13
37 กระแสวัฒนธรรม การศึกษาภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ ้านในการรักษาผู้ป่วยกลุ ่มอาการสตรีวัยทอง จังหวัดจันทบุรี The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal Syndrome Treatment Chantaburi Province Suratsawadee Sinwat et al. Mahasarakham University บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ความรู้ของแพทย์พื้นบ ้าน จังหวัดจันทบุรี และศึกษากระบวนการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ท�าการเก็บข้อมูลภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของแพทย์พื้นบ ้านมีมานานนับพันป ี ตามวิถีแห่งพุทธศาสนาโดยเชื่อว ่า ความเจ็บป่วยเกิดจากธาตุดิน น�้า ลม ไฟ ภายในร่างกายเสียสมดุล ในด้านองค์ความรู้ของแพทย์พื้นบ้าน ในการรักษา พบว่า อาการจะปรากฏเมื่อสตรีอายุ 40–50 ปี อาการส�าคัญ คือ เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ หงุดหงิดและหมดแรงจนต้องมาเข้ารับการรักษา แพทย์พื้นบ้านมีอายุระหว่าง 60–91 ปีมีคุณสมบัติส�าคัญ คือ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรม ในด้านกระบวนการรักษาจะเริ่มจากการซักประวัติ การสังเกตสภาพร่างกายผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การจับชีพจร การค�านวณวัน เดือน ปีเกิด เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค ในด้านค่ารักษา แพทย์ไม่คิดค่ารักษาแล้วแต่คนไข้ศรัทธาที่จะมอบให้ การรักษาใช้ยาสมุนไพรต�ารับที่พบว ่ามี 6 ต�ารับ ซึ่งมีแหล่งที่มาของสมุนไพรจากการปลูกหรือเก็บจากธรรมชาติและการซื้อในชุมชน ระยะเวลาในการรักษา ถ้าเป็นระยะแรกจะดีขึ้นภายใน 3 วัน แต่ต้องทานยาต่อเนื่องอีก 1–2 เดือน โดยมีการติดตามผลการรักษา สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ในกรณีของผู ้ที่ป่วยหนักต้องรักษาต่อเนื่องจะหายภายใน 2–3 เดือน งานวิจัยนี้ส่งผล ให้เกิดการอนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ค�าส�าคัญ : ภูมิปัญญา แพทย์พื้นบ้าน กลุ่มอาการสตรีวัยทอง Abstracts The purpose of this research was to study the history and knowledge of folk medicine and to study the healing process with folk medicine knowledge, to qualitative research methodology, to collect fieldwork data and to descriptive analysis. The research found that the history of folk medicine knowledge has been for thousands of years, according to the Buddhist way of thinking that the illness is caused by soil, water, wind, fire within the body to unbalance, In terms of the folk medicine knowledge. It was found that the symptoms occurred when the women were 40–50 years old. Symptoms of sweating, insomnia, irritability, and exhaustion until they are treated, folk medicine the age of 60–91

The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

37กระแสวัฒนธรรม

การศึกษาภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษาผู ้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทอง จังหวัดจันทบุรี

The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal Syndrome Treatment Chantaburi Province

SuratsawadeeSinwatetal.MahasarakhamUniversity

บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ความรู ้ของแพทย์พื้นบ้าน จังหวัดจันทบุรีและศึกษากระบวนการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพท�าการเก็บข้อมูลภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของแพทย์พื้นบ้านมีมานานนับพันปี ตามวิถีแห่งพุทธศาสนาโดยเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากธาตุดินน�้าลม ไฟภายในร่างกายเสียสมดุลในด้านองค์ความรู้ของแพทย์พ้ืนบ้านในการรักษาพบว่าอาการจะปรากฏเมื่อสตรีอายุ40–50ปีอาการส�าคัญคือเหงื่อออกมากนอนไม่หลับหงุดหงิดและหมดแรงจนต้องมาเข้ารับการรักษาแพทย์พ้ืนบ้านมีอายุระหว่าง60–91ปีมีคุณสมบัติส�าคัญคือต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านกระบวนการรักษาจะเริ่มจากการซักประวัติการสังเกตสภาพร่างกายผู้ป่วยการตรวจร่างกายการจับชีพจรการค�านวณวันเดือนปีเกิด เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคในด้านค่ารักษา แพทย์ไม่คิดค่ารักษาแล้วแต่คนไข้ศรัทธาที่จะมอบให้ การรักษาใช้ยาสมุนไพรต�ารับที่พบว่ามี 6ต�ารับ ซึ่งมีแหล่งที่มาของสมุนไพรจากการปลูกหรือเก็บจากธรรมชาติและการซื้อในชุมชนระยะเวลาในการรักษาถ้าเป็นระยะแรกจะดีข้ึนภายใน3วันแต่ต้องทานยาต่อเนื่องอีก1–2 เดือนโดยมีการติดตามผลการรักษาสัปดาห์ละ3ครั้ง ในกรณีของผู้ที่ป่วยหนักต้องรักษาต่อเนื่องจะหายภายใน2–3 เดือนงานวิจัยนี้ส่งผล ให้เกิดการอนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง

ค�าส�าคัญ:ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านกลุ่มอาการสตรีวัยทอง

Abstracts Thepurposeof this researchwas to study thehistory and knowledgeof folk medicineandtostudythehealingprocesswith folkmedicineknowledge, toqualitativeresearchmethodology,tocollectfieldworkdataandtodescriptiveanalysis.Theresearchfound that thehistoryof folkmedicineknowledgehasbeen for thousandsofyears, accordingtotheBuddhistwayofthinkingthattheillnessiscausedbysoil,water,wind,firewithinthebodytounbalance,Intermsofthefolkmedicineknowledge.Itwasfoundthatthesymptomsoccurredwhenthewomenwere40–50yearsold.Symptomsofsweating,insomnia,irritability,andexhaustionuntiltheyaretreated,folkmedicinetheageof60–91

Page 2: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

38 กระแสวัฒนธรรม

yearsoldhastheessentialqualitiesofbeingamoralprinciple,inthetreatmentprocess,aphysicalexaminationofthepatient,aphysicalexaminationbypulse,andacalculationof thedataofbirth.Diagnosis in thecollectionofmedicalexpenses frompatients, thefolkmedicinewillnotchargemoneyfortreatment,thepatientwillgivemoneybyfaith. Thetimeoftreatmentiftheinitialillnessisimprovedwithin3days,butneedtocontinuetakingthedrugforto1–2monthsandfollowtheresultsofthetreatment3timesaweek.In thecaseofheavy–dutypatients,continuoustreatmentandcurewithin2–3months. Thisresearchresultedinextensivelocalherbalconservation

Keywords : knowledge,folkmedicine,MenopausalSyndrome

บทน�า ศาสตร์ของการดูแลสุขภาพเป็นศาสตร์หนึ่งท่ีมีการผสมผสานองค์ความรู้ของท้องถ่ิน มีการสืบทอดและเชื่อถืออยู่ในกลุ่มชนต่อๆกันมาจนกลายเป็นระบบการแพทย์ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางวิชาการซึ่งปัจจุบันเรียกว่าการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พ้ืนบ้าน(Sornlum,P.,1990)องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน เป็นความรู้ที่สืบทอดผ่านประสบการณ์ตรงและเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นหลัก ความรู้ส่วนหนึ่งเป็นการบอกเล่าสืบต่อในระบบเครือญาติหมอพื้นบ้านเติบโตในวัฒนธรรมท้องถิ่นและซึมซับความรู้สึกนึกคิดศรัทธาและวิธีคิดในชุมชนเป็นพื้นฐานความรู้และวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจึงสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวาลทัศน์ของท้องถิ่นและเป็นความเข้าใจที่อาศัยการถ่ายทอดผ่านสื่อภาษาสัญลักษณ์และพิธีกรรมที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมร่วมกันของชุมชน (Juingsatiensap,K.,2004)ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแพทย์พื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชุมชนและวัฒนธรรมไทย การส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบ ต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานว่าการแพทย์ทุกระดับต่างมีคุณค่าศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกัน(Foundation ofThaiTraditionalMedicine,2007) ระบบการแพทย์แต่ละระบบต่างเป็นทางเลือกและต่างเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพซึ่งกันและกัน โดยมุ่งสุขภาวะและส่งเสริมการพ่ึงตนเองของประชาชน เป็นส�าคัญหรือมีเป้าหมายสูงสุดคือการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ (Department forHealthServices;MinistryofPublicHealth,2010) ในปัจจุบันสตรีไทยมีอายุเฉล่ียเพ่ิมขึ้น จากข้อมูลของส�านักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยปี2540พบว่าประเทศไทยมีสตรีวัยหมดระดู (อายุระหว่าง40–60ปี)อยู่ประมาณ 3.8ล้านคนและเพิ่มขึ้นเป็น4,126,000คน ในปี2543การที่อายุเฉลี่ยของสตรีไทยมีแนวโน้มเพิ่มข้ึน ท�าให้สตรีวัยนี้ต้องใช้ชีวิตในช่วงวัยหมดระดูที่ยาวนานขึ้น โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรีได้มีการรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทองด้วยยาสมุนไพรต�ารับ โดยปี 2556–2558อาการวัยทองพบมากเป็นอันดับ4 ที่มารับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์มีจ�านวนกว่า129ราย เฉลี่ยอายุผู้ป่วยวัยทองอยู่ในช่วงอายุ 52ปี ซึ่งจากการติดตามผลการรักษาเบื้องต้นพบว่าผู้ป่วยหายจากอาการวัยทองจ�านวน86คน (ร้อยละ66.88)ผู้ป่วยอาการดีขึ้นจ�านวน34คน (ร้อยละ25.57)ผู้ป่วยที่ก�าลังรักษามีแนวโน้มที่ดีขึ้น จ�านวน 9คน (ร้อยละ 6.20) โดยส่วนหนึ่งของผู ้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เคยกินยาแผนปัจจุบันแล้วไม่หายอาการคงเดิมกลัวภาวะแทรกซ้อนของยาฮอร์โมนและจากการบอก

Page 3: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

39กระแสวัฒนธรรม

ต่อของผู้ป่วยท่ีเคยรักษาแล้วดีข้ึน (Swasdichai, C., 2016,p.12) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้อายุขัยเฉล่ียของผู้หญิงระหว่างปีพ.ศ.2550–2553เท่ากับ73ปีและในระหว่างปีพ.ศ.2553–2558 เท่ากับ73.58ปีจะเห็นได้ว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิง มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆและเมื่อเข้าสู ่วัยทองเป็นวัยที่มีการท�างานของต่อมไร้ท่อของระบบสืบพันธุ ์ที่มีฮอร์โมนเพศลดลงท�าให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าท่ีของร่างกายเกิดอาการที่รบกวนความรู้สึกและจิตใจซึ่งสร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงวัยนี้เป็นอย่างมากและจะมีผลกระทบต่ออวัยวะในระบบต่างๆ ของร่างกาย ผลกระทบทางด้านจิตใจ เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่าMenopausal Syndrome และ Andropausal Syndromeซึ่งได้แก่อาการเปล่ียนแปลงทางระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบหัวใจและ หลอดเลือดระบบทางเดินปัสสาวะระบบสืบพันธุ์ และระบบโครงกระดูกก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อ ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก(Sirayapiwat,P.,2008,p.81)ในการจัดบริการดูแลประชาชนกระทรวงสาธารณสุขให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งจัดตั้งคลินิกวัยทองโดยเฉพาะหรือบูรณาการเข้ากับคลินิกส่งเสริม สุขภาพอื่นๆ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลุ ่มอาการสตรีวัยทองยังมีอีกมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึง การรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ท่ีอาศัยอยู่ในชนบท ซ่ึงต้องอาศัยการเข้ารับการรักษาจากแพทย์พื้นบ้านเป็นหลัก ช่วงวัยทองเป็นช่วงอายุที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งภาระด้านเศรษฐกิจ สังคม ทั้งในครอบครัวและนอกครอบครัวนอกจากนี้วัยนี้ยังต้องเผชิญกับความเส่ือมของอวัยวะต่างๆในร่างกาย จึงมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพได้ง่าย และคาดว่าในปี 2573 ร้อยละ76ของสตรีวัยหมด ประจ�าเดือนท้ังหมดจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก�าลังพัฒนา (Thanua,W., 2001,p.3)การเปลี่ยนแปลง และปัญหาท่ีพบในวัยหมดประจ�าเดือนก�าลังเป็นเร่ืองที่พบได้ในทุกภูมิภาคทั่วโลก ส�าหรับประเทศไทยแพทย์พื้นบ้านนับว่าเป็นท่ีพึ่งพิงด่านแรกของประชาชน เป็นบุคคลที่มีคุณูประการในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองการเลือกท�าวิจัยเรื่องนี้เนื่องจากอาการสตรีวัยทอง เป็นอาการที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วยและผู้ป่วยกลุ่มอาการน้ีมีเป็นจ�านวนมาก งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยช่วยลดปัญหาการหย่าร้างหรือปัญหาครอบครัวลงได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง วัตถุประสงค์ 1.ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ความรู้ของแพทย์พ้ืนบ้านในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองจังหวัดจันทบุรี 2.ศึกษากระบวนการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน

ประโยชน์ที่ได้รับ 1.เกิดผลดีด้านวิชาการการเผยแพร่งานวิจัย เป็นการยกระดับภูมิปัญญาความรู้ด้านการแพทย์ พื้นบ้านในการรักษาผู ้ป่วยอาการสตรีวัยทอง ซ่ึงเป็นวัฒนธรรมทางด้านสุขภาพของไทยให้เผยแพร ่ทั่วประเทศและสู่สากล เป็นผลงานทางด้านวิชาการที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจการแพทย์พ้ืนบ้านสามารถ ใช้ศึกษาและอ้างอิงต่อไป 2.เป็นองค์ความรู้ใหม่ของวิธีการรักษาผู้ป่วยอาการวัยทอง ด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านซ่ึงเป็น ผลของการวิจัยทางวัฒนธรรมจะน�าไปสู่การโน้มน้าวให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน

Page 4: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

40 กระแสวัฒนธรรม

3.น�าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต�ารับไทยใช้ง่าย สะดวกประหยัดเวลาและงบประมาณ เป็นที่ยอมรับของผู้เก่ียวข้องท้ังผู้ป่วยและญาติ และบุคลากรทาง การแพทย์อื่น 4.เป็นแนวทางส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยของแพทย์ด้านการรักษาด้วยวิธีการแพทย์ผสมผสาน โดยให้สอดคล้องด้านวัฒนธรรมสุขภาพอื่นๆ

วิธีด�าเนินการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(QualitativeResearch)(Chantachon,S.,2014)น�าเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ท�าการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์การสังเกต(Observation)การสนทนากลุ่ม(FocusGroupDiscussion) พื้นที่วิจัยได้แก่อ�าเภอเมืองอ�าเภอขลุงและอ�าเภอมะขามจังหวัดจันทบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรได้แก่แพทย์พื้นบ้านผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษามีการคัดเลือกแบบเจาะจงท�าให ้ได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น2กลุ่มประกอบด้วย 1.แพทย์พื้นบ้านจ�านวน5คนที่มีความช�านาญในการรักษาอาการสตรีวัยทองหรือโรคสตรี 2.ผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษาจ�านวน20คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ปลายเปิดหรือการสัมภาษณ์เชิงลึก(In–depthInterview)เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์แพทย์พื้นบ้าน 2.แบบสังเกต (Observation) เพื่อสังเกตกระบวนการรักษาของแพทย์พื้นบ้านผู้ป่วยและญาต ิที่เข้ารับการรักษา 3.แบบการสนทนากลุ่ม (FocusGroup) เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษา ในประเด็นความเชื่อความศรัทธาในวิธีการรักษาและผลการรักษา 4.วัสดุและอุปกรณ์การจดบันทึกเครื่องบันทึกเสียงและกล้องถ่ายภาพนิ่ง การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับพื้นที่ท่ีท�าการศึกษาวิจัยศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวกับหมอพ้ืนบ้านและศึกษาเอกสารที่เป็นข้อมูลการตรวจวินิจฉัยและกระบวนการการรักษา 2.ศึกษาภาคสนาม(FieldStudies)โดยใช้เครื่องมือการวิจัยแต่ละอย่างตามความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลเบ้ืองต้น ได้ท�าไปพร้อมๆกันตลอดระยะเวลาที่ด�าเนินการวิจัยและเมื่อเสร็จส้ิน การเก็บข้อมูลภาคสนามแล้ว โดยได้น�าข้อมูลทั้งที่ได้จากการบันทึกข้อมูล การถอดเทปสัมภาษณ์ และการถ่ายภาพมาท�าการจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามแต่ละประเภทตามที่ได้ต้ังประเด็นไว้และตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่งว่าข้อมูลที่ได้มามีความครบถ้วนเพียงใดมีความน่าเชื่อถือหรือไม่โดยการตรวจสอบแบบสามเส้า(Triangulation)ซึ่งจะมีการตรวจสอบทั้ง3ด้านคือด้านข้อมูลด้านผู้วิจัยและด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

Page 5: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

41กระแสวัฒนธรรม

การน�าเสนอข้อมูล การน�าเสนอข้อมูลได้น�าเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตาม ความมุ่งหมายของการวิจัย สรุปผลการวิจัย ในการน�าเสนอข้อมูลการศึกษาภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองจังหวัดจันทบุรีสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.ประวัติความเป็นมาและองค์ความรู้ของแพทย์พื้นบ้าน 1.1)ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์แผนไทย มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของคนไทยมานานนับพันปีและด้วยวิถีชีวิตที่เป็นชาวพุทธการด�าเนินชีวิตตั้งแต่เกิดแก่ เจ็บและตาย เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาท้ังสิ้นดังนั้นการแพทย์แผนไทยจึงอาศัยแนวทางของพุทธศาสนาเช่นกัน นอกจากนั้นการแพทย์แผนไทยยังเกี่ยวข้องกับการด�ารงชีวิตที่เป็นธรรมชาติ มีแบบแผน เป็นเอกลักษณ์ของตนเองความเจ็บป่วยมิได้มองเพียงแต่เชื้อโรคแต่มองสาเหตุความเจ็บป่วยจากความไม่สมดุลของร่างกายซึ่งสาระต่างๆ ท่ีเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคการวินิจฉัยโรคตามทฤษฎี การแพทย์แผนไทยนั้น ได้มีไว้ในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ คัมภีร์ท่ีมีอยู ่ในต�าราแพทยศาสตร์สงเคราะห์พอสรุปได้ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับระบบทฤษฎีโรคของการแพทย์แผนไทยนั้น เชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากการที่ ธาตุภายในร่างกายภาวะเสียสมดุลซึ่งธาตุภายในร่างกายประกอบด้วยธาตุดินหมายถึงองค์ประกอบในส่วนที่เป็นโครงสร้างมีคุณสมบัติไปทางแข็งอยู่นิ่งและคงตัวเป็นองค์ประกอบที่ท�าให้ทั้งระบบคงรูปร่างอยู่ได ้ธาตุน�้าหมายถึงองค์ประกอบที่เป็นของเหลวมีคุณสมบัติซึมซาบท�าให้อ่อนตัวเป็นตัวกลางที่ท�าให้สิ่งต่างๆไหลเวียนไปธาตุลมหมายถึงพลังขับดันภายในระบบร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวหมุนเวียนธาตุไฟหมายถึงพลังที่ท�าให้เกิดความอบอุ่นความร้อนและการเผาไหม้ สาเหตุที่ท�าให้ร่างกายเสียสมดุลและเกิดความเจ็บป่วยประกอบไปด้วย2ส่วนคือ 1)สมุฎฐานของโรคหมายถึงที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคประกอบด้วย ธาตุสมุฏฐานแสดงถึงความเจ็บป่วยต่างๆว่ามีสาเหตุจากการแปรปรวนของธาตุในร่างกายคือดินน�้าลมไฟซึ่งจะผิดปกติใน3ลักษณะคือก�าเริบหย่อนพิการและมีความเกี่ยวข้องกับธาตุเจ้าเรือนของ แต่ละบุคคลว่ามีธาตุใดอยู่ในบุคคลน้ันอายุสมุฏฐานแสดงถึงบุคคลในช่วงวัยต่างกันจะมีจุดอ่อนของสุขภาพที่ท�าให้เจ็บป่วยแตกต่างกันไปอุตุสมุฏฐานแสดงถึงฤดูกาลต่างๆที่มีสภาพดินฟ้าอากาศแตกต่างกัน ท�าให้เกิดความเจ็บป่วยได้แตกต่างกันประเทศสมุฏฐานแสดงถึงถิ่นก�าเนิดที่อยู่ของบุคคลที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรคแตกต่างกันกาลสมุฏฐานแสดงถึงช่วงเวลาต่างๆ ในแต่ละวันที่เป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรค 2)มูลเหตุของโรคตามหลักการแพทย์แผนไทยเชื่อว่าพฤติกรรมต่างๆของแต่ละบุคคลหากไม่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนจะเป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรค ได้แก่กินอาหารมากหรือน้อยเกินไปกินอาหารบูด หรืออาหารที่ไม่เคยกิน กินอาหารไม่ถูกกับธาตุ ไม่ถูกกับโรค ฝืนอิริยาบถ ได้แก่ การนั่ง ยืน เดิน นอนไม่สมดุลกันท�าให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุลและเสื่อมโทรมอากาศไม่สะอาดอยู่ในที่อากาศร้อน

Page 6: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

42 กระแสวัฒนธรรม

หรือเย็นเกินไปการอดได้แก่การอดข้าวอดน�้าอดนอนขาดอาหารการกลั้นอุจจาระปัสสาวะท�างานเกินก�าลังมากหรือมีกิจกรรมทางเพศมากเกินไปมีความโศกเศร้าเสียใจหรือดีใจจนเกินไปขาดอุเบกขามีโทสะมากเกินไปขาดสติ จากสมุฏฐานแห่งโรคและมูลเหตุของโรคที่กล่าวไปแล้วน้ันสามารถสรุปได้ว่าความสมดุลแห่งธาตุในร่างกายประกอบไปด้วยธาตุดินน�้าลมไฟซึ่งธาตุทั้งสี่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตนที่ถูกต้องหรือมีพฤติกรรม ที่เหมาะสมถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ดีจะส่งผลให้มีสุขภาพดีถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะส่งผลให ้เกิดการเจ็บป่วยได้ 1.2)องค์ความรู้แพทย์พ้ืนบ้านในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองแพทย์พ้ืนบ้านได้ให้ ข้อมูลเก่ียวกับอาการเจ็บป่วยในผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองมักจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุจะอยู่ในช่วง 40–50ปี เกิดจากการท่ีปิตตะและวาตะมีความแปรปรวนจึงมากระทบกับกองพิกัดสมุฏธาตุท�าให้เกิดอาการผิดปกติของธาตุในร่างกายคือปวดเมื่อยตามร่างกายวัยทองเกิดจากธาตุผิดปกติ ระบบเลือดลม ไม่สมดุลร้อนวูบวาบ เหงื่อออกนอนไม่หลับ เหนื่อยง่ายอ่อนเพลียครั่นเนื้อครั่นตัวหงุดหงิดนอกจากนี้ ยังเกิดจากสาเหตุเกี่ยวกับมีการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวจะท�าให้อาการวัยทองก�าเริบมากขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งคือความเสื่อมของร่างกายหูอื้อตาพร่าร้อนในเนื้อฮอร์โมนเปลี่ยนง่วงเหงาหาวนอนขี้เกียจ เลือดน้อยหมดแรง เลือดลมไม่ปกติ เหมือนมีอะไรวิ่งในตัว เส้นในตัวเต้นตุ๊บๆหรือร้อนซู่ซ่าตามผิวหนังรังไข่แห้งจนน�าไปสู่การทะเลาะกับสามีบ่อยคร้ังมีพฤติกรรมการกินมักไม่ค่อยเลือกรับประทานอาหาร จะมีอาการผอมเหลือง คล้ายๆกับโรคลูกอ่อนลูกแก่ ไฟธาตุต�่า หนาวสะท้าน สะบ้าบวมมดลูกบวม ประจ�าเดือนไม่ปกติ อาบน�้ากลางคืนก็จะหนาวมากท�าให้ธาตุไฟต�่ามีผลท�าให้ไม่ขับถ่าย กินหัวหอมมาก ก็จะแพ้ มือจะเหงื่อออกเป็นยางเหนียวสามารถวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบอ้างอิงอาการดังกล่าวซึ่งทาง การแพทย์แผนไทยได้มีคัมภีร์กล่าวไว้ดังนี้ ปิตตะ“...เมื่อเหตุก�าเริบมี จะก่อโรคอาเพศเป็น ให้กินอาหารร้อนบ่มิชอบอาหารเย็นสิ่งเปรี้ยว อยากเว้น ย่อมพอใจเผ็ดร้อนบูดของเน่ามักพอใจมักผิงไฟมิได้หยุด น�้าร้อนมักด่ืมดูด มักโกรธเมื่อ ตะวันเที่ยงมักกินในกลางคืนชอบบ่ตื่นยังกรนเสียงอาบน�้าเมื่อดึกเที่ยงราตรีร้อนบ่นอนหลับอาเพศทั้งสิบนี้ เป็นเพื่อดีก�าเริบจับกล่าวเหตุก็เสร็จสรรพจะกลับกล่าวโรคเพ่ือดี วิบัติอาการโรค สิบห้าส่ิงมักย่อมมี ผู้ใดเป็นเช่นนี้ มักสะท้านให้ร้อนหนาวหลงใหลนอนไม่หลับย่อมมักรากเป็นคราวๆคอแห้งร้อนผะเผ่า ทั้งร้อนปากขึ้นจมูกร้อนหน้าเหงื่อบ่มิตกย่อมพรั่งพรูพูดผิดถูก เพ้อพกบ่มิสุขย่อมไหลหลงมัวเมาหนัก จักษุนั้นก็แหลมเห็นสิ่งของมักรู้จักตาเหลืองเบาเหลืองนักมักวิงเวียนแสบร้อนหน้าให้ร้อนระส�่าระสาย...” ปิตตะแปลว่าไฟกล่าวคือเปลวเทียนหรือเปลวไฟย่อมมองเห็นได้แต่พลังงานความร้อนของร่างกายซึ่งเกิดจากการเผาผลาญMetabolismนั้นไม่อาจมองเห็นได้ปิตตะจึงหมายถึงการย่อยอาหารการดูดซึม อุณหภูมิกายสีผิวหนังประกายตาความฉลาดและความเข้าใจ ส่วนท่ีเกี่ยวกับจิตใจปิตตะหมายถึง ความโกรธ ความเกลียดความอิจฉาปิตตะมีที่ตั้งอยู ่ที่ล�าไส้เล็ก กระเพาะอาหารต่อมเหง่ือ โลหิต เนื้อเยื่อไขมันซึ่งประกอบด้วยธาตุไฟและธาตุน�้ารวมกัน คัมภีร์โรคนิทานกล่าวว่า ธาตุสมุฏฐาน ได้แก่ ปถวีธาตุ (ดิน) อาโปธาตุ (น�้า) วาโยธาตุ (ลม) เตโชธาตุ (ไฟ) ซึ่งมีทั้งสิ้น 42สิ่ง ถ้าเกิดความผิดปกติต่างๆกันสามารถแจกแจงอาการของโรคได้เป็น ก�าเริบหย่อนพิการโดยจะรู้ได้จากการซักประวัติการตรวจร่างกายและการสังเกตจากอาการเจ็บป่วยของ ผู้ป่วยจากนั้นจึงวินิจฉัยถึงสมุฏฐานของโรคมูลเหตุของโรคและก�าหนดวิธีการรักษาต่อไป

Page 7: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

43กระแสวัฒนธรรม

1.3)ประวัติความเป็นมาของแพทย์พื้นบ้าน แพทย์พ้ืนบ้านมีวิถีชีวิตในครอบครัวและได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการรักษาท่ีแตกต่างกันไป และพบว่าอายุของแพทย์พื้นบ้านจังหวัดจันทบุรีอยู่ระหว่าง60–91ปี ส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวที่มี เครือญาติเป็นแพทย์พื้นบ้านมาก่อน ได้รับความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านทั้งจากครอบครัวและแหล่งอื่นๆ ในกรณีของหมอธนูพูลทวี ได้เร่ิมเรียนวิชาแพทย์แผนไทยเมื่ออายุ 5ขวบได้รับความรู้จากพระธุดงค์เดินทางผ่านมาพักแรมและสอนให้รู้จักใช้ยาสมุนไพรเป็นเวลา1 เดือนและเมื่ออายุ9–10ขวบได้เรียนแพทย ์แผนไทยจากซินแสเหล๋ง ซึ่งเป็นชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ และได้เรียนรู ้เรื่องยารักษาโรคจากหมอ ชาวเวียดนาม ช่ือนายเซ้า ในกรณีของหมอเครื่องคามสุขอายุ91ปีมีภูมิล�าเนาอยู่อ�าเภอมะขามจังหวัดจันทบุรีเมื่ออายุได้8–9ปีได้เรียนรู้การจับเส้นและการจับชีพจรจากพ่อเป็นเวลา7ปีและเมื่ออายุได้30ปี พ่อได้สอนวิธีการรักษาโรคได้รับการสั่งสอนว่าเส้นกล้ามเนื้อนั้นอยู่ตื้น ถ้ารักษาไม่ได้ไม่ถูกต้องจะท�าให้ เส้นนั้นจมลึกลง รักษายากสอนวิธีการเก็บยาสมุนไพรท้ังตามทุ่งนาและตามป่าเขาสอนให้เดินท้ังวัน จากเช้าถึงค�่า เพื่อไปเก็บสมุนไพรถ้าเก็บสมุนไพรมาผิด ให้กลับไปเก็บมาใหม่ เรียนรู้เร่ืองการเก็บยาอยู่ประมาณ1 เดือนจากนั้นฝึกฝนการรักษาจากพ่อต้ังแต่เด็ก ในระยะแรกเรียนรักษาโรคมีผู้ป่วยมาให้รับ การรักษา30–40คนมีทั้งวัยทองเจ็บเข่าปวดหลังปวดไหล่ฝีปีกมดลูกไข่ดันเด็กที่เป็นไข้ป้าง(นอนไม่ได้ นอนไม่หลับนอนสะดุ้ง ร้องไห้) มีความสามารถในการช่วยสตรีคลอดบุตร ในกรณีของหมอประเสริฐ แก้วงามอายุ60ปีเกิดที่อ�าเภอเมืองจังหวัดจันทบุรีเมื่ออายุ12–13ปีเรียนจากพ่อเพื่อเป็นหมอกระดูกพออายุได้17–18ปีก็สามารถท�าคลอดได้และรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองได้ คุณสมบัติของการเป็นหมอที่ดีนั้นพบว่า เน้นที่คุณธรรมจริยธรรมได้แก่ เป็นผู้ที่มีศีลธรรมรู้จักบ�ารุงพุทธศาสนาหมั่นท�าบุญใส่บาตรให้เจ้ากรรมนายเวรมีความซ่ือสัตย์มีเมตตารู้จักแบ่งปันไม่เล่นการพนัน มีความตั้งใจในการรักษาไม่เรียกร้องค่ารักษาพยาบาลแล้วแต่จิตศรัทธาของผู้ป่วยไม่โกรธไม่โลภไม่รับประทานอาหารท่ีทับกัน (คือ อาหารที่ปนกันแยกแยะไม่ได้เพราะไม่ทราบว่าอาหารใดอาจเป็นพิษต่อร่างกาย) 2.กระบวนการรักษาด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน 2.1)การซักประวัติและตรวจร่างกาย (1) ก่อนที่จะเริ่มการซักประวัติแพทย์พ้ืนบ้านบางรายจะท�าพิธีกรรมบอกกล่าวส่ิงศักด์ิสิทธิ์ คือแม่พระธรณีและพระชีวกฯถ้าหากไม่ท�าจะมีผลต่อการรักษาคือการรักษาโรคจะไม่หายผู้คนจะลืมเลือนหมอและหมออาจได้รับอันตราย

ภาพประกอบ1:แพทย์พื้นบ้านจะท�าพิธีกรรมบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดธูปเทียนบูชาครู

Page 8: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

44 กระแสวัฒนธรรม

(2) การซักประวัติสอบถามอาการผู้ป่วยประกอบการสังเกตสภาพทั่วไปของผู้ป่วยเช่นจะดูสีผิวว่าซีดไม่สบายอายุเท่าไรประวัติประจ�าเดือนสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการหนาวๆร้อนๆอารมณ์ดีร้ายหรือไม่ มีอาการทางประสาทหรือไม่ แพทย์พื้นบ้านบางท่านจะซักประวัติละเอียดถึงการผิดผี เช่นการบนส่ิงศักด์ิสิทธิ์มีการแก้บนหรือยัง ไปลบหลู่หรือท�าผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนหรือเปล่าหรือเคยท�าผิดท่ีเรียกว่าผีบ่าวสาวคือแต่งงานโดยไม่บอกผี ไม่บอกผู้ใหญ่พ่อแม่หรือพี่น้องคนป่วยในลักษณะนี้ชีพจรท้ัง 3 เส้นอันหมายถึงหัวใจ ตับและไตสะบัดไปทางซ้ายแสดงว่าขัดข้องดังนั้นต้องมีการ“ตัดขัด”คือมีการไปแก้บนถ้าชีพจรนิ่งแสดงว่าอ่อนแรงการป่วยอยู่ในข้ันรุนแรง เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้วจึงน�าไปสู่การรักษาด้วยตัวยาอาจมี การใช้คาถาประกอบตัวโดยระลึกถึงครูบาอาจารย์หมอแก่หมอพ้ืนบ้านต้องสวดมนต์ไหว้พระท�าสมาธิ อย่างสม�่าเสมอโดยเฉพาะผู้ท่ีไปท�าแท้งมาต้องให้เขาไปท�าบุญตักบาตรและบริจาคทานไม่เช่นนั้นการรักษาจะไม่ได้ผล (3) ตรวจร่างกาย วิธีการตรวจโดยจับชีพจรหรือท่ีเรียกว่าแมะถ้าเลือดใสเส้นวาตะจะเต้นเร็วและแรงถ้าเลือดข้นจะเต้นช้าหนืดการตรวจลักษณะนี้ต้องให้ผู้ป่วยนั่งพัก10–30นาทีจึงค่อยตรวจชีพจรการจับชีพจร เพ่ือประเมินอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโดยดูจากต�าแหน่งของเส้นชีพจรซึ่งมีอยู่3เส้นจับชีพจรที่ข้อมือที่ข้อเท้า และเส้นสุมนาที่หน้าท้องเส้นชีพจรเต้นสะบัดหรือไม่หรือเต้นหนักเบาอย่างไรเพราะชีพจรจะมีผลต่อหัวใจ การจับชีพจรในผู้ป่วยวัยทองจะมีชีพจรทั้ง2ข้าง เต้นไม่สม�่าเสมอขาดๆหายๆ เหมือนคนเป็นโรคหัวใจ เต้นเร็วหรือช้าไม่เท่ากันหนักเบาไม่เท่ากัน การตรวจสภาพทั่วไปของผู้ป่วย การตรวจโดยการสเก๊ตภาพร่างกายคือดูจากวันเดือนปีเกิดโดยเอาปฏิทินร้อยปีมาเทียบผลจากการค�านวณเลขเชื่อว่าสามารถบอกอาการของโรคได้

ภาพประกอบ2:การวิเคราะห์โรคโดยวิธี“การสเก๊ตภาพร่างกาย”โดยค�านวณจากวันเดือนปีเกิด

Page 9: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

45กระแสวัฒนธรรม

ในกรณีที่ผู้ป่วยวัยทองมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจะใช้น�้ามันทั้งต้ังเตาร้อนแตะด้วยมือของหมอ มาชโลมและบีบกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายลงการนวดศีรษะและการนวดฝ่าเท้าเพ่ือให้เลือดลมเดินสะดวกต้องท�าวันละ1ครั้งครั้งละ1 ช่ัวโมงระยะเวลา3วันติดต่อกันการนวดศีรษะและฝ่าเท้าเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาอาการสตรีวัยทองเป็นการนวดประกอบการใช้ยาสมุนไพรต�ารับ

ภาพประกอบ3:แพทย์พื้นบ้านก�าลังตรวจร่างกายรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทอง

2.2)ค่าใช้จ่ายในการรักษาแพทย์พื้นบ้านเป็นผู้ที่มีเมตตาไม่คิดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเป็น ผู้ให้เองตามก�าลังศรัทธายกเว้นค่ายกครูคร้ังละ36บาทหรือค่าน�้าค่าไฟคร้ังละ50บาทมีหมอบางรายได้แจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยบริจาคในกล่องรับบริจาคเพื่อจะน�าไปท�าบุญโดยหมอจะแจ้งวัตถุประสงค์ของ การน�าเงินที่น�าไปท�าบุญเป็นการบริจาคตามก�าลังศรัทธาแม้จะดูน้อยแต่เมื่อรวมกันเข้าในเวลาเป็นปีก็พบว่ามีจ�านวนมากการน�าเงินไปท�าบุญของแพทย์พื้นบ้านส่วนใหญ่จะน�าไปสร้างโบราณสถานตาม วัดวาอารามหอระฆังพระพุทธรูป โบสถ์วิหาร ในหลายจังหวัด เช่นหมอเคยน�าเงินไปบริจาคเพื่อสร้าง ถาวรวัตถุดังกล่าวให้วัดโพธิ์ทองวัดเขมาเตาอ�าเภอพยัคฆภูมิพิสัยจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างศาลา สร้างพระพุทธรูปและหอระฆัง แต่ก็มีหมอบางคนไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการท�าบุญและใช้เงินที่ได้ใน การเลี้ยงชีพซึ่งเงินที่ได้จากการรักษาพบว่ามีจ�านวนเงินไม่มาก

ภาพประกอบ4:พานใส่เงินตามแต่จิตศรัทธาของผู้ป่วยที่จะบริจาค

Page 10: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

46 กระแสวัฒนธรรม

2.3)ยาสมุนไพรต�ารับที่ใช้ในการรักษา ในการรักษาแพทย์พื้นบ้านแต่ละคนมีการใช้สมุนไพรต�ารับในการรักษาพอสรุปได้ดังนี้ •ต�ารับที่1 สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วย เกสรบัวหลวงดอกบุนนาคดอกพิกุล จันทน์แดงจันทน์ขาวดอกค�าไทยดอกค�าฝอยกลุ่มยารักษาเป็นรสสุขุมใช้อย่างละ1ก�ามือแห้งหรือสดน�ามารวมกัน แล้วใส่น�้าพอท่วมยาแล้วต้ม ไปดื่มระยะเวลาการรักษาประมาณ2–3หม้อ (ปกติจะหายภายใน2หม้อ) โดย1หม้อดื่มได้10วันถ้าเป็นมากจะใช้3หม้อหรือบางคนอาจด่ืมในลักษณะด่ืมแทนน�้า ใช้เวลานับปี กินได้เรื่อยๆจนยาจืดยาสมุนไพรสามารถดื่มได้ตลอดไม่เป็นอันตรายกินป้องกันก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการก็ได้หากยาต้มกินค้างคืนไว้ต้องอุ่นทุกวันสมุนไพรหาได้ง่ายตามท้องทุ่งแถวหมู่บ้านสมุนไพรจะเก็บเกี่ยวได้แต่ละชนิดตามฤดูกาลเช่นเดือนสาม(กุมภาพันธ์)เก็บดอกบุนนาคได้เป็นจ�านวนมาก •ต�ารับที่2 สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยกลุ่มยารสฝาด เปลือกต้นมะขามเปรี้ยวต้องใช้เปลือกแท้ๆลูกมะขามป้อมน�ามาอย่างละ2ขีดน�้า2ลิตรต้ม1ครั้ง เมื่อเย็นเติมน�้าอีก2ลิตรแช่ไว้ เพื่อดื่มรับประทานก่อนหรือหลังอาหารกินประมาณ1สัปดาห์หรือน้อยกว่า1สัปดาห์อาการก็จะเริ่มดีขึ้นและหายตามล�าดับ •ต�ารับที่3สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยชื่อว่ายายุ่งประกอบด้วย ใบเสม็ดขาวมดแดงเหล้าขาวน�าใบเสม็ดขาวและมดแดงมาปั่นใส่เหล้าขาวแล้วต้มจนเดือดน�้าที่ได้ไปรับประทานวันละ2ครั้งครั้งละ1ช้อนโต๊ะก่อนอาหารเช้าและเย็น •ต�ารับที่4สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยใบขลู่1,000กรัมขิงแห้ง500กรัมสะค้าน500กรัม พริกไทย500กรัมและตัวยาที่มีรสร้อนสุขุมอื่นๆตามธาตุของผู้ป่วยบดละเอียดผสมกับน�้าผ้ึงปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนให้ผู้ป่วยรับประทานรับประทานครั้งละ2–3เม็ดในกรณีที่เกิดความก�าหนัดมากให้ใช้รากอากาศของเตยทะเลต้มน�้ารับประทาน •ต�ารับที่5สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยใบไข่เน่าใช้ซอยและต้มเป็นชาชงต้นง้าว(ที่ใช้ท�าขนมจีนน�้าเงี้ยว)ตอนเช้าจะมีดอกสีแดงตอนเที่ยงจะเป็นสีส้มจากนั้นก็จะกลายเป็นสีด�าใช้เปลือกและรากประกอบทั้ง2ตัวยานี้ทานไม่เกิน1สัปดาห์อาการก็จะหาย •ต�ารับที่6ชื่อยาตรีสุรผลใช้แก้ลมวิงเวียนยาปรับธาตุเป็นยาแคปซูล 2.4)ที่มาของแหล่งสมุนไพรของแพทย์พื้นบ้าน แพทย์พื้นบ้านต้องมีการแสวงหาสมุนไพรคุณภาพจากแหล่งต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1.หาจากประเทศเพื่อนบ้านสมุนไพรไทยบางชนิดหายากและก�าลังจะสูญพันธุ์จึงต้องน�าเข้ามาจากลาวพม่ามาเลเซียมีนับร้อยชนิดเช่นหัวร้อยรูได้จากจังหวัดตราดซึ่งได้มาจากกัมพูชาอีกต่อหนึ่ง 2.สมุนไพรบางตัวหาได้จากท้องถ่ินโดยการปลูกใช้เองและซ้ือจากชาวบ้านในชุมชน ซ่ึงพบปัญหาเร่ืองคุณภาพ เช่นสมุนไพรยังไม่อบแห้งท�าให้เกิดเชื้อราได้ง่ายการรับซ้ือสมุนไพรมีราคาท่ีแตกต่างกันไป เช่นกระดอมราคา1,900บาทต่อกิโลกรัมดอกค�าไทยอบแห้งราคา1,800บาทต่อกิโลกรัม (เป็นยาบ�ารุงเลือดใช้แทนเลือดหมู เลือดควาย)แก่นฝางราคาไม่ถึง100บาทต่อกิโลกรัมแต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยต้องจ้างแรงงานมาสับยา

Page 11: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

47กระแสวัฒนธรรม

3. จากร้านขายยาภายในตัวจังหวัดใช้วิธีการไม่เก็บสมุนไพรมาไว้ท่ีบ้าน เพราะกลัวการข้ึนรา หากผู้ป่วยจ�าเป็นต้องใช้ยาแพทย์พื้นบ้านจะจดต�ารับยาตามอาการเป็นใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปซื้อที่ร้านขายยาด้วยตนเองแนะน�าผู้ป่วยให้ไปซื้อที่ร้านในตัวจังหวัดเช่นยาฟอกเลือดเพื่อระบายของเสียออกจากเลือด

ภาพประกอบ5:ตัวอย่างสมุนไพรแก่นจันทน์ขาวเป็นส่วนหนึ่งในสมุนไพรที่ใช้รักษาผู้ป่วยกลุ่ม อาการสตรีวัยทองหาได้จากตามป่าเขาคิชฌกูฏพระบาทพลวงจังหวัดจันทบุรี

2.5)ระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทอง หากมีอาการป่วยระยะเริ่มต้นอาจหายได้ในเวลา 3 วันแต่ต้องทานยาต่อเนื่องอีก 1–2 เดือน เพื่อกระตุ้นฮอร์โมนให้ท�าหน้าที่ปกติหากไม่รีบท�าการรักษาโรคอื่นจะตามมาเพราะร่างกายเสื่อมโทรม ขาดสมดุล 2.6)การติดตามผลการรักษา ในการติดตามผลการรักษามีวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ดูจากอาการโดยท่ัวไป จับชีพจร ถ้ายังไม่หายชีพจรจะเต้นไม่เท่ากัน ระหว่างซ้ายและขวา โดยจับชีพจรที่ข้อมือข้อเท้าและท้อง 2. ผู้ป่วยท่ีเข้ารับการรักษาต้องมารับการตรวจสัปดาห์ละ3คร้ังหากผู้ป่วยหายไปนาน2–3เดือน ก็เช่ือได้ว่าได้หายจากโรค เพราะมีบ่อยคร้ังท่ีปรากฏว่าเมื่อมีโอกาสพบกับผู้ท่ีไปรักษาอีกคร้ังก็ได้รับ การแจ้งว่าหายจากอาการป่วยแล้วระยะเวลาในการรักษาใช้ระยะเวลาในการด�าเนินโรคเป็นหลัก หากยัง ไม่หายก็สามารถมารักษาซ�้าได้ 3. ถ้าผู้ป่วยหายต้องจะกลับมากราบเพื่อขอบคุณหมอและอาจน�าเงินมาช่วยบริจาคเพื่อให้หมอ น�าเงินไปท�าบุญที่วัดหรืออื่นๆ 4.ผู้ป่วยที่มีอายุ 20–30ปีบางครั้งก็พบว่าเป็นวัยทองเมื่อเข้ารับการรักษาจนหายก็จะมีโอกาส มีลูกผู้ป่วยที่มีอายุ48–49ปีในวัยหมดประจ�าเดือนก็จะมีโอกาสที่ประจ�าเดือนจะมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

Page 12: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

48 กระแสวัฒนธรรม

กล่าวโดยสรุป กระบวนการรักษาผู ้ป ่วยกลุ ่มอาการสตรีวัยทองโดยแพทย์แผนไทยซึ่งรักษา โดยแพทย์พ้ืนบ้านพอสรุปได้ว่าอายุของแพทย์พื้นบ้านจังหวัดจันทบุรีมีอายุตั้งแต่ 60ปีขึ้นไปบางท่านมีอายุถึง91ปี เรียนจบชั้นประถมปีท่ี4 ได้เรียนวิชาแพทย์แผนไทยจากบรรพบุรุษบางท่านเรียนจาก พระธุดงค์และบางท่านเรียนจากบุคคลอื่น เช่นพ่อค้าชาวจีนพ่อค้าชาวเวียดนามมีประสบการณ์ใน การรักษาผู้ป่วยไม่น้อยกว่า40ปีองค์ความรู้ใหม่ท่ีได้จากการวิจัยคร้ังนี้คือพบว่าแพทย์พ้ืนบ้านใช้วิธีการรักษาหลายรูปแบบ เช่นค�านวณจากวันเดือนปีเกิดซ่ึงเชื่อว่าสามารถท�านายโรคได้ การซักประวัติร่วมกับการจับชีพจรวิธีการรักษาทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันทั้งแบบการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์การยกครูก่อนตรวจอาการแล้วจึงค่อยจ่ายยาสมุนไพรแต่บางรายก็ไม่มีการยกครูโดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยน้ันเกิดจากความเสื่อม ของร่างกายรักษาโดยการวางยาสมุนไพรต�ารับท่ีพบว่ามีจ�านวน6ต�ารับซ่ึงสมุนไพรท่ีใช้รักษาสามารถ หาได้ทั้งจากท้องถิ่นตามธรรมชาติและการจัดซ้ือทั้งในและต่างประเทศหมอบางท่านไม่สามารถออกไปหาสมุนไพรได้เขียนใบสั่งยาที่ระบุชนิดสมุนไพรและน�้าหนักให้ผู้ป่วยไปซ้ือตามร้านขายยาเองยาท่ีใช้ส่วนใหญ ่เป็นยาห่อเพ่ือน�ามาต้มรับประทานมีหมอบางท่านสามารถพัฒนายาเป็นยาแคปซูลสะดวกกินง่าย ในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อยมีการใช้วิธีการบีบนวดและใช้น�้ามันชโลมกล้ามเนื้อระยะเวลาในการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง1–2 เดือนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักอาจใช้เวลาถึง2–3 เดือนการติดตามผล การรักษาใช้ระยะเวลาการด�าเนินโรคของผู้ป่วยเป็นหลักคือถ้าผู้ป่วยหายดีก็จะไม่มาตรวจซ�้าถ้ายังอาการไม่ดีขึ้นก็จะมารับการรักษาซ�้าอีกโดยไม่มีการนัดหรือลงเวลาให้ผู้ป่วยมารับการรักษาแพทย์พื้นบ้านจันทบุรีเหล่าน้ีนับเป็นปราชญ์พื้นบ้านท่ีใช้ศาสตร์ทางแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทอง เป็นท่ีพึ่งของสังคมเป็นเสาหลักของสังคมที่ไม่หวังส่ิงตอบแทนใดๆนับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ชาญฉลาด เป็นมรดกทางสังคมที่บรรพชนส่งต่อสืบทอดกันมา อันน�ามาสู ่ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นที่ควรได้รับการยกย่องและสืบต่อภูมิปัญญานี้ให้กับอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะใน การต่อยอดองค์ความรู้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการรักษาให้ทันสมัยตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันรวมท้ังการอนุรักษ์สมุนไพรท่ีส�าคัญของไทยที่ใช้ในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองและโรคร้ายแรงอื่นๆอย่างเร่งด่วน

ข้อเสนอแนะ 1. ควรรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทอง ท�าเป็นเอกสารต�าราเพื่อท�าการเผยแพร่และเป็นองค์ความรู้ในการเรียนการสอนของสถาบันที่มีการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยทั้งภาครัฐและเอกชน 2. ควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่ใช้รักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองหรือสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงอื่นๆให้กับประชาชนในท้องถิ่นโดยการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน 3. ควรท�าการวิจัยวิธีการรักษากลุ ่มอาการสตรีวัยทองโดยใช้ภูมิป ัญญาของแพทย์พื้นบ้าน ในภาคต่างๆและวิจัยต่อยอดการพัฒนาวิธีการรักษาโดยผสมผสานกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 4. ควรมีการขาดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งวิธีการรักษาและสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา 5. ควรท�าการวิจัยฤทธิ์ทางยาของสมุนไพรท่ีใช้ในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองท้ังที่เป็นสมุนไพรรายตัวและเป็นต�ารับ

Page 13: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

49กระแสวัฒนธรรม

ReferencesChantachon,Songkhun.(2014).CulturalQualitativeResearch(Fieldwork).Mahasarakham: FacultyofCulturalSciences,MahaSarakhamUniversity.(inThai)DepartmentforHealthServices,MinistryofPublicHealth.(2010).Integrated Health Care for theElderly (RevisedEdition).2nded.Nonthaburi:CompanySirichaiPrinting. (inThai)FoundationofThaiTraditionalMedicine.(2007).ThaiTraditionalMedicineTextsVolume1. Bangkok:SupawanichPrinting,(inThai)Juingsatiensap,Komart.(2004).Direction and Strategy Creating Knowledge Management ThaiTraditionalMedicineFolkMedicineandAlternativeMedicine.Bangkok: AusaPrinting.(inThai)Sirayapiwat,Porntip.(2008).ReproductiveMedicine.Bangkok:CompanyConceptmadicus. (inThai)Sornlum,Promjit.(1990).EncyclopediaofHerbsVolume1“HerbalGardenSuiargan”. Bangkok:DepartmentofPharmacology,FacultyofPharmacy.MahidolUniversity. (inThai)Swaddichai,Chatchai. (2016).Project of the Activity Movement Thai Traditional Medicine inOutPatientDepartment (OPD). SabaiHotelNakhonRatchasima, June13.(inThai)Thanua,Wanlop.(2001).MaleandFemaleHealth.Bangkok:PublisherChaufang.(inThai)