32
ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารกิจกรรมนักศึกษา (.มช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . สุเทพ .เมือง . เชียงใหม่ 50200 ติดต่อได้ทดั๊ก (ประธานชมรม) 084-6178601 ป๋อม (ผู้ประสานงานชมรม) 089-7017686 Email: [email protected] Facebook: Aikido CMU Blog : http://aikidocmu.wordpress.com AikidoCMU NEWSLETTER CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ )

#32 AikidoCMU

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Chiang Mai University AikidoClub Newsletter #32 May-June-July 2012

Citation preview

Page 1: #32 AikidoCMU

ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารกิจกรรมนักศึกษา (อ.มช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถ. สุเทพ อ.เมือง จ. เชียงใหม่ 50200

ติดต่อได้ท ี ่ ดั๊ก (ประธานชมรม) 084-6178601 ป๋อม (ผู้ประสานงานชมรม) 089-7017686

Email: [email protected] Facebook: Aikido CMU

Blog : http://aikidocmu.wordpress.com

AikidoCMU NEWSLETTER

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 2: #32 AikidoCMU

จิตวิทยาของการปองกันตัว (2) หลีกเลี่ยงการลุกลามของสถานการณ .....ดร.สมบัติ ตาปญญา ๓

เซนในศิลปะการตอสู .....อ.ธีระรัตน บริพันธกุล ๗

สูสันติวัฒนธรรม

..... พระไพศาล วิสาโล ๙

ประโยชนสุขจากการสอบ

..... วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ ๒๒

เสนทางที่ฉันเดิน : ยุทธภูมิ

..... ออม โอริกามิ ๒๖

AIKIDO FAMILY ๒๙

อ.ธีระรัตน ์

บริพันธกุล

ดร.สมบัติ ตาปัญญา

สารบาญ

หน้า ๒

นักเขียนในฉบับ

จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ : ประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม ่

วันที ่10 - 30 สิงหาคม 2555พิธีเปิดวันที ่9 สิงหาคม 255513.00 ลงทะเบียน 13.15-13.25 พิธีเปิดโดยเจ้าหน้าที่ไทย 13.30-14.30 Lecture - History of Japanese Martial Arts: Weapons, War, and Society 14.40-15.30 Aikido - talk & demo 15.40 พิธีกรกล่าวนํา15.50 ผอ. มูลนิธิญี่ปุ่นกล่าวรายงาน 16.00 ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่และกงศุลใหญ่ ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ร่วมตัดริบบิ้นเปิดงาน 

พระไพศาล

วิสาโล

วิสุทธิ ์เหล็กสมบูรณ์

อ้อม โอริกามิ

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 3: #32 AikidoCMU

ผศ.ดร. สมบัติ ตาปญญา

! ในบทความที่ผมเขียนไว้ในฉบับที่แล้ว ผมได้พูดถึงว่าผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งแบ่งภาวะการตื่นตัวเป็นระดับต่างๆ โดยมีรหัสเป็นสี ได้แก่ สีขาวคือเบลอ ไม่ระวังตัว ไม่สนใจสถานการณ์แวดล้อมรอบตัว สีเหลืองคือตื่นตัวพอที่จะรับรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรืออะไรที่ไม่น่าไว้ใจ สีส้มคือตระหนักว่าภัยกําลังจะมาถึง สีแดงภัยมาถึงตัวแล้ว และสีดําคือคุณกําลังถูกโจมตีหรือทําร้าย และประเด็นสําคัญก็คือ เราจะต้องฝึกตัวเองไม่ให้อยู่ในสภาวะสีขาว แต่ให้อยู่ในระดับสีเหลืองตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาที่เราอยู่ในที่สาธารณะ

! ก่อนจะเขียนบทความนี้ไม่กี่วันผมก็ได้อ่านข่าวที่น่าจะถือเป็นตัวอย่างของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเราได้หากเราอยู่ในสภาวะสีขาว เรื่องก็มีอยู่ว่า หญิงสาวคนหนึ่งนั่งรอรถเมล์อยู่ที่ป้ายรถแห่งหนึ่ง ในขณะที่กําลังนั่งอยู่เธอก็ควักมือถือออกมากดเล่นเกม (ภาพนี้เราเห็นกันบ่อยๆ ในรถโดยสาร รถไฟฟ้า หรือที่สาธารณะทั่วไป) ข่าวให้รายละเอียดต่อไปว่า

! “เธอสังเกตว่า มีผู้ชายคนหนึ่งขับมอเตอร์ไซค์มาจอดหน้าศาลา แล้วเดินลงมานั่งฝั่งตรงข้าม โดยที่ไม่ถอดหมวกกันน็อกออก ซึ่งขณะนั้นเธอก็ไม่ได้สนใจอะไร นั่งเล่นเกมใน

โทรศัพท์มือถือไปเรื่อยๆ จากนั้นไม่นานรู้สึกว่า ชายคนดังกล่าวได้ลุกมายืนตรงด้านหน้า เมื่อเงยขึ้นมามอง พบผู้ชายคนนั้นยืนช่วยตัวเองอยู่ ก่อนจะพ่นน้ําอสุจิใส่หน้าตนเองทันท ีโชคดีที่เบี่ยงตัวหลบได้ทัน โดยภายหลังเสร็จกิจชายคนดังกล่าวได้เดินไปขี่รถ จยย.ขับออกไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่ามกลางความงุนงงของทุกคนที่นั่งอยู่ที่ศาลา ขณะที่ตัวเองถึงกับช็อกจนทําอะไรไม่ถูก

าพจาก http://www.oknation.net/blog/ajhara/2008/07/08/entry-1

ตอนที่สอง: หลีกเลี่ยงการลุกลามของสถานการณ์

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

จิตวิทยาของการปองกันตัว

Page 4: #32 AikidoCMU

! เมื่อเพื่อนที่นัดกันไว้มาถึงและทราบเรื่อง จึงได้แนะนําให้ไปแจ้งความ แต่ด้วยความที่ขณะนั้นกลัวสุดขีด ทําให้จําป้ายทะเบียนรถของชายโรคจิตไม่ได้”

! ในกรณีนี้อาจถือได้ว่าหญิงคนนี้ไม่โชคร้ายเกินไปนัก เพราะหากผู้ชายคนนี้ไม่ได้ต้องการแค่พ่นอสุจิใส่หน้าเธอ แต่ต้องการทําร้ายเธอเพื่อแย่งมือถือหรือกระเป๋าเงิน เธอคงจะลําบากกว่านี้อีกหลายเท่า เรื่องนี้จึงช่วยเน้นย้ําให้เราเห็นว่าการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาในที่สาธารณะหรือที่ซึ่งอาจมีอันตรายมาถึงตัวนั้นเป็นสิ่งสําคัญและเราควรฝึกให้เคยชินเป็นนิสัยไว้ดีกว่า

! สําหรับตอนนี้ผมอยากพูดถึงอีกแง่มุมหนึ่งของการป้องกันตัวจากความรุนแรง นั่นก็คือความตระหนักที่ว่าความรุนแรงมักจะมีรูปแบบที่พอคาดเดาได้ คือมักเริ่มจากจุดเล็กๆ (ดังคําพังเพยจากนิทานอีสปเรื่อง “น้ําผึ้งหยดเดียว” นั่นแหละ) แล้วลุกลามใหญ่โต หากคุณต้องการที่จะป้องกันตัวเองจากความรุนแรง คุณจึงต้องตระหนักถึงรูปแบบนี้เสมอ และเมื่อรู้สึกว่าเรื่องกําลังจะลุกลามแล้ว คุณจะได้คิดหาทางออกเสียก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา

! เช่น วันหนึ่งคุณนั่งดื่มกาแฟอยู่ดีๆ ก็มีชายหนุ่มคนหนึ่งควงแฟนเดินผ่านมาแล้วคิดว่าคุณมองบั้นท้ายแฟนของเขา (ซึ่งบังเอิญสวยน่ามองจริงๆ แม้ว่าคุณไม่ได้มองก็ตาม) เขาจึงหันมาจ้องหน้าคุณแล้วตะคอกใส่ว่า “มองอะไรวะ” คุณรู้สึกฉุนกึกขึ้นมาก็เลยยกนิ้วกลางให้เสียเลย ชายหนุ่มคนนั้นกลัวเสียหน้าเพราะแฟนยืนมองอยู่ จึงจําเป็นต้อง “โชว์พาว” โดยการรี่เข้ามาผลักหน้าอกคุณ ซึ่งตอนที่เขารี่เข้ามาคุณก็ได้ลุกขึ้นยืนแล้ว (โดยที่อาจยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะสู้หรือจะหนีด)ี หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็ชุลมุน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็มีใครคนหนึ่งถูกหามส่งโรงพยาบาลไปแล้ว และอีกคนก็ต้องไปโรงพัก และชีวิตหลังจากนั้นก็จะมีความวุ่นวายตามมาอีกอย่างไม่สิ้นสุด

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

ภาพจาก http://ww

w.dektube.com/action/ view

article/ 15048____________________U

S _______?vpkey= 6eb53843ae&album

_id=

หน้า ๔

Page 5: #32 AikidoCMU

! คุณอาจคิดว่าเรื่องแบบนี้ไม่น่าเกิดขึ้นได้จริง หรือแค่ชกกันนิดๆ หน่อยไม่น่าถึงตายหรือพิการ ลองอ่านข่าวที่ผมเคยตัดเก็บไว้ คือ “จับมอเตอร์ไชค์รับจ้าง ชกอาจารย์ดับ” เรื่องมีอยู่ว่า อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อายุ 45 ปี

ขึ้นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เมื่อถึงที่หมายคนขับเรียกเก็บเงิน 10 บาท ซึ่งตามปกติค่าโดยสารจะเป็น 7 บาท แต่ขณะนั้นเวลาเลยสามทุ่มไปแล้ว จึงต้องการเก็บ 10 บาท แต่อาจารย์วิศวะยืนยันว่าจะจ่ายเพียง 7 บาทตามราคาปกติ จึงนําไปสู่การมีปากเสียงกันอย่างรุนแรง

ขณะนั้นมีเพื่อนของคนขับรถรับจ้างนั่งดื่มสุราอยู่ใกล้ๆ ด้วยความมึนเมาและโมโหแทนเพื่อนจึงวิ่งเข้ามาชกต่อยหลายหมัด จนอาจารย์หนุ่มคนนั้นล้มลงกับพื้นและสลบไป เมื่อถูกนําส่งโรงพยาบาลก็พบว่าสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจนทําให้เสียชีวิตในคืนนั้นเอง

อนาคตของคนที่เป็นฝ่ายชกก็คงต้องเข้าคุก ส่วนอาจารย์ที่เสียชีวิตครอบครัวก็ต้องสูญเสียและลําบากกันไปหมด เพียงเพราะเงินแค่สามบาทเท่านั้นเอง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคิดได้เสียก่อนว่าเหตุการณ์กําลังลุกลามใหญ่โตและหยุดได้ เรื่องก็คงไม่ต้องลงเอยอย่างเศร้าโศกเช่นนี้

ดังนั้นหากเราคิดได้ทัน และรู้ถึงหลักการข้อนี้ โอกาสที่เราจะ “ป้องกันตัว” ก็จะเพิ่มสูงขึ้นอีกแน่นอน ทุกครั้งที่มีเรื่องทะเลาะหรือขัดแย้งกับใคร เราจึงควรตรึกตรองก่อนเสมอ ว่ามันคุ้มกับการเอาชีวิตของเราไปเสี่ยงหรือไม่ เพราะบางคนเขาพร้อมที่จะมีเรื่องอยู่แล้ว เหมือนกับสติ๊กเกอร์ติดกระจกท้ายรถคันหนึ่งที่ผมเคยเห็นไม่กี่วันมานี้ ตอนที่ผมขับรถไปบนถนนแถวอําเภอหางดง เขาบอกว่า “มีเรื่องกวน ... (ตรงนี้ติดรูปเท้าไว้) ... ที่ไหนขอให้บอก ดีชั่วรู้หมด แต่อดใจไม่ไหว”

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

ภาพ(

ไม่เกี่ยว

ข้องก

ับบทค

วาม)จา

ก ht

tp://

freel

ance

wor

k zo

nes

.blo

gspo

t.com

/201

2/02

/blo

g-po

st_4

095.

htm

l

หน้า ๕

Page 6: #32 AikidoCMU

The Art of Peace Doka # ๑๔

เขียนโดย Morihei Ueshiba 1936 แปลโดย John Stevens

(Edited by Seiseki Abe under the supervision of Kisshomaru Ueshiba.)

A person whoIn any situationPerceives the truth with resignationWould never need to draw his sword in haste.

! คนแบบนี้หากเราไปมีเรื่องกับเขามันก็จะ “เข้าทาง” เขาทันท ียิ่งถ้าเขาเพิ่งดื่มเหล้ามาใหม่ๆ กําลังอยู่ในอารมณ์คึกคะนองอยากต่อยตีอยู่พอดี หรือมีทัศนคติแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ฝังแน่นอยู่แล้ว เราอาจเอาอนาคตมาทิ้งกับเรื่องไร้สาระเสียเปล่าๆ ก็ได้ เช่น การขับรถตัดหน้ากัน หรือแซงซ้าย ขับช้า เกะกะ ขวางทาง

! รู้ทันสถานการณ์แบบนี้ไว้ก่อนดีกว่า เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องใช้ความรุนแรงหรือตกเป็นเหยื่อของมันเสียเองในที่สุด

หน้า ๖

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

John Stevens ไดรวบรวมเอา Doka หรือบทกวีขนาดสั้นของปรมาจารยไวในหนังสือ The Art of Peace ตอมา William McLuskie ไดนำมาลงเผยแพรที่เวบไซต http://omlc.ogi.edu/aikido/talk/osensei/artofpeace/

Page 7: #32 AikidoCMU

อ.ธีระรัตน บริพันธกุล

เซนในศิลปะการตอสู

ภาพยนตรสวนใหญที่เราชมกันเนื้อหาสวนใหญก็มักวนเวียนอยูกับเรื่องความรักและความรุนแรงโดยเฉพาะเรื่องของความรุนแรงความสนุกเราใจสุดๆอยูตรงที่ทั้งสองฝายซึ่งก็ไมพนที่จะตองเปนพระเอกกับผูรายที่ใชกำลังเขาห้ำหั่นกัน เรื่องก็ลงเอยโดยฝายพระเอกทำลายผูรายลงไดอยางยอยยับ เปนเรื่องที่ไมแปลกที่เราจะเสพติดความรุนแรงโดยไมรูตัวเพราะทุกคนจะรูสึกวาเขาคือพระเอกที่ประสบกับความสำเร็จในการการใชความรุนแรง

ศิลปะการตอสูแบบตะวันออก ไมวาจะเปนคาราเต, กังฟู, ไอคิโด, วิงชุน เปนอะไรที่มาก กวาความมันสะใจในการใชความรุนแรงและดำดิ่งที่ตอบโตดวยความกาวราวอยางเดียว ศิลปะการตอสูของโลกตะวันออกมักแฝงปรัชญาแนวคิดแบบเซนเอาไว ศิลปการตอสูจึงเปนเพียงถนนหลวงที่นำไปสูความเชื่อมั่นในตนเองและความสุขสงบทางใจอยางลึกซึ้ง

โจ ไฮแอมส ผูเขียนหนังสือ “เซน ในศิลปการตอสู” ไดเลาวา เขาเริ่มเรียนคาราเตในป1952 เขาก็ไมตางจากนักเรียนคนอื่นๆคือใชเวลาทั้งหมดในการฝกเทคนิคการเคลื่อนและใชพละกำลังที่มีอยูอยางถูกตอง เขารูสึกภูมิใจที่เปนคนมีฝมือในคาราเต(เปนนักปฏิบัตินิยม)ในตอนนั้นถามีคนมาพูดเกี่ยวกับเซนเขาก็รูสึกวาเปนเรื่องที่เหลวไหลและลี้ลับเชนเดียวกับการใชเวทมนตร คาถา

โจ ตั้งขอสังเกตวาในคริสตศตวรรษที่สิบหก เมื่อความตองการเสพศิลปะการตอสูแบบตะวันออกดวยการใชกำลังเริ่มลดลง ศิลปะการตอสูเริ่มหันเหไปสูการฝกฝนตนเองเพื่อการเจริญเติบโตทางจิตใจ(แนวจิตนิยม) ดังนั้นการตอสูกันใหถึงตายในสมัยนั้นจึงมีคำลงทายดวยคำวา “โด” เชน เคนโด หมายถึงวิถีแหงดาบ ไอคิโด วิถีแหงความรักและความกลมกลืน

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

หน้า ๗

Page 8: #32 AikidoCMU

เซนไมมีทฤษฎีไมมีคำสอนที่เขียนไวอยางชัดเจน เซนที่เขามาเกี่ยวของกับศิลปการตอสูจะเมินเฉยในเรื่องพลังแหงปญญาแตยกยองการกระทำตามสัญชาตญาณ โดยมีจุดมุงหมายสูงสุดคือการปลดปลอยคนใหพนจากความโลภโกรธหลง

อาจารยที่สอนศิลปะการตอสูในแนวเซนจะไมแสวงหาศิษยและไมปองกันศิษยที่จะหนี เมื่อศิษยคนใดตองการคำแนะนำอาจารยๆก็ยินดีใหโดยมีเงื่อนไขวาศิษยตองดูแลตนเองตลอดเสนทางนั้น หนาที่ของอาจารยก็คือมอบงานอันเหมาะสมแกศิษยแตละคนเพื่อใหเขาเขาใจอยางถองแทถึงการปฏิบัติ ใหเขาพึ่งตนเองและเขาใจเขาถึงความสามารถภายในของตนใหมากที่สุด

ครั้งแรกๆของการสอนของอาจารยเซนในศิลปะการตอสูจะสอนเทคนิคโดยไรคำอธิบายสาระใดๆทั้งนี้เพื่อเปดโอกาสใหศิษยคนหาสาระดวยตนเอง อาจารยเปนเพียงผูกระตุนแรงบันดาลใจแกศิษย จากนั้นความหมายและสาระสำคัญของศิลปการตอสูก็จะเผยตัวและเกิด “ภาวะแหงการหยั่งรู” ในศิษยแตละคนเอง

ผูที่ไมเคยลิ้มรสน้ำตาล การบรรยายดวยวาจาไมสามารถชวยใหเขารูสึกถึงรสชาตินั้นได สาระหรือถอยคำจึงนำความหมายไดเพียงบางสวน การรูรสหรือการหยั่งรูตองมีประสบการณกับมัน

ผูสำเร็จอยางถองแทในศิลปะใด

ยอมเปดเผยศิลปะนั้นในการกระทำ

ตัดตอนและดัดแปลงจากอมตพจนซามูไร

“เซน ในศิลปการตอสู”

รูจักคนอื่นเปนความฉลาด

รูจักตนเองเปนการตรัสรู

เลาจื้อ

หน้า ๘

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 9: #32 AikidoCMU

! หากจะพูดถึงศตวรรษที่ ๒๐ ดวยถอยคำที่กระชับที่สุด คงไมมีคำพูดใดชัดเจนไปกวาคำของเยฮูดิ เมนูฮิน นักดนตรีนามอุโฆษชาวอังกฤษ ซึ่งกลาววา “(ศตวรรษนี้)ไดสรางความหวังที่ย่ิงใหญที่สุดเทาที่มนุษยชาติเคยวาดหวังมา (ขณะเดียวกัน) มันก็ไดทำลายมายาภาพและอุดมคติทั้งมวลจนหมดสิ้น”

ศตวรรษที่ ๒๐ เริ่มตนดวยความหวังวาโลกนี้จะมีสันติภาพที่ย่ังยืน แตแลวสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก็อุบัติขึ้น แมกระนั้นก็ยังมีความเชื่ออยางกวางขวางวา นั่นคือสงครามซึ่ง “ยุติสงครามทั้งมวล” แตผานไปเพียง ๒ ทศวรรษเทานั้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็เกิดขึ้น ตามมาดวยสงครามเย็นและสงครามตัวแทนระหวางสองมหาอำนาจซึ่งเกิดขึ้นทุกมุมโลก เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงพรอมกับการลมสลายของสหภาพโซเวียต ก็ยังเชื่อกันวาสันติภาพจะเกิดขึ้นในที่สุด และ “อวสานของประวัติศาสตร”อยูแคเอื้อมเทานั้น แตแลวความหวังนั้นก็พังพินาศ เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองในคาบสมุทรบัลขานและอีกหลายประเทศทั้งในเอเชียและอาฟริกาจนกระทั่งทุกวันนี้

ศตวรรษที่แลวเปนศตวรรษที่นองไปดวยเลือด ระหวางป ๑๙๐๐-๑๙๘๙ ซึ่งเปนปสุดทายของสงครามเย็น มีคนถึง ๘๖ ลานคนตายไปในสงครามตาง ๆ ยังไมนับอีก ๔๘ ลานคนซึ่งตายดวยน้ำมือของรัฐบาลของตน (รวมทั้งรัฐบาลที่นำโดยสตาลิน เหมาและพลพต) หลายสวนในจำนวนนั้นตายเพราะการฆาลางเผาพันธุซึ่งเกิดขึ้น ทั้งในยุโรป อาฟริกา และเอเชีย

ศตวรรษที่ ๒๑ ดูเหมือนจะไมไดดีไปกวาศตวรรษที่แลวมากนัก เพราะขึ้นศตวรรษใหมไดแคปเดียว สงครามอยางใหมอันไดแก การกอการรายระหวางประเทศ ก็ระเบิดขึ้นอยางเต็มรูปแบบ และจุดชนวนใหเกิดสงครามตอตานการกอการราย ซึ่งลามไปสูทุกมุมโลก ทั้งนี้ยังไมไดพูดถึงสงครามกลางเมืองและการรบพุงซึ่งเกิดขึ้นกับ ๓๐ ประเทศ หรือ ๑ ใน ๘ ของประเทศทั่วโลก ซึ่งมีประชากรรวมแลวถึง ๒,๓๐๐ ลานคน กลาวอีกนัยหนึ่ง เวลานี้มีประชากร ๑ ใน ๓ ของโลกกำลังอยูในภาวะสงคราม๒

สู่สันติวัฒนธรรม ๑พระไพศาล วิสาโล

หน้า ๙บทความจาก http://www.visalo.org/article/P_soSanti.htm

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 10: #32 AikidoCMU

สงครามและความรุนแรงเหลานี้ไมไดเกิดขึ้นเพราะการตัดสินใจสวนบุคคลของผูนำประเทศเทานั้น หากยังเปนผลจากแรงผลักดันของคนในชาติ หรือเกิดขึ้นเพ่ือตอบสนองความตองการของพลเมืองในประเทศ สงครามที่สวนทางกับความปรารถนาของคนในชาติยอมยากที่จะเกิดขึ้นได ในทางตรงขามสงครามทั้งหลายดำเนินไปไดเปนเวลาหลายปหรือนานนับทศวรรษ ก็เพราะไดรับแรงสนับสนุนจากคนในประเทศ หรืออยางนอยผูคนก็ไมไดขัดขืนที่จะแบกรับภาระจากสงคราม ไมวาในทางวัตถุ ทางกาย หรือจิตใจ

สิ่งที่ผลักดันหรือหลอหลอมใหคนจำนวนมากสนับสนุนสงคราม ยอมมีมากกวาการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง หรือกลไกทางการเมืองที่สามารถระดมมวลชนใหคลอยตามผูนำที่พาประเทศเขาสูสงคราม สิ่งที่ลึกลงไปกวานั้นที่ทำใหการโฆษณาชวนเชื่อและกลไกทางการเมืองบรรลุผลได ก็คือ “วัฒนธรรม” ซึ่งรวมไปถึงสำนึกรวม คุณคา ความเชื่อ และทัศนคติที่ผูคนในประเทศยึดถือรวมกัน สวนเสี้ยวของวัฒนธรรมที่สนับสนุนความรุนแรง หรือผลักดันใหผูคนเห็นความรุนแรงเปนทางออก นี้เองที่ทำใหสงครามเกิดขึ้นไดในระดับประเทศ เราอาจเรียกวัฒนธรรมสวนนี้วา เปน “วัฒนธรรมแหงความรุนแรง”

องคประกอบของวัฒนธรรมแหงความรุนแรง! สำนึกหรือทัศนคติที่มีอิทธิพลอยางมากในการผลักดันใหผูคนกระทำความรุนแรงตอกันจนนำไปสูสงคราม ก็คือ ความถือตัวถือตนวาสูงกวา ไมวาจะโดยทางชาติพันธุ หรือผิวสี หรือภาษา หรือแมแตศาสนา ควบคูกันกันสำนึกดังกลาว ก็คือการเหยียดคนที่มีอัตลักษณตางจากตนวาเปนผูที่ดอยกวา หากการเหยียดนั้นไปไกลถึงขั้นที่เห็นวาต่ำกวาความเปนมนุษย การใชความรุนแรงกับคนเหลานั้นก็เกิดขึ้นไดไมยาก การลางเผาพันธุชาวยิวเกิดขึ้นไดเมื่อชาวเยอรมันเห็นวาคนยิวนั้นคือ “เชื้อโรค” “ไวรัส” “อสูร” หรือ “เดนมนุษย” ในทำนองเดียวกันสงครามในคาบสมุทรบัลขานลุกลามอยางรวดเร็วและโหดรายย่ิง ก็เพราะขณะที่ชาวโครเอเชียเหยียดชาวเซอรเบียวาเปน “สัตวสองขามีเครา” คนเซอรเบียก็เรียกคนโครเอเชียวา “คางคาวผี” ในสงครามอาวเปอรเซีย ทหารอเมริกันเรียกการสังหารทหารอิรักที่ลาถอยวา “การยิงไกงวง” บางคนถึงกับเปรียบทหารอิรักวาเปน “แมลงสาบ”๓

การถือตัวถือตนวาสูงหรือเหนือกวาผูอื่น เมื่อเกิดขึ้นแลวยอมอดไมไดที่จะเหยียดอีกฝายหนึ่งใหต่ำกวา แตไมมีอะไรที่อันตรายเทากับการถือตัววา เปนผูที่มีคุณธรรมสูงกวา หรือประเสริฐกวา เพราะนั่นจะทำใหผูที่อยูคนละฝายถูกประทับตราไปในทันทีวา เปนผูที่ชั่วรายต่ำทราม อะไรก็ตามเมื่อถูกตราวา ชั่วรายแลว ก็ไมมีเหตุผลที่จะอยู หากสมควรที่จะถูกขจัดออกไป ความรุนแรงที่กระทำกับคนเหลานั้นกลายเปนความชอบธรรมขึ้นมาทันที

หน้า ๑๐

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 11: #32 AikidoCMU

อัตลักษณนั้นในดานหนึ่งชวยทำใหเกิดความรูสึกรวมกันในหมูผูที่มีอัตลักษณเดียวกัน แตในอีกดานหนึ่งก็ทำใหผูมีอัตลักษณตางจากตน ถูกกีดกันออกไป กลายเปนคนละพวก จนอาจถึงขั้นกลายเปนปรปกษกัน ความเปนปฏิปกษนี้จะรุนแรงเขมขนมากหากเกิดความรูสึกแบงเขาแบงเราขึ้นมาวา “ฉันดี แกชั่ว” เชื้อชาติ ผิวสี ภาษา อาจทำใหเกิดความรูสึกดังกลาวได แตก็ไมมากเทากับศาสนา ไมวาตางศาสนาหรือตางนิกายก็ตาม การปฏิบัติศาสนาย่ิงเครงมากเทาไร ก็ย่ิงเสริมความรูสึกวา “ฉันเปนคนดี” มากเทานั้น และเห็นคนที่ไมปฏิบัติตามแนวทางของตัว เปนคนชั่วมากขึ้นตามไปดวย

ในยุคสงครามเย็นนั้น คำถามสำคัญก็คือ “คุณอยูขางใคร?” แตในยุคปจจุบัน คำถามที่สำคัญกวาคือ “คุณเปนใคร ?” คุณเปนคนผิวสีอะไร เปนคนชาติไหน เปนคนศาสนาอะไร อัตลักษณเหลานี้กลายเปนประเด็นสำคัญทางการเมือง ที่กำหนดความสัมพันธทางอำนาจของผูคนกลุมตาง ๆ ในสังคม ขณะเดียวกันก็เปนพลังสำคัญในการระดมทรัพยากรทางการเมืองเพ่ือขับเคลื่อนประเทศ(หรือชุมชนทางการเมือง)ใหไปในทิศทางที่ตองการ ซึ่งสวนใหญมักหนีไมพนการรื้อฟนความย่ิงใหญในอดีต(ตามที่เชื่อกัน)ใหกลับคืนมา แตสิ่งที่มักเกิดขึ้นควบคูกันก็คือการสรางภาพอีกฝายหนึ่ง(ที่มีอัตลักษณตางกัน)ใหเปนศัตรู หรือเปนตนตอแหงความเสื่อมทรามและปญหาทั้งมวลที่เกิดขึ้น เชนเดียวกับที่ชาวยิวเคยถูกตราหนาวาเปนตัวการแหงความเลวรายทั้งปวงในประเทศเยอรมนี การมีศัตรูอยูขางนอก ยังทำใหเกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมูพวกเดียวกันไดงายขึ้น การเมืองที่ชูเรื่องอัตลักษณ จึงเปนตัวบมเพาะความเกลียดชังและแพรความรุนแรงใหระบาดอยางรวดเร็วในปจจุบัน ทั้งนี้โดยวัฒนธรรมแหงความรุนแรงที่มีอยูเดิม (โดยเฉพาะความถือตัวถือตนวาสูงกวาหรือดีกวา) เปนเครื่องมือ ขณะเดียวกันก็ตอกย้ำวัฒนธรรมดังกลาวใหมั่นคงแนนหนาขึ้น

นอกจากความถือตัวถือตนวาสูงกวา(ซึ่งพุทธศาสนาเรียกวา“มานะ”)แลว องคประกอบที่สองของวัฒนธรรมแหงความรุนแรงก็คือ การยึดติดในความคิดความเชื่อหรือลัทธิอุดมการณ (ซึ่งพุทธศาสนาเรียกวา “ทิฏฐิ”) ความยึดติดดังกลาวหากมีมากชนิดฝงหัวสามารถทำใหผูคนยอมทำทุกอยางเพ่ือความเชื่อหรือลัทธิอุดมการณนั้น แมวาตัวเองจะตองตาย หรือทำใหผูอื่นตายก็ตาม ในดานหนึ่งเราจึงเห็นการสละชีวิตราวใบไมรวงเพ่ือลัทธิคอมมิวนิสตในรัสเซีย จีน เวียดนาม กัมพูชา แตในอีกดานหนึ่งเราก็เห็นการสังหารผูคนนับไมถวนในประเทศเหลานั้นเนื่องจากขัดขวางความกาวหนาของลัทธิดังกลาว (อยางนอยก็จากมุมมองของผูนำในประเทศดังกลาว)๔

หน้า ๑๑

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 12: #32 AikidoCMU

แมลัทธิคอมมิวนิสตจะลมสลายไปเกือบหมดแลว แตก็มีลัทธิอุดมการณอื่น ๆ ที่เขามาครอบงำจิตใจของผูคนแทน จนนำไปสูการทำสงครามกัน ที่สำคัญก็คือลัทธิชาตินิยม ซึ่งเปนปจจัยสำคัญในการทำใหเกิดสงครามกลางเมืองเพ่ือแยกประเทศจนเกิดประเทศใหม ๆ เพ่ิมขึ้นมากมาย ในขณะที่อีกหลายประเทศยังมีการสูรบอยางไมเลิกราในบัดนี้ เทานั้นยังไมพอ ลัทธิอุดมการณที่มาในรูปศาสนายังเปนอีกปจจัยหนึ่งซึ่งมีบทบาทอยางมากในการผลักดันใหเกิดความรุนแรงนานาชนิด ทั้งในรูปสงครามระหวางประเทศ สงครามกลางเมือง การกอการราย และการนองเลือดระหวางกลุมชน

ความติดยึดในลัทธิอุดมการณจนฝงหัว นอกจากจะทำใหมองคนที่คิดหรือเชื่อตางจากตนเปนศัตรูแลว ยังอาจบมเพาะความโกรธเกลียดจนถึงขั้นทำรายคนเหลานั้นได บอยครั้งลัทธิอุดมการณดังกลาวยังเพ่ิมพูนความถือตัวถือตนของผูสมาทานลัทธินั้น วาเปนผูสูงกวาในทางคุณธรรม ซึ่งในทางกลับกันก็ทำใหเหยียดอีกฝายวา มีคุณธรรมดอยกวา หรือเปนคนเลวราย (ดังนั้นจึงไมสมควรมีชีวิตอยูบนโลกนี้) ดังผูที่เชื่อวาชีวิตเปนสิ่งศักดิ์สิทธ์ิที่ตองเชิดชูปกปอง (pro-life) บางคนถึงกับบุกเขาไปสังหารหมอและพยาบาลในคลินิกทำแทง หรือนักอนุรักษสิ่งแวดลอมแบบสุดโตงบางคนลงมือสังหารผูที่ทำลายสิ่งแวดลอมหรือทรมานสัตว แนนอนวาในบรรดาลัทธิอุดมการณทั้งหลาย ศาสนาที่สมาทานอยางยึดติดสามารถทำใหเกิดความรูสึกทางลบไดมากที่สุดตอคนที่คิดตางจากตน

องคประกอบที่สามของวัฒนธรรมแหงความรุนแรงก็คือ ความทะยานอยาก ( พุทธศาสนาเรียกวา “ตัณหา”) ความทะยานอยากที่มีอิทธิพลในปจจุบันมากที่สุด มาในรูปของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งทำใหเชื่อวา ความสุขเกิดจากการบริโภค หรือบริโภคมากเทาไร ก็ย่ิงมีความสุขมากเทานั้น ความเชื่อดังกลาวทำใหเกิดความทะยานอยากไมรูจักพอ จึงนำไปสูการแขงขัน ชิงดีชิงเดน และเอารัดเอาเปรียบกันทั้งตั้งแตระดับบุคคลไปจนถึงระดับประเทศ สิ่งที่ตามมาคือความรุนแรงจนถึงขั้นประหัตประหารกัน นอกจากอาชญากรรมที่แพรระบาดในหลายประเทศแลว ปจจุบันยังมีสงครามระหวางประเทศและสงครามกลางเมืองจำนวนมากเกิดขึ้นเพราะการแยงชิงทรัพยากรและผลประโยชนทางเศรษฐกิจ ประมาณวา ๑ ใน ๔ ของสงครามและการรบพุงในชวงหลายปที่ผานมา ประทุขึ้นมาหรือลุกลามขยายตัวเพราะการแยงชิงและครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ (Williams 161) การประหัตประหารระหวางเผาพันธุในหลายกรณีก็มีความขัดแยงทางดานทรัพยากรเปนแรงผลักดันอยูเบื้องหลัง อาทิ การฆาลางเผาพันธุในรวันดา ซึ่งเชื่อมโยงกับการแยงชิงที่ทำกิน ดังพบวาแมในชุมชนที่มีแตคนเผาเดียวกัน ก็ยังมีการฆากันอยางมากมาย โดยที่คนตายมักจะเปนเจาของที่ดิน

หน้า ๑๒

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 13: #32 AikidoCMU

นอกจากความรุนแรงทางตรงแลว การเอารัดเอาเปรียบและแยงชิงผลประโยชน ยังกอใหเกิดความรุนแรงอีกประเภทหนึ่ง คือ ความยากจนขนแคน จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ในปจจุบันมีคนอดอยากหิวโหยถึง ๑,๑๐๐ ลานคน (หรือ ๑ ใน ๕ ของประชากรโลก) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นทามกลางอาหารและทรัพยากรที่มีอยูอยางลนเหลือทั่วทั้งโลก (รวมทั้งในประเทศที่มีคนหิวตายนับลาน) ความอดอยากเหลานี้ไมไดเกิดจากการขาดแคลนทรัพยากร หากเกิดจากระบบเศรษฐกิจและการคาที่ไมเปนธรรม ซึ่งมุงตอบสนองความอยากอยางไมมีที่สุดของคนสวนนอยที่มีอำนาจ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งทำใหเกิดชองวางอยางมหาศาลระหวางคนมีกับคนไมมี ดวยเหตุนี้เราจึงพบวาในขณะที่แตละปผูคนในประเทศยากจนตายถึง ๙ ลานคนเพียงเพราะขาดน้ำดื่มและน้ำใชที่สะอาด (ซึ่งแกไดดวยเงิน ๙,๐๐๐ ลานเหรียญ) คนในยุโรปใชเงินซื้อไอศกรีมปละ ๑๑,๐๐๐ ลานเหรียญ และซื้อน้ำหอมปละ ๑๒,๐๐๐ ลานเหรียญ สวนเงินที่ใชซื้อครีมบำรุงผิวทั่วทั้งโลกสูงถึง ๒๔,๐๐๐ ลานเหรียญ ไมนับผลิตภัณฑบำรุงผมอีก ๓๘,๐๐๐ ลานเหรียญ๕

โลกาภิวัตนทางเศรษฐกิจและคมนาคม โดยเฉพาะการรุกขยายของตลาดเสรี ไดทำใหบริโภคนิยมแพรกระจายไปทั้งโลก กระตุนความอยากและการแยงชิงทรัพยากรและผลประโยชนใหรุนแรงขึ้นทั่วทั้งโลก ขณะเดียวกันการรุกของวัฒนธรรมตะวันตก ไดทำใหผูคนในหลายประเทศหลายวัฒนธรรมรูสึกถูกคุกคามและกลัวจะสูญเสียอัตลักษณหรือออนแอลง จึงย่ิงชูอัตลักษณของตนเพ่ือเปนกำแพงปกปองตนเองและกีดกันอีกฝายหนึ่งออกไป มีการสรางปมเดนทางเชื้อชาติ สีผิว ภาษา ศาสนา จนเกิดความรูสึกถือตัวถือตนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการกลับไปหาอุดมการณดั้งเดิมเพ่ือเปนเครื่องมือตอสูกับโลกาภิวัตน ชาตินิยมและศาสนานิยมจึงแพรไปทั่วโลก โดยมักมีลักษณะเปนปฏิกิริยาตอตานอยางเขมขนตอสิ่งที่เชื่อวาเปนภัยคุกคามจากภายนอก จึงเกิดการเผชิญหนากันมากขึ้นระหวางคนตางชาติตางศาสนา ขณะเดียวกันโลกาภิวัตนยังทำใหเกิดความหลากหลายทางความคิดความเชื่อมากขึ้นแมกระทั่งในชุมชนเดียวกันหรือขางเคียงกัน จึงงายที่จะเกิดความรูสึกเปนปฏิปกษตอกัน จนเกิดความรุนแรงไดไมยาก กลาวอีกนัยหนึ่ง ปจจุบันมานะ ทิฏฐิ และตัณหา มีแนวโนมเขมขนเพ่ิมพูนมากขึ้น ทำใหวัฒนธรรมแหงความรุนแรงขยายตัวเปนลำดับ

วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ! วัฒนธรรมเพ่ือสันติภาพ หมายถึงสำนึก คุณคา ความเชื่อที่ไมสงเสริมความรุนแรง เอื้อตอความสมานฉันทและการอยูรวมกันอยางสันติ หากวัฒนธรรมแหงความรุนแรง มีพ้ืนฐานอยูบน ความถือตัวถือตน ความติดยึดในลัทธิอุดมการณ และความทะยานอยาก องคประกอบสำคัญของวัฒนธรรมเพ่ือสันติภาพก็คือ ความเคารพผูอื่นวาเสมอกับตน ความมีขันติธรรม และความสันโดษ

หน้า ๑๓

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 14: #32 AikidoCMU

คุณคาหรือสำนึกที่ประสานมนุษยใหเปนหนึ่งเดียวกัน โดยไมคำนึงถึงความแตกตางทางอัตลักษณและความเชื่อ เปนสิ่งจำเปนอยางย่ิงในยุคโลกาภิวัตน ใชหรือไมวาการขาดคุณคาหรือสำนึกทั้ง ๓ ประการดังกลาวทำใหผูคนแบงออกเปนขั้ว ๆ และมีชองวางระหวางกันมากขึ้น นอกจากความร่ำรวยอยางสุดโตงที่เกิดขึ้นควบคูกับความจนอยางสุดโตงแลว ยังเกิดขั้วตรงขามระหวางสำนึกในความเปนหนึ่งเดียวกันของคนทั้งโลก (globalism) กับการติดยึดกับหมูพวกแคบ ๆ ของตัว ตามลักษณะเชื้อชาติ ภาษาและศาสนา (tribalism) หรือการแบงเปนขั้วระหวางโลกแหงวัตถุนิยมและเทคโนโลยี กับโลกแหงความเครงศาสนาจารีตและพระเจา ซึ่งมีผูตั้งฉายาวา McWorld กับ Jihad หรือขั้วระหวางแนวคิดแบบโลกิยวิสัย (secularism) กับความเครงคัมภีร (fundamentalism) ลักษณะความเปนขั้วตรงขามเกิดขึ้นอยางชัดเจนในดานตาง ๆ จนอาจเรียกยุคนี้วา ยุคแหงความสุดโตง

โลกที่แบงเปนขั้วตรงขาม จะโนมเขามาหากันไดมากขึ้น และเบียดเบียนกันนอยลง หากทุกฝายเปดใจเขาหากัน เคารพในอัตลักษณของกันและกัน และมีความเอื้อเฟอตอกันมากขึ้น จะทำเชนนั้นไดก็ตอเมื่อมองเห็นวาเราทุกคนมีความเปนมนุษยเหมือนกัน ไมวาจะมีความแตกตางกันเพียงใด แตนั่นเปนสวนนอยเมื่อเทียบกับสิ่งที่เรามีรวมกัน เชน ความรักสุข เกลียดทุกข ความใฝดี ความปรารถนาที่จะไดรับการยอมรับ และความรักในศักดิ์ศรีแหงตน เปนตน

นอกจากสำนึกในความเปนมนุษยรวมกัน และการเคารพในศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษยของทุกคนแลว ความเชื่อในการแกปญหาดวยสันติวิธี เปนสำนึกอีกประการหนึ่งที่จำเปนอยางมากสำหรับการสรางวัฒนธรรมเพ่ือสันติภาพ ความรุนแรงนั้นสามารถแกหรือยุติปญหาไดชั่วคราว แตกลับสรางปญหาใหมใหเกิดขึ้น หรือทำใหปญหารุนแรงขึ้นในระยะยาว ความรุนแรงแมกำจัดคนชั่วได แตมันก็สรางคนชั่วคนใหมใหเกิดขึ้น และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือผูที่ใชความรุนแรงเปนอาจิณนั้นเอง ดังนั้นการปฏิวัติดวยความรุนแรงจึงไมเคยกำจัดคนชั่วหมดหรือกอใหเกิดสันติภาพอยางแทจริงเสียที เพราะหลังจากกำจัดฝายตรงขามแลว ในที่สุดปนทุกกระบอกก็หันมายิงพวกเดียวกันเอง

ประการสุดทายก็คือการเห็นคุณคาของการมีชีวิตที่เรียบงาย ตระหนักวาความสุขเกิดจากการไดทำสิ่งที่มีคุณคาและความหมายตอตนเองและผูอื่น รวมทั้งการเขาถึงความสุขดานใน อันเกิดจากจิตที่สงบ ไรซึ่งความโกรธเกลียดหรือทะยานอยาก หาไดเกิดจากการตักตวงวัตถุหรือสิ่งเสพใหไดมาก ๆ ไม กลาวอีกนัยหนึ่งคือความตระหนักวาความสุขนั้นอยูไมไกล หากอยูกลางใจเรานี้เอง

หน้า ๑๔

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 15: #32 AikidoCMU

บทบาทของศาสนาในการสรางสันติวัฒนธรรม! ความถือตัวถือตน ความยึดติดในลัทธิอุดมการณ และความทะยานอยาก ซึ่งเปนองคประกอบพ้ืนฐานของวัฒนธรรมแหงความรุนแรงนั้น โดยเนื้อแทก็คือ การเอาตัวตนเปนศูนยกลางหรือมุงสรางความเปนใหญแหงตัวตน ตัวตนนั้นไมวาระดับปจเจกหรือระดับรวมหมู ยอมตองการเอาทุกสิ่งทุกอยางมาหนุนเสริมความย่ิงใหญใหแกมัน ไมวาสิ่งนั้นจะเปนอัตลักษณ ลัทธิอุดมการณ หรือทรัพยสินเงินทอง

ศาสนาสำคัญทุกศาสนา มีจุดมุงหมายเพ่ือลดความเห็นแกตัวหรือการถือเอาตัวตนเปนศูนยกลาง หากยกจิตใจของบุคคลใหอยูเหนือความยึดติดในตัวตน พูดแบบพุทธคือ ทำใหมานะ ทิฏฐิ และตัณหา เบาบางลง หรือหมดสิ้นไป ดังนั้นจึงสวนทางกับวัฒนธรรมแหงความรุนแรง ขณะเดียวกันก็สงเสริมสันติวัฒนธรรม ดวยการเชิดชู ความรัก ขันติธรรม ความเคารพในศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษยของทุกคน รวมทั้งการเขาถึงความสุขจากชีวิตที่เรียบงายและไมอิงวัตถุ จะวาไปแลวทุกศาสนาลวนถือเอาสันติภาพของมนุษยชาติเปนเปาหมายดวยกันทั้งนั้น

การปฏิบัติตามแนวทางของศาสนา สามารถบันดาลใจใหเกิดกุศลธรรม หรือทำใหเกิดคุณภาพใหมในจิตใจ เชน ความเมตตากรุณา ความเอื้ออาทร และความเสียสละอยางไมเห็นแกตัว ศาสนาจึงสามารถเปนแรงขับเคลื่อนใหเกิดความสมานฉันทในสังคม อีกทั้งยังสามารถผลักดันใหมีการเอารัดเอาเปรียบหรือเบียดเบียนกันนอยลง ดังที่เคยมีบทบาทมาแลวในการตอตานสงคราม การยกเลิกระบบทาส การพิทักษสิทธิมนุษยชนของคนผิวสี หรือการคัดคานระบอบเผด็จการ

อยางไรก็ตามความจริงอยางหนึ่งที่ปฏิเสธไมไดก็คือ ศาสนาตาง ๆ ไดมีสวนไมนอยในความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกไมวาอดีตหรือปจจุบัน สวนหนึ่งเปนผลจากการที่ศาสนาถูกใชในการสรางความชอบธรรมรองรับความรุนแรง เชน อางคำสอนทางศาสนาเพ่ือสนับสนุนสงคราม หรืออางวาทำสงครามเพ่ือเผยแพรศาสนา หรือกอการรายเพ่ือปกปองศาสนา (โดยผูที่อางเหลานั้นแทจริงหาไดศรัทธาในศาสนาไม) แตบอยครั้งความรุนแรงก็เกิดขึ้นจากผูที่มีศรัทธาอยางแรงกลาในศาสนา หรือไดรับแรงบันดาลใจจากศาสนาโดยตรง

ดังไดกลาวกอนหนานี้แลววา บางครั้งศาสนาไดกลายมาเปนอัตลักษณอยางหนึ่งเพ่ือยกตัวเองใหสูงขึ้น ขณะที่เหยียดอีกฝายใหต่ำลงจนถึงกับตราหนาวาเขาเปนคนเลวราย และมีหลายครั้งที่ความยึดติดถือมั่นในศาสนาทำใหเกิดความเชื่อมั่นแรงกลาวาจะทำอะไรก็ไดทั้งนั้นเพ่ือความรุงโรจนของศาสนา พูดอีกอยางคือศาสนากลายเปนใบอนุญาตใหฆาคนตางศาสนาก็ได ทัศนะดังกลาวพบเห็นไดในหมูศาสนิกชนจำนวนไมนอยที่เรียกวาพวกเครงคัมภีร (fundamentalist) ซึ่งหลายคนไปไกลถึงขั้นเปนพวกสุดโตง (extremist)

หน้า ๑๕

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 16: #32 AikidoCMU

อยางไรก็ตามควรกลาววาพวกสุดโตงนั้นมิไดมีอยูในหมูศาสนิกหรือพวกเครงจารีตเทานั้น แมผูที่มีความเชื่อแบบโลกย หรือ secularism เชน ลัทธิคอมมิวนิสต ลัทธิอนุรักษนิยมใหม (neo-conservatism) หรือลัทธิอนุรักษธรรมชาติ ก็สามารถมีความคิดแบบสุดโตงได ชนิดที่พรอมใชความรุนแรงกับผูที่เห็นตางจากตน ดังเห็นไดวาการสังหารผูคนนับลานหลายครั้งเกิดจากลัทธิอุดมการณในทางโลก เชน นาซี และคอมมิวนิสต กลุมอนุรักษธรรมชาติแบบสุดโตงบางกลุมถึงกับมีคำขวัญวา “ทุกอยางทำไดทั้งนั้น” (everything is permitted)

ในอีกดานหนึ่งศาสนายังถูกใชเปนเครื่องมือสงเสริมลัทธิบริโภคนิยม มีการนำคำสอนทางศาสนาไปใชในการสนับสนุนการแสวงหาความร่ำรวยหรือสะสมทรัพยสินเงินทอง ปรากฏการณอยางหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกมุมโลกก็คือการแหเขาหาศาสนาเพราะตองการโชคลาภและความมั่งมี ขณะเดียวกันสถาบันทางศาสนาก็เปนแบบอยางแหงความมั่งคั่งหรือลนเหลือในทางวัตถุ ผูนำศาสนามีวิถีชีวิตอยางสุขสบาย จนกลาวไดวาสถาบันศาสนาจำนวนมากไดกลายเปนรางทรงของบริโภคนิยม ทั้งหมดนี้ลวนสงเสริมใหผูคนมีความทะยานอยากมากขึ้น ทำใหการแขงขันและการเอาเปรียบเพ่ิมขึ้น

ศาสนา(หรือการตีความทางศาสนา)จึงสามารถสงเสริมหรือเปนที่มาของวัฒนธรรมแหงความรุนแรงได นี้คือสิ่งทาทายศาสนิกชนที่ปรารถนาจะเห็นศาสนาเปนบอเกิดแหงสันติวัฒนธรรม

ไปพนความติดยึดทางศาสนา! ศาสนามีศักยภาพอยางมากในการสงเสริมใหเกิดสันติวัฒนธรรมได แตทั้งหมดนี้จะตองเริ่มตนจากกาวแรกที่สำคัญมาก นั่นคือการที่ศาสนาจักตองไมกลายเปนปจจัยสงเสริมวัฒนธรรมแหงความรุนแรงเสียเอง

ศาสนาสามารถกอใหเกิดความรุนแรงได หากการยึดติดศาสนานั้นเปนไปอยางสุดโตง หรือเพ่ือสงเสริมอัตตา จนเอาตัวเองเปนศูนยกลาง ดังนั้นศาสนาจะตองปองกันไมใหเกิดแนวโนมดังกลาว ดวยการกระตุนใหผูคนหมั่นมองตนอยางวิพากษและรูเทาทันตนเองอยางลึกซึ้ง เพ่ือไมใหอัตตาเขามาเปนใหญเหนือจิตใจ (อัตตาธิปไตย) อันที่จริงหัวใจของทุกศาสนาก็คือการทำใหผูคนละวางจากความยึดถือในตัวตนอยูแลว ดังนั้นหากเขาถึงหัวใจของศาสนา โดยไมติดอยูกับเปลือกหรือรูปแบบของศาสนา ความยึดติดในตัวตนจะลดลง มานะ ทิฏฐิ ตัณหา จะหย่ังไดยากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือความโกรธเกลียดเดียดฉันทจะบรรเทาลง เราจะไมติดในกับดับความคิดวา “ฉันถูก แกผิด” “ฉันดี แกเลว” เพราะรูวานี้ก็คืออำพรางของอัตตาในอีกรูปแบบหนึ่งเทานั้นเอง

หน้า ๑๖

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 17: #32 AikidoCMU

! การมองตนเองอยางลึกซึ้งยอมชวยใหเราตระหนักวาเสนแบงความดีกับความชั่วนั้นหาไดอยูนอกตัวไม แตอยูในใจเรานี้เอง๖ มนุษยนั้นตราบใดที่ไมรูเทาทันตนเอง แมจะนับถือศาสนาอะไรก็ตาม ยอมไมตางจาก ระเบิดที่ยังไมถอดสลัด คือสามารถกอความรุนแรงไดรอยแปด แมจะไมมีอาวุธใด ๆ อยูในมือเลยก็ตาม ดังผูกอการ ๑๑ กันยาสามารถสังหารคนหลายพันคนโดยอาศัยเครื่องบินพาณิชยเปนเครื่องมือเทานั้น ระเบิดดังกลาวจะถอดออกไปจากใจไดก็ตอเมื่อเราละวางความยึดถือในตัวตน โดยอาศัยการตระหนักรูในตนเองอยางลึกซึ้ง

เมื่อระเบิดถูกปลดจากใจ เรายอมมีจิตใจที่โปรงเบาและเปดกวาง จนสามารถกาวขามพนกำแพงแหงศาสนาตลอดจนอัตลักษณทั้งปวง กระทั่งเห็นถึงความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษยชาติ ไมวาเราจะนับถือศาสนาอะไร เราก็มีความเปนมนุษยเหมือนกัน อันที่จริงมนุษยนั้นเปนอะไรตออะไรอีกมากมาย นอกจากการเปนชาวพุทธ ชาวคริสต หรือมุสลิม แตใชหรือไมวาบอยครั้งการนับถือศาสนาของเราทำใหเรามองขามคุณสมบัติดังกลาว และเห็นแตเพียงวาเขานับถือศาสนาอะไร หรือมีศาสนาอะไรเปน “ย่ีหอ”เทานั้น๗ การนับถือศาสนาเชนนี้ทำใหเรามองมนุษยอยางคับแคบ แทที่จริงศาสนาจะตองชวยใหเรามีทัศนะที่ไมเพียงมองเห็นตัวเองอยางลึกซึ้งเทานั้น หากมองเห็นผูอื่นในมุมมองที่กวางขึ้น

ศาสนานั้นในแงหนึ่งเปรียบเสมือน “ราก” ที่ทำใหเราเกิดความรูสึกมั่นคง และมีจิตใจที่ลุมลึก แตเทานั้นหาพอไม หากศาสนายังจะตองเปรียบเสมือน “ปก” ที่ทำใหเรามีอิสระเสรีในทางจิตใจ ชวยใหเรามองเห็นโลกและเพ่ือนมนุษยดวยทัศนะที่กวางไกล (เหมือนกับการมองจากสายตาของนก) ใชหรือไมวาเมื่อเรามองลงมาจากที่สูง ความแตกตางของมนุษยทั้งหลายที่อยูบนพ้ืนโลก ไมวาเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ยอมเลือนหายไป เราจะเห็นแตความเปนมนุษยเหมือนกันหมด

การเห็นความเปนหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติ ยอมทำใหเรารูสึกใกลชิดกันมากขึ้น จนเห็นมนุษยทุกคนเปนเพ่ือนหรือพ่ีนองกัน โดยไมมีศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เปนเครื่องกีดก้ันอีกตอไป ความโกรธ เกลียด ที่มีตอกันจะลดลง ถึงตอนนั้นเราจะพบวามนุษยนั้นมิใชศัตรูของเรา ศัตรูของเราคือความชั่วราย คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ หรือความยึดถือในตัวตน ที่ครองจิตครองใจผูคนตางหาก การกำจัดคนที่ชั่วรายดวยความรุนแรงจึงไมใชคำตอบที่ไดผลย่ังยืน หากจะตองมุงไปที่การขจัดความชั่วรายออกไปจากใจเขา ซึ่งตองอาศัยความดีและความรักเทานั้นจึงจะสัมฤทธิผล เพราะย่ิงใชความรุนแรงหรือความโกรธเกลียดมากเทาไร ก็ย่ิงเพ่ิมพูนความโกรธเกลียดและความชั่วรายในใจเขามากขึ้น ดวยเหตุนี้พระพุทธองคจึงตรัสวา “พึงเอาชนะความโกรธดวยความไมโกรธ พึงเอาชนะความราย ดวยความดี พึงเอาชนะคนตระหน่ี ดวยการให พึงเอาชนะคนพูดพลอย ดวยคำสัตย”

หน้า ๑๗

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 18: #32 AikidoCMU

กลาวอยางถึงที่สุด อิสรภาพในทางจิตใจ ไมไดหมายความเพียงแคอิสรภาพจากความยึดติดในตัวตน หรืออิสรภาพจากการครอบงำของความโกรธเกลียดเดียดฉันทเทานั้น หากยังหมายถึงอิสรภาพจากความยึดติดในศาสนาดวย ใชหรือไมวาลัทธิอุดมการณหรือแมแตศาสนานั้นสามารถเปนกำแพงหรือคุกกักขังจิตใจของมนุษยได อยางไรก็ตามศาสนาก็สามารถประทานปกใหแกเราจนสามารถโบยบินเปนอิสระเหนือกำแพงทางศาสนาหรือลัทธิอุดมการณได แตจะทำเชนนั้นไดก็ดวยการเขาถึงหัวใจของศาสนาจนละวางจากความยึดติดในศาสนา เปรียบเสมือนการอาศัยแพเพ่ือขามแมน้ำ เมื่อถึงฝง ก็กาวออกจากแพ แลวขึ้นฝง โดยไมจำเปนตองแบกแพขึ้นไปดวย แตแมจะยังไมถึงหัวใจของศาสนา ก็ยังจำเปนอยูเองที่จะตองตระหนักอยูเสมอวา ความยึดติดในศาสนานั้นอาจกอโทษได ทั้งในแงการหนุนเสริมอัตตาหรือการแบงเขาแบงเรา บทภาวนาของนิกายเทียบหินของติช นัท ฮันห นาเปนขอเตือนใจสำหรับศาสนิกทั้งหลายไดเปนอยางดีในเรื่องนี้

“โดยตระหนักถึงความทุกขที่เกิดจากความคลั่งไคลในอุดมการณและความใจแคบ เราขอปณิธานวาจะไมหลงใหลติดยึดกับลัทธิอุดมการณหรือทฤษฎีใด ๆ แมแตพุทธศาสนา คำสอนทางพุทธศาสนาคืออุปกรณนำทางที่ชวยใหเรารูจักพิจารณาอยางลึกซึ้งและพัฒนาปญญาและกรุณา หาใชลัทธิความเชื่อสำหรับการตอสู สังหาร และยอมตายไม โดยตระหนักถึงความทุกขที่เกิดจากความติดยึดในทัศนะและการรับรูที่ผิดพลาด เราขอปณิธาน วาจะหลีกเลี่ยงความใจแคบและติดยึดกับทัศนะในปจจุบัน เราจะเรียนรูและฝกการปลอยวางจากความคิดเพ่ือเปดใจรับรูปญญาญาณและประสบการณของผูอื่น เราตระหนักวาความรูที่เรามีอยูนั้นมิใชสัจจะอันสัมบูรณที่ไมเปลี่ยนแปลง สัจจะนั้นพบไดในชีวิต และเราจะสังเกตชีวิตทั้งภายในและรอบตัวเราในทุกขณะ และพรอมเรียนรูตลอดชีวิต”

การเขาถึงหัวใจของศาสนา ยอมชวยใหเกิดการเปลี่ยนแปลงอยางลึกซึ้งในระดับจิตใจ จนเกิดอิสรภาพภายในอยางแทจริง เปนจิตที่ไมแบงฝกฝาย และมีความเมตตาอยางไมมีประมาณตอสรรพสัตว เขาถึงความเปนมนุษยอันสากล คือเห็นถึงความเปนมนุษยของทุกคนกอนที่จะเห็นวาเขาเปนพุทธ คริสต หรือมุสลิม และ เขาถึงความรักอันสากล มีเมตตากับทุกคนเสมอกัน กลาวอีกนัยหนึ่งคือเปน “จิตใจไรพรมแดน” (ซึ่งเปนคุณลักษณะประการหนึ่งของพระอรหันตหรือผูบรรลุธรรมขั้นสูงสุดในทัศนะของพุทธศาสนา) นี้เปนการเสริมสรางสันติวัฒนธรรมที่จัดไดวาเปนบทบาทในแนวลึก

หน้า ๑๘

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 19: #32 AikidoCMU

ปฏิบัติการเพื่อสันติวัฒนธรรม! นอกจากบทบาทในแนวลึกหรือการสรางความเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลแลว ศาสนายังควรมีบทบาทในดานกวาง ไดแกการสงเสริมใหเกิดความเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกและคุณคาในระดับสังคม โดยผานระบบการศึกษาและสื่อเพ่ือสันติภาพ การสงเคราะหเพ่ือนมนุษย และการลดทอนความรุนแรงในสังคม

การศึกษาเพ่ือสันติภาพ หมายถึงการศึกษาที่เปนไปเพ่ือสงเสริมขันติธรรม ยอมรับความแตกตาง และเห็นคุณคาของความหลากหลายทางความคิดและทางวัฒนธรรม รูจักใหอภัยและมีความเอื้อเฟอเก้ือกูลกัน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือตระหนักวาความรุนแรงไมอาจแกปญหาอยางย่ังยืน หากตองแกดวยสันติวิธี เพราะสันติวิธีเทานั้นที่เปนหนทางสูสันติภาพที่แทจริง ควบคูกันไปก็คือการสงเสริมใหมีทักษะในการจัดการความขัดแยงดวยสันติวิธี โดยตระหนักวาความขัดแยงก็เชนเดียวกับความแตกตาง จะเปนโทษหรือเปนคุณ ขึ้นอยูกับวาเราสามารถจัดการกับมันไดอยางฉลาดหรือไม

สื่อเพ่ือสันติภาพ นอกจากจะทำหนาที่เปนสวนหนึ่งของการศึกษาเพ่ือสันติภาพตามที่ไดกลาวขางตนแลว ควรจะมีบทบาทในการลดทอนอคติทางชาติพันธุ ศาสนา และสีผิว โดยนำเสนอ วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ รวมทั้งสุขทุกขและความใฝฝนของคนกลุมตาง ๆ เพ่ือใหเห็นวาแทจริงเขาก็มีความเปนมนุษยเชนเดียวกับเรา ขณะเดียวกันควรใหน้ำหนักกับขาวสารที่สงเสริมสันติวิธี และการรวมมือกัน ย่ิงกวาที่จะนำเสนอนำเสนอขาวเก่ียวกับความรุนแรง อาชญากรรม และการทะเลาะวิวาทกัน สื่อสำหรับเยาวชนและครอบครัวเปนสื่ออีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสงเสริมสันติวัฒนธรรม เพราะชวยใหเกิดการบมเพาะทัศนคติที่ดีงามแกเยาวชน ปฏิเสธไมไดวาครอบครัวเปนสถาบันทางจริยธรรมที่สำคัญ ครอบครัวที่เขมแข็งยอมชวยใหเยาวชนมีทัศนคติที่เก้ือกูลตอสันติภาพและสันติวิธี

นอกจากการลดความโกรธเกลียดและความรุนแรงแลว การศึกษาและสื่อเพ่ือสันติภาพยังควรมีบทบาทในการลดทอนวัตถุนิยมและบริโภคนิยมดวย ปฏิเสธไมไดวาวัตถุนิยมและบริโภคนิยมกำลังมีอิทธิพลอยางมากในวงการศึกษาและสื่อมวลชน การศึกษาและสื่อควรสงเสริมใหผูคนมองชีวิตและโลกโดยไมติดยึดกับความจริงทางวัตถุอยางเดียว เพราะความจริงนั้นมีหลายดานที่ไมอาจชั่งตวงวัดเปนตัวเลขหรือตีคาเปนตัวเงินได ขณะเดียวกันก็ชวยใหผูคนตระหนักวามีความสุขอีกมากมายที่อยูเหนือการเสพหรือการบริโภค เชน ความสุขจากการทำความดี หรือความสุขจากการให เปนตน

หน้า ๑๙

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 20: #32 AikidoCMU

การสงเคราะหเพ่ือนมนุษย แกนกลางของสันติวัฒนธรรมคือความรักและความเอื้อเฟอเก้ือกูล คุณคาดังกลาวแสดงออกไดชัดเจนที่สุดมิใชดวยคำพูดหรือการเทศน แตดวยการลงมือชวยเหลือผูอื่นอยางเปนรูปธรรม การเสริมสรางสันติวัฒนธรรมที่ดีที่สุดอยางหนึ่งคือการเขาไปชวยเหลือเพ่ือนมนุษยที่ตกทุกขไดยาก ไมวาเปนเพราะขาดแคลนปจจัยสี่ ถูกกระทำความรุนแรง ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกละเมิดสิทธิ การชวยใหเพ่ือนมนุษยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไมวาระดับบุคคล ระดับชุมชน หรือระดับประเทศ นอกจากจะสงเสริมวัฒนธรรมน้ำใจและการเก้ือกูลใหแพรหลาย ชวยใหสังคมรมเย็นเปนสุขแลว ยังเปนแบบอยางที่สัมผัสไดจริงวาความสุขนั้นเกิดจากการให มิใชเกิดจากการบริโภคหรือการมีมาก ๆ เทานั้น ย่ิงศาสนิกลดละตัวตนหรือความเห็นแกตัวไดมากเทาไร การเขาไปรวมทุกขรวมสุขกับเพ่ือนมนุษยก็กลายเปนเรื่องงายมากเทานั้น กลาวอีกนัยหนึ่ง การชวยเหลือเพ่ือนมนุษยเปนเครื่องชี้วัดสำคัญประการหนึ่งวาศาสนิกไดลดละตัวตนมากนอยเพียงใดแลว

การลดทอนความรุนแรงในสังคม ความรุนแรงในสังคมนั้นมีหลายระดับ ตั้งแตระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ การปองกันและระงับความรุนแรงเปนการสงสัญญาณที่ชัดเจนวา ความรุนแรงเปนสิ่งที่มิอาจยอมรับได การที่ความรุนแรงยังแพรหลายในปจจุก็เพราะมีความเชื่อวาความรุนแรง(อยางนอยก็ในบางเรื่อง เชน การทุบตีภรรยา หรือการรุมทำรายผูตองหาฆาขมขืน การประหารชีวิตอาชญากร)เปนสิ่งที่ยอมรับได ศาสนิกจึงควรใหควรมีบทบาทแข็งขันในการตอตานความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมไปถึงการทำสงคราม อยางไรก็ตามนอกจากความรุนแรงทางตรงแลว ในสังคมยังมีความรุนแรงทางโครงสราง คือโครงสรางที่สนับสนุนการเอารัดเอาเปรียบ ที่นำไปสูความยากจน ความเจ็บปวย และการถูกละเมิดสิทธิขั้นพ้ืนฐาน ความรุนแรงทางโครงสรางนั้นมีอยูในระบบเศรษฐกิจ การเมือง และระบบยุติธรรม อันสรางความทุกขยากแกผูคนจำนวนมาก ศาสนิกจึงควรใหความสำคัญในการตอตานและขจัดความรุนแรงเชิงโครงสรางดวยเชนกัน

จะทำเชนนั้นไดตองอาศัย ความรักความเมตตาตอผูทุกขยาก ความกลาหาญในการเผชิญหนากับอุปสรรค ปญญาในการเขาใจสาเหตุอันลึกซึ้ง และสติที่รูเทาทันตัณหา มานะ และทิฏฐิในตนเอง ทั้งหมดนี้คือพลังทางศีลธรรมที่ศาสนาสามารถเปนแรงบันดาลใหไดอยางมหาศาล ดังที่มีตัวอยางมากมากในประวัติศาสตร แตหลายปที่ผานมาศาสนาไดถูกใชเปนแรงบันดาลใจใหผูคนจำนวนไมนอยยอมสละชีวิตเพ่ือปลิดชีพผูอื่น กอใหเกิดความทุกขยากแกผูคนมากมาย และทำใหหลายมุมโลกตองลุกเปนไฟ ถึงเวลาแลวที่ศาสนาจะเปนแรงบันดาลใจใหผูคนทั้งหลายยอมอุทิศตัวเพ่ือปกปองชีวิตผูอื่น และดับเพลิงสงครามดวยความรักความเมตตา อยางกลาหาญ และดวยสติปญญาอยางลึกซึ้ง ทั้งนี้โดยอาศัยความเปลี่ยนแปลงอยางลึกซึ้งในทางจิตใจเปนพลังหลอเลี้ยงภายใน ดวยวิธีนี้เทานั้นสันติวัฒนธรรมจึงจะเปนจริงขึ้นมาได

หน้า ๒๐

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 21: #32 AikidoCMU

เชิงอรรถ

๑ ปาฐกถาในงานสัมมนานานาชาติเรื่อง “Religion and Culture” ณ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อวันที ่๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ จัดโดยสถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ ๒ Jessica Williams “50 Facts that Should Change the World”(Cambridge: Icon Books,2004) น.140๓ Jonathan Glover “Humanity:A Moral History of the Twentieth Century” (Yale:Yale University Press,1999) น.50,130๔ ข้อความข้างล่างเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของลัทธิอุดมการณ์ที่หากยึดมั่นอย่างแรงกล้าแล้วสามารถเป็นใบเบิกทางสู่การสังหารผู้คนได้ไม่ยาก “เป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของเราคือชัยชนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ในทุกหนแห่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทุกอย่างทําได้ทั้งนั้น ไม่ว่ากล่าวเท็จ ขโมย หรือทําลายผู้คนนับแสนหรือแม้กระทั่งเป็นล้าน หากคนเหล่านี้ขัดขวางงานของเราหรือสามารถจะขัดขวางเรา” ทัศนะดังกล่าวไม่ได้เกิดกับผู้สมาทานคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเท่านั้น หากยังเกิดขึ้นในจีนและกัมพูชา ในยุคเขมรแดงมีคําขวัญว่า “คนหนุ่มหนึ่งหรือสองล้านคนก็พอแล้วสําหรับสร้างกัมพูชาใหม่” ที่เหลือนอกนั้นไม่มีความจําเป็นเลย หากถูกกําจัดไปก็ไม่เป็นไร (เพิ่งอ้าง น. 259,306) ๕ Human Development Report (1998) อ้างใน ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาวุธมีชีวิต? (กรุงเทพ ฯ:ฟ้าเดียวกัน,๒๕๔๖) น.๒๒๒๖ โซลเชนิตซิน นักเขียนรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเคยถูกจองจําในค่ายกักกันของสตาลิน พูดไว้อย่างน่าฟังว่า “ มันจะง่ายดายสักเพียงใด ถ้าเพียงแต่ว่าคนชั่วร้ายอยู่ที่ไหนสักแห่งและคอยทําแต่สิ่งชั่วร้าย เราก็แค่แยกคนพวกนั้นออกจากพวกเรา แล้วก็ทําลายเขาเสีย เท่านั้นก็จบกัน แต่เส้นแบ่งความดีและความชั่วนั้นผ่าลงไปในใจของมนุษย์ทุกคน ใครเล่าที่อยากจะทําลายส่วนเสี้ยวในใจของตน?”๗ ชาวโครแอทผู้หนึ่งได้พูดถึงปัญหาของลัทธิชาตินิยมว่า ได้ลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้คนจนเหลืออัตลักษณ์หรือคุณสมบัติเพียงประการเดียว “ก่อนหน้านี้ ความเป็นตัวผมถูกนิยามโดยการศึกษา อาชีพ ความคิด บุคลิก และ สัญชาติด้วย แต่เดี๋ยวนี้ทั้งหมดถูกเปลื้องออกไปจากตัวผมหมด ผมกลายเป็น nobody เพราะผมไม่ได้เป็นบุคคลอีกแล้ว ผมเป็นเพียง ๑ ในชาวโครแอท ๔.๕ ล้านคน”(Glover น. ๑๕๒) ใช่หรือไม่ว่า ศาสนานิยม ก็ได้ลดทอนอัตลักษณ์ของผู้คนจนเหลือเพียงหนึ่งเท่านั้นเอง คือนับถือศาสนาอะไร

หน้า ๒๑

พระไพศาล วิสาโลพระนักคิด นักเขียน และนักกิจกรรมเกี่ยวกับสันติวิธี ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสุคะโต ชัยภูมิ

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 22: #32 AikidoCMU

ประโยชน์สุขจากการสอบสโมสรผูนำเยาวชนเพื่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน

อำเภอปางมะผา จังหวัดแมฮองสอน วิสุทธิ ์เหล็กสมบูรณ์

สวัสดีครับทุกทาน เช่ือวาผูอานสวนใหญคงมีประสบการณในการสอบเล่ือนสายไอคิโดกันมาแลว แตเราไมคอยมีใครเขียนถึงประสบการณในการสอบกันสักเทาไร สวนใหญก็จะเปนการซักถามกันสวนตัว บางคนมาฝกใหม ไมรูจักใครมาก จะถามใครก็กลาๆกลัวๆ บางคนฝกนานแลวก็จริง แตไมมีจังหวะใหถาม คืออยูไกล ไมคอยไดเจอกัน บางคนก็ข้ีเกรงใจ จะถามไปก็หนักปาก ก็อมพะนำความทุกข ความกังวลเอาไว ท้ังๆท่ีประสบการณการสอบเปนเร่ืองสำคัญ ท่ีนาจะมีการแชรกันในวงกวางกันมากๆ ดวยเหตุน้ี ผูเขียนจึงขอนำประสบการณเล็กๆของตัวเองมาเลาสูผู อาน เผื ่อจะมีแงมุมบางประการที่โดนใจใครนำไปใชประโยชนไดบาง และจุดประกายใหมีคนอ่ืนๆมาชวยแชรกันมากข้ึน

ข้ึนช่ือวาการสอบ แตละคนอาจตีความหรือใหความหมายกับการสอบตางกันไปนะครับ บางก็รองย้ี บางก็รองเย บางก็วาการสอบคือการทดสอบระดับความสามารถคร้ังสำคัญท่ี

ตองมีการเตรียมตัวมาอยางหนัก บางก็ใหความสำคัญพอประมาณ ในขณะที่บางคนก็เลนบทเฉยคือไมสอบมันซะอยางน้ัน แตขอฝกไปเร่ือยๆ เขาทำนอง “จอมยุทธไรสาย” ก็ม ี อยางไรก็ตาม สำหรับผูเขียนแลว ทรรศนะตอการสอบมีความสำคัญอยางมาก เพราะทรรศนะคือตัวกำหนดทาทีที่เรามีตอการสอบ รวมถึงการฝกอีกดวย

หน้า ๒๒

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 23: #32 AikidoCMU

ยอนไปป 2545 ท่ีผูเขียนเคยสอบเล่ือนสายคร้ังแรก จำไดวาตัวเองมองการสอบแคบๆ เปนการวัดความรูความสามารถตามเทคนิคตางๆท่ีอยูในโพย ซ่ึงก็โอเค ก็สอบผานๆกันไป ไมไดคิดอะไรมากมาย

สิบปใหหลัง อายุอานามก็ลวงเลยไปตามกาล ประสบการณการสอบและเห็นคนอ่ืนมาสอบก็สะสมตามวันเวลา ย่ิงสอบย่ิงรูสึกวาเรามองเห็นอะไรๆมากข้ึน อะไรๆในท่ีน้ีก็คือแงมุมใหมๆท่ีไมเคยสัมผัสมากอน เร่ืองเหน่ือยน่ีมันเปนปกติอยูแลว แตถาเรามองวาสอบทีไร มันทุกขทุกที ผมวาคิดอยางน้ีก็ใช แตคิดแลวมันจะสรางสรรคอะไร สูเรามองแงมุมดีๆ มุมประโยชนสุขที่จะไดรับจากการสอบ ก็เลยอยากจะชี้ชวนใหผูอานคิดตามไปดวยกันดังนี้ครับ

หน้า ๒๓

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 24: #32 AikidoCMU

ประโยชนสุขท่ีจะไดรับจากการสอบ :

ประโยชนสุขกับตัวเอง

อันน้ีคือสุขภาพรางกายแข็งแรง (ถาไมโหมฝกเกินไป) จิตใจเปนสมาธิ แนวแน มีวินัยในการซอมเพราะตองเตรียมไปสอบ ไดขัดเกลาตัวเอง เวลาสอบก็ไดฝกความอดทนตอความเหนื ่อยยาก ฝกความออนโยนที่จะไมโตตอบอุเกะที่อาจจะเลนแรงๆกับเรา

ประโยชนสุขตอผูอ่ืน

ในท่ีน้ีคือ ผูท่ีมาจับคูสอบกับเรา หรือมาเปนอุเกะให การสอบผานไมผานก็ข้ึนอยูกับอุเกะอยูไมนอยนะครับ อุเกะดีก็ผอนแรง รับแรง สงแรง บางทีก็ชวยติว เหมือนไกดใหเราไปในตัว ถาไปเจออุเกะเลนหนัก ดักแรง เราก็เลนลำบาก แถมอาจจะบาดเจ็บตามมา อุเกะจึงเปนองคประกอบท่ีสำคัญมากในการสอบ แตถาเรามีทรรศนะเชิงบวกตออุเกะ ก็จะเอ้ือตอการสอบใหไอคิโดท่ีแสดงออกไปราบร่ืนกลมกลืน สวยงาม การจะมีทรรศนะอยางน้ีได ก็คงตองคิดออกนอกตัวเองไปบาง คือ ไมเพียงแตนึกขอบคุณอุเกะ แตคิดถึงประโยชนสุขท่ีสุขท่ีอุเกะจะไดรับ น่ันก็คือเขาไดออกกำลังกาย ไดมีสุขภาพดี และเติบโตทางจิตวิญญาณไปดวยกัน ท้ังยังสานสัมพันธเปนมิตรตอกันไดในภายภาคหนา เปนภาพความทรงจำท่ีคร้ังหนึ่งเราเคยเปนคูสอบดวยกัน สอบเสร็จจะถายรูปคูดวยกัน หรือสงอีเมลแสดงความขอบคุณ หรือจะชวนกันไปเล้ียงฉลองสอบเสร็จผมก็วาไมเลว

หน้า ๒๔

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 25: #32 AikidoCMU

ประโยชนสุขตอสวนรวม ในท่ีน้ี ผมแยกเปนสองอยางครับ อยางแรก ประโยชนตอสังคม ผมสังเกตดูเวลาสอบก็จะมีผูปกครอง เพ่ือนฝูง คนรัก ญาติพ่ีนอง รวมถึงคนภายนอกมาช่ืนชม บางก็ถายรูปการสอบเอาไว บางก็บันทึกเปนวิดีโอไวดู หรือเผยแพรตอ

การท่ีเราไดเปนสวนหน่ึงในการสอบน้ีก็เทากับวาไดชวยทำใหสังคมรูจักไอคิโดมากขึ้นและหันมาฝกกันมากขึ้น และถาผูชมพอเขาใจหลักไอคิโดอยูบาง ก็ไมยากท่ีจะเช่ือมโยงกับเร่ืองสันติวัฒนธรรม

สนามสอบจึงเปรียบเสมือนเวทีการเรียนรูที่ไมใชเฉพาะผูสอบ แตเปนของผูชมอีกดวย ถาเขาใจเชนน้ีแลวก็พอจะเห็นไดวา การสอบเทากับสรางประโยชนสุขแกสวนรวมไปในตัว ท้ังหลายท้ังปวง น่ีจะเห็นไดวาการสอบจะมีความหมายกับแตละคนแคไหน เริ่มมาจากทัศนคติตอการสอบเปนพ้ืนฐานเลยทีเดียวนะครับ สำหรับผม เช่ือวาถาเรามีมุมมองวาการสอบไมใชการแขงขัน ไมใชการเอาชนะ ไมใชการชิงรางวัล แตหากเปนการเรียนรูเพ่ือท่ีจะพัฒนาตัวเองและสรางประโยชนสุขรวมกันทั้งกับตัวเอง ผูอ่ืนและกับสวนรวม น่ันคือการสอบผานไปแลวหาสิบเปอรเซ็นต ท่ีเหลือเปนเรื่องของทักษะฝมือ ดวยวิธีคิดอยางนี้นาจะทำใหทุกทานสัมผัสถึงประโยชนสุขดานตางๆจากการสอบไอคิโดได อยางที่ผมรูสึกและอยากแบงปนครับ

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

หน้า ๒๕

Page 26: #32 AikidoCMU

ÂยØุ·ท∙¸ธÀภÙูÁมÔิ

ในการเรียนพับกระดาษท่ีออมโอริกามิ วัสดุท่ีสำคัญอีกอันหนึ่งท่ีจำเปนตองใชคือ แผนรองพับกระดาษ

กอนท่ีจะพับกระดาษ การจัดเตรียมพื้นท่ีเปนเรื่องท่ีจำเปน พื้นท่ีๆจะพับกระดาษจะตองมีความสะอาด แหง และราบเรียบสม่ำเสมอ

ในการฝกไอคิโด ท่ีชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม ก็ใหความสำคัญในการจัดเตรียมพื้นท่ีดวยเชนกัน นอกจากการกวาดพื้นกอนท่ีจะปูเบาะแลว พวกเราทุกคนไมวาจะสายดำสายขาว ตางเรียงหนากระดานลงไปคลานชวยกันเช็ดถูทำความสะอาดเบาะจากขอบเบาะดานหนึ่ง ไปจนสุดขอบเบาะอีกดานหนึ่งอยางไมเคอะเขินเปนธรรมชาติ ดวยความเต็มใจ

กิจกรรมการเตรียมพื้นท่ีในการฝกโอริกามิ (ศิลปะการพับกระดาษ) และการฝกไอคิโด (ศิลปะการปองกันตัว)นี้ไมใชพิธีกรรม แตเปนการฝกตนเองใหมีความนอบนอม เพื่อสำนึกในบุญคุณและตอนจบท่ีงดงามของการฝกท่ีกำลังจะดำเนินตอไปต้ังแตตนจนจบโดยสวัสดิภาพ ซ่ึงจะสงผลใหผูปฏิบัติเกิดความสุข ความเบิกบาน ความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และนำไปสูการเห็นคุณคาในตัวเองและผูอื่น

ในแงนามธรรม พื้นท่ีในการฝกหรือเบาะ คือโดโจของไอคิโด แผนรองพับก็คือโดโจของโอริกามิ เปนด่ังยุทธภูมิท่ีเราจะตองสำรวมตัวเอง ใหมีความตระหนักรูและมีความ

ระมัดระวังตัวเพื่อใหการฝกดำเนินไปอยางราบรื่นโดยตลอดต้ังแตเริ่มตนจนส้ินสุดการฝก

àเÊส�Œ¹น·ท∙Òา§ง·ท∙Õีè่©ฉÑั¹นàเ´ดÔิ¹นâโ´ดÂย Íอ�ŒÍอÁม âโÍอÃรÔิ¡กÒาÁมÔิ

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 27: #32 AikidoCMU

Y ขณะท่ีการฝกไอคิโดดำเนินอยูบนเบาะท่ีเปนด่ังยุทธภูมิ

ทุกลมหายใจท่ีดำเนินอยู ไดเตือนใหเรารูวาเรายังมีชีวิต ดังนั้น เราจึงตองดำเนินการฝกไปดวยความละมัดระวังตัวเองโดยรอบใหท่ัวพรอม หากเผลอปลอยใจลองลอยไปชั่วแวบหนึ่งลมหายใจ ยอมหมายถึงอันตราย ต้ังแตการบาดเจ็บเล็กนอยท่ีรบกวนการดำเนินชีวิตอันปกติ และอาจรายแรงไปจนถึงชีวิต จะพบไดวา ตอใหมีผูฝกหนาแนนแคไหนก็ตามบนเบาะไอคิโด แตก็ไมเคยเกิดอุบัติเหตุรายแรงข้ึนบนเบาะเลย นอกจากการกระทบกันบางเล็กๆนอยๆระหวางการฝก ดวยเพราะการตระหนักรูอยูเสมอขณะฝกวาตนกำลังอยูในยุทธภูมิ

Y บอยครั้งท่ีนักเรียนโอริกามิมักจะถามขาพเจาวาทำไมตองกำหนดใหพับกระดาษบนกระดานรองพับ เพราะมันพับไมคอยสะดวกเนื่องมาจากการถูกจำกัดพื้นท่ีในการทำงานเชนนี้ ขาพเจามักจะอธิบายใหลูกศิษยเสมอวา แผนรองพับนี้เปน

ดุจยุทธภูมิท่ีนักเรียนจะตองฝกการจัดเตรียมพื้นท่ีและควบคุม

ชิ้นงานท่ีกำลังสรางใหทำงานไดบนกระดานรองพับอยางเหมาะสม ดังนั้น นักเรียนจึงตองพับกระดาษอยางระมัดระวังดวยความแมนยำอยางรูตัวเสมอ มิเชนนั้น นักเรียนอาจพับกระดาษเบ้ียวไปต้ังแตตน หรือรอยพับไมคมชัดถูกตอง รอยพับซอนกันหลายรอยดูสับสน ทำใหเกิดความเสียหายแกงานท่ีสรางข้ึน หรือชิ้นงานออกมาไมสมบูรณ บิดเบ้ียว ฉีกขาด เปนตน

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

หน้า ๒๗

Page 28: #32 AikidoCMU

Y อีกประการหนึ่ง การท่ีฝกโอริกามิบนพื้นท่ีท่ียกสูงข้ึนมาจากระดับหนาโตะอีกระดับหนึ่งข้ึนมาเล็กนอยนั้น ดุจเปนการยกระดับกระดาษท่ีเรากำลังใชฝกในงานโอริกามิใหมีความสำคัญกวากระดาษอื่นๆ เพราะเปนกระดาษท่ีมีคุณคาท่ีเสียสละตัวเองพลีใหแกเราใชเปนเครื่องมือพัฒนาตนเองดวยความรูสึกท่ีเปนสุขไมวาจะพับเปนรูปงายๆ ไมมีความซับซอน ไปจนถึงการพับงานท่ีซับซอนดุจเนรมิต

Y ในแงรูปธรรม หากพื้นท่ีในการฝก ไมแหง สกปรก มีเชื้อรา หรือมีเศษวัสดุติดอยู เมื่อผูฝกไอคิโดตองลมลงบนเบาะ ไมวาจะเปนแบบ Koho Ukemi หรือ Uchiro Ukemi (การลมไปขางหลัง) หรือการลมแบบ Zempo Ukemi (การลมไปขางหนา) ก็อาจจะทำใหมีผลเสียตอสุขภาพผูฝกเชนเปนภูมิแพ หรือเจ็บปวย หรืออาจเกิดอุบัติเหตุท่ีไมอาจคาดเดา ทำใหขาดความราบรื่นในการฝก

Y สวนในการฝกโอริกามิ หากพื้นท่ีไมสะอาด ก็จะทำใหกระดาษเปอนสกปรกไมสวยงาม หากพื้นท่ีเปยกหรือพื้นผิวขรุขระก็จะทำใหกระดาษฉีกขาด หรือพับกระดาษไมเสมอกันทำใหแนวการพับคลาดเคลื่อน ผลงานออกมาไมดี หรือไมสามารถพับงานไดสำเร็จ ทำใหจิดใจขุนมัว

Y แมวาไอคิโดและโอริกามิตางมียุทธภูมิท่ีขนาดแตกตางกันอยางส้ินเชิง แตในเชิงสัญลักษณและบทบาท ไอคิโดและโอริกามิตางก็เปนเครื่องมือท่ีดีในการฝกฝนพัฒนาตนเองท้ังส้ิน จึงอาจกลาวไดวา

“ไอคิโด คือการฝกพับคน

โอริกามิคือการฝกพับกระดาษ”

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

หน้า ๒๘

Page 29: #32 AikidoCMU

Aikido Family

หน้า ๒๙

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

สอบเลื่อนสายศุกร์ที่ ๒๕

มิถุนายน ๒๕๕๕

Page 30: #32 AikidoCMU

Aikido Family

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

รดน้ําดําหัวอ.สมบัติและอ.ธีระรัตน์ศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕

หน้า ๓๐

Page 31: #32 AikidoCMU

ปูเบาะ “ไอโดโจ”

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

Page 32: #32 AikidoCMU

Aikido Family

CHIANG MAI UNIVERSITY AIKIDO CLUB!

ฉบับที่ ๓๒ พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ (ปีที่ ๔)

"พี่ป๋อมกับอ้อม ได้ไปจัดกิจกรรมแนะนําไอคิโด และโอริกามิ ที่

สโมสรเพลิน หมู่บ้านโฮมอินปาร์ค เมื่อวันอังคารที ่17 กรกฎาคม 2555

ปฏิทินกิจกรรม! ฝกประจำสัปดาห ! จันทร-พุธ-ศุกร ๑๘.๓๐ - ๒๐.๓๐ น.11 1 1 1 สถานที่ฝก ชมรมไอคิโด มหาวิทยาลัยเชียงใหม

1 1 1 ใตถุนตึกอาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม

หน้า ๓๒