22
เอกสารคาสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วยที่ 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติมา กันตนามัลลกุล สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต. บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทรศัพท์ 025048046 – 48 แฟกซ์ 025033578

เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

เอกสารค าสอน

ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสตัว์ หน่วยท่ี 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาต ุและวัตถุที่เติมในอาหารสัตว ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตตมิา กันตนามัลลกุล

สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต. บางพดู อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทรศัพท์025048046 – 48 แฟกซ์ 025033578

Page 2: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

2

ค าน า

เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตสัตว์นี้ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารของสัตว์ หลักโภชนศาสตร์สัตว์ อาหารและความต้องการอาหารสัตว์ วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทต่างๆ โดยเนื้อหาในหน่วยที่ 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ มุ่งให้ความรู้ด้านความส าคัญ แหล่งที่มา ประเภท วิธีการเสริม และข้อควรพิจารณาในการเสริม วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักศึกษา เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจ

Page 3: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

3

สารบัญ ค าน า.............................................................................................................................................................. 2 สารบัญ .......................................................................................................................................................... 3 รายละเอียดชุดวิชา......................................................................................................................................... 4 แผนผังแนวคิดหน่วยที่ 7 ............................................................................................................................... 5 แผนการสอนประจ าหน่วย ............................................................................................................................. 6 แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 7 .................................................................................................... 8 ตอนที่ 7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ ........................................................................... 10 ตอนที่ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ .................................................................. 13 แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่ 7 ........................................................................................................................ 20 แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 7 .................................................................................................. 21 เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 7 ........................................................................................................ 23 บรรณานุกรม .............................................................................................................................................. 23

Page 4: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

4

รายละเอียดชุดวิชา

ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ (Feeds and Feeding)

ค าอธิบายชุดวิชา กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหาร อาหารและโภชนะชนิดต่างๆ หลักโภชนะชนิดต่างๆ

หลักโภชนาการ ความต้องการด้านโภชนาการของสัตว์เลี้ยง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความต้องการการใช้สารอาหารของร่างกาย ลักษณะทางโภชนาการของวัตถุดิบชนิดต่างๆ ที่น ามาใช้เป็นอาหารสัตว์ หลักการวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์เบื้องต้น การเตรียมวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลักการประกอบสูตรอาหาร และการผสมอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ 1. เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนะในอาหารสัตว์ 2. เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการด้านโภชนาการของสัตว์ 3. เพ่ือให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ 4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ 5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้อาหารสัตว์

รายชื่อหน่วยการสอน หน่วยที่ 1 แนวคิดทั่วไปเก่ียวกับอาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วยที่ 2 กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบย่อยอาหารของสัตว์ หน่วยที่ 3 หลักโภชนศาสตร์สตัว์ หน่วยที่ 4 อาหารและความต้องการด้านโภชนาการของสัตว์ หน่วยที่ 5 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทพลังงาน หน่วยที่ 6 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน หน่วยที่ 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ หน่วยที่ 8 พืชอาหารสัตว์ หน่วยที่ 9 คุณภาพอาหารสัตว์ หน่วยที่ 10 การประกอบสูตรอาหารสัตว์ หน่วยที่ 11 กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ หน่วยที่ 12 อาหารและการให้อาหารสุกร หน่วยที่ 13 อาหารและการให้อาหารสัตว์ปีก หน่วยที่ 14 อาหารและการให้อาหารสัตว์กระเพาะรวม หน่วยที่ 15 ธุรกิจอาหารสัตว์

Page 5: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

5

แผนผังแนวคิดหน่วยที่ 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามนิและแร่ธาตุ

7.1.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน

7.1.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแร่ธาต ุ

7.2.3 สารเพ่ิมกลิ่น สารเพิ่มความหวาน สารให้สี และสารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์

ประเภทวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ 7.2.4 วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์

ประเภทอ่ืนๆ

7.2.2 สารเสริมชีวนะอาหารเสริมชีวนะ สารเพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์

7.2.1 ความส าคัญและประเภทของวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์

Page 6: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

6

แผนการสอนประจ าหน่วย หน่วยที่ 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ 1. เค้าโครงเนื้อหา

ตอนที่ 7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ 7.1.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน 7.1.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแร่ธาตุ

ตอนที่ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ 7.2.1 ความส าคัญและประเภทชองวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ 7.2.2 สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ สารเพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์ 7.2.3 สารเพ่ิมกลิ่น สารเพิ่มความหวาน สารให้สี และสารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ 7.2.4 วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ

แนวคิด

1. วิตามินและแร่ธาตุเป็นโภชนะที่จ าเป็นต่อสัตว์ การเสริมวิตามินและแร่ธาตุในอาหารสัตว์มีความส าคัญต่อสัตว์ โดยแหล่งที่มา วิธีการเสริม และข้อควรพิจารณาในการเสริมวิตามินและแร่ธาตุในอาหารสัตว์แตกต่างตามชนิดของวิตามินและแร่ธาตุ

2. วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์เป็นสารที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนะและใช้ในปริมาณน้อย ซึ่งมีผลต่อตัวสัตว์และผู้ที่เก่ียวข้อง ประเภทของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ค่อนข้างหลากหลาย การเลือกใช้วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์แต่ละประเภทควรพิจารณาให้รอบคอบ

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาหน่วยที่ 7 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุได้ 2. อธิบายวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ได้

กิจกรรมระหว่างเรียน

1. ท าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 7 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 7.1-7.2 3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน 4. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์หรือวีซีดีประจ าชุดวิชา (ถ้ามี)

Page 7: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

7

5. ท าแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 7 6. ท ากิจกรรมประจ าชุดวิชา (ถ้ามี) 7. เข้ารับบริการการสอนเสริม (ถ้ามี)

สื่อการสอน

1. เอกสารการสอน 2. แบบฝึกปฏิบัติ 3. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์หรือวีซีดีประจ าชุดวิชา (ถ้ามี) 4. กิจกรรมประจ าชุดวิชา (ถ้ามี) 5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล 1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง 3. ประเมินผลจากกิจกรรมประจ าชุดวิชา (ถ้ามี) 4. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ าภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 7 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

Page 8: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

8

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 7 วัตถุประสงค์ เพ่ือประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ

และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์” ค าแนะน า ขอให้นักศึกษาอ่านค าถาม แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบข้อค าตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. วิตามินเอส าหรับสัตว์พบมากในวัตถุดิบตามธรรมชาติชนิดใด ก. หญ้าแห้ง ข. น้ านม ค. ข้าวโอ๊ตและข้าวสาลี ง. ยีสต์ จ. พืชใบเขียว

2. การเสริมวิตามินให้กับสัตว์โดยการละลายในน้ านิยมปฏิบัติในกรณีใด ก. แม่สกุรผลิตน้ านมส าหรับลูกสุกรได้น้อย ข. ลูกสุกรมีขนาดตัวเล็ก ค. ลูกโคกินอาหารได้น้อย ง. ลูกไก่อยู่ในสภาวะเครียด จ. วิตามินมีราคาแพง

3. วัตถุดิบใดให้แร่ธาตุแคลเซียมในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต ก. น้ านม ข. หินเกล็ด ค. ปลาป่น ง. เนื้อป่น จ. เลือดป่น

4. ข้อใดคือข้อดีของแร่ธาตุในรูปอินทรียสาร ก. ราคาถูก ข. สัตว์สามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุอินทรีย์ได้ดี ค. มีความคงตัวสูง ง. กระจายตัวได้ดีในอาหารสัตว์ จ. ทุกข้อเป็นข้อดีของแร่ธาตุในรูปอินทรียสาร

5. วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์หมายถึงวัตถุดิบในข้อใด ก. วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนะ แต่เติมในอาหารสัตว์หรือบางส่วนของอาหารสัตว์ในปริมาณน้อย เพ่ือวัตถุประสงค์ท่ีเฉพาะเจาะจง ข. วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนะ และเติมในอาหารสัตว์ในปริมาณมาก

Page 9: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

9

ค. วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่ให้คุณค่าทางโภชนะ และเติมในอาหารสัตว์ในปริมาณน้อย ง. วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดที่ให้คุณค่าทางโภชนะ และเติมในอาหารสัตว์ในปริมาณมาก จ. วัตถุหลายชนิดที่ให้คุณค่าทางโภชนะ และเติมในอาหารสัตว์ในปริมาณมากหรือน้อยก็ได้

6. เพราะเหตุใดจึงเสริมสารเพ่ิมความเป็นกรดให้กับลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ก. เพ่ิมสภาพความเป็นกรดในล าไส้ใหญ่ ข. เพ่ิมค่าความเป็นกรด-ด่างในล าไส้เล็ก ค. ลดปริมาณจุลินทรีย์ที่ให้โทษในทางเดินอาหาร ง. ลดปริมาณแอมโมเนียในมูลสัตว ์จ. หยุดการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาอาหาร

7. การเติมสารเพิ่มกลิ่นนิยมปฏิบัติในสัตว์ระยะใด ก. แม่สุกร ข. พ่อสุกร ค. สุกรสาว ง. ลูกโค จ. แม่ไก่ระยะให้ไข่

8. วัตถุดิบใดไม่ใช่แหล่งให้สารสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อการเพ่ิมสีไข่แดงในไข่ไก่ ก. ถั่วอัลฟัลฟา ข. ดอกดาวเรือง ค. กากเมล็ดฝ้าย ง. ข้าวโพด จ. ใบกระถิน

9. ข้อใดคือบทบาทหน้าที่ของสารจับสารพิษจากเชื้อรา ก. การดูดซับสารพิษให้เกาะติดกับพ้ืนผิวของสาร ข. การท าลายเชื้อราที่สร้างสารพิษ ค. การยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่สร้างสารพิษ ง. การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของเชื้อราที่สร้างสารพิษ จ. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารพิษจากเชื้อรา

10. การเติมสารปฏิชีวนะในอาหารสัตว์เพ่ือเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ควรค านึงในเรื่องใด ก. ปริมาณการใช้น้อย ข. ผลิตในประเทศ ค. ราคาถูก ง. มีระยะเวลางดใช้สารเร่งการเจริญเติบโต จ. มีความคงตัวต่อความร้อน

Page 10: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

10

ตอนที่ 7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป หัวเรื่อง 7.1.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน 7.1.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแร่ธาตุ แนวคิด

1. วิตามินมีความส าคัญต่อท างานของระบบต่างๆ ในร่างกายสัตว์ แหล่งที่มาของวิตามินพบทั้งจากวัตถุดิบตามธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ การเสริมวิตามินให้กับสัตว์สามารถกระท าได้หลายวิธี และมีข้อควรพิจารณาหลายประการ

2. แร่ธาตุมีความส าคัญต่อการเป็นส่วนประกอบของโครงร่างและเนื้อเยื่อสัตว์ เป็นส่วนประกอบของของเหลวในร่างกายสัตว์ และเป็นตัวเร่งการท างานของเอนไซม์ แหล่งที่มาของแร่ธาตุพบทั้งจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ แร่ธาตุอนินทรีย์ และแร่ธาตุอินทรีย์ การเสริมแร่ธาตุให้กับสัตว์สามารถกระท าได้หลายวิธี และมีข้อควรพิจารณาหลายประการ

วัตถุประสงค์

เมื่อศึกษาตอนที่ 7.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. ระบุแหล่งที่มา วิธีการเสริม และข้อควรพิจารณาในการเสริมวิตามินให้กับสัตว์ได้ 2. ระบุแหล่งที่มา วิธีการเสริม และข้อควรพิจารณาในการเสริมแร่ธาตุให้กับสัตว์ได้

Page 11: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

11

ตอนที่ 7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน

แหล่งที่มาของวิตามินส าหรับสัตว์มีทั้งที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ วัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิดมีวิตามินเป็นองค์ประกอบ ทั้งวัตถุดิบที่มาจากพืชและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมัก ส่วนวิตามินที่ได้จากการสังเคราะห์ใช้เป็นแหล่งเสริมวิตามินส าหรับสัตว์ วิธีการเสริมอาจเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การละลายวิตามินในน้ า และการผสมวิตามินในสูตรอาหาร ซึ่งในกรณีหลังมีข้อควรพิจารณาหลายประการ เช่น ระดับของการเสริมวิตามินในอาหารสัตว์ ความคงตัวของวิตามินในอาหารสัตว์ ความเป็นพิษของวิตามิน ระดับความเข้มข้นของวิตามินสังเคราะห์ คุณสมบัติของโคลีนคลอไรด์ คุณสมบัติของสื่อในพรีมิกซ์ และปฏิกิริยาระหว่าง วิตามินกับแร่ธาตุ วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแร่ธาตุ

แหล่งที่มาของแร่ธาตุส าหรับสัตว์มีทั้งที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ แร่ธาตุอินทรีย์ และแร่ธาตุอนินทรีย์ แหล่งที่มาของแร่ธาตุที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ เช่น หินฝุ่น เปลือกหอย หินเกล็ด กระดูกป่น โมโนแคลเซียม ฟอสเฟต ไดแคลเซียมฟอสเฟต ไตรแคลเซียมฟอสเฟต และเกลือแกง แร่ธาตุอนินทรีย์อยู่ในรูปสารประกอบทางเคมีที่เป็นอนินทรียสาร ส่วนแร่ธาตุอินทรีย์เกิดจากการจับระหว่างแร่ธาตุที่มีประจุบวกกับสารอินทรีย์ ซึ่งอาจเป็นกรดอะมิโนหรือส่วนหนึ่งของโปรตีนหรือโพลีแซคคาไรด์ ได้สารประกอบเชิงซ้อน

วิธีการเสริมแร่ธาตุให้กับสัตว์อาจผสมแร่ธาตุหลักลงในอาหารสัตว์พร้อมกับการผสมวัตถุดิบ การน าแร่ธาตุ ปลีกย่อยมาผสมกันก่อนและเจือจางด้วยสื่อในรูปของพรีมิกซ์ และการให้แร่ธาตุก้อน ซึ่งมีข้อควรพิจารณาหลายประการ เช่น ระดับแร่ธาตุในสูตรอาหาร การใช้ประโยชน์ได้ของแร่ธาตุ สัดส่วนของแร่ธาตุที่เกี่ยวเนื่องต่อกัน ปฏิกิริยาระหว่างแร่ธาตุ และการปลอมปน

-----------------------------------------------------------------

กิจกรรม 7.1.1 จงบอกแหล่งที่มาของวิตามินส าหรับสัตว์ บันทึกตอบกิจกรรม 7.1.1

Page 12: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

12

กิจกรรม 7.1.2 จงบอกแหล่งที่มาของแร่ธาตุส าหรับสัตว์

บันทึกตอบกิจกรรม 7.1.2

Page 13: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

13

ตอนที่ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง 7.2.1 ความส าคัญและประเภทชองวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ 7.2.2 สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ สารเพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์ 7.2.3 สารเพ่ิมกลิ่น สารเพิ่มความหวาน สารให้สี และสารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ 7.2.4 วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ

แนวคิด 1. วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ หมายถึง วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนะ แต่

เติมลงไปในอาหารสัตว์หรือบางส่วนของอาหารสัตว์ในปริมาณน้อย เพ่ือวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง ประเภทของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ค่อนข้างหลากหลาย แต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ของการใช้แตกต่างกันไป

2. สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ สารเพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์ เกี่ยวข้องกับการท างานของระบบการย่อยอาหารของสัตว์ โดยสารเสริมชีวนะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ อาหารเสริมชีวนะเป็นส่วนประกอบของอาหารที่จ าเป็นส าหรับจุลินทรีย์ สารเพิ่มความเป็นกรดช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างให้เหมาะสม และเอนไซม์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร

3. สารเพ่ิมกลิ่น สารเพิ่มรส สารให้สี และสารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ เป็นกลุ่มวัตถุที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร การใช้สารเพ่ิมกลิ่นและสารเพ่ิมรสเพ่ือเพ่ิมความน่ากินของอาหารสัตว์ การใช้สารให้สีเพ่ือเพ่ิมสีสันให้กับผลผลิต และการใช้สารถนอมคุณภาพอาหารสัตว์เพ่ือการเก็บรักษาคุณภาพอาหารสัตว์

4. วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ สารเร่งการเจริญเติบโต ยาป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีก และยาถ่ายพยาธิ สารเร่งการเจริญเติบโตโดยมากเป็นสารปฏิชีวนะที่เติมในระดับต่ า เพ่ือกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพ่ิมประสิทธิภาพการใช้อาหารของสัตว์ ยาป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีกมีผลต่อการป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีก และยาถ่ายพยาธิเพื่อก าจัดพยาธิที่อาศัยอยู่ในร่างกายสัตว์

วัตถุประสงค์ เมื่อศึกษาตอนที่ 7.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายความส าคัญและประเภทของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ได้ 2. อธิบายความส าคัญ ชนิด และข้อควรพิจารณาในการใช้สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ

สารเพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์ ได้ 3. อธิบายความส าคัญ ชนิด และข้อควรพิจารณาในการใช้สารเพ่ิมกลิ่น สารเพ่ิมรส และสารถนอม

คุณภาพอาหารสัตว์ ได้ 4. อธิบายความส าคัญ ชนิด และข้อควรพิจารณาในการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ยาป้องกันโรค

บิดในสัตว์ปีก และยาถ่ายพยาธิ ได้

Page 14: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

14

ตอนที่ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

ความส าคัญของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ หมายถึง วัตถุชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนะ แต่

เติมลงไปในอาหารสัตว์หรือบางส่วนของอาหารสัตว์ในปริมาณน้อย (ส่วนในล้านส่วน) เพ่ือวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง

ความนิยมในการใช้วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์มีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากการใช้สารปฏิชีวนะท าให้เกิดปัญหาการตกค้างของสารในผลผลิตจากสัตว์ ก่อให้เกิดการดื้อยารักษาโรคชนิดต่างๆ ในคน และเพ่ือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารปฏิชีวนะ ประเทศผู้น าเข้าและประเทศผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์ได้วางมาตรการยกเลิกการใช้สารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อสัตว์และคน ขณะที่แนวคิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ไม่มีผลขา้งเคียงต่อสัตว์ และปลอดภัยต่อคนมีมากข้ึน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลายประเภทในกลุ่มวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ถูกน ามาใช้ทดแทนการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตที่เป็นสารปฏิชีวนะ เช่น สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ เอนไซม์ เป็นต้น เพ่ือแก้ไขปัญหาการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลผลิตจากสัตว์ และปัญหาการดื้อต่อยารักษาโรคชนิดต่างๆ ในคน ประเภทของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์

วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์จ าแนกได้หลายประเภทตามวัตถุประสงค์ของการน าไปใช้ได้ ดังนี้ 1) กลุ่มสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหารของสัตว์ ได้แก่ สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ สาร

เพ่ิมความเป็นกรด และเอนไซม์ สารเสริมชีวนะ เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถด ารงชีวิตใน

ทางเดินอาหารของสัตว์ ทนทานต่อสภาพความเป็นกรดและน้ าย่อย เมื่อสัตว์ได้รับสารเสริมชีวนะก็จะมีผลให้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารอยู่ในภาวะสมดุล นอกจากนี้ จุลินทรีย์บางประเภทผลิตกรดต่างๆ เพ่ือปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะของสัตว์ ท าให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารในร่างกายสัตว์ดีขึ้น ผลิตวิตามินบีที่จ าเป็นส าหรับสัตว์ และผลิตเอนไซม์เพ่ือช่วยย่อยสารอาหาร การเติมสารเสริมชีวนะในอาหารสัตว์ควรพิจารณาคุณสมบัติของสารเสริมชีวนะ ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเสริมชีวนะ ปริมาณการเติมสารเสริมชีวนะในอาหารสัตว์ และการใช้ร่วมกับสารปฏิชีวนะ

อาหารเสริมชีวนะ เป็นกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง เพ่ือเป็นอาหารส าหรับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ในระบบทางเดินอาหาร โดยจุลินทรีย์เหล่านี้ผลิตกรดแล็กติก ท าให้สภาพความเป็นกรดด่างไม่เหมาะต่อการแพร่พันธุ์ของจุลินทรีย์ที่ให้โทษต่อสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการท างานของล าไส้ กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค เร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ สัตว์มีสุขภาพดีและให้ผลผลิตเพ่ิมข้ึน การเติมอาหารเสริมชีวนะในอาหารสัตว์ควรพิจารณาคุณสมบัติของสารโอลิโกแซคคาไรด์

สารเพ่ิมความเป็นกรด คือ กลุ่มกรดอินทรีย์สังเคราะห์ การเติมสารเพ่ิมความเป็นกรดในอาหารสัตว์เพ่ือลดผลกระทบจากสภาวะเครียดของสัตว์ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะให้เหมาะสมต่อการ

Page 15: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

15

ท างานของเอนไซม์ ช่วยให้นมตกตะกอนง่ายขึ้น และลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ให้โทษ ทั้งนี้ ปริมาณการเติมควรเป็นไปตามข้อก าหนดของบริษัทผู้ผลิต ไม่ควรเติมในปริมาณมากเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการท างานของล าไส้ผิดไปจากปกติ

เอนไซม์ เป็นสารประกอบโปรตีนที่ย่อยสลายได้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดผลตกค้างในตัวสัตว์ การใช้เอนไซม์เพ่ือเพ่ิมการย่อยได้ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ท าให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหล่านั้นได้ดีขึ้น เพ่ิมประสิทธิภาพการย่อยได้ของโภชนะ และเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตของตัวสัตว์

2) กลุ่มสารที่เกี่ยวข้องกับการปรุงแต่งอาหารสัตว์และผลผลิตจากสัตว์ ได้แก่ สารเพ่ิมกลิ่น สารเพ่ิมรส และสารให้สี

สารเพ่ิมกลิ่นและสารเพิ่มรส เป็นสารสกัดจากธรรมชาติและสารที่ได้จากการสังเคราะห์ การใช้สารเพ่ิม กลิ่นและสารเพ่ิมรสเพ่ือกระตุ้นการกินอาหารของสัตว์ ซึ่งนิยมปฏิบัติในลูกสุกรและลูกโค การใช้สารเพ่ิมกลิ่นและสารเพิ่มรสควรพิจารณาการเก็บรักษาสารเพิ่มกลิ่นและสารเพ่ิมรสและระดับของการเติม

สารให้สี สารสีที่ใส่ลงอาหารสัตว์เพ่ือเพ่ิมสีสันให้กับผลผลิตจากสัตว์ตามความต้องการของตลาด เช่น สีเหลืองของหนังไก่เนื้อ สีแดงเข้มของไข่แดง สารให้สีโดยมากเป็นสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบสีตามธรรมชาติ

3) กลุ่มสารที่เกี่ยวข้องกับการถนอมคุณภาพอาหารสัตว์ ได้แก่ สารกันหืน สารยับยั้งเชื้อรา และสารจับ สารพิษจากเชื้อรา

สารกันหืน เป็นสารที่ใส่ลงในอาหารเพ่ือยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุท าให้อาหารหืน ความน่ากินของอาหารลดลง และคุณค่าทางโภชนะของอาหารบางชนิดถูกท าลาย ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้อาหารและการให้ผลผลิตของสัตว์

สารยับยั้งการเกิดเชื้อรา เป็นสารที่ใส่ลงในอาหารสัตว์เพ่ือยับยั้งการเพ่ิมจ านวนของเชื้อราในอาหารสัตว์ สารในกลุ่มนี้อาจเป็นกรดอนินทรีย์หรือเกลือของกรดอนินทรีย์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดมาผสมรวมกัน

สารจับสารพิษจากเชื้อรา มีคุณสมบัติในการลดความรุนแรงของสารพิษในอาหารสัตว์ก็โดยใช้สารที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษจากเชื้อรา

4) วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ เช่น สารเร่งการเจริญเติบโต ยาป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีก ยาถ่ายพยาธิ สมุนไพร ฮอร์โมนและสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน และสารช่วยการกระจายตัวของไขมัน

สารเร่งการเจริญเติบโต โดยมากเป็นสารปฏิชีวนะที่เติมในระดับต่ า เพ่ือยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ให้โทษในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์และเพ่ิมประสิทธิภาพการใช้อาหารของสัตว์ ทั้งนี้ชนิดของสารปฏิชีวนะท่ีเติมในอาหารสัตว์ต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ยาป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีก เป็นกลุ่มสารเคมีหรือสารปฏิชีวนะที่ใช้เพ่ือป้องกันโรคบิดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีก

ยาถ่ายพยาธิ ใส่ลงในอาหารสัตว์เพ่ือก าจัดพยาธิภายในให้กับสัตว์

Page 16: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

16

ยารักษาหรือควบคุมโรคบางชนิด การผสมสารปฏิชีวนะหรือสารเคมีบางชนิดลงในอาหารสัตว์ เพ่ือควบคุมโรคและรักษาโรคในสัตว์ป่วยยังคงมีการปฏิบัติบ้างเป็นครั้งคราว โดยกลุ่มสารปฏิชีวนะและสารเคมีที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยต่อสัตว์และผู้บริโภค

สมุนไพร เป็นสารสกัดจากสมุนไพร เช่น น้ ามันหอมระเหยจากพืช เพ่ือทดแทนการใช้สารเสริมบางชนิดในอาหารสัตว์ เพื่อกระตุ้นการกินอาหารของสัตว์ ท าให้การเจริญเติบโตดีและประสิทธิภาพการใช้อาหารดี หรือเพ่ือการป้องกันโรคบางชนิด การใช้สมุนไพรช่วยลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมี ที่อาจตกค้างในผลิตภัณฑ์จากสัตว์และส่งผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคได้

ฮอร์โมนและสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ที่เติมลงไปในอาหาร เพ่ือกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพ่ิมการสะสมกล้ามเนื้อและไขมันในตัวสัตว์ อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้สารในกลุ่มนี้ควรค านึงถึงผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสัตว์และผู้บริโภค และควรปฏิบัติด้วยความระมัดระวังตามข้อบังคับของตัวบทกฎหมายหรือประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางประเทศไม่อนุญาตให้ใช้สารบางชนิดในกลุ่มนี้เพ่ือการผลิตสัตว์ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วอาจกระตุ้นการเกิดมะเร็งในร่างกายสัตว์ อีกทั้งการขับถ่ายฮอร์โมนออกจากร่างกายสัตว์ต้องใช้ระยะเวลานาน จึงอาจตกค้างในเนื้อสัตว์สู่ผู้บริโภคก่อนที่ฮอร์โมนถูกท าลาย ท าให้ผู้บริโภคได้รับฮอร์โมนโดยไม่รู้ตัว และผลข้างเคียงที่อาจเกิดข้ึนกับผู้บริโภคคือ ความผิดปกติของระบบฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์และการเกิดมะเร็ง

สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน เพ่ือป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของอาหารสัตว์ ท าให้วัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมมีการกระจายตัวอย่างสม่ าเสมอ

สารช่วยการกระจายตัวของไขมัน สารชนิดนี้ช่วยให้ไขมันในอาหารสัตว์มีการกระจายตัวดีขึ้น ท าให้น้ าย่อยในตัวสัตว์สามารถย่อยไขมันได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากข้ึน

------------------------------------------------------------------------

กิจกรรม 7.2.1 เหตุใดผู้เลี้ยงสัตว์จึงนิยมใช้วัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์เพ่ือทดแทนการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตที่เป็นสารปฏิชีวนะ

บันทึกตอบกิจกรรม 7.2.1

Page 17: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

17

กิจกรรม 7.2.2 จงบอกความส าคัญของวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทสารเสริมชีวนะ

บันทึกตอบกิจกรรม 7.2.2

กิจกรรม 7.2.3 ฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์แหล่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรีประสบกับปัญหาปริมาณการกินอาหารของลูกสุกร

อนุบาลต่ ากว่าเกณฑ์ จึงอยากได้ข้อแนะน าเกี่ยวกับชนิดของสารที่ควรเติมในอาหารสัตว์เพ่ือกระตุ้นการกินอาหารของลูกสุกร

บันทึกตอบกิจกรรม 7.2.3

กิจกรรม 7.2.4 จงยกตัวอย่างวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ

บันทึกตอบกิจกรรม 7.2.4

Page 18: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

18

แนวตอบกิจกรรมหน่วยท่ี 7 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ตอนที่ 7.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ แนวตอบกิจกรรม 7.1.1

แหล่งที่มาของวิตามินส าหรับสัตว์มีทั้งที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ แนวตอบกิจกรรม 7.1.2

แหล่งที่มาของแร่ธาตุส าหรับสัตว์มีทั้งที่มาจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ แร่ธาตุอินทรีย์ และแร่ธาตุอนินทรีย์ ตอนที่ 7.2 วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ แนวตอบกิจกรรม 7.2.1

เนื่องจากการใช้สารปฏิชีวนะท าให้เกิดปัญหาการตกค้างของสารในผลผลิตจากสัตว์ ก่อให้เกิดการดื้อยารักษาโรคชนิดต่างๆ ในคน และเพ่ือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สารปฏิชีวนะ ประเทศผู้น าเข้าและประเทศผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์ได้วางมาตรการยกเลิกการใช้สารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อสัตว์และคน ขณะที่แนวคิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ไม่มีผลข้างเคียงต่อสัตว์ และปลอดภัยต่อคน มีมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์หลายประเภทในกลุ่มวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ถูกน ามาใช้ทดแทนการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตที่เป็นสารปฏิชีวนะ เช่น สารเสริมชีวนะ อาหารเสริมชีวนะ เอนไซม์ เป็นต้น แนวตอบกิจกรรม 7.2.2

สารเสริมชีวนะ เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถด ารงชีวิตในทางเดินอาหารของสัตว์ ทนทานต่อสภาพความเป็นกรดและน้ าย่อย เมื่อสัตว์ได้รับสารเสริมชีวนะก็จะมีผลให้จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารอยู่ในภาวะสมดุล นอกจากนี้ จุลินทรีย์บางประเภทผลิตกรดต่างๆ เพ่ือปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะของสัตว์ ท าให้ประสิทธิภาพการย่อยอาหารในร่างกายสัตว์ดีขึ้น ผลิ ตวิตามินบีที่จ าเป็นส าหรับสัตว์ และผลิตเอนไซม์เพ่ือช่วยย่อยสารอาหาร การเติมสารเสริมชีวนะในอาหารสัตว์ควรพิจารณาคุณสมบัติของสารเสริมชีวนะ ชนิดของจุลินทรีย์ในสารเสริมชีวนะ ปริมาณการเติมสารเสริมชีวนะในอาหารสัตว์ และการใช้ร่วมกับสารปฏิชีวนะ แนวตอบกิจกรรม 7.2.3

สารที่ควรเติมในอาหารสัตว์เพ่ือกระตุ้นการกินอาหารของลูกสุกร ได้แก่ สารเพ่ิมกลิ่น และสารเพ่ิมรส สารทั้งสองมีคุณสมบัติเพ่ิมความน่ากินให้กับอาหารสัตว์ ท าให้ลูกสุกรมีความอยากกินอาหารมากข้ึน แนวตอบกิจกรรม 7.2.4

ตัวอย่างวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์ประเภทอ่ืนๆ เช่น สารเร่งการเจริญเติบโต ยาป้องกันโรคบิดในสัตว์ปีก สมุนไพร และสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน

Page 19: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

19

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 7 วัตถุประสงค์ เพ่ือประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “วัตถุดิบอาหารสัตว์

ประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และวัตถุท่ีเติมในอาหารสัตว์” ค าแนะน า ขอให้นักศึกษาอ่านค าถาม แล้วเขียนวงกลมล้อมรอบข้อค าตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. วิตามินเอสังเคราะห์ส าหรับสัตว์พบในรูปใด ก. 25-ไฮดรอกซีโคเลคาลซิเฟอรอล ข. ดี-แอลฟา-โทโคเฟอริลอะซิเทต ค. เมนาไดโอน ง. รูปเบตา-แคโรทีน จ. วิตามินเอ อะซิเทต

2. การเสริมวิตามินให้กับสัตว์ท าได้กี่วิธี ก. สี่วิธีคือ การหยอดจมูก การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การละลายในน้ า และการผสมในอาหารสัตว์ ข. สามวิธี คือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การละลายในน้ า และการผสมในอาหารสัตว์ ค. สองวิธี คือ การละลายในน้ า และการผสมในอาหารสัตว์ ง. สองวิธี คือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และการละลายในน้ า จ. สองวิธี คือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และการผสมในอาหารสัตว์

3. วัตถุดิบใดให้แร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสส าหรับสัตว์ ก. หินเกล็ด ข. หินฟอสเฟต ค. เปลือกหอย ง. หินฝุ่น จ. พืชตระกูลถั่ว

4. ข้อใดคือข้อด้อยของแร่ธาตุอนินทรีย์ในรูปสารประกอบทางเคมี ก. เสื่อมสลายได้ง่าย ข. หาซื้อได้ยาก ค. แร่ธาตุอนินทรีย์ในรูปสารประกอบทางเคมีแต่ละชนิดมีปริมาณแร่ธาตุไม่เท่ากัน ง. ราคาแพง จ. ทุกข้อเป็นข้อด้อยของแร่ธาตุอนินทรีย์ในรูปสารประกอบทางเคมี

5. ข้อใดคือตัวอย่างวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ตามระบบสภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ก. กากเมล็ดทานตะวัน ข. น้ ามันร า ค. ส่าเหล้า ง. ร าข้าว จ. อาหารเสริมชีวนะ

Page 20: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

20

6. เหตุใดจึงเติมสารเพิ่มความเป็นกรดในอาหารลูกสุกร ก. กระตุ้นปริมาณการกินอาหาร ข. เร่งการเจริญเติบโต ค. ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในกระเพาะให้เหมาะสมต่อการท างานของเอนไซม์ ง. เพ่ิมความน่ากนิของอาหาร จ. เพ่ิมจ านวนจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร

7. การเสริมสารเพิ่มความหวานนิยมปฏิบัติในสัตว์ระยะใด ก. แม่สุกร ข. พ่อสุกร ค. สุกรสาว ง. ลูกโค จ. ไก่รุ่น

8. วัตถุดิบใดเป็นแหล่งให้สารสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อการเพ่ิมสีไข่แดงในไข่ไก่ ก. สารเดกซ์เทรนส์ ข. สารโมโนโซเดียมกลูตาเมท ค. กากเมล็ดฝ้าย ง. กากถั่วเหลือง จ. ใบกระถิน

9. ประสิทธิภาพการท างานของสารจับสารพิษจากเชื้อราขึ้นอยู่กับปัจจัยใด ก. ระยะเวลาในการดูดซับสารพิษ ข. พันธุกรรมของเชื้อราที่สร้างสารพิษ ค. ชนิดของวัตถุดิบในอาหารสัตว์ ง. อุณหภูมิของอาหารสัตว์ จ. น้ าหนักโมเลกุลของสารพิษจากเชื้อรา

10. การเติมสารเร่งการเจริญเติบโตในอาหารสัตว์ควรค านึงในเรื่องใด ก. ราคาไม่แพง ข. หาซื้อได้ง่าย ค. ปริมาณการใช้น้อย ง. มีระยะเวลางดใช้สารเร่งการเจริญเติบโต จ. มีความคงตัวสูงในสภาพแวดล้อม

Page 21: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

21

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่ 7

ก่อนเรียน หลังเรียน 1. จ. 2. ง. 3. ข. 4. ข. 5. ก. 6. ค. 7. ง. 8. ค. 9. ก. 10. ง.

1. จ. 2. ข. 3. ข. 4. ค. 5. จ. 6. ค. 7. ง. 8. จ. 9. ก.

10. ง.

บรรณานุกรม กษิดิศ อ้ือเชี่ยวชาญกิจ “วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวิตามินและแร่ธาตุ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนศาสตร์

และอาหารสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2543 หน่วยที่ 5 หน้า 259-339 นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2543

กลมชัย ตรงวานิชนาม การใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ กรุงเทพฯ ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 215 หน้า 2547

กองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2542 กรุงเทพฯ

คนึงนิจ ก่อธรรมฤทธิ์ การศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพและศักยภาพการผลิต การใช้และความต้องการ Probiotics ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ กองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2540 (เอกสารทางวิชาการ BIOTEC 3/2540) 40 หน้า

คณะท างานจัดท ามาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอ้ืองของประเทศไทย ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 193 หน้า 2551

มาลินี ลิ้มโภคา เภสัชจลนศาสตร์พื้นฐานในสัตว์บกและสัตว์น้ า พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์ 2535

มาลินี ลิ้มโภคา ยาต้านจุลชีพ : การใช้ในสัตว์บกและสัตว์น้ า พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์ 2540

Page 22: เอกสารค าสอน ชุดวิชา 93354 อาหารและการให้อาหารสัตว์ หน่วย ...agri.stou.ac.th/UploadedFile/หน่วยที่

22

มาลินี ลิ้มโภคา ยาส าหรับสัตว์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2543หน่วยที่ 14 หน้า 355-404 นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2543

ทวีเดช ประเจกสกุล “อาหารและการให้อาหารสัตว์” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตสัตว์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2554 หน่วยที่ 5 หน้า 5-1 ถึง 5-61 นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2554

พรรณทิพา (ชุติมา) พงษ์เพียจันทร์ หลักการอาหารสัตว์ : หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์ เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ ส านักพิมพ์โอเดียนสโตร์ 2547 600 หน้า

วิบูลย์ ลาภจตุพร และจิตติมา กันตนามัลลกุล “สารเสริมในอาหารสัตว์” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักโภชนศาสตร์และอาหารสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2543 หน่วยที่ 6 หน้า 341-384 นนทบุรี สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2543

ศิริวรรณ สุทธจิตต์ คู่มือสุขภาพเกี่ยวกับวิตามิน กรุงเทพฯ ส านักพิมพ์ The Knowledge Center 433 หน้า 2550 ยุคล ลิ้มแหลมทอง การใช้ยาและสารเคมีในอาหารสัตว์ ชมรมผู้ใช้ยาและเคมีภัณฑ์ส าหรับสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1

กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2533 สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ “คุณภาพของวัตถุดิบอาหารสัตว์และการตรวจสอบคุณภาพ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา

หลักโภชนศาสตร์และอาหารสัตว์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2543 หน่วยที่ 8 หน้า 451-516 นนทบุรี สาขาวิชา ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2543

http://www.farminguk.com Getting down to the real nitty grit-ty. ค้นคืนวันที่ 13 ธันวาคม 2554 http://zxsic.en.alibaba.com/product/275644868-210150637/Dicalcium_Phosphate_DCP_Feed_

Grade_.html ค้นคืนวันที่ 5 กันยายน 2554 McDonald, P.E., R.A. Edwards, J.F.D. Greenhalgh and C.A. Morgan. Animal Nutrition. New York:

John Wiley & Sons Inc. 1995. Patience, J.F. and P.A.Thacker. Swine Nutrition Guide. Prairie Swine Centre. University of

Saskatchewan. 1989. Tisch, D.A. Animal Feeds, Feeding and Nutrition, and Ration Evaluation with CD-ROM. New

York: Delmar Learning. 2006. 491 pp. Whittemore, C.T. The Science and Practice of Pig Production. 2nd ed. Cambridge: University

Press. 1998.