40
หน่วยที1 ประวัติ ความเป็นมา และวิวัฒนาการของ กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา รองศาสตราจารย์ภาณินี กิจพ่อค้า รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน

หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    7

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-1

หน่วยที่1ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของ

กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา

รองศาสตราจารย์ภาณินีกิจพ่อค้า

รองศาสตราจารย์ณัฐฐ์วัฒน์สุทธิโยธิน

Page 2: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่1

ประวัติความ

เป็นมาและ

วิวัฒนาการของ

กฎหมายอาญา

และอาชญาวิทยา

1.1ประวัติความเป็นมา

และวิวัฒนาการของ

กฎหมายอาญา

1.2ประวัติความเป็นมา

และวิวัฒนาการของ

อาชญาวิทยา

1.1.1วิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่วไป

1.1.2ความสำคญัของวชิาประวติัศาสตร์กฎหมาย

และความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์

กฎหมายไทย

1.1.3กำเนิดกฎหมายอาญา

1.2.1ความหมายและลักษณะของอาชญาวิทยา

1.2.2กำเนิดอาชญาวิทยา

1.2.3การศึกษาอาชญาวิทยา

Page 3: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-3

หน่วยที่1

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของ

กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่1.1 ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายอาญา

1.1.1วิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่วไป

1.1.2 ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์

กฎหมายไทย

1.1.3กำเนิดกฎหมายอาญา

ตอนที่1.2 ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของอาชญาวิทยา

1.2.1ความหมายและลักษณะของอาชญาวิทยา

1.2.2กำเนิดอาชญาวิทยา

1.2.3การศึกษาอาชญาวิทยา

แนวคิด1.วิวัฒนาการของกฎหมายในสามรูปแบบหรือทฤษฎีกฎหมายสามชั้น แบ่งออกเป็น

ยุคกฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht) ยุคหลักกฎหมายหรือยุคกฎหมายของนักกฎหมาย

(Juristenrecht)และยุคกฎหมายเทคนิค(Technicallaw)การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์

กฎหมายทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ(1)หลักกฎหมายและ(2)วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของ

มนุษยชาติ

2.อาชญาวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรมสาเหตุแห่งอาชญากรรมพฤติกรรม

การกระทำผิดพฤติกรรมอาชญากรการลงโทษผู้กระทำผิด การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

และการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม

Page 4: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-4

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายอาญาได้

2.อธิบายและวิเคราะห์ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของอาชญาวิทยาได้

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่1

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่1

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่1

4)ศึกษาเนื้อหาสาระจาก

- แนวการศึกษาหน่วยที่1

- หนังสือประกอบการสอนชุดวิชา

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบคำตอบของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่1

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการ1.สื่อการศึกษา

1)แนวการศึกษาหน่วยที่1

2)เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า

(1)จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2551) สังคมวิทยาอาชญากรรม กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2)ปุระชยัเปีย่มสมบรูณ์อาชญาวทิยา:สหวทิยาการวา่ดว้ยปญัหาอาชญากรรมกรุงเทพมหานครโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

(3)อภิรัตน์เพ็ชรศิริ(2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน(4)ชายเสวิกุล(2517)อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยากรุงเทพมหานครโรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Page 5: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-5

(5)ประเสริฐเมฆมณี(2523)หลักทัณฑวิทยากรุงเทพมหานครบพิธการพิมพ์

(6)ปุระชัยเปี่ยมสมบูรณ์(2545)การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม:

หลักทฤษฎีและมาตรการกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์บรรณกิจ

(7) เสรินปุณณะหิตานนท์ (2527)การกระทำผิดในสังคมสังคมวิทยาอาชญา-

กรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

(8)Beccaria, Cesare. (1764). On Crimes and Punishments,with

notesand introductionbyDavidYoung (Indianapolis, IN:Hackett,

1985) inT.bbetts, StephenG. andHemmens, StephenG. and

Hemmens,Craig,(2010).CriminologicalTheory.LosAngeles:Sage

Publications,Inc.

(9)Carrabine, Eamonn., Cox, Pam., Lee,Maggy, Plummer, Ken.,

South,Nigel. (2009). Criminology:A Sociological Introduction.

NewYork:Routledge.

(10)Lilly, Robert J.Cullen, FrancisT. andBall, RichardA. (2007).

Criminology Theory: Context andConsequences. Thousand

Oaks:SagePublications.

(12)McLaughlin,Eugene.Muncie,John.andHughes,Gordon.(2003).

CriminologicalPerspectivesEssentialReading.SecondEdition

London:SagePublications.

(13) Morrison,Wayne. (2006).Criminology,Civilisation&TheNew

WordOrder.Oxon:RoutledgeCavendish.

(14)Tibbetts,StephenG.andHemmens,Craig.(2010).Criminological

Theory.LosAngeles:SagePublications,Inc.

(15)EncyclopediaBritannicaCesare_Beccaria.

2.หนังสือตามที่อ้างไว้ในบรรณานุกรม

การประเมินผลการเรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 6: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-6

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ประวัติ ความเป็นมา และวิวัฒนาการ

ของกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายทฤษฎีกฎหมายสามชั้น

2. จงอธิบายความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

3. จงอธิบายลักษณะเฉพาะของวิชาอาชญาวิทยา

4. จงอธิบายแนวคิดของซีซาร์เบ็คคาร์เรียในส่วนที่เกี่ยวกับกำเนิดอาชญาวิทยา

Page 7: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-7

ตอนที่1.1

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายอาญา

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่1.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่1.1.1วิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่วไป

เรื่องที่1.1.2ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายและความเป็นมาของวิชาประวัติ-

ศาสตร์กฎหมายไทย

เรื่องที่1.1.3กำเนิดกฎหมายอาญา

แนวคิด1. วิวัฒนาการของกฎหมายในสามรูปแบบหรือทฤษฎีกฎหมายสามชั้น แบ่งออกเป็น

ยุคกฎหมายชาวบ้าน (Volksrecht) ยุคหลักกฎหมายหรือยุคกฎหมายของนักกฎหมาย

(Juristenrecht)และยุคกฎหมายเทคนิค(Technicallaw)

2. การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายทำให้เข้าใจ(1)หลักกฎหมายและ(2)วิวัฒนาการ

ทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินอกจากการศึกษาประวัติศาสตร์หลักกฎหมาย

3. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้มีการชำระและร่างประมวล

กฎหมายขึ้น โดยนำระบบกฎหมายซีวิลลอว์ตามแบบประเทศในภาคพื้นยุโรปมาเป็น

แนวในการปฏิรูประบบกฎหมายของไทยเหตุผลของการจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อให้

บรรลุวัตถุประสงค์อย่างน้อย3ประการคือ(1)เพื่อรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายว่า

ด้วยลักษณะเดียวกัน(2)บทบัญญัติทางกฎหมายหลายฉบับโบราณเกินไปไม่สอดคล้อง

กับแนวความคิดสมัยใหม่ที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นๆ ในประเทศสยาม และ (3) การจัด

ทำประมวลกฎหมายจะเป็นโอกาสให้ได้ตรวจชำระบทกฎหมายที่มีอยู่รวมทั้งนำเอาหลัก

กฎหมายใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายสยามมาบัญญัติรวมไว้ด้วย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่1.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่วไปได้

2. อธบิายความสำคญัของวชิาประวตัศิาสตร์กฎหมายและความเปน็มาของวชิาประวตัศิาสตร์

กฎหมายไทยได้

3. อธิบายกำเนิดกฎหมายอาญาได้

Page 8: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-8

เรื่องที่1.1.1วิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่วไป

สาระสังเขปการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกฎหมายเป็นเรื่องสำคัญที่จะเสริมความเข้าใจถึงการ

เกิดขึ้นของกฎหมายซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

การอุบัติขึ้นของกฎเกณฑ์ในสังคมมีภาษิตละตินบทหนึ่งกล่าวว่า“ที่ไหนมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย”(UbiSocietas,lbiJus)ซึ่งแสดง

ให้เห็นว่ากฎหมายกับสังคมมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ

ก็จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่ถือปฏิบัติเพื่อให้สังคมนั้นอยู่ได้โดยปกติสุขนักวิชาการได้มีกฎเกณฑ์ที่ว่านั้นเกิดขึ้น

ได้อย่างไร ในประเด็นนี้ได้มีข้อโต้แย้งทางวิชาการว่า กฎเกณฑ์ต่างๆนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีแนวคิดเป็น

2แนว1แนวหนึ่งคิดว่ากฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์เกิดจากมนุษย์หรือพระผู้เป็นเจ้าจงใจกำหนดขึ้น

ส่วนอีกแนวหนึ่งเห็นว่ากฎเกณฑ์ก่อตัวขึ้นเองในสังคมนุษย์แล้วค่อยๆคลี่คลายวิวัฒนาการเรื่อยๆโดยมิได้

เริ่มต้นหรือเกิดขึ้นด้วยความจงใจของมนุษย์คนใดคนหนึ่ง

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการในเรื่องดังกล่าวโดยอาศัยการศึกษาพฤติกรรมของ

สัตว์(Ethology)และจากการศึกษาโดยอาศัยความรู้ทางมานุษยวิทยา(Anthropology)ก็พบว่ากฎเกณฑ์

ในสังคมมนุษย์ที่ถือปฏิบัติกันอยู่ โดยเฉพาะในสังคมดั้งเดิมนั้นเกิดขึ้นมาโดยมิได้มีใครจงใจสร้างขึ้น แต่

เป็นสิ่งที่เจริญพัฒนาขึ้นโดยมิได้อาศัยอำนาจบงการ หรือเจตจำนงจงใจของผู้ใด เป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้น

เอง(SpontaneousOrder)ในชุมชนนั้นและเมื่อได้ถือปฏิบัติกันต่อมาเป็นเวลานานก็จะปรากฏตัวเป็นรูป

เป็นร่างชัดเจนขึ้นได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในชุมชนว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง(OpinioJuris)และจำเป็นจะต้อง

ปฏิบัติเช่นนั้น(Opinionecessitates)2

วิวัฒนาการของกฎหมายในสามรูปแบบหรือทฤษฎีกฎหมายสามชั้นการอธิบายเรื่องวิวัฒนาการของกฎหมายให้มองเห็นภาพรวมอย่างเป็นระบบนั้น คือ การอธิบาย

ความเป็นมาของกฎหมายในสามรูปแบบหรือที่เรียกว่า“ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น”ของศาสตราจารย์ดร.ปรีดี

เกษมทรัพย์ซึ่งอธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายโดยแบ่งเป็นยุคดังนี้3

1ดูปรีดี เกษมทรัพย์นิติปรัชญา โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์พิมพ์ครั้งที่ 3พ.ศ.2539

หน้า2702เพิ่งอ้างหน้า2723 ดู ปรีดี เกษมทรัพย์ เอกสารประกอบการศึกษาวิชาสังคมกับกฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.

2531หน้า12-20และแสวงบุญเฉลิมวิภาสทฤษฎีกฎหมายสามชั้นมองในแง่กฎหมายอาญารวมบทความในโอกาสครบรอบ60ปี

ดร.ปรีดีเกษมทรัพย์กรุงเทพมหานครพี.เค.พริ้นติ้งเฮ้าส์พ.ศ.2531หน้า140-144

Page 9: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-9

ยุคกฎหมายชาวบ้าน(Volksrecht)กฎหมายในยุคนี้เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ปรากฏออกมา

ในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นประเพณีง่ายๆ ที่รู้กันโดยทั่วไปเพราะเป็นกฎเกณฑ์ที่ตกทอดกันมา

แต่โบราณที่เรียกว่า“Thegoodoldlaw”กฎเกณฑ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาของสามัญชนหรือ

สามัญสำนึกที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า“Simplenaturalreason”เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่เกิดจาก

การประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานอาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้กฎหมายกับศีลธรรมยังไม่ได้แยกจาก

กันโดยชัดแจ้งการกระทำผิดกฎหมายในยุคโบราณย่อมเป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมด้วยกฎหมายในยุคนี้จึงเป็น

เรื่องที่ประชาชนสามารถรู้ได้ด้วยสามัญสำนึกของตนเองว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกเพราะศีลธรรมและกฎหมายยัง

มิได้ถูกแยกจากกันโดยชัดแจ้ง

ยุคหลักกฎหมายหรือยุคกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) เป็นยุคที่กฎหมายเจริญขึ้น

ต่อจากยุคแรกโดยมีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทเป็นเหตุผลปรุงแต่งทางกฎหมาย(Artificial

Juristicreason)ที่ปรุงแต่งขึ้นจากหลักดั้งเดิมในยุคแรกทำให้เกิดหลักกฎหมายขึ้นจากการชี้ขาดข้อพิพาท

ในคดีเป็นเรื่องๆติดต่อกันวิชานิติศาสตร์จึงได้ก่อตัวค่อยๆเจริญเติบโตขึ้นเป็นผลทำให้เกิดองค์กรตุลาการ

และวิชาชีพนักกฎหมายขึ้นหลักกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงเรียกว่ากฎหมายของนักกฎหมายเพราะนักกฎหมาย

เป็นผู้มีวินิจฉัยปรุงแต่งขึ้นให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องแต่ละคดีหลักกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ต้อง

ศึกษาเล่าเรียนจึงจะรู้ได้ ไม่เหมือนกฎหมายประเพณีซึ่งเกิดจากเหตุผลธรรมดาสามัญที่ใช้สามัญสำนึกค้น

คิดก็สามารถจะรู้ได้ตัวอย่างเช่นเรื่องอายุความกฎหมายได้กำหนดระยะเวลาไว้ในแต่ละเรื่องทั้งในคดีแพ่ง

และคดีอาญาถ้าผู้ที่ได้รับความเสียหายมิได้ฟ้องร้องภายในเวลาที่กำหนดไว้จะถือว่าคดีนั้นขาดอายุความที่

อีกฝ่ายยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ได้ เรื่องอายุความจึงเป็นหลักที่นักกฎหมายพัฒนาขึ้นมาเพื่อความจำเป็น

ในด้านพยานหลักฐาน เป็นการกำหนดให้ฟ้องในเวลาที่ยังสามารถรวมพยานหลักฐานมาดำเนินคดีได้ หลัก

ดังกล่าวจึงต่างกับสามัญสำนึกของคนทั่วไปที่เห็นว่าเมื่อเป็นหนี้ก็ต้องชำระจนกว่าจะหมดหนี้หมดสินหรือ

เมื่อคนทำผิดก็จะต้องถูกลงโทษจึงจะเกิดความยุติธรรมขึ้นได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขในเรื่องระยะเวลา

อายุความเช่นนี้เป็นกฎหมายของนักกฎหมายที่นักกฎหมายพัฒนาขึ้นมาอีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องการครอบ

ครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ในป.พ.พ.มาตรา 13824 ก็เป็นการกำหนดขึ้นมาโดยเหตุผลทาง

กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์อีกทั้งเป็นการรับรองกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ที่ได้ครอบครอง

ทรัพย์อยู่เป็นเวลานานพอสมควรทั้งยังเป็นการบังคับให้เจ้าของทรัพย์ต้องดูแลและติดตามเรียกคืนทรัพย์

ของตนภายในระยะเวลาอันสมควรถ้านอนหลับทับสิทธิไม่ดูแลก็ควรจะหมดสิทธิเหล่านี้เป็นต้น

4 ป.พ.พ.มาตรา 1382บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนา

เป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปี

ไซร้ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

Page 10: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-10

ตัวย่างในกฎหมายอาญาที่เห็นได้ชัดก็เช่นเรื่องการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย5 หรือการกระทำ

ผิดด้วยความจำเป็น6 ถือได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่นักกฎหมายได้พัฒนาขึ้นโดยปรุงแต่งจากเหตุผลธรรมดาที่

ถือว่าในกรณีที่เกิดภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายขึ้นกับบุคคลใดและภยันตรายนั้นใกล้จะถึง บุคคลนั้น

สามารถที่จะกระทำการเพื่อป้องกันได้ถ้าหากได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ เพราะถ้าเกิดภยันตรายที่ใกล้

จะถึงขึ้นแล้ว การจะรอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐคงจะไม่ทันการแต่การจะอ้างป้องกันได้เมื่อใด

ก็ไม่ใช่อาศัยเหตุผลแบบสามัญสำนึกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ซึ่งนักกฎหมายได้ใช้

เหตุผลปรุงแต่งขึ้น ส่วนกรณีของการกระทำผิดด้วยความจำเป็นก็เช่นเดียวกัน ผู้กระทำจะยกเป็นข้ออ้าง

เพื่อยกเว้นโทษได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำได้กระทำไปภายในหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นกันคือผู้กระทำ

ผิดได้กระทำไปเนื่องจากอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้หรือเพื่อให้ตนเองหรือ

ผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงหากผู้กระทำได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุย่อมเป็นการกระทำโดยจำเป็น

ที่ถือเป็นเหตุยกเว้นโทษได้

จะเห็นได้ว่าการกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องป้องกันและจำเป็นดังกล่าว แม้จะอยู่บนพื้นฐานของ

สามัญสำนึกก็จริงแต่ก็ต้องใช้เหตุผลที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนแบบนักกฎหมาย(Juristicreason)มาปรุง

แต่งเพิ่มเติม เพราะลำพังแต่ความคิดความรู้สึกที่เกิดจากสามัญสำนึกเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถอธิบาย

รายละเอียดในแต่ละกรณีได้ ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ นักกฎหมายได้พยายามแยกให้เห็นความ

แตกต่างระหว่างการกระทำเพื่อป้องกันและการกระทำผิดความจำเป็น โดยถือว่าการกระทำเพื่อป้องกันนั้น

เป็นเรื่องที่ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายทีเดียว เพราะเป็นการกระทำต่อผู้ที่ก่อภยันตรายโดยมิชอบนั้นส่วน

การกระทำผิดด้วยความจำเป็นนั้น ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำต่อผู้บริสุทธิ์

(Innocentperson)ที่ไม่มีความผิดใดๆทั้งสิ้นกฎหมายจึงถือว่าเป็นเพียงเหตุยกเว้นโทษ(Excuse)เท่านั้น

และที่ยกเว้นโทษก็ด้วยเหตุผลที่ถือว่าผู้กระทำไม่มีความชั่ว(Schuld)กล่าวคือในสถานการณ์เช่นนั้นไม่อาจ

เรียกร้องให้ผู้กระทำกระทำอย่างอื่นได้

ยุคกฎหมายเทคนิค (Technical law)กฎหมายในยุคนี้เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขึ้นเพื่อแก้

ปัญหาเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง ทั้งนี้เนื่องจากสังคมสลับซับซ้อน ข้อขัดแย้งในสังคมมีมากขึ้นและเป็น

ข้อขัดแย้งที่ต่างจากปัญหาในอดีตการจะรอให้ประเพณีค่อยๆพัฒนาตัวเองขึ้นมาย่อมไม่ทันกับเหตุการณ์

เฉพาะหน้าที่เกิดข้ึนโดยปัจจุบันทันด่วน จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายข้ึนเป็นพิเศษด้วยเหตุผลทางเทคนิค

(Technicalreason)กฎหมายเทคนคิจงึมไิด้เกดิจากศลีธรรมขนบธรรมเนยีมประเพณีโดยตรงแต่เปน็เหตผุล

5ป.อาญามาตรา68บัญญัติว่า“ผู้ใดจำเป็นต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิด

จากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกัน

โดยชอบด้วยกฎหมายผู้นั้นไม่มีความผิด”6ป.อาญามาตรา67บัญญัติว่า“ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น

(1)เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือ

(2)เพราะเพือ่ให้ตนเองหรอืผู้อืน่พน้จากภยนัตรายที่ใกล้จะถงึและไม่สามารถหลกีเลีย่งให้พน้โดยวธิีอืน่ใดได้เมือ่ภยนัตราย

นั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน

ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุผลแล้วผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

Page 11: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-11

ทางเทคนิคสำหรับเรื่องนั้นๆตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกฎหมายอาญาก็เช่นกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร

ที่กำหนดให้ขับรถทางซ้ายของถนนกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือกฎหมายกำหนดให้ไปจดทะเบียนใน

บางเรื่อง จะเห็นได้ว่ากฎหมายเหล่านี้ ความถูกผิดเกิดจากกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมามิใช่เกิดจากเหตุผลทางศีล

ธรรมโดยตรงเมื่อเหตุผลของการบัญญัติกฎหมายมิใช่เหตุผลทางศีลธรรมโดยตรงผู้ที่ทำผิดจึงไม่เกิดความ

รู้สึกว่าตัวกำลังกระทำความผิด เพราะการกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำที่ผิดต่อศีลธรรม เพราะฉะนั้นการ

ลงโทษตามกฎหมายเทคนิคจึงต้องกำหนดโทษให้รุนแรง และที่สำคัญมากก็คือ การบังคับใช้กฎหมายและ

การลงโทษต้องเป็นไปในลักษณะที่แน่นอนถ้าลำพังการกำหนดโทษให้รุนแรงแต่การบังคับใช้กฎหมายเป็น

ไปโดยขาดความสม่ำเสมอคนที่ทำผิดกฎหมายจะยังคงมีอยู่เพราะเขาคิดว่าโอกาสถูกจับมีน้อย

จากทฤษฎีวิวัฒนาการของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในระยะแรกเริ่มกฎหมายเป็นปรากฏการณ์

ทางสังคมที่ก่อตัวขึ้นเองและค่อยๆคลี่คลายวิวัฒนาการมาเป็นลำดับเมื่อเป็นดังนี้การศึกษาประวัติศาสตร์

กฎหมายจึงไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่จะต้องสำรวจถึงความรู้สึกนึกคิดและ

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวกับกฎหมายในแต่ละเรื่อง จึงจะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง และ

เกิดความเข้าใจในหลักกฎหมายนั้นๆอย่างแท้จริง

(โปรดอา่นเนือ้หาสาระโดยละเอยีดในปรดีีเกษมทรพัย์(2531)นติปิรชัญาเอกสารประกอบการศกึษา

วิชาสังคมกับกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแสวง บุญเฉลิมวิภาส (2531)

ทฤษฎกีฎหมายสามชัน้มองในแงก่ฎหมายอาญารวมบทความในโอกาสครบรอบ60ปีดร.ปรดีีเกษมทรพัย์

กรุงเทพมหานครพี.เค.พริ้นติ้งเฮ้าส์)

กิจกรรม1.1.1

ให้นักศึกษาอธิบายถึง“ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น”

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.1กิจกรรม1.1.1)

Page 12: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-12

เรื่องที่1.1.2ความสำคัญของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายและ

ความเป็นมาของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

สาระสังเขป

1.ความสำคัญของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายจากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของกฎหมายทำให้เราทราบว่ากฎเกณฑ์ความประพฤติหรือกฎหมาย

ในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นสิ่งที่เจริญพัฒนาขึ้นตามลำดับโดยมิได้อาศัยอำนาจบงการหรือเจตนาของบุคคลใด

บุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ กฎหมายจึงเป็นระบบที่เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการในเรื่องนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ การศึกษา

กฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบันหรือที่เรียกว่ากฎหมายบ้านเมือง(Positivelaw)นั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ที่จะต้องศึกษาถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ในอดีต โดยเพ่งเล็งถึงต้นตอของความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด

ขนบธรรมเนียมทางกฎหมายในแต่ละเรื่องนอกจากนี้หากได้ศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายในลักษณะที่เป็น

สากล(Universalhistoryoflaw)ก็จะทำให้มองเห็นวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในเรื่อง

ต่างๆด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจึงย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญใน2ประการคือ

1.1ทำให้เข้าใจ “หลักกฎหมาย” (Legal Dogmatics)ที่อยู่เบื้องหลังของตัวบท การเข้าใจ

หลักกฎหมายที่อยู่เบื้องหลังของตัวบท จะช่วยให้การตีความและการใช้กฎหมายเป็นไปโดยถูกต้องวิชา

ประวตัศิาสตร์กฎหมายจงึมีความสำคญัตอ่วชิานติศิาสตร์โดยแท้เพราะการศกึษาประวตัศิาสตร์หลกักฎหมาย

(History of Leagal Dogmatics)7 จะทำให้มองเห็นว่าตัวบทกฎหมายปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกับอดีต

อย่างไรทำให้เกิดความเข้าใจในการใช้ตัวบทกฎหมายนั้นๆ เพราะการนำตัวบทกฎหมายเรื่องใดมาใช้คงมิใช่

เฉพาะการเพ่งเล็งถ้อยคำที่ปรากฏในตัวบทเท่านั้น แต่การใช้กฎหมายที่ถูกต้องจะต้องพิจารณาถึงเหตุผล

(reason)หรือเจตนารมณ์(intentionsofspirit)แห่งบทบัญญัติควบคู่ไปด้วยในการนี้จะต้องอาศัยการอ่าน

ข้อความแวดล้อม(incontext)และอ่านข้อความทั้งหมด(thewholetext)เพื่อค้นหาเหตุผลของกฎหมาย

(Ratiolegis)หรือบางทีเรียกว่าเจตนารมณ์หรือวิญญาณของกฎหมาย(Spiritofthelaw)และในหลายๆ

กรณีการค้าหาเจตนารมณ์ของกฎหมายได้จะต้องพิจารณาถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของบทบัญญัติ

นั้นๆด้วยทั้งนี้เพราะกฎหมายมิใช่มาจากเจตจำนงของบุคคลในกระบวนการนิติบัญญัติเท่านั้นแต่หากเป็น

ผลจากวิวัฒนาการมาเป็นเวลานานในอดีตการใช้กฎหมายจึงจำเป็นต้องหยั่งทราบเหตุผลในแต่ละเรื่องเช่น

ถ้าเป็นกฎหมายเทคนิค (Technical Law) สิ่งที่ผู้ใช้และผู้ตีความกฎหมายจะต้องค้นหาก็คือ เจตนารมณ์

7 ปรีดี เกษมทรัพย์ นิติปรัชญา โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิมพ์ครั้งที่3พ.ศ.2539หน้า43

Page 13: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-13

หรือความมุ่งหมายของการบัญญัติกฎหมายในเรื่องนั้นๆสำหรับกฎหมายประเภทอื่นๆสิ่งที่จะต้องค้นหาก็

คือเหตุผลทางศีลธรรมเหตุผลของเรื่อง(Natureofthings)และเหตุผลของหลักกฎหมายในเรื่องนั้นๆ

1.2ทำให้เข้าใจวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินอกจากการศึกษาประวัติศาสตร์

หลักกฎหมายเฉพาะเรื่องเฉพาะแขนงแล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายยังครอบคลุมถึงการศึกษา

ประวัติศาสตร์กฎหมายสากล(Universalhistoryoflaw)ด้วยการศึกษาลักษณะนี้มาจากความคิดที่เชื่อ

ว่ามนุษย์มีธรรมชาติเหมือนกันทั้งประวัติศาสตร์ของแต่ละชาติอาจจะมีภูมิหลังความเป็นมาที่ต่างกันแต่ก็มี

ส่วนที่ร่วมกันอยู่ลักษณะที่ร่วมกันหรือเหมือนกันนี้แหละที่จะนำมาใช้อธิบายประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้

เช่นคำสอนของSirHenryMaineที่เสนอความคิดว่าสังคมมีความโน้มเอียงที่จะพัฒนาจากสถานะไปสู่

สัญญา(FromStatustoContract)โดยสอนว่าในสังคมโบราณความสัมพันธ์ถูกกำหนดโดยสถานะ(Sta-

tus)ของคนเช่นสถานะความเป็นพ่อเป็นลูกความเป็นนายทาสกับทาสพ่อเป็นทาสลูกที่เกิดมาก็มีสถานะ

เป็นทาสด้วย ไม่ได้เป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละคนแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาในสมัยใหม่ก็มี

ความสัมพันธ์แบบใหม่เกิดขึ้นจากการตัดสินโดยจิตอิสระของแต่ละคนกลายเป็นความสัมพันธ์ทางสัญญา

เช่นการเข้าเป็นหุ้นส่วนกันหรือการตกลงทำสัญญาซื้อขายหรือทำสัญญากันในกรณีอื่นแต่ก็ไม่ใช่จะทำเป็น

สัญญากันได้ทุกเรื่อง8ในสถาบันครอบครัวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวเริ่มจากการสมรสที่มี

ลักษณะเป็นสัญญาที่อาศัยเจตนาต้องตรงกันของคู่กรณีที่ต้องการเป็นสามีภริยากันหลังจากการหมั้นและ

การสมรสแล้วความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาก็เกิดขึ้นตามกฎหมายแล้วสิทธิหน้าที่ต่อกันระหว่างสามีภริยา

ระหว่างบิดามารดาและบุตรย่อมเป็นไปตามกฎหมายโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีการตกลงยินยอมกันอีก

2.ความเป็นมาของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายในประเทศไทยได้มีขึ้นตั้งแต่เมื่อตั้งโรงเรียนกฎหมายแล้ว

โดยในครั้งนั้นเรียกชื่อวิชาว่า “พงศาวดารกฎหมาย” แล้วเปลี่ยนเป็น “ตำนานกฎหมาย” ในเวลาต่อมา9

ครั้นเมื่อมีการยกฐานะโรงเรียนกฎหมายจนต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ก็ได้กำหนด

วิชาประวัติศาสตร์กฎหมายเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรและได้มีการสอนวิชาดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันหาก

แต่ว่าเมื่อพิจารณาถึงแนวการสอนที่ผ่านมาจะพบว่าการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายแตกต่างกันไปเป็น

2แนวดังนี้

2.1การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายแบบนิติประวัติศาสตร์ไทยตามแนวทฤษฎีกฎหมายของ

สำนักประวัติศาสตร์ (Historical School) ตามแนวทฤษฎีของสำนักประวัติศาสตร์ มีข้อความคิดพื้นฐาน

(Fundamentalconcept)ว่ากฎหมายเกิดจากจิตวิญญาณประชาชาติ(Volksgeist)และถือว่าVolksgeist

ย่อมมีรูปลักษณะของมันวิวัฒนาการไปตามประวัติศาสตร์และปรากฏออกมาในรูปของจารีตประเพณี

วัฒนธรรมและวิวัฒนาการต่อมาอีกชั้นหนึ่งในรูปที่เป็นกฎหมายของแต่ละชนชาติ10

8เพิ่งอ้างหน้า459ดูเดือนบุนนาคประวัติศาสตร์กฎหมายไทยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พ.ศ.2487หน้า110ปรีดีเกษมทรัพย์อ้างแล้วหน้า216-217

Page 14: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-14

แนวคิดในทฤษฎีกฎหมายดังกล่าว ได้มีการสอนในประเทศเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรม

ศาสตร์และการเมืองและกำหนดให้มีการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายขึ้นโดยมอบหมายให้ศาสตราจารย์

ร.แลงกาต์ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสเป็นผู้สอนในช่วงเวลาที่อาจารย์ร.แลงกาต์รับผิดชอบสอนวิชานี้

สำหรับแนวการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยนั้น ศาสตราจารย์ ร.แลงกาต์เริ่มต้นด้วยการ

สอนบทนำทั่วไปก่อนโดยกล่าวถึงความเป็นมาของกฎหมายและในจุดนี้เองที่เห็นได้ชัดว่าแนวการสอนมีแนว

โน้มไปทางทฤษฎีกฎหมายของสำนักประวัติศาสตร์(HistoricalSchool)11

ศาสตราจารย์ ร.แลงกาต์ได้ชี้ให้เห็นว่าในสังคมดั้งเดิม กฎหมายยังมิได้กระทำขึ้นเป็นลายลักษณ์

อักษรคงเป็นเพียงจารีตประเพณี คือยังคงรวมอยู่ในขนบธรรมเนียมด้วยเหตุนี้การศึกษาประวัติศาสตร์

กฎหมายของศาสตราจารย์ร.แลงกาต์จึงมิได้จำกัดอยู่เฉพาะกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่จะศึกษาถึงจารีต

ประเพณีนัน้ๆดว้ยทา่นถอืวา่กฎหมายเปน็เพยีงเงาของจารตีประเพณ1ี2และการศกึษาประวตัศิาสตร์กฎหมาย

ไทยในแบบนี้จะทำให้เรารู้จักระเบียบต่างๆ ของชุมนุมในอดีต รู้จักความก้าวหน้าในทางขนบธรรมเนียม

ประเพณีและอารยธรรมของชาติ และความรู้จากประวัติศาสตร์กฎหมายจะสามารถเชื่อมโยงหรือเสริม

กฎหมายในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

2.2การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายแบบตำนานตามแนวทฤษฎีกฎหมายของสำนักกฎหมาย

บ้านเมือง(LegalPostivism)คำว่า“LegalPositivism”เป็นคำที่แปลมาจากศัพท์ดังเดิมในภาษาเยอรมัน

ที่เรยีกวา่Rechtspostitvismusหมายถงึความคดิที่ถอืวา่กฎหมายที่ใช้บงัคบัอยู่ในบา้นเมอืง(Positivelaw)

เท่านั้นที่เป็นกฎหมายที่แท้จริงด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเฉพาะกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้นที่ควรจะเป็นวัตถุ(object)

ที่ศึกษาส่วนศีลธรรมความยุติธรรมหรือที่เรียกว่ากฎหมายธรรมชาตินั้นมิใช่กฎหมายจึงอยู่นอกขอบข่าย

การศึกษาของนักนิติศาสตร์โดยสิ้นเชิง13

ความคิดแบบLegal Positivism ได้มีการสอนในประเทศอังกฤษโดยนักปราชญ์คนสำคัญทาง

วิชาการนิติศาสตร์ของอังกฤษท่านหนึ่งชื่อJohnAustin(ค.ศ.1790-1859)คำสอนของJohnAustinเป็น

ที่ยอมรับอย่างมากในวงการกฎหมายของอังกฤษเมื่อนักเรียนไทยไปศึกษากฎหมายจึงได้รับแนวความคิดนี้

มาสอนต่อในโรงเรียนกฎหมายด้วยดังที่มีการบรรยายความหมายของคำว่ากฎหมายว่า“กฎหมายคือคำสั่ง

ทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลายเมื่อไม่ทำตามแล้วตามธรรมดาต้องโทษ”14

เมื่อมีการตั้งคณะนิติศาสตร์และมีการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายการให้ความหมายของคำว่า

“กฎหมาย”จึงได้รับการสอนต่อๆมา

11ร.แลงกาต์ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยเล่ม1มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯพ.ศ.2526หน้า112เพิ่งอ้างหน้า313ปรีดีเกษมทรัพย์อ้างแล้วหน้า24114พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เล็คเชอร์กฎหมายโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการพ.ศ.2468หน้า1

Page 15: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-15

ต่อมาอิทธิพลของกฎหมายอังกฤษได้ค่อยๆลดความสำคัญลงไปเมื่อประเทศไทยตัดสินใจจะจัด

ทำระบบกฎหมายแบบภาคพื้นยุโรปและได้จ้างนักกฎหมายชาวญี่ปุ่นและฝรั่งเศสมาเป็นที่ปรึกษาช่วยงานโร

ลังยัคมินส์ซึ่งเป็นชาวเบลเยี่ยมและทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินอยู่ในเวลานั้นแต่ก่อนที่จะตัดสินใจจัด

ทำประมวลกฎหมายตามแบบอย่างของประเทศซีวิลลอว์(CivilLaw)

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยรายละเอียดในปรีดี เกษมทรัพย์ (2539)นิติปรัชญา โครงการตำรา

และเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิมพ์ครั้งที่3)

กิจกรรม1.1.2

ให้นักศึกษาอธิบายถึงการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายแบบตำนานตามแนวทฤษฎีกฎหมาย

ของสำนักกฎหมายบ้านเมือง(LegalPostivism)

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.1กิจกรรม1.1.2)

Page 16: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-16

เรื่องที่1.1.3กำเนิดกฎหมายอาญา

สาระสังเขป

1.การจัดทำประมวลกฎหมายอาญาของไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจ

ชำระและร่างประมวลกฎหมายขึ้น โดยนำระบบกฎหมายซีวิลลอว์ตามแบบประเทศในภาคพื้นยุโรปมาเป็น

แนวในการปฏิรูประบบกฎหมายของไทยเหตุผลของการจัดทำประมวลกฎหมายนั้นได้มีผู้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า

เป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างน้อย3ประการคือ15

ประการแรก เพื่อรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลักษณะเดียวกัน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่

ในพระราชกำหนดกฎหมายต่างๆเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ในประมวลกฎหมายอันเดียวกันเช่นในทางอาญานั้น

กฎหมายอาญาของสยามประกอบดว้ยกฎหมายโบราณหลายฉบบัแตล่ะฉบบัก็บญัญตัิลกัษณะความผดิแตล่ะ

ความผิดเป็นฐานๆไปเช่นลักษณะวิวาทลักษณะอาญาหลวงฯลฯนอกจากนี้ก็มีพระราชบัญญัติใหม่ๆใน

ช่วงหลังที่ออกมาเพื่อปราบปรามการกระทำผิดบางฐานเป็นเรื่องๆไปเช่นพระราชบัญญัติว่าด้วยอั้งยี่ร.ศ.

116พระราชบัญญัติลักษณะหมิ่นประมาทร.ศ.118ประกาศลักษณะฉ้อร.ศ.119เป็นต้นบทบัญญัติเหล่านี้

เกี่ยวกันใกล้ชิดกันมากเพราะอยู่ภายใต้หลักทั่วไปแห่งกฎหมายเดียวกัน เมื่อกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง

ดังนี้ย่อมทำให้เป็นการยากลำบากแก่ศาลในอันจะค้นคว้าหยิบยกมาพิจารณาพิพากษาคดี เพราะฉะนั้นจึง

จำเป็นจะต้องนำมารวบรวมไว้ด้วยกันเพื่อจะดูว่าอะไรเป็นแนวคิดพื้นฐานของกฎหมายเหล่านี้และจัดทำให้

สอดคล้องกันขึ้น

ประการที่สองบทบัญญัติทางกฎหมายหลายฉบับโบราณเกินไปไม่สอดคล้องกับแนวความคิดสมัย

ใหม่ที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นๆในประเทศสยามและจำเป็นจะต้องรีบแก้ไขเช่นวิธีพิจารณาในสมัยโบราณ

ให้ช่องแก่คู่ความที่จะยื่นอุทธรณ์ฎีกาได้หลายชั้น

ประการสุดท้ายการจัดทำประมวลกฎหมายจะเป็นโอกาสให้ได้ตรวจชำระบทกฎหมายที่มีอยู่

รวมทั้งนำเอาหลักกฎหมายใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีอยู่ในกฎหมายสยามมาบัญญัติรวมไว้ด้วยเป็นต้นว่ากฎหมาย

แพ่งแต่เดิมนั้นก็บัญญัติแต่เพียงเกี่ยวแก่ลักษณะบุคคลเช่นการสมรสการหย่าและการรับมรดกที่เกี่ยว

แก่สัญญาก็มีกฎหมายหลายฉบับบัญญัติถึงสัญญาที่มีใช้อยู่บ่อยๆเป็นเรื่องๆไปเช่นซื้อขายจำนองกู้ยืม

ฯลฯแต่ไม่มีบททั่วไปซึ่งบัญญัติถึงหลักกฎหมายว่าด้วยมูลแห่งหนี้และผลแห่งหนี้ เหตุดังนี้เพื่อจะวินิจฉัย

ถึงข้อนั้นๆก็จำต้องพิจารณาค้นคว้าหาจากบทเฉพาะเรื่องๆซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายต่างๆ

15เรอเน่กียองการตรวจชำระและรา่งประมวลกฎหมายในกรงุสยามวษิณุวรญัญูแปลวารสารนติศิาสตร์ฉบบัที่1มนีาคม

พ.ศ.2536หน้า100-101

Page 17: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-17

การจัดทำกฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127โดยที่การจัดให้มีประมวลกฎหมายแบบสมัยใหม่เป็น

เงื่อนไขประการสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากข้อเสียเปรียบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและ

ถือความจำเป็นที่จะต้องรีบจัดทำในเวลานั้น สำหรับเหตุผลที่เลือกยกร่างประมวลกฎหมายลักษณะอาญา

ก่อนประมวลกฎหมายอื่นนั้นนอกจากเหตุผลในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตดังกล่าวมาแล้วมีผู้ให้ความ

เห็นว่า เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจในการชำระ

กฎหมายแบบประมวล และในบรรดากฎหมายลักษณะต่างๆ กฎหมายอาญาเป็นประมวลกฎหมายที่ร่าง

ได้ง่ายที่สุด และศาลต่างๆสามารถเข้าใจได้ง่ายเช่นกันดังนั้นจึงเป็นการเหมาะสมที่จะเริ่มงานตรวจชำระ

และจัดร่างประมวลกฎหมายอาญาขึ้นก่อน

แต่เดิมกฎหมายอาญาของไทยมิได้จัดทำในรูปประมวลกฎหมายแต่มีลักษณะเป็นกฎหมายแต่ละ

ฉบับไป เช่นกฎหมายลักษณะโจรลักษณะวิวาท เป็นต้นต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว เนื่องจากความจำเป็นในด้านการปกครองประเทศ และความจำเป็นที่จะต้องเลิกศาลกงสุลต่าง

ประเทศ จึงได้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอาญาขึ้น ทำนองเดียวกันกับกฎหมายอาญาของประเทศทาง

ตะวันออกและญี่ปุ่นเรียกว่ากฎหมายลักษณะอาญาร.ศ.127ซึ่งเป็นประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกของ

ไทยกฎหมายลักษณะอาญาได้ใช้บังคับมาเป็นเวลาประมาณ48ปีจนถึงพ.ศ.2500ก็ได้ยกเลิกไปและได้

ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2499ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันและใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1มกราคม

2500ซึ่งตรงกับวาระฉลองครบ25พุทธศตวรรษ

ในการจัดทำประมวลกฎหมายอาญานั้น ได้ยึดหลักปรัชญาและความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

ดังนี้คือ

1.1ปรัชญาของกฎหมายอาญา

วัตถุประสงค์กฎหมายอาญาคือมุ่งคุ้มครองส่วนได้เสียของสังคมให้พ้นจากการประทุษร้ายต่างๆ

กฎหมายอาญาจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

ทฤษฎีกฎหมายอาญาหมายถงึกลุม่แนวความคดิหรอืหลกัการที่ถอืวา่เปน็พืน้ฐานของกฎหมายอาญา

1.2ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญากฎหมายอาญามีความมุ่งหมายในอันที่จะคุ้มครองประโยชน์

ของส่วนรวมให้พ้นจากการประทุษร้ายโดยอาศัยการลงโทษเป็นมาตรการสำคัญรัฐมีเหตุผลและความชอบ

ธรรมในการใช้อำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดโดยประกอบกับเหตุผลหลักๆ3ประการคือ

1)หลักความยุติธรรม

2)หลักป้องกันสังคม

3)หลักผสมระหว่างหลักความยุติธรรมและหลักป้องกันสังคม

โดยในการใช้อำนาจในการลงโทษของรัฐนั้นอยู่ในข้อจำกัดโดยบทบัญญัติของกฎหมายกล่าวคือ

1)โทษนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย

2)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นสูงไว้ รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดเกินกว่านั้น

ไม่ได้เว้นแต่จะมีเหตุเพิ่มโทษตามกฎหมาย

Page 18: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-18

3)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดต่ำกว่านั้นไม่ได้

เว้นแต่จะมีเหตุลดโทษตามกฎหมาย

4)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้และขั้นสูงไว้ รัฐมีอำนาจลงโทษได้ตามที่เห็น

สมควรในระหว่างโทษขั้นต่ำและขั้นสูงนั้น

2.ทฤษฎีกฎหมายอาญาทฤษฎีกฎหมายอาญาในทรรศนะกฎหมายระบบคอมมอนลอว์

นักทฤษฎีกฎหมายอาญาในระบบคอมมอนลอว์เห็นว่ากฎหมายอาญาแบ่งได้เป็น3ส่วนคือภาค

ความผิดหลักทั่วไปและหลักพื้นฐาน

ภาคความผิด เป็นส่วนที่บัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานต่างๆ หรือคำจำกัดความของความผิด

แตล่ะฐานและกำหนดโทษสำหรบัความผดินัน้ๆดว้ยเปน็สว่นที่มีความหมายแคบทีส่ดุแต่มีจำนวนบทบญัญตัิ

มากที่สุด

หลักทั่วไปเป็นส่วนที่มีความหมายกว้างกว่าภาคความผิดและนำไปใช้บังคับแก่ความผิดต่างๆเช่น

เรื่องวิกลจริตความมึนเมาเด็กกระทำความผิดความจำเป็นการป้องกันตัวพยายามกระทำความผิดตัวการ

ผู้ใช้ผู้สนับสนุนเป็นต้น

หลักพื้นฐาน ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของกฎหมายอาญาและเป็นส่วนที่มีความหมายกว้างที่สุด ซึ่ง

ต้องนำไปใช้บังคับแก่ความผิดอาญาต่างๆ เช่นเดียวกับหลักทั่วไปหลักพื้นฐานของกฎหมายอาญา ได้แก่

(1)ความยุติธรรม(2)เจตนา(3)การกระทำ(4)เจตนาและการกระทำต้องเกิดร่วมกัน(5)อันตรายต่อสังคม

(6)ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลและ(7)การลงโทษ

บทบัญญัติทั้ง 3 ส่วนนี้ย่อมสัมพันธ์กันกล่าวคือถ้าจะเข้าใจผิดฐานใดฐานหนึ่งได้ชัดแจ้งจะต้อง

นำหลักทั่วไปและหลักพื้นฐานไปพิจารณาประกอบด้วย เพราะลำพังแต่บทบัญญัติภาคความผิดนั้นมิได้ให้

ความหมายหรือคำจำกัดความที่สมบูรณ์ของความผิดแต่ละฐานจะต้องพิจารณาประกอบกับหลักทั่วไปและ

หลักพื้นฐานเสมอ

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในอภิรัตน์ เพ็ชรศิริ (2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานคร

สำนักพิมพ์วิญญูชน)

กิจกรรม1.1.3

ให้นักศึกษาอธิบายถึงวัตถุประสงค์กฎหมายอาญาและความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

Page 19: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-19

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.1.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.1กิจกรรม1.1.3)

Page 20: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-20

ตอนที่1.2

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของอาชญาวิทยา

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่1.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่1.2.1ความหมายและลักษณะของอาชญาวิทยา

เรื่องที่1.2.2กำเนิดอาชญาวิทยา

เรื่องที่1.2.3การศึกษาอาชญาวิทยา

แนวคิด1. อาชญาวิทยา(Criminology)หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาชญากรรมและ

การกระทำผิดสาเหตุแห่งอาชญากรรมและการกระทำผิดและวิธีการป้องกันและแก้ไข

อาชญากรรมและการกระทำผิด

2. อาชญาวิทยาเกิดขึ้นเมื่อซีซาร์เบ็คคาเรียนักปรัชญานักกฎหมายและนักอาชญาวิทยา

ได้ลุกขึ้นมาคัดค้านการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมของกษัตริย์ศาล และผู้นำศาสนา

โดยนำเสนอความคิดไว้ในหนังสือชื่อว่าOnCrimesandPunishmentsซึ่งเป็นตำรา

อาชญาวิทยาเล่มแรกของโลก โดยเบ็คคาเรียอ้างถึงทฤษฎีสัญญาประชาคม เรียกร้อง

ให้ทบทวนวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อการจัดระเบียบสังคม เบ็คคาเรียเรียกร้องให้

ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีเท่านั้นแต่ไม่ให้มีอำนาจในการออกกฎหมายและ

ไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจสำหรับเรื่องการลงโทษเบ็คคาเรียเห็นว่ามนุษย์

มีอิสระในการคิดและตัดสินใจที่จะทำอะไรทั้งนี้ตามทฤษฎีเจตจำนงอิสระ(FreeWill)

ดังนั้น เมื่อมนุษย์กระทำสิ่งใดลงไปเขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา และหาก

เขาประกอบอาชญากรรม เขาก็สมควรที่จะต้องได้รับโทษการลงโทษมีไว้เพื่อข่มขู่ยับยั้ง

ผู้กระทำผิดโดยมีหลักการสำคัญคือการลงโทษจะต้องมีความแน่นอนการลงโทษจะต้อง

ทำด้วยความรวดเร็วและการลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

Page 21: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-21

3. การศึกษาอาชญาวิทยาแบ่งออกเป็นอาชญาเชิงชีววิทยา(Criminalbiology)อาชญาเชิง

จิตวิทยา(Criminalpsychology)อาชญาเชิงสังคมวิทยา(Criminalsociology)อาชญาวิทยา

เชงิกฎหมาย(Legalcriminolog)อาชญาวทิยาแนวรนุแรง(Radicalcriminologyอาชญา

วิทยาแนววิพากษ์(Criticalcriminology)อาชญาวิทยาแนวหลังสมัยใหม่(Postmod-

erncriminology)อาชญาวิทยาแนวสตรีนิยม(Feministcriminology)อาชญาวิทยา

แนวสันติวิธี (Peacekeeping criminology) และอาชญาวิทยาแบบบูรณาการ

(IntegratedCriminology)

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่1.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความหมายและลักษณะของอาชญาวิทยาได้

2. อธิบายกำเนิดอาชญาวิทยาได้

3. อธิบายการศึกษาอาชญาวิทยาได้

Page 22: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-22

เรื่องที่1.2.1ความหมายและลักษณะของอาชญาวิทยา

สาระสังเขป

1.ความหมายของอาชญาวิทยาอาชญาวิทยาเป็นคำสมาสระหว่างคำว่าอาชญาและวิทยา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช2542ให้นิยามคำว่า“อาชญา”ไว้ดังนี้

อาชญาน.อำนาจ;โทษ(มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย)เช่นพระราชอาชญา.คดีที่เกี่ยว

กับโทษหลวงเรียกว่าคดีอาชญาหรือความอาชญาคู่กับความแพ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับโทษหลวงเช่นความมรดก;

ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวงเรียกว่าศาลอาชญาคู่กับศาลแพ่งซึ่งชำระความแพ่ง

ส่วนคำว่าวิทยาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช2542ให้นิยามคำว่า“วิทยา”ไว้

ดังนี้

วิทยาน.ความรู้มักใช้ประกอบกับคำอื่นเช่นวิทยากรวิทยาคารจิตวิทยาสังคมวิทยา

เมื่อรวมนิยามทั้งสองคำดังกล่าว สรุปความได้ว่า “อาชญาวิทยา” หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับ

อาชญากรรมการกระทำผิดและการลงโทษ

หรืออีกนัยหนึ่งอาชญาวิทยาหมายถึงการศึกษาเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมการกระทำ

ผิดและการลงโทษ

คำว่า การลงโทษ ในที่นี้หมายถึง วิธีการที่สังคมดำเนินการกับผู้ที่กระทำผิดนั่นเอง ซึ่งสอดคล้อง

กับการอธิบายของศาสตราจารย์ซุทเทอร์แลนด์ที่ใช้คำว่า การดำเนินการของสังคมต่อผู้ละเมิดกฎหมาย

ศาสตราจารย์ซุทเทอร์แลนด์ (Sutherland) (อ้างในประเทืองธนิยะผล2548)อธิบายความหมายของวิชา

อาชญาวิทยาไว้ในหนังสือชื่อPrincileofCriminologว่า“อาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาถึงอาชญากรรมใน

ฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ของสังคมอันจะต้องศึกษาถึงแนวทางแห่งการบัญญัติกฎหมายความประพฤติที่

ละเมิดกฎหมายและการดำเนินการของสังคมต่อผู้ละเมิดกฎหมาย”

นักวิชาการด้านอาชญาวิทยาคนสำคัญ คือ Sutherland andCressey, 1970 (อ้างใน จุฑารัตน์

เอื้ออำนวย2551)อธิบายว่า“อาชญาวิทยา”ในมิติของศาสตร์เชิงเดี่ยว“เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับอาชญากรรม

อาชญากรและพฤติกรรมการกระทำความผิดว่าด้วยเรื่อง

1)การกำหนดกฎหมาย

2)การฝ่าฝืนกฎหมาย

3)ปฏิกิริยาของสังคม”

Page 23: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-23

จากการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการด้านกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาท่านหนึ่งคือดร.เอกูต์

(อ้างในอภิรัตน์เพ็ชรศิริ2552)ท่านได้กล่าวถึงวิชากฎหมายอาญาและการลงทัณฑ์ไว้ว่า

“...กฎหมายอาญา ไม่ใช่แต่เพียงเป็นการรวมข้อบังคับของกฎหมาย กฎหมายอาชญาประกอบไป

ด้วยการศึกษาวิธีอันดีซึ่งหมู่ประชาชนใช้เพื่อป้องกันต่อการกระทำผิด

เพราะฉะนั้น การสอนกฎหมายอาชญาไม่เฉพาะแต่ให้คำอธิบายในตัวบทเอาประมวลกฎหมาย

หรือกฎหมายพิเศษที่บัญญัติความผิดต่างๆยังต้องศึกษาเรื่องนี้ต่อไป เหตุใดจึงมีการกระทำผิด เหตุใดการ

กระทำผิดจึงมีจำนวนมากขึ้นในพฤติกรรมบางอย่าง(การสงครามขาดอาหารไม่มีงานทำโรคภัยการละทิ้ง

เด็กฯลฯจะบำบัดเหตุเหล่านี้ได้โดยวิธีใด (สร้างโรงพยาบาลที่อาศัย โรงรับเลี้ยงเด็กฯลฯ)จะต้องจัดการ

เรือนจำอย่างไรนักโทษจะต้องได้รับความเลี้ยงดูอย่างไรฯลฯ

ในประเทศที่ได้มีการศึกษากฎหมายอาชญาได้ครบถ้วนที่สุดในโลก คือประเทศเบลเยี่ยมอิตาลี

ฝรั่งเศส เขาใช้คำสองคำต่างกัน กล่าวคือ การศึกษาตัวบทเรียกว่ากฎหมายอาชญา และการศึกษาวิธีที่

ประชาชนใช้ป้องกันแก่ความผิดเหล่านี้เรียกว่าวิทยาศาสตร์ในการลงโทษ...”

จากคำอธิบายของดร.เอกูต์ดังกล่าวดร.อภิรัตน์เพ็ชรศิริได้ให้ความเห็นว่าวิทยาศาสตร์ในการ

ลงโทษนี้เองคือวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา

หากเราสรุปความจากคำอธิบายของ ดร.เอกูต์ ดังกล่าวนี้ เราสามารถสรุปความหมายของวิชา

“วิทยาศาสตร์ในการลงโทษ” หรือ “อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา” ได้ว่า เป็นการศึกษาถึงวิธีการที่ใช้เพื่อ

ป้องกันต่อการกระทำผิด รวมทั้งการศึกษาถึงสาเหตุของการกระทำผิดสาเหตุที่การกระทำผิดบางประเภท

มีจำนวนมากขึ้นและการศึกษาวิธีการแก้ไขเหตุแห่งการกระทำผิดดังกล่าวตลอดจนศึกษาวิธีการจัดการใน

การลงโทษของเรือนจำ

WalterC.Reckless(อ้างในประธานวัฒนวาณิชย์2546)อธิบายว่า“อาชญาวิทยาเป็นการศึกษา

ทางด้านพฤติกรรมต่างๆ อันฝ่าฝืนต่อกฎหมายอาญา โดยมีความมุ่งหมายว่า การเข้าใจพฤติกรรมอาจจะ

นำไปสู่การควบคุมอาชญากรรม”

จากแนวคิดเกี่ยวกับอาชญาวิทยาดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่าอาชญาวิทยามีแนวคิดที่

สำคัญร่วมกันคือ

อาชญาวิทยาเป็นการศึกษาถึงอาชญากรรมและการกระทำผิด

อาชญาวิทยาเป็นการศึกษาถึงสาเหตุแห่งอาชญากรรมและการกระทำผิด

อาชญาวิทยาเป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ไขอาชญากรรมและการกระทำผิด

สรุปได้ว่าอาชญาวิทยา(Criminology)หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาชญากรรมและ

การกระทำผิด สาเหตุแห่งอาชญากรรมและการกระทำผิด และวิธีการป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมและ

การกระทำผิด

Page 24: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-24

2.ลักษณะของอาชญาวิทยาลักษณะโดยทั่วไปของอาชญาวิทยา

การศึกษาวิชาอาชญาวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระทำหรือพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งการกระทำ

หรือพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นพฤติกรรมรายบุคคลเช่นการลักทรัพย์การฆาตกรรมการ

โพสต์ข้อความผิดกฎหมายในเว็บไซต์หรือพฤติกรรมรายกลุ่มเช่นกลุ่มเด็กแว๊นกลุ่มแข่งรถซิ่งหรือฝ่าฝืน

ต่อกฎระเบียบของสังคม โดยมีความมุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจและอธิบายสาเหตุแห่งการเกิดพฤติกรรม

นั้น เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการแก้ไขบำบัดผู้กระทำพฤติกรรมนั้น รวมทั้งการหาวิธีการป้องกันมิให้เกิดการ

กระทำนั้นขึ้นอีก

ลักษณะการศึกษาอาชญาวิทยาตามระดับพฤติกรรม

วิลเล็มนาเก็ล(WillemNagel)(อ้างในประธานวัฒนวาณิชย์2546)อธิบายว่า“วิชาอาชญาวิทยา

ประกอบด้วยการศึกษาพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1)พฤติกรรมปกติ

2)พฤติกรรมเบี่ยงเบนแต่ไม่รบกวนความสงบสุข

3)พฤติกรรมผิดปกติแต่ไม่เกี่ยวข้องหรือขัดแย้งกับกฎหมาย

4)พฤติกรรมผิดปกติและเกี่ยวข้องกับกฎหมายแต่ไม่เป็นอาชญากรรม

5)อาชญากรรม

ลักษณะเฉพาะของวิชาอาชญาวิทยา

ลักษณะแรก วิชาอาชญาวิทยา มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary science)

อาชญากรรมมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านต่างๆเช่นชีววิทยาจิตวิทยาสังคมวิทยามานุษยวิทยาวิทยาศาสตร์

รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ การอธิบายสาเหตุแห่งอาชญากรรมต้องอาศัย

ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ หลายๆ ศาสตร์ร่วมกันอธิบาย ไม่สามารถใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งอธิบายได้

ครบถ้วนในตัวเองเราจึงกล่าวว่าอาชญาวิทยาเป็นสหวิทยาการ

ลักษณะที่สองวิชาอาชญาวิทยาเป็นวิชาที่สามารถศึกษาได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific

methodofstudy)เราสามารถศกึษาพฤตกิรรมการกระทำผดิของบคุคลได้โดยการใช้วธิีการทางวทิยาศาสตร์

ในการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างข้อสรุป ทำให้ความรู้ที่ได้มีความ

เชื่อถือได้ตัวอย่างเช่นการศึกษาพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของฆาตกรต่อเนื่อง

ลักษณะที่สาม วิชาอาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ไม่มีขอบเขตแน่ชัด เนื่องจากวิชาอาชญาวิทยาสามารถ

ศึกษาได้จากมุมมองจากศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง แล้วอาจนำศาสตร์อื่นๆ มาร่วมอธิบาย โดยไม่มีข้อจำกัดว่า

จะใช้ศาสตร์ใดก่อนหลัง ศาสตร์ใดเป็นหลักศาสตร์ใดเป็นรอง ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้ศาสตร์กี่ศาสตร์มา

อธิบาย ข้อสำคัญอยู่ที่การค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายให้ได้ว่า อาชญากรรมและการกระทำผิดนั้นมีลักษณะ

เป็นอย่างไร สาเหตุของอาชญากรรมและการกระทำผิดนั้นคืออะไร วิธีการแก้ไขอาชญากรรมและการ

กระทำผิดนั้นควรทำอย่างไร

Page 25: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-25

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดใน

(1)จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2551) สังคมวิทยาอาชญากรรมกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2)ชาย เสวิกุล (2517) อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

(3)อภิรัตน์เพ็ชรศิริ(2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

(4)EncyclopediaBritannicaCesare_Beccaria.

(5)WalterCReckless.(1967).theCrimeProblem,4thed.,NewYork:Meredith.

(6)Carrabine,Eamonn.,Cox,Pam.,Lee,Maggy,Plummer,Ken., South,Nigel. (2009).

Criminology:ASociologicalIntroduction.NewYork:Routledge.

(7)Lilly,RobertJ.Cullen,FrancisT.andBall,RichardA.(2007).CriminologyTheory:

ContextandConsequences.ThousandOaks:SagePublications.

(8)Morrison,Wayne.(2006).Criminology,Civilisation&TheNewWordOrder.Oxon:

RoutledgeCavendish.

(9)Tibbetts, Stephen G. and Hemmens, Craig. (2010). Criminological Theory.

LosAngeles:SagePublications,Inc.

(10)WillemH.Nagel. (1968).“OnCriminologist.” inCrimeandCulture,ed.,Marwin

E.Wolfgang.NewYork:JohnWileyandSons.

กิจกรรม1.2.1

ให้นักศึกษาอธิบายถึงความหมายของอาชญาวิทยา

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.2กิจกรรม1.2.1)

Page 26: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-26

เรื่องที่1.2.2กำเนิดอาชญาวิทยา

สาระสังเขปอาชญาวทิยา(Criminology)เกดิขึน้ในศตวรรษที่18โดยนกัปรชัญาชือ่“ซีซาร์เบค็คาเรยี”(Cesare

Beccaria)ชาวอิตาเลียนซึ่งถือว่าเป็นบุคคลแรกของโลกที่ให้กำเนิดวิชาอาชญาวิทยา

สมัยตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่17จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่18เป็นยุคที่กษัตริย์มีอำนาจมากการ

ปกครองบ้านเมืองมีความเข้มงวดมีการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดรุนแรงในการลงโทษผู้กระทำผิดช่วงเวลานั้น

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกมีอำนาจและมีอิทธิพลมากและแผ่อำนาจครอบงำเข้ามาในระบบการเมือง

การปกครอง แม้แต่ในกระบวนการยุติธรรมศาสนาคริสต์ก็แผ่อำนาจเข้ามาแทรกแซงผู้นำศาสนาใช้อำนาจ

โดยอ้างว่าเป็นการใช้อำนาจในนามของพระเจ้าการกระทำของผู้นำศาสนาเป็นการกระทำในนามของพระเจ้า

เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงถือว่าถูกต้องทั้งสิ้นผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งสอนของศาสนาเท่ากับไม่เชื่อฟังพระเจ้า

ลบหลู่พระเจ้าจะต้องถูกนำมาพิพากษาลงโทษโดยถือว่าเป็นคนนอกรีตมีความเชื่อในสิ่งที่ชั่วร้ายเป็นพวก

นับถือแม่มดจะต้องถูกลงโทษอย่างเด็ดขาดและรุนแรงนั่นคือการเผาทั้งเป็นผู้นำศาสนาจะอ้างอำนาจของ

พระเจ้าแล้วให้ผู้พิพากษาลงโทษผู้ฝ่าฝืนศาสนาอย่างรุนแรง

การใช้อำนาจพิจารณาพิพากษาในสมัยนั้นไม่มีความชัดเจนแน่นอนไม่มีใครรู้ว่ากฎหมายเขียนไว้ว่า

อย่างไรทำอะไรจึงผิดกฎหมายและบทลงโทษเป็นอย่างไรทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับกษัตริย์ผู้พิพากษาและ

ผู้นำศาสนามีการใช้วิธีการสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความผิดด้วยการทรมานจนกว่าจะรับสารภาพและถึงแม้ว่า

จะรับสารภาพส่วนใหญ่ก็ต้องถูกประหารชีวิตอยู่ดีสมัยนั้นมีผู้ถูกลงโทษประหารชีวิตไปไม่น้อยกว่าสองหมื่น

คนประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพไม่มีอำนาจต่อรองใดๆเลย

ซีซาร์เบ็คคาเรียจบการศึกษานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งพาร์เวียเขาได้รับรู้เหตุการณ์เกี่ยวกับ

การปกครอง และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ไม่มีความเป็นธรรม เบ็คคาเรียได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง

ชื่อว่า “OnCrimes and Punishments” ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นตำราอาชญาวิทยาเล่มแรกของโลก

มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการคัดค้านการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของกษัตริย์ศาลและผู้นำศาสนาเบ็คคาเรีย

คัดค้านการใช้อำนาจรัฐโดยอ้างถึงทฤษฎีสัญญาประชาคมเบ็คคาเรียเรียกร้องให้ทบทวนวัตถุประสงค์ของ

การลงโทษเพื่อการจัดระเบียบสังคมเบ็คคาเรียการคัดค้านการลงโทษที่ไม่เป็นธรรมและคัดค้านการลงโทษ

ประหารชีวิต

เบค็คาเรยีเรยีกรอ้งให้มีการเปลีย่นอำนาจรฐัโดยแยกตวัออกมาจากระบบอำนาจตามขนบธรรมเนยีม

เดิมที่อำนาจเป็นของเจ้าขุนมูลนายและฝ่ายศาสนาโดยให้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของสภานิติบัญญัติซึ่งเป็น

ของตัวแทนประชาชน และอำนาจในการออกกฎหมายเป็นของสภานิติบัญญัติ และเป็นการออกกฎหมาย

อย่างมีเหตุผลรองรับ

Page 27: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-27

เบ็คคาเรียเรียกร้องให้ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่ไม่ให้มีอำนาจในการออก

กฎหมายและไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจ

สำหรับเรื่องการลงโทษเบ็คคาเรียเห็นว่ามนุษย์มีอิสระในการคิดและตัดสินใจที่จะทำอะไรทั้งนี้เป็น

แนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีเจตจำนงอิสระ(FreeWill)ดังนั้นเมื่อมนุษย์กระทำสิ่งใดลงไปเขาต้อง

รับผิดชอบต่อการกระทำของเขาและหากเขาประกอบอาชญากรรมเขาก็สมควรที่จะต้องได้รับโทษ

การลงโทษมีไว้เพื่อข่มขู่ยับยั้งผู้กระทำผิด เบ็คคาเรียเห็นว่า การลงโทษจะต้องมีความแน่นอน

การลงโทษจะต้องทำด้วยความรวดเร็วและการลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

ความคิดของเบ็คคาเรีย ได้รับการตอบสนองจากนักปราชญ์คนสำคัญของโลกอย่างเช่น โวลแตร์

โทมัสเจฟเฟอร์สันข้อเรียกร้องของเบ็คคาเรียสร้างผลกระทบต่อการเมืองการปกครองสมัยนั้นและนำไป

สู่การปฏิรูปกฎหมายและและกระบวนการยุติธรรมของประเทศต่างๆในยุโรป

ความคดิของเบค็คาเรยีกลายเปน็ทีม่าของสำนกัอาชญาวทิยาแหง่แรกของโลกคอืสำนกัอาชญาวทิยา

คลาสสิค(ClassicalSchoolinCriminology)

เบ็คคาเรียแสดงทัศนะที่สำคัญยิ่งต่อการเมืองการปกครอง กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม

ไว้ว่า “ทุกคนควรเท่ากันในทัศนะของกฎหมาย” และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เบ็คคาเรียได้กล่าวถึงหัวใจ

สำคัญของกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาไว้ว่า “ไม่มีอาชญากรรมเมื่อไม่มีกฎหมาย” (nullumcriemen

siglego)

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยรายละเอียดใน

(1)จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2551) สังคมวิทยาอาชญากรรมกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2)ชาย เสวิกุล (2517) อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

(3)อภิรัตน์เพ็ชรศิริ(2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

(4)EncyclopediaBritannicaCesare_Beccaria.

(5)WalterCReckless.(1967).TheCrimeProblem,4thed.,NewYork:Meredith.

(6)Carrabine,Eamonn.,Cox,Pam.,Lee,Maggy,Plummer,Ken., South,Nigel. (2009).

Criminology:ASociologicalIntroduction.NewYork:Routledge.

(7)Lilly,RobertJ.Cullen,FrancisT.andBall,RichardA.(2007).CriminologyTheory:

ContextandConsequences.ThousandOaks:SagePublications.

(8)Morrison,Wayne.(2006).Criminology,Civilisation&TheNewWordOrder.Oxon:

RoutledgeCavendish.

Page 28: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-28

(9)Tibbetts, Stephen G. and Hemmens, Craig. (2010). Criminological Theory.

LosAngeles:SagePublications,Inc.

(10)WillemH.Nagel. (1968) “OnCriminologist,” inCrime andCulture, ed.,Marwin

E.Wolfgang.NewYork:JohnWileyandSons.)

กิจกรรม1.2.2

ให้นักศึกษาอธิบายถึงแนวคิดของซีซาร์ เบ็คคาเรีย เกี่ยวกับอำนาจในการออกกฎหมายการ

พิจารณาคดีการลงโทษและทัศนะต่อกระบวนการยุติธรรม

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.2กิจกรรม1.2.2)

Page 29: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-29

เรื่องที่1.2.3การศึกษาอาชญาวิทยา

สาระสังเขปอาชญาวิทยามีความมุ่งหมายที่จะอธิบายลักษณะของอาชญากรรม สาเหตุแห่งอาชญากรรม และ

วิธีการแก้ไขอาชญากรรม อาชญาวิทยาจึงอาศัยศาสตร์หลายๆศาสตร์มาใช้ในการศึกษา ซึ่งอาจจำแนกได้

ดังต่อไปนี้

อาชญาเชิงชีววิทยา (Criminal biology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยอาศัยความรู้ทางด้าน

ชีววิทยามาใช้วิเคราะห์และอธิบายสาเหตุแห่งการกระทำผิดโดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างลักษณะ

ทางร่างกายของผู้กระทำผิดกับลักษณะการกระทำผิด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักโทษในเรือนจำ

จนนำไปสู่การเกิดทฤษฎีอาชญากรโดยกำเนิด

อาชญาเชิงจิตวิทยา(Criminalpsychology)เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยอาศัยความรู้ทางด้าน

จิตวิทยาเช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ฟรอยด์ทฤษฎีบุคลิกภาพของจุงแอดเลอร์และเพียร์เจต์มาใช้

วิเคราะห์และอธิบายสาเหตุแห่งการกระทำผิดโดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความบกพร่องทางบุคลิกภาพ

กับอาชญากรรมรวมทั้งการศึกษาแบบแผนของการเกิดอาชญากรรมพฤติกรรมของอาชญากรเช่นฆาตกร

โรคจิตฆาตกรต่อเนื่องดังตัวอย่างที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องSilenceoftheLambหรือภาพยนตร์เรื่อง

Seven

อาชญาเชิงสังคมวิทยา(Criminalsociology)เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยอาศัยความรู้ทางด้าน

สังคมศาสตร์อาทิโครงสร้างทางสังคมกระบวนการขัดเกลาทางสังคมทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ทฤษฎีความ

ขัดแย้งทฤษฎีการตีตราทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ทฤษฎีวัฒนธรรมย่อยมาใช้วิเคราะห์และอธิบาย

สาเหตุแห่งการกระทำผิดโดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมกับอาชญากรรม

อาชญาวิทยาเชิงกฎหมาย (Legal criminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยอาศัยความรู้ทาง

ด้านกฎหมาย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอาชญากรรม

การกระทำผิดกระบวนการยุติธรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมการวิเคราะห์ตัวบทกฎหมายปัญหา

กฎหมายช่องโหว่ของกฎหมายแนวทางการพัฒนากฎหมายและแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

อาชญาวิทยาแนวรุนแรง(Radicalcriminology) เป็นแนวการศึกษาของกลุ่มมาร์กซิสต์ โดยมอง

ว่าปัญหาอาชญากรรมเป็นผลผลิตมาจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างสังคมที่แบ่งออกเป็นชนชั้น ทำให้เกิด

ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นคือชนชั้นนายทุนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงานโดยชี้ให้เห็นว่า

ปัญหาอาชญากรรมเกิดจากระบบทุนนิยม เนื่องจากระบบทุนนิยมสร้างความแตกต่างระหว่างชนชั้น ชนชั้น

สูงจะมีเอกสิทธิ์ต่างๆมากกว่าชนชั้นล่าง ประกอบกับการเผยแพร่ของสื่อมวลชนที่ทำให้เห็นความแตกต่าง

ของคนในสังคมคนที่มีฐานะร่ำรวยล้วนมีความสุข ชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายหรูหราฟุ้งเฟ้อ ขณะที่

ชนชั้นล่างมีความเป็นอยู่ที่ขัดสนจึงทำเกิดความต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้มีความสุขเช่นเดียวกันโดยใช้

Page 30: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-30

วิธีการต่างๆที่อาจฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อให้ตนเองบรรลุถึงเป้าหมายในทัศนะของกลุ่มมาร์กซิสต์มองว่า“ผู้ที่

ได้รับผลประโยชน์จากผลผลิตส่วนเกินของสังคมคืออาชญากร” และ “อาชญากรรมคือผลสะท้อนของการ

ต่อสู้ทางชนชั้น”

อาชญาวิทยาแนววิพากษ์ (Critical criminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาที่ขยายผลมาจาก

แนวความคิดเรื่องความขัดแย้งของโครงสร้างสังคมของกลุ่มมาร์กซิสต์ แต่ไม่ได้มุ่งเน้นประเด็นเรื่องความ

ขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางสังคมอาชญาวิทยาแนววิพากษ์มองปัญหาว่ามีกระบวนการปลูกฝังความคิดความ

เชื่อและอุดมการณ์ผ่านทางกลไกต่างๆของสังคมเพื่อครอบงำความคิดของคนในสังคมรวมทั้งการใช้กลไก

ทางอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงสังคมอาชญาวิทยาแนววิพากษ์จึงพยายามที่จะวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความรู้

ความเข้าใจสภาพที่เป็นอยู่ สภาพแห่งการครอบงำทางความคิดการครอบงำจิตสำนึก และการครอบงำทาง

อุดมการณ์เพื่อที่จะหาทางปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากการครอบงำนั้นอาชญาวิทยาแนววิพากษ์เชื่อว่า

อาชญากรรมมีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมแบบทุนนิยมคนรวยมักไม่ได้รับการลงโทษหรือได้รับ

การลงโทษเบากว่าคนจนอาชญาวิทยาแนววิพากษ์จึงให้ความสำคัญต่อกระบวนการใหม่ๆที่เป็นทางเลือกใน

การแก้ปัญหามากกว่าการแก้ปัญหาตามกระแสหลัก

อาชญาวิทยาแนวหลังสมัยใหม่ (Postmoderncriminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาของกลุ่ม

นักคิดหลังสมัยใหม่(Postmodernism)อย่างเช่นJeanFrancoisLyotard,FredericJameson,Jean

BaudrillardและMichaelFoucaultที่ปฏิเสธวิธีการของสังคมสมัยใหม่ที่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์เคร่งครัด

ในรูปแบบระเบียบวิธีในการแสงหาความรู้ปฏิเสธโครงสร้างใหญ่แห่งการอธิบายปรากฏการณ์ตามที่ได้วาง

กรอบไว้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือกรอบแห่งมายาคติของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

อาชญาวิทยาแนวหลังสมัยใหม่สนใจว่า อาชญากรรมสามารถพัฒนาความรู้สึกจากสิ่งที่มนุษย์มี

สัมพันธภาพต่อกันอยู่ไปสู่การตัดขาดสัมพันธภาพและลดทอนความเป็นมนุษย์(dehumanized)ได้อย่างไร

ซึ่งการค้นพบนัยความหมายที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการดังกล่าวนี้จะช่วยส่งสัญญาณกระตุ้นให้เกิดการนำวิธี

การควบคุมทางสังคมแบบประนอมข้อพิพาทอย่างไม่เป็นทางการเช่นการควบคุมโดยกลุ่มชุมชนเพื่อนบ้าน

ฯลฯมาใช้แทนระบบกฎหมายและการใช้ประบวนการยุติธรรมหลัก(จุฑารัตน์เอื้ออำนวย2551)

อาชญาวิทยาแนวสตรีนิยม(Feministcriminology)เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยกลุ่มแนวคิดที่

เน้นความเท่าเทียมและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงและเพศชายโดยมีพื้นฐานแนวคิดว่าสังคมส่วน

ใหญ่เพศชายมีอำนาจเหนือกว่าเพศหญิงเพศชายเป็นผู้ออกกฎหมายกฎเกณฑ์ต่างๆจึงออกกฎหมายและ

กฎเกณฑ์ที่ทำให้เพศชายได้เปรียบแต่เพศหญิงเสียเปรียบตัวอย่างเช่นกฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนและให้

ความสนใจในประเด็นเรื่องเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นเพศหญิง

อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี (Peacekeeping criminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยกลุ่มนัก

อาชญาวิทยาชาวอเมริกันชื่อPepinkyandQuinnyที่สร้างอาชญาวิทยาแนวสันติวิธีขึ้นมาโดยการตั้งคำถาม

ว่า“สงครามอาชญากรรมทำให้สิ่งต่างๆเลวร้ายลงได้อย่างไร”ซึ่งเขาได้พบคำตอบว่า“...เหตุที่หนทางแก้

ปัญหาอาชญากรรมที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสำคัญต่อชุมชนรากเหง้าที่เกิดอาชญากรรมรวมทั้งไม่ได้ให้ความ

สำคัญต่อการสร้างรากฐานความสงบภายในจิตใจแก่ผู้คนในสังคมจึงทำให้อาชญากรรมที่เกิดขึ้น ไม่ได้รับ

Page 31: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-31

การป้องกันแก้ไขอย่างตรงประเด็น...” กลุ่มนักอาชญาวิทยาแนวสันติวิธี จึงได้เสนอทางเลือกแทนการมอง

ปัญหาอาชญากรรมแบบคู่สงครามและความขัดแย้ง(จุฑารัตน์เอื้ออำนวย2551)

Fuller(อ้างในจุฑารัตน์เอื้ออำนวย2548)อธิบายว่าแนวคิดสันติวิธีพยายามรวบรวมการปฏิบัติ

งานยุติธรรมและวิชาการด้านอาชญาวิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อนเน้ถึงวามเป็นธรรมทางสังคมการแก้ไขปัญหา

ความขัดแย้งการแก้ไขฟื้นฟูและความร่วมมือกันของสถาบันต่างๆว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาความหมาย

และความสันติสุขของชุมชน

อาชญาวิทยาแนวบูรณาการ (IntegratedCriminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาโดยการนำ

ทฤษฎีและโมเดลทางทฤษฎีเดิมที่มีอยู่และเป็นทฤษฎีที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอง ตั้งแต่สองทฤษฎีและ

สองโมเดลขึ้นไปมาประยุกต์ใช้ในการอธิบายปัญหาอาชญากรรมและการแก้ไข โดยนำทฤษฎีและโมเดล

ตั้งแต่สองโมเดลมาสร้างความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อนำไปสู่การอธิบายปัญหาอาชญากรรมและการแก้ไข

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดใน

(1)จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (2551) สังคมวิทยาอาชญากรรมกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(2)ชาย เสวิกุล (2517) อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์

(3)อภิรัตน์เพ็ชรศิริ(2552)ทฤษฎีอาญากรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์วิญญูชน

(4)EncyclopediaBritannicaCesare_Beccaria.

(5)WalterCReckless.(1967).TheCrimeProblem,4thed.,NewYork:Meredith.

(6)Carrabine,Eamonn.,Cox,Pam.,Lee,Maggy,Plummer,Ken., South,Nigel. (2009).

Criminology:ASociologicalIntroduction.NewYork:Routledge.

(7)Lilly,RobertJ.Cullen,FrancisT.andBall,RichardA.(2007).CriminologyTheory:

ContextandConsequences.ThousandOaks:SagePublications.

(8)Morrison,Wayne.(2006).Criminology,Civilisation&TheNewWordOrder.Oxon:

RoutledgeCavendish.

(9)Tibbetts, Stephen G. and Hemmens, Craig. (2010). Criminological Theory.

LosAngeles:SagePublications,Inc.

(10)WillemH.Nagel. (1968).“OnCriminologist.” inCrimeandCulture,ed.,Marwin

E.Wolfgang.NewYork:JohnWileyandSons.)

Page 32: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-32

กิจกรรม1.2.3

ให้นกัศกึษาอธบิายถงึแนวคดิของอาชญาวทิยาแนวหลงัสมยัใหม่(Postmoderncriminology)

บันทึกคำตอบกิจกรรม1.2.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่1ตอนที่1.2กิจกรรม1.2.3)

Page 33: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-33

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่1

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายอาญา

และอาชญาวิทยา

ตอนที่1.1ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายอาญา

แนวตอบกิจกรรม1.1.1

“ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น”อธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายโดยแบ่งเป็นยุคดังนี้

1)ยคุกฎหมายชาวบา้น(Volksrecht)กฎหมายในยคุนี้เปน็กฎเกณฑ์ความประพฤติที่ปรากฏ

ออกมาในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นประเพณีง่ายๆที่รู้กันโดยทั่วไปเพราะเป็นกฎเกณฑ์ที่ตกทอด

กันมาแต่โบราณที่เรียกว่า “Thegood old law” กฎเกณฑ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาของสามัญ

ชนหรือสามัญสำนึกที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Simple natural reason” เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

ที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน

2)ยุคหลักกฎหมายหรือยุคกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) เป็นยุคที่กฎหมาย

เจริญขึ้นต่อจากยุคแรก โดยมีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เป็นเหตุผลปรุงแต่งทางกฎหมาย

(Artificial Juristic reason) ที่ปรุงแต่งขึ้นจากหลักดั้งเดิมในยุคแรกทำให้เกิดหลักกฎหมายขึ้นจากการ

ชี้ขาดข้อพิพาทในคดีเป็นเรื่องๆติดต่อกัน วิชานิติศาสตร์จึงได้ก่อตัวค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น เป็นผลทำให้

เกิดองค์กรตุลาการและวิชาชีพนักกฎหมายขึ้นหลักกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงเรียกว่ากฎหมายของนักกฎหมาย

เพราะนักกฎหมายเป็นผู้มีวินิจฉัยปรุงแต่งขึ้นให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องแต่ละคดี

3)ยุคกฎหมายเทคนิค(Technical law)กฎหมายในยุคนี้เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขึ้น

เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะเจาะจงในบางเรื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากสังคมสลับซับซ้อน ข้อขัดแย้งในสังคมมีมากขึ้นและ

เป็นข้อขัดแย้งที่ต่างจากปัญหาในอดีต การจะรอให้ประเพณีค่อยๆพัฒนาตัวเองขึ้นมาย่อมไม่ทันกับ

เหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นเป็นพิเศษด้วยเหตุผล

ทางเทคนิค(Technicalreason)กฎหมายเทคนิคจึงมิได้เกิดจากศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีโดยตรง

แต่เป็นเหตุผลทางเทคนิคสำหรับเรื่องนั้นๆ

Page 34: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-34

แนวตอบกิจกรรม1.1.2

การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายแบบตำนานตามแนวทฤษฎีกฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง

(LegalPostivism)

คำว่า “Legal Positivism” เป็นคำที่แปลมาจากศัพท์ดังเดิมในภาษาเยอรมันที่เรียกว่า

Rechtspostitvismusหมายถึงความคิดที่ถือว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมือง(Positivelaw)เท่านั้น

ที่เป็นกฎหมายที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าเฉพาะกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้นที่ควรจะเป็นวัตถุ (object) ที่

ศึกษาส่วนศีลธรรมความยุติธรรมหรือที่เรียกว่ากฎหมายธรรมชาตินั้นมิใช่กฎหมายจึงอยู่นอกขอบข่าย

การศึกษาของนักนิติศาสตร์โดยสิ้นเชิงความคิดแบบLegal Positivism ได้มีการสอนในประเทศอังกฤษ

โดยนักปราชญ์คนสำคัญทางวิชาการนิติศาสตร์ของอังกฤษท่านหนึ่งชื่อ JohnAustin (ค.ศ. 1790-1859)

คำสอนของJohnAustinเป็นที่ยอมรับอย่างมากในวงการกฎหมายของอังกฤษเมื่อนักเรียนไทยไปศึกษา

กฎหมายจึงได้รับแนวความคิดนี้มาสอนต่อในโรงเรียนกฎหมายด้วยดังที่มีการบรรยายความหมายของคำ

ว่ากฎหมายว่า“กฎหมายคือคำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลายเมื่อไม่ทำตาม

แล้วตามธรรมดาต้องโทษ”

เมื่อมีการตั้งคณะนิติศาสตร์และมีการสอนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายการให้ความหมายของคำว่า

“กฎหมาย”จึงได้รับการสอนต่อๆมาต่อมาอิทธิพลของกฎหมายอังกฤษได้ค่อยๆลดความสำคัญลงไปเมื่อ

ประเทศไทยตัดสินใจจะจัดทำระบบกฎหมายแบบภาคพื้นยุโรปได้จ้างนักกฎหมายชาวญี่ปุ่นและฝรั่งเศสมา

เป็นที่ปรึกษาช่วยงานโรลังยัคมินส์ซึ่งเป็นชาวเบลเยี่ยมและทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินอยู่ในเวลานั้น

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจจัดทำประมวลกฎหมายตามแบบอย่างของประเทศซีวิลลอว์(CivilLaw)

แนวตอบกิจกรรม1.1.3

วัตถุประสงค์กฎหมายอาญา คือ คุ้มครองส่วนได้เสียของสังคมให้พ้นจากการประทุษร้ายต่างๆ

กฎหมายอาญาจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม

ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

กฎหมายอาญามีความมุ่งหมายในอันที่จะคุ้มครองประโยชน์ของส่วนรวมให้พ้นจากการประทุษร้าย

โดยอาศัยการลงโทษเป็นมาตรการสำคัญ รัฐมีเหตุผลและความชอบธรรมในการใช้อำนาจลงโทษผู้กระทำ

ความผิดโดยประกอบกับเหตุผลหลักๆ3ประการคือ

1)หลักความยุติธรรม

2)หลักป้องกันสังคม

3)หลักผสมระหว่างหลักความยุติธรรมและหลักป้องกันสังคม

โดยในการใช้อำนาจในการลงโทษของรัฐนั้นอำนาจในการลงโทษของรัฐนั้นอยู่ในข้อจำกัดโดย

บทบัญญัติของกฎหมายกล่าวคือ

Page 35: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-35

1)โทษนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย

2)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นสูงไว้ รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดเกินกว่านั้น

ไม่ได้เว้นแต่จะมีเหตุเพิ่มโทษตามกฎหมาย

3)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดต่ำกว่านั้นไม่ได้

เว้นแต่จะมีเหตุลดโทษตามกฎหมาย

4)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้และขั้นสูงไว้ รัฐมีอำนาจลงโทษได้ตามที่เห็น

สมควรในระหว่างโทษขั้นต่ำและขั้นสูงนั้น

ตอนที่1.2ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของอาชญาวิทยา

แนวตอบกิจกรรม1.2.1

ความหมายของอาชญาวิทยา “อาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาถึงอาชญากรรมในฐานะที่เป็นปรากฏ-

การณ์ของสังคม อันจะต้องศึกษาถึงแนวทางแห่งการบัญญัติกฎหมายความประพฤติที่ละเมิดกฎหมาย

และการดำเนินการของสังคมต่อผู้ละเมิดกฎหมาย”

แนวตอบกิจกรรม1.2.2

ซีซาร์เบ็คคาเรียแสดงทัศนะของตนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า“OnCrimesandPunishments”

เบ็คคาเรียคัดค้านการใช้อำนาจรัฐ โดยอ้างถึงทฤษฎีสัญญาประชาคม เบ็คคาเรียเรียกร้องให้มีการเปลี่ยน

อำนาจรัฐโดยแยกตัวออกมาจากระบบอำนาจตามขนบธรรมเนียมเดิมที่อำนาจเป็นของเจ้าขุนมูลนายและ

ฝ่ายศาสนาโดยให้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นของตัวแทนประชาชนและอำนาจในการ

ออกกฎหมายเป็นของสภานิติบัญญัติและเป็นการออกกฎหมายอย่างมีเหตุผลรองรับ

เบ็คคาเรียเรียกร้องให้ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่ไม่ให้มีอำนาจในการออก

กฎหมายและไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจ

สำหรับเรื่องการลงโทษ เบ็คคาเรียเห็นว่า มนุษย์มีอิสระในการคิดและตัดสินใจที่จะทำอะไรซึ่ง

เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีเจตจำนงอิสระ (FreeWill) ดังนั้น เมื่อมนุษย์กระทำสิ่งใดลงไป

เขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา และหากเขาประกอบอาชญากรรม เขาก็สมควรที่จะต้องได้รับโทษ

การลงโทษมีไว้เพื่อข่มขู่ยับยั้งผู้กระทำผิด เบ็คคาเรียเห็นว่า การลงโทษจะต้องมีความแน่นอนการลงโทษ

จะต้องทำด้วยความรวดเร็วและการลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

เบค็คาเรยีแสดงทศันะที่สำคญัยิง่ตอ่การเมอืงการปกครองกฎหมายและกระบวนการยตุธิรรมไว้วา่

“ทุกคนควรเท่ากันในทัศนะของกฎหมาย”และที่สำคัญอีกประการหนึ่งเบ็คคาเรียได้กล่าวถึงหัวใจสำคัญของ

กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาไว้ว่า“ไม่มีอาชญากรรมเมื่อไม่มีกฎหมาย”(nullumcriemensiglego)

Page 36: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-36

แนวตอบกิจกรรม1.2.3

อาชญาวิทยาแนวหลังสมัยใหม่ (Postmoderncriminology) เป็นการศึกษาอาชญาวิทยาของกลุ่ม

นักคิดหลังสมัยใหม่(Postmodernism)อย่างเช่นJeanFrancoisLyotard,FredericJameson,Jean

BaudrillardและMichaelFoucaultที่ปฏิเสธวิธีการของสังคมสมัยใหม่ที่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์เคร่งครัด

ในรูปแบบระเบียบวิธีในการแสงหาความรู้ปฏิเสธโครงสร้างใหญ่แห่งการอธิบายปรากฏการณ์ตามที่ได้วาง

กรอบไว้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือกรอบแห่งมายาคติของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

อาชญาวิทยาแนวหลังสมัยใหม่สนใจว่า อาชญากรรมสามารถพัฒนาความรู้สึกจากสิ่งที่มนุษย์มี

สัมพันธภาพต่อกันอยู่ไปสู่การตัดขาดสัมพันธภาพและลดทอนความเป็นมนุษย์(dehumanized)ได้อย่างไร

ซึ่งการค้นพบนัยความหมายที่อยู่เบื้องหลังพัฒนาการดังกล่าวนี้ จะช่วยส่งสัญญาณกระตุ้นให้เกิดการนำ

วิธีการควบคุมทางสังคมแบบประนอมข้อพิพาทอย่างไม่เป็นทางการเช่นการควบคุมโดยกลุ่มชุมชนเพื่อน

บ้านฯลฯมาใช้แทนระบบกฎหมายและการใช้ประบวนการยุติธรรมหลัก

Page 37: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-37

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ประวัติ ความเป็นมา

และวิวัฒนาการของกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายทฤษฎีกฎหมายสามชั้น

2.จงอธิบายความมุ่งหมายของกฎหมายอาญา

3.ลักษณะเฉพาะของวิชาอาชญาวิทยา

4. จงอธิบายแนวคิดของซีซาร์เบ็คคาร์เรียในส่วนที่เกี่ยวกับกำเนิดอาชญาวิทยา

Page 38: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-38

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่1

ก่อนเรียนและหลังเรียน1. ทฤษฎีกฎหมายสามชั้นอธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายโดยแบ่งเป็นยุคดังนี้

1)ยคุกฎหมายชาวบา้น(Volksrecht)กฎหมายในยคุนี้เปน็กฎเกณฑ์ความประพฤติที่ปรากฏ

ออกมาในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นประเพณีง่ายๆที่รู้กันโดยทั่วไปเพราะเป็นกฎเกณฑ์ที่ตกทอด

กันมาแต่โบราณที่เรียกว่า “Thegood old law” กฎเกณฑ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจากเหตุผลธรรมดาของสามัญ

ชนหรือสามัญสำนึกที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า “Simple natural reason” เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

ที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานยุคนี้กฎหมายกับศีลธรรมยังไม่ได้แยกจากกันโดย

ชัดแจ้ง การกระทำผิดกฎหมายในยุคโบราณย่อมเป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมด้วยกฎหมายในยุคนี้จึงเป็นเรื่อง

ที่ประชาชนสามารถรู้ได้ด้วยสามัญสำนึกของตนเองว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก

2)ยุคหลักกฎหมายหรือยุคกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) เป็นยุคที่กฎหมาย

เจริญขึ้นต่อจากยุคแรก โดยมีการใช้เหตุผลชั่งตรองเพื่อชี้ขาดข้อพิพาท เป็นเหตุผลปรุงแต่งทางกฎหมาย

(Artificial Juristic reason) ที่ปรุงแต่งขึ้นจากหลักดั้งเดิมในยุคแรกทำให้เกิดหลักกฎหมายขึ้นจากการ

ชี้ขาดข้อพิพาทในคดีเป็นเรื่องๆติดต่อกัน วิชานิติศาสตร์จึงได้ก่อตัวค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น เป็นผลทำให้

เกิดองค์กรตุลาการและวิชาชีพนักกฎหมายขึ้นหลักกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงเรียกว่ากฎหมายของนักกฎหมาย

เพราะนักกฎหมายเป็นผู้มีวินิจฉัยปรุงแต่งขึ้นให้เหมาะสมกับข้อเท็จจิงในแต่ละเรื่องแต่ละคดีหลักกฎหมาย

จึงเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาเล่าเรียนจึงจะรู้ได้ ไม่เหมือนกฎหมายประเพณีซึ่งเกิดจากเหตุผลธรรมดาสามัญที่ใช้

สามัญสำนึกค้นคิดก็สามารถจะรู้ได้

3)ยุคกฎหมายเทคนิค(Technicallaw)กฎหมายในยุคนี้เกิดจากการบัญญัติกฎหมายขึ้น

เพือ่แก้ปญัหาเฉพาะเจาะจงในบางเรือ่งทัง้นี้เนือ่งจากสงัคมสลบัซบัซอ้นขอ้ขดัแยง้ในสงัคมมีมากขึน้และเปน็

ข้อขัดแย้งที่ต่างจากปัญหาในอดีตการจะรอให้ประเพณีค่อยๆพัฒนาตัวเองขึ้นมาย่อมไม่ทันกับเหตุการณ์

เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นเป็นพิเศษด้วยเหตุผลทางเทคนิค

(Technical reason) กฎหมายเทคนิคจึงมิได้เกิดจากศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีโดยตรง แต่เป็น

เหตุผลทางเทคนิคสำหรับเรื่องนั้นๆ

2. ความมุ่งหมายของกฎหมายอาญากฎหมายอาญามีความมุ่งหมายในอันที่จะคุ้มครองประโยชน์

ของส่วนรวมให้พ้นจากการประทุษร้ายโดยอาศัยการลงโทษเป็นมาตรการสำคัญรัฐมีเหตุผลและความชอบ

ธรรมในการใช้อำนาจลงโทษผู้กระทำความผิดโดยประกอบกับเหตุผลหลักๆ3ประการคือ

1)หลักความยุติธรรม

2)หลักป้องกันสังคม

3)หลักผสมระหว่างหลักความยุติธรรมและหลักป้องกันสังคม

Page 39: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-39

โดยในการใช้อำนาจในการลงโทษของรัฐนั้นอยู่ในข้อจำกัดโดยบทบัญญัติของกฎหมายกล่าวคือ

1)โทษนั้นจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย

2)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นสูงไว้ รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดเกินกว่านั้นไม่

ได้เว้นแต่จะมีเหตุเพิ่มโทษตามกฎหมาย

3)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้รัฐจะลงโทษผู้กระทำความผิดต่ำกว่านั้นไม่ได้

เว้นแต่จะมีเหตุลดโทษตามกฎหมาย

4)ในความผิดที่กฎหมายกำหนดโทษขั้นต่ำไว้และขั้นสูงไว้ รัฐมีอำนาจลงโทษได้ตามที่เห็น

สมควรในระหว่างโทษขั้นต่ำและขั้นสูงนั้น

3. ลักษณะเฉพาะของวิชาอาชญาวิทยา

ลักษณะแรก วิชาอาชญาวิทยา มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary science)

อาชญากรรมมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านต่างๆเช่นชีววิทยาจิตวิทยาสังคมวิทยามานุษยวิทยาวิทยาศาสตร์

รัฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์นิติศาสตร์ประวัติศาสตร์ฯลฯการอธิบายสาเหตุแห่งอาชญากรรมต้องอาศัยความรู้

จากศาสตร์ต่างๆ หลายๆศาสตร์ร่วมกันอธิบาย ไม่สามารถใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งอธิบายได้ครบถ้วน

ในตัวเองเราจึงกล่าวว่าอาชญาวิทยาเป็นสหวิทยาการ

ลักษณะที่สองวิชาอาชญาวิทยาเป็นวิชาที่สามารถศึกษาได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific

methodofstudy)เราสามารถศกึษาพฤตกิรรมการกระทำผดิของบคุคลได้โดยการใช้วธิีการทางวทิยาศาสตร์

ในการสังเกตการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างข้อสรุปทำให้ความรู้ที่ได้มีความเชื่อ

ถือได้ตัวอย่างเช่นการศึกษาพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของฆาตกรต่อเนื่อง

ลักษณะที่สาม วิชาอาชญาวิทยาเป็นวิชาที่ไม่มีขอบเขตแน่ชัด เนื่องจากวิชาอาชญาวิทยาสามารถ

ศึกษาได้จากมุมมองจากศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง แล้วอาจนำศาสตร์อื่นๆ มาร่วมอธิบาย โดยไม่มีข้อจำกัดว่า

จะใช้ศาสตร์ใดก่อนหลัง ศาสตร์ใดเป็นหลักศาสตร์ใดเป็นรอง ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้ศาสตร์กี่ศาสตร์มา

อธิบาย ข้อสำคัญอยู่ที่การค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายให้ได้ว่า อาชญากรรมและการกระทำผิดนั้นมีลักษณะ

เป็นอย่างไร สาเหตุของอาชญากรรมและการกระทำผิดนั้นคืออะไร วิธีการแก้ไขอาชญากรรมและการ

กระทำผิดนั้นควรทำอย่างไร

4. แนวคิดของเบ็คคาเรียในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญาวิทยา

เบ็คคาเรียคัดค้านการใช้อำนาจรัฐโดยอ้างถึงทฤษฎีสัญญาประชาคมเบ็คคาเรียเรียกร้องให้ทบทวน

วตัถปุระสงค์ของการลงโทษเพือ่การจดัระเบยีบสงัคมเบค็คาเรยีคดัคา้นการลงโทษที่ไม่เปน็ธรรมและคดัคา้น

การลงโทษประหารชีวิต เบ็คคาเรียเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนอำนาจรัฐ โดยแยกตัวออกมาจากระบบอำนาจ

ตามขนบธรรมเนียมเดิมที่อำนาจเป็นของเจ้าขุนมูลนายและฝ่ายศาสนาโดยให้เปลี่ยนมาเป็นอำนาจของสภา

นิติบัญญัติซึ่งเป็นของตัวแทนประชาชนและอำนาจในการออกกฎหมายเป็นของสภานิติบัญญัติและเป็นการ

ออกกฎหมายอย่างมีเหตุผลรองรับนอกจากนี้ เบ็คคาเรียยังเรียกร้องให้ศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณา

คดีเท่านั้นแต่ไม่ให้มีอำนาจในการออกกฎหมายและไม่สามารถกำหนดโทษได้ตามอำเภอใจ

Page 40: หน่วย ที่ ประวัติ ความ เป็น มาและ วิวัฒนาการ ของ กฎหมาย ...law.stou.ac.th/dynfiles/Ex.41716-1.pdf ·

1-40

สำหรับเรื่องการลงโทษเบ็คคาเรียเห็นว่ามนุษย์มีอิสระในการคิดและตัดสินใจที่จะทำอะไรซึ่งเป็น

แนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ“ทฤษฎีเจตจำนงอิสระ”(FreeWill)ดังนั้นเมื่อมนุษย์กระทำสิ่งใดลงไปเขา

ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาและหากเขาประกอบอาชญากรรมเขาก็สมควรที่จะต้องได้รับโทษการ

ลงโทษมีไว้เพื่อข่มขู่ยับยั้งผู้กระทำผิดเบ็คคาเรียเห็นว่าการลงโทษจะต้องมีความแน่นอนการลงโทษจะต้อง

ทำด้วยความรวดเร็วและการลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับอาชญากรรมเบ็คคาเรียแสดงทัศนะที่สำคัญยิ่งต่อ

การเมืองการปกครองกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไว้ว่า “ทุกคนควรเท่ากันในทัศนะของกฎหมาย”

และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เบ็คคาเรียได้กล่าวถึงหัวใจสำคัญของกฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาไว้ว่า

“ไม่มีอาชญากรรมเมื่อไม่มีกฎหมาย”(nullumcriemensiglego)