81
1 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนินการจัดทําและพัฒนาระบบ ติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและกํากับการ ดําเนินงาน มาตั้งแต่ปี . . 2548 ถึงปัจจุบัน ทั้งด้านผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณของแผนงาน/ โครงการ กิจกรรม งบประมาณ และพื้นที่ดําเนินการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ให้สามารถรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว โดยการรายงานผ่าน web site กระทรวง นับเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการโครงการต่าง ที่ผู้บริหารแต่ละระดับสามารถสั่งการ หรือ บริหารงานผ่านระบบ e-Project Tracking System ให้บรรลุผลตามเป้าหมายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในปีงบประมาณ .. 2554 สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสํานักนโยบาย และยุทธศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบการดําเนินงานของระบบ e-Project Tracking System ได้ดําเนินการพัฒนาระบบฯ ให้สามารถครอบคลุมการดําเนินงาน/การรายงานผลการดําเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จนถึงระดับจังหวัด (ทสจ.) สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค (สสภ.) และหน่วยงานระดับสํานัก/กอง ของหน่วยงานระดับกรม และใช้งานระบบ ได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ได้ดําเนินการจัดฝึกอบรมการใช้ระบบฯ ให้กับเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เพื่อให้ทุกหน่วยงาน สามารถนําเข้าข้อมูลแผนงาน/ โครงการ กิจกรรม งบประมาณ พื้นที่ดําเนินการ และรายละเอียดต่างๆ รวมถึงรายงานผลความก้าวหน้า ผลการ เบิกจ่ายงบประมาณ และรายงานผลการดําเนินงาน และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปี . . 2554 ของทุกหน่วยงานโดยผ่านระบบฯ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สําหรับคู่มือระบบติดตามและประเมินผลโครงการเล่มนีจัดทําขึ้นเพื่อประกอบการฝึกอบรม และอํานวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดําเนินการด้านแผนงานและงบประมาณการดําเนินงานของ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจําปีงบประมาณ . . 2554 ในการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบติดตามและประเมินผลได้มากขึ้น ท้ายสุดนีสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานในความร่วมมือด้วยดีเสมอมา กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทนํา

บทนํา - MNREeproject.mnre.go.th/download/manual.pdf · 2017. 8. 14. · 3 คู่มือการใช ้งานระบบต ิดตามและประเม

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • 1 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนินการจัดทําและพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมและกํากับการดําเนินงาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน ทั้งด้านผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายงบประมาณของแผนงาน/โครงการ กิจกรรม งบประมาณ และพื้นที่ดําเนินการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ให้สามารถรายงานผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว โดยการรายงานผ่าน web site กระทรวง นับเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ที่ผู้บริหารแต่ละระดับสามารถส่ังการ หรือบริหารงานผ่านระบบ e-Project Tracking System ให้บรรลุผลตามเป้าหมายอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม โดยสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบการดําเนินงานของระบบ e-Project Tracking System ได้ดําเนินการพัฒนาระบบฯ ให้สามารถครอบคลุมการดําเนินงาน/การรายงานผลการดําเนินงานและผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จนถึงระดับจังหวัด (ทสจ.) สํานักงานส่ิงแวดล้อมภาค (สสภ.) และหน่วยงานระดับสํานัก/กอง ของหน่วยงานระดับกรม และใช้งานระบบได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยส่วนหน่ึงสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ได้ดําเนินการจัดฝึกอบรมการใช้ระบบฯ ให้กับเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เพื่อให้ทุกหน่วยงาน สามารถนําเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการ กิจกรรม งบประมาณ พื้นที่ดําเนินการ และรายละเอียดต่างๆ รวมถึงรายงานผลความก้าวหน้า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ และรายงานผลการดําเนินงาน และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจําปี พ.ศ. 2554 ของทุกหน่วยงานโดยผ่านระบบฯ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

    สําหรับ คู่มือระบบติดตามและประเมินผลโครงการเ ล่มนี้ จัดทําขึ้น เพื่ อประกอบการฝึกอบรม และอํานวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดําเนินการด้านแผนงานและงบประมาณการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ ส่ิงแวดล้อม ประจํ า ปีงบประมาณ พ .ศ . 2554 ในการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้ระบบติดตามและประเมินผลได้มากขึ้น ท้ายสุดนี้ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานในความร่วมมือด้วยดีเสมอมา

    กลุ่มพัฒนายทุธศาสตร์ สํานักนโยบายและยทุธศาสตร์

    สํานักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    บทนํา

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 2

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    บทนํา ........................................................................................................................................................... 1 สารบัญ ................................................................................................................................................. ……..2 บทที ่1 ภาพรวมของระบบบริหารและรายงานความก้าวหน้า………………………………………...........................4

    1.1 ระบบบรหิารและรายงานความก้าวหน้า ............................................................................................. 4 1.2 การเช่ือมโยงทางยทุธศาสตร์์ ............................................................................................................... 4

    1.2.1 การเช่ือมโยงยุทธศาสตรคื์ออะไร?.............................................................................................. 5 1.2.2 ผู้ดูแลระบบในระบบบรหิารและรายงานความก้าวหน้ามีกี่ประเภท ? ........................................ 6 1.2.3 สิทธิและหน้าที่ของกลุ่มผู้ดูแลระบบระดับต่างๆ ......................................................................... 6

    บทที ่2 การใช้งานระบบสําหรับบุคลากรระดับผู้ปฏิบัติงาน…………………………………………..........................13 2.1 ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ สําหรับ “ผู้ปฏิบัตงิาน” ....................................................... 13 2.2 การใชง้านระบบติดตามและประเมินผลโครงการของผู้ปฏิบัติงาน.....................................................17

    2.2.1 การบริหารข้อมูล .................................................................................................................... 17 2.2.2 การรายงานความก้าวหน้า ...................................................................................................... 17

    บทที ่3 การบริหารข้อมูล ............................................................................................................................ 18 3.1 การใช้งานของผู้ปฏิบัติงานในการบริหารข้อมูล.......................................................................19

    3.2 ข้อมูลระดบัผลผลิต .......................................................................................................................... 20 3.2.1 ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิต ........................................................................................................... 20 3.2.2 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลผลผลิต ............................................................................................... 21 3.2.3 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ ..................................................................... 22 3.2.4 ขั้นตอนการบริหารขอ้มูลตัวชี้วัดของผลผลิต ........................................................................... 24 3.2.5 ขั้นตอนการกําหนดหน่วยงานทีร่ับผิดชอบ .............................................................................. 26 3.2.6 ขั้นตอนการกําหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ ................................................................................ 27 3.2.7 ขั้นตอนการบริหารไฟล์ประกอบ ............................................................................................. 28

    3.3 ข้อมูลระดบักิจกรรมหลัก ................................................................................................................. 29 3.3.1 ขั้นตอนการเพิ่มกิจกรรมหลัก .................................................................................................. 29 3.3.2 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลกจิกรรมหลัก ...................................................................................... 31 3.3.3 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ ..................................................................... 32 3.3.4 ขั้นตอนการบริหารขอ้มูลตัวชี้วัดของกิจกรรมหลัก .................................................................. 33 3.3.5 ขั้นตอนการกําหนดหน่วยงานทีร่ับผิดชอบ .............................................................................. 36 3.3.6 ขั้นตอนการกําหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ ................................................................................ 37

    สารบัญ

  • 3 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    3.3.7 ขั้นตอนการบริหารไฟล์ประกอบ ............................................................................................. 38

    3.4 ข้อมูลระดบัแผนงาน/โครงการ ......................................................................................................... 39 3.4.1 ขั้นตอนการเพิ่มแผนงาน/โครงการ .......................................................................................... 39 3.4.2 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลแผนงาน/โครงการ .............................................................................. 43 3.4.3 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ ..................................................................... 45 3.4.4 ขั้นตอนการบริหารขอ้มูลตัวชี้วัดของแผนงาน/โครงการ .......................................................... 46 3.4.5 ขั้นตอนการบริหารขอ้มูลกิจกรรมย่อย .................................................................................... 49 3.4.6 ขั้นตอนการกําหนดหน่วยงานทีร่ับผิดชอบ .............................................................................. 49 3.4.7 ขั้นตอนการกําหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ ................................................................................ 50 3.4.8 ขั้นตอนการบริหารไฟล์ประกอบ ............................................................................................. 51

    3.5 ข้อมูลระดบักิจกรรมย่อย .................................................................................................................. 52 3.5.1 ขั้นตอนการเพิ่มกิจกรรมย่อย .................................................................................................. 52 3.5.2 ขั้นตอนการแก้ไขข้อมูลทัว่ไปของกิจกรรมย่อย ........................................................................ 53 3.5.3 ขั้นตอนการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณของกิจกรรมย่อย .................................................. 54 3.5.4 ขั้นตอนการบริหารขอ้มูลตัวชี้วัดของกิจกรรมยอ่ย ................................................................... 55 3.5.5 ขั้นตอนการวางแผนการดําเนินงานตวัช้ีวัดของกจิกรรมย่อย ................................................... 58 3.5.6 ขั้นตอนการกําหนดหน่วยงานทีร่ับผิดชอบ .............................................................................. 59 3.5.7 ขั้นตอนการกําหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ ................................................................................ 60

    3.5.8 ขั้นตอนการเลือกพื้นที่ดาํเนินการ..............................................................................................61 3.5.9 ขั้นตอนการบริหารไฟล์ประกอบ ............................................................................................. 61

    3.6 การตรวจสอบข้อมูลกอ่นส่งขออนุมัต ิ............................................................................................... 62 3.6.1 วิธกีารตรวจสอบข้อมูล ............................................................................................................ 62

    บทที่ 4 การอนุมัติแผนงาน/โครงการ..........................................................................................................64 4.1 การอนุมัติแผนงาน/โครงการในระบบติดตามและประเมินผลโครงการ.............................................64 4.1.1 ขั้นตอนการอนุมัติแผนงาน/โครงการ สําหรับผู้บริหารของหน่วยงาน........................................64 4.2 การติดตามความคืบหน้าระบบติดตามและประเมินผลโครงการในระดับผู้บริหาร............................66 4.2.1 การค้นหาตามพื้นที่ดําเนินการ...................................................................................................67 4.2.2 การค้นหาตามยุทธศาสตร.์.........................................................................................................68 บทที ่5 การรายงานความก้าวหน้า ............................................................................................................. 69

    5.1 การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ........................................................................................... 69 5.2 การรายงานผลการดําเนินงานตามตัวช้ีวัด..........................................................................................72 5.3 การช้ีแจงเหตุผลการเบิกจา่ยงบประมาณรายโครงการ ..................................................................... 75

    บทที่ 6 การออกรายงาน..............................................................................................................................77 6.1 การออกรายงานจากแผนงาน/โครงการ..............................................................................................78 6.2 การออกรายงานภาพรวมหน่วยงาน....................................................................................................79

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 4

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    1.1 ระบบบริหารและรายงานความก้าวหน้า ระบบบริหารและรายงานความก้าวหน้า คือ ระบบที่ช่วยในการเก็บข้อมูล ติดตาม วิเคราะห์ผลเบ้ืองต้น และ

    รายงานสรุปภาพรวมของโครงการต่างๆ ที่มีของกระทรวงฯ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การบริหารโครงการต่างๆ ของกระทรวงฯ มีประสิทธิภาพสูงสุดตามยุทธศาสตร์/เป้าหมาย ที่กําหนดไว้ โดยระบบได้นําเสนอมิติความสัมพันธ์์การรายงานผลข้อมูลสะท้อนออกเป็นรูปแบบเมตริกซ์ (Matrix) ซึ่งได้สะท้อนออกเป็น 6 มิติ ได้แก่

    มิติที่ 1 ชนิดของโครงการ – การแบ่งหมวดหมู่ของชนิดโครงการตามที่กําหนด มิติที่ 2 หน่วยงาน – หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ มิติที่ 3 งบประมาณ – การใช้งบประมาณของโครงการ มิติที่ 4 บุคลากร – จํานวนบุคลากร ประสิทธภิาพบุคลากร ในโครงการ มิติที่ 5 เวลา – ระยะเวลาการดําเนินโครงการ มิติที่ 6 ผลและประสิทธิภาพโครงการ - คือการสะท้อนผลและประสิทธิภาพโครงการในด้านที่กําหนด

    1.2 การเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์์

    ภาพที่ 1-1 แสดงความสัมพันธ์์ของมิติท้ัง 6 มิติแบบเมตริกซ์ ซ่ึงจะสะท้อนออกเป็นผลลัพธ์รายงานของโครงการในภาพกว้างท่ีครอบคลุมทุกคําตอบท่ีผู้บริหารต้องการ เช่น หน่วยงานไหนมีความสามารถในการทําโครงการชนิดใดได้ดีสุด (มิติเวลา + มิติบุคลากร + มิติงบประมาณ), บุคลากรท่านใดบริหารโครงการได้ดีท่ีสุด (มิติเวลา + มิติงบประมาณ ท่ีเดินได้ตามแผนท่ีเคยกําหนดไว้) เปน็ต้น

    ชนิดProject

    หน่วยงาน ผล/

    ประสิทธิผล

    เวลา

    บุคลากร

    งบประมาณ

    ภาพรวมของระบบบรหิารและรายงานความก้าวหน้า

    1บทที ่

  • 5 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    ภาพท่ี 1-2 แสดงแผนผังการเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ของกระทรวงในปัจจุบัน

    1.2.1 การเชือ่มโยงยทุธศาสตร์คืออะไร? การเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ คือการบอกลําดับช้ันของความสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับเป้าหมายของชาติไล่ลงมา

    จนถึงระดับการจัดทําโครงการย่อย เพื่อให้ผู้ดําเนินการโครงการทราบว่า โครงการที่ตนเองทําอยู่่นั้น ตอบสนองกลยุทธ์ข้อใดของกรม และกลยุทธ์์ข้อนั้น กรมตอบสนองเป้าหมายใดของกรม ไล่กันไปจนถึงเป้าหมายของกระทรวงข้อนั้นๆ ตอบสนองแนวทางการจัดสรรงบประมาณข้อไหน เป็นต้น จากรูปข้างต้น คือโครงการสร้างการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการภายใต้ระบบ จุดดําสนิทคือจุดเริ่มต้นของการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ โดยเริ่มจากเป้าหมายยุทธศาสตร์์ระดับชาติ และวนลงมาถึงการจัดทําโครงการย่อย แล้วสะท้อนกลับไปยังตัวช้ีวัด (กําหนดผลผลิต/โครงการ, กําหนดกิจกรรมหลักและผลผลิต/โครงการ, จัดทําโครงการย่อย) แล้วส่งผลย้อนขึ้นไปยังตัวช้ีวัดสูงสุดคือ “ตัวชี้วัดเป้าหมายกระทรวงทรัพยากรฯ”

    ในการกรอกข้อมูลเพื่อจัดสร้างโครงการจะต้องให้ความสําคัญกับการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ให้้มาก เพราะถือได้ว่าเป็นหัวใจสําคัญของการสะท้อนมิติความสัมพันธ์กับผลการดําเนินงานของกระทรวงทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มและทิศทางการวางแผนการดําเนินงานของกระทรวงในปีงบประมาณถัดไปอีกด้วย

    เป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร ์

    ยุทธศาสตร์จัดสรรงบประมาณ

    แนวทางการจัดสรรงบประมาณ

    เป้าหมายกระทรวง

    ยุทธศาสตร์กระทรวง

    เป้าหมายระดับหน่วยงาน (กรม/สํานัก)

    กลยุทธ์ของกรมต่าง ๆ

    กําหนดผลผลิต/โครงการ

    กําหนดกิจกรรมหลักของผลผลิต/โครงการ

    จัดทําโครงการย่อย ตัวชี้วัดโครงการย่อย

    ตัวชี้วัดกิจกรรมหลัก/โครงการ

    ตัวชี้วัดผลผลิต/โครงการ

    ตัวชี้วัดเป้าหมายกระทรวง (สร้างตัวชี้วัด)

    (สร้างตัวชี้วัด)

    (สร้างตัวชี้วัด)

    (สร้างตัวชี้วัด)

    State Chart Diagram แสดงการเชื่อมโยงทางเป้าหมาย/ยุทธศาสตร/์กลยุทธ์/ผลผลิต/โครงการ

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 6

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    1.2.2 ผู้ดูแลระบบในระบบบริหารและรายงานความก้าวหน้ามีกี่ประเภท ? ผู้ดูแลระบบในระบบ มีอยู ่4 ประเภท

    1. ผู้ดูแลระบบงานที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง 2. ผู้้ดูแลระบบงานที่เป็นผู้จดัการโครงการ 3. ผู้ดูแลระบบงานที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 4. ผู้ดูแลระบบงานที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT

    การแบ่งประเภทผู้ดูแลระบบออกเป็นระดับต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการกําหนดสิทธิของผู้ดูแลระบบในประเภทต่างๆ ลงในระบบ เพื่อให้้การดําเนินงานระบบเป็นไปอย่างสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน

    1.2.3 สทิธแิละหน้าที่ของกลุ่มผู้ดูแลระบบระดับต่างๆ (1) สิทธกิารใช้้งานของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ

    ภาพท่ี 1-3 แสดง Use case Diagram : ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง

    (1.1) กําหนดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์์ระดับกระทรวง/กรม ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสามารถสร้างและกําหนดการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ตั้งแต่เป้าหมาย

    ระดับกระทรวงให้้สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติได้ สําหรับกลุ่มผู้ดูแลระบบที่เป็นระดับอธิบดีของกรมต่างๆ สามารถกําหนดเป้าหมายของหน่วยงาน ให้สัมพันธ์กับเป้าหมายของกระทรวง ในการปรับเปล่ียนหรือแก้ไขการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ทั้งระดับกระทรวงและระดับกรมนั้น ผู้ดูแลระบบที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเท่านั้นที่จะมีสิทธิแก้ไขหรือเปล่ียนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้ (ทําความเข้าใจกับเรื่องการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์เพิ่มเติมในบทที่ 2)

    Use case diagram : ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ

    กําหนดการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง/กรม

    พิจารณา/อนุมัติโครงการ

    บริหารโครงการ

    ติดตาม/ส่ังการ/ประเมินผลโครงการ

    กําหนดตัวชี้วัดกระทรวง/กรม

    ดูรายงานความก้าวหน้าโครงการ

    ผู้บริหารระดบัสูง ของกระทรวง

  • 7 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    (1.2) พิจารณา/อนุมัติโครงการ ผู้บริหารระดับสูงสามารถพิจารณาโครงการ และอนุมัติโครงการผ่านระบบติดตามและประเมินผลโครงการ

    ผลจากการพิจารณาหรืออนุมัติจะให้ผลตอบสนองทันที (Real Time) โดยผู้จัดการโครงการและทีมงานโครงการจะเห็นผลตอบได้ทันทีที่ผู้บริหารมีการพิจารณาหรืออนุมัติโครงการ (1.3) มีสิทธิในการบริหารโครงการ

    คําว่า “สิทธิในการบริหารโครงการ” ในที่นี้หมายถึงการส่ือสารไปยังผู้ใต้้บังคับบัญชา 1.3.1 เพื่อเร่งดําเนินการ ในกรณีที่เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความล่าช้า 1.3.2 เพื่อให้คําแนะนําการทํางาน ในฐานะผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีประสบการณ์มากกว่า 1.3.3 เพื่อออกคําส่ังให้้แก้ไขพฤติกรรมการดําเนินการไปยังเจ้าหน้าที่ผู้้ปฏิบัติงานภายใต้โครงการนั้นๆ ได้

    โดยตรง หรือจะเป็นการส่ือสารผ่านผู้จัดการโครงการได้ ในกรณีที่เห็นว่าพฤติกรรมการดําเนินโครงการดังกล่าวอาจสร้างปัญหา หรือเป็นส่ิงที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ซึ่งผู้ดําเนินการอาจดําเนินการไปโดยรู้เท่าไม่่ถึงการณ์ หรืออาจขาด ประสบการณ์ในการทํางาน

    ผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตามและบริหารโครงการได้เอง โดยปกติแล้วบทบาทในการบริหารโครงการ จะตกอยู่ที่ผู้จัดการโครงการน้ัน ๆ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แต่ทว่าในบางครั้งความหลากหลายของผู้คน ภาระความรับผิดชอบ ปริมาณงานที่มากเกิน หรืออุปสรรคปัญหาของโครงการที่มีเกินอํานาจหน้าที่ของผู้จัดการโครงการจะตัดสินใจกระทําใดๆ ได้ บทบาทของผู้บริหารก็จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาโครงการเหล่านี้ได้ หรืออาจจะเร่งผู้้จัดการโครงการให้ดําเนินโครงการที่ผู้บริหารต้องการให้แล้วเสร็จในเวลาที่กําหนด เนื่องจากเป็นภาระเร่งด่วนของกระทรวง เป็นต้น

    (1.4) สามารถติดตามและประเมินโครงการ/การสั่งการ ผู้บริหารระดับสูงสามารถติดตามและประเมินผลโครงการได้ เช่น โครงการที่มีผลดําเนินการล่าช้ากว่าแผนที่

    กําหนด โครงที่ใช้งบประมาณต่ํากว่าแผนที่กําหนด เป็นต้น (1.5) สามารถกําหนดตัวชี้วัดของกระทรวง/กรม

    ผู้บริหารระดับสูงสามารถกําหนดตัวชี้วัดเป้าหมายระดับกระทรวง หรือระดับกรมได้ (ผลผลิต) นอกจากนี้ ยังสามารถให้น้ําหนักตัวชี้วัดเป้าหมายกระทรวง กระจายไปยังกรมต่างๆ ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ทราบว่ากรมใด ควรให้ความสําคัญกับผลการดําเนินงานในด้านใด เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ออกมาสามารถสะท้อนออกมาเป็นตัวช้ีวัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงได้

    ตัวอย่าง เป้าหมายของกระทรวงข้อที่ 1 คือ ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศดีขึ้น ตัวชี้วัดคือ : พื้นที่ป่าอนรุักษท์ีมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น 1 ล้านไร่/ปี พันธุ์พืชและสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์์ และที่มีค่าทางเศรษฐกิจที่เพาะเล้ียงและขยายพันธุ์เพิม่ขึ้น

    ไม่ต่ํากว่า 5 ชนิด/ปี น้ําหนักของตัวชี้วัด “พื้นที่ป่าอนุรักษ์์ที่มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น 1 ล้านไร่/ปี” สมมติว่าคะแนนของ

    ทุกกรมภายใต้กระทรวงฯ รวมกันคือ 10 คะแนน ทางผู้บริหารของกระทรวงอาจให้น้ําหนักตัวช้ีวัดนี้กับหน่วยงาน “กรมป่าไม้้” ไว้ 7 คะแนน ที่เหลืออาจเป็น “กรมทรัพยากรนํ้า” 2 คะแนน และ “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝ่ัง” 1 คะแนน เป็นต้น โดยที่กรมอื่นๆ อาจไม่ต้องมีน้ําหนักหรือส่วนร่วมในตัวช้ีวัดนี้ก็เป็นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ทําหน้าที่เพื่อสะท้อนน้ําหนักของตัวช้ีวัดเพื่อมีส่วนในการบรรลุเป้าหมายของกระทรวงให้ได้มากที่สุด

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 8

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    (1.6) สามารถดูรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ผู้บริหารระดับสูงสามารถดูรายงานความก้าวหน้าของโครงการได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งยังสามารถทราบ

    ปัญหาและอุปสรรคของโครงการที่ได้รับรายงานตรงมาจากเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานด้วย รูปแบบการรายงานผ่านเว็บ (web-based report) นั้นข้อดีคือ เจ้าหน้าที่ระดับล่างสุดสามารถเขียน

    รายงานตามข้อเท็จจริงเข้ามาในระบบได้ ซึ่งไมต้องผ่านการกล่ันกรอง (หรือบางครั้งอาจถือได้ว่าถูกกล่ันแกล้งจากผู้บังคับบัญชาประจําหน่วย) และข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏไว้อยู่ในระบบในรูปแบบข้อมูลสถานะ “ที่ไม่ได้กล่ันกรอง” ข้อมูลตรงน้ีผู้บริหารระดับสูงสามารถใช้วิจารณญาณประกอบกับข้อมูลอื่นๆ ที่ถูกส่งเข้ามาในระบบประกอบการตัดสินใจได้ว่า “ข้อมูล” ดังกล่าวนั้น มีน้ําหนักความเท็จจริงเพียงใด

    ประเด็นตรงนี้ทําให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพ้ืนที่ห่างไกลจากตัวเมืองได้ โดยทราบการรายงานผ่านทางส่ืออินเทอร์เน็ทผ่านเข้ามายังระบบ ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ทได้กระจายตัวลงไปยังทั่วทุกจังหวัดและเกือบจะทุกอําเภอในประเทศไทยแล้ว

    (2) สิทธิการใช้งานของผู้จัดการโครงการ

    ภาพท่ี 1-4 แสดง Use case Diagram : กลุ่มงานกําหนดแผน/ผู้จัดการโครงการ

    Use case diagram : กลุ่มงานกําหนดแผน/ผู้จัดการโครงการ

    ขออนุมัติโครงการ

    บริหารโครงการ

    ติดตาม/ประเมินผลโครงการ

    ดูรายงานความก้าวหน้าโครงการ

    กําหนดการเช่ือมโยง ยุทธศาสตรโครงการ

    กําหนดตัวชี้วัดโครงการ

    กลุ่มงานกําหนดแผน/ ผู้จัดการโครงการ

    อัพเดทโครงการ

  • 9 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    (2.1) สามารถขออนุมัติโครงการ และกําหนดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของโครงการกับแผนของ กระทรวง/กรมได้

    เมื่อผู้จัดการโครงการได้เสนอโครงการหรือได้รับการมอบหมายโครงการมาแล้ว ผู้จัดการโครงการสามารถ ขออนุมัติงบประมาณโครงการได้จากผู้บริหารระดับสูงเพื่อเตรียมดําเนินงานโครงการได้

    นอกจากนี้ยังสามารถกําหนดเป้าหมายของโครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน หรือเป้าหมายในระดับผลผลิตของกรมได้

    (2.2) มีสิทธิในการบริหารโครงการ ได้แก่ 2.2.1 กําหนดตําแหน่งต่างๆ ภายในโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และเป็นการจัดกลุ่ม

    ผู้รับผิดชอบประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะโครงการ 2.2.2 กําหนดทีมงานรับผิดชอบโครงการ ทีมงานรับผิดชอบโครงการน้ี สามารถเป็นทีมงานภายในกระทรวง

    ทรัพยากรฯ เอง หรือบุคคลภายนอกกระทรวงทรัพยากรฯ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความลงตัวในการดําเนินงานโครงการ

    2.2.3 กําหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดโครงการ เพื่อให้โครงการน้ันๆ มีการดําเนินงานอย่างมีทิศทาง สอดคล้องกับเป้าหมาย/กลยุทธ์ของหน่วยงานหรือผลผลิตของหน่วยงาน ส่วนการกําหนดตัวชี้วัด คือการระบุค่าสะท้อนว่าโครงการน้ันๆ จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร โดยการระบุตัวช้ีวัดโครงการเป็นส่ือในการสะท้อนประสิทธิภาพการดําเนินงานของโครงการ

    2.2.4 กําหนดความถี่ในการอัพเดทข้อมูลโครงการ โดยปกติแล้ว ความถี่ขั้นต่ําที่จะอัพเดทความก้าวหน้าโครงการจะอยู่ที่ 3 เดือนครั้ง (ไตรมาส) เพื่อให้สอดคล้องกับ การทํารายงานให้กับสํานักงบประมาณ (สงป. 301, สงป. 302) แต่ในบางครั้ง บางโครงการ ผู้จัดการโครงการสามารถกําหนดความถี่ในการอัพเดทโครงการต้ังแต่ระดับรายเดือน ไล่เรื่อยจนไปถึงรายสัปดาห์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละโครงการ

    2.2.5 กําหนดกิจกรรมหลักของโครงการ/โครงการย่อย ผู้จัดการโครงการมีหน้าที่กําหนดกิจกรรมหลักของโครงการ หรืออาจเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการที่ตนเองดูแลอยู่ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมหลักของโครงการ หรือ โครงการย่อย ผู้จัดการโครงการจะต้องระบุผู้รับผิดชอบเอาไว้เสมอ และสําหรับในบางโครงการอาจจะต้องระบุตัวชี้วัด ในระดับกิจกรรมหลักของโครงการด้วย (กรณีที่มีโครงการย่อย ผู้จัดการโครงการจะต้องระบุเป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการย่อยด้วย ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่ถูกบังคับโดยระบบอยู่แล้ว)

    (2.3) สามารถติดตามและประเมินโครงการ ผู้จัดการโครงการสามารถติดตามและประเมินเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการการดําเนินงานเกี่ยวกบัโครงการได้ (2.4) สามารถอัพเดทโครงการ หากมีปัญหาหรืออุปสรรคใดมากระทบกระเทือนโครงการ อันจะทําให้โครงการไม่มีความก้าวหน้าหรือหยุดลง

    ผู้จัดการโครงการสามารถอัพเดทโครงการได้ เพื่อรายงานให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบต่อไป (2.5) สามารถดูรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ผู้จัดการโครงการสามารถเรียกดูรายงานความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานว่าความก้าวหน้า

    ของโครงการได้ดําเนินงานไปถึงไหนแล้ว ซึ่งรูปแบบของการแสดงผลความก้าวหน้า โดยหลักจะดูถึงการใช้งบประมาณและผลดําเนินการ ว่ามีการกระทําได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ นอกจากนี้ระบบยังอนุญาตให้จัดการโครงการสามารถติดตามความก้าวหน้าของหน่วยงานระดับย่อยต่างๆ ได้ด้วย

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 10

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    (2.6) สามารถกําหนดตัวชี้วัดโครงการ สิทธิในการบริหารโครงการ ผู้จัดการโครงการมีหน้าที่กําหนดตัวช้ีวัดโครงการ เพื่อเป็นเครื่องมือที่จะใช้วัดค่า

    การสะท้อนเป้าหมายการบรรลุผลของโครงการ สําหรับการกําหนดตัวช้ีวัดโครงการน้ี ผู้จัดการโครงการมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียวในการกําหนดตัวชี้วัดของโครงการ ในกรณีที่มีโครงการย่อย ภายใต้โครงการที่ผู้จัดการโครงการดูแลอยู่ ผู้จัดการโครงการสามารถกําหนดได้ว่า จะให้ตนเองเป็นผู้กําหนดตัวช้ีวัดโครงการย่อย หรือ โอนบทบาทการกําหนดตัวชี้วัดโครงการไปยังผู้รับผิดชอบโครงการย่อย เป็นผู้กําหนดโดยตรง

    (3) สิทธกิารใช้งานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

    ภาพท่ี 1-5 แสดง Use case Diagram : เจ้าหน้าท่ีปฏิบัติงาน

    (3.1) สามารถอัพเดทโครงการ โดยความถี่ในการอัพเดทโครงการ จะขึ้นอยู่กับการกําหนดของผู้จัดการโครงการกําหนดมา ซึ่งความถี่ขั้นต่ํา

    คือรายไตรมาส (ทุกๆ 3 เดือน) ส่วนความถี่ที่สามารถกําหนดได้สูงสุดภายในระบบ คือ “รายวัน” (ระดับความถี่ที่สามารถกําหนดได้ในระบบ คือ รายไตรมาส, รายเดือน, รายปักษ์, รายสัปดาห์ และรายวัน) ส่วนรูปแบบของการอัพเดทโครงการ มีดังต่อไปนี้

    3.1.1 อัพเดทผลด้านเวลาปฏิบัติการโครงการ โดยเรียงตามกิจกรรมหลัก หรือกิจกรรมย่อย หรือกิจกรรมที่ตนเองได้รับมอบหมายภายในโครงการ

    3.1.2 อัพเดทผลด้านการใช้งบประมาณ 3.1.3 อัพเดทปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น โดยเรียงตามกิจกรรมหลัก หรือ กิจกรรมย่อย หรือกิจกรรมที่

    ตนเองได้รับมอบหมายภายในโครงการ (3.2) สามารถดูรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ผู้ดูแลระบบที่เป็นเจ้าหน้าที่ภายในโครงการ (ไม่ว่าระดับใด) สามารถดูรายงานความก้าวหน้าเฉพาะโครงการ

    ที่ตนเองรับผิดชอบได้ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับกิจกรรมหลัก เรื่อยลงไปถึง กิจกรรมย่อย หรือ โครงการย่อย (ภายใต้โครงการ) ทั้งน้ีเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดําเนินงานโครงการ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังสามารถให้ข้อเสนอแนะ

    อัพเดทปัญหา/อุปสรรคที่เกิดข้ึน

    อัพเดทผลด้านการใชง้บประมาณ

    อัพเดทผลด้านเวลาปฏิบัติการ

    อัพเดทปริมาณงาน

    อัพเดทโครงการ

    ดูรายงานความก้าวหน้าโครงการ

    เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

    Use case diagram : เจ้าหน้าท่ีปฏิบัต ิ

    extend

    extend

    extend

    extend

  • 11 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    ไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่นๆ ภายใต้โครงการเดียวกัน ผ่านระบบ Web board ของโครงการ (ในกรณีที่มีการดําเนินกิจกรรมคนละพื้นที่) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการร่วมคิดร่วมทําโครงการที่ตนเองรับผิดชอบให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

    (4) สิทธกิารใช้งานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

    ภาพท่ี 1-6 แสดง Use case Diagram: เจ้าหน้าท่ีฝ่าย IT

    (4.1) สามารถกําหนดสิทธิการใช้ระบบ (4.2) สามารถบริหารระบบเคร่ืองมือกลางได้ โดย 4.2.1 สามารถกําหนดฟอร์มรายงานตามระบบราชการ 4.2.2 สามารถกําหนดฟอร์มรายงานที่กาํหนดขึ้นเอง (ภายในกรมหรือหน่วยงาน) 4.2.3 สามารถ Backup ข้อมูลอัตโนมัต ิ 4.2.4 สามารถบริหารระบบหนังสือเวยีนอิเล็กทรอนิกส์

    Use case diagram : เจ้าหน้าที่ฝ่าย IT

    กําหนดสิทธิการใชระบบ Single Sign-on (by MFEC)

    ฟอรมรายงาน ตามระบบราชการ

    ฟอรมรายงาน ที่กําหนดข้ึนเอง

    ระบบ Backup ขอมูล

    ระบบหนงัสือเวียน อิเล็กทรอนกิส

    e-Directory โครงการ

    e-News

    e-FAQs

    ระบบเคร่ืองมอืกลาง

    เจ้าหน้าท่ีฝ่าย IT

    กําหนดสิทธิการใช้ระบบ Single Sign-on (by MFEC)

    ฟอร์มรายงาน ตามระบบราชการ

    ฟอร์มรายงาน ท่ีกําหนดข้ึนเอง

    ระบบ Backup ข้อมูล

    ระบบหนังสือเวียนอิเล็กทรอนิกส์

    e-Directory โครงการ

    e-News

    e-FAQs

    ระบบเคร่ืองมือกลาง

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 12

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    โดยสรุปจากทั้ง 4 ผู้ดูแลระบบ สามารถแบ่งชนิดของผู้ดูแลระบบในระบบติดตามและประเมินผลโครงการออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

    1. ผู้บริหารระดับสงูของกระทรวงฯ

    2. ผู้กําหนดแผน/ผู้จัดการโครงการ

    3. เจ้าหน้าที่ปฏิบัตงิาน 4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี

    สารสนเทศ หรือ IT (Information Technology)

    ได้แก่ รัฐมนตรี, เลขารัฐมนตรี, ปลัดกระทรวง, อธิบดีกรม และเลขาอธิบดีกรมต่างๆ

    ผู้จัดการโครงการ : สามารถเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มผู้ดูแลระบบท่ีเป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ ได้ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆ ของกระทรวง

    ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ซึ่งอยู่ในสายปฏิบัติงานโครงการ เร่ือยลงไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างสุดในการปฏิบัติงานโครงการ

    ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่าย IT ต่ังแต่ส่วนศูนย์สารสนเทศหลักของกระทรวง, กรม และกองต่างๆ

    หน้าที่/บทบาทหลกัในระบบ กําหนด “วปนยห” ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หน่วยงานในสังกัดของทั้งระดับกระทรวงและระดับกรม ลงสู่ระบบ การอนุมัติโครงการผ่านระบบ กําหนดตัวชี้วัดโครงการลงในระบบ ติดตามโครงการโดยการเรียกดูความคืบหน้า

    หน้าที่/บทบาทหลกัของกลุ่มงานกําหนดแผน/ผูจ้ัดการโครงการ บริหารโครงการในด้าน เวลา, งบประมาณ, บุคคลากร ให้บรรลุเป้าหมายท่ีได้รับ โดยการอัพเดทความคืบหน้าหรือปัญหาและอุปสรรคท่ีจะเกิดขึ้นโดยภาพรวมของโครงการลงในระบบ ทําเร่ืองนําเสนอโครงการเพ่ือรอขออนุมัติผ่านระบบ ติดตามโครงการโดยการเรียกดูความคืบหน้าของโครงการ ดูรายงานผลวิเคราะห์ต่างๆ ของโครงการผ่านระบบ

    หน้าที่/บทบาทหลกัของเจ้าหน้าที่ปฏิบัตงิาน อัพเดทความคบืหน้าจากแผนการปฏิบัติงานตามระยะที่กําหนด รายงานปัญหา/อุปสรรคการทํางานในระดับปฏิบัติการ

    หน้าที่/บทบาทหลกัในระบบ บริหารระบบเคร่ืองมือกลางได้ เช่น กําหนดฟอร์มรายงานต่างๆ ที่มีอยู่ภายในกรมหรือหน่วยงานของตนเอง, ส่งข่าวสารผ่านทางอีเมล์ Backup ข้อมูลระบบ อํานวยความสะดวกการใช้งานให้กับผู้ดูแลระบบในกลุ่มวางแผน/ติดตามโครงการ และกลุ่มปฏิบัติการโครงการ

  • 13 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ในส่วนของผู้ปฏิบัติงานน้ัน จะเป็นการนําเข้าข้อมูลของ

    ผลผลิต, กิจกรรมหลัก, โครงการ และกิจกรรมย่อย เช่น ข้อมูลทั่วไป, การเช่ือมโยงงบประมาณ, หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ และพื้นที่ดําเนินการ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันในระบบนั้นจะถูกกําหนดโดย ผู้ดูแลระบบ เช่น ข้อมูลโครงสร้างหน่วยงาน, ข้อมูลหน่วยงาน, ข้อมูลพื้นที่, ข้อมูลโครงสร้างงบประมาณ และข้อมูลยุทธศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ ในการเข้าสู่ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้ปฏิบัติงานจะต้อง Login เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยการใส่ชื่อผู้ใช้ระบบและรหัสผ่านก่อน จึงจะเข้าสู่ระบบและทํางานได้ตามสิทธิ์ที่ผู้ปฏิบัติงานจะสามารถดําเนินการได้

    2.1 ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ สําหรับ “ผู้ปฏิบัติงาน” เมื่อทําการ Login เข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ระบบจะพร้อมที่จะถูกดําเนินการโดยปฏิบัติงาน โดยที่หน้าจอ

    จะแสดงช่ือผู้เข้าใช้ระบบและข้อมูลของผู้ใช้ระบบ ภาพรวมหน่วยงานที่ผู้ใช้ระบบสังกัดในระดับกรม ทั้งนี้ ผู้ใช้ระบบสามารถเรียกดูข้อมูลภาพรวมระดับกระทรวงได้โดยเลือกที่เมนูหน้าหลัก ซึ่งผู้ปฏิบัติงานสามารถบริหารข้อมูลของหน่วยงานได้โดยเข้าไปที่เมนูหลัก และเลือกหัวข้อที่ต้องการจัดการข้อมูลตามหัวข้อในเมนูหลักได้ต่อไป

    2บทที ่การใชง้านระบบสําหรบับุคลากร

    ระดับผู้ปฏิบัติงาน

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 14

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    ภาพที่ 2-1 แสดงหน้าจอหลักระบบ e-Project Tracking

  • 15 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    ภาพท่ี 2-2 แสดงหน้าจอ เม่ือ Login เข้าสู่ระบบ

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 16

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    ภาพท่ี 2-3 แสดงหน้าจอภาพรวมหน่วยงาน

    ภาพที่ 2-3 แสดงหนาจอภาพรวมหนวยงาน

  • 17 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    2.2 การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการของผู้ปฏิบัติงาน

    การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการของผู้ปฏิบัติงาน จะแบ่งออกตามการทํางานหลัก ๆ ของระบบออกเป็น 2 หัวข้อ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลได้จะปรากฏอยู่ที่เมนูหลัก ดังนี้

    2.2.1 การบริหารข้อมูล ในส่วนของหน้าจอหลักการบริหารข้อมูลนั้น ระบบจะแสดงข้อมูลผลผลิต, กิจกรรมหลัก, แผนงาน/

    โครงการ โดยผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใช้ระบบสามารถเพิ่ม, แก้ไข และลบ ข้อมูลผลผลิต, กิจกรรมหลัก, แผนงาน/โครงการ ที่อยู่ในหน่วยงานที่ผู้ใช้ระบบสังกัดได้ แต่จะต้องได้รับสิทธิ์จากผู้ดูแลระบบ หรือเจ้าของข้อมูลผลผลิต, กิจกรรมหลัก, แผนงาน/โครงการ จงึจะสามารถทําการ เพิ่ม, แก้ไข หรือลบข้อมูลได้

    ภาพท่ี 2-4 แสดงหน้าจอหลัก การบริหารข้อมูล 2.2.2 การรายงานความก้าวหน้า

    ในส่วนของหน้าจอหลักการรายงานความก้าวหน้านั้น จะเป็นหน้าจอที่ใช้ในการรายงานความก้าวหน้าของตัวชี้วัดและการใช้จ่ายงบประมาณของแผนงาน/โครงการ ที่อยู่ในหน่วยงานที่ผู้ใช้ระบบสังกัด แต่การที่ผู้ใช้ระบบจะสามารถทํารายงานความก้าวหน้าได้นั้น จะต้องได้รับสิทธิ์จากผู้ดูแลระบบ หรือเจ้าของ แผนงาน/โครงการ จึงจะสามารถทําการรายงานความก้าวหน้าในโครงการได้

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 18

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    ภาพท่ี 2-5 แสดงหน้าจอหลัก การรายงานความก้าวหน้า

  • 19 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    หลังจากที่ได้รู้จักกับหน้าจอหลักๆ ภายในระบบแล้ว ในบทนี้ จะเป็นการแนะนําการใช้งานการบริหารข้อมูล เริ่มตั้งแต่การสร้างผลผลิต, กิจกรรมหลัก, แผนงาน/โครงการ จนถึงกิจกรรมย่อย โดยข้อมูลที่สามารถเพิ่มในระดับข้อมูลต่างๆ มีดังน้ี

    ผลผลิต กิจกรรมหลัก โครงการ/โครงการ(เทียบเท่าผลผลิต)

    กิจกรรมย่อย

    - ข้อมูลท่ัวไป - ตัวช้ีวัด - การเช่ือมโยงยุทธศาสตร ์- หน่วยงานท่ีรับผดิชอบ - ไฟล์ประกอบ

    - ข้อมูลท่ัวไป - ตัวช้ีวัด - การเช่ือมโยงยุทธศาสตร ์- หน่วยงานท่ีรับผดิชอบ - ไฟล์ประกอบ

    - ข้อมูลท่ัวไป - ตัวช้ีวัด - กิจกรรมย่อย/งบประมาณ - หน่วยงานท่ีรับผดิชอบ - พื้นท่ีดําเนินการ - ไฟล์ประกอบ - โอนงบประมาณไปยังโครงการอ่ืน

    - ข้อมูลท่ัวไป - งบประมาณ - ตัวช้ีวัด - หน่วยงานท่ีรับผดิชอบ - ไฟล์ประกอบ

    3.1 การใช้งานของผู้ปฏิบัติงานในการบริหารข้อมูล การทํางานของผู้ปฏิบัติงานในการบริหารข้อมูล เริ่มต้นโดยการเลือกที่เมนูหลัก และเลือกที่ปุ่ม “บริหารข้อมูล” ซึ่งระบบจะแสดงข้อมูลผลผลิต, กิจกรรมหลัก, แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงาน

    ที่ผู้ปฏิบัติงานสังกัด โดยข้อมูลระดับผลผลิตนั้นเป็นข้อมูลที่อยู่ระดับชั้นบนสุดของระบบ และข้อมูลที่อยู่ในระดับผลผลิตจะเป็นการใส่ข้อมูลเพื่อตั้งต้นให้กับข้อมูลในระดับต่อๆ ไป เช่น ข้อมูลการเช่ือมโยงยุทธศาสตร์, ข้อมูลตัวช้ีวัด เป็นต้น

    การบรหิารข้อมูล 3บทที ่

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 20

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    สําหรับวิธีการนําเข้าข้อมูลในการบริหารข้อมูล มีขั้นตอนการดําเนินการ ดังนี้

    3.2 ข้อมูลระดับผลผลิต 3.2.1 ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิต

    (1) ที่หน้าจอหลักการบริหารข้อมูล ให้กดที่ปุ่มเครื่องหมาย “เพิ่มผลผลิต” (2) ระบบจะแสดงหน้าจอเพื่อให้เพิ่มผลผลิต

    ความหมายของข้อมูลทั่วไปของผลผลิต ปีงบประมาณ : ระบบจะแสดงปีงบประมาณปัจจุบันที่ระบบใช้งานอยู่ หน่วยงาน : ระบบจะแสดงช่ือหน่วยงานที่ผู้ใช้ระบบสังกัด ชื่อผลผลิต : หมายถึง ชื่อของผลผลิตที่ต้องการจะเพิ่ม รหัส : หมายถึง รหัสของผลผลิตที่ต้องการจะเพิ่ม นํ้าหนัก : หมายถึง น้ําหนักความสําคัญของผลผลิตที่ต้องการจะเพิ่ม วัตถุประสงค์ : หมายถึง วัตถุของผลผลิตที่ต้องการจะเพิ่ม หลักการและเหตุผล : หมายถึง หลักการและเหตุผลของผลผลิตที่ต้องการจะเพิ่ม

    หมายเหตุ : เครื่องหมายดอกจันสีแดง “*” หมายถึง ข้อมูลที่จําเป็นจะต้องกรอก

    ความหมายของงบประมาณของผลผลิต งบประมาณ : ระบบจะแสดงหมายเหตุ ซึ่งจะระบุว่า “ในกรณีที่เป็นระดับผลผลิตและกิจกรรมหลัก ไม่ต้อง

    กรอกข้อมูลงบประมาณ ระบบจะอนุญาตให้กรอกในระดับแผนงาน/โครงการเท่านั้น” (3) หลังจากกรอกข้อมูลทั้งหมดจนครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม “บันทึกข้อมูลทั่วไปและไปยังขั้นตอนถัดไป” (4) ระบบจะแสดงหน้าต่างของ “การเช่ือมโยงยุทธศาสตร์”

    1

    3

    2

    ภาพท่ี 3-1 แสดงหน้าจอการเพิ่มผลผลิต

  • 21 คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System)

    Ministry of Natural Resources and Environment กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม

    ภาพท่ี 3-2 แสดงหน้าจอที่ใช้ในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์

    ความหมายของข้อมูลการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ โครงสร้างยุทธศาสตร์ : หมายถึง โครงสร้างยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่ผู้ใช้ระบบสังกัด

    หมายเหตุ : ข้อมูลที่แสดงขึ้นมาให้เลือกนํามาจากข้อมูลยุทธศาสตร์ที่อยู่ในระบบ ที่กําหนดโดยผู้ดูแลระบบ

    (5) ถ้าผู้ใช้ระบบ กรอกข้อมูลในหน้า “ข้อมูลทั่วไป” ให้กดปุ่ม “ย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและงบประมาณ” เพื่อแก้ไขข้อมูล

    (6) หลังจากเลือกกลยุทธ์หน่วยงานที่สังกัดแล้ว ให้กดปุ่ม “บันทึกข้อมูล” (7) หลังจากที่บันทึกข้อมูลแล้วระบบจะแสดงช่ือผลผลิตในหน้าจอหลักการบริหารข้อมูล

    ภาพท่ี 3-3 แสดงรายชื่อผลผลิตหลังจากเพ่ิมข้อมูลผลผลิต

    3.2.2 ขั้นตอนการแก้ไขขอ้มูลผลผลิต การแก้ไขข้อมูลผลผลิตนั้น เป็นการแก้ไขข้อมูลของผลผลิต เช่น ข้อมูลทั่ วไป , ตัวชี้ วัดผลผลิต ,

    การเช่ือมโยงยุทธศาสตร์, หน่วยงานที่รับผิดชอบ, ไฟล์ประกอบ เพื่อเป็นการตั้งต้นตัวชี้วัด หรือเป็นการกําหนดสิทธิ์การเข้าใช้ผลผลิตให้กับหน่วยงานและผู้ใช้ระบบท่านอื่นๆ รวมถึงการออกรายงาน หรือดูภาพรวมผลผลิตได้

    (1) ที่หน้าจอหลักการบริหารขอ้มูล ให้กดที่ปุ่มเครื่องหมาย “แก้ไขข้อมูลผลผลิต” ที่อยู่ขา้งหลัง ชื่อผลผลิตที่ต้องการแก้ไขข้อมูล

    (2) ระบบจะแสดงหน้าจอข้อมูลทั่วไปของผลผลิตที่เลือกเพื่อให้แก้ไขข้อมูล

  • คู่มือการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลโครงการ (e-Project Tracking System) 22

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม Ministry of Natural Resources and Environment

    ภาพท่ี 3-4 แสดงหน้าจอข้อมูลท่ัวไปของผลผลิต

    ความหมายของข้อมูลทั่วไปของผลผลิต ชื่อผลผลิต : หมายถึง ชื่อของผลผลิต ปีงบประมาณ : ระบบจะแสดงปีงบประมาณของผลผลิต นํ้าหนัก : หมายถึง น้ําหนักความสําคัญของผลผลิต รหัส : หมายถึง รหัสของผลผลิต วัตถุประสงค์ : หมายถึง วัตถุของผลผลิต หลักการและเหตุผล : หมายถึง หลักการและเหตุผลของผลผลิต

    หมายเหตุ : เครื่องหมายดอกจันสีแดง “*” หมายถึง ข้อมูลที่จําเป็นจะต้องกรอก ความหมายของแหล่งที่มางบประมาณของผลผลิต

    งบปร�