30

สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย
Page 2: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

พิมพและจัดจำหนายโดย สำนักพิมพกรีน ปญญาญาณ

ในเครือกลุมบริษัทที-มัลติมีเดีย ๕๐/๓๓ ม.๕ ถ.ประชาราษฎรสาย ๑ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐

โทร. ๐๒-๕๒๕-๔๒๔๒ # ๒๐๙-๒๑๐ แฟกซ : ๐๒-๕๒๕-๔๗๖๔ www.gppbook.com, E-mail : [email protected]

บรรณาธิการอำนวยการ สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม

รองบรรณาธิการอำนวยการ โกศล โพธิ์สุวรรณ ธัชพงศ ธรรมพุฒิพงศ

ผูชวยบรรณาธิการอำนวยการ เอกชัย ชัยเชิดชูกิจ

ที่ปรึกษา ภิรมยศักดิ์ สาสุนีย เวทิน ชาติกุล

บรรณาธิการบริหาร ศักดิ์ศรี บุญรังศรี

บรรณาธิการ ณัฐวุฒิ แจดสูงเนิน

กองบรรณาธิการ สุวิชา สุชีวคุปต ไญยิกา เมืองจำนงค

ผูอำนวยการฝายผลิต อนิรุทธ สุวคันธกุล

ปก/รูปเลม ธีรภัทร พันธุพิทยแพทย พนม ลอสี

พิมพที่ บริษัท พิมพดีการพิมพ จำกัด

โทร. ๐-๒๙๑๙-๑๔๘๑

ราคา ๑๒๙ บาท

โดย : พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวัณโณ)

ISBN : 978-616-526-347-4

พิมพครั้งที่ 1 : กันยายน 2555

สวดเป็นเห็นธรรม

Page 3: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

3พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

“สวดเป็นเห็นธรรม” เป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางพระพุทธศาสนาอีกเล่มหนึ่งที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อส่งเสริมการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักของพระพุทธศาสนาหรือที่เรียกว่า “การเจริญภาวนา” ด้วยการอธิบายขยายความบทสวดมนต์ที่สำคัญและจำเป็นต่อการเจริญภาวนาจำนวนทั้งสิ้น ๑๐ บท

บทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนาทั้ง ๑๐ บทนี้ มีที่มาจากเนื้อหาที่ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ในหนังสือเรื่อง “วิธีบำเพ็ญสมาธิเบื้องต้น และบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนา” ซึ่งเป็นหนังสือที่ผู้เขียนใช้ประกอบการอบรมกรรมฐานหลักสูตร ๗ วัน สำหรับศิษย์กรรมฐานทุกรุ่น

บทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานั้น ถ้าหากสวดโดยไม่เข้าใจความหมายก็จะได้คุณค่าน้อย แต่ถ้าหากสวดโดยเข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทสวดนั้นๆ ก็จะได้คุณค่ามากยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้น ในการอบรมกรรมฐานหลักสูตร ๗ วัน ผู้เขียนจึงได้อธิบายความหมายของบทสวดมนต์ทุกบทที่ใช้ในการเจริญภาวนา บทละประมาณ ๑ ชั่วโมง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจความหมายของบทสวดมนต์ในแต่ละบท รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมอื่นๆ ของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับบทสวดมนต์นั้นๆ โดยได้มีการบันทึกเสียงบรรยายทั้งหมดลงในเทปและซีดีเพื่ออำนวยความสะดวกในการบรรยายแต่ละครั้งด้วย

คำนำผู้เขียน

Page 4: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้มีการถอดเนื้อหาทั้งหมดออกมาพิมพ์เป็นหนังสือ และได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนกลายเป็นเล่มที่อยู่ในมือของท่านผู้อ่านนี้

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นหนังสือประกอบการอบรมกรรมฐานหลักสูตร ๗ วัน และหลักสูตรอื่นๆ ที่ผู้เขียนเปิดอบรม เช่น หลักสูตรวิปัสสนา ๑๐ วัน แต่คนทั่วไปที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมก็สามารถอ่านได้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจถึงความสำคัญของการสวดมนต์ที่มีต่อการเจริญภาวนา และยังช่วยให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้นด้วย

ด้วยอำนาจของคุณพระศรีรัตนตรัย และด้วยอำนาจของบุญกุศลที่ทุกท่านได้บำเพ็ญแล้ว ขอจงร่วมกันเป็นปัจจัยดลบันดาลให้ทุกท่านได้พบแต่ความสุขความเจริญและสิ่งที่น่าปรารถนาอันประกอบด้วยธรรมโดยทั่วกัน

พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวัณโณ)

วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

Page 5: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

5พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

“สวดเป็นเห็นธรรม” ของพระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวัณโณ) เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากครับ

และผมในนามของกองบรรณาธิการก็ขอเกริ่นในหน้าคำนำนี้สักเล็กน้อยเพื่อเป็นคำเชิญชวนอย่างเป็นทางการให้อ่านหนังสือเล่มนี้

พูดถึง “การสวดมนต์” กับ “การบรรลุธรรม” แล้ว ดูเหมือนว่า ชาวพุทธโดยทั่วไปจะแยกสองสิ่งนี้ออกจากกันเป็นคนละเรื่อง ด้วยเหตุผลว่า “การสวดมนต์” เป็นเรื่องของ “พิธีกรรม” ในขณะที่ “การบรรลุธรรม” เป็นเรื่องของ “การปฏิบัติธรรม”

ความหมายก็คือ ถ้าหากวันๆ คุณเอาแต่สวดมนต์ คุณจะไม่เห็นธรรม หรือบรรลุธรรมไม่ได้

คุณจะบรรลุธรรมได้ก็ต่อเมื่อ “หยุดสวดมนต์” แล้วไปปฏิบัติธรรมด้วยการ “นั่งหลับตาภาวนา” เท่านั้น

ตามความคิดของผม แม้ความเข้าใจเช่นนี้จะถูกต้อง แต่อาจจะไม่ถูกทั้งหมดก็ได้ เพราะเป็นความเข้าใจอย่างรวมๆ โดยไม่แยกแยะ

ผมหมายความว่าอย่างนี้... ที่บอกว่า “การนั่งหลับตาภาวนาเป็นการปฏิบัติธรรม” นั้นก็ถูก

ต้องแล้ว แต่ที่บอกว่า “การสวดมนต์ไม่ใช่การปฏิบัติธรรม” นั้น ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยจะตรงกับสิ่งที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนัก

ในพระไตรปิฎก เวลาพระพุทธเจ้าพบเห็นใครที่กำลังเป็นทุกข์ พระองค์มักจะกระทำในสิ่งที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด นั่นก็คือ “การเทศนา” ในรูปแบบของ “การชวนคุย” หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า “Dialogue”

คำนำสำนักพิมพ์

Page 6: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

6 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

ซึ่งหมายถึงบทสนทนาระหว่างมนุษย์ด้วยกันอย่างที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันนั่นเอง

ในการชวนคุยนั้น พระพุทธเจ้าจะซักถามถึงที่มาของปัญหาเช่นว่า ท่านเป็นทุกข์เรื่องอะไร พอรู้ปัญหาแล้ว พระองค์ก็จะชวนคุยต่อเพื่อชี้ให้เห็นว่ามีช่องบางอย่างที่เกิดจากความขาดปัญญาในการใช้ชีวิต (จะเพราะกิเลสหรืออะไรก็ตาม) ซึ่งช่องนั้นนั่นแหละที่เปิดให้ความทุกข์หลั่งไหลเข้ามาในจิตใจของท่าน

การสนทนากับพระพุทธเจ้าไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการปฏิบัติธรรม หากแต่เป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” เท่านั้น เพราะหลังจากนั้น คนฟังก็จะนำเอาสิ่งที่ได้จากการสนทนากับพระองค์ไปขบคิดพิจารณาต่อ และสิ่งที่ได้จากการขบคิดพิจารณานี่แหละที่จะมีผลในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นี่คือ “การปฏิบัติธรรม” สิ่งที่ผมต้องการจะบอกท่านผู้อ่านก็คือ ถ้าหากการสวดมนต์ช่วย

ให้คนบรรลุธรรมได้จริง เป็นไปได้ไหมว่า การสวดมนต์ก็คือการนำบทเทศนาของพระพุทธเจ้ามาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเหมือนอย่างที่คนในสมัยพุทธกาลเคยมีประสบการณ์มาแล้วนั่นเอง

จะต่างกันก็เพียงแค่เป็นคำแนะนำที่เราไม่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้าโดยตรงเท่านั้น

นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมการสวดมนต์ถึงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม และสามารถสื่อสารให้เกิดการบรรลุธรรมได้

ท่านผู้อ่านอ่านแล้วคิดเห็นเป็นอย่างไรก็ขอฝากให้พิจารณาด้วยครับ

ณัฐวุฒิ แจ๊ดสูงเนิน บรรณาธิการ

Page 7: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

7พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

๑ เตรียมพร้อมก่อนสวด ๙ สวดมนต์เพื่อป้องกันอันตราย ๑๐ สวดมนต์เพื่อทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้า ๑๘ สวดมนต์เพื่อเจริญกรรมฐาน ๒๓ เรื่องของเสียงสวดมนต์ ๓๐ ชุมนุมเทวดา ๓๖

๒ บทสวดนะโม ๔๗ คำง่ายๆ แต่ความหมายยิ่งใหญ่ ๔๗ สิ่งปิดบัง พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ ๕๓

๓ บทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย ๕๗ พุทธานุสติ ๕๘ ธัมมานุสติ ๖๘ สังฆานุสติ ๗๑

๔ สวดมนต์แผ่เมตตา ๗๙

๕ สวดมนต์พิจารณาธรรม ๙๑ วัคซีนป้องกันความทุกข์ ๙๓ “แก่” เป็นเรื่องธรรมดา ๙๘ “เจ็บป่วย” เป็นเรื่องธรรมดา ๑๐๐ “ตาย” เป็นเรื่องธรรมดา ๑๐๑ “พลัดพราก” เป็นเรื่องธรรมดา ๑๐๒ เรามีกรรมเป็นของตัวเอง ... ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ๑๐๔

สารบัญ

Page 8: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

8 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

๖ สวดมนต์สู้ความตาย ๑๐๕ กรรมฐานความตาย ๑๐๖ เจริญมรณสติต้องมีตัวช่วย ๑๐๙ ความตาย ๒ แบบ ๑๑๕ “คนกลัวตาย” เหมือน “ม้ากลัวปฏัก” ๑๑๘ เราได้อะไรจากงานศพ ๑๒๑ ปริศนาธรรมของชีวิต ๑๒๘

๗ บทสวด อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ๑๓๑ หลักการพิจารณา อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ๑๓๒ ความหมายที่ลึกซึ้งของอนัตตา ๑๓๙

๘ สวดมนต์ขจัดราคะ ๑๔๗ กายคตาสติ... ใช้สติพิจารณากาย ๑๔๘ ขจัดราคะด้วยการพิจารณาอาการ ๓๒ ๑๕๐ วิธีพิจารณาอาการ ๓๒ ๑๕๓ เจริญกายคตาสติอย่างชาญฉลาด ๑๕๕ พิจารณาอาการ ๓๒ อย่างชาญฉลาด ๑๕๘

๙ สวดมนต์ระงับความเจ็บป่วย ๑๖๓

๑๐ สวดมนต์ส่งท้าย ๑๗๑ บทอุทิศส่วนกุศล ๑๗๑ คำบูชาพระเมื่อสวดมนต์จบแล้ว ๑๗๓

Page 9: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

9พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาทุกบทล้วนแล้วแต่ส่งเสริมเกื้อกูลต่อการฝึกฝนจิตใจและการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น

ใครสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน (โดยเฉพาะในเวลาก่อนนอน) ก็จะช่วยในเรื่องของการบริหารจิตใจให้เกิดความสงบ-สว่าง-สะอาด-เข้มแข็ง และก่อให้เกิดบุญกุศลทุกครั้งที่ได้สวด แถมยังเป็นการทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้ในตัวอีกด้วย

ชาวพุทธทุกคนจึงควรสวดมนต์เป็นประจำทุกวันเพื่อพัฒนาจิตใจและสร้างบุญสร้างกุศล อย่างน้อยครั้งละประมาณ ๒๐-๓๐ นาที ยิ่งถ้าได้สวดวันละ ๒ ครั้ง คือ “เช้าหลังจากตื่นนอน” และ “กลางคืนก่อนนอน” ก็จะยิ่งดีมาก

เตรียมพร้อมก่อนสวด

Page 10: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

10 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

การสวดมนต์มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่ที่เห็นได้ชัดเจนก็มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

(๑) สวดมนต์เพื่อป้องกันอันตราย

(๒) สวดมนต์เพื่อทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้า

(๓) สวดมนต์เพื่อเจริญกรรมฐาน

สวดมนต์เพื่อป้องกันอันตราย

การสวดมนต์ประเภทนี้เรียกว่า “ปริตร” ซึ่งเป็นบทสวดที่ใช้สวดเพื่อป้องกันเหตุเภทภัยและอันตรายต่างๆ

การสวดปริตรเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพ เช่นที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกในส่วนของพระวินัยที่บัญญัติห้ามไม่ให้พระสงฆ์เรียนดิรัจฉานวิชา แต่สามารถเรียนปริตรเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

บทสวดปริตรนั้นมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทต่างก็มีสรรพคุณในการป้องกันอันตรายที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

ในพระสูตรที่ชื่อ “อหิสูตร”๑ มีเรื่องบันทึกไว้ว่า พระสงฆ์รูปหนึ่งถูกงูกัดจนกระทั่งมรณภาพ พระพุทธเจ้าจึงแนะนำให้พระสงฆ์รูปอื่นๆ สวด “ขันธปริตร” แผ่เมตตาให้กับพญางูทั้ง ๔ ตระกูล (วิรูปักข์-เอราปถะ- ฉัพยาปุตตะ-กัณหาโคตมกะ) เพื่อป้องกันอันตรายจากอสรพิษและสัตว์มีพิษทุกชนิด

๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๖๗.

Page 11: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

11พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ในพระสูตรที่ชื่อ “อาฏานาฏิยสูตร”๒ ก็มีเรื่องบันทึกไว้ว่า บางครั้งที่พระสงฆ์เข้าไปปฏิบัติธรรมในป่าแล้วถูกพวกยักษ์ที่มีมิจฉาทิฏฐิรบกวน พระพุทธเจ้าจึงได้แนะนำให้สวดปริตรที่เรียกว่า “อาฏานาฏิยปริตร” เพื่อให้ปลอดภัยจากการรบกวนของพวกยักษ์ อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนใจให้ยักษ์เหล่านั้นหันมาเลื่อมใสศรัทธาได้ด้วย

ในพระสูตรที่ชื่อ “คิลานสูตร”๓ ก็มีเรื่องบันทึกไว้ว่า พระมหากัสสปะ พระโมคคัลลานะ หรือแม้แต่พระพุทธเจ้า ต่างก็หายจากอาการอาพาธด้วยบทสวดปริตรที่เรียกว่า “โพชฌงคปริตร” ทั้งสิ้น

และอีกหนึ่งเหตุการณ์ก็คือ ในสมัยที่เมืองเวสาลีเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ ทั้งโรคระบาด ขาดแคลนอาหาร และถูกพวกอมนุษย์รบกวน ทำให้ชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไป ณ ที่นั้น และตรัสสั่งให้พระอานนท์สวด “รัตนปริตร” จนกระทั่งภัยพิบัติเหล่านั้นคลี่คลายและอันตรธานหายไปในที่สุด

ต่อมาเมื่อการสวดมนต์เพื่อป้องกันอันตรายเป็นที่นิยมมากขึ้น ชาวพุทธจึงได้รวบรวมคาถาต่างๆ ในพระไตรปิฎก มาผูกเป็นบทสวดเพื่อใช้สำหรับป้องกันอันตรายโดยเฉพาะ

ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศศรีลังกาสมัยก่อน เวลาพวกพราหมณ์ทำพิธีในบ้านก็จะมีการสวดมนต์ตามแบบฉบับของพราหมณ์

๒ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๐๗-๒๒๐. ๓ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๔๑๕-๔๒๘.

Page 12: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

12 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในศรีลังกา ชาวพุทธก็เลยดึงข้อความจากพระสูตรต่างๆ มาใช้เป็นบทสวดเพื่อความเป็นสิริมงคลและป้องกันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งเป็นที่มาของบทสวดที่ใช้สวดในงานพิธีกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน

พระสูตรใดที่นำมาใช้ในการสวดมนต์เพื่อป้องกันอันตรายก็จะเปลี่ยนไปเรียกว่า “ปริตร” แทน เช่น รัตนสูตรเรียกว่า “รัตนปริตร” กรณียเมตตสูตรเรียกว่า “เมตตปริตร” ธชัคคสูตรเรียกว่า “ธชัคคปริตร” อาฏานาฏิยสูตรเรียกว่า “อาฏานาฏิยปริตร” เป็นต้น

ในระยะแรกๆ บทสวดมนต์ที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายอาจจะมี ไม่มากนัก แต่นานวันเข้า จำนวนของบทสวดมนต์ก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่ง แต่ละชนิดก็มีสรรพคุณในการป้องกันอันตรายที่แตกต่างกันไป เช่น ในคัมภีร์มิลินทปัญหาที่กล่าวถึงบทสวดปริตรไว้ถึง ๕ ปริตร และในคัมภีร์ วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ที่กล่าวไว้ถึง ๖ ปริตร

การรวบรวมบทสวดปริตรนั้นดำเนินเรื่อยมา จนกระทั่งพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย และเกิดเป็นบทสวดมนต์ “เจ็ดตำนาน” และ “สิบสองตำนาน” ขึ้น๔

บทสวดมนต์เจ็ดตำนานเรียกอีกอย่างว่า “สัตตปริตร” ซึ่งหมายถึง “การป้องกัน ๗ อย่าง” คือสวดเพียงแค่ ๗ ปริตร เท่านั้น (บางครั้งก็เรียกว่า “จุลราชปริตร” ในกรณีที่พระราชานิมนต์ให้พระสงฆ์มาสวด)

๔ “ตำนาน” เป็นคำที่เพี้ยนมาจาก “ตาณะ” หรือ “ตาณัง” ซึ่งแปลว่า “ป้องกัน-ต้านทาน” (คือพูดไปพูดมาก็เพี้ยนเป็นคำว่า “ตำนาน” ไปเสีย) ส่วนคำว่า “ปริตร” แปลว่า “ป้องกันทั่ว” เพราะฉะนั้น การสวดปริตรจึงหมายถึง “การป้องกันภัยทั่วทั้งหมด”

Page 13: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

13พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ต่อมาภายหลัง เมื่อมีการนำคาถาอื่นมาสวดเพิ่มเติม จากบทสวดมนต์เจ็ดตำนานจึงกลายเป็นบทสวดมนต์สิบสองตำนานหรือที่เรียกอีกอย่างว่า “ทวาทศปริตร” (บางครั้งก็เรียกว่า “มหาราชปริตร”)

หนังสือสวดมนต์ในปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์ออกมาอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งที่เป็นภาษาบาลี (อักษรไทยที่มีจุดพินทุและเครื่องหมายนิคหิต) และแปลเป็นภาษาไทย

ถ้าเป็นภาษาบาลี ชาวบ้านทั่วไปอาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านไม่ค่อยคล่อง แต่สำหรับคนที่ต้องการสวดมนต์ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังก็ควรจะฝึกอ่าน จะได้สวดมนต์คล่องขึ้น

จริงๆ แล้ว การพิมพ์หนังสือสวดมนต์เป็นภาษาบาลีก็มีข้อดีในแง่ของการประหยัดหน้ากระดาษ เพราะใช้การเขียนแบบประวิสรรชนีย์ (ไม่ใส่ “สระอะ” หลังตัวอักษร) และการเขียนแบบประวิสรรชนีย์นี้ ถ้าใครเข้าใจวิธีอ่านก็จะรู้สึกว่าอ่านง่ายกว่าภาษาไทยที่เขียนแบบวิสรรชนีย์ (ใส่ “สระอะ” หลังตัวอักษร) เสียอีก

ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “สพฺพํ” เครื่องหมาย (พินทุ) ใต้ พ. มีความหมายเหมือนไม้หันอากาศซึ่งมีอักษรตัวนั้นเป็นตัวสะกด ส่วนเครื่องหมาย (นิคหิต) ที่อยู่บน พ. นั้นมีความหมายเหมือนกับไม้หันอากาศซึ่งมี ง. เป็นตัวสะกด เพราะฉะนั้น คำคำนี้จึงอ่านว่า “สัพ-พัง”

แต่ถ้ามีสระตัวอื่น เช่น “สระอิ” หรือ “สระอุ” กำกับอยู่แล้ว ก็จะออกเสียงเฉพาะตัวสะกดกับสระตัวนั้นแทนไม้หันอากาศ เช่น คำว่า “เมตฺตา” อ่านว่า “เมต-ตา”

ส่วนพยัญชนะตัวใดที่ไม่มีสระกำกับ พยัญชนะตัวนั้นก็จะออกเสียงสระอะ เช่น คำว่า “จิตฺเตน” อ่านว่า “จิต-เต-นะ”

Page 14: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

14 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน

บทสวดมนต์เจ็ดตำนานประกอบด้วยพระสูตร (พระปริตร) จำนวน ๗ สูตร (ปริตร)

๑. มงคลสูตร - ใช้สวดเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล

๒. รัตนสูตร (รัตนปริตร) - บทสวดนี้ พระพุทธเจ้าเคยให้พระอานนท์สวดเพื่อป้องกันภัยพิบัติ (โรคระบาด ภาวะขาดแคลนอาหาร และภัยคุกคามจากอมนุษย์) ที่เกิดขึ้นในเมืองเวสาลี ให้สงบระงับไป

๓. กรณียเมตตสูตร (เมตตปริตร) - ใช้สวดเพื่อแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย

๔. ขันธปริตร - ใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เหมาะสำหรับพระธุดงค์หรือเวลาเดินทางเข้าไปในป่า

๕. โมรปริตร - เป็นบทสวดที่มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องของนกยูง เมื่อสวดปริตรนี้แล้วจะช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย ไม่มีใครสามารถจับ ตัวได้

๖. ธชัคคสูตร(ธชัคคปริตร) - ใช้สวดเพื่อกำจัดความหวาดกลัวให้หมดไป บทสวดนี้มีที่มาจากสงครามระหว่างเทวดากับอสูรซึ่งพระพุทธเจ้านำมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า ...

ครั้งหนึ่ง ตอนที่เทวดากับอสูรสู้รบกัน ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) ได้กล่าวกับเทวดาทั้งหลายว่า ถ้าหากรู้สึกหวาดกลัวก็ขอให้มองไปที่ยอดธงของพระองค์ หรือไม่ก็ธงของแม่ทัพอีก ๓ องค์ คือ ท้าวปชาบดีเทวราช ท้าววรุณเทวราช และท้าวอีสาน

Page 15: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

15พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

เทวราช แล้วความหวาดกลัวทั้งหลายก็จะอันตรธานหายไป

แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยอดธงไม่อาจกำจัดความหวาดกลัวให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิง เพราะลึกๆ แล้ว แม่ทัพเทวดาเหล่านั้นก็ยังมีความหวาดกลัวอันเนื่องมาจากกิเลส (ราคะ-โทสะ-โมหะ) ที่หลงเหลืออยู่ในจิตใจ

จากนั้น พระพุทธเจ้าก็ให้คำแนะนำว่า ถ้าหากพระสงฆ์รูปใดเข้าไปธุดงค์หรือจำพรรษาอยู่ในป่าแล้วรู้สึกหวาดกลัวก็ขอให้นึกถึง “พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์” แล้วความหวาดกลัวนั้นก็จะอันตรธานหายไปอย่างแท้จริง ที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงสิ้นแล้วซึ่งกิเลสอันเป็นสาเหตุของความหวาดกลัวนั่นเอง๕

๗. อาฏานาฏิยสูตร (อาฏานาฏิยปริตร) - ใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันตรายจากพวกยักษ์หรือภูตผีปีศาจที่เข้ามารบกวน การสวดอาฏานาฏิยสูตรนี้ต่อมาได้พัฒนารูปแบบไปเป็น “พิธีสวดภาณยักษ์” ที่นิยมสวดกันตามวัดต่างๆ ในปัจจุบันนั่นเอง

จะอย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะนำเอา “อังคุลิมาลปริตร” มาใช้สวดแทนอาฏานาฏิยปริตร เพราะมีความย่นย่อกว่า

๕ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ ข้อที่ ๘๖๓-๘๖๖.

Page 16: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

16 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

บทสวดมนต์สิบสองตำนาน

บทสวดมนต์สิบสองตำนานประกอบด้วยพระสูตร (พระปริตร) จำนวน ๑๒ สูตร (ปริตร) คือเพิ่มเข้าไปในเจ็ดตำนานอีก ๕ ปริตร๖

๘. วัฏฏกปริตร - ใช้สวดเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟ บทสวดนี้มีที่มาจากประวัติของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งที่เกิดเป็นนกคุ่มซึ่งถูกพ่อนกแม่นกทิ้งไว้ในรังเนื่องจากไฟไหม้ป่า พระโพธิสัตว์นกคุ่มบินหนีไม่ได้จึงตั้งจิตอธิษฐานด้วย “สัจวาจา” จนทำให้เพลิงพิโรธนั้นดับลงไป๗

๙. อังคุลิมาลปริตร - ใช้สวดสำหรับหญิงมีครรภ์เพื่อช่วยให้คลอดได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

บทสวดนี้มีที่มาจาก “อังคุลิมาลสูตร”๘ ซึ่งพระองคุลิมาลได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วย “สัจวาจา” เพื่อช่วยหญิงมีครรภ์คนหนึ่งว่า “ดูก่อนน้องหญิง...ตั้งแต่อาตมาเกิดแล้วในชาติอริยะ(คือตั้งแต่บวชเป็นพระแล้ว)ไม่เคยตั้งใจจะทำลายชีวิตเลยด้วยความจริงนี้ ขอให้ครรภ์ของเจ้าจงปลอดภัยขอให้ความสุขจงมีแก่เจ้าเถิด”

๑๐. โพชฌงคปริตร - ใช้สวดเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าหากพิจารณาโพชฌงค์ทั้ง ๗ ไปทีละอย่างจนครบ (สติ-ธัมมวิจยะ-วิริยะ-ปีติ-ปัสสัทธิ-สมาธิ-อุเบกขา) เมื่อจิตสงบนิ่ง ความเจ็บป่วยก็จะหายไป

๖ ในปัจจุบัน พระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไปสวดมนต์ตามบ้านจะไม่สวดแค่เจ็ดตำนาน เพราะว่าน้อยไป แต่ท่านจะสวดให้ครบสิบสองตำนานเลย

๗ วัฏฏกโปตกจริยา, ขุททกนิกาย อปทาน (จริยาปิฎก), พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ ข้อที่ ๒๙.

๘ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ ข้อที่ ๕๒๑-๕๓๔.

Page 17: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

17พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

๑๑. อภยปริตร - เป็นบทสวดยันทุน ใช้สวดเพื่อคุ้มครองไม่ให้ฝันร้ายและช่วยให้ปลอดภัยจากเคราะห์ร้ายต่างๆ

ดังเช่นกรณีของสุภาพสตรีไทยคนหนึ่งที่เดินทางไปอยู่กับลูกในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจากสามีเสียชีวิต แต่บังเอิญว่า บ้านที่ไปอยู่นั้นเป็นบ้านผีสิง เธอกับลูกถูกผีเล่นงานจนต้องวิ่งหนีจากตึกชั้นบนลงมาชั้นล่าง เดชะบุญที่เธอจำบทสวดอภยปริตรได้ (ไม่ทราบว่าจำมาจากใคร) จึงสวดออกมา ผลก็คือ เธอกับลูกปลอดภัย เพราะผีไม่กล้าเข้ามาทำร้าย

๑๒. ชยปริตร - ใช้สวดเพื่อขอให้ประสบชัยชนะเหมือนกับชัยชนะที่พระพุทธเจ้าทรงได้รับขณะประทับนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ (ชะยันโต โพธิยา มูเล ฯ) แต่ชัยชนะสำหรับพระพุทธศาสนามีความหมายพิเศษ คือ ทำความดีเมื่อใดก็เป็นฤกษ์ยามที่ดีเมื่อนั้น (สุนักขัตตัง สุมังคะลัง ฯ)

สวดมนต์ป้องกันอันตรายได้อย่างไร

สาเหตุที่การสวดมนต์ (ปริตร) สามารถป้องกันอันตรายได้ก็คือ เมื่อสวดมนต์แล้ว จิตจะเกิดความสงบ เป็นสมาธิ และมีพลัง ซึ่งสภาวะเหล่านี้จะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้สวดให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง

ไม่เท่านั้น การสวดมนต์ยังก่อให้เกิดพลังที่เป็นคลื่นเสียงแผ่ออกไปซึ่งมีอานุภาพในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลายอีกด้วย ยิ่งจิตของผู้สวดมนต์มีพลังมากเท่าใด คลื่นเสียงก็ยิ่งมีอานุภาพมากเท่านั้น

บางครั้งก็อาจจะมีการอัญเชิญเทวดาลงมาในระหว่างการสวดมนต์ด้วย ผลก็คือ สิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจที่สิงสู่อยู่ในบริเวณนั้นต่างก็อันตรธานหายไป เพราะมีเทวดาและสิ่งศักดิ์ศิทธิ์ที่มีอานุภาพเหนือกว่า

Page 18: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

18 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

มาปรากฏตัว

จะอย่างไรก็ตาม หากจะให้การสวดมนต์ได้ผลอย่างเต็มที่ ผู้สวดต้องสวดให้เป็นและต้องตั้งใจสวดด้วย แม้แต่บทสวดนะโมฯ ก็ต้องสวดถึง ๓ ครั้ง เพื่อให้จิตใจสงบแน่วแน่เป็นสมาธิ

สวดครั้งที่ ๑ เรียกว่าเป็น “บริกรรม” (สวดขั้นต้นเพื่อเตรียมจิตใจให้พร้อม)

สวดครั้งที่ ๒ เรียกว่าเป็น “อุปจาร” (จิตจวนเจียนจะแน่วแน่)

สวดครั้งที่ ๓ เรียกว่าเป็น “อัปปนา” (จิตสงบแน่วแน่เป็นสมาธิ)

นอกจากนี้ ผู้สวดก็ต้องอาบน้ำให้สะอาด แต่งตัวให้เรียบร้อย และประนมมือให้ถูกต้องสวยงาม ไม่ใช่สวดไปพลาง แคะเล็บไปพลาง เกาคางไปพลาง ถ้าสวดอย่างนี้แล้วจะให้ขลังหรือเกิดพลังได้อย่างไร

สวดมนต์เพื่อทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้า

ประโยชน์ในข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์โดยตรงอยู่แล้วที่จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยและทบทวนบทสวดมนต์ต่างๆ เพื่อเป็นการทรงจำ คำสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้

ในสมัยก่อน พระสงฆ์บางรูปสามารถสวดมนต์ภาษาบาลีได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก็หมายความว่า ท่านเป็นผู้ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า บางรูปเชี่ยวชาญด้านพระสูตร บางรูปเชี่ยวชาญด้านพระวินัย บางรูปเชี่ยวชาญด้านพระอภิธรรม

แม้ในสมัยปัจจุบันก็ยังมีคนที่สามารถท่องจำพระไตรปิฎกได้อย่าง

Page 19: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

19พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

แตกฉาน เช่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ มีกุลสตรีชาวพม่าคนหนึ่ง (อายุตอนนั้นประมาณ ๑๗ ปี) สามารถท่องจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ซึ่งไม่ใช่เรื่องธรรมดา และทราบมาว่า จากข้อมูลในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เหลือพระสงฆ์พม่าเพียง ๓ รูปเท่านั้นที่ทรงจำพระไตรปิฎกไว้ได้ (เดิมมีอยู่ ๖ รูป แต่มรณภาพไปแล้ว ๓ รูป)

ในหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า พระสงฆ์พม่าที่มีคุณสมบัติในการทรงจำพระไตรปิฎกจะต้องผ่านการทดสอบด้วย ซึ่งบางรูปใช้เวลานานถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปี เลยทีเดียว

ถ้าหากหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทยเป็นเช่นนั้นบ้างก็คงจะมีพระสงฆ์ไทยเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย เพราะในประเทศไทยยังมีพระสงฆ์อีกมากที่มีความวิริยะอุตสาหะในการศึกษาและท่องจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

นอกจากความถูกต้องแม่นยำในการสวดมนต์แล้ว เรื่องของความไพเราะก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากได้สวดเป็นทำนองสรภัญญะหรือสวดเป็นทำนองคำฉันท์

ในพระไตรปิฎก๙ มีข้อความบันทึกไว้ว่า มีพระสงฆ์รูปหนึ่งได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ที่สามารถสวดแสดงธรรมได้ไพเราะยิ่งนัก

พระสงฆ์รูปนั้นก็คือ “พระโสณกุฏิกัณณะ” ซึ่งเป็นศิษย์ของพระมหากัจจายนะ

๙ วินัยปิฎก มหาวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ ข้อที่ ๒๐-๒๓; อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ ข้อที่ ๑๔๗.

Page 20: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

20 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

เรื่องมีอยู่ว่า ตอนที่พระโสณกุฏิกัณณะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวัน พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้ท่านพักอยู่ในกุฏิเดียวกับพระองค์ (พระพุทธเจ้าคงเห็นว่า พระสงฆ์รูปนี้จะต้องมีอะไรดี)

ปรากฏว่า ในเวลาใกล้รุ่ง หลังจากตื่นพระบรรทมแล้ว พระพุทธเจ้า ได้ตรัสให้พระโสณกุฏิกัณณะสาธยายพระสูตรเป็นทำนองสรภัญญะ พระโสณกุฏิกัณณะก็สาธยายพระสูตรให้พระพุทธเจ้าทรงสดับด้วยสำเนียงที่ไพเราะและเนื้อหาที่ถูกต้องแม่นยำ

เมื่อการสาธยายพระสูตรจบลง พระพุทธเจ้าจึงตรัสยกย่องพระโสณกุฏิกัณณะว่ามีความเป็นเลิศในด้านการสาธยายธรรมที่ไพเราะและถูกต้องแม่นยำยิ่งกว่าพระสงฆ์องค์อื่นๆ

ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาเล่มหนึ่งที่ชื่อ “ปฐมสมโพธิกถา”๑๐ ได้บอกไว้ว่า ความเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ประการ คือ

(๑) ปริยัติอันตรธาน - หมายถึงความเสื่อมของหลักวิชาในพระไตรปิฎกซึ่งประกอบด้วย “พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม” โดยการเสื่อมนั้นจะเริ่มต้นที่พระอภิธรรมก่อน (เพราะเป็นคัมภีร์ที่ยากที่สุด) คือไล่ไปตั้งแต่คัมภีร์ปัฏฐาน คัมภีร์ยมก คัมภีร์กถาวัตถุ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์วิภังค์ จนถึงคัมภีร์ธรรมสังคณี

ต่อจากนั้น พระสูตรก็จะเริ่มเสื่อม โดยไล่ไปตั้งแต่คัมภีร์อังคุตตรนิกาย คัมภีร์สังยุตตนิกาย คัมภีร์มัชฌิมนิกาย คัมภีร์ทีฆนิกาย คัมภีร์ขุททกนิกาย จนถึงคัมภีร์ชาดก และชาดกแรกที่จะเสื่อมก็คือเวสสันดรชาดก ตามมา

๑๐ ปฐมสมโพธิกถา, ปริจเฉทที่ ๒๙ อันตรธานปริวรรต.

Page 21: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

21พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ด้วยชาดกอื่นๆ และสุดท้ายที่จะเสื่อมก็คือพระวินัย จนกระทั่งไม่มีใครสามารถจำคำสอนของพระพุทธศาสนาได้เลย

ด้วยเหตุนี้ สาเหตุที่มีการนำเอาพระอภิธรรมมาใช้สวดในงานศพก็เพราะเป็นอุบายของพระสงฆ์ศรีลังกาที่พิจารณาเห็นว่า ถ้าหากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากโลก คัมภีร์แรกที่จะเสื่อมก็คือพระอภิธรรม เพราะเป็นคัมภีร์ที่เข้าใจยาก ฉะนั้น การนำพระอภิธรรมมาสวดในงานศพก็เพื่อเป็นการทรงจำพระอภิธรรมเอาไว้ให้นานที่สุดนั่นเอง

(๒) ปฏิบัติอันตรธาน - หมายถึงความเสื่อมในการปฏิบัติธรรม หรือก็คือไม่มีใครปฏิบัติธรรมนั่นเอง ความเสื่อมข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสื่อมของปริยัติในข้อแรก เพราะในเมื่อไม่มีหลักวิชาในพระไตรปิฎกให้ศึกษา การปฏิบัติ (ที่ถูกต้อง) ก็เกิดขึ้นหรือดำเนินไปไม่ได้

(๓) ปฏิเวธอันตรธาน - หมายถึงความเสื่อมในผลของการปฏิบัติธรรม เพราะในเมื่อไม่มีการปฏิบัติธรรม ผลของการปฏิบัติธรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่า โลกนี้จะไม่มีพระอริยบุคคลเหลืออยู่เลยแม้แต่องค์เดียว

บางคนอาจจะสงสัยว่า ทุกวันนี้ยังมีพระอริยบุคคลเหลืออยู่ในโลกนี้บ้างหรือไม่ คำตอบก็คือ “น่าจะมี” เพราะพระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า...

“ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติตามหลักมรรค๘ยังมีอยู่ตราบนั้นโลกจะไม่ว่างจากพระโสดาบันพระสกทาคามีพระอนาคามีและพระอรหันต์”๑๑

ทุกวันนี้ คำสอนเรื่องมรรค ๘ ยังมีอยู่ และผู้ที่ปฏิบัติตามหลัก

๑๑ มหาปรินิพพานสูตร, ทีฆนิกาย มหาวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๖๗-๑๖๒.

Page 22: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

22 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

มรรค ๘ ก็ยังมีอยู่ ดังนั้น พระอริยบุคคลก็น่าจะต้องมีอยู่ด้วยเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ที่ปลีกตัวออกไปปฏิบัติธรรมอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร แต่ไม่เสมอไป เพราะในเมืองก็อาจจะมีได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระอรหันต์กลางกรุง

(๔) ลิงคอันตรธาน - หมายถึงความเสื่อมในเพศของสมณะ หรือก็คือไม่มีสัญลักษณ์ของความเป็นพระสงฆ์เหลืออยู่นั่นเอง เช่น ไม่มีผ้าเหลืองนุ่งห่มเลยแม้แต่ชิ้นเดียว แต่ถ้าหากมีผ้าเหลืองติดตัวอยู่บ้างก็ถือว่ายังไม่เสื่อมจากสมณเพศ

พระสงฆ์บางนิกายในประเทศญี่ปุ่นก็ดูเหมือนจะเข้าข่ายความเสื่อมในข้อนี้ เพราะไม่มีสัญลักษณ์ของความเป็นพระสงฆ์หลงเหลืออยู่เลย

(๕) ธาตุอันตรธาน - หมายถึงความเสื่อมของพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งตอนแรกจะอยู่อย่างกระจัดกระจาย จากนั้นก็จะถูกรวบรวมไว้ในที่เดียวกัน แล้วสุดท้ายก็จะอันตรธานหายไป

สรุปก็คือ การสวดมนต์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า “มนต์ทั้งหลายถ้าหากไม่มีการท่องบ่นย่อมเป็นมลทิน”๑๒ ความหมายก็คือ ถ้าหากไม่มีการสวดมนต์ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะถูกหลงลืม แต่ถ้าหมั่นสวดมนต์บ่อยๆ ก็จะจำได้

เมื่อก่อน ผู้เขียนเองก็เคยท่องบทสวด “ปาฏิโมกข์” ได้อย่าง

๑๒ มลสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๑๐๕.

Page 23: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

23พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

แม่นยำ โดยใช้เวลาท่องจำเพียงแค่ ๑๗ วัน (ถ้ารวมทบทวนด้วยก็ประมาณ ๑ เดือน) แต่เดี๋ยวนี้ก็ชักจะลืมเหมือนกัน เนื่องจากเจ็บป่วย ไม่ค่อยได้ทบทวน หรือในสมัยก่อนตอนที่จะบวช ผู้เขียนก็สามารถท่องจำหนังสือ “นวโกวาท” ได้ทั้งเล่ม และยังท่องจำหนังสือบาลีอื่นๆ ได้เป็นเล่มๆ เลยทีเดียว

แม้ว่าการสวดมนต์จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าตั้งใจเสียอย่างก็ย่อมทำได้ และยังเป็นการช่วยให้เราทรงจำคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ได้ด้วย

พระพุทธศาสนาจะเสื่อมหรือไม่เสื่อมก็อยู่ที่การทรงจำ เล่าเรียน ปฏิบัติ และเผยแผ่ ถ้าหากปราศจากสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาก็จะอันตรธานหายไปในที่สุด

สวดมนต์เพื่อเจริญกรรมฐาน

ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ก็คือ เพื่อใช้ในการเจริญกรรมฐาน ทั้งในขั้น “สมถกรรมฐาน” และ “วิปัสสนากรรมฐาน”

บทสวดมนต์ทุกบทที่ใช้ในการเจริญกรรมฐานนั้น เมื่อสวดแล้วจะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย เบิกบาน และช่วยให้รู้ธรรม เห็นธรรม เข้าใจธรรม

ยกตัวอย่างเช่น “กรณียเมตตสูตร” ซึ่งเป็นบทสวดที่มีความสำคัญมาก เพราะสามารถใช้เป็นทั้งบทสวดปริตรและบทสวดกรรมฐานได้พร้อมกันในตัว

กรณียเมตตสูตรนี้เป็นบทสวดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง ผู้เขียนสวด

Page 24: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

24 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

มนต์บทนี้ทุกคืน และสวดติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว เพราะเป็นสิริมงคลกับตัวเอง

แต่ที่สำคัญก็คือ บทสวดนี้มีธรรมะที่น่าสนใจแฝงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแผ่เมตตาไปยังสัตว์โลกทุกจำพวก ซึ่งเมื่อสวดแล้วจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจของผู้สวดให้เกิดความสงบเย็น เป็นสมาธิ และอาจพัฒนาไปถึงขั้นวิปัสสนาจนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมได้ด้วย

แม้แต่บทสวดง่ายๆ เช่น บทสวดนะโมฯ หรือบทสวดสรรเสริญพระรัตนตรัย (พระพุทธคุณ-พระธรรมคุณ-พระสังฆคุณ) ก็สามารถนำมาใช้ในการเจริญกรรมฐานได้เช่นกัน

จะอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะมีบทสวดมนต์ที่สามารถนำมาสวดเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ แต่ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด

ยกตัวอย่างเช่น บทสวด “ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก” ที่ชาวพุทธนิยมสวดกันเป็นจำนวนมาก บ้างก็เพื่อความเป็นสิริมงคล บ้างก็หวังจะให้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่จริงๆ แล้ว แทบจะไม่มีพระสงฆ์รูปไหนสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเลย

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะท่านรู้ว่ามีการใช้ภาษาผิดๆ และมีลักษณะที่คล้ายจะเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วยเหมือนในศาสนาแบบเทวนิยม (ศาสนาที่นับถือพระเจ้า) แต่ก็ไม่ได้มีการบอกหรืออธิบายให้ชาวบ้านทั่วไปได้ทราบ

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ก็เคยบอกว่า ถ้าหากใครพบหนังสือ

Page 25: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

25พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกก็ให้เผาทิ้งเสีย แต่ผู้เขียนไม่กล้าเผาเพราะมีคำบาลีอยู่ จะแจกคนอื่นก็ไม่กล้า เวลามีใครพิมพ์มาให้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

ส่วน “คาถาชินบัญชร” นั้นยังดี เพราะเป็นบทสวดที่มีลักษณะของการสรรเสริญพระรัตนตรัย (ซึ่งต่างจากการอ้อนวอนให้ช่วย)

คนไทยส่วนใหญ่มักจะสวดมนต์ (หรือฟังพระสวด) ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ไม่เข้าใจความหมาย ถ้าหากผู้สวด (หรือผู้ฟัง) เข้าใจความหมายของบทสวดด้วยก็จะมีประโยชน์มาก บางครั้งก็ซาบซึ้งถึงขนาดตื้นตันอยู่ในลำคอเลยทีเดียว

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ขณะที่ผู้ เขียนกำลังศึกษาปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras University) หรือที่เรียกย่อว่าๆ B.H.U. ผู้เขียนพร้อมด้วยคณะพระนักศึกษาไทยใน B.H.U. ได้เดินทางไปสวดมนตท์ี่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ในบทที่ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”

Page 26: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

26 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

เมื่อสวดไปถึงตอนที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า “อัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญอัญญาสิวะตะโภโกณฑัญโญ” (อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ...อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ) พลันนั้น ผู้เขียนก็เกิดความรู้สึกตื้นตันขึ้นมาทันที อาการก็คือสวดไม่ออก ติดอยู่ในลำคอ เพราะมีความรู้สึกเหมือนกับว่า พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ตรงนี้ พระอัญญาโกณฑัญญะนั่งอยู่ตรงนี้ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ชวนให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งนัก

นี่คือความมหัศจรรย์ที่เกิดจากความเข้าใจในความหมายของบทสวดมนต์อย่างลึกซึ้ง

ถึงแม้เราจะไม่รู้ภาษาบาลี อย่างน้อยๆ ถ้าหากรู้คำแปลหรือเข้าใจความหมายบ้างก็ยังดี แต่ถ้าไม่รู้อะไรเลยก็ลำบากเหมือนกัน

แม้แต่การสวดนะโมฯ ก็เช่นกัน บทสวดนะโมฯ ที่ทุกคนเคยสวดกันมานับครั้งไม่ถ้วนนี้ แม้ไม่รู้ความหมาย แต่ถ้าสวดด้วยความเลื่อมใสก็ช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน (เรียกว่า “ได้บุญ”) ยิ่งถ้าสวดแล้วเข้าใจความหมายด้วยก็จะยิ่งได้ปัญญาเพิ่มขึ้น (เรียกว่า “ได้กุศล”)

ยกตัวอย่างเช่น เวลาฟังพระเทศน์หรือสวดมนต์ ไม่ว่าจะในงานศพหรืองานอะไรก็ตาม บางคนฟังแล้วได้แต่บุญ ไม่ได้กุศล เพราะตั้งใจฟัง แต่ฟังไม่รู้เรื่อง แต่บางคนฟังแล้วได้ทั้งบุญและกุศล เพราะตั้งใจฟัง แล้วก็ฟังรู้เรื่องด้วย

เพราะฉะนั้น การสวดมนต์จะต้องมีการแปลควบคู่ไปด้วย ถึงจะได้คุณประโยชน์ครบถ้วน

ที่วัดโสมนัสวิหารมีเมรุของฌาปนสถานกองทัพบกอยู่ด้านหลังวัด

Page 27: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

27พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ซึ่งที่นั่นเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ในวัดเดินทางไปสวดอภิธรรมศพ แต่การสวดอภิธรรมศพโดยเฉพาะในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้น สำหรับผู้เขียนถือว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลามาก เพราะสวดนาน แต่ได้ประโยชน์น้อย เนื่องจากคนฟังไม่รู้เรื่อง

ถ้าหากสวดแล้วคนฟังไม่รู้เรื่อง แม้แต่คนสวดก็ไม่รู้เรื่อง (ยิ่งคนตายก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง) ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะสวดไปทำไม

และถ้าหากชาวพุทธยังสืบต่อพระศาสนาแต่เพียงธรรมเนียมโดยละเลยแก่นของศาสนาอยู่อย่างนี้ (คือเอาแต่บุญ ไม่เอากุศล) พระพุทธศาสนาก็อาจจะถึงคราวเสื่อมและสูญหายไปโดยปริยายก็เป็นได้

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมีความคิดที่จะรณรงค์ให้มีการสวดมนต์แปลในงานศพด้วยการจัดทำหนังสือสวดมนต์แปลขึ้นมาใช้ โดยเริ่มจากวัดโสมนัสวิหารก่อน จากนั้น ถ้าหากสามารถเผยแพร่ออกไปตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศได้ก็จะยิ่งดี เพราะการเข้าใจความหมายของบทสวดมนต์ล้วนเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนที่มาฟังพระสวดมนต์ด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากนี้ก็ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์เพื่อเจริญกรรมฐาน เช่น บางคนอาจจะสงสัยว่า “นอนสวดมนต์ได้หรือไม่ ?” เพราะถึงเวลานอนก็มักจะล้มตัวลงนอนเลย ขี้เกียจนั่งสวดมนต์

จริงๆ แล้ว การนอนสวดมนต์สามารถทำได้ในกรณีที่เราเจ็บป่วยจนลุกขึ้นไม่ไหวจริงๆ (นอนสวดก็ยังดีกว่าไม่ได้สวด) เพียงแต่ว่าการนั่งสวดอาจจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการนอนสวด เพราะร่างกายมีการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

Page 28: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

28 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม

อีกคำถามหนึ่งที่คนมักจะสงสัยก็คือ “สวดมนต์ในใจได้หรือไม่ ?”

คำตอบก็คือ “สวดได้”

เพียงแต่ว่า การสวดมนต์ในใจนั้นอาจจะทำให้สวดผิดและชวนให้หลับได้ง่าย เพราะการสวดมนต์ (หรือกิจกรรมอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับธรรมะ) มักจะมาพร้อมกับความง่วง (ของคนที่ยังมีกิเลส) อยู่แล้ว

ลองสังเกตดูก็ได้ บางคนยังไม่ทันได้สวด แค่จุดธูปเทียนก็หาวเสียแล้ว บางคนนอนไม่หลับ หยิบหนังสือธรรมะมาอ่านสักพักเดียว หนังสือก็วางแหมะลงบนอกแล้ว

การฟังเทศน์ก็เช่นกัน ถ้าหากพระเทศน์แต่ธรรมะล้วนๆ ผู้ฟังก็จะหลับเอาได้ง่ายๆ บางคนอาจจะโทษว่าพระเทศน์น่าเบื่อ แต่จะน่าเบื่อได้อย่างไร ในเมื่อพระยังไม่ทันจะเทศน์ แค่ขึ้นนะโมฯ ก็หลับเสียแล้ว

อันที่จริง การที่จิตสงบเป็นสมาธิมากๆ ก็อาจจะชวนให้ง่วงได้เหมือนกัน ดังที่ในหลักธรรมเรื่อง “พละ ๕” ได้บอกไว้ว่า “สมาธิ” กับ “ความเพียร” จะต้องปรับให้สมดุลกัน เพราะถ้าหากสมาธิมีมากและความเพียรมีน้อยก็จะทำให้เกิดความง่วง หรือถ้าหากสมาธิมีน้อยและความเพียรมีมากก็จะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน

ครั้งหนึ่งเคยมีคนมาปรึกษาผู้เขียนว่า เขาสวดมนต์เป็นชั่วโมง ตอนกลางคืนตี ๑ ตี ๒ ก็ตื่นขึ้นมานั่งสมาธิ แต่กลับรู้สึกอ่อนเพลีย เหมือนจะหมดแรง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์และนั่งสมาธิหรือไม่

ผู้เขียนจึงแนะนำให้เขาไปตรวจสุขภาพดูก่อน เพราะการสวดมนต์และนั่งสมาธิไม่เคยทำให้ใครอ่อนเพลีย (ถ้าหากปฏิบัติถูกต้อง) มีแต่จะ

Page 29: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

29พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ

ทำให้สดชื่นเบิกบาน อาจจะรู้สึกง่วงบ้างเป็นบางครั้ง ฉะนั้น ความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจะต้องมาจากสาเหตุอื่นแน่นอน

แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นได้ก็คือ คนคนนี้คงจะพักผ่อนน้อย เพราะใช้เวลาสวดมนต์มากเกินไป แล้วก็อดหลับอดนอนเพื่อนั่งสมาธิจนร่างกายอ่อนเพลีย คล้ายกับจะเอาดีทางด้านนี้ ผู้เขียนจึงบอกว่า ...

“คุณประพฤติธรรมแต่ไม่สมควรแก่ธรรมไม่ใช่ธัมมานุธัมมปฏิบัติ๑๓เพราะการประพฤติธรรมนั้นถ้าประพฤติเป็นก็ต้องมีความสุขเหมือนกับการแต่งตัวถ้าแต่งเป็นก็ต้องสวยต้องงาม

การประพฤติธรรมเหมือนการแต่งตัวการรักษาศีลเหมือนการอาบน้ำถ้าใครอาบน้ำแล้วยังสกปรกก็แสดงว่าอาบน้ำไม่เป็น

ในทำนองเดียวกันใครรักษาศีลแล้วเดือดร้อนก็แสดงว่ายังรักษาศีลไม่เป็นใครประพฤติธรรมแล้วเป็นทุกข์ก็แสดงว่ายังประพฤติธรรมไม่เป็นถ้าประพฤติธรรมถูกต้องแล้วย่อมพบความสุขความเจริญอย่างแน่นอน”

เพราะฉะนั้น การสวดมนต์และนั่งสมาธิจะต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะพอดี อย่างมากสักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว และไม่จำเป็นจะต้องเอาดีทางด้านนี้ก็ได้

เวลาผู้เขียนสวดมนต์กับพระเณรจะใช้เวลาสวดประมาณ ๔๕ นาที

๑๓ “ธัมมานุธัมมปฏิบัติ” คือ การประพฤติธรรมอย่างสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ

Page 30: สวดเป็นเห็นธรรม 2 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ ... · 2013-08-14 · 4 ส ว ด เ ป็ น เ ห็ น ธ ร ร ม การบรรยายเรื่องบทสวดมนต์เพื่อการเจริญภาวนานี้ดำเนินเรื่อย

177พ ร ะ ส า ส น โ ส ภ ณ