68
คู่มือเรียนรายวิชา การทำนา (อช0201) สาระการประกอบอาชีพ วิชาเลือก ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 3/2553

การทำนา ม.ต้น อช0201

Embed Size (px)

Citation preview

คู่มือเรียนรายวิชา

การทำนา (อช0201)

สาระการประกอบอาชีพ วิชาเลือก

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 3/2553

คำนำ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา รายวิชาเลือกระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รหัสวิชา อช0201 เป็นหนังสือเรียนที่จัดทำขึ้น สำหรับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษา

นอกระบบ ได้เรียบเรียงสาระการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าฝึกทักษะ

ของผู้เรียนทุกระดับ

สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเรียนเล่มนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการตามมาตรฐานการเรียนรู้เป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการเรียนการสอนอันจะเป็นประโยชน์ต่อ

นักศึกษาต่อไป

สำนักงานกศน.จังหวัดมหาสารคาม

สารบัญ หน้า คำนำ

สารบัญ

คำแนะนำในการใช้คู่มือเรียน ก

คำอธิบายรายวิชา ข

รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ค

บทที่1 ความสำคัญและประโยชน์ของข้าว 1-20

กิจกรรมท้ายบทที่1 21-22

บทที่2การทำบัญชีเงินสดเบื้องต้น 23-25

กิจกรรมท้ายบทที่2 26

บทที่3การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 27-34

กิจกรรมท้ายบทที่3 35

บทที่4คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ 36-39

กิจกรรมท้ายบทที่4 40-41

บทที่5ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพทำนา 42-44

กิจกรรมท้ายบทที่5 45

บรรณานุกรม

คณะผู้จัดทำ

คำแนะนำการใช้คู่มือเรียน

คู่มือเรียนสาระการประกอบอาชีพรายวิชาการทำนารายวิชาเลือกระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รหัสวิชา อช0201 เป็นหนังสือเรียนที่จัดทำขึ้น สำหรับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษา

นอกระบบ

ในการศึกษาคู่มือเรียนสาระการประกอบอาชีพรายวิชาการทำนาผู้เรียนควรปฏิบัติดังนี้

1. ศึกษาโครงสร้างรายวิชาให้เข้าใจในหัวข้อและสาระสำคัญผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขอบข่ายเนื้อหา

ของรายวิชานั้นๆโดยละเอียด

2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบทอย่างละเอียด และทำกิจกรรมตามที่กำหนด และทำกิจกรรมตาม

กำหนดถ้าผู้เรียนตอบผิดควรกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นใหม่ให้เข้าใจก่อนที่จะศึกษาเรื่องต่อๆไป

3. ปฏิบัติกิจกรรมท้ายเรื่องของแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นการสรุปความรู้ ความเข้าใจของเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ

อีกครั้ง และการปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละเนื้อหา แต่ละเรื่อง ผู้เรียนสามารถนำไปตรวจสอบกับครูและเพื่อน ๆ

ที่ร่วมเรียนในรายวิชาและระดับเดียวกันได้

4. หนังสือเรียนเล่มนี้มี5บท

บทที่1 ความสำคัญและประโยชน์ของข้าว

บทที่2 การทำบัญชี

บทที่3การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บทที่4คุณธรรมในการประกอบอาชีพ

บทที่5ปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพ

คำอธิบายรายวิชา อช0201 การทำนา

สาระการประกอบอาชีพ ระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย

จำนวน 3 หน่วยกิต (120 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 3.1มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทางและการตัดสินใจประกอบ

อาชีพได้ตามความต้องการและศักยภาพของตนเอง

3.2มีความรู้ความเข้าใจทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก

3.3มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

ช่องทางและการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพทำนา ความสำคัญ และประโยชน์ของข้าว ประเภทของ

การทำนา สายพันธุ์ข้าว ขั้นตอนและวิธีการเพาะต้นกล้า การวางแผนการปลูกข้าว วิธีการและขั้นตอนการปลูก

โรคและแมลงศัตรูข้าว การเก็บเกี่ยว และการจัดการการตลาด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คุณธรรมในการประกอบอาชีพปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

สำรวจสภาพพื้นที่การทำนา ศึกษา วิเคราะห์พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ ขั้นตอนการทำนา

การจดัการการผลติกระบวนการตลาดมกีารแลกเปลีย่นการเรยีนรูซ้ึง่กนัและกนัฝกึการทำนาแลว้สรปุเปน็องคค์วามรู ้

การวัดและประเมินผล

ประเมินจากสภาพจริง ผลงาน การสังเกต ความสนใจในกระบวนการเรียนรู้ ความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์

ขยันอดทนต่อการทำงานตามขั้นตอนการเรียนรู้

รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา อช0201 การทำนา

สาระการประกอบอาชีพ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย

จำนวน 3 หน่วยกิต (120 ชั่วโมง)

มาตรฐานที่ 3.1มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทางและการตัดสินใจประกอบ

อาชีพได้ตามความต้องการและศักยภาพของตนเอง

3.2มีความรู้ความเข้าใจทักษะในอาชีพที่ตัดสินใจเลือก

3.3มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรม

ที่ หัวเรื่อง ตัวชี้วัด เนื้อหาจำนวน

(ชั่วโมง)

1

2

3

4

5

6

7

ช่องทางและการตัดสินใจ

เลือกประกอบอาชีพทำนา

ความสำคัญและประโยชน์

ของข้าว

ประเภทของการทำนา

สายพันธุ์ของข้าว

ขั้นตอนและวิธีการเพาะกล้า

แผนการปลูกข้าว

ขั้นตอนและวิธีการปลูก

อธิบายช่องทางและการ

ตัดสินใจเลือกประกอบ

อาชีพทำนาได้

อธิบายความสำคัญและ

ประโยชน์ของข้าว

อธิบายประเภทของการ

ทำนาลักษณะต่างๆได้

เลือกสายพันธุ์ของข้าวที่

เหมาะสมกับท้องถิ่นได้

อธิบายขั้นตอนและวิธีการ

เพาะต้นกล้าได้

วางแผนการปลูกข้าวและคิด

ค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวได้

อธิบายขั้นตอนและสามารถ

ปลูกข้าวได้

วิเคราะห์ความเป็นไปได้

จากข้อมูลดังนี้

1.ข้อมูลตนเอง

2.ข้อมูลทางวิชาการ

3.ข้อมูลทางสังคมและ

สิ่งแวดล้อม

ความสำคัญและประโยชน์

ของข้าว

1.ทำนาหว่าน

2.ทำนาดำ

สายพันธุ์ข้าวต่างๆ

ขั้นตอนและวิธีการเพาะ

ต้นกล้า

การวางแผนการปลูกข้าว

ค่าใช้จ่าย

ขั้นตอนและวิธีการปลูก

6

3

6

6

10

8

20

ที่ หัวเรื่อง ตัวชี้วัด เนื้อหาจำนวน

(ชั่วโมง)

8

9

10

11

12

13

14

15

การดูแลรักษา

การป้องกันและการกำจัด

ศัตรูข้าว

การเก็บเกี่ยว

การจัดการการตลาด

การทำบัญชี

การอนุรักษ์ทรัพยากรและ

สิ่งแวดล้อม

คุณธรรมในการประกอบ

การทำบัญชี

การอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม

คุณธรรมในการประกอบ

อาชีพ

ปัญหาอุปสรรคในการ

ประกอบอาชีพ

ดูแลรักษาข้าวได้

ป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว

ได้

อธิบายการเก็บเกี่ยวข้าวได้

อธิบายกระบวนการตลาดได้

ทำบัญชีการผลิตข้าวได้

อธิบายการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อมในการปลูกข้าว

ได้

อธิบายคุณธรรมในการ

ประกอบอาชีพ

อธิบายปัญหาอุปสรรคใน

การประกอบอาชีพ

1.การใส่ปุ๋ย

2.การให้น้ำ

1.การป้องกันศัตรูพืช

2.การกำจัดศัตรูพืช

1.การพิจารณาอายุข้าว

ที่เก็บเกี่ยว

2.วิธีการเก็บเกี่ยว

3.การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว

1.การวิเคราะห์การตลาด

2.ช่องทางการจำหน่าย

3.การขยายและการส่งเสริม

การขาย

4.การบรรจุหีบห่อ

5.การกำหนดราคาขาย

1.บัญชีทรัพย์สิน

2.บัญชีรายรับ-รายจ่าย

การอนุรักษ์ทรัพยากรและ

สิ่งแวดล้อม

1.ความรับผิดชอบ

2.ความซื่อสัตย์

3.ความขยันอดทนฯลฯ

1.ปัญหาด้านกระบวนการ

ผลิต

2.ปัญหาด้านการผลิต

15

15

6

10

6

3

3

3

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1

บทที่ 1

ความสำคัญและประโยชน์ของข้าว

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปในตลาดโลก จากข้อมูล

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี พ.ศ. 2543ประเทศไทยผลิตข้าวได้รวม 24.2 ล้านตันข้าวเปลือก ใช้เพื่อการ

บริโภค ทำพันธุ์ และอื่น ๆ ในประเทศรวม 13.6 ล้านตัน ข้าวเปลือก ส่งออกไปขายในตลาดโลก 9.2 ล้านตัน

ข้าวเปลือกหรือ6.1ล้านตันข้าวสารมีมูลค่า67,914ล้านบาทและในปีพ.ศ.2544ประเทศไทยสามารถผลิตข้าว

ได้รวม 27 ล้านตันข้าวเปลือก ใช้เพื่อการบริโภค ทำพันธุ์และอื่น ๆ ในประเทศ รวม 15 ล้านตันข้าวเปลือก

ส่งออกไปขายในตลาดโลกประมาณ12ล้านตันข้าวเปลือกหรือ7ล้านตันข้าวสาร

การผลิตข้าวมีแนวโน้มมากกว่าความต้องการของตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากผลของการควบคุมจำนวน

ประชากรในประเทศต่าง ๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนานอกจากนี้เทคโนโลยีในการ

ผลิตข้าวมีความก้าวหน้ามากขึ้นทำให้ประเทศผู้ซื้อข้าวสามารถผลิตข้าวใช้ในประเทศได้มากขึ้นปริมาณการนำเข้า

จึงลดลง ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการส่งออก ดังนั้น ราคาข้าวจะถูกกำหนดจากปริมาณความต้องการ

และปริมาณข้าวในตลาดโลกถ้าปริมาณข้าวมีมากกว่าความต้องการราคาข้าวในตลาดโลกจะลดลงและราคาข้าว

ในประเทศไทยก็จะลดลงด้วย ต้นทุนการผลิตข้าวของเกษตรกรไทย ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปี

ข้อมูลการผลิตในช่วงปี2538-2543ข้าวนาปีมีต้นทุนการผลิตต่อต้นเฉลี่ย4,160บาทในปี2538/39และเพิ่มขึ้น

ประมาณ4,800บาทในปี2542/43ในขณะที่ข้าวนาปรังมีต้นทุนการผลิตต่อต้นเฉลี่ย2,700บาทในปี2538/39

และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3,200 บาท ในปี 2541/42 ถึงแม้ราคาข้าวนาปีที่เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าข้าวนาปรัง

แต่ผลตอบแทนสุทธิต่อตัน ก็ยังน้อยกว่าข้าวนาปรังโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เท่าตัว โดยในปี 2541/42 ข้าวนาปี

มีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 914 บาทและข้าวนาปรัง มีผลตอบแทนสุทธิต่อตัน 1,825 บาท ที้งนี้เนื่องจากผลผลิต

ต่อไร่ของข้าวนาปีอยู่ในระดับต่ำ และการเพิ่มผลผลิตทำได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่การปลูกซึ่ง ไม่สามารถ

ควบคุมน้ำได้รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม

-พันธุ์ข้าวที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกยังไม่สามารถครอบคลุมพื้นที่การปลูกได้อย่างเหมาะสม

-เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม(GoodAgriculturePractice :GAP)ยังไม่มีรายละเอียดที่จะใช้แนะนำ

เฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะพันธุ์

-การวิจัยและพัฒนาด้านการแปรรูปส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปแบบง่าย ๆ มีมูลค่าเพิ่มน้อยและยังไม่

สามารถนำไปสู่การเป็นผู้นำในการแปรรูปสู่อุตสาหกรรมการส่งออก

-การประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรมีค่อนข้างน้อย

-การค้าข้าวภายใต้องค์การค้าโลก(WTO)ถูกกีดกันมากขึ้นโดยอ้างถึงการรักษาสภาพแวดล้อม

-ถึงแม้ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศจะอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวนาปี ซึ่งประมาณมากกว่าร้อยละ 50

อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 6 เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายพื้นที่มีศักยภาพที่สามารถปลูก ข้าวดอกมะลิ 105 ได้ผลผลิตสูงถึง 500 - 600

กิโลกรัม/ไร่

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2

-พื้นที่ในเขตชลประทานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตมีการขยายตัวมากขึ้นโดยจากข้อมูล

ของกรมชลประทานพืน้ทีช่ลประทานของประเทศเพิม่จาก28,685,480ไรใ่นปี2537เปน็29,931,635ไร่ในปี2541

-กรมวิชาการเกษตร มีทรัพยากรข้าวที่หลากหลายซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาพันธุ์ที่มีคุณภาพตาม

ความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้ทั้งในด้านการบริโภคโดยตรงและแปรรูป

-กรมวิชาการเกษตรมีเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม(GAP) เพื่อปรับใช้สำหรับการผลิตข้าวในนิเวศน์

ต่างๆเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ

-จากข้อตกลงทางการค้าภายใต้WTOไทยมีโอกาสที่ส่งส่งออกข้าวเข้าไปตลาดโลกได้มากขึ้น

-ผลิตภัณฑ์จากข้าวยังมีโอกาสอีกมากในตลาดโลก เนื่องจากความต้องการใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

อาหารสำเร็จรูปและเครื่องสำอางมีเพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์และความสำคัญ 1.ข้าวเป็นอาหารหลักของไทย

2.ขายเป็นสินค้าออกที่สำคัญทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง

3.สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

4.ทำรายได้แก่เกษตรกร

การแบ่งประเภทของข้าวที่ปลูก

การแบ่งประเภทของข้าวในประเทศไทยมีการแบ่งออกได้หลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับลักษณะบาง

ประการของข้าวซึ่งพอจะแยกแยะได้ดังต่อไปนี้

1. แบ่งประเภทตามคุณสมบัติในการขึ้นอยู่หรือตามสภาพภูมิประเทศหรือตามวิธีการปลูกซึ่งแบ่งออกเป็น

3ประเภทคือ

1.1 ข้าวนาสวน (lowland rice)คือข้าวที่ปลูกในนาที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไปในสภาพที่มีน้ำขังหล่อเลี้ยง

ต้นข้าวตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยวโดยสามารถที่จะรักษาระดับน้ำได้และระดับน้ำต้องไม่สูง

1.2 เกินกว่า 1 เมตร น้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงต้นข้าวเหล่านี้อาจจะมาจากน้ำฝนหรือน้ำชลประทาน ข้าว

นาสวนนี้มีการปลูกกันมากแทบทุกภาพของประเทศไทย คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ปลูกข้าว

ของประเทศข้าวขึ้นน้ำหรือข้าวนาเมืองหรือข้าวฟางลอย(floatingriceหรือdeep-waterrice)เป็นข้าวที่ปลูกกัน

ในสภาพที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำบางครั้งระดับน้ำในบริเวณที่ปลูกสูงกว่า1 เมตรข้าวพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ

ในการยืดตัวหนีน้ำได้ ส่วนมากมีการปลูกกันแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง

ชัยนาทและสิงห์บุรีซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ10เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าของประเทศ

1.3 ข้าวไร่ (upland rice หรือ hill rice) เป็นข้าวที่ปลูกในสภาพที่ไม่ต้องมีน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก

ส่วนใหญ่นิยมปลูกในสภาพพื้นที่ดอนหรือที่สูงตามไหล่เขาต่างๆลักษณะของการปลูกก็คล้ายๆกับพืชไร่อื่น ๆ

การปลูกโดยการหว่านหยอดหลุมหรือโรงเป็นแถวการปลูกจะทำกันในฤดูฝนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนข้าวประเภท

นี้นิยมปลูกกันมากตามไหล่เขาทางภาพเหนือใต้ตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

2.แบ่งประเภทตามคุณสมบัติของแป้งในเมล็ดข้าวสาร หรือตามคุณสมบัติทางเคมีภายในเมล็ด ซึ่งแล่ง

ออกเป็น2ประเภทคือ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3

2.1 ข้าวจ้าว (non-glutinous rice) เป็นข้าวที่เมล็ดข้าวสารประกอบด้วยแป้งชนิดธรรมดา (starch

endosperm) 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแป้งส่วนนี้มีส่วนประกอบใหญ่ ๆ อยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ amylopectin (ซึ่งเป็น

polymerของD-glucoseที่ต่อกันเป็นbranchchain)ประมาณ70-90เปอร์เซ็นต์และamglose(ซี่งเป็นpalymer

ของD-glucoseที่ต่อกันแบบlinearchain)เมล็ดข้าวสารมีสีขาวใสหลังจากหุงหรือนึ่งแล้วจะได้ข้าวสุกที่มีสีขาว

ขุ่นและร่วน

2.2ข้าวเหนียว (glutinous rice หรือ waxy rice) เป็นข้าวที่เมล็ดข้าวสารประกอบด้วยพวก soluble

starchendospermและมีdextrinในเมล็ดแป้งแป้งของข้าวเหนียวประกอบด้วยamylopectinเป็นส่วน

ใหญ่คือรวม95 เปอร์เซ็นต์ และมี amylose เล็กน้อยหรือบางทีไม่มีเลยเมล็ดข้าวสารของข้าวเหนียวจะมีลักษณะสี

ขาวขุ่นนึ่งแล้วจะได้ข้าวสุกที่เหนียวจับตัวติดกันแน่นและมีลักษณะใส

อัตราส่วนของamylopectinและamyloseในเมล็ดข้าวสารนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวมีคุณสมบัติ

ในการหุงต้มและรับประทานแตกต่างกัน คือข้าวจ้าวมีอะไมโลสสูง จะดูดน้ำและขยายปริมาตรในระหว่างการหุง

ต้มได้มากกว่าข้าวที่มี amyloseต่ำทำให้ข้าวสุกมีลักษณะแข็งและร่วนทึบแสงไม่เลื่อมมันส่วนข้าวเหนียวหรือข้าว

ที่มีอะไมโลสต่ำจะดูดน้ำและขยายตัวได้น้อยกว่าข้าวจ้าวข้าวสุกจะมีลักษณะเหนียวและนุ่มกว่า

3. แบ่งประเภทตามกำหนดระยะเวลาสุกแก่ของข้าว หรือตามอายุการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักเกณฑ์ในการแบ่ง

ในข้อนี้ไม่แน่นอนและมักขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละท้องถิ่นแต่ก็พอจะแยกออกได้เป็น3ประเภทคือ

3.1ข้าวพันธุ์เบา(earlymaturing variety) ได้แก่พันธุ์ข้าวที่มีอายุสุกแก่ไว โดยกำหนดเก็บเกี่ยวตั้งแต่

90-100 วันนับตั้งแต่เริ่มเพาะกล้าหรือหว่านข้าวในนาในฤดูการทำนาปี ข้าวพวกนี้สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน

กันยายนถึงตุลาคม

3.2ข้าวพันธุ์กลาง(mediummaturingvariety)ได้แก่พันธุ์ข้าวที่มีอายุสุกแก่ปานกลางโดยมีกำหนด

เก็บเกี่ยวตั้งแต่ 100-200 วันหลังจากที่เริ่มเพราะกล้าหรือหว่านข้าวในนา ข้าวพันธุ์กลางนี้ในฤดูนาปีสามารถเก็บ

เกี่ยวได้ในช่วงเดือนตุลาคมถือพฤศจิกายน

3.3ข้าวพันธุ์หนัก (latematuringvariety)ได้แก่พันธุ์ข้าวที่มีอายุสุกแก่ช้าโดยมีกำหนดเก็บเกี่ยวตั้ง

แต่ 120 วันขึ้นไปหลังจากที่เริ่มเพราะกล้าหรือหว่านข้าวในนาในฤดูการทำนาปี ข้าวพวกนี้สามารถเก็บเกี่ยวได้ใน

ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

4.แบ่งประเภทตามการตอบสนองต่อช่วงแสง(photoperiodism)ซึ่งแบ่งออกเป็น2ประเภทคือ

4.1ข้าวที่ตอบสนองต่อช่วงแสงหรือข้าวที่ไวต่อช่วงแสง(photoperiod sensitive rice) ได้แก่ข้าวที่ต้อง

อาศัยช่วงแสงวันสั้น (short day) ในการชักนำให้เกิดการออกดอก เป็นข้าวที่มีกำหนดการออกดอกในช่วงเวลาที่

แน่นอนหรือถ้าคลาดเคลื่อนก็เพียงเล็กน้อยข้าวประเภทนี้ต้องทำการปลูกในฤดูนาปี (ฤดูฝน) แล้วจะออกรวงในฤดู

หนาวถ้าเป็นข้าวที่ไม่ไวแสงมากก็จะเป็นข้าวพันธุ์เบาคือจะออกดอกในเดือนกันยายน

ถ้าเป็นข้าวไวแสงมากก็จะเป็นข้าวพันธุ์หนักซึ่งจะออกดอกในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมข้าวพันธุ์

พื้นเมืองส่วนใหญ่ในบ้านเราเป็นข้าวประเภทนี้

4.2ข้าวที่ไม่ตอบสนองต่อช่วงแสงหรือข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง(photoperiod insensitiverice)ได้แก่

ข้าวที่ไม่ต้องอาศัยช่วงแสงในการชักนำให้เกิดการออกดอก โดยจะออกดอกตามอายุที่กำหนดซึ่งขึ้นอยู่กับพันธุ์

ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ทุกๆฤดูกาลข้าวพวกนี้มีอายุเก็บเกี่ยวตั้งแต่110-130วันในบ้านเราส่วนใหญ่แล้วมักจะ

ใช้ปลูกในฤดูนาปรังข้าวพวกนี้ได้แก่ข้าวพันธุ์ปรับปรุงแล้วคือพวกข้าวกข.ทั้งหลายและข้าวบาสมาติก(บส.)

ซึ่งเป็นข้าวที่กำลังมีการปลูกเพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศในขณะนี้ก็เป็นข้าวที่อยู่ในประเภทนี้

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4

5.แบ่งประเภทตามรูปร่างของเมล็ดข้าวสารซึ่งได้แก่

5.1ข้าวเมล็ดสั้น(shortgrain)ได้แก่ข้าวที่มีความยาวของเมล็ดไม่เกิน5.50มิลลิเมตร

5.2ข้าวเมล็ดยาวปานกลาง(mediumlonggrain)ได้แก่ข้าวที่มีความยาวของเมล็ดตั้งแต่5.5ถึง6.60

มิลลิเมตร

5.3ข้าวเมล็ดยาว(loggrain)มีความยาวของเมล็ดตั้งแต่6.61ถือ7.50มิลลิเมตร

5.4ข้าวเมล็ดยาวมาก(extra-longgrain)มีความยาวของเมล็ดตั้งแต่7.51มิลลิเมตร

การทำนา

การทำนาเป็นอาชีพหลักของคนไทย ประชากรไม่น้อยกว่า

๘๐% มีอาชีพด้วยการทำนาเพราะประเทศไทยมีภูมิประเทศและลมฟ้า

อากาศเหมาะสมแก่การทำนาอย่างยิ่ง มีปริมาณฝนตกมาก และติดต่อ

กันนาน ลักษณะพื้นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ทั่วไป ฤดูฝนจะปลูกพืชอย่าง

อื่นก็ไม่เหมาะสมเท่ากับปลูกข้าว ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทำนา

จนเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

ประเภทของการทำนา

การทำนาแบ่งออกได้เป็น4ประเภทคือ

1. นาดำ

2.นาหว่าน

3.นาปรังหรือนาดอน

4.นาไร่

พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์

ลักษณะข้าวที่ดี 1.เจริญงอกงามเร็วมีความต้านทานต่อโรคแมลงและศัตรูต่างๆ

2.การแตกกอดีแตกกอเป็นจำนวนมากแตกกอในระยะสั้นและรวดเร็วไม่ทยอยกันแตก

3.ปลูกได้ทุกฤดูกาล

4.ลำต้นตรงไม่ล้มง่าย

5.ให้ผลผลิตสูงรวงใหญ่ยาวเมล็ดได้ขนาดประมาณเมล็ดในรวงมากตั้งแต่350-500เมล็ด

6.เมล็ดสมบูรณ์ไม่ลีบไม่บิดเบี้ยว

7.เป็นพันธุ์ที่ดีเด่นทั้งปริมาณและคุณภาพ

8.ความงอกของเมล็ดไม่ต่ำกว่า85%

9.เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นาต่างๆ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5

พันธุ์ข้าวที่ดีที่ทางราชการส่งเสริมให้ปลูกแต่ละท้องถิ่น

ทุกวันนี้รัฐบาลได้พยายามหาพันธุ์ข้าวที่ดีมาส่งเสริมให้ชาวนาปลูกเพื่อให้การทำนาของชาวนาได้ผลผลิต

สูงขึ้นและมีคุณภาพดีจึงควรใช้พันธุ์ข้าวที่ดีที่ทางราชการแนะนำตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่นดังนี้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ระยะฟักตัวที่ ชื่อพันธุ์ ชนิดข้าว ระยะเก็บเกี่ยว ความสูงก่อนเก็บเกี่ยว(ซม.) (สัปดาห์)

1 หางยี71 เหนียว 125-130วัน 135 1

2 น้ำสะกุย19 เจ้า 125-130วัน 120 3

3 ข้าวดอกมะลิ105 เจ้า 125-130วัน 150 8

4 เหนียวสันป่าตอง เหนียว 125-130วัน 160 5

5 ข้าวปากหม้อ148 เจ้า 125-130วัน 140 6

6 ก.ข.2 เหนียว 125-130วัน 100-115 4

7 ก.ข.4 เหนียว 115-120วัน 100-115 4

8 ก.ข.7 เจ้า 120-130วัน 100-115 1

9 ก.ข.9 เจ้า 115-125วัน 100-120 5

ข้าวขึ้นน้ำ

1 ข้าวตะเภาแก้ว161 เจ้า 125-130วัน - 6

2 เล็บมือนาง111 เจ้า 125-130วัน - 6

3 ปิ่นแก้ว65 เจ้า 125-130วัน - 4

4 นางฉลอง เหนียว 125-130วัน - 7

หมายเหตุพันธุ์ข้าวที่มีระยะฟักตัวนานควรผึ่งแดดอย่างน้อย2แดดจะช่วยทำให้ความงอกของเมล็ดดีขึ้น

ฤดูปลูกข้าว

ข้าวปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งแล้วแต่สภาพของท้องถิ่นบางท้องถิ่นที่มีการชลประทานดีมีคลองส่งน้ำ

ถึงก็สามารถปลูกข้าวได้ทุกฤดูแต่ท้องถิ่นส่วนมากทำนาในฤดูฝนคือเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

จะเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีคันนามั่นคง สามารถกักน้ำไว้เลี้ยงต้นข้าว

เครื่องมือในการทำนาดำโคกระบือเครื่องประกอบอื่นๆมีไถคราดเครื่องสูบน้ำเครื่องพ่นยามีดจอบพลั่ว

เคียวเกี่ยวข้าวปริมาณของเครื่องมือต้องมีให้พอและเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะในการทำนาเพื่อให้การปักดำและเก็บ

เกี่ยวเสร็จตามฤดูกาล

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6

การทำนาดำ

การทำนาดำทำเป็น2ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่1หมายถึงต้องตกกล้าก่อนจนกระทั่งกล้าโตพอสมควรตามปกติกล้ามีอายุ25-30วันแต่

ไม่เกิน45วัน

ขั้นตอนที่2หมายถึงถอนต้นกล้าไปปักดำในแปลงนาที่เตรียมไว้

การเลือกที่แปลงตกกล้า

1.ควรอยู่ใกล้น้ำ

2.เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์หรือดีกว่าแปลงนาอื่นๆ

3.ควรเป็นแปลงที่อยู่ในที่ดูแลสะดวกเช่นอยู่ใกล้ที่พัก

4.อย่าใช้แปลงนาที่เคยเป็นโรคอยู่เดิมทำแปลงตกกล้า

5.ควรเป็นที่ๆมีระดับดินสม่ำเสมอ

6.อย่าใช้แปลงนาที่มีร่มไม้ใหญ่บัง

การเตรียมแปลงตกกล้า

1.ไถดะครั้งที่1ตอนที่ฝนตกชุกแล้วทิ้งไว้ให้หญ้าตายขังน้ำไว้ประมาณ1สัปดาห์

2.ไถแปรคือไถครั้งที่2เพื่อพลิกดินอีกครั้งหนึ่ง

3.คราดหลังจากไถแปรเสร็จแล้วก็คราดได้เลย ในการคราดนี้ต้องให้มีน้ำอยู่ในแปลงนา ทำการคราด

หลายๆครั้งไม่ให้หญ้าเกิดขึ้นปะปนกบต้นกล้า

4.เก็บเศษหญ้าออกจากแปลงนาเพื่อไม่ให้หญ้าเกิดขึ้นปะปนกบต้นกล้า

5.ปล่อยน้ำออกจากแปลงนาหลังจากคราดเรียบร้อยแล้วให้เหลือแต่ดิน

6.หลังจากคราดแล้วปรับที่ให้ราบเรียบเสมอกัน ปล่อยน้ำออกจากแปลงนา แบ่งแปลงกล้าออกเป็นแปลง

ย่อย ให้แปลงกล้านูนตรงกลางนิดหน่อยแปลงย่อยหนึ่ง ๆมีความกว้าง 3 - 4 เมตรหรือตามต้องการ ระหว่าง

แปลงต่อแปลงให้มีร่องน้ำมีทางเดินกว้างประมาณ50ซม.เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลได้สะดวก

การทำแปลงตกกล้ามีประโยชน์ดังนี้ 1.สะดวกในการหว่านเมล็ดข้าวลงในแปลงกล้าได้สม่ำเสมอ

2. สะดวกในการป้องกันโรคและแมลงหนอนศัตรูของกล้า

3.สะดวกในการควบคุมน้ำระบายน้ำออกและเข้าได้ทั่วถึงกัน

4.สะดวกในการแบ่งพันธุ์ข้าวต่างๆไม่ให้ปะปนกัน

การใส่ปุ๋ยในแปลงตกกล้า

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 7

1. ใช้ปุ๋ยซุบเปอร์ฟอสเฟท(20%P205)อัตรา40กรัม(4ขีด)ต่อ1ตารางเมตรใส่ปุ๋ยก่อน1วัน

2.หากแปลงนาที่ตกกล้ามีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ เช่น ดินทรายให้ใช้ปุ๋ยซุบเปอร์ฟอสเฟท จำนวน

40กรัมรวมกับปุ๋ยแอนโมเนียมซัลเฟต(20%N)10กรัมใส่ต่อเนื้อที่ตกกล้า1ตารางเมตร

ใช้ปุ๋ยสูตร16–20-0หรือสูตร18–22-0อัตรา10–30กรัมต่อ1ตารางเมตรสูตรใดสูตรหนึ่งก็ได้

3. หว่านปุ๋ยให้ทั่วทั้งแปลง ใช้มือลูบปุ๋ยให้จมลงไปในดิน วันต่อมาจึงนำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หุ้มจนงอกพอ

เหมาะแล้วมาหว่าน การหว่านเมล็ดข้าวบนแปลงตกกล้าที่ใส่ปุ๋ยแล้ว โดยไม่ได้ลูกให้ปุ๋ยจมดินก่อน จะทำให้ความ

งอกของข้าวเสียไป

4.หลังจากหว่านกล้า10วันเห็นใบกล้าเหลืองควรใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเพิ่มลงไปในอัตรา10กรัม

ต่อ1ตารางเมตร

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อตกกล้า

เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ในการตกกล้าควรจะใช้พันธุ์ของกรมการข้าว ซึ่งผ่านการคัดอย่างดีมาแล้ว และให้

ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์พื้นเมืองประมาณ 10–20 % หากใช้พันธุ์พื้นเมืองจะต้องทำความสะอาดเสียก่อน ในขณะ

เดียวกันการแยกเมล็ดลีบและไม่สมบูรณ์ออกด้วยการฝัดหรือแช่น้ำเกลือ ในอัตราส่วน ผสมน้ำ 1 ปิ๊ป ต่อเกลือ 5

กก. เมื่อคัดเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งลอยอยู่ข้างบนออกแล้ว จึงนำไปล้างน้ำอีกครั้ง แล้วนำเมล็ดไปบรรจุกระสอบ

ขนาดมาตรฐาน4ถังปิดปากกระสอบให้หลวมๆนิดหน่อยแล้วแช่ในน้ำที่สะอาดแช่น้ำในลำห้วยลำธารที่มีน้ำ

ไหลผ่านเสมอยิ่งดีถ้าไม่มีลำธารอาจจะแช่ในภาชนะอื่นๆก็ได้แช่น้ำนานประมาณ12ชั่วโมงแล้วยกกระสอบ

ขึ้นให้น้ำไหลออก แล้วนำไปหุ้มคือเอากระสอบนำไปวางบนขอนไม้ในที่ร่ม ๆ ลมโกรกได้สะดวกดี แล้วหาฟาง

หรือกระสอบชุบน้ำคลุมพยายามกลับกระสอบจากข้างล่างขึ้นข้างบนทุก 12 ชั่วโมง หรืออาจจะเร็วกว่านี้ก็ได้เพื่อ

ให้มีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ถ้าแห้งเกินไปก็พรมน้ำเสียบ้าง ทำเช่นนี้อยู่ประมาณ 36–48 ชั่วโมง หลังจากหุ้ม 48

ชั่วโมงแล้วถ้าข้าวยังงอกไม่ดีก็ควรหุ้มต่อไปแต่ไม่ควรเกิน72ชั่วโมงข้าวที่งอกใช้ได้ดีรากจะงอกยาวไม่เกิน1

เซนติเมตร ข้าวที่งอกดีแล้วก็พร้อมที่จะนำไปหว่านในแปลงกล้าได้ ปริมาณเมล็ดพันธุ์ในการทำนาดำแปลงกล้า 1

ไร่ใช้เมล็ดข้าวตกกล้าจำนวน20ถังแต่ถ้าเมล็ดพันธุ์ที่ทำความสะอาดดีมีเปอร์เซนต์ความงอกสูง เช่นพันธุ์ข้าวดี

ของกรมการข้าวในจำนวนเมล็ดพันธุ์เพียง10ถังก็พอฉะนั้นการใช้เมล็ดพันธุ์มากน้อยเพียงใดก็ย่อมเปลี่ยนแปลง

ไปตามคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละท้องถิ่น

การหว่านกล้า คือ การหว่านเมล็ดข้าวที่งอกในแปลงกล้า เมล็ดพันธุ์ที่เกาะเมื่องอกได้ขนาดดีแล้ว พอถึง

เวลาตกกล้าก็เทออกจากภาชนะที่เพาะรากเมล็ดข้าวมักจะทับกัน และจับกันเป็นกระจุก จึงต้องทำให้เมล็ดข้าวแยก

จากกัน แล้วใส่กระบุงนำไปหว่านในแปลงซึ่งเตรียมไว้ หว่านให้สม่ำเสมออย่าให้หนาจนเกินไปจะทำให้เบียดกัน

ต้นกล้าจะเจริญงอกงามไม่เต็มที่ ทำให้ต้นเล็กและอ่อนแอ อัตราเนื้อที่ใช้ในการตกกล้า 1 ไร่ ใช้เมล็ดตกกล้า

ประมาณ20ถังกล้า1ไร่ใช้ดำนาได้20ไร่ต้นกล้าจำนวน80–100มัดของชาวนาดำนาได้ประมาณ1ไร่ตาม

อัตรานี้จะเห็นได้ว่าค่อนข้างสูง เพราะเป็นอัตราที่ชาวนาใช้กันทั่ว ๆ ไปซึ่งอาจจะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพไม่ค่อยดี

นัก เช่นสกปรกมีสิ่งอื่นเจือปนมากความงอกไม่ดีถ้าใช้พันธุ์ข้าวที่ได้วิเคราะห์คุณภาพดีแล้วมีเปอร์เซ็นต์ความ

งอกสูงจะใช้อัตราตกกล้าเพียง10ถังต่อไร่ เพราะว่าแปลงกล้าที่ใช้อัตรานี้มีความเจริญเติบโตแข็งดีกว่าที่ขึ้นหนา

ๆความเสียหายมีน้อยกล้าที่แข็งแรงเมื่อนำไปปักดำก็สิ้นเปลืองน้อยกว่าและตั้งตัวได้เร็ว

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 8

การดูแลรักษาแปลงตกกล้า

1.หลังจากการหว่านข้าวกล้า ดินในแปลงจะต้องมีความชุ่มชื้นพอที่จะทำให้เมล็ดข้าวเจริญต่อไปได้ ต่อ

เมื่อรากจับกันดีแล้วจึงค่อยระบายน้ำเข้าแปลงตกกล้าเพื่อต้นกล้าจะได้เจริญและยึดตัวเร็วขึ้น

2.เมื่อต้นกล้าสูงประมาณ 15 เซนติเมตรหรือประมาณ 1 คืบ ควรมีน้ำในแปลงสูงประมาณ 5–10

เซนติเมตรข้อสำคัญอย่าให้แปลงตกกล้าขาดน้ำจะทำให้รากกล้ายาวถอนเอาไปปักดำลำบาก

3.ในระยะที่ต้นกล้าเจริญเติบโต จะต้องดูแลป้องกันกำจัดโรคแมลง เพลี้ย หนอนเพื่อให้ได้ต้นกล้า

สมบูรณ์ที่สุดถ้าหากต้นกล้าแคระแกรนให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตในอัตราไม่เกิน10กิโลกรัมต่อไร่

4.เมื่อต้นกล้ามีใบ6-7ใบหรืออายุประมาณ25–30วันก็ถอนกล้านำไปปักดำได้

ไม่ควรปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุเกิน45วัน

5.การถอนต้นกล้า ควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้ต้นช้ำเมื่อถอนได้ 1กำควรแกว่งในน้ำให้ดินหรือ

โคลนที่จับอยู่กับรากหลุดไปไม่ควรฟาดต้นกล้ากับหน้าแข้งหรือฝ่าเท้าเพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำหรือหัก

6.เมื่อถอนต้นกล้าแล้ว ให้มัดเป็นมัดๆ เพื่อสะดวกในการนำไปปักดำกล้าที่จะนำไปปักดำควรตัดปลาย

ใบทิ้งเสียเพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วและไม่ถูกลมพัดลอยน้ำไปได้ง่าย

7.สำหรับกล้าประเภทพันธุ์ข้าวเตี้ยไม่ต้องตัดปลายก่อนนำไปปักดำ

สิ่งที่ต้องปฏิบัติในแปลงนาดำคือ

1.การทำคันนา แบ่งแปลงนาเพื่อกักน้ำไว้ในฤดูปักดำ โดยทำตามระดับของพื้นที่ ถ้าเป็นที่ลาดเอียงก็

ทำให้เป็นขั้นๆแต่ละคันนามีเนื้อที่ไม่มากถ้าเป็นที่ราบระดับไม่ต่างกันมากคันนาก็น้อยลงแปลงนาแต่ละแปลง

จะมีขนาดไม่เท่ากันสุดแล้วแต่พื้นที่และความต้องการของชาวนาจะจัดทำ

2.จัดระบบเรื่องน้ำ เพื่อให้ผลเป็นที่แน่นอน ถ้ามีแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรมีคูส่งน้ำเข้าไปยังแปลงนาทุก

แปลง ถ้าจะใช้น้ำจากชลประทาน หรือตั้งเครื่องสูบน้ำเอง ข้อควรพิจารณาก็คือระบบส่งน้ำควรให้ระดับของพื้นคู

ส่งน้ำสูงกว่าระดับนา เมื่อเวลาต้องการน้ำก็จะสามารถเปิดเข้าไปได้ เป็นระบบอิสระที่ไหลผ่านไปยังทุก ๆ แปลง

ส่วนระบบระบายน้ำจำเป็นจะต้องทำด้วยน้ำที่มีปริมาณมากหรือระดับน้ำสูงจำต้องระบายออก ความจำเป็นในเรื่อง

การถ่ายเทน้ำในแปลงนาถ้าสามารถบังคับน้ำให้ไหลเข้าออกได้ตลอดเวลาการแตกกอของข้าวและการเจริญเติบโต

ก็จะดีขึ้นเพราะอากาศในดินได้ถ่ายเทอยู่เสมอวัชพืชในนาจะน้อยลงผลผลิตข้าวจะสูงขึ้น

การเตรียมดินในแปลงนาดำ

การเตรียมดินในแปลงนาดำนี้ทำหลังจากการเตรียมแปลงกล้าและตกกล้าเรียบร้อยแล้ว

1.แปลงปักดำจะต้องไถดะเพื่อหมักหญ้าให้ผุพังเน่าเปื่อยเสียก่อนควรหมักทิ้งไว้ประมาณ3สัปดาห์

2.การคราด เมื่อไถแปรเสร็จแล้วให้ทำการคราดทันที ถ้ามีหญ้าหรือวัชพืชหลงเหลืออยู่ก็ต้องเก็บออกให้

หมด อย่าทิ้งไว้ในแปลงนาให้เกิดการเน่า ซึ่งจะทำให้มีสารพิษเกิดขึ้นทำอันตรายแก่ต้นข้าวที่ปักดำใหม่ ๆ ชะงัก

ความเจริญเติบโตถ้าหากเอาวัชพืชออกไม่หมดหญ้าหรือวัชพืชอาจไม่ตายและเจริญเติบโตแย่งอาหารของต้นข้าวได้

3. เมื่อคราดเสร็จแล้วระบายน้ำออกให้เหลือเพียงเล็กน้อยแล้วทำการปักดำได้ทันที

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 9

4. อัตราเฉลี่ยของปุ๋ยที่ใช้คือแอมโมเนียมซัลเฟท(20%N)20กก.ปุ๋ยซุบเปอร์ฟอสเฟต(20%P2๐5)

20 กก.ปอแตสเซี่ยมครอไรด์ (60%K2๐) 10 กก.ต่อเนื้อที่ 1 ไร่ ปุ๋ยที่ใช้กับข้าวเวลานี้คือ ตามสูตร 16–20-0

ใช้ในอัตรา15–20กก.ต่อเนื้อที่1ไร่

การปักดำ

1.จับต้นกล้าประมาณ 3-4 ต้นปักลงไปในดินเป็นแถว เพื่อสะดวกในการเข้าไปกำจัดวัชพืชป้องกันกำจัด

โรคแมลงศัตรูข้าวและการใส่ปุ๋ย

2.ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้นควรห่างกันประมาณ20–25เซนติเมตรทั้งนี้แล้วแต่ความอุดม

สมบูรณ์ของดินดินเลวปลูกถี่ดินดีปลูกห่าง

การดูแลรักษาแปลงปักดำ

1.ภายหลังจากการปักดำเสร็จแล้วต้องตรวจดูอาจจะมีต้นข้าวลอยขึ้นเนื่องจากปูกัดหรือแปลงนาอาจจะ

ขาดน้ำต้องรีบซ่อมทันที

2.รักษาระดับน้ำอย่าให้สูงเกินไป ควรให้มีระดับความสูง 30 % ของความสูงต้นข้าวจะตั้งตัวได้ต้องใช้

เวลาประมาณ10–15วันหลังปักดำ10วันควรให้มีน้ำ10–15เซนติเมตร

3.เมื่อข้าวอายุได้1เดือนควรจะทำการปราบวัชพืชเพื่อไม่ให้วัชพืชรบกวนต้นข้าวจะเป็นเหตุให้ผลผลิต

ข้าวตกต่ำ

4.ควรใส่ปุ๋ยต้นข้าวเป็น2ระยะ

-ระยะแรกใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนปักดำ1วันโดยใช้ปุ๋ยสูตร16–20-0สูตร18–22-0

สูตร20–20-0สูตรใดสูตรหนึ่งจำนวน20กิโลกรัมต่อไร่

-ระยะที่2ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกดอกประมาณ30–40วันด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟทจำนวน12–22

กิโลกรัมต่อไร่ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (25%)จำนวน10–18กก.ต่อไร่หรือปุ๋ยยูเรีย (45%)จำนวน6–10

กก.ต่อไร่อย่างใดอย่างหนึ่ง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 10

การทำนาหว่าน(directsowingriceorbroadcastriceculture)

การทำนาหว่าน หมายถึงการปลูกข้าวโดยใช้วิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวลงไปบนพื้นที่นาที่เตรียมไว้แล้ว โดย

ไม่ต้องทำการเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายกล้าไปปักดำเหมือนการทำนาดำ พื้นที่ที่มีการทำนาหว่านในบ้านเราส่วนมาก

นิยมทำกันในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมลึก เช่น บริเวณภาคกลางของประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว

ขึ้นน้ำกัน เพราะในพื้นที่ดังกล่าวชาวนาจะเริ่มทำการหว่านเมล็ดข้าวตั้งแต่ช่วงระยะที่มีความชื้นในดินพอเพียงแก่

การงอกในช่วงระยะต้นฤดูฝนเพราะข้าวจะสามารถงอกขึ้นมาและตั้งตัวได้ทันก่อนที่ข้าวจะถูกน้ำท่วม อย่างไร

ก็ตามปัจจุบันนี้การทำนาหว่านนิยมทำทั้งในข้าวขึ้นน้ำและข้าวนาสวน สำหรับพื้นที่ที่จะทำนาหว่านนั้นจะต้องเป็น

พื้นที่นาที่มีลักษณะเป็นแปลงใหญ่ติดต่อกันเป็นผืนเดียว และต้องได้ระดับสม่ำเสมอเพื่อสะดวกในแง่การควบคุม

ระดับน้ำไม่ให้วัชพืชเจริญงอกงาม ดังนั้นพื้นที่ที่ราบสูง เช่น ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลักษณะ

ของนาแบ่งเป็นกระทงนาขนาดเล็ก และควบคุมน้ำไม่ค่อยได้นั้นไม่เหมาะสำหรับทำนาหว่าน การทำนาหว่านนี้ใน

บางประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านการเกษตรไปมากแล้ว และเป็นประเทศที่ทำการปลูกข้าวเพื่อส่งเป็นสินค้าออก

เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย มักนิยมทำกันเพราะสะดวกในแง่การปฏิบัติเพราะขั้นตอนต่าง ๆ ใน

การปลูกไม่ยุ่งยายเหมือนการทำนาดำ นอกจากนั้นลักษณะพื้นที่นาของประเทศเหล่านั้นเป็นผืนใหญ่ ๆ และใน

การเตรียมดินและการดูแลรักษาข้าวนั้นมีการใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีการใช้สารเคมีในการ

ป้องกันกำจัดวัชพืช

วิธีการทำนาหว่านนั้นแบ่งออกเป็น4แบบใหญ่ๆคือ 1.การทำนาหว่านสำรวย วิธีในการปฏิบัติคือเมื่อเริ่มต้นฤดูฝนแล้วก็ทำการไถดะเพื่อทำการกำจัดวัชพืช

และพลิกดิน และเมื่อฝนตกชุกก็ทำการไถแปรเพื่อย่อยดิน เสร็จแล้วจึงทำการหว่านข้าวลงไปในสภาพเมล็ดแห้ง

และเมื่อฝนตกลงมาข้าวก็จะงอกขึ้นมา การทำนาหว่านสำรวยนี้ไม่ต้องใช้แรงงานมากเหมือนกับการทำนาดำ แต่

ผลผลิตต่อไร่ที่ได้ต่ำ ทั้งนี้เพราะว่าการงอกของข้าวไม่สม่ำเสมอทำให้ต้นข้าวที่ขึ้นมามีประปราย จำนวนต้นข้าวต่อ

พื้นที่น้อยเกินไปอีกอย่างก็จะมีปัญหาเรื่องการแข่งขันของวัชพืชเพราะวัชพืชสามารถงอกขึ้นมาพร้อมกับข้

2.การทำนาหว่านแบบหว่านไถกลบหรือหว่านคราดกลบ มักจะทำกันในบริเวณพื้นที่ที่มีความชื้นค่อน

ข้างสูงแต่ยังไม่ถึงกับมีน้ำขังแฉะการทำนาหว่านแบบนี้โดยทำการไถเสร็จแล้วก็หว่านข้าว

แห้งลงไปเลย แล้วทำการไถกลบหรือคราดกลบ วิธีการทำนาหว่านแบบนี้มักจะทำกันเมื่อฤดูกาลทำนาล่าช้าไป

เนื่องจากฝนมาช้าถ้าจะทำนาดำก็จะไม่ทันการการทำนาแบบนี้มีโอกาสเสี่ยงมาก

3.การทำนาหว่านแบบหว่านหลังมูลไถ มักจะทำกันในสภาพที่มีฝนตกมากเกินไปดินเปียกแฉะ และ

จำเป็นจะต้องหว่านข้าวในเวลานั้น เมื่อทำการไถเสร็จก็หว่านเมล็ดข้าวแห้งลงไปเลย โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์

ประมาณ15-20กิโลกรัมต่อไร่เมื่อหว่านเสร็จแล้วก็ไม่ต้องทำการคราดกลบหรือไถกลบอีกวิธีการทำนาแบบนี้ไม่

ค่อยได้ผลดีเพราะจะมีปัญหาของวัชพืชมาก ถ้าเกิดฝนแล้งตามมาเมล็ดข้าวที่งอกขึ้นมาแล้วอาจตายไป หรือถูกนก

หนูทำลาย

4.การทำนาหว่านน้ำตมหรือหว่านข้าวงอก เป็นการทำนาหว่านในพื้นที่ที่ทำนาดำหรือนาสวนทั่วๆ ไป

แต่ได้รับการปรับพื้นที่ให้ได้ระดับดีแล้วและเป็นแปลงใหญ่พอสมควรการเตรียมดินก็ทำลักษณะเดียวกับการเตรียม

ดินสำหรับการทำนาดำ อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ประมาณ 5-7 กิโลกรัมต่อไร่ ในการเตรียมดินก็มีการไถดะ ไถแปร

แล้วคราดเก็บเอาวัชพืชออกให้หมดพร้อมกับทำการปรับระดับผิวหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอเสร็จแล้วให้ขังน้ำไว้พอ

ท่วมผิวดิน จากนั้นก็ทิ้งไว้ปล่อยให้วัชพืชงอกขึ้นมา (ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน) จากนั้นก็ทำการคราดอีกครั้งหนึ่ง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 11

ขณะที่คราดต้องมีน้ำขังในนาเพื่อให้ต้นวัชพืชอ่อน ๆ ที่หลุดขึ้นมาลอยอยู่ในน้ำ จากนั้นก็ทำการตักหรือช้อนเอา

วัชพืชขึ้นมา เมื่อทำการช้อนวัชพืชออกหมดแล้วก็ระบายน้ำออกให้หมดให้เหลือเพียงเล็กน้อยที่ผิวดินเมื่อเตรียมดิน

เสร็จแล้วก็ทำการหว่านเมล็ดข้าวที่ผ่านการแช่และหุ้มมาแล้ว (เมล็ดข้าวที่งอกแล้ว) และถ้าต้องการใส่ปุ๋ยรองพื้นที่

ให้ทำการหว่านปุ๋ยลงไปก่อนที่จะหว่านเมล็ดข้าวหลังจากนั้นประมาณ5-7วันข้าวก็จะเจริญมีรากงอกจัดผิวดินและ

เริ่มมีการตั้งตัวของต้นกล้า จากนั้นให้ปล่อยน้ำเข้าแปลงให้มีความลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร ในช่วงนี้ถ้าต้นกล้า

ข้าวมีการเจริญเติบโตขึ้นเขียวทั่วแปลงและมีพัฒนาการถึงระยะที่มีใบจริง 2 ใบ ถ้าต้องการหว่านสารเคมีคุมวัชพืช

ก็ควรทำการหว่านในช่วงนี้ จากนั้นให้เพิ่มระดับน้ำตามความเหมาะสมไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้ง เพราะวัชพืชจะงอก

ขึ้นมาโดยเฉพาะเมื่อไม่ได้หว่านสารเคมีคุมหญ้า ระดับน้ำในนาควรรักษาให้อยู่ในระดับ 7-10 เซนติเมตรก็พอแล้ว

ถ้าระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ข้าวมีการยืดตัวสูงขึ้นตามระดับน้ำ ซึ่งเป็นผลให้ต้นข้าวอ่อนแอล้มง่าย และเมื่อข้าว

มีอายุได้ประมาณ 20-30 วันก็ทำการหว่านปุ๋ยลงไปเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและการแตกกอของข้าว ในช่วงระยะ

ก่อนที่ข้าวจะเริ่มสร้างรวงอ่อนๆ (ประมาณ40วัน)ก่อนออกรวงควรทำการระบายน้ำออกจากนา เพื่อให้รากได้

รับอากาศและปล่อยน้ำเข้านาใหม่ และทำการหว่านปุ๋ยแต่งหน้าอีกครั้งหนึ่ง การทำนาหว่านน้ำตมนี้เป็นวิธีที่บาง

ประเทศเช่นออสเตรเลียและอเมริกาปฏิบัติกันอยู่เพราะพบว่าให้ผลผลิตสูงเปลืองเมล็ดพันธุ์น้อยขั้นตอนในการ

ปลูกไม่ยุ่งยากดังนั้นในพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องการทำนาดำไม่ทันการตามกำหนดเวลาถ้าเปลี่ยนมาทำนาหว่านน้ำตมจะ

ให้ผลดีกว่า ในปัจจุบันในหลาย ๆ พื้นที่ได้มีการเปลี่ยนจากการทำนาดำมาทำนาหว่านน้ำตม แม้กระทั่งการทำนา

ปรับก็พบว่าทำแบบหว่านน้ำตมก็ให้ผลดีเหมือนกัน

การปลูกข้าวไร่(uplandriceorhillriceculture)

การปลูกข้าวไร่นั้นมีลักษณะของการปลูก การปฏิบัติ และการดูแลรักษาเหมือนกับการปลูกพืชไร่อื่น ๆ

เป็นการปลูกข้าวที่มีลักษณะแตกต่างไปจากการทำนาดำหรือนาหว่าน เพราะตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต

ของข้าวไร่ไม่จำเป็นต้องมีการขังน้ำในพื้นที่เพียงแต่ให้ดินมีความชื้นเพียงพอต่อการปลูกพืชไร่ทั่วๆไปก็สามารถ

ทำการปลูกข้าวไร่ได้แล้ว

ฤดูกาลปลูกข้าวไร่ การปลูกข้าวไร่นั้นต้องอาศัยความชื้นจากน้ำฝนที่ตกลงมา ดังนั้นฤดูกาลปลูกจึงอยู่ใน

ฤดูฝนนั่นเองส่วนใหญ่แล้วมักจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนขึ้นอยู่กับสภาพ

พื้นที่และการเริ่มต้นของฤดูฝนในพื้นที่นั้น ๆ จากการศึกษาของ จักรี เส้นทอง และคณะ (2527) พบว่าในสภาพ

การปลูกที่สถานีทดลองดอยหนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ความสูง 850 เมตรจากระระดับน้ำทะล)

นั้นพบว่าข้าวไร่จะให้ผลผลิตสูงสุดถ้าปลูกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายนการปลูกในช่วงก่อน

ระยะเวลาดังกล่าวผลผลิตจะน้อยลงเนื่องจากปริมาณความชื้นในช่วงแรก ๆ ของการเจริญเติบโตไม่พอเพียง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 12

สำหรับการปลูกที่ล่าช้าไปจากต้นเดือนมิถุนายนนั้นพบว่าผลผลิตลดลงเพราะข้าวที่ปลูกในช่วงเวลาดังกล่าวไปออก

รวงในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนซึ่งมีอุณหภูมิตอนกลางคืนต่ำทำให้เกิดการเป็นหมันในดอกข้าวมากขึ้น

สำหรับวันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่ในสภาพพื้นที่ดอนไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนักการปลูกช่วงเดือน

กรกฎาคมจะให้ผลดีกว่าการปลูกก่อนช่วงเวลาดังกล่าว เพราะในช่วงแรก ๆ ของการเจริญเติบโตของข้าวจะได้รับ

ความชื้นในดินที่ดีกว่า

ในการกำหนดวันปลูกของข้าวไร่แต่ละท้องถิ่นนั้นควรจะต้องพิจารณาช่วงวันปลูกของเกษตรกรที่อยู่

ข้างเคียงดว้ยเพื่อให้ข้าวที่ปลูกออกรวงในช่วงเวลาใกล้เคียงกันซึ่งจะช่วยลดปัยหาการทำลายของนกและหนูในช่วง

ที่ข้าวสุกแก่

พันธุ์ข้าวไร่ โดยทั่วๆไปแล้วข้าวไร่ที่เกษตรกรใช้ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ปลูกกัน

มานานแล้ว และพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ก็แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ พันธุ์ข้าวไร่พวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม indica

มีลักษณะทั่วๆ ไปคือ รวงใหญ่แน่น เมล็ดต่อรวงมาก การแตกกอน้อย ลักษณะลำต้นค่อนข้างสูง และผลผลิตต่ำ

นอกจากนี้ยังไม่ค่อยตอบสนองต่อปุ๋ยในแง่ผลผลิต ถ้าปลูกในสภาพที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง หรือถ้าหากใส่ปุ๋ย

ในอัตราที่สูงๆ โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน จะมีลักษณะเจริญทางลำต้นและใบมาก หรือที่เรียกว่าลักษณะเฝือใบ

และมักจะมีการหักล้ม พันธุ์ข้าวไร่ที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันทางภาคเหนือของประเทศส่วนใหญ่แล้วเป็นพันธุ์ที่

ตอบสนองต่ออุณหภูมิและช่วงแสงในแง่การออกดอก

ตารางแสดงรายชื่อข้าวไร่ที่รัฐบาลกำลังส่งเสริม

ลำดับที่ ชื่อพันธุ์ข้าว

อายุหรือ

วันเก็บเกี่ยว

ประมาณ

ประเภทข้าว

ผลผลิต

(ประมาณ)

กก./ไร่

ขนาดเมล็ด

ข้าวกล้อง

กxนxหนา(มม.)

หมายเหตุ

1 ซิวแม่จัน 140-150วัน ข้าวเหนียว 450 กว้าง2.20ยาว 7.31หนา 2.20

2 เจ้าฮ่อ 150วัน ข้าวจ้าวเหนียว

550 กว้าง2.77ยาว 7.19หนา 1.96

สามารถหุงต้มได้ทั้งสองแบบคือนึ่งและหุง

3 อาร์-258 120-140วัน ข้าวเหนียว 400-500 กว้าง3.20ยาว 6.95หนา 2.55

4 น้ำรู 135-145วัน ข้าวจ้าว 228.9 กว้าง3.11ยาว 9.39หนา 2.18

5 โมโตซ่า 130-140วัน ข้าวจ้าว 307.2 กว้างœ2.66ยาว 7.01หนา 1.88

เป็นพันธุ์สำหรับที่สูง1200-1500เมตรจากระดับน้ำทะเล

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 13

การเลือกพื้นที่และการเตรียมดิน ในพื้นที่ที่เป็นหุบเขานั้นในการเลือกพื้นที่ปลูกข้าว ไร่นั้นควรเลือกที่ที่ไม่ถูกบังแสงโดยต้นไม้ใหญ่ ไม่ควรเลือกที่บังแสงและควรเป็นบริเวณทางด้านทิศตะวันออกหรือตะวันตกเฉียงใต้

เพราะจะทำให้ข้าวได้รับแสงอย่างเต็มที่ ไม่ควรใช้พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงๆ เพราะจะเกิดปัญหาการชะล้างพัง

ทะลายของดินได้ง่าย ซึ่งจะเป็นผลให้ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์เร็วขึ้น ทำให้เกิดการบุกเบิกพื้นที่ใหม่เพิ่มขึ้นอีก

อย่างไรก็ตามโดยทั่วๆไปแล้วในการเลือกพื้นที่ปลูกข้าวไร่ของชาวเขาทั้งหลายมักจะมีข้อจำกัดเพราะชาวเขาส่วน

ใหญ่ชอบอาศัยตามที่สูงๆและสภาพพื้นที่มักสูงชันอยู่แล้ว

การเตรียมเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่จะใช้ปลูกนั้นควรเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด ถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ทำพันธุ์เองควรคัดเมล็ดจากรวงที่ดี ๆ ตรงตามพันธุ์และควรเก็บรักษาไว้อย่างดี

ถ้าต้องการซื้อเมล็ดพันธุ์ควรซื้อจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เมล็ดพันธุ์ที่ได้มาต้องทำความสะอาดโดยคัด

เมล็ดลีบและเมล็ดเสียทิ้ง และควรทำการทดสอบความงอกเพื่อจะได้กะปริมาณที่จะปลูกได้พอดี เมล็ดพันธุ์ที่จะ

ปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกแคปแทนหรือไดแทนเอ็ม 45 ในอัตรา 2 กรัมต่อเมล็ดข้าว 7

กิโลกรัม เพื่อป้องกันกำจัดโรคราต่างๆที่ติดมากับเมล็ด ในการคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรานั้น

เพื่อให้มีประสิทธิภาพต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูกประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับในบริเวณที่มีปัญหาการทำลาย

ของมดและปลวกก็ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพวกอลามอนในอัตราประมาณ 10 กรัมต่อ

เมล็ดข้าว3กิโลกรัม

วิธีการปลูกวิธีการปลูกข้าวไร่ที่ให้ผลดีมีอยู่2วิธีคือ 1. วิธีการปลูกหรือหยอดแบบเป็นหลุม เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีและนิยมทำกันมากเพราะสะดวกในแง่การ

ปฏิบัติ การดูแลรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยว วิธีการปลูกวิธีนี้โดยใช้ไม้ที่มีปลายแหลมกระทุ้งเจาะลงไปในดินให้ลึก

ประมาณ3-5เซนติเมตรใช้ระยะระหว่างแถวและระยะระหว่างหลุม25เซนติเมตรเช่นเดียวกับระยะปลูกที่ใช้กับ

การปลูกข้าวนาดำ จากนั้นก็หยอดเมล็ดประมาณหลุมละ 5-6 เมล็ดแล้วใช้ดินกลบตอนกลบเมล็ดระวังอย่าให้ดิน

แน่นจนเกินไปวิธีปลูกวิธีนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ6-8กิโลกรัมต่อไร่นอกจากระยะปลูกดังกล่าวแล้วสำหรับใน

พื้นที่ที่ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น พื้นที่บนเขานั้นทางกรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้ระยะระหว่างแถว 30

เซนติเมตรและระยะระหว่างหลุม10เซนติเมตรก็พบว่าให้ผลดีเช่นกัน

2.วิธีการปลูกแบบโรยเป็นแถว วิธีการนี้เป็นวิธีการที่พบว่าให้ผลดีเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างยาก

เพราะการประมาณอัตราเมล็ดพันธุ์ที่จะโรยลงไปค่อนข้างลำบากต้องอาศัยความชำนาญวิธีการนี้โดยทำการเปิดร่อง

ที่จะปลูกก่อนโดยใช้ระยะระหว่างแถวหรือระหว่างร่อง25เซนติเมตรโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ8กิโลกรัม

ต่อไร่

สำหรบัวธิกีารปลกูโดยการหวา่นเมลด็ไมค่วรปฏบิตักินัเพราะความงอกไมส่มำ่เสมอการปฏบิตัดิแูลรกัษายาก

การป้องกันกำจัดวัชพืช หลังจากที่ข้าวไร่งอกได้ประมาณ 15-20 วัน ถ้ามีวัชพืชขึ้นมากในแปลงก็ทำการกำจัดโดยการดายหญ้า พร้อมกับทำการพรวนดินไปด้วย และเมื่อข้าวไร่อายุได้ราว ๆ 40-45 วัน ก็ควร

ทำการดายหญ้าและพรวนดินอีกครั้งหนึ่ง ในการกำจัดวัชพืชแต่ละครั้งต้องทำการเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจาก

แปลงไม่ควรทิ้งกองไว้ในแปลงเพราะวัชพืชบางชนิดอาจจะกลับขึ้นมาอีกเมื่อฝนตกลงมา อย่างไรก็ตามในเรื่องการ

ป้องกันกำจัดวัชพืชนี้ ถ้ามีการเตรียมดินดี และหลังจากเตรียมดินเสร็จแล้วสามารถทำการปลูกได้ทันทีก็อาจจะไม่มี

ปัญหาเรื่องวัชพืชมากนักอาจจะทำการดายหญ้าเพียงครั้งเดียวก็พอแล้ว

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 14

ในการป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงข้าวไร่นั้น นอกจากการใช้วิธีกลแล้วยังสามารถทำการป้องกันกำจัดโดย

ใช้สารเคมีได้ด้วยสารเคมีที่ผลดีคือสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทพ่นก่อนพืชงอก(pre-emergenceherbicide)

พวกbutachlor(ชื่อการค้าว่ามาเช๊ตเต้)ในอัตรา600-800ซี.ซี.ผสมน้ำ80ลิตรต่อไร่โดยฉีดพ่นให้ทั่วผิวหน้าดิน

ทันทีหลังปลูกและไม่ให้เกิน 3 วัน ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารเคมีพวกนี้จะดีเมื่อดินมีความชุ่มชื้น

พอสมควร

สำหรับในกรณีที่พบว่าวัชพืชงอกขึ้นมาบ้างแล้วในแปลงขณะปลูกให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชพวก

พาราควอท (กรัมม๊อกโซน) ผสมลงไปในอัตรา 240-320ซี.ซี.ต่อไร่ เพื่อช่วยกำจัดวัชพืชที่งอกขึ้นมาแล้ว การใช้

สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชพวกbutachlorนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ควบคู่กับการดายหญ้าครั้งที่สองหรือถ้าไม่มี

วัชพืชขึ้นมามากในแปลงจนอยู่ในระดับที่จะทำความเสียหายแก่ข้าวไร่ได้ก็อาจจะไม่ต้องดายหญ้าอีกครั้ง สำหรับ

สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชประเภทพ่นหลังพืชงอก(post-emergenceherbicide)พวกโปรพาเอสหรือชื่อสามัญว่า

2,4-D, ethylester + propanil นั้น การใช้ต้องระมัดระวัง เพราะถ้าใช้ไม่ถูกจังหวะเวลาแล้วมักจะทำให้เกิดผลเสีย

หายโดยทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ยในพื้นที่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชมานานแล้วดินมักจะมีความเสื่อมโทรมทำให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกลงไปลดน้อยถอยลงซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงบำรุงดินซึ่งมีวิธีการหลายรูปแบบได้แก่

1.การปลูกข้าวไร่หมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่วบำรุงดินต่างๆ

2.การใส่ปุ๋ยบำรุงดินซึ่งรูปของปุ๋ยที่สามารถใช้ได้มีหลายรูปแบบได้แก่

2.1ปุ๋ยคอก(manure)

2.2ปุ๋ยหมัก(compost)

2.3ปุ๋ยพืชสด(greenmanure

2.4ปุ๋ยเคมี

การเก็บเกี่ยวข้าวไร่ เมื่อถึงระยะที่รวงข้าวไร่สุกแก่แล้ว ซึ่งมีลักษณะที่ใช้พิจารณาก็เช่นเดียวกับลักษณะของข้าวนาดำต้องรีบทำการเก็บเกี่ยวทันทีเพราะข้าวไร่ทั่วๆไปเมล็ดมักจะร่วงง่ายถ้าเก็บเกี่ยวล่าช้าทำให้ผลผลิต

เสียหาย นอกจากนี้อาจจะถูกนกหนูทำลายอีกด้วย การเก็บเกี่ยวใช้เคียวเกี่ยวเช่นเดียวกับข้าวนาดำ เมื่อเก็บเกี่ยว

เสร็จแล้วก็ตากไว้บนตอซังประมาณ 3-5 แดด จากนั้นก็ทำการนวด ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น นวดบนลาน นวดบน

เสื่อ นวดในคุ นวดโดยวิธีเหยียบ เมื่อนวดเสร็จแล้วก็ทำความสะอาดโดยการฝัดเอาเมล็ดข้าวลีบและสิ่งเจือปน

ต่างๆทิ้งจากนั้นถ้าเมล็ดมีความชื้นสูงอยู่ก็ทำการตากอีก1-2แดดจากนั้นก็นำเข้าไปเก็บในยุ้งฉาง

วัชพืชในนาข้าว

วัชพืชทั่วๆไปเท่าที่พบในนาข้าวมีมากมายหลายชนิดวัชพืชที่ทำความเสียหายแก่ข้าวได้แก่

1.หญ้าดอกแดง

2.หญ้าปล้อง

3.กกสามเหลี่ยม

4.ผักตบชวา

5.หญ้าไซ

ฯลฯหญ้าปล้องผักตบชวากกสามเหลี่ยม

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 15

การกำจัด

1.กำจัดโดยถอนทิ้งควรทำอย่างน้อย2ครั้ง

2.การใช้ยาปราบวัชพืช

การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูข้าว

1.วัชพืชกำจัดโดยวิธีถอนทำได้2ครั้งหลังจากปักดำแล้ว15–20วันและหลังจากถอนครั้งแรก15–20

วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัชพืชที่มีในท้องถิ่น ไม่ควรกำจัดวัชพืชหลังจากที่ข้าวออกรวงแล้ว การกำจัดวัชพืชในนาอาจใช้

ยาปราบวัชพืชก็ได้แต่ผู้ใช้ต้องมีความรู้และมีความละเอียดประณีตเพียงพอ

2.โรคโรคข้าวมีหลายชนิดอาจแบ่งออกได้คือ

ก.โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคไหม้ ทำให้ใบแห้งตาย คอรวงเน่า เมล็ดลีบ โรคถอดฝักดาบ มอง

เห็นได้ชัดหลังปักดำประมาณ 4-5 วัน ต้นเหลืองซีด และสูงกว่าต้นอื่นมากแล้งแห้งตาย ต้นที่แสดงอาการจะไม่

ออกรวง

ข.โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคขอบใบแห้ง เกิดในระยะแตกกอและออกรวงใบข้าวเป็นแผลช้ำ

เริ่มจากขอบและปลายใบการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย

ค.โรคที่เกิดจากเชื้อวิสลา ได้แก่ โรคใบสีส้ม แพร่กระจากโรคโดยเพลี้ยจั๊กจั่น ต้นข้าวเป็นได้ตั้งแต่

กล้าถึงระยะออกรวง ถ้าเป็นระยะแตกกออาจจะเสียหายมากที่สุด ใบอ่อนจะเป็นรอยด่าง เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใบ

ล่าวจะตกต่ำลงการออกดอกช้าและมีเมล็ดน้อยเมล็ดอาจเปลี่ยนเป็นสีดำน้ำหนักเมล็ดเบา

3.แมลงแมลงมีมากมายที่รู้จักกันดีได้แก่ เพลี้ยไฟหนอนกระทู้กล้าแมลงบัวหนอนกอหนอนม้วนใบ

หนอนกระทู้คอรวงแมลงสิงห์เพลี้ยจั๊กจั่นเพลี้ยแป้งด้วงงวงตั๊กแตนฯลฯ

4.ปูและหนูนาหลังจากปักดำปูจะกัดกินต้นข้าวส่วนหนูจะทำลายเมล็ดข้าวในนาระยะต้นข้าวออกรวง

จะกำจัดได้โดยใช้ยาเบื่อ ใช้กับดักการทำลายโรคและแมลงศัตรูข้าวต่าง ๆ จะเริ่มตั้งแต่อยู่ในระยะกล้าจนกระทั่ง

ออกรวง เพื่อที่จะลดความเสียหายจากการทำลายของโรคและแมลง จึงควรศึกษารายละเอียดการทำลายและการ

กำจัดหมั่นดูแลแปลงข้าวเป็นประจำตลอดเวลาหากพบก็รีบดำเนินการป้องกันกำจัดโดยด่วนหากสงสัยวิธีป้องกัน

ขอให้ไปหารือกับเกษตรตำบลเกษตรอำเภอเกษตรจังหวัดหน่วยป้องกันศัตรูพืชในท้องถิ่น

ศัตรูพืช

โรคใบขีดโปร่งแสง ระยะข้าวแตกกอเต็มที่ปลายใบจะเห็นเป็นทางหรือรอยขีดต่อไปปลายใบจะแห้งให้งดการใส่ปุ๋ย

โรคใบไหม้ ทำความเสียหายให้แก่ต้นข้าวกล้ามากที่สุด ใบของข้าวกล้าไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาล ใช้ยาฉีดถอนออกฝังหรือเผาไม่ควรใส่ปุ๋ยNมากเกินไป

โรคใบจุดสีน้ำตาล ใบข้าวจะมีแผลเป็นวงกลมเล็ก ๆ สีน้ำตาล กระจายอยู่ทั่วไป ควรใช้ยาเซราแซนคลุกเมล็ดก่อนหว่าน ใส่ปุ๋ยโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ 10 กก. ต่อไร่ เพลี้ยไฟ ตัวแก่มีสีดำเล็กมาก ใช้ปากดูดน้ำเลี้ยง

จากใบข้าว ทำให้ใบข้าวแห้งเหี่ยวและตาย ใช้ยาฉีด ดีดีที 25 % ยามาลาไซออน 4 % ยาดิลดริน 0.04 % ฉีด

หนอนกระทู้กล้า แมลงชนิดนี้จะทำลายข้าว กล้าในระยะที่เป็นตัวหนอน กัดกินต้นกล้า เกิดจากผีเสื้อหนอนกระทู้

จะมีสีเทาแถบด้านข้างทั้งสองจะมีสีเหลืองออกหากินกลางคืน

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 16

โรคลำต้นเน่าต้นข้าวกาบใบเน่าจากระดับน้ำลงไปถึงโคน 1.ใช้ยาเซราแซนฉีด

2.ลดปุ๋ย

3.ทำลายวัชพืช

โรคถอดฝักดาบ ต้นและใบจะเขียวเล็กผิดปกติ ข้าวจะสูงชลูดอย่างรวดเร็ว ข้าวออกดอกรวงข้าวจะลีบและตายก่อนเกี่ยว

1.ใช้ยาเซราแซนฉีด

2.ถอนทิ้ง

3.กำจัดวัชพืช

โรคใบดอกกฐิน ครั้งแรกจะเห็นกลุ่มก้อนเส้นใบสีเหลืองส้ม อยู่ระหว่างเปลือกข้าวต่อมาจะมีสีคล้ายกำมะหยี่

1.ใช้ยาฉีดตั๊กแตน ตั๊กแตนจะกัดกินต้นข้าวให้เสียหายอย่างแรง ใช้เหยื่อยาพิษผสมวางไว้ตามบริเวณที่มี

ตั๊กแตนใช้ยาเคมีประเภทถูกตัวตายพ่นเช่นยาท๊อกซาฟีนยาเอ็นครินด้วงงวงด้วงงวงจะเจาะเมล็ดข้าวทำให้ข้าว

เสียคุณภาพ ใช้ยาฉีดดีดีที 25%อัตรา 1 : 400ปูนาปูนาทำความเสียหายขุดรูตามคันนาทำให้ชำรุด และทำ

อันตรายแก่ต้นข้าว

2.ใช้ยาดีดีที50%คลุกข้าวสุกเป็นเหยื่อล่อ

3.ใช้มือจับทำลาย

4.ใช้ยาปิเอชซี6%ใช้หว่านหนูนาหนูจะกัดกินพืชผลในนาและยุ้งฉางกำจัดโดยใช้กับดัก

5.ใช้ยาประเภทออกฤทธิ์ช้าเช่นคาคูมินหรือวอร์ฟานินผสมกับเหยื่อนำไปวางไว้

6.ใช้ยาออกฤทธิ์เร็วถ้าหนูมีมากเช่นซิงค์ฟอสไฟด์หรือใช้ยาไนแก๊ส1-2ครั้งเพลี้ยจั๊กจั่นมี2ชนิดสี

เทาและสีขาวทำลายต้นข้าวโดยดูดน้ำเลี้ยงทำให้ข้าวเหี่ยวแห้งแคระแกรน

7.ใช้ไฟล่อเอาน้ำใส่อ่างจะมาเล่นไฟจะตกลงไปในอ่างน้ำให้ทำลายเสีย

8.ใช้ยาเคมีฉีด

ก.ยาดีดีที25%อัตรา1ต่อ600

ข.ยาออลดริน24%อัตรา1ต่อ600

ค.ยาเอนดริน19.2%อัตรา1ต่อ400

เพลี้ยแป้งเป็นแมลงตัวเล็กๆมีละอองสีขาวปกคลุมทั่วร่างโดยดูดน้ำเลี้ยงที่กาบใบลำต้นขาว 1.รักษาระดับน้ำในนาอย่าให้แห้ง

2.ฉีดน้ำยามาลาไชออน 0.04%อัตรา 50 ลิตรต่อ 1 ไร่ ใช้ยาออลดริน 25%อัตรา 1 ต่อ 600บั่ว

อาศัยกินอยู่ส่วนล่างของต้นข้าวตรงที่งอกข้าวอาจไม่มีรวงใช้ยาเคมีจำกัด

1.ยาเซวิน84%ชนิดผง25กรัมต่อ

น้ำ1ปีบฉีด

2.ยาเอ็นดริน19.5%อัตรา1ต่อ400ฉีด

แมลงสิงห์ตัวอ่อนและตัวแก่จะเจาะดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าวและคอรวงข้าว 1.ใช้สวิงจับตัวอ่อนและตัวแก่มาทำลาย

2.ใช้ยาดีดีที25%อัตรา1ต่อ400

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 17

การเก็บเกี่ยว

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อรวงข้าวมีสีพลับพลึงคือสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวดีที่สุดอาจจะ

เก็บเกี่ยวโดยเครื่องจักรกลเคียวส่วนมากมักจะเก็บเกี่ยวโดยเคียวเท่านั้น

วิธีเกี่ยว 1.เกี่ยวพันกำคือเกี่ยวให้ได้เป็นฟ่อนๆใหญ่พอประมาณแล้วเอา

ตอซังมามัดเป็นฟ่อนๆวางไว้ตามตอข้าว

2.เกี่ยววางราย คือเกี่ยวแล้ววางไว้บนพื้นนา หรือวางไว้บนตอซัง

ข้าวตากข้าวให้แห้ง3-4วัน

ใช้ตอกหรือต้นข้าวมัดเป็นฟ่อนๆเสร็จแล้วไปเก็บไว้ในลาน

การตากข้าว

เมื่อเกี่ยวแล้วจะต้องทิ้งตากแดดประมาณ 3-4 แดด แล้วขนมาเก็บไว้ในลาน ควรกองไว้ให้เป็นระเบียบ

การเตรียมลานนวดข้าว

การเลือกที่ทำลานนวดข้าวโดยมากจะเลือกที่สูงๆเพื่อกันน้ำขังเวลาฝนตกและมีต้นไม้ใหญ่เพื่ออาศัยร่ม

เงาบังแสงแดดตอนกลางวัน

วิธีทำลานนวดข้าว

1.การทำลานดินบริเวณลานจะต้องสะอาดต้องดายหญ้าหรือวัชพืชอื่นออกหมดให้มีความกว้างยาว8x

8 เมตร หรือตามความต้องการ ใช้มูลวัวหรือมูลควายผสมกับน้ำให้เหลวลาดไปให้ทั่ว ใช้ไม้กวาดปาดหน้าแบบ

เทปูนซีเมนต์ให้ราบเรียบเสมอกันตากแดดไว้ประมาณ2-3วันก็จะแห้งใช้ทำลานข้าวได้

2.ถ้าไม่ต้องการจะทำลานดิน ให้ใช้ใยสังเคราะห์ (ตาข่ายไนล่อน) ตัดให้มีความยาวประมาณ 8 เมตร

ทำเป็นลานนวดข้าวเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ใช้นวดข้าวได้ตามต้องการลานชนิดนี้ต้องใช้แรงคน

วิธีนวดข้าว

การนวดข้าวหมายถึงการเอาเมล็ดข้าวออกจากรวงมีหลายวิธี

1.ใช้วิธีฟาดฟ่อนข้าวในภาชนะเช่นกระชุใหญ่ๆหรือใช้ฟาดในลานดินลานใยสังเคราะห์

2.ใช้คนย่ำใช้เสื่อลำแพนปูแล้วเท้าย่ำใช้กับข้าวจำนวนน้อย

3.ใช้วัวควายย่ำโดยย่ำวนเวียนไปมาจนกว่าเมล็ดข้าวจะหลุดออกหมด

4.ใช้เครื่องทุ่นแรงเช่นเครื่องนวดข้าว

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 18

การตากและการทำความสะอาดเมล็ดข้าว

เมื่อนวดข้าวเสร็จแล้วก็ตากเมล็ดไว้บนลานตากสัก3แดดหรือตากไว้จนเมล็ดข้าวแห้งดีแล้วจึงฝัดเพื่อ

แยกเอาเศษฟางหรือสิ่งเจือปนออกจากเมล็ดข้าวการทำความสะอาดข้าวมีหลายวิธี

1. โดยการสาดข้าวใช้พลั่วไม้สาดเมล็ดข้าวในกองขึ้นไปหรือใช้กระบุงตักสาดเป็นกองๆโดยอาศัยลม

ช่วยแล้วใช้พัดใหญ่ๆพัดเอาเศษฟางข้าวลีบใบข้าวออกจากกองข้าว

2.ถ้ามีข้าวจำนวนน้อยใช้กระด้งฝัดออก

3.ใช้เครื่องสีฝัดถ้าต้องการให้ข้าวสะอาดและได้ราคาดีควรฝัดด้วยสีฝัดเพราะได้ข้าวที่สะอาด

เมื่อฝัดข้าวสะอาดดีแล้ว อาจจะจำหน่ายข้าวเปลือกที่ลานเลย หรือนำข้าวเปลือกเก็บไว้ในยุ้งฉาง เพื่อรอให้ราคาดี

เสียก่อนจึงจำหน่ายก็ได้

การเก็บรักษา

• เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% จึงนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง ยุ้ง

ฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

• อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วย

ให้การถ่ายเทอากาศดียิ่งขึ้นคุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน

• อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนนสามารถขนส่งได้สะดวก

• เมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบมีป้ายบอกวันบรรจุ

และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉางเพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก

• ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษาควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้งทั้งเรื่องความะอาดและสภาพของยุ้งฉางซึ่งอาจ

มีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถรอดเข้าไปจิกกินข้าวได้ รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้

รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน

การจัดการการตลาด

การจัดการการตลาดหมายถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆด้านธุรกิจซึ่งจะต้องมีการวางแผนการผลิตการ

กำหนดราคา การจัดจำหน่าย ตลอดจนการดำเนินกิจการทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการ และบริการให้แก่ผู้ซื้อ

หรือผู้บริโภคพอใจทั้งในเรื่องราคาและบริการซึ่งแยกกล่าวได้ดังนี้

1.การวางแผนการผลิต ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินธุรกิจการทำผลิตภัณฑ์กระดาษสาจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

1.ทุน ถ้าไม่มีทุนเป็นของตนเองต้องอาศัยแหล่งเงินกู้ จะต้องพิจารณาว่าแหล่งเงินกู้นั้นมาจากไหน ถ้ากู้

จากเอกชนก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงกว่าสถาบันการเงินถ้าเสียดอกเบี้ยแพงจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่

2.แรงงานถ้าสามารถใช้แรงงานในครอบครัวได้ก็จะสามารถลดรายจ่ายลงได้

3.วตัถดุบิสามารถหาไดง้า่ยในทอ้งถิน่หรอืไม่หากไมม่ใีนทอ้งถิน่จะมปีญัหาเรือ่งราคาและการขนสง่หรอืไม่

4.การจัดการหมายถึงการจัดการด้านตลาดการจัดจำหน่ายก่อนอื่นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะนำ

ผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายการกำหนดราคาขายราคาต้นทุนกำไรและการลงบัญชีเบื้องต้นสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งใน

การประกอบธุรกิจดังจะได้แยกกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 19

2.การกำหนดราคาขาย เมื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษสาขึ้นมาเพื่อการจำหน่าย สิ่งแรกที่ต้องทำคือการกำหนดราคาขายที่ผู้ซื้อ

สามารถซื้อได้ในราคาไม่แพงจนเกินไป และผู้ขายก็พอใจที่จะขายเพราะได้กำไรตามที่ต้องการ การกำหนดราคา

ขายทำได้ดังนี้

1.ติดตามความต้องการของลูกค้าลูกค้าเป็นผู้กำหนดราคาขายถ้าลูกค้ามีความต้องการและสนใจมากก็จะ

สามารถตั้งราคาได้สูง

2.ตั้งราคาขายโดยบวกราคาต้นทุนกับกำไรที่ต้องการก็จะเป็นราคาขาย ในกรณีเช่นนี้จะต้องรู้ราคาต้นทุน

มาก่อนจึงจะสามารถบวกกำไรลงไปได้การตั้งราคาขายนี้จะมีผลต่อปริมาณการขายถ้าตั้งราคาขายไม่แพงหรือต่ำ

กว่าราคาตลาดก็สามารถขายได้จำนวนมาก ผลที่ได้รับคือ ได้กำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยการกำหนดราคาขายมีหลายรูป

แบบแต่สิ่งที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงราคาที่สูงที่สุดที่ผู้ซื้อสามารถซื้อได้และราคาต่ำสุดที่จะได้เงินทุนคืน

สรุปหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาขายมีดังนี้

1.ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามเป้าหมาย

2.เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป

3.เพื่อรักษาหรือปรับปรุงส่วนแบ่งของการตลาด กล่าวคือ ตั้งราคาขายส่งถูกกว่าราคาขายปลีก เพื่อให้

ผู้รับซื้อไปจำหน่ายปลีกจะได้บวกกำไรได้ด้วย

4.เพื่อแข่งขันหรือป้องกันคู่แข่งขันหรือผู้ผลิตรายอื่น

5.เพื่อผลกำไรสูงสุด

การกำหนดราคาขายมีหลักสำคัญคือราคาต้นทุน+กำไรที่ต้องการดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่อง

ราวการคิดราคาต้นทุนให้เข้าใจก่อน

3.การคิดราคาต้นทุน การคิดราคาต้นทุน หมายถึง การคิดคำนวณราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีค่าแรงค่าใช้จ่ายในการผลิต

ประกอบด้วยค่าเช่าสถานที่ค่าไฟฟ้าค่าขนส่งฯลฯการคิดราคาต้นทุนมีประโยชน์คือ

1)สามารถตั้งราคาขายได้โดยรู้ว่าจะได้กำไรเท่าไร

2)สามารถรู้ว่ารายการใดที่ก่อให้เกิดต้นทุนสูงหากต้องการกำไรมากก็สามารถลดต้นทุนนั้นๆลงได้

3)รู้ถึงการลดต้นทุนในการผลิตแล้วนำไปปรับปรุงและวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้นได้

ต้นทุนการผลิตมี2อย่างคือ

1.ต้นทุนทางตรงหมายถึงต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบรวมทั้งค่าขนส่ง

2.ต้นทุนทางอ้อมหมายถึงต้นทุนที่จ่ายเป็นค่าบริการต่างๆเช่นค่าแรงงานค่าไฟฟ้าค่าเชื้อเพลิงทั้งนี้

ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตโดยตรงแล้วนำต้นทุนทั้งสองอย่างมาคิดรวมกันก็จะได้เป็นราคาต้นทุนรวม

สรุปการกำหนดราคาขายจะต้องคำนึงถึง

1.ต้นทุนทางตรง+ต้นทุนทางอ้อมคือต้นทุนรวม

2.การหากำไรที่เหมาะสมทำได้โดยเพิ่มต้นทุนรวมขึ้นอีก20-30%

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 20

ตัวอย่าง ต้นทุนรวมในการทำดอกไม้จากกระดาษสา500บาท

บวกกำไร30%ของ500จะได้=150บาท

ฉะนั้นราคาขายคือต้นทุน+กำไร

คือ500+150เท่ากับ650บาท

โดยทั่วไปร้านค้าปลีกจะกำหนดราคาขาย โดยการบวกกำไรที่ต้องการเข้ากับราคาต้นทุนการผลิตสินค้า

นั้น ๆ แต่บางรายก็กำหนดราคาสูง สำหรับการผลิตระยะเริ่มแรก เพราะความต้องการของตลาดค่อนข้างสูงใน

ระยะเวลาอันสั้น การเปลี่ยนแปลงราคาขายอาจมีผลให้ยอดลดหรือเพิ่มขึ้นแล้วแต่ภาวะแวดล้อม จึงต้องคำนึงถึง

เช่นเดียวกันดังนั้นจึงสามารถคิดราคาขายได้ง่ายๆดังนี้

ราคาขาย=ราคาทุน(ต้นทุน+ค่าแรง)+กำไรที่ต้องการ

การผลิตและการจำหน่าย

1.ประเภทของการจัดจำหน่ายมี2แบบคือ

1)การจำหน่ายแบบสั้น คือ การนำสินค้าจากผู้ผลิตสู่ร้านค้าปลีก หรือร้านค้าย่อยถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภค

โดยตรง

2)การจัดจำหน่ายแบบยาว คือ การนำสินค้าจากผู้ผลิต (บ้าน) ถึงร้านค้าขายส่ง แล้วร้านค้าขายส่ง

จำหน่ายต่อไปยังร้านค้าขายปลีกร้านค้าขายปลีกจำหน่ายต่อไปยังผู้บริโภค

สรุปการทำให้สินค้าที่ผลิตขึ้นสามารถขายได้จำนวนมากมีวิธีดำเนินการได้หลายรูปแบบคือ

1. จากผู้ผลิตถึงร้านขายส่งถึงร้านขายปลีกถึงผู้ซื้อหรือผู้บริโภค

2.จากผู้ผลิตผ่านนายหน้าถึงร้านค้าปลีกถึงลูกค้า

3. จากผู้ผลิต ผ่าน นายหน้า ลูกค้า (ผู้บริโภค) โดยตรง โดยระบบการขายฝากและสร้างภาพพจน์ของ

สินค้าจูงใจผู้ซื้อด้วยวิธีการต่างๆเป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีวิธีการส่งเสริมการจำหน่ายที่ได้ผลอีก2ประการคือ

1.การให้ข้อมูลจูงใจผู้ซื้อและภาพพจน์ของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการ

2.ภาพพจน์ของสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการและพอใจทำให้สินค้านั้นมีค่าและมีราคาในตัวเองมากกว่าวัสดุบรรจุ

ภัณฑ์ที่เหมาะสม

2.คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า

จะต้องผลิตให้ตรงกับความต้องการและรสนิยมของกลุ่มเป้าหมายทั้งในด้านรูปแบบสีสัน และประโยชน์

ใช้สอย

3.การโฆษณาประชาสัมพันธ์

การทำการค้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ซื้อรู้จักสินค้า สื่อที่ใช้ในการนี้

อาจจะเป็นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ใบปลิว หรือแผ่นพับแนะนำสินค้า หรืออาจจะทำเป็นแคตตาล็อก

ตัวอย่างสินค้าป้ายโฆษณานิทรรศการออกร้านแสดงสินค้าตลอดจนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 21

กิจกรรมท้ายบท

บทที่ 1 เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของข้าว

1.ข้าวมีความสำคัญในวิถีชีวิตของชาวนาอย่างไรอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.ข้าวแบ่งได้3ประเภทและแต่ละประเภทมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างอย่างไร

2.1ข้าวพันธุ์เบา

................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................... ..........................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.2ข้าวพันธุ์กลาง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.3ข้าวพันธุ์หนัก

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.เมล็ดข้าวแบ่งตามรูปร่างได้4ขนาดอะไรบ้างอธิบาย

3.1ข้าวเมล็ดสั้น

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.2เมล็ดข้าวยาวปานกลาง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 22

3.3เมล็ดข้าวยาว

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.4เมล็ดข้าวยาวมาก

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................ ....................................

4. การทำนาแบ่งได้4ประเภทอะไรบ้าง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

5.การเลือกทำเลการทำแปลงตกกล้าควรเลือกแบบใดบ้าง

................................................................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................ ....................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 23

บทที่ 2

การทำบัญชีเงินสดเบื้องต้น

การทำบัญชี คือ การทำบันทึกรายการซื้อ - ขาย ทุกอย่างในการดำเนินธุรกิจที่สามารถคิดเป็นตัวเงินได้ไว้เป็นหลักฐาน โดยบันทึกรายการรับไว้ด้านซ้ายมือ รายการจ่ายไว้ขวามือ เหตุผลที่ว่าทำไมต้องทำบัญชีเงินสด

ก็เพื่อควบคุมการรับ-จ่ายเงินของกิจการให้อยู่ในระบบ เพื่อรู้ยอดรายรับ-รายจ่าย และหากำไรเบื้องต้น โดยการทำ

บัญชีเงินสดประจำเดือนทุก ๆ เดือน และเพื่อทราบผลความเจริญก้าวหน้าของกิจการโดยวิธีการทำบัญชีเงินสด

ง่ายๆดังนี้

การจัดทำบัญชี

ต้นปีงบประมาณ 1. จัดเตรียมสมุดบัญชีแยกประเภทเล่มใหม่เพื่อใช้บันทึกบัญชีปีปัจจุบัน

2. ยกยอดคงเหลือจากงบทดลองหลังปิดบัญชีปีก่อนมาตั้งยอดในสมุดบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง

3. ตรวจทานตัวเลขที่ยกยอดให้ถูกต้องตรงกันระหว่างปีก่อนและปีปัจจุบัน

4. เตรียมบันทึกความเคลื่อนไหวทางบัญชีตามเอกสารใบสำคัญที่พึงได้รับในแต่ละวัน

การจัดทำบัญชีประจำวัน

บันทึกรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีตามเอกสารใบสำคัญที่ได้รับในแต่ละวันโดย

- บันทึกรายการรับรู้เจ้าหนี้ใบสำคัญค้างจ่ายตามเอกสารใบสำคัญที่มีการขอเบิกในแต่ละวัน

- บันทึกบัญชีการรับเงินจากธนาคารตามใบแจ้งเครดิตของกรมบัญชีกลาง

- บันทึกบัญชีด้วยเอกสารใบสำคัญด้านรับเงินและจ่ายเงินที่พึงได้รับจากฝ่ายการเงินในแต่ละวัน

- ปิดบัญชีประจำวันในสมุดรายวันด้านรับ ด้านจ่าย ด้านทั่วไป และต้องตรวจสอบยอดดุลเดบิต เครดิต

ของแต่ละด้านให้เท่ากัน

- ผ่านรายการเงินสดและเงินฝากธนาคารเข้าบัญชีแยกประเภททั่วไปทุกวัน

- ปิดบัญชีแยกประเภทเงินสดและธนาคารทุกวัน

- ยืนยันยอดเงินสดคงเหลือกับฝ่ายการเงิน เพื่อให้ยอดเงินสดตามสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปเท่ากับ

เงินสดคงเหลือตามรายงานเงินสดคงเหลือประจำวันของฝ่ายการเงิน

- ส่งเอกสารการลงบัญชีด้านรับด้านจ่ายให้คณะกรรมการตรวจสอบประจำวัน

- ใบสำคัญที่ผ่านการตรวจสอบแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียนคุมบันทึกรายการที่เกี่ยวข้อง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 24

การจัดทำบัญชีและรายงานเมื่อสิ้นเดือน

1. เมื่อสิ้นเดือนต้องปิดยอดเงินคงเหลือในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปทุกบัญชี และปิดยอดเงินคงเหลือ

ในทะเบียนคุมทุกทะเบียน

2. ต้องตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไป กับทะเบียนคุมทุกทะเบียนที่เกี่ยวข้องให้ถูก

ต้องตรงกัน

3. จัดทำและส่งพิมพ์รายงานการเงินประจำเดือนให้แก่

-งบทดลองประจำเดือน

-รายงานรายได้และค่าใช้จ่ายประจำเดือน

-รายงานรายได้แผ่นดินประจำเดือน

-รายงานลูกหนี้เงินยืมราชการประจำเดือน

-รายงานลูกหนี้เงินบำรุงประจำเดือน

-รายงานฐานะเงินทดรองราชการประจำเดือน

-รายงานการรับ–จ่ายเงินนอกประจำเดือน

-งบประมาณประเภทเงินฝาก(แบบ102)

4. รวบรวมรายงานที่ได้รับจากฝ่ายงบประมาณได้แก่

-รายงานฐานะเงินงบประมาณ

-รายงานฐานะเงินงบประมาณรายจ่ายปีก่อน

5. แบบรายงานของฝ่ายงบประมาณรวมกับรายงานของฝ่ายบัญชี

6. จัดทำและพิมพ์หนังสือถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งรายงานการเงินประจำ

เดือน

7. เสนออธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในหนังสือ

8. เจ้าหน้าที่สารบัญของฝ่ายจัดส่งรายงานการเงินให้ฝ่ายบริหารฯ ของกองคลังดำเนินการส่งให้กรมบัญชี

กลาง,คตง.

9. สำเนารายงานการเงินประจำเดือนให้หน่วยตรวจสอบภายใน

10.เก็บรวบรวมสำเนารายงานการเงิน

การจัดทำบัญชีและรายงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณ

1. จัดทำหนังสือถึงหน่วยงานส่วนกลาง (กองต่างๆ) กำหนดเวลา 1 – 2 เดือนในการจัดส่งข้อมูลเพื่อ

ให้การรายงานการเงินประจำปีทันตามที่ระเบียบกำหนดข้อมูลที่ต้องประกอบการจัดทำรายงานได้แก่

-วัสดุคงเหลือประจำปี

-สินทรัพย์ที่มีทั้งสิ้น

-ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์

-ค่าเสื่อมราคมสะสมสินทรัพย์

2. จัดทำหนังสือเร่งรัดให้หน่วยงานในภูมิภาคส่งรายงานการเงินประจำปีพร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 25

3. ปรับปรุงรายการบัญชีของส่วนกลางได้แก่

-บัญชีรายได้แผ่นดิน

-บัญชีวัสดุคงเหลือ

-บัญชีสินทรัพย์(อาคาร,ครุภัณฑ์,โปรแกรมคอมพิวเตอร์)

-บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย(ค่าสาธารณูปโภค,ลูกหนี้เงินยืมราชการ)

-บัญชีเงินกันไว้จ่ายเหลื่อมปีงบประมาณ

-บัญชีรายได้งบประมาณค้างรับ(เงินกัน,ค่าสาธารณูปโภค,ใบสำคัญเบิกเงิน)

4. จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงบัญชี

5. ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายประจำปีเข้าบัญชีรายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

6. ปิดบัญชีรายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิเข้าบัญชีรายได้สูง(ต่ำ)กว่าค่าใช้จ่ายสะสม

7. จัดทำงบทดลองหลังปิดบัญชี

8. จัดทำรายงานประจำปีของส่วนกลาง

9. รวมรวมและวิเคราะห์รายงานการเงินประจำปีของหน่วยงานภูมิภาค

10.จัดทำรายงานการเงินประจำปีในภาพรวมของกรมอนามัยและส่งพิมพ์ได้แก่

-งบแสดงฐานะการเงินณวันที่30กันยายน

-งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่30กันยายน

-หมายเหตุประกอบงบการเงิน

-งบกระแสเงินสด

11. จัดทำและส่งพิมพ์หนังสือถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อส่งรายงานการเงิน

ประจำปี

12.นำเสนออธิบดีกรมอนามัยลงนามในหนังสือตามลำดับขั้น

13.เจ้าหน้าที่สารบัญของฝ่ายบัญชีส่งรายงานการเงินประจำให้ฝ่ายบริหารทั่วไปกองคลังดำเนินการจัดส่ง

ให้กรมบัญชีกลางคตง.

14.สำเนารายงานการเงินประจำปีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

15.เก็บรวบรวมสำเนารายงานการเงินประจำปี

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 26

กิจกรรมท้ายบท

บทที่ 2 เรื่องการทำบัญชีเงินสดเบื้องต้น

1.ให้นักศึกษาค้นคว้าการทำบัญชีรับ-จ่ายประเภทต่างๆแล้วบันทึก

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.ให้นักศึกษาอธิบายถึงการทำบัญชีต้นทุนการผลิตของการทำนา

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.ให้นักศึกษาอธิบายถึงการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือน

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

4.ใบเสร็จคือใบแสดงถึงอะไรอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

5.ใบสั่งของคือใบอะไรอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 27

บทที่ 3 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง

ฉลาดโดยใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนานและก่อให้เกิดผลเสีย

หายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ใน

สภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนี้

1.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคลองค์กรและระดับประเทศที่สำคัญคือ

1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิด

ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีกสิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีกเช่น

ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่

ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการ

ทำลายสิ่งแวดล้อมได้

3) การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการ

บูรณะซ่อมแซมทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน

เช่นการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้นก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะส่วน

การฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชาย

เลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เป็นต้น

5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่ง

แวดล้อม เช่นการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกการใช้ใบตองแทนโฟมการใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิงการ

ใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีเป็นต้น

6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย

เช่นการเฝ้าระวังการทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำคูคลองการจัดทำแนวป้องกันไฟป่าเป็นต้น

2.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อมสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ 1) การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ

และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความ

จำเป็นในการอนุรักษ์เกิดความรักความหวงแหนและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 28

2) การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด

ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่ งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนนักศึกษาในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆมูลนิธิคุ้มครอง

สัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมูลนิธิโลกสีเขียวเป็นต้น

3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่

ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความ

เข้าใจ และความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้มีบทบาทหน้าที่

ในการปกป้องคุ้มครองฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นหาวิธีการและพัฒนาเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดการกับทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาจัดการวางแผน

พัฒนา การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้น การค้นคว้าวิจัยวิธีการจัดการ การ

ปรับปรุงพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนเป็นต้น

5) การกำหนดนโยบายและวางแนวทางของรัฐบาล ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะ

สันและระยะยาว เพื่อเป็นหลักการให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องยึดถือและนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการ

เผยแพร่ข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเอง อำนวย

ประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง (ทวีทองสว่างและทัศนีย์ทองสว่าง,2523:4)ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ให้ประ

โยชน์ต่อมนุษย์ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ(เกษมจันทร์แก้ว,2525:4)

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติมักจะมองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและ

ทางอ้อม หากไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยก็คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการจัดประเภททรัพยากร

ธรรมชาตไิวห้ลายประเภทดว้ยกนัเชน่ดนินำ้ปา่ไม้สตัวป์า่แรธ่าตุฯลฯซึง่เปน็ทรพัยากรทีเ่ปน็แหลง่พลงังานสำคญั

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ

การแบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติมีการแบ่งกันหลายลักษณะ แต่ในทีนี้ แบ่งโดยใช้เกณฑ์ของ

การนำมาใช้แบ่งออกเป็น4ประเภทดังนี้

1.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น(Inexhaustiblenaturalresources)เป็นทรัพยากรธรรมชาติ

ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีมนุษย์ เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นมาสิ่งเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์จำแนกเป็น2

ประเภทได้แก่

1.1ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง(Immutuable)ได้แก่พลังงานจากดวงอาทิตย์ลมอากาศ

ฝุ่นแม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงมีไม่เปลี่ยนแปลง

1.2ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Mutuable) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์

อย่างผิดวิธี เช่นการใช้ที่ดินการใช้นำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพและ

ด้านคุณภาพ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 29

2.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้(renewablenaturalresources)เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้

ไปแล้วสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ ซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กันชนิดของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนั้น

ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้เช่นพืชป่าไม้สัตว์ป่ามนุษย์ความสมบูรณ์ของดินคุณภาพของน้ำและ

ทัศนียภาพที่สวยงามเป็นต้น

3.ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recycleable natural resources) เป็นทรัพยากร

ธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุที่นำมาใช้แล้วสามารถนำไปแปรรูปให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีก

(อู่แก้วประกอบไวยกิจเวอร์,2525:208)เช่นแร่โลหะแร่อโลหะได้แก่เหล็กทองแดงอะลูมิเนียมแก้วฯลฯ

4.ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป (Exhaustingnatural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่

นำมาใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก ทรัพยากรธรรมชาติ

ประเภทนี้ได้แก่น้ำมันปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเป็นต้น

ความสำคัญและผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้

1.การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่า มนุษย์

จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัยสี่คืออาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยและ

ยารักษาโรค

-อาหารที่มนุษย์บริโภคแรกเริ่มส่วนหนึ่งได้จากทรัพยากรธรรมชาติเช่นเผือกมันปลาน้ำจืดและปลา

น้ำเค็มเป็นต้น

-เครื่องนุ่งห่มแรกเริ่มมนุษย์ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มจากทรัพยากรธรรมชาติเช่นจากฝ้าย

ป่านลินินขนสัตว์ฯลฯที่มีอยู่ตามธรรมชาติต่อมาเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นความต้องการเครื่องนุ่งห่มก็เพิ่ม

ขึ้นด้วยจึงจำเป็นต้องปลูกหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อการทำเครื่องนุ่งห่มเองและในที่สุดก็ทำเป็นอุตสาหกรรม

-ที่อยู่อาศัยการสร้างที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่างๆจะพยายามหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น

มาเป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้ง บ้านที่สร้างขึ้น

ในเขตภูเขาจะทำด้วยดินเหนียว แต่ถ้าเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และไร้พืชพรรณธรรมชาติ บ้านที่สร้างขึ้นอาจจะเจาะ

เป็นอุโมงค์เข้าไปตามหน้าผาบ้านคนไทยในชนบทสร้างด้วยไม้ไม้ไผ่หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าเป็นต้น

- ยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้จักนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค เช่น คนไทยใช้ฟ้า

ทะลายโจรรักษาโรคหวัดหอบหืดหัวไพลขมิ้นน้ำผึ้งใช้บำรุงผิว

2.การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตั้งถิ่นฐานและ

ประกอบอาชีพของมนุษย์เช่นแถบลุ่มแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์จะมีประชาชนเข้าไป

ตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมงเป็นต้น

3.การพัฒนาทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

4.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้องอาศัย

ทรัพยากรธรรมชาติ

5.การรักษาสมดุลธรรมชาติทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษาสมดุลธรรมชาติ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 30

สาเหตุที่มนุษย์ลำลายสิ่งแวดล้อมมีหลายสาเหตุดังนี้ 1.การเพิ่มของประชากร การเพิ่มของประชากรโลก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเจริญ ทางด้าน

การแพทย์ช่วยลดอัตราการตายโดยการเพิ่มประชากรนี้ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรมากขึ้นมีของเสียมากขึ้น

2.พฤติกรรมการบริโภคอันเนื่องมาจากต้องการให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นมีความสุขสบายมากขึ้นมีการนำ

ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองมีขยะและของเสียมากขึ้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและตัวมนุษย์เอง

3.ความโลภของมนุษย์ โดยนำทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อให้ตนเองมีความร่ำรวย

มีความสะดวกสบาย มีความเห็นแก่ตัว ขาดสติยั้งคิด ถึงสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นผลส่งให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม

ที่มากระทบต่อมนุษย์เองในที่สุด

4.ความไม่รู้ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ ขาดการรู้เท่าทัน บนรากฐานแห่งความจริง อย่างลึกซึ้งใน สิ่งแวดล้อม

และธรรมชาติ ส่งผลให้มนุษย์ขาดสติในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีพฤติกรรมการบริโภค อันเป็นการทำลายสิ่ง

แวดล้อม โดยขาดการคาดการณ์ ผลที่จะเกิดตามมา จะส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่ง แวดล้อม และนำไปสู่ความเสียหาย

ทั้งตนเองและธรรมชาติ

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว (Exponential) ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้สนองความต้องการ

ในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่งบางครั้งเกินความจำเป็น จนทำให้ระบบนิเวศต่าง ๆ

เสียสมดุล ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างเสื่อมโทรม ร่อยหรอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถเอื้อประโยชน์

ได้เช่นเดิม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการ หรือมาตรการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม

และมีเหตุผลเพียงพอ ทั้งนี้รวมไปถึงการควบคุมขนาดประชากรโลกให้มีความเหมาะสมกับทรัพยากรของโลก

ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหัวข้อที่3.1.3นั้นควร

เน้นทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่1และ2โดยมีมาตรการที่ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดไปทั้งด้านปริมาณ

และคุณภาพ ส่วนทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ 3 และ 4 ควรใช้กันอย่างประหยัดและเหมาะสม ทรัพยากร

ธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปควรใช้อย่างประหยัดที่สุด

แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสิ่งแวดล้อมควรมีดังนี้ 1.การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้รู้จักธรรมชาติ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์อย่าง

แท้จริง โดยให้มีการศึกษาถึง นิเวศวิทยา และความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความรู้จริง

ในการดำรงชีวิต ให้ผสมกลมกลืน กับธรรมชาติที่อยู่โดยรอบ ได้มุ่งสอน โดยยึดหลักศาสนา โดยสอนให้คนมี

ชีวิต ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ทำลายชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ในธรรมชาติด้วยกัน พิจารณาถึง ความเป็นไปตาม

ธรรมชาติที่เป็นอยู่ ยอมรับความเป็นจริง ของธรรมชาติ และยอมรับความจริงนั้น โดยไม่ฝืนธรรมชาติ ใช้

ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองน้อยที่สุดทำให้เกิดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของสังคม

และประเทศชาติในการพัฒนา

2.การสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการทำให้บุคคล เห็นคุณค่าและตระหนัก ในสิ่ง

แวดล้อมและธรรมชาติรวมทั้งผลกระทบจากการทำกิจกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมสร้างความรู้สึกรับผิดชอบ

ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ระหว่างสิ่งแวดล้อม และการพัฒนา การสร้างจิตสำนึก โดยการให้การศึกษา เกี่ยวกับสิ่ง

แวดล้อม จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิตใจ ของบุคคล และยังมีผลต่อ พฤติกรรม ของบุคคล ให้มีการ

เปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 31

3.การส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ดำรงชีวิต โดยสอดคล้องกับ

ธรรมชาติซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมนี้จะเป็นสิ่งที่เกิดตามมาจากการให้การศึกษาและ

การสร้างจิตสำนึกทำให้มีการดำรงชีวิตโดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

ความหมายและความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ(Naturalresourcesconservation)หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

วิธีการฉลาดเหมาะสมโดยใช้อย่างประหยัด ให้เกิดประโยชน์และเกิดคุณค่ามากที่สุด รวมทั้งการปรับปรุงของเสีย

ให้นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด(ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ทองสว่าง,2523:1)การอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด

และใช้เป็นเวลานานที่สุด ทั้งนี้ต้องให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด และจะต้องกระจาย

การใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงกันด้วย(สุรภีโรจน์อารยานนท์,2526:9)

จากความหมายดังกล่าวของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะมีลักษณะของการจัดการใช้ทรัพยากร

ธรรมชาติแต่ละประเภทอย่างฉลาด ทรัพยากรธรรมชาติชนิดใดหาอยาก หรือลดจำนวนน้อยลง ถ้านำมาใช้

ประโยชน์อาจทำให้เกิดผลเสียหายได้ ในสภาพนี้จะต้องนำหลักของการสงวนมาใช้ และในการใช้อย่างประหยัด

และพยายามเพิ่มปริมาณให้เพียงพอก่อนที่จะนำไปใช้ในอนาคตสิ่งที่สำคัญ คือ ควรหาวิธีการที่จะทำให้มี

ทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ตลอดไป

หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด ควรคำนึงถึงหลักต่อ

ไปนี้

1.การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นควบคู่กันไป เพราะ

ทรัพยากรธรรมชาติต่างก็มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และส่งผลต่อกันอย่างแยกไม่ได้

2.การวางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนา สังคม

เศรษฐกิจการเมืองและคุณภาพชีวิตอย่างกลมกลืนตลอดจนรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันไป

3.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งประชาชนในเมือง ในชนบท และผู้บริหาร

ทุกคนควรตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาโดนเริ่มต้นที่ตนเองและท้องถิ่นของตน

ร่วมมือกันทั้งภายในประเทศและทั้งโลก

4. ความสำเร็จของการพัฒนาประเทศขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และความปลอดภัยของทรัพยากร

ธรรมชาติดังนั้นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการทำลายมรดกและอนาคตของชาติด้วย

5.ประเทศมหาอำนาจที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรม มีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

เพื่อใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศของตนดังนั้นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายจึงต้องช่วยกันป้องกันการ

แสวงหาผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจ

6.มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ แต่การจัดการนั้นไม่

ควรมุ่งเพียงเพื่อการอยู่ดีกินดีเท่านั้นต้องคำนึงถึงผลดีทางด้านจิตใจด้วย

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 32

7. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ในการรักษาทรัพยากร

ธรรมชาติที่จะให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทุกแง่ทุกมุม ทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยคำนึงถึงการสูญเปล่าอันเกิดจากการใช้

ทรัพยากรธรรมชาติด้วย

8. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและหายากด้วยความระมัดระวังพร้อมทั้งประโยชน์และการทำให้อยู่

ในสภาพที่เพิ่มทั้งทางด้านกายภาพและเศรษฐกิจเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรธรรม

ชาติที่มากเกินไปจะไม่เป็นการปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

9. ต้องรักษาทรัพยากรที่ทดแทนได้โดยให้มีอัตราการผลิตเท่ากับอัตราการใช้หรืออัตราการเกิดเท่ากับ

อัตราการตายเป้นอย่างน้อย

10.หาทาวปรับปรุงวิธีการใหม่ๆในการผลิตและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้ง

พยายามค้นคว้าสิ่งใหม่มาใช้ทดแทน

11.ให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

วิธีการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีดังนี้

1.การถนอม เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติทั้งปริมาณและคุณภาพให้มีอยู่นานที่สุดโดยพยายามใช้

ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพ เช่น การเลือกจับปลาที่มีขนาดโตมาใช้ในการบริโภค ไม่จับปลาที่มีขนาด

เล็กเกินไปเพื่อให้ปลาเหล่านั้นได้มีโอกาสโตขึ้นมาแทนปลาที่ถูกจับไปบริโภคแล้ว

2.การบูรณะซ่อมแซม เป็นการบุรณะซ่อมแวมทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดความเสียหายให้มีสภาพเหมือน

เดิมหรือเกือบเท่าเดิม บางครั้งอาจเรียกว่าพัฒนาก้ได้ เช่น ป่าไม้ถูกทำลายหมดไป ควรมีการปลูกป่าขึ้นมาทดแทน

จะทำให้มีพื้นที่บริเวณนั้นกลับคืนเป็นป่าไม้อีกครั้งหนึ่ง

3.การปรับปรุงและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการนำแร่โลหะประเภทต่างๆมาถลุงแล้วนำไปสร้าง

เครื่องจักรกลเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่างๆซึ่งจะให้ประโยชน์แก่มนุษย์เรามากยิ่งขึ้น

4.การนำมาใช้ใหม่ เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก สามารถนำกลับมา

หลอมแล้วแปรสภาพสำหรับการใช้ประโยชน์ใหม่ได้

5.การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นการนำเอาทรัพยากรอย่างอื่นที่มีมากกว่า หรือหาง่ายกว่า มาใช้ทดแทน

ทรัพยากรธรรมชาติที่หายากหรือกำลังขาดแคลนเช่นนำพลาสติกมาใช้แทนโลหะในบางส่วนของเครื่องจักรหรือ

ยานพาหนะ

6.การสำรวจหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคต เช่น การสำรวจ

แหล่งน้ำมันในอ่าวไทยทำให้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในระยะสั้น

และในระยะยาวอีกทั้งช่วยลดปริมาณการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่าง

7.การประดิษฐ์ของเทียมขึ้นมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ชนิดอื่น ๆ

ที่นิยมใช้กันของเทียมที่ผลิตขึ้นมาเช่นยางเทียมผ้าเทียมและผ้าไหมเทียมเป็นต้น

8.การเผยแพร่ความรู้เป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อที่

จะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่และรัฐควรมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการ

วางแผนจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรัดกุม

9.การจัดตั้งสมาคมเป็นการจัดตั้งสมาคมหรือชมรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 33

การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มากมายมหาศาล เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์

ทรัพยากรน้ำดังนี้

1.การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่

จะทิ้งลงแหล่งน้ำลดลงและป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย

2.การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อ

เก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ การขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร และพลังงานแล้วยัง

ช่วยป้องกันการเกิดอุทกภัยป้องกันการไหลชะล้างหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์และใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

3.การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ทั้ง

ในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างเพียงพอ ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมาก แต่อาจมี

ปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุดเช่นในบริเวณกรุงเทพฯทำให้เกิดดินทรุดได้จึงควรมีมาตรการกำหนดว่าเขตใดควรใช้น้ำ

ใต้ดินได้มากน้อยเพียงใด

4.การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูล และสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงาน

อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ การวางท่อระบายน้ำจาก

บ้านเรือนการวางฝังการก่อสร้างโดยไม่ให้น้ำสกปรกไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง

5.การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร

สามารถนำไปรดต้นไม้โรงงานบางแห่งอาจนำน้ำทิ้งมาทำให้สะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพังทลายหรือการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินนั้น จะทำให้เกิดปัญหา

อื่น ๆ ติดตามมา เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เกษตรต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาบำรุงดินเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล

ตะกอนดินที่ถูกชะล้างทำให้แม่น้ำและปากแม่น้ำตื้นเขิน ต้องขุดลอกใช้เงินเป็นจำนวนมาก เราจึงควรป้องกันไม่ให้

ดินพังทลายหรือเสื่อมโทรมซึ่งสามารถทำได้โดยการอนุรักษ์ดินดังนี้

1.การใช้ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกพืชควรคำนึงถึงชนิดของพืชที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน

การปลูกพืชและการไถพรวนตามแนวระดับเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

2.การปรับปรุงบำรุงดิน การเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เช่น การใส่ปุ๋ยพืชสดปุ๋ยคอกการปลูกพืชตระกูล

ถั่วการใส่ปูนขาวในดินที่เป็นกรดการแก้ไขพื้นที่ดินเค็มด้วยการระบายน้ำเข้าที่ดินเป็นต้น

3.การป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน ได้แก่ การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืช

บังลมการไถพรวนตามแนวระดับการทำคันดินป้องกันการไหลชะล้างหน้าดินรวมทั้งการไม่เผาป่าหรือการทำไร่

เลื่อนลอย

4.การให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน การระบายน้ำในดินที่มีน้ำขังออก การจัดส่งน้ำเข้าสู่ที่ดินและการใช้วัสดุเช่น

หญ้าหรือฟางคลุมหน้าดินจะช่วยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 34

การกำหนดราคาจำหน่ายและการจำหน่าย

1. การคิดต้นทุนในการผลิตได้แก่คิดพันธุ์ข้าวปุ๋ยยาแรงงานเช่นค่าไถตกกล้าปักดำดูแลรักษาเก็บ

เกี่ยว

2.จำนวนผลผลิตที่ได้และจัดลำดับคุณภาพของข้าวเปลือก

3.ราคาข้าวเปลือกในตลาดทั่วไป

4.แหล่งรับซื้อเช่นสหกรณ์โรงสีต่างๆ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 35

กิจกรรมท้ายบท

บทที่ 3 เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.ให้อธิบายถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาพอเข้าใจ

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.ให้อธิบายถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางตรงและทางอ้อมใความแตกต่างกันอย่างไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.ปัจจัย4อย่างของมนุษย์เรามีอะไรบ้างอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

4.มนุษย์เราสมัยโบราณจะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดเขาจะสังเกตอะไรเป็นเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจตั้งถิ่นฐานให้อธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

5.วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีกี่ข้ออะไรบ้าง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 36

บทที่ 4

คุณธรรมจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ

จริยธรรม คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผู้มีปรีชาญาณ(ปัญญาและเหตุผล)ทำให้มนุษย์มีมโนธรรมรู้จักแยกแยะความดีถูกผิดควรไม่ควร

จริยธรรมมีลักษณะ4ประการคือ 1.การตัดสินทางจริยธรรม(moral judgment) บุคคลจะมีหลักการของตนเอง เพื่อตัดสินการกระทำของผู้

อื่น

2.หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่จะปฏิบัติ

การต่างๆลงไป

3.หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ตัดสินใจในการการะทำสิ่งต่างๆ

4.ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคมจนเกิดเป็นทัศนะในการ

ดำรงชีวิตของตนและของสังคมที่ตนอาศัยอยู่

คุณธรรมคือหลักความจริงหลักการปฏิบัติ 1.จริยธรรมมี2ความหมายคือ

1.1.ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทาง

ศาสนาค่านิยมทางวัฒนธรรมประเพณีหลักกฎหมายจรรยาบรรณวิชาชีพ

1.2.การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรไม่ควรทำ

2.จรรยา (etiquette) หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติซึ่งสังคมแต่ละสังคม กำหนดขึ้น

สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละวิชาชีพก็อาจกำหนดบุคลิกภาพกิริยาวาจาที่บุคคลในวิชาชีพพึงประพฤติปฏิบัติ

เช่นครูแพทย์พยาบาลย่อมเป็นผู้ที่พึงสำรวมในกิริยาวาจาท่าทางที่แสดงออก

3.จรรยาบรรณวิชาชีพ(professionalcodeofethics)หมายถึงประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ

การงาน แต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก ทำให้ได้รับความ

เชื่อถือจากสังคม อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ เช่น จรรยาบรรณของแพทย์ ก็คือ ประมวลความ

ประพฤติที่วงการแพทย์กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้เป็นแพทย์ยึดถือปฏิบัติ

4.ศีลธรรม (moral) คำว่า ศีลธรรมถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ภาษาละตินMoralis หมายถึง หลักความ

ประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ภาษาไทย ศีลธรรมเป็นศัพท์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติที่ดีที่

ชอบหรือธรรมในระดับศีล

5.คุณธรรม(virtue)หมายถึงสภาพคุณงานความดีทางความประพฤติและจิตใจเช่นความเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตน เป็นคุณธรรมประการหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าคุณธรรมคือจริยธรรมแต่ละข้อที่นำมา

ปฏิบัติจนเป็นนิสัยเช่นเป็นคนซื่อสัตย์เสียสละอดทนมีความรับผิดชอบฯลฯ

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 37

6.มโนธรรม (conscience) หมายถึงความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความรู้สึกว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ นักจริยศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีมโนธรรม เนื่องจากบางขณะเราจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึก

ต้องการสิ่งหนึ่งและรู้ว่าควรทำอีกสิ่งหนึ่ง เช่นต้องการไปดูภาพยนตร์กับเพื่อนแต่ก็รู้ว่าควรอยู่เป็นเพื่อนคุณแม่

ซึ่งไม่ค่อยสบาย

7.มารยาท มรรยาท กิริยา วาจา ที่สังคมกำหนดและยอมรับว่าเรียบร้อย เช่น สังคมไทยให้เกียรติเคารพผูใ้หญ่ผูน้อ้ยยอ่มสำรวมกริยิาเมือ่อยูต่อ่หนา้ผูใ้หญ่การระมดัระวงัคำพดูโดยใชใ้หเ้หมาะกบับคุคลตามกาลเทศะ

ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทย

เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาทฤษฎีแรกของนักศึกษาไทยที่สร้างขึ้น บุคคลผู้รวบรวมเขียนเป็นทฤษฎี คือ

ศาสตราจารย์ดร.ดวงเดือนพันธุมนาวินกรอบแนวคิดที่เป็นจุดเด่นของทฤษฎีนี้มีความว่าลักษณะพื้นฐานและองค์

ประกอบทางจิตใจซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา เพื่อส่งเสริมให้บุคคลเป็นคนดีและ คนเก่ง ซึ่งได้ทำการ

ศึกษาวิจัยถึงสาเหตุพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง โดยได้ทำการประมวลผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

สาเหตุของพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนไทยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 6-60 ปี ว่าพฤติกรรมเหล่านั้น มีสาเหตุ

ทางจิตใจอะไรบ้าง และได้นำมาประยุกต์เป็นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมสำหรับคนไทยขึ้น โดยแบ่งต้นไม้จริยธรรม

ออกเป็น3ส่วนดังนี้

1. ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ดอกและผลไม้บนต้น ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและพฤติกรรมการ

ทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อส่วนรวม ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมของพลเมืองดี พฤติกรรมที่เอื้อเฟื้อต่อการพัฒนา

ประเทศ

2.ส่วนที่สอง ได้แก่ ส่วนลำต้นของต้นไม้ แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็ง ซึ่ง

ประกอบด้วยจิตลักษณะ5ด้านคือ

2.1เหตุผลเชิงจริยธรรม

2.2มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง

2.3ความเชื่ออำนาจในตน

2.4แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

2.5ทัศนคติคุณธรรมและค่านิยม

3.ส่วนที่สาม ได้แก่ รากของต้นไม้ที่แสดงถึงพฤติกรรมการทำงานอาชีพอย่างขยันขันแข็งซึ่งประกอบ

ด้วยจิตลักษณะ3ด้านคือ

3.1สติปัญญา

3.2ประสบการณ์ทางสังคม

3.3สุขภาพจิต

จิตลักษณะทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาจิตลักษณะ 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ก็ได้

กล่าวคือ บุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน ในปริมาณที่สูงพอเหมาะกับอายุ จึงจะเป็นผู้ที่มีความ

พร้อมที่จะพัฒนาจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ ที่ลำต้นของต้นไม้ โดยที่จิตลักษณะทั้ง 5 นี้ จะพัฒนาไปเอง

โดยอัตโนมัติถ้าบุคคลที่มีความพร้อมทางจิตใจ3ด้านดังกล่าวและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางบ้านทางโรงเรียนและ

สังคมที่เหมาะสม นอกจากนั้นบุคคลยังมีความพร้อมที่จะรับการพัฒนาจิตลักษณะบางประการใน 5 ด้านนี้

โดยวิธีการอื่น ๆ ด้วย ฉะนั้นจิตลักษณะพื้นฐาน 3ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมของคนดีและของคนเก่ง

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 38

นั่นเองนอกจากนี้จิตลักษณะพื้นฐาน3ประการที่รากนี้อาจเป็นสาเหตุร่วมกับจิตลักษณะ5ประการที่ลำต้น

ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมนี้ เกิดจากผลการวิจัยพฤติกรรมและจิตลักษณะของคนไทย โดยเมื่อสร้างขึ้นแล้ว

ทฤษฎีนี้ก็ได้ชี้แนวทางการตั้งสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาหลักฐานใหม่ ๆ มาเพื่อเติมในทฤษฎีนี้อีก เช่น การวิจัยที่

เกี่ยวกับจิตลักษณะพื้นฐาน3ประการที่สามารถจำแนกคนเป็น4ประเภทเหมือนบัวสี่เหล่ากับความสามารถใน

การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของบุคคล โดยพบว่าคนที่เป็นบัวเหนือน้ำเท่านั้น (มีจิตลักษณะพื้นฐาน 3 ด้านนี้ใน

ปริมาณสูงเหมาะสมกับอายุ) เป็นผู้ที่จะสามารถรับการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมได้อย่างเหมาะสมกับอายุ ตาม

ทฤษฎีของKohlberg

การสอน“คุณธรรม/จริยธรรม”เป็นความต้องการที่คนรุ่นหนึ่งจะชี้นำคนอีกรุ่นหนึ่งโดยผู้สอนมีความเชื่อว่าประสบการณ์ของตนอาจสร้างความเข้าใจเรื่องคุณธรรม/จริยธรรม(หรือความดีความถูกต้องความเหมาะสม)

อย่างถ่องแท้ในระดับหนึ่งและต้องการให้ เยาวชนเชื่อดีและเหมาะสมกับเยาวชนการยึดหลักคุณธรรม/จริยธรรม

ทำให้มนุษย์มีความสุขความสวยและความงามโดยที่ความสุขนั้นควรเป็นความสุขแบบเรียบง่ายและยั่งยืน

คุณสมบัติอันเป็นความพร้อมที่จะพัฒนาจริยธรรมของบุคคลประกอบด้วย 1.ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตและหลัก จริยธรรม ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้มาตั้งแต่วัยต้นของชีวิต

จากการเลี้ยงดูการศึกษาอบรมและจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยอาจเป็นในวิถีทางที่ต่างกันซึ่งเป็นผล

ให้บุคคลมีพัฒนาการทางจริยธรรมต่างกันจากกฎเกณฑ์การตัดสินที่ต่างกัน

2.ความใฝ่ธรรม มนุษย์มีธรรมชาติ ของการ แสวงหาความถูกต้องเป็นธรรมหรือความดีงามตั้งแต่วัย

ทารกคุณสมบัตินี้ทำให้บุคคลนิยมคนดีชอบสังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรมต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี

อย่างไรก็ตามประสบการณ์ในชีวิตจากการเลี้ยงดูและเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณธรรม เป็นปัจจัย

สำคัญให้บุคคลพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีจริยธรรมสูงกว่า

3.ความรู้จักตนเองของบุคคลนั้น

ความรู้จักตนเองของบุคคลคือสร้างความสามารถในการพิจารณาให้รู้อิทธิพลของความดีและความไม่

ดีของตนให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถเสริมสร้างความดีของตนให้มีพลังเข็มแข็ง ในลักษณะที่ตนเองและ

สังคมยอมรับได้ ความรู้จักตนเองนี้จะทำให้บุคคลมีความมั่นใจ มีพลังและพร้อมที่จะขจัดความไม่ดีของตนและ

พัฒนาตนเองอย่างถูกต้องดีขึ้น

วิถีทางพัฒนาจริยธรรม

1.การศึกษาเรียนรู้กระทำได้หลายวิธีดังนี้

1.1การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการหาความ รู้จากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาศาสนา

วรรณคดีที่มีคุณค่าหนังสือเกี่ยวกับจริยธรรมทั่วไปและจริยธรรมวิชาชีพ

1.2การเข้าร่วมประชุมสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับคุณธรรม

จริยธรรมและการคบหาบัณฑิตผู้ใส่ใจด้านจริยธรรม

1.3การเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตและจากประสบการณ์ในสถานที่ปฏิบัติงาน

ประสบการณ์จริงเป็นโอกาสอันประเสริฐในการเรียนรู้จริยธรรมแห่งชีวิต ที่ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้

อย่างลึกซึ้งทั้งด้านเจตคติและทักษะการแก้ปัญหาเชิง จริยธรรม อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับความพร้อมของบุคคล

ผู้มีความพร้อมน้อยอาจจะไม่ได้ประโยชน์จากการเรียนรู้อันมีค่านี้เลย

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 39

2.การวิเคราะห์ตนเองบุคคลผู้มีความพร้อมจะพัฒนามีความตั้งใจและเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์

ตนเองเพื่อทำความรู้จักในตัวตนเอง ด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการแสดงออกของ

ตนเองจะช่วยให้บุคคลตระหนักรู้คุณลักษณะของตนเองรู้จุดดีจุดด้อยของตนรู้ว่าควรคงลักษณะใดไว้

การวิเคราะห์ตนเองกระทำได้ด้วยหลักการต่อไปนี้

2.1การรับฟังความคิดเห็นเชิงวิพากษ์จากคำพูดและอากัปกิริยาจากบุคคลรอบข้าง เช่น จากผู้บังคับ

บัญชาจากเพื่อนร่วมงานจากผู้ใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัว

2.2วิเคราะห์ตนเองเกี่ยวกับความคิด ความต้องการเจตคติการกระทำ และผลการกระทำ ทั้งในอดีต

และปัจจุบัน

2.3ค้นหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น จากตำรา บทความ รายงานการวิจัยด้านพฤติกรรม

ศาสตร์หรือศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาตนอย่างถ่องแท้

2.4เข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาจิตใจ (จิตใจและพฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้

เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก) ทำให้จิตใจได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดปัญญารับรู้ตนเองอย่างลึกซึ้งและ

แท้จริง

3.การฝึกตน เป็นวิธีการพัฒนาด้าน คุณธรรมจริยธรรมด้วย ตนเองขั้นสูงสุด เพราะเป็นการพัฒนาความ

สามารถของบุคคล ในการ ควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในกรอบของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของ

สังคมทั้งในสภาพการณ์ปกติและเมื่อเผชิญปัญหาหรือขัดแย้ง

การฝึกตน เป็นวิธีการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยตนเองขั้นสูงสุด เพราะเป็นการพัฒนาความสามารถของ

บุคคล ในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนให้อยู่ในกรอบของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาของสังคม ทั้งใน

สภาพการณ์ปกติและเมื่อเผชิญปัญหาหรือขัดแย้ง

3.1การฝึกวินัยขั้นพื้นฐาน เช่น ความขยันหมั่นเพียร การพึ่งตนเอง ความตรงต่อเวลา ความรับผิด

ชอบการรู้จักประหยัดและออมความซื่อสัตย์ความมีสัมมาคารวะความรักชาติฯ

3.2การรักษาศีลตามความเชื่อในศาสนาของตน ศีลเป็นตัวกำหนดที่จะทำให้งดเว้นในการที่จะกระทำ

ชั่วร้ายใดๆอยู่ในจิตใจส่งผลให้บุคคลมีพลังจิตที่เข้มแข็งรู้เท่าทันความคิดสามารถควบคุมตนได้

3.3การทำสมาธิ เป็นการฝึกให้เกิดการตั้งมั่นของจิตใจทำให้เกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียวของกุศลจิต

เป็นจิตใจที่สงบผ่องใสบริสุทธิ์เป็นจิตที่เข้มแข็ง มั่นคง แน่วแน่ ทำให้เกิดปัญญาสามารถพิจารณาเห็นทุกอย่างตรง

สภาพความเป็นจริง

3.4ฝึกการเป็นผู้ให้เช่นการรู้จักให้อภัยรู้จักแบ่งปันความรู้ความดีความชอบบริจาคเพื่อสาธารณะ

ประโยชน์อุทิศแรงกายแรงใจช่วยงานสาธารณะประโยชน์โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ

สรุปได้ว่า การพัฒนาจริยธรรมด้วยวิธีพัฒนาตนเองตามขั้นตอนดังกล่าว เป็นธรรมภาระที่บุคคลสามารถปฏิบัติได้ควบคู่กับการดำเนินชีวิตประจำวันแต่มิใช่เป็นการกระทำในลักษณะเสร็จสิ้นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องจน

เป็นนิสัยเพราะจิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเฉกเช่นกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 40

กิจกรรมท้ายบท

บทที่ 4 เรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

1.จริยธรรม4ประการมีลักษณะอย่างไรบ้าง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.จริยธรรมมี2ความหมายให้อธิบาย

1.ความประพฤติดี

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.การรู้จักไตร่ตรอง

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.จรรยาหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

4.จรรยาบรรณวิชาชีพหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 41

5.ศีลธรรมหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

6.คุณธรรมหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

7.มโนธรรมหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

8.มารยาทบรรยาทกริยาวาหมายถึงอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

9.ท่านคิดว่าท่านเป็นคนดีหรือไม่อย่างไรอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 42

บทที่ 5

ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพทำนา

1.การผลิต

1)ผลผลิตข้าวมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากเกษตรกรนำพันธุ์ข้าวอายุสั้น (75 วัน) มาปลูก เมื่อสีแปรสภาพข้าว

แล้วไม่ได้มาตรฐานข้าว5%รวมทั้งผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหายจากภัยหนาวเป็นระยะเวลานาน

2)เกษตรกรประสบปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวและแรงงานในการทำนา ต้นทุนในการผลิตสูง

เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยย่าฆ่าแมลงและเครื่องจักรในการผลิตรวมทั้งมีศัตรูพืชและโรคพืชรบกวน

3)พื้นที่ปลูกข้าวในบางส่วนได้เปลี่ยนไปปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น เนื่องจากมีราคาสูงและภาครัฐ

ให้การส่งเสริม

2.การตลาด

1)การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศจีนและเวียดนามได้พัฒนาพันธุ์ข้าว

หอม ซึ่งคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทย ประกอบกับช่วงเก็บเกี่ยวมีมรสุมทำให้คุณภาพลดลง และราคา

รับจำนำสูงไม่เป็นไปตามกลไกลของตลาด

2)การลดภาษี 0% ในปีพ.ศ. 2553อาจทำให้มีข้าวเปลือกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศ (ข้าว

ไทยมีราคาสูง)และส่งผลให้ราคาข้าวตกต่ำ

3)การปลอมปนข้าวสารจะส่งผลต่อเนื่องทั้งระบบการผลิต-การตลาด

3.ผลการดำเนินการตามโครงการรับจำนำข้าวมีดังนี้

1)ข้อมูลการเพาะปลูก และผลผลิตไม่ตรงตามความเป็นจริงเป็นเหตุให้การนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เกิด

ความคลาดเคลื่อน และเกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์ที่สามารถจำนำได้แทนปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ตลอดจนการ

กำหนดราคารับจำนำสูงทำให้ผู้ส่งออกข้าวไม่สามารถส่งออกได้

2)การกำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานีตามจำนวนต้นข้าวในทางปฏิบัติทำได้ยาก เนื่องจากข้าว

ปทุมธานีเป็นข้าวที่มีความชื้นสูง (ประมาณร้อยละ 28 ขึ้นไป) จึงต้องนำข้าวเปลือกของเกษตรกรที่นำมาจำนำทุก

รายไปตากเพื่อลดความชื้นแล้ว จึงนำมาสีเพื่อตรวจสอบจำนวนต้นข้าวโดยต้องใช้เวลานานมากรายละ 2 - 3

ชั่วโมง

3)การเปิดจุดรับจำนำในภาคอีสาน อาจทำให้เกิดการปลอมปนระหว่างข้าวหอมมะลิของภาคอีสาน

กับข้าวหอมจังหวัดและ/หรือข้าวหอมปทุมธานีได้

4)เจ้าหน้าที่ประจำจุดรับจำนำซึ่งเป็นตัวแทนภาคราชการมักไม่ค่อยอยู่เนื่องจากมีภารกิจมาก

5)กรณีโรงสีเลือกจัดทำหนังสือค้ำประกันธนาคารให้ไว้กับ อคส./อ.ต.ก. ร้อยละ 20 ของมูลค่าข้าวที่รับ

จำนำโรงสีอาจใช้เป็นช่องทางในการนำข้าวเปลือกของโครงการฯไปหมุนเวียนเป็นข้าวเปลือกตามการค้าปกติของ

โรงสีได้

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 43

ข้อเสนอแนะ

1.การผลิต 1)กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบ(1)ผลเสียของการนำพันธุ์

ข้าวอายุสั้นมาปลูก (2) ควรลดพื้นที่ปลูกข้าว (หากดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก) โดยหันไปปลูกพื้นอื่นที่อายุสั้น

ทดแทนเพื่อจะได้มีเงินทุนหมุนเวียน (3) รณรงค์ให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพให้มากขึ้นเพื่อเป็นการลด

ต้นทุนการผลิต และ (4) ควรตากข้าวเปลือกให้แห้งเพื่อนำไปจำนำยุ้งฉางกับ ธ.ก.ส. เนื่องจากได้ราคาสูงกว่าการ

จำนำใบประทวน(ประมาณตันละ1,000-1,600บาท)

2)จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิควรมีการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ครบทุกอำเภอ(ป้องกันการ

ปลอมปน) และงบช่วยเหลือเกษตรกรในการไถกลบตอซังข้าวเพื่อรักษาสภาพดินให้มีค่าอินทรียวัตถุอยู่ในเกณฑ์

มาตรฐาน

3) ควรกำหนดราคาช่วงต่างระหว่างข้าวเปลือกหอมมะลิ กับข้าวเปลือกหอมจังหวัดให้สอดคล้องกับ

การซื้อขายจริงในตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมความเป็นธรรมทางด้านราคา

2.การตลาด 1) รัฐบาลควรเร่งระบายข้าวออกจากสต๊อกของ อคส. ในรูปรัฐต่อรัฐ หรือ ( G to G) แล้วกระจาย

โควตาให้กับผู้ส่งออกให้ทั่วถึงและเป็นธรรม

2) กำหนดกลยุทธศาสตร์ข้าวของภาคใต้ เพื่อพัฒนาไปสู่การส่งออกต้องมีการจัดแบบครบวงจรทั้งใน

ด้านการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย ดังนี้ (1) ด้านการผลิต ภาครัฐควรสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ

และสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด พร้อมทั้งจัดระบบชลประทานให้เหมาะสม (2) การแปรรูป ควรมี

การพัฒนาโรงสีในพื้นที่ให้เป็นโรงสีที่ครบวงจรมีเครื่องจักรที่ทันสมัย มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่

ทันสมัย

3) ควรส่งเสริมและพัฒนาความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จัดหาเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เช่น รถไถ รถ

เกี่ยวข้าวให้กลุ่มเกษตรกรหรือสถาบันการเกษตร โดยให้ช่วยกันดูแลรักษาถือเป็นทรัพย์สินของส่วนรวมเพื่อลด

ต้นทุนการผลิต

3.โครงการรับจำนำข้าว 1)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการดังนี้ (1)ประชาสัมพันธ์และประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ

กับเกษตรกรในการนำข้าวเปลือกไปจำนำ เพื่อไม่ให้มีการชุมนุมเรียกร้อง (2) ควรมีการทบทวนแบบฟอร์มให้

ละเอียดและครอบคลุมในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

2) ตัวแทนข้าราชการประจำจุดควรพิจารณาหน่วยงานที่มิใช้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ เนื่องจาก

มีภารกิจมาก

3) การกำหนดราคารับจำนำไม่ควรกำหนดให้ราคาสูง และเปิดรับจำนำในช่วงที่มีการผลผลิตปริมาณ

มากและราคาตกต่ำเท่านั้น

4) เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมีไม่เพียงพอในการจำหน่ายให้กับเกษตรกร ส่งผล

ให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในขณะที่บางส่วนไม่มีความรู้ในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพ ส่งผล

ให้ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำตลอดจนเกษตรกรไม่มีการปรับปรุงดินที่เสื่อมสภาพจากการที่ใช้สารเคมีมาเป็นเวลานาน

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 44

5) การใช้รถเกี่ยวข้าวส่งผลให้มีสิ่งเจือปนอื่น เช่น ฟาง และต้นหญ้าติดมากับผลผลิต ทีให้ข้าวไม่มี

คุณภาพและมีความชื้นสูงเมื่อนำไปขายจะถูกโรงสีหักน้ำหนัก10กก.ต่อข้าวเปลือก100กก.

ข้อเสนอแนะ

1.การผลิต 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้หรือเก็บ

รักษาพันธุ์ข้าวของตนเองให้ดี เพื่อได้ผลผลิตต่อไร่สูงและมีคุณภาพตลอดจนควรแนะนำการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลด

ต้นทุนการผลิตซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพดินในระยะยาว

2) เกษตรกรควรให้ความสนใจต่อข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับเรื่องข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง เพื่อตัดวงจร

ชีวิตของแมลงศัตรูพืชในนาข้าวและช่วยปรับปรุงดินให้ธาตุอาหารดีขึ้น

3) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกตามกำหนดเวลา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

และส่งผลให้ขายข้าวเปลือกได้ราคาเพิ่มขึ้น

4) เกษตรกรควรปลูกข้าวตามความต้องการของตลาด เช่น พันธุ์ชัยนาท1 หรือสุพรรณบุรี เนื่องจาก

ตลาดต้องการข้าวที่มีเมล็ดยาวสวยและคุณภาพดี

2.การตลาด 1)ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้นดังนั้นการผลิตข้าวอินทรีย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้

เกษตรกรและยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูง

2)ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นเกษตรกรต้องระมัดระวังการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการด้านการชั่ง

น้ำหนักและการวัดความชื้นรวมถึงต้องระมัดระวังการถูกขโมยข้าวในนา

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45

กิจกรรมท้ายบท

บทที่ 5 เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพทำนา

1.การผลิตหมายถึงอะไรอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

2.การตลาดหมายถึงอะไรบ้างอธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

3.การทำนาเราต้องปัจจัยอะไรบ้างถึงจะประสบผลสำเร็จให้อธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

4.ในการประกอบอาชีพทำนาปัญหาที่เกิดเรื้อรังมากคือปัญหาอะไร

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

5.ท่านคิดว่าอาชีพทำนาถ้าได้ความสนใจจากรัฐบาลจริงๆจะแก้ปัญหาท่านคิดว่ามีแนวคิดในการแก้ปัญหา

อย่างไรให้อธิบาย

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

................................................................................................................................................................................................................

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 46

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 47

บรรณานุกรม

ขอนแก่นมหาวิทยาลัยการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน(นายชมชวนบุญระพงษ์)363หมู่ที่4ถนนเชียงใหม่-แม่โจ้

ตำบลหนองจอกอำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ใบความรู้การเรียนรู้โดยการทำนาโครงงาน,

คู่มือการพัฒนา

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 48

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 49

สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม เปนพื้นที่นำรองหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในพื้นที่ 13 สถานศึกษา ปจจุบันไดดำเนินการติดตอกันเปนระยะเวลา 3 ภาคเรียน

ซึ่งในภาคเรียนที่ 1/2553 ไดเปดสอนในหมวดวิชาเลือก ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนตน และมัธยมศึกษา

ตอนปลาย ซึ่งจำเปนอยางยิ่งที่ผูเรียนจะตองมีแบบเรียน ที่เปนเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู สำนักงาน

กศน.จังหวัดมหาสารคาม ไดเห็นถึงปญหาที่สำคัญดังกลาวจึงไดจัดทำโครงการประชุมปฏิบัติการจัดทำแบบเรียน

วิชาเลือก หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (นำรอง) ขึ้นมา

เพื่อใหการดำเนินการจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 (นำรอง) เปนไปดวยความเรียบรอย ครู กศน. มีคูมือในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตรง

ตามมาตรฐานการเรียนรู และผูเรียนสามารถนำแบบเรียนดังกลาวไปเปนเครื่องมือในการแสวงหาความรูไดอยางเกิด

ประโยชน สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม จึงไดแตงตั้งบุคลากร กศน. เปนคณะทำงานจัดทำแบบเรียนวิชา

เลือก หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (นำรอง) รายละเอียดดังนี้

1. คณะที่ปรึกษา มีหนาที่ ใหคำปรึกษาแนะนำผูมีสวนเกี่ยวของในการจัดทำแบบเรียน หลักสูตรการศึกษา

นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (นำรอง) ใหสามารถดำเนินกิจกรรมไปดวยความ

เรียบรอย ประกอบดวย

1.1 นางสาวนพกนก บุรุษนันทน ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม ประธานที่ปรึกษา

1.2 นางธัชชนก ช่ำชอง รอง ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม ที่ปรึกษา

2. คณะบรรณาธิการ มีหนาที่ ตรวจสอบความถูกตองของเนื้อหา อักขระ และรูปแบบการจัดทำรูปเลม

แบบเรียน ใหมีความถูกตอง เหมาะสมกับหลักวิชาการ ประกอบดวย

2.1 นายชาญยุทธ ไชยะดา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอบรบือ

2.2 นายอวิรุทธิ์ ภักดีสุวรรณ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเมืองมหาสารคาม

2.3 นายสถิตย แทนทอง ผอ.ศูนย กศน.อำเภอโกสุมพิสัย

2.4 นายกริชพัฒน ภูวนา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกันทรวิชัย

คำสั่งสำนักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม

ที่ 84/2553

เรื่อง แตงตั้งคณะทำงานจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (นำรอง)

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 50

2.5 นายพิทักษ ศรีสุภักดิ์ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเชียงยืน

2.6 นายสายัณห ถมหนวด ผอ.ศูนย กศน.อำเภอชื่นชม

2.7 นายณรงคศักดิ์ กงชัยภูมิ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอยางสีสุราช

2.8 นายธีระพงษ สวาทพงษ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอแกดำ

2.9 นายศุภชัย วันนิตย ผอ.ศูนย กศน.อำเภอวาปปทุม

2.10 นางรัตนา ปะกิคะเน ผอ.ศูนย กศน.อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

2.11 นางดุษฎี ดวงจำปา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกุดรัง

2.12 นางบุญญรัตน พงษสมชาติ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาเชือก

2.13 นางเทพี ภูคะมา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาดูน

3. คณะทำงานฝายสงเสริมกิจกรรมวิชาการ มีหนาที่ อำนวยความสะดวก และใหคำแนะนำในดานเนื้อหา

วิชาการ ในการจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก ประกอบดวย

3.1 นายธนารักษ อุตรินทร ครูชำนาญการพิเศษ หัวหนาคณะทำงาน

3.2 นายนพรัตน แจงหมื่นไวย ครูผูชวย คณะทำงาน

3.3 นายธนาคร ภูดินดาล ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.4 นายสมจิตร ทินหมวย นักวิชาการการเงินและบัญชี คณะทำงาน

3.5 นางสาวศศิธร บุญหลา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.6 นางไชยพร อะการะวัง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.7 นางสาวนิยะดา ไชยดา นักวิชาการคอมพิวเตอร คณะทำงาน

4. คณะทำงานฝายวิชาการ มีหนาที่ ดำเนินการจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก และออกขอสอบ หลักสูตรการ

ศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใหเปนไปตามมาตรฐานการเรียนรู ของสำนักงาน

กศน.จังหวัดมหาสารคาม ประกอบดวย

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.1 สารอาหารใหพลังงาน (พว0207) 1. นายสถิตย แทนทอง

2. นายสุรชาติ อาจจำนงค

3. นายสุทิน เสนาฤทธิ์

4. น.ส.นัชชา ศรีเกิน

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอโกสุมพิสัย

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.2 บัญชีชาวบาน (ทช0201) 1. นายศุภชัย วันนิตย

2. นายฐานะ เสงตี๋

3. นายประจวบ ลาสิทธิ์

4. นายทองใบ สาระผล

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอวาปปทุม

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 51

2.5 นายพิทักษ ศรีสุภักดิ์ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเชียงยืน

2.6 นายสายัณห ถมหนวด ผอ.ศูนย กศน.อำเภอชื่นชม

2.7 นายณรงคศักดิ์ กงชัยภูมิ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอยางสีสุราช

2.8 นายธีระพงษ สวาทพงษ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอแกดำ

2.9 นายศุภชัย วันนิตย ผอ.ศูนย กศน.อำเภอวาปปทุม

2.10 นางรัตนา ปะกิคะเน ผอ.ศูนย กศน.อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

2.11 นางดุษฎี ดวงจำปา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกุดรัง

2.12 นางบุญญรัตน พงษสมชาติ ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาเชือก

2.13 นางเทพี ภูคะมา ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาดูน

3. คณะทำงานฝายสงเสริมกิจกรรมวิชาการ มีหนาที่ อำนวยความสะดวก และใหคำแนะนำในดานเนื้อหา

วิชาการ ในการจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก ประกอบดวย

3.1 นายธนารักษ อุตรินทร ครูชำนาญการพิเศษ หัวหนาคณะทำงาน

3.2 นายนพรัตน แจงหมื่นไวย ครูผูชวย คณะทำงาน

3.3 นายธนาคร ภูดินดาล ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.4 นายสมจิตร ทินหมวย นักวิชาการการเงินและบัญชี คณะทำงาน

3.5 นางสาวศศิธร บุญหลา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.6 นางไชยพร อะการะวัง ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน คณะทำงาน

3.7 นางสาวนิยะดา ไชยดา นักวิชาการคอมพิวเตอร คณะทำงาน

4. คณะทำงานฝายวิชาการ มีหนาที่ ดำเนินการจัดทำแบบเรียนวิชาเลือก และออกขอสอบ หลักสูตรการ

ศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใหเปนไปตามมาตรฐานการเรียนรู ของสำนักงาน

กศน.จังหวัดมหาสารคาม ประกอบดวย

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.1 สารอาหารใหพลังงาน (พว0207) 1. นายสถิตย แทนทอง

2. นายสุรชาติ อาจจำนงค

3. นายสุทิน เสนาฤทธิ์

4. น.ส.นัชชา ศรีเกิน

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอโกสุมพิสัย

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.2 บัญชีชาวบาน (ทช0201) 1. นายศุภชัย วันนิตย

2. นายฐานะ เสงตี๋

3. นายประจวบ ลาสิทธิ์

4. นายทองใบ สาระผล

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอวาปปทุม

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.3 การทำนา (อช0201) 1. ผอ.ชาญยุทธ ไชยะดา

2. นางประทุม เหลาสะพาน

3. นางบุญโฮม เอกศิริ

4. นางจินตนา ทองดวง

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอบรบือ

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.4 การดูแลผูสูงอายุ (ทช0204) 1. นางจินตนา ทิศกระโทก

2. นายไพฑูรย วงศแสน

3. นายยุทธนา ดวงพรม

4. นางอัจฉรีย เทียงภักดิ์

ครูผูชวย

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.5 การขยายพันธุพืช (อช0210)

4.6 การพัฒนาแผนและโครงการอาชพี (อช1201)

4.7 พัฒนาอาชีพใหมีอยูมีกิน (อช1104)

4.8 ภูมิปญญาทองถิ่น (สค1204)

1. ผอ.ดุษฎี ดวงจำปา

2. นายวุฒิเศวษ สมอุดร

3. นางบุญเพ็ง ปนะถา

4. นางเยาวรัตน โคตรธาดา

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกุดรัง

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.9 ชวงและการแกสมการ อสมการใน

รูปคาสัมฤทธิ์ของจำนวนจริง (พค3202)

4.10 ลำดับและอนุกรม (พค3204)

4.11 คณิตศาสตรกับการเงิน 1 (พค3206)

4.12 คณิตศาสตรกับการเงิน 2 (พค3207)

4.13 การประยุกตใชอัตราสวน สัดสวน

และรอยละในชีวิตประจำวัน (พค2210)

1. ผอ.เทพี ภูคะมา

2. นายฉัตรชัย ภาแกดำ

3. นางอมรรัตน สุรินทร

4. นายสมเกียรติ ปะกิลาภัง

5. นางพรทิพย แสงแกวเขียว

6. นางสุภาพ วงศโพธิสาร

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาดูน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.14 พลังงานทดแทน (พว0203)

4.15 เคมีกับเศรษฐกิจพอเพียง (พว0216)

4.16 ความหลากหมายของสิ่งมีชีวิต (พว3217)

4.17 สมุนไพรใกลตัว (พว0221)

4.18 การเลือกและการใชสารเคมีและ

ผลิตภัณฑ (พว0210)

1. ผอ.อวิรุทธิ์ ภักดีสุวรรณ

2. นางศิวพร คำมุลคร

3. นายพิทักษ เที่ยงธรรม

4. นางกนกพร จำรัสศรี

5. นายคมคาย เขตชมภู

6. นายวรรณชัย คำเบาเมือง

7. นางสาวจุฬาลักษณ นนทะวงศ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเมืองฯ

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.19 ภาษาอังกฤษหรรษา (พต3203)

4.20 การศึกษาวรรณกรรมทองถิ่น (พต3205)

4.21 ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจสปา (พต3209)

4.22 ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาตอ (พต2205)

1. ผอ.บุญญรัตน พงษสมชาติ

2. น.ส.สยุมพร ไตรเสนีย

3. นางออนอนงค บุตรคำโชติ

4. นายสมหมาย มะไหย

5. นางดวงใจ ปดทุมแฝง

6. นางกรชวัล ประดิษฐ

7. นางปยะนาถ เวียงคำ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอนาเชือก

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูศูนยการเรียนชุมชน

ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูอาสาสมัคร กศน.

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 52

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.23 การเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ (พท2205) 4.24 วรรณกรรมทองถิ่น (พท2209) 4.25 มนุษยสัมพันธและศิลปการใชภาษา (พท3204) 4.26 การศึกษาวรรณกรรมทองถิ่น (พท3205) 4.27 การอานเพื่อการเรียนรูตลอดชีวิต (พท3206) 4.28 บันทึกไวไดประโยชน (พท3207)

1. ผอ.ณรงคศักดิ์ กงชัยภูมิ 2. นางสุรภา ยมศรีเคน 3. นายนพรัตน ศิริพันธะ 4. นางอรุณ สุเมลัย 5. นางสมศรี ศิริสม

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอยางสีสุราช ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.29 หลักการใชภาษาเพื่อความสำเร็จ (พท3210) 4.30 ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน (พท3211) 4.31 สื่อสารใหมีประสิทธิภาพ (พท3212) 4.32 การเขียนจดหมายสมัครงาน (พท3214) 4.33 การเขียนขาว (พท3215) 4.34 การเขียนโครงการ (พท3217)

1. ผอ.กริชพัฒน ภูวนา 2. น.ส.กมลลักษณ สะตานิคม 3. นายพีระพงษ โพธิ์ชารี 4. นางทองจันทร พาละเอ็น 5. นายสนั่น จันบัวคุณ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกันทรวิชัย ครูศูนยการเรียนชุมชน การเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.35 วิสาหกิจชุมชน (ทช0202) 4.36 เพศศึกษาสำหรับพอ-แมกับวัยรุน (ทช0206)

1. ผอ.สายัณห ถมหนวด 2. นายชีวิน พลตรี 3. นางธนวรรณ ชุมนุม 4. นายไกรวุฒิ คงแสนคำ 5. นายบัญชา คำสอนทา 6. นายไกรสร เกษราช

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอชื่นชม ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.37 การพัฒนาแผนและโครงงานอาชีพ (อช2201) 4.38 การขยายพันธุพืช (อช0210) 4.39 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ (อช0217) 4.40 ธุรกิจขายเครื่องดื่ม (อช0226)

1. ผอ.ธีระพงษ สวาทพงษ 2. น.ส.วิลาวรรณ แกวหานาม 3. นางกุหลาบ นาเจิมพลอย 4. นางอัญชรี ทบภักดิ์ 5. นายสมพงษ เจริญผิว 6. น.ส.วิจิตรา คลังพระศรี

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอแกดำ ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.41 ทรัพยากรของประเทศตางๆ ในเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต (สค201) 4.42 ภาวการณวางงาน (สค2203) 4.43 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริยไทย (สค2206) 4.44 ชุมชนแหงการเรียน (สค2210) 4.45 การละเมดิสทิธิด์านทรพัยากรธรรมชาติ และ สิ่งแสดลอม (สค3210) 4.46 การพัฒนาสังคมฐานความรู (สค3217)

1. ผอ.พิทักษ ศรีสุภักดิ์ 2. นางจรีพร ทัพเจริญ 3. นางทิพพารัตน ศิริเลิศ 4. นายทรงยุทธ สุรินทร 5. นางบานเย็น บัวชิด 6. นายอนุวัฒน ศรีเผือก 7. นางวิภาวี เวียงคำ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเชียงยืน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 53

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.23 การเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ (พท2205) 4.24 วรรณกรรมทองถิ่น (พท2209) 4.25 มนุษยสัมพันธและศิลปการใชภาษา (พท3204) 4.26 การศึกษาวรรณกรรมทองถิ่น (พท3205) 4.27 การอานเพื่อการเรียนรูตลอดชีวิต (พท3206) 4.28 บันทึกไวไดประโยชน (พท3207)

1. ผอ.ณรงคศักดิ์ กงชัยภูมิ 2. นางสุรภา ยมศรีเคน 3. นายนพรัตน ศิริพันธะ 4. นางอรุณ สุเมลัย 5. นางสมศรี ศิริสม

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอยางสีสุราช ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.29 หลักการใชภาษาเพื่อความสำเร็จ (พท3210) 4.30 ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน (พท3211) 4.31 สื่อสารใหมีประสิทธิภาพ (พท3212) 4.32 การเขียนจดหมายสมัครงาน (พท3214) 4.33 การเขียนขาว (พท3215) 4.34 การเขียนโครงการ (พท3217)

1. ผอ.กริชพัฒน ภูวนา 2. น.ส.กมลลักษณ สะตานิคม 3. นายพีระพงษ โพธิ์ชารี 4. นางทองจันทร พาละเอ็น 5. นายสนั่น จันบัวคุณ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอกันทรวิชัย ครูศูนยการเรียนชุมชน การเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.35 วิสาหกิจชุมชน (ทช0202) 4.36 เพศศึกษาสำหรับพอ-แมกับวัยรุน (ทช0206)

1. ผอ.สายัณห ถมหนวด 2. นายชีวิน พลตรี 3. นางธนวรรณ ชุมนุม 4. นายไกรวุฒิ คงแสนคำ 5. นายบัญชา คำสอนทา 6. นายไกรสร เกษราช

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอชื่นชม ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.37 การพัฒนาแผนและโครงงานอาชีพ (อช2201) 4.38 การขยายพันธุพืช (อช0210) 4.39 กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ (อช0217) 4.40 ธุรกิจขายเครื่องดื่ม (อช0226)

1. ผอ.ธีระพงษ สวาทพงษ 2. น.ส.วิลาวรรณ แกวหานาม 3. นางกุหลาบ นาเจิมพลอย 4. นางอัญชรี ทบภักดิ์ 5. นายสมพงษ เจริญผิว 6. น.ส.วิจิตรา คลังพระศรี

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอแกดำ ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

4.41 ทรัพยากรของประเทศตางๆ ในเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต (สค201) 4.42 ภาวการณวางงาน (สค2203) 4.43 พุทธศาสนากับพระมหากษัตริยไทย (สค2206) 4.44 ชุมชนแหงการเรียน (สค2210) 4.45 การละเมดิสทิธิด์านทรพัยากรธรรมชาติ และ สิ่งแสดลอม (สค3210) 4.46 การพัฒนาสังคมฐานความรู (สค3217)

1. ผอ.พิทักษ ศรีสุภักดิ์ 2. นางจรีพร ทัพเจริญ 3. นางทิพพารัตน ศิริเลิศ 4. นายทรงยุทธ สุรินทร 5. นางบานเย็น บัวชิด 6. นายอนุวัฒน ศรีเผือก 7. นางวิภาวี เวียงคำ

ผอ.ศูนย กศน.อำเภอเชียงยืน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน ครูศูนยการเรียนชุมชน

รายวิชา รายชื่อคณะทำงาน ตำแหนง

4.47 เทคนิคการแกปญหา (ทร0202)

4.48 พัฒนาอาชีพใหมีความเขมแข็ง

(อช2104)

4.49 การรูจักตนเอง (ทร0205)

4.50 สีและสีสังเคราะห (พว0211)

1. นายนพรัตน แจงหมื่นไวย

2. นางสาวศศิธร บุญหลา

3. นายธนาคร ภูดินดาล

4. นางจินตนา ทิศกระโทก

ครูผูชวย

ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูอาสาสมัคร กศน.

ครูผูชวย

ขอใหบุคคลที่ไดรับการแตงตั้ง ปฏิบัติงานดวยความวิริยะ อุตสาหะ เห็นแกประโยชนแกทางราชการ

และประโยชนในการจัดการศึกษาเปนสำคัญ

ทั้งนี้ สั่ง ณ วันที่ 12 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2553

(นางสาวนพกนก บุรุษนันทน)

ผูอำนวยการสำนักงานสงเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จังหวัดมหาสารคาม

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 54

ºÑ¹·Ö¡

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 55

ºÑ¹·Ö¡

คู่มือเรียนสาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาการทำนา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 56

ºÑ¹·Ö¡