38

คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 2: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดี และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น

เพื่อดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศ

ในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”

ชุดเอกสารสำหรับผู้บริหารหน่วยงาน

ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ www.QLF.or.th

Page 3: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

บัญชีรายการเอกสาร

1. สรุปสาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (11 มกราคม 2554)

2. แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดี

และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

3. โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”

4. หนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ลงวันที่ 28 มีนาคม 2554 และลงวันที่ 3 มีนาคม 2554

5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้

และคุณภาพเยาวชน พ.ศ.2553

6. เอกสารแนะนำ สสค.

Page 4: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

สรุปสาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา

สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี 11 มกราคม 2554

1

Page 5: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

1. โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ยกย่อง เชิดชู ครูสอนดี

หลักการและเหตุผล “คุณภาพการศึกษาจะดีเพียงไรขึ้นกับคุณภาพของครู” คำกล่าวนี้เป็นที่มาของโครงการนี้

“ครูสอนดี”หมายถึงครูที่ไม่เพียงมีจิตวิญญาณความเป็นครูเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ เพียรพยายามที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับศักยภาพและข้อจำกัดของ

ผู้เรียน ครูสอนดีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างคนไทยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสูงและอนาคตที่ดีของชาติ

สังคมไทยจึงควรเชิดชูยกย่องครูสอนดีที่มีอยู่แล้วตลอดจนร่วมกันส่งเสริมให้ครูทั้งมวลเป็นครูสอนดี

กันมากขึ้น โครงการนี้มุ่งระดมความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฟ้นหาครูสอนดีผ่านกลไก “คณะ

กรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ระดับจังหวัดและระดับ

ท้องถิ่นประกอบด้วยภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ ตามแผนปฏิรูปประเทศไทย

ปี 2554 เพื่ออนาคตคนไทยที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

กลุ่มเป้าหมาย : ครูทั่วประเทศที่มีจำนวนมากกว่า 600,000 คน

เป้าหมายปี 2554 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้

ร่วมกันลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสังคมไทย มุ่งขับเคลื่อน 2 โครงการหลัก

“ครูสอนดี”และ“เด็กด้อยโอกาส” ทั่วประเทศ

กำหนดประกาศผลประมาณเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยโครงการจะดำเนินงานต่อเนื่อง 3 ปี

1 .รางวัล “ครูสอนดี” จำนวน 20,000 คน (รางวัลจากเอกชน 200 ล้านบาท)

2. รางวัล “ทุนครูสอนดี” จำนวน 600 คน

3. รางวัลจังหวัดดีเด่น จำนวน 10 จังหวัด

ภายใต้เกณฑ์ 3 ประการคือ

1.กระบวนการสอนดี พัฒนาการ

เรียนการสอนต่อเนื่อง

2. ศิษย์ได้ดี ทั้งทางวิชาการและ

ทักษะชีวิต

3.ครูประพฤติดี เป็นแบบอย่าง

ของศิษย์ได้

โดยมีกรอบเวลาผลปฏิบัติงาน

3 ปีย้อนหลัง

เพื่อขยายเครือข่ายครูสอนดี

หน้าใหม่ 9,000 คน/3ปี โดยมี

ต้นแบบคือ ครูสอนดีที่ปฏิบัติ

หน้าที่เขตห่างไกล

หรือครูสอนดี

ของเด็กด้อยโอกาส

ทุนละ 500,000 บาท/3ปี

(งบประมาณรวม 300 ล้านบาท)

เพื่อส่งเสริมกระบวนการคัด

เลือกที่โปร่งใสเป็นธรรมและ

สังคมมีส่วนร่วม

โดยขัดเป็นงบประมารปฏิรูป

การเรียนรู้ต่อเนื่องจังหวัดๆ ละ

5 ล้านบาท

Page 6: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

2. โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะอาชีพ ให้เด็กเยาวชนด้อยโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย เด็กเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษา และประชาชนวัยแรงงานที่ต้องการพัฒนาทักษะอาชีพจำนวน

ประมาณ 13.8 ล้านคนประกอบด้วย 16 กลุ่ม ซึ่งบางกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะซ้อนเหลื่อมกันดังนี้

ลูกคนงานก่อสร้าง เด็กถูกบังคับค้าประเวณี

เด็กติดเชื้อ HIV เด็กเร่ร่อน

เด็กกำพร้า 9 หมื่นคน

เด็กด้อยโอกาส 5 ล้านคน แม่วัยรุ่น 1 แสนคน

เด็กไร้สัญชาติ 3 แสนคน

ประชาชนด้วยโอกาส 8.8 ล้านคน

เฉพาะที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ

เด็ก 3 จังหวัดภาคใต้ 5 หมื่นคน

เด็กติดยาเสพติด เด็กยากจนพิเศษ

เด็กถูกบังคับขายแรงงาน

เด็กพิการ

1.7 ล้านคน

เด็กในสถานพินิจ 6 หมื่นคน

เด็กยากจน

3 ล้านคน

เด็กชนบท ห่างไกล

1.6 แสนคน

กลุ่มเป้าหมายสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1. เด็กนอกระบบ จำนวน 2-3 ล้านคน : เด็กยากจนเป็นพิเศษ (ทั้งนอกระบบและเสี่ยงที่จะ

หลุดออกจากระบบร่วม 3 ล้านคน)/แม่วัยรุ่น (1 แสนคน)/เด็กไร้สัญชาติ (2-3 แสนคน) และเด็ก

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (4 หมื่นคนที่อยู่นอกระบบการศึกษา และอีก 1 หมื่นคนที่มีความ

เสี่ยงหลุดออกจากโรงเรียนก่อนจบม.3)

2. เด็กพิการ ทางกายและทางการเจริญของสมอง จำนวน 1.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10

ในจำนวนเด็กในระบบการศึกษาทั้งหมด : เด็กพิการ (100,000 คน)/เด็กสมาธิสั้น

(ADHD)/เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)/เด็กออทิสติก (Autistics)

3. เด็กชนบทห่างไกล จำนวน 1.6 แสนคน

4. เด็กและเยาวชนที่ต้องคดี จำนวน 50,000 คนที่ยังถูกควบคุม และอีก 10,000 คนที่จะ

พ้นการควบคุมและต้องการพัฒนาทักษะอาชีพในทุกปี

5. กลุ่มประชากรวัยแรงงานที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ 8.8 ล้าน : ต้องการเรียนต่อ และเพิ่ม

ทักษะแรงงานในการประกอบอาชีพแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มที่ทำงานอยู่แล้วจำนวน 6.2

ล้านคน 2.กลุ่มผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน จำนวน 2.1 ล้านคน เช่น นักเรียน แม่บ้าน ที่

ต้องการฝึกทักษาเพื่อหารายได้เสริม 3.กลุ่มผู้ว่างงานที่อยู่ในวัยแรงงาน จำนวน 4 แสนคน

Page 7: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

มาตรการปฏิรูป 2554 ประกอบด้วย 4 มาตรการหลัก ดังนี้

1. การจัดงบประมาณตามอัตราต่อหน่วยที่สูงขึ้นไปยังท้องถิ่น เพื่อเพิ่ม

คุณภาพและโอกาสเรียนรู้ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงจบมัธยม โดยเฉพาะ

กลุ่มเด็กยากจนมากพิเศษ เด็กเขตห่างไกล เด็กกำพร้า 2.สนับสนุน

ให้โรงเรียนมีหน่วยจัดการ คัดกรองและติดตามดูแลเป็นรายกรณี โดย

เฉพาะเด็กพิการ แม่วัยรุ่น เด็กสมาธิสั้น โดยภาพรัฐปรับนโยบาย

แก้ไขอุปสรรคทางกฎหมายและสนับสนุนงบประมาณส่วนขาด

สนับสนุน NGO และชุมชนในการฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้การศึกษา

และสร้างทางเลือกอาชีพ เช่นการฟื้นฟูสภาพเด็กที่ได้รับผลจากกรณี

ติดเชื้อเอดส์ เด็กกลุ่มขายบริการ กลุ่มเด็กเร่ร่อน เด็กต้องคดี เด็กสาม

จังหวัดภาคใต้ เช่น สนับสนุนเครือข่ายครูในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เพื่อ

ดูแลเด็กไว้ในโรงเรียนจนจบ โดยมีองค์การสารธณประโยชน์เป็นตัว

ขับเคลื่อน และภาครัฐสนับสนุน

1. การปลดล็อคระบบประเมินโรงเรียนและเทียบโอนเพื่อให้เด็กกลับ

เข้าสู่ระบบ 2. การขยายโรงเรียนทางเลือกและการจัดการศึกษาตาม

ความจำเป็นพิเศษให้กลุ่มแม่วัยรุ่น เด็กสมาธิสั้น เด็กพิการในทุก

จังหวัด 3. การประเมินผลงานครูให้มีค่าน้ำหนักช่วยเหลือเด็กห่างไกล

เด็กสามจังหวัดภาคใต้ เด็กพิการ 4.จัดระบบดูแลเด็กสถานพินิจ ทั้ง

ในสถานพินิจและออกจากสถานพินิจเพื่อส่งต่อสู่สังคม โดยมี

องค์กรท้องถิ่นและองค์การสาธารณประโยชน์เป็นตัวขับเคลื่อน

ประกันโอกาสทางการเรียนเพื่ออนาคต ด้วยการสร้างอาชีพเพิ่มทักษะ

และรายได้ ให้กลุ่มแรงงานเด็ก และกลุ่มประชากรที่ขาดทักษะ โดย

พัฒนาให้มีจุดบริการด้านอาชีพครบวงจรในพื้นที่ และการสำรวจวิจัย

สร้างฐานข้อมูลสนับสนุน อปท. เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดระบบการ

เพิ่มทักษะอาชีพในกลุ่มประชากรที่ต้องการโดยมีภาคเอกชนองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสนับสนุน

ป้องกัน

4 มาตรการ

ฟื้นฟู

แก้ไข

ป้องกัน

แนวทางการทำงาน : เน้นการประสานหน่วยงานรัฐ เอกชนและท้องถิ่นที่ทำงานแต่เดิม โดยสำนักงานส่งเสริมสังคม

แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จะทำหน้าที่ 1) ประสานสนับสนุนให้หน่วยงานที่มี

ภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินนโยบายไปอย่างมีเป้าหมายร่วมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2) ดำเนินการ

ในลักษณะที่ให้ทุนสนับสนุนการดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ต้นแบบหรือโครงการพัฒนาระบบและ

3) พัฒนาระบบให้เกิดความยั่งยืน

เป้าหมายปี 2554

ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 3 ปีจะครอบคลุมเด็กเยาวชนและประชาชนผู้ด้อยโอกาสทั้งประเทศ

ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 10-20 ทั่วประเทศ

ประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาสจำนวน 8.8 ล้านคน

กลุ่มเยาวชนที่เข้าช่วยเหลือได้ทั้งหมดในปี 54 จำนวน 1.6 แสนคน

สำรวจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล

ร้อยละ 10 :

ในเด็กยากจนพิเศษ

/เด็กพิการ/

สมาธิสั้น/เด็กไร้สัญชาติ

ร้อยละ 20 :

ในเด็กชนบทห่างไกล/

เด็ก 3 จังหวัดภาคใต้

เริ่มจากการ

คัดเลือกโครงการ

นำร่องจากจังหวัดที่

มีความเดือนร้อน

เร่งด่วน 3-5 จังหวัด

กลุ่มแม่วัยรุ่จำนวน

1 แสนคนและเด็กที่ต้อง

คดี 5 หมื่นคน/ออกจาก

สถานพินิจหมื่นคน

รวม 6 หมื่นคน

เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล

ในการเข้าถึงการ

บริหารของรัฐซึ่งจะเป็น

ประโยชน์ในการัด

มาตรการป้องกันและ

แก้ไขต่อไป

หน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบ : 1) กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 2) องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น 3) องค์กรสาธารณประโยชน์ (NGOs, มูลนิธิ ฯลฯ) 4) สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ 5) ภาค

เอกชน และ 6) หน่วยงานส่งเสริมธุรกิจ (เช่น SME หรือ ธนาคารพาณิชย์) โดยสำนักงานส่งเสริม

สังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ประสานงาน

Page 8: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

หมายเหตุ นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ เปลี่ยนชื่อเรียกคณะกรรมการจากเอกสารเดิมเรียกว่า

“คณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่ อคุณภาพชีวิตที่ดี ” ให้ เป็นชื่ อใหม่ เรียกว่ า

“คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา”

ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดี และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ระดับจังหวัด และ ระดับท้องถิ่น

2

Page 9: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

9แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

การแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความ

เหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการการปฏิรูปการเรียนรู้ในภาพรวม

ของแต่ละจังหวัด และ 2) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ระดับท้องถิ่น เป็นหน่วยบริหารจัดการในแต่ละเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วแต่กรณี ดังนี้

1) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด ในแต่ละจังหวัดให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดจำนวน 1 คณะมีองค์ประกอบ ดังนี้

แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดี และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

1. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาควิชาการ) ประธานกรรมการ

2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองประธานกรรมการ

3. ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน กรรมการ

4. ผู้แทนนายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน กรรมการ

5. ผู้แทนผู้อำนวยการเขตพื้นที่การประถมศึกษา จำนวน 2 คน กรรมการ

6. ผู้อำนวยการเขตพื้นที่มัธยมศึกษาหรือผู้แทน กรรมการ

7. ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 2 คน กรรมการ

8. ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด จำนวน 2 คน กรรมการ

9. ผู้แทนสถานศึกษาเอกชน จำนวน 1 คน กรรมการ

10. ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด จำนวน 1 คน กรรมการ

11. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ กรรมการ

และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด จำนวน 1 คน

12. ผู้แทนกลุ่มการศึกษาทางเลือก จำนวน 1 คน กรรมการ

13. ประธานกลุ่มกำนันหรือผู้แทน จำนวน 1 คน กรรมการ

14. ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็กและเยาวชน จำนวน 3 คน กรรมการ

15. ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 1 คน กรรมการ

16. ประธานสภาหอการค้าจังหวัดหรือผู้แทน จำนวน 1 คน กรรมการ

Page 10: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

10 | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

17. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาควิชาการ) จำนวน 2 คน กรรมการ

18. ผู้แทนสื่อมวลชน จำนวน 2 คน กรรมการ

19. ผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่งตั้ง จำนวน 1 คน กรรมการและเลขานุการ

20. ผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่งตั้ง จำนวน 1 คน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

การคัดเลือก • การคัดเลือกผู้แทนกลุ่มต่างๆ ข้างต้นให้เป็นไปตามที่องค์กรของแต่ละตำแหน่งคัดเลือก

กันเอง ยกเว้น ผู้แทนผู้ปกครองให้เลือกโดยผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด

• ผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาควิชาการ) จำนวนรวม 3 คน (รวมประธาน) ให้มาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความ

เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอน หรือด้านคุณธรรมจริยธรรม หรือด้านจิตวิทยาเด็กและ

เยาวชนหรือจิตแพทย์ หรือด้านการวัดผลและการประเมินผล ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ โดยให้

ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ

• ให้ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเป็นผู้คัดเลือกผู้แทนผู้ปกครองเข้าเป็นคณะกรรมการ

• ผู้แทนผู้อำนวยการเขตพื้นที่การประถมศึกษาให้คัดเลือกโดยผู้อำนวยการเขตพื้นที่การประถม

ศึกษาเลือกกันเอง จำนวน 2 คน ยกเว้นกรณีที่มีเขตพื้นที่การประถมศึกษาเพียงแห่งเดียวใน

จังหวัด ให้มีกรรมการจำนวน 1 คน

• ผู้อำนวยการเขตพื้นที่มัธยมศึกษาที่ดูแลหลายจังหวัด อาจเป็นคณะกรรมการทุกจังหวัดในเขต

พื้นที่ที่ดูแล หรือส่งผู้แทนให้เป็นคณะกรรมการในบางจังหวัดเพื่อให้ครบทุกจังหวัดในพื้นที่ดูแล

• ในวาระเริ่มแรกให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานในการประชุมสรรหาประธาน

คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด

โดยคัดเลือกจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาควิชาการ)

ในการนี้

• การแต่งตั้งคณะกรรมการให้เป็นคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้

มีการคัดเลือกผู้แทนกลุ่มต่างๆ ตามแนวทางข้างต้นให้แล้วเสร็จและแต่งตั้งภายใน 30 วัน

• ในกรณทีีก่ารคดัเลอืกอาจมปีญัหาทางปฏบิตั ิใหเ้ปน็ไปตามดลุยพนิจิของผูว้า่ราชการจงัหวดั

บทบาทหน้าที่ 1. กำหนดแผนปฏิบัติการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตของจังหวัดในปี 2554 ให้สอดคล้อง

กับนโยบายของรัฐบาล อันรวมถึงกำหนดเป้าหมายและรายละเอียดต่างๆ ในทางปฏิบัติที่ไม่

ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ที่ได้รับจากส่วนกลาง

2. จดัใหม้กีารปฏริปูการเรยีนรูเ้พือ่คณุภาพชวีติใหก้บักลุม่เดก็ทีด่อ้ยโอกาส โดยมอบหมายภารกจิ

ไปยังคณะกรรมการระดับท้องถิ่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้รวมถึงการคัดเลือกพื้นที่นำร่อง

และการจัดลำดับความสำคัญของมาตรการต่างๆ

Page 11: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ 11แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

3. ดำเนินการคัดเลือกครูสอนดีและผู้ได้รับทุนครูสอนดีระดับจังหวัด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ในเบื้องต้น รวมถึงปรับปรุงแนวปฏิบัติให้เหมาะสมกับพื้นที่ในขอบเขตที่โครงการกำหนดไว้

4. มอบหมายภารกิจการคัดเลือกเชิดชูครูสอนดีส่วนที่เกี่ยวข้องไปยังคณะกรรมการเพื่อการ

คัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น โดยจัดสนับสนุนให้

สามารถบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ดำเนินการติดตามสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของครูสอนดีเพื่อยืนยันหรือปรับปรุงบัญชี

รายชื่อผู้เหมาะสมเป็นครูสอนดีและผู้ได้รับทุนครูสอนดีขั้นสุดท้ายให้แก่ส่วนกลางตามกำหนดเวลา

และตามสัดส่วนที่ได้รับ

6. จัดให้มีการทำฐานข้อมูลครูสอนดีตามแนวทางของส่วนกลาง

7. จัดให้มีหน่วยบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

8. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจและระดมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและ

ประชาชนในจังหวัด

9. ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานกับหน่วยนโยบายส่วนกลางและสนับสนุนคณะกรรมการระดับ

ท้องถิ่น

10. ดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อบรรลุผลหรือตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย

2) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น ทุกเทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบลให้มีคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความ

เหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น มีองค์ประกอบดังนี้

1. นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานกรรมการ

2. ผู้แทนกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับตำบล จำนวน 1คน กรรมการ

3. ผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน 2 คน กรรมการ

4. ผู้แทนเด็กและเยาวชน จำนวน 2 คน กรรมการ

5. ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน 1คน กรรมการ

6. ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนตำบล จำนวน 1 คน กรรมการ

7. ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล จำนวน 1 คน กรรมการ

8. หัวหน้าศูนย์ กศน.ตำบลหรือผู้แทน จำนวน 1คน กรรมการ

9. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนหรือหัวหน้าสถานีอนามัย จำนวน 1คน กรรมการ

10. ผู้แทนผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน กรรมการ

11. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กรรมการ

12. ผู้ที่นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการและเลขานุการ

แต่งตั้งจำนวน 1คน

13. ผู้ที่นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

แต่งตั้ง จำนวน 1 คน

Page 12: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

12 | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

การคัดเลือก • ผู้แทนเด็กและเยาวชนและผู้แทนผู้ปกครองให้คัดเลือกโดยสภาเด็กและเยาวชนอำเภอในเขต

พื้นที่นั้น

• ผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์หมายถึงองค์กรพัฒนาเอกชน มูลนิธิที่ดำเนินการเพื่อ

สาธารณะประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่

• การคัดเลือกผู้แทนกลุ่มต่างๆ ข้างต้นให้เป็นไปตามที่องค์กรของแต่ละตำแหน่งคัดเลือก

กันเอง

• ผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถด้านการเรียนการสอน ด้านวัฒนธรรม ด้าน

จริยธรรม ศาสนา ด้านการพัฒนาชุมชนหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่

นอกภาคราชการ โดยนายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้คัดเลือก

• ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน ให้คัดเลือกโดยกระบวนการปรึกษาหารือของเครือข่ายองค์กร

ชุมชนตำบล

• ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลคัดเลือกโดยที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล กรณีไม่มีสภา

องค์กรชุมชนตำบล ไม่ต้องมีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนในคณะกรรมการ

• ในการเลือกตำแหน่งใดที่ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ให้นายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การ

บริหารส่วนตำบลเป็นผู้เสนอรายชื่อที่เหมาะสม

ในการนี้

• ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายจัดให้มีการคัดเลือก

ผู้แทนกลุ่มต่างๆ ให้แล้วเสร็จและแต่งตั้งได้ภายใน 30 วัน

• ในกรณีที่การคัดเลือกอาจมีปัญหาทางปฏิบัติ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของผู้ว่าราชการ

จังหวัด

บทบาทหน้าที่ 1. ดำเนินการสร้างการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาสตามเป้าหมายและทิศทางของคณะ

กรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด

2. ดำเนินการคัดเลือกครูสอนดีตามแนวทางหรือหลักเกณฑ์ของโครงการ รวมถึงข้อกำหนดเพิ่ม

เติมโดยคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับ

จังหวัด

3. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้เหมาะสมเป็นครูสอนดีให้แก่คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและ

ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัดตามกำหนดเวลา

4. ดำเนินการติดตามสังเกตการณ์การปฏิบัติงานของครูสอนดีหลังจากรายชื่อได้รับการตรวจ

สอบจากคณะกรรมการส่วนกลาง

5. จัดทำฐานข้อมูลครูสอนดีตามแนวทางของส่วนกลาง

Page 13: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ 13แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ

6. ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและ

ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัดมอบหมายหรือตามที่เห็นเหมาะสมกับท้องถิ่น

7. ดำเนินการติดตามสนับสนุนการปฏิบัติงานของครูสอนดีและผู้ที่ได้รับทุนครูสอนดี ตลอดจน

ส่งเสริมขยายผลจากกิจกรรมยกย่องเชิดชูครูสอนดี

หมายเหตุ • คณะกรรมการข้างต้นทั้ง 2 ระดับถือเป็นกลไกส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงาน

ของแต่ละจังหวัด คณะกรรมการมีความเป็นอิสระในการกำหนดแนวทางการคัดเลือก

ครูสอนดีที่ไม่ขัดแย้งกับหลักเกณฑ์จากส่วนกลางในพื้นที่ที่รับผิดชอบ สามารถจัดหา

งบประมาณและระดมทุนเพื่อดำเนินภารกิจที่กำหนดขึ้น ยกเว้นกรณีการดำเนินงาน

ด้วยงบประมาณที่ส่วนกลางสนับสนุนจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายที่ได้รับ

• ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ระดับโดยให้มีวาระดำเนินงานเป็นเวลา

2 ปี นับแต่เมษายน 2554 หรือวันที่แต่งตั้ง

• ในปี 2554 ส่วนกลางจะได้จัดงบประมาณสนับสนุน โดยจัดสรรงบประมาณมายัง

คณะกรรมการระดับจังหวัด โดยให้คณะกรรมการระดับจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการ

อันรวมถึงแผนการใช้งบประมาณที่ได้รับ หลังจากนั้นให้คณะกรรมการระดับจังหวัด

จดัสรรงบประมาณตามแผนดงักลา่วไปยงัคณะกรรมการระดบัทอ้งถิน่ตามแผนปฏบิตักิาร

• ส่วนกลางจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้แทนคณะกรรมการ

ระดับจังหวัดประมาณต้นเดือนเมษายน 2554

• กรณีกรุงเทพมหานครให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทำหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด

และเขตกรุงเทพมหานครแต่ละเขตอนุโลมเทียบเท่าหนึ่งเขตเทศบาล กรณีเมืองพัทยา

ให้อนุโลมเทียบเท่าหนึ่งเขตเทศบาล

• การดำเนินงานอื่นๆ ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ข้างต้น

Page 14: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

14 | แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

โครงการสังคมไทย ร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”

การดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย

3

Page 15: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| แนวทางการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการฯ 15โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

1.หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการปฏิรูป

ประเทศไทย “เพื่ออนาคตคนไทยที่เท่าเทียมและเป็นธรรม” มีประเด็นในการทำงาน 4 ประเด็น ได้แก่

1) สร้างอนาคตของชาติ ด้วยการพัฒนาคน เด็กและเยาวชน 2) ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การเมือง

และความไม่เป็นธรรมในสังคม 3) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและขยายระบบสวัสดิการสังคม

4) สร้างระบบเศรษฐกิจเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม

ในประเด็นการสร้างอนาคตของชาติ ด้วยการพัฒนาคน เด็กและเยาวชน นั้น ประกอบด้วยงาน

2 โครงการคือ 1) สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี” และ 2) การสร้างโอกาส

ทางการศึกษาและพัฒนาทักษะอาชีพให้กลุ่มเด็กและเยาวชนให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยจะ

ทำงานผ่านกลไกหลัก 2 ระดับ ได้แก่ 1) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำ

ทางการศึกษาระดับจังหวัด และ 2) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำ

ทางการศึกษาระดับท้องถิ่น โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงานดังนี้

2.สาระสำคัญโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”

2.1 เป้าประสงค์ เพื่อปฏิรูปค่านิยมที่สังคมมีต่อครูด้วยการเชิดชูและมอบรางวัลครูสอนดีเพื่อเป็น

ต้นแบบให้แก่ครูทั่วประเทศทั้งครูในระบบโรงเรียนและครูนอกระบบ ครูในการศึกษาทางเลือกเพื่อเด็ก

กลุ่มเป้าหมายต่างๆ

2.2 เป้าหมาย ระยะสั้น 1) จำนวนครูสอนดีปีละ 20,000 คน ดำเนินการ 3 ปี

2) กรณีศึกษาจังหวัดที่มีกระบวนการในการคัดเลือกดีเด่น 10 จังหวัด

ระยะยาว ครูสอนดีหน้าใหม่ ขยายผลจากครูสอนดี 600 คน ที่ปฏิบัติ

งานในพื้นที่ห่างไกลหรือด้อยโอกาส

โครงการสังคมไทย ร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”

การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย

Page 16: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

16 | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

2.3 วัตถุประสงค์ เพื่อระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการปฏิรูปค่านิยมที่สังคมมีต่อครู ด้วย

การร่วมกันเชิดชูและมอบรางวัลให้แก่ครูสอนดีเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ครูทั้งประเทศและเป็นกำลังใจให้ผู้ที่

กำลังทำหน้าที่”ครู” ทั้ง “ครูในเครื่องแบบ” และ “ครูนอกเครื่องแบบ” ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ สติปัญญา

ให้ลูกศิษย์ของตนทั้งเด็กในระบบและเด็กด้อยโอกาส

3.แนวทางการดำเนินงาน 3.1) ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ระดับ คือ 1) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและ

ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด1 เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการการคัดเลือกครู

สอนดีในภาพรวมของแต่ละจังหวัด และปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาส 2) คณะ

กรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น เป็นหน่วยบริหาร

จัดการในแต่ละเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล

3.2) คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น

(เทศบาล/อบต.) คัดเลือกครูสอนดี ตามเกณฑ์และแนวทางคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและ

ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด จัดทำบัญชีรายชื่อส่งคณะกรรมการระดับจังหวัด เพื่อให้

คณะกรรมการระดับจังหวัดยืนยันรายชื่อและส่งไปยังคณะกรรมการกลางเพื่อรับรองรายชื่อ

3.3) ผู้ได้รับการเสนอชื่อทดลองสอนภาคการศึกษาที่ 1 คณะกรรมการระดับท้องถิ่นสังเกตการ

ปฏิบัติการสอนและคณะกรรมการระดับจังหวัดคัดเลือกผู้ได้รับทุนครูสอนดี

3.4) คณะกรรมการระดับจังหวัดคัดเลือกขั้นสุดท้าย ยืนยันบัญชีรายชื่อครูสอนดีตามจำนวน

สัดส่วนที่จังหวัดได้รับ รวมประมาณ 20,000 คนจากครูทั่วประเทศ ในปีที่หนึ่ง ประกาศรายชื่อในเดือน

ตุลาคม 2554

3.5) คณะกรรมการระดับจังหวัดคัดเลือกครูสอนดีในเขตพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ด้อยโอกาส เพื่อ

เสนอชื่อขอรับทุนครูสอนดี (รุ่นที่ 1) จำนวน 600 ทุน มูลค่าทุนละประมาณ 500,000 บาท/ 3 ปี

เพื่อดำเนินการสร้างครูสอนดีหน้าใหม่ หรือพัฒนาการเรียนการสอนในระยะเวลา 3 ปี ประกาศรายชื่อ

ผู้รับทุนครูสอนดีเดือนตุลาคม 2554

3.6) คณะกรรมการส่วนกลางคัดเลือกจังหวัดที่มีกระบวนการในการคัดเลือกครูสอนด ี ดีเด่น

จำนวน 10 จังหวัด โดยมีรางวัลเป็นงบประมาณสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตในจังหวัด

ปีถัดไป ประกาศผลและมอบรางวัลในเดือนพฤศจิกายน 2554

1 เดิมชื่อคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อคุณภาพชีวิตระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

Page 17: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ 17โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

4.ระยะเวลาในการดำเนินงาน

มีนาคม – พฤศจิกายน 2554

5.งบประมาณ

งบประมาณรวม 1,065.5 ล้านบาท แบ่งเป็น

5.1 รางวัลครูสอนดี รายละ 10,000 บาท จำนวน 60,000 คน เป็นเงิน 600 ล้านบาท/3 ปี

5.2 ทุนครูสอนดี 600 คน / ทุนๆ ละ 500,000 บาท เป็นเงิน 300 ล้านบาท

5.3 งบดำเนินการเฉลี่ยตามจำนวนท้องถิ่นและครู เป็นเงิน 115.5 ล้านบาท

5.4 รางวัลจังหวัดมีกระบวนการคัดเลือกครูสอนดี 10 จังหวัด จังหวัดละ 5,000,000 บาทเป็นเงิน

50 ล้านบาท

6.ขั้นตอนการทำงาน

6.1 กระบวนการคัดเลือกครูสอนดี 1) กำหนดแนวทางของแต่ละจังหวัด โดยคณะกรรมการระดับจังหวัดแต่ละจังหวัด กำหนด

แนวทางการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกครูสอนดี โดยมีหลักเกณฑ์ไม่น้อยกว่าที่ส่วนกลาง

กำหนดไว้ในเบื้องต้น

2) กำหนดวิธีการสรรหาและคัดเลือก คณะกรรมการระดับท้องถิ่น กำหนดวิธีการในการ

สรรหาและคัดเลือกครูสอนดีในเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลตามสัดส่วนจำนวนครูสอนดีแต่ละ

จังหวัด โดยให้ส่งแบบเสนอรายชื่อและผลงานประกอบ

3) สรรหาและคัดเลือก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

• ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียนเสนอรายชื่อครูสอนดี ตามสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 5

ของจำนวนครูในโรงเรียน

• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) เสนอรายชื่อครูสอนดีที่ไม่อยู่ในระบบ

เชน่ ครกูารศกึษาทางเลอืก ครทูีด่แูลเดก็ดอ้ยโอกาส เปน็ตน้ ตามสดัสว่นไมเ่กนิรอ้ยละ 2

ของจำนวนครูในระบบทั้งหมดในท้องถิ่น

• คณะกรรมการระดบัทอ้งถิน่พจิารณาคดัเลอืกครผููม้คีณุสมบตัติามสดัสว่นไมเ่กนิรอ้ยละ 4

ของจำนวนครูทั้งหมดในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากเอกสารและการสัมภาษณ์ตามเกณฑ์

การคัดเลือกที่กำหนดไว้ และจัดส่งรายชื่อครูสอนดีที่ผ่านการคัดเลือกระดับท้องถิ่น ให้

แก่คณะกรรมการระดับจังหวัด

Page 18: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

18 | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

• คณะกรรมการระดับจังหวัด พิจารณาคัดเลือกครูสอนดีไม่เกินสัดส่วนจำนวนครูที่

กำหนดไว้ (รายละเอียดจำนวนสัดส่วนครูสอนดี ข้อ 7.3) และจัดส่งบัญชีรายชื่อครู

สอนดี ให้แก่คณะกรรมการส่วนกลาง

• คณะกรรมการส่วนกลาง แจ้งรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกครูสอนดีรอบแรก

• คณะกรรมการระดับท้องถิ่นสังเกตการปฏิบัติการสอนของครูที่ผ่านคัดเลือกเป็นเวลาไม่

น้อยกว่า 2 เดือน และคณะกรรมการระดับจังหวัดคัดเลือกผู้ได้รับทุนครูสอนดี ก่อนจัด

ทำบัญชีรายชื่อส่งคณะกรรมการกลาง

• คณะกรรมการส่วนกลางยืนยันผลการพิจารณาคัดเลือกขั้นสุดท้าย

4) ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องเชิดชู ให้เป็นครูสอนดี และให้รางวัลคนละ 10,000 บาท

6.2 ขั้นตอนการคัดเลือกทุนครูสอนดี 1) กำหนดเกณฑ์ คณะกรรมการระดับจังหวัด กำหนดเกณฑ์และแนวทางในการคัดเลือกผู้ได้รับ

ทุนครูสอนดี โดยมีเกณฑ์ไม่น้อยกว่าที่ส่วนกลางกำหนด

2) คัดเลือก คณะกรรมการระดับจังหวัด คัดเลือกผู้ได้รับทุนครูสอนดีจากรายชื่อครูสอนดีใน

จังหวัด จำนวนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ (รายละเอียดจำนวนสัดส่วนทุนครูสอนดี ข้อ 7.3)

3) พิจารณาผลงานในอนาคต ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับทุนครูสอนดี เข้าร่วมประชุมเชิง

ปฏิบัติการกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการที่จะ

ดำเนินการในการขยายผลครูสอนดี โดยเป็นโครงการที่จะดำเนินการต่อเนื่องในระยะเวลา 3 ปี

4) ประกาศเกียรติคุณและเชิดชู โดยได้รับเงินสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการเพื่อขยายผล

5) ดำเนินงานตามโครงการ ที่ได้รับอนุมัติและได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการละ

500,000 บาท ตามเงื่อนไขและสัญญาผูกพัน เป็นเวลา 3 ปี

6.3 ขั้นตอนการคัดเลือกจังหวัดที่มีกระบวนการคัดเลือกครูดีเด่น 1) กำหนดเกณฑ์ คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งกำหนดเกณฑ์จังหวัดที่จะเป็นจังหวัดที่มี

กระบวนการคัดเลือกดีเด่น

2) ประเมิน กระบวนการคัดเลือกของจังหวัดจากการเข้าร่วมประชุมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระดับภูมิภาค และจังหวัดที่เข้ารอบแรกจำนวน 25 จังหวัด

3) คัดเลือก คณะกรรมการลงพื้นที่จังหวัดที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก เพื่อพิจารณากระบวนการ

ทำงานของจังหวัด

4) ประกาศเกียรติคุณและเชิดชู โดยได้รับเงินรางวัลจังหวัดละ 5 ล้านบาท ในการดำเนินงาน

ปฏิรูปการเรียนรู้ของจังหวัด

Page 19: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ 19โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

7.เกณฑ์มาตรฐาน ครูสอนดี

7.1. ผู้ที่มีสิทธิได้รับคัดเลือก

1) ครผููส้อนในระดบัการศกึษาขัน้พืน้ฐาน (รวมระดบั ปวช.) ทัง้นีอ้าจสงักดัสถานศกึษาภาครฐั ทอ้งถิน่

หรือเอกชนก็ได้

2) ครูนอกระบบ ครูการศึกษาทางเลือก ครูผู้สอนเด็กด้อยโอกาสที่ไม่มีสังกัด

3) ผู้ที่ทำงานในสังกัดองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำหน้าที่ครูของเด็กเฉพาะกลุ่ม

4) ผู้ที่ปัจจุบันประกอบอาชีพครูเป็นอาชีพหลักและเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของการดำรงชีพ

5) บุคลากรทางการศึกษาผู้ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ ครูผู้บริหาร ครูโสต-

ทัศนศึกษา ครูธุรการ ครูการเงิน ครูทะเบียน - วัดผล ครูอัตราจ้างชั่วคราว บุคลากรดังกล่าวอาจได้รับ

คัดเลือกก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการระดับจังหวัดกำหนด

6) ผู้ที่ประกอบอาชีพครูสอนพิเศษเป็นอาชีพหลักไม่มีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม

ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ตามที่คณะกรรมการระดับจังหวัดกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในรายละเอียด

7.2 เกณฑ์การคัดเลือก

คณะกรรมการระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัดประมวลข้อมูลในแบบเสนอชื่อทั้ง 3 ส่วนเป็นเบื้องต้น

ประกอบกับการหาข้อมูลเพิ่มจากการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับการคัดเลือก นักเรียน ผู้ปกครอง คนในชุมชน

การตรวจสอบหลักฐาน เพื่อประเมินคุณสมบัติครูดีเด่นสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นครูสอนดี

1. ครูสอนดี: ครูจัดกระบวนการสอนได้ดีและพัฒนาต่อเนื่อง

เกณฑ์การคัดเลือกครูสอนดีในประเด็นนี้มีเจตนามุ่งพิจารณาความสามารถที่เด่นชัดเป็นที่

ประจักษ์ของครูในการพัฒนากระบวนการสอนทั้งด้านแนวความคิดและการปฏิบัติตนสอดคล้องกับกรอบ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 8 ซึ่งครูควรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งใน

และนอกชั้นเรียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการและสาระการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่มี

ความเป็นนวัตกรรมและได้รับการยอมรับในระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่น หรือระดับประเทศ และมีวิธีการ

รู้จักและเข้าถึงตัวเด็กโดยไม่ย่อท้อต่อปัญหา นอกจากนั้นครูยังส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ท้องถิ่นให้มีโอกาสเข้าร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ในประเด็นดังนี้

1) ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

• ครูเป็นตัวอย่างในการพัฒนาตนเอง ด้วยการค้นคว้าหาความรู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมา

ใช้พัฒนาผู้เรียนของตนเอง

• ครูหาโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียน ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ตลอดจนเรียนรู้จากชีวิต

จริงของคนทุกวัย

Page 20: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

20 | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

2) ครูเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

• ครูมีการบริหารจัดการในการเชื้อเชิญสมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการเรียนการสอน

• ครูสามารถนำสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชนมาร่วมในการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก

3) ครูมีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

• การจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ที่เน้นทักษะกระบวนการที่เหมาะสม

กับลักษณะกลุ่มผู้เรียน ตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนที่อาจมีปัญหาหรือ

ความต้องการแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสมและบังเกิดผลเป็นรูปธรรม

• การคิดค้นพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียนของตน

ขึ้นเรื่อยๆ อันรวมถึงการผลิตสื่อ อุปกรณ์เพื่อช่วยในการเรียนรู้ของศิษย์ของตน

• การติดตามและประเมินผลผู้เรียนในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพจริงของผู้เรียน และ

นำผลของการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ

• การเรียนการสอนสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่าง

มีความสุขมีแรงบันดาลใจและทักษะที่จะใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง

• การมีระบบและวิธีการในการดูแลเด็กที่มีปัญหาหรือความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็ก

ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีปัญหาด้านพฤติกรรมให้สามารถฟื้นฟูสภาพ มีกำลังใจและศรัทธา

ต่อการเรียนรวมถึงการมีวิธีการที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนในการ

ดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้

2. ผลดีจากการสอนในชั้นเรียน : ครูทำให้ลูกศิษย์มีความสำเร็จและความก้าวหน้าใน

ทางการเรียน และการใช้ชีวิต

เกณฑ์การคัดเลือกครูสอนดีในประเด็นนี้มีเจตนามุ่งพิจารณาผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการสอนของครู

ในห้องเรียนทุกรูปแบบ ซึ่งก็คือความสำเร็จและความก้าวหน้าของศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า ทั้งความ

สำเร็จด้านการเรียนรู้ และด้านทักษะการใช้ชีวิต ในประเด็นดังนี้

1) เด็กได้รับการประเมินว่ามีความรู้ทางวิชาการในระดับดี หรือได้รับรางวัลโดยอาจเป็นทาง

ด้านวิชาการด้านจริยธรรม ด้านศิลปวัฒนธรรม

2) เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี มีความสุขที่จะเรียนรู้ และมีความสุขที่จะ

ไปโรงเรียนโดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาหรือความต้องการพิเศษ หรือเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ครูดูแล

สามารถที่จะกลับไปใช้ชีวิตปกติและมีความสุขและความมุ่งมั่นต่อการเรียนเหมือน

เด็กทั่วไป

3) เด็กมีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ตลอดจนมีทักษะในการ

ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

4) ศิษย์เก่าส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จในชีวิตในด้านการเรียนต่อ หรือด้านการใช้ชีวิต โดย

สะท้อนได้ว่ามีผลส่วนสำคัญจากครู

Page 21: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ 21โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

3. ครูดี : ครูมีความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี น่ายกย่อง

เกณฑ์การคัดเลือกครูสอนดีในประเด็นนี้มีเจตนามุ่งพิจารณาความดีและการเป็นแบบอย่างด้าน

ความประพฤติของครูอันเป็นที่ประจักษ์ต่อคณะกรรมการและสังคมรอบด้าน โดยมีผลงานการจัดการ

ศึกษาและการดูแลศิษย์ทั่วไปและศิษย์ที่มีปัญหาด้านกระบวนการเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต หรือเด็กด้อย

โอกาส ที่แสดงถึงการมีจิตวิญญาณความเป็นครูที่ชัดเจนและเป็นที่ยกย่องในชุมชน ในประเด็นดังนี้

1) การเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นที่เคารพนับถือของศิษย์และสังคมทั้งในด้านความเป็นครู และ

เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตที่ดีมีคุณธรรม และความพอเพียง

2) การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในชุมชน โดยเฉพาะเป็นที่ยกย่องยอมรับของเพื่อนครู

ผู้บริหารนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

3) การเป็นบุคคลที่มีความภาคภูมิใจต่อวิชาชีพครู แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้ต่อ

ศิษย์โดยไม่เห็นแก่ลาภ ยศหรือผลตอบแทน

4) การเอาใจใส่ ให้เวลา และเป็นที่พึ่งของผู้เรียนอย่างทั่วถึง ทั้งด้านการเรียนและเรื่อง

ชีวิตอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

5) การแสดงถึงความภาคภูมิใจในการเป็นครู และความสุขในการประกอบวิชาชีพครู

กระบี่ 4,707 141 4

กรุงเทพมหานคร 72,626 2182 65

กาญจนบุรี 7,367 221 7

กาฬสินธุ์ 10,819 325 10

กำแพงเพชร 7,061 212 6

ขอนแก่น 19,333 581 17

จันทบุรี 5,016 151 5

ฉะเชิงเทรา 6,634 199 6

ชลบุรี 14,354 431 13

ชัยนาท 3,235 97 3

ชัยภูมิ 10,957 329 10

ชุมพร 5,013 151 5

เชียงราย 12,495 375 11

เชียงใหม่ 18,578 558 17

ตรัง 6,742 203 6

ตราด 2,134 64 2

ตาก 4,986 150 4

นครนายก 3,076 92 3

นครปฐม 8,730 262 8

จังหวัด รวมครูทุกสังกัด สัดส่วนครูสอนดี สัดส่วนทุนครูสอนดี

7.3 .สัดส่วนจำนวนครูสอนดีและทุนครูสอนดีรายจังหวัด

Page 22: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

22 | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

จังหวัด รวมครูทุกสังกัด สัดส่วนครูสอนดี สัดส่วนทุนครูสอนดี

นครพนม 6,767 203 6

นครราชสีมา 25,654 771 23

นครศรีธรรมราช 17,668 531 16

นครสวรรค์ 10,054 302 9

นนทบุรี 9,441 284 9

นราธิวาส 8,725 262 8

น่าน 5,671 170 5

บุรีรัมย์ 14,700 442 13

ปทุมธานี 7,606 229 7

ประจวบคีรีขันธ์ 5,011 151 5

ปราจีนบุรี 5,095 153 5

ปัตตานี 8,686 261 8

พระนครศรีอยุธยา 7,945 239 7

พะเยา 4,986 150 4

พังงา 2,649 80 2

พัทลุง 6,146 185 6

พิจิตร 5,520 166 5

พิษณุโลก 8,642 260 8

เพชรบุรี 5,194 156 5

เพชรบูรณ์ 9,583 288 9

แพร่ 5,203 156 5

ภูเก็ต 3,643 109 3

มหาสารคาม 9,590 288 9

มุกดาหาร 3,801 114 3

แม่ฮ่องสอน 2,740 82 2

ยโสธร 7,454 224 7

ยะลา 4,961 149 4

ร้อยเอ็ด 13,687 411 12

ระนอง 1,770 53 2

ระยอง 6,069 182 5

ราชบุรี 8,508 256 8

ลพบุรี 8,091 243 7

ลำปาง 7,971 239 7

ลำพูน 4,495 135 4

เลย 6,535 196 6

ศรีสะเกษ 14,444 434 13

สกลนคร 10,844 326 10

Page 23: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ 23โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ | | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

7.4.แบบฟอร์มเสนอชื่อและการเสนอชื่อ

แบบฟอร์มเสนอชื่อประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ

• ส่วนที่ 1 ประวัติและผลงาน

• ส่วนที่ 2 แนวคิดที่สำคัญในการประกอบอาชีพครูและสำเร็จที่เกิดขึ้นกับศิษย์ ให้ผู้ได้รับการ

เสนอชื่อประมวลผลงานที่สำคัญของตนเองใน 3 ปีที่ผ่านมาของการประกอบอาชีพครู

บรรยายโดยสังเขปให้ผู้พิจารณา (คณะกรรมการในระดับท้องถิ่น) เห็นถึงแนวคิดและผลลัพธ์

จากอาชีพครูมีความดีเด่น ทั้งนี้หากมีหลักฐานที่สนับสนับสนุนความน่าเชื่อถือให้แนบท้าย

แบบเสนอชื่อเพื่อพิจารณาประกอบด้วย

• ส่วนที่ 3 คำรับรองจากผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง และ

จากตัวแทนนักเรียน

สงขลา 17,169 516 15

สตูล 3,534 106 3

สมุทรปราการ 9,276 279 8

สมุทรสงคราม 1,916 58 2

สมุทรสาคร 3,511 105 3

สระแก้ว 4,929 148 4

สระบุรี 5,972 179 5

สิงห์บุรี 2,701 81 2

สุโขทัย 5,700 171 5

สุพรรณบุรี 7,370 221 7

สุราษฎร์ธานี 10,899 327 10

สุรินทร์ 12,098 363 11

หนองคาย 8,331 250 8

หนองบัวลำภู 4,455 134 4

อ่างทอง 3,013 91 3

อำนาจเจริญ 3,548 107 3

อุดรธานี 15,564 468 14

อุตรดิตถ์ 4,938 148 4

อุทัยธานี 3,310 99 3

อุบลราชธานี 18,038 542 16

รวม 665,684 20,000 600

จังหวัด รวมครูทุกสังกัด สัดส่วนครูสอนดี สัดส่วนทุนครูสอนดี

Page 24: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

24 | โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

จังหวัด กิจกรรม

มีนาคม • ส่งหนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด

• ประกาศหลักเกณฑ์ “ครูสอนดี” ไปยังจังหวัดเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง “คณะ

กรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับจังหวัด” และ

“คณะกรรมการเพื่อการคัดเลือกครูสอนดีและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระดับท้องถิ่น”

• ส่งคู่มือการคัดเลือกให้คกก.ระดับจังหวัด/คกก.ระดับท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือก

เมษายน คณะกรรมการระดับท้องถิ่นคัดเลือกรายชื่อครูสอนดี ก่อนส่งให้คณะกรรมการระดับจังหวัด

เพื่อให้คัดเลือกต่อ

เมษายน-มิถุนายน ช่วงเวลาคัดเลือก “ครูสอนดี” ทั้งระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น 2 เดือน

มิถุนายน • จังหวัดจัดทำบัญชีรายชื่อครูสอนดี ส่ง สสค.

• จังหวัดคัดเลือกครูสอนดีเพื่อเสนอรับทุน จำนวน 600 ทุน

• ตั้งคณะกรรมการคัดเลือกจังหวัดดีเด่น

กรกฎาคม • ประกาศรายชื่อครูสอนดีและผู้ได้รับทุนครูสอนดีรอบแรก

สิงหาคม-กันยายน• ติดตามการปฎิบัติการสอนของผู้ผ่านการคัดเลือกครูสอนดี

• ติดตามการปฏิบัติการผู้รับทุนครูสอนดี 600 ทุน

• คัดเลือกจังหวัดดีเด่น 10 จังหวัด

ตุลาคม • คณะกรรมการระดับจังหวัดยืนยันรายชื่อครูสอนดีและทุนครูสอนดี

• คัดเลือกจังหวัดที่มีกระบวนการดีเด่น

พฤศจิกายน • ประกาศผลและมอบรางวัล ครูสอนดี ทุนครูสอนดี และจังหวัดที่มีกระบวนการดีเด่น

ธันวาคม • ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับทุนครูสอนดีเพื่อขยายผลครูสอนดีหน้าใหม่

8.แผนปฏิบัติการ ปี 2554

Page 25: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี”ฯ

หนังสือแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัด ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 และลงวันที่ 3 มีนาคม 2554

4

Page 26: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 27: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 28: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 29: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้

และคุณภาพเยาวชน พ.ศ.๒๕๕๓

5

Page 30: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 31: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 32: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี
Page 33: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

เอกสารแนะนำ สสค.

6

Page 34: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

34 | เอกสารแนะนำ สสค | เอกสารแนะนำ สสค

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน

“ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน พ.ศ.2553

“มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ เป้าหมายสำคัญคือ” สังคม

แห่งการเรียนรู้” (Learning Society) ตามปรัชญาของการปฏิรูปการศึกษาไทย สสค.มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมพลังสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น

เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีจิตสำนึกของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เยาวชนไทยมีคุณภาพสูงขึ้น

มีสุขภาวะดีขึ้น สสค.มิได้ส่งเสริมเพียงการเรียนรู้สำหรับเยาวชนเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้คนไทยทุกวัยมี

นิสัยเรียนรู้ลอดชีวิตตมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ปัจจุบัน สสค. มีสถานะเป็นแผนงานหนึ่งของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม

สุขภาพ (สสส.) แผนงานนี้ดำเนินภารกิจในระยะแรกเริ่ม โดยจะแปรสภาพเป็นหน่วยงานอิสระตาม

พระราชบัญญัติเมื่อรัฐสภาลงมติเห็นชอบกับการจัดตั้งหน่วยงานถาวรเพื่อภารกิจระยะยาว

บทบาทของ สสค.

สสค.ทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งเสริมสนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักของการ

ปฏิรูปการศึกษา สสค.เน้นบทบาท “จุดประกาย หล่อลื่น ถักทอ สนับสนุน รณรงค์” โดยนำประสบการณ์จากองค์กร

นวัตกรรม คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในการมี

บทบาทในการปฏิรูปด้านสุขภาพในวันนี้ มาเป็นต้นแบบ โดย สสค.จะสนับสนุนพันธกิจด้านคุณภาพการเรียนรู้ หรือกล่าวสั้นๆ ได้ว่า สสค. คือ

สสส.การศึกษา

รู้จัก สสค.

Page 35: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| เอกสารแนะนำ สสค 35เอกสารแนะนำ สสค | | เอกสารแนะนำ สสค

เพราะมิใช่ครูหรือนักการศึกษาเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา แต่ทุกภาคส่วนของสังคม

ควรเป็นผู้ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ดังที่เรียกว่า “สังคมแห่งการเรียนรู้” อันหมายถึง คนไทยมี

จิตสำนึกใฝ่รู้และสามารถที่จะเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดทั้งชีวิต ในการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ สสค.มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการพัฒนาเครือข่าย

บุคลากรผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. สนับสนุนการพัฒนานโยบาย การปรับปรุงระบบงานในระดับชาติ ระดับท้องถิ่นและระดับ

องค์กร

3. สนับสนุนการรณรงค์สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องผ่าน

สื่อสารมวลชน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

สสค.ทำงานอย่างไร

ลักษณะพิเศษของ สสค. คือ วิธีทำงานใหม่ เนื้องานใหม่ด้วยแหล่งงบประมาณใหม่

โดยสสค. มุ่งลงทุนน้อยเพื่อหวังผลมาก สสค.จึงต้องค้นหาวิธีทำงานใหม่ๆ ที่แตกต่างไป

จากงานประจำทีห่นว่ยงานทัง้ปวงปฏบิตัอิยูแ่ลว้ และจะตอ้งคน้ควา้พฒันานวตักรรมตอ่เนือ่งไปไมห่ยดุนิง่ วิธีค้นหานวัตกรรมที่สำคัญ คือ เปิดโอกาสให้ความคิดริเริ่มมีขึ้นได้จากหลากหลายแหล่ง

เฟ้นหาความคิดริเริ่มที่มีคุณภาพให้ได้มีโอกาสทดลองปฏิบัติ ตลอดจนหล่อเลี้ยงนวัตกรรมดีๆไป

จนถึงขั้นขยายผลในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ สสค.ส่งเสริมโอกาสให้ผู้ปฏิบัติ เจ้าของพื้นที่ เจ้าของเรื่องได้ริเริ่มความคิดดีๆ ในรูปของโครงการ

ซึ่งแต่เดิมติดขัดกับอุปสรรคในระบบราชการหรือขาดการสนับสนุน โดย สสค.จัดงบประมาณแก่โครงการ

นวัตกรรมในลักษณะจุดประกาย-หล่อลื่นให้ดำเนินงานได้คล่องตัว นอกเหนือจากงบประมาณสนับสนุนแล้ว สสค.ยังมีบทบาทระดมความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ

ถักทอเป็น “เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้” ที่บรรดาภาคีจะช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน ภาคีดังกล่าว

รวมถึงบุคลากรในสถานศึกษา หน่วยราชการ องค์กรธุรกิจ องค์กรชุมชน สื่อมวลชนและภาคส่วนต่างๆ

ของสังคม ค่านิยมต่อการศึกษาและอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้จำเป็นมากที่สสค.จะต้องรณรงค์สร้างขึ้น มิฉะนั้นบรรดา

โครงการหรือต้นแบบดีๆ ก็ย่อมจะขยายผลไปสู่การยอมรับของสังคมได้ยาก

Page 36: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

36 | เอกสารแนะนำ สสค | เอกสารแนะนำ สสค

ด้วยบทบาท “จุดประกาย หล่อลื่น ถักทอ สนับสนุน รณรงค์” ข้างต้น สสค.จึงมีองค์กรขนาดเล็ก

มีบุคลากรประจำเพียง 20-50 คน แต่ปฏิบัติงานในรูปโครงการต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้ที่

ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ บรรดาความสำเร็จที่จะมีขึ้นเพียงใด จึงจัดเป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือของบรรดาภาคี

เครือข่ายสังคมแห่งการเรียนรู้

ต้นแบบของ สสค. นอกจากประสบการณ์ยุทธศาสตร์ทางสังคมในประเทศจาก สสส.แล้ว ประสบการณ์ของต่าง

ประเทศบ่งชี้ว่า หน่วยงานที่เป็นระบบจัดการใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนี้มีการดำเนินงาน

และเห็นผลก้าวหน้ามาแล้ว ในหลายประเทศ ได้แก่

• กองทุนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Education Fund - QEF) ของฮ่องกง

• องค์การมหาชนเพื่อการศึกษา สื่อและวัฒนธรรม (Education, Audiovisuals and Culture

Executive Agency - EACEA) ของประชาคมยุโรป

• กองทุนเพื่อพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (The Early Childhood Development Fund) ของรัฐ

ควิเบก ประเทศแคนาดา

• มูลนิธิบิลล์และเบลินด้าเกตส์ (Bill & Belinda Gates Foundation) สหรัฐอเมริกา

หน่วยงานที่ สสค.สนับสนุนคือใครบ้าง?

ทุกหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ โดยรวมถึงองค์กรภาครัฐ องค์กรท้องถิ่น องค์กร

สาธารณประโยชน์ และองค์กรภาคเอกชน ผู้สนใจเข้าร่วมงานกับ สสค.สามารถร่วมได้ทั้งในนามของ

หน่วยงานและส่วนบุคคล ทั้งนี้ สสค.จะสนับสนุนในรูปโครงการที่เน้นผลลัพธ์และประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์

ของการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน โครงการที่สสค.สนับสนุนจะไม่เน้น

การจัดซื้ออุปกรณ์ราคาแพงหรือการจัดสร้างสิ่งก่อสร้าง การพิจารณากลั่นกรองโครงการจะกระทำโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ โดยยึดถือหลักเกณฑ์ของคุณภาพ

และความพร้อมที่จะดำเนินโครงการเป็นผลสำเร็จ ในบางกรณี สสค.อาจประกาศเงื่อนไขที่เหมาะสมเพิ่ม

เติมด้วย

Page 37: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

| เอกสารแนะนำ สสค 37เอกสารแนะนำ สสค | | เอกสารแนะนำ สสค

อนาคต สสค. กับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำข้อเสนอการ

ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) โดยอาศัยแนวคิด “การเรียนรู้เพื่อชีวิตจริงในสังคม”

กุญแจสำคัญที่จะไขสู่ความสำเร็จคือการระดมความร่วมมือจากบรรดาภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง

“กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน พ.ศ. ...” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง

ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

ชีวิตคนไทยจะเปลี่ยนไปอย่างไร

หากสสค.สามารถปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพ ภายใน 10 ปีข้างหน้าชีวิตคนไทยจะมีแนวโน้ม

เปลี่ยนไปดังนี้

1. ระบบการเรียนรู้ของเยาวชนและของคนไทยจะเป็นระบบที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

2. คนไทยยุคใหม่จะตื่นตัวใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ พัฒนาตนเองตลอดเวลา ลดความเชื่อถือสิ่งที่

งมงาย

3. เยาวชนไทยจะมีความสามารถในการเรียนรู้ มีทางเลือกทางการศึกษาให้ตรงกับความถนัด

และอาชีพ สามารถนำความรู้มาใช้ได้กับกับการดำเนินชีวิต

4. แรงงานไทยจะมทีกัษะเรยีนรู ้ ฝกึฝนไดเ้รว็ มทีกัษะทำงานไดห้ลายประเภทกา้วทนักบัการแขง่ขนั

ในระดับโลก มีวินัยและจริยธรรมในการทำงานโดยภาคเอกชนจะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

5. ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของท้องถิ่นเอง

เด็กเยาวชนเมื่อจบการศึกษาจะสามารถประกอบอาชีพในจังหวัดของตน จะไม่ต้องย้ายถิ่นไป

หางานทำ

ติดต่อ สสค.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

Quality Learning Foundation

ตู้ ปณ.34 ปณฝ.สนามเป้า 10406

www.QLF.or.th

Page 38: คู่มือแนวทางคัดเลือกคณะกรรมการแต่งตั้งครูสอนดี

38 | เอกสารแนะนำ สสค