3
98 ปี 2010 มีเรื่องที่น่ายินดีอย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยและคนเอเชียอย่างหนึ่งก็คือ ทาง อาร์เคเอฟ หรือ สมาคมสุนัขแห่งประเทศรัส เซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในคลับที่ใหญ่มากของยุโรปได้ เชิญกรรมการไทยของเราสองท่าน ไปตัดสินงานยูเรเซีย หนึ่งในงานใหญ่ที่สุดของยุโรปและ จัดว่าเป็นงานประจำปีของ รัสเซียเลยที่เดียว ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย หนึ่งในงานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป(ตอนที่1) พีระพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ [email protected] ความเป็นมา ความยิ่งใหญ่ของงานนี้ตื่นเต้นตั้งแต่ข้อมูลก่อนการตอบรับเข้าตัดสิน สิ่งที่น่า สนใจมีอยู่หลายประการเช่น จำนวนสุนัขที่เข้าประกวดที่คาดการณ์ว่ามากกว่า หนึ่งหมื่นตัว และในวันจริงมีมากกว่า 13,000 ตัว มีกรรมการที่มีไลเซนต์ตัดสิน จากนานาชาติ ถึง 42 ท่านจากทั่วโลก ทั้งจากเอเคซีแห่งอเมริกา เอเอ็นเคซีของ ออสเตรเลีย วีดีเอชสมาคมสุนัขแห่งเยอรมัน และ เดอะเคนเนลคลับของอังกฤษ ความที่เขาคำนึงถึงเรื่องความยุติธรรมและ การไม่ใช้ระบบเส้นสายเป็นอย่างมาก ในบรีดต่างๆของการตัดสินได้บอกให้กรรมการแต่ละคนรูเพียงสองอาทิตย์ก่อน การตัดสิน ซึ่งทำให้เพื่อนๆหลายคนจากทั่วโลกที่พยายามสืบว่าใครตัดบรีดอะไร อาจค้อนชำเลืองตามองหาว่ากรรมการแต่ละคนปกปิดข้อมูล โดยสังเกต ทุกท่าน ที่ได้รับเชิญในงานนี้ล้วนมีประสบการณ์บรีดสุนัขเด่นๆมามากมายจากทั่วโลก คง ไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ วุฒิ เกษมสันต์) หรือ อย่างมิสเตอร์ฟรานซิสโก โคเคทิ ฮ็อตสุดๆของชิวาวายุโรป ตอนนี้ ส่วนผมเดาใจไม่ถูกว่าถูกเลือกจากข้อมูลพันธุ์บ็อกเซอร์หรือ จากเจ้าลูกๆ หูตูบบีเกิ้ลที่กำลังเป็นท็อปบีเกิ้ลของอเมริกาตอนนี้จาก เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป เท่าที่สัมผัสทุกท่านล้วนมีความรู้เรื่องสุนัขวิทยาที่แตกฉานสมกับมาตรฐาน ที่เอฟซีไอกำหนด ที่ปลื้มมากก็คือ มิสเตอร์อูเว่ฟิชเชอร์ประธานคลับของเยอรมัน และมิสเตอร์เคน กรรมการระดับเบสท์อินโชว์งานครัฟท์ก็มาอยู่ในคณะกรรมการ ของเราด้วย หลายท่านในที่นี้เป็นกูรู ผู้แต่งตำราของโลกนี้มามากมาย รวมถึง กรรมการของรัสเซียเองด้วย เอาละ คนจัดงานยังคงจะให้เราๆท่านๆตื่นเต้นกันไม่พอ เพราะจะมี บรีดใหม่ๆที่เกิดในโลกนีหรือบรีดที่เราไม่เคยเห็นให้บางท่านใน คณะนี้ได้ลอง ฝีมือด้วย หลายคนไม่รับตัดสินในงานท่หินๆอย่างยูเรเซียนี้ เพราะเป็นงานหนึ่งทีสุนัขสำคัญๆของยุโรปจะมาร่วมแน่นอน ต่างคนต่างก็ดังในประเทศของเขา และ ต่างก็ไม่ยอมซึ่งกันและกัน และมักมาหาคนกลางคือกรรมการนั่นเองมาช่วยให้ ความกระจ่างกับสายพันธุ์ ท่านที่ใหม่ๆที่ตัดมาไม่นานพอก็อาจโดนบรีดเดอร์ดังๆ เหล่านี้ถามปัญหาที่ลึกซึ้งๆให้กลับมาขบคิดได้ ลองนึกถึงความมั่นใจที่บรีดเดอร์ ที่บรีดมาสักยี่สิบปีและแต่ละคนก็เป็นเจ้าของแชมป์โลกมาแล้วดูนะครับ คงพอ ประมาณความรู้สึกของพวกเขาออกว่า มั่นใจมากน้อยแค่ไหน อีกข้อก็คืองาน ใหญ่ๆเหล่านี้ที่พวกกรรมการต้องเจอแน่ๆก็คือ ไทป์ที่แตกต่างกันครับ ในบางบรีดอาจจะไม่มี ปัญหา แต่อย่างบรีดที่นิยมอย่างบ็อกเซอร์ แต่ละ ประเทศมีไทป์ที่แตกต่างกัน ทั้งอเมริกันไทป์ อิง ลิชไทป์ ออสเตรเลี่ยนไทป์ เยอรมันไทป์ และยู โรเปี้ยนไทป์ ถ้าทั้งห้าไทป์ทุกตัวตรงตามไทป์ของ ตัวเองหมด เป็นสุดยอดของไทป์ของตนในสนาม คุณคิดว่า ถ้าคุณเป็นกรรมการคุณจะตัดอย่างไร ให้ตัวไหนชนะล่ะ ตัวหนึ่งวิน อีกสี่ที่เหลือเดินมา ถามคุณแน่ๆ เหล่านี้ทั้งหมดทั้งมวลกรรมการต้อง มีความมั่นใจ ในความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา ถึงบอกว่า ท่านใหม่ๆ การเข้าคลาสสำคัญมากๆในการอบรม ก่อนการสอบกรรมการตัดสิน (ขอฝากท่านผู้รับผิด ชอบการอบรมกรรมการด้วยครับ เป็นไปไม่ได้แน่ๆ ที่จะให้ผู้สนใจรู้และร่ำเรียนสิ่งที่เอฟซีไอกำหนดใน การอบรมแค่หนเดียว ในปีแรกเรามีการอบรม เกือบสองปีมิใช่หรือครับถึงจะจัดการสอบ) เหล่านเมื่อนึกถึงครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดกันมาแล้ว ไบเบิ้ลของการตัดสินแน่นอน คำตอบอยู่ที่บรีดแส ตนด์ดาร์ดหรือมาตรฐานพันธุ์ ครับว่าคุณกำลังตัด งานนี้ให้กับใครอยูผมว่างานนี้อาร์เคเอฟอยาก ลองวิชากรรมการ หลายท่าน ที่ผมเจอก็คือ มิ เนียเจอร์พินเชอร์ หรือมินพินช์ที่ เจ้าตัวเล็ก แต่เป็น บรีดที่ไม่เล็กเลยในยุโรป ของผมมีเอ็นทรี่หรือสุนัขทีลงประกวด ร้อยสามสิบกว่าตัว ในรอบแชมเปี้ยน คลาสมีแชมเป้ยนสามสิบกว่าตัว รออยู่ในสนาม มันไม่ได้อยู่ที่แชมเปี้ยน แต่อยู่ที่ว่า ในท่ามกลาง แชมป์เหล่านีมีทั้ง อเมริกันไทป์ ออสเตรเลี่ยน

ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซียไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซียไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ

98

ปี 2010มีเรื่องที่น่ายินดีอย่างหนึ่ง สำหรับคนไทยและคนเอเชียอย่างหนึ่งก็คือ ทางอาร์เคเอฟหรือสมาคมสุนัขแห่งประเทศรัส

เซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในคลับที่ใหญ่มากของยุโรปได้ เชิญกรรมการไทยของเราสองท่าน ไปตัดสินงานยูเรเซีย หนึ่งในงานใหญ่ที่สุดของยุโรปและ

จัดว่าเป็นงานประจำปีของรัสเซียเลยที่เดียว

ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซีย

หนึ่งในงานที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป(ตอนที่1) พีระพงศ์พิสิฐวุฒินันท์[email protected]

ความเป็นมา

ความยิ่งใหญ่ของงานนี้ตื่นเต้นตั้งแต่ข้อมูลก่อนการตอบรับเข้าตัดสิน สิ่งที่น่า

สนใจมีอยู่หลายประการเช่น จำนวนสุนัขที่เข้าประกวดที่คาดการณ์ว่ามากกว่า

หนึ่งหมื่นตัว และในวันจริงมีมากกว่า 13,000 ตัว มีกรรมการที่มีไลเซนต์ตัดสิน

จากนานาชาติ ถึง 42 ท่านจากทั่วโลก ทั้งจากเอเคซีแห่งอเมริกา เอเอ็นเคซีของ

ออสเตรเลีย วีดีเอชสมาคมสุนัขแห่งเยอรมัน และ เดอะเคนเนลคลับของอังกฤษ

ความที่เขาคำนึงถึงเรื่องความยุติธรรมและ การไม่ใช้ระบบเส้นสายเป็นอย่างมาก

ในบรีดต่างๆของการตัดสินได้บอกให้กรรมการแต่ละคนรู้ เพียงสองอาทิตย์ก่อน

การตัดสิน ซึ่งทำให้เพื่อนๆหลายคนจากทั่วโลกที่พยายามสืบว่าใครตัดบรีดอะไร

อาจค้อนชำเลืองตามองหาว่ากรรมการแต่ละคนปกปิดข้อมูลโดยสังเกตทุกท่าน

ที่ได้รับเชิญในงานนี้ล้วนมีประสบการณ์บรีดสุนัขเด่นๆมามากมายจากทั่วโลก คง

ไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ

วุฒิ เกษมสันต์) หรือ อย่างมิสเตอร์ฟรานซิสโก โคเคทิ ฮ็อตสุดๆของชิวาวายุโรป

ตอนนี้ ส่วนผมเดาใจไม่ถูกว่าถูกเลือกจากข้อมูลพันธุ์บ็อกเซอร์หรือ จากเจ้าลูกๆ

หูตูบบีเกิ้ลที่กำลังเป็นท็อปบีเกิ้ลของอเมริกาตอนนี้จาก เพอร์เฟค คอมพาเนียน

กรุ๊ป เท่าที่สัมผัสทุกท่านล้วนมีความรู้เรื่องสุนัขวิทยาที่แตกฉานสมกับมาตรฐาน

ที่เอฟซีไอกำหนด ที่ปลื้มมากก็คือ มิสเตอร์อูเว่ฟิชเชอร์ประธานคลับของเยอรมัน

และมิสเตอร์เคน กรรมการระดับเบสท์อินโชว์งานครัฟท์ก็มาอยู่ในคณะกรรมการ

ของเราด้วย หลายท่านในที่นี้เป็นกูรู ผู้แต่งตำราของโลกนี้มามากมาย รวมถึง

กรรมการของรัสเซียเองด้วย

เอาละ คนจัดงานยังคงจะให้เราๆท่านๆตื่นเต้นกันไม่พอ เพราะจะมี

บรีดใหม่ๆที่เกิดในโลกนี้ หรือบรีดที่เราไม่เคยเห็นให้บางท่านใน คณะนี้ได้ลอง

ฝีมือด้วย หลายคนไม่รับตัดสินในงานที่หินๆอย่างยูเรเซียนี้ เพราะเป็นงานหนึ่งที่

สุนัขสำคัญๆของยุโรปจะมาร่วมแน่นอน ต่างคนต่างก็ดังในประเทศของเขา และ

ต่างก็ไม่ยอมซึ่งกันและกัน และมักมาหาคนกลางคือกรรมการนั่นเองมาช่วยให้

ความกระจ่างกับสายพันธุ์ ท่านที่ใหม่ๆที่ตัดมาไม่นานพอก็อาจโดนบรีดเดอร์ดังๆ

เหล่านี้ถามปัญหาที่ลึกซึ้งๆให้กลับมาขบคิดได้ ลองนึกถึงความมั่นใจที่บรีดเดอร์

ที่บรีดมาสักยี่สิบปีและแต่ละคนก็เป็นเจ้าของแชมป์โลกมาแล้วดูนะครับ คงพอ

ประมาณความรู้สึกของพวกเขาออกว่า มั่นใจมากน้อยแค่ไหน อีกข้อก็คืองาน

ใหญ่ๆเหล่านี้ที่พวกกรรมการต้องเจอแน่ๆก็คือ

ไทป์ที่แตกต่างกันครับ ในบางบรีดอาจจะไม่มี

ปัญหา แต่อย่างบรีดที่นิยมอย่างบ็อกเซอร์ แต่ละ

ประเทศมีไทป์ที่แตกต่างกัน ทั้งอเมริกันไทป์ อิง

ลิชไทป์ ออสเตรเลี่ยนไทป์ เยอรมันไทป์ และยู

โรเปี้ยนไทป์ ถ้าทั้งห้าไทป์ทุกตัวตรงตามไทป์ของ

ตัวเองหมด เป็นสุดยอดของไทป์ของตนในสนาม

คุณคิดว่า ถ้าคุณเป็นกรรมการคุณจะตัดอย่างไร

ให้ตัวไหนชนะล่ะ ตัวหนึ่งวิน อีกสี่ที่เหลือเดินมา

ถามคุณแน่ๆเหล่านี้ทั้งหมดทั้งมวลกรรมการต้อง

มีความมั่นใจในความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาถึงบอกว่า

ท่านใหม่ๆ การเข้าคลาสสำคัญมากๆในการอบรม

ก่อนการสอบกรรมการตัดสิน (ขอฝากท่านผู้รับผิด

ชอบการอบรมกรรมการด้วยครับเป็นไปไม่ได้แน่ๆ

ที่จะให้ผู้สนใจรู้และร่ำเรียนสิ่งที่เอฟซีไอกำหนดใน

การอบรมแค่หนเดียว ในปีแรกเรามีการอบรม

เกือบสองปีมิใช่หรือครับถึงจะจัดการสอบ) เหล่านี้

เมื่อนึกถึงครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดกันมาแล้ว

ไบเบิ้ลของการตัดสินแน่นอนคำตอบอยู่ที่บรีดแส

ตนด์ดาร์ดหรือมาตรฐานพันธุ์ ครับว่าคุณกำลังตัด

งานนี้ให้กับใครอยู่ ผมว่างานนี้อาร์เคเอฟอยาก

ลองวิชากรรมการ หลายท่าน ที่ผมเจอก็คือ มิ

เนียเจอร์พินเชอร์หรือมินพินช์ที่ เจ้าตัวเล็กแต่เป็น

บรีดที่ไม่เล็กเลยในยุโรปของผมมีเอ็นทรี่หรือสุนัขที่

ลงประกวด ร้อยสามสิบกว่าตัว ในรอบแชมเปี้ยน

คลาสมีแชมเปี้ยนสามสิบกว่าตัว รออยู่ในสนาม

มันไม่ได้อยู่ที่แชมเปี้ยน แต่อยู่ที่ว่า ในท่ามกลาง

แชมป์เหล่านี้ มีทั้ง อเมริกันไทป์ ออสเตรเลี่ยน

Page 2: ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซียไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ

99

ไทป์และยูโรเปี้ยนหรือเยอรมันไทป์สวยจัดๆอยู่ในสนาม พื้น

ฐานผมมาจากอเมริกา และได้สัมผัสคลาสจากอาจารย์จาก

ทวีปยุโรปมาบ้าง แต่ทั้งหมดทุกท่านคือเวิร์คกิ้งกรุ๊ป ซึ่งพินเชอร์

อย่างมินพินช์มีเอกลักษณ์ของบรีดหลายอย่างมาก ที่แต่ละ

ประเทศตีความต่างกัน แต่ผมตัดด้วยเอฟซีไอแสตนด์ดาร์ด ผม

เสียใจมากเช่นกัน ที่ผมไม่ให้ มินพินช์ที่เดินแฮคนีย์ที่สวยจัด

หรือเดินยกเท้าเหมือนม้าโขก ชนะประกวดเลย!! ในสนามนี้

ผิดมาตรฐานเอฟซีไอครับ!! เอฟซีไออยากเห็นมินพินช์ที่มีริช

หรือไดร์ฟ คือการก้าวย่างที่มีประสิทธิภาพของทั้งขาหน้าและ

ขาหลัง อย่างเวิร์คกิ้ง ผมพนันได้เลยว่าตัวที่ผมให้ชนะเป็น

เบสท์ออฟบรีดของผมนั้น วิ่งในสนามกับหมาใหญ่ๆอย่างร็อต

ไวเลอร์ได้ไม่อายทีเดียว แต่เขากลับบอกผมว่าเขาให้ความ

สำคัญกับรางวัลบรีดมาก กว่า ในรอบกรุ๊ปนั้นเขาไม่คาดหวัง

อะไรนัก ในวันที่สองที่การประกวดอาจเลทช้าออกไปบ้าง

ปรากฏเขาบายหรือไม่ประกวดกรุ๊ปเพราะต้องเดินทางกลับ

ประเทศ

ส่วนคุณหมอโดม ท่านโดนโจทย์อีกข้อก็คือ ทาง

สมาคมฯขอเปลี่ยนบรีดที่จะตัดสินเมื่อไปถึงที่รัสเซียแล้วจากบี

ชองกลายเป็นตัดบรัสเซลกริฟฟอนด์และ ได้บรีดที่หินที่สุดอีกบ

รีดของทอยส์ก็คือเฟรนช์บูลด็อกที่มีเกือบสองร้อยตัว!!แต่ละ

ตัวชนะในงานที่ต่างกัน ตัวหนึ่งได้เวิล์ดวินเนอร์อีกตัว ได้

บรีดงานครัฟท์ อีกหลายตัวเป็นอเมริกันแชมป์ หลายคนโดน

หมดแทบหมดแรงเพิ่มหลังจากการเดินทางข้ามโลกมา จากที่

เตรียมมาบรีดหนึ่งโดนลองของอีกบรีดหนึ่งฯลฯ

เหตุการณ์ในประเทศ

มาถึงอีกเปราะก็คือ อุปสรรคส่วนตัวครับ ปกติผม

ทำงานเจ็ดวัน หาเวลาที่จะลงตัวยากมากอยู่แล้วคุณหมอโดม

ท่านก็เช่นกัน แถมตอนเราไป วันที่ 27-28 กพ ช่วงนั้นมีการ

ประท้วงเรื่องการเมืองในประเทศแล้วนะครับ เราเป็นห่วง

ประเทศชาติเช่นกันแทบจะขออาร์เคเอฟก่อนเดินทางหนึ่ง

อาทิตย์เลยเพื่อแคนเซิล แต่มานึกอีกทีมันเป็นศักดิ์ศรีของ

เอเชียอย่างเราทีเดียว อากาศตอนนั้นรัสเซียหนึ่งองศา อุ่นกว่า

ช่องฟรีซในตู้เย็นบ้านผมแค่นิดเดียว ผมเคยไปรัสเซียหลายหน

ทราบดีว่าเขารักภาษาเขามาก เขาไม่พูดอังกฤษครับ!! ดังนั้น

สิ่งที่เรารีเควสแน่ๆก็คือล่ามอีกสองคน เขารับปาก โอเค

เอาละไปก็ไป

เราเดินทางเช้าวันศุกร์ไปถึงนั่นกลางคืนศุกร์ ข้าวเย็น

ทานกันสี่ทุ่มครึ่ง ซึ่งรัสเซียเร็วกว่าเราสัก สามชั่วโมง ก็ทานข้าว

เย็นตอนตีหนึ่งกว่าๆพอดี กว่าจะทานเสร็จ มอสโคเป็นเมือง

หนึ่งที่รถติดมากๆนะครับ กลับถึงโรงแรม เที่ยงคืนกว่าหรือตี

สามกว่าๆเมืองไทยเชิญท่านกรรมการครับเช้าวันใหม่แล้วขอ

พบกับบรีดแรก เวลา แปดโมงครึ่ง !! ฉนั้นคณะกรรมการโลก

ของเราเอ๋ย พบกันห้องอาหารเจ็ดโมงนะครับ โอ้ ผมพบแล้ว

ว่า คุณหมอโดม หรือพี่โดมที่เคารพรักของผมยังหนุ่มตัวจริง

เสียงจริง คุณหมอโดมท่านตื่นตั้งแต่หกโมงและได้ยินเสียงโอ

เปร่าจากไอโฟนของท่านตั้งแต่หกโมงครึ่ง

ผมร้องบอกกับหมอนข้างและนาฬิกาปลุกของผมว่า

ท่านครับขอผมพักอีกสักยี่สิบนาทีนะ เดี๋ยวผมตัดคลาสแรกให้

สองร้อยตัวเลย แต่เป็นไปไม่ได้ครับ เราต้องตื่นตอนนั้น ด้วย

ความปวดร้าว และคว้าแล็ปท็อปเครื่องโปรด มาเปิดบรีด

สแตนดาร์ดรีวิวอีกครั้ง ที่ยุโรปนี่ทุกคนรักษาเวลาดีมาก

กรรมการสี่สิบกว่าท่าน ที่เห็นรอประชุมที่ล็อบบี้ตอนแปดโมง

ยี่สิบห้า ตอนแปดโมงครึ่งพอดีแป๊ะ ทุกท่านนั่งประจำที่ที่รถ

หมดแล้วครับ!!

มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เราพบกับเพื่อนกรรมการ

ผู้ใหญ่ๆ อย่าง ฮานทั้งสองฮาน ทั้งฮานจากสวีเดน และ

ฮานนอร์เวย์ รวมถึงดร.แวนดร้าจากเอเคซี ที่อบอุ่นทุกครั้งที่

พบ และเพื่อนกรรมการผู้ใหญ่ๆ หลายท่านมาก ที่เราเคยเจอ

แต่ชื่อท่านในหน้าปกหนังสือเท่านั้น แต่เราก็พบว่าตัวจริงของ

แต่ละท่านมีเสน่ห์กว่าในหนังสือเยอะ ห้องสมุดของผมได้ตำรา

มาเพิ่มอีกหลายเล่มพร้อมลายเซนต์เป็นทีระลึก หลายท่าน

บอกว่า ผมน่าจะแปลหนังสือที่ผมเขียนเป็นแท็กภาษาอังกฤษ

บ้างท่านอยากได้ไว้บ้าง ปลื้มใจตั้งแต่ยังไม่ทันแปล และแอบ

ยิ้มภูมิใจคนเดียว

กองทัพกรรมการทั้งสี่สิบสองท่านนี้ กำลังจะเริ่มออก

เดินทางแล้วด้วยรถบัสขนาดใหญ่สองคันเพื่อพบกับเจ้าสี่ขาที่

ยืนรอพวกเราอยู่ในสนามหมื่นสามพันตัว!!

ฮานและคุณหมอโดม

ในรถบัส

Page 3: ยูเรเซีย งานประกวดสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในรัสเซียไม่ต้องพูดถึงตำนานของปอมเมอเรเนียนเมืองไทยอย่างคุณหมอโดม(ทพ.มล.อภิ

100

สถานที่จัดงาน

และแล้วเราก็มาถึง สถานที่จัดงานนะครับ เป็นคอน

เวนชั่นฮอลล์ขนาดใหญ่มาก ที่ตั้งอยู่ติดถนนใช้เวลาเดินทาง

จากโรงแรมประมาณครึ่งชั่วโมงทุกท่านในขณะนี้มีแฮนด์เอาท์

ที่เปรียบเหมือนคู่มืออธิบายทุกอย่างตั้งแต่เรื่องการกินการอยู่

แผนที่และสถานที่จัดประกวด ซึ่งมีขนาดประมาณฮอลล์อิม

แพคสี่ฮอลล์รวมกัน!! ใหญ่กว่าที่ลองบีช เวิล์ดชาแลนด์ที่ดังๆ

ของอเมริกาแน่นอนครับ ยืนยัน !! อย่าเพิ่งตื่นเต้นครับหาก

ท่านที่ไม่ได้ขอล่ามไว้ เชิญครับ ทำงานได้แล้ว เดินไปสนาม

ประกวดเองครับ แผนที่อยู่ในมือแล้ว เป็นเรื่องปกตินะครับ

ของการจัดระดับมาตรฐานแบบนี้กรรมการแต่ละท่านเข้าใจดี

ในอเมริกาบางงานหลังจากที่กรรมการทำการตกลงแล้วบาง

ท่านก็เดินทางไปด้วยตนเองและไปถึงสนามเองด้วยครับ ทุก

อย่างต้องทำด้วยตวเองหมดและควรเป็นระบบอย่างที่ทุกคลับ

กำหนดด้วย ซึ่งสำคัญมากว่าเราต้องอ่านทั้งระบบรางวัลการ

เรียกสุนัขเข้ามาประกวดธรรมเนียมเช่นอย่างในรัสเซียตำแหน่ง

จะไม่เหมือนกันนะครับ และเขาจะให้เจ้าของหรือช่างภาพเข้า

มาถ่ายรูปสุนัขตัวที่ชนะในแต่ละรอบ

คนรายล้อมกันเต็มสนามประกวดแล้ว สนามทั้งสี่สิบ

กว่าสนามนี้ เป็นสนามที่ขนาดใหญ่ ใหญ่พอที่แต่ละสนาม

สามารถมีพื้นที่พอให้สุนัขพันธุ์ใหญ่วิ่งได้รอบสนามขึ้งด้วยแถบ

พลาสติกสีฟ้าอย่างคร่าวๆ แต่การบอกเบอร์และแผนที่ตลอด

จนพันธุ์นั้นถูกต้องชัดเจนมาก คืออาจจะไม่ได้เน้นที่ตกแต่งแต่

เน้นที่ความโปร่ง และสบายตากับความสะดวกในการประกวด

มากกว่า

เข้าไปสนามแรกกันครับบรีดแรกพร้อมแล้ว(อ่านต่อ

ฉบับหน้า)

สนามประกวดยูเรเซียรอบแต่ละบรีด

สนามประกวดตอนเช้า

ประตูเข้างาน

สภาพสนามแต่ละสนาม

รอบจูเนียร์โชว์

คุณพีระพงศ์ดัลเมเชี่ยน เกรทเดนเยอรมันไม่ตัดหู