6
พรรณไม้ในวัดในกรุงเทพมหานคร วิชัย ปทุมชาติพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แหล่งศึกษาพรรณไม้เพื่อให้นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ นักอนุรักษ์และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าศึกษา หาความรู้ด้านพรรณไม้ ด้านการอนุรักษ์และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น มีหลายร้อยแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งทีเป็นของรัฐและของเอกชน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญของพรรณไม้และการอนุรักษ์ ที่น่า ประทับใจเป็นอย่างยิ่งของพสกนิกรชาวไทย คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช ด้วยโปรดเกล้าฯให้นําเมล็ดต้นยางนาที่อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี แล้วทรงเพาะเมล็ดต้นยางนา ในกระถางบนพระตําหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และเมื่อวันที๒๘ กรกฎาคม .. ๒๕๐๔ พระองค์ทรง ปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เองพร้อมข้าราชบริพารจํานวน ,๒๕๐ ต้น ในแปลงทดลองป่าสาธิตใกล้พระตําหนัก เรือนต้น สวนจิตรลดา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นําพรรณไม้จากภาค ต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิตนักศึกษา แทนทีจะเดินทางไปทั่วประเทศ จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยพรรณไม้ในวัดมีสาเหตุจากความสนใจและการสังเกตว่าหลายวัดมีการติดชื ่อ ต้นไม้ไว้ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องและคลาดเคลื่อน ทั้งนี้แหล่งที่มาของพรรณไม้ในวัด มี แหล่งคือ ) เป็นพรรณไม้ดั้งเดิม ที่ปลูกมาพร้อมกับวัดหรือมีอยู่ก่อน ) วัดจัดหามาปลูกเองเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นสมุนไพรและให้ ความร่มรื่น ) ญาติโยมนํามาถวาย และ ) พระสงฆ์นํามาจากต่างถิ่น วัดเป็นแหล่งศึกษาพรรณไม้ที่สําคัญแหล่งหนึ่ง เนื่องจากวัดเป็นที่รวบรวมพรรณไม้หลากหลายชนิด แบบไม่มีขีดจํากัดตามศรัทธาของประชาชนที่นํามาถวายหรือมาขอปลูกถวาย เนื่องจากวัดต้องการความร่มรื่น ความร่มเย็น สดชื่นและสวยงามเจริญหูเจริญตาสําหรับผู้มาประกอบพิธีทางศาสนา พรรณไม้ที่อยู่ในวัดมี ความหมายแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นพรรณไม้เกี่ยวกับพุทธประวัติ พรรณไม้สมุนไพร พรรณไม้ป่า ไม้ดอกไม้ประดับทีสวยงาม พรรณไม้ให้ร่มเงา พืชผัก และไม้ผล การวิจัยในครั้งนี้ได้สํารวจพรรณไม้ในวัดจํานวน ๒๓๖ วัด จาก จํานวน ๔๓๓ วัดในกรุงเทพมหานคร ได้พบพรรณไม้ต้น (Tree plants) จํานวน ๒๒๗ ชนิด ในจํานวนนี้ปรากฏว่า เป็นพืชหายาก (rare plants) ตามหนังสือของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (๒๕๕๑) จํานวน ชนิด ได้แก่ กฤษณา ขยัน ( หญ้านางแดง ) คํามอกหลวง จําปีสิรินธร ใบสีทอง มหาพรหม สะตือ อรพิมและศรียะลา (โศกศรียะลา) พรรณไม้เด่นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากหาดูยากในกรุงเทพมหานครมีตัวอย่าง ดังนีกรวยป่าที่วัด หงส์รัตนาราม กระเบาที่วัดเบญจมบพิธ เกดที่วัดราชนัดดาราม การบูรที่วัดนายโรง ขันทองพยาบาทที่วัดประยุร วงศาวาส ไข่เน่าที่วัดโสมนัสวิหาร ขานางที่วัดลานบุญ จันทน์หอมที่วัดนรนาถสุทธิการาม จานเครือที่วัดมัชฌันติ

พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

พรรณไม้ในวัดในกรุงเทพมหานคร

วิชัย ปทุมชาติพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

แหล่งศึกษาพรรณไม้เพื่อให้นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ นักอนุรักษ์และประชาชนทั่วไปท่ีสนใจเข้าศึกษา หาความรู้ด้านพรรณไม้ ด้านการอนุรักษ์และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น มีหลายร้อยแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งที่เป็นของรัฐและของเอกชน ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญของพรรณไม้และการอนุรักษ์ ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งของพสกนิกรชาวไทย คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ด้วยโปรดเกล้าฯให้นําเมล็ดต้นยางนาที่อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี แล้วทรงเพาะเมล็ดต้นยางนาในกระถางบนพระตําหนักเป่ียมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ พระองค์ทรงปลูกต้นยางนาด้วยพระองค์เองพร้อมข้าราชบริพารจํานวน ๑,๒๕๐ ต้น ในแปลงทดลองป่าสาธิตใกล้พระตําหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นําพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ของนิสิตนักศึกษา แทนที่จะเดินทางไปทั่วประเทศ จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยพรรณไม้ในวัดมีสาเหตุจากความสนใจและการสังเกตว่าหลายวัดมีการติดช่ือต้นไม้ไว้ซึ่งมีทั้งที่ถูกต้องและคลาดเคลื่อน ทั้งนี้แหล่งที่มาของพรรณไม้ในวัด มี ๔ แหล่งคือ ๑) เป็นพรรณไม้ด้ังเดิมที่ปลูกมาพร้อมกับวัดหรือมีอยู่ก่อน ๒) วัดจัดหามาปลูกเองเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นสมุนไพรและให้ความร่มรื่น ๓) ญาติโยมนํามาถวาย และ ๔) พระสงฆ์นํามาจากต่างถิ่น

“วัด” เป็นแหล่งศึกษาพรรณไม้ที่สําคัญแหล่งหนึ่ง เนื่องจากวัดเป็นที่รวบรวมพรรณไม้หลากหลายชนิดแบบไม่มีขีดจํากัดตามศรัทธาของประชาชนที่นํามาถวายหรือมาขอปลูกถวาย เนื่องจากวัดต้องการความร่มรื่น ความร่มเย็น สดช่ืนและสวยงามเจริญหูเจริญตาสําหรับผู้มาประกอบพิธีทางศาสนา พรรณไม้ที่อยู่ในวัดมีความหมายแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นพรรณไม้เกี่ยวกับพุทธประวัติ พรรณไม้สมุนไพร พรรณไม้ป่า ไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม พรรณไม้ให้ร่มเงา พืชผัก และไม้ผล การวิจัยในครั้งนี้ได้สํารวจพรรณไม้ในวัดจํานวน ๒๓๖ วัด จากจํานวน ๔๓๓ วัดในกรุงเทพมหานคร ได้พบพรรณไม้ต้น (Tree plants) จํานวน ๒๒๗ ชนิด ในจํานวนนี้ปรากฏว่าเป็นพืชหายาก (rare plants) ตามหนังสือของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์ุพืช (๒๕๕๑) จํานวน ๙ ชนิด ได้แก่ กฤษณา ขยัน (หญ้านางแดง) คํามอกหลวง จําปีสิรินธร ใบสีทอง มหาพรหม สะตือ อรพิมและศรียะลา (โศกศรียะลา) พรรณไม้เด่นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากหาดูยากในกรุงเทพมหานครมีตัวอย่าง ดังนี้ กรวยป่าที่วัดหงส์รัตนาราม กระเบาที่วัดเบญจมบพิธ เกดที่วัดราชนัดดาราม การบูรที่วัดนายโรง ขันทองพยาบาทที่วัดประยุรวงศาวาส ไข่เน่าที่วัดโสมนัสวิหาร ขานางที่วัดลานบุญ จันทน์หอมท่ีวัดนรนาถสุทธิการาม จานเครือที่วัดมัชฌันติ

Page 2: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

การาม เจ้าหญิงสีชมพูที่วัดนายโรง เฉียงพร้านางแอที่วัดอัปสรสวรรค์ ช้าแป้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ชุมแสงที่วัดปากน้ําภาษีเจริญ ด๊ิกเดียมที่วัดเทพศิรินทราวาส ตะคร้อหนามที่วัดบางยี่ขัน ตะคร้ําที่วัดราษฎร์ศรัทธาราม ประคําไก่ที่วัดใหญ่ศรีสุพรรณ ฝีหมอบฝีวัดตะโหนด พญามูลเหล็กที่วัดใหม่พิเรนทร์ มะกอกเกลื้อนที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มะเกลือเลือดที่วัดนรนาถสุนทริการาม มะแพร้วที่วัดนางชี มะริดที่วัดใหม่ยายแป้น เม่าหลวงที่วัดประสาทบุญญาวาส รัตนพฤกษ์ที่วัดบางปะกอกและวัดนาคปรก ลําไยเถาที่วัดเปาโรหิตย์ สมอพิเภกที่วัดโสมนัสวิหาร สมอไทยแคระที่วัดราชาธิวาส สาละอินเดียที่วัดราชบพิธและวัดเบญจมบพิธ แสลงใจที่วัดโมลีโลกยาราม ส้มกบที่วัดสัมพันธวงศ์ หางนกยูงฝรั่งสีทองที่วัดมะพร้าวเต้ีย และเอกมหาชัยที่วัดเทพนารี การเข้าไปศึกษาพรรณไม้เหล่านี้ อาจจะยังไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ที่อยู่ในวัดบางแห่งทั้งพระสงฆ์และฆราวาสก็ยังทราบชื่อต้นไม้ในวัดของท่านเองไม่ทั่วถึง เนื่องจากพรรณไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่จะยังไม่ได้ติดป้ายช่ือ คงต้องรอสักระยะหนึ่งผู้วิจัยจะเร่งรีบหาป้ายช่ือไปติดถวายวัด บางชนิดปลูกอย่างเบียดเสียดหรืออยู่ในมุมอับ เช่น ส้มกบที่วัดสัมพันธวงศ์ พญามูลเหล็กที่วัดใหม่พิเรนทร์ แต่ส่วนใหญ่จะปลูกอยู่ในที่ที่เป็นอิสระ สามารถมองเห็นได้ง่าย หากสอบถามคนในวัดแล้วยังไม่ได้คําตอบผู้วิจัยก็ยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม อนึ่งการเข้าศึกษาพรรณไม้ให้ได้ข้อมูลครบถ้วนนั้นจะต้องเข้าไปสัมผัสอย่างน้อย ๓-๔ ครั้งในรอบ ๑ ปี เพื่อให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นใบ ดอก ผล และอื่นๆอย่างครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลต้นตะคร้อหนามที่วัดบางยี่ขัน ครั้งแรกที่ผู้วิจัยไปสํารวจก็พบแต่ต้นและใบซึ่งลักษณะคล้ายกับตะคร้อธรรมดาที่คุ้นเคย ผู้วิจัยต้องแวะเวียนไปดูอีกหลายครั้งในรอบ ๑ ปี แต่ก็ยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ขาดรูปดอกเนื่องจากไปช้าเพียง ๒ สัปดาห์ เลยได้เฉพาะภาพถ่ายของผลที่แก่จัด เมื่อนํามาศึกษาก็พบว่าผลแก่แตกออกมาเป็น3ส่วนคล้ายขนมกลีบลําดวน ซึ่งลักษณะอย่างนี้หาดูได้ยากในพรรณไม้อ่ืน เมื่อรอไปอีกหลายเดือนเพื่อจะได้เห็นดอกของฤดูถัดไปก็ยังแคล้วคลาดกันอีก วันที่ไปสํารวจซ้ําพบว่าดอกได้ร่วงไปหมดแล้ว กําลังติดผลอ่อนเต็มต้น ขอยกตัวอย่างอีกชนิดหนึ่งคือต้นจานเครือที่วัดมัชฌันติการาม ครั้งแรกพบว่าลักษณะของใบเหมือนทองกวาวมาก ส่วนของลําต้นเป็นเถาใหญ่กว่าโคนขาพันต้นมะหาดไว้จนคอดกิ่วและพบว่าติดฝักแล้ว รูปร่างของฝักก็เหมือนทองกวาว ทั่วไป ต้องรอไปอีก ๑ ปี จึงได้ภาพดอกตามที่ต้องการ ซึ่งลักษณะดอกก็ผิดความคาดหมายจากข้อมูลเดิมที่ค้นคว้าจากหลายแหล่งมาเก็บสะสมไว้ จึงขอเรียนให้ท่านที่สนใจทราบว่าการศึกษาพรรณไม้นั้น “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” ดังสุภาษิตเก่าแก่ของเรากล่าวไว้ ท่านที่ทราบข้อมูลเบ้ืองต้นนี้แล้วต้องรีบไปชมก่อนที่ทางวัดจะมีนโยบายปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ของวัดเพื่อความเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยได้ประสบมาหลายแห่งแล้ว การปรับปรุงภูมิสถาปัตย์มีผลทําให้ต้นไม้สวยๆและหายากหลายต้นสูญหายไป

Page 3: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

ตะคร้อหนาม วัดบางยี่ขัน จานเครือ วัดมัชฌันติการาม กรวยป่า วัดหงส์รัตนาราม

ขนาน วัดพระศรีมหาธาตุ กระเบา วัดเบญจมบพิธ เกด วัดราชนัดดา

ไข่เน่า วัดประยุรวงศาวาส เขยตาย วัดหงส์รัตนาราม กรวยป่า วัดหงส์รัตนาราม

คงคาเดือด วัดราษฎร์บํารุง ไคร้ย้อย วัดเทวราชกุญชร จันทน์หอม วัดนรนาถสุทธิการาม

เจ้าหญิงสีชมพู วัดนายโรง เฉียงพร้านางแอ วัดอัปสรสวรรค์ ช้าแป้น วัดพระเชตุพนฯ

Page 4: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

ชิงชี่ วัดราชสิทธาราม ชุมแสง วัดตลิ่งชัน ด๊ิกเดียม วัดเทพศิรินทร ์

ระคําไก่ที่วัดใหญ่ศรีสุพรรณ พญามูลเหล็กที่วัดใหม่พิเรนทร์ มหาพรหมที่วัดนางชี

ฝีหมอบ วัดตะโหนด พะยอม วัดอินทาราม พะยูง วัดพุทธบูชา

มะกอกเกลื้อน วัดราชบพิธ มะกา วัดหิรัญรูจ ี มะกอกเกลื้อน วัดนรนาถฯ

มะคะ วัดพระศรีมหาธาตุ มะพลับ วัดหงส์รัตนาราม มะพูด วัดบวรนิเวศวิหาร

Page 5: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

ะแพร้ว วัดนางชี มะริด วัดใหมย่ายแป้น เม่าหลวง วัดประสาท

ยางนา วัดไก่เต้ีย ย่านาง วัดบางยี่ขัน รัตนพฤกษ์ วัดนาคปรก

ละมุดสีดา วัดธาตุทอง สตาร์แอปเปิล วัดอนงคาราม สมอพิเภก วัดโสมนัสวิหาร

คนทีเขมา วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม สะตอ วัดราชาธิวาส สะตอป่า วัดตลิ่งชัน

สมอไทย วัดจกัรวรรดิราชาวาส สาละลังกา มีเกือบทุกวัด สมอไทยแคระ วัดราชาธิวาส

Page 6: พรรณไม้ในวัดในกร ุง ...chm-thai.onep.go.th/chm/city/document/plant in temple_26Nov12.pdf · พรรณไม้ในวัดในกร ุงเทพมหานคร

สาละอินเดีย วัดเบญจมบพิธ สุวรรณพฤกษ์ วัดสุวรรณาราม แสลงใจ วัดหงส์รัตนาราม

ยูงสีทอง วัดมะพร้าวเต้ีย อโศกอินเดียแคระ วัดภาวนาฯ เอกมหาชัย วัดเทพนารี