31
L:\book181441\Book181441-2.doc บทที2 การวางโครงการ ความสําคัญและหลักการของการวางโครงการ การวางโครงการ (Program planning) หมายถึง การกําหนดขั้นตอนกระบวนการในการ ประกอบกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงคและรายละเอียดของลักษณะงาน วิธีการทีจะปฏิบัติงานอยางชัดเจน เมื่อนําเอากิจกรรมที่กําหนดไวไปปฏิบัติสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค ที่กําหนดไวอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทําไมตองมีการวางโครงการ 1. เปนการวางรูปงานทําใหผูปฏิบัติดําเนินงานไดอยางถูกตองตามขั้นตอนและทิศทาง ไดรูถึงขอเท็จจริง เหตุผล ความจําเปนของงานที่จะตองทํา 2. ทําใหการจัดการดานบุคลากร วัสดุ เวลา งบประมาณและทรัพยากรตางๆ เปนไป อยางมีประสิทธิภาพ 3. ทําใหการประสานงานของฝายตางๆ เปนไปไดโดยสะดวกและรวดเร็วกอใหเกิดการ สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะแตละฝายตางก็ทราบหนาที่และบทบาทของตน 4. ชวยลดความยุงยากแกผูบริหารในการตัดสินใจ ประหยัดเวลาในการบริหารตลอดจน สะดวกในการจัดทําโครงการตอเนื่อง หลักการในการวางโครงการ ในการวางโครงการโดยทั่วไปมีหลักการในการวางโครงการดังนี(บุญธรรม, 2527) 1. การวางโครงการเปนเรื่องของการสมมุติเหตุการณตางๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว ลวงหนา อยางมีหลักเกณฑและสมเหตุสมผล 2. ตองมีการวิเคราะหขอเท็จจริงของสภาวการณ (Situation) เพื่อเปนพื้นฐานในการ วางโครงการ

บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

L:\book181441\Book181441-2.doc

บทที่ 2

การวางโครงการ

ความสําคัญและหลักการของการวางโครงการ

การวางโครงการ (Program planning) หมายถึง การกําหนดขั้นตอนกระบวนการในการประกอบกิจกรรมอยางใดอยางหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงคและรายละเอียดของลักษณะงาน วิธีการที่จะปฏิบัติงานอยางชัดเจน เมื่อนําเอากิจกรรมที่กําหนดไวไปปฏิบัติสามารถบรรลุตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ทําไมตองมีการวางโครงการ 1. เปนการวางรูปงานทําใหผูปฏิบัติดําเนินงานไดอยางถูกตองตามขั้นตอนและทิศทาง

ไดรูถึงขอเท็จจริง เหตุผล ความจําเปนของงานที่จะตองทํา 2. ทําใหการจัดการดานบุคลากร วัสดุ เวลา งบประมาณและทรัพยากรตางๆ เปนไป

อยางมีประสิทธิภาพ 3. ทําใหการประสานงานของฝายตางๆ เปนไปไดโดยสะดวกและรวดเร็วกอใหเกิดการ

สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะแตละฝายตางก็ทราบหนาที่และบทบาทของตน 4. ชวยลดความยุงยากแกผูบริหารในการตัดสินใจ ประหยัดเวลาในการบริหารตลอดจน

สะดวกในการจัดทําโครงการตอเนื่อง

หลักการในการวางโครงการ

ในการวางโครงการโดยทั่วไปมีหลักการในการวางโครงการดังนี้ (บุญธรรม, 2527)

1. การวางโครงการเปนเรื่องของการสมมุติเหตุการณตางๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไวลวงหนา อยางมีหลักเกณฑและสมเหตุสมผล

2. ตองมีการวิเคราะหขอเท็จจริงของสภาวการณ (Situation) เพื่อเปนพื้นฐานในการวางโครงการ

Page 2: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 20

3. การนําปญหาตางๆ มาพิจารณา ตองมั่นใจวาตรงกับความตองการของประชาชน หรือบุคคลเปาหมาย เพื่อที่จะไดเกิดประโยชนตอสวนรวมอยางแทจริง

4. การตั้งวัตถุประสงค เปาหมาย และแนวทางดําเนินงานตองใหสอดคลองกับการวิเคราะหขอเท็จจริงของสภาวการณ ตามความตองการของบุคคลเปาหมายอยางแทจริง

5. มีความสมดุลไมเนนดานใดดานหนึ่ง หรือกลุมใดกลุมหนึ่งมากเกินไป จนเกิดความลําเอียง

6. มีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนแนนอน 7. ในการจัดทําโครงการใหหาทางเลือกที่มีประโยชนมากที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด

ประหยัดมากที่สุด ใชเวลาสั้นที่สุด ใชตนทุนต่ําที่สุด 8. ใหความยืดหยุนในการดําเนินงาน 9. จัดใหเปนกระบวนการตอเนื่อง 10. จัดใหมีการประเมินผล

การลําดับข้ันของการวางโครงการ Holt (1993) ไดแบงลําดับข้ันของการวางแผนออกเปน 4 ระดับ คือ

1. ระดับพันธะกิจ (Mission) ซึ่งเปนภารกิจของ Board และ CEO ขององคกรจะตองมองใหออกวาในองคของตนเองนั้นมีพันธะกิจอะไรบางที่จะนําไปสูความสําเร็จตามจุดมงหมายขององคกรที่ต้ังไว ซึ่งการกําหนดพันธะกิจนี้ถือวาเปนการวางแผนระยะยาว หรือการกําหนดเปายุทธศาสตรระยะยาว (Long-term strategic goals)

2. ระดับการวางแผนกลยุทธ (Strategic Plans) เปนการวางแผนที่มีระยะเวลาประมาณ 5 ป มีการกําหนดวัตถุประสงคในระยะยาวตามขอบเขตของเวลา ซึ่งตองมีการคาดการณแนวโนมที่จะเกิดขึ้น ผูวางแผนกลยุทธสวนใหญมักเปนผูบริหารระดับสูงขององคการ

3. ระดับการวางแผนกลวิธี (Tactical Plans) เปนการวางแผนโดยการแปลงจากแผนกลยุทธ มาสูการวางแผนในระยะสั้นโดยผูบริหารระดับกลางรวมถึงคณะกรรมการบริหารที่เกี่ยวของ ระยะเวลาของแผนนี้โดยมากมักกําหนดไวที่ 1 ป เชน แผนงบประมาณประจําของคณะ ภาควิชา ในองคภาคเอกชนเชนเดียวกัน แผนงบประมาณของแตละแผนก แผนการตลาดในการขายสินคาในแตละป ลวนจัดเปนแผนในระดับนี้ทั้งสิ้น

Page 3: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 21

Mission

Strategic Plans

Tactical Plans

Operational Plans

4. ระดับการวางแผนปฏิบัติการ (Operational Plans) เปนการวางแผนในระดับลางสุดและเปนการวางแผนเฉพาะบุคคลหรือกลุมบุคคล ในดานเวลาก็อาจถูกกําหนดเปนไตรมาส เปนรายเดือน หรือเปนรายสัปดาห วัตถุประสงคของการวางแผนในระดับนี้ก็จะแคบและชัดเจนในแนวการปฏิบัติ การวางแผนทําโครงการของนิสิตสวนใหญจะเปนการวางแผนในระดับนี้ทั้งสิ้น

ภาพที่ 2.1 การจัดระดับของแผน ที่มา: Holt, 1993: 171

Page 4: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 22

ข้ันตอนในการวางโครงการ

ในการวางแผนโครงการนั้นควรเปนงานตอเนื่องและเปนกิจกรรมรวมกันระหวางบุคคล หลายฝาย หลายหนวยงานที่เกี่ยวของสัมพันธกัน เพื่อการแกไขปญหาของบุคคลเปาหมาย หรือตอบสนองความตองการของบุคคลเปาหมายนั้นๆ ดังนั้นในการวางโครงการประกอบไปดวยข้ันตอนตางๆ 5 ข้ันตอนดังนี้

ภาพที่ 2.2 วงจรการวางโครงการ

1. ขั้นการเก็บรวบรวมขอมูลและวิเคราะหสภาพการณ

4. ขั้นการดําเนินงานตาม

แผน

5. ขั้นการประเมินและติดตามผล

3. ขั้นการทําแผนปฏิบัติงาน

2. ขั้นการตั้งวัตถุประสงค/เปาหมายของโครงการ

Page 5: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 23

ข้ันการเก็บรวบรวมขอมูลและวิเคราะหสภาพการณ

ข้ันตอนนี้เปนขั้นตอนแรกในการวางโครงการเพื่อเก็บรวบรวมขอเท็จจริง (Facts) ที่เกี่ยวของกับสภาพการณและบริบทในพื้นที่เปาหมาย ทั้งในดานปญหาและความตองการของกลุมบุคคลเปาหมาย รวมทั้งทรัพยากรตางๆ ที่มีอยู และนํามาเพื่อใชประโยชนในการวางแผนโครงการ วิเคราะหสภาวการณของกลุมเปาหมาย ซึ่งจําเปนที่จะตองวิเคราะหทั้งที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษยและทรัพยากรวัตถุ

ขอมูลที่ตองวิเคราะหเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษยไดแกขอมูลในดานตางๆ ดังนี้

1. ขอมูลทางดานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในการวางแผนโครงการควรมีการศึกษาถึงขอมูลดานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุมเปาหมาย เพื่อพิจารณาวาโครงการนั้นมีความเหมาะสม หรือสอดคลองกับความเปนอยูของกลุมเปาหมายนั้นหรือไม ขอมูลทางดานนี้ไดแก ลักษณะของอาชีพ ภาษา (โดยเฉพาะภาษาถิ่น ซึ่งคําที่ออกเสียงคลายกันในภาษาหนึ่งอาจจะมีความหมายที่แตกตางกันในอีกภาษาหนึ่ง ทําใหความเขาใจในการสื่อสารเกิดการคลาดเคลื่อนได) ระดับการศึกษาซึ่งเกี่ยวของกับระดับการเขาใจในวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะครอบครัวเปนครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขยาย การเคลื่อนไหวทางสังคมในมิติตางๆ เชน ดานการพัฒนาชุมชนใหเขมแข็ง การเคลื่อนไหวเพื่อตอสูกับความยากจนของคนในชุมชน การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการอนุรักษทรัพยากรและสิ่งแวดลอมในชุมชน (เชนกรณีของการสรางโรงไฟฟาพลังงานความรอนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธที่สงผลกระทบตอส่ิงแวดลอมในทะเลบริเวณนั้น) ความเชื่อ เชน ความเชื่อเร่ืองผีของชนกลุมนอยบางกลุม การบริโภคอาหารที่ไมถูกหลักสุขอนามัยของประชาชนบางกลุม ความเชื่อเกี่ยวกับรับประทานอาหารบางชนิดแลวเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เปนตน และประเพณีนิยมตางๆ ในชุมชน เชน ประเพณีสงกรานตของชุมชนชาวมอญในอําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งขอมูลเหลานี้ลวนมีประโยชนตอการนํามาใชเปนขอมูลพื้นฐานในการวางโครงการทั้งสิ้น

2. ขอมูลทางดานองคประกอบทางสังคม ไดแก ผูนําในชุมชน เชน พระสงฆ ปราชญชาวบานหรือภูมิปญญาทองถิ่น เปนตน โครงสรางทางอํานาจของชุมชนหรือทองถิ่น พฤติกรรมการซื้อและการบริโภคสินคาในชุมชน ประเด็นนี้ควรพิจารณาหรือมีขอมูลของการบริโภคสินคาของสมาชิกในชุมชน ชุมชนบริโภคสินคาที่ผลิตขึ้นในชุมชนเปนหลัก หรือบริโภคสินคาที่ตองนําเขาจาก

Page 6: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 24

ภายนอกชุมชนเปนหลัก ทั้งนี้ขอมูลการบริโภคจะเปนขอมูลที่มีความสําคัญเกี่ยวของกับความเขมแข็งของชุมชน กลุมตางๆ ทางสังคม (เชนกลุมที่จัดตั้งตามนโยบายของรัฐ หรือกลุมจัดตั้งจากความพยายามในการกระตุนขององคกรพัฒนาภาคเอกชนเพื่อใหชุมชนเกิดความเขมแข็ง กลุมในลักษณะนี้จะมีความเขมแข็งและความยั่งยืนของกลุมมากกวา)

3. ขอมูลทางดานจิตวิทยาของชุมชน ไดแก เจตคติของชุมชนที่มีตออาชีพ ความตองการและแรงจูงใจ ความมุงหวังในอาชีพ ในกรณีเร่ืองเจตคติไดมีตัวอยางของการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพการทํานาพบวา กลุมชาวนามืออาชีพ (professional farmer) ที่ยังคงเหลือเพียง รอยละ 23 ของจํานวนแรงงานในหมูบาน และในชาวนามืออาชีพเหลานี้แทบจะไมมีชาวนาวัยหนุมสาว (อายุ 20-30ป) อยูเลย ทั้งนี้เนื่องจากคนหนุมสาวนิยมไปทํางานในโรงงานอุตสาหกรรมมากกวา (ผองพรรณ และคณะ, 2544) รายงานการวิจัยนี้แสดงใหถึงขอมูลทางดานเจตคติมีผลตอการที่จะนําโครงการสงเสริมทางดานอาชีพเขาไปในชุมชน นอกจากนี้ยังมีตัวอยางของโครงการทางดานสิ่งแวดลอมศึกษา เชน โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนําชมรมเรารักแมน้ําทาจีนนครปฐม (ชมรมเรารักแมน้ําทาจีนนครปฐม, 2549) ซึ่งลวนตองอาศัยเจตคติของประชาคมในชุมชนที่จะมีสวนรวมตอการพัฒนาโครงการใหประสบความสําเร็จ หากประชาคมในชุมชนมีเจตคติที่ไมดีตอโครงการ ไมวาจะเปนดานอาชีพ ดานสังคม หรือดานอื่นๆ ก็ลวนแตเปนอุปสรรคที่สําคัญในการวางโครงการ ผูวางโครงการตองแสวงหากลยุทธ เพื่อชักนําใหผูรวมโครงการมีจิตใจโนมเอียงและเห็นความสําคัญของการเขารวมโครงการอีกดวย

4. ขอมูลทางดานเศรษฐกิจของชุมชน ไดแก อาชีพหลัก อาชีพรอง รายไดเฉลี่ยตอครอบครัว เนื้อที่ถือครอง สถิติราคาสินคาโดยเฉพาะราคาสินคาทางดานการเกษตร สภาพหนี้สินเปนขอมูลที่มีความสําคัญตอการพัฒนาชุมชนตองมีขอมูลเชิงลึกของมูลเหตุแหงสภาพหนี้สินของสมาชิกในชุมชน ดานการเขาถึงบริการของรัฐ เชน ไฟฟา ประปา เสนทางการคมนาคม ระบบการขนสงสาธารณะ ระบบการใหบริการสาธารณสุข เปนตน การลงทุนทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในทองถิ่นควรศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่มีตอชุมชน

5. ขอมูลทางดานการเมืองการปกครอง ไดแก การทํางานของกลุมทางสังคม ความสามารถในการตัดสินใจของตัวบุคคลและกลุม การควบคุมวิถีทางดําเนินชีวิตของประชาชนในสังคมของชุมชนเปาหมาย ประเด็นที่เกี่ยวของ เชน โครงการที่ตองไดรับความเห็นชอบจากภาคการเมืองหรือการปกครอง ผูเสนอโครงการควรจะมีขอมูลเกี่ยวกับการเมืองและการปกครองในทองถิ่นนั้น เพื่อการเจรจาตอรองในการดําเนินโครงการใหบรรลุตามจุดมุงหมายที่ต้ังไว

Page 7: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 25

6. ขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประชากร ไดแก จํานวนประชากรแยกตาม เพศ อายุ อาชีพ รายได และระดับการศึกษา ขอมูลเหลานี้เปนขอมูลพื้นฐานเบื้องตนสําหรับการบริหารจัดการโครงการใหมีความเหมาะสม เชน ขอมูลทางดานเพศ อาจมีความเกี่ยวของกับการจัดที่พักหากโครงการตองมีการคางแรมเกิดขึ้น ขอมูลทางดานอายุอาจเกี่ยวของถึงการจัดการดานอาหารที่เหมาะสมสําหรับแตละวัย เชน ถาเปนโครงการที่จัดสําหรับเด็กเล็กอาหารก็ไมควรจัดชนิดที่มีรสจัด เนื่องจากเด็กเล็กไมสามารถรับประทานได เปนตน ขอมูลทางดานรายไดอาจเกี่ยวของกับคาใชจายที่ผูเขารวมโครงการตองรับผิดชอบ หากผูเขารวมโครงการมีรายไดนอย การวางโครงการก็ตองใชกลยุทธที่จะใหผูเขารวมโครงการเสียคาใชจายนอยที่สุดหรือไมตองรับผิดชอบคาใชจาย สวนดานการศึกษาตัวอยางที่เกี่ยวของนาจะเปนดานการจัดเนื้อหาทางดานวิชาการของโครงการ หากผูเขารวมโครงการมีการศึกษาสูงหรือมีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ก็ไมมีปญหาสําหรับการจัดการทางดานวิชาการ แตหากผูเขารวมโครงการมีความรูนอย การจัดการทางดานวิชาการของโครงการก็จําเปนตองลดระดับความเขมขนของเนื้อหาวิชาการใหเหมาะสมกับผูเขารวมโครงการ

ขอมูลที่ตองวิเคราะหเกี่ยวกับทรัพยากรวัตถุไดแกขอมูลในดานตางๆ ดังนี้

1. ดานสิ่งกอสรางตางๆ ที่มีอยูในชุมชน อันไดแก ระบบการชลประทาน สถานีอนามัย โรงเรียน ศูนยบริการตางๆ ถนน ไฟฟา ประปา ตลอดจนโบราณสถานตางๆ ที่มีคุณคา เปนตน หากเปนโครงการทางเกษตรและสิ่งแวดลอมในโรงเรียน ขอมูลที่สําคัญโดยเฉพาะทางดานส่ิงกอสรางตางๆ ภายในสถานศึกษา เชน จํานวนหองเรียน หองปฏิบัติการ แปลงปฏิบัติงานเกษตร อาคารปฏิบัติการทางเกษตรทั้งทางดานพืชและสัตว มีความพรอมเพียงใด ขอมูลเหลานี้มีความจําเปนอยางยิ่งที่จะใชเปนขอมูลพื้นฐานในการวางโครงการ

2. ปจจัยทางภูมิศาสตรเปนปจจัยที่มีความจําเปนอยางมากทางการเกษตร โดยจะตองมีการคํานึงถึงสภาพลักษณะทางภูมิศาสตรเปนอยางไร อาณาเขตติดตอใกลเคียงสถานที่ต้ังของชุมชนอยูในตําแหนงใด การคมนาคมที่สามารถติดตอกับบุคคลอื่นไดดวยวิธีใดบาง ลักษณะสภาพของเนื้อดิน ความอุดมสมบูรณของดิน ความลาดชันของพื้นที่ จํานวนที่ดินที่ใชในการเกษตร ลักษณะของการใชที่ดิน จํานวนที่ดินในเขตชลประทาน ขอมูลพื้นฐานทางดานภูมิศาสตรเหลานี้ลวนเปนตัวแปรที่สําคัญตอการวางโครงการทางดานเกษตรและสิ่งแวดลอมทั้งสิ้น

Page 8: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 26

3. ปจจัยทางดานทรัพยากรสิ่งแวดลอม ควรมีขอมูลของทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญของชุมชน ทรัพยากรที่คงเหลือในชุมชนมีอะไรบาง เหลือในปริมาณเทาใด สถานภาพสิ่งแวดลอมในชุมชนเปนอยางไร มีปญหาดานสิ่งแวดลอมใดบางที่ตองไดรับการแกไขโดยดวน หากสามารถเสาะแสวงหาสาเหตุที่เกิดขึ้น ก็จะเปนขอมูลที่สําคัญเพื่อใชในการวางแผนแกไขปญหาทางดานส่ิงแวดลอมตางๆ ที่เกิดขึ้นไดอยางถูกตองและชัดเจนตอการกําหนดแผนปฏิบัติการ

4. ขอมูลทางดานลักษณะทางภูมิอากาศ ที่มีความสําคัญและเกี่ยวของตอการเกษตรไดแก ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยตอปเทาใด ความชื้นสัมพัทธในอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยตอป เปนตน ดังนั้นในการวางโครงการทางดานการเกษตร จึงตองอาศัยขอมูลพื้นฐานทางดานภูมิอากาศชวยในการตัดสินใจเลือกทําโครงการที่เหมาะสม

5. การใชเครื่องทุนแรงและเครื่องมือเครื่องใชที่เกี่ยวของกับการประกอบการ หากเปนการวางแผนโครงการทางดานการเกษตร ก็ควรจะสํารวจขอมูลที่เกี่ยวของกับเครื่องมือทางการเกษตร หรือถาหากเปนการวางแผนทางดานการศึกษาเกษตร ก็จําเปนจะตองสํารวจขอมูลที่เกี่ยวของกับ เครื่องมือทางการศึกษาเกษตรอันไดแก เครื่องมือทางดานโสตทัศนูปกรณหรืออุปกรณการเรียนการสอน ตลอดจนอุปกรณสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางดานการเกษตร

หลักการสํารวจขอมูล

ในการสํารวจขอมูลเปนการศึกษาองคประกอบกิจกรรม และสภาพความเปนอยูของกลุมเปาหมายในปจจุบัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยการสํารวจนั้นมีจุดประสงค เพื่อมุงหาแนวทางแกไขและปรับปรุงสภาพการณที่เปนอยูในขณะนั้นใหดีข้ึนกวาที่เปนอยูเดิม ในการสํารวจขอมูลนั้นตองไมใชความรูสึกสวนตัว ในการตัดสินปญหาหรือคิดเอาเอง แตควรเปนการรายงานผลตามสภาพความเปนจริงในสังคมปจจุบัน

ประเภทของการศึกษาสํารวจขอมูล

การสํารวจขอมูลเพื่อใชในการวางแผนทําโครงการนั้น โดยปกติทั่วไปแลวสามารถแบงออกเปน 2 ประเภท คือ

1. การศึกษาสํารวจขอมูลเฉพาะดาน เปนการศึกษาสํารวจขอมูลดานใดดานหนึ่งโดยเฉพาะในกลุมเปาหมายที่ตองการจะทําโครงการ เชน ดานการศึกษา ดานการเกษตร ดานสุขภาพอนามัย ดานการวางแผนครอบครัว เปนตน

Page 9: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 27

2. การศึกษาสํารวจขอมูลเร่ืองทั่วๆ ไปทุกดาน เปนการศึกษาสํารวจขอมูลหลายๆ ดานไปพรอมๆ กันในกลุมเปาหมายที่ตองการจะทําโครงการ โดยพิจารณาถึงขอเท็จจริงตามสภาพทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และการศึกษา

วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล

การเก็บรวบรวมขอมูลมีอยูดวยกันหลายวิธี ข้ึนอยูกับวัตถุประสงค ระยะเวลาที่มีอยูสําหรับเก็บรวบรวมขอมูล งบประมาณมีมากนอยเพียงใด ในการเลือกใชวิธีการรวบรวมขอมูลอาจใชวิธีเดียวหรือหลายๆ วิธีมาผสมผสานกันก็ได ซึ่งในการสํารวจขอมูลมีวิธีตางๆ ดังนี้ คือ

1. การรวบรวมขอมูลจากกลุมผูนํา เปนวิธีที่ประหยัด สามารถไดขอมูลตางๆ จากกลุมผูนํา ซึ่งสามารถจําแนกไดตามบริบทที่จะวางโครงการ เชน ตองการทําโครงการเกษตร ในฟารมคณะศึกษาศาสตร กลุมผูนําที่เกี่ยวของ ไดแก ประธานฟารม คณะกรรมการฟารม และหัวหนาโครงการตางๆ เปนตน ในขณะเดียวกันหากตองการวางโครงการในชุมชนหรือทองถิ่นในชนบท กลุมผูนํา อาจจะเปน กํานัน ผูใหญบาน กรรมการหมูบาน พระ ครู และปราชญชาวบาน เปนตน การรวบรวมขอมูลจากผูนําเหลานี้ทําไดโดยการสัมภาษณกลุม หรือจัดทําในรูปแบบประชุมกลุมข้ึนอยูกับลักษณะของขอมูลที่ตองการและธรรมชาติขององคการหรือชุมชนที่เขาไปเก็บขอมูล

2. การรวบรวมขอมูลจากการศึกษาเฉพาะกรณี เปนการศึกษาขอมูลรายละเอียดที่ เกี่ยวของหรือตองการใหมากที่สุด ในการศึกษาเฉพาะกรณีนี้มีลําดับข้ันตอนในการศกึษาดังนี้

2.1 ต้ังวัตถุประสงค วาจะศึกษาเรื่องอะไร และจะนําขอมูลไปใชประโยชนอะไร

2.2 การรวบรวมขอมูล อาจทําไดโดยมีการใชเครื่องมือหลายๆ ชนิดเพื่อใหไดรายละเอียดมากที่สุด เครื่องมือที่ใชสวนมากไดแกแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ การสังเกต การจดบันทึก และการสอบถามจากผูนําเปนตน

2.3 วิเคราะหหาสาเหตุจากขอมูลที่รวบรวมมา โดยจะตองถูกตองและละเอียด จึงจะชวยใหทราบถึงสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น และสามารถวางแผนหรือหาแนวทางปรับปรุงแกไขได

Page 10: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 28

3. การรวบรวมขอมูลจากการสังเกต เปนวิธีการรวบรวมขอมูลที่ตองการใชในการทําโครงการ ดวยการบันทึกสภาวะที่แทจริงตามเหตุการณที่เกิดขึ้นในสภาพการณที่เปนอยูตามความจริงในขณะนั้น ทั้งสามารถรวบรวมเอาเหตุการณที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในขณะนั้นมาบันทึกไวดวย ในการรวบรวมขอมูลโดยวิธีการสังเกตสามารถกระทําได 2 วิธีคือ

3.1 การสังเกตโดยไมเขาไปมีสวนรวม การสังเกตโดยวิธีนี้ ผูสังเกตเพียงแตเฝามองดู และรับฟงขอมูลจากกลุมเปาหมายเทานั้น โดยที่ไมมีสวนเขาไปรวมในสภาวการณนั้น และมีการบันทึกเหตุการณที่เกิดขึ้น ตามความเปนจริงและเที่ยงธรรม ซึ่งผูถูกสังเกตรูตัวหรือไมรูตัวก็แลวแตกรณี

3.2 การสังเกตโดยเขาไปมีสวนรวม โดยที่ผูสังเกตไดมีโอกาสเขาไปมีสวนรวมในกิจกรรมนั้น รวมแสดงความคิดเห็น รวมตัดสินใจ รวมปฏิบัติในกิจกรรมและนําขอมูลที่ไดมาบันทึกตามขอเท็จจริงที่ไดรับทราบมา แตผูถูกสังเกตจะไมทราบวาผูสังเกตไดเขามาศึกษาขอมูล เพียงแตคิดวามารวมกิจกรรมนั้นๆ เทานั้น

4. การรวบรวมขอมูลโดยการประชุมเพื่อถกเถียงปญหา โดยจัดการประชุมสมาชิกในกลุมเปาหมาย เพื่อใหรวมแสดงความคิดเห็นถกเถียงปญหาของกลุม วิธีการศึกษาคนหาความจริงแบบนี้ ผูสํารวจจะตองตั้งปญหาขึ้น และแตละปญหาตองใหสมาชิกในชุมชนไดแสดงความคิดเห็น แลวจึงสรุปเปนคําตอบ

5. การรวบรวมขอมูลจากเครื่องบงชี้ทางสังคม การรวบรวมขอมูลวิธีนี้สามารถดําเนินการโดยการศึกษาจากเอกสารที่มีอยูแลวในหองสมุด หนังสือพิมพ สํามะโนประชากร สถิติหรือบทความตางๆ ในการรวบรวมขอมูลดวยวิธีการนี้ ตองระวังในเรื่องความทันสมัยของขอมูล และขอมูลที่ไดตองตรงกับสภาพความเปนจริง

6. การรวบรวมขอมูลโดยใชแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ เปนวิธีการรวบรวมขอมูลที่ผูทําโครงการสวนใหญใหความสนใจ เนื่องจากเปนวิธีการที่สะดวก ประหยัดคาใชจาย และเวลาในการดําเนินการอีกดวย แตอยางไรก็ตามขอมูลที่ไดรับมามีความแมนยําและถูกตองเพียงใด ข้ึนอยูกับประสิทธิภาพและคุณภาพของแบบสอบถามและแบบสัมภาษณนั้นๆ

6.1 แบบสอบถาม (Questionnaire) บุญธรรม (2537) ไดใหความหมายของแบบสอบถามไววา เปนชุดของคําถาม ซึ่งจัดเรียงไวอยางเปนระบบระเบียบ สําหรับสงใหผูตอบ

Page 11: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 29

อานและตอบดวยตนเอง ดังนั้นการใชแบบสอบถามในการรวบรวมขอมูล จึงสามารถใชกับกลุมตัวอยางที่มีจํานวนมากๆ ได เสียคาใชจาย แรงงาน และเวลานอยกวาวิธีการอื่นๆ แตก็มีขอจํากัดในเรื่องของการอานออกเขียนไดของกลุมตัวอยาง ความเขาใจในความหมายของขอความไดตรงกับความตองการของผูออกแบบสอบถาม และยังมีขอจํากัดในเรื่องของไดกลับคืนมาของแบบสอบถาม แตถึงอยางไรก็ตาม แบบสอบถามก็ยังเปนเครื่องมือที่นิยมใชกับงานเก็บขอมูลอยางกวางขวาง โดยเฉพาะงานเก็บขอมูลทางดานสังคมศาสตร ขณะเดียวกัน บุญธรรม (2537) ไดเสนอแนวทางในการสราง และพัฒนาแบบสอบถาม สําหรับใชในการรวบรวมขอมูลไวดังนี้

• กําหนดโครงสรางของแบบสอบถาม • กําหนดขั้นตอนการสรางแบบสอบถาม • การกําหนดขอมูลและตัวชี้วัด • กําหนดชนิดและรูปแบบคําถามในแบบสอบถาม • หลักการทั่วไปในการตั้งคําถาม • การเรียงลําดับคําถามและการจัดรูปแบบ • การตรวจสอบและแกไขขั้นตอน • การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม • การสงแบบสอบถามไปใหผูตอบ

6.2 แบบสัมภาษณ (Interview) อุดม และคณะ (2545) ไดใหความหมายไววา เปนเครื่องมือที่ ใช เก็บรวบรวมขอมูลจากกลุมตัวอยางที่ตองการขอมูลเชิงลึก หรือจากกลุมเปาหมายที่อานหนังสือไมออกและเขียนหนังสือไมได มีขอจํากัดในดานระยะเวลาซึ่งตองใชเวลาในการรวบรวมขอมูลคอนขางมาก ประเภทของแบบสัมภาษณมีสองประเภทคือ 1) แบบมีโครงสราง จะกําหนดขอคําถามไวอยางชัดเจนจะเปนคําถามแบบปลายปด หรือปลายเปดก็ได 2) แบบไมมีโครงสราง เปนแบบที่ไมไดกําหนดขอคําถามไวแนนอนตายตัวคําถามอาจเปลี่ยนแปลงไดแตยังคงประเด็นสําคัญของเรื่องที่จะศึกษา

Page 12: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 30

เทคนิคการเก็บรวบรวมขอมูล

เทคนิคหรือกระบวนวิธีในการเก็บรวบรวมขอมูลที่สามารถนํามาประยุกตใชกับการเก็บขอมูลเพื่อทําโครงการ

1. การประเมินสภาวะชนบทอยางเรงดวน (Rapid Rural Appraisal) ใชตัวยอวา RRA เปนวิธีการศึกษาขอมูลภายในชุมชนชนบทที่ทําใหไดคําตอบในเวลาอันรวดเร็ว และเปนทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งเมื่อมีขอจํากัดของเวลาและทรัพยากร เพื่อใชผลของการประเมินชุมชนในการจัดทําโครงการแกปญหาอยางรีบเรง โดยมีหลักการและลักษณะทั่วไปดังนี้

ใชระยะเวลาสั้นในการศึกษาหาขอมูล โดยการระดมกําลังของทีมผูเก็บรวมรวมขอมูลที่หลากหลายสาขา เพื่อศึกษาขอมูลทุกดานที่ตองการในภาพรวมทั้งระบบ

ในขณะทําการสํารวจขอมูลคณะผูเก็บรวบรวมขอมูลไดรับความรูเพิ่มเติมจากกระบวนการเก็บขอมูล

การเก็บรวบรวมขอมูลเปนขั้นตอนของการสํารวจขอมูลในดานกวางเทานั้น ใชเทคนิคและเครื่องมือการเก็บขอมูลที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อใหไดขอมูลตางๆ ตามที่ตองการ

ใชแนวคิดเรื่อง Triangulation เพื่อปองกันความลําเอียง ไดแก 1) การใชทีมนักวิชาการหลากหลายสาขา 2) กําหนดวิธีการ เครื่องมือ เทคนิคหลากหลาย และ 3) กําหนดกลุมตัวอยางที่หลากหลาย

ใหความสําคัญกับภูมิปญญาทองถิ่นและวิทยาการพื้นบานในทองถิ่นที่ศึกษา การศึกษามองภาพรวมทั้งระบบไมแยกการศึกษาออกเปนสวนๆ

ขอมูลที่ไดมาอยางรวดเร็วจะใชประโยชนในการตัดสินใจทําการพัฒนาชุมชน หมูบานไดอยางถูกตอง ตามความตองการของประชาชน

จุดเดนและจุดดอยของ RRA

จุดเดน 1. สามารถใชไดดีกับกระบวนการพัฒนาโครงการ ซึ่งเปนการหาโจทยที่

ถูกตองเพื่อพัฒนาโครงการตามความตองการที่แทจริงของชุมชนตอไป 2. เปนวิธีการที่นําความรวมมือระหวางนักวิชาการตางสาขา และประชาชน

ในชุมชน ในการพัฒนาชุมชน

Page 13: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 31

จุดดอย

การใชวิธีการของ RRA ในการเก็บรวบรวมขอมูลแมจะเปนวิธีการที่ดี แตก็มีจุดดอยที่การเก็บรวบรวมขอมูล เนื่องจากเปนมุมมองจากบุคคลภายนอก คนในชุมชนเปนเพียงใหขอมูลเทานั้น หากการนําขอมูลไปใชโดยปราศจากการหารือกับคนในชุมชน อาจมีผลตอการวางแผนเพื่อแกปญหาของชุมชนได

ประเภทของ RRA

ณรงค ศรีสวัสด์ิ (2542) ไดแบงประเภทของ RRA ไวดังนี้ คือ

1. แบงตามวัตถุประสงคของการศึกษา

1.1 ตองการหาขอมูลทั่วไป เปนการหาขอมูลกวางๆ เกี่ยวกับชุมชน ขอมูลที่ไดจะบอกลักษณะขององคประกอบตางๆ ในระบบและรูปแบบความสัมพันธขององคประกอบเหลานั้น เชน การศึกษาขอมูลพื้นฐานของหมูบาน เปนตน

1.2 ตองการหาคําตอบเฉพาะเรื่อง เปนการหาขอมูลที่มุงหาคําตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง เชน การศึกษาระบบการทําเกษตรผสมผสาน เปนตน ขอมูลที่ไดจะแสดงใหเห็นถึงรูปแบบโดยทั่วไปของสิ่งที่ตองการศึกษา รวมทั้งปจจัยที่มีผลตอการดําเนินงาน และการตัดสินใจของคนในชุมชนเกี่ยวกับเร่ืองนั้นๆ

2. แบงตามหนวยของการวิเคราะห

2.1 ระดับหมูบานเปนการศึกษาเพื่อดูรูปแบบหรือพฤติกรรมการใชทรัพยากรในระดับหมูบานและชุมชน ผลการศึกษาจะฉายภาพกวางๆ ของชุมชน

2.2 ระดับครัวเรือน เปนการศึกษาเจาะลึกในระดับครัวเรือน ครัวเรือนผูใหสัมภาษณจะไดมาจากการคัดเลือกอยางเปนระบบ ขอมูลที่ไดในระดับนี้จะแสดงใหเห็นระดับการตัดสินใจอยางชัดเจนของผูใหขอมูล

Page 14: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 32

-yho9vodkiL7dKk

ขั้นตอนการศึกษา โดยใชวิธี RRA เลือกหัวขอ

กําหนดทีม

วางวัตถุประสงค/แบงบทบาทหนาที่

กําหนดประเด็น/แนวคําถาม

กําหนดวิธีการ เลือกพื้นที่ ผูใหสัมภาษณ ฯลฯ

(ตามหลัก Triangulation)

สัมภาษณ

รวบรวมขอมูล/ประชุมใหญ

วิเคราะหผล

รายงานผลการศึกษา

ที่มา: สุเกสินี สุภธีระ และสุจินต สิมารักษ. 2530. คูมือการประเมินสภาวะชนบทอยางเรงดวน. โครงการวิจัยระบบฟารม มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ดําเนินการ/จัดการ แบงกลุมสัมภาษณ

กําหนดขอตกลง

Page 15: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 33

2. การประเมินสภาวะชนบทโดยการมีสวนรวม (Participatory Rural Appraisal) ใชชื่อยอวา PRA เปนการประเมินสภาวะชนบทหรือชุมชนโดยใหคนที่อยูในชุมชนไดมีสวนรวมในการประเมินสภาวะความเปนอยูของตนเอง คนในหมูบานชุมชนตองรวมกันเก็บขอมูล

ประโยชนที่ไดรับจากการใช PRA ณรงค (2542) ไดสรุปไวดังนี้

1. ผูเก็บขอมูลเปนผูเขาไปชวยชาวบานในการเก็บรวบรวมขอมูล ชวยชาวบานในการวางแผนเก็บขอมูล ขอมูลที่ไดมาเปนของชาวบาน หากบุคคลภายนอกตองการใชก็สามารถขอจากชาวบานได

2. มีการสรางความรวมมือระหวางชาวบานกับนักวิชาการหรือเจาหนาที่ของรัฐที่เขาไปเก็บขอมูล มีการแบงปนทรัพยากรตางๆ เปนการฝกการทํางานเปนทีม

3. สรางการเปลี่ยนแปลงในบทบาทและพฤติกรรมของเจาหนาที่ของรัฐ หรือนักวิชาการ เปนเพียงผูนั่งฟงการวิเคราะหสรุปจากผูรูในชุมชน การตัดสินใจเปนของประชาคมในหมูบาน

ปจจัยที่เอื้อตอความสําเร็จของการใชเครื่องมือ PRA ซึ่งคณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2547) ไดรวบรวมไวในเอกสารทางอิเลคทรอนิค ดังนี้

1. ประชาชนในชุมชนที่เขารวมในกระบวนการ ตองมาจากทุกกลุม ทุกเพศ ทุกสถานภาพ

2. ทีมงานตองมีทัศนะคติที่ดี ตองวิเคราะห วิพากษตัวเองวามีความพรอมเพียงใดในการทํางานรวมกับผูอ่ืน โดยเฉพาะชาวบาน

3. มีทีมงานที่เหมาะสม มีผูประสานที่มีประสบการณ สมาชิกทุกคนตองมีความทุมเทในการทํางาน มีความเขาใจซึ่งกันและกัน

4. เลือกใชวิธีการที่เหมาะสม ใหเหมาะสมกับทีมงาน และชาวบาน ตองเปนวิธีการที่สามารถกอใหเกิดการเรียนรูอยางตอเนื่อง ไมใชเปนเครื่องมือที่สรางปญหาใหกับผูปฏิบัติงาน

Page 16: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 34

5. การพัฒนาสถาบันของชุมชน การวางแผนในการทํางานควรรวมมือกับองคกรทองถิ่น พัฒนาศักยภาพขององคกรทองถิ่นใหเรียนจากการทํางานไปพรอมกัน

3. การประเมินสภาวะชนบทอยางเรงดวนโดยการมีสวนรวม (Participatory Rapid Rural Appraisal) ใชชื่อยอ PRRA เปนการรวมเอาจุดเดนของวิธีการแบบ RRA และ PRA เขาดวยกัน เพื่อที่จะใหมีการเก็บรวบรวมขอมูล สําหรับการตัดสินใจที่รวดเร็ว โดยใชทีมนักวิจัยและประชาชนในชุมชนรวมกันเก็บรวบรวมวิเคราะหขอมูล จุดเนนของ PRRA ยังคงเนนคุณสมบัติของ RRA คือการเก็บขอมูลที่รวดเร็ว ใชวิธีการเก็บขอมูลที่หลากหลายวิธีและยืดหยุน ตลอดจนเก็บขอมูลในภาพรวมทั้งระบบ สวนเทคนิคของ PRA ใชในประเด็นที่ชุมชนตองมีสวนรวมในกระบวนการวิจัย

ณรงค (2542) ไดสรุป ลักษณะวิธีการที่สําคัญของ PRRA ไวดังนี้

1. การมีสวนรวมของประชาชนในหมูบาน และผูเก็บรวบรวมขอมูล เปนแบบ สหวิทยาการในการเก็บรวบรวมขอมูล และวิเคราะหขอมูลขาวสาร

2. มีความรวดเร็วในการเก็บรวบรวมขอมูล และการวิเคราะหขอมูลกระทําไดในระยะเวลาอันสั้น

3. วิธีการยืดหยุน โดยใชหลากหลายวิธี 4. มีการตรวจสอบความถูกตองของขอมูลขาวสาร 5. ชุมชนหมูบานเปนสังคมแบบบูรณาการที่ตองทําการศึกษา

เทคนิคการวิเคราะหขอมูล

เมื่อรวบรวมขอมูลตางๆ ที่ตองการโดยใชวิธีใดก็ตามที่ไดกลาวมาแลวขางตน ข้ันตอไปก็คือการนําขอมูลเหลานั้นมาวิเคราะห เพื่อจัดเรียงลําดับความสําคัญของปญหา หรือความตองการของกลุมเปาหมาย พิจารณาถึงทรัพยากรที่มีอยูในชุมชน ความเปนไปไดที่จะทําโครงการ การวิเคราะหขอมูลนั้น จําเปนตองใชวิธีทางสถิติเขามาชวย ไดแก การแจกแจงความถี่ รอยละ คาเฉลี่ย เปนตน เพื่อขอมูลที่ไดมานั้น จะไดจัดเปนหมวดหมู มีระบบสามารถบอกคาโดยสวนรวมของกลุม พรอมทั้งเปรียบเทียบขอมูลของกลุมเปาหมายในการดําเนินงาน แตอยางไรก็ตามการตัดสินใจเลือกทําโครงการนั้น มิไดข้ึนอยูกับคาสถิติที่หาไดเพียงอยางเดียวเทานั้น หากยังตองใชวิจารณญาณในการพิจารณาถึงความเปนจริงประกอบอีกดวย

Page 17: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 35

ในการสํารวจขอมูลตางๆ กอนการวางแผนนั้นตองกระทําโดยความละเอียดรอบคอบมีการศึกษาอยางเปนระบบโดยใชวิธีการวิจัยเขาชวย จึงจะไดขอมูลที่ชัดเจนนาเชื่อถือ ทราบถึงความตองการและปญหาที่แทจริงของกลุมเปาหมาย อันจะเปนประโยชนตอการทําโครงการ เพื่อตอบสนองความตองการหรือแกปญหาของกลุมเปาหมายนั้นๆ อยางแทจริง

การวิเคราะหขอมูลโดยใช SWOT Analysis

การวิเคราะห SWOT เปนเทคนิคที่มีความสําคัญสามารถประยุกตในการวิเคราะหสภาพของบริบทขององคการ ชุมชน หรือทองถิ่น เพื่อการวางแผนทําโครงการ ชวยใหองคการหรือชุมชนสามารถกําหนดเปาหมาย และทิศทางในวางโครงการในอนาคตใหบรรลุผลอยางมีประสิทธิภาพ

SWOT เปนตัวอักษรยอจากคําในภาษาอังกฤษ ดังนี้ S Strengths (จุดแข็ง) W Weaknesses (จุดออน) O Opportunities (โอกาส) T Threats (อุปสรรค)

การวิเคราะห SWOT เปนการประเมินสถานการณภายในและภายนอกองคการ เพื่อชวยใหเขาใจถึงความสัมพันธระหวางภายในและภายนอกองคการ หรือเปนวิธีที่ทําใหองคการปรับตัวเขากับการเปลี่ยนแปลงของบริบทภายนอกองคการไดอยางเหมาะสม โดยการนําวิธีการที่ดีที่สุดเพิ่มจุดแข็งและโอกาสใหมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ลดจุดออนและอุปสรรคใหเหลือนอยที่สุด (วัฒนา, 2546)

ขั้นตอนการวิเคราะห SWOT

1. วิเคราะหจุดออน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ขององคการ หรือชุมชน 2. นําเอาจุดออน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ขององคกร หรือชุมชน มาสราง

กลยุทธทางเลือก โดยใชวิธีการที่เรียกวา SWOT matrix โดยจะตองพิจารณาเลือกแนวทางปฏิบัติใหบรรลุวัตถุประสงคขององคการ หรือชุมชน

การวิเคราะห SWOT โดยสรุปที่เกี่ยวของกับการทําโครงการคือการระดมสมองของคนที่เกี่ยวของกับการทําโครงการมาชวยกันคิดหาวิธีในการกําหนดโครงการ หรือกิจกรรม ที่จะ

Page 18: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 36

แกไขจุดออนและเสริมจุดแข็งขององคการ หรือชุมชน จากนั้นนํากลยุทธตางๆ ที่ได ไปจัดทําโครงการเพื่อพัฒนาองคการหรือชุมชนตอไป

Page 19: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 37

การจัดลําดับความสําคัญของปญหา

จากการสํารวจขอมูลจากกลุมเปาหมายแลวอาจจะพบปญหา หรือความตองการของกลุมเปาหมายมากมาย ทําใหผูวางแผนเกิดความยุงยากใจ ในการทําโครงการเพื่อแกปญหา หรือตอบสนองความตองการของกลุมเปาหมายนั้น ในเร่ืองการจัดลําดับความสําคัญกอนหลังของปญหาในการทําโครงการวา ปญหาหรือความตองการใดเปนสิ่งเรงดวนที่ควรจะกระทําเปนอันดับแรก การพิจารณาจัดลําดับความสําคัญของโครงการ ควรใหผูที่มีสวนเกี่ยวของไดมีสวนเขามารวมแสดงความคิดเห็นในการจัดลําดับความสําคัญของปญหา หรือความตองการดวยตัวของเขาเอง ซึ่งในการจัดลําดับความสําคัญจะจัดแบงไวเปนหมวดหมูดังนี้ คือ (นําชัย, 2530)

1. โครงการที่บุคคลในชุมชนสามารถตอบสนองไดดวยตนเอง ซึ่งปรากฏออกมาใน ลักษณะการวางแผนโครงการชวยเหลือตนเอง โดยไมตองขอความชวยเหลือจากบุคคลภายนอก

2. โครงการที่ตองการความชวยเหลือจากบุคคลภายนอกในดานวิชาการ

3. โครงการที่ตองใชจายเงินเปนจํานวนมากจากรัฐบาลหรือหนวยงานเอกชน

ข้ันการตั้งวัตถุประสงคและเปาหมายของโครงการ

กอนที่จะถึงขั้นตอนในการตั้งวัตถุประสงค และเปาหมายของโครงการ เรามาทําความเขาใจกับความหมายของคําตางๆ ที่มีความหมายใกลเคียงกัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะใชไดไมตรงกับความหมายที่แทจริงของคํานั้นๆ ในที่นี้จึงขอกําหนดความหมายของคําตางๆ เหลานั้นไวเพื่อใหมีความเขาใจตรงกัน ดังนี้

จุดมุงหมาย (Purpose) หมายถึง ความปรารถนาที่แสดงออกใหทราบถึงอุดมการณที่มุงหวังโดยไมจํากัดลักษณะหรือวิธีปฏิบัติ มีลักษณะเปนปรัชญาและอุดมการณทั้งมีขอบเขตกวางขวางกวา objective ดังนั้น purpose จึงใชในระดับสูงขององคกรหรือระดับชาติ เชน ความมุงหมายสําคัญอยางหนึ่งของประเทศก็คือ ความอยูรอดของคนในชาติ (อนันต, 2543)

วัตถุประสงค (Objective) หมายถึง ความปรารถนาในอนาคตที่ไดกําหนดวิธีปฏิบัติ แสดงทิศทางการเจริญเติบโต และวิธีดําเนินการ ซึ่งโดยปกติ มักจะระบุออกมาเปนคานิยมและสนองความตองการในระยะยาว (ธงชัย, 2534)

Page 20: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 38

เปาหมาย (Target หรือ Goal) หมายถึง การแสดงผลงานหรือผลลัพธที่ระบุคุณภาพ และหรือปริมาณงานที่คาดวาจะทําใหบังเกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะกําหนดเปนรอยละ หรือจํานวนหนวยที่แสดงปริมาณหรือคุณภาพตางๆ

จากการศึกษาเก็บรวบรวมขอมูลและวิเคราะหสภาพการณแลวนั้น ทําใหไดแนวทางเพื่อพิจารณาวาอะไรคือส่ิงที่ควรจะทําเพื่อแกปญหา หรือพัฒนางานตามที่ไดวิเคราะหสภาวการณของงานมาแลว นั่นคือการพิจารณาถึงวัตถุประสงค/เปาหมาย การวางแผนทําโครงการทุกชนิด จําเปนตองมีการกําหนดวัตถุประสงคอยางชัดเจน เพื่อเปนแนวทางในการดําเนินงาน เปนพื้นฐานในการเลือกวิธีดําเนินงาน และวิธีการประเมินผล วัตถุประสงคจึงเปนเครื่องชี้นําของการทําโครงการเพื่อจะใหโครงการที่วางไวลุลวงไปดวยดี

ประโยชนของวัตถุประสงค

บทบาทของวัตถุประสงคในกระบวนการวางแผนทําโครงการ

วัตถุประสงคมีความสําคัญและใหคุณประโยชนหลายประการดวยกัน เพราะนอกจากจะเปนการระบุความตองการของโครงการ และยังมักสะทอนคานิยมขององคการอีกดวย ดังนั้นวัตถุประสงคจึงมีประโยชนโดยสรุปดังนี้ (ธงชัย, 2534)

1. เปนการสรางทิศทางในการดําเนินงานของสมาชิกในหนวยงาน หรือในโครงการ หรือบุคคลที่เกี่ยวของกับการทําโครงการ ใหมีแนวทางในการดําเนินงานเดียวกัน เนื่องจากสมาชิกแตละคนยอมมีความคิดจุดมุงหมายที่แตกตางกัน หากเราไมรวมแนวความคิดของแตละคนที่มีอยูใหมีทิศทางเดียว การทํางานก็ยอมจะเกิดปญหาการแตกแยกทางความคิด ผลที่เกิดขึ้นก็ยอมทําใหการทําโครงการนั้นไมสําเร็จ

2. เปนตัวบอกถึงผลประโยชน ที่กลุมเปาหมายจะไดรับจากผลพวงของการทําโครงการดังกลาว ดังนั้นหากโครงการมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน ยอมจะทําใหบุคคลเปาหมายทราบถึงผลตอบแทนที่เขาจะไดรับจากการทําโครงการ อันจะนํามาซึ่งความรวมมือของกลุมเปาหมายนั้นๆ

3. เปนตัวกําหนดกระบวนการของกิจกรรมตางๆ ในการทําโครงการ วากิจกรรมที่กําหนดขึ้นมีความสอดคลองกับวัตถุประสงคที่กําหนดไวหรือไม

Page 21: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 39

4. เปนพื้นฐานในการประเมินผลวาโครงการที่จัดทําขึ้น มีความสําเร็จมากนอยเพียงใด เนื่องจากการประเมินจะตองยึดวัตถุประสงคของโครงการเปนหลัก โดยพิจารณาวาโครงการที่ทําอยูมีวัตถุประสงคอะไร ตองการใหเกิดอะไรขึ้นบาง หรือตองการแกไขปญหาอะไรบาง เมื่อดําเนินงานตามโครงการที่วางไวไดผลเปนอยางไร มีส่ิงใหมๆ ที่ตองการเกิดขึ้นตามวัตถุประสงคที่เขียนไวหรือไม สามารถแกไขปญหาไปไดมากนอยเพียงใด ดังนั้นวัตถุประสงคจึงเปนตัวบงบอกถึงความสําเร็จของโครงการ

ชนิดของวัตถุประสงค

การแบงวัตถุประสงคนั้นสามารถแบงออกในลักษณะตางกันไดดังนี้

1. การแบงวัตถุประสงค โดยยึดหลักของความเปนเจาของ เ รียกวา วัตถุประสงคของบุคคลหรือของกลุม ในการทํากิจกรรมหรือดําเนินชีวิตของแตละบุคคลยอมมีวัตถุประสงคเปนของตนเองอยูแลว เมื่อไปทํางานรวมกันเปนกลุมก็จําเปนที่จะตองมีการตกลงกัน เพื่อกําหนดวัตถุประสงคของกลุมโดยเฉพาะ เพื่อใชเปนแนวทางในการดําเนินงานใหไปในทิศทางเดียวกัน

2. การแบงวัตถุประสงคโดยยึดระยะเวลาของการดําเนินโครงการเปนหลัก เรียกวา วัตถุประสงคระยะสั้นหรือระยะยาว

ในการทํางานแตละอยางนั้น จะตองกําหนดระยะเวลาของการทํางานนั้นใหเสร็จส้ินโดยใชเวลาเทาใด บางโครงการสามารถทําเสร็จโดยใชเวลาไมกี่วัน บางโครงการอาจตองใชเวลาในการทํานานเปนเดือน เปนป หรือหลายๆ ป การกําหนดวัตถุประสงคของโครงการภายในระยะเวลาไมเกิน 1 ป ถือกันวาเปนวัตถุประสงคระยะสั้น วัตถุประสงคของโครงการที่มีชวงระยะเวลามากกวา 1 ป แตไมเกิน 5 ป ถือวาเปน วัตถุประสงคระยะปานกลาง สวนวัตถุประสงคของโครงการที่มีระยะเวลามากกวา 5 ป ถือวาเปนวัตถุประสงคระยะยาว

3. การแบงวัตถุประสงคโดยยึดขอบเขต เรียกวา วัตถุประสงคทั่วไปหรือวัตถุประสงคเฉพาะ

การกําหนดวัตถุประสงคในลักษณะนี้จะพิจารณาจากลําดับข้ันของการวางแผน โดยมีลักษณะวาแผนหรือโครงการขนาดใหญ วัตถุประสงคของแผนหรือโครงการนั้นๆ ก็จะกวาง เราจึงเรียกวัตถุประสงคของแผนหรือโครงการนี้วาวัตถุประสงคทั่วไป และการที่จะทําใหแผนหรือ

Page 22: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 40

โครงการใหญๆ เหลานั้น สําเร็จลงไดก็จําเปนจะตองแยกยอยแผนและโครงการเหลานั้นใหเล็กลงเปนโครงการยอยๆ ซึ่งในแตละโครงการยอยๆ เหลานี้ก็จะกําหนดวัตถุประสงคที่เฉพาะเจาะจงลงไปใหเหมาะสมกับเนื้องานหรือกิจกรรมที่จะทําและงายตอการนําไปปฎิบัติถึงบุคคลเปาหมาย

ลักษณะของวัตถุประสงคที่ดี

การกําหนดวัตถุประสงคที่ดีขององคกรนั้น อนันต (2543) ไดกําหนดลักษณะ 9 ประการของวัตถุประสงคที่ดีดังนี้

1. ตองเปนที่ทราบและเขาใจในหมูบุคลากรที่เกี่ยวของ วัตถุประสงคระดับสูงจะมีลักษณะขอบเขตกวางและเปนกลยุทธมากวาวัตถุประสงคระดับที่ตํ่ากวาซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะเปนรูปธรรม

2. ตองมีความสมดุล ทําใหเกิดการบูรณาการผสานกิจกรรมตางๆ ของหนวยงานทั้งหลายที่มีหนาที่แตกตางกันและกอใหเกิดผลสําเร็จตามวัตถุประสงค

3. ตองมีสวนชวยใหสามารถระบุถึงผลที่คาดวาจะไดรับอยางชัดเจนและเปนที่เขาใจ เมื่อทราบและเขาใจวัตถุประสงคแลวยอมทําใหสามารถบอกไดวาผลที่จะเกิดจากการกระทําตามวัตถุประสงคนั้นจะมีอะไรบาง

4. ตองสามารถเปลี่ยนแปลงไดตามขอจํากัดตางๆ ทั้งจากภายในองคการและภายนอกองคการ

5. ตองสามารถวัดไดทั้งในดานปริมาณ คุณภาพ คาใชจายและเวลา 6. ตองสามารถทําไดหรือมีความเปนไปได ไมควรกําหนดใหสูงเกินไปจนทําไมได

หรือกําหนดต่ําเกินไปจนไมไดมาตรฐาน 7. ควรไดรับการยอมรับโดยบุคลากรในองคการ ทั้งนี้เพื่อจะไดทําใหสมาชิกของ

องคการมีพฤติกรรมที่สอดคลอง และมุงทํางานเพื่อใหบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค

8. ควรเขียนใหชัดเจนเปนที่เขาใจไดงาย ไมใชภาษาคลุมเครือ 9. การเขียนวัตถุประสงค ถามีหลายประเด็นควรแยกใหชัดเจนเปนขอๆ ซึ่งไมควรมี

หลายขอเกินไป และถาเปนวัตถุประสงคของโครงการเล็กๆ ถาไมจําเปนควรมีเพียงขอเดียว แตถามีหลายขอจะตองเรียงลําดับความสําคัญ โดยขอแรกตองสําคัญกวาขอที่สอง

Page 23: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 41

ลักษณะของขอความที่เขียนเปนวัตถุประสงคที่ดีนั้นควรจะมีลักษณะ SMART ซึ่งหมายถึง (นําชัย, 2530)

1. Simple หมายถึง เปนประโยคที่ใชภาษางายตอการเขาใจ 2. Measurable หมายถึง สามารถที่จะประเมินผลหรือสามารถวัดผลไดทั้งใน

ดานคุณภาพและปริมาณ 3. Attainable หมายถึง สามารถดําเนินการใหบรรลุจุดมุงหมายได 4. Realistic หมายถึง สามารถปฏิบัติตามสภาพเปนจริงได 5. Time bound หมายถึง มีขอบเขตระยะเวลากําหนดใหเพียงพอ

ลักษณะเปาหมายที่ดี การกําหนดลักษณะเปาหมายที่ดีมีหลักเกณฑในการพิจารณาดังนี้ (ธงชัย, 2534)

1. ขอความที่จัดทําขึ้นสามารถใชเปนสิ่งชี้นําการดําเนินการหรือไม 2. ชัดเจนมากพอที่จะใชแนะนําใหทราบถึงแบบการกระทําตางๆ หรือไม 3. ไดเอื้ออํานวยใหมีเครื่องมือที่จะใชวัดหรือใชควบคุมประสิทธิภาพหรือไม 4. เปาหมายเปนสิ่งที่นาสนใจ ทาทายตอความสามารถหรือไม แตตองอยูในระดับสูงพอสมควรที่พอจะทําใหสําเร็จ และเปนจริงได

5. ไดมีการคํานึงถึงโอกาสและขอจํากัดทั้งภายในและภายนอกแลวเพียงใด 6. สามารถที่จะนํามาสัมพันธกับทั้งวัตถุประสงคหรือเปาหมายในวงกวาง หรือที่

เปนเปาหมายเฉพาะเจาะจง ทั้งในระดับที่สูงหรือตํ่ากวาในองคการไดครบทุกแงมุมหรือไม

ข้ันการทําแผนปฏิบัติงาน

การทําแผนปฏิบัติงานเปนการวางแนวทางการปฏิบัติที่กําหนดไวลวงหนา เพื่อใหโครงการหรือกิจกรรมตางๆ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค Heerkens (2001) ไดเสนอแนะหลักการและขั้นตอนของการทําแผนปฏิบัติงานไว 8 ข้ันตอน ดังนี้

1. กําหนดขอบเขตของปญหาหรือโอกาส ในขั้นนี้ผูทําแผนปฏิบัติงานควรยอนกลับไปดูขอมูลที่ไดสํารวจในขั้นแรกเกี่ยวกับความตองการที่แทจริง เพื่อจะไดกําหนดวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทําแผนปฏิบัติงาน

Page 24: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 42

2. กําหนดวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด ในขั้นตอนนี้ผูทําแผนปฏิบัติงานตองแสวงหาทางเลือกในการปฏิบัติที่ดีที่ สุด มีเหตุผลในการเลือกวิธีปฏิบัตินั้น การตัดสินใจควรตัดสินใจเปนทีม

3. กําหนดภาระหนาที่และทรัพยากรที่ตองสนับสนุน ข้ันตอนนี้ตองระบุวิธีการในการทํางานใหสําเร็จ การใชทรัพยากรจากภายในหรือการยืนยันเพื่อสนับสนุนทรัพยากรจนกระทั่งงานที่ทําสําเร็จ

4. จัดเตรียมตารางการควบคุมการใชทรัพยากรที่ไดรับการจัดสรร จัดทําตารางกิจกรรมโดยลําดับกอนหลังตั้งแตวันเริ่มโครงการจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ทั้งนี้เพื่อใหเขาใจไดโดยงายสามารถทําเปนบารชารต

5. ประมาณคาใชจายที่ใชในแตละกิจกรรมเพื่อที่จะสามารถจัดทํางบประมาณทั้งหมดของโครงการได

6. วิเคราะหความเสี่ยงและสรางความสัมพันธกับผูมีสวนไดสวนเสียกับโครงการ ในขั้นตอนนี้ควรวิเคราะหปจจัยภายนอกที่มีโอกาสสูงที่จะมาคุกคาม ควรหาทางปองกันหรือลดปจจัยเสี่ยงเหลานั้น ขณะเดียวกันควรพยายามสรางความรวมมือกับผูมีสวนไดสวนเสียกับโครงการอยางเหนียวแนน

7. ควบคุมและสื่อสารระหวางดําเนินโครงการ ควรกําหนดวิธีการหรือชองทางการสื่อสารระหวางดําเนินโครงการ

8. จัดเก็บรายละเอียดตางๆ เพื่อเตรียมปดโครงการอยางสมบูรณ

จากหลักการดังกลาว การทําแผนปฏิบัติงานจึงควรมีการพิจารณารายละเอียด เพื่อจัดทําลงในแผนปฏิบัติงานของโครงการ โดยการตอบประเด็นคําถาม 6 ขอ ดังนี้คือ

1. ตองการทําอะไร โดยดูจากวัตถุประสงคที่ต้ังไว

2. ทําอยางไร วิธีการที่จะใชหรือกิจกรรมที่จะปฏิบัติงาน

3. เมื่อใด มีระยะเวลาเทาไร

4. ใครเปนผูรับผิดชอบงานหรือกิจกรรมนั้น

5. ใชสถานที่ใด ในการดําเนินกิจกรรม

6. ตองใชวัสดุอุปกรณใดบาง

Page 25: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 43

ในการทําแผนปฏิบัติงานควรมีการระบุรายละเอียด ดังกลาวขางตนเปนขอๆ เพื่องายตอการปฏิบัติงานของผูรับผิดชอบ และสะดวกตอการพิจารณางานของผูทําการประเมินผล นอกจากการทําแผนปฏิบัติงานแลว โครงการที่ดีควรมีปฏิทินการปฏิบัติงานดวย การเขียนปฏิทินการปฏิบัติงานนั้น ควรจะเสนอในรูปแบบแผนภูมิแสดงระยะเวลาในการดําเนินงานของแตละกิจกรรมของแผนงานอยางชัดเจนไวลวงหนา ตามระยะเวลาที่กําหนดอาจกําหนดตามปงบประมาณหรือตามปปฏิทินสากล ข้ึนอยูกับแตละหนวยงาน ซึ่งการเขียนแผนปฏิบัติงานและปฏิทินปฏิบัติงาน จะกลาวในบทที่ 3 ไปวาดวยเรื่องของการเขียนโครงการ

ข้ันการดําเนินงานตามแผน

หลังจากที่จัดทําโครงการ และตรวจสอบความถูกตองพรอมทั้งวิเคราะหสวนตางๆ ของโครงการเปนที่เรียบรอยแลว เห็นสมควรที่จะดําเนินโครงการนี้แลว ก็ดําเนินการจัดพิมพโครงการขึ้น เพื่อเสนอขออนุมัติจากผูบังคับบัญชาหรือหนวยงานที่ใหการสนับสนุน ทั้งในดานงบประมาณ และบุคลากร เมื่อไดรับการอนุมัติแลว จึงดําเนินการจัดพิมพสําเนาแจงบุคคล หรือหนวยงานที่เกี่ยวของใหทราบ เพื่อถือเปนแนวทางปฏิบัติงานตอไป

กอนที่จะเริ่มดําเนินการตามโครงการ ควรมีการประชุมซักซอมความเขาใจอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปดโอกาสใหผูปฏิบัติงานตามแผนไดซักถาม และทําความเขาใจในวิธีการดําเนินงานในแตละกิจกรรม เพื่อปองกันความผิดพลาดและขอบกพรองที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะดําเนินงานตามโครงการ สําหรับข้ันตอนในการปฏิบัติงานนั้นสามารถระบุเปนขั้นๆ ดังนี้คือ (นําชัย, 2530)

1. ตองศึกษาลักษณะของโครงการเสียกอนวา มีเปาหมายอะไรที่แนนอนวัตถุประสงค ที่แทจริงของโครงการนั้นเปนอยางไร มีนโยบายที่เกี่ยวของในระดับตางๆ เปนอยางไรบาง และมีผลกระทบกระเทือนหรือผลดีตอส่ิงอื่นๆ อยางไรบาง เพื่อจะไดเตรียมหาวิธีการแกไขหรือปรับปรุงในสวนที่จะทําใหเกิดความเสียหายนั้น ทั้งหมดนี้ผูปฏิบัติงานตามแผนจะตองศึกษาอยางละเอียดทําความเขาใจใหถองแทและพิจารณาหาทางเลือกที่ ดีที่ สุด เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคที่ไดกําหนดไวตามโครงการ

2. การดําเนินงานตามโครงการ การปฏิบัติงานในชั้นนี้เปนการเริ่มตนดําเนินงานตามแผนที่ไดจัดเตรียมไวแลว การมอบหมายอํานาจและความรับผิดชอบแกทุกคนในองคการเปนความจําเปนที่ตองมีการกระทํากอน โดยใหผูที่มีสวนรวมในแผนทุกระดับเขารวมประชุมเพื่อ

Page 26: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 44

รับทราบและทําความเขาใจในวิธีการปฏิบัติงานที่ไดกําหนดขึ้นมา และบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของตนเองอยางชัดเจน เพื่อโครงการจะไดดําเนินไปอยางราบรื่น ขอสงสัยตางๆ เกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของแตละบุคคลและวิธีการปฏิบัติตางๆ ควรรีบจัดการไปเสียต้ังแตตอนตน นอกจากนั้นในการปฏิบัติงานตามโครงการ การบริหารงานทั้งงานบุคคล งานงบประมาณ การประสานงานภายในกับภายนอก และการประชาสัมพันธ ผูปฏิบัติตามโครงการจะตองพยายามบริหารงานเพื่อใหการดําเนินงานเปนไปตามกําหนดและไดผลตามตองการ ฉะนั้นงานตางๆ ซึ่งอาจจะไดมอบหมายใหมีผูรับผิดชอบไปแลว ก็จะตองไดรับความสนใจ จากผูปฏิบัติตามโครงการมากพอสมควรและเมื่อเห็นวาทุกอยางเดินไปตามที่ตองการแลว จึงสามารถปลอยใหผูที่ไดรับมอบหมายดําเนินงานตามลําพังได แตก็ควรใหความสนใจติดตามเปนครั้งคราว

การติดตอประสานงานกับบุคลภายนอกหรือหนวยงานอื่น เปนอีกงานหนึ่งที่ผูปฏิบัติงานตามโครงการจะตองปฏิบัติ พรอมทั้งประชาสัมพันธโครงการที่ทําอยูใหประชาชนกลุมเปาหมายไดทราบถึงการดําเนินโครงการ นอกจากนี้ผูปฏิบัติงานตามโครงการจะตองออกตรวจดูความเรียบรอยและการดําเนินงานตางๆ ซึ่งจะทําใหผูปฏิบัติงานตามโครงการไดใกลชิดกับการปฏิบัติงานในภาคสนามมากขึ้น

3. การควบคุมโครงการ ผูปฏิบัติตามโครงการจะตองมีระบบควบคุมในการปฏิบัติงาน เพื่อที่แตละฝายหรือบุคคลจะไดดําเนินงานไปตามแนวทางที่ตองการ โดยปกติแลวผูปฏิบัติงานในภาคสนามจะตองรายงานความกาวหนาและประเมินผลการปฏิบัติงานของโครงการ หากมีปญหาที่ผูปฏิบัติโครงการไมสามารถแกไขได ผูควบคุมโครงการจะไดดําเนินการแกหรือปรับปรุงใหทันตอสถานการณ โดยจะตองพยายามรักษาวัตถุประสงคและนโยบายของโครงการนั้นๆ ไว ดังนั้นการควบคุมงานจึงหมายถึงการแกไขปญหาตางๆ ที่เกิดขึ้น และหาหนทางปองกันมิใหปญหาตางๆ เกิดขึ้นดวยเชนกัน

4. การแกไขดัดแปลงโครงการ ในขณะที่ดําเนินโครงการอยูนั้น บางครั้งมีความจําเปนจะตองแกไขดัดแปลงแผนปฏิบัติงานที่วางไวใหสามารถปฏิบัติงานไดตามสภาพความเปนจริง การแกไขปรับปรุงแผนปฏิบัติงานจึงเปนสิ่งที่จําเปนไมควรละเลย ถาหากตองการใหโครงการที่วางไวบรรลุวัตถุประสงค หรือเปาหมายที่ตองการ แตการแกไขแผนปฏิบัติงานนั้นตองพิจารณาอยูเสมอวา การแกไขแผนปฏิบัติงานนั้นจะไมทําใหวัตถุประสงคเปลี่ยนแปลงไปหรือขัดกับนโยบายหลักของโครงการนั้นๆ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติงานนั้น จะตองปรึกษาหารือกับผูรับผิดชอบโครงการ คือผูบังคับบัญชาหรือผูบริหารในการหาทางปรับปรุงแกไข

Page 27: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 45

ใหเหมาะสมตอไป การแกไขแผนปฏิบัติงานอยางสม่ําเสมอ จะทําใหผูปฏิบัติงานสามารถดําเนินงานตามแผนไดถูกตองมากยิ่งขึ้น พรอมทั้งสามารถกําหนดคาใชจายหรือเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปอยางถูกตองดวย ขอสําคัญของการเปลี่ยนแปลงแผนปฏิบัติงานจะตองใหผูบริหารหรือผูรับผิดชอบโครงการยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงจะตองเปนผลดีตอโครงการดวย

5. การรายงานความกาวหนา โครงการระยะสั้นๆ ที่ใชเวลาไมกี่วัน หรือไมกี่สัปดาห อาจไมจําเปนที่จะตองรายงานความกาวหนา แตโครงการที่ใชระยะเวลาในการดําเนินงานนานเปนปๆนั้น การรายงานความกาวหนาเปนสิ่งจําเปนที่ผูปฏิบัติงานตามโครงการจะตองรายงานความกาวหนาของโครงการ ตอผู บังคับบัญชาหรือผู รับผิดชอบโครงการ การรายงานความกาวหนาจะรายงานเปนระยะๆ ตลอดการทําโครงการและมีการสรุปรายงานการทําโครงการทั้งหมด เมื่อส้ินสุดการทําโครงการนั้นๆ โดยปกติรายงานจะไมยืดยาวจนเกินไป และควรจะใหรายละเอียดเกี่ยวกับความกาวหนาของโครงการ ในเร่ืองเกี่ยวกับคาใชจายในการดําเนินโครงการ ปญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหวางทําโครงการและสิ่งสําคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับโครงการ เชน สภาพแวดลอม ผลกระทบของโครงการ เปนตน การรายงานความกาวหนาของโครงการ จะเปนประโยชนอยางแทจริงตอผูบริหารโครงการหรือผูบริหารระดับสูงจริง ก็ตอเมื่อการรายงานความกาวหนานั้นเปนระบบไมเปนการรายงานเท็จ หรือยกเมฆขอมูล

6. การบริหารบุคลากรในโครงการ เปนการจัดกําลังคนในการทํางานในโครงการที่จัดทํา บุคลากรที่ทําโครงการอาจจะเปนเจาหนาที่ประจําของหนวยงาน หรือเปนบุคลากรที่จางชั่วคราว ผูบริหารโครงการจะตองมีเทคนิคในการบริหารงานบุคคลากรที่รวมโครงการใหสามารถทํางานในสวนตางๆ ไดอยางมีความสุข ตองสรางขวัญและกําลังใจใหกับบุคลากรภายในโครงการดวย

ข้ันการประเมินและติดตามผล

ข้ันตอนสุดทายของการวางโครงการนั้น ผูวางโครงการควรจะระบุรายละเอียดเกี่ยวกับกลไกการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของโครงการ โดยจะตองกําหนดหนวยงานและบุคคลที่รับผิดชอบใหชัดเจน ทั้งนี้เพราะจะตองมีผูรับผิดชอบตอผลของการประเมิน การกําหนดหนวยงานและบุคคลผูรับผิดชอบใหชัดเจนจะทําใหการติดตามสอบถาม ระหวางผูติดตามประเมินผลกับผูปฏิบัติตามโครงการเปนไปอยางรวดเร็วและถูกตอง

Page 28: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 46

การติดตามผลนั้น เปนการรวบรวมวิเคราะหขอมูลเกี่ยวกับการใชวัสดุอุปกรณ งบประมาณและบุคลากรในโครงการ ประสิทธิภาพของการดําเนินงาน และประสิทธิภาพของงาน นอกจากนี้ยังสามารถใชเปนเครื่องมือสําหรับผูบริหาร ในการนําขอมูลมาใชแกไขปรับปรุงการดําเนินงานใหเปนไปตามแผนการปฏิบัติงานไดอยางเหมาะสม

การติดตามและประเมินผลสามารถดําเนินการไดในลักษณะตางๆ ดังตอไปนี้

1. หนวยงานที่รับผิดชอบโครงการ 2. หนวยงานอื่นที่ไมเกี่ยวของกับการทําโครงการเปนผูประเมินผลและติดตาม

ผล 3. หนวยงานที่รับผิดชอบโครงการรวมกับหนวยงานอื่นที่ไมเกี่ยวของกับ

โครงการเปนผูประเมินผล

สําหรับรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการในการประเมินผล จะกลาวโดยละเอียดในบทที่ 5

Page 29: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 47

ตัวอยางปญหาเพื่อการอภิปราย

เรื่อง แนวความคิดพ้ืนฐานในการวางโครงการ

ขอความที่นิสิตจะไดอานตอไปนี้ เปนความคิดของนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดลอมศึกษา คนหนึ่ ง ซึ่ ง กํ าลั งฝ กปฏิ บั ติ ง าน เกษตรภายในฟาร มของคณะศึ กษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร วิทยาเขตกําแพงแสน จ.นครปฐม เหตุการณนี้เกิดขึ้นในขณะที่นิสิตผูนี้กําลังเดินรอบๆ คอกเลี้ยงสุกรขุนภายในฟารมของคณะศึกษาศาสตร ในตอนเย็นวันหนึ่งของ เดือนมิถุนายน 2548 ...จากการสํารวจสภาพทั่วไปในการเลี้ยงสุกรขุนพบวา การเลี้ยงสุกรขุนของโครงการในแตละรุนเลี้ยงสุกรขุนไดคร้ังละมากกวา 10 ตัวขึ้นไป ทําใหมีมูลสุกรเปนจํานวนมากสงกลิ่นเหม็น แกผูคนที่ผานไปผานมาบริเวณดังกลาว ถาเราสามารถกําจัดกลิ่นเหม็นเหลานี้ใหลดลงเราจะทําไดโดยวิธีใดไดบางนะ...เอ ดูเหมือนเราเคยไปฝกงานที่ศูนยฝกอบรมการเลี้ยงสุกรแหงชาติ เห็นเขานําเอามูลสุกรมาทําเปนกาชชีวภาพใชสําหรับเปนเชื้อเพลิงเครื่องยนตตนกําลังสําหรับการผลิตกระแสไฟฟาแตของเขามีสุกรเปนรอยตัวของเรามีสุกรแค 10 กวาตัว ถาจะทํากาซชีวภาพ จะใชประโยชนอะไรนะ ออ...ภายในฟารมของเรามีโครงการแปรรูปซึ่งตองใชกาซเชื้อเพลิง สําหรับงานแปรรูปตลอดทั้งเทอมและก็ใชปริมาณกาซครั้งละไมมาก คิดวามูลสุกร 10 กวาตัวนาจะเพียงพอสําหรับผลิตกาซใหโครงการแปรรูปไดใช วัสดุอุปกรณสําหรับใชในเรื่องนี้ก็ใชไมมาก บอสําหรับกักมูลสุกรก็มีอยูแลวเปนบอคอนกรีตขนาด 3X3X1.5 เมตร เราเพียงแตซื้อพลาสติกอยางหนามาใชทําฝาครอบดักกาซเทานั้นก็พอ อุปกรณอ่ืนๆ เราก็สามารถหาไดภายในฟารมของเรา อึม...สรุปแลวความคิดของเราไมเลวทีเดียว ไดประโยชนทั้งการกําจัดกลิ่นเหม็นของมูลสุกรไดทั้งปุยหมักที่ไดจากกากของมูลสุกรที่ใชผลิตกาซ ไดทั้งกาซชีวภาพสําหรับงานแปรรูป โอโห...ไดประโยชนมากมายเชนนี้ เห็นทีจะตองนําความคิดนี้ไปเสนออาจารยที่ปรึกษาโครงการฝกงานฟารม เผื่ออาจารยเห็นดีดวยจะไดลงมือทําไวเปนตัวอยาง ออ...แตกอนจะไปปรึกษาอาจารย เดี๋ยวตองไปคุยกับโครงการแปรรูปสักหนอยจะไดหาแนวรวม ในการทําโครงการนี้ดวย

คําถามเพื่อการอภิปราย

พิจารณาจากขอความที่นิสิตไดอานมาขางตนนี้ ประกอบกับความเขาใจของนิสิตในเรื่องความรู พื้นฐานในการวางโครงการแลว นิสิตคิดวาความคิดของนิสิตสาขาวิชาเกษตรและส่ิงแวดลอมศึกษา ผูนี้ใหแนวความคิด หรือจุดเริ่มตนในการวางโครงการอยางไรบาง

Page 30: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 48

แนวความคิดในการอภิปราย

1. การกําหนดปญหาเพื่อใหนิสิตอภิปรายนี้ มีวัตถุประสงคเพื่อใหนิสิตที่ยังไมเขาใจถึงข้ันตอนตางๆ ในการวางโครงการ วาควรจะเริ่มจากอะไร และเริ่มอยางไร (ดูจาก chart ประกอบ)

Need

Interest Data Collection Objectives Plan of work

Problem

1.ขั้นการรวบรวมขอมูลและวินิจฉัยปญหา

2.ขั้นต้ังวัตถุประสงค 3.ขั้นทําแผนปฏิบัติงาน

จากตัวอยางนี้จะเห็นวาการวางโครงการนั้นเกิดจากปญหา (Problem) คือ ปญหากลิ่นมูลสุกร ที่ทําความรบกวนแกบุคคลที่ปฏิบัติงานในบริเวณดังกลาว และหากจัดทําโครงการดังกลาวจะสามารถสรางประโยชนและแกปญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งขอมูลดังกลาวสามารถใชในการเขียนหลักการและเหตุผล กําหนดวัตถุประสงคในการทําโครงการ ตลอดจนทําแผนปฏิบัติงาน

Page 31: บทที่ 2 - Kasetsart Universitypirun.ku.ac.th/~fedupst/Book181441-2.pdf · บทที่ 2 การวางโครงการ ... 5 ป มีการกําหนดว

การวางโครงการ

L:\book181441\Book181441-2.doc 49

2. จากปญหาเพื่อการอภิปรายนี้ สามารถกําหนดวัตถุประสงคสําหรับการวางโครงการเปนขอๆ ดังนี้

• เพื่อทําใหสภาพนิเวศนและส่ิงแวดลอมของฟารมดีข้ึน กําจัดปญหากลิ่นเหม็นของมูลสุกร

• เพื่อใหนิสิตที่เขารวมโครงการมีความรูในการทํากาซชีวภาพไวใชในครัวเรือน • เพื่อผลิตกาชชีวภาพไวใชหุงตมในโครงการแปรรูป • เพื่อผลิตปุยหมักจากกากมูลสุกรใชในการเพาะปลูก

จากวัตถุประสงคอยางกวางๆ ดังกลาวขางตนสามารถนําไปใชเปนแนวทางในการกําหนดวัตถุประสงคของการวางโครงการที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ข้ึนอยูกับรายละเอียดในการจัดทําโครงการนั้นๆ

3. จากความคิดดังกลาวของนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดลอมศึกษา จะเห็นวายังไมมีรายละเอียด ดังนั้นจึงมีความจําเปนที่จะตองมีการวางโครงการ เพราะยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่จะตองระบุลงไปในสวนตางๆ ของโครงการ