11
บทที6 การเขียนรายงานโครงการ ดร. วรัทยา ธรรมกิตติภพ วัตถุประสงคของการเขียนรายงานโครงการ การเขียนรายงานโครงการหรือรายงานการวิจัย มีวัตถุประสงคเพื่อนําเสนอใหผูอานทราบ วาการศึกษาหรือการทําวิจัยเรื่องนี้จะศึกษาปญหาอะไร ทําไมจึงตองศึกษา มีกรอบแนวคิดทฤษฎี อะไรบางมารองรับสิ่งที่ตองการจะศึกษา มีวิธีการในการศึกษาปญหานั้นอยางไร ไดผลการวิจัย หรือผลจากการศึกษาเปนอยางไรบาง ดังนั้นการเขียนรายงานวิจัยไมวาจะเปนวิชาโครงการหรือ ปญหาพิเศษจึงควรเขียนใหอยูในเชิงวิชาการ โดยยึดหลักการเขียนที่จะทําใหผูอานเขาใจเรื่องดวย ตนเองไดอยางรวดเร็วและกระจางชัดมากที่สุด รวมทั้งสามารถจับประเด็นผลของการศึกษาวิจัย และ ขอสรุปจากการวิจัยนั้นไดเปนอยางดี (ประนอม, 2537: 145 ) วัตถุประสงคของการเขียนรายงานการวิจัย สามารถสรุปประเด็น ไดดังนี(ภัทรา, 2544: 251-252) 1. เพื่อใชเปนเอกสารอางอิงสําหรับการศึกษาคนควาตอไป เนื่องจากผลการวิจัยที่คนพบ เปนสิ่งใหมที่ยังไมมีผูใดคนพบมากอน การเขียนรายงานการวิจัยเปนลายลักษณอักษร จึงเปน เอกสารทางวิชาการที่สามารถใชอางอิงสําหรับการศึกษาคนควาตอไปนี2. เพื่อประโยชนในการนําไปใชแกปญหา ความรูจากการคนพบโดยการวิจัยจะนําไปใชใน การแกปญหาไดอยางกวางขวางหากไดมีการเผยแพร 3. ทําใหประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และงบประมาณในการศึกษาคนควา หากเกิดปญหา ทํานองเดียวกันกับที่มีผูวิจัยทํามากอน ก็อาจสามารถนําผลการวิจัยมาใชแกปญหาไดโดยไมตองวิจัย ซ้ํา หรือหากจะทําวิจัยใหมก็จะมีแนวในการทําวิจัยทําใหประหยัดเวลาในการศึกษา 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการทําวิจัยตอไป โดยทั่วไปแลวรายงานการวิจัยมักเสนอปญหา ที่ผูวิจัยควรทําตอเนื่องไปกับปญหานั้น เสนอไวในตอนทายของรายงาน เพื่อใหงานวิจัยสมบูรณขึ้น

การเขียนรายงานโครงการ

Embed Size (px)

DESCRIPTION

การเขียนรายงานโครงการ

Citation preview

Page 1: การเขียนรายงานโครงการ

บทที่ 6 การเขียนรายงานโครงการ

ดร. วรัทยา ธรรมกิตตภิพ

วัตถุประสงคของการเขยีนรายงานโครงการ การเขียนรายงานโครงการหรือรายงานการวิจัย มวีัตถุประสงคเพื่อนาํเสนอใหผูอานทราบ

วาการศึกษาหรือการทําวิจัยเร่ืองนี้จะศึกษาปญหาอะไร ทําไมจึงตองศึกษา มกีรอบแนวคดิทฤษฎีอะไรบางมารองรับสิ่งที่ตองการจะศึกษา มีวิธีการในการศึกษาปญหานั้นอยางไร ไดผลการวิจยัหรือผลจากการศึกษาเปนอยางไรบาง ดังนั้นการเขยีนรายงานวิจยัไมวาจะเปนวชิาโครงการหรือปญหาพิเศษจงึควรเขียนใหอยูในเชิงวิชาการ โดยยึดหลักการเขียนที่จะทําใหผูอานเขาใจเรื่องดวยตนเองไดอยางรวดเร็วและกระจางชัดมากทีสุ่ด รวมทั้งสามารถจับประเด็นผลของการศึกษาวจิัย และขอสรุปจากการวิจัยนั้นไดเปนอยางดี (ประนอม, 2537: 145 )

วัตถุประสงคของการเขียนรายงานการวิจยั สามารถสรุปประเด็น ไดดังนี ้ (ภัทรา, 2544: 251-252)

1. เพื่อใชเปนเอกสารอางอิงสําหรับการศึกษาคนควาตอไป เนื่องจากผลการวิจยัที่คนพบเปนสิ่งใหมทีย่งัไมมีผูใดคนพบมากอน การเขียนรายงานการวจิัยเปนลายลักษณอักษร จึงเปนเอกสารทางวิชาการที่สามารถใชอางอิงสําหรับการศึกษาคนควาตอไปนี้

2. เพื่อประโยชนในการนําไปใชแกปญหา ความรูจากการคนพบโดยการวิจยัจะนําไปใชในการแกปญหาไดอยางกวางขวางหากไดมกีารเผยแพร

3. ทําใหประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และงบประมาณในการศึกษาคนควา หากเกดิปญหาทํานองเดียวกนักับที่มีผูวิจยัทํามากอน กอ็าจสามารถนําผลการวิจัยมาใชแกปญหาไดโดยไมตองวจิัยซํ้า หรือหากจะทําวิจยัใหมกจ็ะมีแนวในการทําวิจัยทําใหประหยดัเวลาในการศึกษา

4. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการทําวิจยัตอไป โดยทัว่ไปแลวรายงานการวิจัยมกัเสนอปญหาที่ผูวิจัยควรทําตอเนื่องไปกับปญหานั้น เสนอไวในตอนทายของรายงาน เพื่อใหงานวจิัยสมบูรณขึ้น

Page 2: การเขียนรายงานโครงการ

72

รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย/รายงานโครงการ โดยสวนใหญแลวรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ นั้นจะประกอบดวย 4 ภาค คือ 1. ภาคแรก 2. ภาคเนื้อหา 3. ภาคเอกสารอางอิง 4. ภาคผนวก รายละเอียดตาง ๆ ขอสรุปดังตอไปนี ้

1. ภาคแรก เปนสวนตนของรายงานการวิจยั/โครงการ ประกอบดวย 1.1 ปก ซ่ึงปกดานหนาจะประกอบดวยช่ือเร่ืองของงานวิจยั/โครงการ ช่ือผูวิจัย สถาบันที่ทําการวิจยัหรือสถาบนัของผูวิจยั และมี พ.ศ. ที่เขียนรายงานการวจิัย 1.2 บทคัดยอ (Abstract) ควรเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากบทคัดยอนี้ สามารถที่จะชวยใหผูอาน ไดทราบถึงเนื้อหาของรายงานการวจิัยนัน้อยางคราว ๆ และรวดเร็วในบทคัดยอจะประกอบดวยวัตถุประสงคของการวิจยั วิธีดําเนนิการวิจัยซ่ึงประกอบดวย ประชากรหรือกลุมตัวอยาง เครื่องมือที่ใชในการวิจัย สถิติทีใ่ชในการวิเคราะหขอมูลและผลที่ไดจากการวิจัย 1.3 คํานิยม หรือกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เปนหนาที่ผูวิจัยเขียนแสดงความขอบคุณแกผูมอุีปการะคุณตาง ๆ ไดแก ผูใหคําปรึกษา คําแนะนําในการทําวิจยั ฯลฯ ซ่ึงหากขาดบุคคลเหลานี้แลวอาจทําใหผลงานวิจยัสําเร็จลงไดยาก หรือไดผลไมดี เทาที่ควร การแสดงความขอบคุณควรเขยีนดวยขอความสั้น ๆ ไมยืดเยื้อเขียนดวยความยาวประมาณ ½ -1 หนาโดยประมาณ 1.4 สารบัญ (Table of Contents) จะระบุช่ือบทและหวัขอสําคัญของรายงานวาอยู หนาใด เชน คํานําหรือบทตาง ๆ รวมทั้งหวัขอทีสํ่าคัญในแตละบท บรรณานุกรมและภาคผนวก หนาของกิตติกรรมประกาศ สารบัญตาราง และสารบัญภาพจะรวมอยูในหนาสารบัญดวย 1.5 สารบัญตาราง (List of Table) จะระบุตําแหนงหนาของตารางทั้งหมดที่มีอยูในรายงานการวิจยั ถามีตารางปรากฏอยูในภาคผนวก ตองระบุตําแหนงของตารางไวในสารบัญตารางดวย 1.6 สารบัญแผนภาพ (List of Figures) จะระบุตําแหนงของแผนภาพทั้งหมดที่มีอยูใน รายงานการวิจยั ถามีแผนภาพปรากฏอยูในภาคผนวก ตองระบุตําแหนงของแผนภาพไวในสารบัญแผนภาพดวย 1.7 คําอธิบายสัญลักษณ และอกัษรยอ ใชอธิบายความหมายของสัญลักษณและอักษรยอ ตาง ๆ สวนนีไ้มจําเปนตองม ีถาหากวาในรายงานการวิจยั/โครงงาน/ปญหาพิเศษ ไมไดใชสัญลักษณหรืออักษรยอตาง ๆ

Page 3: การเขียนรายงานโครงการ

73

2. ภาคเนื้อหา เปนสวนหลักของรายงานการวิจัย สามารถเขียนได 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 เขียนรายงานโครงการแบบมบีท มีรูปแบบดังนี ้ บทที่ 1 บทนํา ประกอบไปดวย

1) ความเปนมาของโครงการ 2)วัตถุประสงคของโครงการ 3) ขอบเขตของโครงการ 4) ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ

5)นิยามศัพท 6) สมมุติฐาน (ถามี)

บทที่ 2 การตรวจเอกสาร ประกอบไปดวย

1) แนวคดิ ทฤษฎีที่เกี่ยวของในการทาํโครงการ 2) งานวิจยัที่เกีย่วของกับโครงการ

บทที่ 3 วิธีดําเนินการโครงการ ประกอบไปดวย 1) รูปแบบการวิจัย

2) ประชากรและกลุมตัวอยาง 3 เครื่องมือที่ใชในการดําเนนิงานโครงการ 4) การเก็บรวบรวมขอมูล 5)การวิเคราะหขอมูล บทที่ 4 ผลการดําเนินงานโครงการ 1) ผลการดําเนนิงานโครงการ 2) อภิปรายผลการดําเนินงาน บทที่ 5 สรุปผลการดําเนินงานโครงการและขอเสนอแนะ 1) สรุปผลการดําเนินงานโครงการ

1.1) วัตถุประสงคของโครงการ 1.2) วิธีการดําเนนิโครงการ

Page 4: การเขียนรายงานโครงการ

74

1.3) ผลการดําเนินโครงการ 2) ขอเสนอแนะ

2.1 ขอเสนอแนะสําหรับการนําผลการของโครงการไปใช 2.2 ขอเสนอแนะในการศึกษาครั้งตอไป รูปแบบที่ 2 เขียนโดยไมแยกเปนบท แตตองมีหัวขอตาง ๆ ครบถวนดังนี ้

บทนํา ประกอบไปดวย

1) ความเปนมาของโครงการ 2)วัตถุประสงคของโครงการ 3) ขอบเขตของโครงการ 4) ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 5) นิยามศพัท 6) สมมุติฐาน (ถามี)

การตรวจเอกสาร ประกอบไปดวย

1) แนวคดิ ทฤษฎีที่เกี่ยวของในการทําโครงการ 2) งานวิจยัที่เกีย่วของกับโครงการ

วิธีดําเนนิการโครงการ ประกอบไปดวย 1) รูปแบบการวิจัย

2) ประชากรและกลุมตัวอยาง 3 เครื่องมือที่ใชในการดําเนนิงานโครงการ 4) การเก็บรวบรวมขอมูล 5)การวิเคราะหขอมูล ผลการดําเนินงานโครงการ 1) ผลการดําเนนิงานโครงการ 2) อภิปรายผลการดําเนินงาน สรุปผลการดําเนินงานโครงการและขอเสนอแนะ 1) สรุปผลการดําเนินงานโครงการ

Page 5: การเขียนรายงานโครงการ

75

-วัตถุประสงคของโครงการ -วิธีการดําเนินโครงการ -ผลการดําเนินโครงการ

2) ขอเสนอแนะ -ขอเสนอแนะสําหรับการนําผลการของโครงการไปใช

-ขอเสนอแนะในการศึกษาครั้งตอไป หมายเหตุ (รายละเอียดในการเขียน บทนํา การตรวจเอกสาร วิธีการดําเนินโครงการ ดูในหัวขอการเขียนโครงการวิจัย)

การเขียนผลการดําเนินงานโครงการและสรุปผลการดําเนินงานโครงการและขอเสนอแนะ

1) ผลการดําเนินงานโครงการ เปนสวนทีแ่สดงถึงผลการวิจัย การเสนอผลการวิจัยนี้อาจจะนําเสนอในรูปของการบรรยาย

หรือตารางก็ไดแลวแตความเหมาะสม หลักในการนําเสนอผลการวิเคราะหขอมูล สามารถสรุปไดดังนี้ (ภัทรา, 2544: 264-265) 1.1 จัดลําดับการนําเสนอใหเหมาะสมเปนตอน ๆ โดยทั่วไปนิยมเสนอขอมูลพื้นฐานทัว่ไปเกี่ยวกับกลุมประชากรหรือกลุมตัวอยางกอนแลวจึงนําเสนอตามวัตถุประสงคของการวิจัย 1.2 นําเสนอขอมูลอยางเปนลําดับขั้นตอน อาจนําเสนอในลักษณะของการบรรยาย ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ หรือหลายอยางประกอบกันได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวาจะนําเสนอวิธีใดจึงจะทําใหเกดิความชดัเจนและงายตอการทําความเขาใจ 1.3 ผลการวิเคราะหขอมูลที่เปนตัวเลขหรือคาสถิติที่คํานวณได นยิมนาํเสนอในรูปตาราง 1.4 ตารางที่นําเสนอทุกตารางตองมีเลขตารางและชื่อกํากับทุกตาราง โดยใชเลข ตารางเรียงลําดับกอนหลัง ช่ือตารางควรแสดงลักษณะเดนของผลการวิเคราะหที่ตองการนําเสนอ 1.5 สําหรับการแปลความหมายขอมูลในตาราง อาจนําขอมูลเดน ๆ มาอธิบาย ดังที ่สุภาพ (2525: 61) กลาวไวเกี่ยวกับการเขียนอธิบายตารางวา ในการเขียนขอความใตตารางไมควรกลาวถึงตัวเลขทุกตัวในตาราง ควรจะหยิบเอามาเฉพาะตวัเลขที่สําคัญ เชน มากที่สุด หรือนอยที่สุด

Page 6: การเขียนรายงานโครงการ

76

ตัวอยางการนาํเสนอในลักษณะของตาราง ตารางทางเดยีว เปนตารางที่แสดงขอมูลของตัวแปรเดยีวไมซับซอน ดูงาย ใหขอมลูนอย

ดังตัวอยางตอไปนี ้

ตาราง 1 ประเภทของสินคาที่ลูกคาซื้อในแตละวนั

ประเภทของสนิคา จํานวน รอยละ สินคาบริโภค 96 64.0 สินคาอุปโภค 38 25.3 ผลิตภัณฑเสรมิความงาม 10 6.7 อ่ืน ๆ 6 4.0

รวม 150 100.0

ตัวอยางการแปลความหมายตาราง 1 แปลไดดังนี ้

จากตาราง 1 พบวาประเภทของสินคาที่ลูกคาซื้อในแตละวันสวนใหญ(รอยละ 64.0) ไดแก สินคาบริโภค รองลงมาไดแกสินคาอุปโภค ผลิตภัณฑเสริมความงาม และอื่น ๆ (รอยละ 25.3, 6.7 และ 4.0 ตามลําดับ)

ตัวอยางตารางหลายตัวแปร เปนตารางที่แสดงขอมูลของสองตัวแปรหรือมากกวาสองตัวแปรในตารางเดียวกัน ทําใหสามารถเปรียบเทียบขอมูลระหวางตัวแปรได เชน

Page 7: การเขียนรายงานโครงการ

ตาราง 2 กลุมตัวอยางจําแนกตามเพศ อายุ และสาขาที่เรียน ชาย หญิง รวม อายุ/สาขาที่เรียน

จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ 1. อายุ (ป) ต่ํากวา 15 3 30.0 5 16.6 8 20.0 15-16 3 30.0 15 50.0 18 45.0 17-18 3 30.0 8 26.7 11 27.5 19-20 1 10.0 2 6.7 3 7.5 2. สาขาที่เรียน สาขางานการบัญชี 4 40.0 20 66.7 24 60.0 สาขาการตลาด 1 10.0 9 30.0 10 25.0 สาขาชางอิเล็กทรอนิกส 5 50.0 1 3.3 6 15.0

รวม 10 100.0 30 100.0 40 100.0 ตาราง 3 ความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาคหกรรมเกีย่วกับการสรางอาชีพอิสระ

n = 50 ระดับความคิดเห็น

รายการ มากที่สุด มาก ปานกลาง

นอย นอยที่สุด

1. การประกอบอาชีพอิสระกอใหเกิดรายไดมากกวาขาราชการ

10 (20.0)

25 (50.0)

15 (30.0)

0 (0.0)

0 (0.0)

2 การประกอบอาชีพอิสระขาดความมั่นคง

2 (4.0)

10 (20.0)

25 (50.0)

13 (26.0)

0 (0.0)

3…………………………………… ………. ……… ……… ……….. ……….

หมายเหตุ ตัวเลขดานบนหมายถึง “จํานวน” ตัวเลขดานลางหมายถึง “รอยละ”

Page 8: การเขียนรายงานโครงการ

78

ตาราง 4 การเปรียบเทียบน้ําหนักของสุกรที่เล้ียงดวยสูตรอาหารสําเร็จรูปและที่เล้ียงดวยสูตรอาหาร

ธรรมชาติ

สูตรอาหาร จํานวน x S.D. df t Sig.

อาหารธรรมชาติ 37 16.43 1.77 36

อาหารสําเร็จรูป 37 25.30 2.85 36 17.03 0.00

Sig < 0.05

ตัวอยางการแปลผล

จากตารางที่ 4 พบวา สุกรที่เล้ียงดวยสูตรอาหารสําเร็จรูปมีน้ําหนกัเฉลี่ยมากกวาสกุรที่เล้ียงดวยอาหารสูตรธรรมชาติ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2) อภิปรายผลการดําเนินงาน

สวนนี้จะเปนการอภิปรายผลการวิจัยวาทาํไมผลการดําเนินงานโครงการจึงเปนเชนนี้ สอดคลองกับหลักทฤษฎีใดบาง สอดคลองหรือขัดแยงกบัผลการวิจัยของใครบางที่ไดรวบรวมไวในหัวขอการทบทวนวรรณกรรม หรือการตรวจเอกสาร (ซ่ึงสวนใหญจะอยูในบทที่ 2 ของรายงานการวิจัย) รวมถึงการทดสอบสมมติฐานวายอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน (ดูตัวอยางการเขียนจากภาคผนวก)

สรุปผลการดําเนินงานโครงการและขอเสนอแนะ เปนสวนที่สรุปเนื้อหาที่สําคญัจากบทตน ๆ รวมทั้งขอเสนอแนะตาง ๆ ดังนั้นในบทนี้จะ

ประกอบดวย 1) สรุปผลการดําเนินงานโครงการ

สวนนี้จะสรุปเกี่ยวกับวัตถุประสงคของโครงการ วิธีดําเนินการวิจยั ไดแก กลุมตัวอยาง เครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล การวิเคราะหขอมูลและผลการวิจัย

(ดูตัวอยางการเขียนจากภาคผนวก)

Page 9: การเขียนรายงานโครงการ

79

2)ขอเสนอแนะ

สวนนี้จะเปนขอเสนอแนะของผูทาํโครงการ ซ่ึงควรจะเสนอแนะจากผลการดําเนินโครงการที่พบ วาจะนําไปใชประโยชนไดอยางไร โดยแบงออกเปนดงันี้

2.1) ขอเสนอแนะสําหรับการนําผลการของโครงการไปใช ในบทนําหรือในสวนความสําคัญของปญหา ผูวจิัยไดกลาวไวแลววา ผลงานวจิัยนี้มีประโยชนอะไรบาง มีประโยชนในแงการเพิ่มพูนทางวิชาการ หรือการนําผลการวิจัยไปใชในการแกปญหาอะไร ดงันั้นในหวัขอนี้ควรเขยีนใหสอดคลองกับหัวขอความสําคัญของการวิจัยทีไ่ดบอกไวแลวขางตน ควรเขียนใหเปนรูปธรรมวาจะนําไปใชอยางไรกับใคร

2.2) ขอเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งตอไป เปนการเสนอแนะวาผูที่ตองการศึกษาคนควาตอในเรื่องที่ผูวจิัยไดทาํแลวนัน้ ควรศึกษาในแงใด กับใคร ควรเพิ่มหรือลดตัวแปรอะไร และควรดําเนินการวิจยัอยางไร

3. เอกสารอางองิ สวนนี้เปนสวนที่ประกอบดวยรายการเอกสารตางๆ ที่ไดอางอิงไวในรายงานการวิจัยเอกสารทุกเลมที่อางอิงไวในภาคเนื้อหาจะตองปรากฏอยูในเอกสารอางอิง สอดคลองกับ บุญธรรม (2536: 113) กลาววา เอกสารอางอิงเปนสวนประกอบสวนทายของรายงานการวิจยั ซ่ึงรายงานเชิงวิชาการทุกประเภทจะตองมไีวตอทายสวนเนื้อเร่ืองหรือเนื้อหาเสมอขาดมิได เพราะเปนสวนอางองิหรือเปนหลักฐานยืนยันความถูกตอง เชื่อถือไดของรายงานและเปนสวนขยายที่จะทาํใหผูอานไดหาอานเพิ่มเติม

การจัดลําดับของเอกสารอางอิง นั้นจดัลําดับตามตัวอักษรของผูแตง ซ่ึงถาในภาษาไทยจะเปนชื่อตน ถาเปนภาษาตางประเทศจะเปนชื่อทาย(สกุล) จัดลําดบัภาษาไทยกอนแลวตามดวยภาษาตางประเทศ

ตัวอยางการเขยีนเอกสารอางอิง 1) หนังสือทั่วไป มีรูปแบบการเขียนดังนี้ : ตัวอยาง

ภัทรา นิคมานนท. 2544. การวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

อักษราพิพัฒน จํากัด. อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. 2533. การเขียนโครงการวิจัย. พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพมหานคร:

หางหุนสวนจาํกัดฟนนี้ พับลิชช่ิง.

ช่ือ-สกุลผูแตง. ปที่พิมพ. ชื่อหนังสือ. คร้ังที่พิมพ. สถานที่พิมพ: ผูจัดพิมพ.

Page 10: การเขียนรายงานโครงการ

80

Kerlinger, F.N. 1973. Foundations of Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

2) บทความในวารสาร มีรูปแบบการเขียนดังนี้ : ตัวอยาง

สมหวัง พิธิยานุวัฒน. 2536. เทคนิคการใชแบบสอบถามสําหรับการวิจัยทางการศึกษา. ขาวสาร

วิจัยทางการศกึษา. ปที่ 17 (ตุลาคม – พฤศจิกายน): 3-21.

4. ภาคผนวก ภาคผนวกหมายถึงรายละเอียดตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับโครงการ ดังนั้นสวนนี้จงึเปนสวนทีใ่หรายละเอียดของการวิเคราะหขอมูล เครื่องมือที่ใชในการดําเนินการโครงการ หรือเครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล เชน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ สูตรตาง ๆ ที่ใชในการวิเคราะหขอมูล รายละเอียดของการวิเคราะหขอมูล สวนภาคผนวกนี้อาจจะไมมีก็ไดขึ้นอยูกับความเหมาะสมของโครงการแตละเรื่อง ซ่ึงในสวนของภาคผนวกนี้อาจจะประกอบดวยภาคผนวกยอย ๆ หลายสวนได การเริ่มภาคผนวกยอยทกุครั้งใหขึ้นหนาใหม เชน ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค เปนตน สําหรับการเขียนประวัติผูจดัทําโครงการนิยมเขยีนไวในภาคผนวกเชนกัน โดยผูวิจัยควรจะแนะนําตนเองใหผูอานรูจกั ซ่ึงอาจจะทําใหเปนทีย่อมรับจากผูอานมากขึ้น อาจเขียนประวัติของตนเองไวตอนทายของรายงาน มีรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน หนวยงานที่สังกัด ประสบการณในการทาํงาน

เทคนิคการเขียนรายงานโครงการ สําหรับการเขียนรายงานโครงการ เปนรูปแบบหนึ่งของการนําเสนอเชิงวิชาการของผลการ

ศึกษาวจิัยทีไ่ดดําเนินงานจนเสร็จเรียบรอยแลว การเขยีนรายงานการวิจัยควรทําใหเปนระบบเปนขั้นตอน หรือเปนไปตามรูปแบบที่หนวยงานนั้น ๆ กําหนดขึ้น หรือใชรูปแบบการเขยีนรายงานการวิจัยทัว่ไป ซ่ึงการเขียนรายงานโครงการนั้นตองเขียนขอมูลและขอเท็จจริงที่เกิดขึน้ตามความเปนจริงที่เกิดขึ้น ไมควรมีอคติใดๆ ซ่ึงวตัถุประสงคของการเขียนรายงานการวิจยัก็เพื่อใหผูอานไดทราบรายละเอยีดเชิงวิชาการในดานตางๆ เพื่อใหรายงานโครงการเรื่องนั้นๆ เปนที่ยอมรับและสงผลใหมีการนําขอคนพบจากการดําเนินงานโครงการไปใชประโยชนตอไป เทคนิคการเขียนรายงานโครงการมีดังตอไปนี ้(ประนอม, 2537, 155-156)

ช่ือผูเขียนบทความ. ปที่พิมพ. ช่ือบทความ. ชื่อวารสาร ปที่ (ฉบับที่ ถามี): เลขหนา.

Page 11: การเขียนรายงานโครงการ

81

1. ภาษาที่ใชเขียนควรจะเปนภาษาที่ถูกตองตามหลักไวยากรณ และเปนภาษาเขียนที่ไมใชภาษาพดู ควรมีความชัดเจน ตรงประเดน็ ส่ือความงาย การเขียนตองมีความสอดคลองกันตั้งแตตนจบจบ

2. หลีกเลี่ยงการเขียนคําสรรพนามที่เกีย่วกบัตัวผูเขียน เชน ขาพเจา ดิฉัน ผม ถาจําเปน ตองเขียนใหใชคําวาผูจัดทําโครงการแทน

3. มีรูปแบบการเขียนและการพิมพที่แนนอน เชน การกาํหนดลักษณะและขนาดตวัอักษร สําหรับชื่อบท ช่ือหัวขอหลัก หัวขอรอง หัวขอยอย ลดหล่ันไปตามลาํดับ ซ่ึงจะทําใหดูเปนระเบียบ อานงาย เขาใจงาย

4. เขียนตามขอเท็จจริงของหลักวิชาการในการวจิัย ไมเขียนตามความคิดของผูจัดทําโครงการ

5. เขียนเปนขั้นตอน มีเหตุผล 6. การอางอิงถึงสิ่งอื่น ขอมูลอ่ืน ตองกระทาํตามหลักการนั่นคือ ตองมหีลักฐาน

เอกสารอางอิงถึงแหลงที่มาซึ่งเชื่อถือได และใชรูปแบบการอางอิงซึ่งเปนที่ยอมรับได 7. การเขียนอธบิายโดยใชตาราง แผนภูมิ แผนภาพประกอบ จะชวยใหผูอานเขาใจไดดีขึ้น

แตตองระวังไมใหมีมากเกินความจําเปน

เอกสารอางอิง บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2536. คูมือการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ. พิมพ

คร้ังที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพและทําปกเจริญผล. ประนอม อุตกฤษฏ. 2537. การวิจัยดานอาชีวะและเทคนิคศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน

เทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ. ภัทรา นิคมานนท. 2544. การวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

อักษราพิพัฒน จํากัด. สุภาพ วาดเขยีน. 2525. แนวทางการเขยีนวิทยานพินธและรายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:

บริษัทไทยวัฒนาพานิช จํากดั. Best, J.W and J.V. Kahn. 1989. Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall, Inc. Kerlinger, F.N. 1973. Foundations of Behavioral Research. New York: Holt, Rinehart and

Winston, Inc. Vockell, E.L. 1983. Educational Research. New York: Macmillan publishing Company.