100
บบบบบ 1 บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบ บบบ . บบบบบบบ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศ (ศศศ.ศศศศศศศ.) ศศศศศศศศ ศศศศศ ศ ศ ศ ศ ศศ ศ ศ ศ ศ ศ ศ ศ ศ ศ ศ ศศ ศ ศ ศศ ศ ศ ศ ศ ศศศ ศ ศศ (ศศศ.ศศศศศศศ) ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศ 19 ศศศศศศศ 2533 ศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศ ศศศศศศ 1 ศศศศศศ 2533 ศศศศศศศศศ ศศศศศศ 14 ศศศศศศศศ 2548 ศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศ ศศศ ศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศ ศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ (ศศศศศ ศศศ.ศศศศศศศ) ศศศศศศศศศศศศศ บบบบบบบบบบบบบ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศ ศศศศ 10 ศศศ ศศศ. ศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศ 045-371374 บบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศศ ศศศ 14 ศศ ศศศศศศศศศ ศศศศ ศศศศศศศศศศศศ ศศศศศศ 2 ศศ 1

บทที่ 1 - WordPress.com€¦  · Web viewมาตรฐานที่ 11 มีการทำงานในสถานศึกษาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

บทที่ 1

PAGE

1

บทที่ 1

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานศึกษา

ประวัติ กศน. น้ำยืน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน (กศน.น้ำยืน.) เดิมชื่อ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอน้ำยืน (ศบอ.น้ำยืน) กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2533 ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2533 เป็นต้นไป

วันที่ 14 มิถุนายน 2548 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุบลราชธานี มีคำสั่งให้ นางฉิมพลี สิงห์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอน้ำยืน หรือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน (ศูนย์ กศน.น้ำยืน) จนถึงปัจจุบัน

สถานที่ทำการ

อาคารที่ทำการอำเภอหลังเดิม บ้านวารีอุดม หมู่ 10 ถนน รพช. ตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ 045-371374

บุคลากร และเจ้าหน้าที่

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน รวม 14 คน แยกประเภทเป็น

ข้าราชการครู

จำนวน2คน

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนจำนวน3คน

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

จำนวน7คน

ครูคูปองการศึกษา

จำนวน2คน

ที่

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง/วุฒิการศึกษา

การปฏิบัติงาน/ที่ตั้ง ศรช.

1

นางฉิมพลี สิงห์สวัสดิ์

ผู้อำนวยการ/ศษ.ม.การศึกษาผู้ใหญ่

ผอ.กศน.น้ำยืน

2

นายกณวรรธน์ สุทธัง

ครู คศ.1 /ค.บ.ภาษาไทย

การศึกษาตามอัธยาศัย

3

นางสาวสมบูรณ์พิลาแดง

ครูอาสาฯ

ตำบลสีวิเชียร/โดมประดิษฐ์

4

นางนวลหงษ์ เครือคุณ

ครูอาสาฯ

5

นางสาวศิริศิลป์ นิลแสง

ครูอาสาฯ

ตำบลยาง/ยางใหญ่/เก่าขาม

6

นายสมัย สุทธี

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ศรช.ตำบลบุเปือย

7

นางสาวศิริวรรณ ลือชา

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ศรช.ตำบลโซง

8

นางบุญจันทร์ เถระพันธ์

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ศรช.ตำบลโดมประดิษฐ์

9

นางสาวศรีนคร ลือชา

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ศรช.ตำบลยาง

10

นายอนุชิต ทุมมากร

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ศรช.ตำบลสีวิเชียร

11

นางสาวจิตรา กิ่งสันเทียะ

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ครู ศรช.ยางใหญ่

12

นางสาวสุวรรณี ศิริธร

ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ครู ศรช.เก่าขาม

13

นางสาวพะวะนา ศรีลาที

ครูคูปองตำบลโดมประดิษฐ์

ตำบลโดมประดิษฐ์

14

นายวุฒิไกร จัตุพันธ์

ครูคูปองตำบลบุเปือย

ตำบลบุเปือย

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน อาคารที่ว่าการหลังเดิม ถนน ร.พ.ช. ตำบล สีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34260 โทรศัพท์ 045-371374 โทรศัพท์

045-371095 E-mail [email protected] สังกัด (/) กศน. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ทิศใต้ของอำเภอเดชอุดม ห่างจากศาลากลาง จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 110 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือติดต่อกับ

อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ

อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

ทิศใต้

ติดต่อกับ

อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร สาธารณรัฐกัมพูชาประชาธิปไตย และสุขุมา แขวงจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ

อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

การปกครอง

เทศบาลตำบลน้ำยืน จำนวน 1แห่ง

ตำบล จำนวน 7 ตำบล แยกเป็นแต่ละตำบล ดังนี้

ตำบล

หมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ตำบลสีวิเชียร

16

14,339

ตำบลเก่าขาม

13

7,179

ตำบลบุเปือย

15

9,902

ตำบลยาง

12

7,540

ตำบลยางใหญ่

12

6,052

ตำบลโซง

12

7,734

ตำบลโดมประดิษฐ์

21

15,716

7

101

67,462

จำนวนประชากร

ประชากรทั้งหมด 67,462 คน แยกเป็นชาย 33,859 คน หญิง 33,603 คน อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 9,900 คน อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล จำนวน 57,562 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ 76.77 คน : ตารางกิโลเมตร

พื้นที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม เพื่อให้บรรลุถึงปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษา คือ คุณธรรม นำความรู้ เชิดชูชุมชน ในเขตพื้นที่อำเภอน้ำยืน โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 1 เทศบาล 7 ตำบล 101 หมู่บ้าน

โครงสร้างของหลักสูตร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน จัดการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังแสดงในแผนภูมิต่อไปนี้

สถานที่ตั้งศูนย์การเรียนชุมชนแต่ละตำบล

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน มีศูนย์การเรียนชุมชนแต่ละตำบลที่เป็นแหล่งส่งเสริมการอ่านและการศึกษาค้นคว้าของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 แห่ง ดังนี้

ที่

ชื่อศูนย์การเรียนชุนชน

ครูผู้รับผิดชอบ

ที่ตั้ง/

สถานภาพอาคาร

1

สีวิเชียร

นายอนุชิต ทุมมากร

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

ศาลากลางบ้านสงวนรัตน์ หมู่ 6

2

โดมประดิษฐ์

นางบุญจันทร์ เถระพันธ์

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

อบต.โดมประดิษฐ์

อาคารเอกเทศ

3

น้ำตกสวยรวยความรู้/โดมประดิษฐ์

นางบุญจันทร์ เถระพันธ์

บริเวณแก่งลำดวน บ้านหนองขอน หมู่12

4

บุเปือย

นายสมัย สุทธี

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

ศาลากลางบ้านบุกลาง หมู่ 10

5

เก่าขาม

นางสาวสุวรรณี ศิริธร

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

ศาลากลางบ้านเก่าขาม

6

ยางใหญ่

นางจิตรา กิ่งสันเทียะ

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

อบต.ยางใหญ่

อาคารเอกเทศ

7

ยาง

นางสาวศรีนคร ลือชา

(ครูศูนย์การเรียนชุมชน)

ศาลากลางบ้านบูรพา

8

โซง

นางสาวศิริวรรณ ลือชา

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

ศาลากลางบ้านน้ำยืน

9

สองฝั่งพนมดงรัก

ร่วมใจภักดิ์ รู้รักสามัคคี

นางสาวศิริวรรณ ลือชา

(ศูนย์การเรียนชุมชน)

บริเวณช่องอานม้า

แหล่งเรียนรู้

ตามโครงการหนึ่งครู หนึ่งแหล่งเรียนรู้ กศน.ขอคารวะ

ที่

แหล่งเรียนรู้

สถานที่ตั้ง

กิจกรรม

เบอร์โทรศัพท์

1.

การทอเสื่อลายขิต

104 หมู่ 6 ต.สีวิเชียร

ทอเสื่อลายขิด ทอผ้าพื้นเมือง จักสาน พานบายศรีสู่ขวัญ

086-2496952

2.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนา

บ้านโนนเรืองศรี หมู่ 11 ต.ยาง

การทำปุ๋ยอินทรียชีวภาพ

085-9058472

3.

กลุ่มอนุรักษ์ภาพเขียนไทย

บ้านปลาขาวใน หมู่ 10 ต.ยาง

การวาดภาพเขียนไทย

087-0091336

4.

แหล่งโบราณคดีบ้านสวาย

บ้านยางใหญ่ หมู่ 4 ต.ยางใหญ่

การศึกษาแหล่งโบราณสถาน โบราณคดี อายุก่อนประวัติศาสตร์ 2,300 – 1,800 ปี

087-2597519

5.

วิสาหกิจชุมชนการเพาะเชื้อเห็ด

149 หมู่ 3 บ้านหนองปลาดุก

การทำเชื้อเห็ด

089-42566571

6.

นางวิไลวรรณ ธานี

36/1 หมู่ 10 ต.บุเปือย

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

045-333007

7.

วิสาหกิจชุมชนบ้านบุกลาง

36/10 หมู่ 10 ต.บุเปือย

กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

045-333007

8.

กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต(ผู้พิการ)

17 หมู่ 17 ต.โดมประดิษฐ์

การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ การทำขาเทียม

9.

กลุ่มอนุรักษ์พันธ์กล้วยไม้ไทย

บ้านหนองครก หมู่ 11 ต.โดมประดิษฐ์

การเพาะต้นกล้ากล้วยไม้

089-7197498

งบประมาณ 2549 – 2551 แยกเป็น เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ดังนี้

ปีงบประมาณ

เงินงบประมาณ

เงินนอกงบประมาณ

เงินบริจาค

หมายเหตุ

ปี 2549

ปี 2550

ปี 2551

887,484

1,201,864

1,781,804

94,802

68,600

68,070

50,000

· เงินงบประมาณได้รับจัดสรร จากสำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี(เงินอุดหนุน)

· เงินนอกงบประมาณได้รับจากการลงทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเงินห้องสมุด

· เงินบริจาค ได้รับจากการสนับสนุนของภาคีเครือข่าย

แผนกลยุทธ์หรือแผนการดำเนินงานหรือแผนปฏิบัติการ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ดำเนินงานตาม Road map ปฏิรูปการศึกษาทั้ง 5 กลยุทธ์ ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1 ลุยถึงที่ : เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

1.การสร้างกระแสความสำคัญ

ความต้องการทางการศึกษาโดยเจาะลึกรายตำบล/รายกลุ่มเป้าหมาย

1.1 คัดเลือกตำบลนำร่อง

1.2 ประชาสัมพันธ์

1.3 สำรวจประชากรวัยแรงงาน/ข้อมูลความต้องการ

1.4 จัดเวทีชาวบ้าน/ประชาคมหมู่บ้านร่วมกับพัฒนาชุมชน

1.5 ดำเนินการตามโครงการอย่างมีแบบแผน เช่นโครงการอบรมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ

โครงการเสริมสร้างเด็ก โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต(ผู้พิการ) โครงการสอนเสริมแก่นักศึกษา โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โครงการศึกษาสายอาชีพ เป็นต้น1.6 สรุปผลการจัดกิจกรรม

1.1 การศึกษาพื้นฐาน1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน1.5 การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

2.การใช้ระบบคูปองการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้ไม่จบการศึกษาพื้นฐาน

2.1 หาเครือข่าย

2.1 ประสาน2.2 ประชุม/ชี้แจง2.3 รับสมัครนักศึกษา2.4 ปฐมนิเทศ2.5 ดำเนินการสอน

2.1 การศึกษาพื้นฐาน2.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน2.5 การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

3.การจัดระบบริการด้วยโทรศัพท์/วิทยุชุมชน

3.1 ติดตั้งสัญญาณโทรศัพท์

3.2 แจ้งหมายเลข/ประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชน

3.2 บริการ

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยผ่านทาง โทรศัพท์/วิทยุชุมชน แก่ผู้รับบริการ หอกระจายข่าว

กลยุทธ์ที่ 2 ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน : แก้ปัญหาสร้างชีวิตใหม่ สะสมผลการเรียนและเทียบโอนได้

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

1.พัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

1.1 สำรวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย1.2 ประชุมชี้แจงครู/ตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย1.3 ร่วมกันจัดทำหลักสูตร1.4 ดำเนินการสอนตามหลักสูตร

1.5 พัฒนาหลักสูตร

1.1 จัดทำหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานจำนวน 8 หมวดวิชา

1.2 จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพจำนวน 14 หลักสูตร

1.3 จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 6 หลักสูตร

1.4 จัดทำหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน 3 หลักสูตร

2.จัดให้มีคลังหลักสูตรและสื่อ

2.1 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน2.2 รวบรวมหลักสูตรและสื่อ2.3 ลงทะเบียนหลักสูตรและสื่อ2.4 จัดเก็บอย่างเป็นระบบ

2.1 จัดเก็บรวบรวมหลักสูตร/สื่อที่ได้จัดทำทั้ง 5 กิจกรรมไว้ในคลังหลักสูตร

2.2 จัดบริการสื่อ

3. จัดให้มีวิธีเรียนที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย

3.1 สำรวจความต้องการ

3.2 จัดกลุ่มตามความต้องการ

3.2 ศึกษาสภาพผู้เรียน

3.3 จัดแผนการเรียนรู้

3.4 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนด

3.5 จัดทำทะเบียนผู้ลงทะเบียนเรียนตามหลักสูตร

3.1 บันทึกข้อมูลนักศึกษา3.2 บันทึกการลงทะเบียนเรียน3.3 แบบบันทึก น.1-33.4 จัดกิจกรรมแนะแนวในศูนย์การเรียนชุมชน/สถานีวิทยุชุมชน/เครือข่าย

3.5 จัดทำเอกสารบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน3.6 จัดทำรายงานผู้จบการศึกษา3.7 ประเมินผลจากการปฏิบัติจริง3.8 บันทึกกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

4.จัดให้มีวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

4.1 ครูร่วมออกข้อสอบ/เครื่องมือวัดและแบบประเมินผลตรงตามเนื้อหา/สาระ/ มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4.2 วิเคราะห์4.3 คัดเลือก4.4 ดำเนินการจัดพิมพ์4.5 นำไปใช้4.6 เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ

4.1 จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน/ปลายภาคเรียนทั้งอัตนัย และปรนัยตามหลักสูตรที่อยู่ในคลังหลักสูตร

4.2 รวบรวมข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อสอบ

4.3 สร้างแบบประเมินให้สอดคล้องกับหลักสูตร เช่น

- แบบสังเกต

- แบบสอบถาม

- แบบสัมภาษณ์

- แบบทดสอบ

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

5.จัดให้มีการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และเทียบระดับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน

5.1 ศึกษาระเบียบการเทียบโอน

5.2 ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนในระบบสู่นอกระบบ

5.3 ดำเนินการจัดทำระเบียบหลักเกณฑ์ การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

1.ประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมาย

2. ทำแบบเทียบโอนให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละระดับตามระเบียบ

6.ประกันคุณภาพการศึกษา

6.1 ประชุมชี้แจงบุคลากรสถานศึกษาให้ทราบถึงความจำเป็นของการประกันคุณภาพ

6.2 ระดมแนวความคิดเห็นบุคลากร/ทบทวนการปฏิบัติงาน

6.3 ปฏิบัติจัดทำระบบการทำงานกำหนดตัวบ่งชี้แต่ละมาตรฐานนำ

6.4 พิจารณา/ทบทวน/งาน/กิจกรรมและโครงการ

6.5 ดำเนินการประเมินตนเองจากงาน/กิจกรรม/โครงการที่กำหนด

6.1 จัดทำแผนการบริหารราชการ กศน.น้ำยืน6.2 จัดทำคู่มือระบบการทำงานภายในสถานศึกษา6.3 จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา6.4 ร่วมทดสอบ NT6.5 วางระบบประกันคุณภาพภายใน

กลยุทธ์ที่ 3 ขยายแหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย : เปิดโอกาสและช่องทางการเรียนรู้สู่ชุมชน

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

1.ขยายและพัฒนาศักยภาพการให้บริการของแหล่งการเรียนรู้

1.1 สำรวจแหล่งเรียนรู้

1.2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้

1.3 ขยายการให้บริการของแหล่งเรียนรู้

1.4 จัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้

1.1 จัดหาแหล่งเรียนรู้1.2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชน

1.3 จัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้

1.4 ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน

1.5 จัด ศรช. ให้เป็นห้องสมุดประจำตำบล

1.6 จัดเก็บสถิติผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท/ผู้ใช้บริการสื่อ และหลักสูตร

กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย : ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคมเป็นผู้จัด/มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

1.1 แสวงหาเครือข่าย1.2 ประสาน1.3 สนับสนุน1.4 ให้ความร่วมมือ

1.5 จัดกิจกรรม

1.1 จัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่าย

1.2 รวบรวม และแยกประเภทเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน

1.3 จัดทำทะเบียนเครือข่าย

กลยุทธ์ที่ 5 บริการเปี่ยมคุณภาพ : ปรับระบบบริหารมุ่งบริการที่มีคุณภาพ

มาตรการที่

วิธีการดำเนินงาน

กิจกรรมดำเนินการ

1.ปรับโครงสร้างการบริหารและบทบาทภารกิจของสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนให้เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของภาคีเครือข่าย

1.1 ประชุมชี้แจง1.2 วางแผนระบบ1.3 ปรับโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับงาน กศน.1.4 พัฒนาระบบ1.5 ดำเนินการตามเป้าหมาย 1.6 ติดตามการดำเนินงาน

1.1 จัดโครงสร้างการทำงานเป็น 3 กลุ่มงานคือ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ และกลุ่มแผนงาน

1.2 แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มงาน และผู้ร่วมงาน

1.3 ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย

2.พัฒนาบุคลากรที่สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของสถานศึกษา

2.1 ศึกษาดูงาน2.2 จัดฝึกอบรม2.3 ศึกษาต่อ2.4 สัมมนา2.5 ประสานร่วมมือกับเครือข่าย

2.1 ส่งบุคลากรเข้ารับการศึกษาดูงาน จัดฝึกอบรม ศึกษาต่อ สัมมนา เพื่อพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาตนเอง ตามโครงการที่หน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนจัดขึ้น

2.2 นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

3.ปรับปรุง กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจเป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียนของภาคีเครือข่าย

3.1 ประชุมชี้แจง

3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการ

3.3 จัดทำระเบียบ ฯลฯ

3.4 ปฏิบัติตามระเบียบ

3.1 จัดทำกฎ ระเบียบการเทียบโอน และแนวปฏิบัติต่างๆ

3.2 ดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ขัดต่อกฎ และระเบียบ

ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์

กลยุทธ์ที่ 1 ลุยถึงที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

1.1 กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการศึกษานอกโรงเรียนโดยผ่านการประชาสัมพันธ์

1.2 รวบรวมข้อมูลประชากรวัยแรงงานโดยเจาะลึกรายตำบลทั้ง 7 ตำบล 101 หมู่บ้านและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

1.3 จัดคูปองส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโดมประดิษฐ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลบุเปือย

1.4 เพิ่มศูนย์การเรียนชุมชนจาก 7 แห่ง เป็น 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การเรียนชุมชนสองฝั่งพนมดงรัก ร่วมใจภักดิ์รู้รักสามัคคี โดยความร่วมมือของหน่วยทหารพราน ทพ.2308 และศูนย์การเรียนชุมชนน้ำตกสวยรวยความรู้ โดยความร่วมมือของสถานีส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์จังหวัดอุบลราชธานี

กลยุทธ์ที่ 2 จัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน

2.1 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา คู่มือระบบประกันคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติงาน และแผนยุทธศาสตร์

2.2 จัดตั้งคลังข้อสอบ 8 หมวดวิชา และคลังหลักสูตรอาชีพระยะสั้น 23 หลักสูตร

2.3 นิเทศกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนตามโครงการพบพี่ เยี่ยมน้อง ลุยถึงที่ คลี่คลายปัญหา

2.4 จัดกลยุทธ์สู่การยกระดับการศึกษา เช่นการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ฯลฯ

กลยุทธ์ที่ 3 ขยายแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยี

3.1 พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนทั้ง 7 ตำบล ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน

3.2 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติบ้านบุกลาง ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

3.3 พัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำยืนให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตโดยการจัดนิทรรศการ จัดบอร์ดทุกเดือน อีกทั้งจัดฝึกวิชาชีพระยะสั้นรายเดือนแก่ประชาชน สมาชิกห้องสมุด และผู้สนใจ

3.4 ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนที่หลากหลาย เช่น สถานีวิทยุชุมชน วารสารการศึกษาตลอดชีวิต หอกระจายข่าวหมู่บ้าน หนังสือราชการผ่านทางกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน

3.5 อบรมความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่บุคลากร นักศึกษาและประชาชนผู้สนใจ

3.6 สถานศึกษาเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษาโรงเรียนเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทยสาขาน้ำยืน สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของคณะบุคคลจากสถานประกอบการและ สถานศึกษาอื่นๆ ทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด

กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายและกระจายบริการทางการศึกษา

4.1 แบ่งกลุ่มโซนออกเป็น 3 โซน เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ได้แก่ โซนที่ 1 สีวิเชียร โดมประดิษฐ์ โซนที่ 2 โซง บุเปือย โซนที่ 3 ยาง ยางใหญ่ เก่าขาม โดยมีครูอาสาสมัครฯเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดกิจกรรมและมีครูศูนย์การเรียนชุมชนเป็นฝ่ายปฏิบัติงานในพื้นที่

4.2 จัดเก็บข้อมูลเครือข่ายเพื่อความสะดวกในการประสานงาน

4.3 ร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อปฏิบัติงานเชิงรุก

กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

5.1 พัฒนาคุณภาพบุคลากรเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การเรียน e -leaning e –taining โปรแกรม IT for WIN และโปรแกรมการบริหารการเงิน บัญชีและพัสดุ

5.2 บุคลากรในสถานศึกษาได้รับการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนางานการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความพึงพอใจและสนองตอบความต้องการของประชาชน

5.3 ใช้หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โครงการราชการใสสะอาด นโยบาย 5 ส. มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน

5.4 ใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น การส่งหนังสือราชการ การายงานผลการปฏิบัติงาน ผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

แผนกลยุทธ์/แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษานั้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้มีการวิเคราะห์หาจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรโดยใช้ วิธีการ SWOT ในการตรวจสอบ การที่หน่วยงาน/องค์กรจะดำเนินการงานใด ๆ จำเป็นต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของบุคลากรและ กระบวนการทำงานในองค์กรก่อน เพื่อหาวิธีการที่จะทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนหาหนทางในการควบคุมจุดอ่อนไม่ให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

SWOT เป็นอักษรย่อมาจากคำศัพท์ ดังนี้

S = Strengths

หมายถึง จุดแข็ง ผลจากปัจจัยภายใน

W = Weaknesses หมายถึง จุดอ่อน ผลจากปัจจัยภายใน

O = Opportunities หมายถึง โอกาสที่จะช่วยให้งานประสบผลสำเร็จ ผลจากปัจจัยภายนอก

T = Threats

หมายถึง อุปสรรคหรือภัยคุกคามผลจากปัจจัยภายนอก

ดังนั้น การทำ SWOT ก่อนการดำเนินงาน จะช่วยให้หน่วยงาน/องค์กรมีทิศทางในการทำงานและมีความมั่นใจมากขึ้น

จุดแข็ง (Strength) 1. บุคลากรเป็นคนรุ่นใหม่ ทำให้สามารถพัฒนางานสอนงานง่ายและเรียนรู้ได้เร็ว 2. บุคลากรทุกคนได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานในเรื่องต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 3. ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ คือเป็นผู้นำทางความคิด วิสัยทัศน์ การบริหาร และเป็นผู้นำทางวิชาการ กล้าตัดสินใจ และการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4. ผู้บริหารมีความสามารถในการถ่ายทอดและการสื่อสารที่ดี ทำให้บุคลากรทราบทิศทางเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการทำงาน 5. สถานศึกษากำหนดนโยบาย การวางแผนและพัฒนาโดยบุคลากรมีส่วนร่วม จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานและบรรลุเป้าหมาย 6. สถานศึกษามีแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และสามารถใช้จ่ายได้ตรงตามความต้องการ และรายงานผลตามไตรมาส 7. การบริหารจัดการ คือการมีส่วนร่วมของบุคลากร การมอบอำนาจ การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการสถานศึกษา การประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ การบริหารโดยใช้แผนงานโครงการเป็นเครื่องมือ

จุดอ่อน (Weakness) 1. บุคลากรย้ายเข้า ย้ายออกเป็นประจำทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่องความเข้าใจกระบวนการจัดการศึกษา 2. ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการนิเทศติดตามกำกับงาน ทำให้การนิเทศติดตามขาดความคล่องตัว 3. วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานมีอยู่อย่างจำกัด 4. วัสดุครุภัณฑ์ฝึกอาชีพมีจำกัดไม่เพียงพอ 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสายสามัญโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ 6. นักศึกษา กศน. ออกจากระบบโรงเรียนในแต่ละระดับมานาน ทำให้ห่างเหินกับการเรียนการอ่านหนังสือ ไม่ได้เรียนหรือศึกษามานาน ทำให้มีการเกิดลืมหนังสือตามกฎแห่งการได้ใช้และการไม่ได้ใช้   (Law of Use and Disuse) ตามหลักทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์  7. อัตราผู้เรียนต่อครูมากเกินไป และพื้นที่รับผิดชอบกว้างทั้งตำบลทำให้การดูและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการช่วยเหลือนักศึกษาทำได้ไม่ทั่วถึง

โอกาส (Opportunity) 1. มีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานระดับอำเภอและผู้นำท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

2 ศูนย์การเรียนตั้งอยู่ใน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษา 3. ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ 4. ประชาชน / ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งสายสามัญ การศึกษาสายอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย

อุปสรรค (Treat) 1. งบประมาณที่เป็นงบอุดหนุนรายหัวของนักศึกษาเพื่อการจัดการศึกษาน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาในระบบในระดับเดียวกัน และงบอุดหนุนรายหัวส่วนใหญ่ใช้เป็นค่าตอบแทนครู เหลือใช้เพื่อการดำเนินการน้อยมาก

2. ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้น้อยและยากจนไม่สนใจเรียน

3. ประชาชนขาดความสนใจใฝ่รู้ในการศึกษาค้นคว้า

4. พื้นที่ของอำเภอน้ำยืน เป็นพื้นที่ติดชายแดน และมีพื้นที่กว้าง ทำให้เป็นอุปสรรคในการประสานงานกับประชาชนหรือนักศึกษารายบุคคล

5. ผู้นำท้องถิ่นมีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ทำให้การประสานงานขาดคุณภาพ 6. ระดับนโยบายไม่ให้ความสำคัญกับงานการศึกษานอกโรงเรียนเท่าที่ควร จึงขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง

เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลงาน/ โครงการดีเด่นของสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งมีผลงานที่นำมาซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง ของสถานศึกษาและบุคลากร ดังนี้

เกียรติยศ ชื่อเสียงของสถานศึกษา

โครงการในพระราชดำริ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเนื่องในโครงการพระราชดำริ โดย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรม-โอรสาธิราช ได้เสด็จทรงงาน ในศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดนอำเภอน้ำยืน และ ส่งเสริม/สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน และได้กราบบังคมทูลถวายรายงานการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2541 ทั้งนี้

1. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน(นางฉิมพลี สิงห์สวัสดิ์) ได้กราบบังคมทูลถวายรายงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนด้านการศึกษาสายอาชีพ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ ตำบลโดมประดิษฐ์

และ นายกณวรรธน์ สุทธัง ครู คศ.1 ได้กราบบังคมทูลถวายรายงานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยณ โรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนบ้านคำสะอาด ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยแก่ชุมชนต่างๆ เพื่อการอ่านและการศึกษาค้นคว้าอีกทั้งจัดกิจกรรมเพื่อการประกวดตามโครงการต่างๆ ในระดับภาคและระดับประเทศ เช่น

- ปี 2542 ได้ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ในการประกวดหมู่บ้าน อพป./ปชด.บ้านจันลา ตำบลโดมประดิษฐ์ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลชมเชย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- ปี 2544 ได้ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ในการประกวดหมู่บ้าน อพป./ปชด.บ้านดวน หมู่ 10 ตำบลโซง ได้รับรางวัลชมเชย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- ปี2545 ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำยืน ได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ ในด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

- ปี 2546 อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน (นายชาติชาตรี โยสีดา) ได้ตรวจเยี่ยม ห้องสมุดประชาชนตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

- ปี 2547 ได้ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ในการประกวดหมู่บ้าน อพป./ปชด.บ้านค้อ หมู่ 7 ตำบลโซง ได้รับรางวัลชมเชย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- ปี 2549 ได้ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ในการประกวดหมู่บ้าน อพป./ปชด.บ้านหัวน้ำ หมู่ 5 ตำบลโซง ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัลชมเชย

-ปี 2550 ประกวดหมู่บ้าน อปพ./ปชด. ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอำเภอน้ำยืน ได้ส่งบ้านหัวน้ำ ตำบลโซง เข้าร่วมประกวด ได้รับรางวัลชมเชย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-ปี 2550 ประกวดผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ โดยอำเภอน้ำยืน ได้คัดเลือก นางวิไลวรรณ ธานี ผู้ใหญ่บ้านบุกลาง ตำบลบุเปือย เข้าร่วมประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ

-ปี 2551 ประกวดกำนันแหนบทองคำ โดยอำเภอน้ำยืน ได้คัดเลือก นายหนูจร ผุดผา กำนันตำบลบุเปือย ตำบลบุเปือย เข้าร่วมประกวด ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ

การจัดการศึกษาสายอาชีพ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการแก่ประชาชนในพื้นที่อำเภอน้ำยืน อย่างครอบคลุม ทั่วถึง เพื่อสนองตอบต่อความต้องการเรียนของกลุ่มเป้าหมาย จนมีผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ ดังนี้

1.ปี 2550 ได้รับการขอบคุณจากผู้อำนวยการมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมอาชีพการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่แก่ช่างทำขาเทียม ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต(ส่งเสริมอาชีพผู้พิการเชิงบูรณาการ) ณ ศูนย์พัฒนาพื้นที่ชายแดนอำเภอน้ำยืน บ้านทุ่งสมเด็จ หมู่ 17 ตำบลโดมประดิษฐ์(พื้นที่ในโครงการในพระราชดำริ)

2. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติบ้านบุกลาง (Best Practice) ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยการนำของ นางวิไลวรรณ ธานี ผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศ.อ.ศ.อ.) เสนอให้ ได้รับการประเมินจากมูลนิธิสมาน-คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ เพื่อคัดเลือกในโครงการ ผู้หญิงแกร่ง ปี 2551 โดยการนำของคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ท่านทองอยู่ แก้วไทรฮะ ท่านชัยยศ อิ่มสุวรรณ และท่านชานนท์ พงษ์อุดม ท่านผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ศ.อ.ศ.อ.) และคณะกรรมการจาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุบลราชธานี(ศนจ.อุบลราชธานี) นำโดย ท่านรองผู้อำนวยการประดินันท์ สดีวงศ์

การจัดการศึกษานอกระบบพื้นฐาน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโครงงานวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาการศึกษานอกระบบและได้ผลสัมฤทธิ์ในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้1.ปีการศึกษา 2550 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ (เครื่องหยอดปุ๋ยพอเพียง) ระดับมัธยมศึกษา จากศูนย์วิทยาศาสตร์อุบลราชธานี และได้เข้าร่วมแสดงโครงงานนักศึกษาเนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

2. ปี 2550 คณะ ศึกษานิเทศก์ จากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ได้นิเทศงานกลุ่มโซนอุบลทักษิณ ณ ที่ว่าการอำเภอน้ำยืน

3.เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้รับ รางวัลชนะเลิศ จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (การทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะเศษอาหาร) จากศูนย์วิทยาศาสตร์อุบลราชธานี และได้เข้าแข่งขันระดับประเทศ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับรางวัลชมเชย

3.เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้นำนักศึกษาเข้าร่วมพิธี จำนวน 32 คน ร่วมพิธีสวนสนามและปฏิญาณตนเนื่องในวันสถาปนายุวกาชาด ประจำปี 2551 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นองค์ประธาน

4.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำยืน ได้เป็นสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้แก่ ครู/นิสิต/นักศึกษา จากสถานศึกษาอื่น

เกียรติยศ ชื่อเสียง ของครูและบุคลากรทางการศึกษา

นางฉิมพลี สิงห์สวัสดิ์ ตำแหน่ง ผอ.กศน.น้ำยืน

1.ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์

2.ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 3 จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2550 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร

3.ได้ถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน

4.ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ ประจำสำนักงานคณะกรรมการบริหาร การลูกเสือแห่งชาติ ตามคำสั่งที่ 255/2549 หมายเลขทะเบียน 592/2549

5.ได้นำนักศึกษาเข้าร่วมพิธีสวนสนามและปฏิญาณตนเนื่องในวันสถาปณายุวกาชาดโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2551 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพฯ

นายกณวรรธน์ สุทธัง ตำแหน่ง ครู คศ.1

1.ปี 2541 ได้รับเกียรติบัตร ครูผู้มีคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น จาก สำนักงานศึกษาธิการอำเภอน้ำยืน เนื่องในวันครู 16 มกราคม 2551

2.ปี2545 ได้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย ในด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแก่ประชาชนและกลุ่มเป้าหมาย จนได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ เนื่องในวันการศึกษารนอกโรงเรียนและวันระลึกแห่งการรู้หนังสือโลก 8 กันยายน 2545

3.ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์

4.ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ฯ/ผู้อำนวยการสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอน้ำยืน

นางสาวศรีนคร ลือชา ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลยาง

จัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับประชาชนที่ด้อยโอกาสหรือพลาดโอกาสทางการศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนทั้งทางด้านอาชีพ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และได้ประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จนเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ เช่น กลุ่มวาดภาพเขียนไทย บ้านปลาขาวใน หมู่ 10 ตำบลยาง เป็นต้น

นาย สมัย สุทธี ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบุเปือย

1.ปี 2546 ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบุเปือย ได้รับรางวัลศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ

2. ได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการบ้านบุกลาง จนได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนดีเด่นระดับประเทศ

นางนวลหงษ์ เครือคุณ ตำแหน่งครูอาสาสมัคร รับผิดชอบ ตำบลโซง / ตำบลบุเปือย

ได้จัดกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านบุกลาง ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ที่สามารถเป็นต้นแบบและแบบอย่างจนได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2550

นางบุญจันทร์ เถระพันธ์ ครู ศรช.ตำบลโดมประดิษฐ์

1. ปี 2550 ได้รับคัดเลือกให้เป็นครูดีเด่น เนื่องในวันครูแห่งชาติ วันที่ 16 มกราคม 2550

2. ส่งเสริมและจัดกระบวนการเรียนรู้ในโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นผลทำให้ได้เข้ากราบทูลถวายรายงานต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549

นายอนุชิต ทุมมากร ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนตำบลสีวิเชียร

ให้การส่งเสริมสนับสนุนส่งนักศึกษาเข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ เนื่องในงานวันวิทยาศาสตร์ สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2550 และ ปี 2551

นางสาวศิริศิลป์ นิลแสง ตำแหน่งครูอาสาสมัคร รับผิดชอบ ตำบลยาง ยางใหญ่ เก่าขาม

ได้ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพแก่ชุมชนโนนป่าเลา จนสามารถจำหน่ายสินค้าระดับตำบล เป็นผลให้องค์กรต่างๆให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม เช่น การสนับสนุนงบประมาณ การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น

นางสาวศิริวรรณ ลือชา ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลโซง

ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในพื้นที่ตำบลโซง เช่น การประกวดหมู่บ้าน อพป./ปชด. ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2549 และปี 2550

นางสาวสมบูรณ์ พิลาแดง ตำแหน่ง ครูอาสาสมัคร รับผิดชอบตำบลสีวิเชียร ตำบลโดมประดิษฐ์

ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในพื้นที่ตำบลโดมประดิษฐ์ แก่กลุ่มผู้พิการ จนได้รับการขอบคุณจากผู้อำนวยการมูลนิธิพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน

นางสาวสุวรรณี ศิริธร ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเก่าขาม

ส่งเสริมสนับสนุนการฝึกวิชาชีพแก่กลุ่มแม่บ้าน เช่นการตัดเย็บเสื้อผ้า การต่อผ้า การทำดอกไม้จันทร์

นางจิตรา กิ่งสันเทียะ ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลยางใหญ่

ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แก่เครือข่าย เช่น โรงเรียนวัดสวายน้อย การจัดการศึกษาสายอาชีพ กิจกรรมชุมชน การทำแผนพัฒนาตำบล การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

การบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์/แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

1) มาตรฐานด้านผู้เรียน / ผู้รับบริการ

มาตรฐานที่ 1ผู้เรียน / ผู้รับบริการมีความรู้ความสามารถ เจตคติและทักษะตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร/กิจกรรม อยู่ในระดับดี

มาตรฐานที่ 2ผู้เรียน / ผู้รับบริการ มีทักษะในการเรียนรู้ อยู่ในระดับ ดี

มาตรฐานที่ 3ผู้เรียน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม อยู่ในระดับ ดี

2)มาตรฐานด้านกระบวนการ

มาตรฐานที่ 4 การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน/ ผู้รับบริการเป็นสำคัญอย่างมีระบบ อยู่ในระดับ ดี

มาตรฐานที่ 5การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับ ดีมาก

3) มาตรฐานด้านปัจจัย

มาตรฐานที่ 6 ครูและบุคลากรมีความสามารถในการปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน อยู่ในระดับ ดี

มาตรฐานที่ 7ผู้บริหารมีสมรรถนะในการบริหารองค์กร อยู่ในระดับ ดี

มาตรฐานที่ 8สถานศึกษามีหลักสูตร/กิจกรรม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย อยู่ในระดับ ดีมาก

มาตรฐานที่ 9เครือข่ายร่วมจัดหรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษานอกโรงเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก

บทที่ 2

นโยบายและจุดเน้นของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอน้ำยืน

วิสัยทัศน์

ภายในปี 2553 ศูนย์ กศน.น้ำยืน จะมุ่งมั่นจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม นำความรู้ เชิดชูชุมชน สามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาการศึกษา

คุณธรรม นำความรู้ เชิดชูชุมชน

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาพื้นฐานในรูปแบบการศึกษานอกระบบให้กับประชาชนโดยร่วมกับเครือข่าย

2. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย แบบต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้

4. จัดระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

บทบาท/หน้าที่

1.จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย เพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3.ดำเนินงานตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ

4.จัด ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่

5.จัด ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

6.วิจัยและพัฒนาคุณภาพหลักสูตร สื่อ กระบวนการเรียนรู้ และมาตรฐานการศึกษานอกระบบ

7.ดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

8.กำกับ ดูแล ตรวจสอบ นิเทศภายใน ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9.พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

10.ระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

11.ดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สอดคล้องกับระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด

12. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

เป้าหมาย

1. กลุ่มเป้าหมายทั้งในพื้นที่ปกติและในพื้นที่โครงการในพระราชดำริ ได้รับการศึกษาพื้นฐาน และ ได้รับบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและได้รับบริการการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยสถานศึกษาดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย

2. �