23
/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 บทความพิเศษ ธาน กอบญ คณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลกเกณฑ และวธการประเมนความพรอม องคกรปกครองสวนทองถนเพอรองรบการถายโอนสถานอนามย สาระสำคัญ สู่ท้องถิ่น (รอบแรก) การถ่ายโอนสถานีอนามัย ความเป็นมา พระราชบญญตกำหนดแผนและขนตอนการกระจายอำนาจใหแกองคกร- ปกครองสวนทองถน พ.ศ. 2542 บญญตขนตามกฎหมายรฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ได นำไปสูแผนการกระจายอำนาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถน พ.ศ. 2543 และ แผนปฏบตการกำหนดขนตอนการกระจายอำนาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถน พ.ศ. 2545 ซงรฐบาลแถลงตอรฐสภาและประกาศในราชกจจานเบกษาไปแลว ในสวน การกระจายอำนาจดานสขภาพ แผนปฏบตการฯ พ.ศ. 2545 ไดกำหนดรายละเอยดท สำคญไว 2 กลม คอ 1. การใหมกลไกคณะกรรมการสขภาพระดบพนท (กสพ.) ขนมารองรบการ ถายโอนสถานบรการสขภาพ โดยมงเนนการถายโอนสถานบรการสขภาพในลกษณะ เครอขาย (เปนพวง) และใหมการถายโอนงานหลกประกนสขภาพ (30 บาท) ใหแก กสพ. ภายในป พ.ศ. 2546

สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 �

บ ท ค ว า ม พิ เ ศ ษ ธานี ก่อบุญ

คณะกรรมการกำหนดกลไก กระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินความพร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย

สาระสำคัญ

สู่ท้องถิ่น (รอบแรก)

การถ่ายโอนสถานีอนามัย

ความเป็นมา พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร-

ปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542บัญญัติขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540ได้

นำไปสู่แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2543และ

แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ.2545ซึ่งรัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วในส่วน

การกระจายอำนาจด้านสุขภาพแผนปฏิบัติการฯพ.ศ.2545ได้กำหนดรายละเอียดที่

สำคัญไว้2กลุ่มคือ

1.การให้มีกลไกคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.)ขึ้นมารองรับการ

ถ่ายโอนสถานบริการสุขภาพโดยมุ่งเน้นการถ่ายโอนสถานบริการสุขภาพในลักษณะ

เครือข่าย (เป็นพวง)และให้มีการถ่ายโอนงานหลักประกันสุขภาพ (30บาท) ให้แก่

กสพ.ภายในปีพ.ศ.2546

Page 2: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

� ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

พ.ศ.2545มีการแต่งตั้งกสพ.ขึ้นโดยคำสั่งกระทรวงสาธารณ-

สุขทำหน้าที่เป็น advisoryboard ใน52จังหวัดและเน้นหนักใน10

จังหวัดแต่การดำเนินการหยุดชะงัก เพราะมีนโยบายเร่งด่วนเรื่องการ

ปฏิรูประบบสุขภาพตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและ

การปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง

กรมพ.ศ.2545

2.การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครอง-

ส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวม34ภารกิจจาก7กรม ได้ดำเนินการมา

ระดับหนึ่งแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการฯพ.ศ.2545ซึ่ง

ผลการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขตามแผนปฏิบัติการฯ จนถึง

กุมภาพันธ์2548มีดังนี้

ภารกิจที่มีการถ่ายโอนแล้วจำนวน7ภารกิจ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถ ่ายโอนภารกิจ

จำนวน1ภารกิจคือสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาพฤติกรรม

สุขภาพงบประมาณปี2547ตัดโอนไปตั้งที่กรมส่งเสริมการปกครอง-

ท้องถิ่นแล้วจำนวน525,090,000บาท

กรมอนามัยถ่ายโอนภารกิจ6ภารกิจคือ

1.)การแก้ไขปัญหาเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปี 2544 - 2545

รวมงบประมาณ286,800,000บาท

2.) การจัดหาและพัฒนาน้ำสะอาด (สนับสนุนวัสดุ) งบ-

ประมาณตัดโอนไป อปท. และภารกิจอยู ่ท ี ่กระทรวงทรัพยากร-

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมงบประมาณ832,478,000บาท

พ.ศ. 2545 มีการแต่งตั้ง กสพ.

ขึ้น โดยคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ทำ

หน้าที่เป็น advisory board ใน 52

จังหวัด และเน้นหนักใน 10 จังหวัด

แต่การดำเนินการหยุดชะงัก เพราะมี

นโยบายเร่งด่วนเรื่องการปฏิรูประบบ

สุขภาพตามนโยบายหลักประกัน

สุขภาพถ้วนหน้า และการปฏิรูประบบ

ราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุง

กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

Page 3: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 �

3.)การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มแม่และเด็ก

4.)การส่งเสริมสุขภาพเด็กกลุ่มวัยเรียนและเยาวชน

5.)การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน

6.)การส่งเสริมสุขภาพเด็กและกลุ่มวัยผู้สูงอายุ

(ภารกิจ3.)-6.)เป็นภารกิจที่ไม่มีการตั้งงบประมาณเป็นการส่งเสริมความรู้ซึ่งดำเนินการแล้ว)

ภารกิจที่ยังไม่มีการถ่ายโอนจำนวน27ภารกิจ(ซึ่งบางภารกิจถูกปรับไปตามพระราชบัญญัติ

ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงทบวงกรมและพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

หลักการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 19กันยายน2549มีผลให้รัฐธรรมนูญพ.ศ.

2540และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงแต่พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ-

กระจายอำนาจพ.ศ.2540ไม่มีผลกระทบเนื่องจากเป็นกฎหมายที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญเมื่อ

รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นพ.

มงคล ณ สงขลาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และทำให้ทิศทางการกระจาย

อำนาจของกระทรวงสาธารณสุขชัดเจนขึ้น และเริ่มเดินเครื่องทันทีโดยแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด

กลไกกระบวนการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมอปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอน โดยมี

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการซึ่งยึด

หลักในการกระจายอำนาจคือ

มุ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมุ่งให้อปท.มีศักยภาพระยะยาวในการตัดสินใจและ

ดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพให้เกิดผลดียิ่งขึ้นกว่าก่อนการกระจายอำนาจและเพื่อให้เกิดระบบบริการ

สุขภาพที่เสมอภาคมีประสิทธิภาพและคุณภาพดี

มุ่งระบบที่ยืดหยุ่นมีพลวัต โดยให้มีความยืดหยุ ่นตามศักยภาพ ความเป็นไปได้ตาม

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการกระจาย

อำนาจอย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาสุขภาพ

Page 4: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

10 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

มุ่งระบบที่มีส่วนร่วมโดยการสร้างกลไกและกระบวนการที่มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งทั้งจากส่วนกลางส่วน

ภูมิภาคส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในท้องถิ่น โดยตัดสินใจร่วมกันด้วยกระบวนการปรึกษาหารือบนพื้นฐาน

ของความปรารถนาดี ความรัก ความเมตตา และขันติ หลีกเลี่ยงอัตตาและความยึดมั่นในความคิดของ

ตนเองทั้งนี้ เพื่อให้การถ่ายโอนภารกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางระบบบริการ

สุขภาพ

มีข้อสังเกตที่สำคัญคือการที่จะให้ อปท.มีรายได้ร้อยละ35ของรายได้ของรัฐนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ

เป้าหมายเท่านั้นมิได้เป็นเป้าหมายหลักของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ

ขอบเขตของภารกิจที่ถ่ายโอน ภารกิจที่จะถ่ายโอนสู่อปท.อาจแบ่งได้เป็น2แบบคือ

1. ลักษณะของภารกิจ ได้แก่ภารกิจด้านการรักษาพยาบาลการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและ

การฟื้นฟูสภาพ

2. ความกว้างขวางครอบคลุมของภารกิจอาจเป็นกิจกรรมที่บริการเฉพาะบุคคลครอบครัวหรือภารกิจ

ที่ดำเนินการในชุมชน เช่นอปท.สามารถรับการถ่ายโอนภารกิจในเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันโรค

และภารกิจการสร้างเสริมสุขภาพได้ทั้งหมดโดยเร็วเป็นต้น

ลักษณะการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ อาจมีได้อย่างน้อย4ลักษณะ(ซึ่งผสมผสานกันได้)คือ

1. อปท. เป็นผู้ซื้อบริการ โดยเป็นเจ้าของเงิน (เช่น เงินรายได้ท้องถิ่นเองหรืองบประมาณตามนโยบาย

หลักประกันสุขภาพที่มีการโอนให้อปท.)และเป็นผู้ซื้อบริการจากสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งใน

และนอกพื้นที่ ในส่วนนี้ต้องมีการพัฒนาศักยภาพของอปท. ให้สามารถจัดการด้านการเงินและสามารถดูแล

คุณภาพมาตรฐานบริการที่ได้รับเป็นอย่างดี

2. อปท. ดำเนินการร่วมกับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่นร่วมดำเนินโครงการ30บาทรักษาทุกโรค

ลงทุนในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพหรือร่วมกับสถานีอนามัยโรงพยาบาลต่างๆพัฒนาโครงสร้าง

ระบบสุขภาพ

3. อปท. ดำเนินการเองบางส่วน เช่น รับผิดชอบดำเนินการในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมและการ

สร้างเสริมสุขภาพในชุมชน

4. อปท. ดำเนินการเองทั้งหมด โดยเป็นเจ้าของสถานบริการสุขภาพและเป็นผู้ดำเนินการด้านสุขภาพ

ทั้งหมดอปท.ใดจะดำเนินการในลักษณะใดในด้านใดและเมื่อไร ให้เป็นไปตามหลักการ3ประการที่กล่าวมา

ข้างบน

รูปแบบการถ่ายโอนภารกิจ อาจมีได้หลายรูปแบบซึ่งสามารถปรับตามความพร้อมของทุกฝ่ายตามความเหมาะสมของพื้นที่และตาม

สถานการณ์เช่น

1. ถ่ายโอนแบบแยกส่วนโดยถ่ายโอนสถานบริการให้แก่อปท.ในระดับต่างๆเช่นโอนสถานีอนามัยให้

องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)โอนโรงพยาบาลให้เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เป็นต้น

Page 5: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 11

2. ถ่ายโอนเป็นเครือข่ายบริการ (เป็นพวงบริการหลายระดับ) โดยรวมสถานีอนามัย

และโรงพยาบาลในพื้นที่เป็นเครือข่ายแล้วถ่ายโอนทั้งเครือข่ายให้อปท.หรือคณะกรรมการ-

สุขภาพระดับพื้นที่(กสพ.)ซึ่งอปท.มีส่วนร่วมในการบริหาร

3. จัดตั้งเป็นองค์การมหาชน (autonomouspublicorganization) โดยอปท.ร่วมในการ

บริหารและอาจเป็นองค์การมหาชนเฉพาะสถานบริการหรือเฉพาะเครือข่ายบริการหรือให้กสพ.

เป็นองค์การมหาชน

4. จัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (servicedeliveryunit -SDU) โดยให้แต่ละโรง-

พยาบาลเป็นSDUภายใต้การดูแลขององค์กรhealth facilityauthority (หรือhospital authority)

ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและให้อปท.มีส่วนร่วม

ในการบริหาร

การดำเนินการในรูปแบบที่3และ4อาจมิใช่การถ่ายโอนภารกิจโดยตรงเพราะอปท.จะ

มีส่วนร่วมในการบริหารแต่มิได้เป็นเจ้าของโดยตรง

ในที่สุดคณะกรรมการกำหนดกลไกกระบวนการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความ

พร้อมอปท.เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัยมีมติให้ถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่อบต.เพื่อ

เป็นการนำร่องก่อน

ขั้นตอนการถ่ายโอนสถานีอนามัย 1.คณะกรรมการกำหนดกลไกกระบวนการหลักเกณฑ์ และวิธีประเมินความพร้อม

อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย (ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 715/2549)

ดำเนินการพัฒนากำหนดกลไกกระบวนการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมของ

อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัยเสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการ

ถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่อปท. (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน)

เพื่อขอความเห็นชอบ

2.คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขแก่อปท.ให้

ความเห็นชอบและเสนอต่อคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่อปท. (นายกรัฐมนตรีหรือ

รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน)เพื่อขอความเห็นชอบ

3.คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศ เป็นหลัก-

เกณฑ์แนวทางการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่ อปท. และแจ้งกรมส่งเสริมการ-

ปกครองท้องถิ่น

ในที่สุดคณะกรรมการกำหนดกลไก

กระบวนการ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินความ

พร้อม อปท. เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานีอนามัย

มีมติให้ถ่ายโอนสถานีอนามัยให้แก่ อบต. เพื่อ

เป็นการนำร่องก่อน

Page 6: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

12 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

4.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแจ้งอบต.พร้อมส่งประกาศ

หลักเกณฑ์แนวทางการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้อปท.ทราบ

และแจ้งให้สมัครขอรับการประเมินความพร้อม เพื่อขอรับการถ่ายโอน

สถานีอนามัย

5. อบต.ส่งใบสมัครยื่นความประสงค์ขอรับการประเมินความ

พร้อมตามแบบฟอร์ม (ที่คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

กำหนด)และสถานที่ที่กำหนด

6.คณะอนุกรรมการประเมินความพร้อมของอปท.และสถานี-

อนามัยดำเนินการประเมินความพร้อมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่

กำหนดและรายงานผลการประเมิน

7.คณะกรรมการส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่

อปท.ระดับจังหวัดรายงานผลการประเมินความพร้อมของอบต.ที่ผ่าน

การประเมิน เพื่อขออนุมัติดำเนินการถ่ายโอนต่อส่วนกลางพร้อมบัญชี

รายละเอียดของสถานีอนามัยที่จะถ่ายโอนประกอบด้วยบัญชีภารกิจ

สถานีอนามัยบัญชีบุคลากรที่จะถ่ายโอนบัญชีทรัพย์สินที่ดินและสิ่ง-

ก่อสร้างฯลฯ

8.กระทรวงสาธารณสุขแจ้งผลการพิจารณาและมอบอำนาจให้ส่วนภูมิภาค(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและอบต.ดำเนินการถ่ายโอนและรับโอนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดย

อาศัยผลของกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนฯ

กระบวนการถ่ายโอนสถานีอนามัยสู่ท้องถิ่น เมื่อส่วนกลางเห็นชอบให้ดำเนินการถ่ายโอนแล้วมีกระบวนการและขั้นตอนดังนี้

ด้านทรัพย์สินและภารกิจ

1.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแจ้งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสถานีอนามัยเป้าหมายดำเนิน-

การสำรวจและจัดทำบัญชีทรัพย์สินและบัญชีภารกิจเพื่อเตรียมส่งมอบ

Page 7: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 13

2.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแจ้งอบต.กำหนดวันส่งมอบ

3.ดำเนินการส่งมอบโดยการจัดทำบันทึกการส่งมอบและบัญชีแสดงทรัพย์สินบัญชีแสดงภารกิจที่ส่ง

มอบตามแนวทางปฏิบัติในการถ่ายโอนภารกิจ

4.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ลงนามส่งมอบนายกอบต. เป็นผู้ลงนามรับมอบประธานหรือ

คณะกรรมการส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่อปท.1คนสาธารณสุขอำเภอในพื้นที่หัวหน้าสถานี-

อนามัยที่ถ่ายโอนลงนามเป็นพยาน

5.การส่งมอบที่ดินและสิ่งก่อสร้างส่งมอบโดยอาศัยผลของกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ-

ขั้นตอนฯและแผนการกระจายอำนาจข้อ6.1.2(17)ระเบียบกรมธนารักษ์ว่าด้วยการรับคืนที่ราชพัสดุและการผ่อน-

ผันการส่งคืนที่ราชพัสดุพ.ศ.2526ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุพ.ศ.2547

และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535ข้อ157(ภาคผนวก)โดยมีขั้นตอนการดำเนินการคือ

ขั้นตอนที่ 1กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแจ้งกรมธนารักษ์จะส่งมอบคืนที่

ราชพัสดุ ซึ่งประกอบด้วยที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ-

กระจายอำนาจให้แก่อปท.พ.ศ.2542

ขั้นตอนที่ 2กรมธนารักษ์แจ้งให้จังหวัดตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ

ขั้นตอนที่ 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดส่งมอบคืนที่ราชพัสดุและสิ่งก่อสร้างตามระเบียบกรม-

ธนารักษ์ว่าด้วยการรับคืนที่ราชพัสดุและการผ่อนผันการส่งคืนที่ราชพัสดุพ.ศ.2526ตามแบบส่งคืนที่ราชพัสดุทบ.

6และแบบส่งมอบ-รับมอบที่ราชพัสดุทบ.10

ขั้นตอนที่ 4สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแจ้งอปท.ขอใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ตาม

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุพ.ศ.2547ต่อไป

6.การส่งมอบทรัพย์สิน (วัสดุครุภัณฑ์)ส่งมอบโดยอาศัยผลของกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนด-

แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯและแผนการกระจายอำนาจฯพ.ศ.2544ข้อ6.1.2 (17)และระเบียบสำนัก-

นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535ข้อ157

7.การส่งมอบภารกิจส่งมอบโดยอาศัยผลของกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนฯ

มาตรา12(2)(4)มาตรา16(19)มาตรา30และแผนการกระจายอำนาจฯข้อ6.1.2ข้อ5,6,7,8

ด้านบุคลากรถ่ายโอนโดยอาศัยผลของกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนฯและแผนการ-

กระจายอำนาจฯคือ

1. ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดทำบัญชีรายชื่อบุคลากรสาธารณสุขที่สมัครใจถ่ายโอนตามราย-

ชื่อที่ได้รับอนุมัติจากส่วนกลางแล้วแนบท้ายบันทึกการส่งมอบ

2. ให้อบต.ดำเนินการรับโอนบุคลากรตามบัญชีแนบท้ายบันทึกการส่งมอบและกำหนดกรอบอัตรา

กำลังรองรับบุคลากรในบัญชีรายชื่อบุคลากรแนบท้ายบันทึก

3.ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานของรัฐที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีอนามัยในตำแหน่งสายงานนักวิชาการ-

สาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขพยาบาลวิชาชีพให้อบต.บรรจุแต่งตั้ง

เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยรัฐบาลจัดสรรอัตราและเงินเดือนให้และให้อบต.สรรหาตามกระบวนการบรรจุ

แต่งตั้งคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง

Page 8: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

14 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

เกณฑ์ประเมินความพร้อมในการถ่ายโอน เงื่อนไขสำคัญประกอบเกณฑ์การประเมินความพร้อมมีดังนี้คือ

เงื่อนไขที่ 1 ด้านบุคลากร

หลักการถ่ายโอนบุคลากร ประกอบด้วย

1.ยึดหลักการ“สถานีอนามัยไป บุคลากรสมัครใจ อัตราตามตัวไป” เพื่อให้การให้บริการแก่ประ-

ชาชนมีความราบรื่นและบุคลากรมีหลักประกันความก้าวหน้าและคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานโดยรัฐจัดสรร

อัตรากำลังที่ขาดให้แก่อปท.ตามกรอบอัตรากำลัง

2.สอดคล้องกับภารกิจที่ถ่ายโอนให้อปท.ตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่

อปท.

3.กระบวนการถ่ายโอนต้องมีความยืดหยุ่นคล่องตัวราบรื่นและจูงใจเพื่อให้สามารถจัดบริการประชาชน

ได้อย่างราบรื่นและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

4.สิทธิประโยชน์และความก้าวหน้าของบุคลากรที่ถ่ายโอนไปสังกัด อปท.ต้องไม่ต่ำกว่าที่บุคลากรของ

กระทรวงสาธารณสุขได้รับ

5.รัฐบาลควรมีนโยบายการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดโดยมีเงินชดเชยรองรับการถ่ายโอน

หลักเกณฑ์การถ่ายโอน การถ่ายโอนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขให้แก่อปท.เมื่อผ่านเงื่อนไขมีดังนี้

1.อปท.ผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความ

พร้อมในการจัดการสาธารณสุขของอปท.และหลักเกณฑ์อื่นๆที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมีการสอบถาม

ความสมัครใจของบุคลากรในสถานีอนามัยที่อปท.ขอรับโอน

วิธีการถ่ายโอน

ดำเนินการตามความสมัครใจของบุคลากรมีดังนี้

1. การโอนไปเป็นข้าราชการหรือพนักงานในสังกัดอปท.

2. การย้ายจำแนกเป็น2วิธีคือ

-ย้ายสับเปลี่ยนกับบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

-ย้ายไปดำรงตำแหน่งในสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

3. การช่วยราชการจำแนกเป็น

-กรณีบุคลากรประสงค์จะปฏิบัติหน้าที่ในสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนต่อไปสักระยะหนึ่งก่อนเพื่อหาข้อมูล

ประกอบการตัดสินใจ ให้สามารถช่วยราชการในสถานีอนามัยต่อไปได้แต่ไม่เกิน 2ปีงบประมาณนับแต่

ปีงบประมาณที่มีการถ่ายโอนหากมีความจำเป็นอาจขยายระยะเวลาช่วยราชการต่อไปได้ครั้งละ1ปีทั้งนี้เพื่อมิ

ให้เกิดปัญหาต่อการบริหารงานของอปท.และขวัญกำลังใจของบุคลากรที่ไปช่วยราชการ

-กรณีบุคลากรประสงค์ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งในสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นในสังกัด

กระทรวงสาธารณสุขแต่อปท.ยังมิได้กำหนดตำแหน่งทดแทนหรือยังสรรหาบุคลากรมาทดแทนไม่ได้ในระยะ

แรกที่มีการถ่ายโอนสถานีอนามัยหากอปท.ยังมิได้กำหนดตำแหน่งทดแทนหรือยังไม่สามารถสรรหาบุคลากรมา

ทดแทนบุคลากรที่ขอย้ายไปดำรงตำแหน่งในสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวง

สาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุขต้องให้บุคลากรในสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนให้อบต.ช่วยราชการในสถานี-

Page 9: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 15

อนามัยเดิมไปก่อนไม่เกิน1ปีนับแต่วันที่มีการถ่ายโอนเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อการให้บริการแต่หลังจากนั้น

หากอบต.ยังไม่สามารถหาบุคลากรมาทดแทนภายในกำหนดกระทรวงสาธารณสุขต้องให้บุคลากรดังกล่าวย้าย

ไปยังสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ตามความประสงค์

ข้อคำนึงในการถ่ายโอน ในระยะแรกที่มีการถ่ายโอนสถานีอนามัยบุคลากรในสถานีอนามัยดังกล่าวอาจประกอบด้วยบุคลากรของ

กระทรวงสาธารณสุขที่ไปช่วยราชการและบุคลากรของท้องถิ่นดังนั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการงาน

สาธารณสุขจึงควรมีแนวทางการดำเนินการในกรณีดังต่อไปนี้

1.บุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนไปอปท.หากมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งให้สามารถปรับเปลี่ยน/ย้าย

สายงานได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับลดระดับเมื่อเข้าสู่สายงานใหม่

2.บุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนไปอปท.หากประสงค์จะขอย้ายกลับมาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้ตามความประสงค์ของเจ้าตัวภายในระยะเวลา2ปีนับแต่วันที่ถ่ายโอนไป

อบต.

3.กลไกการประเมินกลับภายหลังจากที่ อปท. รับโอนบุคลากรสาธารณสุขและสถานีอนามัยไปจาก

กระทรวงสาธารณสุข เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งคณะกรรมการบริหารการถ่ายโอนระดับจังหวัดจะต้องประเมินผล

การดำเนินงานถ้าหากปรากฏว่าผลการประเมินไม่ผ่านสามารถโอนบุคลากรสาธารณสุขและสถานีอนามัยกลับมา

สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้เช่นเดิม

4.สายงานของบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและอปท.มีบางสายงานไม่ตรงกันหากเป็นสายงานที่มี

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งเช่นเดียวกัน ให้ปรับเปลี่ยนสายงานให้สอดคล้องกันและไม่ควรมีสายงานที่มากมาย

หรือหลากหลายเกินไป

สถานภาพ สิทธิประโยชน์ และความก้าวหน้าของบุคลากร สถานภาพของบุคลากรในสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานี-

อนามัยที่ถ่ายโอนให้แก่อปท.จะมีสถานภาพตามความสมัครใจ3กรณีดังนี้

กรณทีี ่1.กรณีประสงค์ขอโอนไปสังกัดอปท.จะเปล่ียนสถานภาพเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถ่ิน

กรณีที่ 2.กรณีไม่สมัครใจโอนไปสังกัดอปท.แต่ประสงค์จะช่วยราชการที่สถานีอนามัยเดิม จะยังคง

สถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเหมือนเดิม

กรณีที่ 3.กรณีไม่ประสงค์ขอโอนไปสังกัดอปท.และขอย้ายไปยังสถานบริการสาธารณสุขหรือหน่วยงาน

อื่นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ตัดโอนตำแหน่งและเงินเดือนและยังคงสภาพเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง

สาธารณสุข

ด้านสิทธิประโยชน ์ พนักงานท้องถิ่นของอบต.มีสถานะเป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง มีสิทธิได้รับเงินเดือนตลอดจนเงินเพิ่ม

อื่นๆที่จ่ายควบกับเงินเดือนจากงบประมาณเงินอุดหนุนของรัฐประกอบกับคณะกรรมการมาตรฐานการบริหาร

งานบุคคลท้องถิ่นจะต้องกำหนดให้นำกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนมาใช้โดยอนุโลมและต้องกำหนดเป็น

หลักการให้สิทธิประโยชน์แก่บุคลากรที่ถ่ายโอนไปสังกัดอปท.ต้องไม่ต่ำกว่าที่เคยได้รับอยู่เดิมตลอดจนสิทธิ

Page 10: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

16 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

ประโยชน์อื่นที่ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับบุคลากรสาธารณสุขที่เป็นพนัก

งานท้อง-ถิ่นก็จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ในส่วนของการเป็นสมาชิกกบข.ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ-

ข้าราชการ (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2549ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18มกราคมพ.ศ.2549 ได้

กำหนดให้สมาชิกกบข.ที่โอนไปสังกัดอปท.เนื่องจากการถ่ายโอนภารกิจให้แก่อปท.ยัง

คงมีสถานภาพการเป็นสมาชิกกบข.ต่อไปได้จึงมีผลให้บุคลากรสาธารณสุขที่โอนไป

สังกัดอปท.ยังคงมีสถานภาพเป็นสมาชิกกบข.เหมือนเดิมทุกประการ

การมี ใบประกอบวิชาชีพ ควรจะต้องพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้เป็นวิชาชีพในการให้บริการระดับปฐม-

ภูมิเพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐานในการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่อปท.

ภารกิจด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เช่นการฉีดวัคซีนการให้ยาทางกล้ามเนื้อทาง

เส้นเลือดฯลฯซึ่งแต่เดิมบุคลากรสาธารณสุขประจำสถานีอนามัยปฏิบัติงานภายใต้ผู้-

ประกอบวิชาชีพเวชกรรม(นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด)ในระยะแรก(ไม่เกิน2ปี)ให้อยู่

ภายใต้การกำกับของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ในระยะต่อไปให้กระทรวงสาธารณสุข

พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำสถานีอนามัยให้เป็นมาตรฐานอาชีพหรือ

วิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานประจำสถานีอนามัยและอบต.สามารถ

ดำเนินการด้านสาธารณสุขให้มีมาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่

ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ความก้าวหน้าในวิชาชีพบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดอบต. ให้มีความก้าวหน้า

ตามศักยภาพความชำนาญการหรือความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด

ของพื้นที่หรือประชากรที่รับผิดชอบหรือระดับของผู้บริหารของอปท.ที่ตนเองสังกัด

ในส่วนของการเป็นสมาชิก

กบข. ตามพระราชบัญญัติ-

กองทุนบำเหน็จบำนาญ

ข้าราชการ (ฉบับที่ 4)

พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลบังคับ

ใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม

พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้

สมาชิก กบข. ที่โอนไป

สังกัด อปท. เนื่องจาก

การถ่ายโอนภารกิจให้แก่

อปท. ยังคงมีสถานภาพ

การเป็นสมาชิก กบข. ต่อ

ไปได้ จึงมีผลให้บุคลากร

สาธารณสุขที่โอนไปสังกัด

อปท. ยังคงมีสถานภาพ

เป็นสมาชิก กบข. เหมือน

เดิมทุกประการ

Page 11: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 1�

โอกาสในการโอนย้าย 1. การโอน/ย้ายบุคลากรสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิในอบต.จะต้องสามารถโอนย้ายตาม

ความจำเป็นไปยังองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นทั่วประเทศได้ไม่ว่าจะเป็นอบจ.เทศบาลหรืออปท.ซึ่ง

จะต้องสะดวกและเป็นธรรม

2. การโอนย้ายเปลี่ยนสายงาน บุคลากรทางด้านสาธารณสุขทุกตำแหน่งสามารถโอนย้ายสับ-

เปลี่ยนสายงานอื่นตรงตามที่ตนเองมีคุณสมบัติ และยังสามารถเปลี่ยนสายงานไปยังตำแหน่งรองปลัด

อบต.และผู้อำนวยการกองอื่นๆหากมีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งนั้น

เงื่อนไขที่ 2 การจัดระบบบริการสุขภาพ

สถานีอนามัยเป็นสถานบริการปฐมภูมิด้านสุขภาพที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดมีสถานที่ตั้งอยู่ใน

หมู่บ้านตำบลซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั้ง4มิติคือการรักษาพยาบาลการควบคุมป้องกัน

โรคการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพซึ่งภารกิจทั้งหลายเหล่านี้ดำเนินการตั้งแต่กระบวนการ

วางแผนดำเนินงานติดตามประเมินผลบังคับใช้กฎหมายในพื้นที ่ เพื ่อการคุ ้มครองสุขภาพของ

ประชาชนและร่วมสนับสนุนประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านบริหารบริการและวิชาการ

โดยบูรณาการงานทุกภาคส่วน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงานตามเป้าหมายและตอบสนองความจำเป็นทาง

ด้านสุขภาพของประชาชนขั้นพื้นฐานในลักษณะผสมผสานมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องของกิจกรรมด้าน

สุขภาพในลักษณะแบบองค์รวมประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกและมีระบบการให้คำปรึกษาและส่ง-

ต่อทั้งนี้เพื่อการสร้างสุขภาพและการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน เพื่อป้องกันหรือลดปัญหาที่

ป้องกันได้ทั้งกายจิตสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นการบริการแบบเบ็ดเสร็จ(onestopservice)

การถ่ายโอนงานภารกิจของสถานีอนามัยจึงจำเป็นต้องถ่ายโอนงานครอบคลุมทั้ง4มิติโดยไม่ควร

ถ่ายโอนงานเป็นแต่ละภารกิจหากอบต. ไม่พร้อมที่จะรับโอนหรือไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคณะ-

กรรมการการกระจายอำนาจฯและกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งรัดพัฒนาอบต.ให้มีความพร้อมก่อนการ

รับโอนสถานีอนามัยไม่เช่นนั้นจะเกิดผลกระทบประชาชนในพื้นที่อย่างรุนแรง

- ควบคุมการบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพสถานีอนามัยที่โอนไปสังกัดอปท.

สามารถที่จะเข้าร่วมให้บริการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้หากขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ

ปฐมภูมิและผ่านการตรวจประเมินหน่วยบริการตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่าย

หน่วยบริการตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและร่วมเป็นเครือข่ายกับหน่วยบริการ

ประจำที่เข้าร่วมโครงการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งหน่วยบริการเอกชนและภาครัฐได้ ตามที่

อปท.นั้นเห็นว่าเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับประชาชนพื้นที่มากที่สุด

- ระบบการส่งต่อผู้ป่วยส่งต่อผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลของสถานี-

อนามัยไปยังหน่วยบริการประจำที่สถานีอนามัยเข้าร่วมเป็นเครือข่ายทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

- การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการสถานีอนามัยในสังกัดอบต.หากขึ้น

ทะเบียนหน่วยบริการและเป็นเครือข่ายหน่วยบริการตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

ต้องถูกกำกับมาตรฐานการให้บริการเช่นเดียวกับสถานบริการสุขภาพอื่น โดยระดับจังหวัดจะมีคณะ-

อนุกรรมการควบคุมภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว

Page 12: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

18 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

เงื่อนไขที่ 3 ระบบการจัดการทางการเงิน สถานีอนามัยที่โอนไปอบต.จะมีรายได้จาก

แหล่งงบประมาณที่จะดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพคือ

- เงินรายได้ของท้องถิ่นที่จัดเก็บเองรัฐจัดเก็บให้เงินอุดหนุนทั่วไปเงินกู้เงินอุดหนุนเฉพาะ

กิจจากรัฐ(ด้านสาธารณสุข)

- เงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากรณีเข้าร่วมให้บริการ

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(เงินUC)ซึ่งสถานีอนามัยจะได้รับการจัดสรรประเภทเงินบริการ

ผู้ป่วยนอก (OP)และเงินบริการส่งเสริมสุขภาพ (PP) โดยให้สำนักงานหลักประกันสุภาพแห่งชาติ

โอนเงินเข้าบัญชีของอบต./เทศบาลโดยตรงและให้ท้องถิ่นเปิดบัญชีเล่มใหม่เพื่อใช้สำหรับกิจการ

สาธารณสุขโดยเฉพาะการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของอปท.เว้นแต่(เงิน

UC)ให้ใช้ได้เฉพาะกิจการสาธารณสุขเท่านั้นประกอบกับเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้เงินควร

นำ

1.)ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการพ.ศ.2536และแก้ไขเพิ่ม

เติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2544มาปรับประยุกต์ใช้ในอปท.ด้วย

2.)หลักเกณฑ์วิธีการและเง่ือนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามข้อบังคับกระทรวงสาธารณ-

สุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.

2544มาบังคับใช้ในอปท.ด้วยทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขที่ถ่ายโอนไปสังกัดอบต.ได้รับเงิน

เช่นเดียวกับบุคลากรที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขด้วย

3.)คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพในระดับจังหวัดให้ตัวแทนฝ่ายท้องถิ่นเป็นประธาน

มีหน้าที่ซื้อบริการขั้นพื้นฐานในระดับพื้นที่

4.)สปสช.โอนเงินอุดหนุนให้อปท.ในด้านภารกิจสาธารณสุขเป็นเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข

บทสรุป การถ่ายโอนสถานีอนามัยไปสังกัดอบต.หรือเทศบาล เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนด-

แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจพ.ศ.2542ซึ่งมองประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนพึงได้รับแม้การ

กระจายอำนาจจะมีหลายรูปแบบแต่กระทรวงก็เลือกที่จะนำร่องการถ่ายโอนให้สถานีอนามัยไป

สังกัดอบต.ก่อนแต่ในขั้นตอนการถ่ายโอนกระทรวงก็ได้คำนึงถึงขวัญกำลังใจสวัสดิการความ

ก้าวหน้าและสิ่งสนับสนุนในการทำงานและที่สำคัญได้มีการทดลองนำร่องก่อนเพื่อนำข้อบกพร่อง

มาปรับปรุงแก้ไขดังนั้นหมออนามัยจะต้องศึกษาหลักเกณฑ์เงื่อนไขวิธีการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

ถึงข้อเท็จจริงตามที่กำหนดขึ้นก่อนตัดสินใจและมองเป้าหมายที่ประชาชนจะได้รับ

เมื่อวันที่ 14กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหมออนามัยหลายพันคนได้รวมตัวกันเข้าพบรัฐมนตรี-

ว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายไชยาสะสมทรัพย์) เพื่อยื่นข้อเสนอเรื่องการถ่ายโอนสถานีอนามัย

สู่ท้องถิ่นว่าควรมีการประเมินผลและศึกษาวิจัยการถ่ายโอนระยะแรก (22แห่ง)ก่อนที่จะถ่ายโอน

ในระยะที่2ต่อไปท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข(นพ.ปราชญ์บุณยวงค์วิโรจน์)ได้แจ้งต่อที่ชุมนุม

ว่าจะชะลอการถ่ายโอนไปก่อนสำหรับสถานีอนามัย22แห่งที่โอนไปแล้วสามารถขอกลับมาอยู่กับ

กระทรวงสาธารณสุขได้เช่นเดิม

Page 13: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 1�

หมายเหตุ จังหวัดบุรีรัมย์สถานีอนามัยทั้ง2แห่งขอกลับมาสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามเดิมแล้ว

รายชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับถ่ายโอนสถานีอนามัย

ทำพิธีลงนามส่งมอบเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ณ กระทรวงสาธารณสุข

จังหวัด อำเภอ สถานีอนามัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลำปาง เกาะคา สถานีอนามัยบ้านลำปางหลวง อบต.ลำปางหลวง

ตาก สามเงา สถานีอนามัยบ้านวังหวาย อบต.วังหมัน

กำแพงเพชร คลองขลุง สถานีอนามัยตำบลวังแขม

สถานีอนามัยบ้านบ่อทอง

อบต.วังแขม

อุทัยธานี เมือง สถานีอนามัยตำบลหาดทนง อบต.หาดทนง

พระนครศรีอยุธยา เสนา สถานีอนามัยตำบลบางนมโค เทศบาลตำบลบางนมโค

ปทุมธานี ธัญบุรี สถานีอนามัยตำบลบึงยี่โถ เทศบาลตำบลบึงยี่โถ

ลพบุรี เมือง สถานีอนามัยเขาสามยอด เทศบาลเมืองเขาสามยอด

กาญจนบุรี ท่าม่วง สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ

60พรรษานวมินทราชินี

อบต.วังศาลา

ราชบุรี จอมบึง

โพธาราม

สถานีอนามัยบ้านโกรกสิงขร

สถานีอนามัยตำบลบ้านฆ้อง

อบต.ด่านทับตะโก

เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง

เพชรบุรี เมือง สถานีอนามัยบ้านหม้อ อบต.บ้านหม้อ

สมุทรสงคราม เมือง สถานีอนามัยตำบลบ้านปรก อบต.บ้านปรก

สระแก้ว เขาฉกรรจ์

วังน้ำเย็น

สถานีอนามัยนาคันหัก

สถานีอนามัยคลองหินปูน

สถานีอนามัยคลองตาสูตร

อบต.พระเพลิง

อบต.คลองหินปูน

จันทบุรี เมือง สถานีอนามัยเกาะขวาง อบต.เกาะขวาง

อุดรธานี เพ็ญ สถานีอนามัยตำบลนาพู่ อบต.นาพู่

บุรีรัมย์ ละหานทราย สถานีอนามัยบ้านหนองหว้า

สถานีอนามัยบ้านหนองตาเยาว์

เทศบาลตำบลหนองแวง

นครศรีธรรมราช เมือง สถานีอนามัยบ้านศาลาบางปู

สถานีอนามัยตำบลปากพูน

อบต.ปากพูน

เอกสารแนะนำอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม 1.คู่มือการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.จัดทำโดยคณะกรรมการกำหนดกลไก

กระบวนการหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานี

อนามัย.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,2550.(ปกสีฟ้า)

2.ข้อมูลความจริง 10 ประเด็น เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยให้แก่ อปท. และแนวทางการกระจายอำนาจด้าน

สุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข,ธันวาคม2550.(ปกสีขาว)

3.เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขwww.moph.go.th

Page 14: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

20 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

นพ. มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550)

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นกฎหมายมาตั้งแต่ปี

2542แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจในรัฐธรรมนูญปี40

ก็มี ปี 50ก็กำหนดไว้ ฉะนั้นแผนและขั้นตอนการกระจาย

อำนาจยังต้องปฏิบัติอยู่ ขณะนี้เห็นชัดเจนว่าทางส่วนกลาง

ไม่มีอัตราว่างต่างๆ ให้ข้าราชการบรรจุเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

การโอนเงินไปทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเอาคนที่

ทำงานอยู่ระดับท้องถิ่นไปอยู่ที ่นั ่น ในส่วนของสาธารณสุข

แน่นอนที่สุดทางกฎหมายทุกฉบับจะต้องไปอยู่ตรงนั้นการที่

ให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยของเราหรือโรงพยาบาลชุมชนในอนาคตไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นเราต้องทำด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง

ตอนนี ้เรามอบโอนสถานีอนามัยไปแล้ว 22 แห่ง ผมมีโอกาสออกไปเยี ่ยมที ่จ ังหวัด

นครศรีธรรมราชก็เป็นไปด้วยดี ดีกว่าที่คาดคิดเสียอีก ขณะเดียวกันทางสถาบันวิจัยระบบ-

สาธารณสุขหรือสวรส.ก็ออกติดตามศึกษาวิจัยว่ามีข้อบกพร่องควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรอันนี้

เป็นข้อดีคือทำไปด้วยศึกษาและประเมินผลไปด้วยผมมั่นใจว่าสถานีอนามัยเมื่อไปอยู่กับอบต.

จะสามารถทำงานได้คล่องตัวมากขึ้นและอนาคตในเรื่องของงบประมาณคนของและทรัพยากร

ต่างๆความขาดแคลนจะน้อยกว่าขึ้นกับส่วนกลางถ้ายังอยู่กับส่วนกลางอนาคตจะยิ่งขาดมาก

ขึ้นๆ เนื่องจากงบประมาณไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมดแล้วจะไปหวังจากส่วนกลางอีก

ไม่ได้ตรงนี้มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการถ่ายโอนนี้ไม่ใช่เป็นนโยบายของคนหนึ่งคนใดแต่เป็นเรื่องของ

กฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามถ้าเรายังรีรอชักช้าพอถึงเวลาขึ้นมามีคนมาทุบโต๊ะตูม !ต้องถ่าย-

โอนตรงนี้ไปทันทีทันใดทั้งหมดโดยที่เราไม่ได้เตรียมอะไรต่างๆที่ดีไว้จะเกิดอันตรายมากกว่าที่

เราขยับไปด้วยความมั่นคงดูความพร้อมของแต่ละส่วนอย่างดีส่วนไหนที่ไม่พร้อมเรารอไว้ก่อน

ส่วนที่พร้อมแล้วไม่ควรที่จะปิดกั้น

เรื่องมาตรฐานของงานวิชาการงานบริหารหรืองานบริการหน่วยงานต่างๆยังผูกพันกันอยู่

ไม่ได้ตัดขาดอย่างสถานีอนามัยเมื่อออกไปอยู่ อบต. ระบบCUPก็ยังมีตรงนี้ไม่น่ามีอะไรเป็น

กังวลในเรื่องของวิชาการและต่อไปข้างหน้าแน่นอนที่สุดหน่วยงานต่างๆต้องยืนอยู่บนขาของตัว

เอง โรงพยาบาลชุมชนอาจต้องออกไปเป็นองค์กรมหาชน สถาบันการศึกษาต่าง ๆก็จะเป็น

มหาชน เมื่อเป็นอย่างนั้นแต่ละสถาบันการศึกษาหรือว่าโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลมหาชน

เขาจะดูความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นสถานีอนามัยหรือว่าอบต.ใครอยากเรียนหลักสูตร

อะไร และต้องการศึกษาเพิ่มเติมในเรื ่องอะไรสถานการศึกษาต่าง ๆ เหล่านั้น จะเป็นผู้จัด

หลักสูตรต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการขึ้นมาไม่ต้องกลัวเมื่อทุกอย่างไปแล้วระบบจะมีการ

ดูแลและจัดการกันเอง

Page 15: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 21

การใช้เงินบำรุงตอนนี้ทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ตอบมาชัดเจนในขณะที่ยังไม่มี

ระเบียบออกมาใช้ก็ให้ใช้ระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขไปพลางก่อนจนกว่าเขาจะร่างระเบียบของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียบร้อยแต่อิงระเบียบการใช้เงินบำรุงเดิมคงไม่มีปัญหาอะไรในเรื่องนี้สอ.

ยังได้รับเงินจากCUP เหมือนเดิมและยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก ซึ่งมาก

กว่าเดิมขณะนี้เขาไม่มีถนนที่จะทำแล้ว เขาต้องมาทำเรื่องการสาธารณสุขและการศึกษาเราเป็นส่วน

หนึ่งที่จะเปิดโอกาสให้อบต. เทศบาลมาทำเรื่องของชุมชนสังคมตามที่เขาต้องการให้มากขึ้นซึ่งเป็น

เรื่องดี

บางคนบอกว่าถ้าโอนสถานีอนามัยให้ท้องถิ่นแล้วกระทรวงจะเสียแขนขาในการทำงานตรงนี้

อยากให้คิดว่ากระทรวงสาธารณสุขก็เป็นของชุมชนเป็นของประชาชนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องขอความ

ช่วยเหลือหรือต้องการสนับสนุนจากหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นสถานีอนามัยหรือว่าโรงพยาบาลประชาชน

ต้องการเมื่อไร เรามาร่วมกันให้บริการตรงนั้นต่างหากแต่ไม่ใช่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลชุมชนเป็น

แขนขาให้กับกระทรวงกระทรวงมีหน้าที่ดูแลเรื่องทุกข์สุขทางสุขภาพให้กับประชาชนไม่ใช่กระทรวง

มีหน้าที่ในการสร้างอำนาจให้กับตัวเองสร้างอาณาจักรตัวเองถ้าหากเราสามารถให้สถานีอนามัยไป

ดูแลสุขภาพชุมชนได้ให้โรงพยาบาลไปดูแลสุขภาพบริการประชาชนได้นั่นคือวัตถุประสงค์หลักสถานี-

อนามัยหรือโรงพยาบาลจะอยู่กับใครอยู่ตรงไหนไม่ใช่เป็นเรื่องหลักเพราะกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่

ที่จะทำนโยบายทำในเรื่องของยุทธศาสตร์ในการให้บริการไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติ

ผมอยากบอกหมออนามัยทั่วประเทศว่าผมก็เป็นหมออนามัย เคยเป็นหมอชนบท เคยอยู่โรง-

พยาบาลชุมชน เกือบทั้งชีวิตนี้อยู ่กับประชาชน ถ้าเราเอาจิตเอาใจของเราไปอยู่กับชุมชน อยู่กับ

ครอบครัว เราเป็นห่วงเป็นใยเขา เขาจะเป็นห่วงเป็นใยเรานี่เป็นสิ่งที่มีความสุขที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อ

หมออนามัยอยู่กับสถานีอนามัยขอให้อยู่กับชุมชน ไปเยี่ยมชุมชน ไปดูแลครอบครัว ไปดูแลคนพิการ

ดูแลคนป่วยเรื้อรังดูแลผู้สูงอายุ ไปอยู่กับเขา เป็นลูกเป็นหลานเขาชวนเขามาช่วยบริหารสถานีอนามัย

มารับรู้รับทราบการเงินการทองที่เราได้มารับรู้งานที่เราต้องแบกภาระยาที่เราต้องจ่ายถ้าทุกคนมีส่วน

ในการบริหารจัดการ เขาก็มาช่วยเรารับผิดชอบ เราช่วยเขารับผิดชอบในการดูแลสุขภาพแล้วเราก็มี

ความสุขไม่ทะเลาะเบาะแว้งการต่อว่าต่อขานกันจะไม่เกิดขึ้น

แม้ว่าผมจะหมดวาระไปแต่เรื่องนี้อย่าไปห่วงหนีความจริงไม่พ้น เพราะกฎหมายมีอยู่แล้ว ใน

การจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปไม่ได้แต่จะเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง เพราะสิ่งเหล่านี้กฎหมายไม่ได้

บังคับว่าเสร็จสิ้นเมื่อไรแต่ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้เร่งรัดและบีบบังคับจนรัฐบาลชุดนี้เข้ามาขอ

แก้ไขกฎหมายชะลอเพื่อจะให้เงินสนับสนุนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปแค่ 25 เปอร์เซ็นต์ยังขาดอีก

5เปอร์เซ็นต์ไม่รู้กี่แสนล้านถ้าให้ไปทั้งหมดส่วนกลางจะไม่มีเงินจ่ายค่าเงินเดือนเลย

เราไปขณะที่เขามีความรู้สึกว่าเราไปก็ได้ เราจะชะลอก็ได้กับตอนที่เราถูกบังคับให้ไปมีค่าต่าง

กันถ้าถึงเวลาเราอยู่แบบนี้ไม่ได้เพราะกฎหมายบังคับและรับรองว่าสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นแน่แล้วถ้าเรา

ไปตอนนั้นเราจะมีคุณค่าน้อยกว่าที่เราไปอยู่ในขณะนี้คือไปเมื่อกฎหมายบังคับกับไปตอนที่เราสมัครใจ

ไปเราจะมีคุณค่าต่างกัน

Page 16: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

22 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

นายประภาส จเรประพาฬ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7 หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านศาลาบางปู อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช

มั ่นใจว่าโอนไปต้องดีกว่าเดิม ทำงานง่ายกว่า มีงบประมาณ

สนับสนุนเพิ่มขึ้นผู้บังคับบัญชารู้ปัญหาในพื้นที่มากกว่า งานที่รับผิด-

ชอบมีเจ้าภาพมากขึ้น ไม่ใช่เรารับเพียงลำพังเหมือนเมื่อก่อนการถ่าย-

โอนสู่ท้องถิ่นต้องดูความพร้อมทั้ง2ฝ่ายถ้าสถานีอนามัยมีความพร้อม

อบต.มีความพร้อมจะทำงานได้ดีประชาชนได้ประโยชน์ที่ปากพูนโชค-

ดีที่พร้อมทั้ง2ฝ่ายนายกเขามีวิสัยทัศน์ดีมีความรู้มีความสามารถที่ผ่านมาเขาสนับสนุนงานสาธารณสุขมาโดย

ตลอดเราเข้าโครงการก่อนได้นำร่องเพื่อรุ่นน้องๆจะได้ศึกษาวิธีการทำงานร่วมกับท้องถิ่นอะไรดีก็นำไปใช้อะไร

บกพร่องก็ช่วยกันปรับปรุงการทำงานร่วมกับองค์กรท้องถิ่นมีข้อดีคือเราได้ทำงานเต็มที่ได้ใกล้ชิดชาวบ้านมากขึ้น

ยึดปัญหาและความต้องการของเขาเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดผู้บริหารที่อยู่ในส่วนกลางเป็นหลักความหละหลวมในการ

ทำงานน้อยลงเพราะชาวบ้านเขาจะช่วยตรวจสอบช่วยสะท้อนให้เรารู้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจริงๆที่

ผ่านมาเราอยู่ไกลผู้บังคับบัญชาเราทำมากทำน้อยบริการดีไม่ดี เขาไม่รู้อะไรกับเรามากนักขอข้อมูลมาถ้าเราเดา

ใส่ไปเขาก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ

ขอเสนอว่าเรื่องการถ่ายโอนนี้ต้องทยอยไป ไม่เห็นด้วยที่จะบังคับให้ไปทีเดียวหรือกำหนดว่าต้องไปภายใน

เมื่อนั่นเมื่อนี่แต่อยากให้ทยอยโอนไปเป็นระยะๆภายใน9-10ปีก็ไม่สายพื้นที่ไหนพร้อมไปก่อนไม่พร้อมก็รอ

ไปก่อนถ้าไปทีเดียวหมดหรือบังคับให้ไปจะมีปัญหาและเมื่อโอนไปแล้วต้องมีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น

มีความมั่นคงมีความก้าวหน้ากว่าเดิมและที่สำคัญที่สุดคือในช่วงแรกที่มีการนำร่องถ่ายโอนนี้ส่วนกลางต้อง

ออกติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหาแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันต้องคอยให้กำลังใจถ้ามีปัญหาสามารถเคลียร์

ปัญหาข้อข้องใจได้ทันที ไม่ใช่ถามอะไรแล้วตอบแบบกว้าง ๆหรือเลี่ยงไม่ตอบต้องชัดเจนต้องออกมาดูหรือ

ติดตามแต่ไม่ใช่ประเมินหรือตรวจสอบอย่าให้เขาอึดอัดใจนี่เป็นกลุ่มแรกที่นำร่องยังมีสถานีอนามัยอีกเยอะที่เขา

อยากจะถ่ายโอนเขาจะได้มั่นใจในนโยบาย

นายธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากพูน อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช

ขอยกข้อคิดของท่านอาจารย์พุทธทาสเรื่อง“ตัวกู ของกู” ถ้าเราไม่

ค ิดว ่า “ตัวกู ของกู” เร ื ่องการถ่ายโอนนี ้ก ็ไม ่ม ีป ัญหา เพราะโดย

วัตถุประสงค์เรื่องการถ่ายโอนสู่ท้องถิ่นนี้ทำเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพี่-

น้องประชาชน นอกจากนี ้การเป็นข้าราชการพันธุ ์ใหม่ต้องให้บริการ

สาธารณะการรักหรือติดสถาบันนั้นไม่ผิดแต่ต้องชั่งน้ำหนักกันว่าผล-

ประโยชน์เพื่อใคร เกิดกับใครมากที่สุดสถานีอนามัยโอนมาอยู่กับท้องถิ่น

Page 17: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 23

ความเป็นข้าราชการไม่ได้หายไปไหนสิทธิประโยชน์ทั้งหมดได้รับเหมือนเดิมและจะดีกว่าในเรื่องสายการบังคับ

บัญชาความก้าวหน้ามีเงินโบนัส2 -3 เท่าของเงินเดือนการบริหารงานคล่องตัวการทำงานเน้นการมีส่วนร่วม

มากขึ้นรู้สึกว่าท้องถิ่นเป็นของเราการทำงานไม่โดดเดี่ยวคนทำงานเป็นคนที่อยู่ในท้องถิ่นทั้งนั้นจะรู้ปัญหาที่เกิด

ขึ้นในชุมชนได้ดีกว่าทางส่วนกลางเรื่องงานวิชาการได้ประสานงานกับองค์กรการศึกษามาทำวิจัยหรือศึกษาชุมชน

ได้จัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ที่นี่มีทั้งนักศึกษาพยาบาลนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ตั่งแต่ปีหนึ่งนิสิต

แพทย์ปี 4มาอยู่กับเรามาเรียนรู้ชุมชน เราได้เรียนรู้ร่วมกันทำให้บุคลากรทุกฝ่ายในท้องถิ่นตระหนักถึงผล-

ประโยชน์ของประชาชนซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้เกิดสุขภาวะ เหมือนเหรียญสองด้านที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ทั้ง

ภาคท้องถิ่นและภาคราชการมันต้องโยงใยทำงานร่วมกันถ้าเอางานและให้ความสำคัญต่อชุมชนจะแก้ปัญหาได้

เพราะทีมผู้บริหารอบต.ก็ดีเทศบาลก็ดีเขามาจากเลือกตั้งเขาต้องสร้างผลงานเพื่อให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขึ้นถ้าเขาไม่ทำตรงนี้ต่อไปชาวบ้านก็ไม่เลือกเขาเข้ามาทำงานอีกฉะนั้นไม่ต้องวิตกว่านักการเมืองท้องถิ่นจะใช้

อำนาจ ไม่ใช้ปัญญา ไม่มีเหตุไม่มีผล เขาต้องสร้างผลงานเพื่อประชาชน โดยเฉพาะงานสาธารณสุข เป็นงาน

พัฒนาคุณภาพชีวิตบำบัดทุกข์ชาวบ้านโดยตรงเขาต้องส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่

สถานีอนามัยตำบลปากพูน อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช

มุมมองนายทิวากร … ถือเป็นโอกาส

ดีที่ได้ร่วมโครงการถ่ายโอนนี้ ได้เปลี่ยนไปอยู่

อีกระบบหนึ่ง ไปแล้วหลายๆอย่างมันน่าจะ

ดีขึ้นถ้าเราทำสำเร็จเราจะเป็นต้นแบบให้ที่

อื่นได้ศึกษาดูงานถ้าไม่ดีก็ย้ายกลับไม่เสีย-

หายอะไรแต่ อบต.ที่นี ่มีความพร้อมทาง

นายกก็ผูกพันกันมานานแม่นายกก็เป็นอดีต

หัวหน้าสถานีอนามัยที่นี่มาก่อนที่ผ่านมางานต่างๆ เกื้อกูลกันอยู่แล้วคิดว่าโอนไปอยู่กับอบต.แล้วโอกาสใน

การพัฒนางานพัฒนาศักยภาพตัวเจ้าหน้าที่จะมีมากขึ้น งานต่างๆที่เราทำๆกันมา ไม่ใช่ว่าไม่มีคุณภาพ

คุณภาพแต่บางครั้งไม่สามารถตอบสนองชุมชนได้เท่าที่ควรคิดว่าท้องถิ่นเขาน่าแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายกว่า

คุ้มค่าและยั่งยืนกว่า เพราะได้วางแผนการพัฒนาสาธารณสุขร่วมกันจากทุกส่วนการทำงานไม่ว่าจะขึ้นอยู่กับใคร

ตรงไหนก็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้นยิ่งการถ่ายโอนเป็นสิ่งใหม่ย่อมเจอปัญหาแน่นอนแต่หวังว่าเมื่อเรามีใจกันทั้ง2

ฝ่ายก็พยายามแก้ไขปัญหากันไปได้ทางส่วนกลางเองต้องยอมรับว่าโครงการนี้ใหม่ต้องให้เวลาและรับฟังความ

คิดเห็นกันทั้ง2ฝ่ายอย่ารีบผลักดันไปไม่ส่วนที่ยังไม่พร้อม

มุมมองนางปราณี … ไม่รู้สึกกังวลอะไรเรื่องโอนไปอยู่กับอบต.ถึงเราไม่โอนวันนี้ต่อไปก็ต้องโอน เราเป็น

หน่วยกล้าตายไปก่อนเขาดีกว่าอะไรที่มันผิดพลาดก็ยังให้อภัยกันได้ เพราะไปรุ่นแรกไม่รู้อะไรก็ถามกันบางเรื่อง

เขารู้บางอย่างเรารู้ถือว่าช่วยกันปูทางที่ผ่านมาเราทำโครงการขอสนับสนุนงบจากอบต.เขาก็ไม่ปฏิเสธเขาเห็น

ว่าทำแล้วประโยชน์ตกกับชาวบ้านก็ผ่านทำงานประสานกับอบต.มาตลอดเป็นสถานีอนามัยแรกๆที่ได้งบต่อ-

เติมชั้นล่างจากอบต.ถ้าเป็นระบบราชการก็ต้องรอไม่รู้เมื่อไหร่จะได้บางทีบางโครงการกว่าจะอนุมัติจนปัญหา

นายทิวากร สุขเรือง นักวิชาการสาธารณสุข 5

นางปราณี ถาวรพราหมณ์ พยาบาลวิชาชีพ 5

Page 18: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

24 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

ถูกแก้ไขไปแล้วถ้าเป็นอบต.มีโรคระบาดมาโทรไปบอกเขาเขามาพ่นยาให้เลยมันแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

เรามีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้นอย่างน้อยเราก็มีคนมาสนับสนุนงบประมาณให้เราแต่ถ้าอบต.ไม่

พร้อมที่จะดูแลเราได้ก็ไม่ควรโอนไป

สถานีอนามัยบ้านนาพู่ อ. เพ็ญ จ. อุดรธาน ี

ถ้าอยากทำงานเพื่อประชาชนได้เต็มที่ เราต้องไปอยู่กับ

ท้องถิ่นอย่าไปกลัวว่าใครมาเป็นหัวหน้าใครมาเป็นนายกอบต.

จะเป็นใครก็ได้จบป.4หรือเรียนระดับไหนก็ได้ถ้าเราเสนอสิ่งที่

ถูกต้องเขาก็น่ารับฟังและเห็นความสำคัญถ้าเสนอแล้วเขาไม่ให้

เราทำไม่อนุมัติ เราสามารถตอบชาวบ้านได้ เช่นยาหมดคุณ

ไม่ให้ซื้อแล้วจะเอายาที่ไหนจ่ายชาวบ้านก็กำกับอบต.อีกทีต่อ

ไปเขาก็ไม่เลือกเข้ามาอีก ทั ้งเขาทั้งเราก็มีประสบการณ์การ

ทำงานในชุมชนความคิดและอุดมการณ์ในการทำงานน่าจะ

ปรับเข้ากันได้ดีที่อยากโอนไปอยู่กับท้องถิ่นนั้นไม่ได้คิดว่าจะได้

ขั้นได้ซีอะไรมากมายแต่มีอุดมการณ์ทำงานเพื่อประชาชนชอบ

งานพัฒนาชุมชนพัฒนาครอบครัวสังคมอยากทำงานอยู่ตรงนี้

นายจะเป็นใครก็แล้วแต่ขอให้เราทำงานตรงนี้ให้ดีที่สุดก็อยู่ได้

ทุกวันนี้ปัญหาสาธารณสุขเปลี่ยนไป เราไม่ต้องไปตามฉีดวัคซีน

ไม่ใช่สิ่งที่เราเอาไฟไปส่องหาลูกน้ำมันควรเป็นความรับผิดชอบ

ของชาวบ้านแล้วคนที่เป็นตัวแทนชาวบ้านก็คือองค์กรท้องถิ่นซึ่ง

เขาจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าเราที่ผ่านมาเราต้องไปส่องลูกน้ำหรือ

อสม. ไปส่องเราต้องไปกำกับอีกปัญหาสาธารณสุขต้องแก้ที่ตัว

ประชาชนเองและมีส่วนร่วม ไม่มีส่วนร่วมมันแก้ไม่ได้ปัญหาที่ผ่านมาด้านปัญหาเรื่องโรคประจำถิ่น

ความสำคัญของปัญหาชาวบ้านเขารับทราบหรือไม่ทางราชการได้แต่สั่งทำไมเราไม่ทำในสิ่งที่ชาวบ้าน

อยากทำหรือถ้าเราอยากจะทำต้องมีงบประมาณต้องใช้เงินCUPต้องทำโครงการผ่านขั้นตอนมากมาย

ส่งที่อำเภอแก้ไขกันหลายรอบแล้วก็อยู่ไกลตัวอำเภอด้วยจนโรคระบาดไปไหนถึงไหนถึงได้อนุมัติบางครั้ง

ได้งบมาก็ต้องแบ่งสันปันส่วนจนไม่เหลือจะทำอะไรได้บางโครงการเราอยากทำแต่ต้องโกหกเพื่อทำงาน

ทำตรงๆไม่ได้ระเบียบมันไม่เอื้อระเบียนรายงานก็เยอะการเงินการบัญชีก็ต้องทำเองทั้งๆที่ไม่ร่ำเรียน

มาคิดว่าไปอยู่กับอบต.น่าจะทำให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลายไปทางที่ดีขึ้น

ขอฝากเรื่องนี้ทางส่วนกลางต้องชัดเจนคนที่ถ่ายโอนออกมาต้องได้รับการดูแลที่ดี ไม่ใช่ถ่ายโอน

แล้วต้องช่วยเหลือตัวเองหรือผจญปัญหาเพียงลำพังการบริหารงานบุคคลคนที่ถ่ายโอนต้องชัดเจน

รวดเร็วแล้วจะช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้นทุกวันนี้มีเพียงคู่มือในการปฏิบัติงานเล่มเดียว

นายประสงค์ ชัยชนะ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 6

น.ส. บัณณวิชญ์ ยุทธกิจจำนงค์ พยาบาลวิชาชีพ 7

Page 19: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 25

นายอำนวย อินทรธิราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อ. เพ็ญ จ. อุดรธาน ี

อยากพัฒนาสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาล 2บาท เหมือนที่

ยโสธรเป็นโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆแต่ปัญหาที่ผ่านมาสถานีอนามัยมี

เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพออยู่กันเพียง2คนบางทีเจ้าหน้าเขาต้องไปประชุม

อบรมสัมมนาบ่อยๆการบริการจึงไม่ทั่วถึงหรือทำได้ไม่เต็มที่ งาน

เยอะคนน้อยจะดีได้ยังไงตอนนี้ผมได้จ้างคนเพิ่มให้แล้ว เพราะก่อนมี

การถ่ายโอนได้ทำประชาพิจารณ์ชาวบ้านทุกคนก็เห็นดีด้วยว่าเมื่อถ่าย-

โอนแล้วน่าจะดีอบต.รับโอนประปาหมู่บ้านมาพัฒนาปรับปรุงน้ำสะอาดขึ้นค่าน้ำต่อหน่วยลดลงบริการชุมชนดี

ชาวบ้านได้ประโยชน์ที่ผ่านมาสถานีอนามัยเขาเริ่มต้นงานมาดี เช่นตั้งชมรมผู้สูงอายุกลุ่มเยาวชนกลุ่มแม่บ้าน

เขาก่อรูปก่อร่างไว้แล้ว เรารับต่อก็ง่ายสิ่งที่อยากพัฒนาให้สถานีอนามัยก็มีเจ้าหน้าที่เพียงพอมีคนอยู่ประจำ

พูดจาดีช่วยปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ตอนนี้ได้ให้ทุนนักเรียนไปเรียนพยาบาลสาธารณสุขและปีหน้าจะให้ทุนไป

เรียนทันตาภิบาลอีกที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกันมาตลอดอย่างเช่นงานตลาดสดน่าซื้อ เราก็ร่วมกันทำ เรา

สนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงให้ได้มาตรฐานนอกจากสถานีอนามัยเราก็ยังได้ร่วมกับทุกหน่วยงานเพื่อทำงาน

แบบบูรณาการและยั่งยืนทั้งตชด.วิทยาลัยโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่

โครงการนำร่องการถ่ายโอนครั้งนี้ทางส่วนกลางทั้งทางกระทรวงสาธารณสุขก็ดีกระทรวงมหาดไทยก็ดีน่า

จะมีเงินก้นถุงเป็นของขวัญเพื่อให้พัฒนางานเพิ่มเติมบ้างนี่ทุกอย่างได้เหมือนเดิมไม่มีอะไรเพิ่มถ้าเป็นแบบนี้ไม่

ต้องโอนก็ได้แต่ทำงานร่วมกันมีปัญหาก็ช่วยกันแก้

นายเอนก โมราสุข หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลวังแขม จ. กำแพงเพชร

ก่อนที่ตกลงโอนยอมรับว่าคิดมากนะเครียด เพราะหลายๆคน

ไม่เห็นด้วยกับการถ่ายโอนจังหวัดเราก็ไม่มีเพื่อนถ่ายโอนด้วยไปเดี่ยวๆ

ตำบลเดียวแต่คิดอย่างนี้ว่าทำงานอยู่ที่นี่แล้วมีคนข้างๆหน่วยงานเรา

มาช่วยงานนั้นไม่ดีรึมีเพื่อนมากขึ้นอบต. เขามีงบมีคนกระทรวงเราก็ดู

ด้านมาตรฐานหรือวิชาการไปถ้าสามารถทำตามที่เราคิดไว้จะสมบูรณ์

มากเลย เงินโอนมาทางไหนก็แล้วแต่เราก็ทำงานได้ผมยกมือไหว้ได้ทุก

คนถ้าเป็นคนที่น่านับถือ เรื่องหัวจะเป็นใครไม่สนใจ ไม่งั้นเราจะไปไหว้

ชาวบ้านได้รึ ในอบต.ใครจะรู้เรื่องสุขภาพดีเท่าเราเราผูกใจกับชุมชนได้ดีกว่ามนุษยสัมพันธ์เราสร้างได้ง่ายกว่า

ทำงานตรงไหนก็มีประโยชน์กับประชาชนเหมือนกัน ให้เราเปิดใจกว้างนิดหนึ่งบางทีเรายังไม่ได้ไปทำงานร่วมกับ

เขาเลยแต่เรารีบไปปฏิเสธเขาแล้วท้องถิ่นเขาก็มีระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นตัวบอกความโปร่งใสเป็น

ธรรมมีส่วนร่วมเขาก็มีมาตรฐานของเขานะแล้วปกติเราก็ทำงานร่วมกับอบต.มาโดยตลอดอยู่แล้วถ่ายโอนหรือ

ไม่ถ่ายโอนก็ทำงานร่วมกันที่ผ่านมา โรคไข้เลือดออกระบาดไปคุยกับปลัดอบต.ก็ได้รับการสนับสนุนและก็

สนับสนุนกันมาเรื่อยๆ เขายินดีสนับสนุนงานควบคุมโรคเป็นอย่างดีทำงานร่วมกันอย่างสมานฉันท์ถึงแม้เขามี

ความรู้ด้านสาธารณสุขน้อยกว่าเราแต่เขาก็มีประสบการณ์บางอย่างดีกว่าเราแม้เราอยู่แบบเดิมหรือไปขึ้นกับ

อบต.ก็ทำงานเพื่อชาวบ้านอยู่แล้ว

Page 20: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

26 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

นายชัยวัฒน์ พันธุ์วิทยากูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม อ. คลองขลุง จ. กำแพงเพชร

การให้การสนับสนุนสถานีอนามัยเป็นหน้าที่และภารกิจที่ต้องทำ

อยู่แล้ว เพราะในพื้นที่ตำบลเราต้องมีภาระและเป้าหมายเดียวกัน เพราะ

เราไม่ได้ต่างคนต่างทำต่างคนต่างคิด เราสนับสนุนงบประมาณมาโดย

ตลอดตั้งแต่สมัยสภาตำบลวันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราต้องบูรณาการงานใน

ชุมชนทั้งงานส่งเสริมป้องกัน รักษาฟื้นฟูตามแผนงานสุขภาพจะดี

กว่าต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างทำอย่าไปกังวลกับการไปอยู่ท้องถิ่นคิดซะว่าอยู่ไหนก็ทำงานแต่ถ่ายโอนมาเราก็

มากำหนดหลักเกณฑ์ทิศทางเสมือนเอารางรถไฟมาวางคู่กันผู้ขับเป็นนายกฯอบต.เป็นตัวรถไฟใครจะมาเป็น

ผู้บริหารได้ทั้งนั้นถ้ามหาดไทยและสาธารณสุขกำหนดชัดเจนใครมาเป็นผู้ขับรถไฟก็ชัดเจนเพราะมีมาตรฐานมี

หลักเกณฑ์กำหนดวิธีเดินฉะนั้นต้องสร้างความมั่นใจให้กับสถานีอนามัยและอบต.ที่ยังไม่ได้โอนสำคัญที่สุดอยู่ที่

กระทรวงสาธารณสุขและมหาดไทยต้องบันทึกข้อตกลงให้เกิดความเชื่อมั่นในการโอน ได้อะไรจากการโอนไม่มี

ข้อจำกัด ให้มีอิสระมีเอกภาพมีสิ่งจูงใจอะไรที่เป็นขวัญกำลังใจท้องถิ่นเราไม่มีปัญหาอยู่ร่วมกันเป็นสมาชิก

ครอบครัวเดียวกันทำงานให้เป็นสุขและสนุกกับงาน เพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชนการบริการต้องเท่า-

เทียมคนในชนบทน่าสมเพชเวทนาขนาดไหนทั้งที่เขาเป็นคนไทยเสียภาษีคนหนึ่งแต่การบริการสาธารณสุขที่เขา

ได้รับบริการด้อยกว่าคนในเมือง ในเมืองมีแพทย์ให้บริการแต่ในชุมชนต้องให้อสม.ทำงานแทนสถานีอนามัย

ต้องปรับเรื่องภูมิทัศน์ให้สวยงามชาวบ้านมาอนามัยจะได้สดชื่นยิ้มได้ ให้บริการที่ดีแก่ประชาชนมาอยู่กับผม

อย่ากังวล เพียงแต่ว่ากระทรวงสาธารณสุขอย่าปล่อยเจ้าหน้าที่เหมือนว่าวไม่มีหาง เรือไม่มีหางเสืออย่าให้เขา

สับสนกรมส่งเสริมฯอ้าแขนรับผมก็ชอบคิดร่วมกันทำงานร่วมกันมันชัดเจนการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ดีถ้าคนไม่

สามารถช่วยเหลือตนเองได้สุขภาพไม่ดีจะมีอะไรไปช่วยเหลือสังคมได้ผมคิดว่าสุขภาพคนต้องมาก่อน“สุขภาพ

ต้องดีถ้วนหน้า การศึกษาต้องกว้างไกล”สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขรีบทำคือต้องเติมกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่

ให้ความสำคัญเรื่องถ่ายโอนอย่าไปเหนี่ยวรั้งคิดให้ลึกๆ เจ้าหน้าที่ที่จะมาอยู่กับท้องถิ่นมหาดไทยอ้าแขนสุดยิ้ม

รับเต็มใจสาธารณสุขต้องปล่อยให้เต็มที่อย่าไปปิดกั้นอะไรเขา

เทศบาลตำบลบางนมโค อ. เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา

ที่ผ่านมาเรากับสถานีอนามัยก็ทำงาน

ด้วยกันตลอดประสานงานกันถ้ามีไข้เลือด-

ออกระบาด ไข้หวัดนก เราก็เตรียมคนวัสดุ

อุปกรณ์ออกไปทำงานด้วยกันหลังเซ็นมอบ

สถานีอนามัยให้เรา เราก็คุยกันปรึกษากัน

ตลอดปัญหาตอนนี้ยังไม่โอนขาดมาให้เราเรานายปรีชา ดัสดุลย์

นายกเทศมนตรี ส.ต.ต. สินชัย ขวัญเขียว

ปลัด อบต.

Page 21: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 2�

เลยยังทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ถ้ากระทรวงสาธารณสุขตัดโอนตำแหน่งมาให้เรา เราก็ออกคำสั่งแต่งตั้งได้เลยทาง

สาธารณสุขอำเภอเขาก็ถามเหมือนกันว่าเมื่อโอนมาแล้วจะมีนโยบายหรือกรอบการทำงานอย่างไรบ้างจะเชื่อมต่อ

กันได้อย่างไรทางเราได้วางแผนและได้ปรึกษาทางสาธารณสุขอำเภอทางโรงพยาบาลไว้ว่าถ้าโอนมาแล้วจะ

พัฒนาเป็นสถานีอนามัยในฝันให้ได้โดยยึดหลักว่า1.)มาอยู่กับเราแล้วต้องดีกว่าเดิมเริ่มจากสถานที่ต้องปรับใหม่

สะอาด เรียบร้อยและมีมาตรฐาน2.)ต้องดูว่าชาวบ้านที่มาใช้บริการนั้นมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการหรือไม่ 3.) เรื่อง

เจ้าหน้าที่ต้องปรับเยอะตอนนี้จำนวนตำแหน่งและภารกิจงานยังไม่ลงตัว เจ้าหน้าที่ที่มีอยู่เดิมลงชุมชนทำงาน

ชุมชนมากน้อยแค่ไหนเพราะการพัฒนาสถานีอนามัยในฝันหัวใจสำคัญอยู่ที่ชุมชนปัจจุบันเราให้ความสำคัญตรง

นี้น้อยถ้าทำงานสุขภาวะเราต้องดูแลทุกเรื่องทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆด้วยทั้งเหล้าบุหรี่ อุบัติเหตุ 4.) เรื่องการ

ประสานงานระหว่างสถานีอนามัยกับท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายหรือหุ้นส่วนต่างๆ เพราะเรื่องสุขภาพมันใหญ่คุม

ทุกเรื่องบางทีสถานีอนามัยเราก็มัวแต่ทำงานของตัวเองไม่ได้ดูหน่วยงานอื่นๆที่ทำงานส่งเสริมสุขภาพเหมือนกัน

เลยไม่เช่ือมต่อในเน้ืองานกับสถานีอนามัย5.)สถานบริการต้องมีเคร่ืองไม้เคร่ืองมือพร้อมให้บริการ6.)การประเมิน-

ผลต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ผ่านมาประเมินHCAของเราก็ไม่ผ่านตรงนี้ยังจำเป็นต้องให้สาธารณสุขอำเภอหรือโรง-

พยาบาลเข้ามาดูแล เพื่อความเป็นมาตรฐานถ้ายกสถานีอนามัยมาให้เราแล้วทางสาธารณสุขอำเภอหรือโรง-

พยาบาลไม่เอาด้วยทิ้งให้เทศบาลดูแลตามลำพังไปไม่รอดแน่มีหลายท้องถิ่นพอเป็นเทศบาลแล้วคิดจะสร้างโรง-

พยาบาลเองแล้วไม่เชื่อมกับสาธารณสุขอำเภอกับโรงพยาบาลแล้วอยากทำตามใจตัวเองหาเสียง ไปไม่รอด

หลายแห่งแล้วก็คุยกับสาธารณสุขอำเภอว่าอย่าทิ้งกันนะมันต้องทำงานด้วยกันเพราะเทศบาลเป็นมือใหม่หัดขับ

ไม่มีข้อมูล ไม่รู้ระบบเรื่องวิชาชีพหรือเวชกรรมของสถานีอนามัยเลยก็จะพยายามลบจุดอ่อน เสริมจุดแข็งให้กัน

และกัน

สถานีอนามัยตำบลบางนมโค อ. เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา

ตอนนี ้ระบบการทำงานต่าง ๆ ยัง

เหมือนเดิมถ้ามีอะไรชัดเจนในทางปฏิบัติต่อ

ไปงานต่าง ๆ คงเข้มข้นขึ ้น ที ่ผ ่านมาได้

ทำงานร่วมกันอยู่แล้วตอนนี้เราทำกิจกรรม

อะไรก็ไปเล่าให้ที่ประชุมของเทศบาลทราบ

ต้องการให้เขาช่วยเรื่องไหนที่เร่งด่วนก็แจ้ง

เขา เขาก็สนับสนุนดีถ้าโอนไปเต็มตัวคงถูก

คาดหวังจากทางเทศบาลมากขึ้น เพราะเขามีโครงการจะสร้างศูนย์แพทย์ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีตอนนี้

กำลังเคลียร์พื้นที่อยู่ เขาก็ปรึกษาหารือร่วมกันเรื่องสถานีอนามัยในฝันเขาจะเข้ามาช่วยปรับปรุงให้มันดีขึ้นซึ่งเป็น

เรื่องดีแต่ก็ต้องดูภาระงานกับคนที่มีอยู่ด้วยแต่เขารับจะดูแลหาคนเพิ่มให้

ไม่คิดว่าการถ่ายโอนจะไวขนาดนี้ตอนแรกบอกว่าให้เวลาเตรียมตัว2ปีแต่เอาเข้าจริงให้เวลาสั้นมาก เรา

เคยใช้งูพันคบเพลิงมาตั้งนานอยู่ ๆจะไปใช้สิงห์ก็วิตกกังวลคิดมากก็กลัวต่างๆนานาว่าระบบงานใหม่

กระบวนการต่างๆเขาจะคิดเหมือนเราไหมแต่คิดไปคิดมาก็คิดว่าบ้านเราก็อยู่ที่นี่ไม่คิดจะย้ายไปที่ไหนอีกเราก็

นางละเอียด ธนะสันต์ เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข 7

นายสำเริง โกมุติบาล นักวิชาการสาธารณสุข 5

Page 22: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

28 ปีที่ 1� ฉบับที่ 4

เป็นส่วนหนึ่งของตำบลนี้มาก็นานอสม. เราก็รู้จักกันอย่างดีถ้าเกิดอะไรขึ้นก็ไม่กลัว รู้ว่านายก

แต่ละคนนโยบายไม่เหมือนกันถ้าไม่ทำตามเขาปัญหาอาจมีได้แต่ไม่ว่านายกคนไหนมาเราก็

ทำงานตามหน้าที่เรานโยบายสั่งมาอย่างไรเราก็ทำตามแต่นายกคนนี้งานสาธารณสุขเขารู้ดีมาก

คิดว่าคงดีกว่าเก่าดูตัวอย่างโรงเรียนที่เข้าไปอยู่กับเขาเมื่อปี 49 เขาให้การสนับสนุนเยอะมาก

เรื่องเงินโบนัสได้ก็ดีแต่ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงความสุขขึ้นอยู่กับว่าเราทำงานร่วมกันได้มากน้อย

แค่ไหนมากกว่า

นายเศก สอนมูลปิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 6 รักษาการหัวหน้าสถานีอนามัยบ้านโกรกสิงขร อ. จอมบึง จ. ราชบุรี

เดิมทีเป็นสถานีอนามัยด่านทับตะโกที่ขอโอนแต่เขาอยู่ในเขต

เทศบาลจึงโอนไม่ได้เลยเปลี่ยนมาที่สถานีอนามัยผมกะทันหันมากมี

เวลาตัดสินใจประมาณ1สัปดาห์แต่คิดว่าบ้านเราก็อยู่ที่นี่ ไม่อยาก

ย้ายไปไหนและมั่นใจว่าถ้าไปอยู่กับอบต.ยังไงก็ดีกว่าเดิมแน่นอน

เพราะที่ผ่านมาทางอบต.สนับสนุนช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด

ท่านนายกอบต. เป็นคนดีมีวิสัยทัศน์มีความรู้ ให้ความสำคัญเรื่อง

สุขภาพดีมากต้องการอะไรให้เต็มที่เลยคิดว่าไหนๆก็ต้องไปไม่วันนี้ก็วันหน้าสู้เราไปตั้งแต่

ตอนนี้เลยดีกว่าตำแหน่งทางอบต.ยังมีว่างไปทีหลังก็เต็มหมดแล้วตอนนี้ทางนายกฯให้รักษา-

การหัวหน้าฝ่ายสาธารณสุขโดยทางปลัดบอกว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข

ชุมชน6เป็นนักบริหารสาธารณสุข6ให้ถือว่าก้าวหน้ากว่าเดิมส่วนเรื่องการพัฒนาสถานบริการ

นี่เห็นได้ชัดหลังจากถ่ายโอนทางอบต.ได้ให้งบปรับปรุงชั้นล่างสถานีอนามัย เกือบ6แสนบาท

ทำห้องรักษาห้องพัฒนาการเด็กห้องทันตกรรมทั้งที่แผนการใช้งบปี 51ปิดไปแล้ว เขาก็

พยายามใช้งบสะสม โดยให้สภาอนุมัติ แล้วยังจ้างลูกจ้างให้อีก 1ตำแหน่ง เขามีการจัดการที่

คล่องตัวมากที่ผ่านมาเงินบำรุงก็มีไม่มากรายได้พออยู่ไปได้วันๆพัฒนาอย่างอื่นไม่ได้เลย

การถ่ายโอนสู่ท้องถิ่นถือเป็นนโยบายที่ดีแต่ทางส่วนกลางต้องรีบทำคู่มือในการปฏิบัติงาน

ต่างๆให้ชัดเจนจะได้เป็นแนวทางปฏิบัติตอนนี้เรื่องการอนุมัติเงินบำรุงยังไม่กล้าขยับค่าไฟยัง

ค้างเขาอยู่หลายเดือนแล้วยังไม่กล้าเบิกจ่ายเพราะไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนอนุมัติอยากให้ทางกรม-

ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทำหนังสือแจ้งมาเลยว่าให้นายกฯดำเนินการอะไรได้บ้างหรือว่าทำ

สัญญาโอนให้ อบต.นายกมีอำนาจดำเนินการได้ทุกเรื่องเลยทั้งการเงินการคลังการบริหาร

จัดการและถ้าโอนไปได้สักระยะหนึ่งแล้วอยากให้จัดเวทีให้สถานีอนามัยที่ร่วมโครงการทั้ง 22

แห่งได้มาพบพูดคุยแลกเปลี่ยนกันบ้างจะได้รู้ความคืบหน้าของแต่ละที่

Page 23: สาระสำคัญ การถ่ายโอนสถานี ...¸าร...พระราชบ ญญ ต กำหนดแผนและข นตอนการกระจายอำนาจให

/มกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 2�

องค์การบริหารส่วนตำบลด่านทับตะโก อ. จอมบึง จ. ราชบุรี

ตอนที่มีการถ่ายโอนสถานีอนามัยมาทางเราได้ทำข้อบัญญัติการใช้งบประมาณไปแล้ว แต่

ถ้าปล่อยไปตามปกติเราต้องรอไปใช้งบประมาณของปี52พอยกสถานีอนามัยมาให้ทางเราคิดกัน

ว่าต้องพัฒนาให้ดีกว่าเดิมให้เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนเช่นสร้างขวัญกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่

ให้เขามีความก้าวหน้ามั่นคงพัฒนาสถานที่ทำงานให้ดูดีน่าใช้บริการ เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ขาด

เจ้าหน้าที่ไม่พอก็จ้างคนเพิ่มให้โดยใช้เงินสะสมประชุมสภาแล้วขออนุมัติก็สามารถใช้ได้ตอนนี้ได้

ออกแบบปรับปรุงชั้นล่างให้เพื่อบริการได้สะดวกขึ้น ใช้งบประมาณเกือบ6แสนบาทส่วนจะ

ปรับปรุงด้านพัฒนางานบริการให้ดีขึ้นนั้น ก็ให้เจ้าหน้าที่เขาบอกมา เพราะไม่รู้ว่าเขาต้องใช้อะไร

บ้างทางเรายินดีสนับสนุนเต็มที่

ตรงนี้อยากจะบอกว่ามั่นใจได้เลยว่ามาอยู่กับท้องถิ่นดีขึ้นแน่นอนชาวบ้านได้รับความ

สะดวกขึ้นทุกวันนี้เหมือนไม่เชื่อใจทางอบต.กันทางสถานีอนามัยไม่ได้มาตัวเปล่า เขายกคนมี

อัตราเงินเดือนมีอาคารสถานที่มาให้พร้อม เราเพียงช่วยกันพัฒนาให้ดีขึ ้นเท่านั้นเองตอนนี้

นโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้อบต.ให้ทุนพนักงานไปเรียนต่อปริญญาตรี– โท

ได้คือเรียนฟรีมีความก้าวหน้ามีโบนัสอีกอย่างน้อย3เท่าทางเรายืนยันว่ามาอยู่กับเราแล้วดีกว่า

เดิมแน่นอนบางคนกลัวว่าถึงช่วงหาเสียงถ้าไม่ไปช่วยนายกหาเสียงกลัวว่าถ้าได้เข้ามาใหม่จะถูก

เล่นงานอะไรทำนองนี้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ผมมาจากการเลือกตั้งผมต้องทำให้ดี เรื่องสุขภาพอนามัย

เป็นส่วนหนึ่งที่อบต.ต้องพัฒนาถ้าปล่อยปละละเลยคราวหน้าเขาก็ไม่เลือกเราผมต้องเลือกตั้ง

ทุก 4ปี ถ้าพัฒนางานสุขภาพอนามัยดี โอกาสที่จะได้รับเลือกนั้นสูงมากบางคนกลัวว่าจะใช้

อิทธิพลใช้อำนาจและมองว่าทำแต่งานโครงสร้างพื้นฐานไม่พัฒนาคนมายุคนี้แล้วอบต.มีมา10

ปีผู้บริหารส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์แล้วช่วงก่อนอาจจะมีเรื่องไม่ดีบ้างระยะหลังมีการเลือกตั้งโดยตรง

เริ่มเปลี่ยนในทางดีขึ้นดีกว่าเก่าเยอะ

นายกิมเม้ง โชติอดินันทชัย ประธาน ฮบต.

นายประกอบ จิวจินดา นายก อบต.

นายปทวน ชนะอินทร์ ปลัด อบต.