24
1 รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท 1. การฝึกใจ 2. ทำใจให้เป็นบุญ 3. สมาธิภาวนา

รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

Embed Size (px)

DESCRIPTION

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)วัดหนองป่าพง อำเภอ วารินชำราบจังหวัด อุบลราชธานี

Citation preview

Page 1: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

1

รวมคำสอน หลวงพ่อชาสุภัทโท ๑

1. การฝึกใจ

2. ทำใจให้เป็นบุญ

3. สมาธิภาวนา

Page 2: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

2

การฝึกใจ

จงอยู่กับปัจจุบันอย่าจมอยู่กับอดีต

แสดงธรรมโดย

พระโพธิญาณเถร(หลวงพ่อชาสุภัทโท)

บทนำ

ชีวิตคนในสมัยของท่านอาจารย์มั่นและท่านอาจารย์เสาร์นั้นสบายกว่าในสมัยนี้มาก

ไม่มีความวุ่นวายมากเหมือนอย่างทุกวันนี้สมัยโน้นพระไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับพิธีรีตรองต่างๆเหมือนอย่างเดี๋ยวนี้

ท่านอาศัยอยู่ตามป่าไม่ได้อยู่เป็นที่หรอกธุดงค์ไปโน่นธุดงค์ไปนี่เรื่อยไปท่านใช้เวลาของท่านปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่

สมัยโน้นพระท่านไม่ได้มีข้าวของฟุ่มเฟือยมากมายอย่างที่มีกันทุกวันนี้หรอกเพราะมันยังไม่มีอะไรมากอย่างเดี๋ยวนี้

กระบอกน้ำก็ทำเอากระโถนก็ทำเอาทำเอาจากไม้ไผ่นั่นแหละ

ความสันโดษของพระป่า

ชาวบ้านก็นานๆจึงจะมาหาสักทีความจริงพระท่านก็ไม่ได้ต้องการอะไรท่านสันโดษกับสิ่งที่ท่านมีท่านอยู่ไป

ปฏิบัติภาวนาไปหายใจเป็นกรรมฐานอยู่นั่นแหละ

พระท่านก็ได้รับความลำบากมากอยู่เหมือนกันในการที่อยู่ตามป่าตามเขาอย่างนั้นถ้าองค์ใดเป็นไข้ป่าไข้มาลาเรีย

ไปถามหาขอยาอาจารย์ก็จะบอกว่า"ไม่ต้องฉันยาหรอกเร่งปฏิบัติภาวนาเข้าเถอะ"

ความจริงสมัยนั้นก็ไม่มีหยูกยามากอย่างสมัยนี้มีแต่สมุนไพรรากไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าพระต้องอยู่อย่างอดอย่างทนเหลือหลาย

ในสมัยนั้นเจ็บไข้เล็กๆน้อยๆท่านก็ปล่อยมันไปเดี๋ยวนี้สิเจ็บป่วยอะไรนิดหน่อยก็วิ่งไปโรงพยาบาลกันแล้ว

บางทีต้องเดินบิณฑบาตตั้งห้ากิโลพอฟ้าสางก็ต้องรีบออกจากวัดแล้วกว่าจะกลับก็โน่นสิบโมงสิบเอ็ดโมงโน่น

Page 3: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

3

แล้วก็ไม่ใช่บิณฑบาตได้อะไรมากมายบางทีก็ได้ข่าวเหนียวสักก้อนเกลือสักหน่อยพริกสักนิดเท่านั้นเอง

ได้อะไรมาฉันกับข้าวหรือไม่ก็ช่างท่านไม่คิดเพราะมันเป็นอย่างนั้นเองไม่มีองค์ใดกล้าบ่นหิวหรือเพลียท่านไม่บ่น

เฝ้าแต่ระมัดระวังตน

ท่านปฏิบัติอยู่ในป่าอย่างอดทนอันตรายก็มีรอบด้านสัตว์ดุร้ายก็มีอยู่หลายในป่านั้นแต่ท่านก็มีความอดความทนเป็นเลิศ

เพราะสิ่งแวดล้อมสมัยนั้นบังคับให้เป็นอย่างนั้น

การภาวนาของท่านนักปฏิบัติสมัยนี้

มาสมัยนี้สิ่งแวดล้อมบังคับเราไปในทางตรงข้ามกับสมัยโน้นไปไหนเราก็เดินไปต่อมานั่งเกวียนแล้วก็นั่งรถยนต์

แต่ความทะยานอยากมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเดี๋ยวนี้ถ้าไม่ใช่รถปรับอากาศก็จะไม่ยอมนั่งดูจะไปเอาไม่ได้เทียวแหละ

ถ้ารถนั้นไม่ปรับกอากาศคุณธรรมในเรื่องความอดทนมันค่อยอ่อนลงๆการปฎิบัติภาวนาก็ย่อหย่อนลงไปมาก

เดี๋ยวนี้เราจึงเห็นนักปฎิบัติภาวนาชอบทำตามความเห็นความต้องการของตัวเอง

เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงเรื่องเก่าๆแต่ครั้งก่อนคนเดี๋ยวนี้ฟังเหมือนว่าเป็นนิทานนิยายฟังไปเฉยๆแต่ไม่เข้าใจเลยแหละ

เพราะมันเข้าไม่ถึงพระภิกษุที่บวชในสมัยก่อนนั้นจะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์อย่างน้อยห้าปีนี่เป็นระเบียบที่ถือกันมา

และต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุยอย่าปล่อยตัวเที่ยวพูดคุยมากเกินไปอย่าอ่านหนังสือแต่ให้อ่านใจของตัวเอง

พิจารณาอ่านใจและดูใจตัวเอง

ดูวัดหนองป่าพงเป็นตัวอย่างทุกวันนี้มีพวกจบจากมหาวิทยาลัยมาบวชกันมาก

ต้องคอยห้ามไม่ให้เอาเวลาไปอ่านหนังสือธรรมะเพราะคนพวกนี้ชอบอ่านหนังสือแล้วก็ได้อ่านหนังสือมามากแล้ว

แต่โอกาสที่จะอ่านใจของตัวเองน่ะหายากมากฉะนั้นระหว่างที่มาบวชสามเดือนนี้ก็ต้องขอให้ปิดหนังสือ

ปิดตำรับตำราต่างๆให้หมดในระหว่างที่บวชนี้น่ะเป็นโอกาสวิเศษแล้วที่จะได้อ่านใจของตัวเอง

การตามดูใจของตัวเองนี้น่าสนใจมากใจที่ยังไม่ได้ฝึกมันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยเคยชินที่ยังไม่ได้ฝึกไม่ได้อบรม

Page 4: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

4

มันเต้นคึกคักไปตามเรื่องตามราวตามความคะนองเพราะมันยังไม่เคยถูกฝึกดังนั้นจงฝึกใจของตัวเอง

การปฏิบัติภาวนาในทางพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติเรื่องใจฝึกจิตฝึกใจของตัวฝึกอบรมจิตของตัวเองนี่แหละ

เรื่องนี้สำคัญมากการฝึกใจเป็นหลักสำคัญพุทธศาสนาเป็นศาสนาของใจมันมีเท่านี้ผู้ที่ฝึกปฏิบัติทางจิต

คือผู้ปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา

การฝึกใจ

ใจของเรานี่มันอยู่ในกรงยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั ้นด้วยใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้

ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้วมันก็อาละวาดเราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนาด้วยสมาธิ

นี้แหละที่เราเรียกว่า"การฝึกใจ"

พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

ในเบื้องต้นของการฝึกปฏิบัติธรรมจะต้องมีศีลเป็นพื้นฐานหรือรากฐานศีลนี้เป็นสิ่งอบรมกายวาจา

ซึ่งบางทีก็จะเกิดการวุ่นวายขึ้นในใจเหมือนกันเมื่อเราพยายามจะบังคับใจไม่ให้ทำตามความอยาก

กินน้อยนอนน้อยพูดน้อยนิสัยความเคยชินอย่างโลกๆลดมันลงอย่ายอมตามความอยากอย่ายอมตามความคิดของตน

หยุดเป็นทาสมันเสียพยายามต่อสู้เอาชนะอวิชชาให้ได้ด้วยการบังคับตัวเองเสมอนี้เรียกว่าศีล

เมื่อพยายามบังคับจิตของตัวเองนั้นจิตมันก็จะดิ้นรนต่อสู้มันจะรู้สึกถูกจำกัดถูกข่มขี่เมื่อมันไม่ได้ทำตามที่มันอยาก

มันก็จะกระวนกระวายดิ้นรนทีนี้เห็นทุกข์ชัดละ

เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา

"ทุกข์"เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์อยากหนีทุกข์ไม่อยากให้มีทุกข์เลยความจริง

ทุกข์ที่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะทำให้เกิดปัญญาทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา

Page 5: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

5

มันจะทำให้ไม่รู้จักอดไม่รู้จักทนความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท

กิเสลสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่ายดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณาแล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้

แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คืออะไร

ตอนแรกเราจะต้องฝึกใจของเราอย่างนี้เราอาจยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไรทำไปทำไปก่อน

ฉะนั้นเมื่อครูอาจารย์บอกให้ทำอย่างใดก็ทำตามไปก่อนแล้วก็จะค่อยมีความอดทนอดกลั้นขึ้นเอง

ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรให้อดทนอดกลั้นไว้ก่อนเพราะมันเป็นอย่างนั้นเองอย่างเช่นเมื่อเริ่มฝึกนั่งสมาธิ

เราก็ต้องการความสงบทีเดีวแต่ก็จะไม่ได้ความสงบเพราะมันไม่เคยทำสมาธิมาก่อนใจก็บอกว่า

"จะนั่งอย่างนี้แหละจนกว่าจะได้ความสงบ"

อย่าทอดทิ้งจิต

แต่พอความสงบไม่เกิดก็เป็นทุกข์ก็เลยลุกขึ้นวิ่งหนีเลยการปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็น"การพัฒนาจิต"แต่มันเป็นการ

"ทอดทิ้งจิต"ไม่ควรปล่อยใจไปตามอารมณ์ควรที่จะฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าขี้เกียจก็ช่าง

ขยันก็ช่างให้ปฏิบัติมันไปเรื่อยๆลองคิดดูซิทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ

การปล่อยใจตามอารมณ์นั้นจะไม่มีวันถึงธรรมของพระพุทธเจ้า

เมื่อเราปฏิบัติธรรมไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้นก็ช่างมันแต่ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆปฏิบัติให้สม่ำเสมอ

การตามใจตัวเองไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้าถ้าเราปฏิบัติธรรมตามความคิดความเห็นของเรา

เราจะไม่มีวันรู้แจ้งว่าอันใดผิดอันใดถูกจะไม่มีวันรู้จักใจของตัวเราเองและไม่มีวันรู้จักตัวเอง

ดังนั้นถ้าปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตนเองแล้วย่อมเป็นการเสียเวลามากที่สุด

แต่การปฎิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเป็นหนทางตรงที่สุด

การพัฒนาจิต

Page 6: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

6

ขอให้จำไว้ว่าถึงจะขี้เกียจก็ให้พยายามปฏิบัติไปขยันก็ให้ปฏิบัติไปทุกเวลาและทุกหนทุกแห่งนี่จึงจะเรียกว่า

"การพัฒนาจิต"ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนเองแล้วก็จะเกิดความคิดความสงสัยไปมากมาย

มันจะให้คิดไปว่า"เราไม่มีบุญเราไม่มีวาสนาปฏิบัติธรรมก็นานหนักหนาแล้วยังไม่รู้เรายังไม่เห็นธรรมเลยสักที"

การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็น"การพัฒนาจิต"แต่เป็น"การพัฒนาความหายนะของจิต"

ถ้าเมื่อใดที่ปฏิบัติธรรมไปแล้วมีความรู้สึกอย่างนี้ว่ายังไม่รู้อะไรยังไม่เห็นอะไรยังไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้างเลย

นี่ก็เพราะที่ปฏิบัติมามันผิดไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า"อานนท์ปฏิบัติให้มากทำให้มากแล้วจะสิ้นสงสัย"ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ด้วยการคิด

ด้วยทฤษฎีด้วยการคาดคะเนหรือด้วยการถกเถียงกันหรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย

ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกันกิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต

ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

การปฏิบัติทางจิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง

คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย

นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์

เมื่อเราปฏิบัติธรรมเราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรมไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเราถ้าปฏิบัติอย่างนี้ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น

แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้พอเริ่มปฏิบัติทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้วหน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติสำรวม

และสันโดษสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุดคือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อนทำไมถึงต้องทำอย่างนี้

ถ้าไม่ทำอย่างนี้ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้วมันก็จะคึกคะนองวุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ

Page 7: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

7

ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้เอามาใช้ประโยชน์ได้เปรียบได้กับต้นไม้ในป่าถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน

เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้

แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้านเขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้และตัดต้นในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์

ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย

การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละมาฝึกมัน

จนมันละเอียดประณีตขึ้นรู้ขึ้นและว่องไวขึ้นทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมันเมื่อเรารู้จักธรรมชาติ

เข้าใจธรรมชาติเราก็เปลี่ยนมันได้ทิ้งมันก็ได้ปล่อยมันไปก็ได้แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย

ธรรมชาติของใจเรามันก็อย่างนั้นเมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่นก็จะเกิดความวุ่นวายสับสน

เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่พอมันวุ่นวายสับสนมากๆเข้าเราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้วแล้วก็เป็นทุกข์

นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเองความคิดความรู้สึกมันจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้

แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติพยายามให้มันสงบมันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้นมันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆก็จะค่อยๆเข้าใจว่าธรรมชาติของใจมันเป็นของมันอยู่อย ่างนั้น

มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

ถ้าเราเห็นอันนี้ชัดเราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีกคอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า

"มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง"พอเข้าใจได้ชัดเห็นแจ้งอย่างนี้แล้วทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด

ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไปมันก็ยังอยู่นั่นแหละแต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว

เปรียบก็เหมือนกับเด็กที่ชอบซนเล่นสนุกทำให้รำคาญจนเราต้องดุเอาตีเอา

แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้นเองพอรู้อย่างนี้เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา

Page 8: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

8

ความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไปมันไปได้อย่างไรก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็กความรู้สึกของเราเปลี่ยน

และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายเราปล่อยวางจิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็นนี่เรามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว

เป็นสัมมาทิฎฐิ

ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องยังเป็นมิจฉาทิฎฐิอยู่แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใดใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่

ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฎฐิเท่านั้นทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้เพราะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

นี่มันเป็นอย่างนี้เราไม่ชอบมันเราปล่อยวางมันเมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นเราปล่อยวางทันที

เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะกวนเราแม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น

แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอง

ถ้าเราปล่อยวางมันเสียรูปก็เป็นสักแต่ว่ารูปเสียก็สักแต่ว่าเสียงกลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่นรสก็สักแต่ว่ารส

โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า

ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกันมันก็ไม่ปนกันเพราะธรรมชาติมันต่างกันเหมือนกับคนที่ฉลาดก็ต่างกับคนโง่

พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์

พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง"สักว่า"เท่านั้น

ใจก็สักว่าใจความคิดก็สักว่าความคิด

พระองค์ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อยๆตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่าใจก็สักว่าใจความคิดก็สักว่าความคิด

พระองค์ไม่ทรงเอามาปนกันใจก็สักว่าใจความคิดความรู้สึกก็สักว่าความคิดความรู้สึกปล่อยให้มันเป็นเพียงสิ่ง"สักว่า"

รูปก็สักว่ารูปเสียงก็สักว่าเสียงความคิดก็สักว่าความคิดจะต้องไปยึดมั่นถือมั่นทำไม

ถ้าคิดได้รู้สึกได้อย่างนี้เราก็จะแยกกันได้ความคิดความรู้สึก(อารมณ์)อยู่ทางหนึ่งใจก็อยู่ทางหนึ่ง

เหมือนกับน้ำมันกับน้ำท่าอยู่ในขวดเดียวกันแต่มันแยกกันอยู่

พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ก็อยู่ร่วมกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้ธรรมท่านไม่ได้เพียงอยู่ร่วมเท่านั้น

แต่ท่านยังสอนคนเหล่านั้นทั้งคนฉลาดคนโง่ให้รู้จักวิธีที่จะศึกษาธรรมปฏิบัติและรู้แจ้งในธรรม

Page 9: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

9

ท่านสอนได้เพราะท่านได้ปฏิบัติมาเองท่านรู้ว่ามันเป็นเรื่องของใจเท่านั้นเหมือนอย่างที่ได้พูดมานี้แหละ

ดังนั้นการปฏิบัติภาวนานี้อย่าไปสงสัยมันเลยเราหนีจากบ้านมาบวชไม่ใช่เพื่อหนีมาอยู่กับความหลงหรืออยู่กับความขลาดค

วามกลัวแต่หนีมาเพื่อฝึกอบรมตัวเองเพื่อเป็นนายตัวเองชนะตัวเองถ้าเราเข้าใจได้อย่างนี้เราก็จะปฏิบัติธรรมได้

ธรรมะจะแจ่มชัดขึ้นในใจของเรา

ธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

ผู้ที่เข้าใจธรรมะก็เข้าใจตัวเองใครเข้าใจตัวเองก็เข้าใจธรรมะทุกวันนี้ก็เหลือแต่เปลือกของธรรมะเท่านั้น

ความเป็นจริงแล้วธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่จำเป็นที่จะต้องหนีไปไหนถ้าจะหนีก็ให้หนีด้วยความฉลาดด้วยปัญญา

หนีด้วยความชำนิชำนาญอย่าหนีด้วยความโง่ถ้าเราต้องการความสงบก็ให้สงบด้วยฉลาดด้วยปัญญาเท่านั้นพอ

เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะนั่นก็เป็นสัมมาปฏิปทาแล้วกิเลสก็สักแต่ว่ากิเลสใจก็สักแต่ว่าใจเมื่อใดที่เราทิ้งได้

ปล่อยวางได้แยกได้เมื่อนั้นมันก็เป็นเพียงสักว่าเป็นเพียงอย่างนี้อย่างนั้นสำหรับเราเท่านั้นเองเมื่อเราเห็นถูกแล้ว

ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่งความเปน็อิสระตลอดเวลา

พระพุทธองค์ตรัสว่า"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท่านอย่ายึดมั่นในธรรม"ธรรมะคืออะไรคือทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ

ความรักความเกลียดก็เป็นธรรมะความสุขความทุกข์ก็เป็นธรรมะความชอบความไม่ชอบก็เป็นธรรมะ

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็เป็นธรรมะ

ปฏิบัติเพื่อละอย่าปฏิบัติเพื่อสะสม

เมื่อเราปฏิบัติธรรมเราเข้าใจอันนี้เราก็ปล่อยวางได้ดังนั้นก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเราในจิตเราในร่างกายของเรามีแต่ความแปรเปลี่ยนไปทั้งนั้น

พระพุทธองค์จึงทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นพระองค์ทรงสอนพระสาวกของพระองค์ให้ปฏิบัติเพื่อละ

เพื่อถอนไม่ให้ปฏิบัติเพื่อสะสม

Page 10: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

10

ถ้าเราทำตามคำสอนของพระองค์เราก็ถูกเท่านั้นแหละเราอยู่ในทางที่ถูกแล้วแต่บางทีก็ยังมีความวุ่นวายเหมือนกัน

ไม่ใช่คำสอนของพระองค์ทำให้วุ่นวายกิเลสของเรานั้นแหละที่มันทำให้วุ่นวายมันมาบังคับความเข้าใจอันถูกต้องเสีย

ก็เลยทำให้เราวุ่นวาย

ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่มีอะไรลำบากไม่มีอะไรยุ่งยาก

การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์เพราะทางของพระองค์คือ"ปล่อยวาง"ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้นท่านทรงสอนให้"ปล่อยวาง"อย่าแบกถืออะไรให้มันหนักทิ้งมันเสีย

ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้งคำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติแต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ"การละ"

"การปล่อยวาง"นั่นแหละ

จงอยู่กับปัจจุบันอย่าจมอยู่กับอดีต

พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลายที่กายที่ใจของเราธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหนอยู่ที่ตรงนี้

อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็งเอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้นสว่างขึ้น

ให้มันเป็นใจอิสระทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไปอย่าไปยึดไว้หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้วก็ปล่อยมันไป

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ที่นี้และเดี๋ยวนี้ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรือนาคต

คำสอนที่เข้าใจผิดกันมากแล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุดตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง"การปล่อยวาง"หรือ

"การทำงานด้วยจิตว่าง"นี่แหละการพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด"ภาษาธรรม"เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง

แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้นทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ

ความจริงมันมีความหมายอย่างนี้อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่งแบกไปก็รู้สึกหนัก

แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละพอมีใครบอกว่าให้โยนมันทิ้งเสียซีก็มาคิดอีกแหละว่า

"เอ...ถ้าเราโยนทิ้งไปแล้วเราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ"ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละไม่ยอมทิ้ง

Page 11: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

11

ประโยชน์ของการปล่อยวาง

ถ้าจะมีใครบอกว่าโยนทิ้งเถอะแล้วจะดีอย่างนั้นเป็นประโยชน์อย่างนี้เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ

เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที

จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลงตอนที่ปล่อยให้มันตกลงนี้แหละก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย

เราจะรู้สึกเบาสบายแล้วก็รู้ได้ด้วยตนเองว่าการแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใดแต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอก

ว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด

ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวางคนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอกก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นยังไม่ยอมปล่อย

จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละถึงจะยอมปล่อยแล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง

ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า

ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไรเราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้นความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม

และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละคือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง

ความยึดมั่นถือมั่นในตัวของเราก็เหมือนก้อนหินหนักก้อนนั้นพอคิดว่าจะปล่อย"ตัวเรา"

ก็เกิดความกลัวว่าปล่อยไปแล้วก็จะไม่มีอะไรเหลือเหมือนกับที่ไม่ยอมปล่อยก้อนหินนั้นแต่ในที่สุดเมื่อปล่อยมันไปได้

เราก็จะรู้สึกเองถึงความเบาสบายในการที่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น

การฝึกใจต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

ในการฝึกใจนี้เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นทั้งสรรเสริญทั้งนินทาความต้องการแต่สรรเสริญและไม่ต้องการนินทางนั้น

เป็นวิถีทางของโลกแต่แนวทางของพระพุทธเจ้าให้รับสรรเสริญตามเหตุตามปัจจัยของมัน

และก็ให้รับนินทาตามเหตุตามปัจจัยของมันเหมือนกันเหมือนอย่างกับการเลี้ยงเด็กบางทีถ้าเราไม่ดุเด้กตลอดเวลา

มันก็ดีเหมือนกันผู้ใหญ่บางคนดุมากเกินไปผู้ใหญ่ที่ฉลาดย่อมรู้จักว่าเมื่อใดควรดุเมื่อใดควรชม

ใจของเราก็เหมือนกันใช้ปัญญาเรียนรู้จักใจใช้ความฉลาดรักษาใจไว้แล้วเราก็จะเป็นคนฉลาดที่รู้จักฝึกใจ

Page 12: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

12

เมื่อฝึกบ่อยๆมันก็จะสามารถกำจัดทุกข์ได้ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจนี่เองมันทำให้ใจสับสนมืดมัวมันเกิดขึ้นที่นี่มันก็ตายที่นี่

ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด

เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้บางทีก็คิดดีบางทีก็คิดชั่วใจมันหลอกลวงเป็นมายาจงอย่าไว้ใจมันแต่จงมองเข้าไปที่ใจ

มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมันยอมรับมันทั้งนั้นทั้งใจดีใจชั่วเพราะมันเป็นของมันอย่างนั้นถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน

มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้นแต่ถ้าเราไปยึดมันเข้าเราก็จะถูกมันกัดเอาแล้วเราก็เป็นทุกข์

ถ้าใจเราเป็นสัมมาทิฎฐิแล้วก็จะมีแต่ความสงบจะเป็นสมาธิจะมีความฉลาดไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอนก็จะมีแต่ความสงบ

ไม่ว่าจะไปไหนทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ

วันนี้ท่าน(ภิกษุชาวตะวันตก)ได้พาลูกศิษย์มาฟังธรรมท่านอาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง

ผมได้พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้ท่านอาจจะเข้าใจได้ง่ายท่านจะคิดว่าถูกหรือไม่ก็ตามก็ขอให้ท่านลองนำไปพิจารณาดู

ผมในฐานะอาจารย์องค์หนึ่งก็อยู่ในฐานะคล้ายๆกันผมเองก็อยากฟังธรรมเหมือนกันเพราะไม่ว่าผมจะไปที่ไหน

ก็ต้องไปแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังแต่ตัวเองไม่มีโอกาสฟังเลยคราวนี้ก็ดูท่านพอใจในการฟังธรรมอยู่เวลาผ่านไปเร็ว

เมื่อท่านนั่งฟังอย่างเงียบๆเพราะท่านกำลังกระหายธรรมะท่านจึงต้องการฟัง

เมื่อก่อนนี้การแสดงธรรมก็เป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งแต่ต่อมาความเพลิดเพลินก็ค่อยหายไปรู้สึกเหนื่อยและเบื่อ

ก็กลับอยากเป็นผู้ฟังบ้างเพราะเมื่อฟังธรรมจากครูอาจารย์นั้นมันเข้าใจง่ายและมีกำลังใจแต่เมื่อเราแก่ขึ้น

มีความหิวกระหายในธรรมะรสชาติของมันก็ยิ่งเอร็ดอร่อยมากขึ้น

การเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นนั้นจะต้องเป็นตัวอย่างให้แก่พระภิกษุอื่นๆเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์เป็นตัวอย่างแก่ทุกคน

ฉะนั้นอย่าลืมตนเองแล้วอย่าคิดถึงตนเองถ้าความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้นรีบกำจัดมันเสีย

ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเอง

ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

Page 13: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

13

วิธีปฏิบัติธรรมมีมากมายเป็นล้านๆวิธีพูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบสิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัยมีมากมายหลายอย่าง

แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆแล้วจะไม่เหลือความสงสัยเมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน

ก็มีแต่ควาสงบความสบายไม่ว่าจะปฏิบัติภาวนาที่ไหนให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือเดินเท่านั้นทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั ้น

ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาให้มีสติอยู่ให้เห็นการเกิดดับของกายและใจแต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย

ให้ปล่อยวางมันไปความรักเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไปมันมาจากไหนก็ให้มันกลับไปที่นั่นความโลภเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป

ตามมันไปตามดูว่ามันอยู่ที่ไหนแล้วตามไปส่งมันให้ถึงที่อย่าเก็บมันไว้สักอย่าง

ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส

ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่างหรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือนี่คือใจว่างเป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส

ความชั่วทั้งหลายเราเรียกว่าใจว่างแต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไรมันว่างจากกิเลสแต่เต็มไปด้วยความฉลาดด้วยปัญญา

ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญาคิดด้วยปัญญาจะมีแต่ปัญญาเท่านั้น

นี่เป็นคำสอนที่ผมขอมอบให้ในวันนี้ถ้าการฟังธรรมทำให้ใจท่านสงบก็ดีแล้วไม่จำเป็นต้องจดจำอะไรบางท่านอาจจะไม่เชื่อ

ถ้าเราทำใจให้สงบฟังแล้วก็ไม่ให้ผ่านไปแต่นำพิจารณาอยู่เรื่อยๆอย่างนี้เราก็เหมือนเครื่องบันทึกเสียงเมื่อเรา"เปิด"มัน

มันก็อยู่ตรงนั้นอย่ากลัวว่าจะไม่มีอะไรเมื่อใดที่ท่านเปิดเครื่องบันทึกเสียงของท่านทุกอย่างก็อยู่ในนั้น

ขอมอบธรรมะนี้ต่อพระภิกษุทุกรุปและต่อทุกคนบางท่านอาจจะรู้ภาษาไทยเพียงเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร

ให้ท่านเรียนภาษาธรรมเถิดเท่านี้ก็ดีเพียงพอแล้ว

Page 14: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

14

ทำใจให้เป็นบุญ

หลวงพ่อชา สุภัทโท

วัดหนองป่าพง อำเภอ วารินชำราบ

จังหวัด อุบลราชธานี

บรรยายที่วัดหนองป่าพง ให้แก่ชมรมพุทธศาสตร์เอสโซ่

เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔

โอกาส ที่พวกเราจะได้มารวมกันแต่ละครั้งนี้ก็ลำบากนะ นับ ว่าเป็นมงคลอันหนึ่ง ที่ได้มาถวายสังฆทาน

และได้มาฟังธรรมที่วัดหนองป่าพง เมื่อคืนคงได้ฟังหลายกัณฑ์ละมังนี่ อาตมาได้ขอโอกาส

แก่พระสงฆ์ทั้งหลายและญาติโยมแล้ว ให้พระสงฆ์ทำธุระแทน กำลัง มันน้อยทุกวันนี้ ลมมันน้อยเสียงมันก็น้อย

ทำไมมันจึงน้อย มันจะ หมดนะแหละ น้อยๆลง เดี๋ยวก็หมดแหละ มาทีน่ี่นับเป็นโชคดีที่ยัง เห็นตัวเห็นตนอยู่นะ

ถ้านานๆไปมันจะไม่ได้เห็นแล้ว จะเห็นก็แต่วัด เท่านั้นแหละ ต่อจากนี้ให้ตั้งใจฟังธรรม

ระยะ เวลานี้พวกเราแสวงบุญกันมาก มีคนแสวงบุญกันมาก ทุกแห่ง ที่ไหนที่ไหนก็มาผ่านวัดป่าพง ที่จะไปก็ผ่านนี้

ที่ไม่ผ่านกลับ มาก็ต้องผ่านนี้ ทอดผ้าป่าทอดกฐินทุกครั้ง ถ้าขาไปไม่พบ ขากลับก็ ต้องมาผ่าน ก็คือต้องผ่านทั้งนั้น

ฉะนั้นวัดป่าพงจึงเป็นเมืองผ่าน ผ่าน ไปชั่วคราว ผ่านไปผ่านมา บางคนที่มีธุระรีบร้อนก็ไม่ได้พบกัน ไม่ได ้พูดกัน

ฉะนั้นจึงต้องอาศัยเวลาของพวกเรา

โดย มากก็มาแสวงหาบุญกัน แต่ว่าไม่เคยเห็นญาติโยมที่ แสวงหาการละบาป มีแต่แสวงบุญเรื่อยไป

ไม่รู้จะเอาบุญไปไว้ตรง ไหนก็ไม่รู ้ผ้าสกปรกไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ นี่มันเป็นอย่าง นั้น

คำ สอนของพระท่านพูดไปโดยตรง ง่ายๆ แต่มันยากกับคนที่ จะต้องปฏิบัติ มันยากเพราะคนไม่รู ้เพราะคนรู้ไม่ถึง

มันจึงยาก ถ้า คนรู้ถึงแล้ว มันก็ง่ายขึ้นนะ อาตมาเคยสอนว่าเหมือนกันกะรู มีรูอัน หนึ่ง

ถ้าเราเอามือล้วงเข้าไปไม่ถึงก็นึกว่ารูนี้มันลึก ทุกคนตั้งร้อยคน พันคนนึกว่ารูมันลึก

ก็เลยไปโทษรูว่ามันลึกเพราะล้วงไปไม่ถึง คนที่ จะว่าแขนเราสั้นไม่ค่อยมี ร้อยก็ทั้งร้อยว่ารูมันลึกทั้งนั้น คนที่จะว่าไม่

ใช ่แขนเรามันสั้น ไม่ค่อยม ีคนแสวงหาบุญเรื่อยๆไป วันหลังต้องมา แสวงหาการละบาปกันเถอะ ไม่ค่อยจะม ี

นี่ มันเป็นเสียอย่างนี้ คำสอนของพระท่านบอกไว้สั้นๆ แต่คน เรามันผ่านไปๆ

ฉะนั้นวัดป่าพงมันจึงเป็นเมืองผ่านธรรมะก็จึงเป็น เมืองผ่านของคน

สพฺพ ปาปสฺสอกรณํ กุสลสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ สามคาถาเท่านี้ ไม่มากเลย สพฺพปาปสฺสอกรณ ํการ

Page 15: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

15

ไม่กระทำบาปทั้งปวงนั่นน่ะ เอตัง พุทธานะสาสะนัง เป็นคำสอนของ พระ อันนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา

แต่เราข้ามไปโน้น เราไปเอา อย่างนี้ การละบาปทั้งปวง น้อยใหญ่ทางกายวาจาใจน่ะเป็นเลิศ ประเสริฐแล้ว เอตัง

พุทธานะสานะนัง อันนี้เป็นคำสอนของพระ อันนี้ เป็นตัวศาสนา อันนี้เป็นคำสั่งสอนที่แท้จริง

ธรรมดา ของเรานะ เวลาจะย้อมผ้า ก็จะต้องทำผ้าของเราให้ สะอาดเสียก่อน อันนี้ไม่อย่างนั้นสิ เราไปเที่ยวตลาด

เห็นสีมันสวยๆก็ นึกว่าสีนั้นสวยดี เราจะย้อมผ้าละ ไม่ดูผ้าของเรา จับสีขึ้นมา เห็นสี สวยๆ

ก็จะเอามาย้อมผ้าอย่างนั้นแหละ เอามาถึงก็เอามาย้อมเลย ผ้าของเรายังไม่ได้ฟอก ไม่สะอาด

มันก็ยิ่งขี้เหร่ไปกว่าเก่าเสียแล้ว เรา คิดดูซิ กลับไปนี ่เอาผ้าเช็ดเท้าไปย้อม ไม่ต้องซักละนะ จะดีไหมน่ะ? ดูซิ

นี่ ละ พระพุทธเจ้าท่านสอนกันอย่างนี้ เราข้ามกันไปหมด พา กันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ก็เท่ากับว่ารูมันลึก

ใครๆก็ว่ามันลึก ตั้งร้อยตั้งพันก็ว่ารูมันลึก คนจะว่าแขนมันสั้นนะไม่ค่อยจะมี มันต้อง กลับ

ธรรมะต้องถอยหลังกลับมาอย่างนี้ ถึงจะมองเห็นธรรมะ มัน ต้องมุ่งหน้ากันไปอย่างนี ้

บางท ีก็พากันไปแสวงหาบุญกัน ไปรถบัสคันใหญ่ๆสองคัน สามคัน พากันไป ไปกันบางทีทะเลาะกันเสียบนรถก็มี

บางทีกินเหล้า เมากันบนรถก็ม ีถามว่าไปทำไม ไปแสวงบุญกัน ไปแสวงหาบุญ ไป เอาบุญ แต่ไม่ละบาป

ก็ไม่เจอบุญกันสักที มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ อันนี้มันอยู่อย่างนี้ มันจะสะดุดเท้าเราใช่ไหม

ให้ มองดูใกล้ๆมองดูตัวเรา พระพุทธเจ้าท่านให้มองดูตัวเรา ให้สติสัมปชัญญะอยู่รอบๆตัวเรา ท่านสอนอย่างนี้

บาปกรรมทำชั่ว ทั้งหลายมันเกิดขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ บ่อเกิดของบาปบุญ คุณโทษก็คือกาย วาจา ใจ

เราเอากาย วาจา ใจ มาด้วยหรือเปล่าวัน นี้ หรือเอาไว้ที่บ้าน นี่ต้องดูอย่างนี้ ดูใกล้ๆอย่าไปดูไกลเราดูกายของ เรานี่

ดูวาจา ดูใจของเรา ดูว่าศีลของเราบกพร่องหรือไม ่อย่างนี้ไม ่ค่อยจะเห็นมี

โยม ผู้หญิงเราก็เหมือนกันแหละ ล้างจานแล้วก็บ่นหน้าบูด หน้าเบี้ยวอยู่นั้นแหละ มัวไปล้างแต่จานให้มันสะอาด

แต่ใจเราไม ่สะอาด นี่มันไม่รู้เรื่อง เห็นไหม ไปมองดูแต่จาน มองดูไกลเกินไปใช่ ไหม ดูนี่ซิ

ใครคงจะถูกเข้าบ้างละมังนี่ นี่ให้ดูตรงนี้มันก็ไม่สะอาด (หมายเหตุ 1) สะอาดแต่จานเท่านั้นแหละ

แต่ใจเราไม่สะอาด นี่มันก็ ไม่ด ีเรียกว่าเรามองข้ามตัวเอง ไม่มองดูตวัเอง ไปมองดูแต่อย่างอื่น

จะทำความชั่วทั้งหลาย ก็ไม่เห็นตัวของเรา ไม่เห็นใจของเรา ภรรยาก็ ดี สามีก็ดี ลูกหลานก็ดี

จะทำความชั่วแต่ละอย่างก็ต้องมองโน้นมอง นี้ แม่จะเห็นหรือเปล่า ลูกจะเห็นหรือเปล่า สามีจะเห็นหรือเปล่า

ภรรยาจะเห็นหรือเปล่า อะไรอย่างนี้ ถ้าไม่มใีครเห็นแล้วก็ทำ อันนี้มัน ดูถูกเจ้าของว่า คนไม่เห็นก็ทำดีกว่า

รีบทำเร็วๆเดี๋ยวคนจะมาเห็น แล้วตัวเราที่ทำนี่มันไม่ใช่คนหรือ เห็นไหม นี่มันมองข้ามกันไปเสีย อย่างนี้

จึงไม่พบของด ีไม่พบธรรมะ ถ้าเรามองดูตัวของเรา เราก็จะ เห็นตัวเรา จะทำชั่วเราก็รู้จัก ก็จะได้ห้ามเสียทันที

Page 16: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

16

จะทำความดีก็ให้ดู ที่ใจ เพราะเราก็มองเห็นตัวของเราอยู่แล้ว ก็จะรู้จักบาป รู้จักบุญ รู ้จักคุณ รู้จักโทษ รู้จักผิด

รู้จักถูก อย่างนี้ก็ต้องรู้สึกสิ

นี่ ถ้าไม่พูดก็ไม่รู ้เราโลภก็ไม่รู้ เราหลงก็ไม่รู ้อะไรๆเราก็ไม่รู ้ไปมุ่งกันอย่างอื่น

นี่เรียกว่าโทษของคนที่ไม่มองดูตัวของเรา ถ้าเรา มองดูตัวของเรา เราก็จะเห็นชั่วเห็นดีทุกอย่าง อันนี้ดีก็จะได้เก็บไว้

แล้วเอามาปฏิบัติ เก็บดีมาปฏิบัต ิดีก็ทำตาม ความชั่วเก็บมาทำไม เก็บมาเพื่อเหวี่ยงทิ้ง

การ ละความชั่ว ประพฤติความด ีนี่เป็นหัวใจของพระพุทธ ศาสนา สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง

การไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละถูกแล้ว เป็นคำสอนของพระ ถูกแล้วสะอาดแล้วละทีนี้ ต่อนั้นไปก็

กุสะละสูปะสัมปะทา คือ ทำใจให้เป็นบุญ เป็น กุศล คงรู้จักแล้ว เมื่อจิตเป็นบุญ จิตเป็นกุศลแล้วเราก็ไม่ต้องนั่งรถไป

แสวงหาบุญที่ไหนใช่ไหม นั่งอยู่ที่บ้านเราก็จับบุญเอา จับเอา ก็เรารู ้จักแล้ว

อันนี้ไปแสวงหาบุญกันทั่วประเทศแต่ไม่ละบาป กลับไปบ้าน ก็กลับไปเปล่าๆ

ไปทำหน้าบูดหน้าเบี้ยวอย่างเก่าอยู่นั่นแหละ ไปล้าง จานหน้าบูดอยู่นั้นแหละ ไปดูแต่จานให้มันสะอาด แต่ใจเราไม ่

สะอาด ไม่ค่อยจะดูกัน นี่คนเรามันพ้นจากความดีไปเสียอย่างนี้ คน เราน่ะมันรู ้แต่ว่ามันรู้ไม่ถึง

เพราะรู้ไม่ถึงใจของเรา ฉะนั้นหัวใจของ พระศาสนาจึงไม่ผ่านเข้าหัวใจของเรา ใช่ไหม

เมื่อ จิตของเราเป็นบุญเป็นกุศลแล้วมันก็จะสบาย นั่งยิ้มอยู่ ในใจของเรานั้นแหละ แต่นี่หาเวลายิ้มได้ยากใช่ไหมนี่

เวลาที่เราชอบ ใจถึงยิ้มได้ใช่ไหม เวลาไม่ชอบใจละก็ยิ้มไม่ได ้จะทำยังไง ไม่สบาย หรือสบายแล้ว

คนเราต้องมีอะไรชอบใจเราแล้วจึงจะสบาย ต้องให้ คนในโลกทุกคนพูดทุกคำให้ถูกใจเราหมด

แล้วจึงจะสบายอย่างนั้น หรือ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะสบายได้เมื่อไร มีไหมใครจะพูดถูกใจเรา ทุกคน มีไหมนี ่

แล้วเราจะเอาสบายได้เมื่อไร

เรา ต้องอาศัยธรรมะนี่ถูกก็ช่าง ไม่ถูกก็ช่างเถอะ เราอย่าไป หมายมั่นมัน จับดูแล้วก็วางเสีย เมื่อใจมันสบายแล้ว

ก็ยิ้มอยู่อย่าง นั้นแหละ อะไรที่ว่ามันไม่ด ีไม่พอใจของเราเป็นบาป มันก็หมดไป ม ีอะไรดี

มันก็คงต้องเป็นไปของมันอย่างนั้น

สะ จิตตะปะริโยทะปะนัง เมื่อชำระบาปแล้ว มันก็หมดกังวล ใจก็สงบ ใจเป็นบุญเป็นกุศล เมื่อใจเป็นบุญ

เมื่อใจเป็นกุศลแล้ว ใจก็ สบายสว่าง เมื่อจิตใจมันสว่างแล้ว ก็ละบาป ใจสว่างใจผ่องใส จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน

มันก็สบาย เมื่อสบายสงบแล้วนั่นแหละคือคุณ สมบัตขิองมนุษย์ที่แท้เต็มที่ ที่เราอยู่สบายนั้นแหละ

ทีนี้ เกี่ยวกับสิ่งที่เราชอบใจ ถ้าเขาพูดชอบใจเราก็ยิ้ม ถ้าเขา พูดไม่ชอบใจเราก็หน้าบูด

เมื่อไรใครจะพูดให้ถูกใจเราทุกๆวันมีไหม แม้แต่ลูกในบ้านเรา เคยพูดถูกใจเราไหม เราเคยทำให้พ่อแม่ถูกใจ

Page 17: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

17

หรือเปล่า แน่ะ ไม่ใช่แต่คนอื่น แม้แต่หัวใจของเราเองก็เหมือนกัน บางทีคิดขึ้นมาไม่ชอบใจเหมือนกัน

แล้วทำอย่างไร แน่ะ บางทีเดินไป ตำหัวตอสะดุดปึ๊ก ฮึ! มันอะไรล่ะใครไปสะดุดมันล่ะ จะไปว่าใครล่ะ

ก็ตัวเราทำเองนี่ จะทำยังไง ก็แต่ใจเราเองยังไม่ถูกใจตัวของเราเอง ให้เราคิดดูสิ อันนี้มันเป็นอย่างนี้ละ

มีบางอย่างเราก็ทำไม่ถูกใจเรา เอง ก็ได้แต่ ฮึ! ก็ไม่รู้จะไป ฮึ! เอาใคร นี่ล่ะมันไม่เที่ยงอย่างนี้

บุญในทางพุทธศาสนาคือการละบาป เมื่อละบาปแล้วมันก็ ไม่มีบาป ไม่มีบาปมันก็ไม่ร้อน ไม่ร้อนมันก็เย็น

จิตที่สงบแล้วนั้นจึง ว่าเป็นกุศลจิต ไม่คิดโมโห มันก็ผ่องใส ผ่องใสด้วยวิธีอะไร ก็ให้โยมรู้ จักว่า แหมวันนี้น่ะ

ใจมันดุเหลือเกิน ไปมองดูอะไร แม้แต่จะมองดู ถ้วยในตู้ มันก็ไม่สบาย (หมายเหตุ 2) อยากจะทุบมันทิ้งให้หมดทุก

ใบเลย ไปดูอะไรก็ไม่ชอบใจไปเสียทั้งนั้น ดูใคร ดูเป็ด ดูไก่ ดูสุนัข ดู แมว ไม่ชอบใจ

แม้แต่พ่อบ้านพูดขึ้นมาก็ไม่ชอบใจ เมื่อดูในใจของเรา ก็ไม่ชอบใจของเรา ทีนี้ก็ไม่รู้จะไปอยู่ตรงไหนแล้วละ

ทำไมมันถึงได ้เกิดความร้อนอย่างนี้ นั้นแหละที่เรียกว่าคนหมดบุญล่ะ เดี๋ยวนี้เรียก คนตายว่าคนหมดบุญแล้ว

ไม่ใช่อย่างนั้นคนที่ไม่ตายแต่หมดบุญมี เยอะ คือคนที่ไม่รู้จักบุญ ใจมันเป็นแต่บาปอยู่อย่างนั้น จึงสะสมแต่ บาปอยู ่

โยม ไปทำความด ีก็เหมือนโยมอยากได้บ้านสวยๆ จะปลูก บ้านแต่ไม่ปราบที่มันเสียก่อน

เดี๋ยวบ้านมันก็จะพังเท่านั้นเองใช่ไหม สถาปนิกไม่ดีนี่ อันนี้ก็ต้องทำเสียใหม่ พยายามใหม ่ให้เราดูของเรา นะ

ดูข้อบกพร่องของเรา ดูกาย ดูวาจา ดูใจ ของเรา กายเรานี่ก็มีอยู่ แล้ว วาจาก็มีอยู่แล้ว ใจก็มีอยู่แล้ว

จะไปหาที่ปฏิบัติที่ไหนเล่า ไม่ใช ่มันหลงหรือนี่ จะไปหาที่ปฏิบัติอยู่ในป่าวัดป่าพงสงบเรอะ ไม่สงบ เหมือนกัน

ที่บ้านเรานั่นแหละ มันสงบ ถ้าเรามีปัญญา ที่ไหนที่ไหน มันก็สบาย มันสบายทั้งนั้น

โลก ทั้งหลายเขาถูกต้องของเขาหมดแล้ว ต้นไม้ทุกต้นมันก็ ถูกต้องตามสภาพของมันแล้ว ต้นยาวก็มี ต้นสั้นก็มี

ต้นที่มันเป็นโพรง ก็มีสารพันอย่าง ของเขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น มีแต่ตัวเรานั่นแหละ ไปคิด เพราะไม่รู้เรื่อง เฮ้

ต้นไม้นี่มันยาวไป อ้ายต้นนี้มันสั้นไป อ้าย ต้นนี้มันเป็นโพรง ต้นไม้น่ะเขาอยู่เฉยๆเขาสบายกว่าเรา ฉะนั้น จึงไป

เขียนคำโคลงไว้ที่ต้นไม้ดีกว่า ให้ต้นไม้มันสอนเรา ได้อะไรบ้างหรือไม ่ล่ะ

มาวันนี้ได้อะไรที่ต้นไม้ไปบ้างไหมต้องเอาให้ได้สักอย่างหนึ่งน่ะ ต้นไม้หลายต้นมีทุกอย่างที่จะสอนเราได้

อย่างนี้เรียกว่าธรรมะมันม ีอยู่ทุกสภาพตามธรรมชาติทุกอย่าง ให้เข้าใจนะ อย่าไปติเสียว่ารูมัน ลึก

เข้าใจไหมให้วกมาดูแขนของเราสิ อ้อ แขนของเรามันสั้น อย่างนี้ ก็สบาย เมื่อจะตรวจก็ให้รู้ว่ามันไม่ดีอย่างไร

อย่าไปว่าแต่ว่า รูมันลึก ให้เข้าใจเสียบ้างอย่างนั้น

บุญ กุศลใดๆ ที่เราทำให้มันมีไว้ในใจแล้ว นั่นละมันเลิศ ที่ทำ บุญกันวันนี้ก็ดี แต่ว่ามันไม่เลิศ

จะสร้างวัตถุอะไรถาวรก็ดี แต่ว่ามัน ไม่เลิศ ถ้าสร้างใจให้เป็นบุญนั่นแหละ มันจึงเลิศ มานั่งที่นี่ก็สบาย

Page 18: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

18

กลับไปบ้านก็สบาย ให้มันเลิศ ให้มันเป็นบุญไว้นะ อันนี้มันเป็นเพียง ตัววัตถุ เป็นกะพี้ของแก่น

แต่ว่าแก่นมันจะมีได้ก็ต้องอาศัยกะพี้ มัน เป็นเสียอย่างนั้น แก่นมันต้องอาศัยกะพี้ มีกะพี้จึงมีแก่น ให้เข้าใจ อย่างนั้น

ทุกอย่างก็เหมือนกันฉันนั้น

ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญาแล้ว มองดูที่ไหนที่ไหนมันก็จะเห็น ธรรมะทั้งนั้น ถ้าคนขาดปัญญาแล้ว มองไปเห็นสิ่งที่ว่าดี

มันก็เลย กลายเป็นไม่ดี ก็ความไม่ดีมันอยู่ที่ไหน มันก็อยู่ที่ใจของเรานี่แหละ ตามันเปลี่ยน จิตใจมันก็เปลี่ยน

อะไรๆมันก็เปลี่ยนไปทั้งนั้น สาม ีภรรยาเคยพูดกันสบายๆเอาหูฟังได้ อีกวันหนึ่งใจมันไม่ค่อยดี ใครพูด

อะไรมันก็ไม่เข้าท่า ไม่รับทั้งนั้น มันไม่เอาทั้งนั้นแหละ ใช่ไหม ใจมัน ไม่ด ีใจมันเปลี่ยนไปเสียแล้ว

มันเป็นเสียอย่างนั้น ฉะนั้น การละ ความชั่ว ประพฤติความด ีจึงไม่ต้องไปหาที่อื่น ถ้าใจมันไม่ดีขึ้นมา แล้ว

อย่าไปมองคนโน้นหรือไปว่าคนโน้นว่าคนนี้ ให้ดูใจของเราว่าใคร เป็นผู้พูดอะไร ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้

จิตใจทำไมมันเป็นอย่างนี้นะ นี่ให้เข้าใจว่าลักษณะทั้งหลายนี้มันไม่เที่ยง ความรักมันก็ไม ่เที่ยง

ความเกลียดมันก็ไม่เที่ยง “เราเคยรักลูกบ้างไหม” ถามอย่างนี้ ก็ได้ “รัก เคยรัก” อาตมาตอบแทนเอง

“เคยเกลียดบ้างไหม” ตอบ แทนเลยเนาะนี่ “บางทีก็เกลียดมัน” “ทิ้งมันได้ไหม” “ทิ้งไม่ได”้ “ทำไม”

“ลูกคนไม่เหมือนลูกกระสุน” ลูกกระสุนยิงโป้งออกไปข้าง นอก ลูกคนยิงโป้งมาโดนที่ใจเรานี้ ดีก็มาถูกตัวนี้

ชั่วก็มาถูกตัวนี้ อย่างนี้เรียกว่ามันเป็นกรรม ลูกเรานั่นแหละมีคนดีมีคนชั่ว ทั้งดีทั้งชั่ว ก็เป็นลูกเราทั้งนั้น

เขาเกิดมาแล้ว ดูสิคนที่ไม่ดูขนาดไหนก็ยิ่งรัก เกิด มาเป็นโรคโปลิโอ ขาเป ๋ดูซิ รักคนนั้นกว่าเขาแล้ว

จะออกไปจากบ้าน เพราะรักคนนี้ จึงต้องสั่งว่า ดูน้องดูคนนี้ด้วยเถิด เมื่อจะตายจากไปก็ สั่งไว้ให้ดู ให้ดูคนนี้

ดูลูกฉันคนนี้ มันไม่แข็งแรงยิ่งรักมันมาก ถ้าเป็น ผลไม ้มันเน่าละก็เหวี่ยงเข้าป่าไปเลย ไม่เสียดาย แต่คนเน่ายิ่งเสีย

ดาย มันลูกเรานี่ ทำอย่างไรเล่า นี่ให้เข้าใจเสียอย่างนี้ ฉะนั้นจงทำใจ ไว้เสียดีกว่านะ รักครึ่งชังครึ่งอย่าทิ้งมันสักอย่าง

ให้มันอยู่รวมๆกัน ของๆเรานี่ นี่คือกรรมกรรมนั้นละเป็นของเก่าของเราละน้อ นี่มันก็สม กันกับเจ้าของ เขาคือกรรม?

ก็ต้องเสวยไป ถ้ามันทุกข์ใจเข้ามาเต็มที่ ก็ ฮึ กรรมนะกรรม ถ้ามันสบายใจดีก็ ฮึ กรรมนะ บางทีอยู่ที่บ้าน

ทุกข์ก็อยากหนีไปน่ะ มันวุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายเข้าจริงๆ บางทีอยาก ผูกคอตายก็มี กรรม

เราต้องยอมรับมันอย่างนี้เรื่อยๆไป สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ ต้องทำล่ะซี เท่านี้ก็พอมองเห็นเจ้าของแล้วใช่ไหม พอมองเห็นเจ้า

ของแล้วนะ นี่เรื่องการพิจารณาสำคัญอย่างนี้

เรื่อง การภาวนา อารมณ์ที่เรียกว่าภาวนา เขาเอาพุทโธ ธัมโม สังโฆ มาภาวนาทำกรรมฐานกัน แต่เราเอาสั้นกว่านั้น

เมื่อรู้สึกว่าใจ มันหงุดหงิด ใจไม่ด ีโกรธ เราก็ร้อง ฮึ เวลาใจดีขึ้นมาก็ร้อง ฮึ ว่ามัน ไม่เที่ยงดอก

ถ้ามันรักคนนั้นขึ้นมาในใจก็ ฮึ ถ้ามันจะโกรธคนนั้นขึ้น มาก ็ฮึ เข้าใจไหม ไม่ต้องไปดูลึก

Page 19: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

19

ไม่ต้องไปดูพระไตรปิฎกหรอก ไอ ้ฮึ นี่เรียกว่ามันไม่เที่ยง ความรักนี่มันก็ไม่เที่ยง ความชังนี่มันก็ไม่เที่ยง

ความดีมันก็ไม่เที่ยง ความชั่วมันก็ไม่เที่ยง มันเที่ยงอย่างไรเล่า มันจะ เที่ยงตรงไหม

มันเที่ยงก็เพราะของเหล่านั้นมันเป็นของมันอยู่อย่าง นั้น คือมันเที่ยงอย่างนี้มันไม่แปรเป็นอย่างอื่น มันเป็นอย่างนั้น

นี่ เรียกว่าความเที่ยง เที่ยงก็เพราะว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันไม ่ได้แปรเป็นอย่างอื่น เดี๋ยวมันก็รักเดี๋ยวมันก็ชัง

มันเป็นของมันอยู่ อย่างนี้ นี่คือมันเที่ยงอย่างนี้

ฉะนั้น จึงจะบอกว่าเมื่อความรักเกิดขึ้น เราก็บอกฮึ มันไม ่เปลืองเวลาดี ไม่ต้องว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว

ถ้าโยมขี้เกียจ ภาวนามาก เอาง่ายๆดีกว่า คือ ถ้ามันเกิดมีความรักขึ้นมา มันจะหลง ก็ร้อง ฮึ เท่านี้แหละ

อะไรๆมันก็ไม่เที่ยงทั้งนั้นมัน เที่ยงก็เพราะมัน เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เห็นเท่านี้ก็เห็นแก่นของธรรมะ คือสัจธรรม

อันนี้ถ้าเรามา ฮึ กันบ่อยๆ ค่อยๆทะยอยไป อุปาทานก็จะน้อยไป น้อยไปอย่างนี้แหละ ความรกันี้ฉันก็ไม่ติดใจ

ความชั่วฉันก็ไม่ติดใจ อะไรๆฉันก็ไม่ติดใจทั้งนั้น อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ไม่เชื่ออะไรทั้งนั้น เชื่อ สัจธรรมอย่างเดียว

รู้ธรรมะเท่านี้ก็พอแล้วโยม จะไปดูที่ไหนอีกเล่า วันนี้มีโชคด้วยได้อัดทั้งเทปภายนอกภายใน เข้าหูตรงนี้ก็อัด

เข้าตรงนี้ก็ได้ เทปนั้นก็จะได้มีทั้งสองอย่าง ถ้าโยมทำไม่ได้อย่างนี้ก็ไม่ ค่อยจะดีเสียละมังเนาะ

ไม่ต้องมาวัดป่าพงอีกละมัง นี่ข้างในก็อัดข้าง นอกก็อัดแต่ว่าเทปนี้มันไม่ค่อยสำคัญดอก เทปในใจนั่นละมันสำคัญ

กว่า เทปอันนี้มันเสื่อมได้ ซื้อมาแล้วมันก็เสื่อมได้ เทปภายในของเรา นั้นน่ะ เมื่อมันถึงใจแล้วมันดีเหลือเกินนะโยม

มันมีอยู่ตลอดเวลาไม่ เปลืองถ่าน ไปอัดอยู่ในป่าพูดอยู่นั่นแล้ว ในวันในพรุ่ง ให้มันรู้อยู่ อย่างนั้นแหละ มันรู้ว่ากระไร

ภาวนาพุทโธ พุทโธ ต้องรู้อย่างนั้น เข้าใจกันแล้วหรือยัง เข้าใจให้ถึงนะ ถ้ามันเข้าใจ ถ้ามันถูก อารมณ์ปุ๊บ

รู้จักแล้วละก็ หยุดเลย ฟังเข้าใจนะ ถ้ามันโกรธขึ้นมาก็ว่า ฮึ พอแล้วระงับเลย ถ้ามันยังไม่เข้าใจ ก็ติดตามเข้าไปดู

ถ้ามันเข้าใจ แล้ว เช่นว่าพ่อบ้านโกรธให้แม่บ้าน แม่บ้านโกรธให้พ่อบ้าน โกรธขึ้น มาในใจก็ร้อง ฮึ มันไม่เที่ยง

เอาละเทศน์ให้ฟังก็ขึ้นอักษร พอได้แล้วนะ ที่พอแล้วก็คือมัน สบายแล้วเรียกว่าสงบแล้ว เอาละพอนะ

หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)

ขอ ขอบคุณสำนักพิมพ์ ธรรมสภา ที่เอื้อเฟื้อให้ข้อมูลมาในรูป แบบที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร ์

ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ได้คงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด

ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความที่คาดว่า ต้นฉบับเดิมจะพิมพ์ผิด ซึ่งได้ใส่วงเล็บกำกับไว ้ณ จุดที่แก้ไขแล้ว ดัง

รายละเอียดต่อไปนี้

จุด 1 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “ตรงนี้มันก็ไม่สะอาดแต่ จานเท่านั้นแหละ” แก้เป็น “ตรงนี้มันก็ไม่สะอาด

สะอาดแต่จานเท่า นั้นแหละ”

Page 20: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

20

จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “จะมองดูถ้วยในตู้ มันก็ ไม่สลาย” แก้เป็น “จะมองดูถ้วยในตู้ มันก็ไม่สบาย”

คัดลอกจาก “ธรรมะ หลวงพ่อชา”

รวบรวม การบรรยายธรรม ของ หลวงพ่อชา สุภัทโท (พระโพธิญาณเถร)

http://www.geocities.com/uu2uu/achar/cha01.html

Page 21: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

21

สมาธิภาวนา โดย หลวงพ่อชา

ธรรมปฏิบัติ

สมาธิภาวนา - หลวงพ่อชา สุภัทโท

(ธรรมเทศนาแสดงที่ประเทศอังกฤษ)

ผู้แสวงบุญทั้งหลายที่มา รวมกันแล้ว เพื่อจะได้ฟังธรรมะต่อไป ให้ฟังธรรมะอยู่ในความสงบ การฟังธรรมะในความสงบนั้น

คือทำจิตให้เป็นหนึ่ง หูเรารับฟัง สัมผัสถูกต้อง แล้วก็ปล่อยไปอย่างนี้ เรียกว่า ทำจิตให้สงบ

การ ฟังธรรมะนี้ก็เป็นประโยชน์มาก ส่วนหนึ่งเกี่ยวแก่การปฏิบัติธรรมะ ดังนั้นการฟังธรรมะ

ท่านจึงให้ตั้งกายตั้งใจให้เป็นสมาธิ ในครั้งพุทธกาลนั้น ฟังธรรมะให้เป็นสมาธิเพื่อรู้ธรรมะ

สาวกบางองค์ได้ตรัสรู้ธรรมะในอาสนะที่นั่งนั้นก็มีอยู่มาก

สถาน ที่นี้เป็นที่สมควรที่จะทำกรรมฐานมาก อาตมามาพักอยู่ที่นี่คืนสองคืนมาแล้ว รู้ว่าสถานที่นี้ ้ เป็นที่สำคัญมาก

สถานที่ข้างนอกสงบแล้ว ยังแต่สถานที่ข้างในคือจิตใจของเราเท่านั้น ดังนั้นพวกเรา ทั้งหลายที่มานี้ ขอให้ตั้งใจทุกคน

ถึงแม้ว่ามันจะสงบบ้างไม่สงบบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา

ทำไม เราจึงได้มารวมทำความสงบอยู่ที่นี ่เพราะจิตใจของเรายังไม่รู้สิ่งที่ควรรู ้คือยังไม่รู้ตาม

ความเป็นจริงว่าอะไรมันเป็นอะไร อะไรมันผิด อะไรมันถูก อะไรมันทำความทุกข์ให้เรา อะไรมันทำ ความสงสัยให้เราอยู่

เราจึงมาทำความสงบกันก่อน เหตุที่เราต้องมาทำความสงบระงับในที่นี้ เพราะว่า จิตใจไม่สบาย จิตใจไม่สงบ จิตใจไม่ระงับ

วุ่นวาย สงสัย จึงนัดมา ณ ที่นี่ เพราะฉะนั้น วันนี้ตั้งใจฟัง ธรรมะ

การ ฟังธรรมะของอาตมานั้นอยากให้ตั้งใจฟังให้ดี อาตมาชอบพูดแรงหน่อยชอบพูดรุนแรงหน่อย เพราะนิสัยเป็นอย่างนี้

แต่จะพูดรุนแรงอย่างไรก็ตามเถอะ อาตมาก็ยังมีความเมตตาอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาอยู่นั่นเอง

การพูดบางสิ่งบางอย่างนั้นขออภัยด้วยทุกๆ คน เพราะว่าประเพณีเมืองไทย กับชาวตะวันตกนี้มันไม่คล้ายกัน

มันคนละอย่าง บางทีมันอาจทำให้ไม่ค่อยสบายใจก็ได้ พูดรุนแรงหน่อยก็ดีนะ มันตื่นเต้น ไม่งั้นมันหลับเฉย

ไม่รู้ว่าอะไรมันนอนใจอยู่อย่างนั้น มันนิ่งเฉยอยู่ไม่ลุกขึ้นมาฟังธรรม

การ ปฏิบัตินี้ก็มีหลายอย่าง แต่มันก็มีอย่างเดียว เช่นว่าการปลูกต้นไม้ที่ได้รับผลนั้น บางทีก็ได ้กินเร็วๆ

คือเอาทาบกิ่งมันเลย อันนี้เรียกว่ามันไม่ทนทาน อีกอย่างหนึ่ง เอาเมล็ดมันมาเพาะปลูกจากเมล็ดมันเลย

Page 22: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

22

อันนี้มีความแน่นหนาถาวรดีมาก ตามความจริงเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดาทุกคน

ตัว อาตมาเองก็เป็นอย่างนี้ เมื่อไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรนั้น ก็ไปนั่งทำกรรมฐานลำบากมาก

จนร้องไห้ตั้งหลายเวลาหลายครั้งเหมือนกัน บางอย่างมันคิดสูงไป บางอย่างมันคิดต่ำไป ไม่ถึงความพอดีของมัน

เพราะว่าการปฏิบัติที่สงบนี้ ไม่สูง แล้วก็ไม่ต่ำ คือความพอดี แล้วก็มาเห็นญาติโยมทั้งหลายที่นี้ มันยุ่งมาก

คือต่างคนต่างฝึกมา ต่างคนต่างมีครูบาอาจารย์เหลือเกินแล้ว ก็มารวมทำนี ่เกิดความสงสัยมาก

อย่างอาจารย์นั้นต้องทำอย่างนั้น อาจารย์นี้ต้องทำอย่างนี ้ครูนั่นต้องทำอย่างนั้น มานั่งเถียงกันเลยวุ่น

ไม่รู้จักว่าจะเอาอันไหน ไม่รู้จักเนื้อจักตัว มันเลยวุ่น มันหลายเกินไป มากเกินไป ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร ให้มันเป็นที่หนึ่งได้

สงสัยตลอดมา

ฉะนั้น พวกเราอย่าคิดให้มันมาก ถ้าจะคิดให้มันรู้จักอย่างนี้ไม่รู้หรอก ต้องทำจิตเราให้สงบเสียก่อน ที่มันรู้ไม่ต้องคิด

ความรู้สึกมันจะเกิดมาในที่นี่เอง มันจึงเป็นปัญญา คิดนั้นไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ตัวปัญญา มันติดเรื่อยไปไม่รู้เรื่อง

ยิ่งคิดยิ่งวุ่นวาย

ฉะนั้น มาถึงที่นี่ก็ต้องพยายามอย่าให้คิด อยู่ในบ้านเราเคยคิดมากๆ แล้วไม่ใช่เหรอ มันกวนใจ ให้รู้อย่างนั้น คิดมากๆ

ไปน้ำตามันไหลออกด้วย ละเมอหลงติดไปน่ะ ไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่ปัญญา พระพุทธองค์ท่านมีปัญญามาก ท่านจึงหยุดคิด

อย่างนี้เรามาฝึกก็เพื่อให้มันหยุดคิด นั่งให้สงบ ให้มีความ สงบ ถ้าคิดปัญญาไม่เกิด ธรรมะไม่เกิด

เกิดแต่สังขารปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ถ้าสงบแล้วไม่ต้องคิด แล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นตรงนั้น เมื่อเราคิดอยู่ปัญญาไม่เกิด

เมื่อเรามีความสงบแล้ว ความรู้สึกจะเกิดขึ้นมาใน ความสงบนั้น มีพร้อมกันทั้งความคิด มีพร้อมกันทั้งปัญญา เป็นคู่กันเลย

ถ้าจิตใจเราไม่สงบ ปัญญาไม่มี มีแต่จะคิดอย่างเดียวเท่านั้น มันถึงยุ่ง

การ นั่งสงบจิตนี่ ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย บัดนี้เราจะต้องทำจิตอันนี้อย่างเดียว ไม่ปล่อยจิตของ

เราให้มันพุ่งไปข้างขวาข้างซ้าย ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง จะทำอะไร จะทำอันนี้ จะทำจิตคืออานาปานสตินี่

กำหนดจากศีรษะลงไปหาปลายเท้า กำหนดปลายเท้าขึ้นมาศีรษะ กำหนดจากศีรษะลงไป ดูด้วยปัญญาของเราอันนี้

เพื่อให้เป็นเหตุ ให้รู้จักร่างกายของเราก่อน แล้วก็นั่งกำหนดว่า บัดนี้ ธุระก็เดินต่อ

หน้าที่ของเรานั้นก็คือให้ดูลมหายใจเข้าออก อย่าไปบังคับให้มันสั้น หรือบังคับให้มันยาว ปล่อย ตามสบาย ไม่ให้กดดันมัน

ให้มีความปล่อยวาง อยู่ในช่วงลมหายใจเข้าออกเสมออย่างนี้

การก ระทำนี้ให้เข้าใจว่า เป็นการกระทำด้วยการปล่อยวาง แต่มีความรู้สึกอยู่ ให้มีความรู้สึกอยู่ ในการปล่อยวาง

ลมหายใจเข้าออกสบาย ไม่ให้กดกัน ปล่อยตามธรรมชาติ ให้มันสบาย ให้คิดว่าธุระ หน้าที่อย่างอื่นของเราไม่ม ี

ความคิดที่ว่าการนั่งอย่างนี้มันจะเป็นอะไร แล้วมันจะเห็นอะไรอย่างนี้จะเกิด ขึ้นมา ก็ให้หยุด หยุดไม่เอา มันจะเป็นอะไร

Page 23: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

23

จะรู้อะไร มันจะเห็นอะไรไหม แม้ความคิดเช่นนี้มันจะเกิดขึ้นมาในเวลานั้นก็ตามที

เมื่อ เรานั่งอยู่นั่น ไม่ต้องรับรู้อารมณ ์เมื่ออารมณ์ที่มากระทบกระทั่งเมื่อไร รู้สึกในจิตของเรา แล้วปล่อยมันไป

มันจะดีจะชั่วก็ช่างมัน ในเวลานั้นไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราจะไปจัดแจงในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ปล่อยมันออกไปเสียก่อน

แล้วกำหนดลม เอาคืนมาให้มีความรู้สึกแต่ลมอย่างเดียว เข้าออก แล้วให้มันสบาย อย่าให้มันทุกข์เพราะมันสั้น

ทุกข์เพราะมันยาว อย่าให้มันทุกข์ ดูลมหายใจ อย่าให้มีความกดดัน คืออย่ายึดมั่น

รู้แล้วให้ปล่อยตามสภาวะของมันอย่างนั้นให้ถึงความสงบ ต่อไปจิตมันก็จะวางลมหายใจ มันก็จะเบา เบาไป

ผลที่สุดลมหายใจมันจะน้อยไปน้อยไป จนกระทั่งปรากฏว่ามันไม่มีลม ในเวลานั้นจิตมันก็จะเบา กายมันก็จะเบา

การเหน็ดเหนื่อยเลิกหมดแล้ว มีเหลือความรู้อันเดียวอยู่อย่างนั้น นั่นเรียกว่าจิตมันเปลี่ยนไปหาความสงบ

แล้วนี่พูดถึงการกระทำในเวลาเรานั่งสมาธิอย่างเดียว

ถ้า หากว่าจิตใจมันวุ่นวายมากก็ตั้งสติขึ้นสูดลมเข้าไปให้มันมากจนไม่มีที่เก็บ แล้วก็ปล่อยมันหมด

จนกว่าที่มันไม่มีในนี้แล้วก็หายใจเข้ามาอีก สูดมันให้เต็ม แล้วก็ปล่อยไปสามครั้งตั้งจิตใหม่ มีความสงบขึ้น

ถ้ามีอารมณ์วุ่นวายอีก ก็ทำอย่างนี้อีกทุกครั้ง จะเดินจงกรมก็ตาม จะนั่งสมาธิก็ตาม ถ้าเดินจงกรมมันวุ่นวายมาก ก็หยุดนิ่ง

กำหนดให้ลงในที่สงบ ตั้งใหม่ให้รู้ จิตจึงจะเกาะ แล้วไปนั่งสมาธิก็เหมือนกันอย่างนั้น เดินจงกรมก็เหมือนกันอย่างนั้น

มันต่างกันแต่อิริยาบถนั่งกับอิริยาบทเดินเท่านั้น

บางท ีความสงสัยก็มีบ้าง ต้องให้มีสติ มีผู้รู ้ที่มันวุ่นวายเป็นอย่างๆ ก็ติดตามอยู่เสมอ อาการนี้ เรียกว่ามีสติ สติตามดูจิต

จิตเป็นผู้รู้ อาการที่ตามดูจิตของเรานั้นอยู่ในลักษณะอันใดก็ให้เรารู้อย่างนั้น อย่าเผลอไป

อัน นี้เป็นเรื่องสติกับจิตควบคุม พอถึงกันแล้วก็จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง ถ้าจิตมันพอที่จะสงบแล้ว

จิตที่มันถูกคุมขังอยู่ในที่สงบเหมือนกับเรามีไก่ตัวหนึ่งที่ใส่ไว้ในกรง นั้น ไก่ที่อยู่ในกรงนั้นมันไม่ ออกไปจากกรง

แต่ว่ามันเดินไปเดินมาได้ในกรงนั้น อาการที่มันเดินไปเดินมานี่ไม่เป็นอะไร เพราะมัน เดินไปเดินมาได้ในกรงนั้น

ความรู้สึกของจิตที่เรามีสติสงบอยู่นั้น มีความรู้สึกในที่สงบนั้น ไม่ใช่เรื่องที ่มันให้เราวุ่นวาย คือเมื่อมันคิด มันรู้สึก

ให้มันรู้สึกอยู่ด้วยความสงบ ไม่เป็นอะไร

บาง คนเมื่อมีความรู้สึกขึ้นมา ก็ไม่ให้มันมีความรู้สึกอะไร อย่างนี้ผิดไป ไม่ได ้มีความรู้สึกอยู่ใน ที่สงบ

รู้สึกอยู่ด้วยความสงบ รู้สึกอยู่ก็ไม่รำคาญ นี่สงบ อยู่อย่างนี้ไม่เป็นไร ตัวที่มันสำคัญก็คือตัวที่มันออกจากกรงไป เช่นว่า

เรามีลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนี้ ลืมไป ลมหายใจไปเที่ยวในบ้าน ไปเที่ยวในตลาด ไปเที่ยวโน้น สารพัดอย่าง บางท ี

ครึ่งชั่วโมงถึงมา อ้าวอะไรตายไม่รู้เรื่อง นี่ตัวสำคัญ ระวังให้ด ีตัวนี้สำคัญ มันออกจากกรงไปแล้วนี่

มันออกจากความสงบแล้วนี่

Page 24: รวมคำสอน หลวงพ่อชา สุภัทโท ๑

24

ต้อง ระวัง ต้องให้มีสติมารู้ ต้องพยายามดึงมันมา ที่ว่าดึงมันมานี่ก็คือไม่ใช่ดึงหรอก มันไม่ไปที่ ไหนหรอก

คือเปลี่ยนความรู้สึกเท่านั้นเอง ให้มันอยู่ที่นี่ มันก็มีอยู่ที่นี่ มีสติที่นี่เมื่อไหร่ก็มีอยู่ที่นี่ แต่สมมุติว่าดึงมันมา

มันไม่ได้ไปที่ไหนหรอก มันเปลี่ยนแปลงอยู่ที่จิตเรานี้ ที่สังเกตว่ามันไปโน่นไปนี่ ความเป็นจริงมันไม่ได้ไป

มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงนี้ มันมีสติพรึบเข้ามาแล้ว มันก็มาทันที มันไม่มาจากอะไร มันรู้สึกอยู่ที่นี่เอง ให้เข้าใจอย่างนั้น

อัน นี้เรื่องจิต จิตเราที่อยู่มีอะไรเป็นเครื่องหมายไหม คือมีความรู้บริบูรณ์ ติดต่อกันไม่ได้ขาด รู ้

ตลอดเวลานั้นเรียกว่าจิตของเราอยู่ตรงนี้ ถ้าเราไม่รู้ลมอะไร มันไปที่ไหนนั่นเรียกว่าขาด ถ้าหากว่ารู้เมื่อไหร ่มีลมก็มีจิต

มีลม มีความรู้สึกสม่ำเสมอนี้ ตัวเดียวอันนั้นน่ะอยู่กับเราแล้ว อันนี้พูดถึงอาการจิต มันจะต้องเป็นอย่างนี้

มัน จะต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ สติคือระลึกได้ สัมปชัญญะคือรู้ตัวอยู่ เดี๋ยวนี้รู้ตัวกับอะไร กับลม อยู่อย่างนี้ ทำมีสติ

มีสัมปชัญญะปรากฏ ที่มันแบ่งกันอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าเรารู้ตัวอยู ่มันก็จะเป็นคล้ายๆ กับคนที่ยกไม้ ยกวัตถุที่มันหนักๆ

อยู่สองคน มันหนักจนจะทนไม่ไหวอย่างนี้จะมีคนที่มีเมตตา คือปัญญามองเห็น ปัญญาก็วิ่งเข้ามาช่วย นี่อย่างนี้มีสติ

มีสัมปชัญญะรู้อยู่แล้วก็ปัญญาเกิดขึ้นมาตรงนี้ ช่วยกันมีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญามาช่วยกันอย่างนี้

เมื่อมีปัญญาเข้ามาช่วยมันจะรู้จักอารมณ์เช่นมานั่งอาการจิตมันมีสติมีสัมปชัญญะแล้วก็มีปัญญาอารมณ์ผ่านเข้ามา

มันเกิดความรู้สึกคิดถึงเพื่อน