21
1 บทที1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงาน ในปัจจุบันวงดนตรีลูกทุ่งนักเรียนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โรงเรียนจำนวนไม่น้อยมี การจัดตั้งวงลูกทุ่งประจำโรงเรียน เนื่องมาจากเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถในการ แสดงออกด้านดนตรีและศิลปะการแสดงได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการพัฒนาทักษะของ นักเรียน พัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้วงดนตรีลูกทุ่งยังสามารถออก แสดงในงานชุมชนต่าง รวมไปถึงการแข่งขันในระดับต่าง ซึ่งสามารถนำชื่อเสียงมาสู่สถาบันของตน ได้อย่างที่สามาถพบได้ในรายการโทรทัศน์หลายรายการในปัจจุบัน การจัดตั้งวงลูกทุ่งถือเป็นงานที่ใช้งบประมาณสูง ใช้กำลังบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้า มาดูแลในส่วนต่าง มากมาย ซึ่งในความเป็นจริงโรงเรียนในแต่ละที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณใน แต่ละปีจำกัด ซึ่งอาจจะไม่พอเพียงในการจัดหาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาดูแลพัฒนาวง ดนตรีลูกทุ่ง นับเป็นปัญหาของโรงเรียนจำนวนมากที่ต้องพัฒนาวงลูกทุ่งให้มีความเป็นเลิศ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีการส่งนิสิตออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง เป็นส่วน หนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรซึ่งกำหนดไว้ในช่วงปิดเทอมของปี 3 ของการศึกษา เมื่อปีการ ศึกษา 2555 มีนิสิตจำนวนหนึ่งได้ออกฝึกประสบการณ์ฯ ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่น พบ ว่าโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้มีวงลูกทุ่งประจำโรงเรียน มีการออกแสดงในโอกาสต่าง และเข้าร่วมการ แข่งขันในหลายรายการ โรงเรียนน้ำพองศึกษาจึงได้ประสานผ่านทางอาจารย์ผู้ออกนิเทศน์นิสิตฝึกงาน ถึงความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีประสบการณ์เกี่ยวกับวงลูกทุ่งที่จะช่วย พัฒนาทักษะการบรรเลงของนักเรียนให้มีความเป็นเลิศ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เทคนิค การบรรเลงวงลูกทุ่ง เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะ และสามารถพัฒนาจนสามารถใช้บรรเลงในงานต่าง ของโรงเรียน งานในชุมชน รวมไปถึงสามารถพัฒนาเพื่อการแข่งขันในระดับต่าง ต่อไปได้ ผู้วิจัยเล็ง เห็นว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมของบุคลากรและ ความพร้อมในเชิงทักษะความเชี่ยวชาญในเรื่องวงลูกทุ่งเป็นอย่างดี การเข้าไปศึกษาและพัฒนาวงลูกทุ่ง ของโรงเรียนน้ำพองศึกษาจึงเป็นหนทางที่จะเพิ่มเติมความรูทักษะของนักเรียนในวงลูกทุ่งเพื่อให้ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ อีกทั้งการศึกษาวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาครั้งนี้ยังจะ สามารถนำข้อมูลการศึกษาการพัฒนาเป็นแนวทางในการพัฒนาวงลูกทุ่งในสถาบันอื่นหรือวงอื่น ต่อ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา

บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 1

บทที่ 1 !บทนำ !

หลักการและที่มาของการดำเนินงาน ! ในปัจจุบันวงดนตรีลูกทุ่งนักเรียนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โรงเรียนจำนวนไม่น้อยมีการจัดตั้งวงลูกทุ่งประจำโรงเรียน เนื่องมาจากเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถในการแสดงออกด้านดนตรีและศิลปะการแสดงได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการพัฒนาทักษะของนักเรียน พัฒนาทักษะทางสังคม ทักษะการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้วงดนตรีลูกทุ่งยังสามารถออกแสดงในงานชุมชนต่าง ๆ รวมไปถึงการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำชื่อเสียงมาสู่สถาบันของตนได้อย่างที่สามาถพบได้ในรายการโทรทัศน์หลายรายการในปัจจุบัน !

การจัดตั้งวงลูกทุ่งถือเป็นงานที่ใช้งบประมาณสูง ใช้กำลังบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดูแลในส่วนต่าง ๆ มากมาย ซึ่งในความเป็นจริงโรงเรียนในแต่ละที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีจำกัด ซึ่งอาจจะไม่พอเพียงในการจัดหาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาดูแลพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่ง นับเป็นปัญหาของโรงเรียนจำนวนมากที่ต้องพัฒนาวงลูกทุ่งให้มีความเป็นเลิศ !

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีการส่งนิสิตออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตรซึ่งกำหนดไว้ในช่วงปิดเทอมของปี 3 ของการศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2555 มีนิสิตจำนวนหนึ่งได้ออกฝึกประสบการณ์ฯ ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่น พบว่าโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้มีวงลูกทุ่งประจำโรงเรียน มีการออกแสดงในโอกาสต่าง ๆ และเข้าร่วมการแข่งขันในหลายรายการ โรงเรียนน้ำพองศึกษาจึงได้ประสานผ่านทางอาจารย์ผู้ออกนิเทศน์นิสิตฝึกงานถึงความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีประสบการณ์เกี่ยวกับวงลูกทุ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการบรรเลงของนักเรียนให้มีความเป็นเลิศ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เทคนิคการบรรเลงวงลูกทุ่ง เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะ และสามารถพัฒนาจนสามารถใช้บรรเลงในงานต่าง ๆ ของโรงเรียน งานในชุมชน รวมไปถึงสามารถพัฒนาเพื่อการแข่งขันในระดับต่าง ๆ ต่อไปได้ ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมของบุคลากรและความพร้อมในเชิงทักษะความเชี่ยวชาญในเรื่องวงลูกทุ่งเป็นอย่างดี การเข้าไปศึกษาและพัฒนาวงลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษาจึงเป็นหนทางที่จะเพิ่มเติมความรู้ ทักษะของนักเรียนในวงลูกทุ่งเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ อีกทั้งการศึกษาวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาครั้งนี้ยังจะสามารถนำข้อมูลการศึกษาการพัฒนาเป็นแนวทางในการพัฒนาวงลูกทุ่งในสถาบันอื่นหรือวงอื่น ๆ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ !วัตถุประสงค์

โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา !

Page 2: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 2

เป้าหมาย/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ! โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีผู้ร่วมในโครงการหลายส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

!หัวหน้าโครงการ นายเฉลิมพล โลหะมาตย์ ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต รองหัวหน้าโครงการ นายวัชรานนท์ สังข์หมื่นนา อาจารย์ผู้ช่วยสอน ผู้ฝึกสอนร่วม นายภูวดล พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายสมพล สมภักดี อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายภูริชญ์ พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายภูมินทร์ พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง !นิสิตผู้ฝึกสอน นายเทิดทูล จำบัวขาว ทีมการแสดงจากศิลปกรรมศาสตร์ นายอภิชาติ ขันบา นายสมศักดิ์ ชัยฤชา นายอรรถพงษ์ วงศ์งาม นายพงศธร ถิ่นสูงเนิน นายวีระยุทธ อัยยะจักร์ นายอลงกรณ์ วีระปิด นายทรงพล ทับศรี นายจักรกฤษณ์ กองพอด นายพยุง แสงไสย์ นายจตุรภทร ศรีสว่าง ทีมผู้ฝึกสอนดนตร ี นางสาวแพรวา ภัยแคล้ว นายศตวรรษ มาไลศรี นายอำนวย ปะตาทายัง นายอนุวัฒน์ บัวนาค นายจักรกฤษณ์ กองพอด นายกฤษณพงศ์ มีพรหมดี นายศิวกร ชัยปัญหา นักเรียนในโครงการ นายอัษฎาวุธ โชติบ้านขาม นักดนตรี/นักร้อง นายเนกุล แก่นนาคำ นายสุรพิชญ์ วิชาชัย นายภาณุวิชช์ โครตแปร นายธนากร ภิญโญ นายธนวัฒน์ แซ่โค้ว นายปารวัตร ไทยะลา

Page 3: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 3

นายพงศ์พีระ ชนะชัย น.ส.ศลิษา แสนศรี น.ส.นิศาชล บุญช่วย น.ส.ปภัสรา ดอนแสง น.ส.วิศราภรณ์ คำอ้อ น.ส.มนทกานต์ บัวใหญ่รักษา น.ส.ปนัดดา สิงเหิน ด.ญ.เบญจสิริ เหล็กยัง นายอินทนน คงเจริญ น.ส.อรอนงค์ ชาวเหนือ แดนซ์เซอร์ น.ส.สุทธินี พลธิสรวง น.ส.ชลิตา ธิสานนท์ น.ส.ศิริลักษณ์ เจนชัย น.ส.กันต์กมล แสงสุรินทร์ น.ส.กัญญารักษ์ โยควัตร์ น.ส.ชลธิชา เนื่องโพนงาม น.ส.วิภาดา พิสสาพิมพ์ น.ส.ยุไพรินทร์ โยสูงเนิน น.ส.รวิภา บรรณโคตร น.ส.ปนัดดา เหลาลาภา น.ส.เกศินี วินทะวุธ น.ส.วราภรณ์ กังละ น.ส.นฤมล ถนอมสมบัติ น.ส.สุพรรษา ประเสริฐสังข์ น.ส.อุษณีย์ จันทร์ฝ่าย น.ส.ธนาภรณ์ ส่งเสริฐ น.ส.กนกพร ประวรรณกี น.ส.รัชนี พันธ์พัฒน์ น.ส.สิรินยา ชนะบัว น.ส.วณิดา พิมพ์สา น.ส.รัสมี ปราศจาก !ลักษณะของการดำเนินงาน ! การดำเนินการของโครงการนี้ เป็นการสอนการบรรเลงเพลงลูกทุ่ง ในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเครื่องมือในโจทย์เบื้องต้นคือ บทเพลงที่กำหนดให้ 3 เพลง

Page 4: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 4

เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ สังเกตุการณ์และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบรรเลงวงลูกทุ่ง โดยใช้นิสิตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ที่มีความถนัดและความรู้ความสามารถในการทำวงลูกทุ่งจำนวน 10 คน โดยแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามเครื่องดนตรีและส่วนต่าง ๆ ในวงลูกทุ่งดังนี้ 1. กลุ่มเครื่องลม 4 คน 2. กลุ่มเครื่องจังหวะ (Rhythm Section) 3 คน 3. กลุ่มขับร้อง 1 คน 4. กลุ่มนักแสดง 2 คน ทั้งหมดมีหน้าที่ทำการสาธิต ปรับวง ร่วมบรรเลง ออกแบบการแสดงและเรียบเรียงเพลงให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้ควบคุมโครงการ !!พื้นที่ดำเนินการ/บริบทกลุ่มเป้าหมาย ! การดำเนินโครงการการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาครั้งนี้ มีพื้นที่ดำเนินการคือ โรงเรียนน้ำพองศึกษา มีที่ตั้งอยู่ที่ ต.วังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นโรงเรียนประจำอำเภอขนาดใหญ่โดยจะแจกแจงข้อมูลของโรงเรียนดังต่อไปนี้ !!!!!!

โรงเรียนน้ำพองศึกษา ! วิสัยทัศน์ (Vision) น้ำพองศึกษา จัดการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก้าวทันเทคโนโลยี สู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล! พันธกิจ (Mission) 1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนมาตรฐานสากล 2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะชีวิตและร่วมสร้างสรรค์สังคม 3. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีศักยภาพระดับมืออาชีพ 4. พัฒนาการบริหารจัดการเชิงระบบให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล 5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนและ มาตรฐานสากล 6. ส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาผู้เรียนและบุคลากร !

Page 5: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 5

เป้าประสงค์ (Goal) 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีคุณภาพเทียบเคียงโรงเรียน มาตรฐานสากล 2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ทักษะชีวิตร่วมสร้างสรรค์สังคมมีศักยภาพเป็นพลโลก 3. ครูและบุคลากรมีมาตรฐานการศึกษาที่มีสมรรถนะและศักยภาพในการปฏิบัติงานระดับมือ อาชีพ 4. ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 5. นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองสู่ประชาคมอาเซียนและมาตรฐานสากล 6. โรงเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน 7. ครู-ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจในระบบบริหารจัดการของโรงเรียน ! วัฒธรรมสถาบัน ยิ้มไหว้ทายทัก รักสถาบัน ผูกพันเอื้ออาทร ! ปรัชญาโรงเรียน สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีคือผู้เจริญ ! คำขวัญโรงเรียน วิชาดี มีอานมัย ใฝ่คุณธรรม ! ค่านิยม ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม ! เอกลักษณ์โรงเรียน โรงเรียนส่งเสริมวิชาการ อัตลักษณ์โรงเรียน อนามัยดี มีความสุภาพ นอบน้อม

! ประวัติโรงเรียนน้าพองศึกษา โรงเรียนน้าพองศึกษาก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 เดิมชื่อ “โรงเรียนน้าพอง(มัธยม วิสามัญ)” สังกัดแผนโรงเรียนส่วนภูมิภาค กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้น ม.ศ. 1 จานวน 1 ห้องเรียน ที่ใต้ถุนวัดป่ามหาวันวิหาร มี นายวิทวัส แสงชาติ ศึกษาธิการอาเภอน้าพอง รักษาการตาแหน่งครูใหญ่ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 900 หมู่ 10 ตาบลวังชัย อาเภอน้าพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมี นายวทัญญู ภูชาดา ดารงตาแหน่งผู้อานวยการ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เป็นผู้บริหาร คนที่ 12 ของโรงเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจานวน 156 คน

Page 6: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 6

เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 มีนักเรียนจานวน 2,911 คน ชื่อเสียงและเกียรติประวัติของโรงเรียนน้าพองศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 ถึงปัจจุบันกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้ พ.ศ. 2509 - สร้างอาคารเรียนในที่ดินหน้าวัดป่ามหาวันวิหารจานวน 1 หลัง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง โรงเรียนบ้านวังเกิ้ง) โดยมีนายสมนึก อุปาละ เป็นครูใหญ่ พ.ศ. 2514 - สร้างอาคารเรียนถาวร (อาคาร1) ในที่ดินราชพัสดุหลังที่ว่าการอาเภอน้าพองและย้าย สถานที่ตั้งโรงเรียนมายังที่ตั้งปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2514 พ.ศ.2527 - รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษารุ่นแรก พ.ศ.2534 - ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เข้ารับ พระราชทาน เกียรติบัตร “โรงเรียนพัฒนาห้องสมุด ตามนโยบาย กรมสามัญศึกษา ดีเด่น ประจาปี พ.ศ. 2534 ” พ.ศ. 2537 - เปิดหลักสูตร ปวช. แผนกพาณิชยกรรม พ.ศ. 2538 -ชนะเลิศการจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน - โรงเรียนดีเด่นมาตรฐานเหรียญทองการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมของกรมสามัญศึกษา พ.ศ. 2539 -นางสาวจิราพร อภิรักษ์มั่นคง ได้รับรางวัล นักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2540 - รางวัลพระราชทานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก -นางสาวพิชญา มาตย์ภูธรได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2542 - รางวัล พระราชทานสถานศึกษาดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 -รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในโครงการหนึ่งอาเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน พ.ศ. 2548 -ได้รับการประเมินและรับรองเป็น “โรงเรียนต้นแบบ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน” จากกระทรวงศึกษาธิการ -รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ระดับทอง จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2549 -รางวัลโรงเรียนส่งเสริมประชาธิปไตยดีเด่นระดับประเทศ ประจาปี 2548 จากคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย ในคณะกรรมเอกลักษณ์ของชาติ สานักงานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ -รางวัลโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา ลาดับที่ 8 ในภูมิภาค ปี 2549 จากสานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ -นางสาวจิราพรรณ พินิจมนตรี รางวัลพระราชทาน ระดับประเทศการประกวดขับร้อง เพลงกล่อมลูก 4 ภาค พ.ศ. 2550 - โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2550 - รางวัลโรงเรียนแห่งการออมดีเด่น ระดับประเทศ ประจาปี 2550 -โรงเรียนผลการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ (School Best Practices) ของสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ -รางวัลผู้บริหารที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ ระดับประเทศ (Best of The Best Practices) ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

Page 7: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 7

พ.ศ. 2551 - รางวัล “ โรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ระดับประเทศ ” ประจาปีการศึกษา 2551 ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ได้รับโล่ และเงินรางวัล จานวน 100,000 บาท - รางวัล “ โรงเรียนในฝันที่เป็นเลิศทางด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ” ประจาปีการศึกษา 2551 จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้รับโล่ และเงิน รางวัล จานวน 100,000 บาท - รางวัล “ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ดีเยี่ยม ระดับเพชร ประจาปี 2551 ”ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข - รางวัลระดับเหรียญทอง ผลงาน “ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ” (OSOI) - รางวัลสถานศึกษาบริจาคโลหิตดีเด่น ปีการศึกษา 2551 ของสภากาชาดไทย ปัจจุบันโรงเรียนน้าพองศึกษา ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์พัฒนาการจัดเรียนการสอนต่าง ๆ ดังนี้ 1. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น 2. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น 3. ศูนย์พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงเรียนในฝัน ศูนย์แม่ข่ายจังหวัดขอนแก่น 4. ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 !ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ! เริ่มต้นโครงการในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 26 กันยายน 2557 !!ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับชุมชน และโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการทางด้านดนตรี การบรรเลงดนตรลีูกทุ่ง 2. นักเรียนผู้ที่สนใจในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการบรรเลงวงลูกทุ่ง !!!!!!!!!!

Page 8: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 8

บทที่ 2 !วิธีการดำเนินงาน !

โครงการบริการวิชาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน “การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา” เป็นโครงการบริการวิชาการของหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ดำเนินงานโดยสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นโครงการที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการส่งนิสิตไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา นิสิตได้พบว่า โรงเรียนน้ำพองศึกษามีศักยภาพในการสร้างและพัฒนาวงดนตรีหลายวง ทั้งวงโยธวาทิต วงดนตรีไทย วงดนตรีพื้นบ้าน วงดนตรีสตริง รวมไปถึงวงดนตรีลูกทุ่ง โดยเฉพาะวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งเหรียญทองจากการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับจังหวัดถึงสามปีซ้อน แสดงถึงศักกยภาพของการบริหารจัดการของวงดนตรีลูกทุ่งได้อย่างดี อย่างไรก็ตามนิสิตที่ฝึกงานรายงานว่า ในการบริหารจัดการวงยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น สมาชิกของวงที่มีความสามารถจบการศึกษาไปจำเป็นต้องหาคนใหม่มาแทน เวลาการฝึกซ้อมที่ต้องเลี่ยงไม่ให้กระทบกับการเรียนการสอน ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยควบคุมการฝึกซ้อม งบประมาณของโรงเรียนที่มีอยู่จำกัดเป็นต้น เป็นที่ทราบกับโดยทั่วไปว่า การฝึกซ้อมวงดนตรีลูกทุ่งเพื่อออกแสดงหรือเพื่อการแข่งขันก็ตามจะใช้งบประมาณมหาศาล กำลังคนนักร้องนักดนตรีแดนซ์เซอร์จำนวนมาก ผู้ดูแลควบคุมรวมไปถึงผู้ฝึกสอนที่อุทิศเวลา เสียสละเวลาส่วนตัวให้กับวงฯ ทั้งหมดล้วนเป็นบริบทที่สำคัญที่จะสร้างให้วงดนตรีลูกทุ่งมีศักยภาพสูงพอที่จะทำการแสดงและแข่งขันได้ ! จากการรายงานของนิสิตถึงศักยภาพของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษารวมไปถึงสภาพปัญหาที่พบในการบริหารจัดการวงดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เล็งเห็นถึงความต้องการบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา จึงได้หารือกับผู้บริหารและอาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาวงฯ โดยอาศัยความร่วมมือทางบุคลากรและนิสิตหรือผู้เชี่ยวชาญในการฝึกจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ภายใต้การให้งบประมาณสนับสนุนจากกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้หารือกับผู้บริหารของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์เอง และได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ ทั้งนี้เพื่อบริการวิชาการกับสังคมและเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนน้ำพองศึกษาอีกด้วย ! จากจุดเริ่มต้นดังที่กล่าวมา คณะทำงานในโครงการได้รับความร่วมมือและสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้งงบประมาณหลักของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และโรงเรียนน้ำพองศึกษาในการปฏิบัติโครงการครั้งนี้ โครงการ !!!!

Page 9: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 9

รายละเอียดกิจกรรม ! 1. ระยะต้นน้ำ ! กิจกรรมในระยะต้นน้ำของโครงการนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา จึงได้พบว่า โรงเรียนน้ำพองศึกษามีวงดนตรีลูกทุ่งที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดในงานศิลปหัตกรรมนักเรียนมาแล้วถึง 3 ปีซ้อน แสดงถึงการบริหารจัดการวงที่มีประสิทธิภาพของผู้ควบคุมวง ผู้ฝึกสอนและนโยบายของโรงเรียนที่สนับสนุนกิจกรรมทางดนตรี แต่การทำวงดนตรีลูกทุ่งในระดับโรงเรียนมัธยมก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ อาทิเช่น สมาชิกของวงที่พัฒนาจนมีทักษะการเล่นสูงแล้วได้จบการศึกษา สมาชิกของวงที่ต้องเตรียมตัวสอบเรียนต่อหรือติวในด้านวิชาการหลังเลิกเรียนทำให้มีเวลาในการฝึกซ้อมร่วมกับวงน้อย สมาชิกของวงมีบ้านไกลจากโรงเรียนทำให้ไม่สะดวกในการฝึกซ้อมหลังเวลาเรียนเป็นระยะเวลานาน การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางดนตรี การขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน เป็นต้น จากประเด็นปัญหาดังกล่าว นิสิตที่ไปฝึกประสบการณ์วิขาขีพได้นำมารายงานในการนำเสนอการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ในฐานะสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางดนตรีออกสู่สังคม และมีหน้าที่ให้บริการวิชาการที่เป็นศาสตร์เฉพาะทางแก่สังคมตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย จึงได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนนำ้พองศึกษา เพื่อให้วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่ายั่งยืน มีหลักการฝึกปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการดนตรี จากหลักการนี้ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตได้หารือทั้งกับผู้บริหารและคณาจารย์ที่ดูแลวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ในขณะเดียวกันก็ได้นำเสนอหลักการสู่ที่ประชุมของคณะ และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมให้ส่งข้อเสนอโครงการไปยังกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการและได้รับการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการครั้งนี้ หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการแล้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ(ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต) ได้เชิญอาจารย์และนิสิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในวงดนตรีลูกทุ่งเข้ามาหารือถึงแนวทางการทำโครงการเบื้องต้น และพัฒนาเป็นแผนการปฏิบัติงานเพื่อหารือให้เป็นข้อสรุปกับทางผู้บริการและคณาจารย์ของโรงเรียนน้ำพองศึกษา ! 2. ระยะกลางน้ำ ! จุดประสงค์ของโครงการ โครงการนี้มีจุดประสงค์คือ “การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา” การพัฒนาที่กล่าวถึง คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน พัฒนาแบบบูรณาการให้วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาสามารถพัฒนาต่อยอดด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืนภายหลังจากสิ้นสุดโครงการ !!!

Page 10: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 10

การดำเนินโครงการ การดำเนินการของโครงการนี้ เป็นการสอนการบรรเลงเพลงลูกทุ่ง ในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยคณะทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเครื่องมือในโจทย์เบื้องต้นคือ บทเพลงที่กำหนดให้ 3 เพลง ! 3. ระยะปลายน้ำ การดำเนินโครงการระยะปลายน้ำ คือการจัดแสดงผลงานของวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา โดยแสดงในวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในวันที่ 26 กันยายน 2557 !การดำเนินกิจกรรม ! ขั้นเตรียมการ การเตรียมการของโครงการนี้ได้แก่ การเขียนโน้ตเพลงที่ใช้ในการอบรมทั้งหมด การเรียบเรียงเพลงให้เหมาะสมกับวง การประชุมซักซ็อมความเข้าใจของทีมวิทยากร ! ขั้นดำเนินงาน การดำเนินกิจกรรมตามแผน จะลงพื้นที่สัปดาห์ละ 1 วัน กิจกรรมจะทำในคาบกิจกรรมของวันพฤหัสหรือวันศุกร์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการประสานงานกันตลอดเวลาระหว่างหัวหน้าโครงการและอาจารย์ผู้ควบคุมวงเพื่อกำหนดวันลงพื้นที่ คณะทำงานเดินทางออกจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ในเวลา 11:00 ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงโดยประมาณ รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารก่อนปฏิบัติงานในโรงเรียน โดยเริ่มกิจกรรมในเวลาประมาณ 15:00 - 18:00 พิธีเปิดโครงการ ในส่วนของพิธีเปิดโครงการ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ที่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและนักเรียนของโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้รับทราบการทำโครงการ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการและที่สำคัญจะเป็นการสร้างแรงจูงใจแรงบรรดาลใจให้กับนักเรียนในโครงการด้วย พิธีเปิดได้มีการจัดขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการไปแล้ว เนื่องจากต้องรอระยะเวลาที่ผู้บริหารของทั้งสองสถาบันมีเวลาตรงกัน และทางทีมวิทยากรได้ซักซ้อมการแสดงที่ต้องใช้ในพิธีเปิดครั้งนี้ จากการพูดคุยประสานงานของหัวหนเาโครงการและผู้รีบผิดชอบโครงการร่วมของโรงเรียนน้ำพองศึกษาก็ได้ข้อสรุปว่า พิธีเปิดจะจัดในวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ! รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมในโครงการแต่ละวันจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ! 1. การ Warm up และแบบฝึกหัด เป็นการเตรียมความพร้อมในการบรรเลงและเป็นการฝึกทักษะเฉพาะเครื่องมือ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการบรรเลงเครื่องมือ โดยเฉพาะเครื่องลมที่ต้องอาศัยกำลังปอดและกล้ามเนื้อริมฝีปากในการผลิตเสียงเป็นสำคัญ ทีมวิทยากรจะใช้แบบฝึกหัดพัฒนาเทคนิคและทักษะรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม !

Page 11: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 11

2. การฟังเพลง การฟังเพลงถือเป็นการเรียนรู้บทเพลงก่อนทำการบรรเลงหรือแกะโน้ต เพื่อสร้างความเข้าใจในบทเพลงร่วมกัน สังเกตุอารมณ์ของบทเพลงหรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่สำคัญ โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้อธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจ ! 3. แกะโน้ต/ศึกษาโน้ต การจะบรรเลงเพลงได้ดีและถูกต้อง ต้องมาจากการศึกษาโน้ตในสกอร์เพลงที่ผู้เรียบเรียงได้เรียบเรียงไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ และยังต้องมีการแกะโน้ต ซักซ้อมให้เกิดความชำนาญก่อนที่จะบรรเลงร่วมกับกลุ่มเครื่องดนตรีของตนหรือรวมกับวง ! 4. แยกกลุ่มฝึกซ้อม หลังจากศึกษาสกอร์แล้ว สามารถบรรเลงโน้นในสกอร์ได้แล้ว ก็จะเป็นการรวมกลุ่มย่อยของเครื่องดนตรีก่อน เนื่องจากการเรียบเรียงเพลงนั้น จะเขียนโน้ตที่มีการประสานเสียงในกลุ่มเครื่องดนตรีนั้น ๆ ก่อน จึงต้องมีการรวมกลุ่มย่อยเพื่อฝึกซ้อมให้คุ้นชินกับการประสานเสียง ปรับสมดุลของกลุ่มย่อย ในส่วนของแดนซ์เซอร์ก็จะมีการวอร์มร่างกายและแยกฝึกซ้อมต่างหากจากนักดนตรี โดยมีทีมผู้ฝึกสอนดูแลการฝึกปฏิบัติ และออกแบบการแสดงทั้งหมด ! 5. รวมวงบรรเลง/ปรับเพลง การรวมวงหลังจากได้ศึกษาสกอร์เพลง แกะโน้ตและฝึกปฏิบัติแยกและรวมกลุ่มย่อยแล้ว ก็จะเป็นการบรรเลงรวมวงและปรับเพลงจากผู้สอนและผู้ควบคุมวง ! 6. สรุปการฝึกประจำวัน/นัดหมาย กิจกรรมสุดท้ายในแต่ละวัน จะเป็นการสรุปการฝึกซ้อม ข้อเด่น ข้อด้อย ข้อควรพัฒนาของแต่ละคนแต่ละเครื่องมือ และนัดหมายการฝึกในครั้งต่อไป ! ขั้นสรุปผล การสรุปผลของโครงการการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา ฯ เป็นการแสดงผลงานการฝึกซ้อมในโครงการที่ผ่านมา โดยแสดงในงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วันที่ 26 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมใหญ่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม !!!!!

!

Page 12: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 12

บทที่ 3 !ผลการดำเนินงาน !

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานดังนี้ !1. การบรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ของโครงการการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีจุดประสงค์การดำเนินโครงการคือ “เพื่อพัฒนาวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา” จากผลการดำเนินงานถือว่าบรรลุจุดประสงค์ของโครงการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ !

การประสานงาน โครงการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้มีการดำเนินงานในการประสานงานดังต่อไปนี้ ผู้ประสานงานหลักของโรงเรียนน้ำพองศึกษา ได้แก่ ผู้ฝึกสอนร่วมทั้งหมดซึ่งเป็นอาจารย์ประจำของโรงเรียนนำ้พองศึกษามีรายชื่อดังต่อไปนี้ นายภูวดล พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายสมพล สมภักดี อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายภูริชญ์ พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง นายภูมินทร์ พิทยาวัฒนชัย อาจารย์ผู้ควบคุมวงดนตรีลูกทุ่ง โดยผู้ที่ดำเนินงานหลักของโครงการได้แก่ นายเฉลิมพล โลหะมาตย์ หัวหน้าโครงการในครั้งนี้ ทำหน้าที่ประสานงานกับทางโรงเรียนน้ำพองศึกษาผ่านทางผู้ควบคุมวงดังรายชื่อข้างต้น ! การปฏิบัติโครงการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากวง MSU Stageband ในการร่วมแสดงในพิธีเปิดซึ่งได้ประสานงานกับอาจารย์ผู้ควบคุมวง อาจารย์วัชระ หอมหวน และมีการแสดงประกอบบทเพลงในพิธีเปิด โดยความร่วมมือจากภาควิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ โดยทางผู้ดำเนินโครงการประสานงานกับอาจารย์สุภาพรรณพงษ์ กาญจนพันธุ์ !

วิทยากร โครงการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีทีมวิทยากรในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ! 1. ทีมวิทยากรในโครงการ ได้แก่ หัวหน้าโครงการ นายเฉลิมพล โลหะมาตย์ ประธานหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต รองหัวหน้าโครงการ นายวัชรานนท์ สังข์หมื่นนา อาจารย์ผู้ช่วยสอน

Page 13: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 13

นายจตุรภทร ศรีสว่าง ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นางสาวแพรวา ภัยแคล้ว ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายศตวรรษ มาไลศรี ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายอำนวย ปะตาทายัง ทีมผู้ฝึกสอนดนตร ี นายอนุวัฒน์ บัวนาค ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายจักรกฤษณ์ กองพอด ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายกฤษณพงศ์ มีพรหมดี ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายศิวกร ชัยปัญหา ทีมผู้ฝึกสอนดนตรี นายเทิดทูล จำบัวขาว ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายอภิชาติ ขันบา ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายสมศักดิ์ ชัยฤชา ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายอรรถพงษ์ วงศ์งาม ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายพงศธร ถิ่นสูงเนิน ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายวีระยุทธ อัยยะจักร์ ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายอลงกรณ์ วีระปิด ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายทรงพล ทับศรี ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายจักรกฤษณ์ กองพอด ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง นายพยุง แสงไสย์ ทีมผู้ฝึกสอนการแสดง !

การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ทีมวิทยากรของโครงการได้ลงพื้นที่ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา เพื่อปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้รวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง และอีกหนึ่งครั้ง เป็นการแสดงของวงลูกทุ่งเพื่อสรุปงาน ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมการปฏิบัติงานทั้งสิ้น 12 วัน โดยการลงพื้นที่ปฏิบัติงานมีรายละเอียดดังนี้ ! ครั้งที่ 1 วันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 2 วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 3 วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 4 วันที่ 7 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 5 วันที่ 14 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา พิธีเปิด** ครั้งที่ 6 วันที่ 15 สิงหาคม 2557 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองกิจการนิสิต มมส.** ครั้งที่ 7 วันที่ 21 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 8 วันที่ 28 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 9 วันที่ 10 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 10 วันที่ 17 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 11 วันที่ 25 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 12 วันที่ 26 กันยายน 2557 ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม**

Page 14: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 14

! ! การดำเนินกิจกรรมตามแผน จะลงพื้นที่สัปดาห์ละ 1 วัน กิจกรรมจะทำในคาบกิจกรรมของวันพฤหัสหรือวันศุกร์ โดยในแต่ละสัปดาห์จะมีการประสานงานกันตลอดเวลาระหว่างหัวหน้าโครงการและอาจารย์ผู้ควบคุมวงเพื่อกำหนดวันลงพื้นที่ คณะทำงานเดินทางออกจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ในเวลา 8:00 ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงโดยประมาณ รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารก่อนปฏิบัติงานในโรงเรียน โดยเริ่มกิจกรรมในเวลาประมาณ 9:00 - 18:00 !ตารางการฝึกซ้อมวงลูกทุ่งประจำสัปดาห์ เวลา 08.30 - 09.00 น. อาจารย์ นิสิต นักเรียน และผู้สนใจ มาพร้อมกัน เวลา 09.00 - 09.05 น. การอบอุ่นร่างกาย (Warm - up Section)เวลา 09.05 - 09.50 น. การเตรียมพร้อมทางดนตรี (Music Warm - up) เวลา 09.50 - 10.00 น. พักเวลา 10.00 - 11.30 น. การซ้อมแยก Part และซ้อมเพลง เวลา 11.30 - 12.00 น. อาจารย์ปรับปรุงแก้ไขและให้ข้อเสนอแนะเวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 13.00 - 13.10 น. ประชุมตรวจความพร้อม เวลา 13.10 - 14.50 น. ซ้อมรวมวงเวลา 14.50 - 15.00 น. พักเวลา 15.00 - 16.00 น. ซ้อมวงต่อ เวลา 16.00 - 16.30 น. อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไขและสรุป เวลา 16.30 – 17.00 น. ทำความสะอาด เก็บอุปกรณ์ และแยกย้ายกลับบ้าน รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมในโครงการแต่ละวันจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ! 1. การ Warm up และแบบฝึกหัด เป็นการเตรียมความพร้อมในการบรรเลงและเป็นการฝึกทักษะเฉพาะเครื่องมือ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการบรรเลงเครื่องมือ โดยเฉพาะเครื่องลมที่ต้องอาศัยกำลังปอดและกล้ามเนื้อริมฝีปากในการผลิตเสียงเป็นสำคัญ ทีมวิทยากรจะใช้แบบฝึกหัดพัฒนาเทคนิคและทักษะรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ! 2. การฟังเพลง การฟังเพลงถือเป็นการเรียนรู้บทเพลงก่อนทำการบรรเลงหรือแกะโน้ต เพื่อสร้างความเข้าใจในบทเพลงร่วมกัน สังเกตุอารมณ์ของบทเพลงหรือรายละเอียดอื่น ๆ ที่สำคัญ โดยคณะวิทยากรจะเป็นผู้อธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจ !

Page 15: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 15

3. แกะโน้ต/ศึกษาโน้ต การจะบรรเลงเพลงได้ดีและถูกต้อง ต้องมาจากการศึกษาโน้ตในสกอร์เพลงที่ผู้เรียบเรียงได้เรียบเรียงไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ และยังต้องมีการแกะโน้ต ซักซ้อมให้เกิดความชำนาญก่อนที่จะบรรเลงร่วมกับกลุ่มเครื่องดนตรีของตนหรือรวมกับวง !! 4. แยกกลุ่มฝึกซ้อม หลังจากศึกษาสกอร์แล้ว สามารถบรรเลงโน้นในสกอร์ได้แล้ว ก็จะเป็นการรวมกลุ่มย่อยของเครื่องดนตรีก่อน เนื่องจากการเรียบเรียงเพลงนั้น จะเขียนโน้ตที่มีการประสานเสียงในกลุ่มเครื่องดนตรีนั้น ๆ ก่อน จึงต้องมีการรวมกลุ่มย่อยเพื่อฝึกซ้อมให้คุ้นชินกับการประสานเสียง ปรับสมดุลของกลุ่มย่อย ในส่วนของแดนซ์เซอร์ก็จะมีการวอร์มร่างกายและแยกฝึกซ้อมต่างหากจากนักดนตรี โดยมีทีมผู้ฝึกสอนดูแลการฝึกปฏิบัติ และออกแบบการแสดงทั้งหมด ! 5. รวมวงบรรเลง/ปรับเพลง การรวมวงหลังจากได้ศึกษาสกอร์เพลง แกะโน้ตและฝึกปฏิบัติแยกและรวมกลุ่มย่อยแล้ว ก็จะเป็นการบรรเลงรวมวงและปรับเพลงจากผู้สอนและผู้ควบคุมวง ! 6. สรุปการฝึกประจำวัน/นัดหมาย กิจกรรมสุดท้ายในแต่ละวัน จะเป็นการสรุปการฝึกซ้อม ข้อเด่น ข้อด้อย ข้อควรพัฒนาของแต่ละคนแต่ละเครื่องมือ และนัดหมายการฝึกในครั้งต่อไป ! รายละเอียดกิจกรรมพิเศษ ** ! 14 สิงหาคม 2557 พิธีเปิดโครงการ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา กิจกรรมการลงสนามปฏิบัติโครงการในวันที่ 14 เป็นพิธีเปิดโครงการ ในส่วนของพิธีเปิดโครงการ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ที่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและนักเรียนของโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้รับทราบการทำโครงการ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการและที่สำคัญจะเป็นการสร้างแรงจูงใจแรงบรรดาลใจให้กับนักเรียนในโครงการด้วย พิธีเปิดได้มีการจัดขึ้นหลังจากการดำเนินโครงการไปแล้ว เนื่องจากต้องรอระยะเวลาที่ผู้บริหารของทั้งสองสถาบันมีเวลาตรงกัน และทางทีมวิทยากรได้ซักซ้อมการแสดงที่ต้องใช้ในพิธีเปิดครั้งนี้ จากการพูดคุยประสานงานของหัวหนเาโครงการและผู้รีบผิดชอบโครงการร่วมของโรงเรียนน้ำพองศึกษาก็ได้ข้อสรุปว่า พิธีเปิดจะจัดในวันที่ 14 สิงหาคม 2557 กิจกรรมในพิธีเปิด โครงการได้เตรียมการแสดงของทีมวิทยากรและการแสดงของวง MSU Stageband ไว้ ในงานมีการเชิญผู้บริหารของโรงเรียนน้ำพองศึกษาและผู้บริหารของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ร่วมเป็นเกียรติในงาน พร้อมทั้งนักเรียนและครูอาจารย์บุคลากรของโรงเรียนน้ำพองศึกษาร่วมชมการแสดงและพิธีเปิด !

Page 16: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 16

15 สิงหาคม 2557 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองกิจการนิสิต โครงการได้ส่งตัวแทนนิสิตที่เป็นผู้ฝึกสอนในโครงการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองกิจการนิ

สิตฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ระหว่างโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนของคณะอื่น ๆ !26 กันยายน 2557 แสดงผลงานสรุปโครงการ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้เดินทางมาร่วมแสดงผลงานจากการฝึกอบรมการปฏิบัติ

วงลูกทุ่ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ครบรอบ 6 ปี !!!การบรรลุเป้าหมายของโครงการ เป้าหมายของโครงการครั้งนี้คือ การเข้าร่วมโครงการของกลุ่มต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ - คณะทำงานและทีมวิจัย (นิสิตเจ้าหน้าที่และอาจารย์ผู้รับผิดชอบ) จำนวน 10 คน - นักเรียนโรงเรียนน้ำพองศึกษา จำนวน 40 คน - อาจารย์และบุคลากรโรงเรียนน้ำพองศึกษา 5 คน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ได้เข้าร่วมโครงการ และให้ความร่วมมือตลอดระยะเวลาของโครงการเป็นอย่างดี !การบรรลุผลประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จ โครงการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่ง โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการดังต่อไปนี ้ เชิงปริมาณ - มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ เชิงคุณภาพ - เกิดวงดนตรีลูกทุ่งที่มีขีดความสามารถอย่างน้อย 1 วง - เกิดคู่มือการบริหารจัดการหรือการทำวงดนตรีลูกทุ่งที่มีศักยภาพ 1 เล่ม ! จากการดำเนินโครงการพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 มีผู้เข้าร่วมโครงการบางคนที่มีเหตุจำเป็นในการออกจากโครงการ เรื่องจากพบปัญหาบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียน ไม่สะดวกในการร่วมโครงการได้โดยตลอด ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการที่กล่าวถึงคือกลุ่มแดนเซอร์ ผลการดำเนินงานของโครงการ พบว่า วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งในการแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งในงานศิลปหัตกรรมนักเรียน ระดับจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2557 ผ่านเข้าสู่การแข่งขันในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป !! !

Page 17: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 17

บทที่ 4 !การบูรณาการและการเกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคมและชุมชน !

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีรายละเอียดในการบูรณาการเข้ากับด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมนิสิต สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย กับชุมชนและสังคมดังนี้

1. ระดับมหาวิทยาลัย 1. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2. การนำไปใช้กับการเรียนการสอน 3. การบริการวิชาการ 4. ประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน

2. ระดับสังคมและชุมชน !ระดับมหาวิทยาลัย ! 1. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นโครงการที่มีเนื้อหาในเชิงศิลปวัฒนธรรมอยู่แล้ว เป็นการมุ่งเน้นให้นักเรียนในโครงการได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมผ่านทางการฝึกปฏิบัติการบรรเลงเพลงลูกทุ่งและการแสดง !

2. การนำไปใช้กับการเรียนการสอน โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง

จ.ขอนแก่น มีการบูรณาการกับรายวิชาในหลักสูตร ได้แก่ 1. ทักษะการปฏิบัติดนตรีตะวันตก (Western Music Skill) ในวงดนตรีลูกทุ่งมี

เครื่องดนตรีหลายชนิด ได้แก่ แซกโซโฟน ทรัมเปต ทรอมโบน กีตาร์ เบส กลอง คีย์บอร์ด และนักร้อง การเรียนการสอนของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีการเรียนการสอนในทุกเครื่องมือที่กล่าวมา นิสิตที่เรียนในแต่ละเครื่องมือ จะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเครื่องเอกของตน การลงพื้นที่ให้ความรู้กับนักเรียนในเครื่องมือต่าง ๆ ถือเป็นการทบทวนความรู้ ทักษะในเครื่องมือของตนไปด้วย ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะของนิสิตในรายวิชา

วิชาทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีของแต่ละเครื่องมือ จะต้องเรียนถึง 8 ตัวด้วยกัน ซึ่งจะมีระดับความยากง่ายตามลำดับ โครงการได้เฟ้นเอานิสิตที่มีความสามารถสูงเข้ามาเป็นทีมวิทยากรในการสอนการฝึกปฏิบัติในวงลูกทุ่ง เพื่อให้สามารถ่ายทอดความรู้และทักษะได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ !

2. รวมวงดนตรีตะวันตก (Western Music Ensemble) การเรียนการสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มีวิชาการรวมวงดนตรีตะวันตกควบคู่ไปกับวิชาทักษะดนตรีตะวันตก ใน

Page 18: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 18

ระยะเวลาการเรียนในหลักสูตร 4 ปี มีวิชารวมวงดนตรีตะวันตก 8 ตัว เป็นรายวิชาที่มุ่งเน้นให้นิสิตได้เรียนรู้การบรรเลงรวมวง ไม่ว่าจะเป็นการรวมวงในเครื่องมือเอกของตนเอง หรือรวมกับเครื่องมืออื่น ๆ การลงพื้นที่เพื่อสอนการฝึกปฏิบัติการบรรเลงวงดนตรีลูกทุ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาการรวมวงดนตรีตะวันตก สามารถบูรณาการเข้าในการเรียนการสอน กำหนดเป็นกิจกรรมในแผนการเรียนการสอนได้ !

3. วงบิ๊กแบนด์ (Big Band) หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มีรายวิชาที่มุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในวงบิ๊กแบนด์ (Big Band) ทั้งในเรื่องประัติความเป็นมา และการฝึกปฏิบัติในวงบิ๊กแบนด์ การเรียนการสอนมีการฝึกการเป็นผู้นำในวง การปรับวง การบรรเลงเพลงต่าง ๆ การนำเอากิจกรรมการปรับวงลูกทุ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชา เพื่อให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติจริง เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ได้นำไปใช้จริง ! 3. การบริการวิชาการแก่สังคม การลงชุมชนหรือพื้นที่ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา เพื่อฝึกสอนการปฏิบัติการบรรเลงวงดนตรีลูกทุ่ง ถือเป็นการบริการวิชาการสู่สังคม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โดยหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต เป็นหน่วยงานที่มีการจัดการเรียนการสอนทางด้านดนตรี มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางดนตรี และโครงการนี้ได้นำจุดเด่นของหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิตดังที่กล่าวมาแล้วไปถ่ายทอดสู่ชุมชน ในที่นี้คือวงดนตรีลุกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษา อีกทั้งผลผลิตวงดนตรีลูกทุ่งของโครงการการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้มีการบริการสู่สังคม ได้แก่ การแสดงดนตรีลูกทุ่งประกอบการแสดงในโอกาสต่าง ๆ ทั้งของโรงเรียนเอง หรือการขอสนับสนุนจากภายนอก ! 4. ประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสถาบัน โครงการการพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา ฯ ก่อนให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงเป็นการประชาสมัพันธ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หรือทั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยรวมทั้งหมดด้วย ถือเป็นการนำเอาปรัชญาและอัตลักษณ์การเป็นที่พึ่งของชุมชนมาปฏิบัติจริง สร้างคุณค่าจริงในโครงการและเนื้องาน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ให้บริการแก่ชุมชน และหน่วยงานที่มีความรู้ความสามารถในทางดนตรีขั้นสูง !ระดับสังคมและชุมชน ! โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา ฯ ได้ดำเนินงานมาจนแล้วเสร็จ ก่อให้เกิดวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษาที่มีความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจในการบรรเลงเพลงลูกทุ่งเพิ่มขึ้น สามารถบรรเลงบทเพลงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา ในงานศิลปวัฒนธรรมนักเรียนประจำจังหวัดขอนแก่น ปี 2557 ผ่านเข้าไปสู่ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป จากผลงานดังกล่าว ทำให้ผลการดำเนินโครงการครั้งนี้ เป็นที่ประจักษ์ต่อชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน รวม

Page 19: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 19

ทั้งครูอาจารย์บุคลากรทั้งหมด ตอกย้ำการเป็นที่พึ่งของสังคม อันเป็นอัตลักษณ์ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกคน !!!

!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Page 20: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 20

บทที่ 5 !สรุปผลการดำเนินงาน !

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งดำเนินการโดยหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผลสรุปการดำเนินงาน อุปสรรคปัญหาและวิธีการแก้ไข ปัจจัยที่ความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความล้มเหลว ก้าวต่อไปหรือความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการ ดังต่อไปนี้ ! ผลสรุปการดำเนินงาน ! โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เป็นโครงการที่มุ่งให้การบริการวิชาการ การฝึกปฏิบัติวงให้แก่วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการส่งนิสิตออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษาเมื่อปี 2555 นิสิตได้กลับมารายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำให้ทางวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนน้ำพองศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ฯ จึงได้เสนอโครงการบริการวิชาการไปยังกิงส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ และได้รับการจัดสรรงบประมาณจากโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปี 2557 การปฏิบัติโครงการ เป็นการลงพื้นที่ ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษาในการอบรมการปฏิบัติวงดนตรีลุกทุ่ง โดยลงพื้นที่สัปดาห์ละหนึ่งวัน วิทยากรในโครงการมีอาจารย์เฉลิมพล โลหะมาตย์หัวหน้าโครงการเป็นวิทยากรหลัก อาจารย์วัชรานนท์ สังข์หมื่นนา เป็นผู้ช่วยหัวหน้าโครงการ และวิทยากรที่เป็นนิสิตของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติเครื่องดนตรีในวงดนตรีลูกทุ่งเป็นอย่างดี วิทยากรในโครงการได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งหมด 12 ครั้ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ !

ครั้งที่ 1 วันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 2 วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 3 วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 4 วันที่ 7 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 5 วันที่ 14 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา พิธีเปิด ครั้งที่ 6 วันที่ 15 สิงหาคม 2557 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ กองกิจการนิสิต มมส. ครั้งที่ 7 วันที่ 21 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 8 วันที่ 28 สิงหาคม 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 9 วันที่ 10 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 10 วันที่ 17 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 11 วันที่ 25 กันยายน 2557 ณ โรงเรียนน้ำพองศึกษา ครั้งที่ 12 วันที่ 26 กันยายน 2557 ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Page 21: บทที่ 1 บทนำ หลักการและที่มาของการดำเนินงานrms.msu.ac.th/upload/service/doc/5706064_6705(0).pdf · 1

 21

จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน นำมาสู่การแสดงของวงลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา เป็นการสรุปผลงานจากการฝึกปฏิบัติตลอดระยะเวลาของโครงการในงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ครบรอบ 6 ปี ในวันที่ 26 กันยายน 2557 หลังจากการสรุปโครงการแล้ว วงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษายังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ในการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมศึกษา งานศิลปหัตกรรมนักเรียนระดับจังหวัดขอนแก่น ประจำปี 2557 ผ่านเข้าแข่งขันในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป ! อุปสรรคปัญหาและวิธีการแก้ไข การดำเนินงานในโครงการ การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีดังนี้ 1. ระยะทางจากมหาวิทยาลัยไปยังพื้นที่ปฏิบัติโครงการค่อนข้างไกลทำให้สิ้นใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แก้ไขได้โดย ใช้การแนะนำผ่านทางสื่อต่าง ๆ หรือทางอินเตอร์เนต ทางโทรศัพท์ทดแทนการลงพื้นที่บ่อย ๆ 2. สมาชิกในวงมีเวลาฝึกซ้อมส่วนตัวน้อยขาดทักษะเฉพาะเครื่องมือที่ตนเล่น แก้ไขโดย ให้แบบฝึกทักษะเฉพาะเครื่องเพิ่มเป็นรายบุคคล และให้คำแนะนำเพิ่มเติมเป็นรยบุคคลโดยเพิ่มวิทยากรเข้าไปประกบเป็นพิเศษ ! ปัจจัยที่แห่งความสำเร็จ

ปัจจัยของความสำเร็จของโครงการ การพัฒนาวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีดังนี้ 1. ความร่วมมือของทุกภาคส่วน โครงการครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้จากการสนับสนุนและความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุนจากกองวิจัยฯ การสนับสนุนเชิงนโยบายและงบประมาณจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ผู้บริหารและครูอาจารย์ของโรงเรียนน้ำพองศึกษา และผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนล้วนเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จของโครงการ ! ก้าวต่อไปหรือความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการ หลังจากโครงการดำเนินมาจนสิ้นสุด และสามารถบรรลุวัตุประสงค์แล้ว ทีมวิทยากรได้แก่นายเฉลิมพล โลหะมาตย์หัวหน้าโครงการ และอาจารย์วัชรานนท์ สังข์หมื่นนา ยังได้ติดตามผลของโครงการอย่างต่อเนื่อง วิทยากรทั้งสองท่านได้ทำการเรียบเรียงเพลงที่ใช้ในการแข่งขันระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้กับวงดนตรีลูกทุ่งโรงเรียนน้ำพองศึกษา และยังติดตามให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด โดยประสานงานกับอาจารย์ผู้ควบคุมวงโดยตลอด ถือเป็นเครือข่ายความร่วมมือการให้บริการทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง !