10
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING º · ·Õè 3 การจัดชุดของงาน ในที่สุดแล้ว ความล่าช้าเนื่องจากการจัดชุด จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของชุด (Lot Size) 3.1 บทนำ มีปฏิบัติการจำนวนมากที่ทำเป็นชุด (Batch) กระบวนการพ่นสีอาจพ่นสี รถยนต์สีแดงหลายคันก่อนที่จะสลับไปพ่นสีน้ำเงิน เลขานุการอาจเก็บงานถ่ายเอกสาร ไว้หลายงานก่อนเดินไปที่ห้องถ่ายเอกสารเพื่อจะถ่ายเอกสาร โรงหล่ออาจบรรจุชิ้นงาน หลายชิ้นเข้าไปในเตาอบพร้อมๆ กันเพื่ออบให้ร้อน พนักงานประจำรถยกอาจยอมรอให้ ชิ้นส่วนที่ผ่านกระบวนการแล้วสะสมกันหลายชิ้น ก่อนที่เคลื่อนย้ายจากปฏิบัติการหนึ่ง ไปยังอีกปฏิบัติการหนึ่ง จำนวนของงานที่คล้ายคลึงกันและนำมาทำพร้อมกัน ตาม ลำดับหรือในเวลาเดียวกัน จะถูกเรียกว่าขนาดชุด (Batch Size หรือ Lot Size) เพราะเหตุใดจึงมีการทำงานเป็นชุด? คำตอบนั้นง่ายมาก คือ กำลังการผลิต (Capacity) โดยส่วนใหญ่แล้วการดำเนินการกับสินค้าชุดหนึ่งมักมีประสิทธิภาพ

Supply Chain Science THAI Version -5

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

61PBSUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

º · ·Õè 3

การจัดชุดของงาน

ในที่สุดแล้วความล่าช้าเนื่องจากการจัดชุด

จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับขนาดของชุด(LotSize)

3.1 บทนำ

มีปฏิบัติการจำนวนมากที่ทำเป็นชุด (Batch) กระบวนการพ่นสีอาจพ่นสี

รถยนต์สีแดงหลายคันก่อนที่จะสลับไปพ่นสีน้ำเงิน เลขานุการอาจเก็บงานถ่ายเอกสาร

ไว้หลายงานก่อนเดินไปที่ห้องถ่ายเอกสารเพื่อจะถ่ายเอกสาร โรงหล่ออาจบรรจุชิ้นงาน

หลายชิ้นเข้าไปในเตาอบพร้อมๆ กันเพื่ออบให้ร้อน พนักงานประจำรถยกอาจยอมรอให้

ชิ้นส่วนที่ผ่านกระบวนการแล้วสะสมกันหลายชิ้น ก่อนที่เคลื่อนย้ายจากปฏิบัติการหนึ่ง

ไปยังอีกปฏิบัติการหนึ่ง จำนวนของงานที่คล้ายคลึงกันและนำมาทำพร้อมกัน ตาม

ลำดับหรือในเวลาเดียวกัน จะถูกเรียกว่าขนาดชุด(BatchSizeหรือLotSize)

เพราะเหตุใดจึงมีการทำงานเป็นชุด? คำตอบนั้นง่ายมาก คือ กำลังการผลิต

(Capacity) โดยส่วนใหญ่แล้วการดำเนินการกับสินค้าชุดหนึ่งมักมีประสิทธิภาพ

Page 2: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

6362SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 6362SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

มากกว่าการดำเนินการกับทีละชิ้น มีสาเหตุพื้นฐานอยู่ 3 ประการที่ทำให้การจัดชุดของ

งานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ คือ

1. หลีกเลี่ยงการปรับตั้ง การปรับตั้ง (Setup) หรือการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร

(Changeover) คือ ปฏิบัติการใดก็ตามที่ต้องทำก่อนเริ่มต้นทำงานชุดนั้น (เช่น การ

ทำความสะอาดปืนพ่นสี การเดินไปที่ห้องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ขนาดของชุดงานยิ่งใหญ่

เท่าไร ก็ยิ่งมีการปรับตั้งลดลงเท่านั้น จึงมีกำลังการผลิตที่เสียไปกับเวลาการปรับตั้ง

ลดลง

2. ช่วยปรับปรุงจังหวะ ในบางปฏิบัติการ โดยเฉพาะปฏิบัติการที่ต้องทำด้วย

ตวัเองหรอืมอื มคีวามเปน็ไปไดท้ีจ่ะเกดิ “จงัหวะ” ทีด่ไีด ้ขณะทีท่ำงานซึง่มลีกัษณะคลา้ยๆ

กันติดต่อกัน ตัวอย่างเช่น เลขานุการอาจทำงานถ่ายเอกสารได้เร็วขึ้น ถ้างานเหล่านี้

ทำเป็นชุดแทนที่จะทำแยกจากกัน สาเหตุก็คือ การเคลื่อนไหวที่ทำซ้ำๆ มักขจัดขั้นตอน

ส่วนเกินออกไป เราอาจมองได้ว่าการเคลื่อนไหวส่วนเกินเป็นเหมือนขั้นตอนการปรับตั้ง

ที่ทำก่อนเริ่มงานชุดนั้นที่ถูกขจัดออกไป แต่เนื่องจากว่าการเคลื่อนไหวเหล่านี้ไม่ได้

ชัดเจนเหมือนกับการปรับตั้งจากการทำความสะอาด และอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งก่อน

จะเสร็จสิ้น เราจึงแยกการปรับปรุงจังหวะออกจากการหลีกเลี่ยงการปรับตั้ง

3. การดำเนินกระบวนการพร้อมๆ กัน บางกระบวนการมีธรรมชาติที่เป็น

งานชุดอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว เพราะสามารถดำเนินการกับสินค้าชุดหนึ่งได้เร็ว

เท่ากับการดำเนินการกับสินค้าหน่วยเดียว ตัวอย่างเช่น การอบด้วยความร้อนอาจ

ใช้เวลา 3 ชั่วโมงไม่ว่าเตาอบจะบรรจุด้วยชิ้นส่วน 1 หรือ 100 ชิ้น ในทำนองเดียวกัน

ชิ้นส่วนที่ถูกเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างปฏิบัติการด้วยรถยกอาจใช้เวลาเท่ากัน ไม่ว่า

ปริมาณที่เคลื่อนย้ายจะเป็น 1 ชิ้นหรือเต็มระวางบรรจุ เห็นได้ชัดว่า ขนาดชุดยิ่งใหญ่

มากเท่าไร กำลังการผลิตของปฏิบัติการที่ตามมาก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

เนื่องจากว่ามีความแตกต่างกันในทางกายภาพ เราจึงแยกแยะระหว่างงาน

ชุดแบบทำพร้อมกัน (SimultaneousBatch) ซึ่งสินค้าผ่านกระบวนการพร้อมกัน และ

งานชุดแบบทำต่อเนื่องกัน (Sequential Batch) ซึ่งสินค้าจะผ่านกระบวนการ

ทีละชิ้นระหว่างการปรับตั้งแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพจากการ

จัดชุดของงานมีอยู่หลากหลาย แต่กลไกพื้นฐานนั้นเหมือนกัน ขนาดชุดที่มีขนาดใหญ่

เพิ่มกำลังการผลิตแต่ก็เพิ่มเวลารอคอยงานชุด (Wait-for-batch Time) (เวลาในการ

Page 3: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

6362SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 6362SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

รวบรวมชุดของงาน) หรือเวลารอคอยในชุด (Wait-in-batch Time) (เวลาที่ต้องใช้ใน

การดำเนินการแต่ละชุด) หรือทั้งคู่ ทางเลือกในเรื่องการทำงานเป็นชุดคือเลือกทางใด

ทางหนึ่งระหว่างกำลังการผลิต (Capacity) กับรอบเวลา (Cycle Time)

3.2 งานชุดแบบทำพรอมกัน

เราจะเริ่มโดยการพิจารณาทางเลือกที่ต้องตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งใน

เรื่องงานชุดแบบทำพร้อมกัน (Simultaneous Batch) กล่าวคือ เราจะพิจารณา

ปฏิบัติการที่สินค้าถูกดำเนินการพร้อมกันเป็นชุด และเวลากระบวนการไม่ได้ขึ้นอยู่กับ

จำนวนของสินค้าในกระบวนการ (ตราบใดที่ขนาดของชุดไม่ได้เกินจำนวนสินค้าที่

สามารถอยู่ในกระบวนการได้) สถานการณ์นี้แสดงอยู่ในภาพที่ 3.1 ตัวอย่างของงานชุด

แบบทำพร้อมกัน ได้แก่ ปฏิบัติการอบด้วยความร้อนและช่วงระยะทดลอง (Burn-in)

การขนส่งชิ้นส่วนเป็นชุดระหว่างกระบวนการ และการแสดงวีดีโอฝกอบรมให้กับกลุ่ม

พนักงาน เป็นต้น ไม่ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งใดก็ตาม จุดประสงค์ของงานชุดแบบ

ทำพร้อมกันคือการใช้กำลังการผลิตของกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล

ภาพที่3.1กลไกของงานชุดแบบทำพร้อมกัน

โปรดสังเกตว่างานชุดแบบทำพร้อมกัน มีคุณสมบัติของทั้งกระบวนการที่

ทำงานชุด (Process Batch) (จำนวนสินค้าที่ผ่านกระบวนการพร้อมกันที่สถานีหนึ่ง)

และการเคลื่อนย้ายงานชุด (Move Batch) (จำนวนสินค้าที่เคลื่อนย้ายพร้อมกัน

ระหว่างสถานี) จากมุมของปฏิบัติการ การอบชิ้นงานด้วยความร้อนในเตาอบและ

การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนที่ผ่านกระบวนการแล้วระหว่างกระบวนการต่างๆ นั้นไม่แตกต่าง

กัน ทั้งคู่เป็นตัวอย่างของปฏิบัติการงานชุดแบบทำพร้อมกัน

Page 4: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

6564SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 6564SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

ความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของงานชุดแบบทำพร้อมกัน

คือ ผลของขนาดชุดต่ออัตราการใช้ประโยชน์ (Utilization) อัตราการใช้ประโยชน์ซึ่งเป็น

สัดส่วนของเวลาที่กระบวนการนั้นทำงาน สามารถคำนวณได้ดังนี้:

อัตราการใช้ประโยชน์=อัตราขาเข้า

กำลังการผลิต

เนื่องจากว่ากระบวนการงานชุดจะใช้เวลาคงที่โดยไม่ขึ้นอยู่กับขนาดชุด กำลัง

การผลิตจึงเท่ากับ:

กำลังการผลิต=ขนาดชุด

เวลาของกระบวนการ

ดังนั้น:

อัตราการใช้ประโยชน์=อัตราขาเข้าxเวลาของกระบวนการ

ขนาดชุด

เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพ อัตราการใช้ประโยชน์ต้องต่ำกว่า 100% ซึ่งจำเป็น

ต้องให้

ขนาดชุด>อัตราขาเข้าxเวลาของกระบวนการ

ขณะที่มันช่วยให้เราคำนวณหาขนาดชุดขั้นต่ำที่จำเป็นเพื่อที่จะทำงานตาม

อัตราผลผลิตให้ทัน การดำเนินการงานชุดที่ทำงานพร้อมกันด้วยขนาดชุดที่มากกว่า

ค่าขั้นต่ำคงเป็นแนวทางที่มีเหตุผลดี สาเหตุก็สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่การวิเคราะห์

ข้างต้นช่วยทำให้กระจ่าง คือ อัตราการใช้ประโยชน์จะแปรผกผันกับขนาดชุด เพราะว่า

เรารู้จากบทที่ 1 และ 2 ว่ารอบเวลาจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ดังนั้น

เราคงคาดหวังว่าการเพิ่มขนาดชุดจะลดรอบเวลา นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อขนาดชุดที่เพิ่มขึ้น

ไม่ได้ทำให้สินค้าต้องคอยขณะที่รอรวมเป็นชุดอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้างานทั้งชุดมาถึง

พร้อมๆ กัน ก็จะไม่มีสินค้าชิ้นใดต้องคอยและรอบเวลาจะลดลงเมื่อขนาดชุดลดลง

อย่างไรก็ตาม ถ้าชิ้นส่วนมาถึงทีละชิ้น ในกรณีของการทำงานงานชุดแบบทำพร้อมกัน

Page 5: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

6766SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 6766SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

ตอนนี้ ลองสมมติว่ามีการปรับตั้งขดลวดความร้อนแบบเหนี่ยวนำชุดใหม่ที่

สามารถอบชิ้นงาน 1 ชิ้นในเวลา 0.5 นาที ดังนั้น กำลังการผลิตเท่ากับชิ้นงาน 120 ชิ้น/

ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับขนาดของเตาอบและมากกว่าอัตราผลผลิต ถ้าเราไม่สนใจผลจากแถว

คอยอีกครั้งหนึ่ง เวลาเฉลี่ยของกระบวนการจะเท่ากับ 0.5 นาที หรือ 0.00833 ชั่วโมง

ดังนั้น จากกฎของ Little WIP เฉลี่ยจะเท่ากับ 100 x 0.00833 = 0.833 ชิ้น แม้ว่าเรา

รวมแถวคอยเข้าไปในทั้ง 2 กรณี จะเห็นได้ชัดเจนว่า WIP และรอบเวลาของปฏิบัติการ

แบบทีละชิ้นจะต่ำกว่าของปฏิบัติการแบบงานชุดอย่างมาก พฤติกรรมนี้เป็นต้นกำเนิด

ของเป้าหมายการมี “ขนาดชุดเท่ากับ 1 ชิ้น” ของการผลิตแบบลีน

3.3 งานชุดแบบทำต่อเนื่องกัน

ปฏิบัติการที่เป็นงานชุดแบบทำต่อเนื่องกัน (Sequential Batch) คือ ปฏิบัติการ

ที่ดำเนินการกับสินค้าอย่างต่อเนื่องกัน (ทีละชิ้น) แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการปรับตั้ง

หรือเปลี่ยนแปลงปรับแต่งก่อนที่จะเปลี่ยนไปดำเนินการกับสินค้าประเภทต่อไป สถาน-

การณ์นี้ถูกแสดงไว้ในภาพที่ 3.2 ตัวอย่างคลาสสิคคือแม่พิมพ์แบบเจาะที่สามารถพิมพ์

ชิ้นส่วนที่เหมือนกันทุกชิ้นจากแผ่นโลหะด้วยอัตราความเร็วสูงมาก แต่อาจว่างงานเป็น

ระยะเวลานานขณะที่กำลังเปลี่ยนแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนประเภทอื่น การตัดสินใจว่า

จะดำเนินการผลิตชิ้นส่วนประเภทหนึ่งจำนวนกี่ชิ้นก่อนที่จะสลับไปผลิตอีกประเภทเป็น

การตัดสินใจเรื่องขนาดชุด (Batch Size) (หรือปริมาณงาน) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

เลือกระหว่างกำลังการผลิตและรอบเวลา

ภาพที่3.2กลไกของงานชุดแบบทำต่อเนื่องกัน

Page 6: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

7170SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 7170SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

ข้อสังเกตแรกคือ ขนาดชุดขั้นต่ำของงานที่ช่วยให้ปฏิบัติการทำงานได้ทันกับ

อัตราการรับงานเข้ามา คือ:

BSIZE > ARATE x ST

= 10 x 1

= 30 1 – ARATE x PT 1 – (10 x (4/60))

ดังนั้น ขนาดชุดต้องมีค่าอย่างน้อย 30 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าอัตราการใช้

ประโยชน์นั้นยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อขนาดชุดเท่ากับ 30 จึงเกิดแถวคอยเกิดขึ้นมาก

พอสมควร ภาพที่ 3.4 แสดงให้เห็นว่า สำหรับกรณีนี้ รอบเวลาจะมีค่าต่ำที่สุดได้เมื่อ

ใช้ขนาดชุดเท่ากับ 63 ด้วยขนาดชุดนี้ รอบเวลารวมจะมีค่าประมาณ 33 ชั่วโมง

ขนาดชุดที่เท่ากับ 63 นั้นนับว่าขนาดใหญ่มากและมีผลทำให้เกิดความล่าช้า

จากการรอคอยงานให้ครบชุดสูงมากพอควร ถ้าเราลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร (ST)

ได้ครึ่งหนึ่ง คือเหลือ 30 นาที ขนาดชุดขั้นต่ำของงานก็จะลดลงครึ่งหนึ่งด้วย คือเหลือ

15 และขนาดชุดที่จะลดรอบเวลาให้เหลือน้อยที่สุดจะลดลงเหลือ 31 รอบเวลารวมที่

ขนาดชุดระดับนี้จะลดลงจาก 33 ชั่วโมง เหลือ 16.5 ชั่วโมง

ภาพที่3.4ผลกระทบของการลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรต่อการทำงานเป็นชุดแบบต่อเนื่องกัน

และต่อรอบเวลา

Page 7: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

7372SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 7372SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

เข้าใจด้วยตัวอย่างเปรียบเทียบ

ทางแยกบนถนน

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไฟฟ้าดับทำให้สัญญาณไฟจราจรที่ทางแยกที่จอแจแห่งหนึ่งเกิด

ดับลงไป?จะมีเปลี่ยนเป็นป้ายสัญญาณหยุดชั่วคราวและการจราจรจะติดขั้นหลายช่วงตึกใน

ทุกด้าน

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? เนื่องจากมารยาทการจราจรที่ทางแยกซึ่งมีป้ายหยุด

ทำให้คนขับรถขับผ่านไปทีละคันคันหนึ่งขับผ่านทางแยกไปทางตะวันออก-ตะวันตกและอีก

คันขับไปทางทิศเหนือ-ใต้ขนาดชุดจะเท่ากับ1แต่ก็มีเวลาการปรับตั้ง(คือเวลาตอบสนอง

และการเร่งเครื่อง)เข้ามาเกี่ยวข้องกับรถยนต์แต่ละคันด้วยดังนั้นขนาดชุดเท่ากับ1จึงมี

ขนาดเล็กเกินไป เวลาการปรับตั้งที่เป็นส่วนเกินทำให้ระบบทำงานหนักเกินไปและทำให้การ

จราจรก่อตัวติดขัด

ที่ตรงกันข้ามกับปัญหาไฟทางแยกที่ล้มเหลวคือสถานการณ์ที่มีไฟจราจรใช้การได้

แต่มีช่วงไฟเขียวนานเกินไปในแต่ละทิศทาง เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ทำให้เกิดจราจรติดขัด แต่

คราวนี้เป็นเพราะรถยนต์อีกด้านต้องรอสัญญาณไฟเขียวเป็นระยะเวลานานขนาดชุดมีขนาด

ใหญ่เกินไปซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้าอยู่ ไม่น้อยขณะที่รอให้ขนาดชุดครบจำนวน

การปรับแต่งไฟจราจรให้ ได้เหมาะสมที่สุด หรือมีเวลาเฉลี่ยของการรอคอยน้อย

ที่สุด เป็นปัญหาที่คล้ายกับปัญหาของการหาขนาดชุดเพื่อจะลดรอบเวลาให้ ได้ต่ำที่สุดใน

ปฏิบัติการแบบทำงานเป็นชุด โดยเนื้อแท้ของมันแล้ว ทางเลือกที่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง

จะเหมอืนกบัทีแ่สดงไว้ ในภาพที่ 3.3 โชคดทีีว่ศิวกรดา้นการจราจรกร็ูเ้กีย่วกบัทางเลอืกนีแ้ละ

(โดยปกติแล้ว)กำหนดไฟจราจรไว้อย่างเหมาะสม

ภาพที่ 3.5 แสดงให้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างรอบเวลา

และขนาดชุด เมื่อมีขนาดชุดในการขนถ่ายเท่ากับ 1 เส้นโค้งด้านบนจะแทนกรณีที่มี

เวลาการปรับตั้งเครื่องจักร 30 นาทีจากภาพที่ 3.4 ขณะที่เส้นโค้งด้านล่างแทนกรณีที่ชิ้น

ส่วนถูกเคลื่อนย้ายไปทางปลายน้ำทีละชิ้นเมื่อเสร็จกระบวนการที่สถานีกัดชิ้นงานแล้ว

เนื่องจากว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไม่จำเป็นต้องรอเพื่อนร่วมชุดของมัน รอบเวลารวมจึง

ลดลงได้ด้วยหลักปฏิบัตินี้ นั่นคือ การแบ่งขนาดชุดเพื่อการเคลื่อนย้าย (Move

Page 8: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

7372SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 7372SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

Batch Splitt ing) ในระบบที่มีเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรสูงและมีขนาดชุดของ

กระบวนการใหญ่ การลดขนาดชุดในการเคลื่อนย้ายสามารถมีผลกระทบต่อรอบเวลา

รวมได้มาก

3.4 การจัดชุดของงานแบบหลายผลิตภัณฑ์

เนื้อหาข้างต้นได้ชี้ให้เห็นประเด็นหลักแล้วว่า โดยหลักแล้ว การทำงานเป็นชุด

คือการสมดุลระหว่างกำลังการผลิต (Capacity) และความล่าช้า (Delay) ถ้าสินค้าทุก

หน่วยเหมือนกันหมด ปัญหาก็จะเป็นเพียงแค่การหาขนาดชุดที่คงที่ซึ่งช่วยให้มีสมดุลที่

ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม ในระบบส่วนใหญ่ สินค้า (ผลิตภัณฑ์ ลูกค้า ชุดข้อมูล ฯลฯ) ไม่

ได้เหมือนกันทุกหน่วย ดังนั้น นอกเหนือจากการหาสมดุลระหว่างกำลังการผลิตและ

ความล่าช้าแล้ว เรายังต้องตอบปัญหาว่าจะแยกแยะขนาดชุดแต่ละขนาดระหว่างสินค้า

แต่ละประเภทอย่างไรด้วย

แนวทางที่นิยมใช้กับปัญหาการจัดชุดของงานคือ แบบจำลองปริมาณสั่งซื้อ

ที่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Order Quantity : EOQ)1 แบบจำลองนี้

(ซึ่งนำเสนอในบทที่ 7) พยายามหาสมดุลระหว่างต้นทุนการถือครอง (Holding Cost)

(ซึ่งเป็นสัดส่วนกับสินค้าคงคลัง และดังนั้นจึงเป็นสัดส่วนกับรอบเวลาด้วย) และต้นทุน

ในการปรับตั้งเครื่องจักร ในสถานการณ์ของการสั่งซื้อ ซึ่งต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าชุด

หนึ่งๆ เป็นค่าคงที่ (คือ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของคำสั่งซื้อ) และแต่ละคำสั่งซื้อเป็นอิสระ

ต่อกัน (คือ มาจากผู้จัดส่งวัตถุดิบคนละราย) แบบจำลอง EOQ อาจมีประโยชน์มากใน

การกำหนดขนาดชุด

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการผลิต ซึ่ง “ต้นทุน” ของการปรับตั้งเครื่องจักร เป็น

เพียงตัวแทนของกำลังการผลิตเท่านั้น EOQ อาจนำไปสู่ปัญหาได้ ก่อนอื่นใด ไม่มี

หลักประกันอะไรว่าขนาดชุดที่ได้มาจากแบบจำลอง EOQ จะใช้งานได้จริง (เช่น อาจทำ

ให้อัตราการใช้ประโยชน์เกิน 100%) แม้ว่าจะใช้งานได้จากมุมของกำลังการผลิต การ

สร้างตารางกำหนดการผลิตจริงๆ จากค่า EOQ อาจเป็นเรื่องที่ยากมาก ตัวอย่างเช่น

1 รายละเอียดเกี่ยวกับแบบจำลอง EOQ สามารถหาอ่านได้ในหนังสือขั้นพื้นฐานเกือบทุกเล่มเกี่ยวกับการจัดการ

การดำเนินงาน รวมถึง Hopp และ Spearman (2000, บทที่ 2), Nahmias (1997, บทที่ 4) และ Silver, Pyke และ

Peterson (1998, บทที่ 5)

Page 9: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

8180SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 8180SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

ภาพที่3.7ตารางกำหนดการทำงานเป็นชุดซึ่งเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรลดลงครึ่งหนึ่ง

หลักการในชีวิตจริง TursJoist MacMillan

TrusJoist MacMillan (TJM) เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ไม้แบบพิเศษที่เรียกว่าParallam® โดยการตัดไม้เป็นแถบเล็กๆ แล้วบีบอัดเข้าด้วยกันด้วยกาวในแม่พิมพ์ ไมโครเวฟผลลัพธ์ที่ ได้คือคานที่มีความแข็งแรงเท่ากันตลอดทั้งท่อนเรียกว่า “Billet” ซึ่งสามารถเลื่อยออกเป็นชิ้นๆที่มีความกว้างความหนาและความยาวต่างกันได้ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเปล่า TJM จะตัดผลิตภัณฑ์สุดท้ายออกจาก Billet ที่มีขนาดความกว้างต่างกันอย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะเปลี่ยนขนาดความกว้างของ Billet ในกระบวนการ จำเป็นต้องทำความสะอาดและตั้งแม่พิมพ์ ใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ ใช้เวลานาน ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียกำลังการผลิตส่วนเกินไปกับการปรับตั้งเครื่องจักรTJMจึงดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ความกว้างระดับหนึ่งเป็นชุดที่มีขนาดใหญ่พอสมควร (โดยปกติแล้ว หมายถึงผลิตต่อเนื่องหลายวัน)ก่อนที่จะสลับแม่พิมพ์ ไปที่ความกว้างระดับอื่น

ปัญหาของการตัดสินใจว่าจะดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละแบบนานเพียงใดก่อนจะปรับตั้งเครื่องจักรอีกครั้ง คล้ายกับสถานการณ์การผลิตเป็นชุดที่มีผลิตภัณฑ์หลายแบบซึ่งกล่าวถึงในบทนี้ ขณะที่ TJM สามารถใช้ตารางกำหนดการทำงานแบบวนรอบได้ (เช่น

Page 10: Supply Chain Science THAI Version -5

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

8180SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน 8180SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 3

การจัดชุดของงาน

กำหนดลำดับของผลิตภัณฑ์ และผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละแบบตามลำดับนี้ ไประยะหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น) แต่สถานการณ์ที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วแสดงให้เห็นว่าวิธีการนี้ ไม่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ลองสมมติว่า TJM กำลังพิจารณาการดำเนินกระบวนการทั้งหมด 2 รอบในเดอืนนัน้ เพือ่ใหด้ำเนนิการผลติคานทีร่ะดบัความกวา้งแตล่ะขนาด 2 ชดุแตถ่า้สมมติต่อไปว่า มีคานระดับความกว้างหนึ่งที่มีความต้องการน้อยมาก การดำเนินการผลิตเพื่ออุปสงค์ทั้งเดือนสำหรับคานระดับความกว้างนี้ ในชุดเดียวเพื่อหลีกเลี่ยงการปรับตั้งเครือ่งจกัรดจูะสมเหตสุมผล การปรบัตัง้เหลา่นีอ้าจนำไปใชด้ำเนนิการผลติผลติภณัฑท์ีร่ะดบัความกว้างซึ่งมีความต้องการสูงได้ถึง 3 รอบ เพื่อลดการก่อตัวสะสมของสินค้าคงคลังซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือน หรืออาจตัดออกไปเลยเพื่อลดอัตราการใช้ประโยชน์ของแม่พิมพ์สิ่งที่สำคัญคือการคิดในแง่ของการกระจายเวลาปรับตั้งเครื่องจักรให้กับผลิตภัณฑ์ทุกแบบคงไม่ ได้ช่วยใหม้ตีารางกำหนดการทำงานทีด่กีวา่การคดิในแงข่องการกำหนดขนาดชดุขนาดตา่งๆสำหรบัการดำเนินการผลิต

ระบบของ TJM นั้นมีช่องโหว่หนึ่งที่น่าสนใจและเป็นโอกาสที่จะลดการปรับตั้งเครื่องจักรได้มากขึ้นอีก เนื่องจากParallamเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการก่อสร้างอุปสงค์จึงเปน็ไปตามฤดกูาลในชว่งฤดหูนาวอปุสงคท์ัง้หมดจะตำ่กวา่กำลงัการผลติแตช่ว่งฤดใูบไมผ้ลิและต้นฤดูร้อนอุปสงค์จะสูงกว่ากำลังการผลิตไปมากผลก็คือTJMจะเก็บสินค้าคงคลังไว้ในช่วงนอกฤดูกาลเพื่อที่จะได้ตามอุปสงค์ ในช่วงฤดูที่มีความต้องการสูงได้ทัน ความเข้าใจทั่วๆ ไปคงพิจารณาให้สะสมสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะว่าน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าการปรับตั้งเครื่องจักรมผีลกระทบต่อตารางเวลาการทำงานมาก จึงอาจมีสาเหตุที่ทำให้เราตัดสินใจสวนทางกับความเข้าใจทั่วไป

เพื่อให้เห็นภาพ ลองสมมติว่าผลรวมของอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ที่ตัดมาจาก Billetขนาดความกว้างระดับหนึ่งเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของอุปสงค์รวม ถ้า TJM ผลิตจำนวนส่วนใหญ่ (เช่น 75หรือ 80%) ของปริมาณที่ ได้พยากรณ์ ไว้สำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้แต่ละแบบในช่วงฤดูกาลที่มีความต้องการสูง TJM ก็สามารถเลี่ยงการดำเนินการกับผลิตภัณฑ์ความกว้างระดับนี้ ได้นานถึงช่วงกลางๆของฤดูกาลนั้นนั่นคือTJMสามารถตอบสนองคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้จากสินค้าคงคลังด้วยการที่ ไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนมาผลิตBilletขนาดความกว้างนี้ TJM จะสามารถเลี่ยงการปรับตั้งที่ ใช้เวลานานได้ส่วนหนึ่ง และใช้เวลาที่เหลือเพิ่มขึ้นผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เป็นที่ต้องการได้

ในอุตสาหกรรมที่แข่งขันกันด้านราคาอย่างเช่นไม้และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างการใช้หลักการของการจัดชุดของงานอย่างชาญฉลาด อาจสร้างความแตกต่างได้มากในด้านผลกำไรและการอยู่รอดในระยะยาว