13
ปีท่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556 ปีท่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556 บทความวิชาการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและการใช้งานระบบการเรียนผ่านเว็บ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทราวดี วงศ์สุเมธ แบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1): 11 หลักการ ปัญหา การปรับตัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นภาพร หงษ์ภักดี กลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม 19 อริสา เหล่าวิชยา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้บริหารสตรี 25 ในองค์กรภาครัฐ: การทบทวนวรรณกรรม ปาริฉัตร ตู้ด�า ดร.ชาลี ไตรจันทร์ การธ�ารงรักษาคนเก่งในองค์การ 33 ดร.พรรัตน์ แสดงหาญ แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายโอกาสการท�างานของผู้สูงอายุ 39 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช สุนทรชวกานต์ ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์กับพลังการบอกต่อ 47 ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย สปอตวิทยุเพื่อการรณรงค์ 52 สุภา พนัสบดี

บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม - กันยายน 2556

ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556

บทความวิชาการ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและการใช้งานระบบการเรียนผ่านเว็บ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทราวดี วงศ์สุเมธ

แบบบัญชีรายรับรายจ่ายของโครงการ (บช.1): 11หลักการ ปัญหา การปรับตัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นภาพร หงษ์ภักดี

กลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม 19อริสา เหล่าวิชยา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของผู้บริหารสตร ี 25ในองค์กรภาครัฐ: การทบทวนวรรณกรรม ปาริฉัตร ตู้ด�า

ดร.ชาลี ไตรจันทร์

การธ�ารงรักษาคนเก่งในองค์การ 33ดร.พรรัตน์ แสดงหาญ

แนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายโอกาสการท�างานของผู้สูงอายุ 39ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช สุนทรชวกานต์

ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์กับพลังการบอกต่อ 47 ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย

สปอตวิทยุเพื่อการรณรงค์ 52สุภา พนัสบดี

Page 2: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม - กันยายน 2556

กรณีศึกษาเรื่องบาปบุญที่สะท้อนผ่านละครไทย 59ภัทราวดี ธีเลอร์

ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม ่ 66สาคร สมเสริฐ

การสร้างคุณค่าร่วม แนวปฏิบัติที่ดีสู่สังคม 75 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รพีพรรณ วงศ์ประเสริฐ

กิจกรรมการเรียนด้วยเว็บเควสท์กับทักษะการคิดขั้นสูง 82 สุรกิจ ปรางสร

อุรพงศ์ แพทย์คชา

anchaleeplo
Highlight
anchaleeplo
Highlight
Page 3: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556 Vol. 33, No. 3, July - September 2013ISSN 0125-4960

*สงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามคัดลอกก่อนได้รับอนุญาต ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน

สถานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน�้าไท119 ถ.พระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110โทร. 0 2350 3500 ต่อ 1607, 1774, 1775 โทรสาร 0 2350 3693 www.bu.ac.th

พิมพ์ที่ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เจ้าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บรรณาธิการบริหารศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย

รองบรรณาธิการบริหารศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย

กองบรรณาธิการฝ่ายวิชาการศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ว่องวานิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศาสตราจารย์ ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิตยสถานศาสตราจารย์ประคอง ตันเสถียร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศาสตราจารย์อัจฉรา ชีวพันธ ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศาสตราจารย์อิทธิพล ตั้งโฉลก มหาวิทยาลัยศิลปากรรองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพรองศาสตราจารย์ ดร.ปรมะ สตะเวทิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรองศาสตราจารย์ ดร.รสชงพร โกมลเสวิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพรองศาสตราจารย์ ดร.วไล ณ ป้อมเพชร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรองศาสตราจารย์ ดร.อารี พันธ์มณ ี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตรองศาสตราจารย์อรุณี นรินทรกุล ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยรามค�าแหงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพProfessor Aurilla Arntzen Bechina, Ph.D. Buskerud University College, Norway Professor Daniel A. Berkowitz, Ph.D. The University of Iowa Professor John Schermerhorn, Ph.D. Ohio University Professor Sang M. Lee, Ph.D. University of Nebraska-LincolnProfessor Thomas J. Knutson, Ph.D. California State University, Sacramento Associate Professor Vincent Ribiere, Ph.D. Bangkok University

บรรณาธิการฝ่ายจัดการรองศาสตราจารย์ ดร.รสชงพร โกมลเสวิน

กองบรรณาธิการฝ่ายจัดการผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัยผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราณี สวัสดิสรรพ์อาจารย์ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิอาจารย์กุลบูรณ์ เกียรติบุตรอาจารย์ญาณินี เพชรานันท์อาจารย์อารีรัตน์ สุจิรปัญญา

บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาอาจารย์ศรีสุดา ธรรมบ�ารุง

ฝ่ายจัดท�ารูปเล่มอาจารย์นวลรัตน์ คุณศรีรักษ์สกุลอาจารย์ทิพย์วรินทร์ เหล่าเมธากร

Page 4: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

94วารสารนักบริหาร Executive Journal

ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ ศรีธรรมรักษ์รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา แก้วเทพรองศาสตราจารย์ ดร.กิ่งพร ทองใบรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติ บุนนาครองศาสตราจารย์ ดร.จิรประภา อัครบวรรองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทยรองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ สมพงษ์รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา สุธีธรรองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คุวินทร์พันธ์ุรองศาสตราจารย์ ดร.พรรณนิภา รอดวรรณะรองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ เกียรติโกมลรองศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจรองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วิเชียรชมรองศาสตราจารย์ ดร.สมสุข หินวิมานรองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ อนันตชาติผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตินี ณัฎฐวุฒิสิทธิ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรัญญา ปานเจริญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นลินี ตันธุวนิตย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษกร วัชรศรีโรจน์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสกสรรค์ แย้มพินิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสพล มีเจริญผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

Page 5: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

66วารสารนักบริหาร Executive Journal

ความแปลกแยกของมนุษย์ ในสังคมสมัยใหม่Human Alienation in Modern Society

บทคัดย่อ

บทความนีม้วีตัถปุระสงค์เพือ่น�าเสนอเกีย่วกบัความหมายและประเภทของความแปลกแยกของมนษุย์ในบรบิทสงัคมสมยัใหม่ด้วยวิธีวิเคราะห์เอกสาร โดยพบว่าความแปลกแยกหมายถึงภาวะที่มนุษย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงทีม่คีวามสมัพนัธ์กบัชวีติมนษุย์โดยความแปลกแยกนีแ้บ่งออกเป็น4ประเภทคอืความแปลกแยกจากตวัเองความแปลก-แยกจากการงานความแปลกแยกจากสงัคมวฒันธรรมและความแปลกแยกจากธรรมชาตแิวดล้อมและเป็นทีน่่าสงัเกตว่า“มลูค่าทางเศรษฐกิจ”ของระบบทุนนิยมปัจจุบันอาจมีส่วนให้เกิดความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ได้มากขึ้น Abstract

Thispaper’sobjectiveistoproposedefinitionsandtypesofhumanalienationinmodernsocietybyusingdocumentaryanalysisasitsmethodology.Thestudyfoundthatalienationisaconditioninwhichhumansseparatethemselvesfromthenatureofallthingsrelatedtohumanlife.Alienationcanbecategorizedintofourtypeswhichare:alienationfromone’sself,alienationfromone’swork,alienationfromsocietyandculture,andalienationfromnaturalenvironment.Interestingly,“theeconomicvalue”ofthecapitalistsystemnowadaysmightbeapartofthehumanalienationinmodernsociety.

บทน�า

หากการด�าเนนิชวีติของมนษุย์ในสงัคมปัจจบุนัเป็นไปด้วยความสงบเรยีบร้อยไร้ความทกุข์หรอืปัญหาใดๆสงัคมมนษุย์คงจะเป่ียมไปด้วยความสขุสนัติแต่ในความเป็นจรงิแล้วการด�าเนนิชวีติของมนษุย์ไม่เป็นเช่นนัน้มคีวามทกุข์หรอืปัญหามากมายที่รายรอบชีวิตมนุษย์นับตั้งแต่ถือก�าเนิดจนกระทั่งตาย ความทกุข์หรอืปัญหาทีม่นษุย์ประสบนัน้หากมองในแง่ดีคอืบทเรยีนส�าคญัทีช่่วยให้มนษุย์ได้เรยีนรูเ้พือ่พฒันาตวัเองและสังคมให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่างไรก็ตามก็มีความทุกข์หรือปัญหาบางอย่างที่อาจฉุดรั้งมนุษย์มิให้สามารถด�าเนินชีวิตไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาว่าด้วยความแปลกแยก(Alienation) ความแปลกแยกเป็นปรากฏการณ์ที่มีมาช้านานในประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจการเมืองเห็นว่าต้นก�าเนิดของปรากฏการณ์ดังกล่าวมาจากความแปลกแยกของแรงงานซึ่งเป็นลักษณะส�าคัญของระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลทุกระบบสังคมนับตั้งแต่สังคมทาสสังคมศักดินามาจนถึงสังคมทุนนิยม(ทวีปวรดิลก,2545)หรือสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในบทความนี้ผูเ้ขยีนน�าเสนอแนวคดิว่าด้วยความแปลกแยกของมนษุย์ในสงัคมสมยัใหม่โดยเริม่ต้นด้วยบรบิททัว่ไปของสังคมสมัยใหม่เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงภาพรวมของสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลของการเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อด้วยการอธิบายถึงความหมาย และประเภทของความแปลกแยกในสังคมสมัยใหม่โดยจะชีใ้ห้เหน็ว่าความแปลกแยกเป็นภาวะทีม่นษุย์ในสงัคมสมยัใหม่ต้องประสบในทกุปรมิณฑลของชวีตินบัตัง้แต่ตวัมนษุย์เองการท�างานสังคมและธรรมชาติแวดล้อมซึ่งมักจะมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาเกี่ยวข้องเสมอ

สาคร สมเสริฐ[email protected]

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

anchaleeplo
Highlight
Page 6: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

67 ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม-กันยายน 2556

บริบททั่วไปของสังคมสมัยใหม่

วิทยากรเชียงกูล(2553)ได้อธิบายถึงสังคมสมัยใหม่หรือโลกยุคใหม่ว ่า เป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมพึ่งตนเอง ผสมกับระบบศักดินาเป็นระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและวิธีการจัดองค์กรของมนุษย์เป็นการจ้างแรงงานและการผลติสนิค้าเพือ่ขายทีต้่องเน้นความร่วมมอืและการแข่งขนักันในเชิงประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นโลกที่ซับซ้อน พึ่งพากันและกันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีความไม่แน่นอนสูง(บางคนเรยีกยคุปัจจบุนัว่าโลกยคุหลงัอตุสาหกรรมเนือ่งจากมีการพัฒนาภาคบริการและสินค้าที่ต้องใช้ความรู ้ข้อมูลข่าวสารมากกว่าการผลติสนิคา้ในโรงงานแบบเก่า)ตามความหมายนี้อาจกล่าวได้ว่า โดยพื้นฐานแล้วสังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงมาจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม Toffler(1980,อ้างถึงในเกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์,2550)ได้วิเคราะห์สถานการณ์ในอดีตปัจจุบันและอนาคตไว้ในหนังสือ The Third Wave โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโลกเหมือนคลื่น3ลูกคือคลื่นลูกที่1ยุคเกษตรกรรม(AgriculturalEra)คลื่นลูกที่2ยุคอตุสาหกรรม(IndustrialEra)และคลืน่ลกูที่3ยคุเทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationEra) โดยสังคมที่นับว่าเป็นสังคมสมยัใหม่นัน้เมือ่พจิารณาความหมายในแง่ของการเปลีย่นจากสงัคมเกษตรกรรมเป็นสงัคมอตุสาหกรรมกจ็ะพบว่าจดุเปลีย่นจากยุคคลื่นลูกที่1ไปยังคลื่นลูกที่2ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นและรปูแบบส�าคญัของสงัคมสมยัใหม่หรอืหากกล่าวอกีนยัหนึง่ให้เข้าใจง่ายขึน้กค็อืนบัตัง้แต่คลืน่ลกูที่2ซึง่เป็นยคุอตุสาหกรรมเป็นต้นมานั้นถือว่าเป็นสังคมสมัยใหม่ Toffler(1980,อ้างถึงในเกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์,2550)ได้ให้รายละเอยีดต่อไปว่าสงัคมทีอ่ยูใ่นคลืน่ลกูที่1ยคุเกษตรกรรม(AgriculturalEra)เริ่มเมื่อประมาณ8,000ปีก่อนครสิต์ศตวรรษเป็นผลจากปฏวิตัเิกษตรกรรมโดยมเีครือ่งชี้ความยิ่งใหญ่ คือ ความเจริญก้าวหน้าของสังคมจากการมีอาณาเขตใหญ่โต กว้างขวาง มีพื้นที่ส�าหรับเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และท�าการเกษตรจ�านวนมาก จากนั้นได้พัฒนาการสู่สังคมที่อยู่ในคลื่นลูกที่ 2ยุคอุตสาหกรรม (IndustrialEra)เริม่ประมาณศตวรรษที่1650-1750เป็นผลมาจากการปฏวิตัิอุตสาหกรรมมีการใช้เครื่องจักรกลมีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าจ�านวนมากเพื่อมวลชนใช้เวลาประมาณ300ปีในการก่อตัว โดยมีเครื่องวัดความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งของประเทศคือความอดุมสมบรูณ์ของทรพัยากรธรรมชาติระบบอตุสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งจ�านวนแหล่งแร่ธาตุและวัตถุดิบที่มีอยู่

เครือ่งชีว้ดัคอื“ทนุ”จ�านวนมากจากคลืน่ลกูที่2กพ็ฒันาการสู่คลื่นลูกที่ 3 (InformationEra)ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มราวศตวรรษที่1955จนถึงปัจจุบันการเคลื่อนตัวเข้ามาของคลื่นลูกนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วสู่สังคมต่างๆ ทั่วโลก ยุคนี้เป็นยุคที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการต่อยอดทางความรูอ้ย่างสงูมกีารพฒันาด้านคอมพวิเตอร์ด้านเครือข่ายการสื่อสารและการคมนาคม ท�าให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งผู ้คน สินค้าบริการเงินตราสามารถถ่ายเทกันได้ในเวลาสั้นระบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองสิ่งแวดล้อมฯลฯมีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและส่งอิทธิพลต่อกันและกันแทบทัง้สิน้ในยคุนี้ตวัชีว้ดัความยิง่ใหญ่และมัง่คัง่ของประเทศคือความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอ�านาจในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร เป ็นที่น ่าสังเกตว ่าในโลกสังคมสมัยใหม ่ที่ เรามีประสบการณ์ร่วมอยู่นี้ มีทั้งการใช้เครื่องจักรกลในระบบโรงงานอตุสาหกรรมขนาดใหญ่เพือ่ผลติสนิค้าจ�านวนมากเพือ่ขาย ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ด้านเครือข่ายการสื่อสารและการคมนาคมที่ท�าให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วดังนั้นอาจไม่เกินเลยไปนักที่จะกล่าวว่า ในสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบันเป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกนัถงึแม้ว่าการผสมผสานดงักล่าวอาจท�าให้ลกัษณะบางประการของสภาพสังคมแตกต่างกันบ้างในแง่ของลักษณะเฉพาะของเทคโนโลยีโดยยคุอตุสาหกรรมเทคโนโลยทีีใ่ช้เป็นแบบเครื่องจักรกลส่วนยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทีใ่ช้เป็นแบบเครอืข่ายการสือ่สารและการคมนาคมแต่ทัง้สองยุคสมัยมีส่วนคล้ายคลึงกันในแง่ของการอยู่ภายใต้หลักการของระบบทุนนิยม ที่ให้ความส�าคัญกับกรรมสิทธิ์และการควบคมุปัจจยัการผลติเช่นทนุเครือ่งจกัรเทคโนโลยีแรงงานเป็นของเอกชน มุ่งด�าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อก�าไรอาศัยระบบตลาดเป็นกลไกก�ากับดูแลแบ่งสรรผลก�าไรในหมู่เจ้าของทนุและผูใ้ช้แรงงานเป็นผูม้อีสิระในแง่ของการเลอืกที่จะขายหรอืไม่ขายพลงัแรงงานของตนได้(ราชบณัฑติยสถาน,2549) ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าสังคมสมัยใหม่ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับระบบทุนนิยมมากทีเดียว อาจสรปุได้ว่าบรบิททัว่ไปของสงัคมสมยัใหม่มทีัง้ความเป็นอุตสาหกรรมและความเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศผสมผสานกันและที่ส�าคัญมีความสัมพันธ์กับระบบทุนนิยม ซึ่งมีองค์ประกอบส�าคัญคือ ปัจจัยการผลิตทั้งหลายเป็นของนายทนุหรอืเอกชนจ�านวนน้อยส่วนประชาชนจ�านวนมากมไิด้มสีทิธเิป็นเจ้าของหรอืครอบครองปัจจยัการผลติใดๆพวกเขา

Page 7: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

68วารสารนักบริหาร Executive Journal

มฐีานะเป็นมนษุย์แรงงานทีต้่องท�างานแลกกบัค่าจ้างนอกจากจะมฐีานะเป็นแรงงานซึง่จดัเป็นผูผ้ลติแล้วแรงงานกลุม่นีย้งัมีฐานะเป็นผู้บริโภคหลักของสังคมสมัยใหม่อีกด้วยเมื่อมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยไม่ว่าจะเป็นเครือ่งจกัรกลคอมพวิเตอร์อนิเทอร์เนต็รวมทัง้มคีวามสัมพันธ์กับเศรษฐกิจทุนนิยม ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่จึงไม่อาจหลีกพ้นจากปัจจัยเหล่านี้ไปได้

ความหมายของความแปลกแยก

ความแปลกแยกมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษค�าว ่าAlienationหมายถงึการทีส่ิง่หนึง่เป็นอนัตมิะหนึง่เดยีว(จติ)ได้แสดงตวัออกมาในลกัษณะทีต้่อยต�า่ลงปรากฏเป็นธรรมชาติและวัตถุสารค�าว่าAlienationคือการเสียสภาพที่ด�ารงอยู่หรือการ “ตก” ลงมาจากสภาพดีเลิศ (Lichtheim, 1968,อ้างถึงในฉัตรทิพย์นาถสุภา,2551)ในภาษาไทยมีการแปลAlienationเป็นค�าต่างๆเช่นการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ความแปลกแยกภาวะแปลกแยกภาวะความห่างเหินภาวะความออกห่างเป็นต้น ความแปลกแยกเป็นเรื่องที่ได้รับการถกเถียงมากในสังคมร่วมสมัย โดยมีแนวความคิดหลากหลายที่อธิบายและเกีย่วข้องกบัความแปลกแยกโดยกลุม่หนึง่มองว่าความแปลกแยกเป็นปรากฏการณ์ของสังคมเมืองอุตสาหกรรม และบางกลุม่มองว่าความแปลกแยกเป็นปรากฏการณ์ของสงัคมมนษุย์ทีค่รอบจกัรวาลไม่เปลีย่นแปรตามกาลเวลาและมอีกีบางกลุม่ที่ให้ความส�าคัญกับรายละเอียดของแนวคิดความแปลกแยกในแง่ทีเ่กีย่วพนักบัเทววทิยาทางการเมอืงหรอืบางกลุม่กม็องความแปลกแยกเป็นอุปกรณ์ที่หยิบใช้สอยง่ายเมื่อต้องการเครื่องมือช่วยในการเข้าใจมนุษย์และสังคมของมนุษย์(Twining,1980)ความแปลกแยกเกดิจากโครงสร้างทางสงัคมที่ปิดกั้นหรือปฏิเสธธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์โดยได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่าสิ่งที่มือและมันสมองของมนุษย์แรงงานได้สร้างขึ้นมานั้น กลับมาเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ที่สร้างมันขึ้นมา มิหน�าซ�้ายังมามีอิทธิพลครอบง�าผู้สร้างมันเสียด้วยดังนั้นแทนที่เสรีภาพจะขยายกว้างออกไปพลังอ�านาจอันไม่อาจควบคุมได้เหล่านี้กลับมาเพิ่มความเป็นทาสให้กับมนุษย์และได้จ�ากดัความสามารถของมนษุย์ให้เหมอืนสตัว์ไปเสยีด้วย(Lichtheim,1974,อ้างถึงในทวีปวรดิรก,2545) Corlett(1988)ได้กล่าวถึงความแปลกแยกโดยอ้างถึงแนวคิดของMarxว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบทุนนิยมซึ่งมีลักษณะส�าคัญคือ “การแบ่งกลุ ่มแบ่งก้อนอย่างไม่เป็นธรรมชาต”ิโดยเฉพาะการเกดิขึน้ระหว่างตวับคุคลกบัสิง่ทีเ่ขา

ผลิตยกตัวอย่างเช่นสิ่งที่บุคคลผลิตมีอ�านาจเหนือ/ครอบง�าผู ้ที่ผลิตมันขึ้นมา “การแบ่งกลุ ่มแบ่งก้อนอย่างไม่เป็นธรรมชาติ” มีอย่างน้อย 3 วิถีที่บุคคลจะเอาใจออกห่างหรือรู้สึกแปลกแยก คือ 1) เมื่อบุคคลถูกกีดกันออกจากสิ่งที่เขาสร้างขึ้นหรือผลิตขึ้นด้วยแรงงานของเขา นั่นหมายถึงสิ่งที่บุคคลผลิตกลายเป็นสิ่งแปลกแยกส�าหรับเขาหรือไม่เป็นมิตรกบัเขา2)บคุคลถกูท�าให้แปลกแยกจากตวัเองในระหว่างการปฏบิตัหิน้าทีผ่ลติสิง่นีเ้กดิขึน้ตามมาหลงัจากวถิแีรกได้ด�าเนนิไปแล้วกล่าวคือ เป็นเพราะบุคคลถูกกีดกันออกจากสิ่งที่เขาสร้าง เขาจึงถูกกีดกันออกจากส่วนหนึ่งที่ใช้อธิบายความเป็นตัวเองด้วย นั่นคือ บุคคลถูกท�าให้แปลกแยกจากตัวตนของตนเองในกระบวนการใช้แรงงานและ3)บคุคลถกูท�าให้แปลกแยกจากผู้อื่นในกระบวนการผลิตทั้ง3วิถีนี้ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่เพยีงบคุคลถกูแยกออกจากสิง่ทีเ่ขาผลติหรอืจากตวัเองเพราะเขาถูกท�าให้แปลกแยกจากสิ่งที่เขาผลิตเท่านั้น ความแปลกแยกยังหมายถึงการเอาใจออกห่างจากผู้อื่นด้วย (Corlett,1988) ความแปลกแยกในทัศนะของ Sartre (1980) คือสภาวะของมนุษย์ที่ไม่ได้เป็น ไม่ได้รู้สึก หรือไม่ได้คิดอย่างที่สมควรจะเป็นในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งฐานะมนุษย์ในความคิดของSartreคือผู้ที่ต้องลงมือกระท�าการตามจุดมุ่งหมายของตนอย่างมีเสรีภาพตามที่Sartreประกาศออกมาว่า “มนุษย์ถูกสาปให้มีเสรีภาพ” เสรีภาพของ Sartre คือความสามารถในการตัดสินใจเลือก ซึ่งจะต้องควบคู่ไปกับความรบัผดิชอบการใช้เสรภีาพนัน้คอืการใช้ชวีติอย่างทีเ่ป็นชีวิตจริงๆโดยเป็นคนเลือกและตัดสินใจเองไม่ใช่สถานการณ์บังคับหรือไหลไปตามระบบทั้งๆที่ไม่เห็นด้วยการเลือกนี้คือการกลับมาหาตนเองและเลิกสภาพของความแปลกแยก(ศิริวรรณเกษมศานต์กิดาการ,2537) นอกจากนี้ความแปลกแยก ยังมีผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลกล่าวคือบุคคลที่แปลกแยกไม่สามารถประสบความส�าเรจ็ในการค้นหาอตัลกัษณ์ของตนได้ซึง่ในการค้นหาอัตลักษณ์นั้น บุคคลสมควรจะต้องอุทิศตนให้กับสิ่งที่เขาปรารถนาจะบรรลุหรือแสวงหา สิ่งนี้จะท�าให้เกิดการตระหนักรู้ ซึ่งความตระหนักรู้นี้เองเป็นปัจจัยส�าคัญที่สร้างอัตลักษณ์ของบุคคล(Pestonjee,Singh,&Singh,1982)อาจกล่าวได้ว่าความแปลกแยกเป็นอุปสรรคต่อการนิยามความเป็นตัวเองหรือการสร้างอัตลักษณ์ของมนุษย์ ราชบัณฑิตยสถาน(2549)ได้อธิบายAlienationในความหมายกว้างโดยหมายถึงการเปลี่ยนจากการรู้สึกผูกพันไปเป็นการรูส้กึไม่เป็นมติรเป็นปรปักษ์หรอืไม่ยนิดยีนิร้ายต่อ

Page 8: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

69 ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม-กันยายน 2556

ผู้อื่นต่อกลุ่มต่อสังคมหรือแม้แต่ต่อตนเองเป็นต้น วิทยากรเชียงกูล(2547)แปลAlienationว่าความเป็นอื่น ภาวะออกห่าง สภาพที่คนท�างานถูกแยกออกจากความเป็นมนษุย์ในสงัคมอย่างแท้จรงิ(“True”SocialBeing)ถกูแยกออกจากครอบครวัและเพือ่นของเขาอนัเป็นผลมาจากการท�างานที่ไร้ความหมาย และไม่เป็นธรรมชาติ ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ภาวะเช่นนี้เป็นผลของการท�างานเฉพาะอย่างที่ซ�้าซาก การแบ่งงานที่ตายตัวและการที่ปัจจัยในการผลติเป็นกรรมสทิธิข์องเอกชนเพยีงบางคนคนงานไม่ได้เป็นผู้ควบคุมกระบวนการท�างาน ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมผลผลิตของแรงงานของเขาและกลายเป็นสิง่ของอย่างหนึง่เท่านัน้คนงานหมดความสนใจในชิ้นส่วนที่เขาผลิตขึ้น เพราะว่าเขาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับการผลิตสิ่งของทั้งชิ้นด้วยตัวเองอีกต่อไป ความสัมพันธ์นี้ส่งผลต่อรูปจิตส�านึกของคนงานทัง้สนิค้าทีเ่ขาผลติขึน้และนายจ้างทีเ่ป็นนายทนุกลายเป็น“สิง่แปลกหน้า”ส�าหรับคนงานซึ่งถูกท�าให้หมดความเป็นมนุษย์(Dehumanized)ไปทุกที พระพรหมคุณาภรณ์ (2554) ได้อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาตขิองมนษุย์และความแปลกแยกไว้ว่าชวีติของมนษุย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมต้องอยู่กับเพื่อนมนุษย์ ต้องมีความสุขในการอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ตั้งแต่ในครอบครัวบุตรหลานพ่อแม่เป็นต้นไปชีวิตมนษุย์ต้องอยูก่บักจิกรรมทีท่�าตลอดเวลาเราต้องไม่แปลกแยกจากกิจกรรมแห่งชีวิตของเรา กิจกรรมของเราต้องสอดคล้องกบัความมุง่หมายของชวีติของเราหรอืปรบัความต้องการของเราให้ตรงกบัผลทีแ่ท้จรงิตามธรรมชาตขิองการงานทีท่�าความสุขของมนุษย์นั้นเดิมทีเดียว มีฐานมาจาก 3 อย่าง เป็นธรรมชาติ3ด้านแต่มนุษย์ปัจจุบันเป็นพวกที่แปลกแยกจากธรรมชาตดิงักล่าวอย่างแรกแปลกแยกจากธรรมชาตแิวดล้อมเหน็ได้จากคนทกุวนันีท้�างานจนลมืความชืน่ชมธรรมชาตริอบตัว ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม อย่างที่ 2 แปลกแยกกับเพื่อนมนุษย์เพราะความที่ต้องแข่งขันแก่งแย่งกันอย่างที่3แปลกแยกออกไปจากกจิกรรมของตวัเองซึง่ความแปลกแยกดังกล่าวท�าให้มนุษย์แสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวใหม่ๆซึ่งไม่มีสิ่งใดให้สุขได้อย่างจีรัง กล่าวโดยสรปุความแปลกแยกหมายถงึภาวะทีม่นษุย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงที่มีความสมัพนัธ์กบัชวีติมนษุย์ซึง่มผีลให้มนษุย์ถกูลดคณุค่าความเป็นมนุษย์ลงโดยสิ่งทั้งปวงนี้ประกอบด้วยตัวมนุษย์เองการงานสังคมวัฒนธรรมและธรรมชาติแวดล้อม

ประเภทของความแปลกแยก

โดยทัว่ไปแล้วชวีติของมนษุย์ในฐานะทีเ่ป็นสตัว์สงัคมมักจะมีความสัมพันธ์ทั้งกับตัวเองและสภาพแวดล้อมรอบตัวซึ่งประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมทางสงัคมโดยสภาพแวดล้อมทางสงัคมได้รวมถงึการงานไว้ด้วย ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่อาจแบ่งออกเป็น4ประเภทคอืความแปลกแยกจากตวัเองความแปลกแยกจากการงานความแปลกแยกจากสังคมวัฒนธรรมและความแปลกแยกจากธรรมชาติแวดล้อมซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.ความแปลกแยกจากตวัเองเป็นภาวะทีม่นษุย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของตัวเอง หากแต่ต้องแสวงหาสิ่งอื่นๆ ที่อยู่นอกตัวมานิยามความเป็นตัวเอง โดยพฤตกิรรมดงักล่าวจะแสดงออกในลกัษณะการแสวงหาความสขุให้กบัตวัเองจากสิง่ภายนอกอยูต่ลอดเวลาดงัทีพ่ระไพศาลวิสาโล(2554)กล่าวไว้ว่า “ในยามที่มนุษย์เราต้องอยู ่คนเดียวในห้องหรือสถานทีใ่ดๆทีไ่ม่มโีทรทศัน์ไม่มผีูค้นพดูคยุไม่มหีนงัสอืให้อ่านมีแต่เราเพียงคนเดียว เราจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเราอยู่ในสภาพเช่นนั้น แม้จะมีอาหาร มีปัจจัยสี่ มีสิ่งอ�านวยความสะดวกมากมายหากเราต้องอยู่คนเดียวไม่สามารถติดต่อพูดคุยกับใครได้ และไม่มีงานอะไรให้ท�าด้วย ส่วนใหญ่ก็คงรู้สึกอึดอัดกระสับกระส่าย หงุดหงิด บางคนอาจจะรู้สึกเบื่อ แม้เพียงชั่วโมงเดียวก็ตามเพราะแต่ก่อนเคยมีอะไรให้ท�าเช่นดูหนังฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ พูดคุยกับเพื่อน ไปเดินห้างสรรพสินค้าหรือไม่ก็ท�าโน่นท�านี่ไปเรื่อยแต่พอมาอยู่กับตัวเองส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกอึดอัด หงุดหงิด กระสับกระส่ายนี่คืออาการที่เราทนอยู่กับตัวเองไม่ได้ซึ่งเป็นอาการที่คนเราแปลกแยกจากตัวเอง” เป็นทีน่่าสงัเกตโดยทัว่ไปว่าสิง่อืน่ๆนอกตวัทีม่นษุย์ในปัจจุบันใช้นิยามความเป็นตัวเอง หรือสร้างความสุขให้กับตัวเองนั้นมักจะอยู่ในรูปของวัตถุ สินค้า หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆรวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้นเช่นการบริโภคสินค้าการเล่นเฟซบุ๊กเป็นต้นซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะมีความเกี่ยวพันกับเศรษฐกิจทุนนิยมอยู่เนืองๆ ความแปลกแยกจากตวัเองดงัทีก่ล่าวข้างต้นเป็นเพราะมนุษย์เข้าใจผิดว่าความเป็นตัวเองเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงมนุษย์จึงพยายามแสวงหาตัวเองจากสิ่งต่างๆ ภายนอกหรือสภาพแวดล้อมเพือ่ประกอบสร้างความเป็นตวัเองให้มขีึน้อาจกล่าวได้ว่าตัวเองเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ไปตามสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเป็นเช่นนี้ตัวเองจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเฉพาะตน แต่มีได้เพราะมีปัจจัยภายนอกเป็น

Page 9: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

70วารสารนักบริหาร Executive Journal

องค์ประกอบและแม้กระทั่งภายในกายและใจของมนุษย์นั้นมนุษย์ก็ยังเข้าใจผิดว่ามีความเป็นตัวเองอยู่ เพราะความเป็นตัวเองนี้ได้ปรากฏอยู่ในรูปของ ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ ซึ่งหมายถึงกองแห่งรูปธรรมและนามธรรม5หมวด(รูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณ)ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมซึ่งบัญญัติเรียกว่าสัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา เป็นต้นส่วนประกอบทั้ง 5 อย่างนี้จะรวมเข้าเป็นชีวิตหรือตัวตนขึ้น(พระพรหมคุณาภรณ์,2554) 2.ความแปลกแยกจากการงาน เป็นภาวะที่มนุษย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาตใินการงานMarx(1973,อ้างถึงใน ฉัตรทิพย์ นาถสุดา, 2551) เห็นว่าธรรมชาติที่แท้จริงในการท�างานของมนุษย์นั้น คือ การท�ากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับคนอื่นๆ ซึ่งจะน�าไปสู่พัฒนาการของโลกและของตัวมนุษย์เองและมนุษย์รู้จักตนเองจากผลงานที่เขาสร้างขึ้นมา (ราชบัณฑิตยสถาน, 2549) แต่ในกระบวนการผลติในสงัคมทนุนยิมผลติผลแห่งการสร้างสรรค์ของผูผ้ลติไม่ได้เป็นของเขาอีกต่อไปแต่กลายเป็นของกลุ่มนายทุนผู้เป็นเจ้าของทนุหรอืปัจจยัการผลติมนษุย์มฐีานะเป็นเพยีงแรงงานที่ท�างานแลกกับค่าจ้างเพื่อยังชีพไปวันๆ นอกจากนี้กิจกรรมในการผลิตยังได้แย่งชิงเวลาแห่งการด�าเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพของเขาไปเพราะมนุษย์ต้องสูญเสียเวลาที่ตนมีตั้งแต่ตืน่นอนแล้วเป็นส่วนใหญ่โดยทีไ่ม่สามารถครอบครองเวลาดงักล่าวไว้ได้เวลาทัง้หมดทีม่นษุย์ขายให้แก่นายจ้างไปนัน้ได้ตกเป็นของนายจ้างไปอย่างสิน้เชงิ(ทวปีวรดลิก,2545)นายจ้างสามารถก�าหนดเงื่อนไขหรือกฎระเบียบต่างๆหรือแม้กระทั่งสั่งการให้มนุษย์ในฐานะลูกจ้างปฏิบัติตาม อาจกล่าวได้ว่ามนษุย์ในสงัคมทนุนยิมมฐีานะเป็นแรงงานรบัจ้างทีม่ชีวีติค่อนข้างจ�ากัด ในสังคมทุนนิยมมนุษย์ได้สร้างความสัมพันธ์ในการผลิตขึ้นมาสร้างระบบกรรมสิทธิ์ส่วนตัวในปัจจัยการผลิตขึ้นมาแล้วก็กลับตกเป็นทาสของความสัมพันธ์ในการผลิตนั้นเองแรงงานมนุษย์กลายเป็นแรงงานทาสMarx(1973,อ้างถึงในฉัตรทิพย์นาถสุภา,2551)อธิบายว่าภายใต้ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนตัวที่คนกลุ่มน้อยเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมนุษย์ทั่วไปจะถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยปัจจัย 3 ประการ คือผลิตผลของตน กิจกรรมการผลิตของตนเอง และระหว่างแรงงานด้วยกัน มนุษย์ถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยผลผลิตของตนเองหมายถึงมนุษย์ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของในผลผลิตทั้งๆที่มนษุย์เองได้สร้างสรรค์หรอืผลติขึน้มามนษุย์พบว่ายิง่ตนผลติสินค้าไปมากเท่าไรตัวเขาเองก็ยิ่งจนลง ผลผลิตเป็นของผู้อื่น

(นายทุน) ไม่ได้เป็นของเขา และเป็นอิสระจากเขา มิหน�าซ�้ายังมาเป็นศัตรูบังคับเขาด้วยแรงงานผลิตทุน(capital)แต่ไม่เคยได้เป็นนายของทุนเลยแต่กลับตกเป็นทาสของทุนทุนซึ่งคอืผลผลติของแรงงานกลบัมาบงัคบัแรงงานนีค่อืการทีม่นษุย์ถกูลดคณุค่าความเป็นมนษุย์โดยผลผลติของตนเองถกูผลผลติของตวัเองบงัคบัเอาตวัเองลงเป็นทาสเช่นคนงานเป็นผูส้ร้างอาคารสวยหรูสูงเสียดฟ้าแต่คนงานไม่มีสิทธิ์ครอบครองและอยูอ่าศยัอาคารนัน้แต่จ�าเป็นต้องท�างานตามเงือ่นไขแห่งการจ้างงานของนายจ้างผู้ซึ่งเป็นเจ้าของทุน (ทุนที่นายจ้างเป็นเจ้าของแต่เป็นสิง่ทีถ่กูสร้างและเพิม่พนูขึน้โดยคนงาน)เป็นต้น มนุษย์ถูกลดคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยกิจกรรมการผลิต หมายถึง กิจกรรมการผลิตได้ลดทอนคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพราะเมื่อผลผลิตของมนุษย์กลายเป็นสิ่งลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ ก็ย่อมหมายความว่าในขณะผลิตมนุษย์ก็ก�าลังท�าสิ่งซึ่งลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเขาเอง เพราะผลผลิตคือผลรวมของการออกแรงท�างานของมนุษย์ เมื่อผลผลติคอืสิง่ทีล่ดคณุค่าความเป็นมนษุย์แรงงานทีอ่อกไปในการท�าผลผลิตก็ย่อมเป็นสิ่งลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยกิจกรรมการผลิตของมนุษย์จึงกลายเป็นสิ่งที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์เสียเอง การที่แรงงานของมนุษย์กลายเป็นสิ่งลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ก็หมายความว่ามนุษย์ท�าตัวเองลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยตัวของตัวเอง (self-alienation)นั่นเอง แสดงว่ามนุษย์ไม่ได้ท�างานให้กับตัวเอง กลับเป็นท�างานให้นายทุนในการท�างานมนุษย์ไม่ได้ท�าให้ตัวเองพอใจแต่กลับปฏิเสธตัวเอง งานกลายเป็นการถูกบังคับให้ท�า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีแนวโน้มว่ามนุษย์จะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่มคีวามสขุเท่าไรนกัในขณะทีพ่วกเขาปฏบิตังิานซึง่อาจสะท้อนให้เหน็ผ่านการมาปฏบิตังิานสายการขาดงานโดยไม่มีสาเหตุการท�ากิจกรรมอย่างอื่นในเวลางานเป็นต้น มนษุย์ถกูลดคณุค่าความเป็นมนษุย์โดยแรงงานด้วยกนั หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานด้วยกันได้ถูกท�าให้กลายเป็นเพยีงความสมัพนัธ์บนพืน้ฐานของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีแบบความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการในองค์การสมัยใหม่ ซึ่งแรงงานสัมพันธ์กันตามต�าแหน่งหน้าที่มากกว่าความเป็นเครือญาติหรือเพื่อนบ้านที่มีความจริงใจต่อกันสภาพการท�างานมีการแบ่งงานกันท�าเป็นแผนกหรือแบ่งงานกันท�าตามความช�านาญเฉพาะด้าน (วิทยา ศักยาภินันท์,ม.ป.ป.)ท�าให้ความสมัพนัธ์ระหว่างแรงงานด้วยกนัมน้ีอยพวกเขาถูกโดดเดี่ยวจากกันและกันโดยลักษณะของงานที่ส่งเสริมการเห็นแก่ตัวด้วยการที่นายจ้างได้ใช้วิธีการให้ลูกจ้างต้องแข่งขันกันโดยใช้ค่าตอบแทนรางวัลหรือต�าแหน่งเป็นตัวล่อ

Page 10: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

71 ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม-กันยายน 2556

เพื่อให้ผลก�าไรอันเนื่องจากงานได้ตกแก่นายจ้างมากที่สุดบรรยากาศการท�างานจงึเตม็ไปด้วยการแข่งขนัขาดมติรภาพที่แท้จริงระหว่างผู้ท�างานด้วยกัน มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นกันจนบ่อยครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างแรงงานด้วยกันเองและระหว่างแรงงานกับนายจ้างขึ้น 3.ความแปลกแยกจากสงัคมวฒันธรรมเป็นภาวะที่มนุษย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมเพราะโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ร่วมกันสร้างสรรค์วฒันธรรมเพือ่เป็นแบบหรอืแนวทางในการด�าเนนิชีวิตของสมาชิกสังคมอันเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันจึงจะท�าให้มนุษย์สามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ และเป็นสุข การที่มนษุย์ด�ารงชวีติอยูร่่วมกนัในสงัคมนัน้จะต้องรูส้กึอบอุน่และมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมีความรู้สึกเหมือนครอบครัวใหญ่ มีความไว้ใจซึ่งกันและกัน (ลิขิต ธีรเวคิน, 2553) อาจกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมนั้น มนุษย์ในฐานะสมาชกิของสงัคมมคีวามสมัพนัธ์กนัด้วย“คณุค่าแห่งชวีติทางวัฒนธรรม”แต่ภาวะที่มนุษย์มีความรู้สึกแปลกแยกจากสงัคมและวฒันธรรมนัน้เป็นภาวะทีม่นษุย์ในฐานะสมาชกิของสังคมมีความสัมพันธ์ระหว่างกันเปลี่ยนไปจากเดิมที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย“คุณค่าแห่งชีวิตทางวัฒนธรรม”เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย“มูลค่าทางเศรษฐกิจ” การที่มนุษย์ในสังคมสมัยใหม่มีความสัมพันธ์กันด้วย“มูลค่าทางเศรษฐกิจ” ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในสังคมทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งพิจารณาได้จากการที่สมาชิกในครอบครัวมีความต้องการบริโภคสิ่งฟุ่มเฟือยอย่างต่อเนื่องท�าให้สมาชิกให้ความส�าคัญกบัการท�างานหาเงนิจนละเลยความสมัพนัธ์ภายในครอบครวัพ่อแม่ลูกโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆแทบจะไม่มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากัน เพราะพ่อแม่ต้องออกไปท�างานแต่เช้าและกลับบ้านเมื่อดึก พ่อแม่ถึงร้อยละ 43 ในกรุงเทพมหานครยอมรับว่าแต่ละวนัมเีวลาท�ากจิกรรมร่วมกบัลกูเพยีง1-3ชัว่โมงเท่านัน้หลายครอบครวัทดแทนความเหนิห่างด้วยการใช้วตัถหุรอืเงนิเป็นเครื่องแสดงความรักแต่บ่อยครั้งกลับท�าให้ความสัมพันธ์เลวร้ายลงยิ่งหันไปพึ่งเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง(เช่นเลี้ยงลูกทางโทรศพัท์มอืถอืหรอืI-padเป็นต้นกลบัท�าให้เหนิห่างกนัมากขึ้น การให้ความส�าคัญกับเงินและวัตถุ ท�าให้หลายครอบครวัถงึกบัหย่าร้างกนัปัจจบุนัการหย่าร้างมสีงูถงึ1ใน4ของผู้ที่จดทะเบียนแต่งงานกันและถึงแม้จะไม่ได้หย่าร้างกันการแยกกันอยู่ก็มีมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในเมืองเท่านั้น ในชนบท พบว่ามีเด็กถึงร้อยละ 30 ที่ไม่ได้อยู่กับ

พ่อแม่หรือพ่อแม่แยกทางกัน(พระไพศาลวิสาโล,2555) ไม่เฉพาะครอบครัวเท่านั้นที่เงินหรือวัตถุเข้ามามีบทบาทในการก�าหนดความสมัพนัธ์ระหว่างกนัของมนษุย์แต่ยังเข้ามามีบทบาทในความสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย เช่นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่อยู ่ภายใต้เงื่อนไขของการมีผลประโยชน์ต่างๆร่วมกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเช่นการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจเป็นต้นความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์แทนที่จะเป็นความสมัพนัธ์บนพืน้ฐานของความรกัและเมตตาต่อกนัแต่ปัจจบุนัในหลายกรณพีบว่าครมูฐีานะเป็นผูข้ายวชิาความรูแ้ละศิษย์มีฐานะผู้ซื้อหรือผู้บริโภควิชาความรู้นั้น ท�าให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเป็นแบบผู้ผลิตและผู้บริโภคแทนหรือแบบผู้ขายกับผู้ซื้อที่มีความเมตตาต่อกันน้อยลง และยังรวมไปถึงความสมัพนัธ์ระหว่างหมอกบัคนไข้ทีจ่ะพบอยูบ่่อยครัง้ว่าหมอไม่พยายามรักษาคนไข้ให้หายขาดหรือ “เลี้ยงไข้” เพราะต้องการให้คนไข้มารกัษานานๆเพือ่จะได้เงนิค่ารกัษามากขึน้รปูแบบความสมัพนัธ์ทีอ่ยูบ่นเงือ่นไขของผลประโยชน์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในสังคมปัจจุบัน การมีน�้าใจ ความรัก ความเมตตา และความปรารถนาดีต่อกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ลดเลือนไป การที่มนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ให้ความส�าคัญกับ“มูลค่าทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “คุณค่าแห่งชีวิตทางวัฒนธรรม” นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคมดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังส่งผลต่อวัฒนธรรมอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดกระแสการท�าวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า (CommercializationofCulture) เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าสังคมสมัยใหม่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยพลวัตแห่งการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการค้าแบบทุนนิยม ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อการก�าหนดสถานการณ์ต่างๆในสงัคมโดยเฉพาะอย่างยิง่โลกาภวิตัน์ทางเศรษฐกจิทีม่เีทคโนโลยีและกลไกตลาดเป็นตวัก�าหนดหรอืตวัขับเคลื่อนส�าคัญ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ท�าให้ปัจจุบันภาคธุรกิจ และระบบตลาดมีอภิสิทธิ์ที่จะนิยามวัฒนธรรมได้มากกว่าภาคส่วนอื่นๆในสังคมไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือภาคประชาสงัคมจงึท�าให้เกดิกระแสการท�าให้วฒันธรรมเป็นสินค้า อย่างกรณีที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการท่องเทีย่วเชงินเิวศเช่นโฮมสเตย์OTOPเป็นต้นทีร่ฐับาลเองมีการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าทางวฒันธรรมในขณะเดยีวกนัตวัประชาชนเองกม็ุง่การผลติสนิค้าทางวฒันธรรมเพือ่ขายหวงัก�าไร(สรุชิยัหวนัแก้ว,2552)ท�าให้วัฒนธรรมที่ปรากฏออกมาสู่สายตาของนักท่องเที่ยวหรือผู ้เยี่ยมชมนั้นเป็นวัฒนธรรมส�าหรับการแสดงอย่างซ�้าๆ

Page 11: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

72วารสารนักบริหาร Executive Journal

หน้าฉากทีข่าดรากเหง้าหรอืจติวญิญาณของผูส้รรสร้างอย่างแท้จริง กระแสการท�าวัฒนธรรมให้เป็นสินค้านี้ได้กระทบต่อหลายวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการบันเทิง ในปัจจุบันภาพยนตร์ ละคร งานศิลปะ บันเทิง ถูกลดคุณค่าเพื่อการจรรโลงจิตใจ และถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นเพียงสินค้าที่ให้ผลตอบแทนทางมูลค่าต่อผู้ลงทุน การผลิตศิลปวัฒนธรรมมาสู่ตลาด จึงมุ่งไปที่การค�านึงถึงผลก�าไร และความคุ้มทุนเป็นส�าคญั(สรุชิยัหวนัแก้ว,2552)เช่นสร้างละครหรอืภาพยนตร์ตามความชื่นชอบของคนดูโดยขาดการพิจารณาถึงสาระประโยชน์ที่สังคมได้รับ ท�าให้ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ได้รับการน�าเสนอผ่านสือ่ขาดความหลากหลายและความสร้างสรรค์ใหม่ๆมีแต่รูปแบบซ�้าๆซึ่งได้รับการประกันทางการตลาดว่าขายได้ 4.ความแปลกแยกจากธรรมชาตแิวดล้อมเป็นภาวะที่มนุษย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของธรรมชาติแวดล้อมมนุษย์คิดว่าตนเองเป็นคนละส่วนกับธรรมชาติแต่โดยเนือ้แท้แล้วความจรงิของธรรมชาตสิรรพสิง่คอืการเชือ่ม-โยงเป็นหนึ่งเดียวกัน (TheSameOneness)มนุษย์ทุกคนสัตว์ทุกตัวต้นไม้ทุกต้นแร่ธาตุและสสารบรรดามีและดาวทุกดวงในจักรวาลมาจากสภาวะหนึ่งเดียวกัน(ประเวศวะสี,2547) แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์มีการรู้เห็นที่จ�ากัด เพราะความยึดมั่นในตัวตนยึดมั่นในเผ่าพันธ์ุยึดมั่นในความรู้เป็นเสี่ยงๆจึงเข้าไม่ถึงธรรมชาติของความเป็นหนึ่งเดียว ยึดเอาตนเป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่ง มนุษย์จึงมองตัวเองแยกตัวออกจากธรรมชาติมนุษย์ถือว่าตัวเองเป็นนายธรรมชาติแนวความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากความคิดของฟรานซีส เบคอน นักปรัชญาชาวอังกฤษ(มงคลเลิศด่านธานินทร์,2551)โดยเขาเสนอว่าธรรมชาติก็คือธรรมชาติธรรมชาติเป็นอย่างใดในอดีตก็ยังคงเป็นอย่างนั้นในปัจจุบันดังนั้นจะมีประโยชน์อะไรกับการเฝ้าศึกษาธรรมชาติเพื่อให้รู้และเข้าใจเท่านั้น ท�าไมเราจึงไม่แสวงหาประโยชน์จากธรรมชาตใิห้มนษุย์อย่างเตม็ที่ถ้าเช่นนัน้มนษุย์จงึจ�าเป็นต้องบบีคัน้และตามล่าธรรมชาติเอาธรรมชาติมารับใช้มนุษย์ มนุษย์เองต้องเป็นนายธรรมชาติ มนุษย์อยู่เหนอืธรรมชาติ(ManistheMasterofNature)คอืควบคมุธรรมชาติให้ได้ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่ องมือในการเข ้ าควบคุมจัดการธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติมีฐานะเพียงปัจจัยการผลิตของระบบเศรษฐกิจ

การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการควบคุมธรรมชาติและอยู่เหนือธรรมชาตินี้เองได้น�ามาสู ่ความห่างเหินและแยกมนุษย์ออกห่างจากธรรมชาติในยุคนี้มนุษย์มีความสามารถสูงมากมีวิทยาการที่เจริญก้าวหน้าในการสร้างสิ่งใดก็ได้ เพราะมีความเจริญทางวิทยาการด้านพนัธวุศิวกรรมวถิชีวีติของมนษุย์ในสงัคมทกุวนันี้จงึมกัผกูพนัใกล้ชดิกบัเทคโนโลยมีากกว่าธรรมชาติยิง่ไปกว่านั้น มนุษย์ยังต ้องด�ารงชีวิตอยู ่อย ่างพึ่งพิงและเสพติดเทคโนโลยี (Techno-Addict) อีกด้วยท�าให้มนุษย์ให้ความส�าคญัต่อเทคโนโลยมีากไปกว่าธรรมชาติมนษุย์เป็นส่วนหนึง่ของเทคโนโลยมีากกว่าเป็นส่วนหนึง่ของธรรมชาติจงึไม่แปลกใจที่มนุษย์จะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้นเท่าใด ก็ดูเหมือนจะยิ่งเป็นการสะสมปัญหาหรือยิ่งเป็นการท�าลายธรรมชาติรุนแรงมากขึ้นทุกที(อนุชาติพวงส�าลี,2547)ความเชื่อที่ว่ามนุษย์อยู่เหนือธรรมชาติ (Man is theMaster of Nature) ได้ท�าลายหลักการที่คนโบราณถือว่าแผ่นดินนั้นเป็นเสมือนมารดาที่อุ้มชูและหล่อเลี้ยงทุกสรรพสิ่งบนโลก ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้สะท้อนผ่านการพัฒนาเศรษฐกจิและพฒันาอตุสาหกรรมของกลุม่ประเทศโลกทีส่ามกว่า 2-3ทศวรรษที่ผ่านมาที่รัฐและนายทุนมีความสัมพันธ์อ ย ่ า ง ใ กล ้ ชิ ด กั บคว ามพยายาม ใช ้ ป ระ โยชน ์ จ ากทรัพยากรธรรมชาติให้มากที่สุดเพื่อส่งออก (ไม้ แร่ สัตว์น�้าและพืชเศรษฐกิจ) เป็นสินค้าและวัตถุดิบให้กับประเทศที่พฒันาแล้ว(เพือ่น�าเงนิตราต่างประเทศไปใช้ซือ้เครือ่งจกัรและเทคโนโลยีและลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรม)ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต แบบแผนการผลิต การบริโภคของคนในสังคมซึ่งล้วนแต่น�าไปสู่การบริโภคและการใช้ทรัพยากรหลากหลายและเข้มข้นขึน้ขณะเดยีวกนักส่็งผลให้มกีารเปลีย่นแปลงและท�าลายความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนและท้องถิ่นในการจัดการดูแลและควบคุมทรัพยากรในหลายประเทศ การใช้ทรัพยากรที่เข้มข้นมากขึ้นนี้น�าไปสู่ความทรุดโทรมและวิกฤตด้านสภาพแวดล้อมในที่สุดเช่นสัตว์และพืชหลายชนิดสูญพันธ์ุทรัพยากรชายฝั ่งเสื่อมโทรม ดินเพาะปลูกเสื่อมคุณภาพ เกิดปัญหาการพังทลายหน้าดิน เป็นต้น ในชนบทป่าไม้ซึ่งเปรียบเสมือนตลาดหรือ “ซูเปอร์มาร์เก็ต” แจกฟรีถูกท�าลายไปเกษตรกรแบบพอเพียงถูกดึงดูดเข้าสู่ระบบการผลติอตุสาหกรรมทนุนยิมทีข่ึน้อยูก่บัทนุและการจ้างงานและการบรโิภคทีต้่องหาเงนิมาซือ้มากขึน้ระบบการผลติแบบใหม่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู ่กับนายทุนและกลไกตลาดแบบผูกขาดที่ประชาชนทั่วไปควบคุมไม่ได้ และท�าให้พวกเขาเป็นฝ่าย

Page 12: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

73 ปีที่ 33 ฉบับที่ 3

กรกฎาคม-กันยายน 2556

เสียเปรียบมากขึ้น(วัฒนาสกุณศีล,2548)ด้วยอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์เศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้ท�าให้มนุษย์ปัจจุบันมองธรรมชาติเปลี่ยนไปจากอดีตมากพวกเขามองไม่เห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในต้นไม้ป่าเขาแม่น�า้น�้าตกที่ต้องเคารพย�าเกรงความคิดแบบทุนนิยมในปัจจุบันท�าให้พวกเขามองธรรมชาติเหล่านี้เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มี“มูลค่าและขายได้”เช่นมองต้นไม้เป็นไม้แปรรูปมองป่าไม้น�้าตกเป็นบ้านพักตากอากาศเพื่อรองรับการท่องเที่ยว มองแม่น�้าเพื่อสร้างเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้าส�าหรับใช้ในเมืองอุตสาหกรรมเป็นต้น

บทสรุป

ความแปลกแยกจัดเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างหนึ่งในการด�าเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในบทความนี้ผู้เขียนเสนอว่า ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมเป็นภาวะที่มนุษย์แยกออกห่างจากความเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีผลให้มนษุย์ถกูลดคณุค่าความเป็นมนษุย์ลงในสงัคมสมยัใหม่มนษุย์ต้องเผชญิกบัความแปลกแยกในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นความแปลกแยกจากตวัเองความแปลกแยกจากการงานความแปลกแยกจากสังคมวัฒนธรรม และความแปลกแยกจากธรรมชาติแวดล้อมและเป็นที่น่าสังเกตว่าความแปลกแยกในด้านต่างๆ นั้นมักจะมีเรื่องของ “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในระบบทุนนิยมมาเกี่ยวข้องด้วยเสมอกล่าวคือ กรณคีวามแปลกแยกจากตวัเองมนษุย์ได้ทิง้ความจรงิแท้ของความเป็นตัวเองที่มีความเป็นอนัตตาหรือความว่างสู่การแสวงหาตัวเองจากปัจจัยภายนอก เช่นการยึดทรัพย์สินเงนิทองเทคโนโลยีการบริโภคสินค้าเป็นเครื่องแสดงออกถึงความสุขและตัวตนกรณีความแปลกแยกจากการงานมนุษย์ได้ละเลยกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานของตวัเองด้วยตวัเอง

และเพื่อตัวเอง ไปผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานให้กับผู้อื่นหรือนายทนุจนตวัเองมฐีานะเป็นเพยีงมนษุย์แรงงานทีม่ชีวีติจ�ากดัไร้ซึ่งเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี กรณีความแปลกแยกจากสังคมวฒันธรรมมนษุย์ได้ละทิง้ความสมัพนัธ์ระหว่างเพือ่นมนษุย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรักและเมตตาต่อกันด้วยใจจริงเปลี่ยนเป็นการมีความสัมพันธ์ระหว่างกันเพียงเพราะผล-ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และยังพยายามท�าให้วิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมที่แต่เดิมเป็นสิ่งช่วยจรรโลงคุณค่าของสังคมมนุษย์ให้กลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถขายได้กรณีความแปลกแยกจากธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ในสังคมสมัยใหม่นี้มิได้แค่เพียงแยกตัวเองแยกออกห่างจากธรรมชาติแวดล้อมเท่านั้น มนุษย์ยังกอบโกยและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเข้มข้น จนท�าให้ปัจจุบันนี้ธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แม่น�้า ทะเล อากาศ ถูกท�าลายจนสูญเสียความสมดุลทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” ในระบบทุนนิยมปัจจุบันได้มีส่วนให้เกิดความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ขึ้นไม่มากก็น้อย มูลเหตุส�าคัญของปัญหาความแปลกแยกที่กล่าวมานี้เกิดจากการที่มนุษย์ในสงัคมสมยัใหม่ปราศจากความเข้าใจในความเป็นธรรมชาตขิองสิง่ทัง้ปวงทีส่มัพนัธ์กบัชวีติมนษุย์เองอย่างลกึซึง้และเชือ่มโยงที่ส�าคัญพวกเขาส�าคัญผิดว่าตัวเองเป็นนายผู้มีอ�านาจเหนือกว่าสิ่งทั้งปวง มนุษย์เห็นว่า “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” มีความส�าคญักบัชวีติของมนษุย์มากกว่า“คณุค่าชวีติและวฒันธรรม”แต่หารู้ไม่ว่าโดยธรรมชาติแห่งความเป็นจริงแล้วสิ่งทั้งปวงซึ่งรวมทั้งชีวิตมนุษย์ด้วยนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้และทีส่�าคญั“คณุค่าชวีติและวฒันธรรม”เปรยีบเสมอืนน�้าที่คอยหล่อเลี้ยงสังคมมนุษย์ให้เป็นสังคมที่มีความเป็นอารยะเป็นสงัคมทีเ่พือ่นมนษุย์มคีวามรกัและเมตตาต่อกนัโดยมไิด้หวงัผลประโยชน์ทางเศรษฐกจิใดๆเป็นการตอบแทน

Page 13: บทความวิชาการ - la.pim.ac.thla.pim.ac.th/uploads/content/2014/08/o_18vjv8stmpul15aacvs1rt13ura.pdf · ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. กรกฎาคม

74วารสารนักบริหาร Executive Journal

บรรณานกุรม

เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์.(2550).คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ สังคม: สังคมไทยที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:ซัคเซสมีเดีย.ฉัตรทิพย์นาถสุภา.(2551). ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ทวีปวรดิลก.(2545).ปรัชญาว่าด้วยความแปลกแยก. กรุงเทพฯ:ส�านักพิมพ์มูลนิธิเด็ก.ประเวศวะสี.(2547).การเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงภายใน.ในประเวศวะสี,บรรณาธิการ. ธรรมชาติของสรรพสิ่ง: การเข้าถึงความจริงทั้งหมด. (น.1-33).กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต).(2545).พจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม.กรุงเทพฯ:เอส.อาร์.พริ้นติ้ง โปรดักส์.พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต).(2551).พจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์.กรุงเทพฯ:เอส.อาร์.พริ้นติ้ง โปรดักส์.พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต).(2554).ธรรมะกับ การท�างาน.สืบค้นเมื่อ15ธันวาคม2555,จาก http://www.thaijobjob.com/index.php?act= news_detail&NewsID=1พระไพศาลวิสาโล.(2554).เป็นมิตรกับตัวเอง. สมุทรปราการ:ชมรมกัลยานธรรม.พระไพศาลวิสาโล.(ม.ป.ป.).วิถีพุทธวิธีไทในยุคบริโภค นิยม.สืบค้นเมื่อ13ธันวาคม2555,จากhttp:// www.visalo.org/article/budVitheeBudVithee Thai.htmพุทธทาสภิกขุ.(2546).ชีวิตคืออะไร.กรุงเทพฯ:ไพลิน.มงคลเลิศด่านธานินทร์.(2551).หลักคิดชาตินิยมและ มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพฯ:สถาบันวิถีทรรศน์.ราชบัณฑิตยสถาน.(2549).พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลขิติธรีเวคนิ.(2553,1กรกฎาคม).ความรูส้กึแปลกแยก จากสังคม(Alienation).สืบค้นเมื่อ27พฤศจิกายน 2555,จากhttp://www.dhiravegin.com/detail. php?item_id=000867วัฒนาสกุณศีล.(2548).โลกาภิวัตน์.กรุงเทพฯ:คณะ กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยาส�านัก งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.วิทยาศักยาภินันท์.(ม.ป.ป.).มนุษยนิยมในปรัชญา มาร์กซ์.สืบค้นเมื่อ12ธันวาคม2555,จากhttp:// www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/ humanism_in_marxist_philosophy/index.htmlวิทยากรเชียงกูล.(2547).อธิบายศัพท์ปรัชญาการเมือง และสังคม.กรุงเทพฯ:สายธาร.วิทยากรเชียงกูล.(2553).ศาสตร์และศิลปะในการเป็น ผู้น�าในโลกยุคใหม่.กรุงเทพฯ:สายธาร.ศิริวรรณเกษมศานต์กิดาการ.(2537).การศึกษาเชิง วิเคราะห์ปัญหาเรื่องความแปลกแยกในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 2,5-19.สุริชัยหวันแก้ว.(2552).ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยบน ความหลากหลายและสับสน.กรุงเทพฯ:สถาบันเอเชีย ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.Corlett,A.J.(1988).Alienationincapitalistsociety. Journal of Business Ethics, 7(9),699-701.Pestonjee,M.D.,Singh,A.P.,&Singh,K.Y.(1982). Productivityinrelationtoalienationand anxiety.Indian Journal of Industrial Relations, 18(1),71-76.Sartre,J.(1980).Existentialism and humanism. TranslatedbyPhilipMairet.London:Eyre Muthuen.Twining,E.J.(1980).Alienationasasocialprocess. The Sociological Quarterly, 21(3),417-428.