Transcript
Page 1: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

37กระแสวัฒนธรรม

การศึกษาภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษาผู ้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทอง จังหวัดจันทบุรี

The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal Syndrome Treatment Chantaburi Province

SuratsawadeeSinwatetal.MahasarakhamUniversity

บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ความรู ้ของแพทย์พื้นบ้าน จังหวัดจันทบุรีและศึกษากระบวนการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพท�าการเก็บข้อมูลภาคสนามและวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาของแพทย์พื้นบ้านมีมานานนับพันปี ตามวิถีแห่งพุทธศาสนาโดยเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากธาตุดินน�้าลม ไฟภายในร่างกายเสียสมดุลในด้านองค์ความรู้ของแพทย์พ้ืนบ้านในการรักษาพบว่าอาการจะปรากฏเมื่อสตรีอายุ40–50ปีอาการส�าคัญคือเหงื่อออกมากนอนไม่หลับหงุดหงิดและหมดแรงจนต้องมาเข้ารับการรักษาแพทย์พ้ืนบ้านมีอายุระหว่าง60–91ปีมีคุณสมบัติส�าคัญคือต้องเป็นผู้มีคุณธรรมในด้านกระบวนการรักษาจะเริ่มจากการซักประวัติการสังเกตสภาพร่างกายผู้ป่วยการตรวจร่างกายการจับชีพจรการค�านวณวันเดือนปีเกิด เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคในด้านค่ารักษา แพทย์ไม่คิดค่ารักษาแล้วแต่คนไข้ศรัทธาที่จะมอบให้ การรักษาใช้ยาสมุนไพรต�ารับที่พบว่ามี 6ต�ารับ ซึ่งมีแหล่งที่มาของสมุนไพรจากการปลูกหรือเก็บจากธรรมชาติและการซื้อในชุมชนระยะเวลาในการรักษาถ้าเป็นระยะแรกจะดีข้ึนภายใน3วันแต่ต้องทานยาต่อเนื่องอีก1–2 เดือนโดยมีการติดตามผลการรักษาสัปดาห์ละ3ครั้ง ในกรณีของผู้ที่ป่วยหนักต้องรักษาต่อเนื่องจะหายภายใน2–3 เดือนงานวิจัยนี้ส่งผล ให้เกิดการอนุรักษ์สมุนไพรในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง

ค�าส�าคัญ:ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านกลุ่มอาการสตรีวัยทอง

Abstracts Thepurposeof this researchwas to study thehistory and knowledgeof folk medicineandtostudythehealingprocesswith folkmedicineknowledge, toqualitativeresearchmethodology,tocollectfieldworkdataandtodescriptiveanalysis.Theresearchfound that thehistoryof folkmedicineknowledgehasbeen for thousandsofyears, accordingtotheBuddhistwayofthinkingthattheillnessiscausedbysoil,water,wind,firewithinthebodytounbalance,Intermsofthefolkmedicineknowledge.Itwasfoundthatthesymptomsoccurredwhenthewomenwere40–50yearsold.Symptomsofsweating,insomnia,irritability,andexhaustionuntiltheyaretreated,folkmedicinetheageof60–91

Page 2: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

38 กระแสวัฒนธรรม

yearsoldhastheessentialqualitiesofbeingamoralprinciple,inthetreatmentprocess,aphysicalexaminationofthepatient,aphysicalexaminationbypulse,andacalculationof thedataofbirth.Diagnosis in thecollectionofmedicalexpenses frompatients, thefolkmedicinewillnotchargemoneyfortreatment,thepatientwillgivemoneybyfaith. Thetimeoftreatmentiftheinitialillnessisimprovedwithin3days,butneedtocontinuetakingthedrugforto1–2monthsandfollowtheresultsofthetreatment3timesaweek.In thecaseofheavy–dutypatients,continuoustreatmentandcurewithin2–3months. Thisresearchresultedinextensivelocalherbalconservation

Keywords : knowledge,folkmedicine,MenopausalSyndrome

บทน�า ศาสตร์ของการดูแลสุขภาพเป็นศาสตร์หนึ่งท่ีมีการผสมผสานองค์ความรู้ของท้องถ่ิน มีการสืบทอดและเชื่อถืออยู่ในกลุ่มชนต่อๆกันมาจนกลายเป็นระบบการแพทย์ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางวิชาการซึ่งปัจจุบันเรียกว่าการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พ้ืนบ้าน(Sornlum,P.,1990)องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน เป็นความรู้ที่สืบทอดผ่านประสบการณ์ตรงและเรียนรู้จากการปฏิบัติเป็นหลัก ความรู้ส่วนหนึ่งเป็นการบอกเล่าสืบต่อในระบบเครือญาติหมอพื้นบ้านเติบโตในวัฒนธรรมท้องถิ่นและซึมซับความรู้สึกนึกคิดศรัทธาและวิธีคิดในชุมชนเป็นพื้นฐานความรู้และวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจึงสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับจักรวาลทัศน์ของท้องถิ่นและเป็นความเข้าใจที่อาศัยการถ่ายทอดผ่านสื่อภาษาสัญลักษณ์และพิธีกรรมที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมร่วมกันของชุมชน (Juingsatiensap,K.,2004)ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแพทย์พื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชุมชนและวัฒนธรรมไทย การส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบ ต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานว่าการแพทย์ทุกระดับต่างมีคุณค่าศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกัน(Foundation ofThaiTraditionalMedicine,2007) ระบบการแพทย์แต่ละระบบต่างเป็นทางเลือกและต่างเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพซึ่งกันและกัน โดยมุ่งสุขภาวะและส่งเสริมการพ่ึงตนเองของประชาชน เป็นส�าคัญหรือมีเป้าหมายสูงสุดคือการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ (Department forHealthServices;MinistryofPublicHealth,2010) ในปัจจุบันสตรีไทยมีอายุเฉล่ียเพ่ิมขึ้น จากข้อมูลของส�านักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยปี2540พบว่าประเทศไทยมีสตรีวัยหมดระดู (อายุระหว่าง40–60ปี)อยู่ประมาณ 3.8ล้านคนและเพิ่มขึ้นเป็น4,126,000คน ในปี2543การที่อายุเฉลี่ยของสตรีไทยมีแนวโน้มเพิ่มข้ึน ท�าให้สตรีวัยนี้ต้องใช้ชีวิตในช่วงวัยหมดระดูที่ยาวนานขึ้น โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรีได้มีการรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทองด้วยยาสมุนไพรต�ารับ โดยปี 2556–2558อาการวัยทองพบมากเป็นอันดับ4 ที่มารับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์มีจ�านวนกว่า129ราย เฉลี่ยอายุผู้ป่วยวัยทองอยู่ในช่วงอายุ 52ปี ซึ่งจากการติดตามผลการรักษาเบื้องต้นพบว่าผู้ป่วยหายจากอาการวัยทองจ�านวน86คน (ร้อยละ66.88)ผู้ป่วยอาการดีขึ้นจ�านวน34คน (ร้อยละ25.57)ผู้ป่วยที่ก�าลังรักษามีแนวโน้มที่ดีขึ้น จ�านวน 9คน (ร้อยละ 6.20) โดยส่วนหนึ่งของผู ้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยประยุกต์ เคยกินยาแผนปัจจุบันแล้วไม่หายอาการคงเดิมกลัวภาวะแทรกซ้อนของยาฮอร์โมนและจากการบอก

Page 3: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

39กระแสวัฒนธรรม

ต่อของผู้ป่วยท่ีเคยรักษาแล้วดีข้ึน (Swasdichai, C., 2016,p.12) เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทาง ด้านการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้อายุขัยเฉล่ียของผู้หญิงระหว่างปีพ.ศ.2550–2553เท่ากับ73ปีและในระหว่างปีพ.ศ.2553–2558 เท่ากับ73.58ปีจะเห็นได้ว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้หญิง มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆและเมื่อเข้าสู ่วัยทองเป็นวัยที่มีการท�างานของต่อมไร้ท่อของระบบสืบพันธุ ์ที่มีฮอร์โมนเพศลดลงท�าให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าท่ีของร่างกายเกิดอาการที่รบกวนความรู้สึกและจิตใจซึ่งสร้างความทุกข์ให้กับผู้หญิงวัยนี้เป็นอย่างมากและจะมีผลกระทบต่ออวัยวะในระบบต่างๆ ของร่างกาย ผลกระทบทางด้านจิตใจ เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่าMenopausal Syndrome และ Andropausal Syndromeซึ่งได้แก่อาการเปล่ียนแปลงทางระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบหัวใจและ หลอดเลือดระบบทางเดินปัสสาวะระบบสืบพันธุ์ และระบบโครงกระดูกก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อ ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก(Sirayapiwat,P.,2008,p.81)ในการจัดบริการดูแลประชาชนกระทรวงสาธารณสุขให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งจัดตั้งคลินิกวัยทองโดยเฉพาะหรือบูรณาการเข้ากับคลินิกส่งเสริม สุขภาพอื่นๆ จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลุ ่มอาการสตรีวัยทองยังมีอีกมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึง การรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ท่ีอาศัยอยู่ในชนบท ซ่ึงต้องอาศัยการเข้ารับการรักษาจากแพทย์พื้นบ้านเป็นหลัก ช่วงวัยทองเป็นช่วงอายุที่จะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งภาระด้านเศรษฐกิจ สังคม ทั้งในครอบครัวและนอกครอบครัวนอกจากนี้วัยนี้ยังต้องเผชิญกับความเส่ือมของอวัยวะต่างๆในร่างกาย จึงมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพได้ง่าย และคาดว่าในปี 2573 ร้อยละ76ของสตรีวัยหมด ประจ�าเดือนท้ังหมดจะอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก�าลังพัฒนา (Thanua,W., 2001,p.3)การเปลี่ยนแปลง และปัญหาท่ีพบในวัยหมดประจ�าเดือนก�าลังเป็นเร่ืองที่พบได้ในทุกภูมิภาคทั่วโลก ส�าหรับประเทศไทยแพทย์พื้นบ้านนับว่าเป็นท่ีพึ่งพิงด่านแรกของประชาชน เป็นบุคคลที่มีคุณูประการในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองการเลือกท�าวิจัยเรื่องนี้เนื่องจากอาการสตรีวัยทอง เป็นอาการที่สร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วยและผู้ป่วยกลุ่มอาการน้ีมีเป็นจ�านวนมาก งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยช่วยลดปัญหาการหย่าร้างหรือปัญหาครอบครัวลงได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง วัตถุประสงค์ 1.ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ความรู้ของแพทย์พ้ืนบ้านในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองจังหวัดจันทบุรี 2.ศึกษากระบวนการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน

ประโยชน์ที่ได้รับ 1.เกิดผลดีด้านวิชาการการเผยแพร่งานวิจัย เป็นการยกระดับภูมิปัญญาความรู้ด้านการแพทย์ พื้นบ้านในการรักษาผู ้ป่วยอาการสตรีวัยทอง ซ่ึงเป็นวัฒนธรรมทางด้านสุขภาพของไทยให้เผยแพร ่ทั่วประเทศและสู่สากล เป็นผลงานทางด้านวิชาการที่นักวิจัยหรือผู้ที่สนใจการแพทย์พ้ืนบ้านสามารถ ใช้ศึกษาและอ้างอิงต่อไป 2.เป็นองค์ความรู้ใหม่ของวิธีการรักษาผู้ป่วยอาการวัยทอง ด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านซ่ึงเป็น ผลของการวิจัยทางวัฒนธรรมจะน�าไปสู่การโน้มน้าวให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชน

Page 4: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

40 กระแสวัฒนธรรม

3.น�าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต�ารับไทยใช้ง่าย สะดวกประหยัดเวลาและงบประมาณ เป็นที่ยอมรับของผู้เก่ียวข้องท้ังผู้ป่วยและญาติ และบุคลากรทาง การแพทย์อื่น 4.เป็นแนวทางส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยของแพทย์ด้านการรักษาด้วยวิธีการแพทย์ผสมผสาน โดยให้สอดคล้องด้านวัฒนธรรมสุขภาพอื่นๆ

วิธีด�าเนินการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(QualitativeResearch)(Chantachon,S.,2014)น�าเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ท�าการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์การสังเกต(Observation)การสนทนากลุ่ม(FocusGroupDiscussion) พื้นที่วิจัยได้แก่อ�าเภอเมืองอ�าเภอขลุงและอ�าเภอมะขามจังหวัดจันทบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรได้แก่แพทย์พื้นบ้านผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษามีการคัดเลือกแบบเจาะจงท�าให ้ได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น2กลุ่มประกอบด้วย 1.แพทย์พื้นบ้านจ�านวน5คนที่มีความช�านาญในการรักษาอาการสตรีวัยทองหรือโรคสตรี 2.ผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษาจ�านวน20คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ปลายเปิดหรือการสัมภาษณ์เชิงลึก(In–depthInterview)เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์แพทย์พื้นบ้าน 2.แบบสังเกต (Observation) เพื่อสังเกตกระบวนการรักษาของแพทย์พื้นบ้านผู้ป่วยและญาต ิที่เข้ารับการรักษา 3.แบบการสนทนากลุ่ม (FocusGroup) เพื่อใช้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษา ในประเด็นความเชื่อความศรัทธาในวิธีการรักษาและผลการรักษา 4.วัสดุและอุปกรณ์การจดบันทึกเครื่องบันทึกเสียงและกล้องถ่ายภาพนิ่ง การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับพื้นที่ท่ีท�าการศึกษาวิจัยศึกษางานวิจัยท่ีเกี่ยวกับหมอพ้ืนบ้านและศึกษาเอกสารที่เป็นข้อมูลการตรวจวินิจฉัยและกระบวนการการรักษา 2.ศึกษาภาคสนาม(FieldStudies)โดยใช้เครื่องมือการวิจัยแต่ละอย่างตามความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลเบ้ืองต้น ได้ท�าไปพร้อมๆกันตลอดระยะเวลาที่ด�าเนินการวิจัยและเมื่อเสร็จส้ิน การเก็บข้อมูลภาคสนามแล้ว โดยได้น�าข้อมูลทั้งที่ได้จากการบันทึกข้อมูล การถอดเทปสัมภาษณ์ และการถ่ายภาพมาท�าการจัดหมวดหมู่ข้อมูลตามแต่ละประเภทตามที่ได้ต้ังประเด็นไว้และตรวจสอบ อีกครั้งหนึ่งว่าข้อมูลที่ได้มามีความครบถ้วนเพียงใดมีความน่าเชื่อถือหรือไม่โดยการตรวจสอบแบบสามเส้า(Triangulation)ซึ่งจะมีการตรวจสอบทั้ง3ด้านคือด้านข้อมูลด้านผู้วิจัยและด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

Page 5: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

41กระแสวัฒนธรรม

การน�าเสนอข้อมูล การน�าเสนอข้อมูลได้น�าเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตาม ความมุ่งหมายของการวิจัย สรุปผลการวิจัย ในการน�าเสนอข้อมูลการศึกษาภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองจังหวัดจันทบุรีสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.ประวัติความเป็นมาและองค์ความรู้ของแพทย์พื้นบ้าน 1.1)ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านแพทย์พื้นบ้านหรือการแพทย์แผนไทย มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของคนไทยมานานนับพันปีและด้วยวิถีชีวิตที่เป็นชาวพุทธการด�าเนินชีวิตตั้งแต่เกิดแก่ เจ็บและตาย เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาท้ังสิ้นดังนั้นการแพทย์แผนไทยจึงอาศัยแนวทางของพุทธศาสนาเช่นกัน นอกจากนั้นการแพทย์แผนไทยยังเกี่ยวข้องกับการด�ารงชีวิตที่เป็นธรรมชาติ มีแบบแผน เป็นเอกลักษณ์ของตนเองความเจ็บป่วยมิได้มองเพียงแต่เชื้อโรคแต่มองสาเหตุความเจ็บป่วยจากความไม่สมดุลของร่างกายซึ่งสาระต่างๆ ท่ีเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคการวินิจฉัยโรคตามทฤษฎี การแพทย์แผนไทยนั้น ได้มีไว้ในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ คัมภีร์ท่ีมีอยู ่ในต�าราแพทยศาสตร์สงเคราะห์พอสรุปได้ดังนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับระบบทฤษฎีโรคของการแพทย์แผนไทยนั้น เชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดจากการที่ ธาตุภายในร่างกายภาวะเสียสมดุลซึ่งธาตุภายในร่างกายประกอบด้วยธาตุดินหมายถึงองค์ประกอบในส่วนที่เป็นโครงสร้างมีคุณสมบัติไปทางแข็งอยู่นิ่งและคงตัวเป็นองค์ประกอบที่ท�าให้ทั้งระบบคงรูปร่างอยู่ได ้ธาตุน�้าหมายถึงองค์ประกอบที่เป็นของเหลวมีคุณสมบัติซึมซาบท�าให้อ่อนตัวเป็นตัวกลางที่ท�าให้สิ่งต่างๆไหลเวียนไปธาตุลมหมายถึงพลังขับดันภายในระบบร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวหมุนเวียนธาตุไฟหมายถึงพลังที่ท�าให้เกิดความอบอุ่นความร้อนและการเผาไหม้ สาเหตุที่ท�าให้ร่างกายเสียสมดุลและเกิดความเจ็บป่วยประกอบไปด้วย2ส่วนคือ 1)สมุฎฐานของโรคหมายถึงที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคประกอบด้วย ธาตุสมุฏฐานแสดงถึงความเจ็บป่วยต่างๆว่ามีสาเหตุจากการแปรปรวนของธาตุในร่างกายคือดินน�้าลมไฟซึ่งจะผิดปกติใน3ลักษณะคือก�าเริบหย่อนพิการและมีความเกี่ยวข้องกับธาตุเจ้าเรือนของ แต่ละบุคคลว่ามีธาตุใดอยู่ในบุคคลน้ันอายุสมุฏฐานแสดงถึงบุคคลในช่วงวัยต่างกันจะมีจุดอ่อนของสุขภาพที่ท�าให้เจ็บป่วยแตกต่างกันไปอุตุสมุฏฐานแสดงถึงฤดูกาลต่างๆที่มีสภาพดินฟ้าอากาศแตกต่างกัน ท�าให้เกิดความเจ็บป่วยได้แตกต่างกันประเทศสมุฏฐานแสดงถึงถิ่นก�าเนิดที่อยู่ของบุคคลที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรคแตกต่างกันกาลสมุฏฐานแสดงถึงช่วงเวลาต่างๆ ในแต่ละวันที่เป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรค 2)มูลเหตุของโรคตามหลักการแพทย์แผนไทยเชื่อว่าพฤติกรรมต่างๆของแต่ละบุคคลหากไม่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนจะเป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรค ได้แก่กินอาหารมากหรือน้อยเกินไปกินอาหารบูด หรืออาหารที่ไม่เคยกิน กินอาหารไม่ถูกกับธาตุ ไม่ถูกกับโรค ฝืนอิริยาบถ ได้แก่ การนั่ง ยืน เดิน นอนไม่สมดุลกันท�าให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุลและเสื่อมโทรมอากาศไม่สะอาดอยู่ในที่อากาศร้อน

Page 6: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

42 กระแสวัฒนธรรม

หรือเย็นเกินไปการอดได้แก่การอดข้าวอดน�้าอดนอนขาดอาหารการกลั้นอุจจาระปัสสาวะท�างานเกินก�าลังมากหรือมีกิจกรรมทางเพศมากเกินไปมีความโศกเศร้าเสียใจหรือดีใจจนเกินไปขาดอุเบกขามีโทสะมากเกินไปขาดสติ จากสมุฏฐานแห่งโรคและมูลเหตุของโรคที่กล่าวไปแล้วน้ันสามารถสรุปได้ว่าความสมดุลแห่งธาตุในร่างกายประกอบไปด้วยธาตุดินน�้าลมไฟซึ่งธาตุทั้งสี่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตนที่ถูกต้องหรือมีพฤติกรรม ที่เหมาะสมถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ดีจะส่งผลให้มีสุขภาพดีถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะส่งผลให ้เกิดการเจ็บป่วยได้ 1.2)องค์ความรู้แพทย์พ้ืนบ้านในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองแพทย์พ้ืนบ้านได้ให้ ข้อมูลเก่ียวกับอาการเจ็บป่วยในผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทองมักจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุจะอยู่ในช่วง 40–50ปี เกิดจากการท่ีปิตตะและวาตะมีความแปรปรวนจึงมากระทบกับกองพิกัดสมุฏธาตุท�าให้เกิดอาการผิดปกติของธาตุในร่างกายคือปวดเมื่อยตามร่างกายวัยทองเกิดจากธาตุผิดปกติ ระบบเลือดลม ไม่สมดุลร้อนวูบวาบ เหงื่อออกนอนไม่หลับ เหนื่อยง่ายอ่อนเพลียครั่นเนื้อครั่นตัวหงุดหงิดนอกจากนี้ ยังเกิดจากสาเหตุเกี่ยวกับมีการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวจะท�าให้อาการวัยทองก�าเริบมากขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งคือความเสื่อมของร่างกายหูอื้อตาพร่าร้อนในเนื้อฮอร์โมนเปลี่ยนง่วงเหงาหาวนอนขี้เกียจ เลือดน้อยหมดแรง เลือดลมไม่ปกติ เหมือนมีอะไรวิ่งในตัว เส้นในตัวเต้นตุ๊บๆหรือร้อนซู่ซ่าตามผิวหนังรังไข่แห้งจนน�าไปสู่การทะเลาะกับสามีบ่อยคร้ังมีพฤติกรรมการกินมักไม่ค่อยเลือกรับประทานอาหาร จะมีอาการผอมเหลือง คล้ายๆกับโรคลูกอ่อนลูกแก่ ไฟธาตุต�่า หนาวสะท้าน สะบ้าบวมมดลูกบวม ประจ�าเดือนไม่ปกติ อาบน�้ากลางคืนก็จะหนาวมากท�าให้ธาตุไฟต�่ามีผลท�าให้ไม่ขับถ่าย กินหัวหอมมาก ก็จะแพ้ มือจะเหงื่อออกเป็นยางเหนียวสามารถวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบอ้างอิงอาการดังกล่าวซึ่งทาง การแพทย์แผนไทยได้มีคัมภีร์กล่าวไว้ดังนี้ ปิตตะ“...เมื่อเหตุก�าเริบมี จะก่อโรคอาเพศเป็น ให้กินอาหารร้อนบ่มิชอบอาหารเย็นสิ่งเปรี้ยว อยากเว้น ย่อมพอใจเผ็ดร้อนบูดของเน่ามักพอใจมักผิงไฟมิได้หยุด น�้าร้อนมักด่ืมดูด มักโกรธเมื่อ ตะวันเที่ยงมักกินในกลางคืนชอบบ่ตื่นยังกรนเสียงอาบน�้าเมื่อดึกเที่ยงราตรีร้อนบ่นอนหลับอาเพศทั้งสิบนี้ เป็นเพื่อดีก�าเริบจับกล่าวเหตุก็เสร็จสรรพจะกลับกล่าวโรคเพ่ือดี วิบัติอาการโรค สิบห้าส่ิงมักย่อมมี ผู้ใดเป็นเช่นนี้ มักสะท้านให้ร้อนหนาวหลงใหลนอนไม่หลับย่อมมักรากเป็นคราวๆคอแห้งร้อนผะเผ่า ทั้งร้อนปากขึ้นจมูกร้อนหน้าเหงื่อบ่มิตกย่อมพรั่งพรูพูดผิดถูก เพ้อพกบ่มิสุขย่อมไหลหลงมัวเมาหนัก จักษุนั้นก็แหลมเห็นสิ่งของมักรู้จักตาเหลืองเบาเหลืองนักมักวิงเวียนแสบร้อนหน้าให้ร้อนระส�่าระสาย...” ปิตตะแปลว่าไฟกล่าวคือเปลวเทียนหรือเปลวไฟย่อมมองเห็นได้แต่พลังงานความร้อนของร่างกายซึ่งเกิดจากการเผาผลาญMetabolismนั้นไม่อาจมองเห็นได้ปิตตะจึงหมายถึงการย่อยอาหารการดูดซึม อุณหภูมิกายสีผิวหนังประกายตาความฉลาดและความเข้าใจ ส่วนท่ีเกี่ยวกับจิตใจปิตตะหมายถึง ความโกรธ ความเกลียดความอิจฉาปิตตะมีที่ตั้งอยู ่ที่ล�าไส้เล็ก กระเพาะอาหารต่อมเหง่ือ โลหิต เนื้อเยื่อไขมันซึ่งประกอบด้วยธาตุไฟและธาตุน�้ารวมกัน คัมภีร์โรคนิทานกล่าวว่า ธาตุสมุฏฐาน ได้แก่ ปถวีธาตุ (ดิน) อาโปธาตุ (น�้า) วาโยธาตุ (ลม) เตโชธาตุ (ไฟ) ซึ่งมีทั้งสิ้น 42สิ่ง ถ้าเกิดความผิดปกติต่างๆกันสามารถแจกแจงอาการของโรคได้เป็น ก�าเริบหย่อนพิการโดยจะรู้ได้จากการซักประวัติการตรวจร่างกายและการสังเกตจากอาการเจ็บป่วยของ ผู้ป่วยจากนั้นจึงวินิจฉัยถึงสมุฏฐานของโรคมูลเหตุของโรคและก�าหนดวิธีการรักษาต่อไป

Page 7: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

43กระแสวัฒนธรรม

1.3)ประวัติความเป็นมาของแพทย์พื้นบ้าน แพทย์พ้ืนบ้านมีวิถีชีวิตในครอบครัวและได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการรักษาท่ีแตกต่างกันไป และพบว่าอายุของแพทย์พื้นบ้านจังหวัดจันทบุรีอยู่ระหว่าง60–91ปี ส่วนใหญ่เกิดในครอบครัวที่มี เครือญาติเป็นแพทย์พื้นบ้านมาก่อน ได้รับความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านทั้งจากครอบครัวและแหล่งอื่นๆ ในกรณีของหมอธนูพูลทวี ได้เร่ิมเรียนวิชาแพทย์แผนไทยเมื่ออายุ 5ขวบได้รับความรู้จากพระธุดงค์เดินทางผ่านมาพักแรมและสอนให้รู้จักใช้ยาสมุนไพรเป็นเวลา1 เดือนและเมื่ออายุ9–10ขวบได้เรียนแพทย ์แผนไทยจากซินแสเหล๋ง ซึ่งเป็นชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ และได้เรียนรู ้เรื่องยารักษาโรคจากหมอ ชาวเวียดนาม ช่ือนายเซ้า ในกรณีของหมอเครื่องคามสุขอายุ91ปีมีภูมิล�าเนาอยู่อ�าเภอมะขามจังหวัดจันทบุรีเมื่ออายุได้8–9ปีได้เรียนรู้การจับเส้นและการจับชีพจรจากพ่อเป็นเวลา7ปีและเมื่ออายุได้30ปี พ่อได้สอนวิธีการรักษาโรคได้รับการสั่งสอนว่าเส้นกล้ามเนื้อนั้นอยู่ตื้น ถ้ารักษาไม่ได้ไม่ถูกต้องจะท�าให้ เส้นนั้นจมลึกลง รักษายากสอนวิธีการเก็บยาสมุนไพรท้ังตามทุ่งนาและตามป่าเขาสอนให้เดินท้ังวัน จากเช้าถึงค�่า เพื่อไปเก็บสมุนไพรถ้าเก็บสมุนไพรมาผิด ให้กลับไปเก็บมาใหม่ เรียนรู้เร่ืองการเก็บยาอยู่ประมาณ1 เดือนจากนั้นฝึกฝนการรักษาจากพ่อต้ังแต่เด็ก ในระยะแรกเรียนรักษาโรคมีผู้ป่วยมาให้รับ การรักษา30–40คนมีทั้งวัยทองเจ็บเข่าปวดหลังปวดไหล่ฝีปีกมดลูกไข่ดันเด็กที่เป็นไข้ป้าง(นอนไม่ได้ นอนไม่หลับนอนสะดุ้ง ร้องไห้) มีความสามารถในการช่วยสตรีคลอดบุตร ในกรณีของหมอประเสริฐ แก้วงามอายุ60ปีเกิดที่อ�าเภอเมืองจังหวัดจันทบุรีเมื่ออายุ12–13ปีเรียนจากพ่อเพื่อเป็นหมอกระดูกพออายุได้17–18ปีก็สามารถท�าคลอดได้และรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองได้ คุณสมบัติของการเป็นหมอที่ดีนั้นพบว่า เน้นที่คุณธรรมจริยธรรมได้แก่ เป็นผู้ที่มีศีลธรรมรู้จักบ�ารุงพุทธศาสนาหมั่นท�าบุญใส่บาตรให้เจ้ากรรมนายเวรมีความซ่ือสัตย์มีเมตตารู้จักแบ่งปันไม่เล่นการพนัน มีความตั้งใจในการรักษาไม่เรียกร้องค่ารักษาพยาบาลแล้วแต่จิตศรัทธาของผู้ป่วยไม่โกรธไม่โลภไม่รับประทานอาหารท่ีทับกัน (คือ อาหารที่ปนกันแยกแยะไม่ได้เพราะไม่ทราบว่าอาหารใดอาจเป็นพิษต่อร่างกาย) 2.กระบวนการรักษาด้วยภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้าน 2.1)การซักประวัติและตรวจร่างกาย (1) ก่อนที่จะเริ่มการซักประวัติแพทย์พ้ืนบ้านบางรายจะท�าพิธีกรรมบอกกล่าวส่ิงศักด์ิสิทธิ์ คือแม่พระธรณีและพระชีวกฯถ้าหากไม่ท�าจะมีผลต่อการรักษาคือการรักษาโรคจะไม่หายผู้คนจะลืมเลือนหมอและหมออาจได้รับอันตราย

ภาพประกอบ1:แพทย์พื้นบ้านจะท�าพิธีกรรมบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จุดธูปเทียนบูชาครู

Page 8: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

44 กระแสวัฒนธรรม

(2) การซักประวัติสอบถามอาการผู้ป่วยประกอบการสังเกตสภาพทั่วไปของผู้ป่วยเช่นจะดูสีผิวว่าซีดไม่สบายอายุเท่าไรประวัติประจ�าเดือนสอบถามผู้ป่วยว่ามีอาการหนาวๆร้อนๆอารมณ์ดีร้ายหรือไม่ มีอาการทางประสาทหรือไม่ แพทย์พื้นบ้านบางท่านจะซักประวัติละเอียดถึงการผิดผี เช่นการบนส่ิงศักด์ิสิทธิ์มีการแก้บนหรือยัง ไปลบหลู่หรือท�าผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนหรือเปล่าหรือเคยท�าผิดท่ีเรียกว่าผีบ่าวสาวคือแต่งงานโดยไม่บอกผี ไม่บอกผู้ใหญ่พ่อแม่หรือพี่น้องคนป่วยในลักษณะนี้ชีพจรท้ัง 3 เส้นอันหมายถึงหัวใจ ตับและไตสะบัดไปทางซ้ายแสดงว่าขัดข้องดังนั้นต้องมีการ“ตัดขัด”คือมีการไปแก้บนถ้าชีพจรนิ่งแสดงว่าอ่อนแรงการป่วยอยู่ในข้ันรุนแรง เมื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงแล้วจึงน�าไปสู่การรักษาด้วยตัวยาอาจมี การใช้คาถาประกอบตัวโดยระลึกถึงครูบาอาจารย์หมอแก่หมอพ้ืนบ้านต้องสวดมนต์ไหว้พระท�าสมาธิ อย่างสม�่าเสมอโดยเฉพาะผู้ท่ีไปท�าแท้งมาต้องให้เขาไปท�าบุญตักบาตรและบริจาคทานไม่เช่นนั้นการรักษาจะไม่ได้ผล (3) ตรวจร่างกาย วิธีการตรวจโดยจับชีพจรหรือท่ีเรียกว่าแมะถ้าเลือดใสเส้นวาตะจะเต้นเร็วและแรงถ้าเลือดข้นจะเต้นช้าหนืดการตรวจลักษณะนี้ต้องให้ผู้ป่วยนั่งพัก10–30นาทีจึงค่อยตรวจชีพจรการจับชีพจร เพ่ือประเมินอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโดยดูจากต�าแหน่งของเส้นชีพจรซึ่งมีอยู่3เส้นจับชีพจรที่ข้อมือที่ข้อเท้า และเส้นสุมนาที่หน้าท้องเส้นชีพจรเต้นสะบัดหรือไม่หรือเต้นหนักเบาอย่างไรเพราะชีพจรจะมีผลต่อหัวใจ การจับชีพจรในผู้ป่วยวัยทองจะมีชีพจรทั้ง2ข้าง เต้นไม่สม�่าเสมอขาดๆหายๆ เหมือนคนเป็นโรคหัวใจ เต้นเร็วหรือช้าไม่เท่ากันหนักเบาไม่เท่ากัน การตรวจสภาพทั่วไปของผู้ป่วย การตรวจโดยการสเก๊ตภาพร่างกายคือดูจากวันเดือนปีเกิดโดยเอาปฏิทินร้อยปีมาเทียบผลจากการค�านวณเลขเชื่อว่าสามารถบอกอาการของโรคได้

ภาพประกอบ2:การวิเคราะห์โรคโดยวิธี“การสเก๊ตภาพร่างกาย”โดยค�านวณจากวันเดือนปีเกิด

Page 9: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

45กระแสวัฒนธรรม

ในกรณีที่ผู้ป่วยวัยทองมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจะใช้น�้ามันทั้งต้ังเตาร้อนแตะด้วยมือของหมอ มาชโลมและบีบกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายลงการนวดศีรษะและการนวดฝ่าเท้าเพ่ือให้เลือดลมเดินสะดวกต้องท�าวันละ1ครั้งครั้งละ1 ช่ัวโมงระยะเวลา3วันติดต่อกันการนวดศีรษะและฝ่าเท้าเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาอาการสตรีวัยทองเป็นการนวดประกอบการใช้ยาสมุนไพรต�ารับ

ภาพประกอบ3:แพทย์พื้นบ้านก�าลังตรวจร่างกายรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทอง

2.2)ค่าใช้จ่ายในการรักษาแพทย์พื้นบ้านเป็นผู้ที่มีเมตตาไม่คิดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเป็น ผู้ให้เองตามก�าลังศรัทธายกเว้นค่ายกครูคร้ังละ36บาทหรือค่าน�้าค่าไฟคร้ังละ50บาทมีหมอบางรายได้แจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยบริจาคในกล่องรับบริจาคเพื่อจะน�าไปท�าบุญโดยหมอจะแจ้งวัตถุประสงค์ของ การน�าเงินที่น�าไปท�าบุญเป็นการบริจาคตามก�าลังศรัทธาแม้จะดูน้อยแต่เมื่อรวมกันเข้าในเวลาเป็นปีก็พบว่ามีจ�านวนมากการน�าเงินไปท�าบุญของแพทย์พื้นบ้านส่วนใหญ่จะน�าไปสร้างโบราณสถานตาม วัดวาอารามหอระฆังพระพุทธรูป โบสถ์วิหาร ในหลายจังหวัด เช่นหมอเคยน�าเงินไปบริจาคเพื่อสร้าง ถาวรวัตถุดังกล่าวให้วัดโพธิ์ทองวัดเขมาเตาอ�าเภอพยัคฆภูมิพิสัยจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสร้างศาลา สร้างพระพุทธรูปและหอระฆัง แต่ก็มีหมอบางคนไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์ในการท�าบุญและใช้เงินที่ได้ใน การเลี้ยงชีพซึ่งเงินที่ได้จากการรักษาพบว่ามีจ�านวนเงินไม่มาก

ภาพประกอบ4:พานใส่เงินตามแต่จิตศรัทธาของผู้ป่วยที่จะบริจาค

Page 10: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

46 กระแสวัฒนธรรม

2.3)ยาสมุนไพรต�ารับที่ใช้ในการรักษา ในการรักษาแพทย์พื้นบ้านแต่ละคนมีการใช้สมุนไพรต�ารับในการรักษาพอสรุปได้ดังนี้ •ต�ารับที่1 สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วย เกสรบัวหลวงดอกบุนนาคดอกพิกุล จันทน์แดงจันทน์ขาวดอกค�าไทยดอกค�าฝอยกลุ่มยารักษาเป็นรสสุขุมใช้อย่างละ1ก�ามือแห้งหรือสดน�ามารวมกัน แล้วใส่น�้าพอท่วมยาแล้วต้ม ไปดื่มระยะเวลาการรักษาประมาณ2–3หม้อ (ปกติจะหายภายใน2หม้อ) โดย1หม้อดื่มได้10วันถ้าเป็นมากจะใช้3หม้อหรือบางคนอาจด่ืมในลักษณะด่ืมแทนน�้า ใช้เวลานับปี กินได้เรื่อยๆจนยาจืดยาสมุนไพรสามารถดื่มได้ตลอดไม่เป็นอันตรายกินป้องกันก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการก็ได้หากยาต้มกินค้างคืนไว้ต้องอุ่นทุกวันสมุนไพรหาได้ง่ายตามท้องทุ่งแถวหมู่บ้านสมุนไพรจะเก็บเกี่ยวได้แต่ละชนิดตามฤดูกาลเช่นเดือนสาม(กุมภาพันธ์)เก็บดอกบุนนาคได้เป็นจ�านวนมาก •ต�ารับที่2 สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยกลุ่มยารสฝาด เปลือกต้นมะขามเปรี้ยวต้องใช้เปลือกแท้ๆลูกมะขามป้อมน�ามาอย่างละ2ขีดน�้า2ลิตรต้ม1ครั้ง เมื่อเย็นเติมน�้าอีก2ลิตรแช่ไว้ เพื่อดื่มรับประทานก่อนหรือหลังอาหารกินประมาณ1สัปดาห์หรือน้อยกว่า1สัปดาห์อาการก็จะเริ่มดีขึ้นและหายตามล�าดับ •ต�ารับที่3สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยชื่อว่ายายุ่งประกอบด้วย ใบเสม็ดขาวมดแดงเหล้าขาวน�าใบเสม็ดขาวและมดแดงมาปั่นใส่เหล้าขาวแล้วต้มจนเดือดน�้าที่ได้ไปรับประทานวันละ2ครั้งครั้งละ1ช้อนโต๊ะก่อนอาหารเช้าและเย็น •ต�ารับที่4สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยใบขลู่1,000กรัมขิงแห้ง500กรัมสะค้าน500กรัม พริกไทย500กรัมและตัวยาที่มีรสร้อนสุขุมอื่นๆตามธาตุของผู้ป่วยบดละเอียดผสมกับน�้าผ้ึงปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนให้ผู้ป่วยรับประทานรับประทานครั้งละ2–3เม็ดในกรณีที่เกิดความก�าหนัดมากให้ใช้รากอากาศของเตยทะเลต้มน�้ารับประทาน •ต�ารับที่5สมุนไพรหลักที่ส�าคัญประกอบด้วยใบไข่เน่าใช้ซอยและต้มเป็นชาชงต้นง้าว(ที่ใช้ท�าขนมจีนน�้าเงี้ยว)ตอนเช้าจะมีดอกสีแดงตอนเที่ยงจะเป็นสีส้มจากนั้นก็จะกลายเป็นสีด�าใช้เปลือกและรากประกอบทั้ง2ตัวยานี้ทานไม่เกิน1สัปดาห์อาการก็จะหาย •ต�ารับที่6ชื่อยาตรีสุรผลใช้แก้ลมวิงเวียนยาปรับธาตุเป็นยาแคปซูล 2.4)ที่มาของแหล่งสมุนไพรของแพทย์พื้นบ้าน แพทย์พื้นบ้านต้องมีการแสวงหาสมุนไพรคุณภาพจากแหล่งต่างๆพอสรุปได้ดังนี้ 1.หาจากประเทศเพื่อนบ้านสมุนไพรไทยบางชนิดหายากและก�าลังจะสูญพันธุ์จึงต้องน�าเข้ามาจากลาวพม่ามาเลเซียมีนับร้อยชนิดเช่นหัวร้อยรูได้จากจังหวัดตราดซึ่งได้มาจากกัมพูชาอีกต่อหนึ่ง 2.สมุนไพรบางตัวหาได้จากท้องถ่ินโดยการปลูกใช้เองและซ้ือจากชาวบ้านในชุมชน ซ่ึงพบปัญหาเร่ืองคุณภาพ เช่นสมุนไพรยังไม่อบแห้งท�าให้เกิดเชื้อราได้ง่ายการรับซ้ือสมุนไพรมีราคาท่ีแตกต่างกันไป เช่นกระดอมราคา1,900บาทต่อกิโลกรัมดอกค�าไทยอบแห้งราคา1,800บาทต่อกิโลกรัม (เป็นยาบ�ารุงเลือดใช้แทนเลือดหมู เลือดควาย)แก่นฝางราคาไม่ถึง100บาทต่อกิโลกรัมแต่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยต้องจ้างแรงงานมาสับยา

Page 11: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

47กระแสวัฒนธรรม

3. จากร้านขายยาภายในตัวจังหวัดใช้วิธีการไม่เก็บสมุนไพรมาไว้ท่ีบ้าน เพราะกลัวการข้ึนรา หากผู้ป่วยจ�าเป็นต้องใช้ยาแพทย์พื้นบ้านจะจดต�ารับยาตามอาการเป็นใบสั่งยาให้ผู้ป่วยไปซื้อที่ร้านขายยาด้วยตนเองแนะน�าผู้ป่วยให้ไปซื้อที่ร้านในตัวจังหวัดเช่นยาฟอกเลือดเพื่อระบายของเสียออกจากเลือด

ภาพประกอบ5:ตัวอย่างสมุนไพรแก่นจันทน์ขาวเป็นส่วนหนึ่งในสมุนไพรที่ใช้รักษาผู้ป่วยกลุ่ม อาการสตรีวัยทองหาได้จากตามป่าเขาคิชฌกูฏพระบาทพลวงจังหวัดจันทบุรี

2.5)ระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยอาการสตรีวัยทอง หากมีอาการป่วยระยะเริ่มต้นอาจหายได้ในเวลา 3 วันแต่ต้องทานยาต่อเนื่องอีก 1–2 เดือน เพื่อกระตุ้นฮอร์โมนให้ท�าหน้าที่ปกติหากไม่รีบท�าการรักษาโรคอื่นจะตามมาเพราะร่างกายเสื่อมโทรม ขาดสมดุล 2.6)การติดตามผลการรักษา ในการติดตามผลการรักษามีวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ดูจากอาการโดยท่ัวไป จับชีพจร ถ้ายังไม่หายชีพจรจะเต้นไม่เท่ากัน ระหว่างซ้ายและขวา โดยจับชีพจรที่ข้อมือข้อเท้าและท้อง 2. ผู้ป่วยท่ีเข้ารับการรักษาต้องมารับการตรวจสัปดาห์ละ3คร้ังหากผู้ป่วยหายไปนาน2–3เดือน ก็เช่ือได้ว่าได้หายจากโรค เพราะมีบ่อยคร้ังท่ีปรากฏว่าเมื่อมีโอกาสพบกับผู้ท่ีไปรักษาอีกคร้ังก็ได้รับ การแจ้งว่าหายจากอาการป่วยแล้วระยะเวลาในการรักษาใช้ระยะเวลาในการด�าเนินโรคเป็นหลัก หากยัง ไม่หายก็สามารถมารักษาซ�้าได้ 3. ถ้าผู้ป่วยหายต้องจะกลับมากราบเพื่อขอบคุณหมอและอาจน�าเงินมาช่วยบริจาคเพื่อให้หมอ น�าเงินไปท�าบุญที่วัดหรืออื่นๆ 4.ผู้ป่วยที่มีอายุ 20–30ปีบางครั้งก็พบว่าเป็นวัยทองเมื่อเข้ารับการรักษาจนหายก็จะมีโอกาส มีลูกผู้ป่วยที่มีอายุ48–49ปีในวัยหมดประจ�าเดือนก็จะมีโอกาสที่ประจ�าเดือนจะมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

Page 12: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

48 กระแสวัฒนธรรม

กล่าวโดยสรุป กระบวนการรักษาผู ้ป ่วยกลุ ่มอาการสตรีวัยทองโดยแพทย์แผนไทยซึ่งรักษา โดยแพทย์พ้ืนบ้านพอสรุปได้ว่าอายุของแพทย์พื้นบ้านจังหวัดจันทบุรีมีอายุตั้งแต่ 60ปีขึ้นไปบางท่านมีอายุถึง91ปี เรียนจบชั้นประถมปีท่ี4 ได้เรียนวิชาแพทย์แผนไทยจากบรรพบุรุษบางท่านเรียนจาก พระธุดงค์และบางท่านเรียนจากบุคคลอื่น เช่นพ่อค้าชาวจีนพ่อค้าชาวเวียดนามมีประสบการณ์ใน การรักษาผู้ป่วยไม่น้อยกว่า40ปีองค์ความรู้ใหม่ท่ีได้จากการวิจัยคร้ังนี้คือพบว่าแพทย์พ้ืนบ้านใช้วิธีการรักษาหลายรูปแบบ เช่นค�านวณจากวันเดือนปีเกิดซ่ึงเชื่อว่าสามารถท�านายโรคได้ การซักประวัติร่วมกับการจับชีพจรวิธีการรักษาทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันทั้งแบบการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์การยกครูก่อนตรวจอาการแล้วจึงค่อยจ่ายยาสมุนไพรแต่บางรายก็ไม่มีการยกครูโดยเชื่อว่าการเจ็บป่วยน้ันเกิดจากความเสื่อม ของร่างกายรักษาโดยการวางยาสมุนไพรต�ารับท่ีพบว่ามีจ�านวน6ต�ารับซ่ึงสมุนไพรท่ีใช้รักษาสามารถ หาได้ทั้งจากท้องถิ่นตามธรรมชาติและการจัดซ้ือทั้งในและต่างประเทศหมอบางท่านไม่สามารถออกไปหาสมุนไพรได้เขียนใบสั่งยาที่ระบุชนิดสมุนไพรและน�้าหนักให้ผู้ป่วยไปซ้ือตามร้านขายยาเองยาท่ีใช้ส่วนใหญ ่เป็นยาห่อเพ่ือน�ามาต้มรับประทานมีหมอบางท่านสามารถพัฒนายาเป็นยาแคปซูลสะดวกกินง่าย ในกรณีผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อยมีการใช้วิธีการบีบนวดและใช้น�้ามันชโลมกล้ามเนื้อระยะเวลาในการรักษาส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง1–2 เดือนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักอาจใช้เวลาถึง2–3 เดือนการติดตามผล การรักษาใช้ระยะเวลาการด�าเนินโรคของผู้ป่วยเป็นหลักคือถ้าผู้ป่วยหายดีก็จะไม่มาตรวจซ�้าถ้ายังอาการไม่ดีขึ้นก็จะมารับการรักษาซ�้าอีกโดยไม่มีการนัดหรือลงเวลาให้ผู้ป่วยมารับการรักษาแพทย์พื้นบ้านจันทบุรีเหล่าน้ีนับเป็นปราชญ์พื้นบ้านท่ีใช้ศาสตร์ทางแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการสตรีวัยทอง เป็นท่ีพึ่งของสังคมเป็นเสาหลักของสังคมที่ไม่หวังส่ิงตอบแทนใดๆนับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ชาญฉลาด เป็นมรดกทางสังคมที่บรรพชนส่งต่อสืบทอดกันมา อันน�ามาสู ่ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง และร่มเย็นที่ควรได้รับการยกย่องและสืบต่อภูมิปัญญานี้ให้กับอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะใน การต่อยอดองค์ความรู้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาการรักษาให้ทันสมัยตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันรวมท้ังการอนุรักษ์สมุนไพรท่ีส�าคัญของไทยที่ใช้ในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองและโรคร้ายแรงอื่นๆอย่างเร่งด่วน

ข้อเสนอแนะ 1. ควรรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทอง ท�าเป็นเอกสารต�าราเพื่อท�าการเผยแพร่และเป็นองค์ความรู้ในการเรียนการสอนของสถาบันที่มีการเรียนการสอนแพทย์แผนไทยทั้งภาครัฐและเอกชน 2. ควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่ใช้รักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองหรือสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคร้ายแรงอื่นๆให้กับประชาชนในท้องถิ่นโดยการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน 3. ควรท�าการวิจัยวิธีการรักษากลุ ่มอาการสตรีวัยทองโดยใช้ภูมิป ัญญาของแพทย์พื้นบ้าน ในภาคต่างๆและวิจัยต่อยอดการพัฒนาวิธีการรักษาโดยผสมผสานกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 4. ควรมีการขาดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งวิธีการรักษาและสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา 5. ควรท�าการวิจัยฤทธิ์ทางยาของสมุนไพรท่ีใช้ในการรักษากลุ่มอาการสตรีวัยทองท้ังที่เป็นสมุนไพรรายตัวและเป็นต�ารับ

Page 13: The Study on Folk Medicine Knowledge in Menopausal ......3. น าไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรไทยและการพัฒนาวิธีการใหม่ในการใช้ยาสมุนไพรต

49กระแสวัฒนธรรม

ReferencesChantachon,Songkhun.(2014).CulturalQualitativeResearch(Fieldwork).Mahasarakham: FacultyofCulturalSciences,MahaSarakhamUniversity.(inThai)DepartmentforHealthServices,MinistryofPublicHealth.(2010).Integrated Health Care for theElderly (RevisedEdition).2nded.Nonthaburi:CompanySirichaiPrinting. (inThai)FoundationofThaiTraditionalMedicine.(2007).ThaiTraditionalMedicineTextsVolume1. Bangkok:SupawanichPrinting,(inThai)Juingsatiensap,Komart.(2004).Direction and Strategy Creating Knowledge Management ThaiTraditionalMedicineFolkMedicineandAlternativeMedicine.Bangkok: AusaPrinting.(inThai)Sirayapiwat,Porntip.(2008).ReproductiveMedicine.Bangkok:CompanyConceptmadicus. (inThai)Sornlum,Promjit.(1990).EncyclopediaofHerbsVolume1“HerbalGardenSuiargan”. Bangkok:DepartmentofPharmacology,FacultyofPharmacy.MahidolUniversity. (inThai)Swaddichai,Chatchai. (2016).Project of the Activity Movement Thai Traditional Medicine inOutPatientDepartment (OPD). SabaiHotelNakhonRatchasima, June13.(inThai)Thanua,Wanlop.(2001).MaleandFemaleHealth.Bangkok:PublisherChaufang.(inThai)


Recommended