6

แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig
Page 2: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

แผนปฏิบัติราชการกระทรวงพาณิชย์ ปี พ.ศ. 2561-2565* วิสัยทัศน์ เศรษฐกิจการค้าเติบโตสู่เศรษฐกิจยุคใหม่อย่างยั่งยืนภายในปี 2565 พันธกิจ 1. ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพ่ือเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ 2. พัฒนาเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้มีความเข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้้า และยกระดับรายได้ของประเทศ 3. ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการค้าให้มปีระสิทธิภาพ มาตรฐาน เป็นธรรม และรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิต ิ4. ส่งเสริมการค้าและพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เป้าหมาย ตัวช้ีวัด แนวทาง

1.1 ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพ่ิมข้ึน

1.1 มูลค่าการค้า e-Commerce ผ่านช่องทางที่ส่งเสริม (ล้านบาท)

1.2 มูลค่าการค้าสินค้าและธุรกิจบริการของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริม (ล้านบาท)

1.3 จ้านวนการจับคู่ธุรกิจระหว่าง LSPs ไทยกับ LSPS ต่างประเทศและผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า (คู่ )

1.4 จ้านวนผู้ประกอบการรายใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมการด้าเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ (ราย)

1.5 ร้อยละที่เพ่ิมขึ้นของจ้านวนผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมและสามารถขยายช่องทางการค้าผ่าน e-commerce

1.1 สร้างโอกาสทางการตลาด 1) ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ในการขยายช่องทางการตลาด

ให้กับผู้ประกอบการทุกระดับ โดยมุ่งเน้นสินค้ามูลค่าสูง สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการศักยภาพ สินค้านวัตกรรม สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสินค้าเฉพาะกลุ่มรวมทั้งส่งสริมบทบาทภาคเอกชน ผู้ประกอบการรายใหญ่ ในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ Global Value Chain

2) สร้างแบรนด์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างความแตกต่าง และสร้างมูลค่าเพ่ิมสินค้าและบริการ 1.2 ส่งเสริมธุรกิจบริการศักยภาพ โดยเพ่ิมขีดความสามารถผู้ประกอบการในการบริหารจัดการธุรกิจ การตลาด การใช้ประโยชน์จาก

เทคโนโลยีดิจิทัล และปรับรูปแบบการด้าเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต และความต้องการผู้บริโภคยุคใหม่ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจบริการศักยภาพ อาทิ ธุรกิจสุขภาพ โลจิสติกส์ ค้าส่ง ค้าปลีก ธุรกิจแฟรนไชส์ ร้านอาหาร ที่พัก

1.3 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) โดยน้างานวิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญามาต่อยอดพัฒนาเพ่ิมมูลค่าสินค้า รวมทั้งเพ่ิมช่องทางในการซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์

1.4 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ 1) สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และต่อยอดการพัฒนาผู้ประกอบการรายเดิม สู่การเป็น Smart SMES และผู้ประกอบการอัจฉริยะ

(Startup) ที่มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ สามารถใช้ประโยชน์และขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และปรับตัวสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของตลาด ยกระดับการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การบริหารจัดการธุรกิจ การพัฒนาเพ่ิมคุณค่าสินค้าและบริการให้เป็นที่ยอมรับ ตลอดจนการท้าการตลาดยุคใหม่

2) สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เพ่ือส่งเสริมการด้าเนินธุรกิจร่วมกัน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีธรรมาภิบาลธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน

เศรษฐกิจยุคใหม่ หมายถึง เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยค านึงถึงความยั่งยืนทั้งในมิติสังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้จุดแข็งของประเทศ (ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม ต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น) ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับรายได้ของประเทศ (ปรับปรุงจากนิยาม New Economy ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ)

Page 3: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก

เป้าหมาย ตัวช้ีวัด แนวทาง 2.1 เกษตรกรและ

ผู้ประกอบการชุมชนมีรายได้/มูลค่าการค้า เพ่ิมข้ึน

2.2 บรรเทาภาระ ค่าครองชีพประชาชน

2.1 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้า GI และสินค้า /บริการชุมชนที่ได้รับการ

ส่งเสริม )ล้านบาท ( 2.2 จ้านวนตลาดชุมชนและวสิาหกิจ

ชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา (แห่ง)

2.3 ร้อยละของรายจ่ายในการซื้อสินค้าเป้าหมายที่จ้าเป็นลดลง

2.1 เพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรในการเป็นผู้ประกอบการ โดยพัฒนาเกษตร /ผู้ประ กอบการรายย่อยให้รู้จักท้าการค้า ผลิตได้ ขายเป็น และปรับตัวสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ เข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ต่างๆ และขยายช่องทางการตลาดที่หลากหลาย รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่ม และเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยกับธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดจนส่งเสริมการด้าเนินธุรกิจเพ่ือสังคม )Social Enterprise) เพ่ือสนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนและผู้มีรายได้น้อย

2.2 ยกระดับราคาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร สินค้า/บริการชุมชน โดยส่งเสริมการแปรรูป สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการด้วยอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางวัฒนธรรม ผสานกับนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ยกระดับการผลิตเข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับ

2.3 ส่งเสริมการตลาดสินค้าเกษตรมูลค่าสูงและสินค้า/บริการชุมชน โดยมุ่งเน้นขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พ้ืนถิ่น สินค้า GI สินค้าเกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งสินค้า/บริการชุมชนตามศักยภาพและจุดเด่น/อัตลักษณ์ของพ้ืนที่ โดยใช้หลักการตลาดน้าการผลิต มุ่งเน้นบูรณาการความร่วมมือภาครัฐเอกชนในการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งเชื่อมโยงการจ้าหน่ายกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

2.4 พัฒนาระบบตลาด และโลจิสติกส์เกษตรชุมชน โดยส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชน เกษตรกร สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการรายย่อย ในการสร้างและพัฒนาตลาด/แหล่งการค้า คลังสินค้า เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพภาคเกษตรและเป็นช่องทางจ้าหน่ายสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์ชุมชน

2.5 พัฒนาแหล่งการค้าชุมชนเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง เพ่ือขยายช่องทางตลาดสินค้าเกษตร/สินค้า และธุรกิจบริการชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว

2.6 ดูแลค่าครองชีพประชาชน โดยเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าที่จ้าเป็นแก่การครองชีพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนภายใต้กลไกประชารัฐ และการดูแลราคาและบริการให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม

Page 4: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ

เป้าหมาย ตัวชี้วัด แนวทาง 3.1 ศักยภาพด้านการ

แข่งขันทางการค้าไทยเพิ่มข้ึน

3.2 ระบบและกลไกทางการค้ามีความเป็นธรรม

3.1 อันดับความงา่ยในการประกอบธุรกิจในด้านการเริ่มต้นธุรกิจดีขึ้น หรือคะแนน EoDB Score ในด้านการเริ่มต้นธุรกิจไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อันดับ/คะแนน)

3.2 จ้านวนงานให้บริการและอ้านวยความสะดวกทางการค้าทีป่รับเปลี่ยนสู่ระบบดิจทิัล (กระบวนงาน)

3.3 ร้อยละที่เพิ่มขึน้ของจ้านวนผู้ใชบ้ริการของกระทรวงฯ ผา่นระบบดิจิทลั (ร้อยละ)

3.4 ร้อยละความพงึพอใจของผู้ใช้บริการ (ร้อยละ) 3.5 จ้านวนผลงานวิจัย นวัตกรรม

ข้อเสนอเชิงนโยบายทีไ่ด้รับการพัฒนา/เผยแพร่นา้ไปใช้ประโยชน์หรือต่อยอดในเชิงพาณิชย์ (เร่ือง)

3.6 จ้านวนข้อมูล/ฐานข้อมูลที่นา้มาใช้ในการเตือนภัยทางการค้า (เร่ือง)

3.7 จ้านวนทรัพย์สนิทางปัญญาทีไ่ดร้ับความคุ้มครอง (ค้าขอ)

3.8 ร้อยละของเร่ืองร้องเรียนความไม่เป็นธรรมทางการค้า ทีไ่ด้รับการแกไ้ข (ร้อยละ)

3.9 ร้อยละของสินค้าและและบริการเป้าหมาย มีราคาจ้าหนา่ยสอดคล้องกับต้นทนุ (ร้อยละ)

3.1 ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบให้ทันสมัย เอื้อต่อการด าเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นปรับปรุง/ออกกฎหมาย กฎระเบียบบังคับใช้เท่าที่จ้าเป็น สามารถรองรับแนวโน้มธุรกิจรูปแบบใหม่ รวมทั้งสอดคล้องกับข้อตกลง/พันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนวางกลไกปกป้องและเยียวยาทางการค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนการ บูรณาการป้องกันภัยคุกคามด้านความมั่นคงในรูปแบบต่างๆ

3.2 พัฒนาการให้บริการข้อมูลและอ านวยความสะดวกทางการค้า โดยน้าเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ อาทิ Cloud Computing AI Blockchain IOT มาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ/ให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจการค้าทั้งในและระหว่างประเทศ ค้าปรึกษาทางธุรกิจ และอ้านวยความสะดวกทางการค้าอย่างครบวงจร มุ่งเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง (user friendly) สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สะดวก รวดเร็ว และมีความทันสมัย สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ความส้าคัญกับการบูรณาการ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายใน/ภายนอกกระทรวง และค้านึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลตามหลักสากล เพื่อให้ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถน้าไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสถานการณ์ วางแผนธุรกิจ และตัดสินใจ เชิงนโยบาย

3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จาก Big Data Analytics เพื่อตอบโจทย์ในการขับเคลื่อนการพัฒนา แก้ไขปัญหา และเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการทุกระดับ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

3.4 พัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัยเศรษฐกิจการค้า เพื่อสามารถวางแผน วางมาตรการ และนโยบายในการส่งเสริม และแก้ไขปัญหาทางการค้าทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ได้อย่างทันท่วงที อาทิ ระบบเตือนภัยรายสินค้าส้าคัญ มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการเฝ้าระวังและป้องกันประเด็นทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

3.5 พัฒนาประสิทธิภาพระบบทรัพย์สินทางปัญญา โดยพัฒนาระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ข้อตกลงทางการค้า และพันธกรณีในระดับสากล พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจสอบ จดทะเบียน และ ฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เก่ียวข้องในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ควบคู่กับการสร้างส้านึกและปลูกฝังค่านิยมในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ถูกกฎหมาย

3.6 ส่งเสริมความเป็นธรรมทางการค้าและพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นน้าเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ และใช้เครือข่าย ภาคประชาชน สังคมออนไลน์ มาเพิ่มประสิทธิภาพในการก้ากับดูแลราคาสินค้าและบริการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และส่งเสริมพัฒนามาตรฐานสากลใช้ส้าหรับการค้าและการชั่งตวงวัด

Page 5: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาขีดความสามารถและส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างประเทศ

เป้าหมาย ตัวช้ีวัด แนวทาง 4.1 ประเทศไทย

มีขีดความสามารถ ในการขยายตลาดและด้าเนินธุรกิจระหว่างประเทศเพ่ิมขึ้น

4.2 ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ กับประเทศคู่ค้าส้าคัญ

4.1 มูลค่าการเจรจาการค้าผา่นกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)

4.2 จ้านวนผู้ประกอบการไทยที่ไปด้าเนินธุรกิจในต่างประเทศ (ราย)

4.3 มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัวเพ่ิมข้ึนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ร้อยละ)

4.4 จ้านวนการเจรจาจัดท้าความตกลงการค้าเสรีหรือทบทวนความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (เรื่อง)

4.1 ขยายตลาดสินค้าและการด าเนินธุรกิจไทยในต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นรักษาตลาดเดิม และขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ส่งเสริมการด้าเนินธุรกิจบริการของไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการที่เป็นจุดแข็งของไทย อาทิ กลุ่มอาหาร สินค้าเกษตร พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมาตรฐานสากล ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์ ในการสร้างภาพลักษณ์ สร้างความเชื่อมั่น และสร้างแบรนด์ประเทศไทย รวมทั้งเชื่อมโยงเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ Global Value chain

4.2 ส่งเสริมการค้าชายแดน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้าการลงทุนชายแดนไทยกับประเทศเพ่ือนบ้าน ภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ รวมทั้งบูรณาการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า ขยายตลาดสินค้าและบริการไทย รวมทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรและส่งเสริมการด้าเนินธุรกิจไทยในประเทศเพ่ือนบ้าน

4.3 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลง/ความร่วมมือทางการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ โดยการสร้างความตระหนักรู้ การพัฒนาผู้ประกอบการ เพ่ือใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้าผ่านความตกลงและความร่วมมือทางการค้า ตลอดจนการเตรียมพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรี

4.4 ส่งเสริมการเจรจาทางเศรษฐกิจการค้าและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยการเจรจาจัดท้าความตกลงทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เน้นส่งเสริมบทบาทการเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) เพ่ือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า รวมทั้งเพ่ิมโอกาส ลดอุปสรรคทางการค้าและแก้ไขข้อพิพาททางการค้า ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและพหุภาคี ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ากับนานาชาติ ทั้งองค์กรภาครัฐและมิใช่ภาครัฐในทุกระดับ

Page 6: แผนปฏิบัติราชการกระทรวง ... · 2019-05-23 · 3.3 พัฒนาฐานข้อมูล งานวิจัย และใช้ประโยชน์จากBig

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรเชิงรุกและมีธรรมาภิบาล

เป้าหมาย ตัวช้ีวัด แนวทาง 5.1 องค์กรมี

ประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชน มีส่วนร่วม

5.1 จ้านวนระบบงานด้านการบริหารจัดการภายใน (Back Office) ที่ได้รับการพัฒนาสู่รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (จ้านวนระบบงาน) (ทุกหน่วยงาน)

5.2 ร้อยละของโครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์กระทรวง

5.3 ร้ อยละของบุ คลากรที่ มี ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ตามเกณฑ์ท่ีก้าหนด

5.4 ร้อยละของบุคลากรที่มีค่านิยมและพฤติ กรรมที่ พึ งประสงค์ ในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ)

5.5 ร้อยละของบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล ตามมาตรฐานที่ก้าหนด และสอดคล้องกับลักษณะและความจ้าเป็นในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ)

5.6 คะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ)

5.1 พัฒนาระบบการปฏิบัติงานและบริหารจัดการองค์กร โดยน้านวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพ่ิมประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ให้มีความทันสมัย คุ้มค่า ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร และสอดคล้องกับมาตรฐานต่างๆ ที่ก้าหนด

5.2 บริหารจัดการบุคลากรให้สอดคล้องกับความจ าเป็นและภารกิจ สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ด้วยการวางแผนอัตราก้าลัง รองรับโครงสร้างอายุ การจัดท้าเส้นทางความก้าวหน้า การวางมาตรการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าสู่หน่วยงาน การบริหารก้าลังคนคุณภาพ (Talent) ตลอดจนการสร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร

5.3 พัฒนาบุคลากรให้มีค่านิยมและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รวมทั้งมี ความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่จ้าเป็น ในการปฏิบัติงาน (skillset)

5.4 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่บุคลากรทุกระดับ ด้วยการปลูกฝังและสร้างจิตส้านึกอย่างต่อเนื่อง การวางระบบและพัฒนากลไกด้านการป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็งและ มีการบูรณาการกับภาคีเครือข่าย รวมทั้งการเพ่ิมประสิทธิภาพด้านการจัดการข้อร้องเรียน การปราบปราม โดยเฉพาะ การลงโทษทางวินัยที่รวดเร็วและเข้มงวด

5.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สร้างเครือข่าย รวมทั้งบูรณาการการท้างานร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบทั้งในเชิงยุทธศาสตร์และพ้ืนที่

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน 11 มกราคม 2562