97
รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่า กะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ตาบลแม่ต้าน อาเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2551- 2553 ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตุลาคม 2553

รูปแบบการมีส่วนร่วมในการ ...hhdc.anamai.moph.go.th/download/SAReport_53/miti_1/kpi_3... · 2013-11-07 · ตุลาคม 255 1

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2551- 2553

    ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

    ตุลาคม 2553

  • รายงานวิจัยเรื่อง

    รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภเูขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก 2551 - 2553 Karen community participation model of health behavior focus on National health recommendation among Mae Tor Kee village, Maetan subdistrict, Thasongyang district, Tak province. 2008 – 2010.

    รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ นักวิชาการสาธารณสุขช านาญการ

    ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

    กันยายน 2553

  • “ยิ่งเรายากจน ยิ่งเราอยู่ห่างไกล เรายิ่งต้องแข็งแรงให้มากที่สุด จะท าอย่างไรนั้น เรามาคิดร่วมกัน”

    รุ่งรศัม ี ศรีวงศ์พันธ์

    นักวิจัย

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ก ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    กิตติกรรมประกาศ

    ผู้วิจัยขอขอบพระคุณทันตแพทย์สมนึก ชาญด้วยกิจ ทันตแพทย์ (ด้านทันตสาธารณสุข) ระดับทรงคุณวุฒิ (อดีตที่ปรึกษากรมอนามัย) ที่กรุณาให้ค าปรึกษาให้ก าลังใจและความเมตตาต่อผู้วิจัยขอขอบพระคุณทันตแพทย์อุทัยวรรณ กาญจนกามล ผู้อ านวยการสถาบันเสริมสร้างพลังชุมชน ที่เปิดมุมมองการเสริมสร้างพลังชุมชนด้วยแนวคิดสุนทรียปรัศนี การใช้สินทรัพย์ชุมชนและการท างานด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์

    ขอขอบพระคุณนายโภคากร สินสกลวัฒน์ นายอ าเภอท่าสองยาง จสอ.ประสงค์ หล้าอ่อน ปลัดอาวุโสอ าเภอท่าสองยาง ที่ให้การสนับสนุน ให้แนวคิดการปฏิบัติงานในพื้นที่ และเป็นกัลยาณมิตร ขอขอบคุณนางจุฑาทิพย์ ค าบุศย์ จากส านักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก ที่ให้ก าลังใจ ขอขอบคุณนายแพทย์ธวัชชัย ยิ่งเจริญศักดิ์ ผู้อ านวยการโรงพยาบาลท่าสองยาง นายธวิน อินฟูล า หัวหน้ากลุ่มเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลท่าสองยาง และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติฯ ทุกระดับ ที่ให้ความร่วมมือและเอาใจใส่ผู้วิจัยเป็นอย่างดี ขอขอบคุณนายอดุลย์ ปัญญา อดีตผู้อ านวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอท่าสองยาง และคณะครูอาสาสมัคร จากศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง (ศศช.)ในกลุ่มเลอผาโด้ และศศช.ในต าบลแม่ต้านทุกท่าน โดยเฉพาะนางสาวลินดา คงสุขสมปอง ครูอาสาสมัครศศช.แม่ต้อคี ส าหรับน้ าใจและความเป็นกัลยาณมิตร ขอขอบคุณนายบุญเสริม ชัยโรจน์ปัญญา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนต าบลแม่ต้าน นายสมชาย อาจนรากิจ นายกองค์การบริหารส่วนต าบลแม่ต้านคนปัจจุบัน จสอ.ประเสริฐ อะกะเรือน ปลัดองค์การบริหารส่วนต าบลแม่ต้าน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนต าบลแม่ต้านทุกท่าน ที่ให้โอกาสผู้วิจัยได้เป็นเสมือนคนในหน่วยงานเดียวกัน

    ท้ายที่สุด ขอขอบคุณพี่น้องชาวแม่ต้อคีทุกคน ที่ให้ประสบการณ์การปฏิบัติงานในชุมชน และประสบการณ์การท าวิจัยให้กับผู้วิจัย ขอขอบคุณทุกท่านทั้งที่ได้เอ่ยนามและไม่ได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี ้ด้วยความจริงใจและประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ประสบการณ์ในการท างานร่วมกับกัลยาณมิตรต าบลแม่ต้าน และอ าเภอท่าสองยาง จะอยู่ในความทรงจ าของผู้วิจัยตลอดไป

    รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ กันยายน 2553

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ข ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    ท่ีปรึกษาและผู้วิจัย

    ท่ีปรึกษา ทันตแพทย์สมนึก ชาญด้วยกิจ คุณวุฒิ ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล สาธารณสุขมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ต าแหน่ง ทันตแพทย์ 10 วช. ด้านทันตสาธารณสุข ส านักที่ปรึกษา กรมอนามัย

    ผู้วิจัย นางรุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ (Mrs.Rungrasami Sriwongphan) ต าแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขช านาญการ

    คุณวุฒิ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ต าแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขช านาญการ ฝ่ายพัฒนาวิชาการ ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง

    ผู้วิจัยร่วม นายธวิน อินฟูล า (Mr.Tawin Infulum) ต าแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขช านาญการ หัวหน้ากลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลท่าสองยาง จังหวัดตาก

    คุณวุฒิ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ค ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งน้ีเป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Operation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ด าเนินการวิจัยระหว่าง เดือนตุลาคม 255 1 - กันยายน 255 3 รวม 36 เดือน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ผู้น าชุมชน แกนน าสุขภาพ มีขอบเขตของการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน ใน 3 ประเด็นได้แก่ รูปแบบของการมีส่วนร่วม ลักษณะของการมีส่วนร่วม และบทบาทการมีส่วนร่วม แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือระยะก่อนการวิจัย ระยะด าเนินการวิจัย และระยะหลังด าเนินการวิจัย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นวางแผนร่วมกับชุมชน ขั้นด าเนินงานตามแผน และขั้นติดตามและประเมินผล ร่วมกับภาคีการวิจัยได้แก่โรงพยาบาลท่าสองยาง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอท่าสองยาง และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) บ้านแม่ต้อคี วิเคราะห์ข้อมูล พฤติกรรมสุขภาพ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ บันทึกรายงานการประชุม การสังเกต และการจดบันทึกของนักวิจัย

    ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการส่วนร่วม ในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติ ยึดขั้นตอนของ การด าเนินงานเพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน 4 ขั้นตอน ผลลัพธ์จากการวิจัย มีอาสาสมัครแกนน าสุขภาพบ้านแม่ต้อคี เข้าร่วมด าเนินการวิจัย โดยมีนักวิจัยจากภายนอกและเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่เข้ามากระตุ้น ให้ค าแนะน า ปรึกษา ก่อให้เกิดการรวมตัว กระตือรือร้น และร่วมด าเนินกิจกรรมต่างๆอย่างสร้างสรรค์ ในช่วงแรกของการวิจัยเป็นการวิเคราะห์ปัญหาหรือความขาดแคลนของหมู่บ้าน พบว่ากลุ่มแกนน าเข้าร่วมแบบถูกชักชวน ( Induce Participation) มากกว่าการเรียนรู้และบริหารจัดการด้วยตนเอง ดังนั้นในช่วงปีที่ 2 ของการวิจัยได้มีการปรับแนวคิดและกระบวนการวิจัย เป็นการใช้ทุนหรือภูมิปัญญา ที่มีอยู่ในกลุ่มแกนน าและชุมชน ช่วยให้มองเห็นตนเองและชุมชนในมุมมองใหม่ มองเห็นความสามารถ ความดี ความเก่งของตนเองและชุมชน และน าสิ่งเหล่านี้ไปพัฒนาหมู่บ้านได้ขึ้น พบว่าพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้รับการพัฒนามากกว่ากลุ่มพฤติกรรมอื่น

    ข้อเสนอแนะการวิจัย การพัฒนาในชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง มักเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต้องอาศัยค าแนะน าปรึกษา พาลงมือท าและสรุปบทเรียนรู้ร่วมกันเป็นระยะ จึงจะ เกิดการเรียนรู้ ความเชื่อมั่นและประสบการณ์การท างานให้กับชุมชน จากหน่วยงานในพื้นที่ได้แก่ครูอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่ง มีบทบาทส าคัญยิ่งในการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเน่ือง ประการส าคัญคือควรพัฒนาแนวคิด

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ง ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    ที่ว่าบุคคลและชุมชนมีศักยภาพ และสามารถเรียนรู้ที่จะดูแลและพึ่งตนเองได้ อันจะเป็นหนทางน าไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนต่อไปได้

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ จ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    Abstract

    The purpose of the operational was study karen community participation model of health behavior focus on national health recommendation among Mae Tor Kee village, Maetan subdistrict, Thasongyang district, Tak province. The research have been implemented during October 2008 to September 2010 total up 36 months. Community leader, health leader were purposively selected as the sample of the study. Participation model, community type of participation and community role were scope of the study. This research divided 3 phase, pre-phase, operation phase and post-phase. The research applied 4 steps of participatory model such as community participation preparing, community planning, action planning and evaluate planning. This research mobilized by the outside researcher, Thasongyang hospital, Thasongyang’s non-formal education center and Mae tore kee’s Mae fah luang learning center. Health behavior interviewed was the quantitative data analyzed. Meeting report, the researcher’s observe and record were the quality data analyzed. The result showed that community participation model of health behavior focus on National health recommendation was applied 4 steps of participatory model. 40 community health volunteer persons were included and encouraged, advised, consulted, enthusiastic and share proceed to create all activities from the outside researcher and the officer in local area. During the first year of this research, process of the research model was analyzed a problem or the lack of a village (Problem based approach) and found that the community health volunteer persons were induce participation more than learning and manage with themselves. So during the seconded year of the research, the asset based community development concept was generated community mobilize. An environment health behavior had develop more than other health behavior group.

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ฉ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    Research results suggested that the Karen community development often be proceed gradually. Should be advice or consult and take start to do and learning summarize from the local area such as the volunteer instructor and health officer, who is important person to stimuli the cooperate and encourage the continuous learning process in community continuously for sustainable development. Main point of this research should be develop the concept idea base on a person and the community have the latency and can learn to take care and rely on themselves to the community development vigorously and quality of good life.

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ช ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………………... ก ที่ปรึกษางานวิจัยและผู้วิจัย……………………………………………………………….. ข บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………….. ค บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………. จ สารบัญ ช สารบัญตาราง……………………………………………………………………….. ฌ สารบัญแผนภูมิ……………………………………………………………………... ญ สารบัญภาพ……………………………………………………………………….... ฏ บทที่ 1 บทน า ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา………………………………………......... 1 วัตถุประสงค์การวิจัย………………………………………………………………... 4 ค าจ ากัดความที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………….. 4 ขอบเขตการวิจัย…………………………………………………………………….. 5 ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิจัย………………………………………………………… 5 ข้อจ ากัดในการวิจัย…………………………………………………………………. 5 กรอบแนวคิดในการท าวิจยั………………………………………………………… 6 บทที่ 2 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดการมีส่วนร่วม………………………………………...……………………. 7 แนวคิดการพัฒนาพฤตกิรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ……………... 10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………. 16 บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย……………………………………………………………………… 24 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย……………………………………………………………….... 26 ระยะเวลาการวิจัย………………………………….………………………………... 26 ขั้นตอนและกระบวนการวิจัย……………………………………………………….. 26 เคร่ืองมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………………. 27 การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………………. 27

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ซ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    บทที่ 4 ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานบ้านแม่ต้อคี………………...………… 28 ส่วนที่ 2 ผลการศึกษา ……………………………………………..………….. 32 บทที่ 5 อภิปรายผลการศึกษา……………………………………………………….. 69 บทที่ 6 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 76 บรรณานุกรม………………………………………………………………………….. 81 ภาคผนวก ภาคผนวก ก ข้อมูลเกี่ยวกับชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง………………………………. 85 ภาคผนวก ข โครงการอบรมแกนน าสุขภาพบ้านแม่ต้อคี เร่ืองการพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ…………………………….....

    87

    ภาคผนวก ค โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนน าชุมชนบ้าน แม่ต้อคี เร่ือง “ประสานความคิด เนรมิตสุขภาพชุมชน”……………

    91

    ภาคผนวก ง ข่าวแม่ต้อคี………………………………………………………… 95 ภาคผนวก จ ภาพกิจกรรมการด าเนินงานวิจัย……………………………………... 99

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ฌ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    สารบัญตาราง หน้า

    ตารางที่ 1 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด .......................................................

    61

    ตารางที่ 2 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการดูแลความสะอาดในช่องปาก……………………………………………….

    62

    ตารางที่ 3 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร…………………………………………………………………

    63

    ตารางที่ 4 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการใช้ สารเสพติด /พฤติกรรมทางเพศ ……………………………………….

    64

    ตารางที่ 5 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการออกก าลังกาย………………………………………………………………

    65

    ตารางที่ 6 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด…………………………………………………………

    66

    ตารางที่ 7 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรม ความปลอดภัย...........………………………………………………….

    67

    ตารางที่ 8 จ านวนและร้อยละของชาวแม่ต้อคี จ าแนกตามพฤติกรรมพฤติกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม………………………………………….

    68

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ญ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    สารบัญแผนภูมิ หน้า

    แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย......................................................................... 6 แผนภูมิที่ 2 แสดงลักษณะของพฤติกรรมสุขภาพ……………………….............. 11

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ฎ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านแม่ต้อคี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    สารบัญภาพ หน้า

    ภาพที่ 1 กิจกรรมเข้าค่ายพัฒนาทักษะสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติ........... 99 ภาพที่ 2 กิจกรรมประชุมปฏิบัติการประสานความคิด เนรมิตสุขภาพ

    ชุมชน………...……………………………………………………. 100

    ภาพที่ 3 กิจกรรมปรับปรุงแหล่งน้ าประปาภูเขา ............................................ 101 ภาพที่ 4 กิจกรรมจัดท าเคร่ืองกรองน้ าครัวเรือน……....................................... 102 ภาพที่ 5 การเยี่ยมชมหมู่บ้านของอธิบดีกรมอนามัยและสื่อมวลชน………..... 103

  • บทท่ี 1

    บทน า

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา พื้นฐานการมีสุขภาพดีของประชาชน เป็นรากฐานที่ส าคัญของการแก้ปัญหาสาธารณสุข

    ของประเทศที่จ าเป็นและเหมาะสมกับสภาวะสังคมโลกในปัจจุบัน กระบวนการให้ประชาชนมีสุขภาพดีนั้น มีอยู่มากมายหลายวิธี การสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เป็นกลวิธีหนึ่งที่ส าคัญของนโยบายการสุขศึกษาแห่งชาติ จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความส าคัญต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การคมนาคมเข้าไม่ถึง ท าให้ขาดโอกาสพัฒนาด้านต่างๆ และขาดโอกาสได้รับบริการด้านพื้นฐาน และได้มีการพัฒนาตาม แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เน้นวิธีการพัฒนาแบบองค์รวม โดยยึดเด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ผ่านกระบวนการเรียนรู้เพื่อลดระดับความรุนแรงของการขาดสารอาหารและโรคติดต่อที่ส าคัญ รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์นั้น ชาวไทยภูเขานับเป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาสุขภาพที่ส าคัญ เน่ืองจากอยู่ห่างไกล ด้อยโอกาส เข้าไม่ถึงบริการ ประกอบกับมีวิถีชีวิตของชนเผ่าบางประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง เป็นหนึ่งในชาวไทยภูเขา 6 เผ่าหลักในประเทศไทยที่มีจ านวนประชากรมากที่สุด และมีสภาวะสุขภาพอนามัยที่ น่าเป็นห่วงและควร เฝ้าระวัง โดยเฉพาะสุขอนามัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชน ที่ส่วนใหญ่มีปัจจัยมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาโครงสร้างและสภาวะสุขภาพชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง ในภาพรวมของกรมอนามัย โดยศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สู งในปี 2548 พบการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ า เช่นโรคบิด โรคอุจจาระร่วง ในด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพบว่าครัวเรือนกะเหร่ียงมีอัตราความครอบคลุมของการมีและใช้ส้วม การมีน้ าสะอาดดื่มและการก าจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ อยู่ในระดับต่ า นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กมีปริมาณฟันผุ อยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง มีประเด็นความหิวโหยในเด็กชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง เนื่องจากพบเด็กแรกเกิด - 5 ปี มีน้ าหนักต่ ากว่าเกณฑ์ถึงร้อยละ 23.3 รวมถึงพบเด็กอายุต่ ากว่า 1 ปี มีน้ าหนักแรกเกิดต่ ากว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 16.3 ซึ่งบ่งบอกถึงภาวะด้อยโภชนาการ ส ภาวะสุขภาพดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางประชากรบางประการคือรายได้ที่ต่ ากว่าเส้นความยากจนและอาชีพของครัวเรือนที่ส่วนเป็นการท าไร่ ท าสวน เพื่อยังชีพมากกว่าเป็นการผลิตเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ท าให้ครัวเรือนกะเหร่ียงมีฐานะที่ยากจน

  • รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ ์ บทน า - 2 -

    จังหวัดตาก เป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ด าเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร (โครงการกพด.) ของกรมอนามัย เพื่อสนองแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดตาก มีชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียงอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น โดยเฉพาะอ าเภอท่าสองยาง ที่เป็น 1 ใน 5 ของอ าเภอชายแดนด้านตะวันตกของจังหวัดตาก มีประชากรทั้งหมด 59,572 คน โดยมีจ านวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 รองจากอ าเภอแม่สอดและอ าเภอเมืองตาก (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ของส านักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) อ าเภอท่าสองยาง มี ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียงอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 90 และบ้านแม่ต้อคี เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียงหมู่บ้านหนึ่งของต าบลแม่ต้าน ซึ่งเป็นต าบล 1 ใน 6 ต าบลของอ าเภอท่าสองยาง ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่ควรต้องเฝ้าระวัง

    จากแฟ้มข้อมูลอนามัยครอบครัว ( Family Folders) ของบ้านแม่ต้อคี จ านวน 88 ครัวเรือน ในปี 2552 ของโรงพยาบาลท่าสองยาง พบข้อมูลสุขภาพอนามัยและการส่งเสริมสุขภาพว่าส่วนใหญ่ครัวเรือนได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพอนามัย จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน ร้อยละ 4.5 โรงพยาบาลท่าสองยาง วิทยุ และหอกระจายข่าว ร้อยละ 1.1 มีผู้ที่ไม่แปรงฟัน ร้อยละ 24.6 ส่วนใหญ่สูบบุหรี่ ร้อยละ 6 5.0 พบว่าไม่ล้างมือหลังใช้ส้วม ร้อยละ 2 6.3 และล้างเป็นบางครั้ง ร้อยละ 34.4 สมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ โดยกินเป็นบางครั้ง ร้อยละ 97.6 เมื่อเจ็บป่วยรักษาที่โรงพยาบาลท่าสองยาง ร้อยละ 57.6 รองลงมาคือรักษากับหมอพื้นบ้าน ร้อยละ 29.4 และใช้สมุนไพร ร้อยละ 12.9 ตามล าดับ

    ข้อมูลสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมครัวเรือน พบว่าส่วนใหญ่เป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง ร้อยละ 96.4 มีความคงทนของบ้านเพียงร้อยละ 38.1 ภายในบ้านมีความเป็นระเบียบ ร้อยละ 32.1 มีแสงสว่างเพียงพอ ร้อยละ 91.7 มีความสะอาด ร้อยละ 63.1 และมีการระบายอากาศภายในบ้าน ร้อยละ 95.2 พบว่าครัวเรือนมีการก าจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพียงร้อยละ 1.2 มีส้วมใช้ ร้อยละ 30.7 (27 ครัวเรือน) ส่วนใหญ่ใช้น้ าและดื่มน้ าจากประปาภูเขาและมีน้ าใช้เพียงพอตลอดปี ร้อยละ 100 ครัวเรือนไม่มีการก าจัดน้ าเสีย ร้อยละ 100 ภายในบ้านมีที่รองรับขยะ ร้อยละ 85.7 มีการก าจัดขยะโดยทิ้งถังขยะ ร้อยละ 71.4 พบว่าครัวเรือนมีการใช้เกลือผสมไอโอดีน เพียงร้อยละ 21.4 ครัวเรือนมีการเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 79.1 โดยเป็นหมู ไก่ หมา วัว และควาย เป็นส่วนใหญ่ สัตว์เหล่านี้ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 98.4 ในการน้ี มีคอกสัตว์ใต้ถุนบ้าน และบริเวณบ้าน ร้อยละ 66.7 และมีการก าจัดมูลสัตว์ ร้อยละ 75 พบว่าครัวเรือนมีการควบคุมสัตว์และแมลงน าโรค เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน เพียงร้อยละ 8.5 พบว่าครัวเรือนมีการปลูกสมุนไพรไว้ในบริเวณบ้าน ร้อยละ 14.3 ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนครัว เช่นขิงข่า ตะไคร้ กะเพรา พริก ฯลฯ

  • ศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนที่สูง กรมอนามัย รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง บ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    - 3 -

    จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่าชาวแม่ต้อคี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์หรือมีพฤติกรรมที่ขัดขวางการมีสุขภาพดีในหลายๆประการ อาทิพฤติกรรมส่วนบุคคลด้านต่างๆ ได้แก่ การล้างมือ การแปรงฟัน การบริโภคอาหาร การสูบบุหร่ี ดื่มสุรา การออกก าลังกาย สภาพความปลอดภัย / สิ่งแวดล้อมภายในครัวเรือน และมีคุณลักษณะทางประชากรที่ส าคัญได้แก่ ไม่ได้เรียนหนังสือ ฐานะยากจน รวมถึงความห่างไกล ยากล าบากในการเดินทาง รวมถึงพบว่าชุมชนยังขาดการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาในองค์รวม สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน จากปัญหาดังกล่าว สมควรที่ทุกฝ่าย ทั้งชุมชนและหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรจะได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เน่ืองจากบทบาทของประชาชน การมีส่วนร่วม และการพึ่งตนเองของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่าและผลของสิ่งแวดล้อม ต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษาและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี การส่งเสริมสุขภาพ สอดคล้องกับแนวคิดการส่งเสริมพลังอ านาจชุมชน ที่สนับสนุนให้ชุมชนเกิดความส านึกและมีพันธะสัญญาต่อส่วนรวม และการเสริมสร้างให้ชุมชน ลงมือท าด้วยตนเอง อย่างต่อเน่ือง เป็นการสะสมความรู้และประสบการณ์ จากการปฏิบัติจริง ( learning by doing) และเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ ( interactive learning process) โดยเร่ิมตั้งแต่ การสร้างทีมงาน เขียนโครงการ จัดท าแผน ด าเนินงาน ควบคู่ไปกับกระบวนการสะท้อนความรู้สึกของประชาชน ส าหรับข้อมูลย้อนกลับ ในการปรับปรุงแผนงานและกิจกรรมในโครงการ จนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ซึ่งมีส่วนเกื้อหนุนองค์กรชุมชนให้มีความแข็งแกร่ง และมั่นคงยิ่งขึ้น ส าหรับการพัฒนาสุขภาพ แบบยั่งยืนต่อไป

    ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหา ให้เกิดผลในการปลูกฝังสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมได้ คือการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมทั้งบุคคล ครอบครัว และชุมชน ตาม พื้นฐานการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เน่ืองจากสุขบัญญัติแห่งชาติเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อันจะเป็นรากฐานท าให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดี สามารถป้องกันโรคได้และท าให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้วิจัย จึงได้ท าการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อ ส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักถึงความส าคัญและพัฒนาสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ด้วยตัวเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง โดยมีหน่วยงานพันธมิตรเป็นผู้สนับสนุน โดยที่ชุมชนแสดงความคิดเห็น มี

  • รุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ ์ บทน า - 4 -

    ส่วนร่วมด าเนินการและประเมินผล เพื่อน าไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เพื่อให้มีสุขภาพดีในที่สุด วัตถุประสงค์ท่ัวไป

    เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง วัตถุประสงค์เฉพาะ

    1. เพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชน ให้มีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์และก าหนดแนวทางพัฒนาสุขภาพอนามัย โดยการผสมผสานเข้ากับแนวคิดการมีส่วนร่วมและวิถีชีวิตของชนเผ่ากะเหร่ียง

    2. เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วม ของชุมชน ในการพัฒนาสุขภาพอนามัย ค าจ ากัดความที่ใช้ในการวิจัย

    รูปแบบ หมายถึง วิธีการในการปฏิบัติของชุมชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ

    การมีส่วนร่วมของชุมชน หมายถึง การที่สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งสมาชิกในชุมชนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการพัฒนาทุกขั้นตอน โดยเร่ิมตั้งแต่การเข้าร่วมก าหนดปัญหาของชุมชน ตัดสินใจร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหา ลงมือปฏิบัติกิจกรรม รวมถึงการร่วมรับผลประโยชน์ และประเมินผลจากกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน พฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior ) หมายถึง การกระท า การปฏิบัติ การแสดงออกและทีท่า ที่จะกระท าซึ่งจะก่อให้เกิดผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวหรือชุมชน

    สุขบัญญัติแห่งชาติ หมายถึง คือข้อก าหนดหรือแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ที่เด็กและเยาวชน และประชานทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ าเสมอจนเป็นนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สุขบัญญัติแห่งชาติ มี 10 ประการ ได้แก่ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันอย่างถูกต้อง ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด งดบุหร่ี สุรา ยาเสพติด การพนัน การส าส่อนทางเพศ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น ป้องกันอุบัติภัยด้วยความไม่ประมาท ออกก าลังกายส่ าเสมอและตรวจสุขภาพประจ าปี ท าจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ และมีส านึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม

  • ศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนที่สูง กรมอนามัย รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง บ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    - 5 -

    ขอบเขตการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้ ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง ในการ พัฒนา

    พฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ บ้านแม่ต้อคี หมู่ 3 ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ด าเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2551 - กันยายน 2553

    มีขอบเขตของการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน ใน 3 ประเด็นได้แก่ รูปแบบของการมีส่วนร่วม ลักษณะของการมีส่วนร่วมและบทบาทการมีส่วนร่วม ข้อตกลงเบื้องต้นในการวิจัย

    กลุ่มอาสาสมัครแกนน าสุขภาพ เป็นกลุ่มเดียวกับแกนน าชุมชนในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้มบีทบาทและประสบการณ์ในการท างานเพื่อหมู่บ้าน หรือสามารถสื่อสารภาษาไทยได้/พอสื่อสารได้ ดังนั้นในการวิจัยคร้ังนี้ เมื่อกล่าวถึงอาสาสมัครแกนน าสุขภาพ จึงหมายรวมถึงแกนน าชุมชนด้วย (แกนน าชุมชน หมายถึงผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนต าบล คณะกรรมการหมู่บ้านด้านต่างๆ อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน ผู้มีจิตอาสา ฯลฯ) ข้อจ ากัดในการวิจัย

    1. การศึกษาคร้ังนี้ ไม่สามารถประเมินความคิดเห็นของอาสาสมัครแกนน าสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงจ านวนและผู้ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครแกนน าสุขภาพอยู่ตลอดเวลา จากสาเหตุการไปๆมา เพื่อออกไปท างานนอกหมู่บ้านหรือต่างจังหวัด ในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยว การออกไปท าไร่ (หรือบางคร้ังส่งลูกหลานเข้ามาร่วมกิจกรรมแทน ขณะที่ติดธุระ/ไปท านา หาอาหารในป่า) เป็นต้น

    2. ผู้วิจัยไม่สามารถสื่อสารแนวคิดการวิจัย หรือเน้ือหาต่างๆ กับแกนน าชุมชน หรือกลุ่มอาสาสมัครแกนน าสุขภาพได้โดยตรงหรืออย่างเต็มที่ ต้องสื่อสารผ่านครูอาสาสมัครหรือผ่านผู้ที่พอจะสื่อสารภาษาไทยได้ในชุมชน เนื่องจาก ข้อจ ากัดในเร่ืองการสื่อสารภาษาไทย ของคนในชุมชน (หมู่บ้านนี้ เพิ่งมีศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) เมื่อปี 2545 )

    3. ไม่สามารถด าเนินการวิจัยตามแผนการวิจัยที่ก าหนดไว้ ในช่วง ฤดูฝน ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หรือช่วงเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในหมู่บ้าน

  • แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรตาม

    ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของชุมชน 1. ระยะก่อนการวิจัย ขั้นตอนการ เตรียมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. ระยะด าเนินการวิจัย ขั้นวางแผนร่วมกับชุมชน ขั้นด าเนินงานตามแผน ระยะหลังการด าเนินการวิจัย ขั้นติดตามและประเมินผล บทบาทของภาคีพันมิตรการวิจัย

    แกนน าชุมชน - ผู้น าทางการ (ผญบ. อสม. สอบต. ผู้น ากลุ่ม องค์กรในชุมชน ฯลฯ) - ผู้มีจิตอาสา /เสียสละเพื่อส่วนรวม - ผู้น าธรรมชาติ หรือผู้ที่ได้รับ การยอมรับจากชุมชน มีความคิด สร้างสรรค์ กระตือรือร้น - ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มวัย

    พันธมิตรการวิจัย - โรงพยาบาลท่าสองยาง - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ าเภอ ท่าสองยาง - ครูอาสาสมัคร ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง (ศศช.) บ้านแม่ต้อคี

    ผลผลิต - แผนชุมชนด้านสุขภาพ - แกนน าสุขภาพ ผลลัพธ์ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

  • บทท่ี 2

    การทบทวนเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง

    การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation research) ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และรวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการท าวิจัยดังนี้

    1. แนวคิดการมีส่วนร่วม 2. แนวคิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1. แนวคิดการมีส่วนร่วม องค์การสหประชาชาติ (United Nation) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า

    “เป็นกิจกรรมที่มวลชนจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการพัฒนา เข้าร่วมด าเนินการ ในการใช้ความพยายามในการพัฒนา และได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์ของการพัฒนา”

    ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน คือการที่ประชาชน หรือชุมชน พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการจัดการ และควบคุมการใช้และกระจายทรัพยากร ตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในสังคม เพื่อประโยชน์ต่อการด ารงชีพทางเศรษฐกิจและสังคม ตามความจ าเป็น อย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะสมาชิกของสังคม ในการมีส่วนร่วมของประชาชนได้พัฒนาการการรับรู้และภูมิปัญญา ซึ่งแสดงออกในรูปการตัดสินใจในการก าหนดชีวิตของตนอย่างเป็นตัวของตัวเอง

    อคิน รพีพัฒน์ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมเป็นการให้ประชาชน เป็นผู้คิดค้นปัญหา เป็นผู้ที่ท าทุกอย่าง ไม่ใช่เป็นการก าหนดให้ประชาชนเข้าร่วมในเร่ืองใดเร่ืองหนึ่ง แต่ทุกอย่างต้องเป็นเร่ืองของประชาชนที่คิดขึ้นมา

    หลักการของการมีส่วนร่วม มีดังนี้ 1. ชุมชนจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่การตัดสินใจว่าควรจะท าอะไร และท าอย่างไร 2. ชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือในการด าเนินการที่ได้ตัดสินใจนั้น 3. ชุมชนพึงได้รับผลประโยชน์จาการมีส่วนร่วมนั้น ที่ส าคัญคือสนองความจ าเป็น

    ขั้นพื้นฐานของชุมชน

  • ศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนที่สูง กรมอนามัย- 8 - รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง บ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    ความส าคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน สรุปได้ดังนี้ 1. ประชาชนตระหนักในปัญหาของตนเอง และตระหนักถึงความส าคัญของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 2. ประชาชนมีโอกาสที่จะได้ใช้และพัฒนาความสามารถของตนเอง 3. เป็นการระดมทรัพยากรบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ท าให้การพัฒนามีความมั่นคงถาวรและต่อเน่ือง 5. เป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ท าให้ประชาชนนั้นมีความคิดอิสระในการตัดสินใจ 6. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ และมีอ านาจในการพัฒนาชุมชนของตนเอง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนามีระดับมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพของชุมชน โครงสร้างการด าเนินงานของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน ตลอดจนลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ

    ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการใดๆนั้น สามารถจ าแนกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนออกได้ 7 ระดับ จากการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ไปหามากที่สุด ดังนี้

    ระดับ 1 ถูกบังคับให้ร่วม ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพราะถูกบังคับโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง

    ระดับ 2 ถูกหลอกให้เข้าร่วม ลักษณะที่เข้าร่วมอาจเป็นเพราะถูกล่อด้วยผลประโยชน์ในรูปของค่าจ้างรางวัล หรือด้วยความสะดวกสบายอย่างอื่นๆ

    ระดับ 3 ถูกชักชวนให้เข้าร่วม การมีส่วนร่วมลักษณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ทางราชการคิดขึ้นเองแล้วพยายามชักชวนประชาชนให้ความร่วมมือ โดยอาศัยการประชาสัมพันธ์

    ระดับ 4 สัมภาษณ์แล้ววางแผนให้ ลักษณะการมีส่วนร่วมชนิดนี้ ปรากฏว่าปัญหาความต้องการของประชาชนจะได้รับการเอาใจใส่ขึ้นบ้าง กล่าวคือผู้วางโครงการจะส ารวจความต้องการชาวบ้านด้วยการเรียกประชุม สอบถาม สัมภาษณ์ แต่การตัดสินใจว่าปัญหาของชาวบ้านคืออะไร ควรจะแก้ไขด้วยวิธีใดยังคงเป็นเร่ืองของทางราชการ

    ระดับ 5 มีโอกาสเสนอความคิดเห็น ประชาชนเร่ิมเข้าใจและมีส่วนในการเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวกับโครงการและการด าเนินงานตามโครงการแต่การตัดสินใจ ยังคงเป็นส่วนของราชการอยู่

  • ศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนที่สูง กรมอนามัย- 9 - รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง บ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    ระดับ 6 มีโอกาสเสนอโครงการ ในระดับนี้ทางราชการและประชาชน จะมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ประชาชนจะมีโอกาสตัดสินใจว่าปัญหาของตนคืออะไร จะแก้ไขได้อย่างไร วิธีใดดีที่สุด จนกระทั่งมีสิทธิเสนอโครงการและเข้าร่วมปฏิบัติด้วย

    ระดับ 7 มีโอกาสตัดสินใจ ในระดับนี้ประชาชนจะเป็นหลักส าคัญของการตัดสินใจในทุกเร่ืองตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติตามแผนและการประเมินผลโครงการ

    ขั้นตอนของ การด าเนินงานเพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังน้ี 1. ขั้นเตรียมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน

    วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้ค้นหาปัญหาของชุมชนเอง ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนในการแก้ปัญหา และตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับโครงการพัฒนาที่เข้ามาในชุมชน กิจกรรมที่ด าเนินงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชนจะต้องมีการพบปะกันเพื่อปรึกษาหารือ ค้นหาผู้น ากลุ่มและแกนน าในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของประชาชน

    2. ขั้นวางแผนร่วมกับชุมชน วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถวางแผนในการด าเนินการค้นหา

    ทรัพยากร เทคโนโลยีที่หาได้ในชุมชน และวิธีการด าเนินงานที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น กิจกรรมที่ด าเนินงาน เจ้าหน้าที่ออกไปพบประชาชนที่เป็นผู้น า แกนน าในชุมชนค้นหาผู้น าที่สามารถร่วมโครงการได้และพัฒนาผู้น าขึ้นมาร่วมกันวางแผนด าเนินงาน 3. ขั้นด าเนินงานตามแผน

    วัตถุประสงค์เพื่อด าเนินงานตามแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ประชาชนเป็นผู้ด าเนินงานและควบคุมงานเอง กิจกรรมที่ด าเนินงาน ประชาชนมีส่วนร่วมในการด าเนินกิจกรรมทุกคร้ัง มีการก าหนดการติดตาม ควบคุม ก ากับงาน และมีการมอบหมายให้ชุมชนด าเนินการเอง 4. ขั้นควบคุมก ากับและการประเมินผล

    วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลการด าเนินงานทุกขั้นตอน ค้นหาปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ วางแผนควบคุมก ากับงาน ก าหนดหน้าที่รับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ กิจกรรมที่ต้องด าเนินงาน คือจัดระบบข้อมูลข่าวสาร มีการพบปะปรึกษาหารือ เพื่อมีการประเมินผลปรับปรุงแก้ไขการด าเนินงานเป็นระยะ ๆ

  • ศูนย์พัฒนาอนามัยพ้ืนที่สูง กรมอนามัย- 10 - รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหร่ียง บ้านแม่ต้อค ี ต าบลแม่ต้าน อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

    2. แนวคิดการพัฒนาพฤติกรร�