19
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

Embed Size (px)

DESCRIPTION

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

Citation preview

Page 1: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ

สถานีฐานและสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

87 ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ 0 2271 0151-60 เว็บไซต์: www.ntc.or.th

Page 2: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ

สถานีฐานและสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

87 ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ 0 2271 0151-60 เว็บไซต์: www.ntc.or.th

Page 3: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

คำนำ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพัฒนาการเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

และมีการใช้เครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณสถานที่ติดตั้ง สถานีฐานของระบบโทรศัพท์มือถือเกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการใช้คลื่นความถี่วิทยุ

คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และมาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เพื่อลดผลกระทบและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของมนุษย์จากการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากเครื่องวิทยุคมนาคม

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) จึงได้จัดทำเอกสาร “การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ” เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแผ่คลื่นของโทรศัพท์มือถือ ภายใต้กฎ ระเบียบที่ กทช. ประกาศกำหนด โดยอ้างอิงข้อมูลและข้อเท็จจริงจากองค์กรอนามัยโลกและองค์กรระหว่างประเทศที่องค์กรอนามัยโลกยอมรับ

สำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ธันวาคม 2553

Page 4: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

สารบัญ หน้า

ส่วนที่ 1 การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ และสถานีฐาน 1

1. อะไรคือคลื่นวิทยุ? 1

2. การแผ่พลังงาน (radiation) คืออะไร? 1

3. ผลกระทบทางชีวภาพและอันตรายจากสุขภาพแตกต่างกันอย่างไร? 2

4. มาตรฐานสากลว่าไว้อย่างไร? 2

5. การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือและสถานีฐานมีลักษณะอย่างไร? 3

6. ความปลอดภัยจากการใช้โทรศัพท์มือถือ 5

7. ความปลอดภัยจากการได้รับคลื่นวิทยุจากสถานีฐาน 5

8. คลื่นวิทยุกับเด็ก 7

9. อุปกรณ์ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 7

ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาและวิจัย 8

ส่วนที่ 3 คำถามที่พบบ่อย ๆ 12

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 14

เอกสารอ้างอิง 14

Page 5: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

4

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือและสถานีฐาน

1. อะไรคือคลื่นวิทยุ? คลื่นวิทยุ หรือบางคนอาจเรียกว่าคลื่นความถี่หรือความถี่วิทยุ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเรา โดยมี

แหล่งกำเนิดจากทั้งธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ โลก และบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ เป็นต้น และจากแหล่งกำเนิดที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็น สถานีฐานของโทรศัพท์มือถือ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เรดาร์ รีโมท และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย

คลื่นวิทยุที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือโทรคมนาคมเป็นการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง โดยมีสนามแม่เหล็กกับสนามไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปพร้อมกันผ่านที่ว่าง คลื่นวิทยุนี้ไม่สามารถปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมากพอที่จะทำให้พันธะเคมีในโมเลกุลแตกตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่เหมือนกับรังสีเอ็กซ์หรือรังสีแกมมา ซึ่งสามารถทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมและโมเลกุล อันจะทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อและอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

ที่มาภาพ : http://www.arpansa.gov.au/radiationprotection/basics/ion_nonion.cfm 2. การแผ่พลังงาน (radiation) คืออะไร?

การแผ่พลังงาน หรือบางทีก็เรียกว่าการแผ่รังสี เป็นรูปแบบการเคลื่อนที่ของพลังงานที่มีลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยธรรมชาติ นั่นคือ ประกอบด้วยคลื่นของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็กที่เคลื่อนที่ไปด้วยกันผ่านอากาศด้วยความเร็วแสง มนุษย์เราอาศัยอยู่ในโลกของการแผ่พลังงานทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง ทุก ๆ วินาทีของการดำเนินชีวิต เราจะได้รับการแผ่พลังงานหลายประเภท เช่น แสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และคลื่นวิทยุจากการแพร่ภาพกระจายเสียง

ส่วนที่

1

1

Page 6: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

5

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

ที่มาภาพ: http://www.nrc-cnrc.gc.ca/eng/

projects/inms/optical-comb.html การแผ่พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับแสง โดยจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง

และเมื่อชนกับวัตถุจะเกิดพฤติกรรมขึ้นสามประการ นั่นคือ อาจส่งพลังงานผ่านไปได้ (transmission) อาจเกิดการสะท้อนกลับ (reflection) และอาจถูกดูดกลืน (absorption) ซึ่งจะทำให้ระดับพลังงานลดลงเมื่อเทียบกับพลังงานที่แหล่งกำเนิดของการแผ่พลังงานนั้น ซึ่งหมายถึงว่ามนุษย์จะได้รับการแผ่พลังงานน้อยลงเมื่ออยู่ภายในอาคารเมื่อเทียบกับภายนอกอาคารหรืออยู่ใกล้แหล่งกำเนิดของการแผ่พลังงานนั้น

3. ผลกระทบทางชีวภาพและอันตรายจากสุขภาพแตกต่างกันอย่างไร?

ผลกระทบทางชีวภาพเกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงที่สามารถวัดได้ในระบบชีวภาพที่เป็นการตอบสนองจากสิ่งกระตุ้น (สิ่งเร้า) หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ผลกระทบทางชีวภาพไม่จำเป็นต้องเป็นอันตรายต่อสุขภาพเสมอไป แต่ผลกระทบทางชีวภาพจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ต่อเมื่อทำให้เกิดผลเสียหายต่อสุขภาพของบุคคลเท่านั้น

เป็นที่ทราบกันมาหลายสิบปีแล้วว่า การได้รับคลื่นวิทยุที่มีกำลังแรงมาก ๆ จะทำให้เนื้อเยื่อสะสม ความร้อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อได้ หากร่างกายไม่สามารถหาวิธีจัดการกับความร้อนนั้นได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ความแรงของคลื่นวิทยุที่ประสบพบกันโดยทั่วไปนั้น มีค่าต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดการสะสมความร้อนและอุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น อยู่มากทีเดียว

คนทั่วไปจะให้ความสนใจกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายจากการได้รับคลื่นวิทยุที่ความแรงระดับ ต่ำ ๆ ดังกล่าวเป็นเวลานาน ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า อาจมีผลกระทบทางชีวภาพ แต่ไม่ได้ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีผลการศึกษาเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาทบทวนทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกกันว่า peer review หรือไม่ได้มีการยืนยันอย่างอิสระโดยบุคคลกลุ่มอื่น วงการระหว่างประเทศต่างเห็นพ้องกันว่า ขีดจำกัดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิจารณาทบทวน โดยเผื่อปัจจัยความปลอดภัยเข้าไปแล้วเพื่อป้องกันสุขภาพ

4. มาตรฐานสากลว่าไว้อย่างไร?

ในปี ค.ศ.1998 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่เรียกว่า International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (ICNIRP) ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกว่า เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระทางวิทยาศาสตร์ในด้านผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ออกข้อเสนอแนะว่าด้วยขีดจำกัดของการได้รับคลื่นวิทยุ ซึ่งใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือ สถานีฐาน และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่น ๆ

2

Page 7: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

6

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

ข้อเสนอแนะของ ICNIRP นี้ จัดทำขึ้นมาจากการพิจารณาทบทวนข้อเขียนและบทความทางวิชาการ ผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นผลกระทบจากความร้อนและที่ไม่ได้เกิดจากความร้อน และเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพโดยภาพรวมทั้งหมดทุกประเภท โดยรวมค่าเผื่อไว้ด้วยแล้วค่อนข้างมากทีเดียว

ICNIRP ก็ได้ติดตามผลการศึกษาวิจัยและทดลองอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่ว่าข้อมูลจะได้ทันสมัยและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพได้จริง โดยในปี ค.ศ.2009 ICNIRP ได้เผยแพร่ผลของการพิจารณาทบทวนข้อมูลการวิจัยมากกว่าพันบทความ ข้อเสนอแนะของ ICNIRP นี้ได้นำไปใช้ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย แม้ว่าบางประเทศอาจจะพิจารณากำหนดมาตรฐานหรือขีดจำกัดของตนเองด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และได้มีข้อสรุปว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏขีดจำกัดการได้รับคลื่นวิทยุยังคงใช้ได้ต่อไป เนื่องจากไม่มีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่จะทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงขีดจำกัดในขณะนี้

5. การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือและสถานีฐานมีลักษณะอย่างไร?

ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทำงานในลักษณะของเซลล์ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง โดยมีสถานีฐานเป็นตัวกลางเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างโทรศัพท์มือถือได้ โดยมีคลื่นวิทยุเป็นสื่อกลาง ผู้ใช้จะติดต่อกับ สถานีฐานผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยที่ระบบยังคงความสามารถให้ติดต่อสื่อสารกันได้แม้ต้องเปลี่ยนพื้นที่ให้บริการจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง

เมื่อเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ เครื่องจะรับสัญญาณควบคุมจากสถานีฐานที่อยู่ใกล้เคียงทั้งหมด ซึ่งหลังจากเลือกสถานีฐานที่เหมาะสมได้แล้ว จึงจะเชื่อมต่อเข้าระบบได้ เครื่องจะอยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน โดยส่งสัญญาณออกเป็นระยะสั้น ๆ เพื่อแจ้งให้สถานีฐานทราบตำแหน่งที่ตั้ง เว้นแต่จะมีการโทรเกิดขึ้น

เครื่องโทรศัพท์มือถือและสถานีฐานจะแผ่คลื่นวิทยุแตกต่างกัน เครื่องโทรศัพท์มือถือจะแผ่คลื่นวิทยุเฉพาะในขณะที่มีการโทรเท่านั้น ส่วนสถานีฐานนั้นจะมีการส่งสัญญาณอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะได้รับคลื่นวิทยุในระดับสูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีฐานมาก

F เครื่องโทรศัพท์มือถือ มีกำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 2 วัตต์ ความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือพลังงานที่ผู้ใช้ได้รับ) ของเครื่องโทรศัพท์มือถือนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ห่างจากตัวเครื่องมากขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้งานที่ถือโทรศัพท์ห่างจากศีรษะเป็นระยะมากกว่า 10 เซนติเมตร (ใช้แฮนด์ฟรีช่วย) จะได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับที่ต่ำกว่าผู้ใช้ที่ถือโทรศัพท์อยู่ติดศีรษะมาก

ที่มาภาพ : http://www.celtnet.org.uk/mobile-

phone/mobile-phone-information.php

Macro site / Highway หรือ Motorway (15 เมตรขึ้นไป)

3

Page 8: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

7

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

F สถานีฐาน มีกำลังส่งตั้งแต่ไม่กี่วัตต์จนถึงมากกว่า 100 วัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ให้บริการหรือที่เรียกว่าเซลล์ (cell) โดยปกติแล้ว สายอากาศของสถานีฐานจะมีความกว้างประมาณ 20-30 เซนติเมตร และมีความยาวประมาณ 1 เมตร ติดตั้งบนเสาอากาศ (tower) ที่ความสูง 15-50 เมตร เหนือพื้นดิน สายอากาศเหล่านี้จะส่งลำคลื่นซึ่งปกติแล้วจะมีลำแคบมากในแนวตั้งแต่จะมีความกว้างมากในทิศตามแนวนอน และเนื่องจากลำคลื่นที่แคบมากนี้เองที่ทำให้ความแรงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับพื้นดินใต้สถานีฐานจะต่ำมาก ความแรงของสนามจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนที่ออกห่างจากสถานีฐานนั้น และจะลดลงตามระยะทางที่ห่างออกจากสายอากาศออกไป

สถานีใช้กำลังส่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่หรือขนาดของเซลล์ที่ต้องการให้ครอบคลุม มีตั้งแต่ต่ำกว่า 1 วัตต์ จนถึง 100 วัตต์ ทั้งนี้ สถานีฐานที่อยู่ภายในตึกจะมีกำลังส่งน้อยกว่านี้ ในกรณีสถานีฐานที่ตั้งอยู่ภายนอก จะใช้สายอากาศเพื่อส่งสัญญาณไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือ มีขนาดกว้างตั้งแต่ 15-30 เซนติเมตร และสูง 1-3 เมตร (ขึ้นอยู่กับความถี่ใช้งาน) สายอากาศจะแพร่กระจายคลื่นในลักษณะที่แนวตั้งแคบและแนวนอนกว้าง (ดูรูปประกอบ) ซึ่งจะทำให้สัญญาณคลื่นวิทยุบริเวณใต้เสาของสถานีฐานที่ได้รับมีค่าน้อยมาก โดยส่วนใหญ่แล้ว พื้นที่ที่คนทั่วไปเข้าถึงจะอยู่ต่ำกว่าขีดจำกัด 50-50,000 เท่า

Macro site / Highway หรือ Motorway (15 เมตรขึ้นไป)

Macro site / rural area (15 เมตรขึ้นไป)

Macro site / dense area / Pole (5 เมตรขึ้นไป)

4

Page 9: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

8

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

โดยปกติแล้ว สำหรับสถานีฐานที่ติดตั้งอยู่บนดาดฟ้านั้นจะมีรั้วกั้นในระยะ 2-5 เมตร เพื่อกันคนไม่ให้เข้าใกล้บริเวณที่ความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าเกินขีดจำกัด และเนื่องจากสายอากาศจะส่งกำลังในทิศชี้ออก และไม่ได้มีการแผ่พลังงานในปริมาณมากทางด้านหลัง ด้านบนและด้านล่างของสายอากาศ ดังนั้น ระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในหรือด้านข้างของตึกนั้นจะมีระดับต่ำ 6. ความปลอดภัยจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือนั้น จะพิจารณาว่าปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่ได้นั้นจากการประเมินค่า SAR ซึ่งเป็นค่าพลังงานคลื่นวิทยุที่ร่างกายดูดกลืนเข้าไป ค่า SAR ที่ได้จากการประเมินเป็นค่าสูงสุดที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ แต่ค่าที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานจริงจะมีค่าต่ำกว่าค่าที่วัดได้จากห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้น โทรศัพท์มือถือมีหลักการควบคุมกำลังส่งแบบอัตโนมัติเพื่อลดกำลังส่งในขณะใช้งานให้มีค่าต่ำสุดเท่าที่ยังสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทำให้ประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ สามารถคุยได้นานขึ้นและลดการรบกวนต่อผู้ใช้รายอื่น ดังนั้น ค่ากำลังส่งในระหว่างการสนทนาอาจมีค่ากำลังส่งตั้งแต่ 0.001 – 1 วัตต์ เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่ใกล้สถานีฐาน ค่ากำลังส่งก็จะต่ำ ทำให้ค่า SAR ต่ำไปด้วย

องค์การอนามัยโลกได้ให้ความเห็นไว้ว่า ข้อเสนอแนะของสากลจะคำนึงถึงการป้องกันทุกคนอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันเป็นพิเศษสำหรับการใช้โทรศัพท์มือถือ ถ้าผู้ใช้มีความกังวลก็สามารถที่จะลดผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือได้โดยการลดระยะเวลาการใช้โทรศัพท์ หรือใช้อุปกรณ์ hands-free เพื่อให้โทรศัพท์ห่างจากลำตัวและศีรษะ หรืออาจใช้อุปกรณ์หูฟัง Bluetooth ซึ่งใช้กำลังส่งที่ต่ำกว่ามากก็ได้ 7. ความปลอดภัยจากการได้รับคลื่นวิทยุจากสถานีฐาน

7.1 การวัดระดับการแผ่คลื่นวิทยุของสถานีฐานในต่างประเทศ

Henderson and Bangay (2006) รายงานผลการตรวจวัดระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ วัดสัญญาณในระบบ CDMA800 GSM900 GSM1800 และ 3G (UMTS) โดยวัดในระยะทางระหว่าง 50 ถึง 500 เมตร ในจำนวน 5 เมืองของประเทศออสเตรเลีย ระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีระดับต่ำมาก ระดับสูงสุดของสัญญาณที่บันทึกได้ คือ 8.1x10-4 W/m2

5

Page 10: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

9

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

การวัดที่จุดห่างจากเสาส่งสัญญาณ

เทคโนโลยี ผลการวัดความหนาแน่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (W/m2)

50 เมตร 200 เมตร 500 เมตร ค่าสูงสุดที่วัดได้1

CDMA (จำนวน 29 เสา)

2.7x10-5 3.3x10-5 5.9x10-6 8.1x10-5

GSM900 (จำนวน 51 เสา)

3.3x10-4 2.6x10-4 2.3x10-5 7.1x10-4

GSM1800 (จำนวน 12 เสา)

3.1x10-4 4.1x10-5 4.7x10-6 4.3x10-4

3G (จำนวน 35 เสา)

4.1x10-5 5.6x10-5 7.6x10-6 1.4x10-4

เสาส่งสัญญาณทั้งหมด

3.8x10-4 2.8x10-4 2.8x10-5 8.1x10-4

1 ค่าสูงสุดในระยะทางระหว่าง 50 ถึง 200 เมตร การวัดความหนาแน่นกำลัง (power density) โดยการสุ่มจากจำนวน 20 เสาของระบบ GSM ที่เป็น

สถานีแบบแมคโครเซลล์ และพิโคเซลล์ โดย Cooper at al (2006) สถานีฐานที่มีสายอากาศเดียวและมีเครื่องส่งหนึ่งและสี่เครื่อง ความสูงสายอากาศอยู่ระหว่าง 2.5 เมตร และ 9 เมตร และมีกำลังส่งระหว่าง 1-5 วัตต์ ซึ่ง 95% ของข้อมูลอยู่ในระหว่างเส้นขนานที่มีความต่างกัน 21 dB ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นกำลังที่ระยะ 1 เมตร มีค่าประมาณ 2x10-2 W/m2 ซึ่งลดลงมาที่ 3x10-3 W/m2 ที่ระยะ 10 เมตร และ 2x10-6 W/m2 ที่ระยะ 100 เมตร เส้นขนานมีความชัน -10 dB จนถึงระยะ 20 เมตร และมีความชัน -40 dB/decade ที่ระยะทางไกลออกไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าที่วัดได้มีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดที่มาตรฐานกำหนดอยู่มาก

7.2 การวัดระดับการแผ่คลื่นวิทยุของสถานีฐานของไทย

กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศแคนาดาภายใต้โครงการ “Product Safety Program” สำรวจระดับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสถานีฐานของการให้บริการโทรศัพท์มือถือในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี โดยการวัดความหนาแน่นกำลังของการแผ่คลื่นวิทยุ โดยใช้เครื่องมือ GLOBE (Geographically Located Observation of Base-Station Emission) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่วัด ความหนาแน่นกำลังในย่านความถี่วิทยุที่ใช้สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในย่านความถี่วิทยุ 824-894 MHz และ 1850-1975 MHZ และระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม (GPS: Global Positioning System) ซึ่งการวัดของเครื่องนี้ประเภทนี้จะติดตั้งอยู่บนหลังคารถ และจะวิ่งตามเส้นทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี โดยจะบันทึกค่าความหนาแน่นกำลังและตำแหน่งที่วัดตามเส้นทางรถวิ่ง

6

Page 11: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

10

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

8. คลื่นวิทยุกับเด็ก พ่อแม่บางคนมีความเป็นกังวลว่าอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในกรณีของเด็กที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ

สถานีฐานตั้งอยู่ในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือที่พักอาศัย บางประเทศในยุโรปได้เสนอมาตรการป้องกันไว้ก่อนสำหรับเด็กเล็ก เนื่องจากเห็นว่าอาจมีความเสี่ยง

มากกว่า และเพื่อจำกัดการได้รับคลื่นตลอดช่วงชีวิตให้น้อยลง หน่วยงานสาธารณสุขบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งองค์การ

อนามัยโลกได้ให้ความเห็นว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีมาตรการใด ๆ เพิ่มเติม ข้อเสนอแนะสากลที่มีอยู่ก็ได้คำนึงถึงการป้องกันให้กับทุกเพศ วัย และสถานะ รวมทั้งเด็กและสตรีมีครรภ์ด้วยแล้ว

9. อุปกรณ์ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในปัจจุบันมีการเสนอขายอุปกรณ์เป็นจำนวนมากที่อ้างว่าจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยหรือลดความเสี่ยง

จากการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นซองป้องกัน ซึ่งผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวอ้าง และในทางสาธารณสุขก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีผลดีต่อสุขภาพจริง ดังนั้น หากมีความกังวลในเรื่องดังกล่าวจริงน่าจะใช้อุปกรณ์ hands-free มากกว่า เนื่องจากเห็นผลได้จริงว่าสามารถลดระดับการใช้คลื่นวิทยุได้มากกว่า 10 เท่า

ที่มาภาพ: http://www.iinc.org/articles/244/1/The-411-On-California-Cell-

Phone-Laws/Page1.html

ผลของการวั ดในโครงการ ดังกล่าว ค่าความหนาแน่นกำลังมีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดของมาตรฐานของประเทศ แคนาคา และต่ำกว่าค่าขีดจำกัดของมาตรฐานแคนาดาอย่างน้อย 1,000 เท่า และค่าที่วัดได้ในชานเมืองมีค่าน้อยกว่าค่าที่วัดได้ในเมือง

7

Page 12: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

11

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

ผลการศึกษาและวิจัย ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา มีการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับคลื่นวิทยุและผลกระทบต่อ

สุขภาพ (มากกว่าหนึ่งพันเรื่องที่อยู่ในฐานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก) ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา หน่วยงานภาครัฐและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 20 กลุ่ม ได้พิจารณาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพที่ยืนยันได้หากได้รับคลื่นวิทยุในระดับความแรงต่ำกว่าที่ ICNIRP ได้กำหนดไว้ และองค์การอนามัยโลกก็ได้แนะนำให้แต่ละประเทศนำขีดจำกัดตาม ICNIRP ไปใช้เป็นขีดจำกัดภายในประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกก็ได้ระบุประเด็นหรือหัวข้อศึกษาวิจัยที่สมควรทำต่อไป เพื่อหาคำตอบที่แน่ชัดและยืนยันในการพิจารณาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ ซึ่งในขณะนี้มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากที่มุ่งเน้นเรื่องดังกล่าว

“ICNIRP มีความเห็นว่า ข้อมูลทางวิชาการที่ตีพิมพ์ภายหลังจากที่ ICNIRP ได้ออกข้อเสนอแนะเมื่อปี ค.ศ.1998 จนถึงปัจจุบัน ไม่ได้แสดงว่ามีหลักฐานของผลกระทบในแง่ร้ายต่อสุขภาพ หากได้รับคลื่นวิทยุย่านความถี่สูง (สูงกว่า 100 kHz) ในระดับที่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน จึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องปรับค่าขีดจำกัดใหม่ และยังคงยืนยันว่าขีดจำกัดเดิมมีความปลอดภัยและเหมาะสมดีแล้ว”

“ผลการศึกษาที่ได้จากโครงการวิจัยนานาชาติ Interphone Study ที่มีอยู่ในขณะนี้ พบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือนานประมาณ 10 ปี ไม่ได้เพิ่มระดับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งในศีรษะแต่อย่างใด”

“ข้อมูลการวิจัยเชิงระบาดวิทยาที่มีอยู่ในส่วนของการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่ำ ๆ เป็นเวลานาน (เช่น การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มีระดับต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานสากลประมาณหนึ่งหมื่นเท่า) ไม่พบว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ” ที่มา: ICNIRP Statement on the “Guidelines”, September 2009

“ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต (เช่น 3G หรือสูงกว่า) ยังคงใช้สำหรับการสนทนาเป็นสำคัญ เช่น

เดียวกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีใช้งานในปัจจุบัน แต่ว่าจะมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมส์แบบโต้ตอบกันได้ รายการสาระและบันเทิงรูปแบบใหม่เช่น วีดีโอหรือโทรทัศน์ผ่านมือถือ การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือในอนาคตนี้จะมีระดับที่ต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีกำลังส่งที่ต่ำกว่า แต่ผู้ใช้อาจใช้งานนานกว่าก็เป็นได้

สำหรับการใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช่สำหรับการสนทนาแล้ว การได้รับคลื่นยิ่งจะน้อยกว่า เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างตัวโทรศัพท์มือถือกับร่างกาย แต่ผู้ใช้งานก็อาจใช้งานเป็นระยะเวลามากขึ้นเช่นเดียวกัน ประเด็นที่ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปคือ การที่อุปกรณ์ใช้ความถี่ในย่านที่สูงขึ้น และกำลังส่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามแบนด์วิดธ์ที่ใช้งาน จะทำให้เกิดผลกระทบในเชิงชีวภาพอย่างไรบ้าง” ที่มา: ICNIRP Statement on EMF-Emitting New Technologies, April 2008

ส่วนที่

2

8

Page 13: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

12

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

“ได้มีผลการศึกษาวิจัยที่ได้ดำเนินตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก ซึ่งจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่ปรากฏว่าเกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อสุขภาพ” ผลกระทบในระยะสั้นต่อสุขภาพ

พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นความถี่จะทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายร้อนขึ้น โดยที่ความถี่ที่ใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น พลังงานส่วนใหญ่จะถูกดูดกลืนโดยผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งจะทำให้มีสมองและร่างกายส่วนอื่นมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แทบจะสังเกตไม่ได้

มีผลการศึกษาเป็นจำนวนมากที่ทำการวิจัยผลของคลื่นความถี่ที่เกิดขึ้นกับการทำงานของสมอง ระบบความจำ การนอนหลับ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร แต่ทว่า จนถึงปัจจุบัน ผลการศึกษาวิจัยยังไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือและเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่าจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในแง่ร้ายเมื่อได้รับคลื่นที่ระดับต่ำกว่าระดับที่ทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายร้อนขึ้น นอกจากนั้น ผลการศึกษาวิจัยยังไม่สามารถหาหลักฐานสนับสนุนสมมุติฐานที่ ว่ า การได้รับคลื่นแล้วจะทำให้ เกิดอาการที่ เรียกว่ า “electromagnetic hypersensitivity” หรืออาการเกินระดับปรกติต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพ

ผลการศึกษาวิจัยเชิงระบาดวิทยาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงจากการได้รับคลื่นความถี่ในระยะยาวส่วนใหญ่จะทำการศึกษาในประเด็นของเนื้องอกในสมองกับโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมะเร็งส่วนใหญ่ไม่สามารถพบได้จนกว่าจะผ่านไปหลายปีหลังจากที่เกิดปฏิกิริยาที่เป็นจุดกำเนิดของเนื้องอก และโทรศัพท์มือถือเองก็มีใช้เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ ดังนั้น ผลการศึกษาเชิงระบาดวิทยาจึงสามารถศึกษาได้เฉพาะมะเร็งที่สามารถพบได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่านั้น แม้กระนั้นก็ตาม หลักฐานจากผลการทดลองกับสัตว์แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นจากการได้รับคลื่นความถี่ในระยะยาว

ได้มีผลการศึกษาวิจัยเชิงระบาดวิทยาระดับนานาชาติหลายโครงการที่เสร็จสิ้นแล้วหรืออยู่ระหว่างการทำวิจัย ผลการศึกษาที่ได้จนถึงปัจจุบันไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบที่มีต่อสุขภาพกับการได้รับคลื่นความถี่ได้ แต่ว่าผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวเองก็มีข้อจำกัดหลายประการ ซึ่งทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ เลยเช่นเดียวกัน

โครงการวิจัยนานาชาติ Interphone Study ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ได้ถูกออกแบบให้ทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยแค่ไหนระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือกับโรคมะเร็งในศีรษะและลำคอในผู้ใหญ่ ข้อมูลที่ได้จากประเทศที่เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 13 ประเทศ ไม่พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งแบบ glioma/meningioma เพิ่มขึ้นในกรณีของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 10 ปี แม้ว่าจะมีสิ่งบ่งชี้บางประการว่าอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งแบบ glioma เพิ่มขึ้นในกรณีของผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน (10% สูงสุด) แต่ก็ไม่มีความสัมพันธ์ในกรณีความเสี่ยงกับการใช้งานต่อเนื่องกัน ดังนั้น นักวิจัยจึงสรุปว่า ไม่สามารถหาข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์

เมื่อไม่มีข้อมูลที่เป็นข้อยุติจากโครงการวิจัย Interphone Study ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงจากการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป กับโรคมะเร็งสมอง โดยเฉพาะเมื่อคำนึงจากข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีอายุน้อยลง

9

Page 14: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

13

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

เรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาที่ใช้โทรศัพท์มือถือตลอดช่วงอายุมีระยะเวลามากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ที่มา: WHO Fact Sheet No 193, May 2010

“เมื่อพิจารณาระดับการได้รับคลื่นความถี่ที่ต่ำมากและข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่มี

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ว่า คลื่นความถี่จากสถานีฐานและโครงข่ายไร้สายทำให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อสุขภาพ”

สถานีฐานและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย

ในปัจจุบัน โทรศัพท์เคลื่อนที่และเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูง เช่น WLAN หรือ Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายทั่วไป เมื่อจำนวนของสถานีฐานเพิ่มขึ้น ประชาชนทั่วไปจะได้รับคลื่นความถี่ในระดับที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ผลการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไป จะได้รับคลื่นความถี่ในระดับต่ำ อยู่ประมาณ 0.002% - 2% ของขีดจำกัดที่กำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งแปรผันตามปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างใกล้ไกลจากสถานีฐาน และสภาพแวดล้อมจริงในการใช้งาน โดยค่าที่วัดได้นั้น จะต่ำกว่าค่าการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์โดยทั่วไป

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ผลกระทบที่พบในทางวิทยาศาสตร์เมื่อได้รับคลื่นความถี่ในย่านที่เป็นคลื่นวิทยุนั้น จะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของร่างกาย (มากกว่า 1 องศาเซลเซียส) เมื่อได้รับคลื่นความถี่ที่มีความเข้มมาก ๆ ซึ่งจะพบในอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น เครื่องทำความร้อนด้วยคลื่นความถี่ เท่านั้น แต่การได้รับคลื่นความถี่จาก สถานีฐานและโครงข่ายไร้สายที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น จะอยู่ในระดับต่ำมากจนไม่ก่อให้เกิดผลใด ๆ ต่อร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการได้รับคลื่นความถี่จากวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งใช้ความถี่ต่ำกว่าความถี่ที่ใช้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แล้วทำให้ร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศสามารถดูดกลืนพลังงานที่ได้รับจากแหล่งเครื่องส่งดังกล่าวได้มากกว่าก็ตาม ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา

ได้มีรายงานข่าวหรือคำกล่าวที่ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใต้หรือรอบ ๆ สถานีฐานเป็นมะเร็งเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งต้องพิจารณารายงานอย่างถี่ถ้วนและระมัดระวัง เนื่องจากว่าในแง่พื้นที่นั้น โรคมะเร็งจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่ได้กระจายโดยทั่วถึงอย่างเท่าเทียม และจากรายงานพบว่า มะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายประเภทและมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่น่าจะเกิดจากมูลเหตุเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผลการศึกษาเชิงระบาดวิทยาซึ่งเก็บจากตัวอย่างในรอบสิบห้าปีที่ผ่านมา พบว่า ไม่มีหลักฐาน ความสัมพันธ์กันระหว่างมะเร็งที่เกิดขึ้นกับการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีและเทคโนโลยีไร้สายอื่น ๆ และผลการศึกษาผลกระทบกับสัตว์ทดลองก็ไม่พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็ง เมื่อได้รับคลื่นในระดับที่สูงกว่าระดับที่ได้รับจากสถานีฐานและโครงข่ายไร้สายอื่น

ผลการศึกษาบางส่วนมุ่งเน้นผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไปจากการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีฐาน

10

Page 15: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

14

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

แต่ว่ามีข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดของการศึกษาในแง่ที่ว่าไม่สามารถแยกแยะการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีฐานออกจากการได้รับคลื่นความถี่จากแหล่งอื่นได้อย่างชัดเจน จึงไปศึกษาในประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไปจากการใช้โทรศัพท์มือถือแทน ซึ่งก็ไม่พบว่ามีผลกระทบแต่อย่างใด

มีผลการศึกษาที่กล่าวถึงอาการไวเกินระดับปรกติต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic hypersensitivity) ซึ่งเป็นอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าใกล้สถานีฐาน ซึ่งแม้ว่าจะมีอาการเกิดขึ้นจริง แต่ว่าหลักฐานในทางการแพทย์ไม่ระบุว่ามีสาเหตุจากการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีฐานนั้น ๆ

จากผลการศึกษาวิจัย และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่พบว่ามีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเนื่องจากโครงข่ายไร้สายที่ใช้กันทั่วไปนั้นมีกำลังส่งที่ต่ำกว่าสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มาก จึงไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ที่มา: WHO Fact Sheet No 304, May 2006

11

Page 16: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

15

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

ส่วนที่ 3 คำถามที่พบบ่อย ๆ

F เคยอ่านพบว่าโทรศัพท์มือถือทำให้เกิดมะเร็ง จริงหรือเปล่า? ปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ว่า ใช้โทรศัพท์มือถือแล้วจะทำให้เป็นเนื้องอกใน

สมองหรือมะเร็งอย่างอื่นในคน โดยวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่าสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือมีกำลังต่ำ และไม่ได้มีพลังงานมากพอที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัตถุในยีนของมนุษย์

F แล้วอันตรายต่อสุขภาพอย่างอื่นล่ะ? วงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้พิจารณาจากข้อมูลผลการศึกษาวิจัยและข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ และสรุป

ว่า ไม่มีหลักฐานที่เพียงพออันจะเชื่อได้ว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจากสัญญาณคลื่นความถี่จากโทรศัพท์มือถือ

F รู้ได้อย่างไรว่าผลการวิจัยเหล่านั้นเชื่อถือได้? การวิจัยที่เกี่ยวกับผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่มีต่อสุขภาพต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่ซับซ้อน ใช้แบบ

จำลองที่ผ่านการทดลองกับตัวอย่างแบบอื่นมาแล้วว่าใช้ได้ ผลที่ได้จากการวิจัยต้องผ่านการพิจารณาทบทวนโดยองค์กรในระดับนานาชาติ เช่น ICNIRP หรือองค์การอนามัยโลก

F ถ้าพักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานีฐาน มีความเสี่ยงหรือไม่? วงการวิจัยวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพแม้ว่าจะพักอาศัยอยู่ใกล้กับสถานีฐาน

ก็ตาม ผลจากการวัดแสดงให้เห็นว่า ค่าการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยทั่วไปแล้วมีค่าอยู่ระหว่าง 0.002% - 2% ของขีดจำกัดตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งใกล้เคียงหรือต่ำกว่าค่าการได้รับคลื่นความถี่จากสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ค่าที่ว่านี้จะสูงในกรณีที่อยู่ใกล้กับสายอากาศของ สถานีฐานมาก ๆ ซึ่งบุคคลทั่วไปจะเข้าไปถึงพื้นที่เหล่านั้นไม่ได้อยู่แล้ว

F ทำไมห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในโรงพยาบาล? ถ้าโทรศัพท์มือถือใช้งานอยู่ใกล้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์มาก ๆ สัญญาณที่ส่งออกจาก

โทรศัพท์มือถือจะรบกวนอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งหากใช้งานห่างออกไป 1-2 เมตร โอกาสที่จะเกิดการรบกวนจะลดลงอย่างมาก โรงพยาบาลเองก็ได้กำหนดพื้นที่ที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ไว้อยู่แล้ว

F ทำไมห้ามใช้โทรศัพท์มือถือเมื่อเดินทางด้วยเครื่องบิน? เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้วสำหรับสายการบินที่จะขอให้ปิดเครื่องมือสื่อสารที่ใช้คลื่น

12

ส่วนที่

3

Page 17: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

16

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

ความถี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดในระหว่างการบิน เว้นแต่ว่าจะสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการรบกวนต่อระบบการทำงานของเครื่องบิน

F ได้ยินข่าวว่าโทรศัพท์มือถือระเบิดที่ปั๊มน้ำมัน จริงหรือไม่? ไม่มีหลักฐานว่าสัญญาณคลื่นความถี่จากโทรศัพท์มือถือหรือจากสถานีฐานจะทำให้เกิดระเบิดหรือไฟไหม้

ในบริเวณปั๊มน้ำมัน

F รู้ได้อย่างไรว่า 3G และเทคโนโลยีใหม่จะปลอดภัย? วงการวิทยาศาสตร์เห็นว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก 3G และเทคโนโลยีใหม่ในแง่ของคลื่นความถี่ไม่ได้

แตกต่างจากเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม ดังนั้น จึงสามารถใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันกับ 3G และเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน

F บางคนไวต่อสัญญาณคลื่นความถี่มากกว่าคนอื่น ๆ จริงหรือไม่? องค์การอนามัยโลกได้อธิบายว่า อาการปวดศีรษะและอาการอื่นที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่มี

ความสัมพันธ์ในแง่วิทยาศาสตร์กับการได้รับคลื่นความถี่ไม่ว่าจากสถานีฐานหรือจากโทรศัพท์มือถือ และขอให้พิจารณารักษาตามอาการที่ได้วินิจฉัยโรคไว้ โดยไม่จำเป็นต้องลดการได้รับคลื่นวิทยุ

F ได้อ่านงานวิจัยที่อ้างว่าการใช้โทรศัพท์มือถือจะทำให้เป็นหมันและอสุจิไม่แข็งแรง จริงหรือไม่?

มีผลการศึกษาวิจัยเบื้องต้นบางงานที่แสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เช่นว่า แต่งานวิจัยเหล่านั้นไม่ได้นำปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวกับลักษณะการใช้ชีวิต เช่น นิสัยการกิน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา มาพิจารณาร่วมด้วย

F รู้สึกว่าเป็นกังวลกับโครงข่ายไร้สายที่อยู่ในที่ทำงานหรือในโรงเรียนลูก? องค์การอนามัยโลกเห็นว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือได้ว่านี้ คลื่นความถี่จากสถานีฐาน

และโครงข่ายไร้สายทำให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อสุขภาพ ดังนั้น โครงสร้างไร้สายกำลังส่งต่ำ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ Wi-Fi ที่ใช้งานอยู่ในที่ทำงานหรือโรงเรียนจึงถือได้ว่าปลอดภัย

F เรื่องที่ว่าโทรศัพท์มือถือทำให้ไข่สุกหรือว่าทำให้ข้าวโพดกลายเป็นป๊อบคอร์นได้ จริงหรือไม่? ไม่จริง โทรศัพท์มือถือไม่สามารถมีกำลังส่งได้มากขนาดที่จะทำให้ไข่สุกหรือข้าวโพดกลายเป็น

ป๊อบคอร์นได้ กำลังส่งของโทรศัพท์มือถือสูงสุดไม่น่าเกิน 1-2 วัตต์ เมื่อเทียบกับกำลังของเตาอบไมโครเวฟที่อาจสูงถึง 900 วัตต์

F โทรศัพท์ที่มีค่า SAR ต่ำกว่าจะปลอดภัยกว่าเครื่องที่มีค่า SAR สูงกว่า จริงหรือไม่? ไม่จริงในแง่ที่ว่า ค่า SAR ที่ต่ำกว่าไม่ได้สัมพันธ์กับความปลอดภัย ค่า SAR ต้องต่ำกว่าขีดจำกัดตาม

เกณฑ์ของมาตรฐานสากลจึงจะถือว่าปลอดภัย

F จะหาค่า SAR ของโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ได้จากที่ไหน? หาได้จากคู่มือของโทรศัพท์รุ่นนั้น ๆ หรือจาก web site ของบริษัทผู้ผลิตก็ได้

13

Page 18: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

17

การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม มีแหล่งข้อมูลหลายแหล่งที่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) www.who.int/peh-emf/en International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (ICNIRP) www.icnirp.de สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(สำนักงาน กสทช.) www.ntc.or.th หัวข้อมาตรฐานโทรคมนาคม หัวข้อย่อยมาตรฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับ

การใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

เอกสารอ้างอิง : 1. สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , เอกสารเผยแพร่สำหรับผู้บริ โภค เรื่อง

ความปลอดภัยต่อสุขภาพจากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม, I ผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 2. สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , เอกสารเผยแพร่สำหรับผู้บริ โภค เรื่อง

ความปลอดภัยต่อสุขภาพจากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม, II การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่และสถานีฐาน

3. International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection, Exposure to high frequency electromagnetic fields, biological effects and health consequences (100 kHz-300 Hz), 2009

4. ICNIRP Statement, ICNIRP Statement on the “Guidelines for limiting exposure to time-varying electric, Magnetic, and Electromagnetic fields (up to 300 GHz)”, 2009

5. N.MANATRAKUL,A.THANSANDOTE,G.GAJDA,E.LEMAY,P CHANCUNAPAS and J.P. NCNAMEE, “ Measurement of Ground-Level emission from mobile phone base station in Bangkok using a low-cost RF field measurement system”,The ASEAN Journal of Radiology, December 2005

14

Page 19: การแผ่คลื่นวิทยุของโทรศัพท์มือถือ สถานีฐานและสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

87 ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์ 0 2271 0151-60 เว็บไซต์: www.ntc.or.th