10
THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 33 วิ ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มี ต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ ชินโชติ ทองตัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาภรณ์ โสตะ สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยศึกษาผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ ที่มีผลต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู ้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี จ�านวน 60 คน คัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่ก�าหนด แล้วท�าการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ให้ได้กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ ครั้งละ 50 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะไม่ได้รับ โปรแกรมฝึกใดๆ ให้ใช้ชีวิตตามปกติ ท�าการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนฝึก, ระหว่างฝึกและหลังการฝึก โดยใช้แบบ ทดสอบความแข็งแรงของขาด้วยแบบทดสอบลุกยืน-นั่งบนเก้าอี้ (30 Second Chair Stand Test) ทดสอบ การทรงตัวด้วยแบบทดสอบเดินไปกลับ 3 เมตร (Time Up And Go Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลอง มีความแข็งแรงของขาและการทรงตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ (p<0.01) ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าความแข็งแรงของขา และการทรงตัวระหว่างกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.01) หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และท�าให้เห็นว่าโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ สามารถน�ามาใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขา และการทรงตัวในผู้สูงอายุได้ ค�าส�าคัญ : Paslop, ความแข็งแรงของขา, การทรงตัว, ผู้สูงอายุ

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 33

บ ท ว ิท ย า ก า ร

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

ชินโชติ ทองตัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นจุฬาภรณ์ โสตะ สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยศึกษาผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต ์ที่มีผลต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-79 ปี จ�านวน 60 คน คัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่ก�าหนด แล้วท�าการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ให้ได้กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ ครั้งละ 50 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะไม่ได้รับโปรแกรมฝึกใดๆ ให้ใช้ชีวิตตามปกติ ท�าการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนฝึก, ระหว่างฝึกและหลังการฝึก โดยใช้แบบทดสอบความแข็งแรงของขาด้วยแบบทดสอบลุกยืน-นั่งบนเก้าอี้ (30 Second Chair Stand Test) ทดสอบ การทรงตัวด้วยแบบทดสอบเดินไปกลับ 3 เมตร (Time Up And Go Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลอง มีความแข็งแรงของขาและการทรงตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ (p<0.01) ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าความแข็งแรงของขา และการทรงตัวระหว่างกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.01) หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และท�าให้เห็นว่าโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ สามารถน�ามาใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขา และการทรงตัวในผู้สูงอายุได้ค�าส�าคัญ : Paslop, ความแข็งแรงของขา, การทรงตัว, ผู้สูงอายุ

Page 2: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

มกราคม - มีนาคม 2561 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี34

Effect of Modifi ied Paslop Dancing Program on leg strength and balance in elderly

Shinnachote Thongton Graduate school, Khon Kean University, Thailand.Chulaporn Sota Faculty of Public Health, Khon Kean University, Thailand

Abstract This is a quasi - experimental research, aimed to study effect of modified Paslop dancing program on leg strength and balance in elderly. The subject was elderly 60-79 years. Subjects were selected from inclusion criteria and simple random sampling into an experimental group (n=30) and a control group (n=30). The experimental group was trained and performed a modified Paslop dancing program 50 minutes a day, 3 days per week for 8 weeks. The Control group was not trained and performed any program. The data is collected in 3 times (before, during and after training). The outcome measures were used 30 seconds chair stand test for leg strength test and timed up and go test for balance test.The results showed that leg strength and balance in the experimental group was increased after trained 8 weeks (p <0.01). In the control group there is no any change. After training 8 weeks found that, the modified Paslop dancing program can improve leg strength and balance in elderly in comparison with control group. And the modified Paslop dancing program can be applied for improve strengthening leg and balance in elderly.Keywords : Paslop, Leg strength, Balance, Elderly

f

บทน�ำ ประเทศไทยก้าวเข้าสู ่สังคมผู ้สูงอายุ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จากการที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี พ.ศ. 2564 จ�านวนของประชากรผู ้สูงอายุจะสูงขึ้นถึง

ร้อยละ 20 ของประชากรภายในประเทศทั้งหมด และจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์(1) จากสถานการณ์ข้อมูลกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เมื่อบุคคลมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น การท�างาน

บ ท ว ิท ย า ก า ร

Page 3: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 35

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

ของระบบต่างๆ ในร่างกายมีการเสื่อมถอยลง ซึ่งส่งผลท�าให้ระดับการช่วยเหลือตนเองมีการลดลง และข้อมลูจากองค์การอนามยัโลกได้ระบุไว้ว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จะมีแนวโน้มหกล้มร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มขึน้เป็นร้อยละ 32-42 เมือ่ก้าวเข้าสูปี่ที ่70 และความเสี่ยงของการหกล้มยิ่งจะมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือผู้มีโรคประจ�าตัว(2) จากสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในข้างต้น ท�าให้มกีารศกึษาเพือ่หาแนวทางในการป้องกนัการหกล้มและดแูลสขุภาพของผูส้งูอายมุากขึน้ ซึ่งการออกก�าลังกายเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่มีการน�ามาใช้ในการศึกษาในผู้สูงอายุ ซึ่งหลายผลการศึกษาพบว่าสามารถช่วยเพิ่มความ แข็งแรงของขาและการทรงตัวในสูงอายุได้ ดังเช่นการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต ์ใช ้ทฤษฎีแบบแผน ความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุน ทางสังคม ร่วมกับการออกก�าลังกายโดยการเต้นร�าจังหวะ Paslop เพื่อป้องกันการหกล้ม ในหญิงไทยก่อนวัยสูงอายุ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าหลังจากที่ฝึกเต้น Paslop เป็นเวลา 12 สัปดาห์มีการปรับตัวของการทรงตัวที่ดีขึ้น และสามารถน�ามาประยุกต ์ใช ้ในการเพิ่ม การทรงตัวได้(3) และยังมีการศึกษาผลของ การเต้น Paslop ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางล�าตัว การทรงตวั พบว่าการเต้นบาสโลบในระยะเวลา 4 สัปดาห์สามารถเพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อแกนกลางล�าตัวและความสามารถของการทรงตัวของร่างกายได้(4) นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาการออกก�าลังกายด้วยยางยืดและการฝึกด้วยน�้าหนักของร่างกาย 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งในโปรแกรมของทั้งสองการฝึกมีการใช้

ท่า Squat เป็นท่าส�าหรับฝึกความแข็งแรง ของขา พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น และแสดงให้เห็นว่าการออกก�าลังกายสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีความแข็งแรงของขาและการทรงตัวดีขึ้นได้(5)

จากข้อมูลของการศึกษาที่ผ่านมาจึงท�าให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจในการที่จะประยุกต์น�าเอาการออกก�าลังกายด้วยการเต้น Paslop ที่เป็นการเต้นร�าแบบดั้งเดิมของประเทศลาว มีการเคลื่อนไหวอันเป็นเอกลักษณ์ มีรูปแบบในการก้าวเดนิและการเคลือ่นไหวไปในทศิทางต่างๆ ทุกๆ ด้าน ทั้งทาง ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า ด้านหลัง มีจังหวะในการย่อเข่า ยกขาและหมนุตวัในการเปลีย่นทศิทาง ซึง่ต้องอาศัยการควบคุมการทรงตัวที่ดี อาศัยความแข็งแรงของขาและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องในการควบคุมเพื่อเกิดความสมดุลตลอดการเต้นมาประยุกต์เข้ากับการฝึกความแข็งแรงของขา โดยการเพิ่มท่า Squat เข้าไปในการเต้น เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

วัตถุประสงค์กำรศึกษำ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัว และศึกษาผลเปรียบเทียบของความแขง็แรงของขาและการทรงตวัภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มในผู้สูงอายุ

วิธีกำรศึกษำ ● ประชากรและกลุม่ตวัอย่าง ประชากร ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู ้สูงอายุทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 60 - 79 ปี เป็นสมาชิกชมรมสร ้างเสริมสุขภาพผู ้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 7 ที่อาศัยอยู่ในเขตอ�าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

Page 4: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

มกราคม - มีนาคม 2561 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี36

ศูนย์แพทย์ชุมชนสามัคคีจังหวัดมหาสารคาม ทีอ่าศยัอยูใ่นเขตอ�าเภอเมอืง จงัหวดัมหาสารคาม และต ้อง เป ็นผู ้ ที่ สามารถปฏิบัติกิ จวัตร ประจ�าวันและสามารถเคลื่อนไหวได้อย่าง อิสระไม ่มีข ้อจ�ากัดที่ เป ็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวและการออกก�าลังกาย คือ ไม่มีโรคประจ�าตัว อันได้แก่ โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ เป็นต้น การก�าหนดตัวอย่างขั้นต้น พิจารณาจากการค�านวณขนาดตัวอย่างในการศึกษานี้ใช้สูตรการค�านวณขนาดตัวอย่างเพื่อเปรยีบเทยีบค่าเฉลีย่ระหว่างประชากรสองกลุม่ที่เป็นอิสระต่อกัน(6) ตามสูตรดังนี้ สูตรที่ใช้ในการค�านวณ n/กลุ่ม = โดยก�าหนดให้ หมายถึง ค่าสถิติการแจกแจงมาตรฐาน เมื่อระดับนัยส�าคัญ α=0.05 และ ตั้งสมมติฐานแบบทางเดียว เท่ากับ 1.64 หมายถึง ค่าสถิติการแจกแจงมาตรฐานเมื่อก�าหนดอ�านาจการทดสอบที่ 0.9 เท่ากับ 1.28 หมายถึง ความแปรปรวนร่วมได้จากการศกึษาของ ศนิาท แขนอก (2553) ทีไ่ด้ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู ้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุโดยท�าการศึกษาในกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน พบว่าภายหลังจากการท�าการทดลองค่าเฉลี่ยของ TUG ของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.1 วินาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.58 และกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเฉลี่ยของเวลา 16 วินาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.79 หลังจากนั้น จึงท�าการหาค่าความแปรปรวน

โดยใช้การค�านวณจากสูตร

แทนค่าในสูตรที่ 2

หมายถงึ ผลต่างของค่าเฉลีย่ (Effect size) โดยค�านวณจากผลต่างของ ค่าเฉลี่ยเวลาของ TUG หลังจากการทดลองระหว่างกลุ ่มทดลองและกลุ ่มเปรียบเทียบ ซึ่งเท่ากับ 3.4 จากนั้นแทนค่าในสูตร

จากการค�านวณขนาดตัวอย่าง ได้ผลการค�านวณคอื กลุม่ละ 16 คน รวมกลุม่ตวัอย่างทั้งสองกลุ่มเป็นจ�านวน 32 คน แต่เนื่องจากการศึกษานี้เป็นแบบเชิงทดลองจึงมีโอกาสที่กลุ ่มตัวอย่างจะมีการสูญเสียจากการศึกษา ผู้วิจัยจึงได้ท�าการค�านวณปรับขนาดของกลุ่ม ที่ใช้ในการศึกษาใหม่เพื่อให้กลุ ่มตัวอย่าง ครบตามจ�านวนที่ต้องการศึกษาโดยคิดค่า (drop out) ระหว่างการทดลองอีกร้อยละ 20 โดยใช้สูตรค�านวณหาขนาดตัวอย่าง(7)

เมื่อ n คือ ขนาดตัวอย่างที่ค�านวณ Nadj คือ ขนาดตัวอย่างที่ปรับแล้ว R คือ สัดส่วนการสูญเสียจากการศึกษา ร้อยละ 20ดังนั้นแทนค่า

บ ท ว ิท ย า ก า ร

Page 5: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 37

ดังนั้น ในการศึกษานี้ต ้องใช ้กลุ ่มตัวอย่างในทั้งสองกลุ่มจ�านวนกลุ่มละ 25 คน รวมเป็นจ�านวนทัง้หมด 50 คน แต่ในการศกึษาครั้งนี้ได้มีการปรับจ�านวนกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเป็นกลุ่มละ 30 คนเพื่อป้องกันการสุญเสียจากการศึกษา ● การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ก�าหนดให้กลุ่มทดลองเป็นสมาชิกชมรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ที่อาศัยอยู่ในเขตอ�าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มเปรียบเทียบก�าหนดให้เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุศูนย์แพทย์ชุมชนสามัคคีจังหวัดมหาสารคาม ที่อาศัยอยู่ในเขตอ�าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จากนั้น น�าจ�านวนของผู ้ที่ผ ่านตามเกณฑ์คัดเลือก มาท�าการสุ ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยการจับฉลากแบบไม่มีการแทนที่หรือใส ่คืน (sampling without replacement) เพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้ได้กลุ่มละ 30 คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ท่า Squat 50 นาท/ีครัง้ สปัดาห์ละ 3 วนั เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบจะไม่ได้รับการฝึกใดๆ ให้ปฏิบัติกิจวัตรประจ�าวัน ตามปกติ เป็นระยะเวลาที่ใช้ด�าเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ ● เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โปรแกรม การออกก�าลังกายด้วยการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่ผู ้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยใช้หลักการออกก�าลงักายแบบแอโรบคิทีม่คีวามหนกัอยูใ่นระดับกลาง โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ประกอบด้วยการยดืเหยยีดกล้ามเนือ้ส่วนต่างๆ ของร่างกายใช้เวลาโดยประมาณ 10 นาที

ระยะที ่2 ระยะออกก�าลงักาย (Exercise Training) ระยะที่ท�าการออกก�าลังกายโดยการฝึก Paslop แบบประยุกต์ใช้ท่า Squat เวลาโดยประมาณ 30 นาที ระยะที่ 3 ระยะคลายกล้ามเนื้อ (Cool Down) ประกอบด้วยการคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใช้เวลาด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประมาณ 10 นาที ● เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล - แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ น�้าหนัก ส่วนสูง - การทดสอบความสามารถในการทรงตัว Timed Up and Go Test (12) ทดสอบโดยให้อาสาสมคัรนัง่เก้าอีต้รงจดุเริม่ต้น รอฟังสัญญาณจากผู้วิจัย เมื่อได้รับสัญญาณ “เริ่ม” ให้อาสาสมัครลุกขึ้นจากเก้าอี้และเดินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�าได้เป็นระยะทาง 3 เมตร เมื่อครบ 3 เมตรให้อาสาสมัครกลับตัวตรงจุด ที่ผู้วิจัยได้ท�าเครื่องหมายไว้แล้วเดินกลับมายังจุดเริ่มต้นและนั่งบนเก้าอี้บันทึกเวลาที่ได้ในการทดสอบ - การวัดความแข็งแรงของขา 30 second chair stand test(8) ทดสอบโดยให้อาสาสมัครนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง ล�าตัวตรง เท้าวางราบกับพื้น แขนวางไขว้กันที่หน้าอก รอฟังสัญญาณจากผู้วิจัย ผู้วิจัยให้ค�าสั่ง “เริ่ม” ให้อาสาสมัครลุกขึ้นยืนและนั่งสลับกันบนเก้าอี้ ท�าซ�้าจนครบ 30 วินาที บันทึกจ�านวนครั้งที่อาสาสมัครสามารถปฏิบัติได้ ● การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การเปรียบเทียบความแตกต่างความแข็งแรง ของขา และการทรงตัวก่อนการฝึกและหลังฝึกสัปดาห์ที่ 8 ภายในกลุ ่มทดลองและกลุ ่ม เปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Pair t-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างความแข็งแรงของขา และการทรงตัวก่อนการ

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Page 6: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

มกราคม - มีนาคม 2561 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี38

ฝึกและหลงัฝึกสปัดาห์ที ่8 ระหว่างกลุม่ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent sample t - test ก�าหนดความมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลกำรศึกษำ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยกุต์ทีม่ต่ีอความแข็งแรงของขา และการทรงตัวใน ผู้สูงอายุ โดยกลุ ่มตัวอย่างเป็นผู ้สูงอายุทั้ง เพศชายและเพศหญงิทีม่อีายรุะหว่าง 60–79 ปี โดยก�าหนดให้กลุ่มทดลองเป็นสมาชิกชมรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศูนย์อนามัยที่ 7 ที่อาศัยอยู่ในเขตอ�าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มเปรียบเทียบก�าหนดให้เป็นสมาชิกชมรมผูส้งูอายศุนูย์แพทย์ชมุชนสามคัคจีงัหวดัมหาสารคาม ที่อาศัยอยู่ในเขตอ�าเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม จากนั้นน�าจ�านวนของ ผู ้ที่ผ ่านตามเกณฑ์คัดเลือกมาท�าการสุ ่ม อย่างง่าย (simple random sampling) ด้วยการจบัฉลากแบบไม่มกีารแทนทีห่รอืใส่คนื (sampling without replacement) เพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างให้ได้กลุ่มละ 30 คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ท่า Squat 50 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบจะไม่ได้รับการฝึกใดๆ ให้ปฏิบัติกิจวัตรประจ�าวันตามปกติ เป็นระยะเวลาที่ใช้ด�าเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาในผู้สูงอายุ จากภาพที่ 1 และภาพที่ 2 แสดง ให้เห็นว ่าการออกก�าลังกายด้วยการเต้น Paslop แบบประยุกต์เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของ

ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การเต้น Paslop แบบประยุกต์ สามารถ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แต่กลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุ จากภาพที่ 3 และภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่าการออกก�าลังกายด้วยการเต้น Paslop แบบประยกุต์เป็นระยะเวลา 8 สปัดาห์ โดยการท�าสอบความสามารถในการทรงตัว Timed Up and Go Test ในกลุ่มทดลอง พบว่า ระยะเวลาในลกุขึน้จากเก้าอีแ้ละเดนิให้เรว็ทีส่ดุเท่าที่จะท�าได้เป็นระยะทาง 3 เมตร มีระยะเวลาน้อยลง ซึ่งแสดงได้ว่าผู ้สูงอายุที่ได้รับโปรแกรมการออกก�าลังกายด้วยการเต ้น Paslop แบบประยุกต์ มีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่กลุ่มเปรียบเทียบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ

อภิปรำยผล ผลการฝกึเต้น Paslop แบบประยกุตใ์ช้ท่า Squat เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ท�าให้ความแขง็แรงของขาและการทรงตวัในผูส้งูอายุดีขึ้นหลังจากได้รับการฝึก ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาผลของการเต ้นร�าที่มีต ่อความ แขง็แรงของขาและการทรงตวั การเต้นร�าจงัหวะ Paslop เป็นการเต้นร�าพื้นบ้านที่มีรูปแบบของการเคลื่อนไหวในทุกทิศทาง มีการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างอย่างต่อเนือ่ง มจีงัหวะ ท่าทาง ซึง่ต้องอาศยัความแขง็แรงของกล้ามเนือ้ขาและอาศัยการทรงตัวที่ดี(9) และการเต้น Paslop แบบประยุกต์ใช้ท่า Squat เป็นรูปแบบการ ออกก�าลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อขา และมีแรงต้าน

บ ท ว ิท ย า ก า ร

Page 7: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 39

จากน�้าหนักตัว จึงท�าให้ความอ่อนตัว ความอดทน ความคล่องแคล่วว่องไว การประสานงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ซึ่งส่งผลให้มสีมรรถภาพทางกายทีด่ขีึน้ และยงัเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาสามารถป้องกันการหกล้มได้(3) และยังมีหลายงานวิจัยที่ศึกษาการออกก�าลังกายด้วยยางยืด และการ

ภาพที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความแข็งแรงของขา ระหว่างกลุ่ม ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8

** มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ภาพที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความแข็งแรงของขาก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ

** มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ฝึกด้วยน�้าหนักของร่างกาย 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งในโปรแกรมของการฝึกด้วยยางยืด และการฝึกด้วยน�้าหนักของร่างกายมีการใช้ท่า Squat ที่ เป ็นท ่าส�าหรับฝ ึกความแข็งแรงของขา ผลพบว ่าความแข็งแรงของกล ้ามเนื้อขา เพิ่มขึ้น(4) ซึ่งมีศึกษาการออกก�าลังกายด้วย

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Page 8: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

มกราคม - มีนาคม 2561 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี40

ยางยืด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในผู้สูงอายุ พบว่าในการออกก�าลังกายด้วย ยางยืดสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ขาได้ โดยการฝึกยางยดื และมกีารใช้ท่า Squat เช่นเดียวกัน พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ขาเพิม่ขึน้หลงัจากการฝึกภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์(10) นอกจากนี้ยังมีผล การศกึษา ผลของการฝึกชกิง (กวงอมิจือ้ไจ้กง)

ที่มีการเคลื่อนไหวต ่อเนื่องตลอดการฝ ึก ใช้เสียงดนตรีประกอบกับจังหวะ โดยมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับการเต้น Paslop ที่มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องและใช้เสียงดนตรีประกอบจังหวะเช่นกัน หลังจากท�าการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ความแข็งแรงของขาและ การทรงตัวของผู ้สูงอายุดีขึ้นหลังการฝึก(11)

การศึกษาผลของการออกก�าลังกายด ้วย

ภาพที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความสามารถในการทรงตัว ระหว่าง กลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8

** มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ภาพที่ 4 แสดงผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความสามารถในการทรงตัว ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ

** มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

บ ท ว ิท ย า ก า ร

Page 9: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH January - March 2018 41

การเต้นบาสโลบ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า ความแข็งแรงขาและการทรงตัวดีขึ้น(4) และ ยังมีผลการศึกษาการออกก�าลังกายโดย การเต้นร�าจังหวะ Paslop ในผู้สูงอายุ 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่งผลให้ความสามารถในการทรงตัวของผู ้สูงอายุเพิ่มขึ้น หลังได้รับการฝึก(3) ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชัดเจนว่าการออกก�าลังกายด้วยการเต้น Paslop แบบประยุกต์ท่า Squat ที่ให้กับกลุ่มทดลองเหมาะสมและสามารถเพิม่ความแขง็แรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ และยังแสดงให้เห็นว่าการที่ไม่อออกก�าลังกายท�าให้ความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขา และการทรงตัวลดลง ข้อเสนอแนะในกำรวิจัย

1. จากผลการศกึษาครัง้นีท้�าให้ทราบว่า โปรแกรมเต้น Paslop แบบประยุกต์สามารถช่วยท�าให้ผู ้สูงอายุมีความแข็งแรงของขา และการทรงตัวที่ดีขึ้นได้จริง ดังนั้นควรมี

การสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู ้สูงอายุมีการ ออกก�าลังกายโดยใช้โปรแกรมเต้น Paslop แบบประยุกต์เพื่อเป็นกิจกรรมในการส่งเสริม สุขภาพและช่วยลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ 2. ในการศึกษาครั้งนี้ได้มุ ่งเน้นความส�าคัญไปที่ผลของความแข็งแรงของและ การทรงตัวเท่านั้น ซึ่งในการศึกษาต่อไป ควรน�าการเต้น Paslop ไปทดลองเพื่อศึกษา ผลอื่นๆ ด้วย เช่น ผลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผลต่อความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, อารมณ์, ความพึงพอใจ หรือผลต่อสมรรถภาพทางกายด้านอืน่ๆ ด้วย เพือ่เพิม่เตมิ ความรูแ้ละผลทีเ่กดิขึน้ต่อสมรรถภาพด้านอืน่ๆ 3. เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ มีระยะเวลาในการศึกษาค่อนข้างสั้น โดยใช้เวลาเพียง 8 สัปดาห์เท่านั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และผลที่แม่นย�ามากขึ้น จึงควรเพิ่มระยะเวลาในการฝึกให้มากขึ้น

เอกสำรอ้ำงอิง

1. ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง; 2557. หน้า 28.2. ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี และคณะ. ยากันล้มคู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2558. หน้า 6.3. อธิพงศ์ พิมพ์ดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการออกก�าลังกายโดยการเต้นร�าจังหวะ Paslop เพื่อป้องกัน การหกล้มในหญิงไทยก่อนวัยสูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ].บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.4. วิลาวัลย์ กันหาชน. ผลระยะสั้นของการเต้นบาสโลบในอาสาสมัครสุขภาพดีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แกนกลางล�าตัวการทรงตัวและความยืดหยุ ่นของร่างกาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบ�าบัด]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.5. วิไลลักษณ์ ปักษา. ผลการฝึกด้วยน�้าหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต ่อความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุ. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.

ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบประยุกต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Page 10: ผลของโปรแกรมการเต้น Paslop แบบ ...advisor.anamai.moph.go.th/.../HEALTH_Vol41No1_03.pdf · 2018-08-01 · thailand journal of health promotion

มกราคม - มีนาคม 2561 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี42

H E A L T H

6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติส�าหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและ ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.7. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาธรรมวิทยา; 2550.8. กองออกก�าลังกายเพื่อสุขภาพ. การทดสอบความพร้อมในการปฏิบัติกิจวัตรประจ�าวันของผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552. หน้า 16.9. กริชเพชร นนทโคตร.ผลการฝึกชิกงที่มีต่อความแข็งแรงของขาและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ ์ ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.10. สมฤทัย พุ ่มสลุดและศศิมา พกุลานนท์. ผลของการออกก�าลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถ ในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ก�าแพงแสน ครั้งที่ 9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�าแพงแสน; 2555. หน้า 2385–93.11. ศุภลักษณ์ เสือพล. ผลของการฝึกชิกง(กวงอิมจื้อไจ้กง)ที่มีต่อการทรงตัวความแข็งแรงและความจุปอด. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.12. Podsiadlo D., Richardson S. The timed “Up & Go”: a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society 1991;39:142-48.

บ ท ว ิท ย า ก า ร