15
บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ 2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทางานของกล้องถ่ายภาพได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนบอกถึงประโยชน์ของการถ่ายภาพได้ 4. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้กับกล้องถ่ายภาพ และสามารถนาไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 5. เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพได้

บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพ่ือให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ 2. เพ่ือให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการท างานของกล้องถ่ายภาพได้ 3. เพ่ือให้ผู้เรียนบอกถึงประโยชน์ของการถ่ายภาพได้ 4. เพ่ือให้ผู้เรียนรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้กับกล้องถ่ายภาพ และสามารถน าไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 5. เพ่ือให้ผู้เรียนอธิบายส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพได้

Page 2: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

2

บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ

มนุษย์ต้องการเก็บความทรงจ าจากการมองเห็น จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ในการเก็บภาพขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่ากล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจากกล้องฟิล์ม จนถึง กล้องดิจิตอล ที่มรีะบบการใช้งานง่าย ช่วยอ านวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากข้ึน แต่การถ่ายภาพให้ออกมามีองค์ประกอบดีและสวยงาม เราควรเรียนรู้เทคนิคต่างๆ เช่น การจัดองค์ประกอบภาพ การค านึงถึงลายเส้นที่อยู่ในภาพ เพ่ือให้ภาพออกมาสมบูรณ์ สวยงาม และมีความหมาย

ก่อนที่เราจะเรียนรู้เทคนิคส าหรับการถ่ายภาพ เราต้องศึกษาการถ่ายภาพขั้นพ้ืนฐาน เพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของตนเองต่อไป

ความหมายของการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ มาจากภาษาอังกฤษ ค าว่า “Photography” มีรากศัพท์จากภาษากรีก 2 ค า คือ “Phos” และ “Graphein” Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน เมื่อรวมค าสองค าเข้าด้วยกัน จะได้ความหมายว่า “การเขียนด้วยแสงสว่าง” ความหมายของวิชาถ่ายภาพในการเรียนการสอนปัจจุบัน คือ ความรู้ในการเกิดภาพที่สร้างจากกระบวนการใช้แสงสว่างกระทบกับอุปกรณ์และวัสดุไวแสง (ฟิล์ม) เพ่ือบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้ การถ่ายภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพ โดยอาศัยส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ประการ คือ กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสง และแสงสว่าง ดังนั้น ในการถ่ายภาพจะต้องมีความรู้ ทักษะ ในการใช้อุปกรณ์และกล้องถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบภาพ แสง สี ความรู้ทางศิลปะ ฯลฯ เพ่ือให้เกิดความสมบูรณ์ในการน าไปใช้งานต่อไป

Page 3: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

3

หลักการท างานของกล้องถ่ายภาพ หลักการท างานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม โดยเกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้าม มองเห็นเป็นภาพหัวกลับ ซึ่งเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ

รูปที่ 1 หลักการท างานของกล้องถ่ายภาพ

ปัจจุบันกล้องถ่ายภาพได้พัฒนา โดยใช้เลนส์ช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องมากขึ้น ด้านตรงข้าม

ของเลนส์จะเป็นต าแหน่งของวัสดุไวแสง ส าหรับใช้ในการบันทึกภาพ ตัวเลนส์สามารถปรับการรับภาพให้เกิดความชัดเจนของภาพได้ มีไดอะแฟรม เพ่ือปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ มีชัตเตอร์ควบคุมเวลา ในการเปิด – ปิดม่าน เพ่ือให้ปริมาณที่แสงตกกระทบกับส าหรับภาพบันทึกตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพ่ือช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม

ประโยชน์ของการถ่ายภาพ ภาพถ่ายได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ าวันมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เราจึงเห็นภาพถ่ายเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งจากการแชร์ภาพบนอินเทอร์เน็ต ทางโทรศัพท์มือถือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อการเรียนการสอน การถ่ายภาพมีประโยชน์ ดังนี ้

1. ภาพถ่ายเพื่อสื่อความหมาย เป็นการถ่ายทอดข่าวสารไปยังผู้รับ โดยใช้ภาพเป็นสื่อกลางในการน าเสนอเรื่องราว เช่น ภาพเหตุการณ์ทางหน้าหนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน๊ต โปสเตอร์ เป็นต้น

Page 4: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

4

รูปที่ 2 ภาพถ่ายเพ่ือสื่อความหมาย 2. ภาพถ่ายด้านการศึกษาและงานวิชาการ เป็นการใช้ในการเรียนการสอน เพ่ือดึงดูดความสนใจ

โดยใช้ภาพประกอบการสอนแทนที่จะใช้การบรรยายอย่างเดียว ท าให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ และสามารถเห็นในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ในชีวิตประจ าวัน การใช้ภาพถ่ายเขามาช่วยจะช่วยเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้อยู่ในรูปของรูปธรรม เช่น ภาพสัตว์ใต้ทะเล ภาพกลุ่มดาว ฯลฯ

รูปที่ 3 ภาพถ่าย ด้านการศึกษาและงานวิชาการ

Page 5: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

5

3. ภาพถ่ายในการศึกษาค้นคว้าวิจัย เช่น นักวิทยาศาสตร์ใช้ภาพถ่ายขยายส่วน และภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์มาศึกษาและวิจัย ได้แก่ การศึกษาเซลล์ และเนื้อเยื่อของพืช และสัตว์ รวมถึงการเอ็กซเรย์ เพ่ือตรวจสุขภาพของผู้ป่วย ฯลฯ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการถ่ายภาพได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในการส ารวจสภาพต่างๆ บนพื้นผิวโลก นักวิทยาศาสตร์ใช้ฟิล์มอินฟราเรดถ่ายภาพพ้ืนผิวโลก เพ่ือศึกษาปริมาณและความหนาแน่นของป่าไม้ การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ช่วยศึกษาความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มดวงดาวต่างๆ ฯลฯ ซึ่งการถ่ายภาพช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถท าการศึกษาค้นคว้าได้ถูกต้องแม่นย า กว้างขวาง และประหยัดเวลาได้อีกด้วย

รูปที่ 4 ภาพถ่ายใน การศึกษาค้นคว้าวิจัย

Page 6: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

6

4. ภาพถ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ ผู้มีความรู้ด้านการถ่ายภาพ สามารถน าไปประกอบอาชีพ หารายได้ เพื่อมาจุนเจือครอบครัวได้ ทั้งยังสามารถรับจ้างบริษัท หรือประกอบอาชีพส่วนตัวได้

รูปที่ 5 ภาพถ่ายเพ่ือการประกอบอาชีพ

5. ภาพถ่ายใช้เป็นหลักฐานในเอกสารส าคัญหลายชนิด เช่น บัตรประจ าตัวประชาชน ใบขับข่ี

ใบสุทธิ ใบรับรอง เป็นต้น เพราะรูปถ่ายสามารถอธิบายรูปพรรณสัณฐานของบุคคลได้อย่างดี และยากต่อการปลอมแปลง

รูปที่ 6 ภาพถ่ายใช้เป็นหลักฐานในเอกสารส าคัญ

Page 7: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

7

6. ภาพถ่ายเป็นการแสดงออกทางศิลปะ เป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดความสวยงาม และจรรโลงใจแก่ผู้ชม

รูปที่ 7 ภาพถ่ายเป็นการแสดงออกทางศิลปะ 7. ภาพถ่ายช่วยบันทึกภาพในอดีตที่ผ่านมาได้ดี ท าให้คนรุ่นหลังสามารถเรียนรู้ เห็นเหตุการณ์

ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต ภาพถ่ายถือเป็นหลักฐานส าคัญทางประวัติศาสตร์ที่ส าคัญยิ่ง

รูปที่ 8 ภาพถ่ายช่วยบันทึกภาพในอดีตที่ผ่านมาได้ดี

Page 8: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

8

8. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ทางด้านการค้า และการโฆษณา เพ่ือเผยแพร่สินค้าของบริษัทให้เป็นที่แพร่หลาย และโน้มน้าวจิตใจผู้ซ้ือ

รูปที่ 9 ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ทางด้านการค้า และการโฆษณา 9. ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ด้านความเพลิดเพลิน มีผู้ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก เพ่ือความสนุกสนาน

เพลิดเพลิน เขาจะรู้สึกพอใจต่อภาพถ่ายที่ออกมา และมีความสุขต่อการที่ได้ท่องเที่ยวในที่ต่างๆ พร้อมกับบันทึกภาพสิ่งต่างๆ ที่อยากเก็บไว้ในความจ า โดยสามารถแบ่งปันภาพถ่ายให้กับผู้อื่นได้

รูปที่ 10 ภาพถ่ายเป็นประโยชน์ด้านความเพลิดเพลิน

Page 9: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

9

อุปกรณ์ที่ใช้กับกล้องถ่ายรูป มีดังนี ้ 1. ที่บังแสง (Lens hood or Lens shade)

เป็นอุปกรณ์ท่ีใช้สวมหน้าเลนส์ ทั้งแบบเป็นถ้วย และกลีบดอกไม้ มีทั้งชนิดโลหะ และพลาสติกที่ขนาดแตกต่างกันไปตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเลนส์ ท าหน้าทีป่้องกันแสงที่ไม่ต้องการจากภายนอกที่อาจผ่านเข้าไปในกล้อง จนท าให้เกิดแสงแฟร์ เป็นจุด หรือเส้น และยังช่วยป้องกันเลนส์จากการ กระแทกด้วย หากถ่ายภาพด้วยกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว ต้องแน่ใจว่าเมื่อสวมที่บังแสงแล้วจะไม่ บังบางส่วนของช่องมองภาพ แตส่ าหรับเลนส์มุมกว้างอาจบังมุมภาพบางส่วน

รูปที่ 11 ที่บังแสง 2. แว่นกรองแสง หรือฟิลเตอร์ (Filter) ใช้สวมหน้าเลนส์ เป็นวัสดุโปรง่แสง ท าด้วยกระจก หรือพลาสติกสีต่างๆ มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลง

แสง ก่อนที่แสงจะกระทบถึงหน้าเลนส์ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ filter แต่ละชนิด เช่น filter UV ลดรังสีต่างๆ, filter close up ถ่ายภาพมาโครได้ใกล้ขึ้น, Filter CPL ลดแสงสะท้อนที่ ไม่ต้องการ และช่วยเติมสีฟ้าให้เข้มข้ึน เป็นต้น นอกจากนี้มีคุณสมบัติ คือปกป้องผิวเลนส์ด้วย ฟิลเตอร ์ มีหลายชนิดหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความต้องการ และตามชนิดของกล้องแต่ละแบบ ดังนั้นก่อนซื้อฟิลเตอร์มาใช้ จึงควรตรวจดูขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเลนส์ก่อน

Page 10: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

10

รูปที่ 12 แว่นกรองแสง หรือฟิลเตอร์ 3. สายลั่นไกชัตเตอร์ (Shutter cable release)

เป็นอุปกรณ์ท่ีใช้ควบคู่ไปกับขาตั้งกล้อง มีลักษณะเป็นสายเคเบิลยาว มีเกลียวขันต่อกับปุ่ม กดชัตเตอร์ ท าหน้าที่กดชัตเตอร์แทนนิ้วมือของผู้ถ่ายภาพ เพ่ือให้การกดชัตเตอร์เป็นไปอย่างนุ่มนวล กล้องไม่สั่นไหว โดยเฉพาะเมื่อใช้กับความเร็วชัตเตอร์ต่ ามากๆ หรือเม่ือตั้งชัตเตอร์ที่ “B” ซึ่งต้องกดชัตเตอร์ให้เปิดค้างไว้นานๆ ขณะที่กล้องอยู่นิ่งกับท่ี สายลั่นไกมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบสายเดี่ยว แบบสายคู่ และแบบบีบลมเป็นลายยาง สามารถถ่ายจากท่ีสูง หรือที่อยู่ไกลจากกล้องได้

รูปที่ 13 สายลั่นไกชัตเตอร์

Page 11: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

11

4. แฟลชถ่ายรูป (Flash) เป็นอุปกรณ์ท่ีให้แสงสว่างช่วยในการถ่ายภาพในเวลากลางคืน หรือในที่มีแสงสว่างน้อย มีหลายแบบหลายขนาดให้เลือกใช้ตามชนิดของกล้อง และตามความต้องการของผู้ใช้ นอกจากแฟลชจะเพ่ิมแสงสว่างให้แก่วัตถุแล้ว ยังใช้ลบเงาและปรุงแต่แสงให้ดูนุ่มนวลขึ้น แฟลชแต่ละชนิดจะให้ความเร็วในการส่องสว่าง และชนิดของแสงต่างกันไป แต่ที่นิยมกันก็คืออิเล็คทรอนิกส์แฟลช ซึ่งให้อุณหภูมิของแสงใกล้เคียงกับแสงแดด อีกชนิดหนึ่งเป็นแฟลชหลอด ซึ่งมีอุณหภูมิสีต่ ากว่าอิเล็คทรอนิกส์แฟลช

รูปที่ 14 แฟลชถ่ายรูป 5. ขาตั้งกล้อง (Tripod) เป็นอุปกรณ์ท่ีใช้ติดตั้งกล้อง เพ่ือให้กล้องยึดกับขาตั้งให้อยู่นิ่ง ไม่สั่นไหว จ าเป็นส าหรับการถ่ายภาพในสภาพแสงสว่างน้อย ที่ชัตเตอร์ต่ าๆ เพ่ือให้รับแสงไดน้านๆ หรือการถ่ายระยะไกลโดยใช้เลนส์ถ่ายไกลที่มีความยาวโฟกัสสูง ภาพจะมีช่วงความชัดต่ า

รูปที่ 15 ขาตั้งกล้อง

Page 12: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

12

6. กระเป๋าใส่กล้อง (Camera Bags and cases) กระเป๋าใส่กล้องใช้ส าหรับเก็บอุปกรณ์ที่จ าเป็นในการถ่ายภาพ เช่น ตัวกล้อง เลนส์ แผ่นกรองแสง ฯลฯ ท าให้สะดวกต่อการน าไปใช้ในที่ต่างๆ และยังช่วยป้องกันฝุ่นละออง การกระแทก รอยขีดข่วน ขณะเคลื่อนย้าย กระเป๋าใส่กล้องมีทั้งชนิดที่เป็นหนัง มีขนาดแตกต่างกัน สามารถถือ หิ้ว หรือสะพายได ้และชนิดที่เป็นโลหะแข็ง ข้างในมีช่องแบ่ง แยกวางอุปกรณ์แต่ละชนิดอย่างเป็นสัดส่วน

รูปที่ 16 กระเป๋าใส่กล้อง 7. อุปกรณ์ท าความสะอาดกล้อง (Cleaning accessories) อุปกรณ์ท าความสะอาดกล้องมีหลายชนิด เช่น ลูกยางเป่าลมที่มีแปรงขนนิ่มส าหรับปัดฝุ่นละออง ที่จับอยู่ตามซอกเลนส์ หรือตัวกล้อง น้ ายาล้างเลนส์ และกระดาษส าหรับเช็ดเลนส์ เป็นต้น

รูปที่ 17 อุปกรณ์ท าความสะอาดกล้อง

Page 13: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

13

ส่วนประกอบของกล้องถา่ยภาพ สว่นประกอบส าคัญของกล้องถ่ายภาพที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน จะมีความสามารถ และคุณลักษณะแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกันคือ 1. ตัวกล้อง (Body) ท าหน้าที่เป็นห้องมืด ป้องกันแสงจากภายนอกเข้าไปภายใน และเป็นทีย่ึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการถ่ายภาพเข้าด้วยกัน

รูปที่ 18 ตัวกล้อง 2. เลนส์ (Lens) ท าหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุ ส่งไปยังอิมเมจเซ็นเซอร์ กล้องบางชนิดสามารถ

ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้อง ซึ่งมีขนาด ความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม . 35 มม . 105 มม . เป็นต้น

รูปที่ 19 เลนส์

Page 14: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

14

3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ด้านหลังของตัวกล้องเป็นจอมองภาพ เพ่ือช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป

รูปที่ 20 ช่องมองภาพ

4. ชัตเตอร์ (Shutter) ท าหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง หรือความไวของชัดเตอร์ (Shutter

Speed)

รูปที่ 21 ชัตเตอร์

5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ท าหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หลายๆ แผ่นซ้อนเหลี่อมกันอยู่

Page 15: บทที่ 1 · บทที่ 1 หลักการถ่ายภาพ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนทราบความหมายของการถ่ายภาพ

15

รูปที่ 22 แผ่นไดอะแฟรม

6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่างๆ ตามต้องการ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นโลหะสีด าบางๆ หลายๆ แผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลาง เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และหากต้องการปริมาณแสงเข้าไปถูกอิมเมจเซ็นเซอร์ น้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกัน มีตัวเลขก าหนดเอาไว้ ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นวงแหวน ติดอยู่ที่ตัวเลนส์เรียกตัวเลขต่างๆ ว่าเอฟสตอป (F-Stop) หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-Number)

รูปที่ 23 รูรับแสง