13
นาวิกศาสตร์ ปีท่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ บทความ ตราประจำกระทรวง ของไทยในปัจจุบัน พลเรือโท ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ กล่าวนำ ตั้งแต่โบราณกาลที่ผ่านมาการแสดงการบังคับ บัญชาหรือการสั่งการต่าง ๆ ชาติแต่ละชาติที่นับว่า เจริญในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคใด จะใช้ตรา หรือเครื่องหมายหรือรูปลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งสร้างขึ้น สำหรับใช้ตีหรือประทับหรือปิดผนึกบนเอกสาร ด้วยประสงค์ให้เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนบุคคลหรือคณะบุคคลหรือ ประเทศชาติ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหรือเพื่อ การรับรองความถูกต้อง หรือเพื่อแสดงความสำคัญ ของเอกสารนั้น ซึ่งโดยทั่วไปหมายเฉพาะเอกสาร หรือหนังสือสำคัญทางราชการแผ่นดิน ซึ่งตราต่าง เหล่านี้เรียกว่า “ลัญจกร” หากใช้กับกษัตริย์ จะเรียกว่า “พระราชลัญจกร” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดระบบการปกครอง ใหม่แล้วได้ใช้ตราพระราชลัญจกร รวมทั้งพระราชทาน ตราประจำตำแหน่งให้เสนาบดีกระทรวงและส่วน ราชการต่าง ๆ โดยให้ลงชื่อกำกับไว้ด้วย ต่อมาหลังจาก เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งได้ ยกเลิกตราประจำตำแหน่งพร้อมการลงชื่อไปให้ใช้ การลงชื่อในหนังสือราชการอย่างเดียว ตราประจำ ตำแหน่งจะแปรสภาพเป็นตราประจำกระทรวง ต่าง ๆ บางกระทรวงที่ตั้งใหม่ก็คิดตราขึ้นมาใหม่ บางกระทรวงก็ยกเลิกไป ตราประจำกระทรวงต่าง ๆ ในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหม ตราพระคชสีหในพระธรรมนูญใช้ตรา กล่าวไว้ว่า เป็นตรา เจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม ตรานียังสืบมาจนปัจจุบัน มีทั้งหมด ๓ ดวง แต่ขาดตรา คชสีห์เดินดง อันเป็นรูปคชสีห์เดินบุกอยู่ในหมู่ไม้ ไม่ใช่กนก เป็นตราประจำตัวเสนาบดีกรมพระกลาโหม ๏ ตราพระราชลัญจกร ๐58

ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

บทความ

ตราประจำกระทรวงของไทยในปัจจุบัน

พลเรือโท ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์

กล่าวนำ ตั้งแต่โบราณกาลที่ผ่านมาการแสดงการบังคับบัญชาหรือการสั่งการต่าง ๆ ชาติแต่ละชาติที่นับว่าเจริญในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคใด จะใช้ตราหรือเครื่องหมายหรือรูปลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับใช้ตีหรือประทับหรือปิดผนึกบนเอกสาร ด้วยประสงค์ให้เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งแทนบุคคลหรือคณะบุคคลหรือประเทศชาติ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหรือเพื่อการรับรองความถูกต้อง หรือเพื่อแสดงความสำคัญของเอกสารนั้น ซึ่งโดยทั่วไปหมายเฉพาะเอกสารหรือหนังสือสำคัญทางราชการแผ่นดิน ซึ่งตราต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า “ลัญจกร”หากใช้กับกษัตริย์จะเรียกว่า “พระราชลัญจกร”   ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้า ฯให้จัดระบบการปกครองใหม่แล้วได้ใช้ตราพระราชลัญจกร รวมทั้งพระราชทาน

ตราประจำตำแหน่งให้เสนาบดีกระทรวงและส่วนราชการต่างๆโดยให้ลงชื่อกำกับไว้ด้วยต่อมาหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งได้ยกเลิกตราประจำตำแหน่งพร้อมการลงชื่อไปให้ใช้การลงชื่อในหนังสือราชการอย่างเดียว ตราประจำตำแหน่งจะแปรสภาพเป็นตราประจำกระทรวง ต่าง ๆ บางกระทรวงที่ตั้งใหม่ก็คิดตราขึ้นมาใหม่ บางกระทรวงก็ยกเลิกไป ตราประจำกระทรวงต่าง ๆ ในปัจจุบัน กระทรวงกลาโหม ตราพระคชสีห์ ในพระธรรมนูญใช้ตรา กล่าวไว้ว่า เป็นตราเจ้าพระยามหาเสนาบดี สมุหพระกลาโหม ตรานี้ ยังสืบมาจนปัจจุบัน มีทั้งหมด ๓ ดวง แต่ขาดตราคชสีห์เดินดง อันเป็นรูปคชสีห์เดินบุกอยู่ในหมู่ไม้ไม่ใช่กนก เป็นตราประจำตัวเสนาบดีกรมพระกลาโหม

๏ ตราพระราชลัญจกร

๐58

Page 2: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

อย่างตราพระราชสีห์น้อยของเสนาบดีมหาดไทยนอกจากนี้ยังมีตราพระคชสีห์ ฝ่ายเหนือ ซึ่งใน พระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าเป็นตราหลวงธรรมไตรโลก เสนาบดีศรีสมุหพระกลาโหม คชสีห์เป็นลักษณะของราชสีห์ผสมกับช้าง(คช) ซึ่งคติไทยถือว่า “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติใช้ใน ราชสงคราม ดังนั้น ตราคชสีห์จึงสอดคล้องกับข้าราชการที่ออกสงคราม อันหมายถึงทหารนั่นเองซึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ทั้งพลเรือนและทหารต่างต้องถูกเกณฑ์ไปราชการสงครามและรับราชการเหมือนกัน คชสีห์เป็นสัตว์ในวรรณคดีแสดงถึงความสมถะ รักเกียรติและสง่างามซึ่งเปรียบเสมือนข้าราชการ กระทรวงการคลัง ตราปักษาวายุภักษ ์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่า “ตราเจ้าพระยาศรีธรรมราชาโกษาธิบดี ใช้ตราบัวแก้ว” ซึ่งบัดนี้ เป็นตรากระทรวงต่างประเทศ แต่ก่อนนี้การคลัง และการต่างประเทศอยู่รวมกันในรัชกาลที่ ๕ จัดระเบียบการปกครองแยกหน้าที่ทั้งสองนี้ออกเป็นคนละส่วน คือ ตั้งเป็นกระทรวง การต่างประเทศ ถือ“ตราบัวแก้ว”และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติถือ“ตราพระสุริยมณฑล” จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.๒๔๗๕แล้วในปีรุ่งขึ้นคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้

ใช้ตราปักษาวายุภักษ์เป็นตราของกระทรวงการคลัง ในพระธรรมนูญใช้ตราว่า“ตราปักษาวายุภักษ์เป็นตราของพระยาราชภักด ีฯ เจ้ากรมพระจำนวนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร” เมื่อกระทรวงการคลังนำตรานกวายุภักษ์มาใช้เป็นตราของกระทรวงตามมติคณะรัฐมนตรีแล้วบรรดาส่วนงานภายใต้การบังคับบัญชาจึงได้นำ รูปนกวายุภักษ์มาเป็นเครื่องหมายของกรมตลอดจนรัฐวิสาหกิจบางแห่งด้วย นับได้ว่าเป็นตราที่ใช้กันกว้างขวางมากที่สุดตราหนึ่งในบรรดากระทรวงสำคัญของประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ  ตราบัวแก้ว  ตราบัวแก้วซึ่งเป็นรูปเทพยดานั่งในดอกบัว ถือดอกบัวข้างขวา ถือวชิระข้างซ้ายนั้น เป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ งใช้มาตั้ งแต่ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตราบัวแก้วเป็นตราซึ่งเจ้าพระยาคลังใช้ประทับ ในเอกสารของกรมเจ้ าท่ าและที่ เกี่ ยวข้องกับกระทรวงการต่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาต่าง ๆ ในปี พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แยกราชการด้านการคลังออกจากกรมท่า ตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ กรมท่าและต่อมาเมื่อได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

๏ ตราปักษาวายุภักษ์๏ ตราพระคชสีห์

๐59

Page 3: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

จัดระบบราชการใหม่โดยแบ่งเป็น ๑๒ กระทรวงตราบัวแก้ว จึงเป็นตราประจำเสนาบดีว่าการต่างประเทศ และกลายมาเป็นตราของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ตราเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญา  และพระพลบดี  ทรงช้างเอราวัณ  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมพ.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬาการศึกษา ด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่กฎหมาย ดังนั้นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงจึงเป็นตรา ที่กำหนดใหม่ มีความหมาย โดยเป็นรูปตราเรือพระที่นั่ งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์กัญญา และ พระพลบดีทรงช้างเอราวัณ ตรงกลางมีภาพเรือพระที่นั่ งสุพรรณหงส์ ทอดบัลลังก์กัญญา หมายถึง การเสด็จประพาสอย่างมีศักดิ์ศรีสง่างามตามประเพณี และอวดศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย(เป็นสีน้ำเงิน) เบื้องบนมีภาพพระพลบดี(พระอินทร์)ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ขวาถือวชิระ พระหัตถ์ซ้าย พระขรรค์ ลอยอยู่บนเมฆ แสดงถึงพลังอันรุ่งโรจน์และความเจริญก้าวหน้านิรันดร สองข้างซ้ายขวา มีเมฆประกอบ(เส้นสีเขียวสด)

เบื้องล่างเป็นลายกนกระลอกคลื่น และมีอักษรข้อความว่า “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา”(เป็นสีทอง)โค้งรับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย ์ตราพระประชาบดีล้อมด้วยฤาษี ๗ ตน   เป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง กรมพ.ศ.๒๕๔๕ซึ่งเป็นกระทรวงภาคสังคมในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชนเป็นองค์การและกลไกด้านสังคมในการบรรลุนโยบายของรัฐบาลที่ให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนสตรีผู้ด้อยโอกาสคนพิการและผู้สูงอายุมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้มีการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิตามกรอบรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ โดยบูรณาการแนวคิด ทิศทาง และการบริหารให้เป็นระบบจากภาคีทุกภาคส่วนและทุกระดับ ดังนั้นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงจึงเป็นตราที่กำหนดใหม่มีความหมายดังนี้ พระประชาบดี หมายถึง เทพผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นบุตรของพระพรหม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เทพมเหศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน เป็นมนสาบุตร หมายถึง พระพรหม นึกให้เกิดพระประชาบดีและบริวาร ซึ่งเป็นฤาษี ๗

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา๏ ตราบัวแก้ว

๐60

Page 4: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

คนหรือสัปตฤาษีได้รับมอบหมายจากพระพรหมให้มาสร้างมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ เมื่อทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ถนอมเลี้ยงดูบุตรด้วยความเมตตากรุณา โดยไม่คำนึงผลตอบแทนแม้แต่น้อย ฤาษี ๗ ตน หรือสัปตฤาษี ซึ่งนำมาบรรจุในเครื่องหมายด้วยนั้น มีความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสวัสดิการเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางสังคม๗ประเภทคือ • การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการเด็กและเยาวชน •การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการครอบครัว •การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการสตรี •การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการคนพิการและ ผู้สูงอายุ • การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการผู้ด้อยโอกาส และอื่นๆ •การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย • การพัฒนาสังคมและจัดสวัสดิการชุมชน และ สังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตราพิรุณทรงนาค ในต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นยุคของการเริ่มปรับปรุงส่วนราชการ และจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้การดำเนินการไปสู่ความเจริญก้าวหน้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับการปรับปรุงเป็นครั้งแรก ในยุคนี้เช่นกันโดยปรับปรุงจากกระทรวงเกษตราธิการ (กรมนา) จนกระทั่งในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ให้ยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดยโอนกรมส่งเสริม สหกรณ์

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ น้ำมาอยู่ ในสังกัดกระทรวงเกษตร และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” และใช้ตราพระพิรุณทรงนาคซึ่งหมายความว่า พระพิรุณ เป็นที่นับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่าเป็นเจ้าแห่งน้ำเป็นผู้บันดาลให้ฝนตก พญานาค เป็นพาหนะของพระพิรุณ และเป็นกำลังของการให้น้ำ พระพิรุณทรงนาคจึงเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ กระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ  ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รวม การโยธาต่าง ๆ ที่อยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาตั้งเป็น กระทรวงโยธาธิการขึ้น และรวมกรมโทรเลขไปรษณีย์เข้าในกระทรวงโยธาธิการ และใช้ตราพระรามทรงรถเป็นตราประจำกระทรวง ต่อมาได้มีการปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมหลายครั้งจนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๘๔ ได้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้นและได้ใช้

๏ ตราพระรามทรงรถ

๏ ตราพิรุณทรงนาค๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

๐61

Page 5: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

ตราพระรามทรงรถ จากกระทรวงโยธาธิการเป็น ตราประจำกระทรวงคมนาคมแทน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ในการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะใน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ ได้จัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่ให้มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ที่จะดำเนินการให้ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายของประเทศได้อยู่คู่กับสังคมไทย ตลอดไป รวมทั้งประชาชนได้มีการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขภายใต้คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย มีความหมายดังนี้ - รูปทรงของสัญลักษณ์ที่ เป็นโล่ หมายถึง การปกป้อง การป้องกัน ซึ่งในหลายประเทศนิยม ใช้รูปทรงโล่แทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม -ต้นโพธิ์และแผ่นดิน ต้นโพธิ์ หมายถึง ต้นไม้ หรือ โพธิ์ทองของ ชาวไทยซึ่งเป็นสิ่งที่เรายึดมั่น ใบไม้หมายถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลมนุษย์เพราะมีการสังเคราะห์แสง(Photosynthesis)รวมทั้งเป็นปุ๋ยที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกด้วย แผ่นดินหมายถึง ความเชื่อมต่อระหว่างต้นไม้ที่ต้องพึ่งพาดิน ดินต้องได้รับปุ๋ยจากต้นไม้ ภาพนี้เป็นตัวแทนของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) กรมป่าไม้ (ปม.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และกรมทางด้าน สิ่งแวดล้อมทั้งหมด คือ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม(สส.)และกรมควบคุมมลพิษ(คพ.) - ช้าง ๒ เชือก เป็น ช้างพังเพศเมีย (แม่)

และลูกช้าง หมายถึง สัตว์ป่า ความเข้มแข็ง การดำรงพันธุ์ความเมตตาของแม่ที่มีต่อลูกลูกช้างเป็นช้างเผือกหมายถึงความเป็นพิเศษเป็นตัวแทน อส.โดยเฉพาะเรื่องของสัตว์ป่าอ.อ.ป.(เรื่องคชบาล) และองค์การสวนสัตว์(อสส.) • ปลาโลมา หมายถึง มีการปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม(Adaptation) วิวัฒนาการ(Evolution)เฉลียวฉลาดปลาโลมาทะเลชายฝั่งและหาดทรายแทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ในส่วนของอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำหรับ คลื่นน้ำจืดแทนกรมทรัพยากรน้ำ(ทน.)กรมทรัพยากรน้ำบาดาล(ทบ.)และองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.) • พระอาทิตย์ หมายถึง ผู้ก่อให้เกิดธรรมชาติและทุกสรรพสิ่ง เป็นอำนาจพลังงานที่สะอาดและบริสุทธิ์ (CleanDevelopmentMechanism) และ สิ่งแวดล้อม จึงเป็นตัวแทนกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) • เพชร หมายถึง ความแข็งแกร่ง ความ มีค่า สะอาด บริสุทธิ์ เป็นแร่ชนิดหนึ่งแทนกรมทรัพยากรธรณี(ทธ.) • หยดน้ำ หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนกรมทรัพยากรน้ำ(ทน.)และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล(ทบ.) •ลายไทยหมายถึงความเป็นไทย• มณฑป แสดงถึง ความเป็นไทย ปลายแหลม หมายถึงความแหลมคมสามารถทะลุทะลวงปัญหาได ้

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๐62

Page 6: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

• ลูกโลก เป็นโลกใบเดียวกันแต่มี ๒ ด้าน ด้านตะวันออก (ประเทศไทย) และด้านตะวันตกลูกโลกทั้ ง ๒ ด้าน มีไม้ค้ำ หมายถึง เรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทั้งโลก และประเทศไทย ค้ำจุนโลกใบนี้ ไว้ทั้ ง โลก โลกมีสีฟ้า หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่สะอาดและบริสุทธิ์ • ผ้าคลุมโล่ หมายถึง การปกป้องโลก เสมือนบรรยากาศปกคลุมโลก •สีเขียวหมายถึงสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตราพระพุธ  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.๒๕๔๕มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่ มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นตราสัญลักษณ์ของกระทรวงจึงเป็นตราที่กำหนดใหม่มีความหมายดังนี้ พระพุธ เป็นเทพประจำวันพุธ มีกายสีเขียวเปี่ยมด้วยภูมิปัญญามีความรอบรู้เป็นเลิศ พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ แสดงถึงความรอบรู้ ในวิทยาการต่าง ๆ พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ แสดงถึงความ เฉียบคม มีอำนาจพระเศียรเปล่งรัศมี แสดงถึง พระปัญญาญาณ

กระทรวงพลังงาน ตราโลกุตระ  กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานของรัฐที่ จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติ ภารกิจในการจัดหาพัฒนา และบริหารจัดการพลังงานอย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างยั่งยืน โดยใช้ตราสัญลักษณ์โลกุตระ (เริ่มใช้ วันที่๑กรกฎาคมพ.ศ.๒๕๕๐) สัญลักษณ์ “ โลกุตระ ”สื่ อความหมายถึ ง พุทธปัญญา ความหยั่งรู้และความเพียรพยายาม ในการทำให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ดังเช่นการ ตรัสรู้ถึงหนทางแห่งนิพพาน โดยสิ่งที่กระทรวงพลังงานต้องการสื่อโดยสัญลักษณ์นี้คือ ความมุ่งมั่นของทุกองคาพยพที่ประกอบเป็นกระทรวงพลังงานในการทุ่มเทความรู้ความสามารถและความเพียรพยายามคิดค้นหากลยุทธ์ที่ดีที่สุด เพื่อให้ประเทศไทยมีพลังงานใช้อย่างมั่นคงเพียงพอปลอดภัยคุ้มค่า มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมอันเป็นเป้าประสงค์ของกระทรวงพลังงาน นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความดีอันสูงส่งเพื่อความเจริญรุ่งเรือง สัญลักษณ์นี้อาจดูได้ประหนึ่งคล้าย “เปลวไฟ” ที่กำลังลุกโชติช่วงให้ความสว่างไสว และสะท้อนถึงพลังงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความเจริญของประเทศไทย เปรียบได้ดั่งการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานที่ยึดถือ หลักการและเป้าหมายเป็นดั่งแสงส่องนำ เพื่อ ยังประโยชน์ให้เกิดแก่ชาติและประชาชน ชาวไทยโดยบริบูรณ์

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงพลังงาน๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

๐63

Page 7: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

กระทรวงพาณิชย์ ตราพระวิษณุกรรม  ในสมัยกระทรวงเกษตรพาณิชยการสมัยแรกเสนาบดีถือตราพระพิรุณทรงนาค พระพิรุณเป็นเทวดาเจ้าน้ำเป็นผู้บันดาลให้ฝนตกนาคก็เกี่ยวกับน้ำ ตราพระพิรุณทรงนาคจึงเกี่ยวกับกสิกรรมทำไร่ไถนาซึ่งเป็นของสำคัญมาแต่โบราณโดยตรง เมื่อตั้งเป็นกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ มีประกาศให้กระทรวงพาณิชย์ใช้ตราเป็นรูปตุ้ม เครื่องชั่งทะนานและไม้วัด ผูกกันเป็นลาย ตรานี้จึงเป็นความหมายเกี่ยวกับการพาณิชย์สอดคล้องต้องกันกับประวัติ ของกระทรวงและตัวตึกที่ว่าการดังบรรยายมาแต่ต้นในคราวเดียวกันนี้ ประกาศให้กระทรวงพาณิชย์ใช้สีมอครามเป็นสีเครื่องหมายกระทรวง ต่อมาเมื่อรวมกระทรวงพาณิชย์เข้ากับกระทรวงคมนาคมเรียกว่า“กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม” ในปี พ.ศ.๒๔๖๙มีประกาศให้ ใช้ตรารูปพระวิษณุกรรมเป็นตรากระทรวงสีเครื่องหมายกระทรวงเปลี่ยนเป็นสีเลือดหม ูตราพระวิษณุกรรมเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการเดิม ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงคมนาคมและใช้ตราพระรามทรงรถ เมื่อนำงานคมนาคมมารวมเข้ากับงานพาณิชย์และถือว่างานพาณิชย์เป็นงานสำคัญ จึงกลับไปใช้ตราพระวิษณุกรรม พระวิษณุกรรมเป็นเทวดาชำนาญในการช่างตลอดจนการก่อสร้าง ที่มาเป็นตรากระทรวงพาณิชย์ก็เนื่องจากเป็นตราเก่า และงานของโยธาก็คลี่คลายมาเกี่ยวข้องกับงานพาณิชย์เป็นลำดับมา ในปัจจุบันตราประจำกระทรวงคงเป็นตราพระวิษณุกรรม แต่สีเครื่องหมายกระทรวง

เปลี่ยนไปใช้สีมอครามตามเดิม ที่บานประตูเหล็กใหญ่ของตัวกระทรวงมีแผ่นโลหะกรมเป็นตราภาพงูสองตัวพันไม้ไขว้กัน ตอนบนมีปีกสองข้างติดอยู่ ทั้งสองบานเป็นคู่กัน เข้าใจว่าตรานั้นเป็นไม้เท้ากายสิทธิ์ที่เรียกว่าคาดิวซุส(Caduceus)ซึ่งเป็นไม้ถือของเทวดากรีกมีนามว่า เฮอเมส(Hermes)และชาวโรมันเรียกว่าเมอคิวริอุส(Mercurius)ตามประวัต ิข้างกรีกมีว่า เฮอเมสเป็นโอรสของเซอุสมหาเทพเป็นช่างเทวดาเฉลียวฉลาดในเชิงประดิษฐ์ต่าง ๆเช่นประดิษฐ์พิณ ประดิษฐ์ตัวอักษร ตัวเลข และ ที่สำคัญก็คือ ประดิษฐ์เครื่องชั่ง ตวง วัด เฮอเมสเป็นที่เคารพบูชาของพ่อค้าวาณิชทั่วไป กระทรวงมหาดไทย ตราพระราชสีห์  ตราประจำตำแหน่ง “พระราชสีห์” แบ่งเป็น ตราราชสีห์ใหญ่และน้อย • ตราพระราชสีห์ใหญ่ เป็นตราสำหรับประทับหนังสือราชการ ซึ่งเชิญพระบรมราชโองการ และเรียกหนังสือเช่นนั้นว่า “สารตรา” เช่น หนังสือถึง เจ้าประเทศราช เป็นหนังสือหรือคำสั่งถึงข้าราชการ หัวเมืองตามธรรมดาซึ่งใช้คำว่า สารตราเจ้าพระยาจักร ีศรีองครักษ์ ที่สมุหนายก ถึง...ดั่งนี้ลงท้ายเซ็นนามเสนาบดีแล้วต้องประทับตราพระราชสีห์ ใหญ่นี้ บนนาม ตราพระราชสีห์ใหญ่นี้ต้องอยู่ประจำ ณ ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินเสนาบดีไปไหนนำติดตัวไปได้แต่ตราราชสีห์น้อย • ตราพระราชสีห์น้อย เป็นดวงตราสำหรับ ใช้ประทับข้างบนนามเสนาบดีในหนังสือคำสั่งทั้งปวงที่เรียกว่าตราน้อย เป็นตราที่ต้องประทับมากกว่า

๏ ตราพระราชสีห์๏ ตราพระวิษณุกรรม

๐64

Page 8: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

ดวงใด ๆ ทั้งหมดหนังสือที่ประทับตราพระราชสีห์น้อย คล้ายกับจดหมายนามของเสนาบดีตามที่ เป็นจริง และเรียกหนังสืออย่างนี้ว่า “ท้องตรา”ปัจจุบันได้ใช้ตราของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม ตราดุลพาห  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเดิมนั้นใช้ ตราจันทรมณฑล ซึ่งเป็นตราประจำตัวของสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ภายหลังพระราชทานเป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ต่อมา ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๖) ปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ ได้มีการเปลี่ยนแปลงตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นตราดุลพาห ตราดุลพาห มีลักษณะเป็นดวงตราใหญ่ มีรูปดุลขัดอยู่ที่ด้ามพระขรรค์ตั้งอยู่บนพานกลีบบัวสองชั้น มีฐานสิงห์รอง มีลายกนกล้อม พระราชทานนามว่าตราดุลพาห ตามคำกราบบังคมทูลเสนอของพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงปราจิณกิตติบดี ตราดุลพาห แปลความตามศัพท์ว่า เครื่องมือสำหรับชั่งหรือวัด ให้เกิดความเที่ยงธรรม ได้แก่ตราชู คือเครื่องชั่งให้รู้หนักเบา แปลความตามนัยหมายถึง ความรับผิดชอบในการผดุงความยุติธรรมให้สถิตเสถียร สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปข้างฝ่ายใดด้วยอคติ กระทรวงแรงงาน  ตราเทพบดีสามองค์  ที่มาของกระทรวงแรงงาน เริ่มมาจากเป็นแผนกหนึ่ งของกรมการปกครอง ต่อมาเป็น กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งถือกำเนิดขึ้น

เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๖ และต่อมา ได้มีการจัดตั้งขึ้นเป็นกระทรวง เมื่อเดือนธันวาคมพ.ศ.๒๔๔๓ โดยใช้ชื่อว่า “กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” เป็นกระทรวงในลำดับที่ ๑๕ และหลักจากการปฏิรูประบบราชการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่๓ตุลาคมพ.ศ.๒๕๔๕กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ ชื่อใหม่ว่า“กระทรวงแรงงาน” ภายในวงกลมมีรูปเทพบดีถือพระขรรค์รักษาความเป็นธรรมอยู่กลาง พระหัตถ์ขวาประสาทพรเทวดาเบื้องซ้ายถือม้วนสารา เปรียบเหมือนนายจ้างและเทวดาเบื้องขวาถือผึ่งและดิ่ง เปรียบเหมือนลูกจ้างทั้งสามองค์เหาะลอยเปล่งรัศมีอยู่เหนือลายเมฆ ความหมาย เทพบดีสามองค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์พระหัตถ์ขวาประสาทพรมีหน้าที่รักษาความเป็นธรรม เปรียบเสมือนรัฐบาล ซึ่งทำหน้าที่รักษาความเป็นธรรมและอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน โดยมีกฎหมายเป็นเครื่องมือ เทพบดีผู้อยู่เบื้องขวาพระหัตถ์ขวาถือม้วนสารา หมายถึงนายจ้าง เทพบดีผู้อยู่ เบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาถือผึ่งพระหัตถ์ซ้ายถือดิ่งหมายถึงลูกจ้าง ทั้งสามองค์เหาะลอยเปล่งรัศมีอยู่เหนือลายเมฆภายในวงกลมเดียวกัน ซึ่งมีความหมายถึงความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่ายเพื่อความเจริญก้าวหน้าในกิจการอันมีประสิทธิภาพและ มีประสิทธิผลของชาติ

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงแรงงาน๏ ตราดุลพาห

๐65

Page 9: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

กระทรวงวัฒนธรรม  ตรารูปดวงประทีปภายในบุษบก  การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติเริ่มต้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ มีการตั้งกองวัฒนธรรม ในสังกัดกรมศิลปากร ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๘๓มีพระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติ กำหนดความหมายของวัฒนธรรมว่า หมายถึงลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงามความเป็นระเบียบอันดีงาม ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน จากนั้นมีการออกพระราชบัญญัติบำรุงวัฒนธรรมแห่งชาติอีกหลายฉบับ รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จนกระทั่งวันที่ ๑๒มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๕ จึงมีการสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้น โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในพ.ศ.๒๕๐๑เกิดภาวะผันแปร ทางการเมือง กระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบ โดยลดฐานะเป็นกองวัฒนธรรม สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรมการศาสนาตามลำดับจนถึงพ.ศ.๒๕๒๒จึงจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นมีฐานะเทียบเท่ากรม ต่อมารัฐบาลจึงได้สถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๔๕ โดยมีภารกิจสำคัญครอบคลุมงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม  ตราสัญลักษณ์เป็นรูปดวงประทีปภายในบุษบกเหนือหมู่ลายเมฆหมอก หมายถึง ปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรมกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ

โดยศึกษาจากรูปแบบตราสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อพ.ศ.๒๔๘๕และนำมาดัดแปลงปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ตรารูปปรมาณูและฟันเฟือง  ใน พ.ศ.๒๕๔๕ ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงได้ปฏิรูปเป็นกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อ ๒ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๔๕ ในบทบาทที่ชัดเจน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปปรมาณูอยู่ตรงกลางข้างล่างมีเฟืองจักรเก้าฟันเป็นฐานรองรับ ข้างบน มีดวงอาทิตย์ส่องรัศมีเก้าสายครอบคลุมทั้งหมด • จำนวนเฟืองจักรเก้าฟัน และ รัศมีอาทิตย์ เก้าสาย หมายถึงการเปลี่ยนแปลง เพื่อความก้าวหน้าหรือพัฒนาการ • ปรมาณูเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ อยู่ตรงกลาง หมายความว่า วิทยาศาสตร์เป็นแกน

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงแรงงาน

๐66

Page 10: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

กลางของการพัฒนาประดุจนิวเคลียสปรมาณูเป็นแกนกลางของสรรพสิ่งทั้งหลาย • เฟืองจักรเป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยี เป็นฐานรองรับ หมายความว่า เทคโนโลยีเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง • ดวงอาทิตย์ เป็นสัญลักษณ์ของพลังงาน ส่องรัศมีครอบคลุมทั้งหมดหมายความว่าพลังงานเป็นปัจจัยหลักของการพัฒนา กระทรวงศึกษาธิการ ตราเสมาธรรมจักร  กระทรวงศึกษาธิการแต่เดิมมีชื่อว่า กระทรวงธรรมการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๑๑ ปี มะโรง ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงธรรมการ ในร ะยะแรกมี หน้ าที่ จั ดกา รพระศาสนา การศึกษาการพยาบาลและพิพิธภัณฑ์มีกรมในสังกัด ๕ กรมคือ กรมธรรมการกลาง กรมศึกษาธิการกรมพยาบาล กรมพิพิธภัณฑ์ และกรมสังฆการี ชื่อของกระทรวงนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาหลายครั้งกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันนี้มีหน้าที่หลักในด้านการศึกษาและการศาสนา ตราเสมาธรรมจักร นั้น ปรากฏตามประกาศ ตราตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงธรรมการพ.ศ.๒๔๕๖ ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้น เป็นรูปวงกลมมีลายเสมาตั้งบนฐานมีรูปพระธรรมจักรคือล้อรถอยู่กลางใบเสมามีอักษรขอม ทุ.ส.นิ.ม หัวใจพระอริยสัจอยู่ที่ขอบ เบื้องบนเสมาจากการค้นหลักฐานเก่า พบตราประทับขาด ชำรุดแกะด้วยงาช้างที่ กล่องมุกในกำปั่นเก่าของแผนก

พัสดุ กระทรวงศึกษาธิการ มีตราตำแหน่งปลัด ทูลฉลองเป็นรูปเสมาธรรมจักร มีอักษรขอมทุ.ส.นิ.ม ด้านบน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัย ของสำนัก งานเลขานุการรัฐมนตรี สำหรับใช้ประทับเอกสารสำคัญของกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข  ตรารูปคบเพลิงมีปีกและ  งูพันคบเพลิง  เมื่อ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ พระพุทธเจ้าหลวงทรงตั้ง“กรมการพยาบาล”ขึ้นเพื่อให้ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาลสืบแทนคณะกรรมการสร้างโรงพยาบาลวังหน้า ซึ่งพ้นหน้าที่ไปเมื่อการ จัดตั้งเสร็จแล้ว กรมพยาบาลมีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่น ๆ และจัด การปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน สันนิษฐานว่า กรมพยาบาลขึ้นตรงต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพราะพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ ทรงเป็นอธิบดี ครั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรี เสาวภางค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่๑๑ตุลาคมพ.ศ.๒๔๓๒กรม

๏ ตราสัญลักษณ์ กระทรวงสาธารณสุข๏ ตราเสมาธรรมจักร

๐67

Page 11: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

พยาบาลก็ ย้ ายมาสั งกั ด ในกระทรวงธรรมการ เริ่มมีแพทย์ประจำเมืองขึ้นในบางแห่ง มีการ นำยาตำราหลวงออกจำหน่ายในราคาถูกและตั้ง กองแพทย์ไปป้องกันโรคระบาด ในสมัยที่กระทรวงสาธารณสุขยังเป็นกรมพยาบาลราวปีพ.ศ.๒๔๕๖นั้นก็ตั้งอยู่ในกระทรวงมหาดไทย และอยู่มาเรื่อยจนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น กรมประชาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ โดยรวมงานสุขาภิบาลเข้าไว้ด้วย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงกรมประชาภิบาลให้เป็นกรมสาธารณสุข ในวันที่ ๒๗พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๑ แต่ยังคงอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงมหาดไทย ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีการรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุขซึ่ งกระจัดกระจายอยู่ ในหลาย หน่วยงานเช่นกรมสาธารณสุขกรมประชาสงเคราะห์กองสุขาภิบาล โรงเรียนของ กรมพลศึกษา การสาธารณสุขและการแพทย์ของ เทศบาล แผนกอนามัย และสุขาภิบาลของกรมราชทัณฑ์กองเภสัชกรรมและโรงงานเภสัชกรรมไทยของ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงการเศรษฐกิจ และกิจการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวกับแพทยศาสตร์เหล่านี้ให้มารวมอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานเดียว โดยสถาปนาขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่๗มีนาคมพ.ศ.๒๔๘๕และจัดหาที่ตั้งกระทรวงสาธารณสุขใหม่คือวังศุโขทัย เมื่อได้จัดตั้ งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นแล้ว ทางราชการ ได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นตรากระทรวงสาธารณสุข เครื่องหมายดังกล่าวมีประวัติดังนี้คือในวงการแพทย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ปรากฏว่ามีเครื่องหมายที่แสดงถึงอาชีพอยู่ ๒ ชนิดคือ • คธากับงูของเอสกูลาปิอุส เทพเจ้า แห่งแพทย์สมัยกรีก • ไม้ศักดิ์สิทธิ์ หรือCadkuccus ของเทพเจ้า

อะปอลโล(Appollo) คธาของเอสกู ลาปิอุส ซึ่งมีงูพันอยู่โดยรอบนั้นแพทย์ส ม า ค ม อ เ ม ริ กั น ไ ด้ น ำ ม า ใ ช้ เ ป็ นเครื่องหมายประจำสมาคมอยู่แล้ว ตำนานของเครื่องหมายนี้มีว่าในสมัยประมาณ ๑,๒๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล ในขณะ ที่เอสกูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรคให้แก่ผู้ป่วย รายหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า กลอคุส (Glovcus) ภายในสถานที่ทำงานของเขามีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและ ขึ้นพันคธาของหมอโดยการปรากฏเช่นนี้จึงเป็น ที่เชื่อถือกันในครั้งนั้นว่า งูตัวนั้นได้บันดาลให้หมอเอสกูลาปิอุส มีความเฉลียวฉลาดสามารถในการบำบัดโรคยิ่งนัก เพราะในสมัยโบราณนับถือว่างู เป็นสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ งบันดาลให้เกิดความมั่งคั่ งสมบูรณ์ของบ้านเมือง และทำให้โรคต่าง ๆ หายได้งูในกาลก่อนจึงนับว่าเป็นเครื่องหมายแห่งสติปัญญาความเฉลียวฉลาดอำนาจและสุขภาพอันดีส่วนคธานั้นคือ เครื่องหมายแห่งการป้องกันภัยต่าง ๆ และเป็นประดุจเครื่องนำและช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ศึกษาในทางวิทยาศาสตร์ ส่วนไม้ศักดิ์สิทธิ์ (Caduccus) ซึ่งมีลักษณะ เป็นคธาเกลี้ยงมีปีกและมีงูพันอยู่๒ตัวมีตำนานว่าเมื่อประมาณ๔,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล วันหนึ่งในขณะที่เทพเจ้าอะปอลโลกำลังท่องเที่ยวอยู่ ใน อาร์คาเดีย(Arcadia)ได้พบงู๒ตัวกำลังกัดกันอยู่โดยมิประสงค์จะให้สัตว์ศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อสู้และประหัตประหารกัน อะปอลโลจึงได้ใช้ไม้เท้าที่ถือนั้นแยกงูทั้งสองออกจากกันเสีย ไม้เท้านั้นจึงได้กลายเป็นเครื่องหมายแห่งความสงบตั้งแต่นั้นมา ภายหลังได้มีผู้เติมปีก๒ปีกติดกับหัวไม้เท้านั้นซึ่งแสดงถึงความว่องไวและปราดเปรียว กระทรวงอุตสาหกรรม  ตรานารายณ์เกษียรสมุทร   กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มจากการก่อตั้ง กองอุตสาหกรรม ในกรมพาณิชย์ กระทรวง

๐68

Page 12: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

เศรษฐการ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ ก่อนจะยกฐานะขึ้น เป็น กองอิสระรัฐพาณิชย์ ใน พ.ศ.๒๔๘๐ ถัดมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเศรษฐกิจ และจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง“กระทรวงการอุตสาหกรรม” กระทรวงการอุตสาหกรรม เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมในพ.ศ.๒๔๙๕ ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่องนารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดย ถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดง อิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤตซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลก อีกด้วย สำนักนายกรัฐมนตร ี เครื่องหมายราชการแห่งสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรูปกลมลายกลาง เป็นรูปรัฐธรรมนูญมีรัศมีประดิษฐานอยู่บนพาน ๒ ชั้น เหนือตั่งมีรูปราชสีห์กับคชสีห์ยืนในท่าเผ่น หันหน้าเข้าหากัน อยู่ ๒ข้าง การกำหนดเครื่องหมายราชการแห่งสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำเอาสัญลักษณ์ของตราราชสีห์และตราคชสีห์ ในท่าเผ่น หันหน้าเข้าหากันอยู่ ๒ ข้าง ตรงกลางมีรูปรัฐธรรมนูญที่ประดิษฐานอยู่

บนพาน ๒ ชั้น เหนือตั่ง ซึ่งหมายถึง ระบอบ การปกครองที่ มี รั ฐ ธรรมนูญ เป็นแม่บทแห่ งประชาธิปไตยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยคือรัฐธรรมนูญที่มีตราครุฑด้านบนและรัศมี๗ดวงส่วนราชสีห์ ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งอัครเสนาบดีสมุหนายก ที่บังคับบัญชาปกครองข้าราชการพลเรือน และคชสีห์ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่ง อัครเสนาบดีสมุหกลาโหม ที่บังคับบัญชาปกครองข้าราชการทหารอันเป็นข้าราชการสนองเบื้อง พระยุคลบาทพระเจ้าแผ่นดินมาแต่ครั้งโบราณนั้น จะเป็นผู้ดูแลและรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยที่มาจากปวงชนชาวไทยคือรัฐธรรมนูญที่ได้รับพระราชทานเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ดังนั้น เครื่องหมายราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีจึงเป็นสัญลักษณ์ของตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี๒ตำแหน่งอันหมายถึงนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำการบริหารแผ่นดินที่ประชาชนชาวไทยได้เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งการปกครองราชอาณาจักรไทยอันถือเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สรุป ตราประจำกระทรวงต่าง ๆ มีที่มาที่แตกต่างกันบางกระทรวงก็เป็นตราที่นำมาจากของเสนาบดี ที่พระราชทานในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕ เพื่อใช้สั่งการงานราชการ ประกอบการลงนามกำกับ แต่เมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

๏ ตราสัญลักษณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี๏ ตรานารายณ์เกษียรสมุทร

๐69

Page 13: ตราประจำกระทรวง · 2014-05-15 · นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ... จนกระทั่งในวันที่๑

นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔

ได้มีการปรับให้เป็นตราประจำกระทรวงต่าง ๆตามที่ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับกระทรวงใหม่ก็ได้มีการกำหนดขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์และความหมายสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ แต่ตราต่าง ๆเหล่านี้ จะสวยงามหรือมีความหมายอย่างไรก็ตามสิ่ งจำเป็นและสำคัญที่สุดมิ ใช่ความหมาย แต่เป็นการปฏิบัติตนเพื่ออุทิศตนทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อชาติ ศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์เจ้า โดยเคร่งครัดให้สมกับคำว่า “ข้าแผ่นดิน” จึงจะนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

เอกสารอ้างอิงhttp://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=1344.40, ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔http://th.wikipedia.org/wiki, ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔http://www.thairegaliabychad.com/?p=205 , ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔http://www.onlinewoodmarket.com/the-revenue-department/ a-brand-a-seal-of-officethe-revenue-department.html, ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔http://www.mfa.go.th/web/2699.php, ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4250.125;wap2, ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔http://www.moi.go.th/, ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔

ความเป็นทหาร (Soldiership) มีบุคลิกภาพและลักษณะทหารที่ดี มีความอดทน กล้าหาญ มีวินัย จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

คุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Integrity) มีจริยธรรมมีความยุติธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริต

ความมุ่งมั่น (Accomplishing Mission) มีความสม่ำเสมอในการทุ่มเทความพยามยามให้งานบรรลุตามเป้าหมายและตรงต่อเวลา มีพลังใจที่สามารถควบคุมตนเองให้สงบเยือกเย็นภายใต้ความกดดันมีการกระทำที่มีเหตุผลตลอดเวลาและมีกำลังใจไม่คลอนแคลนจากอารมณ์แปรปรวนหรือปัญหาอุปสรรคต่าง ๆที่บั่นทอนทำให้เกิดความท้อแท้ในการปฏิบัติงาน

ความรู้ในสายวิชาชีพ (Vocational Knowledge) มีความรู้และเข้าใจในระบบงานความก้าวหน้าของวิชาการและพัฒนาการต่างๆในขอบเขตงานของตนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่างๆ ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จได้ แสวงหาความรู้เพิ่มเติม อยู่เสมอสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลอื่นๆได้

การทำงานเป็นทีม (Teamwork) มีการทำงานร่วมกับหมู่คณะอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายหรือภารกิจของส่วนรวมยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน ยอมรับข้อโต้แย้งของบุคคลอื่น เพื่อผลของงาน ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการทำงานของเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มใจ

ขีดสมรรถนะหลัก (CORE COMPETENCY) ของข้าราชการกองทัพเรือ

ที่มา : กรมกำลังพลทหารเรือ

๐70