The natyasastra chapter3

Preview:

DESCRIPTION

เอกสารประกอบการสอนวิชาทฤษฎีนาฏยศาสตร์ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ อาจารย์ธรรมจักร พรหมพ้วย (สงวนสิทธิ์)

Citation preview

Chapter 3

อถ ตฺฤตีโย ธฺยายะ อัธยายท่ี ๓

รงฺคไทวตปูชาวิธานมฺ

วิธีบูชาเทวดาประจําโรงละคร

๑ เมื่อโรงละครงามไดสรางขึ้นสมบูรณดวยลักษณะพรอมสรรพแลว

พึงใหโคทั้งหลายอยูในโรงละครน้ัน พรอมดวยพราหมณทั้งหลาย

น่ังภาวนาอยูในน้ัน ๗ วัน ๗ คืน

๒ ครั้นแลว ครูละครพึงอยูบนเวทีในโรงละคร

เวลาค่ําประพรมรางกายดวยนํ้ามนตร

(พราหมณสยาม เรียก สนานกาย - ธรรมจักร)

๓ พึงสํารวมระวังกายใจ เหมือนไปในที่อ่ืน

นุงหมผาใหม ถือบวช ๓ ราตรี

(พราหมณสยามเรียก ถือพรต ไมกินเน้ือสัตว

กินไดแตผักผลไม ไมอยูดวยภริยา - ธรรมจักร)

มหาเทพ

พระศิวะ

พระพรหม

พระวิษณุ

พระอินทร

พระขันธกุมาร???

พระสรัสวดี

พระลักษมี

พระสิทธิ (ศักติของพระคเณศ)

พระเมธา (ศักติของพระมนัส-ใจ)

พระธฤดี

พระมติ

ศักติ

เทพนพเคราะหและโลกบาล

พระจันทร (โสม)

พระอาทิตย (สูรยะ)

พระโลกบาล ท้ัง ๔

พระอัศวิน ท้ัง ๒

พระมิตร (พระอาทิตยองค ๑ ใน ๑๒)

พระอัคนี (พระเพลิง)

พระสวระ (เสียง) ท้ังหลาย

พระวรรณะ (ผิวพรรณ) ท้ังหลาย

พระรุทร ท้ังหลาย

พระกาล

พระกาลี ???

พระมฤตยู

พระนิยติ

พระกาลทัณฑะ

พระแสงเทพาวุธ

พระแสงจักร ของพระวิษณุ

พระแสงวัชระ ของพระอินทร

พระวิทยุต (สายฟาผา) ???

วาสุกี นาคราช

เทพพาหนะ

พระสมุทร

คนธรรพ

อัปสร

ฤๅษี

ภูติ

ปศาจ

ยักษ

คุหยกะ

พญานาค

อสูร

อสูรพวกอ่ืนที่ทําลายผูแสดงละคร

เทวดา

รากษส

ยักษ

คุหยกะ

อมนุษย

นาฏยมารดา มหาครามณี – เทวดาประจําหมูบาน??

ภวทฺภิรฺนิศายํา กรฺตวฺยะ ศํปริคฺรหะ

สาหายฺยํา ไจว ทาตวฺยมสมินนาเฏย สหานุไคะ

๑๐ ขอพระผูเปนเจาทั้งหลาย พึงกระทําการสงเคราะหพวกขาพเจาใน

เวลาราตรี และขอพระผูเปนเจาทั้งหลายพึงประทานผูชวยเหลือ

คอยติดตามขาพเจาในการแสดงละครน้ีดวยเถิด

๑๑ แลวรวมเครื่องดนตรี เครื่องละคร บูชาเครื่องท้ังหมดในท่ีแหงเดียวกันแลว

พึงประกอบการบูชาธงชรชระ เพ่ือมีประสิทธิภาพในการแสดงละคร

ตวํ มเหนฺทฺรปฺรหรณฺ สรฺวทานวสูทน

นิรฺมิตสฺตฺวํ สรฺวเทไวะ สรฺววิฆฺนนิรฺพหณ

นฺฤปสฺย วิชยํ ศํส ริปูณํา จ ปราชยมฺ

โคพฺราหฺมณศิวํ ไจว นาฏยสฺย จ วิวรฺธรมฺ

๑๒-๑๓ ขาแตชรชระ ทานเปนเทพอาวุธของพระอินทร เปนผูผลาญอสูรท้ังปวง

เทวดาท้ังหมดสรางทานขึ้นมา เพ่ือใหทําลายอันตรายท้ังปวง ทานจงสดุดีความชนะ

ของพระเจาแผนดิน จงสดุดีความพายแพของศัตรูท้ังหลาย จงสดุดีผูมีคุณงามความดี

คือโคและพราหมณ และจงสดุดีความเจริญรุงเรืองของการแสดงละคร

เขาไปในโรงละครแลว

พึงทําการบูชาเย็นหรือเชา

ฤกษ นักษัตรฤกษที่เปนปูรวาทั้ง ๓ คือ อารทรา มฆา และภรณี

(ไดแก ปูรวาผาลคุนี ปูรวาษาตะ และปูรวาภาทรปทะ หรือในนักษัตรฤกษ

อาศเลษา และนักษัตรฤกษมูลก็ได)

ครูผูประกอบพิธีทําความสะอาด แลวถวายพลีกรรม (ยกอุลุบ?)

ยกเวทีละคร (ประกาศใหรู)

บูชาเทพเจา

ฤกษพระยมในเวลาสนธยา (พลบค่ํา) เปนยามแรงและกลาแข็ง

พึงบวนปาก ๓ ครั้ง

เชิญเทวดาเขาโรง

ใชดายแดงผูกรอบขอมือ

บูชาดวยไมจันทนแดง พรอมดอกไมและผลไมแดง

เครื่องกระยาบวด มี ขาวเหนียว เมล็ดพันธุผักกาด ขาวตอก ขาวสาร

ขาวเจาไมแตกหัก ผงดอกบุนนาค ขาวปริยงคุ (จีนเรียกขาวเบะ? - แสง)

ซึ่งไมมีแกลบ

เขียนวงกลม วัดโดยรอบ (เสนรอบวง??) ๑๖ ศอก ทําทางเขาไปในวงนั้น ๔ ทิศ กลางวงกลมขีดเสน ๒ เสน คือ เสนขวางและเสนขึ้นลง (ขีดเสนกากบาท)

กลางวงกลม ตั้งพระพรหมประทับบนดอกบัว

ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) พระศิวะ, หมูภูต (บริวารของพระศิวะ) พระนันทิหรือหัวหนาคณะของพระศิวะ, พระพรหม /คือนักบวชท้ังหลาย

ทิศบูรพา (ตะวันออก) พระพรหม, พระอินทร, พระสกันทะ (ขันธกุมาร), พระอาทิตย, พระอัศวินท้ังคู,

พระจันทร, พระสรัสวดี, พระลักษมี, พระนางศรัทธา, พระนางเมธา /อยูมุมเสนเบื้องหนา

ทิศอาคเนย (ตะวันออกเฉียงใต) พระอัคนี (พระเพลิง), พระนางสวาหา, พระวิศวกรรมพรอมพระคนธรรพ,

พระรุทรพรอมคณะเทวดา

ทิศทักษิณ (ทิศใต) พระยม, พระมิตร พรอมทั้งบริวาร, เทพบรรพบุรุษ, ปศาจ, นาค, คุหยกะ

ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต) รากษส, ภูติทั้งหลาย

ทิศประจิม (ตะวันตก) พระสมุทร, พระวรุณ, เจาสัตวน้ําทั้งหลาย

ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) เทพวายุ ๗ องค (เทพวายุมี ๔๙ องค แบงเปนพวกๆ ละ ๗ องค), ครุฑ, นก

ทั้งหลาย

ทิศอุดร (ทิศเหนือ) พระกุเพระ (กุเวร), นาฏยมารดา, ยักษทั้งหลาย, คุหยกะ

การกําหนดอัฐทิศท้ังแปดนี้ คลายในพระราชพิธีตรีปวายท่ีพราหมณจะนําเทียนวางบูชาทิศท้ัง ๘ และการโรยแปงเปนอัฐทิศ - ธรรมจักร

๓๙ พึงประดิษฐานเทวรูปทั้งปวงที่งามนาเลื่อมใสไวตามสถานที่อันสมควร

และตามวิธีที่กลาวไวในศาสตรโดยวิธีน้ีแทเชียว

พระคนธรรพ –ถวายดอกไมขาว ผงจันทนขาว

พระอัคนี, พระอาทิตย – ดอกไมแดง ผงจันทนแดง

๓๕ พึงถวายเครื่องหอม (ผงจันทน) ดอกไม และธูป? โดยลําดับตามวิธีบูชา แลวจึงทําพลีกรรมบูชาตามวิธีอันสมควร

พระพรหม – ขาวสุกคลุกนํ้าผึ้ง

พระสรัสวดี – ขาวมธุปายาส

พระศิวะ พระวิษณุ พระอินทร และเทวดาอ่ืนๆ – ขนมโมทกะ (ขนมโมทกะ คือ ขนมที่ทําดวยแปงถั่วผสมขาวสาลีกวนกับนํ้าตาลและนํ้ามันเนยจนแหงแลวปนเปนกอนกลมๆ ขนาดผลมะนาวใหญๆ ภาษาฮินดี เรียก ลฑู - แสง)

พระอัคนี – ขาวสุกคลุกนํ้ามันเนย

พระจันทร พระอาทิตย – ขาวสุกคลุกนํ้าออย

พระวิศวกรรม คนธรรพ ฤาษี – ขาวมธุปายาส (ขาวกวนกับนมสดผสมนํ้าผึ้ง?? - แสง)

พระยม พระมิตร – ขนมอาวะปู (คลายขนมเคกของฝรั่ง??? – แสง) ขนมโมทกะ

เทพบรรพบุรุษ ปศาจ นาค – นํ้ามันเนย นมสด

ภูตผี – เน้ือสุก สุรา นํ้าตาลเมา นํ้าผลไมหมัก (เมา)

ชางซับมัน - ถั่วจนะ (ถั่วหัวชาง? - แสง) กะเทาะเปลือก

รากษส – ขาวสุก ปลาดิบ //แยกตางหาก - ธรรมจักร

ทานพ - สุรา เน้ือ

หมูเทวดานอกน้ัน – ขนมแปง ขาวสุก

พระสาคร (สมุทร) พระสริต (แมนํ้า) – ปลา ขนม ขาวสุก

พระวรุณ – นํ้ามันเนย ขาวมธุปายาส

พระฤาษี (มุนี) – เผือก มัน ผลไม

พระพาย – นกทั้งหลาย โภชนของกินอันวิจิตร?

นาฏยมารดา พระกุเวรพรอมบริวาร – โภชนของกิน? ขนมแปงยอมสี

๔๕ พึงทําพลี (ถวายเครื่องเซนบวงสรวง) อาศัยโภชนตางๆ แกเทพเจา

ทั้งหลายเหลาน้ี และการทําพลีกรรม ขาพเจา (ภรต) จะกลาวดวยวิธี

ภาวนามนตรกํากับอีกตอไป

๔๖-๗๑ มนตรบูชาเทพเจาตางๆ ตามลําดับ

ลําดับการอานมนตรบูชา

พระพรหม

พระอินทร

พระขันธกุมาร

พระนารายณ (พระวิษณุ?)

พระคเณศ

พระศิวะ

พระสรัสวดี

พระกุเวร

ลําดับการอานมนตรบูชา (ตอ) พระลักษม ี พระมรุต (พระพาย-ลม) พระอัคนี พระอาทติย พระจันทร พระนนทิ เทพบรรพบุรษุ คนธรรพ พระยม พญานาค

ลําดับการอานมนตรบูชา (ตอ)

พระวรุณ

ครุฑ

พระกุเวร (ซ้ําในโศลกที่ ๕๓ เปนองคเดียวกันหรือไม?)

นาฏยมารดา

เทพาวุธของพระเปนเจา

พระยม

เทวดาประจําหมูบาน

คนธรรพเหลาอื่น

๗๒ พึงต้ังหมอนํ้ามีนํ้าเต็มไวกลางเวทีน้ัน บูชาดวยดอกไมพวงมาลัย

และปดทองเวทีน้ันดวย?

การต้ังหมอนํ้าน้ีเปนการถือเคล็ด ดังเชนละครในสยาม

ปรากฏรูปหมอนํ้าบนสันหลังคาโรงรํา – ธรรมจักร

แทรกรูปโรงรําที่มีหมอนํ้า

๗๔ บูชาเทวรูปทั้งปวงตามลําดับแลว พึงบูชาดวยของหอม พวงมาลัย ธูป

และอาหารของกินทั้งหลาย

เทียบในพิธีไหวครู ตองรําถวายเครื่อง

และกลาวบทบูชาถวายเครื่อง - ธรรมจักร

โศลกที่ ๗๕

วันธรรมดา – โพกผาขาว

วันรุทรปรฺวณะ (ดิถีที่มีเทวดาประจํา) – โพกผานํ้าเงิน

วันวิษณุ – โพกผาเหลือง

วันสกันทะ – โพกผาแดง

วันพระจันทรเสวยมูลนักษัตร – โพกผาลาย

พึงถวายธูป มาลัย และแปงหอมเชนเดียวกัน

ปรฺวณะ หมายถึง ดิถีที่มีเทวดาประจํา ดิถีน้ันมีขางขึ้น ๑๕ วัน ขางแรม

๑๕ วัน หรือเดือนขาดก็มี ๑๔ วัน

ดิถี ๑๕ วันน้ันคือ วัน ๑ ค่ํา พระอัคนี / ๒ ค่ํา พระพรหม / ๓ ค่ํา

พระเคารี / ๔ ค่ํา พระเคศวร / ๕ ค่ํา พระสรรป / ๖ ค่ํา พระสกันทะ /

๗ ค่ํา พระสุริยะ / ๘ ค่ํา พระศิวะ / ๙ ค่ํา พระทุรคา / ๑๐ ค่ํา พระยม /

๑๑ ค่ํา พระ วิศฺวศเทพ / ๑๒ ค่ํา พระวิษณุ / ๑๓ ค่ํา พระกามเทพ /

๑๔ ค่ํา พระรุทร ทั้ง ๑๔ วันน้ี เหมือนกันทั้งขางขึ้นขางแรม แตขึ้น ๑๕ ค่ํา

พระจันทร แรม ๑๕ ค่ํา เทพบรรพบุรุษ

(แสง มนวิทูร)

๗๗ พึงคลุมเครื่องดนตรีทั้งหมดดวยผา พึงบูชาดวยของหอม (ผงจันทน)

มาลัย ธูปและอาหารของกินทั้งหลาย

(ดูเทียบการผูกผาหนาโขน ผารัดตะโพน ในพิธีไหวครู - ธรรมจักร)

๗๘ ครั้นบูชาดวยของหอม พวงมาลัย และแปงหอมตามวิธีทุกอยางดังน้ี

แลว พึงปลุกเสกชรชระเพ่ือกําจัดอันตรายวา

๗๙ อตฺร วิฆฺนวินาศารฺถํ ปตามหมุไขสฺสระ

นิรฺมิตสฺตฺวํ มหาวีรฺโย วชฺรสาโร มหาตุนะ

ทาน (ชรชระ) อันเทพเจาท้ังหลายมีพระพรหมเปนประธาน

สรางขึ้นมาเพื่อกําจัดอันตรายในการแสดงละครนี้ ทานเปน

ผูมีความเพียรมาก เปนแกนของวชิราวุธมีรางใหญโต

๘๐ พระพรหมพรอมดวยหมูเทวดาทั้งปวงจงรักษาศีรษะของทาน

พระศิวะจงรักษาทอนที่ ๒ และพระวิษณุจงรักษาทอนที่ ๓

๘๑ และพระสกันทพะ (ขันธกุมาร) จงรักษาทอนที่ ๔ พญานาค

ผูประเสริฐสุด จงรักาทอนที่ ๕ เทพทั้งปวงจงรักษาทานเปนนิตย

และทานจงเปนผูประกอบดวยคุณงามความดีตอไป

๘๒ ทานเปนผูทําลายศัตรู เกิดในนักษัตรอภิชาต (ช่ัวโมงที่ ๘ - เที่ยงคืน)

อันประเสริฐที่สุด จงนํามาซึ่งชัยชนะและความเจริญใหแกพระเจาแผนดิน

๘๓ ครั้นบูชาธงชรชระแลว พึงจัดพลีกรรมทั้งหมด ตอไปจึงทําโหม (บูชา)

ทํามนตร บูชาอาหุดี (การบูชาเทวดาในไฟยัญ) ในไฟ

(แทรกรูปพราหมณโหมกูณฑ)

๘๔ ครูละครพึงสะเดะเคราะห (ชําระใหหมดมลทินโทษ) ดวยวิธีเกรียกไมสมิต (ไมฟน) เปนซี่ จุดตางเทียน เวียนรอบแลวทิ้งลงในกองไฟ ครั้นแลว

พรมนํ้าลงในกองไฟ (นํ้าที่พรมน้ันใสนํ้าตาลเล็กนอยพรมลงครั้งที่ ๑ นํ้าพรมครั้งที่ ๒ ใสการบูร ถือเปนนํ้าอบปากเรียกวา ปริมารชนะ - แสง)

ใหเวียนรอบองคพระเจาแผนดินและตัวละครทั้งหลาย เพ่ือใหเกิดความเจริญรุงเรืองย่ิงๆ ขึ้น

(เทียบธรรมเนียมถวายใบสมิตปดพระองค แลวพราหมณน้ันใบสมิตน้ันกลับมาเผาโหมกูณฑ - ธรรมจักร)

๘๕ ครั้นเวียนเทียนเสร็จแลว พึงพรมนํ้ามนตรพระเจาแผนดิน และตัว

ละคร แลวจึงพูดกับเขาเหลาน้ันวา

๘๖ ทานทั้งหลายเกิดแลวในตระกูลใหญ และประดับดวยหมูแหง

คุณสมบัติ คือศิลป สิ่งใดประกอบดวยคุณตามกําเนิด (หรือคุณประจําชาติ)

ของทานทั้งหลาย ขอใหสิ่งน้ัน จงมีอยูเปนนิตยเทอญ

๘๗ ครั้นกลาวคําอยางน้ีแลว ผูรู (ครูละคร?) จึงใชคําอํานวยพรเพ่ือความ

เจริญของพระเจาแผนดิน และเพ่ือประสิทธิภาพในการแสดงละคร

๘๘ นาฏยมารดา (ศักติทั้งปวง - ธรรมจักร) ผูมีสภาพออนโยน คือ

พระนางสรัสวดี พระนางธฤดี พระนางเมธา พระนางหรี พระนางศรี พระ

นางลักษมี พระนางสมฤดี และพระนางมติ ขอจงคุมครองทานทั้งหลาย

และจงอํานวยความสําเร็จแกทานทั้งหลายดวย

(นาฏยมารดา ในที่น้ีไมนาจะหมายถึงมารดาแหงการฟอนรํา แตคือมารดา

แหงโลก – Mother of Earth และไมตรงความหมายกับนาฏยกุมารี -

ธรรมจักร)

๘๘ ครูละคร ครั้นทําโหม (บูชา) บูชาไฟรายมนตรตามวิธีแลว พึงทุบหมอนํ้าโดยความพยายาม

(หมอที่ใสนํ้ากลางโรงน่ันหรือไม? - ธรรมจักร)

คําทํานาย ทุบครั้งเดียวไมแตก – พระเจาแผนดินจะมีภัยจากศัตรู ทุบครั้งเดียวแตก – พระเจาแผนดินจะส้ินศัตรู

๙๑ ครั้นหมอแตกแลว ตอจากน้ัน ครูละครพึงพยายามประคองดวงประทีปสองใหสวางทั่วโรงละคร

๙๒ แลวเอาดวงประทีปที่สวางนั้น ต้ังไวกลางเวทีละคร พรอมกับ

สงเสียงโหรองเปาหวีดมือ ส่ิงกระโดดโลดเตนใหอึกทึกครึกโครม

๙๓ พึงใหเลนรบกันในเรื่องละคร

ดวยการบันลือสังขใหญ กลองสองหนา และบัณเฑาะว

พรอมดวยการประโคมเครื่องดนตรีทั้งปวง

๙๔ ในการเลนรบกันนั้น ตองมี ฉีก แจก ถลอก เลือดออก

มีบาดแผลถูกไฟไหมและถูกตีเจ็บปวด

เปนนิมิตแหงลักษณะความสําเร็จของละคร

(เหมือนละครครั้งที่เทวดาชนะอสูร - ธรรมจักร)

๙๕ สวนโรงละครที่บูชาถูกตองตามวิธี จะนําความดีงามมาใหแก

พระเจาแผนดิน แกเด็ก ผูใหญ และราษฎรอีก

๙๖ แตโรงละครที่บูชาไมถูกวิธี และเทวรูปซึ่งเปนที่สถิตของเทวดาไมดี

(เทวรูปไมงามหรือชํารุด? - แสง) ก็จะเปนเครื่องทําลายตัวละคร

และจะเกิดอัปมงคลแกพระเจาแผนดิน

๙๗ ผูใดเวนวิธีอันถูกตองดังไดกลาวมาอยางน้ีเสียแลว ประกอบการบูชา

ตามอําเภอใจตนเอง จะไดรับการดูหมิ่นโดยเร็ว

และเมื่อตายแลวจะไปเกิดเปนสัตวเดรัจฉาน

(ตรงกับไทยเรื่องการทําตามโองการไหวครูโดยเครงครัด จะประกอวพิธีเอา

เองตามใจมิได - ธรรมจักร)

๙๘ จริงอยู การบูชาเทวรูปในโรงละคร จะตองทําใหถูกวิธีบูชา

แตเมื่อยังไมไดบูชาโรงละคร ก็ไมควรแสดงละครใหคนดูเด็ดขาด

๙๙ เทพเจาประจําโรงละครเหลาน้ัน เราบูชา ทานก็บูชาตอบ

เรานับถือ ทานก็นับถือตอบ เพราะฉะน้ัน จึงพยายามทําการบูชาโรงละคร

(ใหถูกตองตามวิธี) ทุกอยาง

๑๐๐ จริงอยู เมื่อสรางโรงละครขึ้นแลว ไมประกอบพิธีการบูชา ไฟจะไหม

ตามโอกาส แตเมื่อประกอบพิธีการบูชาแลวไฟจะไมไหม

ลมจะไมพัดใหหกัโคนทุกขณะ

๑๐๑ จะตองไดครูละครผูทําพิธีบูชาเปนผูเช่ียวชาญในศาสตร สุภาพ

เรียบรอย มีกายใจสะอาด มีความสงบ ทําการบูชาโรงละคร

๑๐๒ ผูใด ถวายพลีที่ไมสมควร มีใจฟุงซาน ผูน้ันจะตองไดรับบาป

เหมือนผูบูชาโดยปราศจากมนตรกํากับ

๑๐๓ วิธีน้ี ไดช้ีแจงไวในการบูชาเทวรูปในโรงละครดังน้ีแลว

ผูสรางโรงละครพึงทําในการเริ่มเริ่มโรงละครไหมครั้งแรกหนเดียว

(ตอไปไมตองทํา? - แสง)

อัธยายที่ ๓ ช่ือการบูชาเทวรูปในโรงละครในนาฏยศาสตรอันเปนของพระ

ภรตมุนีจบแลว แล ฯ