64
บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ อาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การอาจารย์มัลลิกา ผ่องแผ้ว

Page 2: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

บทน า

ทฤษฎีองค์การ (Organization Theories) เป็นการสร้างองค์ความรู้ขึ้นเพื่อการวิจัยทาง สังคม โดยที่ทฤษฎอีงค์การจะมลีักษณะเป็นเรื่องทั่วไปและมรีะดับความเป็นนามธรรมสูงเพราะ ผู้สร้างทฤษฎีองค์การจะใช้องคค์วามรู้ในแง่ของแนวคิดที่เป็นการวิเคราะห์และประสงค์จะใช้กับ ระบบกายภาพและสังคมด้วย ส่วนใหญอ่ยู่ในวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ทฤษฎีการตัดสินใจกล่าวได้ว่าทฤษฎีองค์การมององค์การในฐานะเป็นสิ่งที่มนุษยส์ร้างขึ้นโดยใช้หลักเหตุผล ดังเช่น

Page 3: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

บทน า (ต่อ)

การมององค์การจากทรรศนะของไซมอนและฮอบ (Simon&Hobbes) นอกจากทฤษฎอีงค์การแล้ว ในวงการวิชาการยังมกีารกล่าวถึงค าว่าทฤษฎีขององค์การ (Theories of Organization) ซึ่งอยู่ใน หลักวิชาด้านสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และบางส่วนของจิตวิทยา

Page 4: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎีองค์การ

หากมีการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ของ องค์การและมนุษย์ทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในตามระดับของความเป็นนามธรรมของแนวคิดแล้ว จะเห็นว่านักทฤษฎีองค์การและทฤษฎีขององค์การสามารถที่จะเลือกศึกษาโครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ขององค์การและมนุษย์ได้หลายระดับ คือ (พูนฤดี สุวรรณพันธุ์และ คณะ, 2552)

Page 5: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎอีงค์การ (ต่อ)

ระดับบุคคล ให้ความส าคัญกับคนในฐานะที่เป็นระบบทางด้านจิตวิทยาและชีววิทยา โดย เน้นทางความต้องการและการจูงใจ บุคลิกภาพ จิตภาพและพฤติกรรม

ระดับระหว่างบุคคล ให้ความส าคัญด้านจิตวิทยาสังคมของปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่าง คนสองคนหรือมากกว่านั้น โดยเน้นด้านประสิทธิผลระหว่างบุคคล จิตภาพความขัดแย้ง การหาข้อมูลเหตุจูงใจ

Page 6: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎอีงค์การ (ต่อ)

ระดับระหว่างภายในกลุ่ม ให้ความส าคัญทางพลวัตรทางสังคมและจิตวิทยาของกลุ่มที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเน้นด้านความเป็นผู้น า การสื่อข้อความ ความขัดแย้ง การตัดสินใจ บทบาท

ระดับระหว่างกลุ่ม ให้ความส าคัญด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็น ทางการภายในองค์การ โดยเน้นการสื่อข้อความ การประสานงาน การควบคุม อ านาจความ ขัดแย้ง การตัดสินใจ

Page 7: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎอีงค์การ (ต่อ)

ระดับองค์การ ให้ความส าคัญด้านโครงสร้างทางสังคมและเทคโนโลยีและกระบวนการ ภายในขององค์การ โดยเน้นระบบการผลิตและการจัดการและการออกแบบและพัฒนาองค์การ

ระดับระหว่างองค์การ ให้ความส าคัญด้านองค์การทั้งชุด โดยเน้นความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างองค์การกลยุทธ์ที่จะติดต่อกับองค์การอื่นๆ

Page 8: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎอีงค์การ (ต่อ)

ระดับสังคม ให้ความส าคัญกับสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติ โดยเน้น การวิเคราะห์ การประเมินผลและการออกแบบสถาบันและนโยบาย

ระดับโลก ให้ความส าคัญกับระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองประเทศ โดยเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์การหลายๆชาติ

Page 9: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ขอบเขตของทฤษฎอีงค์การ (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การได้มีพัฒนาการมาเป็นล าดับ มีการมองพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ของ องค์การทั้งในระดับแคบหรือมองปัจจัยภายในองค์การเป็นการมองพฤติกรรมทั้งในแง่โครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยี วัตถุประสงค์ขององค์การ และสภาพแวดล้อมขององค์การด้วยและแม้แต่ การมองพฤติกรรมในองค์การของคน กลุ่มคน องค์การและระบบจะกว้างขึ้นก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ความรู้ในด้านพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ยังต้องมีการสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับ สภาวการณ์ต่อไป

Page 10: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา ได้มีแนวความคิดทางทฤษฎีองค์การ

เกิดขึ้นมากมาย นักวิชาการด้านการบริหารไดแ้บ่งแนวความคิดออกเป็นหลายแบบ หลายส านัก และหลายระดับ แล้วแต่จะมองในแง่ใด ขึ้นอยู่กับผู้มองละวัตถุประสงค์ที่น าไปใช้ แนวความคิดที่ส าคัญๆ สรุปได้ดังนี้

Page 11: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) 1. แนวความคิดที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ เป็นแนวความคิดในระยะ ค.ศ. 1800-1940 เน้นเป้าหมายขององค์การเป็นส าคัญ การจัดการเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการท างาน มององค์การเป็นความส าคัญของหน่วยงานย่อย ดังนั้นจึงเน้นไปที่โครงสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยน าหลักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์

Page 12: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) 2. แนวความคิดที่ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคล เป็นแนวความคิดในช่วง ค.ศ. 1940-1960 เกิดความคิดที่พยายามใช้จิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการจัดการองค์การ ค านึงถึงความรู้สึก ความต้องการ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ท างาน รวมทั้งบรรยากาศในการท างาน แสวงหาวิธี จูงใจให้คนท างาน มององค์การเป็นกลุ่มบุคคล

Page 13: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) 3. แนวความคิดท่ีเน้นเรื่องระบบ นับจากปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา แนวความคิดในเรื่ององค์ได้พัฒนาไปในเชิงระบบ มององค์การในภาพรวม มิได้มองส่วนหนึ่งส่วนใดโดยเฉพาะ เรียกว่าการมองอย่างเป็นระบบ ถือว่าองค์การเป็นระบบที่ซับซ้อน ประกอบด้วยระบบย่อยๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว

ทฤษฎีองค์การนิยมแบ่งออกเป็น 3 สมัยดังนี้

1. ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization)

2. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization)

3. ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)

Page 14: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization)

การจัดองค์การมีตั้งแต่สมัยอียิปต์ กรีก และโรมัน ต่อมาราวปี ค.ศ. 1800 แนวความคิดในการจัดองค์การได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนี้ให้ความส าคัญแก่รูปแบบโครงสร้าง เป้าหมาย อ านาจ บทบาท และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานยอ่ยในองคก์าร เป็นการน าเอาความคิดและหลักวิทยาศาสตร์ประยุกต์กับการจัดการองค์การ ทฤษฎีองค์การสมัยนี้ให้ความหมายขององค์การว่า องค์การคือโครงสร้างความสัมพันธ์ของต าแหน่ง เป้าหมาย และบทบาท รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงคือทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) และ ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์

Page 15: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol)

ฟาโยลได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการ ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่นักบริหารช้ันสูง ตรงข้ามกับเฟรเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ที่สนใจการท างานของคนงานในราว ค.ศ. 1925 ฟาโยล ได้เสนอหลักการจัดองค์การซึ่งมีแนวปฏิบัติ 5 ประการ นิยมเรียกย่อๆ ว่า OSCAR ซึ่งเป็นการน าเอาอักษรตัวแรกในภาษาอังกฤษของแนวปฏิบัติทั้งห้าประการมารวมกันท าให้ง่ายต่อ การกล่าวถึงและจดจ า ดังนี้

Page 16: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)

1. วัตถุประสงค์ (Objective) องค์การจะต้องก าหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน ตลอดจนก าหนดต าแหน่งต่างๆ แต่ละต าแหน่งก็จะต้องก าหนดเป้าหมายไว้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ขององค์การ เมื่อผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้วัตถุประสงค์ขององค์การก็จะส าเร็จไปด้วย

Page 17: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)

2. ความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง (Specialization) งานของแต่ละต าแหน่งแต่ละคนควรจ ากัดขอบเขตให้ท าคนละหน้าที่ อันเป็นการส่งเสริมให้เกิดความช านาญเฉพาะอย่าง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันก็ต้องจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน ถือว่าเป็นหลักการแบ่งงานกันท าตามความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง การแบ่งงานออกเป็นแผนกจึงเป็นสิ่งจ าเป็น

Page 18: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)

3. การประสานงาน (Coordination) เมื่อมีการแบ่งงานกันท าเป็นแผนกๆ และมีคนท างานจ านวนมาก การประสานงานย่อมมีความจ าเป็นเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานของตนได้อย่างราบรื่นโดยไม่ขัดกับแผนกอื่นๆ ท าให้กิจกรรมขององค์การด าเนินไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์การ หากไม่มีการประสานงานที่ดีแล้วการด าเนินงานอาจล้มเหลวและไม่ราบรื่น องค์การที่มีขนาดใหญ่ มีการด าเนินงานสลับซับซ้อนมีบุคคลท างานเป็นจ านวนมาก การประสานงานจึงมีความจ าเป็นมาก

Page 19: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)

4. อ านาจหน้าที่ (Authority) องค์การต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในต าแหน่งสูงสุด มีอ านาจสูงสุดในการก าหนดนโยบาย สามารถตัดสินใจสั่งการได้โดยไม่มีใครมีสิทธิ์โต้แย้ง การจัดสายการบังคับบัญชาในองค์การต้องชัดเจน เริ่มตั้งแต่ผู้มีอ านาจสูงสุดขององค์การผ่านสายการบังคับบัญชาลงมาตามล าดับชั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Page 20: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)President

Vice President

Middle Manager

Foremen

Operative Worker

ประธาน

รองประธานฝ่ายผลิต

ผู้จัดการโรงงาน

หัวหน้าคนงาน

คนงาน

ภาพสายการบังคับบัญชา

Page 21: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของอองรี ฟาโยล (Henri Fayol) (ต่อ)

การจัดอ านาจหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า หลักการจัดอ านาจหน้าที่จากเบื้องสูงไปสู่เบื้องล่าง และผลของการใช้อ านาจหน้าที่ตามล าดับชั้นเรียกว่า สายการบังคับบัญชา นั่นเอง

5. ความรับผิดชอบ (Responsibility) อ านาจหน้าที่ที่มอบให้แก่ต าแหน่งต่างๆ จะต้องสัมพันธ์กับความรับผิดชอบ บุคคลใดที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่อผลส าเร็จขององค์การในระดับใดก็ควรจะได้รับมอบอ านาจหน้าที่ให้เพียงพอที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในระดับที่จะท าให้งานนั้นส าเร็จได้

Page 22: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์

ประมาณ ค.ศ. 1937 แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีระบบราชการ (bureaucratic model) ซึ่งเวเบอร์เห็นว่าเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การจัดองค์การตามแนวความคิดของเวเบอร์มีอิทธิพลกว้างขวางเป็นที่ยอมรับของวงการทั่วไปและน าไปกล่าวอ้างอิงอยู่เสมอ หลักการจัดการองค์การของเวเบอร์มีดังนี้

Page 23: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์

1. การแบ่งแยกงานถือหลักความช านาญเฉพาะด้าน วัตถุประสงค์ของการจัดการองค์การแบบนี้ มุ่งให้ได้ผลงานสูงสุดจากการท างานเฉพาะอย่างด้วยฝีมือและความช านาญ ดังนั้นคนงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมซ้ าแล้วซ้ าอีกเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญจริงๆ

Page 24: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

2. การจัดล าดับชั้นการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงไป มีหัวหน้าขององค์การเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์การ ก าหนดอ านาจหน้าที่ของแต่ละระดับชั้นไว้อย่างชัดเจน

3. การปฏิบัติงานต้องอยู่ภายใต้ระบบ ระเบียบ และกฎหมาย การท างานไม่สามารถยืดหยุ่นได้เฉพาะตามลักษณะของงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การของรัฐจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่าเคร่งครัด

Page 25: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

4. การให้มีการบันทึกเกี่ยวการด าเนินงาน ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ

การวินิจฉัย การสั่งการ จะต้องมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเก็บไว้เป็นหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาที่ต้องการ

Page 26: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

เมื่อพิจารณาระบบราชการตามแนวความคิดของเวเบอร์ให้ละเอียดลงไปแล้ว จะเห็นว่ามีลักษณะต่างๆ ที่ส าคัญดังต่อไปนี้1. การบริหารราชการมีลักษณะเป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่องกันตลอดไป เพราะเป็นองค์การของรัฐที่จัดขึ้นเพื่อบริการประชาชน จะท าๆ หยุดๆ ไม่ได้ ท าให้ขนาดขององค์การเติบโตขึ้นทุกที2. ต้องมีการแบ่งหน้าที่การงานออกเป็นสัดส่วนอย่างมีเหตุผลและสัมพันธ์กันทั้งหน้าที่การงานและความรับผิดชอบ

Page 27: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

3. ต้องมีการจัดล าดับชั้นการบังคับบัญชา (hierarchy) ลดหลั่นกันลงมา ถือหลักผู้ฐานะสูงกว่ามีอ านาจหน้าที่ความรับผิดชอบสูงกว่า

การด าเนินการใดๆ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนตามอ านาจหน้าที่ ระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่วางไว้ จะกระท านอกเหนือที่ก าหนดไว้ไม่ได้ ได้แก่ (1) การมอบอ านาจหน้าที่ให้หน่วยราชการต่างๆ (2) อ านาจในการสั่งการ (3) การใช้บุคคลที่มีคุณสมบัติตามกฎเกณฑ์ที่ก าหนดไว้

Page 28: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ) 4. อ านาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับบัญชา การออกค าสั่งและการปฏิบัติตามค าสั่ง ต้องถือเอาหน้าที่เป็นหลัก ไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัว และการปฏิบัติต้องเป็นไปตามล าดับชั้น5. ต าแหน่งหน้าที่ราชการเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจซื้อขายหรือโอนสิทธิให้แก่กันได้เพราะมิใช่ทรัพย์สินส่วนบุคคล6. การคัดเลือกบุคคลเข้าด ารงต าแหน่งต้องมีการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าท างานโดยยึดหลักความรู้และความสามารถ และต้องมีการฝึกอบรมก่อน

Page 29: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

7. การด าเนินงานต้องมีแบบพิธีเป็นทางการ ต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีระเบียบปฏิบัติที่แน่นอน เชื่อถือได้

Page 30: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

ข้อดีของระบบราชการข้อดีขององค์การแบบราชการมีอยู่หลายประการด้วยกัน คือ มีการแบ่งงานกัน

ท าเฉพาะอย่าง มีโครงสร้างที่แน่นอนท าให้สามารถที่จะคาดการณ์ได้ มีความมั่นคง มีเหตุผล และเป็นประชาธิปไตย

การบางงานกันท าตามความสามารถจะท าให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น ในองค์การขนาดใหญ่ที่มีคนงานนับพันคน การแบ่งงานกันท าตามความถนัดมีความจะเป็นมาก ส่งผลให้ท าการผลิตและบริการได้ปริมาณมากและรวดเร็ว เช่น อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เป็นต้น

Page 31: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

ข้อดีของระบบราชการ (ต่อ)การก าหนดโครงสร้างที่แน่นอน มีสายการบังคับบัญชา ท าให้จ ากัดขอบเขต

ของการท างานไม่ให้ก้าวก่ายกัน โครงสร้างขององค์การอาจแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ต่างๆ ที่เป็นไปตามหลักของเหตุผล

Page 32: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

ข้อดีของระบบราชการ (ต่อ)ความสามารถในการคาดการณ์และความมั่นคง ระบบราชการจะก่อให้เกิด

ความแน่นอน น าความเป็นระเบียบมาใช้ ทุกคนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล คนส่วนมากมีความพึงพอใจในความแน่นอนมากกว่าความไม่แน่นอน คนที่อยู่ในองค์การหรือคนที่เกี่ยวข้องย่อมเกิดความมั่นใจและคาดการณ์ได้แน่นอน เช่น นักศึกษามั่นใจว่ามหาวิทยาลัยที่ตนศึกษาจะอยู่ต่อไปอีกนาน และคาดว่าตนจะได้รับปริญญาในอีก 4 ปีข้างหน้า ฯลฯ

Page 33: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีของแมกซ์ เวเบอร์ (ต่อ)

ข้อวิจารณ์ส าหรับระบบราชการระบบราชการถูกวิจารณ์ว่ามองเห็นมนุษย์เป็นเครื่องจักร ต้องปฏิบัติตามความ

ต้องการของสังคมหรือองค์การ ในทัศนะของคนสมัยปัจจุบันมองเห็นองค์การแบบราชการว่าเป็นองค์การขนาดใหญ่ที่มีแต่ผลเสีย เช่น ความล่าช้า (red tape) การเล่นพวกเล่นพ้องหรือระบบอุปถัมภ์ (patronage system) เป็นต้น ทั้งๆ ที่หลักการส าคัญขององค์การแบบราชการได้พยายามขจัดเรื่องส่วนตัวออกไปให้มากที่สุด

Page 34: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization)

ในการบริหารงานนั้น หลังจากที่ได้มีการน าเอากลุ่มทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิคและกลุ่มทฤษฎีองค์การยุคพฤติกรรมศาสตร์ ได้มีการน ามาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งทฤษฎีทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวต่างก็มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัวของทฤษฎีเอง เช่น ทฤษฎีองค์การในยุคคลาสสิค จะเน้นไปในเรื่องของการก าหนดวิธีการท างาน เพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุด (One Best Ways) ในการท างาน

Page 35: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization)

(ต่อ)ดังจะเห็นได้จากการท าการวิจัยทดลองของเมโย (Mayo) ที่

เมืองฮอว์ธอร์น (Hawthorne) และในทางตรงกันข้ามกันก็จะเห็นได้ว่าทฤษฎีองค์การในยุคพฤติกรรมศาสตร์ที่เน้นและให้ความส าคัญไปที่คน โดยการมุ่งค้นหาค าตอบโดยการวิเคราะห์ให้ทราบถึงความต้องการของคน และพยายามแสวงหาสิ่งจูงใจที่ตอบสนองความต้องการของคน และพยายามแสวงหาสิ่งจูงใจที่จะตอบสนองความต้องการของคน เพื่อที่จะท าให้คนปฏิบัติงานให้กับองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 36: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization)

(ต่อ)

นักทฤษฎีสมัยใหม่ให้ความส าคัญในเรื่องบุคคล กลุ่มงาน การมีส่วนร่วมในการบริหาร และขวัญหรือก าลังใจ ทฤษฎีองค์การที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้คือทฤษฎีของเรนซิส ไลเคิร์ต (Rensis Likert)

Page 37: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ)

2. การปฎิบัติงานขึ้นอยู่กับหมุดเชื่อมโยงหมายถึงผู้บังคับบัญชาสูงขึ้นไป3. หลักการส าคัญของการวางแผนและแก้ปัญหาเป็นเรื่องของกลุ่มให้กลุ่มตัดสินใจสมาชิกมีส่วนร่วมด้วย

ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีหมุดเชื่อมโยงของเรนซิส

ไลเคิร์ต (Rensis Likert)

1. การท างานเป็นกลุ่ม

หมุดเชื่อมโยง

หมุดเชื่อมโยง

Page 38: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีหมุดเชื่อมโยงของเรนซิส ไลเคิร์ต (Rensis Likert)องค์การจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีที่สุดนั้นก็ต่อเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของ

สมาชิกจะต้องไม่อยู่ในลักษณะส่วนบุคคล แต่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในลักษณะของกลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายการปฏิบัติงานที่สูง ฝ่ายบริหารจะต้องรับผิดชอบต่อการสร้างกลุ่มงานที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ กลุ่มงานเหง่านี้จะต้องเชื่อมโยงระหว่างกันทั่วทั้งองค์การ ผู้บังคับบัญชาในกลุ่มหนึ่งย่อมจะเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่สูงขึ้นไป และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดทั้งองค์การ

Page 39: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

องค์ประกอบส าคัญของทฤษฏีองค์การสมัยใหม่

บุคคล (individual)

ทฤษฎีสมัยดั้งเดิมมีความเชื่อว่าคนงานจะถูกจูงใจด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ (เงิน) แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จากผลการวิจัยค้นคว้าในระยะนี้พบว่าคนงานมีความแตกต่างกันออกไป บางคนอาจเบื่อหน่ายกับการท างานซ้ าซาก บางคนอาจจูงใจด้วยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เงิน บางคนสนุกสนานกับการท างาน ดังนั้นการจูงใจย่อมต้องพิจารณาความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นส าคัญ

Page 40: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

องค์ประกอบส าคัญของทฤษฏีองค์การสมัยใหม่ (ต่อ)

กลุ่มงาน (work group)

ในองค์การที่เป็นทางการจะต้องมีองค์การนอกแบบหรือกลุ่มคนงานแอบแฝงอยู่เสมอ สถานภาพทางด้านสังคมในกลุ่มคนงานจะมีความส าคัญล าดับแรก และถืองานเป็นสิ่งปกติธรรมดา คนงานไม่ต้องการจะอยู่ตามล าพังแต่ต้องการจะมีความสัมพันธ์หรือรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ เสมอ ความเข้าใจหรือการรับรู้ของบุคคลใดที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะขึ้นอยู่กับกลุ่มของตน เพราะบุคคลจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกลุ่ม ค่านิยม ความคิดเห็น ความต้องการ และแรงดลใจ

Page 41: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

องค์ประกอบส าคัญของทฤษฏีองค์การสมัยใหม่ (ต่อ)

กลุ่มงาน (work group) (ต่อ)

เพราะบุคคลจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกลุ่ม ค่านิยม ความคิดเห็น ความต้องการ และแรงดลใจย่อมจะถูกก าหนดโดยกลุ่มงาน การติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการของกลุ่มคนงานก็มีอิทธิพลต่อองค์การ กลุ่มงานจึงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการจูงใจและผลผลิต

Page 42: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

องค์ประกอบส าคัญของทฤษฏีองค์การสมัยใหม่ (ต่อ)

การบริหารโดยการให้เข้ามามีส่วนร่วม (participation management)

การเปิดโอกาสให้คนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหารด้วยการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้ทุกคนปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความส าคัญต่อบุคคลและกลุ่มคนงาน การบริหารมีแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของผู้บริหารในปัจจุบัน

Page 43: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

องค์ประกอบส าคัญของทฤษฏีองค์การสมัยใหม่ (ต่อ)

ขวัญหรือก าลังใจ (morale)

จากการวิจัยที่โรงงานฮอว์ทอร์นชี้ให้เห็นว่าคนงานมีความพอใจมากเท่าใดก็จะยิ่งเพิ่มผลผลิตมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นกลยุทธ์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการท างานจึงอยู่ที่การสร้างขวัญหรือก าลังใจให้เกิดขึ้นแกคนงานทุกๆ คน ขวัญจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จขององค์การ

Page 44: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) (ต่อ)

อย่างไรก็ตาม หลักการที่ส าคัญของทฤษฎีดั้งเดิม นั้นคือ โครงสร้าง ความเป็นระเบียบ และความมีเหตุมีผลก็ยังเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ในทฤษฎีสมัยใหม่ ทฤษฎีสมัยใหม่สร้างองค์การขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลในองค์การควบคู่กันไปกับวัตถุประสงค์ขององค์การ

Page 45: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization)

ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนามาในช่วง ค.ศ. 1950 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย แนวการพัฒนาทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ยังคงใช้ฐานแนวความคิด และหลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมและสมัยใหม่มาปรับปรุงพัฒนา โดยพยายามรวมหลักการทางวิทยาการหลายสาขาเข้ามาผสมผสาน ที่เรียกกันว่า สหวิทยาการ (Multidisciplinary Approach) เป็นการรวมกันของหลักการทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์สังคม(Socioeconomic)

Page 46: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของบาร์นาร์ดบารน์าร์ด มีวัตถุประสงค์ส าคัญที่จะอธิบายทฤษฎีของพฤติกรรมความร่วมมือ

ในองค์การที่เป็นทางการ โดยความร่วมมือเป็นจุดเริ่มต้นของความต้องการของปัจเจกบุคคล เพราะคนเราไม่สามารถท าอะไรได้ทั้งหมด ดังนั้นต้องอาศัยความร่วมมือกัน โดยระบบความร่วมมือจะต้องให้ความส าคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยด้านชีววิทยา จิตวิทยา และสังคม เน้นให้ความส าคัญกับเรื่องประสิทธิผล (effective) ที่ท าให้องค์การบรรลุเป้าหมายและประสิทธิภาพ(efficient) ที่ตอบสนองความพึงพอใจให้กับปัจเจกบุคคล

Page 47: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของบาร์นาร์ด (ต่อ)ทั้งนี้ทุกคนจะต้องมีความเต็มใจในการร่วมมือกันท างาน (willingness to

cooperate) และมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี (ability to communicate) โดยท างานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารจะต้องมีภาวะผู้น าที่จะสามารถสร้างความร่วมมือในการท างานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การอย่างมีคุณภาพและศีลธรรมอันดี

Page 48: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์วีเนอร์เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ ราว ค.ศ.

1948 ให้แนวคิดในเรื่ององค์การว่า องค์การเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยปัจจัย 5 ประการ ดังนี้

Page 49: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

สินค้าและ

บริการ

ผลผลิต(Output)

กระบวนการ(Process)

ปัจจัยน าเข้า(Input)

ขอบเขตขององค์การ

ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

ข้อมูลจากลูกค้า/ผู้บริโภคที่อยู่ภายในองค์การ

แสดงองค์การในฐานะเป็นระบบ

Page 50: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

องค์การ ในฐานะที่เป็นระบบตาม

แนวคิดของวเีนอร์

ปัจจัยน าเข้า(input)วัตถุดิบ

ทรัพยากรเงินทุน

เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร

สภาพแวดล้อม

กระบวนการ(Process)

กระบวนการผลิตเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าและบริการ

ผลผลิต(output)

ผลิตภัณฑ์และบริการฐานะทางการเงิน

ข้อมูลข่าวสารสนเทศผลงานของบุคลากร

สภาพแวดล้อม(environment)สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ประเพณี

ระบบ (system)

สินค้าและ

บริการ

ข้อมูลป้อนกลับ Feedbackข้อมูลจากลูกค้า

Page 51: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

1. ปัจจัยน าเข้า เช่น วัตถุดิบ แรงงาน ทุน เป็นต้น2. กระบวนการ เป็นกระบวนการผลิตซึ่งเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าและบริการ3. ผลผลิต ได้แก่ สินค้าและบริการขององค์การ

Page 52: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

4. ข้อมูลย้อนหลัง จากภายในองค์การ เช่น ข้อมูลพนักงานเกี่ยวกับผู้บริหาร เครื่องจักรล้าสมัย สภาพภายในโรงงานไม่ดี เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลภายนอกองค์การที่วิจารณ์ผลผลิตขององค์การว่าดีหรือไม่ดีด้วย

5. สิ่งแวดล้อม ภายนอกองค์การ ได้แก่ ผู้บริโภค สภาพเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม ประเพณี และค่านิยมต่างๆ

Page 53: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

ความสัมพันธ์ของระบบในองค์การ แสดงการเปลี่ยนแปลงบางส่วนของระบบย่อยในขั้นกระบวนการ ในภาพนี้ใช้ระบบทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวอย่างแสดงระบบย่อย

กระบวนการ

ผลผลิตของระบบย่อย

- ทักษะ ความรู้ ความสามารถ- ข้อมูลข่าวสารจากภายในและภายนอกองค์การ- เป้าหมายและค่านิยมขอองค์การ

- พฤติกรรมของแต่ละบุคคล- พฤติกรรมของกลุ่มทางการและ

กลุ่มไม่เป็นทางการ

- สินค้าและบริการต่างๆ- ข้อมูลข่าวสารต่างๆ- ค่านิยมทางเศรษฐกิจ- ความพึงพอใจ

ปัจจัยน าเข้าระบบย่อย

ระบบทรัพยากรมนุษย์(ระบบย่อย)

ปัจจัยน าเข้าจากสิ่งแวดล้อม- ข้อมูลการตลาด- กฎหมายและสังคม- สภาพเศรษฐกิจ- แรงงาน การเงิน ฯลฯ

ระบบเทคโนโลยี

ระบบข้อมูล

ข่าวสาร

ระบบทรัพยากร

มนุษย์

ระบบการเงิน

ผลผลิต

Page 54: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเป็นองค์การ เมื่อมองมหาวิทยาลัยในรูปของระบบจะเห็นว่าปัจจัยน าเข้าของมหาวิทยาลัย ได้แก่ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คนงาน นักศึกษา เงิน วัสดุ อุปกรณ์ อาคาร สถานที่

ระบบ (system)

Page 55: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

กระบวนการของมหาวิทยาลัย ได้แก่ กระบวนการเรียนการสอน ซึ่งต้องใช้วิธีต่างๆ มากมายให้เรียนหลายวิชา ใช้เวลายาวนาน ให้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ หลายประการผลผลิตของมหาวิทยาลัย ได้แก่ บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษาออกไปและบริการต่างๆ ที่ให้แก่สังคม

ระบบ (system)

Page 56: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีองค์การของวีเนอร์ (ต่อ)

ข้อมูลย้อนกลับของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ข้อมูลจากอาจารย์ที่วิพากษ์วิจารณ์หรือให้ความคิดเห็นว่าหลักสูตรไม่ดี พื้นฐานของนักศึกษาอ่อน อุปกรณ์การสอนไม่ดี ล้าสมัย สถานที่สกปรก ข้อมูลวิพากษ์วิจารณ์ภายนอกวา่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยดีหรือไม่ดีอย่างไร

ข้อมูลเหล่านี้ย่อมจะน ามาปรับปรุงวิธีการรับนักศึกษาหรืออาจารย์เสียใหม่ ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น เข้มงวดการเรียนให้เน้นคุณภาพมากขึ้น เป็นต้น

Page 57: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) (ต่อ)ทฤษฎีองค์การของเบอร์ทัลแลนฟไ์ฟ

ได้รับยกย่องว่าเป็นพื้นฐานด้านปรัชญาทางทฤษฎีสมัยปัจจุบัน องค์การเป็นระบบของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ มีความเกี่ยวพันกันหลายด้านและมีหลายระดับ โดยส่วนต่างๆขององค์การมีความส าคัญเท่าเทียมกัน ระบบเป็นกลุ่มของส่วนต่างๆที่มีความเกี่ยวพันกัน นั่นคือ องค์การ คือ ระบบหนึ่งที่รวมระบบย่อยหลายระบบไว้ด้วยกัน และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงในระบบย่อยใดจะกระทบถึงระบบย่อยอื่นๆ ด้วย

Page 58: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน

นักทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมีความเห็นตรงกันว่าลักษณะส าคัญของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมีความเชื่อดังต่อไปนี้1. องค์การเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน 5 ส่วน คือ ปัจจัย

น าเข้า กระบวนการ ผลผลิต ข้อมูลย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม ส าหรับองค์การธุรกิจนั้นจัดเป็นองค์การระบบเปิด

2. องค์การเปลี่ยนแปลงได้ โครงสร้างขององค์การหรือกระบวนการ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อประสิทธิภาพขององค์การ

Page 59: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (ต่อ)

3. องค์การมีหลายระดับและหลายด้าน นั่นคือ พิจารณาองค์การทุกๆ ระดับ ธุรกิจหนึ่งๆ ถูกพิจารณาทั้งด้านในจุลภาคและมหาภาค ในด้านมหาภาคองค์การเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในระบบอุตสาหกรรมของประเทศ ส่วนในแง่จุลภาคจะพิจารณาส่วนย่อยๆ ในองค์การนั้นๆ

4. องค์การต้องใช้แรงจูงใจหลายๆ ด้าน เพื่อให้คนงานท างานให้บรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันเชื่อว่าสมาชิกขององค์การคาดหมายที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์บางอย่างโดยใช้องค์การเป็นทางผ่าน

Page 60: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (ต่อ)

5. การบริหารองค์การไม่มีความแน่นอนว่าจะต้องส าเร็จเสมอไป เพราะมีปัจจัยต่างๆ จ านวนมากและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวแปรส าคัญ

6. ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันเป็นทฤษฎีผสม คือน าแนวคิดของทฤษฎีในสาขาวิชาต่างๆ หลายสาขาผสมผสานกัน ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ

Page 61: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (ต่อ)

7. ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมีลักษณะเป็นพรรณนา คือ เป็นการอธิบายคุณลักษณะขององค์การและการบริหาร ไม่ได้ก าหนดสิ่งต่างๆ ไว้แน่นอน แต่จะเปิดโอกาสให้เลือกวัตถุประสงค์และวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม

8. เหตุการณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้โดยตัวของมันเองจะมีความสัมพันธ์กัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะย้อนกลับไปกระทบปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และอาจท าให้เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เป็นสาเหตุนั้นได้ด้วย

Page 62: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (ต่อ)

9. องค์การเป็นระบบที่ปรับตัวได้ ลักษณะข้อนี้นับว่าส าคัญที่สุด หากองค์การต้องการจะคงอยู่ตลอดไปในสภาพแวดล้อมใดๆ องค์การจะต้องปับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

Page 63: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ (ต่อ) ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (ต่อ)

ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมุ่งถึงระบบและผลผลิตที่มีคุณค่าขององค์การเป็นส าคัญ เพราะระบบและผลผลิตจะเป็นสิ่งที่ท าให้องค์การคงอยู่ตลอดไป ส่วนทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนั้นมักเน้นที่โครงสร้างเป็นส าคัญ สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดที่ต่างออกไปจากสมัยเดิม คือ ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันจะเน้นถึงการบริหารตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่การบริหารสมัยเก่าเน้นถึงการบริหารในรายละเอียดของงาน

Page 64: Chapter : 2 Organization Theory (บทที่ 2 ทฤษฎีองค์การ)

จบการบรรยายบทท่ี 2 ทฤษฎีองค์การ