25

ค าชี้แจง - WordPress.com€¦ · สมรรถนะ ( Commission Report on Educational Reform through Competency-Based Curriculum and Instruction) เล่มที่

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ค าช้ีแจง เอกสารฉบับนี้เป็นผลงานส่วนหนึ่งของ “โครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียน

    ระดับการศึกษา ตอนต้น” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยน าร่องที่ด าเนินการโดยคณะท างานและคณะวิจัยที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการอิสระเพ่ือการปฏิรูปการศึกษาเพ่ือใช้เป็นข้อมูลประกอบข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูปการศึกษาด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โครงการวิจัยดังกล่าวมีผลงานที่เป็นผลผลิตรวมทั้งสิ้น ๒ ชุดดังนี้ ๑. รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนประถมศึกษาตอนต้นส าหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ๒. เอกสารประกอบจ านวน ๑๒ เล่ม ได้แก่

    เล่มที ่๑ ประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เล่มที ่๒ กระบวนการก าหนดสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับ

    การศึกษาขั้นพ้ืนฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-ป.๓) และวรรณคดีเกี่ยวข้องกับสมรรถนะ เล่มที ่๓ การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสมรรถนะหลักผู้เรียน

    ระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน กับหลักการส าคัญ ๖ ประการ เล่มที ่๔ กรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานและระดับประถมศึกษาตอนต้น

    (ป.๑-ป.๓) เล่มที ่๕ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เล่มที ่๖ คู่มือ การน ากรอบสมรรถนะหลักผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.๑-ป.๓) ไปใช้

    ในการพัฒนาผู้เรียน เล่มที ่ ๗ ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนยุคใหม่ เล่มที ่ ๘ สื่อ สิ่งพิมพ์ ประชาสัมพันธ์ เล่มที ่ ๙ รายงานพันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอนฐาน

    สมรรถนะ ( Commission Report on Educational Reform through Competency-Based Curriculum and Instruction)

    เล่มที ่ ๑๐ พันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ : บทสรุปผู้บริหาร ( Commission Report on Educational Reform through Competency-Based Curriculum and Instruction : Executive Summary )

    เล่มที ่๑๑ เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา

    เลม่ที ่๑๒ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก

  • [เลอืกวนัท่ี]

    เอกสารฉบับนี้เป็นเอกสารประกอบเล่มที่ ๑๒ ของโครงการซึ่งเป็นส่วนที่น าเสนอสาระส าคัญ เกี่ยวกับเหตุผลในการปฏิรูปการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อครู ผู้บริหารและสถานศึกษาโดยตรง เพ่ือความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นและประสิทธิภาพในการน าไปใช้ ขอแนะน าให้ผู้ใช้ศึกษาเอกสารอื่น ๆ ของโครงการประกอบกันไปด้วย

  • [เลอืกวนัท่ี]

    สารบัญ

    หน้า การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก

    ๑. ท าไมจึงต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ ๑ ๒. การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สู่ฐานสมรรถนะ ๔ ๓. การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๕ ๓.๑ หลักการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

    ๓.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๓.๓ ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

    ๕ ๕ ๗

    ๔. การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ๔.๑ กรอบแนวคิด และความหมาย ๔.๒ กลยุทธ์ ( Strategies) ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

    ๙ ๙

    ๑๒ ๕. การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ๑๘ ๖. การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ ๑๙ ๗. ข้อเสนอแนะทั่วไปในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะให้มีคุณภาพและ

    ประสิทธิภาพ ๑๙

    เอกสารอ้างอิง

    ๒๑

  • [เลอืกวนัท่ี]

    การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก

    ๑.ท าไมจึงต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ สาเหตุหลักท่ีท าให้ต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ของครูก็เนื่องมาจาก

    หลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินการเรียนรู้ ยังขาดประสิทธิภาพ ไม่ทันโลกและไม่เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์

    ผลจากการจัดการศึกษาท่ีผ่านมาท้ังในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดประเมินผลเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วพบว่ายังด้อยคุณภาพท้ังด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังจะเห็นได้จากผลการทดสอบทั้งระดับชาติ ( O-NET ) ระดับนานาชาติ ( PISA ) เด็กไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ ามาก รวมทั้งมีคุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์หลายประการเช่น “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ” “ หัวโต ตัวลีบ ” “รู้แต่ไม่ท า” “นกแก้วนกขุนทอง” “เก่งแบบเป็ด” “เรียนเพ่ือสอบ” “เรียนแบบตัวใครตัวมัน” “ไม่มีความใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ” “ไม่สนใจเรียนรู้” เหล่านี้ เมื่อวิเคราะห์ เจาะลึกถึงสาเหตุของปัญหาก็พบว่ามีปัญหามาจากหลักสูตร การเรียนการสอน และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

    -1-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    -2-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    จากผลการวเิคราะห์ข้อมูลซึง่ไดจ้ากการศึกษาเอกสาร งานวิจยั และการรับฟังความคิดเหน็จาก

    ผู้เกี่ยวข้อง ใน ๔ ภูมิภาค จะเห็นได้ว่าหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลแบบเดิมยังไม่สามารถส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักสูตรยังขาดความยืดหยุ่น ไม่ทันความต้องการของโลกและสังคม การจัดการเรียนการสอนยังล้าสมัย ไม่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จึงถึงเวลาที่ต้องมีการปฏิรูปหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ให้มีความเหมาะสม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ทันโลก ทันสมัย สามารถด ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

    จากผลการวเิคราะห์ข้างต้นสรุปไดว้่า สาเหตสุ าคัญทีท่ าให้ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตกต่ า และยงัไม่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ก็เนื่องมาจากหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูยังขาดประสิทธิภาพ หลักสูตรขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและบริบทที่แตกต่างหลากหลาย ครูขาดทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกท่ีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ครูยังไม่สามารถจัดการเรียน การสอนให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในการน าความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ ดังนั้นเพ่ือช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดข้ึนได้อย่างแท้จริง จึงจ าเป็นต้องมีการปฏิรูปหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานต่าง ๆ ในชีวิตให้ประสบความส าเร็จ

    -3-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ๒.การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สู่ฐานสมรรถนะ

    การปฏิรูปหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและเอ้ือต่อการพัฒนาสมรรถนะที่จ าเป็นต่อการใช้ชีวิต การท างานการเรียนรู้และการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และความต้องการใหม่ๆของสังคมและโลกสามารถท าได้หลายวิธี การปรับหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพท่ีจะตอบโจทย์ปัญหาของครูและนักเรียนที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของโลกในศตวรรษท่ี ๒๑

    สมรรถนะเป็นความสามารถของบุคคลในการน าความรู ้ทักษะ เจตคต ิและคุณลักษณะตา่ง ๆ ท่ีตนมีอยู่หรือได้เรียนรู้มาแล้วไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นในการท างาน การเรียนรู้ การใช้ชีวิต การแก้ปัญหาได้ดีในระดับใดระดับหนึ่ง หลักสูตรฐานสมรรถนะจึงเป็นหลักสูตรที่มุ่งเป้าหมายการพัฒนาไปที่ทักษะการท าได้ (ในระดับประยุกต์ใช้ได้) มิใช่เพียง การรู้ หรือการมีความรู้เท่านั้น ดังนั้นหลักสูตรจึงจ าเป็นต้องระบุว่าผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยจะต้องท าอะไรได้ แล้วจึงก าหนดว่าผู้เรียนควรจะรู้อะไรเพื่อให้ท าสิ่งนั้นได้ ในเบื้องต้นผู้เรียนอาจไม่จ าเป็นต้องรู้อะไรจ านวนมากในสิ่งที่ไม่จ าเป็นต้องใช้ แต่จะต้องรู้ให้ถ่องแท้ในเรื่องที่จะต้องท า เพื่อให้สามารถท าจนใช้การให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในสถานการณ์ท่ีหลากหลายได้ แล้วจึงจะพัฒนาให้อยู่ในระดับท่ีสูงขึ้น ดีขึ้น ยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามล าดับ ซึ่งแต่ละขั้นของการพัฒนาก็ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะที่มากข้ึน และสูงขึ้นด้วย

    จะเหน็ไดว้่าหลักสูตรฐานสมรรถนะใช้ทักษะ(skill)เป็นตัวน าโดยมีความรู้และเจตคติ/คุณลักษณะเป็นทัพหนุนอยู่เบื้องหลังซึ่งจะแตกต่างจากปัจจุบันที่หลักสูตรและครูมักจะใช้ความรู้(knowledge)เป็นตัวน า และเนื่องจากความรู้มีจ านวนมากจึงท าให้ไม่สามารถพัฒนาทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะ ต่าง ๆ รวมทั้งสมรรถนะในการน าทั้งทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในสถานการณ์ที่หลากหลายได้

    สรุปก็คือหลักสูตรฐานสมรรถนะสามารถเอ้ือประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลายประการเช่น

    (๑) ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักท่ีส าคัญต่อการใช้ชีวิต การท างาน และการเรียนรู้ ซึ่งจ าเป็นต่อการด ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพในโลกแห่งศตวรรษท่ี ๒๑ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    (๒) ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ มุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการ มิใช่มุ่งเป้าไปที่การสอนเนื้อหาความรู้จ านวนมาก ซึ่งไม่จ าเป็นหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน

    (๓) ช่วยลดสาระการเรียนรู้ที่ไม่จ าเป็น อันส่งผลให้สถานศึกษามีพ้ืนที่ในการจัดการเรียนรู้อื่นที่เป็นความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียน วิถีชีวิต วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และบริบทได้มากขึ้น

    (๔) ช่วยลดภาระและเวลาในการสอบตามตัวชี้วัดจ านวนมาก การสอบวัดสมรรถนะหลักของผู้เรียน ช่วยให้เห็นความสามารถของผู้เรียน ช่วยให้เห็นความสามารถที่เป็นองค์รวมของผู้เรียน

    (๕) ช่วยเอ้ือให้สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบทของตนได้โดยยึดสมรรถนะกลางเป็นเกณฑ์เทียบเคียง เป็นการส่งเสริมให้เกิดรูปแบบหลักสูตรที่หลากหลาย

    -4-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ด้วยเหตุที่หลักสูตรต้องปรับเปลี่ยนจุดเน้นจากการรู้มาเป็นการท าหรือการปฏิบัติ (ในระดับการ

    ประยุกต์ใช้) การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะจึงต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย กระบวนการเรียนรู้จะต้องปรับจากการรับ(ความรู้)ซึ่งมีลักษณะเฉื่อย ไม่ตื่นตัว(passive) มาเป็นการรุก หรือการตื่นตัวที่จะเรียนรู้ (active) คือผู้เรียนต้องเป็นผู้ด าเนินการเรียนรู้ เป็นผู้จัดกระท าต่อสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เพ่ือให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง

    เอกสารฉบับนี้ มีจุดประสงค์หลักเพ่ือให้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะที่ต้องการด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกท่ีสามารถส่งผลให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะอย่างแท้จริง

    ผูส้นใจในเรือ่งหลักสูตรฐานสมรรถนะ สามารถศึกษาหารายละเอียดเพ่ิมเติมไดจ้ากแหล่งความรูอ่ื้นๆ

    ๓. การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๓.๑ หลักการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

    การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หรือการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะเป็นการจัดการเรียน การสอนที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเป็นเป้าหมาย คือ มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ เจตคต ิและคุณลักษณะต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม ในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา และการใช้ชีวิต เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เรียนรู้เพื่อให้สามารถใช้การได้จริงในสถานการณ์ ต่าง ๆ ในชีวิตจริง เป็นการเรียนเพ่ือใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การเรียนเพื่อรู้เท่านั้น

    การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเน้น“การปฏิบัติ”โดยมีชุดของเนื้อหา ความรู้ ทักษะ เจตคต ิ และคุณลักษณะที่จ าเป็นต่อการน าไปสู่สมรรถนะที่ต้องการ จึงท าให้สามารถลดเวลาเรียน เนื้อหาจ านวนมากที่ไม่จ าเป็น เอ้ือให้ผู้เรียนมีเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาที่จ าเป็นในระดับที่ลึกซึ้งขึ้น และมีโอกาสได้ฝึกฝนการใช้ความรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในระดับช านาญหรือเชี่ยวชาญ เป็นการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ ความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง จะได้รับการน าไปใช้เพ่ือความส าเร็จของการปฏิบัติงาน การเรียนการสอนเป็นการบูรณาการมากขึ้น

    ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะนั้น ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้ และมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ไปตามความถนัดและความสามารถของตน สามารถไปได้เร็ว – ช้าแตกต่างกันได้ โดยปัจจัยส าคัญท่ีช่วยให้เกิดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะประสบความส าเร็จ คือการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อการปรับปรุงพัฒนา ๓.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

    ในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพ่ือพัฒนาผู้เรียนในชั้นเรียนและในโรงเรียนท าได้หลายทาง ในที่นี้ขอเสนอแนะ ๖ แนวทางซึ่งครูสามารถเลือกใช้ตามความพร้อมและบริบทโรงเรียนและความถนัดของตน ดังนี้

    แนวทางท่ี ๑ : ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกสมรรถนะ ซึ่งครูเห็นว่าสอดคล้องกับบทเรียนนั้นเข้าไป และคิดกิจกรรมเสริมเพ่ือให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะนั้นเพ่ิมขึ้น เป็นการช่วยเพ่ิมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้มข้น มีความหมาย และเกิดสมรรถนะที่ต้องการ

    แนวทางท่ี ๒ : ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต่อยอด เพ่ิมเติมจากงานเดิมให้ต่อเนื่องไปถึงข้ันการฝึกฝนการน าความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้เรียนรู้แล้วไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ท่ีหลากหลาย เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในเรื่องท่ีเรียนรู้นั้น

    -5-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    แนวทางท่ี ๓ : ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีการน ารูปแบบ

    การเรียนรู้ต่าง ๆ มาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสมรรถนะท่ีสอดคล้องกัน และเพ่ิมเติมกิจกรรมที่สามารถช่วยพัฒนาสมรรถนะนั้นให้เพิ่มข้ึนอย่างชัดเจน อันจะส่งผลให้การเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนรู้ ที่ใช้มีประสิทธิภาพเพ่ิมข้ึนด้วย

    แนวทางท่ี ๔ : สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวช้ีวัด เป็นการจัดการเรียนรู้โดยน าสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาเป็นตัวตั้งและน าตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันมาออกแบบการสอนร่วมกัน เพ่ือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระและทักษะตามท่ีตัวชี้วัดก าหนดไป พร้อม ๆ กันกับการพัฒนาสมรรถนะหลักท่ีต้องการ

    แนวทางท่ี ๕ : บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ เป็นการจัดการเรียนรู้ โดยน าสมรรถนะหลักหลายสมรรถนะเป็นตัวตั้งและวิเคราะห์ตัวชี้วัดที่เก่ียวข้อง แล้วออกแบบการสอนที่มีลักษณะเป็นหน่วยบูรณาการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมโดยเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ

    แนวทางท่ี ๖ : สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจ าวัน เป็นการสอดแทรกสมรรถนะที่ส่งเสริมในการท ากิจวัตรประจ าวันต่าง ๆ ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากข้ึน เป็นการใช้กิจกรรมในชีวิต ประจ าวันที่ท าอยู่แล้ว เป็นสถานการณ์ในการฝึกฝนสมรรถนะ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่ต้องการแล้วยังช่วยท าให้การท ากิจวัตรประจ าวันของผู้เรียนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ทั้ง ๖ แนวทาง มีความสัมพันธ์กันดังแสดงในแผนภาพที่ ๑

    แผนภาพที่ ๑ แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ -6-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ๓.๓ ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ มีเปา้หมายให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานไดจ้รงิ โดยใช้ความรู ้ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้มา ดังนั้นครูจึงต้องมีความชัดเจนว่าต้องการพัฒนาสมรรถนะอะไรให้แก่ผู้เรียน คลี่สมรรถนะนั้น ๆให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและวิเคราะห์ว่าผู้เรียนจ าเป็นต้องรู้อะไร (ความรู้ ) ต้องมีเจตคติ และคุณลักษณะอย่างไร และต้องมีทักษะอะไรบ้างทีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามท่ีต้องการ แล้วจึงจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว ต่อไปจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้น าความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะไปใช้ในการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ ในการท างาน และในชีวิตประจ าวัน จนเกิดเป็นสมรรถนะในระดับท่ีต้องการ ซึ่งสามารถน าไปใช้ในการท างาน แก้ปัญหา และใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ าวัน

    ในการจัดกิจกรรมดงักล่าว ครูสามารถออกแบบกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมโดยใช้วิธีการ เทคนิค หรือรูปแบบที่หลากหลายได้ตามความเหมาะสม ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง กระบวนการเรียนการสอน และตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีให้เห็นเป็นรูปธรรมดังนี้

    ตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เรื่อง การปรุงอาหาร(ไข่เจียว) เวลาเรียน ๑๐ ชั่วโมง จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ

    ๑.นักเรียนสามารถน าความรู้มาท าไข่เจียวที่เป็นสูตรของตนเองได้อย่างเชี่ยวชาญ ๒.นักเรียนสามารถน าไข่เจียวมาประกอบอาหารจานเดียวที่มีสารอาหารครบทั้ง ๕ หมู่ส าหรับแขกที่มาเยี่ยมด้วยความใส่ใจ และม่ันใจ ๓.นักเรียนสามารถท าอาหารด้วยไข่เจียวจ าหน่ายเพื่อหาเงินช่วยน้องที่อยู่ในภาวะยากล าบากได้ด้วยความภูมิใจ

    สมรรถนะที่ต้องการพัฒนา ๑) รู้จักและเลือกใช้เครื่องมือ และแหล่งสื่อสารสนเทศเพื่อการสืบค้น แสวงหาความรู้ และเข้าถึง

    ข้อมูลท่ีต้องการ ๒) พูดสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจ าวัน บอกความรู้สึกนึกคิดของตนเล่าเรื่องและเหตุการณ์

    ต่าง ๆ ตั้งค าถามและตอบค าถามให้ผู้อ่ืนเข้าใจได้ มีมารยาทในการพูดโดยค านึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะ และผู้รับฟัง

    ๓) รู้จักแบ่งปัน และช่วยเหลือผู้อื่น ๔) ท างานด้วยความเอาใจใส่ มีความเพียร อดทน พยายามท างานให้ดีที่สุดตามความสามารถ ๕) คิดริเริมสิ่งใหม่ และอธิบายความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ

    ๖) สร้างผลงานที่แตกต่างจากผู้อ่ืนมีการทบทวนกระบวนการท างานและมีความภูมิใจในผลงาน -7-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ๗) ร่วมท างานกลุ่มกับเพื่อน ให้ความร่วมมือในการท างาน รับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับ

    มอบหมาย ใส่ใจในการท างาน พยายามท างานให้ดีที่สุด และช่วยเหลือเพ่ือน เพ่ือให้เกิดความส าเร็จในการท างานร่วมกัน

    สาระการเรียนรู้ ๑) ลักษณะ ประโยชน์ วัตถุดิบ วิธีการท าไข่เจียว ๒) การท าอาหารจานเดียว ๓) ขั้นตอนการท างาน ๔) การจัดการในการท างาน ๕) การท างานร่วมกับคนอ่ืน ๖) ความคิดสร้างสรรค์ในการท างาน กระบวนการเรียนการสอน ในส่วนกระบวนการเรียนการสอนที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะข้างต้นมี ๔ ขั้นตอน ลักษณะ

    ของกิจกรรมที่ออกแบบแต่ละข้ันตอน และกิจกรรมการเรียนรู้มีดังนี้ ขั้นตอนที ่ ๑ จัดการเรียนรู้ใหรู้้จริง ท าได้จริง : ขั้นตอนนี้เป็นขั้นท าให้ผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ

    อย่างแท้จริง ซึ่งเกิดได้จากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย ได้ปฏิบัติจริงด้วยความสนใจ จนมีความรู้ที่ชัดเจน และได้ฝึกฝนสิ่งนั้นจนช านาญ และ มีความรู้สึกชอบ ผูกพัน ภูมิใจ เห็นความหมายในสิ่งนั้น

    กิจกรรม คร/ูผู้ปกครองให้ข้อมูล หรือให้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวลักษณะ ประโยชน์ วัตถุดิบ วิธีการ ท าไข่เจียว โดยอาจให้ดูรูป และอธิบาย จนนักเรียน บอกได้ว่าการท าไข่เจียวมีข้ันตอนอะไรบ้าง

    ขั้นตอนที ่ ๒ การจัดสถานการณ์ให้ได้ใช้ สิ่งที่รู้ สิ่งที่ท าได้ อย่างตั้งใจ เห็นคุณค่า และประโยชน์ : ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบกิจกรรมที่จะท าให้ผู้เรียนน าทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปใช้ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์ท่ีไม่ซับซ้อนมาก แต่เป็นสถานการณ์ที่ผู้เรียนเห็นคุณค่า และประโยชน์ที่เกิดข้ึน

    กิจกรรม คร/ูผู้ปกครองให้ข้อมูลหรือให้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ประโยชน์ วัตถุดิบ วิธีการ ท าไข่เจียว และให้ นักเรียนฝึกท าไข่เจียว สูตรต่าง ๆ ชิม และปรับสูตรเองจนท าไข่เจียว เป็นสูตรของตนเองอย่างเชี่ยวชาญและน าเสนอสูตรไข่เจียวของตนเองให้เพ่ือนฟัง

    ขั้นตอนที่ ๓ จัดสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ซับซ้อนและน าไปใช้ได้ในชีวิต : ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบ สถานการณให้ผู้เรียนฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพ่ือให้น าความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะไปใช้ร่วมกันในสถานการณ์ที่ยาก ซับซ้อน และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน ซึ่งข้ันนี้อาจจะเป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนมีสมรรถนะในระดับใด และเติมเต็มพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในระดับที่สูงขึ้น

    กิจกรรม คร/ูผู้ปกครองให้นักเรียนน าไข่เจียวมาประกอบอาหารจานเดียว ที่มีสารอาหารครบ ๕ หมู่ เพื่อเป็นอาหารส าหรับแขกท่ีมาเยี่ยม โดยให้ลองท า ฝึกฝนจนมั่นใจ และให้นักเรียนได้มีโอกาส สอบถามแขก เกี่ยวกับรสชาติของอาหาร และ ค าแนะน าเพ่ือการปรับปรงในโอกาสต่อไป -8-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ขั้นตอนที ่ ๔ การจัดสถานการณ์/งานใหญ่ ซับซ้อน ที่เชื่อมโยงกับความรู้ สาระ เรื่องราว

    และสมรรถนะอ่ืน : ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบสถานการณให้ผู้เรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะโดยเชื่อมโยงกับสมรรถนะอ่ืน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก ซับซ้อน มากขึ้น ขั้นนี้ ผู้เรียนแต่ละคนอาจจะพบกับสถานการณ์ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความสนใจ ความถนัด และระดับสมรรถนะก็ได้

    กิจกรรม คร/ูผู้ปกครอง ให้รวมกลุ่มกับเพ่ือนช่วยกันท าอาหารเกี่ยวกับไข่เจียว จ าหน่ายเพ่ือหา เงินไปช่วยน้องท่ีอยู่ในภาวะยากล าบาก และน าเงินไปบริจาค พร้อมทั้งให้นักเรียนสะท้อนความคิด ความรู้สึกท่ีเกิดข้ึนทั้งในช่วงท างานร่วมกันเพื่อหาเงินไปบริจาค และช่วงที่น าเงินไปบริจาคช่วยเหลือน้อง

    กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น คร/ูผู้ปกครองสามารถน ามาใช้ในการพัฒนานักเรียนได้ ท าให้นักเรียนเรียนรู้

    อย่างตื่นตัว ทั้งทางกาย สติปัญญา สังคม จิตใจและอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และยังมีโอกาสน าความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งค่อยๆ ยากข้ึน เข้มข้นข้ึน และมีความหมายมากยิ่งขึ้นซึ่งท าให้เกิดสมรรถนะหลายๆ สมรรถนะมากขึ้น และ สมรรถนะต่าง ๆ ค่อย ๆ เกิดอย่างมั่นคงมากขึ้น ๔.การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

    ๔.๑ กรอบแนวคิด และความหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....ได้ระบุไว้ในมาตรา ๖๑ ว่า “การจัดกระบวนการเรียนรู้

    ตามหลักสูตรสถานศึกษา ต้องมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกให้ครูสามารถบูรณาการความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ มาใช้ในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่การด าเนินการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การปฏิบัติ การได้รับการปรึกษาชี้แนะ การน าความรู้ไปใช้ การถอดบทเรียน การสะท้อนคิด รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ การท างาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อ่ืน เกิดแรงบันดาลใจ เกิดทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นพบศักยภาพด้วยตนเอง สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน ทั้งนี้โดยค านึงถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัยตามมาตรา ๘ ให้น าความรู้เชิงรุกตามวรรคสองไปใช้กับการจัดกระบวนการเรียนรู้เพ่ือให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘(๗) ด้วย”

    ตามความในพระราชบัญญตักิารศึกษาแห่งชาต ิพ.ศ.....จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้เชิงรุก เป็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ผู้เรียนจะต้องใช้ทั้งการคิด การลงมือท าและการปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น ผู้เรียนไม่ได้อยู่ในฐานะผู้รับความรู้จากครูเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้มีบทบาท หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active participation) ซึ่งตรงกับความหมายที่ราชบัณฑิตยสถาน(๒๕๕๑) ได้ให้ไว้ว่า “ การเรียนรู้เชิงรุก คือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาและอย่างตื่นตัว”

    ทิศนา แขมมณี (๒๕๔๕) ได้ขยายความแนวคิดของค าว่า“active participation ” ไว้ว่า “ การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษคือ active participation ซึ่งหมายถึงการมีส่วนร่วมที่ -9-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ผู้เรียนรู้เป็นผู้จัดกระท าต่อสิ่งเร้า (สิ่งที่เรียนรู้) มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นผู้รับ ( passive participation) เท่านั้น การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ดีควรเป็นการตื่นตัว ที่เป็นไปอย่างรอบด้าน ทั้งด้านกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ เพราะพัฒนาการ ทั้ง ๔ ด้าน มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    ๑.การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางกาย(active participation : physical) คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกายท ากิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะของผู้เรียน เพ่ือช่วยให้ร่างกายและประสาทรับรู้ตื่นตัว พร้อมที่จะรับรู้และเรียนรู้ได้ดี

    ๒.การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสติปัญญา ( active participation : intellectual) คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางสติปัญญา หรือสมอง ได้คิด ได้กระท าโดยใช้ความคิด เป็นการใช้สติปัญญาของตนสร้างความหมาย ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้

    ๓.การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางอารมณ์ (active participation : emotional ) คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางอารมณ์ หรือความรู้สึก การเกิดความรู้สึกของบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายต่อตนเอง และต่อการปฏิบัติมากขึ้น

    ๔. การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสังคม (active participation : social) คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวทางสังคม หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อ่ืนและสิ่งแวดล้อมรอบตัว จะช่วยขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของบุคคลให้กว้างขวางข้ึน และการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการที่สนุก มีชีวิตชีวามากขึ้น หากผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น”

    หากผูส้อน/ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีบทบาทส าคัญในการเรียนรู้

    โดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทั้ง ๔ ด้าน คือ ได้เคลื่อนไหวปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ (กาย) ได้ใช้ความคิด(สติปัญญา) ได้มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น (สังคม) และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกอันจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายต่อตน (อารมณ)์ การมีส่วนร่วมในลักษณะดังกล่าวจะเป็นปัจจัยส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ดี

    ต่อมาใน ค.ศ. 2015 (พ.ศ. ๒๕๕๘) ซูซาน เอ็ดวาร์ดส์ (Susan Edwards ) ได้น าเสนอกรอบคิดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งนับว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี ที่ได้น าเสนอไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยได้น าเสนอผังกรอบคิดของ “Active Learning ” ไว้ ดังแสดงในแผนภาพ ต่อไปนี้ -10-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    จากแผนภาพ Susan Edwards ( 2015 ) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า “ Active learning requires students to intellectually engage with the content using critical thinking or higher levels of thinking … students go beyond memorization or basic comprehension and understanding” “ Active learning also requires physical movement in the classroom. Students need opportunities to move during lessons … wide range of activities to get students involved physically in active learning is important. ” “ Small group and whole class discussions are also methods for getting students socially active in their learning ”

    จะเหน็ไดว้่า Susan Edwards ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยให้ความส าคัญกับการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางด้านสติปัญญา(การคิด)ด้านสังคม(การปฏิสัมพันธ์/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ) และด้านร่างกาย(การเคลื่อนไหว) เช่นเดียวกับแนวคิดของทิศนา แขมมณี โดยแนวคิดของทิศนา แขมมณี มีเพิ่มเติมในส่วนของการมีส่วนร่วมทางอารมณ์/จิตใจ ( emotional participation) ซึ่งจะส่งผลให้การเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียนมากข้ึน เนื่องจากการเรียนรู้ใดกระทบต่อความรู้สึกของผู้เรียนโดยตรง การเรียนรู้นั้นย่อมมีความหมายต่อผู้เรียนมากข้ึน สรุปก็คือการเรียนรู้เชิงรุกเป็นแนวคิดหรือมโนทัศน์ส าคัญเก่ียวกับลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นลักษณะการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิใช่เป็นเพียงผู้รับความรู้ ข้อมูลที่ผู้อื่นถ่ายทอดมาให้เท่านั้น แต่ผู้เรียนจะต้องเป็นฝ่ายรุกคือมีความตื่นตัวที่จะต้องศึกษา จัดกระท า และสร้างความเข้าใจในข้อมูล ความรู้นั้นๆ ให้แก่ตนเอง เพื่อท าให้สิ่งที่เรียนรู้มีความหมายต่อตน อันจะส่งผลให้สามารถน าความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งในกระบวนการสร้างความเข้าใจให้แก่ตนเองนี้ ผู้เรียนต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างตื่นตัว ( active learning )ทั้งทางกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ -11-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ๔.๒ กลยุทธ์ ( Strategies) ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สืบเนือ่งจากแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( active learning ) ที่กล่าวข้างต้น ซึ่งสรุปได้ว่าเป็น

    กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาท หรือมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ( active) ในการด าเนินกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง โดยความตื่นตัวนี้ควรเป็นไปทั้งทางร่างกาย ( physically active) ทางการคิดและสติปัญญา (intellectually active) ทางอารมณ์ และจิตใจ ( emotionally active) และทางสังคม ( socially active) การเรียนรู้ที่มีความตื่นตัว ทั้ง ๔ ด้านดังกล่าว จะส่งผลให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดี ซึ่งจะต่างจากการเรียนรู้เชิงรับ (pasive learning ) ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้รับที่ไม่มีบทบาท หรือมีบทบาทน้อยในกระบวนการสร้างความเข้าใจในเรื่องที่เรียนรู้ ท าให้ความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ให้เข้าใจมีน้อย จึงส่งผลให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นกลยุทธ์ ( Strategies) ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกก็คือ การจัดกิจกรรม และประสบการณ์ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของตนอย่างตื่นตัว ทั้งทางกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ กล่าวคือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียน

    ๑) ได้เคลื่อนไหวทางร่างกาย (physically active) อย่างเหมาะสมตามวัยและความสนใจของตน เพ่ือช่วยให้ประสาทการรับรู้ มีความตื่นตัวสามารถรับข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว ดังนั้นในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และควรให้มีลักษณะหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนอิริยาบถ และสามารถคงความสนใจของผู้เรียนไว้ได้ ซึ่งเรื่องนี้ จะมีความส าคัญเป็นพิเศษ ส าหรับผู้เรียนในระดับปฐมวัย และประถมศึกษาตอนต้น

    ๒) ได้เคลื่อนไหวทางสมองหรือสติปัญญา (intellectually active) ซึ่งก็คือการคิดนั่นเอง ผู้เรียน จะตื่นตัวถ้าได้ใช้ความคิด การคิดเป็นเครื่องมือในการท าความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ การคิดในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ ประเด็นท้าทาย ประเด็นที่มีความหมายต่อตนเอง จะท าให้ผู้เรียนมีความผูกพันในการคิด และการกระท า ( engagement ) ในเรื่องที่เรียน ส่งผลให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ๓) ได้เคลื่อนไหวทางทางสังคม (socially active) คือได้มีโอกาสน าเสนอความคิดของตนต่อผู้อื่น ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้อื่น ได้รับข้อมูลย้อนกลับ ได้ตรวจสอบความคิดของตน ได้ขยายความคิดของตนเอง ได้เรียนรู้จากผู้อ่ืน กระบวนการต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเรียนรู้สามารถรับรู้และเกิดการเรียนรู้ได้ดี

    ๔) ได้เคลื่อนไหวทางทางอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจ(emotionally active) ซึ่งหมายถึง กิจกรรม และประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนนั้น ควรกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก ของผู้เรียน ในทางท่ีเอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องท่ีเรียน กิจกรรมใดกระทบต่อความรู้สึกของผู้เรียน กิจกรรมนั้นมักมีความหมายต่อผู้เรียน และจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนด้วย ศาสตร์ทางการสอนได้ให้ทั้งทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้หลากหลาย รวมทั้งยังได้มีการคิดค้น รูปแบบการเรียนการสอน ( instructional models ) วิธีสอน( teaching methods) และเทคนิคการสอน(teaching techniques) ไว้จ านวนมาก นับเป็นคลังความรู้ที่สามารถน ามาใช้เป็นกลยุทธ์ในการสอนได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ครูต้องศึกษา เลือกสรรให้เหมาะสม ตรงตามความต้องการเฉพาะในการสอนแต่ละครั้ง -12-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    เพ่ือให้เปน็แนวทางกว้างๆส าหรบัครูในการพิจารณาเลือกกลยุทธ์ทีช่่วยกระตุ้นและส่งเสรมิองค์ประกอบทั้ง ๔ ด้านของการเรียนรู้เชิงรุก จึงได้ประมวลข้อมูลมาน าเสนอในตารางต่อไปนี้ ตาราง ๑ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสติปัญญา

    การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้เชิงรุกด้านสติ ปัญญา(Intellectually active learning ) หมายถึงการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทางด้านสติปัญญาหรือการคิด

    การใช้ค าถามกระตุ้นการคิด (questioning ) การให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสืบสอบ(inquiry) ในการหาค าตอบในเรื่องท่ีสงสัย/สนใจ การวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ค าตอบหรือข้อสรุปในเรื่องต่าง ๆ และน าเสนอต่อกลุ่ม การสังเคราะห์ข้อมูล และน าเสนอต่อกลุ่มหรือ

    สาธารณชนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยี การให้ผู้เรียนท าโครงการ/โครงงานที่สนใจโดยครูเป็นที่ ปรึกษา การแก้โจทย์ปัญหาทั้งโจทย์ที่ครูเตรียมมา โจทย์ที่นักเรียน ตั้งขึ้น โจทย์ที่มาจากชีวิตประจ าวัน รวมทั้งโจทย์ที่มาจากสังคม และโลก การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตนเองใน สถานการณ์ต่างๆ การใช้เทคนิคการคิดแบบต่าง ๆ เช่นเทคนิคการคิด นอกกรอบของกอร์ดอน (Gordon) เทคนิคหมวก ๖ ใบ ของ เดอโบโน(De Bono) เทคนิคการระดมสมองแบบต่าง ๆ เทคนิคการใช้ผังกราฟิก เช่น ผังมโนทัศน์ (concept map) ผังความคิด(mind map) ผังวัฏจักร (cyclical map) ผังเว็นน์ ไดอะแกรม (Venn diagram) ผังวีไดอะแกรม (Vee diagram) การใช้วิธีสอนแบบต่าง ๆ เช่น วิธีสอนแบบอุปนัย (inductive method ) วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง ( case method ) วิธีสอนแบบทัศนศึกษา ( fieldtrip method )

    วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จ าลอง (simulation method ) ฯลฯ

    -13-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ตาราง ๑ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสติปัญญา(ต่อ) การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

    การเรียนรู้เชิงรุกด้านสติปัญญา (Intellectually active learning ) หมายถึงการเรียนรู้เชิงรุกอย่างตื่นตัวทางด้านสติปัญญาหรือการคิด

    การใช้รูปแบบการเรียนการสอน เช่น -รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์(Concept

    Attainment Model ) พัฒนาโดย จอยส์ และ เวลล์ ( Joyce & Weil) (๑๙๙๖) โดยใช้แนวคิดของบรูเนอร์ กูดนาวและออสติน ( Bruner , Goodnow & Austin)

    -รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ( Synectics Model ) พัฒนาโดย จอยส์ และ เวลล์ (Joyce & Weil) (๑๙๙๖) โดยใช้แนวคิดของ กอร์ดอน (Gordon)

    -รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย (Inductive Thinking Model ) พัฒนาโดย จอยส์ และ เวลล์ (Joyce & Weil) (๑๙๙๖) โดยใช้แนวคิดของทาบา ( Taba)

    -รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต ( Future Problem Solving Model ) พัฒนาโดย ทอร์แรนซ์ ( Torrance) (๑๙๖๒)

    -รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก(Graphic Organizer Model ) พัฒนาโดย จอยส์ และ เวลล์ (Joyce & Weil) (๑๙๙๒) โดยใช ้ แนวคิดของโจนส์ และคณะ ( Jones and others )

    ตาราง ๒ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสังคม

    การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้เชิงรุกด้านสังคม(socially active learning ) หมายถึงการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทางสังคม

    จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ได้น าเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกัน ได้รับข้อมูลย้อนกลับและพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น

    จัดการอภิปรายกลุ่มย่อยในประเด็นท่ีเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และน าผลการอภิปรายไปใช้ประโยชน์

    ใช้เทคนิคการจัดกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperation Learning Techniques) เช่น เทคนิค Think-Pair-Share เทคนิค Jigsaw เทคนิค Fishbowl เทคนิค Circular Response เทคนิค Brainstorm

    ใช้วิธีสอนแบบต่าง ๆ เช่น วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย วิธีสอนแบบโต้วาที วิธีสอนแบบสถานการณ์จ าลอง

    -14-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ตาราง ๒ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสังคม(ต่อ) การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

    การเรียนรู้เชิงรุกด้านสังคม (socially active learning ) หมายถึงการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทางสังคม

    วิธีสอนแบบกรณีตัวอย่าง วิธีสอนแบบเกม วิธีสอน แบบ บทบาทสมมุติ ให้ผู้เรียนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นผู้น ากลุ่ม ได้เรียนรู้ บทบาทหน้าที่ กระบวนการท างานเป็นทีมและทักษะการท างานร่วมกัน ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning Model ) พัฒนาโดย จอห์นสัน และ จอห์นสัน ( Johnson& Johnson ) (๑๙๙๔) รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Model ) พัฒนาโดย จอยส์ และ เวลล์ ( Joyce & Weil) (๑๙๙๖) โดยใช้แนวคิดของเธเลน ( Thelen ) รูปแบบการเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning Model)พัฒนาโดย ไมเคิลเสน (Michaelsen , ๒๐๑๒ )

    ตาราง ๓ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านอารมณ์

    การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ๓.การเรียนรู้เชิงรุกด้านอารมณ(์emotionally active learning) หมายถึงการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทางอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจ

    เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกที่แท้จริงโดยการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และปลอดภัย

    แสดงความไว้วางใจในตัวผู้เรียน และยอมรับในตัวผู้เรียน รับฟังผู้เรียนอย่างลึกซึ้ง ( deep listening) ฟังให้เข้าใจ

    ความคิด ความรู้สึก ความต้องการของผู้เรียนและยอมรับความรู้สึกของผู้เรียน

    พัฒนาความตระหนักรู้ในอารมณ์ และความรู้สึกของตนเอง และผู้อ่ืน รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อกัน

    ไม่ตัดสินผู้เรียน ส่งเสริมผู้เรียนให้สะท้อนคิดเพ่ือสร้างความเข้าใจในตนเองและผู้อื่น

    ส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์ของตน และสร้างความเข้าใจต่อยอดเพ่ือการปฏิบัติตนที่ดีเหมาะสมกว่าเดิม

    -15-

  • [เลอืกวนัท่ี]

    ตาราง ๓ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านอารมณ์(ต่อ) การเรียนรู้เชิงรุก กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก

    ๓.การเรียนรู้เชิงรุกด้านอารมณ(์emotionally active learning) หมายถึงการเรียนรู้อย่างตื่นตัวทางอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจ

    เลือกใช้วิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเปิดเผย สะท้อนหรือแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของตน เช่นวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จ าลอง วิธีสอนโดยใช้การแสดง วิธีสอนโดยใช้เกม

    เลือกใช้รูปแบบการสอน หรือกระบวนการสอนที่เอ้ือให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์ ความรู้สึกไปในทางท่ีพึงประสงค์ อันจะท าให้ได้เกิดความเข้าใจ ความคิดและพฤติกรรมที่ต้องการ เช่นรูปแบบการเรียนการสอนด้านจิตพิสัย (Instructional Model based on Affective Domain ) ของแครทโวลห์ (Krathwohl , ๑๙๕๖) กระบวนการกระจ่างค่านิยม (Value Clarification Model ) ของราทส์ (Raths , ๑๙๖๖) กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์(๒๕๓๓)กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธร�