112
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่เคารพ พบกันอีกครั้งนะคะกับ วารสาร “DRU Language Center Journal” ของศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่เต็มไปด้วยสาระ และเกร็ดความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมที่ผู้เขียนบทความตั้งใจ สรรสร้างและแบ่งปัน อีกท้งยังบอกเล่าถึงโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์ภาษาได้ให้บริการในช่วงปีการศึกษาท่ผ่านมา ศูนย์ภาษาหวังว่าวารสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู ้อ่าน มากพอสมควร หากมีข้อผิดพลาดประการใด ศูนย์ภาษากราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณทุกท่านส�าหรับการติดตามและให้ข้อคิดเห็น ที่เป็นประโยชน์ในการบริการความรู้ด้านภาษาผ ่านวารสาร DRU Language Center Journal ของเราค่ะ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธญวรรณ ก๋าค�า) ผู้อ�านวยการศูนย์ภาษา สาสน์จาก บรรณาธิการ

สาสน์จาก บรรณาธิการ · สารบัญ หน้า - ภาษาอังกฤษในภาษาไทย 1 - ว่าด้วยผีฝรั่ง

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่เคารพ

    พบกันอีกครั้งนะคะกับวารสาร “DRU Language Center

    Journal”ของศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีที่เต็มไปด้วยสาระ

    และเกร็ดความรู ้ทางภาษาและวัฒนธรรมที่ผู ้เขียนบทความตั้งใจ

    สรรสร้างและแบ่งปัน อีกทั้งยังบอกเล่าถึงโครงการและกิจกรรมต่างๆ

    ที่ศูนย์ภาษาได้ให้บริการในช่วงปีการศึกษาที่ผ่านมา

    ศูนย์ภาษาหวังว่าวารสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน

    มากพอสมควรหากมีข้อผิดพลาดประการใดศูนย์ภาษากราบขออภัยไว้

    ณที่นี้ ขอขอบพระคุณทุกท่านส�าหรับการติดตามและให้ข้อคิดเห็น

    ที่เป็นประโยชน์ในการบริการความรู้ด้านภาษาผ่านวารสาร DRU

    LanguageCenterJournalของเราค่ะ

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธญวรรณ ก๋าค�า)

    ผู้อ�านวยการศูนย์ภาษา

    สาสน์จากบรรณาธิการ

  • สารบัญหน้า

    - ภาษาอังกฤษในภาษาไทย 1

    - ว่าด้วยผีฝรั่ง 8

    - วิวัฒนาการส�านวนไทยในศิลาจารึก 12

    - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมัสยิด 27

    - ชาดกบันทึกทางภาษาศรัทธาของชาวพุทธ 37

    - พิธีแต่งงานในประเทศบรูไนดารุสซาลาม 46

    - ความหลากหลายในการใช้ภาษาจีน 56

    - เที่ยวฮอกไกโด 61

    - ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง

    แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ 72

    - นานาสาระกับAEC 79

    - เทศกาลวันไหว้พระจันทร์ 85

    - ศิลปะการตัดกระดาษของจีน 87

    - เมษาหน้าโง่ 88

    - ผลงานศูนย์ภาษาปีการศึกษา2556 93

    - การพัฒนาบุคลากรศูนย์ภาษา

    ปีการศึกษา2556 100

    - ภาพกิจกรรมศูนย์ภาษา

    ประจ�าปีการศึกษา2556 102

  • Dhonburi Rajabhat University 1

    ภาษาอังกฤษในภาษาไทยครูภาษา*

    ภาษาองักฤษเป็นภาษาในตระกลูอนิโด-ยโูรเปียนมีรปูลกัษณะ

    เป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต แต่ต่อมา

    มีการเปลี่ยนแปลงเพ่ือให้ง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย

    มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะบาง

    ประการเหมือนภาษาค�าโดดและภาษาค�าติดต่อปนอยู่ เม่ือภาษา

    อังกฤษมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้

    รับความนิยมใช้เป็นภาษาเพ่ือการสื่อสารมากท่ีสุด มีประเทศต่างๆ

    มากมายยอมรับภาษาองักฤษเป็นภาษาราชการภาษาองักฤษจงึกลาย

    เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษา

    ทีส่องมาเป็นเวลานานจนภาษาองักฤษเข้ามามอีทิธพิลต่อชวีติคนไทย

    มากขึ้น

    ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก คน

    ไทยบางคนนยิมพูดภาษาไทยปนองักฤษกันอย่างแพร่หลายวฒันธรรม

    ตะวันตกก็เข้ามาผสมผสานในชวีติประจ�าวันของคนไทยมากขึน้ค่านยิม

    ของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงไป

    ตามด้วย เรายืมค�าภาษาอังกฤษมาปรับใช้หลายลักษณะ เช่น การ

    * อาจารย์พิเศษสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

    มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  • LC Journal2

    ทับศัพท์ ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป ใช้ค�าไทยแปล ใช้ค�าสันสกฤตแปล

    ใช้ค�าบาลีสันสกฤตหรือค�าอังกฤษซ้อนหรือประสมกับค�าไทย และ

    เปลี่ยนความหมาย

    การใช้ค�าภาษาอังกฤษมาสื่อสารในภาษาไทย

    เราใช้วิธีการยืมค�าภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดย

    ทั่วไปจะแบ่งออกเป็น3วิธีคือ

    1. การแปลศัพท์

    วิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นค�าภาษาไทยให้มีความ

    หมายตรงกบัค�าในภาษาอังกฤษแล้วน�าค�านัน้มาใช้สือ่สารในภาษาไทย

    ต่อไปตัวอย่างเช่น

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    airplane เครื่องบิน

    blacklist บัญชีด�า

    blackmarket ตลาดมืด

    drycleaning ซักแห้ง

    electricity ไฟฟ้า

    electricfan พัดลม

    handbook หนังสือคู่มือ

    honeymoon น�้าผึ้งพระจันทร์

    horsepower แรงม้า

  • Dhonburi Rajabhat University 3

    2. การบัญญัติศัพท์

    การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมค�า โดยรับเอาเฉพาะความคิด

    เกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างค�าขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากค�าในภาษา

    อังกฤษโดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มากผู้ที่ท�าหน้าที่ใน

    การบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่างๆหน่วยงาน

    ราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้นใช้แทน

    ค�ายืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มี

    บางค�าท่ีนักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษา

    ไทยมาใช้แทนค�าภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    loanword ค�ายืม

    middle-man คนกลาง

    shortstory เรื่องสั้น

    tablespoon ช้อนโต๊ะ

    teaspoon ช้อนชา

    typewriter เครื่องพิมพ์ดีด

    warship เรือรบ

  • LC Journal4

    การยืมค�าจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นค�าใหม่ เพ่ือใช้สื่อสาร

    โดยวิธีการบัญญัติศัพท์มีมากมายตัวอย่างเช่น

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    archaeology โบราณคดีวิทยา

    background ภูมิหลัง

    copyright ลิขสิทธิ์

    ecology นิเวศวิทยา

    e-mail ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

    federalstate สหพันธรัฐ

    globalization โลกาภิวัตน์

    image ภาพลักษณ์

    landscape ภูมิทัศน์

    microscope จุลทรรศน์

    pattern กระสวน

    philosophy ปรัชญา

    pollution มลพิษ

    reform ปฏิรูป

    seminar สัมมนา

    sociology สังคมวิทยา

    telecommunication โทรคมนาคม

  • Dhonburi Rajabhat University 5

    3. การทับศัพท์

    การทบัศพัท์เป็นวธิกีารยมืจากภาษาหนึง่มาใช้ในอีกภาษาหนึง่

    โดยการถ่ายเสียงและถอดอักษร การยืมค�าภาษาอังกฤษโดยวิธีการนี้

    เป ็นวิธีที่ท�าได้ง ่ายและปรากฏเด่นชัดที่สุดว ่าเป็นค�ายืมจากค�า

    ราชบัณฑิตยสถานได้บญัญตัศิพัท์เป็นค�าไทยแล้วแต่คนไทยนยิมใช้ค�า

    ทับศัพท์มากกว่า ค�าทับศัพท์บางค�าจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์

    บัญญัติค�าทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไปตัวอย่างเช่น

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    television โทรทัศน์

    toxicology พิษวิทยา

    universal สากล

    video วีดิทัศน์

    vision วิสัยทัศน์

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    bungalow บังกะโล

    captain กัปตัน

    carat กะรัต

    card การ์ด

    cartoon การ์ตูน

  • LC Journal6

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    chimpanzee ชิมแปนซี

    clinic คลินิก

    column คอลัมน์

    computer คอมพิวเตอร์

    concert คอนเสิร์ต

    draft ดราฟต์

    dinosaur ไดโนเสาร์

    fashion แฟชั่น

    game เกม

    gas แก็ส

    gauze กอซ

    golf กอล์ฟ

    graph กราฟ

    guitar กีตาร์

    lipstick ลิปสติก

    nightclub ไนต์คลับ

    nuclear นิวเคลียร์

    physics ฟิสิกส์

    picnic ปิกนิก

    plaster ปลาสเตอร์

  • Dhonburi Rajabhat University 7

    ที่มา : ราชบัณฑิตยสถาน.ศัพท์บัญญัติ อังกฤษไทย ไทย-อังกฤษ.

    ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.ซีดีรอมรุ่น1.12545

    http://www.gotoknow.org/post/450077

    http://www.ipesp.ac.th/learning/Thai/chapter3-4.html

    ค�าภาษาอังกฤษ ค�าภาษาไทย

    protein โปรตีน

    quota โควตา

    shirt เชิ้ต

    transistor ทรานซิสเตอร์

    technology เทคโนโลยี

    tennis เทนนิส

    vaccine วัคซีน

    violin ไวโอลิน

    vitamin วิตามิน

  • LC Journal8

    ว่าด้วยผีฝรั่งชมพูนุท ถาวรวงศ์*

    ดเูหมอืนว่าช่วงนี้บรรดาอมนษุย์ทัง้หลายไม่ว่าจะเป็นแวมไพร์

    มนุษย์หมาป่าไปจนถึงซอมบีพากันตบเท้าออกมายึดพื้นที่ตามสื่อ

    ประเภทต่างๆทั้งในภาพยนตร์ละครโทรทัศน์หรือหนังสือถ้าอย่างไร

    เรามาท�าความรูจั้กกับเหล่าอมนุษย์ทัง้หลายตามความเชือ่ทางตะวนัตก

    ว่าเหมือนและแตกต่างกับผีไทยอย่างไร

    Ghost หมายถึง ผี ซึ่งค่อนข้างตรงกับลักษณะของผีไทย

    โดยทั่วไป คือ เป็นวิญญาณของคนตายที่ยังล่องลอยอยู่ในโลกนี้เพื่อ

    หลอกหลอนคนซึง่กม็อีทิธฤิทธิแ์ตกต่างกนัไปค�าว่าผีในภาษาอังกฤษ

    ยงัมหีลายค�าอย่างเช่นค�าว่าspectre (British English)หรอืspecter

    (American English), phantomและspook

    * อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาองักฤษธรุกิจคณะมนษุยศาสตร์และสงัคมศาสตร์

    มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  • Dhonburi Rajabhat University 9

    ส�าหรับค�าว่าบ้านผีสิงนั้น ภาษาอังกฤษเรียกว่า Haunted

    House ค�าว่า Haunted มีความหมายว่า สิงสู่ แต่ในขณะเดียวกัน

    ค�าว่าถูกผีสิงหรือผีเข้าในกรณีนี้จะใช้ค�าว่าpossessed

    ผีอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ผีที่เรียกกันว่า

    Boogieman บางครั้งก็สะกดเป็น bogeyman

    หรือ boogyman บูกี้แมนไม่มีลักษณะที่เฉพาะ

    เจาะจง พูดง่ายๆ คือเป็นตัวแทนของความหวาด

    กลัวสยองขวัญต่างๆ นาๆ บูกี้แมนยังเป็นผีที่พ่อแม่มักจะใช้หลอก

    ลูกหลานว่าอยู่ใต้เตียงในตู้เสื้อผ้าเพื่อให้เด็กๆประพฤติตัวดีๆ

    Vampire แวมไพร์ อสุรกายร้ายที่

    กลายเป็นพระเอกนางเอกขวัญใจของใคร

    หลายๆ คน ก็คือผีดิบดูดเลือด แวมไพร์ตาม

    ความเชื่อคือเป็นผีดิบที่ด�ารงชีวิตด้วยการ

    ดูดเลือดมนุษย์มีฤทธิ์เดชหลายประการโดยมีท่านเคานต์แดร็กคูล่า

    CountDracula เป็นแวมไพร์ที่มีชื่อเสียงและที่เรารู้จักกันดีที่สุดจน

    ท�าให้บางครัง้มกีารใช้ค�าว่าDraculaในความหมายเดยีวกบัVampire

    และค้างคาวดูดเลือดก็เรียกว่าvampirebat

    Werewolf มนุษย์หมาป่าค�านี้ออกเสียง

    ว่า แวร์วูล์ฟ ไม่ใช่ เวอร์วูล์ฟ หมายถึง มนุษย์ที่

    สามารถเปลี่ยนร่างเป็นหมาป่าได้ ไม่ว่าจะเปลี่ยน

    เป็นหมาป่าท้ังตัวหรือเปลี่ยนเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายก็ได้

    Lycanthropeมีรากศัพท์มาจากค�าว่าlycanแปลว่าหมาป่า

  • LC Journal10

    Zombie ซอมบีหมายถงึศพ

    ทีต่ายไปแล้วแต่ถกูปลกุโดยพ่อมดหมอผี

    ตามความเชื่อของลัทธิวูดูให้กลับมา

    เคลื่อนไหวได้อีกครั้ง ซึ่งซอมบีจะไม่มี

    ความคดิเป็นเพยีงแรงงานทีท่�าตามค�าสัง่

    ของพ่อมดหมอผท่ีีปลกุขึน้มาเท่านัน้แต่ในปัจจบุนัซอมบีกลบัถกูมอง

    ว่าเป็นซากศพที่หิวโหยที่พยายามกัดกินสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งหากใครถูกกัด

    ก็จะกลายเป็นซอมบีเช่นกัน

    Frankenstein แฟรงเกน-

    สไตน์ เป็นนวนยิายทีมี่ชือ่เสยีงทีแ่ต่งโดย

    Mary Shelley เรื่องราวนี้กล่าวถึง

    นักวิทยาศาสตร์สติเฟื ่องช่ือ Victor

    Frankensteinที่น�าชิ้นส่วนร่างกายจาก

    ศพหลายๆ ศพมาเย็บประกอบกันและทดลองช็อตด้วยไฟฟ้า ผลคือ

    ซากศพนั้นกลับมามีชีวิตขึ้นมาตามท้องเรื่องนั้นอสุรกายตัวนี้ไม่มีชื่อ

    แต่อย่างใดโดยเรียกเพียงว่าFrankenstein’smonsterหรอือสรุกาย

    ของแฟรงเกนสไตน์ต่อมาภายหลังคนส่วนมากเรียกอสุรกายตัวนี้ตาม

    ชื่อผู้สร้างมันขึ้นมานั่นคือFrankensteinแฟรงเกนสไตน์

    Mummy มัมมี่คือศพที่ดอง

    หรือแช่น�้ายาหรือได้รับปฏิกิริยาทาง

    เคมีท�าให้กลายสภาพท�าให้ไม่เน่า

    เปื่อยผุพัง อารยธรรมอียิปต์โบราณ

  • Dhonburi Rajabhat University 11

    นิยมท�ามัมมี่ในการฝังศพและท�าให้คนส่วนมากนึกถึงมัมม่ีในรูปแบบ

    ของมัมมี่อียิปต์ ซ่ึงก็คือ ซากศพท่ีมีผ้าพันแผลสีขาวพันแน่นโดยรอบ

    ซึ่งค�าว่าMummyนี้ยังแปลว่าแม่ได้อีกด้วยเพราะฉะนั้นถ้าอ่านเจอ

    ค�าว่าmummyเราต้องสงัเกตบรบิทรอบข้างด้วยว่าก�าลงัพดูเรือ่งอะไร

    และควรจะแปลว่าอะไร

    Ghoul กูลเป็นผท่ีีเชือ่กันว่าอยู่ตามสสุาน

    คอยกินซากศพมนุษย์ ซึ่งต่อมาภายหลังก็เปลี่ยน

    เป็นจับมนุษย์กิน

    ค�าศพัท์ทีมั่กพบเมือ่พดูถงึบรรดาผปีีศาจก็

    คือ undead ค�าว่า undead มักจะหมายถึงสิ่ง

    มีชีวิตที่ตายไปแล้วแต่ยังด�ารงอยู่เสมือนว่ายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งบรรดา

    อมนุษย์ท่ีกล่าวมาข้างต้นก็นับว่าเข้าข่าย undead ทั้งสิ้น เว้นไว้แต่

    มนุษย์หมาป่าเท่านั้น

    นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบรรดาผีๆ ในวัฒนธรรมตะวันตก

    คิดว่าผีไทยกับผีฝรั่งอย่างไหนจะน่ากลัวกว่ากัน

    ที่มา : http://www.thehouseofmonsters.com/

    http://en.wikipedia.org

  • LC Journal12

    วิวัฒนาการส�านวนไทย

    ในศิลาจารึกรสริน ดิษฐบรรจง*

    บทน�า

    ภาษาไทยมีเอกลักษณ์ในการใช้ภาษา

    ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาเป็น

    เวลายาวนาน หนึ่งในเอกลักษณ์ที่ชนชาติไทย

    ภาคภูมิใจนั่นคือส�านวนไทยที่บรรพบุรุษได้

    สร้างสมและสบืทอดต่อมาจนถงึอนชุนรุน่หลงั

    ส�านวนไทยที่ชนชาติไทยใช้มาเป็นเวลาหลาย

    ศตวรรษนั้น เมื่อถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง

    อย่างเหน็ได้ชดัแสดงให้เห็นถงึววิฒันาการของภาษาโดยเฉพาะส�านวน

    ไทยในปัจจุบันกับส�านวนไทยท่ีปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อ

    ขุนรามค�าแหง ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานการใช้ภาษาที่เก่าแก่ชิ้นหนึ่งของ

    ไทยจึงน่าศึกษาอย่างยิ่งว่าเวลากว่า730ปีนั้นส�านวนไทยซึ่งถือเป็น

    วฒันธรรมในการใช้ภาษาของไทยนัน้มกีารเปล่ียนแปลงรปูแบบใดบ้าง

    และส�านวนไทยที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากน้อยเพียงใด

    * อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาไทยส�าหรับชาวต่างประเทศ

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  • Dhonburi Rajabhat University 13

    ความหมายของส�านวนไทย

    ส�านวนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในการใช้ภาษาที ่

    บรรพบุรุษของเราได้สั่งสม และสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน

    อันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางภาษาที่ควรค่าแก่การรักษาและ

    สืบทอดให้คงอยู่ตลอดไป

    พจนานุกรมฉบบัราชบณัฑติยสถาน พ.ศ.2542 (2546 : 187)

    ได้ให้ความหมายของส�านวนไว้ว่าหมายถึงถ้อยค�าที่เรียบเรียงโวหาร

    บางทีก็ใช้ว่า ส�านวนโวหาร ถ้อยค�าหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมา

    อย่างช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่น

    แฝงอยู่ถ้อยค�าที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ

    สง่า กาญจนาคพันธ์ (2538 : 1)กล่าวว่าส�านวนเป็นค�าพูด

    อย่างหนึ่ง พูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่ให้ความหมายในค�าพูด

    นั้นๆ ต้องคิดจึงจะเข้าใจหรือบางทีคิดแล้วเข้าใจไปอย่างอื่นได้ หรือ

    ไม่เข้าใจเอาเลยก็ได้ค�าพูดเป็นชั้นเชิงนี้เรียกว่า“ส�านวน”

    ประเทือง คล้ายสุบรรณ์ (2530 : 1)ได้ให้นิยามส�านวนไว้ว่า

    หมายถึง ถ้อยค�าในภาษาไทยท่ีใช้พูดจาสื่อสารกัน โดยมีความหมาย

    เป็นนยักนิความกว้างหรือลกึซึง้มใิช่แปลความหมายของค�าตรงตวัเป็น

    ความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ หมายรวมไปถึง ค�าคม สุภาษิต

    ค�าพังเพยค�ากล่าวและโวหารต่างๆด้วย

    ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา (2534 : 12) กล่าวว่า ส�านวน

    หมายถึง ถ้อยค�าที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษรหรือ

    แปลตามรากศัพท์แต่เป็นถ้อยค�าที่มีความหมายเป็นอย่างอื่นคือเป็น

  • LC Journal14

    ชั้นเชิงชวนให้คิดซึ่งอาจจะเป็นในเชิงเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย

    จากการศึกษาความหมายของส�านวน สามารถสรุปได้ว่า

    ส�านวน หมายถึง ถ้อยค�าท่ีมีความหมายเฉพาะพิเศษ ใช้สืบต่อกันมา

    เป็นเวลานานเป็นความหมายในเชงิอปุมาเปรียบเทยีบไม่สามารถแปล

    ตามรูปศัพท์ตรงตัวได้ หมายรวมไปถึง สุภาษิต ค�าพังเพยและโวหาร

    ต่างๆด้วย

    ส�านวนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึก

    ศลิาจารึกพ่อขนุรามค�าแหงมหาราชจดัเป็นเอกสารส�าคญัทาง

    ราชการที่ตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรง

    คณุค่าทีค่วรค่าแก่การศกึษาเป็นอย่างยิง่ศาสตราจารย์ ดร. ประเสรฐิ

    ณ นคร (2549 : 231)ได้กล่าวถึงจารึกพ่อขุนรามค�าแหงมหาราชว่า

    จดัเป็นวรรณคดีท่ีควรค่าแก่การศึกษาท่ีสดุคนไทยทกุคนควรอ่านศลิา

    จารกึพ่อขนุรามค�าแหงมหาราชให้เข้าใจแจ่มแจ้งประดจุเดยีวกบัทีฝ่รัง่

    นับถือกันว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นยอดแห่งวรรณคดีที่ทุกคนจะต้องอ่าน

    จากการศึกษาส�านวนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1ของ

    พ่อขุนรามค�าแหงมหาราชพบถ้อยค�าท่ีใช้เป็นส�านวนทัง้สิน้17ส�านวน

    ดังนี้

  • Dhonburi Rajabhat University 15

    ส�านวนไทย ความหมาย บริบทของส�านวน

    ในศิลาจารึก

    1.ไพร่ฟ้าหน้าใส ไพร่พล, “...ขุนสามชนหัวซ้าย ประชาชน ขุนสามชนหัวขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส...”

    (ศิลาจารึกด้านที่1)

    2.หนีญญ่ายพาย หนีกระจัด- “...พ่อกหูนญีญ่ายพายจแจ้น จะแจ้น กระจาย กูบ่หนีกูขี่ช้างเบกพลกูขับ แยกย้ายกันไป เข้าก่อนพ่อกู...” ญญ่าย=ไป (ศิลาจารึกด้านที่1) อย่างรวดเร็ว พาย=หนี,วิ่ง จแจ้น=ชุลมุน

    วุ่นวาย

    3.ตีหนังวังช้าง ตีหนัง-คล้อง “...กูไปตีหนังวังช้างได้

    ด้วยบ่วงบาศ กูเอามาแก่พ่อกูกูไปท่บ้าน

    วังช้าง-ต้อนเข้า ท่เมืองได้ช้างได้งวง...” เพนียดแล้วจับ (ศิลาจารึกด้านที่1) หมายถึงการจับ ช้างโดยวิธีล้อมและ

    ใช้บ่วงบาศคล้อง

  • LC Journal16

    ส�านวนไทย ความหมาย บริบทของส�านวน

    ในศิลาจารึก

    4.ไพร่ฟ้าข้าไท ประชาชน “...ช้างขอลูกเมียเยียข้าว

    พลเมือง ไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลู

    บริวาร พ่อเชื้อมัน...”

    (ศิลาจารึกด้านที่1)

    5.ผิดแผกแส แตกแยกความ “...ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน

    กว้างกัน คิดกันความคิด ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน

    เห็นไม่ตรงกัน สวนดูแท้แล้...”

    ผิดใจกัน (ศิลาจารึกด้านที่1)

    ทะเลาะเบาะ-

    แว้งกัน

    6.ในน�้ามีปลา อุดมสมบูรณ์ “...เม่ือชัว่พ่อขนุรามค�าแหง

    ในนามีข้าว เมอืงสุโขทยันีด่ีในน�า้มปีลา

    ในนามีข้าวเจ้าเมืองบ่เอา

    จกอบ...” (ศิลาจารึกด้านที่1)

    7.ล้มหายตายกว่า ตายจากไป “...ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้ม

    หายตายกว่าเหย้าเรือน

    พ่อเชื้อเสื้อค�ามัน...” (ศิลาจารึกด้านที่1)

  • Dhonburi Rajabhat University 17

    ส�านวนไทย ความหมาย บริบทของส�านวน

    ในศิลาจารึก

    8.บ่เข้าผู้ลักมัก ยุติธรรม, “...จึง่แล่งความแก่ขาด้วยซือ่

    ผู้ซ่อน ไม่ล�าเอียง บ่เข้าผู้ลกัมกัผูซ่้อนเหน็ข้าว

    ท่านบ่ใครพีนเห็นสินท่าน

    บ่ใคร่เดือด...”

    (ศิลาจารึกด้านที่1)

    9.ช่วยเหนือเฟื้อกู้ ช่วยเหลือเกื้อกูล “...คนใดขี่ช้างมาหาพาเมือง

    มาสู่ช่วยเหนือเฟื้อกู้มัน

    บ่มีช้างบ่มีม้า...”

    (ศิลาจารึกด้านที่1)

    10.ไพร่ฟ้าหน้าปก เดือดร้อน,มีทุกข์ “...ปากประตูมีกะดิ่งอันณึ่ง

    แขวนไว้หัน้ไพร่ฟ้าหน้าปก

    กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อย

    มีความ...” (ศิลาจารึกด้านที่1)

    11.จูงวัวไปค้า ค้าขายต่างถิ่น “...เจ้าเมืองบ่เอาจกอบใน

    ขี่ม้าไปขาย ไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า

    ขี่ม้าไปขาย...” (ศิลาจารึกด้านที่1)

  • LC Journal18

    ส�านวนไทย ความหมาย บริบทของส�านวน

    ในศิลาจารึก

    12.เจ็บท้องข้องใจ มีปัญหา “...กลางบ้านกลางเมืองมี

    เดือดร้อน ถ้อยมคีวามเจบ็ท้องข้องใจ

    มนัจกักล่าวเถงิเจ้าเถงิขนุ...”

    (ศิลาจารึกด้านที่1)

    13.ดูงามดังแกล้ง งามดังตั้งใจ “...มีถิ่นถานมีบ้านใหญ่

    (ดังแกล้ง= บ้านเล็กมีป่าม่วงมีป่าขาม

    ตั้งใจ) ดูงามดังแกล้ง...” (ศิลาจารึกด้านที่2)

    14.ไหว้ดีพลีถูก สักการบูชา “...สุโขทัยนี้แล้ไหว้ดีพลีถูก

    เมืองนี้เที่ยงเมืองนี้ดี...” (ศิลาจารึกด้านที่3)

    15.ถือบ้านถือ สั่งราชการ, “...ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน

    เมือง ปกครอง ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง

    ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม

    ท่านแต่งช้างเผือก...” (ศิลาจารึกด้านที่3)

  • Dhonburi Rajabhat University 19

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราช เป็นส�านวนที่สะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

    สภาพบ้านเมืองทั้งด้านการเมืองการปกครองเศรษฐกิจและสังคมใน

    สมัยสุโขทัยได้อย่างชัดเจนดังนี้

    1. ด้านการเมืองการปกครอง

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราช แสดงให้เห็นถึงการเมืองการปกครองในรัชสมัยของพ่อ-

    ขุนรามค�าแหงว่าพระองค์ทรงเป็นนักปกครองท่ีดีเยี่ยมพระองค์ทรง

    ใกล้ชิดกบัเหล่าพสกนกิรและสามารถปกครองราษฎรให้มแีต่ความสขุ

    สงบร่มเย็นดังส�านวนว่า

    ส�านวนไทย ความหมาย บริบทของส�านวน

    ในศิลาจารึก

    16.ด้วยรู้ ด้วยความฉลาด “...แต่คนอันมีในเมืองไทย

    ด้วยหลวก หลักแหลม ด้วยรูด้้วยหลวกด้วยแกล้ว

    ด้วยหาญด้วยแคะ...”

    (ศิลาจารึกด้านที่4)

    17.เมืองกว้างช้าง เมืองกว้างใหญ่, “...อาจปราบฝูงข้าเสิก

    หลาย มีอ�านาจมาก มีเมืองกว้างช้างหลาย

    ปราบเมืองตะวันออก...” (ศิลาจารึกด้านที่4)

  • LC Journal20

    -ไพร่ฟ้าหน้าใส -ไพร่ฟ้าข้าไท

    -ไพร่ฟ้าหน้าปก -บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน

    -เจ็บท้องข้องใจ -ถือบ้านถือเมือง

    2. ด้านเศรษฐกิจ

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราช แสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจในรัชสมัยของพ่อขุนราม-

    ค�าแหงว่า เป็นเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณ

    ธัญญาหารราษฎรค้าขายได้อย่างเสรีดังส�านวนว่า

    -ในน�้ามีปลาในนามีข้าว

    -จูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย

    3. ด้านชีวิตความเป็นอยู่และสภาพบ้านเมือง

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราชแสดงให้เหน็ถึงสภาพชวิีตความเป็นอยูแ่ละสภาพบ้านเมืองใน

    รชัสมยัของพ่อขนุรามค�าแหงว่าในสมยันีป้ระชาชนอยูก่นัอย่างร่มเยน็

    เป็นสุขคนในเมืองนับถือศาสนาพุทธมีหลักธรรมในการด�าเนินชีวิตมี

    เมตตาธรรม เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อาณาเขตเมืองสุโขทัยกว้างใหญ่

    ไพศาล ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างสุขสบาย แม้ว่าจะมีสงครามอยู่บ่อยครั้ง

    เกดิการพลดัพรากตายจากกนัไปแต่ผูค้นกด็�ารงชวีติอยูไ่ด้ด้วยความสขุ

    สงบดังส�านวนว่า

    -หนีญญ่ายพายจะแจ้น -ตีหนังวังช้าง

    -ผิดแผกแสกว้างกัน -ล้มหายตายกว่า

  • Dhonburi Rajabhat University 21

    -ช่วยเหนือเฟื้อกู้ -ดูงามดังแกล้ง

    -ไหว้ดีพลีถูก -ด้วยรู้ด้วยหลวก

    -เมืองกว้างช้างหลาย

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราชมทีัง้ส�านวนทีปั่จจบุนัเลกิใช้แล้วส�านวนทีย่งัคงอยูแ่ละมคีวาม

    หมายคงเดิมรวมถึงส�านวนที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปค�าและความหมาย

    จนมาเป็นส�านวนในปัจจุบัน

    วิวัฒนาการของส�านวนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึก

    จากตารางแสดงส�านวนไทยท่ีปรากฏในศลิาจารกึหลกัที่1ของ

    พ่อขุนรามค�าแหงมหาราชพบว่าส�านวนไทยทั้ง17ส�านวนมีใช้มาถึง

    ปัจจุบันเพียง5ส�านวนและใน5ส�านวนนี้มีส�านวนที่มีรูปและความ

    หมายของส�านวนคงเดิมเพียง 1 ส�านวน คือ ในน�้ามีปลาในนามีข้าว

    ส�านวนที่เหลืออีก 4 ส�านวน เกิดการเปล่ียนแปลงถ้อยค�าและ

    ความหมายซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จ�าแนกออกได้เป็นการเปลี่ยนแปลง

    ด้านค�าศัพท์และการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายดังนี้

    1. การเปลี่ยนแปลงด้านค�าศัพท์

    ส�านวนไทยทีป่รากฏในศิลาจารกึหลกัที่1ของพ่อขนุรามค�าแหง

    มหาราชมีการเปลี่ยนแปลงด้านค�าศัพท์2ลักษณะคือการสูญศัพท์

    และการเปลี่ยนแปลงศัพท์

    การสูญศัพท์

    บุญเหลือ ใจมโน (ม.ป.ป.:12)กล่าวถึงการสูญศัพท์ว่า“เป็น

  • LC Journal22

    กระบวนการหนึง่ของภาษาทีจ่ากเดมิเคยมีค�าศพัท์ใช้ในภาษาแต่ต่อมา

    ได้เลิกใช้ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น มีสิ่งของใหม่ ความคิดใหม่ได้สูญหาย

    ไปจากสงัคมหรือมีค�าศัพท์ใหม่เกดิข้ึนและมาแทนทีค่�าศพัท์เดมิ”การ

    สูญศัพท์ของส�านวนไทยในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามค�าแหง

    มหาราชพบส�านวนที่หายไปเพราะไม่มีผู้ใช้จ�านวน12ส�านวนดังนี้

    1. ไพร่ฟ้าหน้าใส

    2. ไพร่ฟ้าข้าไท

    3. ผิดแผกแสกว้างกัน

    4. บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน

    5. ไพร่ฟ้าหน้าปก

    6. จูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย

    7. ดูงามดังแกล้ง

    8. เจ็บท้องข้องใจ

    9. ด้วยรู้ด้วยหลวก

    10. เมืองกว้างช้างหลาย

    11. หนีญญ่ายพายจะแจ้น

    12. ตีหนังวังช้าง

    จากการวิเคราะห์ส�านวนไทยทั้ง 12 ส�านวนที่สูญหายไปนั้น

    เกิดจากสิ่งของหรือความคิดเกี่ยวกับส�านวนเหล่านั้นหายไปจากสังคม

    ไทยและไม่มีศัพท์ใหม่เข้ามาแทนที่ประกอบกับระยะเวลาที่ผ่านเลย

    มากกว่า 700 ปี ท�าให้ส�านวนไทยในศิลาจารึกถูกกลืนหายไปกับยุค

    สมัยที่เปลี่ยนแปลงไป

  • Dhonburi Rajabhat University 23

    การเปลี่ยนแปลงศัพท์

    การเปลี่ยนแปลงศัพท์คือการที่ค�าศัพท์มีการเปลี่ยนแปลงไป

    จากรูปศัพท์เดิมจากการศึกษาส�านวนไทยในศิลาจารึกหลักที่1ของ

    พ่อขุนรามค�าแหงมหาราชพบการเปลี่ยนแปลงถ้อยค�าส�านวนเพียง1

    ลักษณะ คือ การเปลี่ยนรูปค�าศัพท์ จากค�าศัพท์เดิมเป็นค�าศัพท์ใหม่

    ดังนี้

    ล้มหายตายกว่า ล้มหายตายจาก

    ช่วยเหนือเฟื้อกู้ ช่วยเหลือเกื้อกูล

    ไหว้ดีพลีถูก เซ่นดีพลีถูก

    ถือบ้านถือเมือง กินบ้านกินเมือง

    2. การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย

    ส�านวนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนราม-

    ค�าแหงมหาราชพบการเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย1ลักษณะคือ

    ความหมายย้ายที่ดังนี้

    ความหมายย้ายที่

    ความหมายย้ายท่ี คือ การเปลี่ยนแปลงความหมายจาก

    ความหมายเดิมในศิลาจารึกหลักท่ี 1 ของพ่อขุนรามค�าแหงมหาราช

    มาเป็นความหมายของส�านวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

  • LC Journal24

    จากตารางจะเหน็ได้ว่าส�านวนไหว้ดีพลถีกูและถอืบ้านถอืเมอืง

    เกดิการเปลีย่นแปลงความหมายจากความหมายเดมิในสมยัสโุขทยัเป็น

    ความหมายใหม่สมัยปัจจุบัน

    สรุป

    จากการศึกษาส�านวนไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1ของ

    พ่อขนุรามค�าแหงมหาราชพบว่ามสี�านวนไทยปรากฏทัง้สิน้17ส�านวน

    จ�าแนกเป็นส�านวนที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง6ส�านวน,ส�านวน

    ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ2ส�านวนและส�านวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่

    และสภาพบ้านเมือง 9 ส�านวน วิวัฒนาการของส�านวนที่ปรากฏใน

    ศิลาจารึกหลักท่ี 1 ของพ่อขุนรามค�าแหงมหาราช พบว่ามีการ

    เปลี่ยนแปลง2ลักษณะคือการเปลี่ยนแปลงด้านค�าศัพท์ และการ

    เปลี่ยนแปลงด้านความหมาย การเปลี่ยนแปลงด้านค�าศัพท์ มี 2

    ลักษณะคือการสูญศัพท์และการเปลี่ยนแปลงศัพท์การเปลี่ยนแปลง

    ด้านความหมายมี1ลักษณะคือความหมายย้ายที่

    ส�านวนไทย ความหมาย ส�านวนไทย ความหมายใหม่

    ในศิลาจารึก เดิม ปัจจุบัน

    ไหว้ดีพลีถูก สักการบูชา เซ่นดีพลีถูก ติดสินบนเก่ง

    ถือบ้าน สั่งราชการ, กินบ้าน ตื่นสายมาก,

    ถือเมือง ปกครอง กินเมือง ฉ้อราษฎร์บงัหลวง

  • Dhonburi Rajabhat University 25

    บรรณานุกรม

    ไขสิริปราโมชณอยุธยา.2534.การเปลี่ยนแปลงถ้อยค�าและ

    ความหมายของส�านวนไทย.พิมพ์ครั้งที่3.กรุงเทพฯ:

    ส�านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    ธวัชปุณโณทก.2545.วิวัฒนาการภาษาไทย.กรุงเทพฯ:

    ไทยวัฒนาพานิช

    บุญเหลือใจมโน.ม.ป.ป.บทความเรื่อง “ราชาศัพท์ที่ปรากฏใน

    จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 : ศึกษาและวิเคราะห์ด้าน

    วิวัฒนาการ. เอกสารประกอบการสอนวิชาวิวัฒนาการ

    ภาษาไทย.

    ประเทืองคล้ายสุบรรณ์.2530.ส�านวนไทย.พิมพ์ครั้งที่14.

    กรุงเทพฯ:สุทธิสารการพิมพ์.

    สจิุตต์วงษ์เทศ.2549.อกัษร ภาษา จารึก วรรณกรรม รวมบทนิพนธ์

    เสาหลักทางวิชาการของศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร.

    กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์ มติชน.

    ราชบณัฑติยสถาน.2546.พจนานุกรมฉบบัราชบณัฑติยสถาน พ.ศ.

    2542.กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

  • LC Journal26

    บรรณานุกรม

    ราตรีธันวารชร.2542.การศึกษาค�าในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของ

    พ่อขุนรามค�าแหงมหาราช.กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์

    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

    สง่ากาญจนาคพันธ์.2538.ส�านวนไทย.กรุงเทพฯ:ส.เอเชียเพรส

    (1989)จ�ากัด.

    หอสมุดแห่งชาติ,ส�านักกรมศิลปากร.2547.ประมวลข้อมูล

    เก่ียวกบัจารกึพ่อขนุรามค�าแหง.กรงุเทพฯ:รุง่ศลิป์การพมิพ์.

  • Dhonburi Rajabhat University 27

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมัสยิดวาริด เจริญราษฎร์*

    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู ้นับถือเป็นจ�านวนมาก ใน

    ประเทศไทยพบว่ามีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่ทั่วทุกภูมิภาค สังคมและ

    วัฒนธรรมอิสลามมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวโดยมีคัมภีร์อัล-กุรอาน

    และแนวปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด เป็นแบบแผน ข้อบัญญัติส�าคัญของ

    ศาสนาอสิลามท่ีมสุลมิทุกคนท่ีบรรลนุติภิาวะต้องปฏบิตัคิอืการนมาซ

    หรือละหมาด โดยต้องปฏิบัติเป็นประจ�าทุกวัน วันละ 5 เวลา ดัง

    ปรากฏในคัมภีร์อัล-กุรอานความว่า“พวกเจ้าจงรักษาการละหมาด

    ทัง้หลายไว้และละหมาดทีอ่ยูก่ึง่กลางและจงยนืละหมาดเพือ่อลัลอฮฺ

    โดยนอบน้อม” (อัลกุรอานสูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ:238)ดังนั้น

    ชุมชนมุสลิมท่ัวโลกจึงต้องมีสถานท่ีส�าคัญที่ใช้ส�าหรับการละหมาด

    สถานที่นั้นได้แก่“มัสยิด”

    * อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

    มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  • LC Journal28

    ค�าว่ามสัยิด แปรเสียงมาจากค�าว่า อ่านว่า

    “ซะ-ยะ-ด๊ะ”ในภาษาอาหรับเป็นค�ากริยาโบราณหมายถึงการกราบ

    ซึ่งชาวมุสลิมจะกราบได้เฉพาะพระเจ้าสูงสุดคืออัลลอฮฺ เท่านั้นการ

    กราบนีถ้อืเป็นท่าส�าคญัท่าหนึง่ในการละหมาดปัจจบัุนเรยีกการกราบ

    นี้ว่าการสุญูดดังนั้นมัสยิดจึงหมายถึงสถานที่ส�าหรับกราบ(อัลลอฮฺ)

    นั่นเองชาวมุสลิมในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักเรียกมัสยิดว่า

    “สุเหร่า”ซึ่งเป็นค�าในภาษาเปอร์เซียเดิมสุเหร่าหมายถึงสิ่งก่อสร้าง

    ที่ใช้ชุมนุมพักผ่อนหรือประชุมกันของชาวอิหร่านเนื่องจากบทบาท

    ของมัสยิดในสังคมมุสลิมที่เป็นศูนย์กลางในการละหมาด จึงเป็น

    สถานที่พบปะหรือชุมนุมกันของชาวมุสลิมอยู่เสมอ ค�าว่าสุเหร่าจึง

    กลายความหมายเป็นมสัยดิด้วยนัน่เองในประเทศไทยหากใช้ในบรบิท

    ทีเ่ป็นทางการจะใช้ค�าว่ามสัยดิแต่หากใช้เรยีกอย่างไม่เป็นทางการนยิม

    ใช้ค�าว่าสุเหร่าโดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมในภาคใต้

    ในคมัภร์ีอัล-กรุอานไม่ได้วางรูปแบบในการสร้างมสัยดิไว้อย่าง

    ชดัเจนแต่จากข้อบญัญตัแิละแนวทางในการประกอบศาสนกิจในมัสยิด

    จึงมีการก�าหนดรูปแบบของมัสยิดโดยมีองค์ประกอบสากลดังนี้

    1. ซุ้มประตู เป็นส่ิงก่อสร้างท่ีแบ่งแยกขอบเขตระหว่างโลก

    ภายนอกกับมัสยิด โดยท่ัวไปจะตกแต่งให้สวยงาม ในประเทศซาอุดิ-

    อาระเบียมักออกแบบซุ้มประตูให้ตรงกับกึ่งกลางของมัสยิด

    2. ที่อาบน�้าละหมาด อาจเป็นลานน�้าพุหรือท่อน�้าที่สามารถ

    ช�าระร่างกายตามศาสนบัญญัติได้คราวละหลายคน แยกเป็นสัดส่วน

  • Dhonburi Rajabhat University 29

    ระหว่างหญิงกับชายชัดเจน มักอยู่ส่วนนอกของมัสยิด เนื่องจากผู้ที ่

    อาบน�้าละหมาดแล้วจึงจะถือว่าสะอาดและจะสามารถเข้าไปภายใน

    โถงกลางส�าหรับละหมาดได้

    3. หอคอยอะซาน เป็นหอสูงส�าหรับร้องอะซานเชิญชวนให้

    มุสลิมมาละหมาดผู้ที่มีหน้าที่ขึ้นไปร้องอะซานเรียกว่าบิหลั่น

    4. โถงกลางส�าหรับละหมาด เป็นโถงส่วนในของมัสยิด ใช้

    ส�าหรับละหมาดพื้นปูด้วยพรมมีความสะอาดและเงียบสงบ

    5. มิหฺรอบ เป็นส่วนท่ีระบุทิศทางในการละหมาด โดยการ

    ละหมาดต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ คือ เมืองมักกะ ประเทศซาอุดิ-

    อาระเบียมิหฺรอบมักมีลักษณะเป็นซุ้มโค้งเว้าเข้าไปในผนัง

    6. มิมบัรฺ เป็นแท่นหรือบัลลังก์ส�าหรับอิมามหรือคอเต็บขึ้น

    กล่าวปราศรัยแจ้งข่าวหรือเทศน์คุตบะฮฺในวันศุกร์

    7. มักซุรัท มักปรากฏในมัสยิดของประเทศอิรัก คูเวต และ

    อียปิต์เป็นฉากไม่หรอืโลหะประดบัลวดลายก้ันบรเิวณหน้าซุม้มิหรฺอบ

    เพื่อป้องกันอิมามถูกลอบสังหาร มักมีทางลับเชื่อมกับด้านในมัสยิด

    เฉพาะอิมามเข้าออก

    8. ลานอเนกประสงค์ เป็นลานโล่งอาจเป็นลานกลางแจ้งหรือ

    มชีายคากไ็ด้ใช้ส�าหรบัละหมาดในเทศกาลส�าคัญทีมี่คนมารวมกนัเป็น

    จ�านวนมากอาจใช้เป็นที่จัดกิจกรรมอื่นๆในชุมชนด้วยก็ได้

  • LC Journal30

    ภาพแสดงรูปแบบองค์ประกอบสากลของมัสยิด

    มัสยิดแบ่งเป็น5ประเภทตามการตีความจากคัมภีร์อัล-กุอาน

    และแบบอย่างในการสร้างมัสยิดของท่านนบีมุฮัมมัดดังนี้

    1. มัสยิดกลาง เรียกว่ายะมีอะฮฺ มัสยิดกลางเป็นมัสยิดที่ใช้

    ส�าหรับละหมาดร่วมกันในวันศุกร์มักสร้างในเมืองที่มีประชากรมุสลิม

    เป็นจ�านวนมากในประเทศไทยมมีสัยดิกลางหลายแห่งเช่นมสัยดิกลาง

    จังหวัดปัตตานีมัสยิดกลางจังหวัดนราธิวาสเป็นต้นมุสลิมจากแต่ละ

    ชุมชนจะมาละหมาดร่วมกันที่มัสยิดกลางอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง มัสยิด

    กลางจะมีมิมบัรฺให้คอเต็บหรืออิมามขึ้นแสดงคุตบะฮฺหรือหลักธรรม

    ค�าสอน ชาวมุสลิมจากต่างชุมชนจะมีโอกาสพบปะพูดคุยท�าความ

    รู้จักกันในการละหมาดที่มัสยิดกลางนี่เอง

  • Dhonburi Rajabhat University 31

    2. มัสยิดเทศกาล เรียกว่ามุศ็อลลา เป็นมัสยิดที่มีลานโล่ง

    ส�าหรับละหมาดรวมในวันเฉลิมฉลองวันอีดิลฟิตริ์และวันอีดิลอัฎฮา

    บรรดาญาติพี่น้องของชาวมุสลิมที่แยกย้ายไปอาศัยในที่ต่างๆจะกลับ

    มารวมตัวกันที่มัสยิดเทศกาลในวันดังกล่าว มัสยิดเทศกาลจะมีซุ้มมิห์

    รอบอยู่ทางด้านกิบละฮฺเพื่อแสดงทิศในการละหมาดบางครั้งลานโล่ง

    นี้จะถูกดัดแปลงเป็นที่จัดกิจกรรมอื่นๆก็ได้

    3. มัสยิดชุมชนเรียกว่า มัสยิด สุเหร่าหรือกอฎีเป็นมัสยิด

    ประจ�าถิน่ทีใ่ช้ส�าหรับละหมาดวนัละ5เวลาแต่ในวนัศกุร์อาจไม่มกีาร

    ละหมาดรวมเนื่องจากมุสลิมมักไปละหมาดที่มัสยิดกลางมัสยิดชุมชน

    จึงไม่จ�าเป็นต้องมีแท่นมิมบัรฺเหมือนมัสยิดกลาง

    4. มัสยิดส่วนบุคคลเรียกว่าบะลาซะห์หรือบาไลเซะเป็น

    มสัยดิขนาดเลก็ในเขตทีห่่างไกลจากมสัยดิชมุชนเช่นอยูบ่นภเูขาเหว

    หรือมีแม่น�้ากั้น มัสยิดส่วนบุคคลใช้ส�าหรับละหมาดในหมู่เครือญาติ

    หรือเพื่อนบ้านละแวกใกล้เคียงกันเท่านั้น

    5. มสัยดิอืน่ๆเป็นมสัยดิท่ีสร้างร่วมกับอาคารอืน่ๆเช่นมสัยดิ

    ในมหาวิทยาลัย มัสยิดในพระราชวัง มัสยิดในโรงพยาบาล ส่วนมาก

    พบในประเทศซาอุดิอาระเบียอียิปต์และอิรัก

    มัสยิดที่ถือเป็นศูนย์กลางและมีความส�าคัญกับชาวมุสลิมมี 3

    แห่งด้วยกัน คือมัสยิดอัล-ฮะรอม มัสยิดอัล-นะบะวีย์ และมัสยิดอัล-

    อักซอ

  • LC Journal32

    มัสยิดอัล-ฮะรอม หรือมัสยิดต้องห้าม ถือเป็นมัสยิดที่ส�าคัญ

    ที่สุด ตั้งอยู่ที่เมืองมักกะประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นที่ตั้งของกะบะ

    บ่อน�้าซัมซัมมะกอมอิบรอฮีมซึ่งเป็นศูนย์กลางของการท�าฮัจญ์

    มสัยดิอลั-นะบะวย์ีถอืเป็นมสัยดิส�าคัญอนัดบัสองของโลกเป็น

    มัสยิดที่ท่านนบีมุฮัมมัดสร้างขึ้นตั้งอยู่ที่เมืองมะดีนะฮฺประเทศซาอุดิ-

    อารเบยีเมือ่คราวทีท่่านนบอีพยพมาจากเมือมักกะท่านได้ปล่อยให้อฐู

    ของท่านเดินไปเรื่อยๆโดยท่านตั้งใจว่าจะสร้างมัสยิดบริเวณที่อูฐเดิน

    ไปหยุดพัก บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่สร้างมัสยิดอัล-นะบะวีย์ใน

    ปัจจุบัน

    มัสยิดอัล-อักซอ เป็นมัสยิดส�าคัญอันดับสาม ตั้งอยู่ที่กรุงเยรู-

    ซาเล็ม เป็นมัสยิดส�าคัญที่นบีมุฮัมมัดเดินทางไปเยือนจากมัสยิดอัล-

    ฮะรอมและเลยไปสู่สววรค์เพียงข้ามคืนเดียว เหตุการณ์มหัศจรรย์นี้

    ชาวมุสลิมเรียกว่าอิสรอและมิอฺรอจญ์

    มัสยิดทั้งสามที่กล่าวมาเป็นมัสยิดส�าคัญที่ปรากฏในคัมภีร์อัล-

    กุรอานและหะดีษส่วนมัสยิดอื่นๆในโลกมีฐานะเท่าเทียมกัน

  • Dhonburi Rajabhat University 33

    เนื่องจากมัสยิดเป็นสถานที่ส�าคัญในการนมัสการลลอฮฺ จึงม ี

    ข้อปฏิบัติส�าคัญเกี่ยวกับมัสยิดดังนี้

    1.แม้ว่าร่างกายจะสะอาดอยูแ่ล้วแต่ก่อนเข้ามัสยดิต้องอาบน�า้

    ละหมาดก่อนทุกครั้ง

    2. สตรีที่มีประจ�าเดือน เลือดหลังคลอดบุตร เลือดจากการมี

    เพศสัมพันธ์ บุรุษท่ีอสุจิเคลื่อนออกมาจากอวัยวะเพศ ห้ามเข้ามัสยิด

    เด็ดขาดเว้นแต่ได้อาบน�้าช�าระตามศาสนบัญญัติของอิสลามก่อนหาก

    มีความจ�าเป็นต้องผ่านมัสยิดควรเดินอย่างรวดเร็ว

    3. ก่อนเข้ามัสยิดให้กล่าวถ้อยค�าว่า “อัลลอฮุมมัฟตะฮฺลี

    อับวาบะเราะฮฺมะติกะ”อาจเปล่งเสียงหรือกล่าวในใจก็ได้

    4.ก้าวเท้าขวาเข้ามัสยิดก่อนเท้าซ้ายเสมอ

    5. เมื่อเข้าไปภายในมัสยิดแล้วควรละหมาดเคารพมัสยิดก่อน

    จะนั่ง

    6.หากมัสยิดร่วมกันเป็นหมู่คณะควรยืนแถวหน้าให้เต็ม

    เสียก่อน

    7.ไม่ควรจับจองที่ประจ�าในการละหมาด

    8.ห้ามเดินตัดหน้าหรือชนผู้ที่ก�าลังละหมาด

    9.ไม่ควรพูดคุยเรื่องไร้สาระภายในบริเวณมัสยิด

    10.ห้ามส่งเสียงดังในมัสยิดในทุกกรณี

    11. การไปมัสยิดต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ผู้ชายอาจใส่

    น�้าหอมอ่อนๆหากรับประทานกระเทียมหัวหอมหรืออาหารที่มีกลิ่น

    ต้องท�าความสะอาดจนหมดกลิ่นนั้นเสียก่อน

  • LC Journal34

    12.ก่อนออกจากมัสยิดให้กล่าวถ้อยค�าว่า“อัลลอฮุมมะอินนี

    อัสละลุกะมินฟัฏลิก”

    ในประเทศไทยเมื่อมีชุมชนมุสลิมก็ย่อมมีมัสยิดเพ่ือใช้ส�าหรับ

    ละหมาดพบปะสนทนาของคนในชุมชนนั้นๆ แต่เดิมการสร้างมัสยิด

    ในประเทศไทยไม่ยึดติดรูปแบบ อาจเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์

    หรือเป็นส่ิงปลูกสร้างที่เรียบง่าย เหมาะกับสภาพภูมิประเทศและ

    ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น แต่ในปัจจุบันมัสยิดส่วนใหญ่นิยมสร้าง

    ตามหลักสถาปัตยกรรมในตะวนัออกกลางโดยมีต้นแบบจากมัสยดิอลั-

    ฮะรอม มัสยิดอัล-นะบะวีย์ในประเทศซาอุดิอาระเบีย และมัสยิดอัล-

    อักซอในประเทศอิสราเอลเนื่องจากเป็นมัสยิดที่ส�าคัญที่สุด3อันดับ

    แรกของโลกและเป็นสญัลกัษณ์แห่งความภาคภมูใิจของศาสนาอสิลาม

    ดังท่ีกล่าวมาแล้วว่าปัจจุบันมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู ่ทั่ว

    ทุกภูมิภาค ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีปฏิบัติของชาวไทย

    มุสลิมจึงเป็นส่ิงท่ีคนท่ัวไปควรเข้าใจ โดยเฉพาะเกี่ยวกับมัสยิดซึ่งถือ

    เป็นสถานที่ส�าคัญในศาสนาอิสลาม อันจะท�าให้เกิดความเข้าใจอันดี

    และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม

  • Dhonburi Rajabhat University 35

    บรรณานุกรม

    กรมสารนิเทศ. (2538). โลกอิสลาม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจ�ากัด

    อรุณการพิมพ์.

    ฉวีวรรณวรรณประเสริฐ,พีรยศราฮิมมูลา,และมานพจิตต์ภูษา.

    (2525).ประเพณีที่ช่วยส่งเสริม การผสมผสานทางสังคม

    ระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม.กรุงเทพฯ:บริษัท

    สารมวลชนจ�ากัด.

    ดลมนรรจน์บากา,และแวอูเซ็งมะแดเฮาะ.(2536).อิสลามศึกษา

    เบื้องต้น.ปัตตานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขต

    ปัตตานี.

    ต่วนสุวรรณศาสน์.(2519).ศาสนาอิสลาม ฉบับของส�านัก

    จุฬาราชมนตรี.กรุงเทพฯ:กรมศาสนา.

    บรรจงบินกาซัน.(2547).สารานุกรมอิสลาม (พิมพ์ครั้งที่ 2).

    กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์อัลอะมีน.

    ________.(2541).อิสลามส�าหรับผู้เริ่มสนใจอิสลาม (พิมพ์ครั้งที่

    6). กรุงเทพฯ:บริษัทออฟเซ็ทเพรสจ�ากัด.

    บินมุสลิม.(2549).ปทานุกรม อาหรับ-ไทย.กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือ

    มานพวงศ์เสงี่ยม.

    พิสุทธิ์หะยีดิน.(2519).นี่คือศาสนาอิสลาม.กรุงเทพฯ:สายสัมพันธ์.

    มานีชูไทย.(2544).อิสลาม : วิถีการด�าเนินชีวิตที่พัฒนาคุณภาพ

    ชีวิต. กรงุเทพฯ:มหาวทิยาลยัศรนีครนิทรวโิรฒประสานมติร.

  • LC Journal36

    บรรณานุกรม

    มุฮัมมัดบินอิบรอฮีมบินอับดุลลอฮ์อัต-ตุวัยญิรีย์.(2551).มุคตะศ็อร

    อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์ (อันวา สะอุ, ผู้แปล).กรุงริยาด:

    ส�านักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลามอัล-

    ร็อบวะฮฺ.

    ราชบณัฑิตยสถาน.(2546).พจนานุกรมฉบบัราชบณัฑติยสถาน พ.ศ.

    2542.กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

    ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย.(2530).ประเทศไทยกับโลก

    มุสลิม.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

    สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม.(2530).คู่มือ

    ประกอบการสอนวิชา ส.606 (ศาสนาอิสลาม).กรุงเทพฯ:

    ส�านักพิมพ์ดาวเดือน.

    สมใจอนุมานราชธน.(2551).อัล อิสลาม.กรุงเทพฯ:หสน.เจียฮั้ว.

    สมาคมนกัเรียนเก่าอาหรับ.(1919).พระมหาคมัภย์ีอลั-กรุอาน พร้อม

    ค�าแปล เป็นภาษาไทย.ซาอุดิอารเบยี.ศนูย์กษตัรย์ิฟะฮดัเพือ่

    การพิมพ์อัล-กุรอาน.

    สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม.(2520).อะไรในอิสลาม.กรุงเทพฯ:

    โรงพิมพ์เจริญธรรม.

  • Dhonburi Rajabhat University 37

    ชาดก บันทึกทางภาษา

    ศรัทธาของชาวพุทธวิชุดา พรายยงค์*

    พทุธศาสนามอีายยุาวนานกว่า2,500ปีคนไทยมคีวามศรัทธา

    ต่อพุทธศาสนามาอย่างยาวนานเห็นได้จากขนบธรรมเนียมประเพณี

    อันเกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนา ที่ผูกพันกับคนในสังคมไทยตั้งแต่เกิด

    จนตาย เช่น ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ การบวช การแต่งงาน การตาย

    ประเพณตีามเทศกาลเช่นการทอดผ้าป่าการทอดกฐนิเมือ่ถงึเทศกาล

    ออกพรรษาตามวัดต่างๆ จะเร่ิมมีการจัดประเพณีเทศน์มหาชาติซึ่ง

    ใช้เนื้อเรื่องจากชาดกในการเทศน์

    ชาดก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ให้

    ความหมายของค�าว่าชาดกไว้ว่า “เร่ืองพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติ

    ก่อนๆ”

    * อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

    มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

  • LC Journal38

    การเทศน์มหาชาติที่ท�าสืบทอดกันมาแต่โบราณ สันนิษฐาน

    ว่าการเทศน์มหาชาตินั้นคงมีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยที่เรียกกันว่า เทศน์

    คาถาพนัต่อมามกีารแปลคาถาพนัเป็นภาษาไทยคอืมหาชาตคิ�าหลวง

    สมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนที่กล่าวถึง

    ประเพณีการเทศน์มหาชาติไว้ดังนี้

    “อยู่มาปีระกาสัปตศก ทายกในเมืองสุพรรณนั่น

    ถึงเดือนสิบจวนสารทหยังขาดวัน คิดกันจะมีเทศน์ด้วยศรัทธา

    พระมหาชาติทั้งสิบสามกัณฑ์ วัดป่าเลไลยน�