9
114 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีท่ 1 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554-พฤษภาคม 2554 ISSN 2228-8007 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีองค์การ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี* Relation between organization management, organizational commitment and organizational citizenship behavior of staffs: A case study of private university in Mung, Chonburi province นรีกานต์ อรรคอุดม** Nareekarn Akaudom บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2. ศึกษาความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 3. ศึกษาพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 4. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 5. เปรียบเทียบความ ผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนก ตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 6. เปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ *วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2553 **นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

Relation between organization management, organizational ... · The level of staff organization management, organizational commitment and organizational citizenship behavior were

  • Upload
    others

  • View
    15

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

114 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: กรณีองค์การ

มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี* Relation between organization management, organizational

commitment and organizational citizenship behavior of staffs: A case study of private university in Mung, Chonburi province

นรีกานต์ อรรคอุดม** Nareekarn Akaudom

บทคัดย่อ งานวจิยันีม้วีตัถปุระสงคเ์พือ่ 1.ศกึษาความคดิเหน็เกีย่วกบัการบรหิารจดัการองคก์ารของ

บคุลากรมหาวทิยาลยัเอกชนในเขตอำเภอเมอืงจงัหวดัชลบรุี2.ศกึษาความผกูพนัตอ่องคก์าร

ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี3.ศึกษาพฤติกรรมการเป็น

สมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 4.

เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน

ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีจำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์5.เปรียบเทียบความ

ผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนก

ตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ 6. เปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ

*วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรีปีการศึกษา2553

**นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี

115สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามข้อมูลด้าน

ประชากรศาสตร์ 7. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับพฤติกรรมการ

เป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ 8. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับความ

ผูกพันต่อองค์การ 9. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ กับพฤติกรรมการ

เป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดชลบุรีจำนวนทั้งสิ้น175คนวิธีรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดสถิติที่ใช้

ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าคะแนนที

(t-test)วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(one-wayanalysisofvariance)การทดสอบ

ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีLSDและค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า

1.บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ

การบริหารองค์การ มีความผูกพันต่อองค์การและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2.บุคลากรที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหาร

จัดการองค์การโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเรื่องความ

ผูกพันต่อองค์การโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ

ตำแหน่ง โดยพบว่าบุคลากรที่มีอายุ 25-30 ปี มีความผูกพันต่อองค์การมากกว่าบุคลากรที่มี

อายุต่ำกว่า25ปีและบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานมีความผูกพันต่อองค์การมากกว่า

บุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่

3.บุคลากรที่มีข้อมูลด้านประชากรศาสตร์แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อ

องค์การโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา

ตำแหน่ง พบว่าบุคลากรที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ

องค์การมากกว่าบุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่ง

อาจารย์มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมากกว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานตำแหน่ง

เจ้าหน้าที่

4.การบริหารจัดการองค์การ มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ และมีความ

สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติที่ระดับ.05

5.ความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

อยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

คำสำคญั: การจดัการองคก์าร,ความผกูพนัตอ่องคก์าร,พฤตกิรรมการเปน็สมาชกิ,มหาวทิยาลยั

เอกชน

116 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ABSTRACT Theresearchwastoexaminefactorsfourmainaspectsasfollow.1.Tostudythelevel

oforganizationmanagement,organizationalcommitmentandorganizationalcitizenshipbehaviorof

privateuniversitystaffs.2.Tostudythecorrelationbetweentheorganizationmanagementand

the organizational commitment. 3. To study the correlation between the organization

managementand theorganizationalcitizenshipbehavior. 4.Tostudy thecorrelationbetween

theorganizationalcitizenshipbehaviorandtheorganizationalcommitment.Theresearchsample

comprisedof175inprivateuniversityinMuang,ChonburiProvince.Theresearchtoolconsisted

ofaclose-endedquestions.Thestatisticaltechniquesusedwerefrequency,percentage,mean,

standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, LSDcomparison andPearsonproduct

momentcorrelation.

Theresultsofthestudyfoundthat:

1.The level of staff organization management, organizational commitment and

organizationalcitizenshipbehaviorwereatthehighlevel.

2.Private university staff inMuang, Chonburi Provincewho had different gender, age,

education,positionsandworkexperiencewerenotdifferentintheorganizationmanagementas

awholewithstatisticalsignificanceatthelevelof.05.

3.Private university inMuang, Chonburi Provincewho had different age and positions

weredifferent in theorganizationalcommitmentasawholewithstatisticalsignificanceat the

levelof.05.Theageof25–30yearsoldgroupwasmorecommitmentedthantheunder25

yearsoldandtheemployeesweremorecommitmentedthantheofficers.

4.Private university in Muang, Chonburi Province who had different education and

positions were different in the organizational citizenship behavior among as a whole with

statistical significance at the level of .05. The above bachelor degree group had more

organizationalcitizenshipbehaviorthanbachelordegreeandinstructorshadmoreorganizational

citizenshipbehaviorthanofficers.

5.The organization management and organizational commitment were positively related

atastatisticalsignificanceatthelevelof.05.

6.The organization management and organizational citizenship behavior were positively

relatedatastatisticalsignificanceatthelevelof.05.

7.The organizational commitment and organizational citizenship behaviorwere positively

117สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

relatedatastatisticalsignificanceatthelevelof.05

Keywords:organizationmanagement.organizationalcommitment.organizationalcitizenship

behavior.privateuniversity.

บทนำ การศึกษาถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความ

รู้ความสามารถของมนุษย์เราให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติ และการศึกษายังช่วย

พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้ให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนเรื่องการ

ศึกษามาโดยตลอดแต่เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอจึงไม่สามารถให้บริการด้านการ

ศึกษาได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้สถาบัน

การศึกษาเอกชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการให้บริการด้านการศึกษามากขึ้น ในการ

ดำเนินการของมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐหรือเอกชนต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน โดยแต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกัน เช่นการสอน

การสนับสนุนด้านการศึกษาดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นที่จะต้องรักษาบุคลากรไว้ให้คงอยู่กับ

องค์การนานที่สุด ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น การบริหารจัดการองค์การ การจัดการ

ทรัพยากรมนุษย์ และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการ

ทรัพยากรมนุษย์ เพราะคนคือทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ มนุษย์มีทัศนคติที่แตก

ต่างกันจึงทำให้มีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อองค์การแตกต่างกัน ถ้าคนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ

พฤติกรรมในการปฏิบัติงานก็จะดี ทำงานอย่างขยันขันแข็ง มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงานโดยไม่

คำนึงถึงผลประโยชน์ของตน หรือมีความผูกพันต่อองค์การสูง อัตราการขาดงานและการลา

ออกก็จะลดลงในทางตรงกันข้ามคนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อองค์การจะมีพฤติกรรมการทำงานแบบ

เฉื่อยชา ทุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความผูกพันต่อองค์การต่ำก็จะแสวงหาองค์การแห่งใหม่ ทำให้

องค์การสูญเสียบุคลากรที่มีคุณภาพนำไปสู่ปัญหาที่เรียกว่าสมองไหล (brain drain)นั่นเอง

(ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2545) เนื่องจากการลาออกมีผลกระทบต่อองค์การ เช่น สูญเสีย

ค่าใช้จ่ายในการสรรหาคัดเลือก ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และเกิดภาพพจน์ไม่ดีต่อองค์การ

(สกาวรัตน์อินทุสมิต,2543,หน้า22-24)ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความคิดเห็นเกี่ยว

กับการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ

องค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีจะได้นำข้อมูลเสนอ

ผู้บริหารเพื่อพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุงและส่งเสริมให้บุคลากรมีทัศนคติ

ที่ดีต่อองค์การมีความผูกพันต่อองค์การและมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เพื่อ

ส่งผลให้การปฏิบัติงานของบุคลากรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

118 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ

และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอ

เมืองจังหวัดชลบุรี

2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อ

องค์การพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขต

อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีจำแนกตามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ได้แก่ เพศอายุระดับการ

ศึกษาระยะเวลาการปฏิบัติงานและตำแหน่ง

3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับความผูกพันต่อองค์การ

ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

4.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การกับพฤติกรรมการเป็น

สมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

5.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่

ดีต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี

สมมติฐานของการวิจัย สมมติฐานที่1บุคลากรที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ได้แก่เพศอายุระดับการศึกษา

ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และตำแหน่ง แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการ

องค์การแตกต่างกัน

สมมติฐานที่ 2 บุคลากรที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการ

ศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และตำแหน่ง แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่าง

กัน

สมมติฐานที่ 3 บุคลากรที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการ

ศึกษา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และตำแหน่ง แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ

องค์การแตกต่างกัน

สมมติฐานที่4การบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ

สมมติฐานที่5การบริหารจัดการองค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่

ดีขององค์การ

สมมติฐานที่ 6 ความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี

ขององค์การ

119สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดชลบุรีจำนวน293คนใช้สูตรหากลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง169

คน เพื่อเป็นผลดีต่องานวิจัยจึงเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างเป็น จำนวน 175 คน และใช้วิธีการสุ่ม

ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(stratifiedrandomsampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1.

สอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ 2. สอบถามเกี่ยวกับ

ปัจจัยด้านการบริหารจัดการองค์การ 3. สอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การ 4. สอบ

ถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert scale)

แบ่งเป็น5ระดับ

ผลการวิจัย ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากร

มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จำนวน175คน เป็นเพศหญิงจำนวน

116 คน (ร้อยละ 66.3) เพศชาย จำนวน 59 คน (ร้อยละ 33.7) มีอายุต่ำกว่า 25 ปี

จำนวน6คน(ร้อยละ3.4)อายุ25-30ปีจำนวน36คน(ร้อยละ20.6)อายุ31-35ปี

จำนวน54คน(ร้อยละ30.9)และอายุ36ปีขึ้นไปจำนวน79คน(ร้อยละ45.1)มีการ

ศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 30 คน (ร้อยละ 17.1) ระดับปริญญาตรี จำนวน 72 คน

(ร้อยละ41.1)และสูงกว่าปริญญาตรีจำนวน73คน(ร้อยละ41.7)มีระยะเวลาการปฏิบัติ

งานต่ำกว่า5ปีจำนวน1คน(ร้อยละ29.1)ระยะเวลา5-10ปีจำนวน44คน(ร้อยละ

25.1)และระยะเวลา10ปีขึ้นไปจำนวน80คน(ร้อยละ45.7)และมีตำแหน่งงานเป็นพนัก

งานจำนวน17คน(ร้อยละ9.7)เป็นเจ้าหน้าที่จำนวน96คน(ร้อยละ54.9)และเป็น

อาจารย์จำนวน62คน(ร้อยละ35.4)

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การของ

บุคลากรโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์

ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

ส่วนที่ 3 ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร พบว่าบุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การ

โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

ส่วนที่ 4 พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ พบว่าบุคลากรมีพฤติกรรมการเป็น

สมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

120 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

ส่วนที่ 5การทดสอบสมมติฐาน

สมมติฐานที่1บุคลากรที่มีเพศอายุระดับการศึกษาระยะเวลาการปฏิบัติงานและ

ตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์การโดยรวมและรายด้าน

แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

สมมติฐานที่ 2 บุคลากรที่มีเพศระดับการศึกษาและระยะการปฏิบัติงานแตกต่างกัน

มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน

บุคลากรที่มีอายุและตำแหน่งแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การโดยรวมแตกต่างกันอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

สมมติฐานที่ 3 บุคลากรที่มีเพศ อายุ และระยะการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มี

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งแตกต่างกัน มีพฤติกรรม

การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่

ระดับ.05

การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ

และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

สมมติฐานที่ 4 ความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

สมมติฐานที่ 5 ความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอยู่

ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

สมมติฐานที่ 6 ความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็น

สมาชิกที่ดีขององค์การอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ข้อเสนอแนะ 1. ด้านลักษณะงาน ควรส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาหรือฝึกอบรม

หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้รู้สึกว่าองค์การให้ความสำคัญ ซึ่งอาจไม่ได้อยู่ในรูป

ของตัวเงินแต่เป็นความรู้ที่ทำให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นหรือเพื่อให้มีโอกาสก้าวหน้าในงานที่ทำอาจ

จะเลื่อนตำแหน่งในสายงาน(careerpath)โดยการจัดสอบทั้งนี้ควรให้เปิดโอกาสให้มีอิสระใน

การใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆในการทำงานตามขอบเขตที่ได้รับ

มอบหมาย ส่งเสริมให้ทำงานเป็นทีมโดยเฉพาะหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อลดช่องว่าง

ของการทำงานเป็นการระดมความคิดและเป็นการกระจายความรับผิดชอบ

2. ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ควรมีเกณฑ์พิจารณาการปรับขึ้นเงินเดือนให้เป็น

121สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

มาตรฐาน และควรประกาศให้ทุกคนได้รับทราบเพื่อความยุติธรรมในการประเมินผล ส่วนเรื่อง

การสรรหาบุคลากรควรกำหนดระยะเวลาการรับบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน เพื่อให้กระบวนการใน

การสรรหาในแต่ละขั้นตอนเหมาะสมและเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ควรให้บุคลากรภายในได้

เรียนรู้งานหรือมีการหมุนเวียนงาน (job rotation) เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้

จะทำให้การดำเนินงานต่อเนื่องหากมีอัตราว่างลง

3. ด้านภาวะผู้นำ ควรปลูกฝังส่งเสริมให้หัวหน้างานได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการ

เป็นหัวหน้างานภาวะผู้นำ หรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้หัวหน้างานมี

ความรู้ความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ จะทำให้ปัญหาด้านการบริหารงานและบริหารคน

ลดลง

4. ด้านบรรยากาศองค์การ ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

หน่วยงานให้มีความร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย ควรส่งเสริมให้บุคลากรจัดทำกิจกรรม 5 ส.

อย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน

จากการศึกษาความผูกพันต่อองค์การ พบว่า บุคลากรมีความผูกพันต่อมหาวิทยาลัยอยู่

ในระดับมาก เพื่อให้บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การต่อไป ควรมอบหมายหน้าที่ความรับผิด

ชอบให้มีความเหมาะสมโดยพิจารณาถึงความรู้ความสามารถของบุคลากร ให้ได้ปฏิบัติงานที่

ตนเองมีความถนัดและชอบ ควรสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร ดูแลเอาใจใส่ในความเป็นอยู่

ของบุคลากร ให้ความช่วยเหลือ ให้โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพื่อให้บุคลากรเกิดความ

จงรักภักดีรู้สึกว่ามีความอบอุ่นที่ได้ปฏิบัติงานกับองค์การนี้

จากการศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การพบว่า บุคลากรมีพฤติกรรมการ

เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมและด้านสำนึกในหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือด้านการ

มีส่วนร่วมในองค์การ ด้านการอดทนอดกลั้น และด้านการคำนึงถึงผู้อื่น อยู่ในระดับมาก จึง

ควรส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่ดีต่อองค์การต่อไป โดยการปลูกจิตสำนึกให้มีความ

สัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรด้วยกัน เช่น จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคี

เพื่อลดช่องว่างในการทำงาน และการทำงานที่เป็นงานส่วนรวมควรเน้นเรื่องความร่วมมือจาก

บุคลากรมีการมอบรางวัลสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานดีสร้างชื่อเสียงให้แก่องค์การเพื่อให้บุคลากร

ที่ได้รับรางวัลรู้สึกว่าองค์การให้ความสำคัญ ให้เกียรติ และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนอื่น ๆ

ปฏิบัติตาม

122 สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี ปีที่1ฉบับที่3กุมภาพันธ์2554-พฤษภาคม2554ISSN2228-8007

บรรณานุกรม ณัฎฐพันธ์เขจรนันทน์.(2545).การจัดการทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐยาไพรสงบ.(2546).ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อ

องค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานผลิต

อาหารวา่งแหง่หนึง่.วทิยานพินธว์ทิยาศาสตรมหาบณัฑติสาขาวชิาจติวทิยาอตุสาหกรรม,

บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธานนิทร์ศลิปจ์าร.ุ(2551).การวจิยัและวเิคราะหข์อ้มลูทางสถติดิว้ย SPSS(พมิพค์รัง้ที่9).

กรุงเทพฯ:บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ลออจิตอิงเจริญสุนทร.(2545).การลาออกของพนักงานในธุรกิจโรงแรม: ศึกษาเฉพาะ

กรณีโรงแรมอมารี เอเทรียม กรุงเทพฯ.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารทั่วไป,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

สกาวรัตน์อินทุสมิต.(2543).การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ และ

ความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน: กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

วทิยานพินธว์ทิยาศาสตรมหาบณัฑติ สาขาวชิาจติวทิยาการอตุสาหกรรม, บณัฑติวทิยาลยั

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Allen,NatalieJ.,&Meyer,JohnP.(1991).Athree-componentconceptualization

oforganizationalcommitment.Human Resource Management Review, 1(1),

pp.61-89.

Bolon,DouglasS.(1993).Beyond job satisfaction. A multidimensional

investigation of relationship between organizational commitment and

organizational citizenship behavior(Online).Abstractfrom:http://

proquest.umi.com/pqdweb?index=109&did=746996621&SrchMode=1&sid=5&

Fmt=2[2009,August14].

Organ,DennisW.,Podsakoff,PhilipM.,&MacKenzie,ScottB.(2005).Organizational

citizenship behavior: It’s nature, antecedents, and consequences.

London:Sage.

Podsakoff,PhilipM.,Ahearne,Michael,&MacKenzie,ScottB.(1997).Organizational

citizenshipbehaviorandthequantityandqualityofworkgroupperformance.

Journal of Marketing Research, 82(2),pp.262-270.