14
โครงสร้างทางสังคม บทบาทและนโยบายสาธารณะกับความเป็นพลเมือง Social structure, role and public policy with the citizenship นิภาพรรณ เจนสันติกุล 1 Nipapan Jensantikul Abstract Currently, Thailand society has a conflict of ideas and to split into factions. Furthermore, the representative democracy encounter the problem about a role in participate and the representative can not response the needs of its citizens. The people focus on direct democracy and greater political participation. This article aims to present the concept of citizenship and sociological theories to explain the status and role of the people that arise in the context of Thai politics. And to seek additional positive factors in the creation of a citizen to come up with concrete under the direction of the driving public policy and government forces. The conclusion of article reveal that the starting of citizenship are the awareness, cohesion, inclusion and empowerment. The importance factor is the people understand and practice following their right. Keywords: citizenship, social structure, role, public policy บทคัดย่อ ปัจจุบันสังคมไทยมีความขัดแย้งทางความคิดและการแตกแยกออกเป็นกลุ่ม นอกจากนีประชาธิปไตยแบบตัวแทนประสบปัญหาเรื่องบทบาทการเข้าไปมีส่วนร่วมและตัวแทนของ ประชาชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ประชาชนจึงให้ความสำคัญ กับประชาธิปไตยทางตรงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง และการนำแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยามา อธิบายถึงสถานภาพและบทบาทของประชาชนที่เกิดขึ้นในบริบททางการเมืองไทย เพื่อแสวงหา ปัจจัยหนุนเสริมความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ทิศทางการขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะ และกลไกรัฐ ซึ่งสรุปได้ว่า จุดเริ่มต้นของความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นจาก 1 อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Lecturer, Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University 49 ารสารศิลปศาสตร์ ปีท่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคม บทบาทและนโยบายสาธารณะกับความเป็นพลเมืองSocial structure, role and public policy with the citizenship

นิภาพรรณ เจนสันติกุล1

Nipapan Jensantikul

Abstract Currently, Thailand society has a conflict of ideas and to split into factions.Furthermore, the representative democracy encounter the problem about a rolein participate and the representative can not response the needs of its citizens.The people focus on direct democracy and greater political participation. Thisarticle aims to present the concept of citizenship and sociological theories toexplain the status and role of the people that arise in the context of Thaipolitics. And to seek additional positive factors in the creation of a citizen tocome up with concrete under the direction of the driving public policy andgovernment forces. The conclusion of article reveal that the starting of citizenshipare the awareness, cohesion, inclusion and empowerment. The importancefactor is the people understand and practice following their right.

Keywords: citizenship, social structure, role, public policy

บทคัดย่อ ปัจจุบันสังคมไทยมีความขัดแย้งทางความคิดและการแตกแยกออกเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ ประชาธิปไตยแบบตัวแทนประสบปัญหาเรื่องบทบาทการเข้าไปมีส่วนร่วมและตัวแทนของประชาชนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ประชาชนจึงให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยทางตรงและการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง และการนำแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยามาอธิบายถึงสถานภาพและบทบาทของประชาชนที่เกิดขึ้นในบริบททางการเมืองไทย เพื่อแสวงหาปัจจัยหนุนเสริมความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และกลไกรัฐ ซึ่งสรุปได้ว่า จุดเริ่มต้นของความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นจาก

1อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมLecturer, Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom RajabhatUniversity

49วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 2: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

การตระหนัก การร้อยเรียง การร่วมกัน และการเสริมพลังอำนาจ โดยมีปัจจัยสำคัญ คือการที่ประชาชนเข้าใจและปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่

คำสำคัญ: ความเป็นพลเมือง โครงสร้างทางสังคม บทบาท นโยบายสาธารณะ

บทนำ คำว่าประชาธิปไตย ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะนำไปใช้เป็นคำขยายให้กับระบอบการปกครองของตน ประชาธิปไตย แปลมาจากคำว่า democracy ในภาษาอังกฤษซึ่งมีฐานศัพท์จากภาษากรีกคือ “demokratia” อันเป็นคำที่เกิดจากการรวมกันของคำว่า“demos” ที่แปลว่าประชาชน (the people) กับคำว่า “kratia” ที่มีรากฐานจากคำกริยาคำว่า“kratien” หรือเมื่อเป็นคำนามจะเขียนว่า “kratos” ที่แปลว่าการปกครอง (to rule) เพราะฉะนั้นคำว่า “demokratia” จึงแปลว่าการปกครองโดยประชาชน (government by thepeople) (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2552, น. 121) ดังนั้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยประชาชนทำหน้าที่ปกครองตนเองโดยตรง (direct democracy) ซึ่งมีความเป็นอุดมคติ เพราะในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถกระทำได้ จึงเกิดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนขึ้น (indirect democracy or representative government)โดยประชาชนจะเลือกผู้แทนขึ้นทำหน้าที่แทนตนแล้วผู้แทนเหล่านี้จะมีหน้าที่ร่วมกันกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติตามนโยบาย (วัชรา ไชยสาร, 2545, น. 44-45) ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นประชาชนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับประชาธิปไตยเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ คือ ในช่วงขณะเวลาของการเลือกตั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพราะประชาชนเหล่านี้ยังไม่ตระหนักและไม่เข้าใจถึงสิทธิความเป็น “พลเมือง” ของตนในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเอง ส่งผลให้สังคมในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน และระบบการเมืองแบบรัฐสภา เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการกระทำที่เอื้อผลประโยชน์แก่พวกพ้อง จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่การเมืองแนวใหม่ ที่มีฐานคิดว่า ประการที่หนึ่ง อำนาจมาจากประชาชน ไม่ได้มาจากการช่วงชิงอำนาจรัฐของผู้แทน ประการที่สอง อำนาจของประชาชนจะกระจายออกไปในทุกองคาพยพของสังคมไม่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐหรือพรรคการเมือง ประการที่สาม ไม่กำหนดเขตแดนที่ชัดเจนระหว่างรัฐกับประชาชนหรือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

ดังนั้นรัฐบาลและพรรคการเมืองจึงไม่ใช่สถาบันหลักในการตัดสินใจอีกต่อไป เมื่อเป็นดังนี้ ความหมายของ “การเมือง” จึงไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์หรือการจัดสรรคุณค่าหรืออำนาจในแง่ของการแย่งชิงและการแข่งขันอีกต่อไป หากแต่ให้ความสนใจในประเด็นที่เกี่ยวพัน

50 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 3: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

กับประชาชนในฐานะที่เป็นตัวแสดงหลักแทน เช่น เพศ ภาษา วัฒนธรรม สิทธิ โอกาส ฯลฯ(จุมพล หนิมพานิช, 2548, น. 296-297) และเป็นที่มาของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมด้วยเหตุผลที่เกิดขึ้นจากความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีผลทำให้นักวิชาการคนสำคัญ อาทิ ลิขิต ธีรเวคิน, อเนก เหล่าธรรมทัศน์, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ได้นำเสนอแนวคิดการเมืองแบบมีส่วนร่วม ที่ยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยมีส่วนร่วมทางการเมือง 4 ลักษณะ คือ 1. การเรียกคืนอำนาจโดยการถอดถอนหรือปลดออกจากตำแหน่ง (recall) เป็นการควบคุมการใช้อำนาจของผู้แทนในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนประชาชน หากปรากฏว่าผู้แทนใช้อำนาจโดยมิชอบ ทุจริต หรือประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยสามารถเรียกร้องอำนาจที่ให้ไปนั้นกลับคืนมา โดยการถอดถอนหรือปลดออกจากตำแหน่งได้ 2. การริเริ่มเสนอแนะ (initiative) เป็นการทดแทนการทำหน้าที่ของผู้แทนของประชาชนหรือการส่งเสริมการทำหน้าที่ของผู้แทนของประชาชน โดยประชาชนสามารถเสนอแนะนโยบายร่างกฎหมาย รวมทั้งมาตรการใหม่เองได้ หากตัวแทนประชาชนไม่เสนอหรือเสนอแล้วแต่ไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน 3. การประชาพิจารณ์ (public hearing) เป็นการแสดงออกของประชาชนในการเฝ้าดูตรวจสอบ และควบคุมการทำงานของตัวแทนของประชาชน ในกรณีที่ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบายหรือมาตรการใดๆ ก็ตามอันมีผลต่อสิทธิความเป็นอยู่หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย สามารถที่จะเรียกร้องให้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงและผลดีผลเสีย ก่อนการออกและบังคับใช้กฎหมายนโยบายหรือมาตรการนั้นๆ ได้ 4. การแสดงประชามติ (referendum หรือ plebiscite) ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญหรือการออกกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก เช่น การขึ้นภาษี การสร้างเขื่อน หรือโรงไฟฟ้า ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจสามารถเรียกร้องให้รัฐรับฟังมติของประชาชนเสียก่อนที่จะตรากฎหมาย หรือดำเนินการสำคัญๆโดยการจัดให้มีการลงประชามติเพื่อถามความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่อันเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้าย (วันพิชิต ศรีสุข, 2552, น. 7-9) โดยประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงใน“จิตสำนึก” หรือ “จิตไร้สำนึก” ที่เริ่มจากการมองตนเอง และการปฏิบัติกับตนเองในฐานะผู้บริโภค มาเป็นการมองตนเองและปฏิบัติต่อตนเองในฐานะผู้นำ (จุมพล หนิมพานิช, 2548,น. 301) และต้องการความรู้สึกร่วมกัน และการเปลี่ยนบทบาทจากประชาชนสู่ความเป็นพลเมือง ความเป็นพลเมือง เป็นคุณค่าและแนวคิดที่สร้างขึ้นที่มีลักษณะต่างๆ เช่น สถานะและบทบาทที่นิยามถึงอำนาจและหน้าที่ของสมาชิกปัจเจกบุคคลของชุมชน (Cooper, 1984อ้างถึงใน Kalu, 2003, p. 418) โดยสถานะทางการเมือง และบทบาทจะรับประกันคุณสมบัติ

51วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 4: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ความเป็นพลเมือง ปัจจุบันพบว่า การขับเคลื่อนของภาคประชาชน (social movement) มีเพิ่มมากขึ้นทั้งด้วยกฎหมาย นโยบายของรัฐและความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของนโยบายสาธารณะทำให้การขับเคลื่อนของประชาชนในทางการเมืองมีอย่างหลากหลาย อาทิ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เป็นต้น นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 57 ได้บัญญัติไว้ว่า “ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง และให้มีกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ในการเมืองภาคพลเมืองประชาชนมีสิทธิในการรวมตัวกันในรูปต่างๆเพื่อเสนอแนะ สนับสนุน เรียกร้อง คัดค้าน หรือประท้วง การตัดสินใจทางนโยบายหรือโครงการพัฒนา รวมทั้งตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมไทย” ซึ่งแตกต่างจากสมัยที่บ้านเมืองขาดสิทธิเสรีภาพและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏการณ์14 ตุลาคม 2516 ที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมความกดดันทางการเมืองการปกครองที่อยู่ภายใต้ระบบเผดจ็การ ขบวนการนสิตินกัศกึษากอ่ตวัขึน้อยา่งชา้ๆ นกัเรยีน นสิติ นกัศกึษา เริม่ตระหนกัในบทบาทและศักยภาพของ “คนหนุ่มสาว” เกิดจิตสำนึกในความเป็น “คนรุ่นใหม่” และก็เริ่มตั้งคำถามต่อความ “เป็นปัญญาชน” ของตนดังที่ วิทยากร เชียงกูล นักศึกษาคนหนึ่งในสมัยนั้นปรารภว่า “ฉันเยาว์ฉันเขลาฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว”

สิทธิและภาระหน้าที่โดยสถาบันและกฎหมาย (Flathman, 1981; Walzer, 1970 อ้างถึงในKalu, 2003, p. 418) ดังนั้น ความเป็นพลเมือง จึงเป็นการที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงในกิจกรรมสาธารณะเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นพลเมืองที่มีการติดต่อระหว่างปัจเจกบุคคลและรัฐบาล (Frederickson, 1997 อ้างถึงใน Kalu, 2003, p. 419) แม้ว่าความเป็นพลเมืองดังกล่าวจะยังมีปัญหาและอุปสรรคในด้านการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ประชาชนไปสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอยู่บ้างในมิติของโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมทางสังคมและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อระดับความเป็นพลเมือง ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมทางสังคมยังขาดความเหนียวแน่นและการยึดโยงร่วมกันดังนั้นสิ่งสำคัญคือการทำให้ประชาชนมีการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองเข้าสู่ความเป็นพลเมือง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง และการนำแนวคิดทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยามาอธิบายถึงสถานภาพและบทบาทของประชาชนที่เกิดขึ้นในบริบททางการเมืองไทย เพื่อแสวงหาปัจจัยหนุนเสริมในการสร้างความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้ทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและกลไกรัฐ

52 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 5: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

นักเรียนนิสิตนักศึกษาในทศวรรษ 2510 กลายเป็น “เยาวชน-คนหนุ่มสาว-รุ่นใหม่”ที่มาพร้อมการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจไทย (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2546, น. 14)ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในสมัยก่อนการได้มาซึ่งสิทธิและหน้าที่มาจากการเรียกร้องและการกดดันจากระบบการเมือง ในขณะที่ประเทศไทยในปัจจุบันได้ก้าวมาสู่การเปิดเผยทางสาธารณะและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมากขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาในสังคมไทย คือ นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชนมีความแตกแยกและความขัดแย้ง เพราะการไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างและการไม่ตั้งอยู่บนการให้ข้อมูลที่เป็นจริง ภาพของการเมืองเปรียบได้กับภาพมายาที่ไม่ได้ต่อสู้กันด้วยข้อมูลจริง และทำให้ประชาชนหลงติดกับดักของความจริง และมีการอำพรางความจริงด้วยอำนาจแบบใหม่หรืออำนาจของวินัยในสังคมสมัยใหม่นั้น ซึ่งในความเห็นของFoucault นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า การสร้างวาทกรรมหรือการสร้างระเบียบกฎหมายว่าด้วยสิทธิสาธารณะ (public rights) ขึ้นมา (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2549, น. 276) ดังนั้นตามแนวคิดของ Foucault เป็นความเชื่อในเรื่องของอำนาจ (the power game) หลายคนกล่าวถึงการเมือง ว่าการเมือง คือ อำนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ และเมื่อมีอำนาจนานๆจะหลงไปกบัการใชอ้ำนาจอยา่งไรข้อบเขตและกลายเปน็คนไรซ้ึง่อารยธรรม รวมถงึวธิกีารตอ่สู้ทางการเมืองด้วยการใช้วาจา และการถกเถียงกันโดยไม่ได้คำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ดังนั้นประชาชนในฐานะผู้เป็นพลเมืองจะต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบและช่วยกันนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงต่อสังคม ซึ่งจุดเริ่มต้นของการเป็นพลเมือง คือ 1. การตระหนัก (awareness) ในเรื่องของการเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด เช่น การให้การศึกษา การกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานทางสังคมผ่านกระบวนการปฏิสังสรรค์ทางสังคม(Social Practice) ด้วยการเริ่มต้นตั้งแต่เด็กในการฝึกระเบียบวินัย ปลูกฝังอุดมการณ์ความเป็นประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกระดับได้เรียนรู้และตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของตนเอง 2. การร้อยเรียง (cohesion) เป็นการร้อยเรียงเรื่องของการตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของความเป็นพลเมือง เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทของพลเมืองในรูปแบบต่างๆตามระบบ 3. การร่วมกัน (inclusion) เป็นการสร้างความเชื่อร่วมกัน ในเรื่องของสิทธิ หน้าที่ของประชาชน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและพลังการขับเคลื่อนร่วมกันบนความแตกต่างของปัจเจกบุคคลที่มีสิทธิและเสรีภาพในลักษณะกลุ่มร่วมกัน (collective group) 4. การเสริมพลังอำนาจ (empowerment) ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองที่ไม่ใช่แค่การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ต้องครอบคลุมถึงสิทธิในการออกเสียงประชามติ สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิในการจัดตั้งพรรคการเมือง สิทธิที่จะยื่นถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งและสิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นต้น

53วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 6: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

Empowerment Inclusion

Awareness Cohesion

Citizen

ภาพประกอบ 1 จุดเริ่มต้นของการสร้างความเป็นพลเมืองที่มา: นิภาพรรณ เจนสันติกุล, 2555.

จะเห็นได้ว่าข้อมูลข้างต้นสอดคล้องกับแนวคิดของ Arendt ที่กล่าวว่า ความเป็นพลเมือง คือ วิถีทางที่ประชาชนสัมพันธ์กับอำนาจ กฎหมาย รัฐบาล และรวมทั้งการร่วมมือซึ่งกันและกันในหมู่พลเมืองด้วยกันเองในชีวิตประจำวัน สำหรับ Arendt แล้ว ชีวิตสาธารณะจึงมีสารัตถะอยู่ที่ความเป็นพลเมือง ซึ่งถ้าถือว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของรูปแบบทางการปกครอง (form of government) (ศศิประภา จันทะวงศ์, 2552, น. 31) การเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์จำต้องรู้วิธีการเป็นผู้ปกครอง (ruler) และเป็นผู้ถูกปกครอง (ruled) นั่นหมายความว่าไม่มีผู้ใดยึดครองตำแหน่งหนึ่งตลอดชีวิต แต่จะต้องมีการผลัดเปลี่ยนกัน เนื่องจากทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ทุกคนตัดสินใจร่วมกัน (Heater, 1990, p. 2) เพราะการที่ประชาชนตระหนักในเรื่องของสิทธิ หน้าที่ และการทำให้เกิดความเป็นพลเมืองอย่างแท้จริงแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการขจัดการคอรัปชั่น และทำให้การเมืองมีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพอันเป็นการแสดงความเป็นพลเมืองผ่านกฎหมายในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้รัฐบาลได้เห็นถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

ซึ่งองค์ประกอบทั้งสี่ส่วนในภาพประกอบที่ 1 นี้จะต้องมีการปฏิสังสรรค์ มีการสื่อสารที่เป็นเครื่องมือของการเมืองภาคพลเมืองในการทำความเข้าใจถึงบทบาทและสถานะของการเป็นพลเมืองในรัฐอย่างแท้จริง ซึ่งงานวิจัยของไพโรจน์ พลเพชร (2547, น. 371-372)ได้ศึกษาเรื่องสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พบว่า ประชาชนโดยส่วนมากขาดโอกาสการเรียนรู้หลักการสิทธิเสรีภาพ การไม่ตระหนักและมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของสิทธิเสรีภาพ และการไม่สามารถรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งพอ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างโอกาสการเรียนรู้การได้รับข้อมูลข่าวสาร การปลูกฝังจิตสำนึกในการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชน

54 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 7: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ระบบสังคมกับการสะท้อนบทบาทของการเป็นพลเมือง แม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการเลิกทาส หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475แต่ว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมองตนเองเป็นผู้น้อยคอยรับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่อยู่เสมอ (อเนกเหล่าธรรมทัศน์, 2551, น. 11) ตลอดจนการรวมตัวของคนไทยที่เป็นไปตามแนวดิ่งมากกว่าแนวราบ แนวดิ่งที่เป็นแบบชนชั้นที่ยังเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองในระดับน้อยดังนั้นหากจะให้ประชาชนมีความตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองอย่างแท้จริงโดยเริ่มจากการให้ความหมายของสิทธิและหน้าที่ต่อสังคมอย่างชัดเจน โดยคนิณ บุญสุวรรณได้นิยามความหมายของสิทธิ ว่าหมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่บุคคลสามารถที่จะมีหรือกระทำอะไรก็ได้ที่มีกฎหมายรองรับ แต่คำว่าจะทำอะไรก็ได้ในที่นี้ มิได้หมายความว่าทำอะไรได้ตามใจเพราะหากทำอะไรลงไปแล้ว เกิดไปกระทบสิทธิของคนอื่นหรือทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อนเสียหายหรือสูญเสียบางอย่าง การกระทำดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ต้องห้าม เช่น สิทธิในการมีทรัพย์สินส่วนตัว สิทธิในที่ดิน สิทธิในการป้องกันตนเอง หรือสิทธิในการใช้รถ ใช้ถนน สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เป็นต้น (อเนก เหล่าธรรมทัศน์, 2551, น. 40) จากความหมายจะเห็นได้ว่าสิทธิของบุคคลแต่ละคน ที่จะกระทำอะไรก็ตามสามารถกระทำได้ตามสิทธิที่กฎหมายรองรับและการกระทำนั้นต้องไม่ไปกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น เช่น ขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาล สามารถชุมนุมได้ตามสิทธิแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจไว้แต่การชุมนุมดังกล่าวต้องไม่ไปปิดกั้นสิทธิของผู้อื่น นั่นคือ สิทธิในการสัญจร สิทธิในการใช้พื้นที่ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะสอดคล้องกับสิ่งที่เรียกว่า พื้นที่สาธารณะ (publicspace) ที่ทุกคนสามารถใช้พื้นที่สาธารณะ และสินค้าสาธารณะที่รัฐบาลจัดให้อย่างถูกต้องตามสิทธิที่ควรได้รับ ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและการแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาล การแสดงความคิดเห็นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ ในประเด็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือประมาณ 63% ยอมรับว่าการประท้วงเป็นวิธีการที่ดีที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ประชาชนเห็นด้วยกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยเห็นว่าการอภิปรายในสภาทำให้การพิจารณาอนุมัติกฎหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบรัดกุม ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นได้โดยการชมุนมุหรอืประทว้ง (ถวลิวด ี บรุกีลุ, 2547, น. 151) หรอืในกรณทีีช่าวบา้นเครอืขา่ยกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ ที่เคลื่อนไหวและสร้างอำนาจต่อรองเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพเชิงอำนาจกับรัฐ พร้อมกับรื้อฟื้นระบบวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นชาวบ้านผู้อนุรักษ์เพือ่สรา้งความชอบธรรมในการใชแ้ละเขา้ถงึทรพัยากร (วเิชดิ ทวกีลุ, 2548, น. 280) อนัเปน็กระบวนการท่ีสะท้อนให้เห็นถึงการเคล่ือนไหวของประชาชนซ่ึงเป็นส่ิงสำคัญสำหรับการปกครองแบบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่มองถึงประชาชนแตกต่างกันออกไป อาทิ ประการที่หนึ่ง ประชาชนในฐานะเอกพจน์ ได้แก่ การมองประชาชนในฐานะองค์รวมที่เป็นหนึ่งเดียวและแบ่งแยกไม่ได้ (single/oneness) โดยผูกติดกันด้วยการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ประการ

55วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 8: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ที่สอง ประชาชนในฐานะพหูพจน์ ได้แก่ การมองประชาชนที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกันมีความต้องการที่แตกต่างและมีความขัดกันในผลประโยชน์ภายในชุมชนที่คนเหล่านี้อยู่รวมกันดังนั้นในทางปฏิบัติประชาชนจึงมักกลายเป็น “เสียงส่วนใหญ่” ที่เห็นพ้องกันในบางเรื่องบางประเด็น ประการที่สามประชาชนในฐานะผลรวมของปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมองประชาชนในฐานะที่เป็นผลรวมของปัจเจกชนที่มีเสรีและเท่าเทียมกัน ที่แต่ละคนมีสิทธิในการตัดสินใจไดอ้ยา่งอสิระดว้ยตนเอง (วสนัต ์ เหลอืงประภสัร,์ ม.ป.ป., น. 5-6) ดงันัน้ การมองประชาชนที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อความเข้าใจของประชาชนในการใช้สิทธิทางการเมืองที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะปกครองประชาธิปไตยในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือการให้ประชาชนในฐานะพลเมืองเข้าใจถึงโครงสร้างหน้าที่ เพื่อนำไปสู่กลไกตามการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยผู้เขียนได้เลือกทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของ Parsons มาประกอบการอธิบาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงระบบและความสัมพันธ์ของหน้าที่ในการขับเคลื่อนสู่ความเป็นพลเมือง เนื่องจากทฤษฎีดังกล่าวมีการมองภาพรวมในระดับมหภาคและสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำทางสังคม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสมดุลของการเมืองภาคพลเมืองให้เกิดขึ้นในสังคมไทย Parsons สร้างทฤษฎีของเขาด้วยการบูรณาการทฤษฎีปัจเจกนิยมของ Weber และคติองค์รวมของ Emile Durkheim เข้าด้วยกัน แนวความคิดของ Parsons มีจุดเริ่มต้นที่ทฤษฎีแห่งการกระทำทางสังคม (Theory of social action) สาระสำคัญของทฤษฎีนี้อยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้กระทำกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมที่อยู่โดยรอบของตัวผู้กระทำนั้น สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดคือคนอื่นๆ ในสังคม ตัวผู้กระทำและคนอื่นๆ จะต้องมีการ“ปฏิสังสรรค์” กัน กล่าวคือ ผู้กระทำจะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาของคนอื่นๆ ด้วยในการปฏิสังสรรค์นี้ บรรทัดฐาน และค่านิยม มีความสำคัญในการกำหนดทิศทาง และทำให้คาดเดาพฤติกรรมของคนอื่นๆ ได้ การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการที่ปัจเจกบุคคลได้ซึมซับและเรียนรู้บรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม Parsons เห็นว่าบุคลิกภาพกับระบบสังคมเป็นสองสิ่งที่เอื้อซึ่งกันและกัน แม้ว่าในที่สุดแล้ว ระบบสังคมจะเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของคนก็ตาม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2549, น. 181) ระบบสังคมมีหน้าที่ 4 ประการ ประกอบด้วย การปรับตัว การบรรลุเป้าหมาย บูรณาการและการรักษาแบบแผน และจากหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ Parsons เสนอว่า “สังคมต้องมีระบบปฏิบัติการสี่ระบบเกี่ยวข้องกัน” (สุภางค์ จันทวานิช, 2551, น. 167) ได้แก่ ระบบร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ระบบบุคลิกภาพ ระบบสังคม และระบบวัฒนธรรมซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่ควบคู่กันไปกับหน้าที่พื้นฐานสี่ประการ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการระบบแรก เรียกว่า ระบบที่เป็นร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ(physical) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่พื้นฐานเรื่องการปรับตัว เพื่อรองรับหน้าที่พื้นฐานเรื่องการปรับตัว สังคมจะมีระบบปฏิบัติการย่อยที่เป็นระบบว่าด้วยร่างกายและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

56 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 9: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ระบบปฏิบัติการที่สอง คือ ระบบบุคลิกภาพ เป็นระบบที่ควบคู่กับหน้าที่พื้นฐานในการบรรลุเป้าหมาย (goal attainment) ระบบปฏิบัติการก็จะต้องเน้นเรื่องบุคลิกภาพ คนที่เป็นสมาชิกของสังคมจะต้องถูกหล่อหลอมขัดเกลาให้มีบุคลิกภาพที่คิดไปในทำนองเดียวกันมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน คนก็จะต้องเชื่อถือในอุดมการณ์แบบเดียวกันจึงจะทำให้เกิด Goalattainment ได้ ระบบปฏิบัติการที่สาม เรียกว่า ระบบสังคม เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกันกับหน้าที่พื้นฐานในด้านการบูรณาการ สิ่งที่เข้ามาบูรณาการ คือ ตัวสังคม ระบบสังคมจะเป็นระบบที่หลอมเอาองค์ประกอบต่างๆ ของระบบย่อยเข้าด้วยกัน พื้นฐานในเรื่องบูรณาการจึงเกี่ยวข้องกับหน้าที่ ระบบปฏิบัติการที่สี่ คือ ระบบวัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับหน้าที่พื้นฐานในการธำรงแบบแผนของสังคม การที่เราจะธำรงแบบแผนเอาไว้ได้ การที่เราจะฟื้นฟูจิตใจและแรงจูงใจของคนเอาไว้ได้ก็ต้องมีสิ่งเชื่อมโยง สิ่งนั้นคือระบบวัฒนธรรม การธำรงรักษาแบบแผนของสังคมจะต้องใช้วัฒนธรรมเป็นระบบปฏิบัติการ (สุภางค์ จันทวานิช, 2551, น. 167-169) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า แนวคิดของ Parsons สามารถนำมาอธิบายถึงความเป็นพลเมืองได้ว่า การสร้างพลเมืองให้เกิดการตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ต้องเริ่มต้นจากการปฏิสังสรรค์ การสร้างบรรทัดฐาน ค่านิยม และการหล่อหลอมทางสังคมเรื่องสำนึกความเป็นพลเมืองให้เข้าใจร่วมกัน ซึ่งทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับหน้าที่ นั่นหมายความว่า สังคมไทยต้องตื่นจากการยึดติดสังคมแบบอุปถัมภ์มาเป็นสังคมแบบหน้าที่ แต่การทำงานแบบหน้าที่ในรูปแบบเหนียวแน่น (mechanical solidarity) กล่าวคือ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นสมาชิกในสังคมจะกระทำหน้าที่ต่างๆ โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องถามว่าตัวเองเป็นใคร (สุภางค์ จันทวานิช, 2551,น. 40) ที่ไม่ใช่แบ่งแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจนจนเกินไปด้วยการมอบหมายให้แต่ละหน่วยมีภาระหน้าที่ เพราะหากเป็นเช่นนั้น สังคมก็จะถูกแบ่งแยกและทำงานเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เพื่อให้กลไกดังกล่าวทำหน้าที่ในการปรับตัวและต้องการบรรลุยังสังคมของความเป็นพลเมือง ความเข้าใจเบื้องต้นคือการทำให้ระบบย่อยแรก เห็นว่าพื้นฐานสังคมอยู่ที่วัตถุอยู่ที่การผลิต ระบบนี้เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่ระบบการเมืองจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการจัดสรรประโยชน์และต้องทำหน้าที่ให้ประชาชนรู้สึกผูกพันว่าจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ในวัฒนธรรมแบบพลเมือง พลเมืองคือสถานะที่แตกต่างจากผู้อยู่ใต้ปกครอง ในแง่ของการตื่นตัวในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545, น. 323) และระบบสังคมที่ทำหน้าที่ในการบูรณาการหน้าที่ ระบบการเมืองเข้าด้วยกันและมีการบริหารจัดการแบบระบบของความไว้วางใจ โดยมีระบบวัฒนธรรมเป็นตัวผสาน รักษาแบบแผน ซึ่งนำไปสู่การอธิบายหน้าที่ของพลเมืองและโครงสร้างหน้าที่ของสังคมที่ต้องมีการปฏิสังสรรค์และพยายามสร้างสังคมของความเป็นพลเมืองในระดับมหภาคด้วยการมองว่าทุกส่วนของระบบต้องไปด้วยกัน

57วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 10: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ นอกจากนี้สังคมยังแสดงให้เห็นถึงสถานภาพและบทบาท ตลอดจนการเรียนการรู้วัฒนธรรมแบบพลเมืองจากการกระทำระหว่างกันทางสังคม การใช้ภาษาความรัก องค์กรทางสังคมที่ประกอบไปด้วยกลุ่มทางสังคม ครอบครัว ชุมชน ชนชั้น และสถาบันทางสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้นในกระบวนการจัดระเบียบ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2550,น. 37) การกระทำจะเกิดขึ้นจากบรรทัดฐาน ค่านิยม และแนวคิดอื่นๆ ที่ส่งผลไปยังผู้กระทำและเป้าหมาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ การกระทำทางสังคมครั้งหนึ่งจะประกอบด้วยหน่วยการกระทำหลายหน่วย แต่ละหน่วยการกระทำอาจมีคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2550, น. 37) และเมื่อบรรทัดฐาน ค่านิยม และแนวคิดอื่นๆเข้าแทรกซึมทั่วทั้งภาคประชาชนจนนำไปสู่การแสดงออกความเป็นพลเมืองแบบไม่รู้ตัวนั่นหมายความว่า ความเป็นพลเมืองได้เกิดขึ้นในทุกองคาพยพของสังคมไทย เพราะจะเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ Mill (1861, น. 379-380 อ้างถึงใน ธเนศวร์เจริญเมือง, 2548, น. 2) ที่ว่า

“เป้าหมายสำคัญของการศึกษาทางสังคมและการเมืองสำหรับพลเมืองนั้น คือปล่อยให้คนท้องถิ่นดำเนินการบริหารจัดการด้วยตัวเขาเอง ไม่ว่าเขาจะดำเนินการไม่สมบูรณ์เพียงใดก็ตาม....ต้องให้เขาได้เรียนรู้ ลงมือทำเอง...ให้พวกเขาได้รู้ และหาทางแก้ไขกันเอง..ครูใหญ่เป็นอย่างไร โรงเรียนก็เป็นอย่างนั้น ครูที่ทำทุกอย่างให้นักเรียน นักเรียนก็ได้เรียนรู้น้อยมาก..รัฐบาลก็เหมือนกันหากทำเองทุกอย่าง แทนที่ให้หน่วยอื่นๆ ได้ทำบ้าง ที่สุดท้องถิ่นก็ไม่เคยเรียนรู้อะไรเลย...”

นโยบายและการสนับสนุนการขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองด้วยรัฐ การปรับโครงสร้างทางสังคมสะท้อนให้เห็นบทบาทของการเป็นพลเมืองของประชาชนในการรู้จักถึงสิทธิและหน้าที่ของความเป็นพลเมืองที่แตกต่างจากการเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองเท่านั้นด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างบรรทัดฐานค่านิยมและแนวคิดอื่นๆ ต่อประชาชนการสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้าใจ และตระหนักถึงความเป็นพลเมืองจึงไม่ใช่หน้าที่อื่นใดขององค์การใดองค์การหนึ่งแต่เป็นรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคมให้เกิดการพัฒนาสู่ความเป็นพลเมือง ดังยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. 2553-2561ที่มีเป้าหมายเพื่อทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยประสบความสำเร็จ โดยการสร้าง“พลเมือง” ที่มีความสามารถในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสมาชิกในสังคมที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยมีความรับผิดชอบต่อตนเองต่อผู้อื่น และต่อสังคม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น “สังคมพลเมือง” (civil society) (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554,น. 13)

58 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 11: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

หลักการสร้างความเป็นพลเมือง พบว่า หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบดูแลการจัดการศึกษาของชาติในทุกระดับ ทั้งในระบบการศึกษา และนอกระบบการศึกษา ต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางโดยเชื่อมประสานและอำนวยการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาชนเข้ามาทำงานร่วมกันภายใต้ยุทธวิธีที่หลากหลาย แต่มียุทธศาสตร์เดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสถานศึกษา ถือเป็นหน่วยงานหลักในการจัด“การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง” เพื่อสร้างเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ของประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลด้วยการฝึกฝนกติกาแบบง่ายๆ ที่ปฏิบัติอยู่แล้วในห้องเรียนอนุบาล ชั้นประถมศึกษา ต่อยอดด้วยเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม การเคารพกติกาและเคารพความแตกต่าง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ฝึกฝนให้เป็นพลเมืองของโรงเรียนด้วยการให้ทำโครงงาน ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ทำโครงงานแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ฝึกฝนการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย รูปแบบการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ เน้นการเรียนรู้แบบกลุ่มแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยอาศัยฐานการเรียนรู้บนสถานการณ์จริง บริบทจริงในชุมชนและในย่านที่อยู่อาศัยของนักเรียนในท้องถิ่น ในระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมให้มีวิชาพลเมืองในหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไปซึ่งนักศึกษาทุกคนต้องเรียน และเพื่อให้เข้าใจถึงระบอบประชาธิปไตยโดยการลงมือปฏิบัติ เช่น การเลือกตั้งและการปกครองตนเองของนิสิตนักศึกษาทั้งในรูปสภานักเรียน/องค์กรนิสิตนักศึกษารวมถึงการเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เป็นการเรียนเพื่อนำไปบริการสังคม (service learning) โดยการทำวิชาจริยธรรมวิชาชีพ หรือวิชาจริยธรรมของแต่ละคณะให้เป็นการเรียนเพื่อนำไปบริการสังคม โดยการใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ “หนึ่งจังหวัด-หนึ่งมหาวิทยาลัย” เพื่อให้เกิดจริยธรรมในการประกอบอาชีพความรับผิดชอบต่อสังคม และการเป็นพลเมืองด้วยการลงมือปฏิบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554, น. 17-21) นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้กับผู้ใหญ่ ครอบครัว ชุมชน ด้วยการที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องสร้างหลักสูตร “การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองสำหรับผู้ใหญ่” รวมถึงการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรเอกชน ร่วมกันจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม “พลเมืองและประชาธิปไตยในชุมชน”ในด้านสื่อมวลชน จัดให้มีรายการโทรทัศน์สำหรับครูในการเรียนรู้ทักษะและเทคนิควิธีการเรียนการสอนเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาการศึกษาความเป็น “พลเมือง”มีความเป็นรูปธรรม ที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างประกอบกับการมีหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมประสานงานเครือข่ายอย่างเป็นระบบ เกิดการระดมทรัพยากรทั้งบุคคล และงบประมาณจากทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้เห็นผลอย่างจริงจัง ตลอดจนกำหนดแนวทางการดำเนินงานของแต่ละองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการที่ชัดเจนและจัดทำแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการประสานงาน/บูรณาการระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ควรกำหนดความเป็นพลเมืองเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของการประเมินคุณภาพสถานศึกษา

59วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 12: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

จากยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานข้างต้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้กำหนดให้การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนสังคมต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง เพื่อให้บรรลุถึงคุณสมบัติของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 6 ประการ ได้แก่ 1) มีอิสรภาพ (liberty) และพึ่งตนเองได้ (independent)ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของระบบอุปถัมภ์ 2) เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น (ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมใช้....สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น” 3) เคารพความแตกต่าง มีทักษะในการฟัง และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง 4) เคารพหลักความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นและเห็นคนเท่าเทียมกัน มองคนเป็นแนวระนาบไม่ใช่แนวดิ่ง 5) เคารพกติกา เคารพกฎหมาย ใช้กติกาในการแก้ปัญหาไม่ใช้กำลัง และยอมรับผลของการละเมิดกฎหมาย 6) รับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมกระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบ และร่วมแก้ไขปัญหาสังคมโดยเริ่มต้นที่ตนเอง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2554, น. 14-15)

บทสรุปการเมืองภาคพลเมือง เป็นการเมืองที่ตั้งอยู่บนฐานของการตระหนักรู้ถึงสิทธิและ

หน้าที่ของความเป็นพลเมือง ที่แตกต่างจากฐานะของผู้แทนของประชาชนในการเข้าไปบริหารประเทศ ที่ไม่ใช่แค่การตระหนักรู้ถึงสิทธิและหน้าที่เท่านั้นแต่ต้องกำหนดนโยบายสาธารณะและบริหารประเทศไปด้วยหลักคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง และปรับโครงสร้างทางสังคมเป็นแนวราบ หมายถึง สังคมที่มีความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาค มีภราดรภาพมีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในรูปต่างๆ และในเรื่องต่างๆ เต็มสังคม เป็น “สังคมเข้มแข็ง”(ประเวศ วะสี, 2551, น. 5) ที่มีพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบและเข้ามามีบทบาทต่อการแสดงความคิดเห็น ต่อการดำเนินนโยบายสาธารณะ นอกจากการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนการขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองด้วยรัฐผ่านระบบการศึกษาแล้ว ยังต้องสนับสนุนให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนมากกว่าการบิดเบือนข้อมูล สมดุลระหว่างความเป็นพลเมืองและการเมืองภาคตัวแทน คือ การเปิดพื้นที่สาธารณะอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นเวทีสาธารณะของประชาชนในการนำความจริงของสังคมมาพูดคุยกัน และสร้างการรับรู้ให้เป็นมาตรฐาน ลดการตีความทางสังคม และนำไปสู่วาทกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เรียกว่า “สองมาตรฐาน” และที่สำคัญคือการทำให้โครงสร้างทางสังคมและการกระทำทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ ที่มีบรรทัดฐาน ค่านิยม และแนวคิดอื่นๆ ทางสังคมสนับสนุนและส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นภาพของการเมืองภาคพลเมือง คือ การให้ความสนใจกับบริบทที่กว้างไกลกว่าพรมแดนรัฐประชาชาติและอำนาจอธิปไตย เป็นการเมืองที่มีโลกทัศน์ในระดับโลกแต่เคลื่อนไหวในระดับท้องถิ่น การเคลื่อนไหวของประชาชนจึงไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มของตนเอง

60 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 13: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

แต่เคลื่อนไหวในประเด็นที่หลากหลายรวมถึงยุทธวิธีไม่ใช่แค่การประนีประนอมต่อรอง หรือการประสานประโยชน์ แต่เป็นการใช้วิธีการปะทะ เผชิญหน้า หรือแตกหัก ดังจะเห็นได้จากภาษาที่ใช้ เช่น หยุดการตัดไม้ทำลายป่า, หยุดการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่, เลิกเอารัดเอาเปรียบสตรี, เลิกสร้างอาวุธนิวเคลียร์ เป็นต้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2549, น. 124)ความน่าวิตกคือ ความไม่เข้าใจธรรมชาติของการเคลื่อนไหวทางสังคมของรัฐ ดังจะเห็นได้จากความพยายามของรัฐในการที่จะ “เจราจาต่อรอง” หากเห็นว่าการเจรจาดังกล่าวไม่เป็นผลก็จะใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงเพื่อสลายการเคลื่อนไหว ภายใต้ข้ออ้างของการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ด้วยการทอนขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนลงเป็นเพียง “ผู้ประท้วง” “ผู้ก่อความไม่สงบ” หรือ “ม๊อบ” ดังกรณีของเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทยเมื่อวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2535 เป็นต้น รูปแบบการต่อสู้เคลื่อนไหวที่หลากหลายสะท้อนให้เห็นถึง แนวทางการเรียกร้องถึงสิทธิความเป็นพลเมือง(citizenship) สถานภาพของความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก(individuals) กับประชาคมทางการเมือง (the political community) ซึ่งความเป็นพลเมืองจะปะทะสังสรรค์กันระหว่างปัจเจกบุคคลกับประชาสังคม (Faulks, 2000, p. 107) ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้การเมืองภาคตัวแทนและการเมืองภาคพลเมืองเดินสวนทางกันดังนั้นเพื่อให้ความเป็นพลเมืองและความเป็นตัวแทนด้วยกันอย่างสมดุล คงเป็นหน้าที่ทั้งของภาคพลเมืองและตัวแทนของประชาชนกลับมาทบทวนหน้าที่ที่แท้จริง และการเข้าใจสถานะและบทบาทของตนให้เหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ภายใต้กติกาและกฎมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว และการนำข้อคิดเห็นต่างๆ ของประชาชนไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ และอยู่บนพื้นฐานของการใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น

เอกสารอ้างอิงจุมพล หนิมพานิช. (2548). พัฒนาการทางการเมืองไทย อำมาตยาธิปไตย ธนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2552). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2546). บันทึกประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลา ๒๕๑๖. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษา รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

61วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556

Page 14: โครงสร้างทางสังคม บทบาทและ ...fs.libarts.psu.ac.th/research/journal/journal-5-1-2556/4... · 2013-11-16 · โครงสร้างทางสังคม

ถวิลวดี บุรีกุล. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการ ทำงานของรัฐบาลและองค์กรอิสระ. (ชุดโครงการวิจัยการติดตามและประเมินผลบังคับ ใช้รัฐธรรมนูญ). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2548). แนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง. นนทบุรี: บริษัทโรงพิมพ์ คลังวิชา จำกัด.ประเวศ วะสี. (2551). การเมืองภาคพลเมือง การพัฒนาการเมืองไปสู่ประชาธิปไตย. ในบทความสำหรับวารสารสถาบันพระปกเกล้า.ไพโรจน์ พลเพชร. (2547). รายงายวิจัยฉบับสมบูรณ์ชุดโครงการวิจัยการติดตามและประเมิน ผลบังคับใช้รัฐธรรมนูญเรื่อง สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วสันต์ เหลืองประภัสร์. (ม.ป.ป). เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ รัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.วิเชิด ทวีกุล. (2548). การเมืองภาคประชาชน: การเคลื่อนไหวของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกร ภาคเหนือ พ.ศ. 2537-2548. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วันพิชิต ศรีสุข. (2552). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แก่เยาวชนด้านการขับร้องเพลงซอพื้นเมือง เพื่อเสนอแนวคิดการเมืองภาคพลเมือง. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วัชรา ไชยสาร. (2545, พฤษภาคม). กระบวนการมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาค ประชาชน. รัฐสภาสาร. 53 (5), หน้า 44-98.ศศิประภา จันทะวงศ์. (2552). วาทกรรมความเป็นพลเมือง ความหมายและการต่อรอง ของชนกลุ่มน้อย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชา มนุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็น พลเมือง พ.ศ. 2553-2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์ เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2551). การเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและ ราชกิจจานุเบกษา.Faulks, K. (2000). Citizenship. London: Routledge.Heater, D. (1990). Citizenship: The civic ideal in world history, politics and education. London: Longman.Kalu, K. N. (2003). Of citizenship, virtue, and the administrative imperative: Deconstructing Aristotelian Civic Republicanism. Public Administration Review. 63 (4), p. 418-427.

62 วารสารศิลปศาสตร์ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2556