11

๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

  • Upload
    others

  • View
    7

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Page 2: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

{ ก }

เรื่อง เลขที่ ส.ยืนยัน หนา ๑. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๓ กุมภาพันธ ๒๕๕๒ คณะกรรมการตางๆ ท่ีคณะรัฐมนตรีแตงตั้ง (จํานวน ๙ คณะ) ๑๗๙๕/๕๒ ๑ ๒. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ การคัดเลอืกผูทรงคุณวฒุใินคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสบัปะรดแหงชาติ (จาํนวน ๕ ทาน)

๕๘๙/๕๓ ๑

๓. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ ยุทธศาสตรสับปะรดป ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ ๑๐๑๓๔/๕๓ ๑

๔. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔

คณะกรรมการตาง ๆ ท่ีแตงตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (รวม ๒๘๒ คณะ) ว ๑๒๗/๕๔ ๒

๕. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒๐ กนัยายน ๒๕๕๔

คณะกรรมการตาง ๆ ท่ีแตงตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงเกษตรและสหกรณ) ๑๙๕๓๗/๕๔ ๓

๖. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

การมอบหมายการดําเนินการ [เก่ียวกับ ๑) การจัดงาน OTOP ๒) สถานการณอุทกภัย ในพ้ืนท่ีภาคใต ๓) การมอบหมายและมอบอํานาจใหรองนายกรฐัมนตรปีฏิบัติหนาท่ีเปนประธานกรรมการในคณะกรรมการตาง ๆ และ ๔) ปญหาการนําชิ้นสวนและโครงรถยนตท่ีใชแลวเขามาประกอบในประเทศ]

๑๗๗/๕๕ ๓

๗. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒ เมษายน ๒๕๕๕

โครงการแกไขปญหาสับปะรดป ๒๕๕๕ ๘๔๒๐/๕๕ ๔

๘. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕

โครงการแกไขปญหาสับปะรดป ๒๕๕๕ ๑๑๕๗๐/๕๕ ๕

๙. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕

การกูเงินเพ่ือเปนคารับซ้ือสับปะรดโครงการแกไขปญหาสับปะรด ป ๒๕๕๕ ๑๔๔๕๗/๕๕ ๕

๑๐. มตคิณะรฐัมนตรเีม่ือวันท่ี ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕

ขอปรับเปลี่ยนประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแหงชาติ ๑๔๖๔๙/๕๕ ๖

สารบัญ

Page 3: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

{ ข }

มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวของ ๑. มติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕

การเตรียมความพรอมในการเขาสูประชาคมอาเซียน ๘๔๗๓/๕๕ ๖

กลุมประมวลผลขอมูลและมติคณะรัฐมนตรี สํานักบริหารงานสารสนเทศ

สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มิถุนายน ๒๕๕๕

Page 4: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

๑. มติคณะรัฐมนตรีเมือ่วันที ่๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เร่ือง คณะกรรมการต่างๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (จ านวน ๙ คณะ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ รวม ๙ คณะ (คงไว้ตามเดิม ๖ คณะ และปรับปรุงองค์ประกอบ ๓ คณะ) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการที่คงไว้ตามเดิม ได้แก่ ๑.๑ คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ๑.๒ คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ ๑.๓ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑.๔ คณะกรรมการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ๑.๕ คณะกรรมการก ากับและติดตามการด าเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ๑.๖ คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ๒. คณะกรรมการที่ปรับปรุงองค์ประกอบ ได้แก่ ๒.๑ คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ๒.๒ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ๒.๓ คณะกรรมการพืชน้ ามันและน้ ามันพืช ๒. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๓ เร่ือง การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ (จ านวน ๕ ท่าน) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ จ านวน ๕ ท่าน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี ้ ๑. นางอนุรัตน ์ เทยีมทัน ๒. นายนิรุติ รูปเล็ก ๓. นายพิบูลย์ สุกิจปาณีนิจ ๔. นางสาวณัฐภัทร ถวัลยโพธิ ๕. นายศิริ ชมชาญ ๓. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓ เร่ือง ยุทธศาสตร์สับปะรดปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการยุทธศาสตร์สับปะรดปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในภาคการผลิต การแปรรูป และการตลาด ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกและรักษาความเป็นผู้น าในด้านการผลิตการตลาดสับปะรดของโลกที่ยั่งยืนตลอดไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ โดยมียุทธศาสตร์และมาตรการด าเนินงาน ดังนี้ ๑.๑ ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต วงเงินงบประมาณ ๑,๒๑๕.๓๓ ล้านบาท มีมาตรการด าเนินงาน ได้แก่ ๑.๑.๑ การส่งเสริมการปลูกสับปะรดในพ้ืนท่ีที่เหมาะสม ๑.๑.๒ การพัฒนาความรู้ความสามารถเรื่องสับปะรดแก่เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ๑.๑.๓ การป้องกันการแพร่กระจายของโรคและแมลงเกี่ยวกับสับปะรด ๑.๑.๔ การเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ าสับปะรด ๑.๑.๕ การพัฒนาสถาบันเกษตรให้มีความเข้มแข็ง ๑.๑.๖ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเช่ือมโยงระหว่างกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ๑.๑.๗ การวิจัยและพัฒนาการผลิตสับปะรด

Page 5: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

๑.๒ ยุทธศาสตร์ด้านการแปรรูป วงเงินงบประมาณ ๑๑๕.๗๐ ล้านบาท มีมาตรการด าเนินงาน ได้แก่ ๑.๒.๑ การพัฒนาโรงงานแปรรูปสับปะรดให้เข้มแข็ง ๑.๒.๒ การวิจัยและพัฒนาการแปรรูปสับปะรด ๑.๓ ยุทธศาสตร์ด้านตลาด วงเงินงบประมาณ ๙๖.๙๐ ล้านบาท มีมาตรการด าเนินงาน ได้แก่ ๑.๓.๑ การเพิ่มปริมาณและมูลค่าการบริโภคสับปะรดสดในประเทศ ๑.๓.๒ การเพิ่มปริมาณและมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สับปะรดในประเทศ ๑.๓.๓ การเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ ๑.๓.๔ การวิจัยตลาดสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ ๑.๔ ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ วงเงินงบประมาณ ๕๖.๒๐ ล้านบาท มีมาตรการด าเนินงาน ได้แก่ ๑.๔.๑ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรื่องสับปะรดทั้งระบบ ๑.๔.๒ การพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ๑.๔.๓ การเช่ือมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันเกษตรกรกับโรงงานแปรรูปสับปะรด ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์กระทรวงอุตสาหกรรม ส านักงบประมาณที่เห็นควรก าหนดยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายการผลิตที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพื่อลดต้นทุนการผลิตหลีกเลี่ยงปัญหาการตัดราคาขายของผู้ประกอบการ จัดท าทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดให้ครบถ้วนถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ตลอดจนพิจารณาทบทวนการก าหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ฯ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดของอุตสาหกรรมสับปะรดในปัจจุบัน โดยมีตัวช้ีวัดความส าเร็จในแต่ละยุทธศาสตร์ และทบทวนวงเงินงบประมาณของมาตรการ/แนวทางด าเนินงานในแต่ละยุทธศาสตร์โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ด าเนินการในแต่ละปีเป็นส าคัญและความเห็นของส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการจัดท ายุทธศาสตร์รายสินค้าควรจ าแนกกลุ่มสินค้าเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ กลุ่มสินค้าท่ีมีโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก กลุ่มสินค้าพืชพลังงานทดแทน และกลุ่มสินค้าท่ีสร้างความมั่นคงด้านอาหาร นอกจากนี้ ต้องให้ความส าคัญกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคและลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคต ไปพิจารณาด าเนินการในส่วนท่ีเกี่ยวข้องต่อไป ๓. ในส่วนของการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ ให้ส านักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ าปี โดยให้ค านึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ภาระงบประมาณ และศักยภาพของหน่วยงานที่จะด าเนินการต่อไป ตามความเห็นของส านักงบประมาณ ๔. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ เร่ือง คณะกรรมการต่าง ๆ ท่ีแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (รวม ๒๘๒ คณะ) คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี ้ ๑. เห็นชอบให้คณะกรรมการต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีชุดเดิมมีมติแต่งตั้งไว้ ซึ่งมีคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ รวมอยู่ใน ๒๘๒ คณะ ด้วย (ไม่รวมถึงคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยอาศัยอ านาจตามระเบียบหรือตามกฎหมายหนึ่งกฎหมายใด หรือคณะกรรมการที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งไว)้ ยังคงปฏิบัติหน้าท่ีต่อไป จนถึงวันท่ี ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ และภายหลังจากนั้นให้คณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งทุกคณะเป็นอันสิ้นสุดลง ๒. หากกระทรวง กรมเห็นว่า คณะกรรมการชุดใดมีความส าคัญและจ าเป็นต้องมีอยู่ ให้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นใหม่ โดยให้ตรวจสอบองค์ประกอบและอ านาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วส่งไปยังส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีโดยด่วน และให้ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีของทุกกระทรวง กรม เสนอคณะรัฐมนตรีคราวเดียวกันภายในวันที่ ๑๓กันยายน ๒๕๕๔ ทั้งนี้ คณะกรรมการใดที่กระทรวง กรม จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้งดังกล่าว หากสามารถก าหนดระยะเวลาการด าเนินงานและภารกิจสิ้นสุดที่ชัดเจนได้ ให้ระบุวันสิ้นสุดของคณะกรรมการนั้น ๆ ไว้ด้วย ๓. คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า บางกระทรวงได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อท าหน้าที่พิจารณากลั่นกรองงาน/โครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานก่อนเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท าให้มีขั้นตอนการเสนอเรื่องเพิ่มขึ้นและเกิดความล่าช้าโดยไม่จ าเป็น จึงขอให้กระทรวงต่าง ๆ รับไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณายกเลิกกลไกดังกล่าว

Page 6: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

๕. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน๒๕๕๔ เร่ือง คณะกรรมการต่าง ๆ ท่ีแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการคงอยู่ของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจ านวน ๑๓ คณะ ปรับปรุง จ านวน ๑ คณะ และยกเลิก จ านวน ๕ คณะ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี ้ ๑. คณะกรรมการที่ยังคงอยู่ ได้แก่ ๑.๑ คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ๑.๒ คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ๑.๓ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ๑.๔ คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ๑.๕ คณะกรรมการอ านวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ ๒๕๕๔ ๑.๖ คณะกรรมการพืชน้ ามันและน้ ามันพืช ๑.๗ คณะกรรมการฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ๑.๘ คณะกรรมการก ากับและติดตามการด าเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ๑.๙ คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ๑.๑๐ คณะกรรมการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรแปลงอพยพ (โครงการกิ่วคอหมา) ๑.๑๑ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา ๑.๑๒ คณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล ๑.๑๓ คณะกรรมการเพื่อตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนน้ าอูน ๒. คณะกรรมการที่ปรับปรุง ได้แก่ คณะกรรมการประสานงานกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและการเกษตรต่างประเทศ โดยเพิ่มอ านาจหน้าท่ีของคณะกรรมการให้ครอบคลุมองค์การระหว่างประเทศอีกองค์การคือ CIRDAP เนื่องจากเป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับอาหาร การเกษตร และการพัฒนาชนบทซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ ๓. คณะกรรมการที่ยกเลิก ได้แก่ ๓.๑ คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๓.๒ คณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ๓.๓ คณะกรรมการบริหารจัดการและท าลายล าไยอบแห้ง ปี ๒๕๔๖ และปี ๒๕๔๗ ๓.๔ คณะกรรมการก ากับดูแลการจ่ายเงินท้ัง ๓ จังหวัด (ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด) ๓.๕ คณะกรรมการด าเนินโครงการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ๖. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เร่ือง การมอบหมายการด าเนินการ [เกี่ยวกับ ๑) การจัดงาน OTOP ๒) สถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ภาคใต้ ๓) การมอบหมายและมอบ อ านาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และ ๔) ปัญหาการน าช้ินส่วนและโครง รถยนต์ที่ใช้แล้วเข้ามาประกอบในประเทศ] คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องเร่งด่วนที่ขอมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดด าเนินการ ดังต่อไปนี ้ ๑. งานหนึ่งต าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองทองธานีประสบความส าเร็จเป็นอย่างดี โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน ์ณ ระนอง) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ประสานงานและเร่งรัดติดตามการด าเนินการได้อย่างรวดเร็ว ส าหรับการจัดงาน OTOP ครั้งถัดไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดเตรียมการจัดงาน โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วต่อไป ๒. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ เกี่ยวกับการเตรียมการรองรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ โดยมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพหลักรับไปพิจารณาร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (พลต ารวจเอก โกวิท วัฒนะ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการรองรับสถานการณ์ในพื้นที่

Page 7: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

จังหวัดภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุและอาจเกิดสถานการณ์อุทกภัยขึ้นได้ นั้น ให้รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคใต้ทั้ง ๖ จังหวัด ลงพื้นที่เพื่อก ากับติดตามการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่รับผิดชอบด้วย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน าปัญหาเกี่ยวกับสภาวะอากาศแปรปรวน มีพายุและคลื่นสูงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ไปด าเนินการศึกษาวิจัยรวมกับเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นต่อไป ๓. เพื่อให้การด าเนินงานของคณะกรรมการพืชน้ ามันและน้ ามันพืช คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ ามันแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการพืชน้ ามันและน้ ามันพืช ประธานกรรมการนโยบายยางธรรมชาติและประธานกรรมการนโยบายปาล์มน้ ามันแห่งชาติ และมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายชุมพล ศิลปอาชา) ปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้ส านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับไปแก้ไขปรับปรุงค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่มอบหมายต่อไปด้วย ๔. เนื่องจากได้มีการน าเข้าชิ้นส่วนและโครงรถยนต์ที่ใช้แล้วเข้ามาประกอบหรือดัดแปลงเป็นรถยนต์ใหม่ในประเทศ ซึ่งเป็นการใช้ช่องว่างของกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องช าระภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง มอบให้กระทรวงพาณิชย์เร่งด าเนินการห้ามน าเข้าช้ินส่วนและโครงรถยนต์ที่ใช้แล้ว และให้กระทรวงคมนาคมระงับการจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ช้ินส่วนและโครงรถยนต์เข้ามาประกอบหรือดัดแปลงเป็นรถยนต์ใหม่โดยด่วน ๗. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ เร่ือง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรดปี ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี ้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้แก้ไขปัญหาผลผลิตสับปะรดปี ๒๕๕๕ มีราคาตกต่ า โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ด าเนินการรับซื้อสับปะรดส่วนเกินออกนอกระบบ จ านวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัน ราคาสับปะรดคละ ณ จุดรับซื้อ กิโลกรัมละ ๔ บาท เพื่อน าไปท าอาหารสัตว์ ปุ๋ยน้ าหมักชีวภาพ และจ้างโรงงานแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง จากเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในจังหวัดแหล่งผลิตสับปะรด ๒๐ จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระยอง ชลบุรี อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร ล าปาง หนองคาย นครพนม ฉะเชิงเทรา ตราด พิษณุโลก เชียงราย อุตรดิตถ์ เลย ชัยภูมิ สุพรรณบุรี และจันทบุรี ระยะเวลาด าเนินการรับซื้อ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยใช้จ่ายจากงบส ารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจ าเป็น (งบกลาง) วงเงิน ๑,๔๔๒.๕๘๐ ล้านบาท ๒. ให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นประธานกรรมการรับไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ค่าใช้จ่าย และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน ทัง้นี ้ให ้คชก. รับความเห็นของส านักงบประมาณและส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรขยายระยะเวลาโครงการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาสับปะรด จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ และให้ คชก. ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ ๓ เพิ่มอีก ๖ เดือน เป็นเงิน ๑๕ ล้านบาท นอกจากนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องวางแผนการส่งเสริมการผลิตสับปะรดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในแต่ละปี ในด้านการปลูกในพื้นทีท่ี่เหมาะสมและมีศักยภาพ และมีแหล่งอุตสาหกรรมการแปรรูปรองรับในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปลูกสับปะรดที่กระจัดกระจายในหลายพื้นที่และเพื่อลดการพึ่งพาตลาดหลักท่ีมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคสับปะรดและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไปประกอบการพิจารณาด้วย ๓. ให้ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปด าเนินการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ในการจัดท าร่างแผนแม่บทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ ในระยะยาวทั้งระบบเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้วให้น าเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี ้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ (เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน)

Page 8: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

๘. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เร่ือง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรดปี ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาสับปะรดปี ๒๕๕๕ โดยการรับซื้อสับปะรดสดส่วนเกินในจังหวัดแหล่งผลิต จ านวน ๒๐๐,๐๐๐ ตัน เพื่อน าออกนอกระบบปกติ แล้วน าไปท าอาหารสัตว์ ปุ๋ยน้ าหมักชีวภาพ และแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ก าหนดระยะเวลาด าเนินการ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ระยะเวลาโครงการ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ – ๒๘ กุมภาพันธ ์๒๕๕๖ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายชุมพล ศิลปอาชา) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอ และอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรให้ความเห็น โดยให้ด าเนินการเฉพาะในส่วนการรับซื้อสับปะรดสดเพื่อการแปรรูป ดังต่อไปนี้ ๑. ค่าใช้จ่ายเป็นค่ารับซื้อผลผลิตสับปะรดสดส่วนเกินในราคาสับปะรดคละ ณ จุดรับซื้อกิโลกรัมละ ๔ บาท ในวงเงินไม่เกิน ๘๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต่อไป โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าวให้เป็นไปในท านองเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโครงการอื่น ๆ ๒. ค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างผลิตสับปะรดสดที่รับซื้อตามข้อ ๑ เป็นสับปะรดกระป๋องเพื่อระบายจ าหน่ายต่อไป ประกอบด้วยค่าจัดจ้างแปรรูป ค่าเช่าคลัง ค่าขนส่งในการระบายสินค้า ค่าประกันภัยสินค้า รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าให้ได้มาตรฐานค่าใช้จ่ายในการด าเนินการช้ีแจงโครงการฯ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการฯ ในวงเงินรวมไม่เกิน ๖๗๔ ล้านบาท และให้ใช้จ่ายโดยถัวจ่ายกันได้และเป็นเงินจ่ายขาดเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ งบกลาง รายการเงินส ารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจ าเป็น ตามวงเงินที่ใช้จ่ายจริง โดยให้กระทรวงพาณิชย์ โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอท าความตกลงในรายละเอียดกับส านักงบประมาณก่อนด าเนินการโครงการฯ ต่อไป ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับปริมาณสับปะรดและระยะเวลาด าเนินการจริงที่ปรับลดลง เป็นตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑ พฤษภาคม – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕) และระยะเวลาโครงการฯ เป็นตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีมาตรการระยะยาวในการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าสับปะรด พร้อมไปกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าสับปะรดไทย เพื่อสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกรอย่างยั่งยืนและลดความจ าเป็นของโครงการแก้ไขปัญหาสับปะรดในอนาคต และควรให้ความส าคัญกับการกระจายการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยอย่างทั่วถึง เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากราคาสับปะรดตกต่ า และไม่มีพันธะสัญญากับโรงงานแปรรูป รวมทั้งควรมีการศึกษาแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์สับปะรดต่าง ๆ ของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมสับปะรด ไปพิจารณาด าเนินการด้วย ๓. ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องรับผิดชอบและเร่งด าเนินการจ าหน่ายสับปะรดกระป๋องที่ผลิตได้จากโครงการฯ โดยให้ประมาณการรายได้จากการจ าหน่ายสินค้าเสนอคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร และคณะรัฐมนตรีทราบตามล าดับ และใหน้ ารายได้จากการจ าหน่ายสินค้าดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป ๔. ให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปด าเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อท าหน้าที่ก าหนดกรอบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการด าเนินการรับซื้อ ตลอดจนการจัดท าแผนการใช้เงิน การเบิกจ่ายเงิน รวมทั้งจัดท าแผนการระบายจ าหน่ายสับปะรดกระป๋อง เพื่อให้การด าเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป และรายงานความคืบหน้าในการด าเนินโครงการฯ ให้คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร และคณะรัฐมนตรีทราบทุก ๆ เดือน จนสิ้นสุดโครงการฯ

Page 9: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด

มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ๑. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เร่ือง การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ จะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม โดยการให้ความรู้ความเข้าใจและข้อมูลแก่ประชาชน และให้มีการจัดท าแผนแม่บทในการด าเนินการ โดยบูรณาการแนวทางการด าเนินการของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้อง ให้สะท้อนถึงทิศทาง จุดแข็ง และความสามารถในการแข่งขันกับประเทศสมาชิกอื่นให้ชัดเจน เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการด าเนินการตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับชาติ รวมทั้งภาคเอกชนต่อไป โดยให้ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปด าเนินการร่วมกับส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อด าเนินการจัดท าร่างแผนแม่บทดังกล่าว พร้อมกรอบระยะเวลาในการด าเนินการเรื่องต่าง ๆ โดยให้น าผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาด าเนินการ แล้วน าเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

Page 10: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔

ประมวลข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง โครงการแก้ไขปัญหาสับปะรด ปี ๒๕๕๕ ที่ปรึกษา

นางสมสมร มังคลพันธุ์ ผู้อ านวยการส านักบริหารงานสารสนเทศ นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ

ผู้จัดท า นางสาวสุภาพร กิตติเดโช ผู้อ านวยการกลุ่มประมวลผลข้อมูลและมติคณะรัฐมนตรี จ่าโท กวินกร วรวัชตเมธิน เจ้าพนักงานธุรการช านาญงาน

………………………………………………………………

รายชื่อคณะท างาน

Page 11: ๕๕ ๖ สํานักบริหารงานสารสนเทศ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๕๕๕ · ๑.๔