44

Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 2: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 3: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 4: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 5: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 6: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 7: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

1. ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน

2. ความเป็นมาของอาเซียน

3. กฎบัตรอาเซียน

4. ประชาคมอาเซียน

5. ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

5.1อาเซียน-ออสเตรเลีย

5.2อาเซียน-นิวซีแลนด์

5.3อาเซียน-ญี่ปุ่น

5.4อาเซียน-จีน

5.5อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี

5.6อาเซียน-อินเดีย

5.7อาเซียน-แคนาดา

5.8อาเซียน-สหรัฐอเมริกา

5.9อาเซียน-รัสเซีย

5.10อาเซียน+3(จีนญี่ปุ่นเกาหลี)

5.11การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

5.12อาเซียน-สหภาพยุโรป

5.13อาเซียน-สหประชาชาติ

2

4

7

8

12 13 14 16 18 19 21 23 25 27 29 31 33

สารบัญ

con t e n t s

ภาพวาดประกอบ : จากภาพวาดสีน้ำของอาจารย์ทวีพงษ์ ลิมาภรณ์วณิชย์

Page 8: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �

บรูไนดารุสซาลาม(BRUNEIDARUSSALAM)

เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน

วันชาติ 23 กุมภาพันธ์

สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน

วันเข้าร่วมอาเซียน 7 มกราคม 2527

ราชอาณาจักรกัมพูชา(THEKINGDOMOFCAMBODIA)

เมืองหลวง กรุงพนมเปญ

วันชาติ 9 พฤศจิกายน

สกุลเงิน เรียล

วันเข้าร่วมอาเซียน 9 เมษายน 2542

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย(THEREPUBLICOFINDONESIA)

เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา

วันชาติ 17 สิงหาคม

สกุล รูเปียห์

วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(THELAOPEOPLE’SDEMOCRATICREPUBLIC)

เมืองหลวง เวียงจันทน์

วันชาติ 2 ธันวาคม

สกุลเงิน กีบ

วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540

มาเลเซีย(MALAYSIA)

เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์

วันชาติ 31 สิงหาคม

สุกลเงิน ริงกิต

วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน

Page 9: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

(THEREPUBLICOFTHEUNIONOFMYANMAR)

เมืองหลวง เนปิดอว์ วันชาต ิ 4 มกราคม สกุลเงิน จั๊ต วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540

สาธารณรฐัฟลิปิปนิส์(THEREPUBLICOFTHEPHILIPPINES)

เมืองหลวง กรุงมะนิลา วันชาต ิ 12 มิถุนายน สกุลเงิน เปโซ วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

สาธารณรัฐสิงคโปร์(THEREPUBLICOFSINGAPORE)

เมืองหลวง สิงคโปร์ วันชาต ิ 9 สิงหาคม สกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์ วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

ราชอาณาจักรไทย(THEKINGDOMOFTHAILAND)

เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร วันชาต ิ 5 ธันวาคม สกุลเงิน บาท วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

(THESOCIALISTREPUBLICOFVIETNAM)

เมืองหลวง กรุงฮานอย วันชาต ิ 2 กันยายน สกุลเงิน ด่ง วันเข้าร่วมอาเซียน 28 กรกฎาคม 2538

ASEAN Mini Book

Page 10: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �

ความเป็นมาของอาเซียน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast

Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยการริเริ่มของสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย

มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม

มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส

(รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์)

และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศ

ต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติมได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2527)

เวียดนาม (วันที่ 28 กรกฎาคม 2538) ลาว และพม่า (วันที่ 23 กรกฎาคม 2540)

และกัมพูชา (เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก

ทำให้อาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

ในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร

อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการยกระดับรายได้ความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อวาง

รากฐานความรุ่งเรืองให้กับอาเซียน

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสี

ขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง

ความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน

หมายถึงสันติภาพและความมั่นคง

นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับ

หัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอด

(ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับ

สูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกัน

ประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฎเป็นเอกสารในรูปแบบ

ต่างๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา

Page 11: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �

(Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมใน

ระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม

และนโยบายเฉพาะด้าน

ด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนได้จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเซีย

ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace,

Freedom and Neutrality-ZOPFAN) ในปี 2514 จัดทำสนธิสัญญามิตรภาพและความ

ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southease

Asia -TAC) ในปี 2519 และจัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone-SEANWFZ)

ในปี 2538 รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความ

มั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum-ARF) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ

จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อปี 2537

ด้านเศรษฐกิจ อาเซียนได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free

Trade Area-AFTA) ในปี 2535 เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเพื่อช่วยส่งเสริม

การค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้า และดึงดูดการลงทุน

จากต่างประเทศ กับทั้งได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้การรวมตัวทาง

เศรษฐกิจสมบูรณ์แบบและมีทิศทางชัดเจนด้วยการจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน (ASEAN

Investment Area-AIA) ด้านสังคม อาเซียนมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional

cooperation) ในประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน เพื่อให้

ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานในกรอบอาเซียน

ประกอบด้วย 1) สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศ

อินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน

(Secretary-General of ASEAN) เปน็หวัหนา้สำนกังาน ทีผ่า่นมาผูแ้ทนจากประเทศไทยดำรง

ตำแหนง่เลขาธกิารอาเซยีนแลว้ 2 ทา่น คอื ฯพณฯ นายแผน วรรณเมธ ีระหวา่งป ี2527-2529

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ระหวา่งป ี2551-2555 2) สำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ หรือ ASEAN

Page 12: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �

National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของ

ประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดำเนินงานใน

ประเทศนั้น 3) สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการ

ต่างประเทศและคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent

Representatives-CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งมา

จากประเทศสมาชิก โดยมีภารกิจในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคม

อาเซียนและองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับสำนัก

เลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของ

อาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำ

อาเซียนและมีคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา

ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ เต็มไปด้วยความท้าทาย ทำให้โลกและการ

เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศสมาชิกเห็นพ้องกันที่จะ

กระชับความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพในการร่วมมือแก้

ปัญหาและความท้าทายตลอดจนเพื่อความสร้างความแข็งแกร่งและอำนาจต่อรองให้กับ

ประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้น ผู้นำอาเซียนจึงได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความ

ร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II)

เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020)

โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน โดยในด้านการเมืองให้

จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEAN Political-Security

Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN

Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคม

และวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมา ผู้นำ

อาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี

คือภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจาก ได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่าง

รวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์

ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

Page 13: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่สิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้

ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทาง

กฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตาม

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคม

อาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของ

กฎบัตรฯ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรฯ ยังทำให้อาเซียนมีสถานะ

เป็นนิติบุคคล ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)

กฎบัตรฯ ประกอบด้วยข้อบทต่างๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความ

ก้าวหน้าของอาเซียนได้แก่ (1) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย

สิทธิมนุษยชน (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความ

ตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ ระหว่างประเทศ

สมาชิก (4) การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตาม

กฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ

(6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผล

ประโยชน์ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่น

มากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อ

สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์

กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรี

เพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำ

อาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่

ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน

ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์- 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุม

ระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

Page 14: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �

ประชาคมอาเซียน

(ASEAN Community)

สืบเนื่องจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of

ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN

Community) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งต่อมา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการ

รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือภายในปี 2558 (ค.ศ.2015)

เนื่องจากได้เล็งเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้อง

ปรับตัวเพื่อให้คงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความ

ต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

Page 15: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community)

อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้าง

และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกัน

อย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี

เพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประเทศสมาชิกได้

ร่วมจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN

Political-Security Community Blueprint) โดยเน้น 3 ประการ คือ 1) การมีกฎเกณฑ์และ

ค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบ

สังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการ

ทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครอง

สิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านทุจริต

การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น 2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบ

ร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความ

ร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม ซึ่งหมายถึง มาตรการสร้างความไว้เนื้อ

เชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียน

อยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือเพื่อ

ต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ

ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติ

และภัยธรรมชาติ และ 3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก กำหนดกิจกรรมเพื่อ

เสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบ ASEAN+3 กับจีน

ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่

เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

Page 16: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ 10

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Economic Community)

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในป ี2558 มีเป้าหมายให้อาเซียน

เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และ

แรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรียิ่งขึ้น โดยมีแผนงานการจัดตั้ง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) เป็นแผน

บูรณาการการดำเนินงานให้ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค ์4 ด้าน คือ 1) การเป็น

ตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าในอาเซียนลงเหลือ 0-5%

เปิดเสรีธุรกิจบริการให้นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ 70% ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี

และอุปสรรคในการประกอบธุรกิจบริการ ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของนักลงทุน

อาเซียน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินทางของบุคคลสัญชาติอาเซียน ในการค้า

การลงทุน และการประกอบวิชาชีพขั้นสูง เปิดตลาดภาคบริการและเปิดเสรีการลงทุน

ภายในปี 2558 และเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553 2) การสร้างขีดความสามารถในการ

แข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วย

ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิใน

ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้าง

พื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) 3) การพัฒนาเศรษฐกิจ

อย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการ

เสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน

(Initiative for ASEAN Integration-IAI) เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ระหว่างประเทศสมาชิก และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสาน

นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกัน

อย่างชัดเจน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เป็นต้น

รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับ

เศรษฐกิจโลก

Page 17: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book 11

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio-Cultural Community)

อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี

ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความ

ร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ภายใต้ประเด็นเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่

ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิ

มนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัด

ความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน

การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน โดยมี

คณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

อาเซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี 2558

โดยมุ่งหวังในเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ

ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์

อาเซียน (ASEAN Identity)

เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนได้จัดทำแผน

งานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural

Community Blueprint) ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) (2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social

Welfare and Protection) (3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and

Rights) (4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) (5) การสร้าง

อัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) (6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

(Narrowing the Development Gap) โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมราย

สาขา (Sectoral) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) และระดับรัฐมนตรี

(Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-

Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม

(Senior Officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community)

Page 18: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ 1�

ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย

ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ได้สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในฐานะ

ประเทศคู่เจรจาเมื่อปี 2517 (ค.ศ. 1974) และดำเนินความสัมพันธ์กันอย่างราบรื่นและรอบ

ด้านตลอดมา โดยมีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษในปี 2547 ณ เวียงจันทน์ เพื่อฉลองความ

สัมพันธ์ครบรอบ 30 ปี (ASEAN-Australia and New Zealand Commemorative

Summit) นอกจากนั้น อาเซียน-ออสเตรเลีย ได้มีการประชุมสุดยอด (ASEAN-Australia

Summit) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2553 ณ กรุงฮานอย เพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินการ

ความสมัพนัธร์ะหวา่งกนัใหม้ปีระสทิธภิาพและมปีระโยชนต์อ่ประชาชนทัง้ 2 ฝา่ยมากยิง่ขึน้

ในด้านการเมืองและความมั่นคง ออสเตรเลียได้เป็นภาคีความตกลงหรือ

ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในเอเชียตะวันออก (Treaty of Amity and

Cooperation in Southeast Asia - TAC) ในเดือนธันวาคม 2548 และมีบทบาทในกรอบ

ASEAN Regional Forum (ARF) อย่างแข็งขัน ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียน ออสเตรเลีย

และนิวซีแลนด์ ได้ร่วมลงนามความตกลง ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade

Area (AANZFTA) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 และมีผลบังคับใช้สำหรับไทยตั้งแต่วันที่

12 มีนาคม 2553

ด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลืออาเซียนภายใต้

ASEAN-Australia Development Cooperation Program (AADCP) โดยโครงการ

ระยะที่ 1 (2545-2551) มีมูลค่าประมาณ 45 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และโครงการ

ระยะที่ 2 (2552-2558) มีมูลค่าประมาณ 57 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

นอกจากนี้ อาเซียนและออสเตรเลียได้ลงนามเอกสาร Joint Declaration on

ASEAN-Australia Comprehensive Partnership ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ

อาเซียนกับออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยเอกสารดัง

กล่าวถือเป็นแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียที่

ครอบคลุมถึงด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนา ทั้งนี้

โดยอาเซียนและออสเตรเลียได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการความร่วมมืออาเซียน-

ออสเตรเลียระหว่างปี 2551-2556 (Plan of Action to Implement the Joint Declaration

on ASEAN-Australia Comprehensive Partnership 2008-2013)

Page 19: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book 1�

ความสัมพันธ์อาเซียนกับนิวซีแลนด์

ความสัมพันธ์อาเซียน-นิวซีแลนด์เริ่มตั้งแต่ปี 2518 โดยนิวซีแลนด์เป็นประเทศคู่

เจรจาลำดับที่ 2 ของอาเซียนหลังจากออสเตรเลีย ในระยะแรกความสัมพันธ์เป็นไปใน

ลักษณะประเทศผู้รับกับประเทศผู้ให้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ในเวลาต่อมาจึงได้มีการหารือและปรับแนวทางความร่วมมือเป็นระยะๆ และขยายความ

ร่วมมือให้ครอบคลุมในทุกด้าน

ในส่วนของความร่วมมือระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์ในด้านการเมืองความ

มั่นคงนั้น นิวซีแลนด์ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC) ในเดือนธันวาคม

2548 และในด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน

ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia and New Zealand Free Trade

Agreement : AANZFTA) ในปี 2548 โดยมีผลบังคับใช้กับไทยตั้งแต่ 12 มีนาคม 2553

โดยในปี 2553 นั้น การค้าสินค้าระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์มีมูลค่ารวมประมาณ 7,622

ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอาเซียนส่งสินค้าไปนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 4,453 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และอาเซียนนำเข้าสินค้าจากนิวซีแลนด์เป็นมูลค่า 3,168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ ในด้านการพัฒนา อาเซียนและนิวซีแลนด์ได้จัดทำเอกสารความ

ร่วมมืออาเซียน-นิวซีแลนด์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553-2558 (ASEAN-New Zealand

Framework for Cooperation 2010-2015) เพื่อขยายแนวทางความร่วมมือด้านการพัฒนา

ระหว่างอาเซียนและนิวซีแลนด์ และเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558

โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือในด้านการจัดการภัยพิบัต ิการรับมือกับโรคระบาดและ

โรคติดต่อ การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ การส่งเสริม

Asia-Pacific Interfaith Dialogue และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

Page 20: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ 1�

ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น เริ่มต้นอย่างเป็นทางการของอาเซียนในปี

2520 หลังจากนั้น ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี 2546 ได้มีการประชุม

สุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Commemorative Summit) สมัยพิเศษ ที่กรุง

โตเกียวในโอกาสครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น และได้มีการลงนาม Tokyo

Declaration for the Dynamic and Enduring ASEAN-Japan Partnership in the New

Millennium และรับรอง ASEAN-Japan Plan of Action เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือ

ระหว่างสองฝ่าย ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่จัดตั้งคณะผู้แทนถาวรญี่ปุ่น

ประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554

ในด้านการเมือง ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่เจรจาลำดับที่ 4 ที่ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญา

มิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation

in Southeast Asia-TAC) ในปี 2547 และเป็นประเทศแรกที่จัดตั้งกรอบการประชุมความ

ร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย (Counter Terrorism Dialogue) อย่างเป็นทางการ

กับอาเซียนในปี 2547

ในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนเมษายน 2551 อาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามความ

ตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Closer Economic Partnership -

AJCEP) ซึ่งเป็นเสมือนการรวมเอาความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างสมาชิกอาเซียน

แต่ละประเทศกับญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน โดยไทยไม่ได้เปิดตลาดสินค้ามากไปกว่าที่เปิดให้ตาม

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership

Agreement: JTEPA)

ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนระหว่าง

ประชาชนโดยเฉพาะในระดับเยาวชนโดยในปี 2550 ได้เริ่มจัดโครงการเชิญเยาวชนจาก

ประเทศอาเซียนเข้าร่วมโครงการ Japan-East Asia Network of Exchange for Students

Page 21: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book 1�

and Youths (JENESYS) เพื่อส่งเสริมการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรของอาเซียน

โดย ณ เดือนกันยายน 2553 ญี่ปุ่นได้รับเยาวชนจากอาเซียนเยือนญี่ปุ่นภายใต้โครงการ

ดังกล่าวแล้วทั้งสิ้น 26,993 คน และได้ส่งเยาวชนญี่ปุ่นเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนรวม

5,374 คน นอกจากนี้ ในด้านสาธารณสุข ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลืออาเซียนในการสำรองยา

Tamiflu และ Presonal Protective Equipment (PPE) เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการ

แพร่ระบาดของไข้หวัดนก

ไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของญี่ปุ่น และญี่ปุ่น

สนใจร่วมมือกับไทยเพื่อพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงโดยเฉพาะด้านการพัฒนาความ

เชื่อมโยง ทั้งในด้าน Hardware และ Software เพื่อส่งเสริมการลดช่องว่างระหว่างประเทศ

สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) เพื่อมุ่งไปสู่

เป้าหมายของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนใน 2558 โดยไทยสนับสนุนให้มีการใช้

ประโยชน์จากสถาบันต่าง ๆ ที่มีอยู่ อาทิ สถาบันแม่โขง (MI) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

(AIT) และ ERIA และขอให้ญี่ปุ่นมีบทบาทนำในการพัฒนา software infrastructure และ

การส่งเสริม public-private partnership

Page 22: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ 1�

ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน

ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2539

ที่กรุงจาการ์ตา

ในด้านการเมืองและความมั่นคง จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกของอาเซียนที่

ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ในการ

ประชุมสุดยอดอาเซียน – จีน ครั้งที่ 7 ในเดือน ตุลาคม 2546 และยังเป็นประเทศแรกที่

แสดงความพร้อมที่จะลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งเขตปลอดอาวุธ

นิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ)

ในด้านเศรษฐกิจ จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี

กับอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน Framework Agreement on Comprehensive

Economic Cooperation ในเดือนพฤศจิกายน 2545 ซึ่งวางเป้าหมายให้จัดตั้งเขตเสรี

การค้าอาเซียน – จีน กับประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า (6 ประเทศ) ให้แล้วเสร็จภายในปี

2553 และกับประเทศสมาชิกใหม่ (4 ประเทศ) ภายในปี 2558 ต่อจากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้

ลงนามในความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและกลไกการระงับข้อพิพาท ในปี 2547 ความ

ตกลงว่าด้วยการค้าบริการในปี 2550 และความตกลงว่าด้วยการลงทุน ในปี 2552

ในปี 2553 จีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้ารวม

เท่ากับ 292.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 11.6 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของ

อาเซียน ในขณะที่อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของจีน คิดเป็นร้อยละ 9.7 ของมูลค่าการค้า

ทั้งหมดของจีน โดยมูลค่าการส่งออกจากอาเซียนไปจีน เท่ากับ 154.56 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 จากปี 2552 และมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากจีนเท่ากับ 138.22

พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1

ความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม

อาเซียนและจีนตกลงที่จะร่วมมือใน 11 สาขาหลัก ได้แก่ (1) การเกษตร (2) ICT

(3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (4) การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง (5) การลงทุน (6) พลังงาน

(7) การขนส่ง (8) วัฒนธรรม (9) สาธารณสุข (10) การท่องเที่ยว และ (11) สิ่งแวดล้อม

Page 23: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book 1�

ศูนย์ ASEAN – China Environmental Protection Cooperation ตั้งขึ้นเมื่อวันที่

25 พฤษภาคม 2554 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรองยุทธศาสตร์ว่าด้วยความ

ร่วมมือเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (2552 – 2558) ในปี 2552 และเป็นความริเริ่มของนายเวิน

เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน – จีน ครั้งที่ 11 เมื่อปี 2550

โดยศนูยฯ์ เปน็สถาบนัหลกัในการดำเนนิยทุธศาสตรฯ์ ทำหนา้ทีป่ระสานทา่ท ีสง่เสรมิมาตรการ

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียนกับจีน และเป็นแรงกระตุ้นให้อาเซียนและจีนเสริม

สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว อาทิ (1) การสร้างความตระหนักรู้

ต่อสาธารณชน และการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (2) เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ

(3) การตดิฉลากสิง่แวดลอ้มและการผลติทีส่ะอาด รวมทัง้ในดา้นใหม่ๆ ไดแ้ก ่(4) การอนรุกัษ ์

ความหลากหลายทางชวีภาพ (5) การเสรมิสรา้งขดีความสามารถดา้นการจดัการสิง่แวดลอ้ม

(6) สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม และ (7) ประเด็นสิ่งแวดล้อมระดับโลก

Page 24: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ 1�

ความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี

สาธารณรัฐเกาหลีเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาเซียนในปี 2532 ในฐานะคู่เจรจา

เฉพาะด้าน และได้รับสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาเต็มรูปแบบในป ี2534 ซึ่งต่อมาในป ี2547

ทั้งสองฝ่ายได้ลงนาม Joint Declaration on Comprehensive Partnership เพื่อส่งเสริม

ความเป็นหุ้นส่วนที่รอบด้านในป ี2552 จนกระทั่งในการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหล ีครั้ง

ที่ 13 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนตุลาคม 2553 อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี ได้เห็นชอบให้

ยกระดับความสัมพันธ์ จากหุ้นส่วนที่ครอบคลุมทุกด้านเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร ์และได้

รับรอง Joint Declaration on ASEAN-Republic of Korea Strategic Partnership for

Peace and Prosperity

ในดา้นการเมอืงความมัน่คง สาธารณรฐัเกาหลไีดภ้าคยานวุตัสินธสิญัญามติรภาพ

และความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ในปี 2547 และได้ลงนามใน Joint

Declaration for Cooperation to Combat International Terrorism กับอาเซียนในปี 2548

ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีได้ลงนามใน Framework

Agreement on Comprehensive Economic Cooperation ในปี 2548 ซึ่งกำหนดให้มีการ

จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการค้า

สินค้าในปี 2549 ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการในปี 2550 และความตกลงว่าด้วยการ

ลงทุนในปี 2552

ในด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา สาธารณรัฐเกาหลีได้จัดตั้งกองทุน ASEAN-

ROK Future Oriented Cooperation Projects (FOCP) และกองทุน ASEAN-ROK

Special Cooperation Fund (SCF) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่าง

อาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหล ี

Page 25: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book 1�

ความสัมพันธ์อาเซียน – อินเดีย

อาเซียนกับอินเดียเริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในปี 2535 ในลักษณะ

คู่เจรจาเฉพาะด้านและยกระดับขึ้นเป็นคู่เจรจาอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 2538 ต่อมาได้พัฒนา

ความสัมพันธ์สู่ระดับการประชุมสุดยอดครั้งแรก เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2545 ที่กรุงพนมเปญ

ประเทศกัมพูชา อาเซียนและอินเดียจะมีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษเพื่อฉลองความ

สัมพันธ์ครบรอบ 20 ปี ในปี 2555

ความสัมพันธ์อาเซียน – อินเดีย เป็นความสัมพันธ์อย่างรอบด้านในฐานะหุ้นส่วน

โดยมีเอกสารความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน – อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้าและ

ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (ASEAN – India Partnership for Peace, Progress and

Shared Prosperity) กำหนดแนวทางในการดำเนนิความสมัพนัธแ์ละความรว่มมอืระหวา่งกนั

ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยมีแผนปฏิบัติการรองรับ

ปัจจุบัน อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2553 – 2558 ทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน

– อินเดีย (ASEAN India Fund) เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินความร่วมมือดังกล่าว ในด้าน

การเมืองและความมั่นคง อินเดียได้เข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการ

เมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกตั้งแต่ปี 2539 โดยมีบทบาทในเรื่องความ

ร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล และได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2546 อีกทั้งได้รับรองแถลงการณ์ร่วมกับอาเซียน

ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสากลในปีเดียวกัน นอกจากนั้น อินเดียยังได้

เข้าเป็นสมาชิกของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ในปี 2548

ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนและอินเดียได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความ

ร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้านในปี 2546 ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า

บริการ การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ และได้บรรลุผลการเจรจา

จัดทำความตกลงด้านการค้าสินค้าในเดือนสิงหาคม 2552 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่

1 มกราคม 2553 อาเซียน – อินเดียตั้งเป้าหมายที่จะขยายมูลค่าการค้าระหว่างกันเป็น

70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2555 จากมูลค่าการค้าเมื่อปี 2551 – 2552 ประมาณ

46.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอาเซียนเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์

สหรัฐ

Page 26: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �0

ในด้านสังคมและการพัฒนา อินเดียให้ความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาและลด

ช่องว่างในอาเซียน โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมภาษาอังกฤษและศูนย์ฝึกอบรมผู้ประกอบการ

ในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือกับอาเซียน

ในสาขาที่อินเดียมีศักยภาพ เช่นในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี IT รวมทั้งการแพทย์และ

เภสัชกร โดยได้จัดตั้งกองทุน ASEAN – India Science & Technology Fund ด้วยเงิน

ตั้งต้น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้าน IT การตั้งกองทุน ASEAN – India Green Fund เพื่อสนับสนุน

กิจกรรมในการส่งเสริมการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในภูมิภาค โดยอินเดียออกเงินตั้งต้น 5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ การพัฒนาความร่วมมือด้านการ

แพทย์แผนโบราณ การให้ทุนการฝึกอบรมด้านอายุรเวชแก่บุคลากรของอาเซียน โครงการ

ความร่วมมือด้านการผลิตยา นอกจากนั้น เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ภาคประชาสังคม

อาเซียนและอินเดียมีโครงการประจำปีเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนหลายกลุ่ม

ทั้งนักศึกษา ผู้สื่อข่าว และนักการทูต อีกทั้งกำลังจะริเริ่มให้มีการเยือนระหว่างสมาชิก

รัฐสภาด้วย

Page 27: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �1

ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและแคนาดาในฐานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue

Partner) เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2520 (ค.ศ. 1977) โดยที่ผ่านมาได้มีการดำเนิน

ความร่วมมือที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง การค้าและการลงทุน

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชน

อาเซียนและแคนาดามีกลไกความร่วมมือทางการ 3 ระดับ ได้แก่ 1) การประชุม

ระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Post Ministerial Conference 10+1 Session with

Canada หรือ PMC) 2) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (ASEAN-Canada Dialogue) และ 3) ระดับ

เอกอัครราชทูต (Joint Coordination Committee หรือ JCC ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า Informal

Coordination Mechanism หรือ ICM)

นอกจากนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาเซียนและแคนาดาได้ตกลงจัดทำเอกสาร

สำคญัหลายฉบบั เพือ่เปน็แนวทางในการดำเนนิความสมัพนัธร์ะหวา่งกนั ไดแ้ก ่1) ปฏญิญา

ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียนกับแคนาดา (Joint Declaration on the

ASEAN-Canada Enhanced Partnership) เมื่อกรกฎาคม 2552 2) แผนปฏิบัติการเพื่อ

ดำเนินการให้เป็นไปตามปฏิญญาร่วมฯ ปี 2553-2558 (Plan of Action to Implement the

Joint Declaration on the ASEAN-Canada Enhanced Partnership 2010-2015)

เมื่อกรกฎาคม 2553 3) แคนาดาได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ

TAC) เมื่อกรกฎาคม 2553 และต่อมาได้ลงนามในพิธีสารที่ 3 (Third Protocol Amending

the TAC) เมื่อกรกฎาคม 2554 และ 4) แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการค้าและการลงทุน

(Joint Declaration on Trade and Investment) เมื่อตุลาคม 2553

ประเทศไทยทำหน้าที่ประเทศผู้ประสานงาน (Country Coordinator) ของความ

สมัพนัธอ์าเซยีน-แคนาดาในระหวา่งกรกฎาคม 2552 - กรกฎาคม 2555 และไดม้บีทบาทนำ

ที่แข็งขันในการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และได้พยายามผลักดันให้มีความ

คืบหน้าในการดำเนินความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ผ่านมาแคนาดาได้ให้การ

Page 28: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

สนับสนุนโครงการและกิจกรรมความร่วมมือในเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาอาชญากรรม

ข้ามชาติ การจัดการและบรรเทาภัยพิบัติ และการควบคุมโรคระบาด ในขณะที่อาเซียนได้

เชิญชวนให้แคนาดาขยายความร่วมมือกับอาเซียนในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน

(ASEAN Community Building) และการเสรมิสรา้งความเชือ่มโยงในภมูภิาค (Connectivity)

รวมทั้งความร่วมมือในด้านอื่นๆ ซึ่งแคนาดามีศักยภาพและความเชี่ยวชาญ ได้แก่ พลังงาน

การจัดการข้ามแดน เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เป็นต้น

รัฐบาลแคนาดาชุดปัจจุบันยืนยันเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ในการขยายบทบาทของ

แคนาดาในเอเชียแปซิฟิก โดยในปี 2555 ผู้สำเร็จราชการ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

หลายท่านของแคนาดาได้เดินทางเยือนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ นายกรัฐมนตรีแคนาดา

เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และรัฐมนตรีต่างประเทศแคนาดาเดินทางเยือน

เมียนมาร์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2555 นอกจากนี้ แคนาดายังได้มี

ท่าทีในเชิงบวกต่อพัฒนาการในเมียนมาร ์โดยได้ยกเลิกการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจการเงิน

และได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตและเปิดสถานเอกอัครราชทูตในเมียนมาร์เป็นครั้งแรก

อาเซียนและแคนาดาได้ฉลองโอกาสครบรอบ 35 ปีของความสัมพันธ์ในปี 2555

โดยจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การจัดการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์

สำหรับโอกาสดังกล่าว การเปิดตัวการฉลองครบรอบ 35 ปีและตราสัญลักษณ์ที่กรุง

จาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2555 นายกรัฐมนตรีไทยและแคนาดาร่วมแสดงความยินดีต่อ

โอกาสดังกล่าวในระหว่างการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี

แคนาดาเมื่อเดือนมีนาคม 2555 และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN-

Canada Dialogue ครั้งที่ 9 และการสัมมนาเรื่อง “ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน :

บทบาทของการศึกษาและการวิจัย” (People-to-People Connectivity : Roles of

Education and Research) ควบคู่กันไปเมื่อเดือนมิถุนายน ที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ประเทศไทย

ในฐานะประเทศผู้ประสานงานได้มีบทบาทนำในการใช้โอกาสเหล่านี้ยกระดับความสัมพันธ์

และเสริมสร้างความตระหนักรู้ในหมู่สาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา

Page 29: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2520

(ค.ศ. 1977) โดยในระยะแรกเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนา ต่อมาขยายถึงความร่วมมือ

ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนประสงค์ที่จะส่งเสริมความ

ร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ ทั้งในระดับทวิภาคีและในลักษณะกลุ่มประเทศ ทั้งนี้

สหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย และ

ยังคงต้องการมีบทบาทสำคัญเชิงเชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคตลอดมา

ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายบรรลุถึงจุดสูงสุดเมื่อมีการประกาศแถลงการณ์

วิสัยทัศน์ร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูน (Joint Vision Statement on ASEAN-U.S.

Enhanced Partnership) เมื่อปี 2548 และการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกันเมื่อปี 2549

ในช่วงที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ (กรกฎาคม

2546-กรกฎาคม 2549) อาเซียนและสหรัฐฯ มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในด้านการต่อต้านการ

ก่อการร้าย โดยมีการจัดทำ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการต่อต้าน

การก่อการร้ายระหว่างประเทศ (ASEAN-U.S. Joint Declaration for Cooperation to

Combat International Terrorism) ในปี 2545 และร่วมมือกันในกรอบ ASEAN Regional

Forum (ARF) ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนและสหรัฐฯ ได้ลงนามในเอกสารชื่อ กรอบความ

ตกลงการค้าและการลงทุน (ASEAN-U.S. Trade and Investment Framework

Arrangement – TIFA) ในปี 2549

ในปัจจุบัน รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญมากขึ้นกับภูมิภาคเอเชียและเล็งเห็น

ความสำคัญของอาเซียนทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จาก

การทีป่ระธานาธบิด ีBarack Obama ไดเ้ขา้รว่มการประชมุผูน้ำอาเซยีน-สหรฐัฯ (ASEAN-US

Leaders’ Meeting) ครั้งที่ 1 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552 ที่สิงคโปร์ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 24

กันยายน 2553 ที่นครนิวยอร์ก และครั้งที่ 3 ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 ที่บาหลี โดยย้ำ

เจตนารมณ์ของสหรัฐฯ ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ การที่

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 และ East Asia

Summit (EAS) ครั้งที่ 6 ในเดือน พฤศจิกายน 2554 ที่บาหลี อินโดนีเซีย นับเป็นครั้งแรกที่

Page 30: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

ผู้นำสหรัฐฯ เข้าร่วม EAS โดยประธานาธิบดี Obama ได้ย้ำเสมอว่า สหรัฐฯ เป็นส่วนหนึ่ง

ของแปซิฟิก (Pacific Nation) และแสดงเจตนารมณ์ของสหรัฐที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

ในภูมิภาคเอเชีย

ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐฯ (Post Ministerial

Conference 10+1 Session with the U.S.) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ที่จังหวัดภูเก็ต

สหรัฐฯ ได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia - TAC) และได้ริเริ่มจัดการ

ประชุม Lower Mekong Initiative (LMI) Ministerial Meeting เป็นครั้งแรก ทั้งนี้ สหรัฐฯ

เป็นประเทศแรกที่แต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา นอกจากนี้

ที่ประชุมผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 1 ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง ASEAN-U.S. Eminent

Persons Group (EPG) โดยมอบหมายภารกิจให้ EPG เสนอแนะแนวทางการยกระดับ

ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ จาก ‘enhanced partnership’ เป็น ‘strategic partnership’

อาเซียนและสหรัฐฯ มีกลไกดำเนินความสัมพันธ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1) การประชุม

สุดยอดผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Leaders’ Meeting) 2) การประชุมรัฐมนตรี

ต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐฯ (PMC) 3) การประชุม ASEAN-US Dialogue ซึ่งเป็นการ

ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) 4) ASEAN-US Joint Cooperation Committee

(JCC) ซึ่งเป็นการประชุมระดับ ออท. ประจำอาเซียน และ 5) ASEAN-US Working

Group Meeting ซึ่งเป็นการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกเพื่อพิจารณา

โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ในด้านต่างๆ

ขณะนี้ อาเซียนและสหรัฐฯ กำลังดำเนินความร่วมมือตาม Plan of Action to

Implement the ASEAN - US Strategic Partnership for Enduing Peace and

Prospecity (2011 - 2015) ซึ่งครอบคลุมทั้งสามเสาหลักของอาเซียน นอกจากนี้ ได้มีการ

จัดการประชุม EPG ครั้งที่ 1 เมื่อเดือน พฤษภาคม 2555 โดย EGP กำหนดจะเสนอ

รายงานต่อที่ประชุมผู้นำครั้งที่ 4 เดือน พฤศจิกายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

Page 31: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย

ความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย เริ่มต้นจากการที่รัสเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์

ในฐานะคู่หารือ (Consultative relations) กับอาเซียนในปี 2534 และพัฒนาความสัมพันธ์

จนได้รับสถานะประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) กับอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรี

ต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 29 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2539 ที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งขณะนี้

มาเลเซยีเปน็ผูป้ระสานงานความสมัพนัธฯ์ ตอ่จากเมยีนมารใ์นป ี2555 (2012) - 2558 (2015)

สำหรบักลไกของความสมัพนัธจ์ะประกอบดว้ย (1) ASEAN-Russia Summit (ระดบั

ผู้นำ) จัดขึ้น 1 ครั้งเมื่อปี 2548 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และครั้งที่ 2 ในช่วงการประชุมสุดยอด

อาเซียน ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2553 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม (2) ASEAN

PMC + 1(ระดับรัฐมนตรี) ประชุมปีละครั้ง (3) ASEAN-Russia SOM (ระดับปลัด) ประชุม

ทุก 18 เดือน ตั้ง Open-Ended WG endorsed by PMC+1 (4) ASEAN-Russia Joint

Cooperation Committee (CPR) ประชุมปีละครั้ง (5) ASEAN-Russia Joint Planning

and Management Committee (CPR) ประชุมปีละครั้ง

ในส่วนของสาขาความร่วมมือในสาขาต่างๆระหว่างอาเซียนกับรัสเซียดังนี้

- ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคง อาเซียนและรัสเซียได้ลงนามในเอกสาร

สำคัญหลายฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ

ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (2003) แถลงการณ์ร่วม

อาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย (2004) และรัสเซียได้

ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC)

(2004) และจัดทำแผนงานอาเซียน-รัสเซีย ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและ

อาชญากรรมข้ามชาติ (2009)

- ความร่วมมือด้านการพัฒนา ในปี 2548 ผู้นำอาเซียนและรัสเซียได้ลงนามใน

Joint Declaration of the Heads of State/Government of the Member Countries of

ASEAN and the Head of State of the Russian Federation on Progressive and

Comprehensive Partnership และได้รับรอง Comprehensive Programme of Action to

Promote Cooperation between ASEAN and the Russian Federation (2005-2015)

Page 32: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

ซึ่งอาเซียนและรัสเซียได้จัดตั้งกองทุน ASEAN-Russia Dialogue Partnership Financial

Fund (DPFF) ขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ โดยรัสเซียเป็นผู้มอบเงิน

เข้ากองทุนฝ่ายเดียว (ขณะนี้ กองทุนมีเงินประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

- ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและรัสเซียได้

ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ปี 2548 ที่

กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในปี 2553 มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-รัสเซียประมาณ 9,060

ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่รัสเซียส่งออกมาอาเซียนได้แก่ ชิ้นส่วนประกอบโลหะ

เคมีภัณฑ์ และสินค้าประกอบจากสินแร่ ในขณะที่อาเซียนส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักร

เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป น้ำมันประกอบอาหารไปรัสเซีย รัสเซียถือเป็นตลาด

ใหญ่ที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดของอาเซียนและจะเป็นประตูกระจายสินค้า

อาเซียนไปยังกลุ่มประเทศ CIS ได้ในอนาคต

- การจัดตั้ง ASEAN Centre เลขาธิการอาเซียน (แทนประเทศสมาชิกอาเซียน)

ร่วมกับอธิการบดี Moscow State Institute of International Relations (MGIMO)

ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งศูนย์อาเซียนในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม

2552 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่ MGIMO กรุงมอสโก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553

Page 33: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

ASEAN Plus Three

ความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เริ่มต้นขึ้นเมื่อ

ปี 2540 ในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีการพบหารือ

ระหว่างผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี

เป็นครั้งแรก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนธันวาคม 2540 นับแต่นั้น

เป็นต้นมา การประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดียวกับการ

ประชุมสุดยอดอาเซียน กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เริ่มเป็นรูปเป็นร่างภายหลังการออก

แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกเมื่อปี 2542 และการจัดตั้ง East Asia

Vision Group (EAVG) ในปี 2542 เพื่อวางวิสัยทัศน์ความร่วมมือในเอเชียตะวันออก

EAVG ได้เสนอแนะแนวคิดการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian community-

EAc) และมาตรการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ง EAc ต่อมา

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อปี 2548 ผู้นำ

ได้ลงนามในปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala

Lumpur Declaration on the ASEAN+3 Summit) กำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเชีย

ตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน+3 เป็นกลไกหลักในการนำไปสู่

เป้าหมายระยะยาวดังกล่าว และในโอกาสครบรอบ 10 ปีของกรอบอาเซียน+3 ในปี 2550

ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 และ แผนงาน

ความร่วมมืออาเซียน+3 (ปี 2550-2560)

ประเทศไทยได้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 12

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552 ที่ชะอำ หัวหิน โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงการณ ์ชะอำ หัวหิน

ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาพลังงานชีวภาพในกรอบอาเซียน+3 (Cha-

am Hua Hin Statement on ASEAN Plus Three Cooperation on Food Security and

Bio-Energy Development) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งรวมถึง

การจัดตั้งระบบสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Emergency Rice

Reserve – APTERR) เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค และการ

Page 34: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

จัดทำยุทธศาสตร์แบบบูรณาการเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอาหารและพลังงาน

ชีวภาพที่ยั่งยืนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และที่ประชุมฯ ยังได้สนับสนุนประเทศไทย

ทีจ่ะเปน็ผูผ้ลกัดนัการจดัตัง้กลไกความรว่มมอืดา้นการศกึษาในกรอบอาเซยีน+3 นอกจากนี้

ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานอาเซียน+3 ได้ออกแถลงข่าวว่าด้วยความร่วมมือ

อาเซียน+3 เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552

ในปัจจุบันความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 ครอบคลุมความร่วมมือในสาขา

ต่างๆ ประมาณ 20 สาขา ภายใต้กรอบการประชุมในระดับต่าง ๆ มากกว่า 50 การประชุม

ความร่วมมือด้านการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative-CMI)

ซึ่งริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2543 เป็นสาขาความร่วมมือที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด โดยได้มีการจัดตั้ง

กองทุนสำรองพหุภาคีภายใต้ CMI หรือที่เรียกว่า “CMI Multilateralization (CMIM)”

ซึ่งมีการขยายวงเงินเป็น 2.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะมีการจัดตั้ง ASEAN+3

Macroeconomic Research Office (AMRO) ที่สิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และติดตามสภาวะ

เศรษฐกิจในภูมิภาคและสนับสนุน CMIM นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานประกัน

เครดิตและการลงทุน Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) เพื่อสนับสนุน

การออกพันธบัตรของภาคเอกชน โดยมีวงเงินเริ่มต้น 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศอาเซียน+3 ยังได้จัดตั้งกองทุน ASEAN Plus Three Cooperation Fund

(APTCF) ซึ่งมีเงินทุนเริ่มต้นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นกองทุนร่วมในการ

สนับสนุนการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ภายใต้แผนงานความร่วมมืออาเซียน+3 (ปี 2550-

2560) รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริม

ความร่วมมืออาเซียน+3

Page 35: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

East Asia Summit - EAS

ความร่วมมือในเวทีการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit-EAS) เดิมทีเป็นข้อริเริ่ม

ในกรอบอาเซียน+3 โดยจะเป็นการวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ไปสู่

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก อย่างไรก็ดี อาเซียนเห็นว่า ควรเปิดกว้างให้ประเทศ

นอกกลุ่มอาเซียน+3 เข้าร่วมด้วย ในปัจจุบันมีประเทศที่ เข้าร่วมใน EAS จำนวน

18 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี

นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และสหพันธรัฐรัสเซีย

ในการประชุม EAS ครั้งที่ 1 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 14

ธันวาคม 2548 ได้มีการลงนามปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชีย

ตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) กำหนดให้ EAS

เป็นเวทีหารือทางยุทธศาสตร์ที่เปิดกว้าง โปร่งใส และครอบคลุม และได้เห็นพ้องกับแนว

ความคิดของไทยที่ให้ EAS เป็นเวทีของผู้นำที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นและวิสัยทัศน์ใน

ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ในลักษณะ top-down การประชุม EAS มีขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วง

การประชุมสุดยอดอาเซียน โดยมีประเทศที่เป็นประธานอาเซียนเป็นประธานการประชุมฯ

ในการประชุม EAS ครั้งที่ 2 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550

ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้กำหนดสาขาความร่วมมือที่มีความสำคัญในลำดับแรก 5 สาขา

ได้แก่ ไข้หวัดนก ความมั่นคงด้านพลังงาน การศึกษา การเงิน และการจัดการภัยพิบัติ

ประเทศไทยได้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุม EAS ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 25

ตุลาคม 2552 ที่ชะอำ หัวหิน โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองแถลงการณ์ชะอำ หัวหินว่าด้วยการ

จัดการภัยพิบัติ (Cha-am Hua Hin Statement on EAS Disaster Management) เพื่อ

ส่งเสริมการพัฒนาการเตรียมความพร้อมที่รอบด้านและเพิ่มศักยภาพการลดความเสี่ยง

จากภัยพิบัติในภูมิภาค ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเครือข่ายการ

ประสานงานการตอบสนองภัยพิบัติในระดับภูมิภาค ผ่านกรอบและกลไกอาเซียนและ

ภูมิภาคที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางธรรมชาติในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยในฐานะ

ประเทศผู้ประสานงาน EAS ได้ออกแถลงข่าวร่วมของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก

Page 36: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ �0

ว่าด้วยวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เพื่อแสดงเจตนาร่วมกัน

ของประเทศ EAS ที่จะร่วมมือกันรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก

ที่อุบัติขึ้นเมื่อปี 2551

ปัจจุบัน ประเด็นที่ผู้นำ EAS ให้ความสนใจ ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

การเงิน การค้าและการลงทุน (การประชุมสุดยอด G-20 การเจรจาการค้ารอบโดฮา

การส่งเสริมสินเชื่อเพื่อการค้า และการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจแบบรอบด้านในเอเชีย

ตะวันออก) และความเชื่อมโยงในภูมิภาค (regional connectivity) และให้ความสำคัญกับ

การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางความร่วมมือในอนาคตของ EAS ในบริบท

โครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค (regional architecture) รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็ง

ให้กับ EAS เพื่อให้ EAS สามารถตอบสนองความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยิ่งขึ้น ในขณะที่ควรคงลักษณะการเป็นเวทีการหารือด้านยุทธศาสตร์สำหรับผู้นำที่มีความ

ยืดหยุ่นไว้

Page 37: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book �1

ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป

อาเซียนกับสหภาพยุโรป (EU) มีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มระหว่างกันมาเป็น

เวลานานและ EU ถือเป็นคู่เจรจา (dialogue partner) กับ อาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 และได้พัฒนาเป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการ ในปีพ.ศ. 2520 ทั้งนี้ กลไก

หลักในการดำเนินความสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและคู่เจรจา

2) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป 3) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส

อาเซียน-สหภาพยุโรป และ 4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมอาเซียน-ประชาคมยุโรป

ในส่วนของความสัมพันธ์ทางการเมือง อาเซียนและ EU มี Joint Declaration on

Combat Terrorism (2546/2003) และทั้งสองฝ่ายดำเนินโครงการความร่วมมือในเรื่อง

การจัดการชายแดนภายใต้แผน Regional Indicative Programme (RIP) 2005-2006

ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือระยะกลางระหว่างอาเซียนและ EU ทั้งนี้ EU ได้เข้าร่วมใน ARF

โดยให้ความสนใจเรื่อง Energy Security และได้ภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและ

ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ้Treaty of Amity and Cooperation in Southeast

Asia (TAC) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555

ในส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ EU เป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยเป็น

ตลาดที่สำคัญอันดับสามของอาเซียนรองจากสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และเป็นแหล่งลงทุน

โดยตรง (FDI) อันดับหนึ่งของอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญสำหรับอาเซียนในการ

ส่งออกไปยังยุโรป ได้แก่ กฎ ระเบียบต่างๆ ของ EU ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งกลไก Trans

Regional EU-ASEAN Trade Initiative (TREATI) ขึ้นเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้า

ของสองฝ่ายให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ใน

การจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-EU ซึ่งแสดงผลในทางบวกที่จะให้มีการจัด

ทำความตกลงฯ อีกด้วย

Page 38: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

ในส่วนของความร่วมมือด้านการพัฒนา นั้น EU ได้ออกออกเอกสารยุทธศาสตร์

ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งใช้ชื่อว่า A New Partnership with South East Asia

เพื่อวางแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคในอนาคตผ่านกระบวนการ

และกลไกความร่วมมือที่มีอยู่ทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค และกำหนดกลไก

Regional EU-ASEAN Dialogue Instrument (READI) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่

ไม่ใช่การค้า โดยสหภาพยุโรปเป็นคู่เจรจาที่ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่อาเซียน

มากที่สุด

Page 39: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

อาเซียน-สหประชาชาติ

ความรว่มมอืระหวา่งอาเซยีนกบัสหประชาชาตเิริม่ขึน้บนพืน้ฐานของความรว่มมอื

ด้านวิชาการระหว่างอาเซียนกับ UNDP ซึ่งได้เริ่มขึ้นในช่วงปี 2513 และต่อมา UNDP ได้รับ

สถานะคู่เจรจา (Dialogue Partner) ของอาเซียนในปี 2520 ต่อมาสหประชาชาติพยายาม

ที่จะพัฒนาความร่วมมือกับอาเซียน โดยส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 2 องค์กรภายใต้

ยุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาต ิที่จะส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนกับองค์การ

ระดับภูมิภาคทั่วโลก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาระดับโลกและภูมิภาค ในชั้นนี้ สหประชาชาติ

ยังไม่มีสถานะเป็นคู่เจรจากับอาเซียน

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติครั้งที่1 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อ

วันที่12 กุมภาพันธ์ 2543 ในระหว่างการประชุม UNCTAD X โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ

ส่งเสริมความสัมพันธ์และสร้างการเชื่อมโยงที่ต่อเนื่องระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนกับ

สหประชาชาติและเพื่อสนับสนุนการทำงานของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและ

การพัฒนาสมัยที่ 10 (มีเลขาธิการอาเซียนและหัวหน้าองค์กรต่างๆ ภายใต้กรอบ

สหประชาชาติเข้าร่วมด้วย) ที่ประชุมได้หารือใน 3 หัวข้อหลักคือ 1) ประเด็นด้านการเมือง

และความมั่นคง 2) ประเด็นด้านการพัฒนา และ 3) ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ

สหประชาชาติ ในเรื่องของการเมืองและความมั่นคง

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติครั้งที่2 จัดขึ้นที่นครนิวยอร์กเมื่อ

วันที่ 13 กันยายน 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ

UN เพื่อให้อาเซียนเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อติดตามผลการ

ประชุมสุดยอดครั้งที่ 1 โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ คือ (1) การสนับสนุนระบบพหุภาคีนิยม

(Multilateralism) และการปฏิรูป UN ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและ

ให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจน (2) การสนับสนุนการพัฒนาและการขยายสมาชิก

ภาพของสภาความมั่นคงสหประชาชาติ (UNSC) โดยยึดหลักความโปร่งใสและตรวจสอบ

ได้ (3) ความร่วมมือเพื่อช่วยประเทศสมาชิกอาเซียนบรรลุ Millennium Development

Goals (MDGs) ในปี 2558 (4) ความร่วมมือเพื่อช่วยอาเซียนในการจัดตั้งประชาคม

อาเซียนภายในปี 2558 ทั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ

Page 40: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

อาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (5) ความร่วมมือในประเด็น

เฉพาะด้าน เช่นการจัดการภัยพิบัติ HIV/AIDs และไข้หวัดนก (6) การสร้างสันติภาพและ

ความมั่นคง

ปัจจุบันอาเซียนได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์(Observer) ในองค์การ

สหประชาชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับนับถือบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของอาเซียน

ภายในภูมิภาคว่าสอดคล้องรองรับกับความพยายามในประชาคมโลกที่จะร่วมมือกันสร้าง

ความสงบสุขและส่งเสริมการพัฒนาที่เท่าเทียม

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาติครั้งที่3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม

2553 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 ที่กรุงฮานอย โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือใน

เรื่อง 1) ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกอาเซียน

สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals)

ภายในปี 2558 ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวสอดคล้องกับการเสริมสร้างการรวมตัว

ของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในด้านการลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

2) การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการสาธารณสุข การศึกษา

และสิทธิมนุษยชน 3) การเข้ามามีส่วนร่วมของสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ

ในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียน (ASEAN Connectivity) โดยเฉพาะการป้องกัน

และแก้ปัญหาผลกระทบข้างเคียงสืบเนื่องจากการมีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ เช่น

อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย และยาเสพติด เป็นต้น และ 4) การมีส่วนร่วมของ

สหประชาชาติในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับปฏิบัติการ

รักษาสันติภาพและการบริหารจัดการภัยพิบัติ

Page 41: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ASEAN M i n i Book ��

n o t e

Page 42: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมอา เ ซี ยน กร ะ ทรวงก ารต่ า งปร ะ เ ทศ ��

n o t e

Page 43: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Page 44: Uthai Thani Province · ทำให้โลกและการ เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง