13
487 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สายสุณีย์ แจ้งจิต นันทิยา น้อยจันทร์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและนาเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับ การศึกษาปฐมวัย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 การดาเนินการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับ ปฐมวัย ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 จานวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยง .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) นาเสนอแนวทางในการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดย การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ทั้ง 5 ด้าน มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและการนาหลักสูตรไปใช้ รองลงมาคือ ด้านการนิเทศภายใน ด้าน การวัดและประเมินพัฒนาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านที่มีปัญหาต่าสุดคือ ด้านการจัดประสบการณ์ เรียนรู2. แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ประกอบด้วย แนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้าน 1) ด้านหลักสูตรและการนาหลักสูตรไปใช้ 2) ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู3) ด้านสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ และ5) ด้านการนิเทศภายใน คาสาคัญ : แนวทางการบริหารงานวิชาการ, การศึกษาปฐมวัย, โรงเรียนขนาดเล็ก บทความวิจัย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, E-mail: [email protected] รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

แนวทางการบริหารงานวิชาการ ...gs.nsru.ac.th/NSRUNC/research/pdf/40.pdf · 2016. 8. 20. · ดังนั้นการจัดประสบการณ์และกิจกรรมให้เด็กอย่าง

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • 487

    แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

    สายสุณยี์ แจง้จิต นันทยิา น้อยจันทร์

    บทคัดย่อ

    การวจิัยครั้งนี้มวีัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและน าเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวยั สังกัดส านกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค ์เขต 2 การด าเนินการวจิัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บรหิารและครูผู้สอนระดับปฐมวัย ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษา นครสวรรค์ เขต 2 จ านวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวจิัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีความเทีย่ง .98 สถิติทีใ่ช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) น าเสนอแนวทางในการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชีย่วชาญโดยการสนทนากลุม่ สถิติทีใ่ช้ คือ การวเิคราะห์เนือ้หา ผลการวิจัยพบวา่ 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ทั้ง 5 ด้าน มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาสูงสดุ คือ ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ รองลงมาคือ ด้านการนิเทศภายใน ด้านการวดัและประเมินพัฒนาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านที่มีปัญหาต่ าสุดคือ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู ้ 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ เขต 2 ประกอบด้วย แนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้าน 1) ด้านหลกัสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ 2) ด้านการจัดประสบการณเ์รยีนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ และ5) ด้านการนิเทศภายใน ค าส าคัญ : แนวทางการบริหารงานวิชาการ, การศึกษาปฐมวยั, โรงเรียนขนาดเล็ก

    บทความวิจัย หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, E-mail: [email protected] รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

  • 488

    Guidelines for Academic Administration of Early Childhood Education of Small Shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2

    Saisunee Jangjit Nuntiya Noichun

    Abatract

    This research aims to study the problems and propose the guidelines guidelines for academic administration of early childhood education of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 The research was divided into 2 steps. 1) Studying the academic administration problems of early childhood education of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 The population in this research comprised 154 administrators and teachers who taught in the childhood level of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2. The research tool was a 5-point rating scale questionnaire with reliability coefficient of 0.98. The statistics used were mean and standard deviation. 2) Presenting the academic administration guidelines for academic administration of early childhood education of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 by deriving from the focus group discussion of experts using content analysis technique. The tool used is a group discussion recording form. The research results are as follows: 1. The problems of academic administration of early childhood education of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 in level as a whole were at the moderate 5 aspects were at the high level. Considering aspect by aspect, it was found that the most problematic one was curriculum and curriculum implementation.Next to that were internal supervision, measurement and evaluation, educational media, while the least problematic one was learned experience management. 2. Guidelines for academic administration of early childhood education of small shool under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 2 composed of the following 1) curriculum and curriculum implementation. 2) learned experience management. 3) educational media. 4) measurement and evaluation. 5) internal supervision. Keywords: Guidelines for Academic Administration, Early Childhood Education, of Smaller Schools,

    Research Article from the Requirements for the Master of Education Degree in Educational Administration Nakhon Sawan Rajabhat University, 2016 Student in master of Education dedree program Educational Administration, Nakhon Sawan Rajabhat University, Associate Professor, Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University

  • 489

    บทน า การศึกษาปฐมวยัเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับแรกเพื่อเป็นการวางรากฐานชีวิตของเด็กไทยให้เจริญเติบโตอยา่งสมบูรณ์มีพัฒนาการสมวัยอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา บนพื้นฐานความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้กจิกรรมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที ่(ส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา,2551, น. 16) เมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการดา้นการเรียนรู้จ าแนกตามช่วงอายจุะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ของเด็กในช่วงอายุ 0-6 ปี ถือได้ว่าเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้เพราะวัยนี้สมองจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วง 3 ปีแรก สมองของเดก็มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณเส้นใยสมองและจุดเชื่อมโยงสารเคมีในสมอง รวมทั้งรอยหยักที่พื้นผิวสมอง ซึ่งล้วนส่งผลต่อสตปิัญญาและความฉลาดของเด็ก ถ้าไดร้ับการพัฒนาไดร้ับการกระตุ้นด้วยวิธีการที่ถกูต้องแล้วจะช่วยพฒันาเซลล์สมอง เจตคติต่อการเรียนรู้ และวางพื้นฐานของการเรียนจะช่วยใหท้ักษะการเรียนรู้พัฒนาไปได้ตลอดชีวติอย่างมีประสิทธิภาพ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2543, น.16) เด็กปฐมวัยนั้นจะต่างจากเด็กในระดับประถมศกึษาทั้งด้านร่างกาย อารมณ-์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนก็จะแตกต่างกันไปด้วย เพราะพฒันาการทุกด้านของเด็กปฐมวยัจะด าเนินไปตามขั้นตอนของลกัษณะพัฒนาการในแต่ละด้าน หากเดก็ปฐมวัยขาดโอกาสในการพัฒนาจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ได ้ดังนั้นการจัดประสบการณ์และกิจกรรมให้เด็กอย่างสอดคล้องตามวัย ธรรมชาติการเรียนรู้ และความแตกต่างของเด็กแต่ละคน จะช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการไปพร้อมกันทุกด้าน แต่หากจัดได้ไมเ่หมาะสมนอกจากจะท าให้เด็กไม่พัฒนาเท่าที่ควรแล้วยงัท าให้เกิดความเบื่อหน่าย มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน และไม่ได้พื้นฐานที่ดสี าหรับชีวิตในอนาคต ซึ่กระทรวงศึกษาธิการได้ระบุถึงจากผลการวิจัยทางการแพทยท์ี่พบว่า เด็กปฐมวัยไทยจ านวนมากถงึ 1 ใน 6 มีพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัยโดยมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นตามอาย ุแสดงว่าเดก็เหล่านี้ยงัขาดโอกาสเรียนรู้และขาดการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสม รวมทั้งจ านวนเด็กที่มีความตอ้งการทางการศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้น(กระทรวงศึกษาธิการ,2546,น. ค าน า ) การศึกษาปฐมวยัเป็นช่วงที่ส าคัญที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวัยอืน่ๆ เป็นช่วงชวีติที่มีอัตราการพัฒนาสูงสุด ถ้าเดก็ได้รับการเลี้ยงดทูี่ดีที่ถูกตอ้งตามหลกัจิตวทิยาและหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเด็กก็จะได้รับการพัฒนาได้เต็มศักยภาพเตบิโตเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ จากสภาพวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้สร้างปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเดก็ปฐมวัยเกิดความอ่อนแอของสถาบันครอบครัวในการท าหน้าที่อบรมเลี้ยงดูเด็ก เด็กปฐมวัยจ านวนหนึ่งอาจได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเดก็ทัง้ในปัจจบุันและอนาคต นอกจากนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ยังส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อสุขภาพอนามัยและพัฒนาการ ตลอดจนการเรยีนรู้ของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมต่าง ๆ จากภายนอกส่งผลกระทบต่อการด าเนินชีวติ ท าใหจ้ าเป็นต้องตระหนกัถงึความส าคัญของการด ารงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมในสังคมของตนเอง ในการพัฒนาเด็กที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและวิถีชวีิตทางสังคมของเด็กซึ่งมีลักษณะเฉพาะและความแตกต่างกันไป (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) จากผลการประเมินมาตรฐานที่อยู่ในเกณฑ์ที่ตอ้งปรับปรุงโดยเรียงล าดับมาตรฐานที่ต้องได้รับการปรับปรงุสูงสุดจะพบปัญหาที่เกีย่วเนื่องกันส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กปฐมวัยได้แก่ ครูขาดความสามารถในการจดัการเรยีนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ ผู้เรียนขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ขาดความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้สถานศึกษายังไม่มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น ขาดสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธกิาร,2552, น. 123) ดังนั้นปัญหาของการจัดการศึกษาในระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ คือ เดก็ที่มาจากโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพค่อนข้างต่ า เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรยีนขนาดอื่นๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนขาดความพร้อมทางด้านปัจจัย เช่น ครูไม่ครบชั้นเรยีน ขาดแคลนส่ือการสอนและวสัดุอุปกรณ์ โดยเฉพาะสื่อเทคโนโลยี

  • 490

    ที่มีราคาแพงและปัญหาที่ส าคัญ อีกประการหนึง่ คือ โรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสิทธิภาพในการเรยีนการสอนเมื่อเปรยีบเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่กวา่ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2547, น. 1) ประกอบกับประชากรมีแนวโนม้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ดงันั้นจงึท าให้มีโรงเรียนขนาดเล็กจ านวนมาก และยังพบว่า ครูส่วนใหญข่าดทกัษะในการจัดกจิกรรมการเรียนการสอนในสภาพที่ครูไม่ครบชั้นและนักเรียนมีจ านวนน้อยในแต่ละชั้น ครูสอนไม่เต็มเวลา และเต็มความสามารถ เพราะมีภารกิจอื่นที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนที่ครจู านวนหนึ่งต้องปฏิบัติ ทั้งในสังกัดเดียวกันและจากต่างสังกัด หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้มีจ านวนจ ากัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรงเรียนได้รับงบประมาณน้อยในท้ายที่สุดก็สง่ผลให้นักเรียนมผีลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ าไปด้วย (ส านกังานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2554, ออนไลน์) ส านักงานเขตพืน้ที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จากการติดตามการด าเนินการจัดการศึกษาปฐมวยัประจ าปีงบประมาณ 2557 ของกลุ่มศึกษานิเทศก์ติดตามและประเมินผลมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวยั 151 โรงเรียน 5 อ าเภอจ านวน 5 อ าเภอ คือ อ าเภอบรรพตพิสัย, อ าเภอลาดยาว, อ าเภอแม่วงก์, อ าเภอแม่เปิน และอ าเภอชุมตาบง เป็นโรงเรยีนขนาดเล็กที่มีจ านวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน อยู่ 77 โรงเรียน ส่วนมากตั้งอยู่ในชนบท จึงมีสภาพในการจัดการศึกษาปฐมวัย ประสบกับปญัหาหลายด้าน เช่น ปัญหาครูไม่ครบชั้น บางโรงเรียนมีจ านวนเด็กนอ้ยเกินไปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับปฐมวัย ภาพรวมระดับโรงเรียน (12 ตวับ่งชี้) ไมร่ับรองจ านวน 5 โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 3.85 ได้รับการับรอง จ านวน 125 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 63.08 ระดับดีมาก 46 โรงเรียน คดิเป็นร้อยละ 35.38 รวมระดับดี และดีมาก จ านวน 128 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 98.46 (ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค ์เขต 2, 2557) จากความส าคัญและปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้สนใจทีจ่ะหาแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวยัของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ใหม้ีคุณภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

    วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศกึษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก

    สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค ์เขต 2 2. เพื่อน าเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเลก็

    สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษานครสวรรค์ เขต 2

    แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวขอ้ง /กรอบแนวคิดการวิจัย จากขอบข่ายการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยดงักล่าว พอสรุปได้ว่า การจ าแนกขอบข่ายงานวิชาการมีลกัษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีภารกิจย่อยในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้วจิยัจึงสรุปสงัเคราะห์และประยุกตใ์ช้ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัย ตามบริบทของโรงเรียนขนาดเลก็ทั่วไปในส านักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ประกอบไปด้วยประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช ้2) ด้านการจัดประสบการณก์ารเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน 4) ด้านการวดัและประเมินพัฒนาการ 5) ด้านการนเิทศภายใน

  • 491

    วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive) โดยมุ่งหวังที่จะศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัย เพื่อน าเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ประชากร ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จ านวน 154 คน จาก 77 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชนิด คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 1. แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ (check list) จ านวน 5 ข้อ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต าแหน่ง และประสบการณ์ ตอนที่ 2 ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยพิจารณาทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ และด้านการนิเทศภายใน ลักษณะแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด (บุญชม ศรีสะอาด, 2554, น. 100) โดยมีค่าคะแนนดังนี ้ 5 หมายถึง การบริหารงานวิชาการมีปัญหาในระดับมากที่สุด 4 หมายถึง การบริหารงานวิชาการมีปัญหาในระดับมาก 3 หมายถึง การบริหารงานวิชาการมีปัญหาในระดับปานกลาง 2 หมายถึง การบริหารงานวิชาการมีปัญหาในระดับน้อย 1 หมายถึง การบริหารงานวิชาการมีปัญหาในระดับน้อยที่สุด การเก็บและรวบรวมข้อมูล 1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ถึงผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัย 2. น าแบบสอบถามพร้อมหนังสือขอความอนุเคราะห์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ถึงประชากรด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2559 และท าการเก็บแบบสอบถามคืนโดยวิธีเดียวกัน 3. น าแบบสอบถามที่ได้รับมาตรวจความถูกต้องเพื่อน าไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป

    ปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัย 1.ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ 2.ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู ้3.ด้านสื่อการเรียนการสอน 4.ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ 5.ด้านการนเิทศภายใน

    แนวทางการบริหารงาน วิชาการระดับการศึกษาปฐมวัย

    ของโรงเรียนขนาดเล็ก

  • 492

    4. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์เชิญผู้เชี่ยวชาญ จ านวน 7 ท่าน ร่วมประชุมการสนทนากลุ่มโดยก าหนดเกณฑ์การเลือกผู้เชี่ยวชาญไว้ดังนี้ 4.1 ด ารงต าแหน่งรองผู้อ านวยการส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษาอย่างน้อย 5 ปีจ านวน 1 คน 4.2 ด ารงต าแหน่งศึกษานิเทศก์เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์การนิเทศการศึกษาอย่างน้อย 5 ปี จ านวน 1 คน 4.3 ด ารงต าแหน่งอาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยสาขาการบริหารการศึกษามีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก จ านวน 1 คน 4.4 ด ารงต าแหน่งผู้บริหารโรงเรียน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์ด้านการบริหารสถานศึกษาอย่างน้อย 5 ปี จ านวน 2 คน 4.5 ด ารงต าแหน่งครูผู้สอนระดับการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 มีประสบการณ์ด้านการสอนอย่างน้อย 10 ปี จ านวน 2 คน 5. จัดประชุมและบันทึกการสนทนากลุ่ม ณ ห้องเขาหน่อ (ชั้น 3) อาคารส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ(%) 2. วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาการบริหารงานวิชาการปฐมวัย ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) แล้วน าไปแปลผลตามเกณฑ์ ดังนี้

    ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถงึ มีปัญหาการบรหิารงานวิชาการในระดับมากทีสุ่ด ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถงึ มีปัญหาการบรหิารงานวิชาการในระดับมาก

    ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถงึ มีปัญหาการบรหิารงานวิชาการในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถงึ มีปัญหาการบรหิารงานวิชาการในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถงึ มีปัญหาการบรหิารงานวิชาการในระดับน้อยทีสุ่ด 3. วิเคราะห์ความคิดเห็นของผูเ้ชี่ยวชาญเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษานครสวรรค์ เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. สถิติทีใ่ช้ในการตรวจคุณภาพของเครื่องมอื 1.1 หาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อค าถามกับโครงสร้างหลักของเนื้อหา (IOC) 1.2 หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 2. สถิติทีใ่ช้ในการวเิคราะห์ขอ้มูล

    2.1 ค่าร้อยละ (Percentage) 2.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) 2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

    สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศกึษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพืน้ที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี ้ 1. ปัญหาการการบริหารงานวชิาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและเมื่อพิจารณาเป็นรายดา้นพบว่า ด้านที่มีการบริหารงานวชิาการของโรงเรียนสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและการน าหลักสตูรไปใช ้รองลงมาคือ

  • 493

    ด้านการนเิทศภายใน ด้านการวดัและประเมินพัฒนาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านที่มีการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนต่ าสุดคือ ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ 1.1 ด้านหลักสตูรและการน าหลักสูตรไปใช้ พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การจัดสาระการเรียนรู้ เวลาเรียนในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้เหมาะสมกับวัยของเด็ก รองลงมา การจัดท าหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของชุมชน และอันดับที่สาม การจัดอบรมใหก้ับครูได้มคีวามรู้ ความเขา้ใจเกี่ยวกับหลกัสูตรการศึกษาปฐมวัย 1.2 ด้านการจัดประสบการณเ์รยีนรู้ พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นการศกึษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณเ์รียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการทุกด้านของเด็ก รองลงมา การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก และอันดับที่สาม การจัดกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของเด็ก 1.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปญัหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวยัของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ด้านสื่อการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีคา่เฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การปรับปรุง พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก รองลงมา การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบการจดักิจกรรมปฐมวัย และอันดับที่สาม การจัดหาสื่อของจริงที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กครบทั้ง 4 ด้าน 1.4 ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวชิาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นการศกึษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีคา่เฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กอย่างหลากหลาย รองลงมา การก าหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินพัฒนาการ และอันดับที่สาม การจัดประชุมอบรมครูเพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการวัดและประเมินพัฒนาการดว้ยวิธกีารต่างๆ 1.5 ด้านการนิเทศภายใน พบวา่ ระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวยัของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ด้านการนิเทศภายในโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายขอ้พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก ่การวางแผนการนิเทศภายใน รองลงมา การประชาสัมพันธ์เผยแพร่การนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ และอันดับที่สาม การนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ทั้ง 5 ด้าน คือ 2.1 ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กับครูด้วยการปฏิบตัิจรงิ ศึกษาดูงานกับโรงเรียนที่มีความพร้อมในดา้นการจดัท าหลกัสูตร จดัหาเอกสารหลักสูตรปฐมวัยหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครูได้ศึกษาด้วยตนเอง มีการวิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนและท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจดัท าหลกัสูตรสถานศึกษาและสาระการเรียนรู้ มีการก ากับติดตามประเมินผลการใช้หลกัสูตรอย่างตอ่เนื่อง

  • 494

    2.2 ด้านการจัดประสบการณ์การเรยีนรู้ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมีการวางแผนและก าหนดการจัดกิจกรรมเสรมิประสบการณเ์รียนรู้ให้ครอบคลุมกับพัฒนาการทั้งทุกด้านของเด็ก สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์การจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้ครูน าเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ที่หลากหลายมาประยุกตใ์ช้ในการจดักิจกรรมให้มีประสิทธภิาพยิ่งขึ้น 2.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกีย่วกบัการใช้สื่อ ศึกษาดูงานกับโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านการใช้สื่อใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรมปฐมวัย วางแผนการจัดหาสื่อที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเดก็ โดยการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาส่ือ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป 2.4 ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ ควรมีการประชมุชี้แจงก าหนดแนวปฏิบัติและเกณฑ์การวัดและประเมินพัฒนาการที่ชัดเจน วางแผนก าหนดระยะเวลาการจดัท าปฏิทินให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน สนับสนุน คู่มือหรอืเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินพฒันาการเด็กและก ากับติดตามการใช้เครื่องมือการวดัและประเมินพัฒนาการเรียนการสอนของครูอย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่อง 2.5 ด้านการนิเทศภายใน ควรมีการจดัประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจหลักและวิธีการปฏิบัติในการนิเทศภายในระหว่างผู้บริหารและครเูพื่อให้เกิดความมั่นใจในการด าเนินงาน มีการวางแผนก าหนดขอบข่ายการนิเทศภายในที่ชดัเจน โดยการน าระบบสารสนเทศเขา้มาช่วยและสนับสนุนให้ครูมีสว่นร่วมในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องต่อไป

    อภิปรายผล จากผลการวิจัย ผู้วิจัยขอน าประเด็นที่น่าสนใจมาอภิปรายเพิ่มเติม ดังนี้

    1. จากการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน ขนาดเล็ก สงักดัส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัตงิานสูงสุดของงานวิชาการทั้ง 5 ด้าน สามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้ 1.1 ด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ คือ การจัดสาระการเรียนรู้ เวลาเรียนในหลักสูตรได้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ทั้งนีอ้าจเป็นเพราะครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดความรู้ความเข้าใจในการวเิคราะห์และจัดท าโครงสร้างสาระการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนระดับปฐมวัยไม่ค่อยมีการจัดประชุมเพื่อร่วมกันวางแผนการจัดสาระการเรียนรู้ เวลาเรียนในหลักสูตร หรืออาจไม่ได้เรยีงล าดับความส าคัญของการจัดท าสาระการเรียนรู้ เวลาเรียนในหลักสูตรขาดการก ากับติดตามการประเมินการจัดสาระการเรียนรู้อย่างตอ่เนื่อง สอดคล้องกับงานวิจัยของ มาลัย จันทรนิล (2551) ที่พบว่า ครูมีความรู้ความสามารถไม่เพยีงพอในการวิเคราะห์หลักสูตร การจัดท าโครงสร้างหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ไม่เหมาะสม สอดคล้องกับงานวิจัยของ ดรุณี ทองสร้าง (2548) ที่พบว่า ครูผู้สอนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมการใช้หลักสูตร ขาดการประชุมชี้แจงจากผู้บริหารสถานศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัยของ แอน สขุะจิระ (2558) ที่พบว่า ผู้บริหารและครูปฐมวัยไม่ร่วมกันวิเคราะห์และจัดท าโครงสร้างหลักสูตรและครูปฐมวัยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ผู้บริหารมีการประเมินผลการใช้หลักสูตร แต่ขาดความต่อเนื่อง 1.2 ด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ คือ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณเ์รยีนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการทุกดา้นของเด็ก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดการวางแผนและก าหนดการจดักิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดความเขา้ใจในการจัดกจิกรรมเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และผู้บริหารสถานศึกษาขาดการวางแผนและสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ ในการให้ครูผู้สอนระดับ

  • 495

    ปฐมวัยจัดกิจกรรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ อัญชลี ศรเพชร (2552) ที่พบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับงานวจิัยของ แอน สุขะจิระ (2558) ที่พบว่า ครูปฐมวัยขาดความเข้าใจในการจัดท าแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทีเ่น้นผู้เรียนเป็นส าคญัและครูผู้สอนปฐมวัยขาดการวางแผนในการเตรียมการจดัประสบการณ์ 1.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน คือ การปรับปรุง พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งนีอ้าจเป็นเพราะ ครูไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจในการปรับปรงุ พฒันาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ทันสมัย ขาดความช านาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีและขาดการสง่เสริมให้เข้ารับการอบรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธญัญาภรณ์ นุชเฉย (2551) ที่พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สือ่การเรียนการสอน ครูไมเ่ห็นคุณค่าของนวัตกรรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ สอดคล้องกับงานวจิัยของ Brophy (2006) ที่พบว่า ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศกึษาครูไม่มีความช านาญ เรื่อง จัดหาสื่อจากคอมพิวเตอร ์ 1.4 ด้านการวัดและประเมินพัฒนาการ คือ การใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กอย่างหลากหลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดทักษะในการวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดการส่งเสริมเข้ารับการอบรมการใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการ ขาดการสนับสนุน คู่มือหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินพัฒนาการเด็กและขาดการติดตามแระเมินผลพัฒนาการอย่างสม่ าเสมอ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธญัญาภรณ์ นุชเฉย (2551) ที่พบว่า ครูขาดเครื่องมือและวิธีการในการวัดและประเมินพัฒนาการ ครูไม่ตระหนักถึงความส าคัญของการวดัและประเมินพัฒนาการ สอดคล้องกับงานวิจัยของ แอน สุขะจิระ (2558) ที่พบว่า ครูปฐมวัยขาดความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการวดัและเมินพัฒนาผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนือ่ง 1.5 ด้านการนิเทศภายใน คือ การวางแผนการนิเทศภายใน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยขาดการวางแผนการนิเทศภายใน ไม่เห็นความส าคัญของการนเิทศภายใน การปฏิบัติงานด้านการนิเทศภายในขาดความต่อเนื่องไม่เป็นไปตามก าหนดระยะเวลาในแผนกิจกรรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุภา เศวตวนัส (2557) ที่พบว่าผู้บริหารสถานศกึษาขาดความรูค้วามเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ไม่มีการติดตามผลการนิเทศอยา่งต่อเนือ่ง และไม่ได้มีการก าหนดแผนการด าเนินงานอย่างชัดเจนท าให้กระบวนการนเิทศไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร ท าให้ครูไมเ่ห็นความส าคัญของการนเิทศ ครูขาดความเข้าใจในการนิเทศ สอดคล้องกับงานวิจัยของ แอน สขุะจิระ (2558) ทีพ่บว่า ผู้บริหารไม่มีการจัดท าแผนการนิเทศและโครงสร้างการนิเทศภายในอยา่งชัดเจน 2. จากแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวยัของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ทั้ง 5 ด้าน มีรายละเอียด ดังนี ้ 2.1 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนด้านหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้กับครดู้วยการปฏิบัติจริง ศึกษาดงูานกับโรงเรียนที่มีความพร้อมในด้านการจัดท าหลักสูตร จัดหาเอกสารหลักสูตรปฐมวยัหรือเอกสารทีเ่กี่ยวข้องให้ครูได้ศึกษาด้วยตนเอง มีการวเิคราะห์โครงสร้างหลักสูตรระดับปฐมวัยให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนและท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดท าหลักสูตรสถานศึกษาและสาระการเรียนรู้ มีการก ากับติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับงานวิจัยของ มาลัย จันทรนิล (2551)ที่พบว่า ผู้บริหารและครูต้องวิเคราะห์เนื้อหาโครงสร้างหลักสูตร ประชุมชี้แจงและแนะน าให้ความรูเ้รื่องหลักสูตร จัดอบรมให้บุคลากรได้มีความรู้ความเข้าใจเกีย่วกับหลักสูตร ปรับเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนและชุมชน จัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างครูผู้สอน ส่งครูไปประชุมอบรมทางวิชาการและส่งครูไปศึกษาดงูานโรงเรยีนอื่น สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธวัชชัย สิงห์จนัทร์ (2551) ทีพ่บว่า ผู้บริหารควรแนะน าส่งเสริมให้ครดู าเนินการตามหลักสูตร ก าหนดการสอน แผนการสอน เอกสารคู่มือครู จัดแหล่งเรียนรูท้ี่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรยีนและชุมชน

  • 496

    ตลอดจนจัดใหม้ีเอกสารประกอบหลักสูตรอย่างเพียงพอ สอดคล้องกับ ดรุณี ทองสร้าง (2548) ที่พบว่า ควรชี้แจงให้บุคลากรเข้าใจตรงกัน ควรเตรียมเอกสารหลักสูตรให้เพียงพอและควรส่งเสริมให้มวีิทยากรหลักในโรงเรียนเพื่อชี้แนะข้อสงสัยให้แก่ครูผู้สอนในโรงเรียน 2.2 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนด้านการจดัประสบการณ์เรียนรู้ ควรจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมกีารวางแผนและก าหนดการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณเ์รียนรู้ให้ครอบคลุมกับพัฒนาการทั้งทกุด้านของเด็ก สนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์การจัดกิจกรรมและส่งเสริมให้ครูน าเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ที่หลากหลายมาประยุกตใ์ช้ในการจดักิจกรรมและมีการก ากับติดตามผลการจดักิจกรรมเสริมประสบการณเ์รยีนรู้อย่างตอ่เนื่องเนื่อง สอดคล้องกับงานวิจัยของ นพรัตน์ สังข์ทอง (2553) ควรสง่เสริม สนับสนนุให้ครูปฐมวัยเข้ารับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการจัดท าแผนประสบการณ์ เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณท์ี่สอดคล้องกับพฒันาการของเด็ก สอดคล้องกับงานวิจัยของ แอน สุขะจิระ (2558) ที่พบว่า ควรจัดอบรม ประชุม สัมมนาให้บุคลากรให้มีความรูค้วามเข้าใจในด้านการจัดประสบการณเ์รียนรู้ ขณะเดียวกันครูปฐมวัยควรหาวิธีการที่หลากหลายมาปรับใช้ในการจัดประสบการเรียนรู้ครั้งต่อไป 2.3 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนด้านสื่อการเรียนการสอน ควรจัดประชุมเชงิปฏิบัติการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อ ศึกษาดูงานกับโรงเรียนที่มีความพรอ้มในด้านการใช้สื่อใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรมปฐมวัย วางแผนการจัดหาสื่อที่ส่งเสรมิพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก โดยการน าเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาสือ่ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป สอดคล้องกับงานวจิัยของ ธัญญาภณณ์ นชุเฉย (2551) ทีพ่บว่า ควรจดัอบรมครูผู้สอนระดับปฐมวัยเกี่ยวกับการจัดท านวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูได้ศึกษาดูงาน และดูการสาธติการใช้สื่อและผลิตสื่อจากแหล่งความรู้ต่างๆ สอดคล้องกับงานวิจัยของ นพรัตน์ สังข์ทอง (2553) ที่พบว่า ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัตกิารเพื่อจัดท าสื่อ ทั้งนี้โรงเรียนอาจเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการสร้างสื่อส าหรับเด็กปฐมวัยมาเป็นวทิยากรในการฝกึอบรม โดยอาจใช้รูปแบบการอบรมเชงิปฏิบัติการ ซึ่งเน้นการปฏิบัติจริงในระหว่างการฝึกอบรม 2.4 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนด้านการวดัและประเมินพัฒนาการ ควรมีการประชุมชี้แจงก าหนดแนวปฏิบัติและเกณฑ์การวัดและประเมินพัฒนาการที่ชัดเจน วางแผนก าหนดระยะเวลาการจัดท าปฏทิินให้สอดคล้องกับการปฏิบัตงิาน จัดหาเอกสารหรือคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินพัฒนาการ และก ากับติดตามการใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการเรียนการสอนของครูอย่างสม่ าเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับงานวิจัยของสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัชชา ศรีวิชัยรตัน์ (2549) ที่พบว่า ควรจัดประชุมอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวธิีการใช้เครื่องมือการประเมิน ตดิตาม ประเมินผลการใช้เครื่องมือ สอดคล้องกับงานวิจัยของ มาลัย จนัทรนิล (2551) ที่พบว่า ควรมกีารจดัหาเอกสารหรอืคู่มือปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลให้ครูศึกษา จัดประชุม อบรม สัมมนา ให้ครูมีความรู้ ความเขา้ใจแนวทางปฏบิัติ ก ากับ ติดตามและนิเทศอย่างสม่ าเสมอ สอดคล้องกับงานวิจัยของ แอน สขุะจิระ (2558) ทีพ่บว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการก าหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กและน าผลที่ได้มาเป็นขอ้มูลในการจดัประสบการณ์ต่อไป 2.5 แนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนด้านการนิเทศภายใน ควรมีการจัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจหลักและวิธีการปฏิบัติในการนิเทศภายในระหว่างผู้บริหารและครูเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการด าเนินงาน มีการวางแผนก าหนดขอบข่ายการนิเทศภายในที่ชดัเจน โดยการน าระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยและสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องต่อไป สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุดารัตน์ โชติวาณิชย์ (2548) ที่พบว่า ควรมีการจดัอบรมบุคลากรมีการวางแผนและจัดระบบให้มีการนิเทศภายในและด าเนินการติดตามอย่างสม่ าเสมอมีการจัดท าแผนปฏิบัติงานในการนิเทศ

  • 497

    สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธญัญาภรณ์ นุชเฉย (2551) ที่พบว่า ควรจัดระบบการนิเทศภายใน อย่างต่อเนือ่งและเป็นระบบ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนและด าเนินการนิเทศภายใน สอดคล้องกับงานวิจัยของ จารุณี อิ่มวงษ์ (2555) ที่พบว่า ควรส่งเสริมให้ครูเข้าอบรมสัมมนากับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง การจดัระบบการนิเทศอย่างต่อเนื่อง

    ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และหาแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ได้ข้อเสนอแนะในการวิจัย ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป จากผลการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ผู้วิจัยมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ 1. ผู้บริหารควรตระหนกั และให้ความส าคัญในงานวิชาการระดับปฐมวัย โดยยึดกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ เนน้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนรว่ม ในการก าหนดนโยบายใหเ้ป็นไปตามวัตถุประสงค์ของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษานครสวรรค์ เขต 2 ควรจัดอบรมบุคลากร เรื่องการบริหารงานวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 3. ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษานครสวรรค์ เขต 2 ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริหารและครผููส้อนระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนิเทศติดตามประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเด็กปฐมวัยว่ามีพัฒนาการดีขึ้นหรือไม ่ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครัง้ต่อไป 1. ควรท าการวจิัยเกีย่วกับแนวทางการบริหารงานหลักสูตรและการน าหลักสูตรไปใช้ ระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยใช้วิธวีิจัยเชงิคณุภาพ เพื่อน าผลการวจิัยไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยได้ชัดเจนยิง่ขึ้น 2. สถานศกึษาควรท าการวจิัยเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยในด้านอื่น นอกจาก 5 ด้านนี้ ซึ่งจะท าใหไ้ด้แนวทางที่หลากหลาย เพื่อเปน็แนวทางในการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยครั้งต่อไป

    เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2546ง). แนวทางการเสริมสร้างความเขม้แข็งการด าเนินการเขตพื้นที่การศึกษา และการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. จารุณี อิ่มวงษ์. (2555). แนวทางการด าเนินงานวิชาการโรงเรยีนขนาดเลก็ สังกัดส านกังานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธค์รุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค,์ นครสวรรค์. ณัชชา ศรีชัยรัตน์. (2549). รูปแบบการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวยัของโรงเรียนเอกชนใน

    จังหวัดนครสวรรค.์ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบรหิารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

  • 498

    ดรุณี ทองสร้าง. (2548). การศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนเครือข่ายวทิยาเขต สังกัดเขตพื้นที่ การศึกษาพทัลุง .วทิยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑติ. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา. ธัญญาภรณ์ นุชเฉย. (2551). การน าเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียน

    สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค,์ นครสวรรค์.

    ธวัชชัย สิงห์จันทร.์ (2551). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1. วิทยานิพนธค์รุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, เชียงราย. นพรัตน์ สังข์ทอง. (2553). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวชิาการของครูปฐมวัยโรงเรยีนใน

    สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธค์รุศาสตร มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, กรงุเทพฯ.

    บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางกา