16
ปีท่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2553 www.aseanthailand.org เรื่องในเล่ม: สวัสดีเขตการค้าเสรีอาเซียน“อาฟต้า” บทความพิเศษ – ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน: ผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องรูรายงานพิเศษ – เวียดนามกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2553 มารู้จักผู้นำอาเซียนกันเถอะ – ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เที่ยวไปในอาเซียน – สะบายดีปะเทดลาว สัมผัสธรรมชาติที่วังเวียง

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2553www.aseanthailand.org

เรื่องในเล่ม:

สวัสดีเขตการค้าเสรีอาเซียน“อาฟต้า” บทความพิเศษ – ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน: ผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องรู้ รายงานพิเศษ – เวียดนามกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2553 มารู้จักผู้นำอาเซียนกันเถอะ – ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เที่ยวไปในอาเซียน – สะบายดีปะเทดลาว สัมผัสธรรมชาติที่วังเวียง

Page 2: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

สารบาญ

•คุยกันก่อน 2 • เรื่องจากปก 3 –สวัสดีเขตการค้าเสรีอาเซียน“อาฟต้า”

•บทความพิเศษ 6 – ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน:ผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องรู้

•รายงานพิเศษ 9 – เวียดนามกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน2553

•มารู้จักผู้นำอาเซียนกันเถอะ 11 –ดร.ซูซิโลบัมบังยูโดโยโนแห่งอินโดนีเซีย

• เที่ยวไปในอาเซียน 13

–สะบายดีปะเทดลาว

•รอบรั้วอาเซียน 15

•สมัครสมาชิก 16

คุยกันก่อน

เรียนท่านผู้อ่านและท่านสมาชิกทุกท่าน

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่2553นี้คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย

และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั ้งหลายในสากลโลก ดลบันดาลให้ท่านและ

ครอบครัวประสบแต่ความสุขความเจริญในทุก ๆ ด้าน และ

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนสมาคมอาเซียน –

ประเทศไทยตลอดปี2552ที่ผ่านมา

ปี 2553 ถือเป็นปีที่สำคัญยิ่งอีกปีหนึ่งของอาเซียนใน

การก้าวไปสู ่การเป็นประชาคมที่เป็นปึกแผ่นและมีความเป็น

อันหนึ่งอันเดียวกันจากการที่เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEANFree

TradeAreaหรือAFTA)มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่1มกราคมที่ผ่านมา

หากท่านอยากทราบว่า AFTA คืออะไร และจะส่งผลอย่างไร

ต่อประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เรามีรายงานพิเศษ

เกี่ยวกับAFTA เพื่อท่านผู้อ่านโดยเฉพาะนอกจากนี้ ในโอกาสที่

ประเทศไทยได้ทำการส่งมอบการเป็นประธานอาเซียนให้แก่

ประเทศเวียดนามไปแล้ว คณะผู้จัดทำขอนำเสนอบทความสรุป

บทบาทการเป ็นประธานอาเซ ียนของไทยตลอดระยะเวลา

หนึ่งปีครึ่ง (ก.ค. 2551 – ธ.ค. 2552) ที่ผ่านมา และความพร้อม

ของเวียดนามในการรับช่วงการเป็นประธานอาเซียน

สำหรับคอลัมน์อื่น ๆ ในฉบับนี้ เรามีสถานที่เที่ยวที่น่า

สนใจอย่างเมืองวังเวียงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน

ลาวมาแนะนำให้ท่านรู้จัก และสำหรับท่านที่สนใจประวัติของ

ผู้นำอาเซียน ฉบับนี้เราขอนำเสนอประวัติของ ดร.ซูซิโล บัมบัง

ยูโดโยโนประธานาธิบดีอินโดนีเซียซึ่งสอดแทรกแง่คิดต่างๆ ไว้

มากมาย

สุดท้ายนี้ คณะผู้จัดทำขอเชิญให้ทุกท่านร่วมกันติดตาม

พัฒนาการของอาเซียนในปี2553ต่อไป

คณะผู้จัดทำ

พนิตนาฏโรจนเบญจวงศ์

วัชระแสงศรีศิลป์

[email protected]

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter�

Page 3: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

นับแต่นี้ไป คนไทยเราจะไม่เพียงสามารถจับจ่ายใช้สอยเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ในราคาที่ถูกลงเท่านั้น แต่จะมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังจะหาซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้สำหรับผลิตสินค้าต่างๆได้ในต้นทุนที่ต่ำลงกว่าเดิมอีกด้วย

เพราะในขณะที่ท่านกำลังอ่านบทความนี้ ข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีอาเซียน หรือ “อาฟต้า” (ASEAN Free Trade Area :AFTA)ซึ่งจะช่วยให้เราได้ประโยชน์ดังที่กล่าวมานั้นได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่1มกราคม2553

ความเป็นมา อาเซียนได้มีการพูดถึงแนวคิดที่จะจัดตั้งอาฟต้า ตั้งแต่

เมื่อโลกยังแบ่งเป็นค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์ แต่แนวคิดนี ้ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนักจากชาติสมาชิกทั ้ง 6ประเทศขณะนั้น ซึ่งประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซียฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เพราะเหตุผลสำคัญของการก่อตั้งอาเซียนเมื่อแรกเริ่มคือการร่วมมือกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่เรื่องการค้าขายสินค้าระหว่างกัน

อย่างไรก็ตาม เมื ่อสงครามเย็นสิ ้นสุดลงในปี 2534อาเซียนจึงได้ยกระดับความร่วมมือจากเรื่องการเมืองความมั่นคงของประเทศสมาชิก สู่การผลักดันการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค แนวคิดเรื ่องอาฟต้าจึงกลับมาได้รับการพูดถึงอีกครั้ง ประกอบกับการที่ประเทศต่าง ๆ ในโลก เริ่มหันมารวมกลุ่มในระดับภูมิภาคเพื่อค้าขายกันมากขึ้นทำให้เกิดเขตการค้าเสรีเป็นจำนวนมาก เช่น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เขตการค้าเสรีสหภาพยุโรป และเขตการค้าเสรีลาตินอเมริกา บรรดาผู้นำของอาเซียนจึงเริ ่มมีความกังวลว่า หากอาเซียนไม่จัดตั ้งเขตการค้าเสรีของตนเอง อาจทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางการค้ากับประเทศอื่นๆได้

เพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค อดีตนายก-รัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน จึงประกาศเจตนารมณ์ในปี 2534ที่จะสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น โดยได้เจรจาโน้มน้าวประเทศ

สมาชิกอาเซียนต่าง ๆ ให้เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ จนในที่สุดอาเซียนได้ตกลงกันเมื่อเดือนมกราคม 2535 จัดตั้งอาฟต้าขึ้นระหว่างบรรดาชาติสมาชิกเดิมทั้ง 6 ประเทศ และเมื่อเวียดนามลาว พม่า และกัมพูชาได้เข ้าร ่วมสมาชิกอาเซียน อาฟต้าจึงมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น10ประเทศจนกระทั่งปัจจุบัน

เป้าหมาย เป้าหมายของอาฟต้าคือการลดภาษีสินค้าทุกรายการ

ระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 10 ลงให้เหลือ 0% ภายในปี 2558และค่อย ๆ ทยอยลด/เลิกอุปสรรคกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีต่าง ๆ ให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควตานำเข้าระหว่างกันการกำหนดมาตรฐานสินค้าหรือการออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้า

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้การค้าขายส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปได้โดยเสรี ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในอาเซียน (ต้นทุนการผลิตลดลงเนื่องจากภาษีทั้งหมดเป็นศูนย์) และเพื่อทำให้อาเซียนกลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก

วัตถุประสงค ์

อาฟต้าจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนมากขึ้นกว่าในอดีต ที่แม้ประเทศจะอยู่ใกล้ชิดกันแต่ปริมาณการค้าระหว่างกันกลับถือว่าอยู่ในระดับต่ำนอกจากนี้การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันในกลุ่มเล็ก ๆ ก่อน จะช่วยให้อาเซียนมีความพร้อม และสามารถแข่งขันได้มากขึ ้นเมื ่อการเจรจาการค้าเสรีโลกภายใต้องค์การการค้าโลกรอบปัจจุบัน(รอบอุรุกวัย) ได้ข้อยุติ อีกทั ้งภาษีที ่ลดต่ำลงจากอาฟต้านั ้นจะช่วยเอื้ออำนวยให้ประเทศที่สามเข้ามาลงทุนในอาเซียนมากขึ้นเพราะเมื ่อมาลงทุนผลิตสินค้าในประเทศอาเซียนหนึ ่งแล้วจะสามารถส่งไปขายในประเทศอาเซียน ๆ อื่นได้โดยไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีในอัตราที่ต่ำมาก

เรื่องจากปก

เขตการค้าเสรีอาเซียน“อาฟต้า”

สวัสดี

Welcome ASEAN Free Trade Area (AFTA)

�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 4: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

สถานะปัจจุบันของอาฟต้า

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2553ที่ผ่านมาประเทศสมาชิกเดิม6ประเทศได้มีการลดภาษีสินค้าทั่วไปเหลือ 0% แล้วกว่า 8,300 รายการ(ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงที่จะไม่ลดภาษีเหลือ0% เพียง 93 รายการ เช่น ข้าว น้ำตาล) ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม) ยังมีการจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับ 0-5% แต่ประเทศทั้ง 4 จะต้องลดอัตราการจัดเก็บภาษีให้เหลือ0%ในปี2558

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้มีสินค้าอ่อนไหวเพียง 4รายการที่ยังคงมีการจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับ 5% คือ ไม้ตัดดอกมะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง และกาแฟ นอกนั้นได้ทำการลดภาษีเป็น0%แล้ว

ประโยชน์ของอาฟต้าสำหรับคนไทย

ไม่ว่าคุณจะเป็นประชาชนผู้บริโภคสินค้าทั่วไป หรือผู ้ประกอบการธุรกิจ ก็สามารถรับประโยชน์จากอาฟต้าได้โดยเราอาจแยกได้เป็นข้อๆดังนี้

ประชาชน 1. สินค้ามีราคาถูกลง

การที่ผู้ผลิตไม่ต้องเสียภาษีสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตหรือส่งออกสินค้าเพื่อจำหน่าย ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำลง ผู้บริโภคจึงสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิมเช่น ท่านอาจจะสามารถซื้อรถยนต์ยี่ห้อดัง ๆ ที่นำเข้าจากโรงงานที่มีฐานการผลิตอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนในราคาที่ต่ำลงกว่าเดิม40,000-60,000 บาท เนื่องจากบรรดาผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องเสียภาษีอีกต่อไป1

2. สินค้ามีความหลากหลายมากขึ้น

กำแพงภาษีต่างๆที่ถูกกำจัดไปจะกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกมากขึ้น ผู้บริโภคจึงมี

ทางเลือกในการเลือกซื้อหรือทดลองใช้สินค้าที่ผลิตจากประเทศสมาชิกอาฟต้าด้วยกันเองที่หลากหลายกว่าเดิม เช่น ท่านอาจจะได้ลองใช้สบู ่ หรือ ยาสีฟันยี ่ห้อใหม่ ๆ จากมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียเป็นต้น

3. เกิดการจ้างงานมากขึ้น

อัตราภาษี 0% ระหว่างประเทศในกลุ่มอาฟต้า จะเป็นปัจจัยดึงดูดการเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนหรือทำให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันขยายโรงงานเพื่อเพิ่มการผลิตมากขึ้นเพื่อรองรับตลาดและปริมาณผู้บริโภคที่มหาศาลในอาเซียน ซึ่งการเข้ามาลงทุนหรือการขยับขยายกิจการหรือโรงงานนั้น ย่อมหมายถึงการว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นกำลังในการผลิตสินค้านั่นเอง

ผู้ประกอบการ 1. ช่วยเปิดตลาดการส่งออกสู่ต่างประเทศและเพิ่ม

โอกาสในการขายสินค้ามากขึ้น

การลดกำแพงภาษีหรือข้อจำกัดต่างๆในการค้าขายระหว่างประเทศในกลุ่มอาฟต้า จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกสินค้าของตน เข้าไปขายในตลาดอาเซียนที่มีประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน (สถิติปี 2552) ได้มากขึ้นเมื ่อเปรียบเทียบกับในอดีตที ่การขายสินค้าจะจำกัดแค่เพียงภายในประเทศเพียงอย่างเดียวจากการที ่ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนล้วนมีการตั้งข้อกีดกันทางการค้าระหว่างกัน

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter�

Page 5: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

2. ช่วยชดเชยตลาดส่งออกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก

อาฟต้าจะส่งเสริมให้เกิดการค้าขายสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นตลาดทางเลือกเพื่อชดเชยการสูญเสียกำลังซื้อของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก รวมทั ้งจะช่วยแก้ปัญหาการถูกกีดกันการค้าจากกลุ่มการค้าอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป หรือ เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

ในปัจจุบันนี ้อาเซียนกลายเป็นคู ่ค้าอันดับหนึ ่งของประเทศไทย โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 20.9% ของสินค้าไทยส่งออกไปอาเซียนรองลงมาเป็นสหภาพยุโรป11.87%สหรัฐอเมริกา10.9%ญี่ปุ่น10.29%จีน10.16% 2

3. ลดต้นทุนการผลิตทำให้แข่งขันในตลาดได้มากขึ้น

เมื่อภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาฟต้าเป็น 0% จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้มาก เพราะในขณะที่สามารถนำเข้าวัตถุดิบที่ต้องการจากประเทศอาฟต้าอื่นๆได้โดยไม่ต้องเสียภาษีแล้วยังสามารถส่งออกสินค้าไปขายได้โดยไม่เสียภาษีอีกเช่นกัน

นอกจากนี้ ผู ้ประกอบการอาจเลือกไปลงทุนกิจการในประเทศสมาชิกอาฟต้าเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด แล้วส่งกลับมาขายยังตลาดในประเทศได้โดยไม่เสียภาษีเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตเครื่องจักรใช้สอยในครัวเรือนแห่งหนึ่ง เตรียมว่าจ้างโรงงานต่างประเทศผลิตสินค้าในรูปแบบที่ตนกำหนด (OEM :OriginalEquipmentManufacturer)และนำเข้าสินค้าเข้ามาขายในไทย เนื่องจากไม่ต้องการแบกรับค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารจัดการภายในโรงงานและต้นทุนด้านต่าง ๆในประเทศ เพราะราคาที ่นำเข้ามานั ้น ถูกกว่าสินค้าที ่ผลิตในประเทศ เนื่องจากต้นทุนการว่าจ้างโรงงานในต่างประเทศผลิตต่ำกว่า3

อาฟต้ากับประเทศไทย : โอกาสและความท้าทาย

โอกาส 1. การเกิดขึ ้นของอาฟต้า จะเป็นผลดีต่อการขยาย

ตลาดส่งออกของไทย หากผู้ประกอบการไทยสามารถเจาะตลาด

ที่มา : 1 “รถยนต์นอกทะลักรับภาษี 0% : 11 รุ่นอาเซียนบุก 1 ม.ค. 53” นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20-23 ก.ย. 2552 2 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 3 “อาฟต้าจังหวะดีสร้างแบรนด์ เอกชนหนุนพัฒนาสินค้าไทยจากตลาดอาเซียนสู่เวทีโลก” ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2465 27-30 ก.ย. 2552 4 “แนะเร่งเจาะตลาดส่งออกรับอาฟต้า เผยไร้ภาษีกว่า 8 พันรายการ” มติชน 9 พ.ย. 2552

ส่งออกกลุ่มประเทศอาเซียนได้ จะทำให้สินค้าไทยส่งออกไปยังประเทศทั่วโลกได้เพิ่มขึ้น

2. อาฟต้าเปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้าไทยเป็นที่รู ้จักมากขึ้น ซึ่งหากแบรนด์ไทยสามารถตีตลาดอาเซียนได้ ก็น่าจะสามารถเติบโตในระดับโลกได้ในอนาคตเช่นกัน อย่างไรก็ตามจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่แบรนด์สินค้าไทยน่าจะเป็นการทดลองส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านก่อน หากตลาดตอบรับดี ขยายตัวสูง และมีโอกาส ก็ค่อยเข้าไปลงทุนกระจายสินค้า หรือลงทุนการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และผลดีจะตกอยู่กับผู้บริโภคที่ได้ใช้สินค้าในราคาถูกลง

3. รายงานจากหนังสือพิมพ์ระบุว่า การลดภาษีของอาฟต้าช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมของไทย คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน นอกจากนี้ การแบ่งงานกันผลิตชิ ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบนั้น จะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนได้4

ความท้าทาย 1. ทุกสิ ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรที ่ได้มาโดยไม่มี

สิ ่งแลกเปลี่ยน แม้อาฟต้าจะเปิดโอกาสให้ผู ้ประกอบการไทยไปลงทุนหรือขายสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้นแต่ในทางกลับกัน เพื่อนบ้านของเราในอาฟต้าก็ย่อมแสวงหาโอกาสเข้ามาลงทุนและนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในไทยมากขึ้นเช่นกันเมื่อเป็นเช่นนั ้น ผู ้ประกอบการในประเทศที ่แข่งขันไม่ได้ก ็จะได้ร ับผลกระทบหรืออาจต้องเลิกกิจการไป

2. ผู ้ประกอบการควรเร่งสร้างแบรนด์สินค้าของตนให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้กับสินค้าของตนเองและควรแสวงหาความรู้ในการที่จะใช้ประโยชน์จากอาฟต้าให้เกิดประโยชน์ในการลดต้นทุนแก่ตนเองให้มากที่สุด

3. สินค้าประเภทใดที่เมื่อเปิดเสรีในอาเซียนแล้วยังไม่มีคู่แข่งมากนัก อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ในการเริ่มต้นค้าขายกับประเทศอื่นๆในอาเซียน

�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 6: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

ภารกิจในการเป็นประธานอาเซียนของไทยได้เสร็จสิ้นลง

ไปแล้วอย่างเป็นทางการตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ที่

ผ่านมา และได้ส่งมอบตำแหน่งประธานต่อให้เวียดนามรับหน้าที่นี้

ไปตลอดปี2553เรียบร้อยแล้ว

แม้ว่าตลอดระยะเวลา 1 ปีครึ่งที่ไทยทำหน้าที่ประธาน

อาเซียนตั้งแต่รับไม้ต่อจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551

ดูจะเต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหานานัปการ ที ่แทบจะเปลี ่ยน

“โอกาส”ของไทยในการผลักดันประเด็นสำคัญๆต่างๆให้สำเร็จ

ไปในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนให้กลายเป็น“วิกฤต”ที่

รัฐบาลต้องตามแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและต้องทำงานในลักษณะ

“ตั้งรับ”โดยตลอด

ไม่ว่าจะเป็น การปิดสนามบินสุวรรณภูมิเมื ่อปลายปี

2551 จนต้องเลื่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ออกไป

(จากกำหนดเดิมที่ตั้งเป้าหมายจะจัดในช่วงเดือนธันวาคม 2551

เพื ่อเฉลิมฉลองการบังคับใช้กฎบัตรอาเซียน มาเป็นช่วงปลาย

เดือนกุมภาพันธ์ต่อต้นเดือนมีนาคม 2552) เหตุการณ์ป่วนการ

ประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู ่เจรจาจนต้องยกเลิกการ

ประชุมเมื่อเดือนเมษายน 2552 ปัญหาในความสัมพันธ์กับกัมพูชา

หรือแม้กระทั่งการใช้เวทีการประชุม ARF เป็นสนามแลกเปลี่ยน

วิวาทะของสหรัฐอเมริกากับเกาหลีเหนือ แต่ก็ใช่ว่าประเทศไทย

จะไร้ซึ่งผลงานอันเป็นรูปธรรมจับต้องได้

จดหมายข่าวสมาคมอาเซียน–ประเทศไทยขอนำบทสรุป

ของข้อตกลงต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่14และ15และการประชุมสุดยอดอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่เกิดขึ้น

ระหว่างการทำหน้าที่ประธานอาเซียนของประเทศไทยมาให้ท่าน

ได้รับทราบกัน1

ด้านการเสริมสร้างความเชื่อมโยงของภูมิภาค (Enhancing Connectivity) - อาเซียนเห็นชอบให้จัดตั้ง (1) คณะทำงานระดับสูง

เพื่อพัฒนาแผนแม่บทของอาเซียนเกี่ยวกับการสร้างความเชื่อมโยง

ด้านต่าง ๆ ภายในภูมิภาค และ (2) กองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้าง

พื้นฐาน/เครือข่ายการคมนาคมขนส่ง

บทความพิเศษ

ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน : ผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องรู ้

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter�

Page 7: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

- จีนได้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนงบประมาณ จำนวน

10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในกองทุนเพื่อความร่วมมือด้านการ

ลงทุนระหว่างอาเซียน-จีน (China-ASEAN Fund on Investment

Cooperation) และให้สินเชื่อภายใต้โครงการสินเชื่อทางพาณิชย์และ

เงินกู้ยืม จำนวน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับจีน

ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายปริมาณการค้าการลงทุนและการ

ไปมาหาสู่กันในระดับประชาชน โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United

Nations Economic and Social Commission for Asia and the

Pacific:UN-ESCAP)คาดการณ์ว่าการสร้างความเชื่อมโยงด้านการ

คมนาคมของภูมิภาค โดยเฉพาะส่วนที่ยังไม่เชื่อมต่อกัน (missing

links)จะต้องใช้เงินประมาณ14,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- ไทยได้เป็นผู้นำในการเปิดช่องโทรทัศน์อาเซียนทีวี

ครอบคลุมทั้งข่าวสาร บันเทิง วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และกีฬา

ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยจะออกเป็นภาษาท้องถิ่นของแต่ละ

ประเทศสมาชิก พร้อมทั้งมีคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ โดยช่อง

โทรทัศน์อาเซียนดังกล่าวนี้จะออกอากาศผ่านช่องMCOT2

รวมกันกว่า3,300ล้านคนและมีเงินสำรองระหว่างประเทศรวมกัน

กว่า39,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโลก

- ธนาคารเพื ่อการพัฒนาแห่งเอเชียประเมินว่า การ

ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกจะมีรูปทรงตัว“วี” (V-shape recovery)

ซึ่งหมายถึงการที่เศรษฐกิจตกลงต่ำสุดเพียงระยะเวลาไม่นาน จาก

นั้นจะเริ ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีประเทศในเอเชียเป็นปัจจัย

สำคัญของการฟื้นตัว โดยมีตัวเลขประมาณการของการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจ ร้อยละ6.4 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ

ร้อยละ3.9

-ประเทศอาเซียน+3จะร่วมกันทำให้กองทุนพหุภาคี

ภายใต ้มาตรการร ิ เร ิ ่มเช ียงใหม ่ (Chiang Mai In i t ia t ive

Multilateralization – CMIM ซึ่งจะเป็นกลไกที่ประเทศในภูมิภาคจะ

ให้ความช่วยเหลือกันเองในกรณีที่ประเทศหนึ่งประเทศใดประสบ

ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจากการสำรองอัตราแลกเปลี่ยน)

ที่มีมูลค่า120,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ

-จีนจะให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน200ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนากลไกการลงทุนและการให้หลักประกัน

ด้านสินเชื่อภายใต้ข้อริเริ ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bonds

Market Initiative – ABMI) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วย

เหลือนักลงทุนในภูมิภาคในการระดมทุน/ใช้เงินตราต่างประเทศ

สำรองที ่ประเทศในเอเชียมีอยู ่ เป ็นจำนวนมากในการพัฒนา

เศรษฐกิจของเอเชีย

การแก้ไขปัญหาโลกร้อน/การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- -เกาหลีใต้จะให้การสนับสนุนทางการเงินจำนวน100

ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ข้อริเริ่มว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนของ

เอเชียตะวันออกเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน (East Asia Climate

PartnershipInitiative)

การจัดการกับปัญหาภัยพิบัต ิ

-ญี่ปุ่นประกาศให้เงินสมทบเพิ่มเติมจำนวน13ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ แก่กองทุนอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยการบูรณาการ

(Japan-ASEANIntegrationFund)เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการ

จัดการภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิด

ภาวะฉุกเฉิน

ด้านการสร้างเสริมบทบาทและศักยภาพของประชาชน (Empowering Peoples)

การบูรณาการทางเศรษฐกิจ

- อาเซียนได้บรรลุข้อตกลงว่าด้วยการจัดทำเขตการค้า

เสรีกับทั้ง 6 ประเทศคู่เจรจาที่เข้าร่วมในการประชุมสุดยอดเอเชีย

ตะวันออก (อาเซียน + 6) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย

ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจะดำเนินการควบคู่กันไปในการ

ศึกษาความเป็นไปได้ที ่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก

(East Asia Free Trade Area) และการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทาง

เศรษฐกิจอย่างรอบด้านในเอเชียตะวันออก (Comprehensive

Economic Partnership in East Asia) ซึ ่งเป็นภูมิภาคที ่ขนาด

เศรษฐกิจรวมกันมีมูลค่า14.1ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐมีประชากร

�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 8: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการเยือนในระดับประชาชน

- จ ีนได ้สน ับสน ุนงบประมาณจำนวน 100,000

ดอลลาร์สหรัฐแก่มูลนิธิอาเซียน(ASEANFoundation)เพื่อใช้ในการ

ดำเนินโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการ

เยือนในระดับประชาชน

ความมั่นคงด้านอาหาร

- ประเทศไทยจะบริจาคข้าวปริมาณ 620 ตัน แก่

ฟิลิปปินส์เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาภัยพิบัติ

-จีนให้คำมั่นว่าจะสมทบข้าวจำนวน300,000ตันใน

ขณะที่ญี่ปุ่นจะสมทบข้าวอีก 200,000 ตัน ภายใต้โครงการสำรอง

ข้าวฉุกเฉินของภูมิภาคเอเชียตะวันออก(EastAsiaRiceReserve)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย ์

- จีนจะให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม

ของประเทศอาเซียนจำนวน100คนและจะส่งเสริมให้มีการแลก

เปลี่ยนนักศึกษาระหว่างอาเซียนกับจีนเพิ่มเป็น 2 เท่า (200,000

คน)จากเป้าหมายที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้แล้วภายใต้“โครงการ

แลกเปลี่ยนนักศึกษา100,000คนภายในปี2563”

- เกาหลีใต้เสนอแนวคิดโครงการให้ทุนการศึกษา

(GlobalKoreaScholarshipProgramme)และความเป็นไปได้ที่จะจัด

ตั้งมหาวิทยาลัยอาเซียน-เกาหลีใต้ที่มีการเรียนการสอนผ่านระบบ

อินเทอร์เน็ต(ASEAN-ROKCyberUniversity)

-ญี่ปุ่นจะระดมทุน จำนวน 90,000 ล้านดอลลาร์

สหรัฐ จากกองทุนอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยการบูรณาการ JAIF เพื่อ

ใช้ในการพัฒนาระบบป้องกันภัยพิบัติและระบบตอบสนองต่อ

ภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน (emergency response) โดยเฉพาะในแง่มุม

ที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิกฤต

การเงินและการให้การฝึกอบรมภาษาญี่ปุ่นแก่พยาบาล

โรคระบาด

- ญี่ปุ่นสนับสนุนวัคซีนต้านไวรัส H1N1 จำนวน

500,000 ชุด และอุปกรณ์ป้องกันไข้หวัดนกสำหรับเจ้าหน้าที่

จำนวน350,000ชุด

การลดช่องว่างการพัฒนา

-เกาหลีใต้ยืนยันคำมั่นที่จะให้เงินสนับสนุนแก่อาเซียน

จำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้

ข้อริเริ ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN

Integration) ระหว่างปี 2551-2555 และอีก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการดำเนินโครงการภายใต้ข้อริเริ่มฯระหว่างปี2556-2560

- อินเดียจะสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ แก่กองทุนความร่วมมืออาเซียน – อินเดีย และ

กองทุนเพื่อการพัฒนาอาเซียน

การพบปะระหว่างภาคประชาสังคมกับผู้นำอาเซียน

- ประเทศไทยได้ริเริ่มให้มีการพบปะหารืออย่างไม่เป็น

ทางการระหว่างผู้แทนภาคประชาชน3กลุ่มประกอบด้วยผู้แทน

สมัชชารัฐสภาอาเซียน ผู้แทนเยาวชนอาเซียน และผู้แทนภาค

ประชาสังคมอาเซียน กับผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยจะเป็น

เวทีสำหรับภาครัฐเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์

ต ่อการทำให้อาเซียนเป็นองค์กรเพื ่อประชาชนอย่างแท้จร ิง

เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาภาคประชาสังคมได้ทำงานคู่ขนานกับ

ภาครัฐมาโดยตลอด

ถึงแม้จะมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้างก็ตาม แต่

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็คือผลลัพธ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้

การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยที่เราสามารถ

ภาคภูมิใจได้ และคงจะเป็นการใจร้ายจนเกินไปหากเรา

จะมองข้ามผลสำเร็จต่าง ๆ เหล่านี ้

ที่มา : 1บทความชิ้นนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน ฉบับวันที่ 9 มี.ค. 2552 / กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ / สำนักข่าวแห่งชาติ

กรมประชาสัมพันธ์

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter�

Page 9: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

นายกรัฐมนตรีเวียดนามกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ในพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนจากไทยสู่เวียดนาม

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กล่าวว่า เวียดนามจะทำหน้าที่ประธานอย่างกระตือรือร้นและรับผิดชอบ โดยจะเดินหน้าเชื่อมโยงภูมิภาคและประชาชนเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามยังได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน ว่า เวียดนามจะทำทุกวิถีทางเพื่อแปลงกฎบัตรอาเซียนและแผนดำเนินการ (roadmap) เพื ่อความเป็นประชาคมอาเซียนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยเวียดนามได้กำหนดให้อาเซียนเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้แนวทางการดำเนินการ3ประการดังนี้1

1. ส่งเสริมความเป็นอันหนึ ่งอันเดียวกันของอาเซียนความร่วมมือและความเชื่อมโยงและการแปลงกฎบัตรอาเซียนสู่การปฏิบัติและบรรลุเป้าหมายในการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ในปี2558

2. กระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาให้แน่นแฟ้น หลอมรวมและยกระดับบทบาทและสถานะของอาเซียน สนับสนุนให้เกิดสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาใน

ระดับภูมิภาคและระดับโลก3. แสดงให้มิตรประเทศทั้งภายในและภายนอกอาเซียน

ได้เห็นถึงความโดดเด่นของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประเทศและประชาชนเวียดนาม รวมทั้งสร้างเสริมและขยายปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนเวียดนาม อาเซียน และประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คำขวัญและสัญลักษณ์การเป็นประธานอาเซียนของเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีเหวียนเตินซุงกล่าวว่าคำขวัญในฐานะประธานอาเซียนของเวียดนาม คือ “สู่ประชาคมอาเซียน: จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ (Towards the ASEAN Community: FromVision to Action)” โดยเวียดนามจะทำหน้าที่สมาชิกอาเซียนอย่างแข็งขันและรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนให้อาเซียนเชื่อมโยงกันอย่างเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ

สำหรับสัญลักษณ์การเป็นประธานอาเซียนของเวียดนามนั้นได้มีการจัดการประกวดแข่งขันกันโดยมีศิลปินจากทั่วเวียดนามส่งผลงานเข้าประกวดถึง205ชิ้น2โดยผู้ชนะเลิศได้แก่นักวาดภาพนามว่า Ngo Anh Co ซึ่งสัญลักษณ์ที่ชนะเลิศมีลักษณะรูปร่างเหมือนใบพัด 3 ใบ เช่นเดียวกับรูปร่างของเล่นพื ้นเมืองของเวียดนาม

รายงานพิเศษ

เวียดนามกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน 2553 “จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ” Vietnam 2010 “From Vision to Action”

คงไม่เป็นการเกินเลยนักหากจะกล่าวว่าปี 2553 นี้ จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายประเทศเวียดนามมากที่สุดตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อปี 2538 หรือเมื่อ15 ปีที่แล้ว

ความท้าทายดังกล่าว คือ ความท้าทายในการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของเวียดนาม ที่จะต้องนำองค์กรระหว่างประเทศแห่งนี้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 16 และ 17 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกตลอดทั้งปี รวมไปถึงหน้าที่ในการทำให้อาเซียนมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

จดหมายข่าวสมาคมอาเซียน – ประเทศไทยฉบับนี้ จะสำรวจความพร้อมในเบื้องต้นของเวียดนาม มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกัน

�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 10: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

โดย Ngo Anh Co อธิบายว่า สัญลักษณ์ดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงความยืดหยุ่น พัฒนาการ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนที่คู่ขนานไปกับการขยายความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆนอกภูมิภาค โดยสัญลักษณ์นี ้จะใช้ประกอบในการประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนที่จัดขึ้นในประเทศเวียดนามตลอดปี2553

ประเด็นที่น่าติดตามในฐานะประธานอาเซียนของเวียดนาม

เป็นที่น่าสนใจว่า เวียดนามในช่วงปี 2553 จะแสดงภาวะผู้นำในฐานะประธานอาเซียนได้มากน้อยเพียงใด และจะนำพาอาเซียนก้าวไปสู่ทิศทางไหน รวมทั้งจะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอย่างไรเพื่อไม่ให้อาเซียนสูญเสียเอกภาพ

ต่อไปนี ้ประเด็นที ่ท่านผู ้อ่านอาจพิจารณาเพื ่อติดตามความเคลื่อนไหวมีดังนี้

1. การเลือกตั้งในพม่า – เป็นที่คาดหมายกันว่า รัฐบาลทหารพม่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2553นี้ ซึ่งทั่วโลกกำลังจับตาดูว่ารัฐบาลทหารพม่าจะปฏิบัติกับนางอองซาน ซู จี อย่างไร และอาเซียนที่ยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันนั้น จะมีปฏิกิริยาอย่างไรภายใต้การนำของเวียดนาม

2. การบังคับใช้กฎบัตรอาเซียนและการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคม – เวียดนามจะสามารถแปลงกฎบัตรและแผนปฏิบัติการเพื ่อมุ ่งสู ่ประชาคมอาเซียนให้เป็นรูปธรรมได้สมกับคำขวัญของการเป็นประธานอาเซียนได้มากน้อยแค่ไหน

3. การกลับเข้ามาให้ความสำคัญกับอาเซียนอีกครั้งของสหรัฐฯ – จากการที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ นางฮิลลารีคลินตัน ได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุม ARF ที่ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯ กลับมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้อีกครั้ง หลังจากลดการให้ความสำคัญลงไปในยุคของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู

บุช คงต้องจับตาดูว่าเวียดนามในฐานะประธานอาเซียน จะสร้างสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อย่างไร และอาเซียนจะรักษาสถานะความสัมพันธ์อันดีกับจีนที่มีมายาวนานแล้วเช่นไร

4. สถาปัตยกรรมในภูมิภาคแบบใหม่ – เมื่อปีที่แล้วได้มีข้อเสนอเรื่องประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asia Community)โดยนายกรัฐมนตรี ยูกิโอะ ฮาโตยามะ ของญี่ปุ่น และแนวคิดเรื ่องประชาคมเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Community) โดยนายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ แห่งออสเตรเลียขึ้นมา น่าจับตาดูว่าอาเซียนจะจัดการกับข้อเสนอทั้งสองนี้ และจะทำให้อาเซียนเป็นแกนกลางขับเคลื่อนประชาคมทั้งสองได้อย่างไร

5. การพบปะระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำภาคประชาสังคม – ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 และ 15 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพนั้น รัฐบาลได้จัดช่วงเวลาให้บรรดาผู้นำอาเซียนพบปะพูดคุยกับตัวแทนจากภาคประชาสังคมอาเซียนอย่างใกล้ชิดคงต้องรอดูกันต่อไปว่า เวียดนามจะยังคงเปิดให้มีช่วงการพบปะระหว่างผู้นำอาเซียนกับตัวแทนภาคประชาสังคมในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 16 และ 17 อยู่หรือไม่ และเวียดนามจะให้ความสำคัญกับภาคประชาสังคมมากน้อยแค่ไหนในช่วงการเป็นประธานอาเซียนนี้

แม้ไทยเราจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

แล้วก็ตาม แต่หนึ่งปีนับจากนี้ไปคงไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

ถ้าเราทุกคนจะมาร่วมกันติดตามบทบาทการเป็นประธาน

อาเซียนของเวียดนามกัน เพื่อดูว่าอาเซียนจะมีทิศทางใน

อนาคตเช่นไร เพราะในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศผู้ให้กำเนิด

อาเซียนนั้น การเฝ้าติดตามพัฒนาการขององค์การแห่งนี้ ก็คง

ไม่ต่างอะไรกับการเฝ้าติดตามความเป็นไปของ “ลูก” ที่เรา

เป็นผู้ให้กำเนิดนั่นเอง

ที่มา: 1 http://asean2010.vn/asean_en/news 2 http://vietnamnews.vnagency.com.vn/showarticle.php?num=03CUL201009

ทำไมเวียดนามจึงได้เป็นประธานอาเซียนต่อจากประเทศไทย การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนนั้นยึดหลักลำดับก่อนหลังของตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ ดังนั้น เวียดนามที่ชื่อ

ประเทศขึ้นต้นด้วยตัว “V” (Vietnam) ตามหลังตัว “T” ซึ่งเป็นตัวสะกดภาษาอังกฤษคำแรกของประเทศไทย (Thailand) จึงได้รับมอบ

ภารกิจการเป็นประธานต่อจากประเทศไทยในปี2553นี้และเมื่อถึงปี2554ก็จะถึงรอบของประเทศบรูไนที่ชื่อประเทศขึ้นต้นด้วย“B”

(Brunei)และประเทศกัมพูชาที่ขึ้นต้นด้วยอักษร“C”(Cambodia)ในปี2555

รู้หรือไม่:

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter10

Page 11: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

ดร. ซูซิโลฯ เป็นชาวเมืองปาจีตัน ในชวาตะวันออกเติบโตมาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน โดยบิดาเป็นนายทหารชั้นผู้น้อย ตั้งแต่วัยเยาว์ ดร. ซูซิโลฯ ใฝ่ฝันที่จะเข้ารับราชการทหารเหมือนบิดาจึงสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยอินโดนีเซียในปี2513และสำเร็จการศึกษาจากที่นั่นในปี2516

ระหว่างการศึกษาเล่าเรียนท่านได้รับฉายาว่าเป็น“Mr.NumberOne” เนื่องจากท่านสอบไล่ได้เป็นที่หนึ่งตั้งแต่เด็กจนเข้าโรงเรียนนายร้อย นอกจากความสามารถทางด้านการศึกษาแล้วความสามารถทางด้านดนตรีและกีฬาของท่านก็เป็นที่ยอมรับโดยท่านได้ร่วมกับเพื่อน ๆ ในรุ่นจัดตั้งชมรมวอลเลย์บอลและวงดนตรีขึ้นระหว่างที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนนายร้อยนั่นเอง

หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยแล้ว ท่านซูซิโลได้เข้าอบรมหลักสูตรทางทหารด้านต่าง ๆ ที ่ประเทศสหร ัฐอเมร ิกาและสำเร ็จปร ิญญาโทด้านการจ ัดการ จากมหาวิทยาลัย Webster มลรัฐมิซซูรี นอกจากนี้ ท่านยังได้รับปร ิญญาเอกด ้านเศรษฐศาสตร ์การเกษตร (Agr icu l tureEconomics)จากสถาบันการเกษตรชั้นสูงแห่งเมืองโบกอร์อีกด้วย

ท่านซูซิโลได้เข้ารับราชการทหารในตำแหน่งสำคัญ ๆมากมาย เช่น ผู้บัญชาการโรงเรียนครูฝึกทหารราบ กองทัพบกอาจารย์ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก และเสนาธิการด้านสังคมการเมืองแห่งกองทัพอินโดนีเซีย

เส้นทางการเมืองของท่านเริ ่มต้นขึ้นในปี 2542 สมัยประธานาธิบดีอับดุลรามานวาฮิด(ปี2542-2544)โดยดร.ซูซิโลฯ ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน และรัฐมนตรีประสานกิจการด้านการเมืองความมั่นคงและสังคมในปีถัดมา ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้อีกครั้งในสมัยประธานาธิบดี เมกาวาตี ซูการ์โน บุตรี ในปี2544-2547

บทบาทรัฐมนตรีของท่านในครั ้งนั ้นได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาสำคัญของอินโดนีเซียถึง2เรื่องนั่นก็คือการก่อการร้ายในบาหลีและ

มารู้จักผู้นำอาเซียนกันเถอะ

ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน :

ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono :

President of the Republic of Indonesia)

ภูมิภาคอาเซียนของเราล้วนเต็มไปด้วยบุคคลที่มีความสามารถในหลายสาขาวิชาชีพ แวดวง

การเมืองก็เช่นเดียวกัน นับได้ว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายท่านล้วนมีประวัติที่น่าสนใจ

เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่มีความรู้แล้ว ท่านเหล่านั้นยังมีความมานะพยายามที่จะก้าวสู่ความสำเร็จ

อีกเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดนีเซีย

ผู้ซึ่งความสามารถเป็นที่ชื่นชมและยอมรับยิ่งในแวดวงอาเซียนและระดับโลก

11จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 12: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดอาเจห์ โดยท่านมีบทบาทสำคัญในการติดตามผู้ก่อการร้ายภายใต้มาตรการสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terrorism) อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะมีพื้นฐานมาจากการเป็นทหารแต่ท่านก็เลือกที่จะผลักดันให้รัฐบาลจัดทำความตกลงสันติภาพกับขบวนการอาเจห์เสรี (GAM) ซึ่งผลจากการริเริ่มข้อตกลงสันติภาพในอาเจห์นั้น ทำให้ท่านได้รับการเสนอชื ่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549การกระทำของ ดร. ซูซิโลฯ ในครั้งนั ้น แสดงให้เห็นว่าการจะจัดการกับปัญหาทะเลาะเบาะแว้งหรือการแบ่งแยกดินแดนนั้นทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน แต่น่าจะเป็นการหันหน้าเข้าหากันเพื่อหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับมากกว่า

เมื่อความนิยมเพิ่มมากขึ้น ดร. ซูซิโลฯ จึงตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งในตำแหน่งประธานาธิบดีในปี2547คำแถลงการณ์ของท่านในการลงสมัครมีชื่อว่า “วิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง” (Vision for Change) ซึ่งมุ่งที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรือง สันติภาพความยุติธรรม และประชาธิปไตยภายในประเทศ แม้จะต้องแข่งขันกับอดีตประธานาธิบดีเมกาวาตีที่มีฐานเสียงค่อนข้างแน่นหนา แต่ดร. ซูซิโลฯ ก็สามารถชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถึง 60.87 เปอร์เซ็นต์ ท่านได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่6แห่งประเทศอินโดนีเซียในวันที่ 24ตุลาคม2547และเมื่อวันที่8กรกฎาคมที่ผ่านมาท่านก็ได้ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่2และจะดำรงตำแหน่งต่อไปอีก5ปีจนถึงปี2557

ระหว ่างการดำรงตำแหน ่งในสม ัยแรกของท ่านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมั่นคง โดยท่านสามารถทำให้นักลงทุนและนักธุรกิจเชื่อมั่นว่าท่านได้ช่วยผลักดันการปฏิรูปต่าง ๆ ในประเทศ และในการดำรงตำแหน่งสมัยที ่ 2 นี ้ ดร. ซูซิโลฯ ยังคงมุ ่งเน้นการกระตุ ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการควบคุมอัตราการว่างงานและยังคงยึดหลักการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมกับการเดินหน้าปฏิรูประบบราชการ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที ่เอ ื ้อต่อการพัฒนาเศรษฐก ิจต ่อจากสม ัยแรก นอกจากน ี ้ เพ ื ่อส ่งเสร ิมการพัฒนาประเทศอย่างยั ่งยืน ท่านยังวางแผนกระจายอำนาจจากศูนย์กลางและส่งเสริมการปกครองตนเองในแต่ละภูมิภาคตลอดจนเร่งการพัฒนาในท้องถิ่น และสานต่อโครงการบรรเทาความยากจนอีกด้วย

ประวัติและผลงานของท่านประธานาธิบดีซูซิโล

นับเป็นแบบอย่างที่ดีโดยสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” ความสำเร็จของ

ท่านเกิดขึ้นจากความไม่ย่อท้อของบุคคลธรรมดาคนหนึ่งที่

ไต่เต้าและเติบโตอย่างเป็นลำดับขั้น จนในที่สุดก็ได้ก้าวขึ้น

ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองของประเทศ อนาคตของ

อินโดนีเซียและอาเซียนจะมีความเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อ

บุคลากรในภูมิภาคของเรามีคุณภาพและวิสัยทัศน์กว้างไกล

เช่นท่าน “บัมบัง” ผู้นี้

แหล่งที่มา :กรมอาเซียนกระทรวงการต่างประเทศ

“ยูโดโยโนสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียสมัย2ในวันนี้”

สำนักข่าวอินโฟเควสท์วันอังคารที่20ตุลาคม2552

http://en.wikipedia.org/wiki/Susilo_Bambang_Yudhoyono

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter1�

Page 13: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

วังเวียง เมืองที่ได้รับการขนานนามว่า “กุ้ยหลินเมืองลาว” ตั้งอยู่ระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์และหลวงพระบางใช ้เวลาเด ินทางประมาณ 4 ช ั ่วโมงโดยรถประจำทางจากเวียงจันทน์ขึ้นไปทางเหนือประมาณ 160 กิโลเมตร เนื่องจากวังเวียงมีแม่น้ำซอง(NamXongRiver)ไหลผ่านและห้อมล้อมด้วยภูเขา กิจกรรมส่วนใหญ่ที่นักท่องเที่ยวนิยมทำในวังเวียงจึงเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การพายเรือคายัค การนั่งห่วงยางล่องแม่น้ำปีนเขาเดินป่าเข้าชมหินงอกหินย้อยในถ้ำต่างๆซึ่งมีอยู่กว่า30ถ้ำแต่ถ้ำที่ได้รับความนิยมคือถ้ำช้างถ้ำหอยถ้ำหลุบและถ้ำน้ำ

นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อบริษัททัวร์ท้องถิ่นในวังเวียงเพื่อจองโปรแกรมทัวร์ซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่ 1 วัน ไปจนถึง5 ว ัน โดยน ักท ่องเท ี ่ยวสามารถเล ือกกิจกรรมที ่อยากทำในแต ่ละว ันได ้

โปรแกรมทัวร์ส่วนใหญ่จะคิดราคารวมค่ารถรับ-ส่ง ค่าจ้างมัคคุเทศก์ค่าอุปกรณ์ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มราคาทัวร์1 วัน ประมาณ 560 บาทต่อคน หรือถ้าอยากเที่ยวชมวังเวียงด้วยตัวเอง ก็สามารถเช่าจักรยานหรือรถมอเตอร์ไซค์เพื่อขับขี่ไปรอบๆตัวเมืองได้แนะนำว่าควรไปช่วงฤดูหนาวเพราะอากาศจะไม่ร้อนจัดแต่กำลังเย็นสบายเหมือนภาคเหนือของประเทศไทย

ในส่วนของที่พักนั้น ก็มีให้เลือกทั้งในแบบเกสท์เฮ้าส์รีสอร์ท บ้านพัก ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพื่อแขกที่มาพักจะได้ชมบรรยากาศและทิวทัศน์ธรรมชาติของวังเวียงได้ ที่พักหลายแห่งสามารถสำรองได้ทางอินเทอร์เน็ต หากอยากชมห้องพักก่อนตัดสินใจก็สามารถทำได้เช่นกันในช่วงที่ไม่ใช่เทศกาลหรือวันหยุดยาว

นอกจากที่พักที่มีให้เลือกหลากหลายแล้ว อาหารในวังเวียงก็มีหลายประเภทตามความต้องการของนักท่องเที ่ยวทั ้งอาหารลาวที่มีรสชาติใกล้เคียงกับอาหารไทยแต่รสชาติจะจัดกว่า อาหารตะวันตก เช่น เบอร์เกอร์ พิซซ่า สเต็ก อาหารเวียดนามที่ได้รับความนิยมอย่างก๋วยจั๊บญวณ ที่คนลาวเรียกกันว่าข้าวเปียกอาหารอิสลามและอาหารมังสวิรัติหรือจะเลือกลิ้มลองอาหารลาวที ่แม่ค้าเข็นรถมาขายตามสองฟากถนนก็ได้นอกจากนี้ ยังมีรถเข็นที่ขายน้ำผลไม้ปั่นและโรตี ซึ่งร้านรถเข็นเหล่านี้จะตั้งร้านจนถึงเวลาประมาณ 20.00 น. หากต้องการซื้อขนมขบเคี้ยวหรือของใช้จำเป็นหลังจาก 20.00 น. ไปแล้ว

เที่ยวไปในอาเซียน

สัมผัสความเรียบง่าย และใกล้ชิดธรรมชาติที่วังเวียง

เที่ยวไปในอาเซียนฉบับนี้ เราขอแนะนำสถานที่ ท่องเที่ยวใกล้บ้าน แต่น่าสนใจ เพราะเป็นที่ที่สวยงามและ ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่เต็มเปี่ยม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือ eco-tourism ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นคือ เมืองวังเวียงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยว จากทั่วทุกมุมโลกให้ความสนใจไปใช้เวลาในวันหยุดเป็น จำนวนมาก

1�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 14: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

1. แม้ระยะทางระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์และวังเวียงจะไม่ไกลแต่ก็เต็มไปด้วยทางโค้งและพื้นถนนที่เป็นดินลูกรัง ผู้ที ่ไม่คุ ้นเคยกับการเดินทางลักษณะนี้จึงควรเตรียมยาแก้อาการเมารถหรือยาดมติดตัวไว้

2. เนื่องจากกิจกรรมในวังเวียงเป็นกิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมทางน้ำ จึงควรเตรียมอุปกรณ์ เช่น รองเท้ากีฬา ถุงใส่ของแบบกันน้ำครีมกันแดดและยากันยุงไปด้วย

3. กระเป๋าเดินทางที่ใช้ควรเป็นกระเป๋าแบบสะพายหลัง เพราะกระเป๋าล้อลากจะไม่สะดวกต่อการเดินทางเนื่องจากสภาพถนนดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

4. หมายเลขติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตไทยณ นครหลวงเวียงจันทน์

โทร.(856-21)214-581-3,214-585,(02)5750512-3 โทรสาร(856-21)214-580,(02)57505105. หมายเลขติดต่อสำหรับกรณีฉุกเฉิน - แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โทร.191 - สายด่วนอุบัติเหตุ โทร.(856-21)222-222 - เรียกรถพยาบาล โทร.195 - ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวโทร.(856-21)212-248

ก็สามารถไปที่ร้านสะดวกซื้อซึ่งเปิดให้บริการถึงประมาณ 21.00น. ของทุกวัน นับว่ามีความสะดวกครบครันในระดับที่พอเพียงจริงๆ

แม้วังเวียงจะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ไม่มีศูนย์การค้าใหญ่โตและความบันเทิงในรูปแบบของเมืองใหญ่ แต่เสน่ห์ของธรรมชาติและวีถีชีวิตอันเรียบง่าย บวกกับความเป็นมิตรของชาววังเวียง ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่น่ามาเที่ยวพักผ่อนเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากชีวิตในเมืองที่วุ่นวายเป็นอย่างยิ่ง

วันหยุดครั้ งหน้าอย่าลืมแวะไปสัมผัสมนตร์ เสน่ห์แห่ง

ธรรมชาติที่วังเวียงกันนะคะ แล้วท่านจะพบว่า ในอาเซียนของเรายังมี

สถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายที่รอให้ท่านได้สัมผัส

เกร็ดน่ารู้ : เตรียมตัวก่อนไปวังเวียง

จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter1�

Page 15: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

2 และ 7 ต.ค. 2552: กรมอาเซียน กระทรวงการต่าง-

ประเทศ จัดนิทรรศการเปิดตัว

ภาพวาดสีน้ำ “ASEAN: Portrait

ofACommunity”ณศูนย์การค้า

สยามพารากอน และศูนย์การค้า

เซ ็นทร ัลเว ิร ์ล โดยมีนายกษิต

ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

การต่างประเทศ ให้เกียรติมาเป็น

ประธานเปิดงาน ในงานมีการจัด

แสดงผลงานภาพวาดสีน ้ำของ

อาจารย์ทวีพงษ์ ลิมาภรณ์วณิชย์

ซึ่งเป็นภาพวาดของผู้นำประเทศ

อาเซียน และสถานที่สำคัญของ

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั ้ง 10

ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการเปิด

ตัวหนังสือรวมเล่มภาพวาดสีน้ำ

ดังกล่าว ซึ ่งได้มอบให้กับผู ้นำ

อาเซียนเป็นของที่ระลึกระหว่าง

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ครั้งที่15ระหว่างวันที่23-25ตุลาคม2552ที่อ.ชะอำและหัวหิน

จ.เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ ์

รอบรั้วอาเซียน

11–12 ธ.ค. 2552: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกรุงเทพมหานครและบริษัท ปูน

ซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จัดงานเทศกาลดนตรีและ

วัฒนธรรมอาเซียน(ASEANMusic&CultureFestival)ณ

ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม

ของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนสู่ประชาชนไทยและชาวต่าง

ชาติ โดยมีการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมจากประเทศ

อินโดนีเซียและเวียดนาม และการแสดงคอนเสิร์ตจาก

ศิลปินชื่อดังจากประเทศอาเซียน อาทิ Choo Hou Ren

จากสิงคโปร์ Daniel Lee จากมาเลเซีย ร่วมด้วย เบน

ชลาทิศและกอล์ฟไมค ์

10 ธ.ค. 2552: อำเภอหนองบัว-ระเหว จังหวัดชัยภูมิ จัดงาน “ASEAN

NightForTheKING”โดยภายในงานมี

การประมูลของ ที่ระลึกจากสถานทูต

ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน การแสดง

ศิลปวัฒนธรรม และการจุดเทียนชัย

ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัว

27 พ.ย. 2552 : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์

และมนุษยศาสตร ์ ร ่วมก ับ

มูลน ิธ ิ โตโยต ้าประเทศไทย

และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์

ประเทศไทยจำกัดจัดสัมมนา

ว ิชาการในหัวข ้อ “ร ัฐชาติ-

พรมแดน: ความขัดแย้งและ

ข้อยุต ิบนเส้นทางสันติภาพ

อาเซียน” ณ ศูนย์มานุษย-

วิทยาสิร ินธร ธนบุรี ในงาน

ม ี ก า ร ก ล ่ า ว ค ำ ป า ฐ ก ถ า

โดย ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

เลขาธ ิการอาเซ ียน และ

การอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ รศ.ดร. สุรชาติ

บำรุงสุข ดร.ยุกติมุกดาวิจิตรรศ.ประสิทธิ์ปิวาวัฒนพานิช

และนายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นอกจากนี้หลังจบการอภิปราย

ยังมีการขับร้องเพลงประสานเสียงอาเซียนและการแสดงงิ ้ว

ธรรมศาสตร์จูเนียร์“สมานฉันท์เพื่อนบ้านอาเซียน”

1�จดหมายข่าว สมาคมอาเซียน – ประเทศไทยA.A.T. Newsletter

Page 16: ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : มกราคม ...nongbua.ac.th/asean/files/y2n1.pdf ป ท 2 ฉบ บท 1 : มกราคม - ม นาคม 2553 เร องในเล

สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย

443ถนนศรีอยุธยาแขวงทุ่งพญาไทเขตราชเทวีกรุงเทพมหานครรหัสไปรษณีย์10400

โทรศัพท์02-643-5000ต่อ5446โทรสาร02-643-5223

กรุณาส่ง

สมัครสมาชิก ท่านผู้อ่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน – ประเทศไทยได้ เพียงดาวน์โหลดใบสมัครที่www.aseanthailand.org

กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (หรือสำเนาทะเบียนบ้าน) และรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป เพื่อทำบัตรสมาชิกยื่นด้วยตนเองหรือส่งมาที่

สมาคมอาเซียน–ประเทศไทยเลขที่443ถนนศรีอยุธยาแขวงทุ่งพญาไทเขตราชเทวีกรุงเทพมหานครรหัสไปรษณีย์10400โทรศัพท์02-643-5000ต่อ5446โทรสาร02-643-5223อัตราค่าสมาชิกสมาคมฯ ดังนี้ :

1.สมาชิกสามัญตลอดชีพชำระค่าบำรุงครั้งเดียว500บาท2.สมาชิกสามัญรายปี ชำระค่าบำรุงประจำปีปีละ100บาท3.สมาชิกสมทบ(นักเรียนนักศึกษา)ชำระค่าบำรุงประจำปีปีละ50บาท4.สมาชิกที่เป็นองค์กร ชำระค่าบำรุงประจำปีปีละ1,000บาท

โอนเงินค่าสมาชิกมาที่ ชื่อบัญชีออมทรัพย์ สมาคมอาเซียน – ประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารามาธิบดี เลขที่บัญชี 026-436722-8 หรือ ส่งธนาณัติสั่งจ่ายในนามสมาคมอาเซียน – ประเทศไทย ปณฝ. กรมโรงงานอุตสาหกรรม 10413และส่งหลักฐานการชำระเงินทางไปรษณีย์มายังที่ทำการสมาคมฯหรือโทรสาร02-643-5223

สมาชิกสมาคมอาเซียน – ประเทศไทย นอกจากจะได้รับจดหมายข่าวของทางสมาคมฯ แล้ว ยังได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งมีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมฯงานสัมมนาและกิจกรรมต่างๆ

22 ธ.ค. 2552: กระทรวงศึกษาธิการจัดโครงการสัมมนาวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการ“ปฏิญญาการศึกษาฯ:รากฐานประชาคมอาเซียน”ณโรงแรมแอสดีอเวนิวโดยมีตัวแทนจาก

หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความร่วมมือ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนให้เกียรติเป็นวิทยากร

ในการเสวนา พร้อมด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง “อาเซียน : ประชาคมของประชาชน” โดยนาย

วิทวัสศรีวิหคอธิบดีกรมอาเซียนในการเสวนาดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐเอกชนและภาคประชาสังคม

รอบรั้วอาเซียน