6
แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 Vol.37 No.2 May-August 2008 29

แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008Vol.37 No.2 May-August 2008

29

Page 2: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

30

ความเป็นมาในการจัดตั้งรางวัล การแพทย์และการสาธารณสุขของไทย มี

วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาช้านาน วิทยาการมีความทันสมัยมากขึ้น ความต้องการที่จะป้องกันและพิชิตโรคภัยไข้เจ็บ ก็ยิ่งต้องอาศัยความอุตสาหะวิริยะและการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยเป็นจำนวนมากที่ได้อุทิศตน เสียสละ มีความยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ปฏิบัติงานเพื่อเกื้อกูลและยังประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของเพื่อนร่วมชาติอย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อ และสม่ำเสมอโดยมีภาระงานที่แตกต่างกัน อาทิ การอุทิศตนช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยที่ยากไร้ในทุกท้องถิ่นหรือในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร การค้นคว้าเพื่อหาทางบำบัดรักษา และบรรเทาความทุกข์ยากจากความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์ การศึกษาวิจัยเพื่อค้นคิดเทคนิคหรือวิธีอันทันสมัยเพื่อการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรค เป็นต้น งานอันยิ่งใหญ่ในมิติต่างๆเหล่านี้ จะยังประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ย่อมต้องดำเนินการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และด้วยแรงสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการผลักดันภาระงานเหล่านี้ไปสู่ความสำเร็จ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือ สุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนชาวไทยโดยส่วนรวมจึงเป็นที่มาของการจัดตั้งรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันขององค์กรภาครัฐและเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีหน้าที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และบริษัท บี บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานหลายสิบปีด้วยความมุ่งมั่นร่วมกันให้การสนับสนุนและให้การยกย่องแพทย์หรือกลุ่มบุคคลที่อุทิศตนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย

เกียรติภูมิของรางวัล รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ นับเป็น

รางวัลชั้นนำระดับประเทศผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเกียรติเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล และผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการยกย่องไปทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่เกียรติภูมิของผลงาน อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณารางวัลระดับนานาชาติต่อไปอีกด้วย วัตถุประสงค์ของรางวัล

เพื่อส่งเสริมและให้การสนับสนุนบุคคลโดยไม่จำกัดสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ที่มีความรู้ความสามารถ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์เป็นที่ยอมรับที่ได้อุทิศตนเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ วิธีได้มาซึ่งผู้สมควรได้รับรางวัล

๑. บุคคลหรือหน่วยงานพิจารณาเสนอชื่อและผลงาน

๒. ผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสมัครได้โดยตรง

๓. มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท บี บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันสรรหาผู้สมควรได้รับรางวัล คุณสมบัติของผู้สมควรได้รับรางวัล

๑. เป็นแพทย์ชาวไทย หรือชาวไทยผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ อาจเป็นบุคคลเดียว หรือกลุ่มบุคคลก็ได้ มีถิ่นพำนักในประเทศไทย และเป็นผู้อยู่ในกรอบแห่งจริยธรรมของวิชาชีพ

๒. ผลงานต้องเป็นผลงานที่ปฏิบัติในประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ

Page 3: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008Vol.37 No.2 May-August 2008

31

ขอบข่ายของผลงานที่เสนอขอรับรางวัลในปี พ.ศ.๒๕๕๑

ต้องเป็นผลงานที่ปฏิบัติในประเทศไทยด้วยความเสียสละ เพื่อสาธารณกุศลทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย และที่สำคัญต้องเป็นผลงานที่มีความดี เด่นด้านนวัตกรรมทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภายใต้ขอบข่ายใดขอบข่ายหนึ่งดังนี้

๑. Surgery ๒. Anesthesiology

หลักเกณฑ์การพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัล ๑. มีจุดเด่นของผลงาน ๒. มีนวัตกรรม (Innovation) ๓. มีการนำไปใช้ประโยชน์ (Implementation) ๔. มีประสิทธิผล/ ผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

(Efficacy/Impact)

๕. เป็นผลงานที่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ๖. ผลงานเป็นที่ประจักษ์และดีเด่น ๗. ผลงานเป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ๘. เป็นผู้อุทิศตนด้วยความเสียสละ

รางวัล ๑. โล่เกียรติยศและเงินสด จำนวน ๗๐๐,๐๐๐

บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของผู้ได้รับรางวัล ให้มีความต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยบริษัท บี บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล

๒. ประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณ ผู้ได้รับรางวัลจะเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติและผลงานนายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล

ผู้ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปี ๒๕๕๑

Page 4: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

32

นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล อายุ ๖๙ ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทยและเป็นอาจารย์พิเศษภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา ที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษา นายแพทย์ศัลย์เวทย์ จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นรุ่นที่ ๑๔ ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๔ ศึกษาต่อ Internship, Surgical Fellowship และ E.N.T. Residency ที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์วอชิงตัน Washington Hospital Center, กรุงวอชิงตัน ดี ซี, สหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับ Diplomate, American Board of Otolaryngology

ประวัติการทำงาน พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๘ นายแพทย์ศัลย์เวทย์ได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ภาควิชาโสต ศอ นาสิก ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งขณะเดียวกันนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๔๔ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิหู คอ จมูกชนบท และช่วงพ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๓๒ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา ในปีต่อมา พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔ ได้รับตำแหน่งเป็นประธานราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย และปีพ.ศ. ๒๕๓๓

-ปัจจุบันท่านมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลพระราชทาน

พ.ศ. ๒๕๓๒ รางวัลพระราชทาน “คนไทยตัวอย่าง” ของมูลนิธิธารน้ำใจ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. ๒๕๓๕ รางวัลพระราชทาน “หน่วยงานดีเด่นเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขในชนบท” จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร

พ.ศ. ๒๕๓๘ รางวัลพระราชทาน “หน่วยงานและบุคคลดีเด่นของชาติ” สาขาการแพทย์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. ๒๕๔๐ รางวัลพระราชทาน “แพทย์จุฬาดีเด่น” สาขาการแพทย์ชุมชนจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัลพระราชทาน “สนับสนุนงานแพทย์อาสา มูลนิธิพอ.สว.” จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รางวัลอื่นๆ

พ.ศ. ๒๕๒๒ รางวัล “ศัลยแพทย์ดีเด่น” ของ International College of Surgeon ในการประชุมที่

Page 5: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008Vol.37 No.2 May-August 2008

33

กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๔ รางวัล “Humanitarian Award”

from Lions International, ในการประชุม Asian Congress ที่กรุงเทพฯ

พ.ศ. ๒๕๓๙ รางวัล “Distinguished Award for Humanitarian Efforts” ในงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ของการแพทย์หู คอ จมูกอเมริกา ของ The American Academy of Otolaryngology - Head and Neck Surgery ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๔๕ รางวัล “Presidential Citation Award” for the tireless efforts as a surgeon, healer, educator and humanitarian จากการประชุมใหญ่แพทย์หู คอ จมูก ของอเมริกา The American Academy of Otolaryngology - Head and Neck Surgery ประจำปี ๒๐๐๒ ที่ San Diego, California, USA.

ผลงานที่ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล - บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี ๒๕๕๑ คือ “โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มูลนิธิหู คอ จมูกชนบท”

สรุปผลงานและการเป็นผู้อุทิศตนด้วยความเสียสละ

ภ า ย ห ลั ง จ า ก จ บ ก า ร ศึ ก ษ า เ ป็ น แ พ ท ย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล มุ่งเข็มปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ต่อมามีความรู้สึกว่า มีผู้ป่วยอีกเป็นจำนวนมากในต่างจังหวัดที่ป่วยเป็นโรคหูน้ำหนวกและถึงแก่ความตายเพราะอักเสบจนเป็นฝีแตกเข้าสมอง เนื่องจากขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนยังขาดความรู้ว่าโรคหูน้ำหนวกรักษาผ่าตัดให้หายได้ จึงคิดว่าควรหาทางออกไปต่างจังหวัดเพื่อดูแลผู้ป่วยผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้บ้าง แต่การปฏิบัติงานเป็นข้าราชการเป็นอุปสรรคในการลางาน จึงตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่ออุทิศเวลาแก่การจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ อาสาออกไปดูแลรักษา ช่วยเหลือประชาชนในชนบทโดยไม่คิดมูลค่า

และนอกจากจะจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สะดวก เหมาะแก่การขนย้ายโดยเครื่องมือไม่เสียหายแล้ว ยังต้องวิ่งเต้นระดมหาผู้มีจิตกุศลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน เป็นต้นว่า อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ ให้เพียงพอ

ในการออกปฏิบัติงานในชนบทแต่ละครั้งไม่ว่าจะใกล้หรือไกลนายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล จะเป็นผู้ทำหน้าที่ขับรถด้วยตนเอง เมื่อไปถึงจุดหมายก็ต้องปฏิบัติงานทันที เพราะมีผู้ป่วยรออยู่ เป็นจำนวนมาก และต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องไปจนกว่าผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดจนครบทุกราย ซึ่งหลายครั้งต้องอยู่ทำการรักษาผ่าตัดจนถึงเที่ยงคืน นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล ได้สละความสุขส่วนตัว สละโอกาสที่จะหารายได้พิเศษจากเมืองหลวง ได้นำความรู้ความชำนาญทางการแพทย์ระดับสูงออกให้บริการประชาชนในชนบท โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ อีกทั้ง

Page 6: แพทยสภาสาร - TMC · แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

34

ที่มา: หนังสืองานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี ๒๕๕๑

ก่อให้ เกิดประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชนที่เดือดร้อนและยากจนเป็นจำนวนมาก เมื่อโครงการนี้เป็นที่รู้จักและมีผู้สนับสนุนมากขึ้น จึงมีอุปกรณ์การแพทย์เพียงพอให้แพทย์ผู้มีจิตศรัทธามาร่วมอาสาออกหน่วยมากขึ้น นอกจากนี้นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล ยังอนุญาตให้หน่วยงานอื่นสามารถขอยืมเครื่องมือต่างๆ โดยถือว่าเครื่องมือเหล่านี้ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธา จึงสมควรที่จะนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ย่อมถือว่ า เป็นการอุทิศตนด้วยความเสียสละอย่างยิ่ง

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นายแพทย์ศัลย์เวทย์ ไม่เคยแสดงตนโอ้อวดผลงานที่ประสบความสำเร็จ โดยได้ทำตนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้ หากมีผู้ใดชื่นชมกับผลงาน จะกล่าวเสมอว่าเป็นความสำเร็จของคณะทำงานที่มีอุดมการณ์อันแน่วแน่ร่วมกัน นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล

เป็นแพทย์ที่สมควรแก่การยกย่องเชิดชู เป็นอย่างยิ่ง คณะกรรมการพิจารณารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บี บราวน์ จึงเห็นสมควรตั ด สิ น ใ ห้ ไ ด้ รั บ ร า ง วั ลม ห า วิ ท ย า ลั ย ม หิ ด ล - บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

แพทยสภาและกองบรรณาธิการแพทยสภาสาร จึงขอร่วมแสดงความยินดีในการได้ รับรางวัลแห่ ง

เกียรติยศต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยแก่นายแพทย์ศัลย์เวทย์ เลขะกุล เป็นอย่างยิ่ง และหวังว่านายแพทย์ศัลย์เวทย์ จะเป็นแรงบันดาลใจในการอุทิศตนเพื่อประชาชนให้กับอาจารย์แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารสุขทั่วทั้งประเทศไทย สืบต่อไป