5
6 - 9 มีนาคม 2555 นายกเยือนประเทศญี่ปุ่น

ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

Citation preview

Page 1: ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

6 - 9 มีนาคม 2555นายกเยือนประเทศญี่ปุ่น

Page 2: ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

2 3

ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 7 มีนาคม 2555

นายกหารือ รมต.กระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น เน้นความร่วมมือการค้า

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีในการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ พร้อมทั้งชื่นชมนายกรัฐมนตรีที่ได้ทุ่มเทแก้ปัญหาอุทกภัย และความช่วยเหลือที่ให้กับผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบด้วย ทั้งการแก้ปัญหาภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและดำาเนินงาน และปัญหาต่างๆที่บริษัทญี่ปุ่นเรียกร้อง นอกจากนี้ ยังได้สอบถามถึงมาตรการการแก้ปัญหาอุทกภัยของรัฐบาล และเห็นว่า สิ่งที่ต้องดำาเนินการเร่งด่วนคือ การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและถูกต้อง

รัฐมนตรี EDANA ได้แสดงความเข้าใจต่อการแก้ปัญหาและมาตรการการแก้ปัญหาอุทกภัยของไทย เพราะญี่ปุ่นก็เคยอยู่ในสถานการณ์วิบัติภัยเช่นเดียวกัน ที่มีเสียงประชาชนเรียกร้องให้แก้ปัญหาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แม้ว่ารัฐบาลได้ดำาเนินการอย่างทุ่มเทและเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเข้าใจและสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาล และคงยืนยันสนับสนุนการลงทุนในไทยต่อไป

กล่าวสุนทรพจน์

เปิดงานสัมมนา

นักธุรกิจ

นายกรัฐมนตรีกล่าว

ต่อผู้ร่วมสัมมนาว่า

รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับ

เชิญมาในงานนี้ และมี

โอกาสได้พบหารือกับ

ภาคเอกชนรายใหญ่

ของญี่ปุ่น ประเทศไทย

และประเทศญี่ปุ่นเป็น

มิตรประเทศเก่า ที่เชื่อม

อนาคตทางเศรษฐกิจเอา

ไว้ด้วยกัน มีการสถาปนา

ความสัมพันธ์ทางการทูต

ตั้งแต่125 ปีที่แล้ว จน

กระทั่งกลายเป็นหุ้นส่วน

เชิงยุทธศาสตร์ ผ่านการ

ร่วมลงนามในความตกลง

หุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-

ญี่ปุ่น (JTEPA) และใน

ทุกวันนี้ ประเทศญี่ปุ่น

และภาคเอกชนญี่ปุ่นมี

บทบาทสำาคัญเป็นอย่าง

มากในการช่วยพัฒนา

ประเทศไทย

นายกรัฐมนตรีย้ำาว่า

ประเทศไทยยังคงเป็น

ทางเลือกที่ดีที่สุดสำาหรับ

การลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ของภาคเอกชน และ

เชื่อมั่นว่าด้วยนโยบาย

ที่สนับสนุนการลงทุน

ปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

ทรัพยากรธรรมชาติที่

อุดมสมบูรณ์ และอยู่บน

พื้นฐานของผลประโยชน์

ร่วมกันระหว่างทั้งสอง

ประเทศ เช่นนี้ ความ

เป็นหุ้นส่วนระหว่างไทย-

ญี่ปุ่นจะยังคงเติบโต โดย

มีภาคเอกชนญี่ปุ่นเป็น

เสาหลักของการเป็นหุ้น

ส่วนในอนาคตที่จะ

ถึงนี้

ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 7 มีนาคม 2555

Page 3: ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

4 54

ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 8 มีนาคม 2555

นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดีที่นักการเมืองของทั้ง

2 ประเทศ มีความใกล้ชิดกัน และมีการแลกเปลี่ยนการ

เยือน และแนวคิดทางการเมืองสม่ำาเสมอ เชื่อว่าจะช่วย

กระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และยังสามารถ

ช่วยส่งผลให้เกิดเสถียรภาพในภูมิภาค พร้อมกันนี้ ได้

แสดงความหวังว่า กลุ่มกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภา

ไทย-ญี่ปุ่น จะช่วยสนับสนุนและเป็นกำาลังใจให้ไทย ใน

การสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคส่วนต่างๆ ของญี่ปุ่น

ทั้งการลงทุนและการท่องเที่ยวด้วย

“นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ที่พระราชวังอิมพีเรียล เพื่อถวายรายงานสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ

ญี่ปุ่น ความช่วยเหลือของญี่ปุ่นต่อเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่”

นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังเมืองนาโตริ จังหวัดมิยากิ เพื่อเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิ และได้เข้าร่วมพิธีวางช่อดอกไม้ เพื่อไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิต ณ Hoyoriyama Park

หลังจากนั้นเดินทางต่อไปเยี่ยมให้กำาลังใจผู้ประสบ

ภัยและแรงงานไทยซึ่งไปทำางานโดย Visa ชั่วคราวภายหลังเหตุการณ์ Great East Japan Earthquake ณ โรงงาน Nikon

จากนั้นเดินทางไปยังสถานรับเลี้ยงเด็กในสถานพักพิงชั่วคราว Mideshima.

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมให้กำาลังใจผู้ประสบภัยและแรงงานไทยในจังหวัดมิยากิ และยืนยันรัฐบาล

พร้อมให้ความช่วยเหลือ

นายกรัฐมนตรี หารือกับกลุ่ม

มิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ญี่ปุ่น

ที่พระราชวังอากาซากะ (Akasaka)

ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 8 มีนาคม 2555

Page 4: ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

6 76

ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 9 มีนาคม 2555 ภารกิจนายกเยือนญี่ปุ่น วันที่ 9 มีนาคม 2555

ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชนชั้นนำาของญี่ปุ่น ที่มีแผนจะขยายการลงทุนในไทย ประกอบด้วย Toshiba, Honda, Toyota, Nissan Motors, Mitsubishi Motors Corporation, Isuzu Motors, Suzuki Motor Corporation, Bridgestone Corporation บริษัท Marubeni และ บริษัท Mitzui เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อรับทราบแนวทางและมาตรการบริหารจัดการน้ำาในการป้องกันปัญหาอุทกภัยไม่ให้เกิดซ้ำาอีก

ในการแก้ปัญหาอุทกภัย และการช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้ง พอใจกับมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งการบริหารจัดการน้ำา ที่มั่นใจได้ว่า จะไม่ประสบกับปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำาเนินงานของบริษัทเช่นเมื่อปีที่ผ่านมาอีก รวมทั้ง มาตรการส่งเสริมการลงทุน ทั้งมาตรการทางภาษี และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่รัฐบาลแสดงความกระตือรือล้นในการสนับสนุน ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงแสดงความเชื่อมั่นยืนหยัดการลงทุน

ในประเทศไทย และเร่งเดินหน้าขยายการลงทุนตามแผนการลงทุนต่อไป เพราะไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำาคัญของการลงทุนในภูมิภาค

ผู้บริหารบริษัทชั้นนำา ต่างแสดงความชื่นชม

ในความเป็นผู้นำาของนายกรัฐมนตรี

นายกให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลไทยออกมาตรการหลายประการเพื่อป้องกันน้ำาท่วมอย่างเต็มที่ มีมูลค่าสูงถึง 350,000 ล้านบาท พร้อมชี้แจงจุดแข็งของประเทศที่มี Supply chain ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเป็นเวลานาน และสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยขอให้พิจารณาในระยะยาวถึงความได้เปรียบของไทย ที่จะเป็น Hub ของกลุ่มอาเซียน และโอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนยังมีอีกมาก รวมทั้ง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำาลึกทวายและการคมนาคมเชื่อมโยงในภูมิภาค ที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพให้แก่นักลงทุนและภูมิภาค รวมถึง ออกมาตรการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล มาตรการช่วยเหลือบริษัท ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำาท่วม

Page 5: ภารกิจนายกยิ่งลักษณ์เยือนญี่ปุ่น

8 98

ญี่ปุ่นเชื่อมั่นพร้อมยืนหยัดการลงทุนในไทย

ผลการหารื อทวิ ภาคี ร ะหว่ า งนายก

รัฐมนตรี กับ นายโยชิฮิโกะ โนดะ นายก

รัฐมนตรีญี่ปุ่น ภายใต้ความความสัมพันธ์

ของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

ระหว่างทั้งสองประเทศ สรุปสาระสำาคัญ

ดังนี้

- องค์ความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA มอบความช่วยเหลือเป็นเงินให้เปล่า จำานวน 8,000 ล้านบาท สำาหรับโครงการยกระดับวงแหวนรอบนอก รวมถึงบริเวณแม่น้ำาป่าสัก และให้คำาปรึกษาทางด้านเทคนิค ในการบริหารจัดการน้ำาในลุ่มน้ำาเจ้าพระยา นอกจากนี้จะช่วยทำา master plan ทั้งหมด

- รัฐบาลญี่ปุ่นตอบรับเรื่องการออกวีซ่าเพื่ออำานวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว โดยจะเพิ่มวีซ่าให้นักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำาให้นักท่องเที่ยวไทยและญี่ปุ่น เดินทางท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศได้มากขึ้น

- ทั้งสองประเทศตกลงในการเพิ่มเป้าหมายทางการค้าเป็นมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2017

- เพิ่มเป้าหมายของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยขึ้นอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวพร้อมกันด้วย

นักธุรกิจ และนักลงทุนชาวญี่ปุ่น รวมถึงสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น มีความมั่นใจ และพอใจในแผนงาน และมาตรการในการดำาเนินงานของรัฐบาลไทย รวมถึงแผนบริหารจัดการ

น้ำา เพราะเห็นว่าประเทศไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำาคัญในการเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่น

ในภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนสำาคัญที่ทำาให้นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ส่วนในเรื่องการย้ายฐานการลงทุนนั้น

ยังไม่ปรากฏว่ามีภาคธุรกิจใดที่ย้ายฐานการผลิตออกจาก

ประเทศไทย...

นายกรัฐมนตรียังได้ใช้โอกาสการหารือกับนายกรัฐมนตรี

ญี่ปุ่น ชี้แจงความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของนัก

ข่าวชาวญี่ปุ่น ว่ารัฐบาลจะให้ความเป็นธรรมในการดำาเนิน

การคดี รวมทั้งได้แจ้งเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับ

การเยียวยาผู้ประสบภัย ว่านักข่าวชาวญี่ปุ่นมีสิทธิได้รับ

เงินช่วยเหลือและเยียวยา โดยกระทรวงการต่างประเทศจะ

ดำาเนินการต่อไป ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นมีความพอใจเป็นอย่าง

มาก

นายกรัฐมนตรีเสร็จสิ้นการเดินทาง

เยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อ

สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน เชื่อม

โยงความหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

โดยการเดินทางเยือนในครั้งนี้ประสบ

ความสำาเร็จเป็นอย่างมาก ภาค

เอกชนญี่ปุ่นมีการประกาศขยายการ

ลงทุนรวมกว่าแสนล้านบาท และ

ประเทศไทยจะยังคงเป็นฐานการผลิต

ที่สำาคัญของประเทศญี่ปุ่นต่อไป

บทสรุป: การเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีบรรลุเป้าหมาย