12
เอกสารวิชาการ ประจาปีงบประมาณ 2554 เรื่อง เครื่องตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว จัดทาโดย ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที8 (ชลบุรี ) กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    8

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

เอกสารวิชาการ ประจ าปีงบประมาณ 2554

เรื่อง เครื่องตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว

จัดท าโดย

ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ท่ี 8 (ชลบุรี) กองวิศวกรรมการแพทย์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

Page 2: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

ชื่อโครงงาน เครื่องตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว ทีมด าเนินงาน นาย ก าชัย ธูปเงิน , นายเลิศรัตน์ รุ่งเรือง , นายประสิทธิ์ จิตกล้า , นายพิชิตพร นิลใน หน่วยงาน ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ ๘ (ชลบุรี) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข รายช่ือผู้เสนอผลงาน นายก าชัย ธูปเงิน ต าแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

งานพัฒนา ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ ๘ (ชลบุรี) ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาลในเขตพ้ืนที่ที่รับผิดชอบ จากการที่ได้ท าการตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัย ในระบบไฟฟ้า พบว่าความเสี่ยงที่พบโดยส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีกระแส ไฟรั่วเนื่องจากฉนวนของเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพ ประกอบกับโรงพยาบาลบางส่วนยังไม่ได้ติดตั้งระบบกราวด์ ซึ่งอาจท าให้เกิดอันตรายถึงชีวิตกับเจ้าหน้าที่ที่ใช้งาน รวมถึงผู้ป่วยและผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาล

ปกติการตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วสามารถใช้ไขควงเช็คไฟ หรือมัลติมิเตอร์ตรวจสอบได้ แต่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากระแสไฟฟ้ารั่วเท่าไร ทราบเพียงแต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่รั่ว และวิธีการดังกล่าวค่อนข้าง ยุ่งยาก เพราะเจ้าหน้าทีใ่นโรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้งานมัลติเตอร์ไม่เป็น คณะท างานจึงได้ออกแบบ เครื่องตรวจสอบ กระแสไฟฟ้ารั่วขึ้น โดยออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย แสดงผลเป็นตัวเลขของกระแสไฟฟ้าที่รั่ว ซึ่งจะท าให้ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยท่ีไม่ใช่ช่างเทคนิค ก็สามารถ ใช้งานได้สะดวก และยังสามารถประเมินอันตรายท่ีอาจจะเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว อันจะน าไปสู่การแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้า

หลักการและการออกแบบ เครื่องตรวจสอบ กระแสไฟฟ้ารั่ว ใช้หลักการต่อวงจรพื้นฐาน คือ ต่อแอมป์มิเตอร์อนุกรมกับแหล่งจ่ายกับโหลด และ ต่อโวลท์มิเตอร์ ต่อขนานกับแหล่งจ่าย ใช้ค่าความต้านทาน แทนโหลดของผิวหนังแห้ง และผิวหนังเปียก ของมนุษย์ที่อาจไปสัมผัสกับเครื่องมือ และอุปกรณ์ท่ีมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ผลที่อ่านได้จากการใช้เครื่องตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่ว จะบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้สามารถประเมินอันตรายที่อาจจะเกิด โดย ตรวจสอบจากตารางปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ที่สามารถท าอันตรายกับผู้ที่สัมผัสกับเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ในแต่ละระดับของปริมาณกระแสไฟฟ้าที่รั่ว

Page 3: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

ค าน า

การตรวจสอบ แรงดันไฟฟ้ารั่ว เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบ งานด้าน วิศวกรรม ความปลอดภัย ในโรงพยาบาล ซื่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ ทางการแพทย์ที่ใช้ไฟฟ้าที่มีกระแส ไฟรั่วเนื่องจากฉนวนของเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพ ประกอบกับโรงพยาบาลบางส่วนยังไม่ได้ติดตั้งระบบกราวด์ ซึ่งอาจท าให้เกิดอันตรายถึงชีวิตกับเจ้าหน้าที่ที่ใช้งาน รวมถึงผู้ป่วยและผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาล

ในเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึงเรื่อง อันตรายจาก กระแสไฟฟ้ารั่ว แ ละเครื่องตรวจสอบ กระแส ไฟฟ้ารั่ว ที่ออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย แสดงผลเป็นตัวเลขของกระแสไฟฟ้าที่รั่ว ซึ่งจะท าให้ เจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค สามารถใช้งานได้สะดวก และ ยังสามารถประเมินอันตรายที่อาจจะเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว

Page 4: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

สารบัญ

เรื่อง หน้า

1. การบาดเจ็บเนื่องจากไฟฟ้าดูด 1

2. องค์ประกอบส าคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากถูกไฟฟ้าดูด 1

3. ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า 3

4. การปฐมพยาบาลผู้ท่ีได้รับอันตรายจากไฟฟ้า 4 5. เครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่ว 6 6. วิธีการตรวจแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าร่ัว 8

Page 5: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

1

1. การบาดเจ็บเนื่องจากไฟฟ้าดูด

เมื่อบุคคลใดสัมผัสกับตัวน าที่มีไฟฟ้า เนื่องจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบังเอิญเข้าไปแตะ และต่อเป็นส่วนหนึ่งในวงจรไฟฟ้าหรือต่อครบวงจร ซึ่งอาจจะสัมผัสถูกสายสองเส้นหรือเพียงเส้นเดียวหรืออาจจะไปสัมผัสถูกวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลอยู่แต่เพียงจุดเดียว ในขณะที่ร่างกายส่วนอื่นสัมผัสอยู่กับพ้ืนดินหรือท่ีชื้นแฉะ กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายของบุคคลนั้น ผ่านทาง,มีความต้านทานน้อยที่สุดลงสู่ดินครบวงจร ท าให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายข้ึน การถูกไฟฟ้าดูดเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ทางกายภาพกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย ความร้ายแรงของการถูกไฟฟ้าดูดขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่ างกายมากน้อยแค่ไหนและผ่านส่วนใดของร่างกาย

ปริมาณกระแสไฟฟ้า ผลกระทบที่มีต่อร่างกาย 1 mA หรือ น้อยกว่า ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย

มากกว่า 5 mA ท าให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด

มากกว่า 15 mA กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง

มากกว่า 30 mA การหายใจติดขัด และสามารถท าให้หมดสติได้

50 ถึง 200 mA ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที

มากกว่า 200 mA เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังท่ีถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที

ตารางท่ี 1 ผลที่ได้รับจากกระไฟฟ้าปริมาณต่างๆ

2. องค์ประกอบส าคัญท่ีก่อให้เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากถูกไฟฟ้าดูด

1) ความต้านทาน (Impedance) กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายมากหรือน้อยข้ึนอยู่กับความต้านทานรวมซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอย่างหนึ่ง ความต้านทานรวมนี้คือ ความต้านทานของตัวน าไฟฟ้า ความต้านทานของร่างกาย ความต้านทานของดิน ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลลงสู่ดิน ความต้านทานของร่างกายคนเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพของแต่ละคน สภาวะทางอารมณ์และความชื้นบนผิวหนัง ความต้านทานของร่างกายจะลดลงอย่างมากเม่ือผิวหนังเปียกชื้น จากรูปเมื่อร่างกายสัมผัสกับสายไฟ 1 เส้นจะมีอันตรายน้อยกว่าการท่ีร่างกายสัมผัสกับไฟฟ้าทั้ง 2 เส้น เนื่องจากกรณีแรกมีความต้านทานรวมมากกว่าคือ ความต้านทานของร่างกายจากมือถึงเท้า และความต้านทานเนื่องจากดิน กรณีท่ีสองทางเดินของกระแสไฟฟ้ามีระยะทางอันสั้นและความต้านทานรวมน้อยกว่ามากอาจจะท าให้เสียชีวิตได้ทันที

Page 6: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

2

บริเวณร่างกาย ความต้านทาน ( โอห์ม / ซม2 ) ผิวหนังแห้ง ผิวหนังเปียก

ภายในร่างกายมือถึงเท้า หูถึงหู

100,000 - 600,000 1,000

400 – 6,000 100 โดยประมาณ

ตารางท่ี 2 แสดงค่าความต้านทานของผิวหนัง

2) แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ความต้านทานของผิวหนังจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น ไฟฟ้ากระแสสลับที่แรงดันเกินกว่า 240 โวลต ์ สามารถท าให้ผิวหนังที่จุดสัมผัสทะลุได้ กรณีนี้ความต้านทานภายในร่างกายจะเป็นตัวจ ากัดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามไฟฟ้าแรงดันต่ าก็ท าให้ผู้ถูกไฟฟ้าดูดไม่สามารถสะบัดหลุดพ้นจากวงจรได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ถูกไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน 3) ความจุของกระแสจากแหล่งจ่ายไฟ (Capacity) ถ้าแหล่งจ่ายไฟสามารถจ่ายกระแสได้เพียง 5 แอมแปร์ กระแส 5 แอมแปร์นี้จะเป็นกระแสมากท่ีสุดที่จะไหลผ่านร่างกายของคนโดยไม่ค านึงถึงขนาดของแรงดันไฟฟ้า และความต้านทานเหมือนกับระบบการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ซึ่งต้องอาศัยแรงดันไฟฟ้าประมาณ 30,000 โวลต ์แต่ขนาดของกระแสจะต่ ากว่าระดับที่จะก่อให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าดูด การสัมผัสสายหัวเทียนขณะที่มีไฟจะท าให้ไฟดูดได้แต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ในทางตรงกันข้ามการแตะถูกแบตเตอรี่ขนาด 30 โวลต ์ ซึ่งมีความจุของกระแสสูง อาจท าให้เสียชีวิตได้ ถ้าความต้านทานของร่างกายต่อการไหลของกระแสต่ า โดยทั่วไปแรงดันไฟฟ้าขนาด 30 โวลต ์หรือมากกว่าถือได้ว่าเป็นแรงดันที่จะก่อให้เกิดอันตราย 4) ส่วนของร่างกายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

โดยปกติเส้นทางที่กระแสไฟฟ้า ไหลผ่านร่างกายจะเริ่มตั้งแต่จุดที่ร่างกายสัมผัสกับไฟฟ้าผ่านอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายลงสู่เท้า หรือส่วนของร่างกายอื่นที่สัมผัสกับวัตถุท่ีต่อลงดิน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านศีรษะ หัวใจ และทรวงอก จะก่อให้เกิดอันตรายท าให้เสียชีวิตได้มากกว่าไหลผ่านร่างกายส่วนอื่น ๆ และยิ่งร่างกาย

Page 7: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

3

สัมผัสกับไฟฟ้าบริเวณกว้างอันตรายก็จะเพ่ิมมากข้ึนด้วยอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านหากปล่อยไว้นานก็อาจพิการได้ 5) ระยะเวลาที่กระแสไหลผ่านร่างกาย จะเห็นได้ว่าปริมาณกระแสตั้งแต่ 16 มิลลิแอมป์ (mA) ขึ้นไป ที่ไหลผ่านร่างกายท าให้ระบบประสาทชะงักงันไปชั่วขณะหนึ่ง มีอาการกระตุกอย่างแรง และหมดความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อส่วนที่กระแสไฟฟ้า ไหลผ่านท าให้ไม่สามารถจะสะบัดมือหลุดได้ อาจมีผลท าให้เกิดการหายใจหยุดชะงักหากไม่ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีอาจท าให้เสียชีวิตได้ ผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดจะมีอาการบาดเจ็บมากหรือน้อย ศาสตราจารย์ Charles Dalviel กล่าวไว้ว่า ช่วงเวลาไฟฟ้าดูดเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ และได้ตั้งสูตรไว้ดังนี้

I = ปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกาย (มิลลิแอมแปร์) t = ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (วินาที) เช่น I = 200 มิลลิแอมแปร์ จะได้ค่า t = 0.68 วินาที จะเห็นได้ว่าการช่วยเหลือให้ทันท่วงทีนั้นเป็นไปได้ยาก โอกาสที่ผู้ป่วยจะรอดชีวิตก็มีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย 6) ความถี่ (Frequency) ความถี่มีผลที่จะเกิดแก่ร่างกายในระดับต่าง ๆ กัน ความถี่สูงท าให้กล้ามเนื้อเต้นรัวเพ่ิมข้ึน ถ้าความถ่ีสูงมากเช่น ขนาด 100 ถึง 200 กิโลเฮิรตซ์ (kHz)จะเปลี่ยนเป็นความร้อน ซึ่งเป็นผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้ง่ายและสูงขึ้นด้วย 3. ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ในปัจจุบันมนุษย์และกระแสไฟฟ้านับวันจะเก่ียวข้องกันมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตกันขึ้นมามากมาย เพ่ือสนองความต้องการของคนเราให้มีความสะดวกสบาย ความบันเทิง และอีกหลายสิ่งหลายอย่างตามท่ีคนเราต้องการ ข้อปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย 1. อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช ารุด เช่น เต้ารับ (ปลั๊กตัวเมีย) หรือเต้าเสียบ (ปลั๊กตัวผู้) แตกให้รีบซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว 2. ตรวจสอบฉนวนไฟฟ้าของเครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมคุณภาพหรือไม่ เพราะหากช ารุดเสียหายอาจท าให้เกิดการลัดวงจรไฟฟ้า หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่วที่โครงโลหะ เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสโครงโลหะได้ 3. ตรวจสอบฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าที่ต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพราะอาจช ารุดฉีกขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องหยิบยกเคลื่อนย้ายขณะใช้งาน เช่น เตารีด สว่านไฟฟ้า เป็นต้น ตรงขั้วต่อหรือสายใกล้เข้าเครื่องมักจะฉีกขาดได้ง่าย หากพบว่าฉนวนช ารุดแตกก็ควรรับเปลี่ยนใหม่เพื่อป้องกันมิให้เกิดไฟรั่วหรือลัดวงจร โดยเฉพาะในหน้าฝน จะเกิดไฟฟ้ารั่วได้ง่ายถ้าฉนวนสายไฟช ารุดหรือแตกฉีกขาด 4. ไม่ควรใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่บนที่เปียกหรือชื้น เพราะถ้าผู้ใช้ไปสัมผัสส่วนที่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สะดวก และส่วนมากจะได้รับอันตรายถึงชีวิต โปรดจ าไว้ว่า ตัวเปียกพ้ืนแฉะ อย่าแตะเครื่องใช้ไฟฟ้า 5. ติดตั้งระบบกราว ด์ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า ปลั๊ก หรือที่ตัวเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าเพ่ือความปลอดภัย

Page 8: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

4 6. อย่าเดินสายไฟฟ้าใกล้กับของที่ร้อนๆ ความร้อนจะเผาฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายจนละลาย ซึ่งจะมีผลท าให้สายทองแดงในสายไฟฟ้าแตะติดกันท าให้กระแสลัดวงจรได้ 7. เมื่อจะถอดเต้าเสียบควรจะจับที่ตัวเต้าเสียบแล้วดึงออก 8. สายที่ต่อจากเต้ารับ ไม่ควรต่อแยกไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้ามากหลายๆเครื่อง เพราะจะท าให้กระแสไหลผ่านมากเกินไปจะท าให้สายไฟร้อนและลุกไหม้ได้ 9. อย่าแก้ไขเครื่องไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าเอง 10. ควรติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย เช่น ไม่ติดตั้งเต้ารับต่ ามากเพราะอาจจะเอาลวดแหย่เล่นได้ 11. ห้ามใช้ลวดหรือสายโลหะใส่แทนฟิวส์ 12. อย่าให้ลวดราวตากผ้าทับสายไฟฟ้าที่พาดไปตามรั้วหรือที่ใดที่หนึ่ง 13. ไม่ควรเข้าใกล้เสาไฟฟ้าที่ล้ม เอียง หรือ สายไฟฟ้าที่ขาดตกอยู่ อาจท าให้เกิดอันตราย 14. อย่าใช้สวิทช์ปิดเปิดไฟฟ้าบนเตียงนอนท่านอาจพลิกนอนท่านอาจพลิกนอนทับแตกจะถูกไฟฟ้าดูดได้ 15. ก่อสร้างใกล้สายไฟฟ้าไม่ปลอดภัยให้ใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะขณะปฏิบัติงานเหล็กเส้นหรือวัสดุก่อสร้างอาจไปแตะถูกสายไฟฟ้าจะท าให้ไฟฟ้าดูดได้

4. การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายจากไฟฟ้า การช่วยเหลือให้พ้นจากกระแสไฟฟ้า ให้เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ 1. ตัดกระแสไฟฟ้าโดยปลดสวิตช์หรือคัทเอาท์ หรือเต้าเสียบออก 2. หากตัดกระแสไฟฟ้าไม่ได้ ให้ใช้ไม้แห้ง หรือวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเขี่ยสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าออกไปให้พ้น 3. ให้ใช้ผ้าหรือเชือกเเห้งคล้องแขน ขา หรือล าตัว ผู้ถูกไฟฟ้าดูดชักลากออกไปให้พ้นสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า หากผู้ถูก ไฟดูดสลบหมดสติให้ท าการปฐมพยาบาลให้ฟื้นต่อไป การช่วยเหลือด้วยวิธีปฐมพยาบาล 1. หากหัวใจหยุดเต้น (ตรวจโดยเอาหูฟังที่หน้าอกหรือจับชีพจร) ให้ใช้วิธี "นวดหัวใจภายนอก " โดยเอามือกดตรง ที่ตั้งหัวใจให้ยุบลงไป 3 - 4 เซนติเมตร เป็นจังหวะ ๆ เท่าจังหวะการเต้นของหัวใจ(ผู้ใหญ่วินาทีละ 1 ครัง้ เด็กเล็ก วินาทีละ 2 ครั้ง) นวด 10 - 15 ครั้ง เอาหูแนบฟังครั้งหนึ่ง 2. หากไม่หายใจ (ตรวจโดยดูการขยายของซี่โครงและหน้าอก) ให้ใช้วิธีเป่าลมเข้าทางปากหรือทางจมูกของผู้ป่วย ดังนี้คือ การเป่าปาก จับผู้ป่วยนอนหงาย ใช้หัวแม่มือง้างปลายคางผู้ป่วยให้ปากอ้าออก หากมีเศษอาหารหรือวัสดุใดๆ ให้ล้วงออกให้หมด แล้วจับศีรษะให้เงยหน้ามาก ๆ ผู้ช่วยเหลืออ้าปากแล้วประกบกับปากผู้ป่วยให้สนิท และเป่าลมเข้าไปอย่างแรงจนปอดผู้ป่วยขยายออก (ซี่โครงและหน้าอกพองขึ้น) แล้วปล่อยให้ลมหายใจของผู้ป่วยออกเอง แล้วเป่าอีก ท าเช่นนี้เป็นจังหวะ ๆ เท่ากับจังหวะหายใจปกติ (ผู้ใหญ่นาทีละ 12 - 15 ครั้ง เด็กเล็กนาทีละ 20 - 30 ครั้ง) ถ้าเป่าปากไม่ได้ให้ปิดปากผู้ป่วยแล้วเป่าเข้าทางจมูกแทน ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นและไม่หายใจด้วย ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปาก ถ้ามีผู้ช่วยเหลือเพียงคนเดียวก็ให้เป่าปาก 2 ครั้ง สลับกับการนวดหัวใจ 15 ครั้ง หรือถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน ก็ให้นวดหัวใจสลับกับการเป่าปากเป็นท านองเดียวกัน โดยเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง การปฐมพยาบาลนี้ ต้องรีบท าทันที หากช้าเกินกว่า4 - 6 นาที โอกาสที่จะฟ้ืนมีน้อย ขณะพาส่งแพทย์ก็ควรท าการปฐมพยาบาลไปด้วยตลอดเวลา

Page 9: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

5

งานพัฒนา ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ ๘ (ชลบุรี) ได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาลในเขตพ้ืนที่ที่รับผิดชอบ จากการที่ได้ท าการตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัย ในระบบไฟฟ้า พบว่าความเสี่ยงที่พบโดยส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีกระแส ไฟรั่วเนื่องจากฉนวนของเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพ ประกอบกับโรงพยาบาลบางส่วนยังไม่ได้ติดตั้งระบบกราวด์ ซึ่งอาจท าให้เกิดอันตรายถึงชีวิตกับเจ้าหน้าที่ที่ใช้งาน รวมถึงผู้ป่วยและผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาล

ปกติการตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วสามารถใช้ไขควงเช็คไฟ หรือมัลติมิเตอร์ตรวจสอบได้ แต่เราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ากระแสไฟฟ้ารั่วเท่าไร ทราบเพียงแต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่รั่ว และวิธีการดังกล่าวค่อนข้าง ยุ่งยาก เพราะเจ้าหน้าทีใ่นโรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้งานมัลติเตอร์ไม่เป็น คณะท างานจึงได้ออกแบบ เครื่องตรวจสอบ กระแสไฟฟ้ารั่วขึ้น โดยออกแบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย ซึ่งจะท าให้ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค ก็สามารถ ใช้งานไดส้ะดวก และยังสามารถประเมินอันตรายที่อาจจะเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว อันจะน าไปสู่การแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือ และอุปกรณ์ท่ีใช้ไฟฟ้า

หลักการและการออกแบบ เครื่องตรวจสอบ กระแสไฟฟ้ารั่ว ใช้หลักการต่อวงจรพื้นฐาน คือ ต่อแอมป์มิเตอร์อนุกรมกับแหล่งจ่ายกับโหลดเพ่ือวัดกระแสไฟฟ้ารั่ว และ ต่อโวลท์มิเตอร์ขนานกับแหล่งจ่าย เพ่ือวัดแรงดันไฟฟ้าทั่วไปและแรงดันไฟฟ้าที่รั่ว ใช้ค่าความต้านทาน ขนาด 100 กิโลโอห์มจากตารางแสดงค่าความต้านทานของผิวหนังแทนโหลดของผิวหนังแห้ง และ ใช้ค่าความต้านทาน ขนาด 400 โอห์มจากตารางแสดงค่าความต้านทานผิวหนังเปียก ของมนุษย์ที่อาจไปสัมผัสกับเครื่องมือและอุปกรณ์ท่ีมีกระแสไฟฟ้ารั่ว

Page 10: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

6

เครื่องตรวจสอบไฟฟ้ารั่ว อุปกรณ์

1. โวลท์มิเตอร์ 1 ตัว 2. แอมป์มิเตอร์ 1 ตัว 3. กล่องเอนกประสงค์ 1 กล่อง 4. ความต้านทาน 400 โอห์ม 1 ตัว 5. ความต้านทาน 100 กิโลโอห์ม 1 ตัว 6. แบตเตอรี่ 9 โวลท ์ 1 ก้อน 7. ขั้วแบตเตอรี่ 9 โวลท ์ 1 ขั้ว 8. สวิทช์ปิด - เปิด 1 ตัว 9. สวิทช์ 3 ทาง 2 ตัว 10. สายมิเตอร์ 1 ชุด

( ราคาประมาณ 600 บาท )

Page 11: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

7

Page 12: ชื่อเรื่อง เครื่องวัดพลังงานสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Field ...medi.moph.go.th/center8/data/leak_current.pdf ·

8

วิธีการตรวจแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าร่ัว 1. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้ารั่วโดยการปรับสวิทช์ sw1 ไปทางด้าน โวลท์มิเตอร์ น าปลายสายสีแดงไปแตะกับ

โครงของอุปกรณ์ไฟฟ้า และน าปลายสายสีด าไปต่อกับนิวตรอลหรือสายดิน 2. ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าปกติโดยการปรับสวิทช์ sw1 ไปทางด้าน โวลท์มิเตอร์ น าปลายสายสีแดงและปลาย

สายสีด าไปต่อปลั๊กไฟฟ้า 3. ตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วโดยการปรับสวิทช์ sw1 ไปทางด้าน แอมป์มิเตอร์ ถ้าต้องการตรวจสอบ

กระแสไฟฟ้ารั่วขณะที่ผิวหนังแห้ง(ความต้านทานสูงกระแสไหลผ่านน้อย) ให้ปรับ sw2 ไปที่ต าแหน่งที่ 1 แต่ถ้าต้องการตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วขณะที่ผิวหนังเปียก(ความต้านทานต่ ากระแสไหลผ่านได้มาก) ให้ปรับ sw2 ไปที่ต าแหน่งที่ 2 น าปลายสายสีแดงไปแตะกับโครงของอุปกรณ์ไฟฟ้าและน าปลายสายสีด าไปต่อกับนิวตรอลหรือสายดิน