20
วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง : ปีท่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554 หน้า 89-107 Journal of Mekong Societies : Vol.7 No.2 May-August 2011, pp. 89-107 พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน Phra Thatpanom: Development of Historical, Social, Cultural, Urban and Community 1 อาจารย์ประจ�าสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม บทคัดย่อ องค์พระธาตุพนม มีความส�าคัญทางพุทธศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ในแถบอนุภูมิภาคลุ ่มน�้าโขง ทั้งประชาชนชาวไทยและชาวลาว มาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยมี ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ตั้งแต่ยุคต�านานพระอุรังคธาตุจนถึงยุคประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งแสดง ให้เห็นถึงความส�าคัญขององค์พระธาตุพนมในระดับภูมิภาค และสภาพทางสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนธาตุพนม ได้เริ่มขึ้นจากการจัดตั้งชุมชน โดยพญาสุมิตธรรมวงศาได้สละข้าทาสถวายเป็น ข้าโอกาส แด่องค์พระธาตุพนม เพื่อคอยดูแล รักษาองค์พระธาตุ นอกจากนี้ยังได้สละทรัพย์สินและเขตแดน ซึ่งถือเป็นเขตแดนองค์พระธาตุ ที่เป็นพื้นที่บริเวณชุมชนโดยรอบองค์พระธาตุ หลังจากนั้นชุมชนธาตุพนมก็มีการเคลื่อนย้ายผู ้คน หลายครั้ง จากเหตุความไม่สงบในภูมิภาค ท�าให้มีกลุ ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู ่ในชุมชนพระธาตุพนม หลายชาติพันธุ์เช่น ไทย-ลาว ผู้ไทย ญวนและจีน จึงท�าให้เมืองธาตุพนมมีความหลากหลาย ทางชนชาติและวัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการของเมืองจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงตามล�าดับ ซึ่งมีร่องรอย ที่หลงเหลือทางสถาปัตยกรรมอยู ่ในเมืองเช่น สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูโขง ตลาดลาว และชุมชนริมถนนพนมพนารักษ์ ซึ่งองค์ประกอบเมืองเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ เพื่อบอกเล่าความเป็นมาของเมือง ซึ่งบทสรุปจากการศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ขององค์พระธาตุ วัด บ้านเมืองและผู้คนแล้ว ท�าให้เกิดความเข้าใจกับบริบทและความส�าคัญของพื้นที่ เพื่อน�า ไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคต ให้เกิดความเหมาะสมกับเมืองที่มีความส�าคัญทาง ประวัติศาสตร์อันยาวนาน อนุวัฒน์ การถัก / Anuwat Karnthak 1

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง : ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554 หน้า 89-107

Journal of Mekong Societies : Vol.7 No.2 May-August 2011, pp. 89-107

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

Phra Thatpanom: Development of Historical,

Social, Cultural, Urban and Community

1 อาจารย์ประจ�าสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ องค์พระธาตพุนมมคีวามส�าคญัทางพทุธศาสนาและเป็นศนูย์รวมจติใจของประชาชนในแถบอนภุมูภิาคลุม่น�า้โขงทัง้ประชาชนชาวไทยและชาวลาวมาเป็นระยะเวลายาวนานด้วยมีประวตัศิาสตร์ทีย่าวนานตัง้แต่ยคุต�านานพระอรุงัคธาตจุนถงึยคุประวตัศิาสตร์ท้องถิน่ซึง่แสดงให้เห็นถึงความส�าคัญขององค์พระธาตุพนมในระดับภูมิภาค และสภาพทางสังคม วัฒนธรรมการเมืองการปกครองในแต่ละยุคสมัย พฒันาการด้านสงัคมและวฒันธรรมของชมุชนธาตพุนมได้เริม่ขึน้จากการจดัตัง้ชมุชนโดยพญาสุมิตธรรมวงศาได้สละข้าทาสถวายเป็นข้าโอกาสแด่องค์พระธาตุพนมเพื่อคอยดูแลรักษาองค์พระธาตุ นอกจากนี้ยังได้สละทรัพย์สินและเขตแดนซึ่งถือเป็นเขตแดนองค์พระธาตุ ทีเ่ป็นพืน้ทีบ่รเิวณชมุชนโดยรอบองค์พระธาตุหลงัจากนัน้ชมุชนธาตพุนมกม็กีารเคลือ่นย้ายผูค้นหลายครัง้จากเหตคุวามไม่สงบในภมูภิาคท�าให้มกีลุม่คนทีต่ัง้ถิน่ฐานอยูใ่นชมุชนพระธาตพุนมหลายชาติพันธุ์เช่น ไทย-ลาว ผู้ไทยญวนและจีน จึงท�าให้เมืองธาตุพนมมีความหลากหลาย ทางชนชาติและวัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการของเมืองจากอดีตถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงตามล�าดับ ซึ่งมีร่องรอยที่หลงเหลือทางสถาปัตยกรรมอยู่ในเมืองเช่น สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูโขง ตลาดลาว และชมุชนรมิถนนพนมพนารกัษ์ซึง่องค์ประกอบเมอืงเหล่านีเ้ป็นสิง่ทีม่คีณุค่าควรแก่การอนรุกัษ์เพือ่บอกเล่าความเป็นมาของเมอืงซึง่บทสรปุจากการศกึษาพฒันาการด้านต่างๆขององค์พระธาตุ วัด บ้านเมืองและผู้คนแล้ว ท�าให้เกิดความเข้าใจกับบริบทและความส�าคัญของพื้นที่ เพื่อน�าไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคต ให้เกิดความเหมาะสมกับเมืองที่มีความส�าคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน

อนุวัฒน์ การถัก / Anuwat Karnthak1

Page 2: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

90 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

Abstract Phra Thatpanom pagoda is an important Buddhist center in the heart of the MekongSub-region,respectedbybothThaisandLaosforalongtime.ForlonghistorysincethemythoftheUrangka-Thattothelocalhistoryperiod,thisdemonstratestheimportanceofthepagodaintheregionasthesocialandpoliticalcultureofeachperiod. ThedevelopmentofthesocialandculturalofThatpanom’scommunitybeganwiththeestablishmentofthecommunity.byPrayaSumitDhamawongsadedicatedhisslavetoPhraThatpanomasthemindertotakecareofthispagoda,Inaddition,theirpropertyand territorywhich is theboundaryof theareasurrounding thecommunity,Fromthattimethecommunitywasthecommunityofmanypeoplethatmovedoutofthis communitycauseofunrestintheregion.Thatreasoncausedthisareaistheplaceofmanyethnicgroupswhosettledinthiscommunity,suchasThai-Laos,Phuthai,VietnameseandChinese,thecommunityhasadiverseethnicandculturalcontinuitytothepresent.Development of the city from the past to the present, respectively changes, suchas the architectural traces left in the city which is the temple arch (Pratu Khong), LaosmarketandthecommunityalongPanomPanarakRoad.Thecompositionofthesecitiesisthethingthatshouldbevaluableforconservationtotellthehistoryofthecity.The conclusionsofthestudyofthedevelopmentofthecityandthepeopleofPhraThatpanomtounderstandthecontextandsignificanceofthearea,leadtoestablishthedevelopmentplanofcityinthefuturethatappropriateforthemajorhistoricalsignificancecity.

บทน�ำ ชุมชนในเขตเทศบาลต�าบลธาตุพนมเป็นชุมชนเก่าที่มีประวัติการตั้ง

ถิน่ฐานคูม่ากบัองค์พระธาตพุนมโดยในต�านาน(Charoensupakul,1989)ได้กล่าว

ไว้ว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมเคยเป็นที่ตั้งเมืองศรีโคตรบูร ซึ่งเป็น

เมืองหลวงอาณาจักรศรีโคตรบูร และองค์พระธาตุพนมได้ถูกสร้างในช่วงระหว่าง

พุทธศตวรรษที่ 8 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วน

หน้าอก)ของพระพุทธเจ้าโดยเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรและเจ้าเมืองต่างๆรวม5

เมอืงร่วมกนัก่อสร้างขึน้และหลงัจากทีเ่มอืงศรโีคตรบรูได้ย้ายไปตัง้ทีอ่ืน่ชมุชนรอบ

องค์พระธาตุพนมก็ยังเป็นชุมชนใหญ่อยู่ดูแลองค์พระธาตุพนม ต่อมาในสมัย

Page 3: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

91

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

รัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ ชุมชนธาตุพนมได้จัดเป็น“บริเวณธาตุพนม”ขึ้นกับมลฑลลาวพวนและได้ตั้งเป็นอ�าเภอธาตุพนมในปีพ.ศ.2450เป็นต้นมา การบูรณะองค์พระธาตุพนมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การเริ่มสถาปนาองค์พระธาตุตามต�านานพระอุรังคธาตุ จนมาถึงยุคประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เริ่มม ีการบันทึกเมื่อปี พ.ศ. 500 ที่มีการบูรณะโดยคนท้องถิ่นที่อยู่เป็นชุมชนที่ตั้งขึ้น เพื่อดูแลองค์พระธาตุตั้งแต่อดีต และในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยกรมศิลปากรโดยการต่อยอดครอบยอดเดิมขึ้นไปอีก10เมตรเพื่อให้มองเห็นได้ชัดจากฝั่งลาว และในปี พ.ศ. 2497 ได้ยกยอดฉัตรทองสูง 5.50 เมตรให้แก่ องค์พระธาตุ ซึ่งเหตุผลในการบูรณะในครั้งนี้ มีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องด้านการเมือง การปกครองเนือ่งจากในการก่อสร้างต่อเตมิองค์พระธาตพุนมให้มคีวามสงูเพิม่ขึน้ในแต่ละครั้ง มีสาเหตุมาจากความต้องการให้เป็นจุดหมายตา (Land Mark) ของบริเวณซึ่งหวังผลทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคจนปีพ.ศ.2518องค์พระธาตพุนมได้ล้มลงและได้ก่อสร้างขึน้ใหม่จนแล้วเสรจ็ในปีพ.ศ.2522โดยคงรูปแบบเดิมจนถึงปัจจุบัน ด้านมิติการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่โดยรอบองค์พระธาตุนั้นมีบันทึกตั้งแต่ต�านานพระอุรังคธาตุเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนพื้นที่โดย รอบนั้นมีความสัมพันธ์กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเมืองตามยุคสมัย เช่นการพัฒนาพื้นที่ในอดีตบริเวณด้านหน้าองค์พระธาตุที่เชื่อมต่อกับแม่น�้าโขง เพื่อรองรับย่านการค้าชายแดนบริเวณตลาดเก่า(ตลาดลาว)ที่ติดกับแม่น�้าโขง พัฒนาการตั้งแต ่อดีตจนถึงป ัจจุบันในมิติต ่างๆ ที่ เกี่ยวเนื่องกับ องค์พระธาตุและพื้นที่โดยรอบนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์ที่สามารถอธิบายในเชิงพื้นที่ได้ ซึ่งบทความนี้จะใช้การอธิบายเชิงวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างรอบด้าน และน�าไปสู่การพัฒนาในมิติต่างๆ ที่เหมาะสมกับ องค์พระธาตุและพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามพลวัตร ของกระบวนการเป็นเมอืงทีเ่ข้มข้นขึน้เรือ่ยๆแต่สิง่ทีย่งัคงอยูอ่ย่างมัน่คงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง คือ ความศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนมของประชาชนในภูมิภาค

ลุ่มน�้าโขงเช่นเดิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Page 4: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

92 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ที่มา:ภาพจากหนังสือประวัติย่อองค์พระธาตุพนม.พระเทพรัตนโมลี:2548

พัฒนำกำรทำงประวัติศำสตร์

ประวัติองค์พระธาตุพนมจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นต�านาน

และส่วนที่สองจะเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในส่วนที่เป็นต�านานนั้นเนื้อหา

จะกล่าวถึงการสถาปนาพุทธศาสนาในภูมิภาคที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์

พระพุทธศาสนาในลักษณะสากล การก�าเนิดชุมชนและผู้น�าชุมชนที่จะเป็นผู้ค�้าชู

พุทธศาสนาในลักษณะของการสร้างเงื่อนไขให้มีการสถาปนาองค์พระธาตุพนม

1. ส่วนที่1ต�ำนำนพระธำตุพนมตำมอุรังคนิทำน

ตามต�านานพระธาตุพนม(Charoensupakul,1989)ในช่วงแรกจะเริ่มมา

จากสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จมายังภูมิภาคลุ่มน�้าโขง

และได้ท�านายถงึการเกดิเมอืงซึง่จะเป็นชมุชนทีค่�้าชพูระพทุธศาสนาและได้บอกถงึ

การกลับชาติมาเกิดของพญาศรีโคตรบูร ซึ่งเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธเจ้าไปรับบาตร

ในเมอืงของตนเสรจ็แล้วถอืบาตรมาส่งพระพทุธเจ้าถงึบรเิวณภกู�าพร้าด้วยผลบญุ

อนันีเ้มือ่พญาศรโีคตรบรูกลบัชาตมิาเกดิเป็นพญาสมติธรรมวงศาเจ้าเมอืงมรกุขนคร

ก็มีโอกาสเป็นผู้สถาปนาพระอุรังคธาตุณ.ภูก�าพร้าในเวลาต่อมา

พระธาตพุนมองค์เดมิ ก่อนการ

บูรณะโดยกรมศิลปากร

พระธาตพุนม หลงัการบรูณะโดย

กรมศิลปากร พ.ศ. 2483-2484

พระธาตพุนม องค์ปัจจบุนัหลงั

การบูรณะ พ.ศ. 2518-2522

Page 5: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

93

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วในปีพ.ศ.8พระมหากัสสปะพร้อมด้วย

พระอรหนัต์500องค์ได้อญัเชญิพระอรุงัคธาตมุาจากอนิเดยีมายงับรเิวณภกู�าพร้า

เมื่อมาถึงได้มีท้าวพญาจาก 5 แคว้นในภูมิภาคนั้น มาร่วมสร้างอูปมุงประดิษฐาน

พระอุรังคธาตุโดยก่อก�าแพงองค์ละด้านในทิศที่แคว้นของตนอยู่ดังนี้

- พญาจุลณีพรมทัติ ผู้ครองแคว้นหลวงพระบางสิบสองจุไทย ก่อทาง

ทิศตะวันออก

- พญาค�าแดงผู้ครองแคว้นหนองหานน้อยก่อด้านทิศตะวันตก

- พระยานันทเสนผู้ครองแคว้นศรีโคตรบูรก่อด้านทิศเหนือ

- พญาอินทปุฐนครผู้ครองแคว้นเขมรโบราณก่อทางด้านทิศใต้

การก่อสร้างได้ใช้อิฐดิบก่อเป็นผนังทั้ง4ด้านกว้างด้านละ2วาสูง1วา

และก่อยอดรปูฝาชสีงู1วาส่วนผนงัของอปูมงุนัน้เปิดประตไูว้ทกุด้านแล้วจงึน�าเอา

ไม้ฟืนคือไม้คันธรสชมพูนิโครธและไม้รังมาใส่ทุกประตูแล้วเผาเป็นเวลา3วัน

3 คืนจึงแล้วเสร็จ จากนั้นพญาทั้ง5ก็บริจาคของมีค่าจ�านวนมากบรรจุไว้ในอูปมุง

เป็นพุทธบูชา และได้น�าหลักหินที่น�ามาจากอินเดียและลังกา มาปักไว้ที่มุมทั้งสี่

ทั้งยังสร้างรูปอัจมูขี(สัตว์ประหลาด)มาปักไว้ที่มุมทิศตะวันออกด้านเหนือ-ใต้ด้วย

และได้สร้างรูปม้าไว้โดยหันหน้าไปทางทิศเหนือเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าพระธาตุ

เสด็จมาทางนั้นและพระพุทธศาสนาจะเจริญจากเหนือลงใต้

ความในต�านานอุรังคธาตุได้เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.500ในลักษณะ

ของการสร้างประวตัศิาสตร์ท้องถิน่ขึน้มาอย่างแท้จรงิซึง่เป็นระยะเวลาทีม่กีารสร้าง

พระธาตุเจดีย์โดยคนท้องถิ่นขึ้นมาเองแล้ว อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่ง

ก็ยังสืบเนื่องกันมาตามพุทธพยากรณ์ ในขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งก็เป็นผล

สืบเนื่องจากการเข้ามาสืบพระศาสนาของพระมหากัสสปะ ในช่วงนี้เมืองหนองคัน

แทเสือ้น�า้(เวยีงจนัทร์)และมรกุขนครกเ็กดิขึน้ตามพทุธท�านายแล้วซึง่จะเป็นชมุชน

ที่รองรับเงื่อนไขการสถาปนาพระธาตุพนมต่อไป

พระมหากสัสปะเมือ่กลบัถงึเมอืงราชคฤห์ทีช่มพทูวปีแล้วได้บวชสามเณร

3รปูจนส�าเรจ็เป็นอรหนัต์และได้เดนิทางมายงับรเิวณแคว้นศรโีคตรบรูเพือ่น�าเอา

กุมารทั้ง 5 องค์ที่เป็นชาติก�าเนิดใหม่ของท้าวพญาทั้งห้าที่ร่วมกันสร้างอูปมุง

Page 6: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

94 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

พระอรุงัคธาตมุาบวชจนบรรลอุรหนัต์ครัน้อรหนัต์ทัง้ห้าระลกึชาตไิด้จงึปรารถนาที่

จะสร้างองค์พระธาตพุนมจงึไปขอความอปุถมัภ์จากพญาสมุติธรรมวงศาเจ้าเมอืง

มรุกขนคร ซึ่งเป็นชาติก�าเนิดใหม่ของพญาศรีโคตรบูร จึงได้ร่วมกันก่อสร้างและ

สถาปนาพระธาตุพนม โดยหลังจากสถาปนาแล้วพญาสุมิตธรรมวงศาได้ให้บริวาร

จ�านวน3,000คนไว้เป็นข้าโอกาสจนเกิดเป็นชุมชนพระธาตุพนมตั้งแต่นั้นมา

2.ส่วนที่2ประวัติศำสตร์ท้องถิ่น

ในช่วงที่สองที่ถือเป็นประวัติศาสตร์ขององค์พระธาตุพนมที่เกี่ยวข้องกับ

การบูรณะองค์พระธาตุพนมและวัดพระธาตุพนม โดยได้เริ่มในสมัยล้านช้างตั้งแต่

สมยัพระเจ้าโพธสิาลราชแห่งหลวงพระบาง(พ.ศ.2073-2103)ได้เสดจ็มาสร้างหอ

พระแก้วไว้ในบรเิวณวดัซึง่ถอืว่าเป็นการสร้างวดัพระธาตพุนมขึน้เป็นครัง้แรกด้วย

ต่อมาสมเด็จพระชัยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2101-2114) แห่งเวียงจันทร์ ได้เสด็จมา

นมัสการองค์พระธาตุ และได้วางระเบียบปฏิบัติให้กับข้าวัดในชุมชนธาตุพนมด้วย

(PrathepRattanamolee,1994)

ในปีพ.ศ.2157เจ้าเมืองศรีโคตรบูรได้มาปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุ

ในบริเวณลานประทักษิณ เช่น ก�าแพงแก้ว ซุ้มประตูต่างๆหอบูชาข้าวพระ และ

พระวหิารต่อมาในปีพ.ศ.2236-2245เจ้าราชครโูพนสะเมก็ได้น�าคนจากนครเวยีง

จันทร์จ�านวน 3,000 คน มาปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมโดยการเปลี่ยนยอดเป็น

ทรงรุ้งแบบเจดีย์ลาวทั่วไปพร้อมบรรจุของมีค่าไว้บริเวณฐานยอดเพิ่มเติมด้วย

ระหว่างปี พ.ศ. 2355-2356 ซึ่งตรงกับรัชสมัย รัชกาลที่ 1 เจ้าอนุวงศ ์

ผู ้ครองนครเวียงจันทร์ได้ร ่วมมือกับเจ้าเมืองนครพนมและมุกดาหารได้ท�า

การบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งบริเวณวัด จนถึง พ.ศ. 2369-2371 เกิดสงครามระหว่าง

ล้านช้างกับกรุงเทพ ท�าให้ชุมชนลุ่มน�้าโขงระส�่าระสาย ชุมชนวัดธาตุพนมก็ได ้

หนีหายเป็นจ�านวนมาก ท�าให้วัดพระธาตุพนมทรุดโทรมลง และหอพระแก้วก็ได ้

พังทลายลงในพ.ศ.2430

ในปลายสมัยรัชกาลที่5(พ.ศ.2411-2453)พระครูวิโรจน์รัตโนบลได้เดิน

ทางจากอุบลเพื่อมาท�าการบูรณะองค์พระธาตุในครั้งแรก และครั้งที่สองในปีพ.ศ.

2449ได้กลับมาสร้างซุ้มประตูหน้าวัดเพิ่มเติมในปลายปีนั้นเองสมเด็จกรมพระยา

Page 7: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

95

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ด�ารงราชานุภาพได้เสด็จมาพักแรมที่บริเวณวัด ในระหว่างการตรวจราชการ

ภาคอีสานได้สร้างระฆังถวายองค์พระธาตุ2ลูกทั้งยังให้ย้ายที่ว่าการอ�าเภอจาก

เมืองเรณูมาตั้งไว้ที่ต�าบลธาตุพนมในร.ศ.126

ในปีพ.ศ.2483-2484กรมศลิปากรได้ท�าการบรูณะองค์พระธาตุโดยการ

ต่อยอดครอบยอดเดิมขึ้นไปอีก10เมตรเพื่อให้มองเห็นได้ชัดจากฝั่งลาวและในปี

พ.ศ.2497ได้ยกยอดฉัตรทองสูง5.50เมตรให้แก่องค์พระธาตุโดยในพ.ศ.2493

ทางราชการได้ยกฐานะของวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิด

วรมหาวิหารจนปีพ.ศ.2518องค์พระธาตุพนมได้พังทลายลงและได้ก่อสร้างขึ้น

ใหม่จนแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2522โดยคงรูปแบบเดิมไว้มากที่สุดจนถึงปัจจุบัน

จากต�านานพระอรุงัคธาตจุนมาถงึประวตัศิาสตร์ท้องถิน่แสดงให้เหน็อย่าง

ชัดเจนถึงความส�าคัญและประวัติศาสตร์อันยาวนานขององค์พระธาตุพนมซึ่งในที่

นี้ ได ้กล ่าวไว ้ เพียงโดยย ่อเท ่านั้น ซึ่ ง ในต�านานพระอุรั งคธาตุนอกจาก

จะบอกถงึเรือ่งเล่าตามความเชือ่แล้วยงัแสดงให้เหน็ถงึสภาพบ้านเรอืนในอดตีตัง้แต่

การตั้ งถิ่นฐาน รูปแบบทางสังคม วัฒนธรรมของชนชาติแถบภูมิภาค

ลุ่มน�้าโขง แม้บางส่วนจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทาน แต่ก็บ่งบอกถึงสภาพการณ์ด้าน

ต่างๆในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดีและเป็นแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ที่ด�าเนินกันมาหลายยุคสมัย

ข้อมูลในการบูรณะวัดและองค์พระธาตุพนมนั้น ได้บอกเล่าความเป็นมา

ของเมอืงธาตพุนมในด้านการตัง้ถิน่ฐานสงัคมวฒันธรรมและการปกครองทีม่กีาร

เปลี่ยนแปลงในหลายยุคสมัยท�าให้มีผลต่อกายภาพของเมืองและพื้นที่โดยรอบวัด

พระธาตพุนมซึง่เป็นข้อมลูทีส่�าคญัในการน�าไปสูแ่นวทางการพฒันาเมอืงธาตพุนม

ในอนาคตซึ่งจะกล่าวในช่วงต่อไป

พัฒนำกำรทำงสังคมและวัฒนธรรม

“ข้าโอกาส” หรือ ข้อยโอกาส เป็นบุคคลที่มีผู้ศรัทธาถวายแด่วัด ซึ่งข้า

โอกาสเหล่านี้จะเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดตลอดชีวิต แม้จะมีลูกหลานก็จะตกเป็น

Page 8: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

96 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

กรรมสิทธิ์ของวัดตลอดไป ในอดีตข้าโอกาสจะขาดจากอ�านาจรัฐ นั่นคือ การเก็บ

ส่วยอากรหรอืการเกณฑ์แรงงานจะน�าไปใช้ในราชการไม่ได้จนถงึรชัสมยัรชักาลที่

5จึงได้ยกเลิกไปพร้อมกับการเลิกทาส(Arjharn,1999)

ทีก่ล่าวถงึข้าโอกาสนีเ้นือ่งจากการจดัตัง้ชมุชนธาตพุนมในยคุแรกเกดิจาก

พญาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนครได้มาบูรณะองค์พระธาตุพนมและได้อุทิศ

ข้าโอกาสไว้ดแูลองค์พระธาตจุ�านวน3,000คนและให้เอาครอบครวัมาตัง้บ้านเรอืน

โดยรอบองค์พระธาตุ รวมทั้งได้สละทรัพย์สินและเขตดินแดนให้เป็นเขตแดนของ

องค์พระธาตุดังนี้

- ฝั่งซ้ายแม่น�้าโขง(สปป.ลาว)บ้านสะดือบ้านนาวางบ้านตาลเทิง

บ้านผักเผื้อบ้านดงใน

-ฝ่ังขวาแม่น�า้โขงทางทศิตะวนัตกถงึเขตอ�าเภอนาแกจงัหวดันครพนม

- ทิศเหนือเขตห้วยบังฮวกต�าบลดอนนางหงส์อ�าเภอธาตุพนม

-ทิศใต้ถึงอ�าเภอหว้านใหญ่จังหวัดมุกดาหาร

หลังจากการก่อตั้งชุมชนเป็นข้าโอกาสถวายแด่องค์พระธาตุแล้วได้มีการ

เปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและการปกครองของเมืองใหญ่ในภูมิภาคนี้หลายครั้ง

ท�าให้ชุมชนธาตุพนมมีการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนย้ายเข้าออกหลายครั้ง

ซึง่พอสรปุเหตกุารณ์ตามช่วงเวลาต่างๆได้ดงันี้(Prathammarachanuwat,2008)

-ยุคเมืองมรุกขนครล่ม อยู่ในสมัยพระเจ้านิฎรุฎฐราช กษัตริย์องค์ที่ 3

ที่ครองเมืองต่อจากพญาสุมิตธรรมวงศา ในยุคนี้กษัตริย์ได้ขาดความเลื่อมใสใน

พุทธศาสนา จึงให้รื้อถอน เลิกละบ้านส่วยและข้าโอกาส ท�าให้บ้านเมืองล่มร้าง

รวมถึงชุมชนธาตุพนมด้วย

-ปีพ.ศ.2082พระเจ้าโพธิสาลราชเจ้านครหลวงพระบางได้มาบูรณะ

องค์พระธาตุพนม และได้รวบรวมข้าโอกาสเดิมหลังจากเมืองมรุกขนครล่ม แต่ได้

เพียงจ�านวนน้อยจึงได้ถวายข้าโอกาสเพิ่มเติมจนครบ3,000คนดังเดิม

-ปีพ.ศ.2175เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูรได้มาบูรณะองค์พระธาตุพนม

และได้จัดระเบียบข้าโอกาส โดยมีสาระส�าคัญคือ การปักเขตแดนเพิ่มเติม และ

ตั้งระเบียบปฏิบัติให้กับข้าโอกาสในด้านการดูแลรักษาองค์พระธาตุพนม

Page 9: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

97

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

-ปี พ.ศ. 2273 บ้านธาตุพนมแตกศึก เนื่องจากเกิดสงครามหลายฝ่าย

เช่นไทยญวนลาวและเขมรซึง่ต้องเดนิทพัผ่านบ้านธาตพุนมท�าให้ข้าโอกาสต้อง

หลบภัยสงครามจนเกือบเป็นเมืองร้างจนปี2349-2356บ้านธาตุพนมจึงเจริญขึ้น

อีกครั้ง

-ปีพ.ศ.2321เกิดสงครามระหว่างเวียงจันทร์กับธนบุรีจากเหตุพระวอ

พระตา เมืองหนองบัวล�าภู ข้าโอกาสได้หลบภัยสงครามไปซ่อนตามที่ต่างๆ

พอเหตุการณ์สงบก็กลับมาเพียง20-30ครัวเท่านั้น

-ปีพ.ศ.2369-2371ในแผ่นดินรัชกาลที่3เกิดสงครามเวียงจันทร์กับ

กรุงเทพท�าให้ชุมชนธาตุพนมได้รับผลกระทบอีกครั้ง ซึ่งมีบางส่วนถูกกวาดต้อน

ลงไปยังกรุงเทพ

-ปีพ.ศ.2375-2380เกิดสงครามระหว่างญวนกับไทยท�าให้มีผู้อพยพ

จากฝ่ังลาวข้ามมาอาศยัอยูเ่มอืงแถบรมิแม่น�า้โขงโดยส่วนใหญ่จะเป็นเชือ้สายผูไ้ทย

ซึ่งกระจายตัวกันอยู่ตามเมืองต่างๆ จนถึงปัจจุบัน เช่น อ�าเภอธาตุพนม อ�าเภอ

เรณูนครอ�าเภอเมืองนครพนมและจังหวัดสกลนครเป็นต้น

-ปี พ.ศ. 2426 เกิดสงครามอินโดจีน ผรั่งเศสเข้ายึดประเทศเวียตนาม

ท�าให้ชาวเวยีตนามบางส่วนอพยพหนภียัสงครามเข้ามาอยูใ่นพืน้ทีจ่งัหวดันครพนม

มกุดาหารอบุลราชธานแีละสกลนครซึง่มบีางส่วนทีเ่ข้ามาอาศยัอยูใ่นชมุชนธาตพุนม

-ปีพ.ศ.2449สมเดจ็กรมพระยาด�ารงราชานภุาพได้เสดจ็ตรวจราชการ

เมอืงนครพนมและเมอืงเรณนูครได้ประกาศย้ายทีว่่าการอ�าเภอจากเรณนูครมาอยู่

ที่อ�าเภอธาตุพนม

-ปี พ.ศ. 2518 เกิดสงครามเวียตนามท�าให้มีการอพยพของผู้คนจาก

ประเทศลาวเขมรและเวียตนามใต ้เข้ามาในฝั่งไทยจ�านวนมากบางส่วนเข้ามาอยู่

ในชุมชนธาตุพนมซึ่งจะมีเชื้อสายลาวและญวนจนถึงปัจจุบัน

จากการล�าดบัเหตกุารณ์ทีเ่กดิขึน้กบัชมุชนธาตพุนมท�าให้เหน็ถงึพฒันาการ

ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนซึ่งสรุปได้ดังนี้

1) ชุมชนธาตุพนมมีการเกิดและดับเป็นช่วงๆ อันมีสาเหตุมาจาก

ภยัสงครามเป็นหลกัแต่การฟ้ืนตวัของชมุชนจะเกดิขึน้เสมอและไม่ได้ดบัหายเหมอืน

Page 10: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

98 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

กบัเมอืงใหญ่ในอดตีหลายๆเมอืงสาเหตกุารฟ้ืนตวัของชมุชนเกดิจาก2สาเหตหุลกั

คือ การบูรณะองค์พระธาตุพนมจากผู้ครองนครต่างๆ ที่ได้ถวายข้าโอกาสให้แด ่

องค์พระธาตุ และสาเหตุอีกประการคือ การที่ชุมชนถือว่าตนเองเป็นข้าโอกาสที่

ต้องรับใช้องค์พระธาตุและมีองค์พระธาตุเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจจึงต้องกลับมา

รวมตัวกันทุกครั้งหลังจากการหลบภัยต่างๆ

2) ในอดีตการจัดตั้งชุมชนธาตุพนม เป็นการจัดตั้งชุมชนที่มีลักษณะ

เฉพาะเพือ่มหีน้าทีด่แูลรกัษาวดัและองค์พระธาตุมลีกัษณะทางสงัคมและวฒันธรรม

ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเป็นหลัก ซึ่งในสภาพปัจจุบันความรู้สึกของการเป็นข้า

โอกาสและหน้าทีท่ีต้่องปฏบิตัยิงัคงมอียู่แต่รปูแบบการปฏบิตัอิาจจะไม่เหมอืนเดมิ

เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคม

3) กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนธาตุพนม มีความหลากหลายทาง

เชื้อชาติและวัฒนธรรม ซึ่งเห็นได้จากการล�าดับเหตุการณ์ของชุมชนพบว่ามีการ

อพยพผู้คนหลายครั้ง ถ้าแยกแยะกลุ่มชาติพันธุ ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนธาตุพนม

สามารถจ�าแนกได้2กลุ่มหลักคือ

-กลุม่แรกกลุม่ชาตพินัธุไ์ทย-ลาวและกลุม่ชาตพินัธุผ์ูไ้ทยเป็นกลุม่ดัง้เดมิ

ทีอ่าศยัในพืน้ทีแ่ละมจี�านวนมากทีส่ดุเป็นกลุม่ทีเ่ป็นข้าโอกาสตัง้แต่การจดัตัง้ชมุชน

ถงึแม้ชาวผูไ้ทยจะเข้ามาทหีลงัแต่กอ็ยูใ่นช่วงทีม่กีารจดัตัง้ข้าโอกาสซึง่ทัง้สองกลุม่

ชาติพันธุ์นี้จะนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด และมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับองค์พระธาตุ

อยู่เสมอ

- กลุ่มที่สอง กลุ่มชาติพันธุ์ญวนและจีน เป็นกลุ่มที่อพยพมาภายหลัง

กลุม่แรกโดยสาเหตขุองการย้ายถิน่เข้ามาอยูใ่นชมุชนธาตพุนมนีม้ปัีจจยัต่างกนัคอื

กลุ่มชาติพันธุ์ญวนย้ายเข้ามาเพื่อหลบภัยสงคราม ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์จีน ย้ายเข้า

มาเนือ่งจากการเข้ามาประกอบอาชพีค้าขายทัง้สองกลุม่ชาตพินัธุน์ีเ้ข้ามาในชมุชน

ธาตุพนมในเงื่อนไขที่ต่างจากกลุ่มแรกในการเป็นข้าโอกาสองค์พระธาตุดังนั้นจึงมี

การนบัถอืศาสนาอืน่เช่นศาสนาครสิต์เป็นต้นแม้ว่าทัง้4กลุม่ชาตพินัธุจ์ะมคีวาม

แตกต่างกันทางด้านบทบาทการเป็นข้าโอกาสและการใช้ภาษา วัฒนธรรมของ

Page 11: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

99

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ตนเองภายในกลุ่ม แต่ก็อาศัยกันอยู่อย่างกลมเกลียวภายในชุมชน และปฏิบัติตน

เป็นผู้ดูแลองค์พระธาตุอย่างสม�่าเสมอ(Arjharn,1999)

4)ด้านประเพณีและวัฒนธรรมนั้น นอกจากการปฏิบัติตามฮีต 12

คอง14เหมือนกับชาวอีสานทั่วไปแล้วข้าโอกาสมีข้อแตกต่างจากประเพณีทั่วไป

คอืการปฏบิตัโิดยตรงต่อองค์พระธาตพุนมโดยคองทีเ่พิม่มาจากคอง14จะมเีพิม่

อกี9ข้อซึง่เป็นแนวปฏบิตัทิีเ่กีย่วข้องกบัองค์พระธาตพุนมและได้ถอืปฏบิตัสิบืทอด

กันมา ส่วนด้านประเพณีที่เป็นเฉพาะของท้องถิ่นคือ พิธีถวายข้าวพิชภาคต่อ

องค์พระธาตุพนม และประเพณีงานนมัสการพระธาตุพนม ซึ่งถือเป็นประเพณีที่

ส�าคัญของข้าโอกาสและประชาชนในภูมิภาคแถบลุ่มน�้าโขง(Arjharn,1999)

พัฒนำกำรของเมืองและชุมชนธำตุพนม

พัฒนาการทางกายภาพของเมืองและพื้นที่โดยรอบองค์พระธาตุนั้น

เริ่มตั้งแต่การเลือกที่ตั้งองค์พระธาตุบริเวณริมแม่น�้าโขง ซึ่งเป็นท�าเลที่เหมาะสม

เนื่องจากมีภูมิสัณฐานที่เป็นที่เนิน (ภูก�าพร้า) ต่อมาชุมชนมีความหนาแน่นขึ้น

บริเวณตลาดเก่าริมแม่น�้าโขง จึงมีการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างวัดกับตลาด เพื่อ

ง่ายต่อการเข้าถงึองค์พระธาตจุากชมุชนและเป็นทางเข้าถงึหลกัของประชาชนจาก

ฝ่ังลาวในปัจจบุนัพืน้ทีโ่ดยรอบวดัพระธาตพุนมได้เปลีย่นแปลงเป็นย่านพาณชิยกร

รมและสถานที่ราชการแต่ยังคงพื้นที่ด้านหน้าวัดให้เป็นพื้นที่โล่งเพื่อใช้ในกิจกรรม

ของเมืองและเป็นแนวแกนหลักในการเข้าถึงองค์พระธาตุพนมจากแม่น�้าโขง

ประเด็นในการเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบวัดพระธาตุพนมนั้น

เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ท�าให้เกิด

กจิกรรมและองค์ประกอบเมอืงหลายอย่างตามมาโดยรอบองค์พระธาตพุนมดงันัน้

การวางแนวทางพัฒนาพื้นที่ในอนาคตต้องมีการศึกษาในมิติต่างๆอย่างครบถ้วน

เพือ่ให้เกดิการพฒันาทีเ่หมาะสมกบัพืน้ทีแ่ละองค์พระธาตุซึง่ความสมัพนัธ์ของมติิ

ต่างๆที่น�าไปสู่แนวทางในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ต่อไป

Page 12: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

100 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณวัดพระธาตุพนมและพื้นที่โดยรอบที่มา : www.pointasia.com

1. กำรเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ

จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าสถานที่ตั้งองค์พระธาตุพนมเป็นเนิน

ดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ2.00เมตรซึ่งกล่าวเรียกในต�านานว่าภูก�าพร้า

ภนูีต้ัง้อยูห่่างจากแม่น�้าโขงประมาณ600เมตรด้านหน้าภกู�าพร้าเป็นถนนชวางกรู

และถดัจากถนนไปทางทศิตะวนัออกเป็นบงึน�า้กว้างประมาณ300เมตรยาวขนาน

ไปกับแม่น�้าโขงเรียกกันในท้องถิ่นว่าบึงธาตุ และเชื่อกันว่าบึงนี้ถูกขุดขึ้นในอดีต

เพื่อน�าเอาดินมาปั้นอิฐในการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม เมื่อพิจารณาลักษณะของ

บึงธาตุนี้พบว่าสภาพเดิมมีความยาวไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กิโลเมตรจนถึง

แม่น�า้โขงส่วนทางตอนใต้ถกูถมและก่อสร้างเป็นบ้านเรอืนจนสงัเกตได้ยากลกัษณะ

ของบึงธาตุในแบบนี้เป็นลักษณะของแม่น�้าโขงเดิม และได้เปลี่ยนทางเดินเป็นใน

Page 13: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

101

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ลักษณะปัจจุบัน ในส่วนที่เป็นทางน�้าเดิมปัจจุบันได้ถูกถมและเกิดตื้นเขินจนมี

ลักษณะเป็นแอ่งน�้าเป็นช่วงๆและแอ่งน�้าที่อยู่บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนมได้เรียก

กันว่าบึงธาตุ

ลกัษณะของภกู�าพร้าทีส่งูกว่าบรเิวณโดยรอบนัน้ล้อมรอบด้วยคนู�า้3ด้าน

คือด้านทิศเหนือใต้และตะวันตกคูน�้าลักษณะเป็นแนวที่เกิดจากการขุดขึ้นคูน�้า

ทางทิศเหนือและใต้สิ้นสุดทางด้านหน้าเพราะถูกถนนชวางกูรตัดทับ ซึ่งแต่เดิม

ก่อนทีถ่นนสายนีจ้ะตดัคนู�า้จะต่อไปถงึบงึธาตุท�าให้สภาพเดมิภกู�าพร้าจะมนี�า้ล้อม

รอบทั้ง 4 ด้าน แต่ปัจจุบันร่องรอยของคูน�้าถูกท�าลายไปมากเนื่องจากการสร้าง

อาคารเพิ่มเติมภายในวัดจึงเห็นเป็นเพียงแอ่งน�้าเป็นช่วงๆเท่านั้น(ThefineArts

Department,1979)

ท�าเลทีต่ัง้ในอดตีของพระธาตพุนมตดิกบัแม่น�า้โขงซึง่นอกจากภมูปิระเทศ

ทีเ่หมาะสมแล้วน่าจะมจีดุประสงค์ในการให้เข้าถงึได้ง่ายซึง่เส้นทางการสญัจรหลกั

ในอดีตคือแม่น�้าโขงเนื่องจากแม่น�้าโขงได้เปลี่ยนทิศทางจากเดิมจึงท�าให้เกิดเป็น

แผ่นดินและวัดพระธาตุได้ห่างออกจากแม่น�้าโขงประมาณ600เมตรซึ่งปัจจุบันได้

มถีนนเป็นแนวแกนตรงจากแม่น�า้โขงเข้าสูว่ดัพระธาตซุึง่ถอืว่าเป็นเส้นทางทีส่�าคญั

ในการเข้าถึงของประชาชนจากฝั่งลาว

2. กำรเติบโตของเมืองจำกอดีตถึงปัจจุบัน

การเติบโตของชุมชนในเขตเทศบาลต�าบลธาตุพนมนั้น เดิมมีศูนย์กลาง

หลักอยู่บริเวณตลาดลาวและพื้นที่โดยรอบซึ่งถือเป็นย่านพาณิชกรรมหลักในอดีต

ส่วนย่านพักอาศัยได้กระจายตัวตามถนนพนมพนารักษ์และถนนเลียบแม่น�้าโขง

ซึ่งสภาพชุมชนในปัจจุบันยังคงสภาพดั้งเดิมอยู่มาก

ทศิทางการเตบิโตของเมอืงได้ขยายตวัตามถนนชวางกรูทางด้านทศิเหนอื

และทิศตะวันตก โดยเกิดเป็นย่านพาณิชยกรรมใหม่ผสมกับที่พักอาศัยส่วนย่าน

พาณชิยกรรมหลกัได้ย้ายจากตลาดลาวมาอยูใ่นบรเิวณตลาดสดเทศบาลส่วนพืน้ที่

รมิแม่น�า้โขงได้ปรบัเปลีย่นจากย่านพกัอาศยัเดมิเป็นพืน้ทีร่องรบันกัท่องเทีย่วมาก

ขึน้เช่นโรงแรมร้านอาหารกระจายตวัอยูต่ามรมิแม่น�้าซึง่มแีนวโน้มของการขยาย

ตัวมากขึ้นส�าหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตได้ก�าหนดให้มีศูนย์กลางชุมชน

Page 14: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

102 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

หลักในบริเวณชุมชนเดิมที่มีวัดพระธาตุพนมเป็นศูนย์กลาง โดยมีพื้นที่รองรับ

การขยายตัวต่อเนื่องมาทางตอนใต้ของชุมชน และได้ก�าหนดให้มีศูนย์กลางชุมชน

รองขึ้นมาใหม่บริเวณทางด้านทิศตะวันตกซึงเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการเพื่อให้เกิด

การขยายตัวของเมืองมาทางทิศตะวันตกเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

องค์ประกอบเมืองที่มีคุณค่ำทำงประวัติศำสตร์

จากพฒันาการของเมอืงตัง้แต่อดตีจนถงึปัจจบุนัยงัคงพบเหน็องค์ประกอบ

เมืองทางกายภาพที่สามารถเล่าเรื่องราวของเมืองแห่งต�านานนี้ได้ เช่น รูปแบบ

ทางสถาปัตยกรรมภมูทิศัน์วฒันธรรมซึง่องค์ประกอบเหล่านีล้้วนมคีวามส�าคญัใน

การวางแผนพฒันาเมอืงในอนาคตเนือ่งจากเมอืงธาตพุนมเป็นเมอืงทีม่ปีระวตัศิาสตร์

อันยาวนานการอนุรักษ์สิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เมืองจึงถือเป็นเรื่องที่จ�าเป็น

ในปัจจุบันการอนุรักษ์และบูรณะองค์ประกอบภายในวัดพระธาตุพนม

รวมถงึองค์พระธาตพุนมได้รบัการดแูลอย่างดยีิง่และแสดงให้เหน็ถงึประวตัศิาสตร์

อย่างชัดเจน ซึ่งถ้าจะให้เกิดผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดีของวัด จึงควรพัฒนา

องค์ประกอบเมืองอื่นๆที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัดและเหมาะสม

กับเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานโดยยกตัวอย่างองค์ประกอบเมืองที่มีคุณค่า

ทางประวัติศาสตร์ดังนี้

1. พื้นที่ภำยในวัดพระธำตุพนม

ปัจจุบันพื้นที่ภายในวัดธาตุพนมในส่วนที่เป็นเขตพุทธาวาส รวมถึง

องค์ประกอบภายในวัดที่เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุตามที่กล่าวมาแล้วก็ได้

รบัการบรูณะและเกบ็รกัษาไว้อย่างดีส่วนพืน้ทีท่ีเ่ป็นส่วนบรกิารนกัท่องเทีย่วภายใน

วดัมกีารใช้พืน้ทีต่ัง้ร้านค้าและจอดรถผูท้ีม่านมสัการองค์พระธาตุท�าให้พืน้ทีภ่ายใน

วัดมีความแออัดและไม่เหมาะสมในการที่เป็นเขตสังฆาวาสซึ่งสาเหตุดังกล่าวอาจ

สืบเนื่องมาจากการปรับปรุงพื้นที่ภายนอกวัดยังไม่สามารถเอื้อต่อกิจกรรมต่างๆ

ที่เกิดขึ้นได้ จึงท�าให้กิจกรรมต่างๆดังกล่าวต้องเข้าไปใช้พื้นที่ภายในวัดแทนพื้นที่

ภายนอก ดังนั้นแนวทางการปรับปรุงพื้นที่ภายในวัดควรจะแยกส่วนกิจกรรมที ่

Page 15: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

103

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ไม่เหมาะสมกบัเขตสงัฆาวาสออกไปจดัไว้ภายนอกวดัเช่นพืน้ทีโ่ล่งบรเิวณหน้าวดั

เป็นต้น

2. พื้นที่ตลำดเก่ำ(ตลำดลำว)

ในอดีตตลาดลาวเป็นตลาดหลักของชาวชุมชนธาตุพนม ที่มีกิจกรรม

การค้าหนาแน่น เนื่องจากมีการเปิดจุดผ่อนปรนในบริเวณตลาด ซึ่งมีการซื้อขาย

แลกเปลีย่นสนิค้าจากประชาชนทัง้จากฝ่ังไทยและลาวต่อมาได้ย้ายจดุผ่อนปรนไป

บริเวณส�านักงานเทศบาล ประกอบกับมีย่านการค้าใหม่เกิดขึ้น จึงท�าให้กิจกรรม

การค้าในตลาดลาวเริ่มซบเซาลงจนถึงปัจจุบัน

จุดเด่นของตลาดลาวคือตั้งอยู่บนถนนเส้นแกนหลักที่เป็นเส้นทางจาก

แม่น�้าโขงเข้าสู่วัดพระธาตุพนม และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

ประกอบด้วยอาคารแถวชั้นเดียวและสองชั้นทอดยาวตามริมถนนทั้งสองข้าง โดย

รปูแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นยคุช่างฝีมอืชาวญวนรปูแบบโคโลเนยีลและเรอืนไม้

พื้นถิ่นซึ่งปัจจุบันอาคารทรุดโทรมลงมาก

แนวทางการปรบัปรงุและฟืน้ฟกูจิกรรมทางด้านการค้าทีซ่บเซาของพื้นที่

บรเิวณนี้อาจกระท�าได้โดยการปรบักจิกรรมการใช้อาคาร(AdaptiveRe-use)เพือ่

ใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น รวมทั้งการปรับปรุงอาคารในเชิงอนุรักษ์ เพื่อรักษา

รปูแบบทางสถาปัตยกรรมเดมิของพืน้ที่โดยพืน้ทีส่่วนนีจ้ะต้องเชือ่มต่อทางกจิกรรม

และส่งเสริมมุมมองที่ดีต่อวัดพระธาตุพนมด้วย

ภาพถ่ายบริเวณพื้นที่ตลาดเก่า ( ตลาดลาว )

Page 16: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

104 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

3. ชุมชนดั้งเดิมริมถนนพนมพนำรักษ์

พื้นที่เมืองเก่าของชุมชนธาตุพนมที่ตั้งอยู่ริมถนนพนมพนารักษ์ เป็น

องค์ประกอบเมอืงทีม่คีณุค่าทางประวตัศิาสตร์ทีบ่อกเล่ารปูแบบทางสถาปัตยกรรม

และวิถีชีวิตของคนในชุมชนได้ โดยในสภาพปัจจุบันยังคงหลงเหลือรูปแบบอาคาร

ที่เป็นอาคารไม้แบบพื้นถิ่น และมีอาคารรูปแบบโคโลเนียล ที่มีสภาพสมบูรณ์

แต่บางส่วนก็ได้มีการรื้อถอนและก่อสร้างอาคารรูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน

แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ ควรมองประเด็นในด้านการอนุรักษ์

ชุมชน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของเมืองเก่าที่มีบรรยากาศเหมาะสมกับ

วัดพระธาตุพนม

ภาพถ่ายแสดงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมชุมชนริมถนนพนมพนารักษ์

4. พื้นที่โล่งหน้ำวัดพระธำตุพนม

แนวทางพัฒนาให้เป็นเขตปริมลฑลของวัดเป็นหลักเพื่อให้เกิดกิจกรรมที่

ต่อเนือ่งจากภายในวดัได้รวมทัง้ส่งเสรมิภาพลกัษณ์ทีด่ต่ีอวดัพระธาตพุนมในการ

ใช้พื้นที่บริเวณนี้นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัดแล้วยังควรพัฒนาให้เป็นที่

Page 17: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

105

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

รองรับกิจกรรมของเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมและศาสนาด้วยเพื่อให้

เกิดการใช้พื้นที่ที่คุ ้มค่าและกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะไม่รบกวนกิจกรรมภายใน

วัดพระธาตุพนม ส่วนพื้นที่ต่อเนื่องบริเวณหน้าตลาดสดเทศบาล ควรจัดพื้นที ่

เพือ่ให้รองรบักจิกรรมในการท่องเทีย่วโดยเฉพาะทีเ่กีย่วกบัวดัพระธาตพุนมซึง่น�า

เอากิจกรรมด้านการค้าและที่จอดรถภายในวัดพระธาตุพนมมารวมไว้ในพื้นที่นี้

เพื่อไม่ให้รบกวนกิจกรรมภายในวัด

ภาพถ่ายพื้นที่โล่งบริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม

จากองค์ประกอบเมืองทั้งหลายที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น เป็นเพียงตัวอย่าง

แนวทางการวางแผนพัฒนาเมือง ในแง่คิดของนักออกแบบชุมชนเมือง โดยม ี

จุดประสงค์หลักเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองที่เหมาะสมกับบริบทและเอกลักษณ์

เฉพาะของเมอืงซึง่ในการจดัท�าแผนการพฒันาเมอืงนัน้คงต้องมอีงค์ประกอบหลาย

อย่างเข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งประเด็นต่างๆที่มากกว่าที่เสนอเช่นด้านการควบคุม

สภาพแวดล้อมเมืองทางกายภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมเป็นต้น

บทสรุป

จากการศึกษาพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ต�านานจนถึง

ประวตัศิาสตร์ท้องถิน่พบว่าองค์พระธาตพุนมมคีวามเกีย่วพนักบัประวตัศิาสตร์ของ

ภูมิภาคลุ่มน�้าโขงมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งมีทั้งยุคที่รุ่งเรืองและถดถอย

Page 18: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

106 Journal of Mekong Societies

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

ตามสภาวะการของบ้านเมอืงแต่เมือ่ใดทีม่กีารบรูณะองค์พระธาตพุนมกจ็ะมคีวาม

ร่วมมือจากหลายชนชาติ หลายเมือง ท�าให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในสังคมและ

ศาสนาของผู้คนในภูมิภาคแถบนี้ที่ล้วนแต่สันติสุขร่วมมือกันโดยปราศจากความ

เดียดฉันท์ไม่ว่าทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และการเมือง

ร่องรอยที่หลงเหลือทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ยังหลงเหลืออยู่ใน

เขตแดนพระธาตุพนมซึ่งกินบริเวณกว้างตามชุมชนโดยรอบต่างๆเช่นวัดเจดีย์

พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ซึ่งถ้าได้รวบรวม ศึกษา บูรณะและเผยแพร่ให้เกิด

การเรยีนรูก้บัสาธารณะชนทัว่ไปกจ็ะเป็นพืน้ทีป่ระวตัศิาสตร์ทีม่คีวามส�าคญัในระดบั

ภูมิภาค ได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้งด้าน

กายภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมตามมา

การจัดตั้งชุมชนธาตุพนมที่มาจากการถวายตัวเป็นข้าโอกาสที่คอยดูแล

องค์พระธาตุนั้น เป็นการจัดตั้งชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากวิถีชีวิต

สังคมวัฒนธรรมมีความเกี่ยวพันกับองค์พระธาตุทั้งสิ้นถึงแม้ชุมชนในอดีตจะได้

รับผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคที่ท�าให้มีการเคลื่อนย้ายแตกกระจายไป

บ้างแต่ก็สามารถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นชุมชนได้อีกครั้ง และผลจากการเคลื่อนย้าย

ผู้คนในภูมิภาคนี้ ท�าให้ชุมชนธาตุพนมมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ได้แก่

ชาวไทย-ลาวชาวผู้ไทยชาวญวนและชาวจีนซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีวัฒนธรรมเป็น

ของตนเองแต่ทกุกลุม่กส็ามารถอยูร่่วมกนัอย่างสงบสขุเนือ่งจากมอีงค์พระธาตพุนม

เป็นศูนย์รวมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียว

พัฒนาการของเมืองธาตุพนม ที่ผ่านมายังคงเห็นองค์ประกอบของ

เมืองเก่าที่มีคุณค่า ที่บอกเล่าความเป็นมาของชุมชนได้เช่น พื้นที่ตลาดลาว

ซุ้มประตูโขง และชุมชนริมถนนพนมพนารักษ์ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบเมืองที่มี

เอกลกัษณ์ควรค่าแก่การรกัษาเพือ่บอกเล่าความเป็นมาของเมอืงและเหมาะสมกบั

ความเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ส�าหรบับทความนีไ้ด้ชีใ้ห้เหน็ถงึพฒันาการด้านต่างๆของพระธาตุวดัเมอืง

และผูค้นทีม่คีวามส�าคญัอย่างยิง่ในการวางแผนพฒันาเมอืงพระธาตพุนมเนือ่งจาก

เป็นอัตลักษณ์ของเมืองที่จะเป ็นแนวทางหลักในการพัฒนาเมือง เพื่อให ้

Page 19: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

107

พระธาตุพนม : พัฒนาการด้านประวัติศาสตร์

สังคม วัฒนธรรม เมืองและชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2554

องค์พระธาตพุนมทีม่คีวามส�าคญัระดบัภมูภิาคลุม่แม่น�า้โขงยงัคงบทบาทนัน้ต่อไป

ในอนาคตเพราะองค์พระธาตพุนมมพีฒันาการในแต่ละช่วงเวลาทีเ่กีย่วข้องกบัผูค้น

สังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองมาโดยตลอดแต่สิ่งที่ไม่เคย

เปลี่ยนแปลงคือ ความเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของประชาชนในภูมิภาคแถบนี้

และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ท�าให้องค์พระธาตุพนม มีประวัติศาสตร์ที่

ยาวนานและยังคงมีพัฒนาการร่วมกับชุมชนต่อไปอีกนาน

เอกสำรอ้ำงอิง

Arjharn,Tossapon.(1999).Kha-o-kard Phra Thatpanom Amphur Thatpanom

Changwat Nakornpanom. (In Thai) (The Servants of Thatpanom

PagodainThatpanomDistrictNakornpanomProvince).n.p.

Charoensupakul,Anuwit.(1989).Phra Thatpanom (InThai)(PhraThatpanom).

2nded.Bangkok:KurusapaPress.

Na Parknam, Nor (1986).Kwaumpenma Khong Sthup Jadi nai Siam

Prathet(InThai)(HistoryofBuddhismPagodainThailand).Bangkok:

MuengBoranPress.

Prathammarachanuwat(2008).Urangka Nitan - Tamnam Phra Thatpanom

(In Thai) (Urangka Nitan - TheMyth of Phra ThatpanomPagoda).

Bangkok:JunePublishing.

Prathep Rattanamolee. (1994).Prawat Yore Phra Thatpanom (In Thai)

(TheShortHistoryofPhraThatpanomPagoda).2nded. n.p.

ThefineArtsDepartment.(1979).Jodemaihate Karn Burana Patisungkhon

ong Phra Thatpanom. (in Thai) (The Annals of Phra Thatpanom

Restoration).Bangkok:PikanetPress.

Page 20: พระธาตุพนม : พัฒนาการด้าน ...ป ท 7 ฉบ บท 2 พฤษภาคม-ส งหาคม 2554 ท มา : ภาพจากหน

108 วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง

ปีที่ 7 ฉบับพิเศษ 2554