150

ค ำน ำ - กระทรวงศึกษาธิการreo1.moe.go.th/strategy3/images/stories/ebook1-61.pdfค ำน ำ การต ดตาม ตรวจสอบ

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • ค ำน ำ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจ า

    ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ ๒ เป็นการติดตามภารกิจและนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณในการบริหารจัดการศึกษาของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้มีประสิทธิภาพ และให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนสะท้อนให้เห็นสภาพความส าเร็จรวมทั้งปัญหา อุปสรรคในการด าเนินงาน รวมถึงปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ในการปฏิบัติภารกิจของส านักงานศึกษาธิการภาค 2 เพ่ือให้การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล จึงได้จัดท ารายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา รอบที่ 1 ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายต่อไป

    กลุ่มตรวจรำชกำรและติดตำมประเมินผล ส ำนักงำนศึกษำธิกำรภำค 2

  • บทสรุปส ำหรับผู้บริหำร

    ผลการด าเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ ๒ ประจ า ปีงบประมาณ ๒๕๖1 มีวัตถุประสงค์ ๑) เพ่ือการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจ าปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ ๒ ๒) เพ่ือทราบปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของหน่วยงานและสถานศึกษาในพ้ืนที่ เขตตรวจราชการที่ ๒ ในการน านโยบายของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ และ๓) เพ่ือรายงานการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ ๒ ได้ด าเนินการ สรุปผลการด าเนินงานได้ดังต่อไปนี้

    นโยบำย 1 กำรยกระดับคุณภำพกำรศึกษำ

    1. ผลสัมฤทธิ์ O-NET/V-NET

    1.1 กำรยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET ของ สพป. สช. และสพม. 1.1 .1 มี การจัดท าโครงการยกระดับ O-NET ด้ วยกระบวนการ Training

    Schooling Tutoring and Reporting แผนงานโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ เพ่ือให้สอดคล้องกับการท างานของ สพฐ. และบูรณาการการด าเนินการจัดสอบให้สถานศึกษาทุกสังกัดในเขตพ้ืนที่มีเป้าหมายตอบสนองในเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ O-NET และใช้กระบวนการ PLC ในการประชุมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๕ กลุ่มสาระหลัก

    1.1.2 จัดสรรงบประมาณให้กลุ่มโรงเรียน ด าเนินการพัฒนานักเรียนและครู มีวัตถุประสงค์เพ่ือยกระดับผลการสอบ O-NET กลุ่มโรงเรียนด าเนินการจัดค่ายแบบเข้มพัฒนานักเรียนเพื่อเตรียมพร้อมการสอบ O-NET และพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนตามความจ าเป็นของกลุ่มโรงเรียน

    1.1.3 ประชุมปฏิบัติการการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านการปฏิบัติจริงแบบ Active Learning ให้กับครูโรงเรียนละ ๑ คน และครูน าไปขยายผลให้กับเพ่ือนครูในโรงเรียน

    1.1.4 จัดการสอบ Pre O-NET ให้กับนักเรียนชั้น ป.๖ ชั้น ม.๓ ทุกคนทุกโรงเรียน ทั้งในสังกัดและโรงเรียนต่างสังกัด ที่เข้าร่วมโครงการ และน าผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนานักเรียนเพื่อเตรียมพร้อมการทดสอบ O-NET

    1.1.5 น าจุดอ่อน จุดแข็งของผลการสอบมาพัฒนานักเรียน สอนเสริมให้กับนักเรียนให้พร้อมส าหรับการสอบ O–NET สพป. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอบแบบ STEM ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕ มีการด าเนินงานกิจกรรมทุกโครงการที่วางแผนการด าเนินงานไว้ โดยเป็นโครงการพัฒนารายกลุ่มสาระการเรียนรู้

    1.1.6 พัฒนาบุคลากรแกนน าด้านการวัดและประเมินผล เพ่ือปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด และรูปแบบการทดสอบ O-NET

  • 1.1.7 ให้บริการข้อสอบ O-NET พร้อมเฉลยของปีที่ผ่านมา และแจ้งรูปแบบโครงสร้างข้อสอบ O-NET ให้โรงเรียนทราบ เพื่อน าไปวางแผนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

    1.1.8 จัดท ารายงานผลการสอบ O-NET โดยการจัดกลุ่มระดับคุณภาพของแต่ละโรงเรียน เพื่อน าไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในการยกระดับ O-NET

    1.1.9 อบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในชั้นเรียน เพ่ือยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้กับครูผู้สอนทุกโรงเรียน

    1.1.10 นิเทศ ติดตามผลการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนที่มีการทดสอบ O-NET แบบ on the job training

    1.1.11 ประกาศรางวัลยกย่อง เชิดชูเกียรติคุณ ครูและผู้บริหารโรงเรียนที่มีผล O-NET สูงกว่าระดับ สพฐ. ระดับประเทศ และค่าเฉลี่ยคะแนนตั้งแต่ร้อยละ ๕0 ขึ้นไป (อยู่ระหว่างการรอผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศจากครูและผู้บริหารโรงเรียน)

    1.1.12 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจหลักสูตรคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) น าสู่การปฏิบัติ

    ผลการด าเนินงานตามโครงการประเมินคุณภาพผู้เรียน ประจ าปีการศึกษา 2560 ระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และสอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ. และ สทศ. กล่าวคือ เขตพ้ืนที่ท าหน้าที่เป็นศูนย์สอบในการด าเนินการทดสอบ อ านวยการและบริการเครื่องมือ(แบบทดสอบ) การสรุปผลการทดสอบให้กับสถานศึกษาทุกโรงเรียนทั้งในสังกัดและนอกสังกัด

    ปัญหำอุปสรรค โรงเรียนขนาดเล็กขาดแคลนครูผู้สอน มีครูไม่ครบชั้น การจัดการเรียนการสอนไม่

    ทันเวลา ไม่ครอบคลุมเนื้อหาและครูเข้ารับการอบรมบ่อยมาก ท าให้การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ของครูการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะมีการพัฒนาได้น้อย ต้องกระตุ้นบ่อยๆ ท าให้ผลการทดสอบ O-NET ในภาพรวมไม่สูงเท่าที่ควร ส่วนโรงเรียนเอกชนขาดบุคคลากรที่ตรงตามสาขา เนื่องจากไปสอบเข้าท างานภาครัฐ บุคคลากรภาคเอกชนจึงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ท าให้ไม่ได้รับการพัฒนาที่ดีและต่อเนื่องเท่าที่ควร

    ข้อเสนอแนะ ควรจัดระบบงานที่สั่งการมาจาก สพฐ. เพราะมีกิจกรรมมากเพ่ิมขึ้นทุกปี จัดครูให้ครบ

    ชั้นเรียน ยุบโรงเรียนที่อยู่ใกล้กัน น านักเรียนที่มีจ านวนน้อยมาอยู่รวมกัน และเพ่ิมครูให้ครบชั้น สอนให้ครบถ้วน ครอบคลุมทุกตัวชี้วัดและทุกมาตรฐาน ควรสร้างความเสมอภาคระหว่างบุคคลากรภาครัฐ และเอกชน รวมถึงความเสมอภาคที่มีต่อนักเรียนภาครัฐ และเอกชนให้เห็นว่า เป็น “เยาวชนคนไทยเหมือนกัน” เช่น การจัดอบรบครูร่วมกัน จัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมการสอบรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น การสนับสนุนให้มีเครือข่ายให้มากขึ้น โดยไม่แบ่งแยกสังกัด ตามแนวรู้รักสามัคคี ควรมีการแยกประเมินการทดสอบ O-NET ให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนเรียนรู้เป็นกรณีเฉพาะ จัดทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพของสถานศึกษา

    1.2 กำรยกระดับผลสัมฤทธิ์ V-NET ของ สอศ. สถานศึกษาอาชีวศึกษาได้ตระหนักและให้ความส าคัญกับการยกระดับคุณภาพ

    การศึกษา โดยมีการด าเนินการ ดังนี้ 1) มุ่งจัดการเรียนการสอนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรในแต่ละ

  • ระดับ 2) จัดทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพของสถานศึกษา และ3) จัดโครงการเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยการสอนเสริมพิเศษ หรือการทบทวนเนื้อหาสาระตลอดหลักสูตร โดยครูผู้สอนประจ าแต่ละสถานศึกษา

    ปัญหำอุปสรรค การทดสอบ V-Net เป็นการสอบที่เน้นภาคทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ และ

    นักเรียน นักศึกษาบางส่วนไม่ให้ความสนใจในการสอบเนื่องจากไม่มีผลต่อการจบการศึกษา ข้อเสนอแนะ

    ควรสอบ V-Net ในรูปแบบการปฏิบัติมากกว่า ควรพิจารณาหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากการสอบ V-Net ในการคัดเลือกเข้าท างาน ควรจัดประชุมชี้แจงท าความเข้าใจให้มากขึ้นกว่าเดิม และเพ่ิมเวลาในการติวเพ่ือสอบ V-Net ให้มากขึ้น จัดโครงการเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยการสอนเสริมพิเศษ หรือการทบทวนเนื้อหาสาระตลอดหลักสูตร โดยครูผู้สอนประจ าแต่ละสถานศึกษา

    1.3 กำรยกระดับผลสัมฤทธิ์ N-NET ของ กศน. การจัดการเรียนการสอนส่งผลให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรในแต่ละระดับ และ

    นักศ ึกษา กศน. ท ี่เข้ารับการสอนเสร ิมจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ปัญหำอ ุปสรรค

    นักศ ึกษาบางคนท ี่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมการสอนเสริมได้ เนื่องจากต ้องประกอบอาชีพ ได้แก ่ พนักงานบริษัท ลูกจ ้างในสถานประกอบการ รับจ้างทั่วไป และเกษตรกร ต้องท างานอย่างต ่อเนื่อง

    2. กำรยกระดับผลสัมฤทธิ์ PISA (สพป. สพม.)

    ได้ด าเนินการตามนโยบายจาก สพฐ. โดยจัดท าแผนงานตามนโยบายโดยเขียนโครงการ/กิจกรรมเพ่ือเตรียมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพ่ือเสริมสร้างทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการท าข้อสอบตามระบบออนไลน์ และก ากับติดตามการด าเนินงานของโรงเรียน เพ่ือให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวทางการประเมินของ PISA ตามตัวอย่างของข้อสอบ

    ปัญหำอุปสรรค การเข้าถึงข้อสอบ PISA ที่ สสวท.จัดท าข้ึน เข้าได้ยาก สมัคร e-mail แล้วเข้าใช้งานได้

    เมื่อใช้ครั้งต่อไปก็เข้าไม่ได้บ่อยมาก ข้อเสนอแนะ

    สร้างศรัทธาและให้ความส าคัญกับการจัดสอบ PISA อย่างต่อเนื่องไม่ใช่ท าเฉพาะปีที่จะจัดสอบ และควรจัดท าคลังข้อสอบ PISA และสอนวิธีการเข้าใช้ที่ง่าย และนักเรียนสามารถเข้าใช้ได้ทุกที่

    นโยบำย 2 กำรจัดกำรศกึษำปฐมวัย : ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนปฐมวัย สนใจการร่วมเข้ารับการประชุมและเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทุกโรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยและมีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยจ านวนสถานศึกษาที่ส่งครูเข้ารับการอบรม มีจ านวน 722 โรงเรียน มีครูได้รับการอบรมจ านวน 973 คน นอกจากนั้นมีสถานศึกษาที่ได้รับชมการถ่ายทอดความรู้หลักสูตรทางไกลจ านวน 722 โรงเรียน ครูจ านวน 993 คน

  • ปัญหำอุปสรรค โรงเรียนขนาดเล็กครูย้ายบ่อย การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง เอกสาร คู่มือหลักสูตร

    การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (ไม่มีแจกให้) การอบรมทางไกลเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ ครูผู้สอนปฐมวัย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ซึ่งทางส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้เขตพ้ืนที่การศึกษาในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ครูที่ชัดเจน ซึ่งหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นหลักสูตรใหม่ที่ต้องให้ครูผู้สอนวิเคราะห์และจัดท าเป็นหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน และจัดแผนประสบการณ์ส าหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม โรงเรียนได้รับทราบนโยบาย โดยให้แต่ละโรงจัดท าแผนงานกันเอง ด าเนินการเอง ติดตาม และตรวจสอบแผนงานเอง ไม่มีแนวทางร่วมกัน

    ข้อเสนอแนะ ควรเพ่ิมบุคลากร ศึกษานิเทศก์ที่ดูแลการจัดการศึกษาปฐมวัย ส านักงานคณะกรรมการ

    การศึกษาขั้นพ้ืนฐานควรจัดสรรงบประมาณให้ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา ทุกเขตพ้ืนที่ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูผู้สอนปฐมวัยทุกโรงเรียนในสังกัด เพ่ือให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาแกนกลาง พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพ่ือน าไปสู่การจัดท าหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน ได้สอดคล้องกับสภาพบริบทและท้องถิ่นได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

    นโยบำย 3 กำรพัฒนำทักษะภำษำอังกฤษ : ผลการด าเนินงาน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ มีครูเข้ารับการอบรม ตามโครงการ Boot Camp จ านวน 18๗ คน ซึ้งทุกคนสามารถน าความรู้ ทักษะ และเทคนิค การเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ได้รับไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้มีการแข่งขัน Drama and Speech ระดับมัธยมศึกษา การแข่งทักษะภาษาอังกฤษ Speech ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาโรงเรียนได้เป็นตัวแทนการแข่งขันระดับประเทศ ได้รับรางวัล และมีการจัดตั้งศูนย์ PEER Center เพ่ือเน้นย้ าให้ครูมีการพัฒนาตนเองและพัฒนานักเรียนผ่าน ศูนย์ PEER Center

    ปัญหำอุปสรรค ผู้บริหารไม่อนุญาตให้ครูเข้ารับการอบรมในช่วงเปิดภาคเรียน เพราะใช้เวลามากและทิ้ง

    ภาระงานการสอนนักเรียน ขาดศึกษานิเทศก์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนไม่จบเอกภาษาอังกฤษ ท าให้การสอนมีจุดอ่อนคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นไปตามคาดหวัง ไม่มีงบประมาณสนับสนุนให้โรงเรียนและศูนย์ ด าเนินการกิจกรรมได้เพียงพอ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน สพฐ. ศูนย์จัดอบรม Boot camp และเขตพ้ืนที่การศึกษา ขาดความต่อเนื่อง เขตพ้ืนที่ไม่ทราบลักษณะของหลักสูตรที่จัดอบรม การติดตามของศูนย์สอบโดยให้ครูน าเสนอผลงานที่ศูนย์อบรม เขตพ้ืนที่ ไม่ทราบผลเพราะศูนย์ไม่รายงานผลให้ เขตพ้ืนที่ทราบ ในส่วนของ สพฐ. แจ้งว่าจะให้ศึกษานิเทศก์ออกติดตามโดยจะสร้างเครื่องมือให้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีเครื่องมือการนิเทศ การรับสมัคร ให้ครูสมัครโดยตรงที่ศูนย์อบรมฯ โดยให้โควตาเขตพ้ืนที่ละ ๕ คน แต่บางรุ่น ไม่สามารถสมัครได้เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมเต็ม สพฐ. ให้ท าข้อมูลความต้องการอบรมตามโครงการ Boot Camp จ านวน 20 รุ่น แต่ยังไมท่ราบก าหนดที่แน่นอน

  • ข้อเสนอแนะ ควรจัดอบรมในช่วงปิดภาคเรียน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูภาษาอังกฤษ และหา

    ต้นแบบครูภาษาอังกฤษที่ประสบความส าเร็จในการสอน สร้างรูปแบบและแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษส่งครูผู้สอนเข้าอบรม ตามโครงการ Boot Camp ระยะเวลาการอบรม Boot Camp ติดต่อกันยาวเกินไป ควรอบรมสลับรุ่น เพราะโรงเรียนขนาดเล็กจะมีปัญหามาก ท าให้ผู้บริหารไม่อนุญาตให้ครูเข้าอบรม ศูนย์อบรม Boot Camp ควรสรุปผลการติดตามครูที่ผ่านการอบรมให้เขตพ้ืนที่ทราบ ผู้อ านวยการโรงเรียนควรอนุญาตให้ครูเข้าอบรม

    นโยบำย 4 กำรพัฒนำทักษะกำรคิดวิเครำะห ์ : นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงมากขึ้นมีประสบการณ์ตรง และเห็นคุณประโยชน์ในการน าความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการด าเนินชีวิตประจ าวันมากขึ้นท าให้นักเรียนได้มีโอกาสท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขี้น โดยการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพ่ือส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) มีนวัตกรรมเพ่ือเพ่ิมทักษะการคิดวิเคราะห์แก่ผู้เรียน และมีการบูรณาการองค์ความรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education)

    ปัญหำอุปสรรค ปัญหาอุปสรรคของสถานศึกษาสังกัด สพป.และ สช. โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาบุคลากรแต่ไม่ได้รับสนับสนุนงบประมาณด้าน

    สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาบุคลากรแนวสะเต็มศึกษาที่ผ่านมาเน้นการน าเสนอแนวทาง หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การบูรณาการ ยังไม่ค่อยมีตัวอย่างการด าเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ท าให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบูรณาการองค์ความรู้ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายยังไม่สอดคล้องตามแนวทางสะเต็มศึกษาเท่าที่ควร การพัฒนาบุคลากรที่ สสวท.เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมด้วยระบบทางไกล จ ากัดด้านจ านวน และผู้ผ่านการอบรมไม่ได้รับการสนับสนุนด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เพ่ือน าไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบไม่เคยผ่านการพัฒนาด้านสะเต็มศึกษามาก่อน (รับงานต่อเนื่องจากคนเดิมซึ่งเกษียณอายุราชการ) ท าให้อาจไม่สามารถนิเทศ ติดตามให้ค าแนะน าหรือให้ความช่วยเหลือโรงเรียนได้ดีเท่าที่ควร ยังขยายผลไม่ครบทุกโรงเรียน เนื่องจากงบประมาณจ ากัด ครูผู้สอนยังติดยึดกับเนื้อหาของตัวเอง มีการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ครูยังขาดทักษะการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ครูขาดทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนยังไม่ด าเนินการอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมบางอย่างต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณ

    ปัญหาอุปสรรคของสถานศึกษาสังกัด สพม.5 ด้ำนกำรจัดกระบวนกำรเรียนรู้ ข้อจ ากัดในเรื่องเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่

    ต้องใช้ระยะเวลามากในการที่จะพัฒนาให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการคิด และออกแบบการจัดเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ข้อจ ากัดในบางเนื้อหาที่เป็นนามธรรมท าให้ออกแบบกิจกรรมได้ยาก ข้อจ ากัดและความแตกต่างของศักยภาพผู้เรียนไม่เท่ากัน

    ด้ำนกำรบริหำรจัดกำร งบประมาณสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ มีน้อย บางโรงเรียนที่มีครูผู้สอนน้อย รับผิดชอบหลายงาน ท าให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาไม่สามารถด าเนินการได้ทุกชั้นเรียน การบูรณาการของ ๓ กลุ่มสาระเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

  • ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรเรื่องการบูรณาการการสอนตามแนวทางสะเต็ม

    ศึกษารวมทั้งสนับสนุนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ให้สามารถน าไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรให้ความส าคัญ ก าหนดเป็นนโยบายส าคัญเพ่ือกระตุ้นให้โรงเรียนด าเนินการ มีการนิเทศ ติดตาม อย่างต่อเนื่อง สพฐ. ควรสนับสนุนงบประมาณอย่างทั่วถึง และควรมีการจัดการอบรม ขยายผลให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมสะเต็มอย่างกว้างขวาง

    นโยบำย 5 กำรเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสำยอำชีพ : โดยภาพรวมส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีการก าหนดนโยบายในภาพรวมของประเทศ ให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสายสามัญ อยู่ที่ ๕๐ : ๕๐ โดยมุ่งเน้นการปรับภาพลักษณ์ของอาชีวศึกษา และให้ชุมชนและสถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาและก าหนดความต้องการก าลังคนสายอาชีวศึกษามากกว่าสายสามัญ โดยมีการด าเนินการ ดังนี้

    - มุ่งจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนอาชีวศึกษามีคุณภาพ มีสมรรถนะที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการจบแล้วมีงานท า

    - จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพ่ือให้ประชาชนได้เห็นถึงศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาสายอาชีพ เช่น โครงการร่วมด้วยช่วยประชาชน โครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพ่ือชุมชน (Fixit Center) และโครงการบริการชุมชนต่างๆ ตามศักยภาพของแต่ละสถานศึกษา

    - จัดโครงการแนะแนวการศึกษาต่อสายอาชีพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นต้น เพ่ือให้นักเรียน ม.3 ได้เข้าใจถึงความถนัดของตนเอง และเลือกศึกษาต่อได้อย่างถูกต้อง

    จากการด าเนินการดังกล่าว พบว่า ค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชน ยังไม่ให้ความส าคัญกับ การเรียนสายอาชีพเท่าท่ีควร ท าให้ปริมาณสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ก าหนดในภาพรวมของประเทศ

    ผลจากการที่โรงเรียนจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง เพ่ือการเข้าศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาได้ตามความสนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และผู้ปกครองเห็นลู่ทางหรือเส้นทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อเพ่ือการประกอบอาชีพที่นักเรียนต้องการในอนาคต และผู้ปกครองได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอาชีพอิสระที่สามารถท าเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม เพ่ือหารายได้แก่ครอบครัว นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัด และผู้ปกครองทุกคน ได้รับการแนะแนวการศึกษาและอาชีพก่อนส าเร็จการศึกษา จึงส่งผลให้อัตราการเรียนต่อสายอาชีพของนักเรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นเพ่ิมข้ึน

    ปัญหำอุปสรรค ความสนใจของนักเรียน ในการเข้าศึกษาสายอาชีวศึกษายังไม่เป็นที่นิยม เพราะว่า

    ค่านิยมของผู้ปกครอง และภาพลักษณ์ของนักเรียนสายอาชีวศึกษา สถานศึกษาสังกัด สพฐ. สพม. ไม่ได้ให้ความร่วมมือในการแนะแนวศึกษาต่อ เพราะว่าการจัดสรรงบประมาณเป็นรายหัวท าให้แต่ละสถานศึกษาต้องการรักษาเด็กไว้เรียนต่อ ม.ปลาย ครู แนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา ครูที่รับผิดชอบงานแนะแนวส่วนใหญ่เป็นครูที่จบวุฒิการศึกษาอ่ืนที่ไม่ใช่วุฒิการศึกษาทางการ แนะแนวโดยตรง จึงขาดความรู้ และขาดทักษะ ในการแนะแนวให้กับนักเรียน ท าให้การด าเนินงานแนะแนว ในสถานศึกษาเป็นไปในรูปแบบของการให้ความ

  • ช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาในการด ารงชีวิต มากกว่า การแนะแนวทางด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคม

    ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาผู้บริหารครูแนะแนวและครูประจ าชั้น ให้มีความรู้เข้าใจเห็นความส าคัญ

    และจ าเป็นของการจัดกิจกรรมแนะแนวให้กับนักเรียน อย่างต่อเนื่อง และเปิดโลกทัศน์ ให้เป็นครูแนะแนวที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่จะส่งผลกับนักเรียนในด้านการเรียน ด้านอาชีพ และด้านสังคม ควรพัฒนากระบวนการการนิเทศ ติดตามการด าเนินงานแนะแนวของสถานศึกษา ให้สามารถด าเนินการ ได้ครอบคลุมในทุกโรงเรียน ควรน าเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการแนะแนว นักเรียน ครู ทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคม เห็นควรมีคณะกรรมการติดตามนโยบายการเพ่ิมผู้เรียนสายอาชีพกับความร่วมมือของโรงเรียนมัธยมศึกษา เปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณรายหัวเป็นงบประมาณตามความต้องการของประเทศ

    นโยบำย 6 กำรพัฒนำก ำลังคนตำมควำมต้องกำรของสถำนประกอบกำรภำยในประเทศ : ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ให้ความส าคัญกับการพัฒนาก าลังอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยร่วมมือกับสถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม หอการค้าไทย และอ่ืนๆ ร่วมกันจัดตั้งเป็นคณะกรรมการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.อศ.) ตามสาขาอาชีพต่าง ๆ น าความต้องการมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทั้งในระดับ ปวช. และปวส. ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง โดยก าหนดให้สถานศึกษาในสังกัดน าหลักสูตรไปจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะวิชาชีพตรงตามความต้องการตามที่หลักสูตรก าหนดต่อไป อาชีวศึกษาจังหวัด ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 2 มีแนวทางการพัฒนาก าลังคนตามความต้องการของสถานประกอบการในประเทศ โดยมีการด าเนินการ ดังนี้ - มุ่งจัดการเรียนการสอนให้มีสมรรถนะวิชาชีพตามท่ีหลักสูตรก าหนด - จัดทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพของสถานศึกษาแต่ละแห่ง - แสวงหาความร่วมมือกับสถานประกอบการในการร่วมพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา ทั้งการจัดการเรียนการสอน การฝึกงาน และการฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี - จัดให้มีการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพก่อนส าเร็จการศึกษา การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และอ่ืนๆ เพ่ือให้ผู้ส าเร็จการศึกษา ได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ และพร้อมเข้าท างานทันที จากการด าเนินการ ดังกล่าว พบว่า ผู้เรียนส าเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีสมรรถนะวิชาชีพตามที่หลักสูตรก าหนด และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพก่อนส าเร็จการศึกษาทุกคน

    สถานศึกษามีหลักสูตรสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ คือ - มุ่งจัดการเรียนการสอนให้มีสมรรถนะวิชาชีพตามท่ีหลักสูตรก าหนด - จัดให้มีการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพก่อนส าเร็จการศึกษา การทดสอบมาตรฐานฝีมือ

    แรงงาน และอ่ืนๆ เพ่ือให้ผู้ส าเร็จการศึกษา ได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ และพร้อมเข้าท างานทันที

  • ปัญหำอุปสรรค การขาดแคลนสถานประกอบการในพ้ืนที่ใกล้กับวิทยาลัยฯ ค่านิยมของผู้ปกครองใน

    การส่งบุตรหลานเข้าเรียนทวิภาคีค่อนข้างน้อย เพราะเกรงว่าไปฝึกอาชีพไกลจากบ้านและกลัวล าบาก จึงให้เรียนสาขาปกติที่อยู่ในวิทยาลัย และเนื่องจากต้องเรียนและท างานสลับกัน นักเรียนนักศึกษาคิดว่าเหนื่อยล าบาก ต้องการเรียนอย่างเดียวสบายกว่า

    ข้อเสนอแนะ สร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับสถานประกอบการท้องถิ่น (SME) จัดสรร

    งบประมาณในการนิเทศติดตามเพ่ิมเติมให้กับสถานศึกษา เปลี่ยนทัศนคติของนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครองให้เห็นประโยชน์และความส าคัญของการเรียนทวิภาคี

    นโยบำย 7 กำรบริหำรจัดกำรศึกษำโรงเรียนขนำดเล็ก : ความส าเร็จในการแก้ปัญหาในด้านโครงสร้างทางกายภาพของโรงเรียนพร้อมๆกับการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่มีความพร้อม และการได้รับก าลังศรัทธาความเชื่อมั่นและความร่วมมือร่วมใจจากชุมชนในการพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานเยาวชนในชุมชนให้มีคุณภาพมากขึ้น ต้องเกิดจาก แรงบันดาลใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนา การแสวงหาโอกาสและความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายไม่เพียงแค่ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองในชุมชนเท่านั้น ทุกภาคส่วนในสังคม องค์กรหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชนล้วนร่วมกันสรรค์สร้างความส าเร็จในการจัดการศึกษาได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังเป็นกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของผู้ปกครอง ชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เพ่ือ พัฒนาเยาวชนที่มีคุณภาพสู่สังคมต่อไป ในปีการศึกษา 2560 ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ 2 จ ำนวนโรงเรียนขนำดเล็กเพิ่มข้ึน 22 โรงเรียน

    ปัญหำอุปสรรค การด าเนินงานตามแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ด าเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

    จะพบปัญหาอุปสรรคแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพ้ืนที่ และการแก้ไขก็ต้องใช้ระยะเวลามากน้อยต่างกันด้วย ซึ่งปัญหาอุปสรรคก็ผ่านพ้นไปด้วยดี เนื่องจากผู้บริหารทุกระดับได้ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมควบคู่กับใช้ระเบียบกฏหมายและแนวปฏิบัติ มาก ากับการบริหารจัดการ

    ด้ำนกำรบริหำรจัดกำร โรงเรียนขนาดเล็กมีบริบทที่ต่างไปจากโรงเรียนขนาดปกติทั่วไป นักเรียนมีการ

    เคลื่อนย้ายติดตามผู้ปกครอง ท าให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการด าเนินงานถ้าผู้บริหารโรงเรียนขาดทักษะในการบริหารจัดการ

    ด้ำนกำรเรียนกำรสอน ครูมีภารกิจอ่ืนที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนที่ครูจ าเป็นต้องปฏิบัติ ทั้งจาก

    หน่วยงานต้นสังกัด และต่างสังกัด หลักสูตรและแผนการเรียนการสอนไม่ค่อยสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก

    ด้ำนควำมพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน โรงเรียนขนาดเล็กมีข้อจ ากัดในการได้รับจัดสรรบุคลากรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์

    ครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้าง เนื่องจากการจัดสรรใช้ขนาดโรงเรียน และจ านวนนักเรียน เป็นเกณฑ์ในการจัดสรร

  • ด้ำนกำรมีส่วนร่วมในกำรจัดกำรศึกษำ พ้ืนที่บริการส่วนใหญ่เป็นชนบท ชุมชน ผู้ปกครองมีฐานะยากจน ไม่สามารถส่งเสริม

    สนับสนุนโรงเรียนได้เท่าท่ีควร ปัญหำด้ำนกำรบริหำรจัดกำร รวม/เลิกโรงเรียน การรวม/เลิกโรงเรียน มีผลกระทบต่อจิตใจชองชุมชน ผู้ปกครองในท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้ร่วม

    ก่อสร้างโรงเรียน ผู้บริหารและครู ไม่ต้องการไปเรียนรวม เกรงจะเสียศักดิ์ศรี เสียอ านาจ ผู้ปกครองไม่มั่นใจว่าจะได้ค่าพาหนะอย่างต่อเนื่อง และเป็นห่วงความปลอดภัยในการเดินทางของบุตรหลาน โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการด าเนินงานจัดบริการรถรับ – ส่งนักเรียน ได้แก่ ค่าน้ ามันเชื้อเพลิง ค่าบ ารุงรักษาซ่อมแซมรถยนต์ ค่าจ้างพนักงานขับรถยนต์ ปัญหาจากนักการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ

    ข้อเสนอแนะ นโยบายด้านการศึกษาควรมีความยั่งยืน ไม่ควรเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามการเปลี่ยนแปลง

    ทางการเมือง การปรับต าแหน่งของผู้บริหาร และครู ไม่ควรใช้วิธีท าผลงาน ครูจะห่วงเรื่องการจัดท าเอกสารหลักฐาน มีเวลาสอนน้อยลง การปรับต าแหน่งควรพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนการพิจารณาความดีความชอบ ส าหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่ห่างไกล หรือมีลักษณะพิเศษที่ต้องด ารงอยู่ การจัดสรรต่าง ๆ ควรมีเกณฑ์การจัดสรรเฉพาะกรณี ตามบริบท หากโรงเรียนมีความพร้อมด้านครูผู้สอนวัดสุ อุปกรณ์ คุณภาพการศึกษา ย่อมเกิดแน่นอน ผู้ปกครองมีความมั่นใจในโรงเรียนจะไม่ส่งบุตรหลานไปเรียนโรงเรียนในเมือง และโรงเรียนเอกชนที่อยู่ห่างไกล

    นโยบำย 8 กำรอ่ำนออกเขียนได้ : นักเรียนมีผลการประเมินการอ่านออกสูงกว่าปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีคลังเครื่องมือประเมินการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป. 1-6 และอ่านรู้เรื่อง ชั้น ม. 1-3 ครูมีการคัดกรองนักเรียน เพ่ือน าผลไปใช้ในการพัฒนานักเรียน ครูทุกโรงเรียนในสังกัดได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพ่ือพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและการอ่านคิดวิเคราะห์เพ่ือการสื่อสารตามแนวทาง PISA ซึ้งมีกิจกรรมที่เป็น Best Practice สามารถยกตัวอย่างได ้ดังนี้

    1. โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา ของ สพป. ลพบุรี เขต ๑

    ๒. เพลงสระครบทั้ง ๓๒ เสียง พร้อมซีดีเพลงประกอบ ๓. จัดท าเอกสารแก้ปัญหาอ่านไม่ออก 4. การใช้แบบฝึกทักษะเพ่ือพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ชัน้ ป.1 5. แบบฝึกทักษะการอ่านเขียน มาตราตัวสะกด ชั้น ป.2 6. การใช้แบบฝึกค าพ้ืนที่ฐาน ชั้น ป.1-3

    ปัญหำอุปสรรค การคัดกรองการอ่าน เขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 มากเกินไป เพราะ

    โรงเรียนต้องมีการสอบมากมาย (โรงเรียนควรเน้นการจัดการเรียนรู้ ไม่ใช่เน้นการจัดการสอบ) ได้แก่ การทดสอบคัดกรองการอ่าน เขียนภาษาไทย ชั้น ป.1-6 ของ สวก. สพฐ. ปีกศ. ละ ๔ ครั้ง การทดสอบPISA ชั้น ม.1-๓ ของ สวก. สพฐ. ปีกศ. ละ ๔ ครั้ง การทดสอบการอ่านภาษาไทย ชั้นป.1 ของ สทศ. การทดสอบ NT ชั้น ป.3 การทดสอบ PRE-O-NET ชั้น ป.๖ การทดสอบ O-NET ชั้น ป.๖ และการ

  • ทดสอบข้อสอบกลาง ชั้น ป.2,๔,๕ ม.๑,๒ พ่อแม่ไม่มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ ปัญหาการขาดเรียน ปัญหาการอยู่ในความดูแลปู่ย่าตายาย การย้ายติดตามพ่อแม่ที่ย้ายการท ามาหากิน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความตระหนัก พร้อมช่วยกันแก้ไขปัญหาการอ่านการเขียนของนักเรียนที่มีปัญหาอย่างจริงจังต่อเนื่อง การเก็บข้อมูลควรแยกการอ่านการเขียน เพราะเด็กแต่ละคนท าอ่าน ท าเขียน ไม่เท่ากัน มีนักเรียนบางส่วนที่พบว่ามีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งปัญหาหลักคือ การขาดแคลนครูสอน และการจัดวางครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หลักสูตรการศึกษาที่ให้นักเรียนระดับต้นต้องเรียน ๘ กลุ่มสาระ ท าให้ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมให้ครบตามหลักสูตร เป็นผลให้การสอนอ่านการเขียนลดน้อยลงไป

    ข้อเสนอแนะ การคัดกรองการอ่าน เขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้น ป.1-6 และการทดสอบ PISA

    ชั้น ม.1-๓ ของ สวก. ควรเหลือภาคเรียนละ ๑ ครั้ง (ปีกศ. ละ ๒ ครั้ง) ครูที่สอนในระดับประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1-3 ควรได้รับการพัฒนาด้านการอ่านออกเขียนได้อย่างต่อเนื่องและน าไปใช้ได้จริง ควรมีการประเมินการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ในระดับชั้นต่างๆ จนกว่าจะปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ 100 % ตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนที่ยังมีปัญหาควรมีการส่งเสริม สนับสนุนสื่อนวัตกรรม งบประมาณและการพัฒนาครูและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง นักเรียนที่ได้รับการประเมินระดับปรับปรุง ควรได้รับการซ่อมเสริมพัฒนาเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง นักเรียนที่ได้รับการประเมินในระดับคุณภาพพอใช้ ดี ควรได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพการประเมินการอ่านคล่อง เขียนคล่องสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งต่อข้อมูลอย่างจริงจัง นักเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับดีมาก ควรได้รับการเสริมด้วยวิธีการที่เหมาะสม แตกต่างและในระดับท่ีสูงขึ้นกว่าเดิมที่ได้รับการประเมิน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักและร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างๆที่เก่ียวข้องในการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบัน

    นโยบำย 9 กำรส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถำนศึกษำ : ผลการด าเนินงานตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม แต่ละกิจกรรมที่ประสบความส าเร็จเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถน าไปส่งเสริม สนับสนุนการท ากิจกรรม/โครงการอย่างสม่ าเสมอ โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนที่สามารถน าเป็นแบบอย่างที่ดีได้ น าไปขยายผลให้โรงเรียนคุณธรรมโรงเรียนอ่ืนเป็นการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านพัฒนาคุณธรรมให้แพร่หลายต่อไป

    ตัวอย่ำงกิจกรรมที่เป็น Best Practice เฃ่น 1. โรงเรียนที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับส ำนักงำนเขตพื้นที่

    กำรศึกษำ คือ โรงเรียนบ้านวังเพลิง ๒. โรงเรียนที่มีแบบอย่ำงได้ดำ้นคณุธรรม คือ โรงเรียนวัดสะแกราบ วัดโคกหม้อ บา้นเขาดิน

    และโรงเรียนบ้านหลุมข้าว ๓. โรงเรียนที่มีแบบอย่ำงได้ด้ำนสถำนศึกษำพอเพียงที่มีกำรปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับชำติ คือ

    โรงเรียน บ้านวังเพลิง วัดเกตุ ซอย ๓ สาย ๔ ซ้าย วัดท่าแค วัดโคกหม้อ บ้านหลุมข้าว และบ้านโคกกระเทียม

    4. กระบวนการพัฒนางาน ความมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การร่วมมือกัน - โรงเรียนวัดศรีมงคล โครงงานมารยาทงามตามวิถีเด็กดีศรีมงคล

  • - โรงเรียนวัดหนองอ้ายสาม โครงงาน คน งาน ช่วยบ้านสานฝัน สู้เด็กดี - โรงเรียนวัดโคกแจง โครงงานอ่านหนังสือคือพลังปลูกฝังวินัย การไหว้ คือสุภาพ - โรงเรียนวัดโรงวัว โครงงานเข้าแถวดี มีระเบียบ เดินเงียบๆอย่างเรียบร้อย

    5. โครงการโรงเรียนวิธีพุทธ โรงเรียนมีการด าเนินงานตามแนวทางของโรงเรียนวิธีพุทธอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

    ปัญหำอุปสรรค งบประมาณที่จัดสรรให้จัดให้ล่าช้า การสื่อสารสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งการ

    นิเทศติดตามการด าเนินงานโรงเรียนคุณธรรม และงบประมาณในการด าเนินงาน โรงเรียนในสังกัดมีความชัดเจนในการน้อมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชาสู่การจัดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืน และต่อเนื่อง กับบุคลากรเฉพาะในโรงเรียน แต่ยังไม่เกิดผลกับชุมชนในเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนในสังกัดบางแห่ง มีครูผู้สอนน้อมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศาสตร์พระราชาสู่การจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ รายวิชาละหนึ่งหน่วยการเรียนรู้ และกิจกรรมบางกิจกรรมเท่านั้น ท าให้ไม่ครอบคลุมทุกหน่วยการเรียนรู้ และทุกๆกิจกรรม

    ข้อเสนอแนะ ส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษาก ากับติดตามและยกระดับการพัฒนาใน

    ระดับเขตพ้ืนที่การศึกษาและระดับประเทศ ควรมีการจัดท าหน่วยการเรียนรู้ตัวอย่างเพ่ือทบทวนหลักคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ศาสตร์พระราชา ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง

    นโยบำย 10 กำรขับเคลื่อนนโยบำยกำรจัดกำรศึกษำในระดับภูมิภำค : ส านักงานศึกษาธิการจังหวัด ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการที่ 2 ได้ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยได้จัดท าทิศทางการพัฒนาการศึกษาจังหวัด และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด ประจ าปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๒ – ๒๕๖๕ และแผนปฏิบัติราชการส านักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจ าปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพ่ือการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติในส่วนการด าเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม อยู่ในระหว่างการด าเนินงานจะสรุปผลให้ทราบต่อไป

    ๑. การวางแผนบูรณาการเพ่ือการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาระดับจังหวัดและระดับ

    ภาค

    มีการจัดท าแผนบูรณาการเพ่ือขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ตามบริบทของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ประกอบด้วย

    1.1 แผนบูรณาการจัดการศึกษาปฐมวัย (School Mapping) 1.2 แผนบูรณาการการจัดท าหลักสูตรเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพ้ืนฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา 1.3 แผนบูรณาการการตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

    2. การจัดระบบและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษา เพ่ือการ

    วางแผนและการก ากับติดตาม ประเมินผล โดยภาพรวมส านักงานศึกษาธิการจังหวัด ในพ้ืนที่เขตตรวจราชการ

  • ที่ 2 มีการจัดระบบและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษา เพ่ือการวางแผน

    และการก ากับติดตาม ประเมินผล รายละเอียดดังนี้

    2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบในการจัดระบบและเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษา

    เพ่ือการวางแผนและการก ากับติดตาม ประเมินผล

    2.2 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

    2.3 ประสานงาน จัดเก็บ รวบรวมข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

    2.4 น าข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาเข้าสู่ระบบสารสนเทศท่ีจัดท า

    2.5 น าข้อมูลสารสนเทศท่ีจัดท ามาวิเคราะห์เพ่ือการวางแผนและการก ากับติดตาม ๓. การประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการปฏิบัติงานในระดับพ้ืนที่

    3.1 แต่งตั้งคณะกรรมการอนุกรรมการยุทธศาสตร์ อนุกรรมการพัฒนาการศึกษาและอนุกรรมการบริหารงานบุคคล เป็นคณะกรรมการเครือข่ายการศึกษาเพ่ือการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่

    3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเพ่ือเป็นเครือข่ายการปฏิบัติงานในระดับพ้ืนที่ด้านการศึกษา

    ปัญหำอุปสรรค ความหลากหลายของข้อมูลด้านการศึกษาของแต่ละหน่วยงานที่มีความแตกต่างกันท า

    ให้ยากต่อการออกแบบการจัดเก็บฐานข้อมูลกลาง ความล่าช้าในการออกแนวทางการปฏิบัติงานด้านข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาตามประกาศระเบียบใหม่ ระเบียบด้านการจัดเก็บข้อมูลรายบุคคล ไม่สนับสนุนการท างาน ท าให้ข้อมูลมีการผิดพลาดในการท าสถิติ และมีการซ้ าซ้อนในการจัดเก็บ ข้อมูลบางส่วนไม่สามารถเก็บจากโรงเรียนได้ครบสมบูรณ์ เช่น ข้อมูลการมีงานท า ,การศึกษาต่อ ข้อมูลอัตราการเข้าเรียนต่อ ไม่สามารถวัดได้จริง เนื่องจากไม่มีข้อมูลนักเรียนรายบุคคล และมีการกระจายตัวของเด็กนักเรียนต่างอ าเภอและต่างจังหวัด ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขาดระบบแม่ข่าย และอุปกรณ์ ที่ใช้ส าหรับจัดท าข้อมูลแบบออนไลน์ รวมถึงการจัดสารสนเทศเชิงพ้ืนที่ ความคาดหวังของหน่วยงานราชการระดับสูงไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในระดับพ้ืนที ่

    ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขระเบียบในการให้ข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลรายบุคคลระหว่างหน่วยงาน

    ควรเร่งพัฒนาระบบข้อมูล ให้สามารถท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพ่ือลดการท างานซ้ าซ้อนและความผิดพลาดจากแหล่งข้อมูล ควรเร่งน าระบบข้อมูลเลข ๑๓ หลักมาใช้ในการระบุตัวนักเรียนและ บุคลากรด้านการศึกษา ควรปรับระเบียบในการส่งข้อมูลนักเรียนที่จบใหม่เข้าท างานกับสถานประกอบการ จัดหาอุปกรณ์แม่ข่าย เพื่อจัดท าระบบฐานข้อมูล และจัดบุคลากรให้ครบตามโครงสร้าง ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ควรออกแบบฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ซ้ าซ้อน ก าหนดปฏิทินร่วมกับทุกหน่วยงานในการจัดท าข้อมูลสารสนเทศ

  • นโยบำย 11 กำรเพิ่มประสิทธิภำพกำรใช้ทรัพยำกรเพ่ือกำรศึกษำ (กำรใช้ Internet ควำมเร็วสูง)

    ผลการด าเนินงานของสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. พบว่ามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ครบทุกแห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 โดยการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศสถานศึกษา เพ่ือการบริหารและการจัดการศึกษาในพื้นที่ให้สามารถใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ สามารถน าข้อมูลสารสนเทศมาใช้เพ่ือการวางแผน การก าหนดนโยบาย การก ากับ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ตลอดจนเพ่ิมโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษา ได้มีการจัดท าระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่ครอบคลุมทุกภารกิจของส านักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา โดยมีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องเป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง ซึ่งสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือได้ด าเนินการดูแลช่วยเหลือให้โรงเรียนทุกโรงเรียนมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถสื่อสารข้อมูลสารสนเทศระหว่างโรงเรียนและส �