองน้ํามันหลอล่ืน - ทําความสะอาดไสกรองอากาศ - ตรวจสอบทอยางและเหล็กรัดทอ - ตรวจสอบนอตและสกรูของจุดตอสายไฟ - ตรวจสอบขอตอสงกําลัง

2. ทุกรอบ 6 เดือนหรือ 500 ช่ัวโมงการใชงาน

- เปลี่ยนไสกรองอากาศ - เปลี่ยนไสกรองน้ํามันเชื้อเพลิง

3. ทุกรอบ 12 เดือนหรือ 1,000 ช่ัวโมงการใชงาน

- ปรับตั้งระยะหางวาลว - ถายน้ําหลอเย็น - ทําความสะอาดหมอน้ํารังผึ้งดานใน - ขันนอตฝาสูบและเสื้อสูบ - ถายน้ําและเศษสกปรกออกจากถังน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ - ตรวจสอบรอยรั่วซึมที่หัวฉีดน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจสอบ Shutdown Sensors

118หมายเหตุ - จากรายละเอียดการบํารุงรักษาขางตน เปนแนวทางปฏิบัติซึ่งแนะนําใหใชกับเครื่องยนตทั่วไป ดังนั้นผูใชควรศึกษาการบํารุงรักษาเครื่องยนตจากหนังสือคูมือของเครื่องยนตโดยตรง (ถามี) ทั้งในดานวิธีปฏิบัติและระยะเวลาการบํารุงรักษา

รูปที่ 10 แสดงชุดชารทแบตเตอรี่ ขนาด Input: 220 Volt Output: 2 Volt Amps: 10

รูปที่ 11 แบตเตอรี่รูปแบบตางๆ ที่ใชในบานเราสวนมากจะเปนชนดิ 12 V

รูปที่ 12 แสดงชุดควบคุมการทํางานของระบบ สวนใหญในปจจุบนัจะใชไมโครคอมพิวเตอรเปนตัวควบคุม

119

รูปที่ 13 เครื่องกําเนิดไฟฟาขนาด 200 kW ใชเครื่องยนตขนาด 16 สูบเปนตัวตนกําลัง

รูปที่ 14 เครื่องกําเนิดไฟฟาขนาด 500 KW ที่นิยมใชยี่หอหนึ่ง

120

5. ปญหาและแนวทางแกไขเบื้องตน

ปญหา สาเหตุ วิธีแกไข 1. เครื่องกําเนิดไฟฟาไมมีแรงดันไฟฟาเมื่อมีความเร็วถึงอัตรากําหนด

- เนื่องจากชุดควบคุม A.V.R. ไมทํางาน - ไมมีสนามแมเหล็กตกคาง - Rotating Rectifier ชํารุด

- ตรวจซอมชุด A.V.R. - กระตุนดวยไฟฟากระแสตรง ประมาณ 12 V. ที่ Exciter - ตรวจเช็ค Diode และเปลี่ยน ใหม

2.แรงดันไฟฟาสูงหรือตํ่ากวากําหนด

- ปรับ Volume แรงดันไฟฟาไว ผิดตําแหนง - ชุด A.V.R. ชํารุด

- ปรับ Volume แรงดันไฟฟา ใหม - แกไขหรือเปลี่ยนใหม

3. แรงดันไฟฟามี Regulation ไมดี

- แผง A.V.R. ชํารุด - ปรับ Stability ไวไมถูกตอง - ปรับ Under Speed Protection ไวไมถูกตอง - Rotating Rectifier ชํารุด

- แกไขหรือเปลี่ยนใหม - ปรับ Stability ใหม - ปรับ Under Speed Protection ใหม - ตรวจเช็ค Diode และเปลี่ยน

4. แรงดันไฟฟาลดต่ําลงเมื่อจายโหลด

- ชุดควบคุม A.V.R. ชํารุด - เครื่องกําเนิดไฟฟารับโหลดมากเกินไป - โหลดของเครื่องกําเนิดไฟฟาไมสมดุล - Diode ชํารุด

- แกไขหรือเปลี่ยนใหม - ลดปริมาณการใชกระแส ไฟฟา

5. มีความรอนและกลิ่นไหมจากเครื่องกําเนิดไฟฟา

- ระบบระบายความรอนไมดี - ฉนวนขดลวดลัดวงจร - มีความรอนและกลิ่นไหมจากเครื่องกําเนิดไฟฟา

- แกไขโหลดใหสมดุล - เปลี่ยน Diode ใหม - ตรวจดูใบพัดระบายอากาศ - ตรวจสอบขดลวดและตรวจซอม - ตรวจสอบกระแสที่ แอมปมิเตอร ถากระแสเกินตองปดวงจรการจาย ไฟหรือลดโหลดลงทันที

121

ปญหา สาเหตุ วิธีแกไข 6. เครื่องยนตสตารทไมได มอเตอร สตารทไมทํางาน

- แบตเตอรี่ไมมีกระแสไฟ - สวิทซมอเตอรสตารทเสีย - สวิทซโซลินอยดเสีย - มอเตอรสตารทเสีย

- เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม - ซอมหรือเปลี่ยนใหม - ซอมหรือเปลี่ยนใหม - ซอมหรือเปลี่ยนใหม

7. เครื่องยนตสตารทไมได จากการที่มอเตอรสตารทหมุนชา

- แบตเตอรี่ไฟไมเต็ม - ขั้วตอสายแบตเตอรี่หลวม หรือสกปรก - มอเตอรสตารทเสีย

- ชารทแบตเตอรี่ใหม - ทําความสะอาดขั้วสายและ ขันใหแนน - ตรวจซอมหรือเปลี่ยนใหม

8. เครื่องยนตสตารทไมติด แตมอเตอรสตารททํางานปกติ

- ต้ังจังหวะฉีดเชื้อเพลิงผิด - กําลังอัดต่ํา - ไสกรองอากาศอุดตัน - น้ํามันเชื้อเพลิงหมด - ทางเดินน้ํามันเชื้อเพลิงอุดตัน - มีลมในระบบทางเดินน้ํามัน เช้ือเพลิง

- ต้ังจังหวะการฉีดใหม - ตรวจซอมเครื่องยนต - ทําความสะอาดไสกรอง - เติมน้ํามนัเชื้อเพลิง - ทําความสะอาดระบบทอนําน้ํามันเช้ือเพลิง - ไลลมในระบบทางเดินน้ํามัน

9. เครื่องยนตรอนจัด - น้ําหลอเย็นรั่ว - น้ํามันหลอล่ืนแหง - หมอน้ํารังผึ้งตัน - ปมน้ําชํารุด - สายพานปมน้ําขาดหรือหยอน - เทอรโมสตัดไมทํางาน - เครื่องยนตหลวมมาก - น้ําหลอเย็นแหง - ใบพัดระบายอากาศแตกหรือ หัก

- ตรวจซอม - เติมน้ํามันหลอล่ืน - ตรวจซอมหมอน้ํา - ตรวจซอมปมน้ํา - เปลี่ยนหรือต้ังสายพานใหม - เปลี่ยนใหม - ตรวจซอมเครื่องยนต - เติมน้ําหลอเย็น - เปลี่ยนใหม

10. เครื่องยนตมีเสียงเคาะ - ชารปละลายและหลวม - บูชกานสูบเสีย - แหวนลูกสูบเสีย - สปริงวาลวหัก - ต้ังจังหวะการจุดระเบิดผิด

- ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ต้ังจังหวะการจุดระเบิดใหม

122

ปญหา สาเหตุ วิธีแกไข 11.เครื่องยนตมีควันดํา - ต้ังปมสงน้ํามันมากเกินไป

- ระบบเรงฉีดของปมคาง - กําลังอัดของระบบสูบต่ํา

- ต้ังจังหวะการทํางานของปม หัวฉีดใหม - ตรวจซอมหัวฉีด - ตรวจซอมปมหัวฉีด

12. เครื่องยนตสตารทติดแลวดับ

- วาลวรั่วหรือคาง - ต้ังโกเวอรเนอรในจังหวะเดิน เบาผิด - น้ํามันหมดหรือมีลมในระบบ - ไสกรองน้ํามันตัน

- ตรวจซอม - ต้ังโกเวอรเนอรใหม - เติมน้ํามันและไลลม - เปลี่ยนใสไสกรองน้ํามัน เช้ือเพลิง

13. เครื่องยนตไมมีกําลัง - วาลวรั่ว - มีลมในระบบ - ลูกสูบหลวม - ต้ังวาลวผิด - แหวนลูกสูบหักและหลวม - จังหวะจุดระเบิดผิด - เครื่องยนตรอนจัด

- ตรวจซอม - ไลลม - ตรวจซอม - ต้ังวาลวใหม - ตรวจซอมเปลี่ยนใหม - ตรวจซอม - ตรวจซอม

14. เครื่องยนตเดินเบาไมสนิท - ต้ังโกเวอรเนอรในตําแหนง เดินเบาผิด - จังหวะจุดระเบิดผิด - วาลวรั่ว - สปริงวาลวหัก - ปมน้ํามันเชื้อเพลิงชํารุด - ปมหัวฉีดชํารุด - ไสกรองน้ํามันตัน - มีอากาศในระบบ - หัวฉีดชํารุด

- ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม - ตรวจซอม

1236. ขอควรระวังในการใชงาน

6.1 กอนจะตรวจเช็คอุปกรณใด ๆ ของเครื่องกําเนิดไฟฟา ถาระบบของเครื่องกําเนิดไฟฟาเปนแบบจาย กระแสอัตโนมัติ ใหปรับไปที่ตําแหนง OFF หรือปลดขั้วสายแบตเตอรี่ออกเสียกอน เพื่อปองกันเกิด อุบัติเหตุจากเครื่องยนตสตารทเองขณะทําการตรวจเช็ค 6.2 หามเปดฝาหมอน้ําในขณะที่เครื่องยนตยังรอนอยู 6.3 ไมจายกระแสเกินกําลังของเครื่องกําเนิดไฟฟา 6.4 ไมควรปรับอุปกรณใด ๆ ขณะจายกระแสไฟฟา ถามีความผิดปกติใด ๆ ใหงดจาย Load แลวจึงทํา

การแกไข 6.5 ไมควรทิ้งเครื่องยนตโดยไมมีผูดูแลขณะเครื่องกําลังทํางานอยู 6.6 ไมควรเปด-ปดเบรกเกอรสําหรับจาย Load บอย ๆ โดยไมจําเปน 6.7 สถานที่ติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟาตองมีการระบายอากาศเปนอยางดแีละไมควรมีฝุนละออง ไมเปน

สถานที่เก็บสารเคมีหรือวัตถุไวไฟอืน่ ๆ นอกจากน้ํามนัเชื้อเพลิงเครื่องยนตเทานั้น 6.8 ขณะจาย Load ควรตรวจสอบกระแสไฟฟา แรงดันไฟฟา ความถี่ทางไฟฟาอยูเสมอ 6.9 ขณะจาย Load ควรตรวจสอบแรงดันน้ํามันเครื่องและอุณหภูมิของเครื่องยนต 6.10 ในการตดิตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟา จําเปนตองเดินสายดินโดยตอกบัแทงทองแดงหรือ Ground Rod ที่ ฝงอยูใตดินตามมาตรฐานกําหนด ทั้งนี้ตองตอทั้งตัวเครื่องยนตและตูควบคุม 7. แนวทางการปฏิบัติท่ีควรยึดถือในการใชงาน

7.1 ทําการบํารุงรักษาชุดเครื่องกําเนิดไฟฟา ตามกําหนดเวลาการบํารุงรักษา ซ่ึงรวมถึงการตรวจสอบกอนการเดินเครื่องยนต

7.2 อยาใชงานเครือ่งยนตโดยไมใสตัว Themostat 7.3 ใชน้ํามันหลอล่ืนที่มีคุณภาพดี 7.4 ใชน้ํามันเชื้อเพลิงที่ปราศจากการเจือปนของน้ําหรือสารอื่น ๆ 7.5 ตระหนกัถึงขอควรระวังดานความปลอดภัย 7.6 อยาใชงานชดุเครื่องกําเนิดไฟฟาเกนิพิกดั 7.7 ควรหลีกเลียงสิ่งตอไปนี้คือ

7.7.1 หลีกเลี่ยงการใชงานจนเครื่องยนตรอนจัด อุณหภมูิน้ําหลอเยน็ตองไมเกิน 95 °C 7.7.2 หลีกเลี่ยงการใชงานในลักษณะอณุหภูมิน้ําหลอเยน็ต่ํากวา 60 °C การใชงานอยางตอ

124 เนื่องโดยที่อุณหภมูิน้ําหลอเยน็ต่าํกวา 60 °C อาจเปนผลเสียตอเครื่องยนต เนื่องจาก อุณหภูมิน้ําหลอเยน็ต่ําเกินไปจะทําใหเครื่องยนตเกิดการเผาไหมไมสมบูรณ เปนผลให มีการสะสมของคารบอน จนทํา ใหแหวนลูกสบูและหวัฉีดชาํรุด นอกจากนั้นน้ํามัน เชื้อเพลิงที่ตกคางจากการเผาไหมไมสมบูรณเมือ่ปนกับน้ํามันหลอล่ืนในเสือ้สูบ จะทําให น้ํามันหลอล่ืนเสื่อมคุณภาพเร็วข้ึน

7.7.3 หลีกเลี่ยงการเดินเครื่องยนตโดยระดับแรงดันน้ํามันหลอล่ืนต่ําเกินเกณฑกําหนด เครื่องยนตใชงาน ในสภาวะปกติ แรงดันน้ํามันหลอล่ืนจะตองไมต่ํากวาระดับกําหนดดังนี้ จึงจะไมทําใหเครื่องยนตชํารุด กรณี เมื่อเครื่องเดินเบา รอบเครื่องประมาณ 800 RPM 10 PSI (0.07 Mpa) และเมื่อเครื่องใชงาน รอบเครื่องประมาณ 1500 RPM 40 PSI (0.28 Mpa)

7.7.4. หลีกเลี่ยงการใชงาน เมื่อช้ินสวนของเครื่องยนตชํารุด โดยทั่วไปแลวการชํารุดของช้ินสวน

ตาง ๆมักมีสัญญาณบอกเหตุกอนที่ช้ินสวนนั้น ๆ จะชํารุด ผูใชอาจทราบไดจากการเปลี่ยน

แปลงในสมรรถนะของเครื่องกําเนิดไฟฟา เชนมีเสียงผิดไปจากปกติ หรือการสังเกตดวย

สายตา ขอสังเกตบางประการ เชน - เครื่องยนตส่ันแรงเกนิไป

- เครื่องยนตหรือเครื่องกําเนดิไฟฟาสูญเสยีกําลังทันทีทนัใด - เสียงของเครื่องยนตหรือเครื่องกําเนิดไฟฟาผิดไปจากสภาวะปกต ิ- ไอเสียมากกวาปกต ิ- แรงดันน้ํามนัหลอล่ืนต่ํากวาปกต ิ- น้ํามันหลอล่ืน น้ําหลอเย็นร่ัวซึม - อ่ืน ๆ

125 ตารางการตรวจสอบบํารุงรักษา

ระยะเวลา รายการที่ตรวจสอบ วิธีปฏิบัติ A B C

1 ทุก 20 ช่ัวโมงการใชงาน 2. ทุกสัปดาหหรือ 7 วัน 3. ทุก 3 เดือน

- ตูควบคุมไฟฟาและอุปกรณ - ระดับน้ํามันหลอล่ืนเครื่องยนต - ระดับน้ําในหมอน้ํา - การรั่วซึมของน้ําและน้ํามันตาง ๆ - ระดับน้ํามันเชื้อเพลิง - ความตึงสายพาน - ตูควบคุมไฟฟาและอุปกรณ - เครื่องยนต - ตัวเครื่องกําเนิดไฟฟา - แบตเตอรี่ - เครื่องประจุไฟฟาของแบตเตอรี่ - ตูควบคุมไฟฟาและอุปกรณ - เครื่องยนต - ตัวเครื่องกําเนิดไฟฟา

- ตรวจสอบจุดตอสายไฟตางๆ และการทํางานของสวิตชโอนยาย - ตรวจระดับน้ํามันหลอล่ืนเครื่องยนต - ตรวจสอบระดับน้ําในหมอน้ํา - ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ําและน้ํามันตาง ๆ - ตรวจระดับน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจความตึงสายพาน - ตรวจสอบการทํางานของชุดควบคุมเครื่องและสวิตชโอนยาย - ตรวจสอบเดินเครื่องยนตและตรวจสอบอุณหภูมิเครื่องยนต แรงดันน้ํามันเครื่อง - ตรวจสอบคาแรงดันไฟฟา ความถี่ - ตรวจสอบระดับน้ํากลั่นแบตเตอรี่ ขั้วและสายแบตเตอรี่ - ตรวจสอบแรงดันไฟฟาและการทํางาน - ตรวจสอบการทํางานของชุดควบคุมเครื่องและสวิตชโอนยาย - ตรวจสอบจุดตอสายไฟฟาตางๆและการใชกระแสไฟฟา - ตรวจสอบไสกรองอากาศและไสกรองน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจสอบทอยางและเหลก็รัดทอ - ตรวจสอบขอตอสงกําลัง - ตรวจสอบหมอน้ํารังผึ้งดานใน - ตรวจสอบใบพัดระบายอากาศ - ตรวจสอบรอยรั่วซึมที่หัวฉีดน้ํามันเชื้อเพลิง - ตรวจสอบ Shutdown Sensors - ตรวจสอบการยึดติดกับฐานและตัวเครื่อง

หมายเหต ุ A : สภาพปกติ B : แกไขบํารุงรักษา C : ตองแกไขซอมแซมโดยดวน