13

คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน
Page 2: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

คู่มือ

การป้องกันอนัตรายจากความร้อนและการ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับอันตรายจากความร้อน

(ส าหรับครูฝึก)

กรมแพทย์ทหารเรือ

๒๕๖๐

Page 3: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

สารบัญ

หัวข้อ หน้า

๑. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๑ ๑.๑ อันตรายที่เกิดจากความร้อน ๑ ๑.๒ สาเหตุการเกิดอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๑ ๑.๓ อาการของผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๒ ๒. การป้องกันอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๓ ๒.๑ ฝึกปรับสภาพร่างกายให้เคยชินกับสภาพอากาศร้อน ๓ ๒.๒ ฝึกตามตารางการฝึก/ประเมินสภาพแวดล้อมในการฝึก/ ๔ ปฏบิัติตามสัญญาณธง ๒.๓ บังคับดื่มน้้าและจัดวงรอบการฝึกกลางแจ้งและระยะพักฝึก ๖ ใหเ้หมาะสมกับสภาพ ๓. การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๖ ๓.๑ การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อนชนิด ๖ ไม่รุนแรง ๓.๒ การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อนชนิด ๗ รุนแรง ๓.๓ การน้าส่งโรงพยาบาล ๗ ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน ๗ กองทัพเรือ ๔.๑ ข้อควรปฏิบัติของหน่วย ๗ ๔.๒ ข้อควรปฏิบัติของครูฝึก ๘ ๔.๓ ข้อควรปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึก ๘

Page 4: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

คู่มือ การป้องกันอันตรายจากความร้อนและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ผู้ได้รับอันตรายจากความร้อน

๑. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๑.๑ อันตรายที่เกิดจากความร้อน อันตรายที่เก่ียวข้องกับการปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมร้อนจัด ไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น เช่นประเทศไทย มีความเสี่ยงที่นักกีฬาและประชาชนในหลายๆ อาชีพที่ท างานกลางแจ้งจะได้รับอันตรายจากความร้อนเป็นจ านวนมาก และมักไม่ได้รับการวินิจฉัย ตลอดจนให้การรักษาที่ถูกต้อง ท าให้ยังมีผู้เสียชีวิต และพิการจ านวนมากในทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มทหาร ซึ่งทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งยังขาดในเรื่องการตระหนักถึงความส าคัญของปัญหาและขาดการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้อง ในเรื่องอันตรายที่เกิดจากความร้อนให้กับผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย อันตรายที่เกิดจากความร้อน เกิดจากการที่ร่างกายสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งจะท าให้ร่างกายเกิดภาวะอ่อนเพลีย และท าให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ผลคือ การตอบสนองของร่างกายโดยหลอดเลือด มีการขยายตัวอัตราการเต้นของหัวใจเพ่ิมข้ึน ขณะเดียวกันถ้าเป็นการเพ่ิมของอัตราการไหลเวียนของเลือด ผลที่เกิดขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ า คือ เกิดภาวะที่เลือดกลายเป็นด่าง (Respiratory alkalosis) แล้วก่อให้เกิดกลุ่มอาการอ่อนเพลียจากความร้อน เช่น อาการตะคริวจากความร้อน ( Heat cramps ) ภาวะลมแดด หรือเพลียแดด ( Heat exhaustion ) และอาการของโรคลมเหตุร้อน (Heat stroke) ส าหรับก าลังพลของกองทัพเรือ มักเกิดการอันตรายจากความร้อนในห้วงการฝึกทหารต่างๆ เช่น การฝึกเบื้องต้นทหารใหม่ การฝึกภาคสาธารณะของนักเรียนจ่าทหารเรือ การฝึกในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งบางครั้งการเจ็บปุวยนี้มีความรุนแรงถึงชีวิต ซ่ึงการเจ็บปุวยดังกล่าวหน่วยฝึกทหารสามารถปูองกันได้

๑.๒ สาเหตุการเกิดอันตรายที่เกิดจากความร้อน เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและร่างกายสะสมความร้อนจากการฝึกและการออกก าลังกาย โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นสัมพัทธ์สูง (อากาศร้อนอบอ้าว) เช่น ช่วงก่อนฝนตกหนัก ร่างกายจะไม่สามารถระบายความร้อนได้เหมือนปกติ จึงเกิดความร้อนสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ท าให้มีอุณหภูมิกายสูงเกินกว่าปกติจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะและระบบการท างานของร่างกายอาจเสียชีวิตหรือสมองพิการถาวรได้ การบาดเจ็บจากความร้อนพบว่าเกิดขึ้นเสมอในห้วงการฝึกและการปฏิบัติการทางทหาร ๑.๓ ปัจจัยท่ีเกี่ยวกับการเกิดอันตรายจากความร้อน ปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดการบาดเจ็บจากความร้อน ได้แก่ สภาพอากาศร้อนจัดและมีความชื้นในอากาศสูง ไม่มีลมพัด พ้ืนที่ฝึกและออกก าลังกายเป็นพื้นซีเมนต์หรือลาดยาง ความพร้อมด้านร่างกายของทหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อนและการฝึก การใส่เสื้อผ้าหนาและปกปิดร่างกายมิดชิดเกินไป ท าให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี มีอาการปุวย มีโรคประจ าตัว การออกก าลังกายหรือ ฝึกหนักเกินไป การดื่มน้ าไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และการรับประทานยาบางชนิดที่มีผลในการขับปัสสาวะหรือยาที่ยับยั้งการหลั่งเหงื่อ ๑.๓.๑ ปัจจัยที่เป็นเหตุที่ท าให้ร่างกายล้มเหลวในการตอบสนองต่อความร้อนที่มากขึ้นจนเกิดอันตรายจากความร้อน ๑.๓.๑.๑ ได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมมากจนเกินไป ได้แก่อุณหภูมิอากาศสูงมากในบางฤดู การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ รวมถึงการสะท้อนรังสีของท้องน้ าเมฆและพ้ืนดิน

Page 5: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

๑.๓.๑.๒ ร่างกายสร้างความร้อนมากขึ้น จากการออกก าลังกายอย่างหนักกล้ามเนื้อจะสร้างความร้อนอย่างมาก ยิ่งถ้าร่วมกับ การมีไข้หนาวสั่นในระยะก่อนออกก าลังกาย ๑ – ๒ สัปดาห์ การได้รับยาบางประเภท เช่น โคเคน , ยาบ้า, ยารักษาโรคซึมเศร้า , เหล้าแห้ง, Salicylate, Parachlorophenol, Monoamine – Oxidase inhibiter เป็นต้น จะท าให้อุณหภูมิกายสูงขึ้นจนถึงระดับอันตรายอย่างรวดเร็ว

๑.๓.๒ ร่างกายระบายความร้อนได้ลดลง โดยมีเหตุปัจจัยส าคัญที่ท าให้ร่างกายระบายความร้อนได้ลดลง คือ

๑.๓.๒.๑ ขณะออกก าลังกายมีภาวะร่างกายขาดน้ า มักเกิดจากดื่มน้ าไม่พอกับความต้องการ หรือท้องเสีย อาเจียนหรือ กินไม่ได้มาก่อนออกก าลังกาย (ถ้าขาดมากกว่า ๓% ของมวลกาย อุณหภูมิของร่างกายจะเพ่ิมสูงขึ้นแม้ ในขณะพัก ) โดยเฉพาะผู้ที่ท้องเสียมาก่อน ๒-๓ วัน ก่อนออกก าลังกายต้องเฝูาระวังเป็นพิเศษ

๑.๓.๒.๒ อ้วน ท าให้การสูบฉีดเลือดจากหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งพ้ืนที่ผิวที่จะระบายความร้อนมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับมวลกาย

๑.๓.๒.๓ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่เหมาะสม หนาทึบ ระบายเหงื่อไม่ดี ๑.๓.๒.๔ โรคผิวหนังต่างๆ ที่ท าให้การระบายความร้อน การหลั่งเหงื่อลดลง ๑.๓.๒.๕ ยาบางชนิด เช่น Anticholinergic agents, ยาขับปัสสาวะ, Phenothiazines, ยา

ลดความดันโลหิต เช่น β blockers หรือ Calcium Channel Blockers, Sympathomimetic agent, ยาแก้แพ้, ยาลดน้ ามูก,ยาลดความอ้วน, ยาระงับอาการปวดท้อง

๑.๓.๒.๖ ดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ท าให้การปรับตัวของหลอดเลือดไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นเท่าปกติ และมักจะมีภาวะขาดน้ าแฝงจากการยับยั้งของฮอร์โมน ADH พบว่าคนที่ดื่มแอลกอฮอล์มีอุบัติการณ์ การเกิดอันตรายจากความร้อน สูงกว่าผู้ไม่ดื่ม ถึง ๑๕ เท่า

๑.๓.๒.๗ อดนอน ๑.๓.๒ มีโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน ท าให้การปรับตัวตัวต่อความร้อนได้ไม่ดี

เหมือนคนทั่วไป ๑.๓.๒.๘ อายุมากเกินไปหรือน้อยเกินไป การปรับตัวจะไม่ดี

๑.๔ อาการของผู้ท่ีได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อน แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม ตามระดับความรุนแรง ดังนี้ ๑.๔.๑ อันตรายที่เกิดจากความร้อนแบบไม่รุนแรง

๑.๔.๑.๑ ผดผื่นคันจากความร้อน ( Prickly heat ) เป็นผื่นแดงคัน มักพบที่ผิวหนังบริเวณที่สวมเสื้อผ้า เนื่องจากมีการอุดตันของต่อมเหงื่อที่ผิวหนังบริเวณดังกล่าว ท าให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของต่อมเหงื่อมีอาการคันเป็นอาการเด่น

๑.๔.๑.๒ บวมแดด ( Heat edema ) เป็นอาการบวมและตึงของมือและเท้า ซึ่งจะเกิดขึ้นใน ๒ - ๓ วันแรกที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อน ส่วนใหญ่จะบวมที่เท้าขึ้นมาถึงข้อเท้า มักไม่ลามขึ้นเกินหน้าแข้ง เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณผิวหนังและมีสารน้ าคั่งในช่องว่างระหว่างเซลล์ในบริเวณแขน ขา

๑.๔.๑.๓ ลมแดด ( Heat syncope ) มีอาการหน้ามืด ตัวเย็น เป็นลม หมดสติจากภาวะของ ความดันโลหิตต่ าจากลักษณะท่าทาง ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย การลดลงของการตึงตัวของหลอดเลือดและการพร่องของปริมาณสารน้ าในร่างกายอันเนื่องมาจากความร้อน

๑.๔.๑.๔ เกร็งแดด ( Heat tetany ) เกิดจากการหายใจหอบมากเกินไป ส่งผลให้เกิดความเป็นด่างในเลือดจากการหายใจ ( Respiratory alkalosis ) มีอาการเหน็บชา เกร็งกล้ามเนื้อ มักเกิดในสภาวะที่ได้รับความร้อนอย่างมากในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

Page 6: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

๑.๔.๑.๕ ตะคริวแดด ( Heat cramps ) เป็นอาการหดเกร็งค้าง อย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ เกิดหลังออกก าลังกายหนัก มักเป็นกับกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาก เช่น น่อง ต้นขา ไหล่ จะเกิดขึ้นกับคนบางคนเท่านั้น ไม่เป็นกันทุกคน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดตะคริวนี้ คาดว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุลของน้ าและเกลือแร่ในร่างกาย โดยที่อุณหภูมิกายไม่จ าเป็นต้องสูงผิดปกติ เป็นแล้วจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน การรักษาคือ ให้พัก ให้ดื่มน้ า อาจเพ่ิมเกลือแร่เพียงเล็กน้อยในน้ า (๐.๑-๐.๒ % NaCl) หรือเติมเกลือเพียงเล็กน้อยในอาหารที่กินประจ า ไม่แนะน าให้กินเกลือเม็ด

๑.๔.๒ อันตรายที่เกิดจากความร้อนแบบรุนแรง ๑.๔.๒.๑ เพลียแดด ( Heat exhaustion ) เป็นกลุ่มอาการที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักคุ้นเคย เพราะมีอาการไม่เฉพาะเจาะจง มักพบในคนที่ยังไม่มีการปรับร่างกายให้เคยชินกับความร้อน เชื่อว่าเกิดจากการที่ระบบไหลเวียนโลหิตปรับตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพร่วมกับขาดน้ า เลือดจะไปเลี้ยงส่วนนอกร่างกายมากจนปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะแกนกลางลดลง มีอาการดังนี้ มึนงง อ่อนเพลีย หมดแรง หัวหมุน หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ เป็นลม หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ าขณะเปลี่ยนเป็นท่ายืน อุณหภูมิสูงขึ้นแต่ไม่มากกว่า ๔๐ C การรู้สติยังดี อาการและอาการแสดงแยกจาก Early Heat Stroke ยาก แต่ให้ดูที่อาการของระบบประสาทส่วนกลาง ถ้ามีอาการทางระบบส่วนกลางผิดปกติให้วินิจฉัยเป็น Heat Stroke

๑.๔.๒.๒ โรคลมเหตุร้อน ( Heat stroke ) เป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องการการรักษาเร่งด่วน มีอันตรายมาก แสดงถึงความล้มเหลวในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย อันตรายของ Heat Stroke เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงมากจนไปท าลายอวัยวะทุกระบบ โดยที่ระบบประสาทส่วนกลางที่ผิดปกติจะแสดงอาการได้เร็วที่สุด ในการวินิจฉัย Heat Stroke ที่มีลักษณะชัดเจนจะ มีข้อพิจารณาส าคัญอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. อุณหภูมิแกนกายมากกว่า ๔๐ C (บางเอกสารใช้ > ๔๐.๕ C หรือ บางที่ใช้ ๔๑ C ) ๒. มีอาการผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ๓. ร่างกายหยุดหลั่งเหงื่อ แต่ในข้อ ๓. นี้อาจไม่นับเป็นเกณฑ์พิจารณา เพราะ Heat Stroke อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงหลั่งเหงื่อออกมาอย่างมากจนหยุดหลั่งเหงื่อ เราควรสงสัย Heat Stroke ในผู้ป่วยทุกคน ที่มีประวัติออกก าลังกายกลางแจ้งอุณหภูมิกายสูง และมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาการที่พบระยะแรก ๆ คือ เดินเซ (เนื่องจากสมองส่วน Cerebellum ถูกท าลาย พบได้ไวที่สุด ) เป็นลม กระวนกระวาย แสดงพฤติกรรมแปลกประหลาด คลุ้มคลั่ง เห็นภาพหลอน การรู้สติเปลี่ยนแปลง อาจตรวจพบ Plantar response, Decorticate & Decerebrate posturing, อัมพาตครึ่งซีก, ชัก, ชักต่อเนื่อง, โคม่า อย่างไรก็ตามเม่ือเริ่มเป็น อาการที่พบอาจไม่สัมพันธ์กับระดับอุณหภูมิกาย แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า ๔๒ C ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกท าลายทั้งหมด

๒. การป้องกันอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๒.๑ ฝึกปรับสภาพร่างกายให้เคยชินกับสภาพอากาศร้อน

๒.๑.๑ วัตถุประสงค์ เพ่ือเตรียมสภาพร่างกายให้คุ้นเคยกับการออกก าลังกายกลางสภาพอากาศร้อน ขั้นตอนการปฏิบัติ

- จัดตารางการฝึกเพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้คุ้นเคยกับการออกก าลังกายกลางสภาพอากาศร้อน โดยในช่วงแรกควรออกก าลังกายในอากาศร้อนเพียง ๒ ชั่วโมงต่อวัน และแบ่งช่วงที่ฝึกอยู่กลางแจ้งเพียง ๑๕ – ๒๐ นาทีต่อช่วง จากนั้นค่อย ๆ เพ่ิมความหนักและระยะเวลาของการออกก าลังกายให้มากขึ้น ดังตารางที่แนะน า

Page 7: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

ตาราง การจัดการฝึกหรือออกก าลังเพ่ือเตรียมสภาพร่างกายให้ชินกับการออกก าลังกายในความร้อน

วันที่ของการฝึก ระยะเวลาฝึกภาคเช้า ระยะเวลาฝึกภาคบ่าย วันที่ ๑ รวม ๑ ชั่วโมง รวม ๑ ชั่วโมง วันที่ ๒ รวม ๑.๕ ชั่วโมง รวม ๑.๕ ชั่วโมง วันที่ ๓ รวม ๒ ชั่วโมง รวม ๒ ชั่วโมง วันที่ ๔ รวม ๒.๕ ชั่วโมง รวม ๒.๕ ชั่วโมง วันที่ ๕ รวม ๓ ชั่วโมง รวม ๓ ชั่วโมง

วันที่ ๖ – ๑๐ รวม ๓.๕ ชั่วโมง รวม ๓.๕ ชั่วโมง

๒.๒ ฝึกตามตารางการฝึก/ประเมินสภาพแวดล้อมในการฝึก/ปฏิบัติตามสัญญาณธง ๒.๒.๑ วัตถุประสงค์ เพ่ือให้หน่วยฝึก และหน่วยแพทย์ ทร. ในพ้ืนที่ ทราบถึงสภาพอากาศในขณะที่ท าการฝึก โดยการตรวจวัดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ และให้สัญญาณธงสี เพ่ือเป็นข้อมูลในการปฏิบัติตามสัญญาณธง,ปรับแผนการฝึก, การเลือกสถานที่, การพักการฝึก หรือเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ในการฝึกให้เหมาะสม ๒.๒.๒ เครื่องมือ (ชุดพื้นฐาน) ๒.๒.๒.๑ ชุดตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ (เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง กระเปาะเปียก) ๒.๒.๒.๒ ธงสัญญาณสีเขียว เหลือง แดง และด า ๒.๒.๒.๓ ตาราง KKP Heat Index Model และปูายตารางการปฏิบัติตามธงสัญญาณสี ๒.๒.๒.๔ แบบบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมในการฝึก

๒.๒.๓ ขั้นตอนการปฏิบัติ ๒.๒.๓.๑ ด าเนินการทุกวันที่มีการฝึก ๒.๒.๓.๒ การวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และให้สัญญาณธงสี วันๆ ละ ๔ ครั้ง ณ เวลา ๐๙๐๐ ๑๑๐๐ ๑๓๐๐ และ ๑๕๐๐ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลสภาพแวดล้อมในการฝึก ๒.๒.๓.๓ การวัดอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ จะใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบ กระเปาะเปียก-กระเปาะแห้ง อ่านค่าอุณหภูมิ และหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ โดยต้องมีการเตรียมติดตั้งที่ถูกต้องดังนี้ - ติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง กระเปาะเปียก โดยแขวนไว้กลางแจ้ง ณ สถานที่ฝึกสูงระดับสายตา

- เติมน้ าสะอาดในเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก ให้เต็ม - อ่านอุณหภูมิจากเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง และกระเปาะเปียก หลังจากติดตั้งประมาณ ๒๕ นาที จากนั้นให้อ่านผลทุก ๒ ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาที่ท าการฝึก (คอยดูน้ าในกระเปาะเปียกอย่าให้แห้ง)

- น าค่าอุณหภูมิที่อ่านได้มาเปรียบเทียบกับตาราง KKP Heat Index Model จะได้ค่าดัชนีความร้อน แปลเป็นสีเขียว เหลือง แดง และด า

- แจ้งเตือนการปฏิบัติด้วยธงสี สีเขียว เหลือง แดง และด า ติดไว้ ณ ที่ท าการฝึกให้เห็นอย่างเด่นชัด

- ปฏิบัติตามค าแนะน าที่เขียนไว้ในปูายตารางการปฏิบัติตามธงสัญญาณสี - ท าความสะอาด และเก็บอุปกรณ์หลังเลิกใช้งานทุกวัน

Page 8: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

ตาราง KKP Heat Index Model

Page 9: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

๒.๓ บังคับดื่มน้ าและจัดวงรอบการฝึกกลางแจ้งและระยะพักฝึกให้เหมาะสมกับสภาพ จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ าดื่มไว้อย่างเพียงพอในพ้ืนที่การฝึก หรือมีกระติกน้ าพกประจ ากาย โดยจัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ าดื่มประจ าหน่วยฝึก (อย่างน้อย ๕๐๐ ซีซี./คน/ชม. ส าหรับการฝึกกลางแจ้ง) และให้ผู้เข้ารับการฝึกดื่มน้ าตามตารางแนวทางการทดแทนน้ าในร่างกาย

ตาราง การปฏิบัติการแจ้งเตือนอันตราย และการปฏิบัติตามสภาพอากาศ ระดับ

อันตราย สีธงสัญญาณ

อันตราย ค่าดัชนีความ

ร้อน WBGT

C บังคับ ให้ผู้รับการ

ฝึกดื่มน้ า ระยะ เวลาที่สามารถฝึกกลางแจ้งได้

๑ ขาว น้อยกว่า ๒๗ ≤ ๒๗ ๐.๕ ลิตร / ชั่วโมง ท าได้ต่อเนื่อง

๒ เขียว ๒๗-๓๑ ๒๗ – ๒๘.๙ ๐.๕ ลิตร / ชั่วโมง ๕๐ นาที / ชั่วโมง

๓ เหลือง ๓๒-๔๐ ๒๙ – ๓๐.๙ ๑ ลิตร / ชั่วโมง ๔๕ นาที / ชั่วโมง

๔ แดง ๔๑-๕๔ ๓๑ – ๓๑.๙ ๑ ลิตร / ชั่วโมง * ๓๐ นาที / ชั่วโมง

๕ ด า มากกว่า ๕๔ > ๓๒ ๑ ลิตร / ชั่วโมง ** ๒๐ นาท ี/ ชั่วโมง

*,** ค าแนะน าของ Beooke Army Medical Center,Fort Sam Houston,Texas แนะน าให้ ธงสีแดง ดื่มน้ า ๑.๕ ลิตร / ช่ัวโมง ธงสีด า ดื่มน้ า ๒ ลิตร / ช่ัวโมงแต่ในความเป็นจริง กระเพาะอาหารโดยเฉพาะคนไทย สามารถรับน้ าได้ประมาณ ๑ ลิตร/ช่ัวโมง ๓. การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อน ๓.๑ การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อนชนิดไม่รุนแรง ๓.๑.๑ ผดผื่นคันจากความร้อน (Prickly heat) ให้ผู้ปุวยอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวกเช็ดตัวหรืออาบน้ าและทาด้วยแปูงเย็น หลีกเลี่ยงการเกาที่รุนแรงเพราะอาจท าให้เกิดเป็นแผลและติดเชื้อได้ หากไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์

๓.๑.๒ บวมแดด (Heat edema) ให้ผู้ปุวยอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวกนอนยกขาสูงกว่าระดับหัวใจเล็กน้อย อาการบวมจะหายไปในเวลา ๒ – ๓ วัน ๓.๑.๓ ลมแดด (Heat syncope) น าผู้ปุวยเข้าในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก คลายหรือถอดเสื้อผ้า กางเกง เข็มขัดรองเท้าที่รัดแน่นออก หากหมดสติต้องจับนอนตะแคงเพ่ือปูองกันการส าลักเช็ดตัวด้วยน้ าอุณหภูมิปกติทั้งตัว โดยเช็ดย้อนรูขุมขนจากปลายมือปลายเท้าเข้าส่วนกลางของร่างกายบริเวณทรวงอก และให้การปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับ อาการเพลียแดด หรือ โรคลมร้อน แล้วรีบน าส่งโรงพยาบาลทันท ี

๓.๑.๔ เกร็งแดด (Heat tetany) น าผู้ปุวยเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ลดอัตราการหายใจอย่างง่ายๆ โดยการชวนผู้ปุวยพูดคุย หลีกเลี่ยงการให้ดื่มน้ า เพราะอาจท าให้ส าลักได้ง่าย หากมีอาการเกร็งมาก นิ้วมือจีบเกร็ง หรือมีอาการชัก ไม่ควรใส่สิ่งของใด ๆ ในปากผู้ปุวย เพราะอาจแตกหักหรือฟันบิ่นแตกเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจ หากจ าเป็นอาจใช้ผ้าให้ผู้ปุวยกัดเพ่ือปูองกันการส าลักและกัดลิ้นตัวเอง นอนตะแคงศีรษะต่ าและรีบน าส่งโรงพยาบาลทันที

๓.๑.๕ ตะคริวแดด (Heat cramps) ให้จัดท่าทางเพ่ือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้คลายตัวซึ่งต้องกระท าอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจยืดเองหรือให้ผู้อ่ืนกระท าให้และยืดค้างไว้สักครู่ สลับด้วยการบีบนวดเบาๆบริเวณกล้ามเนื้อนั้น และให้ดื่มน้ าผสมเกลือแร่ในอัตราส่วน ๑ ซอง ต่อน้ า ๑ แก้ว ๒๕๐ ซีซี ทดแทนที่ร่างกายสูญเสียไป

Page 10: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

๓.๒ การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับอันตรายที่เกิดจากความร้อนชนิดรุนแรง การเพลียแดด (Heat exhaustion) และ โรคลมร้อน (Heat stroke) ให้รีบท าการปฐมพยาบาล โดยทีมปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประกอบด้วย ก าลังพล ๔ นาย มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ - คนที่ ๑ ถอดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้าออกให้หมด ใช้กระบอกฉีดน้ าให้เป็นละอองฝอยกระจายไปที่ผู้ปุวย และเปิดพัดลมเปุา(ถ้ามี) - คนที่ ๒, ๓ เช็ดตัวเพ่ือระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยน้ าธรรมดา (อุณหภูมิปกติ) ให้เช็ดจากปลายมือหรือปลายเท้า เข้าสู่ร่างกาย (เช็ดย้อนขนเพ่ือให้รูขุมขนเปิด) ถ้ามีอาการชักเกร็งให้จัดท่าผู้ปุวยนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วใช้ผ้าให้ผู้ปุวยกัด เพ่ือปูองกันการส าลัก และกัดลิ้นตัวเอง - คนที่ ๔ วัดสัญญาณชีพ โดยวัดอุณหภูมิความร้อน (วัดทางรักแร้) รายงานผู้บังคับบัญชา และติดต่อประสานการส่งต่อตามแผนการส่งต่อ และให้การปฐมพยาบาล เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ าและฉีดละอองน้ าไปตลอดทางที่น าผู้ปุวยส่งโรงพยาบาล ๓.๓ การน าส่งโรงพยาบาล ๓.๓.๑ วัตถุประสงค์ ๓.๓.๑.๑ เพ่ือให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ และใช้เป็นแนวทางในการน าส่งผู้ปุวยได้อย่างถูกต้อง ๓.๓.๑.๒ เพ่ือให้ผู้ที่ได้รับอันตรายจากความร้อนปลอดภัย ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ๓.๓.๒ เครื่องมือ ๓.๓.๒.๑ รถพยาบาล หรือรถที่มีหลังคาโล่ง โปร่ง ๓.๓.๒.๒ เปลสนาม ๓.๓.๓ ขั้นตอนการปฏิบัติ ๓.๓.๓.๑ ประสานกับหน่วยแพทย์ในพ้ืนที่ หรือแผนกฉุกเฉิน ของ รพ.ที่ใกล้ที่สุด เพ่ือเตรียมการรับผู้ปุวย ๓.๓.๓.๒ น าผู้ปุวยส่งหนว่ยแพทย์ในพ้ืนที่ หรือโรงพยาบาล โดยรถพยาบาล หรือรถกระบะที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ๓.๓.๓.๓ ท าการปฐมพยาบาลตลอดทาง จนกว่าจะถึงหน่วยแพทย์ในพ้ืนที่หรือ โรงพยาบาล ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนในกองทัพเรือ ๔.๑ ข้อควรปฏิบัติของหน่วย

๔.๑.๑ เผยแพร่ความรู้เรื่องอันตรายจากความร้อน การปูองกัน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ

๔.๑.๒ ตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงของผู้เข้ารับการฝึกทุกวันก่อนการฝึก ได้แก่ อ้วน มีอาการขาดน้ า ท้องเสีย หรืออาเจียนก่อนการฝึก ๒–๓ วัน รับประทานยาบางชนิดดื่มแอลกอฮอล์อดนอน และมีโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน ควรเฝูาระวังเป็นพิเศษ

๔.๑.๓ จัดตารางการฝึกให้ร่างกายเคยชินกับการออกก าลังกายท่ามกลางอากาศร้อน ทีละน้อย ค่อยๆ เพ่ิมจนฝึกได้เต็มวัน โดยใช้เวลาปรับการฝึกอย่างน้อย ๑๐ วัน

๔.๑.๔ ท าการเฝูาระวังสภาพแวดล้อมการฝึก ด้วยการวัดค่าดัชนีความร้อน แล้วแปลผลเป็นสัญญาณธง และการแสดงสัญญาณธง ณ จุดฝึก

๔.๑.๕ จัดช่วงเวลาพักในระหว่างการฝึก และให้ดื่มน้ า ตามท่ีสัญญาณธงก าหนด

Page 11: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

๔.๑.๖ เตรียมอุปกรณ์ส าหรับการปฐมพยาบาลให้พร้อมตลอดเวลาบริเวณพ้ืนที่การฝึก ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว น้ า พัดลม และเตรียมรถส าหรับส่งผู้ปุวยไปโรงพยาบาล

๔.๑.๗ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรม เพ่ือลดความเสี่ยงในการเจ็บปุวยหรือเสียชีวิต

๔.๒ ข้อควรปฏิบัติของครูฝึก ๔.๒.๑ ท าการฝึกเพ่ือเตรียมสภาพร่างกายของผู้เข้ารับการฝึกให้คุ้นเคยกับ การออกก าลังกายกลางสภาพอากาศร้อน โดยในช่วงแรกควรออกก าลังกายในอากาศร้อนรวมแล้วทั้งวันไม่เกิน ๒ ชั่วโมง และแบ่งช่วงที่ฝึกอยู่กลางแจ้งเพียง ๑๕ – ๒๐ นาทีต่อช่วง จากนั้นค่อยๆ เพ่ิมความหนักและระยะเวลาของการออกก าลังกายกลางแจ้งให้มากขึ้นวันละครึ่งชั่วโมง จนสามารถฝึกกลางแจ้งได้เต็มที่เมื่อครบ ๑๐ วัน ๔.๒.๒ เฝูาระวังผู้เข้ารับการฝึก ที่มีอาการระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย เอะอะ ไม่ท าตามค าสั่ง ตัวร้อนจัด หมดสติ หรือเกร็งชัก ซึ่งเป็นอาการของโรคลมเหตุร้อนให้หยุดฝึกทันที น าผู้ปุวยเข้าที่ร่ม ท าการปฐมพยาบาล และน าส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ๔.๒.๓ ปฏิบัติตามสัญญาณธงในการกระท ากิจกรรมต่าง ๆ ก าหนดให้มีช่วงพักในระหว่างการฝึก กระตุ้นให้ทุกคนดื่มน้ า อย่างเพียงพอ ตามการแสดงสัญญาณธง

๔.๓ ข้อควรปฏิบัติของผู้เข้ารับการฝึก ๔.๓.๑ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย ๓ วันก่อนการฝึก ๔.๓.๒ ควรเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมก่อนเข้ารับการฝึกกลางสภาพอากาศร้อนอย่างสม่ าเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้งๆละไม่ต่ ากว่า ๓๐ นาที เพ่ือให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศท่ีร้อนจัด และต้องดื่มน้ าให้เพียงพอ ๔.๓.๓ หากมีอาการเจ็บปุวย เช่น มีอาการขาดน้ า ท้องเสีย หรืออาเจียนก่อนการฝึก ๒–๓ วัน รับประทานยาขับปัสสาวะ ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ดื่มแอลกอฮอล์อดนอนก่อนวันฝึก ในวันที่มีการฝึกให้แจ้งครูฝึกทราบ เพราะอาการ หรือยาดังกล่าวจะท าให้มีโอกาสปุวยจากโรคลมร้อนได้มากกว่าคนอ่ืน ๔.๓.๔ หมั่นสังเกตสีของปัสสาวะระหว่างการฝึก หากมีสีเข้มขึ้นมาก แสดงว่าเริ่มมีภาวะขาดน้ าควรดื่มน้ าทดแทนจนเพียงพอ ๔.๓.๕ ผู้เข้ารับการฝึกทุกนาย โดยเฉพาะหลักสูตรพิเศษ หากรู้ตัวว่าร่างกายสู้ไม่ไหว อย่าฝืนเพราะอาจท าให้เจ็บปุวยโรคลมร้อน อันตรายถึงเสียชีวิตได้

Page 12: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน

Page 13: คู่มือ · 2020-02-19 · ๔. แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอันตรายจากความร้อนใน