13
แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ แแแแแแแ “แแแแแแแแแแแแแแแ” เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ 25 เเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ- เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ เ เเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเ เเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ เเเเ 1

แนวทางการดำเนินตามแนว ...€¦ · Web viewเศรษฐก จพอเพ ยง เป นปร ชญาช ถ งแนวการดำรงอย

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

แนวทางการดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการดำเนินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกา- ภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภค

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

     •  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

     •  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

3 ห่วง 2 เงื่อนไข : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่สำคัญที่สุด ทุกคนควรเข้าใจ “คำนิยาม” ว่าความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ       การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

      ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย       - เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ      - เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับข้าราชการ

สำหรับในบริบทการบริหารงานภาครัฐซึ่งประกอบด้วยบทบาทบุคลากรของรัฐ และ บทบาทประชาชน นั้นจะสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้ ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่โดยจะต้องอยู่บนหลักของความพอประมาณ  การพอประมาณไม่ใช่ทำแต่น้อยให้พอเสร็จๆไป แต่พอประมาณ หมายถึง การประเมินความสามารถของเราว่ามีแค่ไหน  แล้วทำให้เต็มที่กับความสามารถที่เรามี  นอกจากนี้เราจะต้องมีเหตุมีผล  ต้องมีการวิเคราะห์และไตร่ตรองทุกครั้งเมื่อทำงาน  รวมทั้งต้องสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้กับตนเอง การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้โดยไม่ยากเลย ซึ่งท่านก็ได้เล่าว่าในสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันเราต้องบริหารกิเลสตัณหา  อย่าให้กิเลสตัณหามาบริหารเรา  ใช้ชีวิตอย่างมีสติ  สิ่งใดที่ไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็น  ก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพื่อสนองความอยากความต้องการของตัวเอง  ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้มีประโยชน์กับตัวท่านเอง  ซึ่งถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ก็จะสามารถเป็นตัวอย่างให้กับครอบครัว  ทำให้ครอบครัวของท่านปฏิบัติตามได้ด้วย สรุปได้ว่าข้าราชการนั้นจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถ่องแท้  เพื่อที่จะได้ปฏิบัติราชการได้ด้วยการคำนึงถึงความพอเพียงทั้งในการใช้ความรู้  ความสามารถของตน  และสามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  มีการคิดดี  พูดดี  ทำดี  และปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต  และตระหนักถึงถึงความเป็นข้าราชการที่ดี  เพื่อที่จะได้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตัวข้าราชการ  ในฐานะที่เป็นบุคลากรของรัฐ

เศรษฐกิจพอเพียงสามารถรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้จริงหรือ

      อย่างไรก็ตาม แม้หน่วยงานและประชาชนที่เริ่มตื่นตัว และต้องการจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ แต่ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ได้จริงมากน้อยเพียงใดตามมา       ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเกิดสัมฤทธิผลกับทุกๆ ฝ่าย โดยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท       ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการพัฒนานั้น ต้องเข้าใจ “กรอบแนวคิด” ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา       และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจคุณลักษณะว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

พระราชบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

" เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น "

ทรงพระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542

พระราชบรมราโชวาทเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

" อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวจะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก "

ทรงพระราชทานเนื่องเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540

" ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกินมีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพอกินไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความความพออยู่พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิดและมีอิทธิพลมีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกันช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควรพออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล "

ทรงพระราชทานเนื่องเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา 23 ธันวาคม 2542

*****************************************************************************************

ข้อมูลจาก : เว็บไซต์มูลนิธิประเทศไทยสะอาด http://www.fact.or.th/fact/index.php/2008-12-15-07-26-59/179-2009-10-30-03-45-39.html 28/42554

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

http://www.fti.or.th ศิริพงษ์ กลิ่นจันทร์ 4 มกราคม 2554

สถาบันส่งเสริมงานสอบสวนหน้า ๗