34

ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ
Page 2: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

ขอเสนอ เรื่อง “การจัดการปญหาระยะหางระหวางอุตสาหกรรมและชุมชน

ในพื้นที่มาบตาพุด และการเผยแพรขอมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง”

เสนอตอ นายกรัฐมนตรี

โดย คณะกรรมการแกไขปญหาการปฏิบติัตาม

มาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย

10 พฤษภาคม 2553

Page 3: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

2

ขอเสนอ เร่ือง “การจัดการปญหาระยะหางระหวางอตุสาหกรรมและชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด

และการเผยแพรขอมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง” เสนอตอ นายกรัฐมนตร ี

โดย คณะกรรมการแกไขปญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย

เรื่อง หนา

I. การจัดการปญหาระยะหางระหวางอุตสาหกรรมและชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด 3 1. ความเปนมา 3 2. วัตถุประสงค 7 3. กรอบแนวคิดและกระบวนการดําเนินงาน 7 3.1 กรอบแนวคิด 7 3.2 กระบวนการดําเนินงาน 8 4. ผลการดําเนนิงาน 8 4.1 การกําหนดระยะแนวปองกันและระยะแนวกันชน 8 4.2 การนําระยะแนวกันชนที่กําหนดไวมาพิจารณาเทียบกับขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด 9 5. ขอเสนอแนะ 9 5.1 แนวปองกนั 9 5.2 แนวกันชน 11 5.3 การควบคุมการใชประโยชนท่ีดินชั่วคราว 12 5.4 การชดเชย 13 5.5 การโยกยายชุมชน 13

II. การเผยแพรขอมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการผงัเมือง 14

1. แนวคิด 14 2. ขอเสนอแนะ 14 ภาคผนวก ก ตารางที่ 2 ระยะแนวปองกัน (Protection Strip) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม 15 ภาคผนวก ข ตัวอยางการปลกูตนไม 3 ช้ันเรือนยอด 17 ภาคผนวก ค ตารางที่ 3 ระยะแนวกันชน (Buffer) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม 18 ภาคผนวก ง การนําระยะแนวกันชนที่จัดทําไวมาพิจารณาเทียบกับขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด 20

ภาคผนวก จ แนวทางการยายชุมชนออกจากพื้นที่เดิม กรณีชุมชนที่มีท่ีตั้งติดกับโรงงาน (ไมมีแนวกันชน) ในระยะวิกฤตและประชาชนยินดีจะยายออก

23

คําสั่งคณะกรรมการแกไขปญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ท่ี 5 /2553 เรื่อง แตงตั้งคณะอนุกรรมการศกึษาแนวทางการใชการผังเมืองเพือ่การแกไขปญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกลเคียง

Page 4: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

3

I. การจัดการปญหาระยะหางระหวางอตุสาหกรรมและชุมชนในพื้นทีม่าบตาพุด 1. ความเปนมา

สืบเนื่องจากที่โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝงทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Development Program) 1 กําหนดใหพ้ืนที่มาบตาพุด อําเภอเมือง จังหวัดระยอง เปนพื้นที่เปาหมายสําคัญของ การพัฒนาอุตสาหกรรมปโตรเคมีและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง สงผลใหคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝงทะเลภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นถึงความจําเปนที่จะตองมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่อยางเปนเอกภาพและสอดคลองกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝงทะเลตะวันออก กพอ. จึงมอบหมายใหกรมการผังเมือง (ชื่อเดิมในขณะนั้น ซึ่งตอมาใน พ.ศ. 2545 เมื่อมีการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมไดยุบรวมกรมการผังเมืองกับกรมโยธาธิการ แลวเปลี่ยนชื่อเปน กรมโยธาธิการและผังเมือง) ดําเนินการวางผังเมืองของพื้นที่มาบตาพุด กรมการผังเมืองจึงเริ่มดําเนินการวางผังเมืองมาตั้งแตป 2524 ปจจุบันผังเมืองนี้มีชื่อวา “ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน จังหวัดระยอง” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปวา “ผังเมืองรวมมาบตาพุด” ที่ผานมา การประกาศกฎกระทรวงบังคับใชผังเมืองรวมในพื้นที่มาบตาพุดมีจํานวน 3 ฉบับ ดังนี้

1) กฎกระทรวงผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2531)

2) กฎกระทรวงผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง ฉบับที่ 102 (พ.ศ. 2534)

3) กฎกระทรวงผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2546 เปนฉบับที่บังคับใชอยูในปจจุบัน

จากการเปรียบเทียบการใชประโยชนที่ดินในอนาคตของกฎกระทรวงผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชมุชนจังหวัดระยอง ฉบับ พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2546 ซึ่งมีพ้ืนที่ วางผัง 219 ตารางกิโลเมตรเชนเดียวกัน สรุปไดดงันี้

1 โครงการเริ่มดําเนินการมาตั้งแตป 2524 ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท โดยเปนแผนยุทธศาสตรการพัฒนาภูมิภาคแหงแรกของประเทศและไดบรรจุไวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529)

Page 5: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

4

ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2531 กระทรวงมหาดไทยประกาศใชกฎกระทรวงฉบับนี้ ตั้งแตวันที่ 5 สิงหาคม 2531 – 4 สิงหาคม 2536 รวมระยะเวลาการบังคับใชผัง 5 ป พ้ืนที่วางผัง 219 ตารางกิโลเมตร หรือ 136,875 ไร โดยกาํหนดใหมีการใชประโยชนที่ดินในอนาคตของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินคา (สีมวง) ประมาณ 10,000 ไร ในขณะที่ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) มีประมาณ 108,000 ไร ในระหวางที่กฎกระทรวงดังกลาวมีผลบังคับใช กระทรวงอุตสาหกรรมไดแจงความตองการใชพ้ืนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความตื่นตัวของเอกชนที่เขามาลงทุนในโครงการตางๆ จํานวนมาก ทําใหพ้ืนที่ที่เตรียมไวสําหรับภาคอุตสาหกรรมไมเพียงพอ ทําใหตองปรับปรุงผังเมืองรวมฯ ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2532 จนกระทั่งประกาศใชเปนกฎกระทรวงเมื่อ พ.ศ. 2534 ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2534 กระทรวงมหาดไทยประกาศใชกฎกระทรวงผังเมืองรวมฉบับนี้ ตั้งแตวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 – 21 พฤษภาคม 2539 รวมระยะเวลาการใชบังคับ 5 ป ตอมาไดขยายระยะเวลาการใชบังคับผังเมืองฉบับนี้ออกไปอีก 1 ป ตั้งแตวันที่ 22 พฤษภาคม 2539 – 21 พฤษภาคม 2540 และ ขยายระยะเวลาการใชบังคับผังเมืองตอเปนครั้งที่2 ออกไปอกี 1 ป ตั้งแตวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 – 21 พฤษภาคม 2541 ผังเมืองรวมฉบับนี้ไดขยาย การใชประโยชนที่ดินในอนาคตของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินคา (สีมวง) เพิ่มจากประมาณ 10,000 ไร เปนประมาณ 18,000 ไร (เพิ่มขึ้นประมาณ 8,000 ไร) ในขณะที่ ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) มพ้ืีนที่ลดลงจากประมาณ 108,000 ไร เปนประมาณ 86,000 ไร (ลดลงประมาณ 22,000 ไร) ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชุมชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2546 กระทรวงมหาดไทยประกาศใชกฎกระทรวงผังเมืองรวมฉบับนี้ ตั้งแตวันที่ 12 พฤษภาคม 2546 ถึง วันที่ 11 พฤษภาคม 2551 รวมระยะเวลาการใชบังคับ 5 ป ในขณะที่ผังเมอืงรวมฉบับนี้มีผลบังคับใชอยูไดมีการแกไขขอกําหนดการใชประโยชนที่ดินจํานวน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2548 เปนการขอแกไขขอกําหนดการใชประโยชนที่ดินเพื่อกิจการอื่น สวนการแกไขครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2549 เปนการขอแกไขขอกําหนดการใชประโยชนที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินคา (สีมวง) บริเวณพื้นที่ 4.5 (กรณีบริษัทนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จํากัด) ผังเมืองฉบับนี้ไดขยายระยะเวลาการบังคับใชผังเมือง 2 ครั้งๆ ละ 1 ป ขณะนี้อยูระหวางการขยายเวลาครั้งที่ 2 ตั้งแตวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 – 11 พฤษภาคม 2553

Page 6: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

5

ผังเมืองรวมฯ พ.ศ. 2546 ไดกําหนดการใชประโยชนที่ดินในอนาคตของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินคา (สีมวง) เพิ่มขึ้นจากเดิม 17,182 ไร เปน 32,197 ไร (เพิ่มขึ้น 15,015 ไร) และที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ําเงิน) เพิ่มขึ้นจาก 1,794 ไร เปน 2,725 ไร (เพิ่มขึ้น 931 ไร) ในขณะที่ ที่ดินประเภทที่อยูอาศัยหนาแนนนอย (สีเหลือง) มีพ้ืนที่ลดลงจาก 19,095 ไร เปน 16,818 ไร (ลดลง 2,277 ไร) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) มีมีพ้ืนที่ลดลงจาก 80,788 ไร เปน 67,580 ไร (ลดลง 13,208 ไร) และที่ดินประเภทที่โลงเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม (สีเขียวออน) มีพ้ืนที่ลดลงจาก 542 ไร เปน 131 ไร (ลดลง 411 ไร)

เมื่อเปรียบเทียบการใชประโยชนที่ดินในอนาคตของผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2546 ซึ่งเปนฉบับที่บังคับใชอยูในปจจุบัน กับผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชมุชน จังหวัดระยอง พ.ศ. 2531 ที่เปนผังเมืองรวมฉบับแรก พบวา ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินคา (สีมวง) ไดเพิ่มขึ้นจากผังฉบับแรก จํานวน 22,197 ไร สวนที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม(สีเขียว) ลดลงจํานวน 40,420 ไร ในขณะที่ ที่ดินประเภทที่โลงเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม (สีเขียวออน) มีพ้ืนที่ลดลงจากผังเมืองรวมฯ พ.ศ. 2534 จํานวน 411 ไร ดังนั้น จะเห็นไดวาการใชประโยชนที่ดินไดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การขยายตัวของพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่พ้ืนที่ชุมชนและเกษตรกรรมลดนอยลง จึงทําใหเกิดการรุกล้ําพื้นที่ของทั้งสองฝาย โดยชมุชนพยายามที่จะเขาไปตั้งถิ่นฐานใกลเขตอุตสาหกรรมมากขึ้น หรือ โรงงานอุตสาหกรรมพยายามขยายพื้นที่ตนเองเขาไปประชิดเขตบานเรือนมากขึ้น กอรปกบัสภาพความเปนจริงในประเทศไทยที่การกําหนดพื้นทีก่ันชนระหวางชุมชนและอุตสาหกรรมยังไมมีหลักเกณฑที่ชัดเจน จะมีเพียงเกณฑเบื้องตนที่ประกาศใชในกฎระเบียบบางฉบับหรือแนวทางในการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอมเทานั้น ไมเหมือนตางประเทศ เชน เนเธอรแลนด เยอรมัน โปแลนด ฯลฯ ที่มีการกําหนดหลักเกณฑในการจัดตั้งแนวพื้นที่กันชนคอนขางชัดเจนตามประเภทอุตสาหกรรมและมลพิษที่เกิดขึ้น อาจกลาวไดวา หนึ่งในสาเหตุสําคัญของปญหาผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมตอชุมชนในพ้ืนที่มาบตาพุด มาจากการไมมีระยะหางเหมาะสมระหวางอุตสาหกรรมกับชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด

Page 7: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

6

จากการประเมินผลผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชมุชนจังหวัดระยองของเทศบาลเมืองมาบตาพุด พบวา มีพ้ืนที่สีเขียวและแนวกันชนในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดไมมากนัก โดยนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) และนิคมอุตสาหกรรมอาร ไอ แอล มพ้ืีนที่สีเขียวและแนวกันชนโดยเฉลี่ยประมาณรอยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด สวนทาเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคมอุตสาหกรรมผาแดง มีประมาณรอยละ 1.19 และรอยละ 1.85 ของพ้ืนที่ทั้งหมด ตามลําดับ ในขณะที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไมพบขอมูลพ้ืนที่สีเขียวและแนวกันชน รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 การใชประโยชนท่ีดินของนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลัก และชุมชน พ.ศ. 2552

พ้ืนที่สีเขียวและแนวกันชน ชื่อนิคมอุตสาหกรรม พ้ืนที่โครงการ (ไร) พ้ืนที่ (ไร) รอยละ

1. นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย 3,220.25 332.20 10.32 2. นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก

(มาบตาพุด) 3,750.00 377.00 10.05

3. นิคมอุตสาหกรรมอาร ไอ แอล 1,703.40 170.30 10.00 4. นิคมอุตสาหกรรมผาแดง 540.24 9.97 1.85 5. นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10,215.00 - - 6. ทาเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด 2,868.00 34.00 1.19

6.1 ระยะที่ 1 1,398.00 34.00 2.43 6.2 ระยะที่ 2 1,470.00 - -

ที่มา: เทศบาลเมืองมาบตาพุด. 2553. โครงการประเมินผลผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน จังหวัดระยอง. ศึกษาโดย บริษัทคอนซัลแทนท ออฟ เทคโนโลยี จํากัด เสนอตอคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการใชการผังเมืองเพื่อแกไขปญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกลเคียง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ 2553 ณ บานพิษณุโลก.

คณะกรรมการแกไขปญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ตระหนักถึงปญหาดังกลาว และไดพิจารณาเห็นแลววาการกําหนดพื้นที่กันชนที่ชัดเจนจะสามารถปองกันปญหาผลกระทบดานสิ่งแวดลอมตอชุมชนในระยะยาวได จึงไดแตงตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการใชการผังเมืองเพื่อแกไขปญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกลเคียง เพื่อศึกษาขอเท็จจริงและเสนอแนะแนวทางในการแกไขปญหาในพื้นที่

Page 8: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

7

2. วัตถุประสงค 2.1 เพื่อจัดทําขอเสนอแนะในการจัดการปญหาระยะหางระหวางอุตสาหกรรมและชุมชนในพ้ืนที่มาบตาพุด 2.2 เพื่อจัดทําขอเสนอแนะเกี่ยวกับการเผยแพรขอมลูผลการพิจารณาของคณะกรรมการผงัเมือง

3. กรอบแนวคิดและกระบวนการดําเนินงาน

3.1 กรอบแนวคิด

คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการใชการผังเมืองเพื่อแกไขปญหามลพิษในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกลเคียงไดพิจารณาแนวทางการจัดการปญหาระยะหางระหวางอุตสาหกรรมและชุมชนทั้งจากขอมูลของหนวยงานในตางประเทศและในประเทศไทย สรุปไดวา แนวทางการจัดการควรประกอบดวยการกําหนด 1. ระยะแนวปองกัน (protection strip) และ 2. ระยะแนวกนัชน (buffer) โดยมีวัตถุประสงคหลักเพื่อความปลอดภัย แนวทางการกําหนดจึงขึ้นกับความรุนแรงของประเภทของสารเคมี/ประเภทอุตสาหรรม โครงการ หรือกิจกรรมที่จะทําใหเกิดอันตรายตอมนุษย จากตัวอยางของตางประเทศ พบวา ไมมีการกําหนดขนาดและระยะแนวกันชนที่ตายตัว แตเปนการประยุกตใชตามความเหมาะสมของแตละพื้นที่และวัตถุประสงคการใชงาน การกําหนดระยะหางของแนวกันชนมากนอยนั้น ข้ึนอยูกับ ประเภท ขนาด และความเสี่ยงของอุตสาหกรรม ที่ตั้งและระยะทางจากโรงงานถึงชุมชน สิ่งรบกวน เชน มลพิษทางอากาศ เสียงดัง สิ่งอันตรายประเภทอื่นๆ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดลอม

Page 9: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

8

3.2 กระบวนการดําเนินงาน

4. ผลการดําเนินงาน 4.1 การกําหนดระยะแนวปองกันและระยะแนวกันชน

การกําหนดระยะของแนวปองกัน (protection strip) และแนวกันชน (buffer) พิจารณาจากแนวทางการดําเนินงานของตางประเทศประกอบกับการปรับประเภทอุตสาหกรรมใหเหมาะสมกับประเทศไทย สรุปไดดังนี้

4.1.1 การกาํหนดระยะแนวปองกัน (Protection Strip) ระยะแนวปองกันกําหนดขึ้นตามประเภทอุตสาหกรรมซึ่งแบงออกเปน 6 ระดับ โดยมีระยะแนวปองกันในแตละระดับ ตั้งแต 0 - 50 เมตร (โปรดดูตารางระยะแนวปองกัน (protection strip) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ในภาคผนวก ก)

กําหนดระยะแนวปองกันและระยะแนวกันชน

นําระยะแนวกันชนที่กําหนดไวมาพิจารณาเทียบกับ ขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด

จัดทําขอเสนอแนะ

Page 10: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

9

4.1.2 การกําหนดระยะแนวกันชน (Buffer) ระยะแนวกันชนกําหนดขึ้นตามประเภทอุตสาหกรรมซึ่งจําแนกออกเปน 6 ระดับ โดยมีระยะแนวกันชนในแตละระดับ ตั้งแต 0 – 2,000 เมตร (โปรดดูตารางระยะแนวกันชน (buffer) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ในภาคผนวก ค) 4.2 การนําระยะแนวกันชนที่กําหนดไวมาพิจารณาเทียบกับขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด

เมื่อนําระยะแนวกันชน (buffer) ที่กําหนดไว มาพิจารณาเทียบกับขอมลูจริงของพื้นที่มาบตาพุด พบวา พ้ืนที่มาบตาพุดประกอบดวยอุตสาหกรรมประเภทที่ 4, 5 และ 6 ซึ่งควรมีระยะแนวกันชน 500 เมตร 1,000 เมตร และ 2,000 เมตร ตามลําดับ (โปรดดภูาพแสดงที่ตั้งอุตสาหกรรมและขอบเขต แนวกันชนของแตละประเภทอุตสาหกรรม, ที่ตั้งอุตสาหกรรมและขอบเขตแนวกันชนโดยรอบ และพ้ืนที่ที่มีปญหาวิกฤตเรื่องแนวกันชน ในภาคผนวก ง)

5. ขอเสนอแนะ

5.1 แนวปองกัน (Protection Strip)

แนวปองกัน (protection strip) หมายถึง การจัดการระยะและคุณภาพพื้นที่ในเขตของอุตสาหกรรมดานที่ติดกับชุมชน เพือ่เปนแนวปองกันใหเกิดความปลอดภัย โดยการจัดทําแนวปลูกตนไมเพื่อเปนแนวปองกัน หรือ มาตรการอื่นที่มีคุณภาพเทียบเทาหรือสูงกวา โดยเปนแนวที่อยูในเขตของแปลงที่ดินซึ่งอุตสาหกรรมประเภทดังกลาวตั้งอยู

5.1.1 การจัดทําแนวปองกัน

1) กําหนดระยะแนวปองกันตามประเภทอุตสาหกรรมแบงออกเปน 6 ระดับ โดยมรีะยะแนวปองกันในแตละระดับ ตั้งแต 0 - 50 เมตร (โปรดดูตารางระยะแนวปองกัน (protection strip) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ในภาคผนวก ก)

Page 11: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

10

2) การจัดทําแนวปองกันยกเวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยูในนิคมอุตสาหกรรมหรือกิจการที่มีลักษณะคลายกันซึ่งมีแนวปองกัน (protection strip) อยูแลว และไมมีที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมติดกับชุมชน 3) แนวปองกันที่จัดทําขึ้นตองจัดการอยางมีคุณภาพโดยการปลูกตนไม หรอื มาตรการอื่นที่มีคุณภาพเทียบเทาหรือสูงกวา โดยมีแนวทางดังตอไปนี้ 3.1) ปลูกตนไมอยางหนาแนนเปนระยะแนวปองกัน ไมใช การเวนที่วาง การทําถนน ที่จอดรถ หรือปลูกหญา แตจะตองปลูกตนไมเปนแนวปองกัน 3 ชั้นเรือนยอด (โปรดดูภาพตัวอยาง การปลูกตนไมเปนแนวปองกันในภาคผนวก ข) 3.2) คัดเลือกพันธุไมใหเหมาะสมกับการจัดการปญหามลพิษในพื้นที่ โดย

(1) เปนไมไมผลัดใบ (2) เปนพันธุไมดั้งเดิมในทองถิ่น (3) มีความสูงและทรงพุมที่เหมาะสม (4) พิจารณาพันธุไมที่มีคุณสมบัติในการดูดซับ (absorption) มลพิษตางๆ

• พันธุไมที่ดูดซับฝุนละออง เชน อโศกอินเดีย เลียบ และทับทิม เปนตน

• พันธุไมที่ดูดซับซัลเฟอรไดออกไซด เชน พิกุล โพธิ์ และรกฟาขาว เปนตน

• พันธุไมที่ดูดซับออกไซดของไนโตรเจน เชน สนทะเล หางนกยูงฝรั่ง และตะกู เปนตน

(5) เจริญเติบโตหรือปรบัตัวไดดีในสภาพภูมิอากาศและสภาพดินในพื้นที่ เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ของบริเวณที่จะปลูก

(6) ไมมีกลิ่นเหม็นรบกวน ทนทานตอโรค (7) ไมกอปญหารบกวนมากนัก เชน ไมเปนตนไมที่มีใบ เมล็ด หรอืดอก ที่

รวงมาก 3.3) หามปลูกพืชที่อยูในหวงโซอาหารของมนุษย 3.4) ไมอนุญาตใหจัดทําสนามเด็กเลนในพื้นที่แนวปองกัน

Page 12: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

11

5.1.2 หนวยงานที่ควรนําขอเสนอเรื่องแนวปองกัน (protection strip)ไปสูการปฏิบัติ

กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบการดูแลโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และกิจการอื่นซึ่งมีลักษณะคลายนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งควรหารือกับผูประกอบการในพื้นที่เพื่อใหนํามาตรการแนวปองกันไปปฏิบัติอยางเปนรูปธรรมโดยทันท ี

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ซึ่งมีหนาที่ดูแลเรื่องการทํา การประเมินผลกระทบสิง่แวดลอม (EIA) ควรนาํแนวคิดเรื่องแนวปองกันไปประกอบการจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิง่แวดลอมและการพิจารณารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหนาที่ดูแลองคกรปกครองสวนทองถิ่น และหนวยงานที่เกี่ยวของกับการบังคับใชพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สนับสนุนใหนําแนวคิดเรื่องแนวปองกันไปเปนประเด็นหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต หรือการบงัคับใชพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

5.2 แนวกันชน (Buffer)

แนวกันชน (buffer) หมายถึง ระยะหางของพื้นที่ระหวางยานอุตสาหกรรมกับยานชุมชน โดยเปนแนวที่อยูนอกเขตพื้นที่ของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อเปนมาตรการปองกัน และลดผลกระทบตอความปลอดภัย สุขภาพ ชีวิต ทรัพยสิน และสิ่งแวดลอม

5.2.1 ระยะแนวกันชนกําหนดตามประเภทอุตสาหกรรม กําหนดระยะแนวกันชนตามประเภทอุตสาหกรรมเปน 6 ระดบั โดยมีระยะแนวกันชนในแตละระดับ ตั้งแต 0 – 2,000 เมตร (โปรดดูตารางระยะแนวกันชน (buffer) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม ในภาคผนวก ค)

5.2.2 ขอหามการใชประโยชนท่ีดินในแนวกันชน พ้ืนที่ในแนวกันชน (buffer) จะตองมีขอกําหนดหามใชประโยชนที่ดินที่จะขัดแยงตอ

การปองกันอันตรายจากผลกระทบจากอุตสาหกรรม เชน

Page 13: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

12

1) การจัดสรรที่ดินทุกประเภท 2) การอยูอาศัยประเภทบานแถว ตึกแถว หรือหองแถว 3) การอยูอาศัยประเภทหองชุด อาคารชุด หอพัก 4) การอยูอาศัยประเภทอาคารอยูอาศัยรวม อาคารขนาดใหญ อาคารสูง หรืออาคาร

ขนาดใหญพิเศษ 5) โรงงานทุกจําพวกตามกฎหมายวาดวยโรงงาน เวนแตโรงงานตามประเภท

ชนิดและจําพวกที่กําหนดใหดําเนินการไดตามบัญชีทายขอกําหนดนี้ และโรงงานบําบัดน้ําเสียรวมของชุมชน

6) คลังสินคาประเภทวัตถุอันตราย 7) โรงมหรสพตามกฎหมายวาดวยการควบคุมอาคาร 8) โรงเรียน โรงแรมตามกฎหมายวาดวยโรงแรม โรงพยาบาล สถานสงเคราะหเด็ก

สถานสงเคราะหคนชรา สถานสงเคราะหดูแลคนปวย 9) การประกอบพาณิชยกรรมประเภทอาคารขนาดใหญ

5.2.3 หนวยงานที่ควรนําขอเสนอเรื่องแนวกันชนไปสูการปฎิบัติ

ควรเสนอให กรมโยธาธิการและผังเมือง การนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย

องคกรปกครองสวนทองถิ่น สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หรือหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของที่มีอํานาจหนาที่ในการอนุญาต/เห็นชอบ เปนผูดําเนินการ

โดยเฉพาะในการจัดทําผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลกัและชมุชน จังหวัดระยอง ฉบับใหม ซึ่งอยูระหวางดําเนินการ ใหกรมโยธาธิการและผังเมือง เทศบาลเมืองมาบตาพุด และหนวยงานที่เกี่ยวของนําแนวคิดเรื่องแนวกันชนไปใชในการกําหนดการใชประโยชนทีด่ินในผังเมืองดังกลาวใหเปนรูปธรรม เพื่อเปนมาตรการปองกันและลดผลกระทบตอความปลอดภัย สุขภาพ ชีวิต ทรัพยสิน และสิ่งแวดลอมของประชาชน

5.3 การควบคุมการใชประโยชนท่ีดินชั่วคราว

ควรควบคุมพื้นที่อุตสาหกรรมและคลงัสินคา (สีมวง) และพื้นทีช่นบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ทีย่ังไมมีการใชประโยชนไวชั่วคราวเพือ่รักษาพื้นทีไ่วเปนแนวกนัชนในการจัดทําผังเมืองรวม

Page 14: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

13

มาบตาพุดฉบับใหม โดยใชพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 ไปพิจารณาดําเนินการในเรื่องเขตควบคุมมลพิษ ที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม สามารถพิจารณาใชอํานาจกําหนดการใชประโยชนที่ดิน โดยตองผานความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ และคณะรัฐมนตรี

5.4 การชดเชย

เนื่องจากการกําหนดขอหามการใชประโยชนที่ดนิบริเวณแนวกันชนเปนการลิดรอนสิทธิ์ในการใชประโยชนที่ดินของประชาชน ภาคสวนที่ไดรับประโยชนจากการนี้จึงควรชดเชยความเสียหายใหแกประชาชนผูไดรับผลกระทบ โดย

หนวยงานรัฐ – ควรใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร เชน มาตรการทางภาษี การออกพันธบัตรที่ใหผลตอบแทนตอเนื่องในระยะยาวเพื่อชดเชยใหประชาชน ผูเปนเจาของที่ดินที่กําหนดใหเปนแนวกันชน

หนวยงานภาคเอกชนผูไดรับผลประโยชน – ควรมีสวนรวมในการจัดตั้งกองทุนหรือลงทุนเพื่อชดเชยใหประชาชนผูเปนเจาของที่ดินที่กําหนดใหเปนแนวกันชน

5.5 การโยกยายชุมชน

ในกรณีที่ไมสามารถสรางแนวกันชนได โดยเปนชุมชนและผูอยูอาศัยดั้งเดิมที่มีที่ตั้งติดกับโรงงานในระยะวิกฤติ อาจพิจารณายายชุมชนออกจากพื้นที่ ทั้งนี้โดยจะตองคํานึงถึงความยินยอมพรอมใจของประชาชน และปจจัยอ่ืนๆ ดวย โดยสามารถพิจารณาใชแนวทางการยายชุมชนที่ธนาคารโลก (World Bank) ไดแนะนําไว (โปรดดูแนวทางของธนาคารโลก และวธิีการดําเนินงาน การยายชุมชนของการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย การเคหะแหงชาติ และกรมทางหลวง ในภาคผนวก จ)

Page 15: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

14

II. การเผยแพรขอมูลผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง

1. แนวคิด เพื่อใหบันทึกการประชุมผลการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมืองสามารถเขาถึงและตรวจสอบไดโดยงาย

2. ขอเสนอแนะ เสนอใหกรมโยธาธิการและผังเมืองเปดเผยรายละเอียดของการประชุมของคณะกรรมการผังเมืองตอสาธารณะ โดยใหประชาชนสามารถเขาถึงรายละเอียดไดโดยไมตองรองขอ

Page 16: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

15

ภาคผนวก ก ตารางที่ 2 ระยะแนวปองกัน (Protection Strip) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม

แนวปองกัน (protection strip) หมายถึง การจัดการระยะและคุณภาพพื้นที่ในเขตของอุตสาหกรรมดานที่ติดกับชุมชน เพือ่เปนแนวปองกันใหเกิดความปลอดภัย โดยการจัดทําแนวปลูกตนไมเพื่อเปนแนวปองกัน หรือ มาตรการอื่นที่มีคุณภาพเทียบเทาหรือสูงกวา โดยเปนแนวที่อยูในเขตของแปลงที่ดินซึ่งอุตสาหกรรมประเภทดังกลาวตั้งอยู

ระดับ ประเภทอุตสาหกรรม ระยะแนวปองกัน อยางนอย (เมตร)

1 งานบริการหรือการผลิตสินคาขนาดเล็กที่ไมสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม 0 2 อุตสาหกรรมผลิตรองเทา การผลิตเสื้อผาสําเร็จรูป งานไม งานพิมพ

นิคมอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมในระดับ 2 และกิจการที่มีลักษณะคลายกัน

3

3 อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุกอสรางขนาดเล็ก การผลิตสบู การประกอบชิ้นสวนยานยนต ยาสูบ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการผลิตเซรามิค อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะที่เปนการขึ้นรูป ตัด พับ เชื่อม โรงผลิตไฟฟาขนาดเล็ก (SPP) ที่ไมใชถานหินหรือขยะเปนเชื้อเพลิง โรงผลติไฟฟาขนาดเล็กมากที่เปนประเภทพลังงานความรอน (VSPP) นิคมอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมในระดับ 3 และกิจการที่มีลักษณะคลายกัน

6

4 อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมแกวและกระจก การผลิตสนิคาเครื่องโลหะและหนัง การผลิตอุปกรณไฟฟาและวัสดุกอสราง อุตสาหกรรมเหล็กรีดรอนและรีดเย็น นิคมอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมในระดับ 4 และกิจการที่มีลักษณะคลายกัน

10

5 โรงแยกกาซธรรมชาติ อุตสาหกรรมปโตรเคมีและอุตสาหกรรมเคมีที่ไมอยูในระดับ 6 อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะที่มีเตาหลอม อุตสาหกรรมยานยนต การผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษขนาดใหญ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต โรงงานน้ําตาล โรงไฟฟาชีวมวลที่ไมไดใชขยะ

30

Page 17: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

16

ระดับ ประเภทอุตสาหกรรม ระยะแนวปองกัน อยางนอย (เมตร)

เปนเชื้อเพลิงที่ไมอยูในระดับ 3 การผลิตสังกะสี การผลิตเสนใย asbestos อุตสาหกรรมการจัดการของเสียขนาดใหญ อุตสาหกรรมอาหารและการผลิตน้ํามันปรุงอาหารขนาดใหญ โรงไฟฟากาซธรรมชาติ อุตสาหกรรมเสนใยสังเคราะห นิคมอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมในระดับ 5 และกิจการ ที่มีลักษณะคลายกัน

6 อุตสาหกรรมกลั่นน้ํามัน อุตสาหกรรมปโตรเคมีข้ันตน (upstream) และอุตสาหกรรมเคมีขนาดใหญ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตวัตถุระเบิด เตาปฏิกรณนิวเคลียร การผลิตยาปราบศัตรูพืช อุตสาหกรรมตอเรือขนาดใหญ การผลติกาวจากสัตว โรงไฟฟาถานหิน โรงไฟฟาจากขยะ นิคมอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมในระดับ 6 และกิจการที่มีลักษณะคลายกัน

50

ที่มา: ระยะแนวปองกัน กําหนดตามแนวทางของประเทศญี่ปุนและรายงานการวิเคราะหผลกระทบ สิ่งแวดลอมในพื้นที่มาบตาพุด

Page 18: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

17

ภาคผนวก ข ตัวอยางการปลูกตนไม 3 ช้ันเรือนยอด

ภาพที่ 1 ตัวอยางการปลูกตนไม 3 ชั้นเรือนยอด เพื่อเปนแนวปองกัน

ของอุตสาหกรรมในเมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุน

ภาพโดย นายศักดิชั์ย ประโยชนวนิช บริษัท คอนซัลแทนท ออฟ เทคโนโลยี จํากัด, 2553

Page 19: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

18

ภาคผนวก ค ตารางที่ 3 ระยะแนวกันชน (buffer) จําแนกตามประเภทอุตสาหกรรม1

แนวกันชน (buffer) หมายถึง ระยะหางระหวางยานอุตสาหกรรมกับยานชุมชน โดยเปนแนวที่อยูนอกเขตพื้นที่ของอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อเปนมาตรการปองกัน และลดผลกระทบตอความปลอดภัย สุขภาพ ชีวิต ทรัพยสิน และสิ่งแวดลอม

ระดับ ประเภทอุตสาหกรรม ระยะแนวกันชน (เมตร)

1 งานบริการหรือการผลิตสนิคาขนาดเลก็ที่ไมสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม 0 2 อุตสาหกรรมผลิตรองเทา การผลิตเสื้อผาสําเร็จรูป งานไม งานพิมพ 50 3 อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุกอสรางขนาดเล็ก การผลิตสบู การประกอบชิ้นสวนยานยนต

ยาสูบ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการผลิตเซรามิค อุตสาหกรรมเหล็ก และโลหะที่เปนการขึ้นรูป ตัด พับ เชื่อม โรงผลิตไฟฟาขนาดเล็ก (SPP) ท่ีไมใชถานหินหรือขยะเปนเชื้อเพลิง โรงผลิตไฟฟาขนาดเล็กมากที่เปนประเภทพลังงานความรอน (VSPP)

150

4 อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมแกวและกระจก การผลิตสินคาเครื่องโลหะและหนัง การผลิตอุปกรณไฟฟา และวัสดุกอสราง อุตสาหกรรมเหล็กรีดรอนและรีดเย็น

500

5 โรงแยกกาซธรรมชาติ อุตสาหกรรมปโตรเคมีและอุตสาหกรรมเคมีท่ีไมอยูในระดับ 6 อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะที่มีเตาหลอม อุตสาหกรรมยานยนต การผลิตเครื่องจักรขนาดใหญ อตุสาหกรรมเยื่อและกระดาษขนาดใหญ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต โรงงานน้ําตาล โรงไฟฟาชีวมวลที่ไมไดใชขยะเปนเชือ้เพลิงที่ไมอยูในระดับ 3 การผลิตสังกะสี การผลิตเสนใย asbestos อูตอเรือเลก็ อุตสาหกรรมการจัดการของเสียขนาดใหญ อุตสาหกรรมอาหารและการผลิตน้ํามันปรุงอาหารขนาดใหญ โรงไฟฟากาซธรรมชาติ อตุสาหกรรมเสนใยสังเคราะห

1,000

6 อุตสาหกรรมกลั่นน้ํามัน อุตสาหกรรมปโตรเคมีขั้นตน (upstream) และอุตสาหกรรมเคมีขนาดใหญ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตวัตถุระเบิด เตาปฏิกรณนิวเคลียร การผลิตยาปราบศัตรูพืช อุตสาหกรรมตอเรือขนาดใหญ การผลิตกาวจากสัตว โรงไฟฟาถานหิน โรงไฟฟาจากขยะ

2,000

Page 20: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

19

หมายเหตุ: 1. ปรับปรุงจาก Maas, F.M. “Town and Country Planning.” In Suess, M.J. and Craxford, S.R.

(eds.) 1976. Manual on Urban Air Quality Management. WHO Regional Office for Europe. และ Environment Protection Authority, Victoria, Australia. 1990. Recommended Buffer Distances for Industrial Residual Air Emissions. Available from: http://www.epa.vic.gov.au

2. เปนแนวคิดเพื่อใหผูปฏิบัตินําไปประกอบการพิจารณาตอไป หากในอนาคตมีเทคโนโลยทีี่เปลี่ยนไป สามารถพิจารณาทบทวนระยะแนวกันชนไดตามความเหมาะสม

3. กรณีที่เปนนิคมอุตสาหกรรมและกิจการที่มีลักษณะคลายกัน ผูประกอบการตองวางแผนการกําหนดการใชประโยชนที่ดินสําหรับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมนั้น ใหสอดคลองกับตารางในแตละระดับที่กําหนดไว

Page 21: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

20

ภาคผนวก ง การนําระยะแนวกันชนที่จัดทําไวมาพิจารณาเทียบกับขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด

เมื่อนําระยะแนวกันชนที่จัดทําไวมาพิจารณาเทียบกับขอมูลจริงของพื้นที่มาบตาพุด พบวา ที่ตั้งอุตสาหกรรมและขอบเขตแนวกันชนของแตละประเภทอุตสาหกรรมดังภาพที่ 2 สวนภาพที่ 3 แสดงที่ตั้งอุตสาหกรรมและขอบเขตแนวกันชนโดยรอบ และภาพที่ 4 แสดงพื้นที่ที่มีปญหาวิกฤตเรื่องแนวกันชน ดังนี้

ภาพที่ 2 แสดงที่ต้ังอุตสาหกรรมและขอบเขตแนวกันชนของแตละประเภทอุตสาหกรรม

#

#

#

#

#

# #

#

#

#

#

## # ## ### ## #

#

# #

#

###

#

#

#

### #

#

#

# ##

#

##

#

#

#

##

#

#

##

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

##

#

#

##

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

##

#

#

#

#

##

#

#

#

##

# #

á»Å§·Õè´ Ô¹

#

»ÃÐ àÀ··Õè 5 = 1 ¡ÔâÅàÁµÃ#

»ÃÐ àÀ··Õè 4 = 500 àÁµÃ

# »ÃÐ àÀ··Õè 6 = 2 ¡ÔâÅàÁµÃ

»ÃÐàÀ·ÍصÊÒË¡ÃÃÁµÒÁÃÐÂÐá¹Ç¡Ñ¹ª¹ประเภทอุตสาหกรรมตามระยะแนวกันชนประเภทท่ี 4 ระยะ 500 เมตรประเภทท่ี 5 ระยะ 1,000 เมตร

ประเภทท่ี 6 ระยะ 2,000 เมตร

Page 22: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

21

ภาพที่ 3 แสดงที่ต้ังอุตสาหกรรมและขอบเขตแนวกันชนโดยรอบ

#

#

#

#

#

# #

#

#

#

#

## # ## ### ## #

#

# #

#

###

#

#

#

### #

#

#

# ##

#

##

#

#

#

##

#

#

##

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

##

#

#

##

#

#

#

#

#

#

#

#

#

#

##

#

#

#

#

##

#

#

#

##

# #

á»Å§·Õè´Ô¹

#

»ÃÐ àÀ··Õè 5 = 1 ¡ÔâÅàÁµÃ#

»ÃÐ àÀ··Õè 4 = 500 àÁµÃ

# »ÃÐ àÀ··Õè 6 = 2 ¡ÔâÅàÁµÃ

»ÃÐàÀ·ÍصÊÒË¡ÃÃÁµÒÁÃÐÂÐá¹Ç¡Ñ¹ª¹

ชุมชนมาบชลูด

ชุมชนหนองแฟบ

ชุมชนตากวน-อาวประดู

ประเภทอุตสาหกรรมตามระยะแนวกันชนประเภทที่ 4 ระยะ 500 เมตรประเภทที่ 5 ระยะ 1,000 เมตร

ประเภทที่ 6 ระยะ 2,000 เมตร

Page 23: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

22

ภาพที่ 4 แสดงชุมชนที่มปีญหาวิกฤตเรื่องแนวกันชน ในผังเมอืงรวม

ชุมชนหนองแฟบ

ชุมชนมาบชลูด

ชุมชนตากวน-อาวประดู

Page 24: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

23

ภาคผนวก จ แนวทางการยายชุมชนออกจากพื้นที่เดิม

กรณีชุมชนที่มีที่ตั้งติดกับโรงงาน (ไมมีแนวกันชน) ในระยะวิกฤต และประชาชนยินดีจะยายออก

1. แนวทางการยายถิ่นฐานของธนาคารโลก (World Bank)

ธนาคารโลก (World Bank)2 ระบุวา การยายถิ่นฐานที่เหมาะสมตองมีวัตถุประสงคเพื่อใหประชาชนไดรับสิทธิประโยชนจากการยายถิ่นฐานใหม

1.1 กรอบนโยบายของธนาคารโลก (World Bank)

1) ควรหลีกเลี่ยงการยายถิ่นฐานใหมโดยไมสมคัรใจ หากเปนไปไดควรหาทางเลือกอื่นๆไวให

2) ในกรณีท่ีการยายถิ่นฐานใหมเปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได ควรมีการปรึกษากับผูที่สูญเสีย

ที่ดินอยางจริงจัง เพื่อพัฒนาและชวยเหลือสภาพความเปนอยูและคุณภาพชีวิต หรือยางนอยควรทําใหมีระดับความเปนอยูเหมือนกับกอนมีโครงการพัฒนา ควรมีกระบวนการการมีสวนรวมจากทุกภาคสวนและสรางใหเกิดความรูสึกวาการยายถิ่นฐานใหมจะเกิดผลประโยชนตางๆ ตอตนเอง ครอบครัว และสาธารณะชน

1.2 แนวทางดําเนินการในการยายถิ่นฐาน

1) หนวยงานที่รับผิดชอบ ควรที่จะมีหนวยงานซึ่งเปนผูรับผิดชอบโดยตรงตอประชาชน ผูที่ตองยายถิ่นที่อยู โดยมี 2 ทางเลือก คือ

(1) จัดตั้งหนวยงานเพื่อรับผิดชอบตอประชาชนซึ่งตองยายถิ่นฐาน 2 The World Bank Operation Manual, OD 4.30, June 1, 1990. available from: http://www.ifc.org/ifcext/enviro.nsf/AttachmentsByTitle/pol_Resettlement/$FILE/OD430_InvoluntaryResettlement.pdf

Page 25: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

24

(2) องคการปกครองสวนทองถิ่นเปนผูรับผิดชอบและดูแลประชาชนโดยถือเปนสวนหนึ่งของประชาชนในพื้นที่

(3) ในกระบวนการวางแผนงาน การปฏิบัติ และการติดตามตรวจสอบ ควรมีองคกรภาคประชาสังคมเขารวมดวย

2) การมีสวนรวมของประชาชนและการปรึกษาหารือ ประชาชนผูที่ถูกยายถิ่นฐานควรไดรับ

ขอมูลและคําปรึกษาในเรื่องของทางเลือกและสิทธิ เพื่อเปนการ เตรียมการเพื่อยายถิ่นฐาน ซึ่งจะทําในลักษณะที่เปนทางการหรือไมเปนทางการก็ได และควรจัดใหมีการประชุมรวมกันของผูมีสวนเกี่ยวของทุกภาคสวน

3) การศึกษาในดานเศรษฐกิจและสงัคม (Socioeconomic Survey) ควรมีการศึกษาขอมูลใน

ปจจุบันเพื่อประกอบการวางแผนการยายถิ่นฐานโดยควรมีรายงานการสํารวจเพื่ออธิบายถึง (1) ขนาดพื้นที่ของการยายถิ่นที่อยู (2) ขอมูลดานทรัพยากรซึ่งอาจมีผลกระทบตอประชาชน (3) ระบบสาธารณูปโภคและการบริการทางสังคม (4) องคกรทั้งในรูปแบบที่เปนทางการและไมเปนทางการซึ่งอาจมีสวนชวยเหลือ

ประชาชนผูยายถิ่นที่อยู (5) ทัศนคติตอทางเลือกในการยายถิ่นที่อยู

4) กรอบดานกฎหมาย ควรมีกฎหมายเพื่อรองรับ (1) การกําหนดคาชดเชย ระยะเวลาในการจาย (2) ข้ันตอนในการดําเนินงาน (3) สิทธิการเปนเจาของที่ดินและขั้นตอนการลงทะเบียน (4) กฎหมายและกฎเกณฑซึ่งเกี่ยวของกับหนวยงานซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของ การชดเชย

ที่ดิน สาธารณูปโภค สวัสดิการสังคม

5) การเลือกถ่ินที่อยูใหม การเลือกทีอ่ยูอาศัยหากเปนเกษตรกรรม ที่ดินควรมีศักยภาพไมนอยไปวาถิ่นที่อยูเดิม ในกรณีที่ไมสามารถหาพื้นที่เกษตรกรรมมาทดแทนไดก็ควรที่จะมีการจัดหางานและสรางงานมารองรับ

Page 26: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

25

6) การประเมินคาและคาชดเชยสําหรับที่ดินเดิม

(1) ที่ดินและทรัพยสินควรมีการประเมินตามราคาในทองตลาด (2) ใหขอมูลแกสาธารณะเรื่องเกณฑการคิดคาชดเชย (3) ตั้งเกณฑหรือมาตรฐานในการใหคาชดเชย โดยดูจากผลกระทบที่เกิดขึ้น (4) มีการสูญเสียบางประเภทที่ไมสามารถใหคาชดเชยได เชน การเขาถึงบริการสาธารณะ

การประมง จึงควรมีมาตรการใหแนใจวาประชาชนซึ่งตองยายถิ่นฐานจะมีโอกาสในการเขาถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะ เหลานี้

7) การเขาถึง การฝกอบรมและ การจางงาน ควรมีทางเลือกสําหรับประชาชนซึ่งยายไปถิ่นที่

อยูใหมแลวไมสามารถประกอบอาชีพแบบเดิมได 8) ท่ีพักอาศัย สาธารณูปโภค การบรกิารทางสังคม ควรมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและ

การศึกษาเพื่อใหเพียงพอตอความตองการ และมีมาตรการเพื่อรักษาสิ่งแวดลอม เชน การใชทรัพยากรธรรมชาติ สุขอนามัย เพื่อไมใหเกิดปญหาระหวางประชาชนซึ่งยายเขาไปอยูใหมและประชาชนเดิมในพื้นที่

9) ตารางการปฏิบัติงาน การติดตามตรวจสอบและ การประเมินผล ควรมีระบบการตรวจสอบ

ซึ่งผูที่ยายถิ่นฐานสามารถแจงประเด็นปญหาที่เกิดขึ้นหลังการยายได ดงันั้นจึงควรมีงบประมาณและผูเชี่ยวชาญที่เพียงพอสําหรับการประเมินผล และผูที่เขามาเปนผูประเมินไมควรมีสวนไดเสียกับโครงการ

Page 27: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

26

2. แนวทางการยายถิ่นฐานของหนวยงานในประเทศไทย

แนวทางการยายถิ่นฐานของหนวยงานในประเทศไทยในที่นี้ประกอบดวย 3 หนวยงาน ไดแก

1) การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย 2) การเคหะแหงชาติ 3) กรมทางหลวง

รายละเอียดมีดังตอไปนี้ ตารางที่ 4 ขั้นตอนการดําเนินงานการรื้อยายชุมชนของหนวยงานในประเทศไทย

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

1. การขอซื้อที่ดินจากชาวบาน เพื่อสรางสถานี หรือโรงไฟฟา

• ติดตอเบื้องตน พรอมใหขอมลู โดยแผนกมวลชนสัมพันธ

• เจรจาตอรองกบัชุมชน และสอบถามความสมัครใจจากชาวบาน

• ตั้งคณะกรรมการกําหนดคาทดแทนทรัพยสิน

• ประกาศเปนทางการเรื่องการขอเวนคืนทีด่นิเพื่อการกอสราง

• เจาของที่ดินทาํเรื่องเสนอราคา • กฟผ. กันเงนิสวนหนึ่งใหเปนเงินอุดหนุนรอบโรงไฟฟา

การซื้อที่ดินโดยวิธี 1. ประกาศซื้อ

• ใหจดัทําประกาศซื้อที่ดินไวโดยเปดเผย ณ ที่ทําการของการเคหะแหงชาต ิสํานักงานที่ดนิจังหวัดและสํานักงานที่ดินอําเภอในทองที่ซ่ึงการเคหะแหงชาติประสงคจะซือ้ที่ดิน

• ตองประกาศแจงไมนอยกวาสามสิบวัน

• และใหประกาศทางสถานีวิทยกุระจายเสยีงแหงประเทศไทย, สถานีวทิยทุองถ่ินและหนังสือพิมพทองถ่ินดวย (ถามี) หากเห็นสมควรประกาศโดยวิธีอ่ืนเพิ่มเติมก็ได

2. การจัดซื้อทีด่ินโดยวิธีตกลงซื้อ 3. การจัดซื้อทีด่ินโดยวิธีอ่ืน

ขั้นตอนการจดักรรมสิทธิ์ที่ดิน 1. การสํารวจที่ดนิ ส่ิงปลูกสรางและตนไมยืนตนผูรับมอบหมายจากกรมทางหลวงในฐานะเจาหนาทีเ่วนคืนจะแจงกําหนดวนัเขาทําการสํารวจเปนหนังสอืใหเจาของทรัพยสินทราบลวงหนาไมนอยกวา 15 วัน

Page 28: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

27

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

2. การรอนสิทธิของประชาชน มีกรณีเดยีวคือ การสรางสายสงไฟฟาแรงสูง

• วางแผนสรางจุดเชื่อมระหวางจังหวดั โดย กองสํารวจออกแบบเบื้องตน โดยกําหนดจากแผนที่ 1: 50,000

• เจรจาตอรองกบัชุมชน และสอบถามความสมัครใจจากชาวบาน

• ตั้งคณะกรรมการกําหนดคาทดแทนทรัพยสิน (หนวยงานในพื้นที;่ ผูวาราชการจังหวดั, ปาไม, ที่ดิน, เกษตรอําเภอ, กํานัน, ผูใหญบาน และ กฟผ.เปนฝายเลขา)

• มีหนวยงานจดักรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการ และหนวยงานประเมินทรัพยสิน

การดําเนนิการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีประกาศซื้อ หรือโดยวิธีตกลงซื้อใหคณะกรรมการสรรหาที่ดิน

• ติดตอสรรหา • คัดเลือกแลวตอรอง และตกลงราคากับเจาของที่ดินหรือผูเสนอขาย

• รายงานผูมีอํานาจอนุญาตการจัดซื้อที่ดินนัน้

• ทําสัญญากับเจาของที่ดินหรือผูรับมอบอํานาจโดยตรงจากเจาของที่ดิน

2. การกําหนดคาทดแทนทรัพยสินที่ถูกเวนคืนจะดําเนินการโดยคณะกรรมการปรองดอง (ในขั้นปรองดอง) หรือคณะกรรมการกําหนดราคาเบื้องตน (ในขั้น พ.ร.ฎ.) หรือคณะกรรมการกาํหนดราคาของอสังหาริมทรัพยทีจ่ะตองเวนคืน (ในขั้น พ.ร.บ.) ซ่ึงรัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมแตงตั้งประกอบดวย ผูแทนของเจาหนาทีห่นึ่งคน ผูแทนกรมที่ดนิหนึ่งคน ผูแทนของหนวยงานอืน่ของรัฐหนึ่งคน ผูแทนสภาทองถ่ินที่เกี่ยวของเพื่อทาํหนาที่กําหนดราคาเบื้องตนของอสังหาริมทรัพยที่จะตองคนืและจํานวนเงินคาทดแทน

การใชอํานาจอนุญาตการจดัซื้อที่ดินใหเปนดงันี้ (1) การจัดซื้อที่ดินที่มีราคาไมเกินสองลานบาท ใหผูวาการเปนผูอนุญาตการจดัซื้อที่ดิน (2) การจัดซื้อที่ดินที่มีราคาเกินสิบลานบาทแตไมเกินหาสิบลานบาท ใหผูวาการเปนผูอนุญาตการจัดซื้อที่ดิน แลวรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ (3) การจัดซื้อที่ดินที่มีราคาเกินหา

3. การกําหนดคาทดแทนอสังหาริมทรพัยจะกําหนดใหแกบุคคลตอไปนี้ 3.1 เจาของหรือผูครอบครองโดยชอบดวยกฎหมายซึ่งที่ดนิที่ตองเวนคืน 3.2 เจาของโรงเรือนสิ่งปลูกสรางอยางอื่นที่ร้ือถอนไมได ซ่ึงมีอยูในทีด่ินที่ตองเวนคืนนั้นในวันใชบังคับพระราชกฤษฏีกาหรอืไดปลูกสรางขึ้นภายหลังโดยไดรับอนุญาตจากเจาหนาที ่

Page 29: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

28

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

สิบลานบาท ใหคณะกรรมการเปนผูอนุญาตการจัดซื้อที่ดิน

3.3 ผูเชาที่ดิน โรงเรือน หรือส่ิงปลูกสรางอยางอื่นในที่ดนิทีต่องเวนคืน แตการเชานั้นตองมีหลักฐานเปนหนังสือ ซ่ึงไดทําไวกอนวนัใชบังคับพระราชกฤษฎีกาหรือไดทําขึ้นภายหลังโดยไดรับอนุญาตจากเจาหนาที่และการเชานั้น ยังมิไดระงับไปในวันที่เจาหนาทีห่รือผูซ่ึงไดรับมอบหมายจากเจาหนาทีไ่ดเขาครอบครองที่ดิน โรงเรือนหรือส่ิงปลูกสรางดังกลาว แตเงนิคาทดแทนในการเชานี้พึงกําหนดใหเฉพาะที่ผูเชาไดเสียหายจริงโดยเหตุที่ตองออกจากที่ดิน โรงเรือน หรือส่ิงปลูกสรางดังกลาวกอนสัญญาเชาระงับ 3.4 เจาของตนไมยนืตนทีข่ึ้นอยูในที่ดนิในวันที่ใชบังคับพระราชกฤษฎีกา 3.5 เจาของโรงเรือนหรือส่ิงปลูกสรางอยางอื่นที่ร้ือถอนได ซ่ึงมีอยูในที่ดนิที่ตองเวนคืนนั้นในวนัใชบังคับพระราชกฤษฎีกาแตตองไมเปนผูซ่ึงจําตองร้ือถอนโรงเรือนหรือส่ิงปลูกสรางดังกลาวไปเมื่อไดรับแจงจากเจาของที่ดินพึง เงินคาทดแทนตามขอ 3.5 นี้กําหนดใหเฉพาะคาร้ือถอนคาขนยายและคาปลูกสรางใหม (ในสภาพเดิม) 3.6 บุคคลผูเสียสิทธิ์ในการใช

Page 30: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

29

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

ทาง วางทอน้ํา ทอระบายน้ํา สายไฟฟาหรือส่ิงอื่นซึ่งคลายกันผานที่ดินที่ตองเวนคืนตามมาตรา 1349 หรือ มาตรา 1352 แหงประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยในกรณีที่บุคคลเชนวานัน้ ไดจายคาทดแทนในการใชสิทธิดังกลาวใหแกเจาของที่ดินที่ตองเวนคืนแลว

• การกําหนดคาทดแทนจะพิจารณาตามหลักเกณฑที่กฎหมายกําหนดโดยคํานึงถึง 4.1 ราคาที่ซ้ือขายกันตามปกติในทองตลาดของอสังหาริมทรัพยที่จะตองเวนคืนตามที่เปนอยูในวันใชบังคับพระราชกฤษฎีกา 4.2 ราคาของอสังหาริมทรัพยที่มีการตีราคาไวเพื่อประโยชนแกการเสียภาษีบาํรุงทองที่ 4.3 ราคาประเมินทุนทรพัยเพื่อเรียกเก็บคาธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิตกิรรม 4.4 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพยนั้น 4.5 เหตุและวัตถุประสงคของการเวนคนื 4.6 การไดประโยชนและเสียประโยชนจากการเวนคนื 4.7 คาทดแทนความเสียหายที่ตองออกจากอสังหาริมทรัพยที่ถูกเวนคืนกรมทางหลวงจะจายเงินคาทดแทนใหไดเมื่อพิสูจนไดวา

Page 31: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

30

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

คาเสียหายนั้นมีอยูจริงโดยมีหลักฐานพิสูจนไดวามีอยูจริงตามหลักเกณฑของกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อใหเกิดความเปนธรรมแกผูถูกเวนคืนและสังคม

• การจายเงนิคาทดแทน เมื่อทาํบันทึกขอตกลงหรือสัญญาซื้อขายแลวกรมทางหลวงตองจายเงินคาทดแทนทั้งหมดใหแกเจาของทรัพยสินภายใน 120 วัน นับแตวันทําบนัทึกขอตกลงหรือสัญญาซื้อขาย

• กรณีเปนทีด่ิน กรมทางหลวงจะจายเงินคาทดแทนเมื่อเจาของทรัพยสินไดจดทะเบยีนหรือแกไขหลักฐานทางทะเบยีนแลว

• เมื่อประกาศใช พ.ร.ฎ. และมีประกาศกําหนดใหการเวนคนืเปนกรณีที่มีความจําเปนโดยเรงดวนแลว หากเจาของทรัพยสินไมยนิยอมจดัทําบนัทึกขอตกลงหรือสัญญาซื้อขายหรือยินยอมจัดทําบันทึกขอตกลง หรือสัญญาซื้อขาย แตไมมารบัเงินคาทดแทนภายในกําหนดเวลา เจาหนาทีจ่ะนาํเงินไปวางตอศาลหรือตอสํานักงานวางทรัพยหรือนําเงินไปฝากธนาคารออมสินในชื่อของผูมีสิทธิไดรับเงินคาทดแทน ถาเจาของทรัพยสินไมรองขอรับ

Page 32: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

31

การไฟฟาฝายผลิต แหงประเทศไทย 1

การเคหะแหงชาต ิ(ขอบังคับการเคหะแหงชาติ ฉบับที่ 77)2

กรมทางหลวง3

เงินภายใน 10 ป นับแตวันทีไ่ดนําเงินวางตอศาลหรือตอสํานักงานวางทรัพยหรือฝากธนาคารออมสิน เงินคาทดแทนนั้นจะตกเปนของแผนดิน

ที่มา: 1. สัมภาษณทางโทรศัพทเจาหนาที่การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย :11/03/53 2. การเคหะแหงชาติ. http://www.nha.co.th/ewt_news.php?nid=240 Available: 12/03/53. 3. กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. http://www.doh.go.th/dohweb/law/law-paper3.html Available: 11/03/53.

Page 33: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

32

Page 34: ข อเสนอftiweb.off.fti.or.th/demo/6101/userfiles/files...ข อเสนอ เร อง “การจ ดการป ญหาระยะห างระหว างอ

33